Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เอกสาร KM 64 เทคนิคการวิจัยข้ามศาสตร์

เอกสาร KM 64 เทคนิคการวิจัยข้ามศาสตร์

Published by dream56602066, 2021-07-28 09:08:51

Description: เอกสาร KM 64 เทคนิคการวิจัยข้ามศาสตร์

Search

Read the Text Version

เทคนคิ การวิจัยข้ามศาสตร์ ในปัจจุบันการขอทุนวิจัยด้วยโครงการวิจัยเดี่ยวถือเป็นเรื่องยาก ทุนวิจัยมักสนับสนุนงานวิจัยใน รูปแบบการวิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ เป็นการแก้ปัญหาด้วยศาสตร์หลายศาสตร์เข้าด้วยกัน สำหรับ นกั วจิ ัยที่ยงั ไมม่ ปี ระสบการณใ์ นการวจิ ยั บูรณาการข้ามศาสตร์ อาจยังขาดความรคู้ วามเขา้ ใจในการทำวิจัย ซง่ึ จากการจัดการความรู้(KM) ไดร้ วบรวมเทคนคิ การวจิ ยั บูรณาการขา้ มศาสตรต์ ามประเด็นท่ีนา่ สนใจไวด้ งั นี้ 1. ทิศทางในการวจิ ัยบรู ณาการข้ามศาสตร์ 1.1 ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาในรูปของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ผู้ที่สนใจในการทำวิจัยบูรณาการข้าม ศาสตร์ ควรทำการศึกษายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดย แหลง่ ทุนจะมีการกำหนด OKR ไวอ้ ยา่ งชัดเจน ซ่ึงสามารถ นำมาพฒั นาเป็นงานวิจัยบรู ณาการขา้ มศาสตร์ ใหต้ รงตามความรคู้ วามสามารถหรอื ในสง่ิ ท่เี ราเชี่ยวชาญ 1.2 การกำหนดประเดน็ ปญั หา ในการกำหนดประเด็นปัญหาเพื่อนำไปใช้สำหรับงานวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ ผู้วิจัยไม่ควรเริ่มจาก สิ่งท่ีอยากทำ แต่ควรศกึ ษาประเด็นปัญหาที่มีอยูใ่ นปจั จุบนั ที่สอดรับกบั นโยบายและแผนของหน่วยงานที่จะนำ ผลวิจัยไปใชป้ ระโยชน์ อนั จะทำใหป้ ระเดน็ ปญั หามคี วามชัดเจนและน่าสนใจมากขึน้ 1.3 ปญั หาของประเทศ นอกเหนือจากการยึดประเด็นยุทธศาสตร์ของชาติเป็นหลักสำคัญแล้วนั้น ผู้วิจัยสามารถนำประเด็น ปัญหาของประเทศที่พบในปจั จุบัน มาสรา้ งเปน็ โจทย์วิจัย เชน่ สถานการณ์ โรคระบาด โควดิ –19 มลพิษทาง อากาศ เปน็ ต้น การวิจัยควรเน้นหนักในเรื่องการนำผลสำเร็จท่ีได้เข้าไปพัฒนาพื้นที่ คนในพื้นที่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้จริง เป็นงานวิจัยที่ได้มาจากการจัดการความรู้ของผู้วิจัยและนำความรู้ไปใช้กับชุมชน เกิดการ พัฒนาพืน้ ทรี่ ว่ มกับองคค์ วามรูใ้ หม่

2. การเร่ิมต้นขอทุนวิจยั บรู ณาการขา้ มศาสตร์ 2.1 กล้าทีจ่ ะเรมิ่ ตน้ ผู้วิจัยต้องกล้าที่จะขอข้อเสนอ อาจจะไม่ได้รับทุนในครั้งแรกที่ขอ แต่เพียงผู้วิจัยไม่ท้อถอยและให้ กำลังใจตนเอง หมั่นศึกษาหาความรู้จากแหล่งทุนต่างๆ จากการอ่านหัวข้อทุนวิจัยที่ผ่านการพิจารณา ว่ามี การศึกษา มีแนวคิดอยา่ งไร เน่อื งจากโจทยใ์ นการทำวจิ ยั บรู ณาการขา้ มศาสตรน์ ั้นจะมีการเปลยี่ นแปลงทุกปี วิจัยบูรณาข้ามศาสตร์ไม่จำเป็นต้องเป็นโครงการชุด ในความเป็นจริงผู้วิจัยสามารถ ทำในรูปแบบ โครงการเดี่ยวได้ แต่ในโครงการนั่นควรมีนักวิจัยในสาขาอื่น เช่น การทำวิจัยเรื่องผู้สูงอายุ แต่ศึกษาใน ประเด็นของกายภาพที่ส่งผลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ อาจมีเชิงวิศวกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้านสรีรวิทยา เรอื่ งดิจิตอลเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น 2.2 พนื้ ทใ่ี นการทำวจิ ัย พื้นที่ที่ผู้วิจัยเลือกมาใช้ศึกษาควรเป็นพื้นที่ที่สามารถเข้าไปพัฒนาได้จริง ตรงตามแผนและนโยบาย ของแหล่งทุน นโยบายของประเทศ รวมถึงของจังหวัดนั้นๆ โดยผู้วิจัยไม่จำเป็นต้องคิดหัวข้อใหม่ สามารถทำ ตามแผนนโยบายของตัวพื้นที่หรือจังหวัดนั้นๆ กับแผนของ วช. หรือ สกสว. ก็จะเอื้อให้เราสามารถขอทุนวิจัย ได้งา่ ยขนึ้ บางแหลง่ ทนุ จะกำหนดให้ผู้วิจยั ตอ้ งมีเครือข่ายจากหนว่ ยงานต่างๆ ว่ามีท่ใี ดบา้ ง จำนวนเทา่ ไร ท่ีจะมา พัฒนารว่ มกบั งานวจิ ยั โดยจะต้องกรอกข้อมลู ลงในระบบ NRIIS เพ่ือเปน็ สงิ่ ยนื ยันวา่ เมือ่ โครงการแล้วเสร็จตาม เปา้ หมายที่กำหนด จะมีหน่วยงานใดท่ีให้ความชว่ ยเหลือหรือได้รบั การพฒั นาอยา่ งไรบา้ ง 2.3 การสรา้ งทีม การร่วมกลุ่มเพื่อสรา้ งทีมในการทำวจิ ัยบูรณาการข้ามศาสตรน์ ้ัน ภายในกลุ่มควรประกอบด้วยนักวิจยั ที่มคี วามเชี่ยวชาญในหลายศาสตร์ สามารถแกป้ ระเดน็ ปญั หาร่วมกนั ไดใ้ นหลายมติ ิ อาจไมใ่ ช่เพียงการรวมกลุ่ม กันในคณะ ผู้วิจัยยังสามารถสรา้ งเครือข่าย ระหว่างคณะหรอื ระหวา่ งมหาวิทยาลยั ได้จะยิ่งเปน็ การแสดงให้เห็น ถึงประเด็นที่หลากหลายได้ชัดเจนยิง่ ขึ้น นอกจากนี้การมหี ัวหน้าโครงการที่มีประวัติด้านการวิจยั ท่ีดี เช่น เคย รับทุนของแหล่งทุนน้ันๆมากอ่ น มีตำแหน่งทางวิชาการที่น่าเชือ่ ถือ ก็จะยิ่งเป็นใบเบิกทางท่ีดี ส่งผลใหแ้ หลง่ ทุนมีความมั่นใจมากขึ้นว่า โครงการวิจัยนั้นๆ จะสามารถทำให้สำเร็จลุล่วงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธผิ ล แตใ่ นสว่ นของนักวิจัยท่ียังไมม่ ีประสบการณห์ รือประสบการณ์ยงั ไม่มากพอ การได้ร่วมกลุ่มทำงาน

อาจเป็นเพียงโครงการย่อยในโครงการชุดใหญ่ ถือเป็นอีกแนวทางปฏิบัติหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายและสามารถ ทำใหเ้ กดิ ขนึ้ ไดจ้ รงิ อกี ทง้ั ยังได้เรียนรเู้ พิ่มประสบการณเ์ พื่อใชใ้ นการทำงานวจิ ัยโครงการอน่ื ๆ ต่อไป 2.4 การมีเครอื ข่ายท่ีดี การเข้าถึงกลุ่มบุคคลในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต่างสาขาวิชา ต่างคณะ ต่างหน่วยงาน ต่าง มหาวทิ ยาลัย ล้วนเปน็ สิง่ ท่ดี ี การกล้าทจี่ ะเข้าถงึ ขอ้ มลู และกลุ่มคน การตดิ ตามผ้ทู ี่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน วิจัยบูรณาการ การได้ติดตามลงพื้นที่เพื่อศึกษาการทำงาน นอกจากจะเป็นการทำความรู้จักกลับกลุ่มบุคคล ดงั กลา่ วแลว้ ยงั เป็นการเรียนรู้การทำงานไปพร้อมๆกัน ซึ่งต่อไปในอนาคตผวู้ ิจยั จะสามารถดงึ ความรแู้ ละกลุ่ม คนตา่ งๆ ท่รี ู้จักมาเข้ารว่ มโครงการได้ 2.5 ความเหมาะสมของงานและความเช่ียวชาญ การทำโครงการวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์หนึ่งเรื่อง เนื้อหาจะถูกแบ่งไปในหลายศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยควร พจิ ารณาในสว่ นของเนื้อหาท่ีเราสามารถเขา้ ไปรว่ มพัฒนาหรือต่อยอดทางความคดิ ได้ เชน่ การพฒั นาแหล่งน้ำ สถาปัตยกรรมสามารถช่วยดูเรื่องโครงสร้างของคันกันน้ำ เป็นต้น เพื่อให้โครงการสามารถตอบโจทย์ในทุกมิติ ของประเดน็ ปญั หาท่ีศกึ ษา 2.6 แหลง่ ทนุ ผู้วิจัยสามารถขอทุนผ่านทางเว็ปไซต์ของ สวพ.(สำนักงานวิจัยและพัฒนา) หรือจากหน่วยงานของรัฐ เชน่ วช. หรอื สกสว โดยไม่ต้องผ่านมหาวิทยาลยั ได้ หากผู้วิจัยมีองค์ความรู้อยู่แล้ว สามารถขอทุนของ วช. ในหมวดการจัดการความรู้ มีทั้งเชิงนโยบาย สาธารณะ เชิงพนื้ ท่ี เป็นต้น นอกจากน้ี ยงั สามารถประสานความร่วมมือกับจังหวัด เนื่องจากทางจังหวัดจะมี การเสนอโครงการเพื่อพฒั นาจังหวัด แต่อาจยังขาดความรู้ความสามารถในการเขียนโครงการวิจัย กลุ่มผูว้ ิจยั สามารถเข้าไปช่วยเหลือในสว่ นนีไ้ ด้ มีรูปแบบการเบิกจ่ายในลักษณะบรกิ ารวิชาการ ถือได้ว่าเป็นอีกช่องทาง หนึง่ ในการรบั ทนุ สนบั สนุน 3. ขัน้ ตอนการดำเนนิ งาน 3.1 การกำหนดประเดน็ ปัญหา การคิดประเด็นปัญหา ผู้วิจัยต้องมีการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยซักถามคนในชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหา จากสภาพการณ์จรงิ ในพื้นที่นัน้ ๆ หัวหน้าโครงการถือเป็นบุคคลุ สำคัญอีกคนหนึ่งที่ต้องสามารถ คิดวิเคราะห์

และมองเห็นปัญหาได้หลากหลาย และเมื่อเห็นปัญหานั้นแล้วยังสามารถนำมาแตกประเด็นให้เหมาะสมกับผู้ ร่วมวจิ ยั แตล่ ะคน ซ่ึงจะมีคนส่วนนอ้ ยทสี่ ามารถมองเหน็ ปัญหาไดใ้ นทกุ มติ ิ นอกจากนี้การให้ความร่วมมือจากชุมชนหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในพื้นที่นั้นๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ โครงการจะไม่สามารถขบั เคลือ่ นใหส้ ำเร็จได้ หากไมไ่ ด้รับการชว่ ยเหลือและแหล่งข้อมลู จากชุมชน ยกตวั อย่าง เช่น การขายผลผลติ จากสวน มีการขายท่ีไหน ขายราคาเท่าไร คนในพื้นทมี่ ีความคิดอยากขายอย่างอ่ืนที่สร้าง มูลค่ามากกว่านี้ แต่ก็ขาดองค์ความรู้ที่จะมาพัฒนาต่อยอด จากประเด็นดังกล่าวจะเห็นได้ว่าข้อมูลที่ได้จาก ชุมชนนน้ั สามารถนำมาตอ่ ยอดเป็นการพัฒนาผลผลิตจากภาคการเกษตรแบบครบวงจรได้ หัวหน้าโครงการตอ้ งรู้ถึงขดี ความสามารถของคนในทมี ว่า เช่ียวชาญทางดา้ นใดบา้ ง ในการลงพื้นท่ีแต่ ละคร้งั ควรเป็นการลงพื้นที่พรอ้ มกนั หลายคน เพอื่ ช่วยกนั ศกึ ษาประเด็นปญั หาที่หลากหลายอันเกิดข้ึนในพื้นที่ แลว้ นำข้อมูลทไ่ี ด้มารวบรวม เพ่ือประกอบในการวางแผนงาน โดยเขยี นเป็นผงั งานวา่ พื้นท่ีนัน้ มีโจทย์ประเด็น ปัญหาอะไรบ้าง เช่น เสื่อรำแพนที่มีลวดลายธรรมดา อาจจะเพิ่มลวดลายที่มีความเป็นอัตลักษณ์เพิ่มเข้าไป เส่ือรำแพนเกบ็ ได้ไมน่ านย่ิงช่วงหน้าฝนราจะขึ้นต้องรบี ขาย ชาวบา้ นจงึ ทำไผ่แค่ชว่ งหน้าฝน เป็นต้น ซึ่งในการ รวบรวมประเดน็ ปญั หาอาจเร่มิ ตัง้ แต่ ต้นน้ำ กลางนำ้ และปลายน้ำ - ตน้ นำ้ (Upstream) คอื การกำหนดประเด็นปญั หาท่ีมคี วามเชื่อมโยงกับ ของแหลง่ ท่ีมาของวัถุดิบ ว่า มาจากที่ไหน มีแหล่งทุนมาจากแหล่งใด แรงงานมาจากไหน เช่น ปัญหาการปลูกไผ่ ที่เกษตรกรไม่มีความร้วู ่า ควรจะปลกู ไผพ่ ันธ์ุไหน จำนวนเท่าไร - กลางนำ้ (Midstream) คอื การกำหนดประเด็นปัญหาดา้ นกระบวนการ การจดั การ การแปรรปู เพื่อ ก่อให้เกิดสินค้า หรือบริการ เช่น เศษไผ่เหลือใช้มาใช้ทำกระถางตน้ ไม้ การพัฒนารูปแบบกระท่อมไม้ไผ่ เป็น ตน้ - ปลายน้ำ (Downstream) คือการกำหนดประเด็นปัญหาในการนำเสนอสินค้าหรือบริการนั้น ไปถึง มอื ผู้บรโิ ภค เช่น การทำเพจขายผลิตภณั ฑจ์ ากไผ่ การสรา้ งเครือข่ายรับซ้ือลำไผ่ เปน็ ต้น นอกจากนี้การมีผูช้ ่วยวิจัย จะช่วยให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปได้รวดเร็วและตามเป้ามากข้ึน โดยหัวหน้าโครงการต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการงาน และการหาทุนมาใช้ในการว่าจ้าง โดยไม่ จำเป็นที่จะต้องมีห้องทำงานประจำ เพียงแต่ผู้ช่วยต้องมีความรู้ความสามารถและความรับผิดชอบต่องานท่ี ได้รบั มอบหมาย

3.2 การนำเสนอความก้าวหน้า แหล่งทุนต่างๆที่สนับสนุนงานวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ ต้องมกี ารนำเสนอความก้าวหน้า แบ่งเป็น 2- 3ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าแหล่งทุนนั้นๆ ต้องการติดตามความก้าวหน้าของโครงการบ่อยแค่ ไหน ในการนำเสนอความก้าวหน้าในช่วงแรก จะเป็นการน้ำเสนอโดยหัวหน้าโครงการ หรืออาจจะมีหัวหน้า โครงการใหญ่เป็นผู้นำเสนอในส่วนของภาพร่วมต่างๆ จาดนั้นการนำเสนอความก้าวหน้าครั้งต่อๆไป หัวหน้า โครงการย่อยหรือหัวหน้าแผน จะต้องเข้ามาเป็นส่วนช่วยนำเสนอความก้าวหน้าในส่วนกิจกรรมที่ตนเอง รบั ผิดชอบ ในการนำเสนอความกา้ วหน้า จะต้องนำเสนอ out put ท่ชี ดั เจน เชน่ ชาวบา้ นขายสินค้าในราคาเทา่ ไร โดยต้องอธิบายต้นทุนตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เป็นต้น ในการนำเสนอแต่ละครั้งจะมีผู้ทรงคุณวุฒิ ประมาณ 3-5 คน มาค่อยให้คำแนะนำ โดยในการเขียนข้อมูลในการนำเสนอ ในทุกกิจกรรมจะต้องมี out put และ out come ที่ชัดเจน ในบางกิจกรรมอาจใช้เวลานานทำให้เกินระยะเวลาที่แหล่งทุนกำหนด เช่น การ ปลูกไผ่ ต้องใช้ระยะเวลาในการปลูก ถึง 3 ปี จึงอาจทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนในการทำกิจกรรม ซึ่งใน ปัจจุบันแหล่งทุนจะไม่ให้ผู้วจิ ัยขยายเวลา อาจจะมีเพียงทุนของมหาวิทยาลัยบางตัวเท่าน้ัน ที่ยังสามารถขยาย เวลาได้ แต่แนวโน้มในอนาคต ก็มีการคาดการณ์ไวว้ ่าจะไม่สามารถขยายเวลาได้เชน่ กัน 3.4 การสรปุ ผลการวิจัย ส่วนสุดท้ายของงานวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ที่สำคัญคือ การสรุปผลการวิจัย ควรมีการสรุปผลที่ ครอบคลุมหลายศาสตร์ ไมค่ วรสรปุ แยกกนั ในแต่ละโครงการย่อยแลว้ นำมารวมกัน เชน่ สถาปัตยกรรม ไม่ใช่ดู แค่ความงาม แต่ต้องมองให้ครบทุกมิติ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หากต่างคนต่างทำจะไม่เกิดการวิจัย แบบบูรณาการข้ามศาสตร์จริงๆ เพราะฉะนั้นผลสุดท้ายของงานวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ ต้องนำผลแต่ของ วจิ ยั ยอ่ ยมาสรุป แลว้ discussion รว่ มกนั วา่ เกิดผลอะไรขึ้นบา้ ง รศ. ดร. วชิระ แสงรศั มี “ ในงาน Design ไม่ได้พูดถึงเรื่อง Design อย่างเดียว พูดถึงเรื่องการผลิตด้วยและการตลาด เพราะ ฉะนัน การคดิ งานวจิ ัยตอ้ งถกู คดิ แบบครบวงจร บางทีเ่ ราคนเดยี วทำไม่ได้ บางทีในมุมสถาปัตยกรรมเราก็มอง เรื่องความงาม แต่ในแง่ของมาตรฐานมันต้องมองด้วย สมมุติว่า เราพัฒนาอิฐจากเศษวัสดุ แล้วเราบอกว่าอิฐ น้ัน ประหยัดพลังงาน มีน้ำหนกั เบา แตถ่ า้ ดคู ณุ สมบตั ทิ างการรับแรงอัดตามมาตรฐานทางอุตสาหกรรมปรากฏ

ว่าไม่ได้มาตรฐาน อิฐนั้นก็ถือว่าไม่ผ่านมาตรฐาน บางทีในการวิจัยเราต้องมององค์หลักก่อนวา่ วัสดุน้ีใช้ในงาน อะไรและต้องผ่าน มอก. ควรให้ผ่านมาตรฐานก่อนแล้วเรือ่ งความงามจะตามมาอีกที เพราะฉนั้น เราเอาความ งามมานำไม่ได”้ การนำองค์ความรู้ท่ีได้ไปเผยแพร่หรือใช้ประโยชน์ กอ่ นทผ่ี ลงานวิจัยนน้ั จะเสร็จสมบูรณ์ผู้วิจัยสามารถ ติดต่อกับหน่วยงานที่สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ ยิ่งหากผลของงานวิจัยนั้นสอดคล้องกับ แผนพัฒนาของหน่วยงานข้างต้น ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ผู้วิจัยสามารถนำใบตอบรับ การ นำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงานนั้นๆ ไปใช้ตอบ KPI และประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการได้อีกทางหนึ่ง ด้วย นอกจากนี้ก่อนทำงานวิจัยผู้วจิ ัยควรมีการวางแผนในการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้หลายช่องทาง เช่น เขียนบทความ การบูรณาการร่วมกับรายวิชา เป็นตน้ อ.ฐิรรตั ณ์ ศรคี งจันทร์ “เอาวิชาเรียนเข้าไปดูงานด้วย คือวิชา Marketing Design และวิชาออกแบบ พานักศึกษาไปลงพื้นที่ มีการแสดงงานปรับภูมิทัศ เกยี่ วกับวัฒนธรรม” 4. ปญั หาและอปุ สรรค 1. การวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ในปัจจุบันยังไม่พบว่าถูกนำมาใช้ในรูปแบบของงานสร้างสรรค์ นกั วจิ ยั สร้างสรรคอ์ าจต้องรวมกลมุ่ กนั เพื่อสร้างแนวทางใหม่ 2. วธิ ีการหรือวัตถปุ ระสงค์ถกู เปลย่ี น ในการรายงานผลความก้าวหนา้ ของโครงการวิจัยในแต่ละครง้ั จะได้ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการ ให้ปรับแก้กิจกรรมหรือวัตถุประสงค์ ซึ่งจะส่งผลถึงงบประมาณที่เราได้ จัดสรรและวางแผนไว้ เนื่องจากในการเบิกจ่ายเงินงบประมาณหากกำหนดเงินไว้ในหมวดไหนผู้วิจยั จะต้องใช้ เงินไปตามหมวดเงินนั้นๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยสามารถทำเรื่องปรับเปล่ียนเงินที่ กำหนดในหมวดต่างๆได้ โดยจะต้องทำหนังสือแจ้งไปทาง มหาวิทยาลัยจากนั้นแจ้งไปทางต้นสังกัด ซึ่งเป็น ขัน้ ตอนทซ่ี บั ซ้อนและใชร้ ะยะเวลานาน

3. ระบบในการเบิกจา่ ยเงนิ แบบใหม่ จะมรี ะเบยี บการเบิกจ่ายทซี่ บั ซอ้ นกวา่ เดมิ การลงพ้นื ทเ่ี พ่ือเกบ็ ข้อมูลบางครั้งไม่สามารถเบิกจ่ายได้เต็มจำนวน ผู้วิจัยอาจถูกเรียกเงินคืน ดังนั้นผู้วิจัยควรศึกษาหลักการ เบกิ จ่ายให้รอบคอบและละเอยี ดถี่ถว้ น 4. โครงการวิจัยบูรณาการข้ามศาสตร์ ผู้วิจัยควรระวังในการสรุปผล เนื่องจากในโครงการใหญ่จะ ประกอบด้วยโครงการย่อย หากผลที่ออกมาในแต่ละโครงการย่อยไม่มีความเชื่อมโยงกัน มองเพียงประเด็น เดียว ไม่ได้ถูกนำมาสรุปผลร่วมกันในทุกมิติ เปลี่ยบได้ว่าต่างคนต่างทำก็จะไม่เกิดการแลกเปลี่ยน จึงเป็นข้อ ควรระวงั ที่สำคัญของผวู้ จิ ยั โดยเฉพาะหัวหนา้ โครงการทีต่ ้องควบคุมใหผ้ ลออกมาไห้ถูกต้อง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook