Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แคนแก่นคูน ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดขอนแก่น

แคนแก่นคูน ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดขอนแก่น

Description: หนังสือ แคนแก่นคูน ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดขอนแก่น
จัดทำโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น

Search

Read the Text Version

ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

แคนแกน่ คูน ลายผา้ อตั ลักษณ์ประจำจังหวัดขอนแก่น ขอนแก่น : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

คำนำ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ จังหวัดขอนแก่น โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น คณะผู้ทรงคุณวุฒิด้านผ้า และคณะทำงานร่วมคัดเลือกลายผ้าที่บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น โดยคณะทำงานได้ คัดเลือกลายผ้าท่ีประกอบด้วย ๗ ลายย่อย ซึ่งแต่ละลายย่อยต่างล้วนมีความหมาย มีคุณค่า แสดงความเป็น อัตลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น และได้เชิญชวนให้ประชาชนร่วมการตั้งชื่อลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น มีผู้สนใจส่งรายชื่อร่วมประกวด จำนวน ๑๓๔ ชื่อ คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์พิจารณาให้ช่ือ “แคนแก่นคูน” (KAN-KAEN-KOON) เป็นชื่อลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น และนอกจากนี้ ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จังหวัดขอนแก่น ได้รับการประกาศรับรองจากสภาหัตกรรมโลก ให้เป็น “เมืองหัตถกรรมโลก แห่งผา้ มดั หมี่” World Craft City for Ikat (Mudmee) ถือเปน็ การยืนยนั วา่ จังหวัดขอนแกน่ เปน็ แหล่งผลิต ผ้าไหมมัดหมี่ที่สำคัญ ขึ้นชื่อทั้งในเรื่องคุณภาพ ลวดลายงดงาม มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว เป็นที่รู้จักของทั้งใน และตา่ งประเทศ จังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดทำหนังสือ แคนแก่นคูน ลายผ้าอัตลกั ษณป์ ระจำจังหวดั ขอนแก่น โดยได้รวบรวม เรียบเรียงข้อมูล องค์ความรู้ เรื่องราวและภาพเหตุการณ์ เนื้อหาประกอบด้วย ประวัติผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัด ขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดขอนแก่น การจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัด ขอนแก่น การประกวดตั้งชื่อลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการทอผ้าลาย ประจำจังหวัดขอนแก่น และการรบั รองจังหวัดขอนแกน่ เป็นเมอื งหตั ถกรรมโลกแหง่ ผา้ มดั หมี่ หนังสือ “แคนแก่นคูน” ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจงั หวัดขอนแก่น เล่มนี้ จะเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่ายิ่ง สำหรับประชาชนชาวจังหวัดขอนแก่นและผู้ท่ีสนใจ รวมถึงอนุชนรุ่นหลงั ได้ศึกษาเรียนรู้มรดกภูมปิ ัญญาทาง วัฒนธรรมด้านผ้าไทยจังหวัดขอนแก่น และเผยแพร่ความงดงามของผ้าลายแคนแก่นคูนให้เป็นที่รู้จัก อย่างแพร่หลายสบื ไป (นายสมศกั ด์ิ จงั ตระกลุ ) ผวู้ ่าราชการจังหวดั ขอนแกน่ ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

สารบัญ บทท่ี ๑ ประวัตผิ า้ ไหมมัดหมี่จงั หวัดขอนแก่น ๑ บทท่ี ๒ แคนแก่นคูน ลายผา้ อตั ลกั ษณป์ ระจำจงั หวดั ขอนแก่น ๙ บทที่ ๓ การจัดทำลวดลายผา้ ประจำจังหวัดขอนแก่น ๑๔ บทที่ ๔ การประกวดตั้งช่ือลายผ้าประจำจังหวดั ขอนแกน่ ๓๑ บทท่ี ๕ การประชาสมั พนั ธ์และสง่ เสริมการทอผ้าลายประจำจังหวดั ขอนแกน่ ๓๓ บทที่ ๖ การรับรองขอนแก่นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มดั หมี่ ๕๐ บรรณานุกรม ๕๓ ภาคผนวก ๕๔ ๑. สำเนาประกาศจังหวัดขอนแก่น เรื่อง การขับเคลื่อนระเบียบวาระจงั หวัด “แคนแก่นคูน ลายผา้ ประจำจังหวดั ขอนแกน่ ” ลงวนั ท่ี ๑๘ มนี าคม ๒๕๖๒ ๒. สำเนาคำสั่งจังหวัดขอนแก่น ที่ ๑๘๕๑/๒๕๖๑ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำ จังหวัดขอนแก่น ๓. สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่ น คร้งั ท่ี ๑/๒๕๖๑ (นอกรอบ) ๔. สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ครง้ั ท่ี ๒/๒๕๖๑ (นอกรอบ) ๕. สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ครง้ั ท่ี ๓/๒๕๖๑ ๖. สำเนาประกาศจังหวัดขอนแก่น ขอเชิญชวนประกวดตั้งชื่อลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ ๗. สำเนาคำส่งั จงั หวดั ขอนแก่น ท่ี ๔๕๒๑/๒๕๖๑ แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสนิ การประกวดตัง้ ชื่อ ลายผา้ ประจำจงั หวดั ขอนแกน่ ๘. สำเนารายงานการประชมุ คณะกรรมการตดั สินการประกวดตั้งชอื่ ลายผ้าประจำจังหวดั ขอนแก่น ๙. สำเนาประกาศจงั หวัดขอนแก่น ผลการตัดสินการประกวดต้งั ช่ือลายผา้ ประจำจงั หวัดขอนแกน่ (ภาษาไทย) ลงวนั ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕ ๑๐.สำเนาประกาศจังหวดั ขอนแกน่ ผลการตดั สนิ การประกวดต้งั ช่ือลายผา้ ประจำจงั หวดั ขอนแกน่ (ภาษาองั กฤษ ลงวันท่ี ๒๐ กนั ยายน ๒๕๖๕) ๑๑. สำเนาคำขอแจง้ ขอ้ มลู ลิขสทิ ธ์ิ ลายผา้ ประจำจังหวดั ขอนแกน่ (แคนแกน่ คูน)KAN-KAEN-KOON ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑ บทท่ี ๑ ประวตั ิผ้าไหมมัดหมีจ่ ังหวัดขอนแกน่ วัฒนธรรมการทำผ้ามัดหมี่ของไทยจัดเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่แสดงถึงวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า และมีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม โดยมนุษย์ได้สร้างสรรค์การทอผ้าขึ้นมาจากภูมิปัญญาของเผ่าพันธุ์ เอกลักษณ์ ของผ้าในแต่ละท้องถิ่นจะสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นเอาไว้ในตัวเอง ลายผ้าเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง เอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย ลายผ้าได้มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ค่านิยม วิถีชีวิต โลกทัศน์ ขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมของหญิงในภาคอีสานนับแตโ่ บราณต้องรู้จักการทอผ้า โดยผ้าที่ทอถือเป็นของมีค่าที่จะนำมา สวมใส่ในโอกาสพเิ ศษเท่านั้น เครื่องนุ่มห่มในงานพิธกี รรมสำคัญ เช่น งานบุญ งานกินดอง (งานมงคลสมรส) เป็นเครื่องแสดงความเป็นแม่บ้านก่อนออกเรือน ที่มีแนวคิดวา่ “ก่อนจะแต่งงานต้องทอผ้าเป็น” เพื่อใช้เป็น เครื่องสมมา (ขอขมา) พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ส่วนฝ่ายเจ้าบ่าวต้องนำผ้าทอของครอบครัว ตนเองทที่ ออยา่ งประณตี ทส่ี ดุ นำไปมอบใหแ้ ก่ฝา่ ยเจา้ สาวเพ่ือเปน็ สนิ สอดตามประเพณี ซึ่งพธิ ีกรรมนีส้ บื ทอด กันมาจนถึงปัจจุบัน ชาวอีสานเชื่อว่าผ้าที่ทอขึ้น ทุกผืนล้วนมีคุณค่าเป็นความภูมิใจของเจ้าของที่ได้ใช้ และบ่งบอกถึงชาติตระกูลฐานะทางเศรษฐกจิ ของผู้ทอท่ีได้รับการถา่ ยทอด เรียนรู้ ฝึกฝนทักษะการทอผา้ มา อยา่ งตอ่ เนอ่ื ง จวบจนถึงวยั ชรากก็ ลายมาเปน็ ผู้ถ่ายทอดทกั ษะฝีมือใหแ้ ก่ลูกหลานสบื ไป การทำผ้ามัดหมี่นั้นนิยมทำกันที่ไหมเส้นพุ่งเท่านั้น ลักษณะเฉพาะของผ้ามัดหมี่อยู่ที่รอยซึมของสีท่ี ซึมไปตามบริเวณของลวดลายที่ถูกมัด ถึงแม้จะใช้ความแม่นยำในการทอมากเพียงไร ก็จะเกิดลักษณะความ คาดเคลื่อนของสีบนเส้นไหม ทำให้เห็นแตกต่างไปจากผ้าทอมือชนิดอื่น ๆ นับเป็นเอกลักษณ์ของผ้าไทย มัดหมี่โดยแท้ โดยผ้ามัดหมี่แต่ละชิน้ น้ันจะมีเอกลักษณ์ที่ไม่ซำ้ กัน แม้จะมีสีและลายเดิมก็ตาม ทั้งนี้เพราะว่า ทุกข้นั ตอนของการทอ ล้วนเกดิ จากฝีมือและทักษะเฉพาะตวั ของผู้ทอทั้งสิ้น ความมเี สนห่ ์ของผ้ามัดหมี่ในแต่ ละชิ้นคือ “ความเป็นชิ้นเดียวในโลก” น่ันเอง จึงนับได้ว่า “ผ้ามัดหมี่” เป็นงานศิลปะชิ้นเอก อันทรงคุณค่า และมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และในภาคกลางบางจังหวัด อาทิ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี ภาคเหนอื มกี ารทอทจี่ ังหวัดเชยี งใหม่ และจงั หวัดนา่ น เปน็ ต้น เปน็ ศิลปะการทอผา้ พ้ืนเมืองชนิด หนึ่งนิยมทำกันมาชา้ นาน ชาวบ้านจะใช้เวลาว่างจากการทำนาและการเก็บเกี่ยวมาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือน หรือ ทอผ้าเอาไว้ใช้ในงานประเพณีต่าง ๆ ลวดลายส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว การทำผ้ามัดหมี่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นส่วนใหญ่นิยมทำด้วยเส้นใยไหม โดยศิลปะในการทำผ้าไหม มัดหมี่นั้น ทำโดยทอจากค้น (ภาพประกอบที่ ๑) หรือไหมที่ผูกมัดเส้นให้เป็นลวดลายแล้วนำไปย้อมให้เกิดสี และลวดลายก่อนแล้วจึงนำไปเรียงทอบนกี่ออกมาเป็นผืนผ้า โดยกระบวนการทำผ้ามัดหมี่นั้น ในข้ันตอน การสร้างลวดลายจะต้องนำเส้นใยไหมไปดันลำหมี่ให้ได้ตามจำนวนที่เหมาะสมกับลวดลาย แล้วจึงนำไปขึง เขา้ กบั “โฮงหม่ี” โดยจะใชเ้ ชือกมัดสว่ นทไ่ี มต่ อ้ งการให้ตดิ สี เรยี กวา่ การ “โอบ” (ภาพประกอบที่ ๒) ในอดีต ใช้เชือกกล้วย ต่อมานิยมใช้เชือกฟางพลาสติก การมัดจะต้องมัดให้แน่นตามลวดลายที่กำหนดไว้แล้วนำไป ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒ ย้อมสีจากน้ันตากแสงอาทิตย์ให้แห้ง เมื่อนำมาแก้เชือกออกจะเห็นส่วนที่มัดไว้ไมต่ ดิ สีท่ีย้อม หากต้องการให้ ลวดลายมีหลายสีจะต้องมัดโอบอีกหลายครั้งตามความต้องการ ตำแหน่งที่มัดให้เกิด ลวดลายนั้น (ภาพประกอบท่ี ๓) ภาพประกอบท่ี ๑ การคน้ หมี่ ภาพประกอบท่ี ๒ การมัดหมี่ หรอื การโอบ ภาพประกอบท่ี ๓ ลวดลายหลงั จากมดั หมี่ การออกแบบลวดลาย และการทำมัดหม่ีต้องอาศัยทักษะเชิงช่างที่ชำนาญและแม่นยำ เพราะช่าง มัดหม่ีของประเทศไทยไม่ได้มกี ารขดี ตำแหนง่ ลวดลายไว้ก่อนแบบประเทศอืน่ ๆ จงึ อาศยั การจดจำและส่ังสม จากประสบการณ์ ในกระบวนการทอช่างทอผ้ามัดหมี่จะต้องระมัดระวัง ทอผ้าตามลำดับของหลอดด้าย มัดหมี่ที่รอ้ ยเรียงลำดับไว้ให้ถูกตอ้ ง และจะต้องใช้ความสามารถในการปรับจัดลวดลาย ที่เหลื่อมลำ้ กันที่เกิด จากกระบวนการย้อมสีให้ออกมาสวยงาม กลวิธีการทอผ้ามัดหมี่จึงเป็นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างชั้นสูง ซึ่งลวดลายมัดหมี่ที่มีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณนั้นส่วนใหญ่ได้แรง บนั ดาลใจจากธรรมชาติ สงิ่ แวดล้อม วิถีชีวิต ความเช่ือ และขนบธรรมเนียมประเพณี อาทิ ลายดอกแก้วลาย ต้นสน ลายโคมห้า ลายโคมเจ็ด ลายบายศรี ลายกวาง ลายนกยูง ลายเต่า ลายพญานาค ฯลฯ ผ้ามัดหมี่มี บทบาทในวิถชี ีวิตตั้งแต่เกดิ จนตาย หญิงสาวต้องทอผ้าเพ่ือใช้ทำเป็นเครื่องน่งุ หม่ ด้านวัสดุเส้นใยทั้งฝ้ายและ ไหมบ่งบอกถึงศักยภาพทางการค้า เพราะเป็นวัสดุที่ใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายมาแต่โบราณ ส่วนวัสดุย้อมสี ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓ ธรรมชาติสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์พืชในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ซึ่งช่วยให้ผ้า มัดหมขี่ องไทยมสี ีสันเฉพาะตวั และยงั สะท้อนไปถึงความเชี่ยวชาญของแตล่ ะกลุ่มชนในการย้อมสีธรรมชาติ นอกจากนี้ ได้มีข้อสันนิษฐานจากคำบอกเล่าต่าง ๆ กันมาของผ้ามัดหมี่โดยเฉพาะผ้าไหมมัดหมี่ใน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประวัติและพัฒนาการของลายผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น โดยนายสงคราม งามยิ่ง ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการทำลวดลายมัดหมี่จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่า ลวดลายผ้า ไหมลายแบบดั้งเดิม ส่วนมากจะเป็นลายเดี่ยว ๆ ยังไม่มีการผสมผสานลวดลาย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ประกวดลายผ้าไหมมัดหมี่ขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดขอนแก่น โดยการส่งเสริมสนับสนุนของสำนักงาน อตุ สาหกรรมภาค ๕ ขอนแก่น ลวดลายผ้าไหมมดั หมซ่ี งึ่ เร่ิมมีการปรับประยุกตแ์ ละผสมผสานลวดลายจากน้ัน เป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๒ จังหวัดขอนแก่นจัดงานประเพณีท้องถิ่น ชื่องานเทศกาลไหม ประเพณี ผูกเสี่ยวและงานกาชาดขึ้นเป็นครั้งแรก ภายในงานจะเปิดโอกาสให้ราษฎรได้นำเส้นไหม ผ้าไหม การแสดง วิถีชีวิตเกี่ยวกับวิธีการทำผ้าไหมมัดหมี่ ผลิตภัณฑ์จากไหมที่หลากหลายมาโชว์ มาอวดกันอย่างสนุกสนาน จนมาถึงปัจจุบัน การถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตผ้ามัดหมี่ยังคงมีอยู่บ้างตามชนบท แต่เยาวชนรุ่นใหม่ที่ ตั้งใจสืบทอดการทอผ้ามีจำนวนลดลงและหลายชุมชนก็ไม่สามารถสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่ไว้ได้ จึงจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำต้องร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแขนงนี้ คงอยู่สบื ไป ในจังหวัดขอนแก่น พื้นที่ที่มีการทำมัดหมี่ท่ีขึ้นชื่อมากที่สุด คือ พื้นที่อำเภอ “ชนบท” เป็นพื้นที่ที่มี ประวัติศาสตร์ เรื่องราวการทอผ้าไหมมาอย่างยาวนาน ชนบทมีการตั้งเป็นเมืองมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๒๖ โดยกวนเมอื งแสน สมุหกลาโหม แห่งเมืองสุวรรณภมู ิ พาสมัครพรรคพวกอพยพหนีออกจากเมือง สุวรรณภูมิ แคว้นจำปาสัก ประเทศลาว มายังเมอื งที่บ้านหนองกองแกว้ ตอ่ มาในปี พ.ศ.๒๓๓๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านหนองกองแก้วขึ้นเป็นเมือง พระราชทาน นามวา่ “ชลบถพบิ ูลย์” ซง่ึ แปลว่า ทางน้ำหรอื เมืองท่ีมนี ้ำลอ้ มรอบ และตง้ั ทา้ วคำพาว เป็นเจา้ เมือง ตำแหน่ง พระจันตะประเทศ จากนั้นได้มีการจัดเขตการปกครองและเมืองชนบทได้ถกู ยุบรวมหลายครั้ง จากอำเภอเป็น ตำบลขึ้นกับอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จนถึงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๙ ทางราชการจึงได้ตั้งเมือง ชนบทขึ้นเป็นอำเภออีกครั้งหนึ่ง ในชื่อ “ชนบท” จนถึงปัจจุบัน จากประวัติความเป็นมาพบหลักฐานสำคัญ คือ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านาง หรือผ้าปูม อายุกว่า ๒๒๐ ปี ที่เจ้าเมืองชนบทคนแรกได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โดยทายาทของเจ้าเมืองเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งต่อมาคนชนบทได้นำมาเป็นต้นแบบในการทอผ้าไหมมัดหม่ีหน้านาง ที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์อย่าง หนึ่งของผ้าไหมชนบทในปัจจุบัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการทอผ้าของชาวชนบทน่าจะเริ่มมาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี หรืออาจจะมีมาตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองชนบท คือ ประมาณ ๒๐๐ กว่าปี ในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดใน เรือ่ งการทอผา้ ไหมโดยอำเภอชนบทนี้ถือว่าเปน็ ศูนย์รวมการทอผ้าที่ใหญท่ ส่ี ุดของจังหวัดขอนแก่น ทุกอำเภอ ท่ีพบการทอผ้าจะได้รบั การถา่ ยทอดทางด้านลวดลายต่าง ๆ มาจากอำเภอชนบททงั้ สิน้ โดยอำเภอชนบทได้มี การพัฒนาวิธีการย้อมสีผ้าเป็นการย้อมทับไล่สีจากอ่อนไปเข้ม และนิยมใช้โทนสีเดียวกัน ซึ่งผิดกับสีผ้าสมัย โบราณทมี่ กั จะใชส้ สี ดหรือสีฉดู ฉาด รวมท้งั ลวดลายบางอย่างที่ทำยากหรือไม่เป็นทนี่ ิยม ปัจจุบันก็จะไม่ค่อยมี ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔ ผู้ทอหรือไม่ทอเพื่อจำหน่ายแต่จะทอเพื่อใช้เอง ซึ่งทำให้อาจจะสูญไปในอนาคต เช่น ลายส่าว (ลายเฉียง) ลายหมี่ค่ัน (หมตี่ า) ในเรอื่ งของการจำหน่ายพบว่า มรี า้ นคา้ จำหนา่ ยอยู่ทั่วไปมีทัง้ ปลีกและส่ง ในอีกกรณีหนึ่ง นายทุนจะเป็นผู้กำหนดเรื่องลายและคุณภาพ ของผ้าจะมีการว่าจ้างช่างในหมู่บ้านทำหน้าที่ในการมัดย้อม เส้นไหม จากนัน้ จะนำไหมท่ีมดั ย้อมแล้วไปทอในจังหวดั อื่น ๆ ในภาคอสี านนอกเหนือจากในจงั หวัดขอนแก่น ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ บุรรี มั ย์ เปน็ ต้น ผ้าไหมมดั หมีห่ น้านาง หรอื ผ้าปมู แบบโบราณ จากการสำรวจทุกอำเภอส่วนใหญ่แล้ว จะพบว่ามีการใช้ไหมเป็นวัตถุดิบในการทอผ้าแทบทั้งสิ้น จะมีการใช้ฝ้ายแต่เพียงการทอเพื่อใช้เองในครอบครัวเท่านั้น เช่นพื้นท่ีอำเภอหนองเรือ พบว่ามีชื่อเสียงใน เรื่องการทอผ้ามัดหมี่โดยใช้ฝ้ายที่ย้อม สีธรรมชาติจนถึงกับได้มีการรวมตัวให้เป็นกลุ่มทอผ้าขึ้น ชื่อว่าศูนย์ ผลิตและจำหน่ายผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองแวง ตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ ได้รับการ สนับสนุนจาก หน่วยงานของรัฐบาลคือ กรมส่งเสริมการเกษตร มีการใช้กี่ขนาดใหญ่ยาว ๒ – ๓ เมตร เปน็ ก่ีตั้ง มี ๔ ตะกอ การสรา้ งลาย ทำโดยการเหยยี บตะกอหรือเขาสลับกนั ไปเปน็ คู่ ๆ แล้วแตล่ าย บางลายจะ ใช้เทคนคิ ในการยึดเส้นแล้วแบ่งชว่ งทอจนเกิดเป็นลาย บางลายอาจจะต้องยึดเส้นพุ่ง บางลายยึดเส้นยืนแต่ก็ยัง ไม่ได้รับความนิยมมากนักโดยมีปัญหาเรื่องของตลาดรับซื้อ ส่วนหนึ่งคาดว่าอาจจะขาดการประชาสัมพันธ์ สว่ นทอี่ ำเภอมัญจาครี ี อำเภอพระยนื อำเภอพล อำเภอภูเวยี ง อำเภอชุมแพ โดยสามอำเภอแรกมีพ้ืนท่ีติดกับ อำเภอชนบท ทำให้ได้รับอิทธิพลการทอผ้าไหมมัดหมี่มาด้วยและทั้งห้าอำเภอนี้เป็นสถานที่ที่นายทุนส่งผา้ ที่ มดั ย้อมแล้วมาทอ เพราะฉะน้นั ลวดลาย และเทคนิคตา่ งๆจึงเหมือนกับที่อำเภอชนบท โดยท่ีอำเภอมัญจาคีรี นั้นมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการทอเพื่อใช้เอง และจะซ้ือไหมจากโรงงานเพื่อนำมาใช้ เป็นวัตถุดิบในการทอเพื่อจำหน่าย ที่อำเภอบ้านไผ่ พบว่ามีการจัดตั้งศูนย์จำหน่ายผลิตภณั ฑ์ โดยรับมาจาก อำเภอชนบท แต่ปัญหาที่ประสบอยูค่ ือ ขายได้ปริมาณนอ้ ย เนื่องจากสินค้า มีต้นทุนที่สงู เพราะ มีการว่าจา้ ง ทำงานหลายทอดส่งผลให้สินค้า มีราคาแพง อีกทั้งความต้องการของตลาดลดลง ซึ่งอาจถือได้ว่าขาด การพฒั นาทางดา้ นลวดลายและคุณภาพที่สอดคลอ้ งกบั ความต้องการ ที่มาของการออกแบบลวดลายผ้ามัดหมี่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่ ได้พบเหน็ ในวถิ ชี ีวติ ประจำวัน ดังนี้ ขอนแก่น : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๕ ๑. จากสภาพแวดลอ้ มในวถิ ีชีวติ ประจำวัน ๑.๑ ลายเก่ียวกับพืช พืชมคี วามเกย่ี วพันกับวิถชี ีวิตของคน โดยเฉพาะคนในสมัยก่อนซ่ึง ต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิตให้ได้ด้วยตนเอง จึงมีความผูกพันมีความคุ้นเคยกับพืชพรรณ ต่างๆ ในธรรมชาติเป็นอย่างดี และเป็นที่มาของลวดลายบนผืนผ้าไหมที่ออกแบบสร้างสรรค์จากสิ่งที่พบเห็น รอบตวั เชน่ ลายหมากจับ ลายหมากบก ลายดอกผักแว่น ลายดอกแก้ว ลายดอกคนู ลายใบพรา้ ว ลายต้นสน เป็น ตน้ ๑.๒ ลายเกย่ี วกบั สัตว์ สว่ นใหญ่มักเปน็ สตั ว์ทีร่ ูจ้ ักคุ้นเคยท่ัวไป เช่น ลายนกยงู ลายแมงป่อง ลายแมงกะบี(้ ผีเส้ือ) ลายนกเขา ลายไก่ ลายชา้ ง ลายเตา่ เป็นตน้ ๑.๓ ลายเกีย่ วกับเครื่องมือเคร่อื งใช้และเครือ่ งประดับ เช่น ลายขาเปยี ลายขันหมากเบ็ง ลายขอ ลายกง ลายโคม ลายขอกระบวน ลายเชิงเทียน ลายขอโทรศัพท์ เปน็ ตน้ ๑.๔ ลายท่เี กี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ลายน้ำพอง ลายฟองนำ้ ลายคล่นื นำ้ ลายสายฝน เปน็ ตน้ ๑.๕ ลายท่ีเกีย่ วกบั สิง่ ที่ได้พบเห็นได้ในส่ือปัจจุบัน เชน่ ลายการบินไทย ลายขอพระเทพ ลายเปาบุ้นจิน้ ลายหมี่ขนมปัง ลายสายหวั ใจ ลายครฑุ รูปแตม้ วดั ไชยศรี ลายประเพณที อ้ งถ่ิน เปน็ ตน้ ๒. จากความเช่ือในทางศาสนา เช่น ลายพญานาค ลายนาค ลายนาดซ้อน ซึ่งเป็นความเชื่อเกี่ยวกบั พญานาคในตำนานพทุ ธศาสนา โดยลวดลายมัดหม่ีทมี่ ักพบในจังหวัดขอนแกน่ ไดแ้ ก่ ลายหมีใ่ บพัด ลายหม่ีกง ลายหมีก่ งห้า ลายหมี่ น้ำพองลายหมี่ขอ ลายหมี่งูเหลือมใหญ่ ลายหมี่ปราสาทเสกกษัตริย์ ลายหมี่โคมเก้า ลายหมี่คั่นตาล็อค ลาย หมี่แปบผสมขอปลาหมึก ลายผสมกงเจ็ดสาย ลายหมี่จี้เพชรสอดไส้ปลาไหล โดยส่วนใหญ่ใช้ทอเป็นผ้าผืน ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจำพวกเครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ อาทิ ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ผ้าพันคอ เป็นตน้ โดยผ้ามัดหม่มี ีเอกลักษณ์ ลวดลาย และการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน และวัสดทุ ่ีนยิ มนำมาใช้ในการ ทอผ้ามัดหมี่คือเส้นไหมดังที่กล่าวไปข้างต้น โดยสามารถอธิบายเอกลักษณ์ของผ้าไหมเมืองขอนแก่นได้ ดงั ต่อไปน้ี ๑. ลายผ้าไหมมัดหมี่ ลายหมี่กง ลายขันหมากเบ็ง หรือเรียกอีกชื่อได้ว่าลายเชิงเทียนหรือลายขอ พระเทพ สองลายนี้ถือว่าเป็นลายต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่นนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ ของผ้าไหมเมืองขอนแกน่ ๒. สีสันและความประณีตของลาย เป็นเอกลักษณ์พิเศษอย่างหนึ่งของผ้าไหมเมืองขอนแก่น มีสีท่ี เป็นเอกลกั ษณด์ ั้งเดิมคือ สีมว่ ง สแี ดง สีเขียว สีเม็ดมะขาม ๓. การทอผ้าแบบ ๓ ตะกอ เป็นเอกลักษณ์พิเศษของการทอผ้าเมืองขอนแก่น ผ้าที่ทอด้วยระบบ ๓ ตะกอจะมลี ักษณะหนา เนื้อผ้าแนน่ ผ้าสองด้านจะมโี ทนสแี ตกตา่ งกนั ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๖ ๔. ผ้าหน้านาง (ท้องถิ่นอื่นเรียกว่า “ปูม” ซึ่งเป็นผ้าที่ทอขึ้นสำหรับเจ้านายใช้นุ่ง มีลักษณะแบบ โจงกระเบน ในสมัยโบราณนิยมใชใ้ นเขตอีสานใต้ ในประเทศลาวแถบแขวงเมืองจำปาสัก และเขมร) การทอ ผ้าไหมมัดหมี่ “หน้านาง” เป็นเอกลักษณ์ของการทอผ้าแบบหนึ่งของเมืองขอนแก่น ซึ่งได้มีการ ลอกเลียนแบบมาจากผ้าต้นแบบซึ่งเป็นผ้าของเจ้าเมืองชนบทคนแรก ปัจจุบันผ้าผืนนี้ก็ยังปรากฏอยู่มีอายุ กว่า ๒๒๐ ปี เอกลักษณ์การทอผ้าหน้านางของเมืองขอนแก่นจะมีลวดลายสีสันวิจิตรพิสดารกว่าที่อ่ืน เนื่องจากได้นำลายโบราณมาประยุกต์เข้ากับลวดลายไทยใหม่ๆ ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้น “ผ้าหน้านาง เมือง ขอนแก่น” ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ ๑ ของการประกวดผ้าไหมไทยประเภท “ผ้าปูม” เมื่อ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ จัดโดยสำนกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ ซ่งึ ทอโดย นายสรุ มนตรี ศรสี มบรู ณ์ เป็นชา่ ง ทอผ้าอำเภอชนบท ผา้ ไหมมดั หมี่เมืองขอนแก่น จากการสำรวจของวิทยาลัยการอาชีพจังหวัดขอนแก่น ซึ่งได้ศึกษาจากลายผ้าเก่าที่พบเห็นได้ใน ปัจจบุ ันในอำเภอชนบท สามารถจำแนกลายหม่ีพื้นฐาน หรือ แม่ลายได้ทัง้ หมด ๗ ลาย โดยสามารถแบ่งกลุ่ม ของการจดั วางลายได้เปน็ ๒ วิธี คอื การจัดวางแบบลายเดยี วซ้ำกันท้ังผนื และการจัดวาง แบบมเี สน้ แบง่ ลาย เป็นทางยาว มีทั้งทางด้านตั้งและด้านนอน เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่า “หมี่คั่น” หรือ “หมี่ตา” และจากผล การศึกษาวิจัยเรื่องลายผ้าไหม การอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ จังหวัดขอนแก่น ของนางเกศนิ ี สวสั ดี พบวา่ แมแ่ บบลายมดั หมจ่ี ังหวัดขอนแกน่ มีความหลากหลาย แตม่ ีลวดลายท่ียังคงมีการ สืบทอดและนิยมนำมาใช้ในการออกแบบสร้างสรรค์ต่อยอดเพื่อพัฒนาให้เกิดลวดลายในลักษณะร่วมสมัย ได้อย่างหลากหลาย มีจำนวน ๗ ลาย โดยนอกจากนี้ยังพบว่าลายเหล่านี้ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๗ จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ ลายหมี่หมากจับ ลายหมี่กง ลายหมี่ขอ ลายหมี่โคม ลายหมี่ใบพร้าวหรือลายหมี่สร้อย พร้าวลายหมขี่ อ้ หรือลายหม่ีโขโ่ หล่ และลายดอกแก้ว ❖ ลายหม่หี มากจับ ❖ ลายหมีก่ ง ❖ ลายหมี่ขอ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๘ ❖ ลายหมี่โคม ❖ ลายหมใ่ี บพรา้ วหรือลายหมี่สรอ้ ยพร้าว ❖ ลายหมี่ขอ้ หรือลายหม่ีโข่โหล่ ❖ ลายดอกแก้ว ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๙ บทที่ ๒ แคนแก่นคูน ลายผ้าอตั ลักษณป์ ระจำจงั หวดั ขอนแกน่ จังหวัดขอนแก่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายสมศักดิ์ จังตระกุล ได้ผลักดันให้เกิด ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของจังหวัดขอนแก่น โดยให้สร้างสรรค์ลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัด คือ ลายผ้า \"แคนแก่นคูน\" (KAN-KAEN-KOON) ซึ่งเป็นลวดลายผ้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ความเป็นจังหวัดขอนแก่นและ สะท้อนถึงมรดกทางภูมิปัญญาผ้าไหมมัดหมี่ของชาวขอนแก่น โดยได้ทอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น สวมใส่ครั้งแรกในงานเทศกาลไหมนานาชาติประเพณี ผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ และจังหวัดขอนแก่นได้ระดมกันทกุ พื้นที่ในการส่งเสริมการทอผ้าลายประจำจังหวัดขอนแก่นให้ แพรห่ ลายต่อไป โดยมีประกาศจังหวัดขอนแก่น เมือ่ วนั ท่ี ๑๘ มนี าคม พ.ศ.๒๕๖๒ เรอื่ ง การขับเคลื่อนวาระ จังหวัด “แคนแก่นคูน ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น” มีมติเห็นชอบให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานศึกษา อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาสังคม ให้ความ ร่วมมอื และรณรงค์การแตง่ กายดว้ ยผา้ ไหมหรือผา้ ฝ้ายลาย “แคนแกน่ คนู ” (KAN-KAEN-KOON) มาปฏิบัติงาน ในทุกวันศุกร์ของสัปดาห์โดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ให้ เป็นที่รูจ้ ักกว้างขวาง และเป็นการส่งเสรมิ เอกลักษณว์ ฒั นธรรมการแตง่ กายด้วยผา้ ไทยใหแ้ พร่ลาย รูปร่างลักษณะของลาย “แคนแก่นคูน” ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๐ ผ้าไหมมดั หมีล่ ายแคนแก่นคูนผนื แรกทท่ี อออกมาเป็นผืน จากกลุ่มวิสาหกิจชมุ ชนกล่มุ ทอผา้ ไหมผา้ ฝา้ ย บ้านหนองบวั น้อย ต.โสกนกเตน็ อ.พล จ.ขอนแกน่ ผา้ ไหมมดั หมล่ี ายแคนแกน่ คูน โทนสเี ม็ดมะขาม เทคนคิ ๓ ตะกอ จากกลุ่มวสิ าหกิจชมุ ชนผา้ ไหมมดั หม่ีบ้านหวั ฝาย ต.ปอแดง อ.ชนบท จ.ขอนแกน่ ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๑ องค์ประกอบลายผ้าอัตลักษณป์ ระจำจังหวดั ขอนแกน่ ๗ ลาย ❖ องคป์ ระกอบลายผ้าอัตลกั ษณ์ประจำจังหวดั ขอนแก่น \"แคนแก่นคนู \" ลายผ้าอัตลกั ษณป์ ระจำจงั หวัดขอนแกน่ \"แคนแกน่ คนู \" มอี งค์ประกอบลายผ้า ๗ ลาย ประกอบด้วย ๑) ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคน ความสุขของชาวขอนแก่น ๒) ดอกคนู หมายถึง สญั ลกั ษณ์ซึง่ เป็นดอกไมป้ ระจำจังหวดั ขอนแกน่ ๓) บายศรี หมายถึง ความมีมิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว และการยินดีต้อนรับผู้มาเยือนของ ประชาชนชาวขอนแกน่ ๔) ลายขอ หมายถงึ เป็นสญั ลกั ษณแ์ ทนความอยู่ดีกนิ ดี ความอดุ มสมบูรณ์ของประชาชนชาวขอนแก่น ๕) ลายโคม หมายถงึ การสบื ทอดภูมปิ ญั ญาวัฒนธรรมของชาวขอนแก่น ๖) ลายกง หมายถึง อาณาเขต บริเวณที่ได้รับการอารักขาให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัยทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ ตลอดไป ๗) บกั จบั หรอื หมากจับ หมายถึง ความรกั ความสามัคคี ความเปน็ น้ำหนง่ึ ใจเดยี วกนั ของประชาชน ชาวขอนแก่น ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๒ ภาพผู้ว่าราชการจงั หวัดขอนแกน่ นายสมศกั ดิ์ จงั ตระกลุ สวมใส่เสอ้ื ผ้าไหมมัดหมลี่ ายแคนแก่นคนู ❖ ท่มี าและความหมายของช่ือลายผา้ อัตลักษณ์ประจำจังหวดั ขอนแก่น \"แคนแก่นคูน\" แคน (KAN) คือ King Of Music ของคนขอนแก่น เป็นเสียงแห่งมนต์เสน่ห์ อันเป็นสุนทรีย แห่งดนตรี เป็นเอกลกั ษณข์ องนครขอนแก่น แก่น (KAEN) คือ King Of Esan หมายถึง มหานครขอนแก่น อันเป็นเมืองหลวงของภาคอีสาน ซงึ่ เป็นภมู ิเมืองของลายมดั หม่ี “แคนแก่นคูน” อีกหนึ่งนยั ขอนแก่นซ่ึงหมายถึงแก่นแท้หรือสาระอันเป็นที่มา ของลาย “แคนแกน่ คูน” คูน (KOON) คือ King Of Tree and Flower หมายถึง ต้นไม้ของพระราชา ดอกไม้ประจำจังหวดั ขอนแกน่ และดอกไมป้ ระจำชาติ ราชาแห่งพฤกษาท้ังปวง ภาพการมัดหม่ีและยอ้ มลายแคนแกน่ คนู ภาพการทอผา้ ไหมมดั หม่ีลายแคนแก่นคนู ขอนแก่น : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๓ ผ้าไหมมัดหมีล่ ายแคนแกน่ คูนหลากหลายสสี ัน ผ้าไหมมัดหม่ีลายแคนแก่นคูน ย้อมสีธรรมชาติ จากกล่มุ หตั ถกรรมค้มุ สุขโข บ้านดอนข่า ต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๔ บทท่ี ๓ การจดั ทำลวดลายผา้ ประจำจังหวดั ขอนแก่น ด้วยนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มีดำริอยากให้จังหวัดขอนแก่นมีลายผ้า มัดหมี่ประจำจังหวัด เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมสนับสนุน และประชาสัมพันธ์ผ้าไหมของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความงดงามมีชื่อเสียงเป็นเอกลักษณ์บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของชาวจังหวัดขอนแก่น ให้เป็นที่รู้จักอย่าง กว้างขวางมากขึ้น ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้า ประจำจังหวัดขอนแก่นขึ้น(คำสั่งจังหวัดขอนแก่น ที่ ๑๘๕๑/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๑) โดยคณะกรรมการมหี นา้ ท่ี รวบรวมข้อมลู องคค์ วามรู้ เพ่อื ใชใ้ นการจดั ทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ประสานงานกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือกลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น และมอบหมายให้ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น เป็นกรรมการและเลขานุการในการดำเนินการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ว่าราชการ จังหวดั ขอนแกน่ เป็นประธาน ในการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ขอนแก่น ได้จัดประชุมคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวดั ขอนแก่น จำนวน ๓ ครัง้ ดังน้ี ❖ การประชุมคร้ังที่ ๑/๒๕๖๑ การประชุมคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น (นอกรอบ) เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ศาลาไหมไทย อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้เข้าร่วม ประชุม ดังนี้ ๑. ว่าที่รอ้ ยตรี พงษ์พนั ธุ์ พลเยย่ี ม วิทยาลยั การอาชีพขอนแก่น ๒. นายโอภาส ปลดเปลอ้ื ง ศนู ยส์ ่งเสรมิ อตุ สาหกรรมภาคท่ี ๕ ๓. นายดสุ ิต โพธ์จิ นั ทร์ ศนู ย์สง่ เสรมิ อตุ สาหกรรมภาคที่ ๕ ๔. นางสาวศภุ วรรณ ททิ า สำนักงานหมอ่ นไหมเฉลมิ พระเกยี รติฯ เขต ๓ จงั หวดั ขอนแกน่ ๕. นายอรุณศักดิ์ ศรบี ุดดา สำนกั งานวฒั นธรรมจังหวัดขอนแกน่ ๖. นายถิรหัส มั่นคง วิทยาลัยการอาชพี ขอนแกน่ ๗. นางสาววรี ะวรรณ นามขวา วทิ ยาลัยการอาชพี ขอนแกน่ ๘. นางสาวจริ าลักษณ์ ปรีดี ศูนย์หมอ่ นไหมเฉลิมพระเกยี รตฯิ ขอนแกน่ ๙. นางอารยี ร์ ตั น์ พระภูวงศ์ ศนู ยห์ มอ่ นไหมเฉลมิ พระเกยี รติฯ ขอนแกน่ ๑๐. นายทนิ กร สุม่ มาตย์ ศนู ยห์ มอ่ นไหมเฉลมิ พระเกียรตฯิ ขอนแก่น ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๕ ผลจากการประชุมฯ มีสาระสำคัญ ดงั น้ี ว่าทีร่ ้อยตรี พงษพ์ ันธุ์ พลเยย่ี ม รองผอู้ ำนวยการวิทยาลยั การอาชพี ขอนแกน่ ทำหน้าทปี่ ระธานเปดิ ประชมุ ฝา่ ยเลขาฯ นำเสนอข้อมูลพ้ืนฐานการผลิตหม่อนไหมในจังหวัดขอนแก่น/ สถานการณ์การผลิตไหมไทย มาตรฐานต่างๆ ท่ีเกีย่ วกบั ผ้าไหม (มผช./ตรานกยูงพระราชทาน/OTOP/GI) และลวดลายผา้ ไหมไทย/ ผา้ ไหม จังหวัดขอนแก่น แนวทางการดำเนินงานจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น (หลักเกณฑ์การคัดเลือก, ขั้นตอนและกระบวนการคัดเลือก, การผลิตผ้าต้นแบบ, การนำเสนอ/ ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ) การรวบรวม ขอ้ มลู ที่จำเป็นในเบื้องตน้ ก่อนการประชมุ คณะกรรมการชดุ ใหญ/่ มอบหมายผู้รบั ผิดชอบ ใหท้ ป่ี ระชุมทราบ นายดุสิต โพธิ์จันทร์ นำเสนอความเป็นมาของลายผ้าประจำจังหวัดมหาสารคาม ลายสร้อย ดอกหมาก ผ้าสาเกตุ จังหวัดร้อยเอ็ด และผ้ากาบบัว จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำลาย ผ้าประจำจังหวดั ขอนแกน่ ทีป่ ระชุมมมี ติ ดงั นี้ ๑. กำหนดเกณฑ์การคัดเลือก คือ เน้นลายที่เกิดจากจังหวัดขอนแก่น ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน มากเกินไป มีความสวยงาม บ่งบอกความเป็นจังหวัดขอนแก่น ลวดลายมีความสมดุลซ้ายขวา สามารถนำไป ตดั เย็บไดง้ า่ ย ใช้ประโยชน์ไดห้ ลากหลาย ไม่กำหนดสี ๒. คดั เลือกลายผา้ ไว้ ๒ ประเภท คือ ลายโบราณ และลายใหม่ ไดแ้ ก่ - ลายโบราณ ลายท่ี ๑ ขนั หมากเบ็ง (พานบายศรลี ้อมกรอบดว้ ยกง ๑๓) ประกอบด้วยลาย พนื้ ฐาน ไดแ้ ก่ โคม ๕, หมากจบั ,กง ๗, กง ๙, กง ๑๓, ขอ, เอย้ี และหม่ีข้อตรง - ลายโบราณ ลายที่ ๒ ขาเปยี (หมากจบั ขาเปีย) ประกอบด้วยลาย ขาเปีย และหมากจบั ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๖ - ลายใหม่ มอบหมายให้นางอารีย์รัตน์ พระภูวงศ์ เป็นผู้ออกแบบ และให้กรรมการ ชว่ ยปรับแกพ้ รอ้ มคัดเลือก เพ่อื นำเสนอในทีป่ ระชมุ คณะกรรมการชดุ ใหญต่ อ่ ไป ๓. สำนกั งานวฒั นธรรมจงั หวัดขอนแกน่ รวบรวมขอ้ มูลประวัติลายผา้ ทีค่ ัดเลอื กไว้ ๔. เมื่อได้ลายผ้าแล้ว จะนำไปจัดทำผ้าต้นแบบโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น จัดหาวัตถุดิบ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๕ เป็นผู้ฟอกย้อม มัดหมี่ และทอ เพื่อการ นำเสนอและประชาสมั พนั ธต์ อ่ ไป (ปดิ การประชมุ เวลา ๑๖.๓๐ น.) ผู้พิมพ์รายงานการประชุม นางสาวจิราลักษณ์ ปรีดี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ (ผู้ช่วยเลขานุการ) ผู้ตรวจรายงานการประชุม นายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิม พระเกียรติฯ ขอนแกน่ (กรรมการและเลขานุการ) ❖ การประชมุ ครั้งท่ี ๒/๒๕๖๑ การประชุมคณะกรรมการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น (นอกรอบ) เมื่อวันท่ี ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้องประชุมมัดหมี่ อาคารสำนักงานศูนย์หม่อนไหมเฉลิม พระเกียรติฯ ขอนแก่น โดยมผี ้เู ขา้ รว่ มประชุม ดงั น้ี ๑. นางพรพิมล คงตระกลู วัฒนธรรมจังหวดั ขอนแก่น รองประธานกรรมการ ๒. นายวศิ ษิ ฐ์ ไฝจันทร์ ผ้อู ำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต ๓ จังหวัดขอนแก่น กรรมการ ๓. นายโอภาส ปลดเปลื้อง หัวหน้าช่างทอผ้า แทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริม อุตสาหกรรมภาคที่ ๕ กรรมการ ๔. นายดุสิต โพธิ์จันทร์ พนักงานเทคนิคอุตสาหกรรม ส ๒ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๕ กรรมการ ๕. นายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น กรรมการและ เลขานกุ าร ๖.นางอารีย์รัตน์ พระภูวงศ์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิม พระเกียรติฯ ขอนแกน่ ผู้ชว่ ยเลขานุการ ๗. นายอาคม จงอริยตระกูล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระ เกยี รตฯิ เขต ๓ จังหวดั ขอนแก่น ผลจากการประชุมฯ มสี าระสำคัญ ดงั นี้ นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ทำหน้าที่ประธานเปิดประชุมและดำเนินการ ประชุม และมอบหมายให้ นายสมบัติกองภา ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยมีแนวทางการดำเนินงานในการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัด ขอนแก่น ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์การคัดเลือก, ขั้นตอนและกระบวนการคัดเลือก, การผลิตผ้าต้นแบบ, การนำเสนอ/ ประชาสมั พันธ์ ฯลฯ ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๗ นางอารีย์รัตน์ พระภูวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ นำเสนอลายผ้าไหม ซึ่งประกอบด้วย ลายขันหมากเบ็ง ลายขาเปีย และลายทีอ่ อกแบบใหม่ จำนวน ๕ ลาย ให้กบั คณะกรรมการเพ่ือพจิ ารณา นายนายวศิ ษิ ฐ์ ไฝจันทร์ ผูอ้ ำนวยการสำนักงานหมอ่ นไหมเฉลมิ พระเกียรติฯ เขต ๓ จังหวัดขอนแก่น กรรมการคณะทำงาน และนายสมบตั ิ กองภา ผอู้ ำนวยการศนู ย์หม่อนไหมเฉลมิ พระเกียรตฯิ ขอนแก่น เสนอ ใหค้ ัดเลือกลายใหม่ ใหเ้ หลอื ๓ ลาย เพอ่ื นำเสนอท่ปี ระชุมใหญ่ ในครัง้ ตอ่ ไป และลายโบราณท่ีคัดเลือกควรมี ที่มาจากลายผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น และลายใหม่ที่ออกแบบควรมีลวดลายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงจังหวัด ขอนแก่น เช่น ดอกคูณ แคน หม่ีขอ เป็นตน้ ประธานในทปี่ ระชมุ แนะนำวา่ ลายทีจ่ ะนำมาใช้ควรหลกี เล่ียงลายทแ่ี สดงถึงส่งิ ศักด์สิ ทิ ธิ์ เนื่องจาก การนำไปใช้จะไม่เกิดความหลากหลาย เช่น ไมส่ ามารถนำไปนุ่ง/หม่ ได้ คณะกรรมการคดั เลือกลายผา้ เพอื่ พจิ ารณาเป็น ๒ ประเภท คือ ๑. ลายโบราณ ๑.๑ ขนั หมากเบ็ง ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๘ ๑.๒ ขาเปยี ๒. ลายใหม่ ๕ ลาย ลายที่ ๑ ลายที่ ๒ ขอนแก่น : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๑๙ ลายท่ี ๓ ลายที่ ๔ ลายท่ี ๕ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๐ ที่ประชุมมีมติคัดเลือกลายโบราณไว้ ๑ ลาย และลายใหม่ ๓ ลาย เพื่อนำเสนอในที่ประชุม คณะกรรมการชดุ ใหญ่ ไดแ้ ก่ ลายท่ี ๑ ลายขนั หมากเบ็ง ลายขันหมากเบ็ง ประกอบด้วยลายพื้นฐาน ได้แก่ โคม ๕, หมากจับ,กง ๗, กง ๙, กง ๑๓, ขอ, เอี้ย และหมีข่ ้อตรง ความหมายของลาย ขันหมากเบง็ ลักษณะเหมอื นพานบายศรีเปน็ พานพมุ่ ดอกไมส้ ำหรับใช้เปน็ เคร่ือง บูชาในพิธีกรรม ประดับประดาเครื่องสักการะ ๕ อย่าง คำว่า “หมาก” สื่อความหมายว่าชิ้นหรืออัน คำว่า “เบ็ง” แปลว่า ๕ ในลายผ้านั้นจะมีลาย โคมห้ามัดขันหมากเบ็งตรงกลาง มีลายหมากจับเป็นองค์ประกอบ มัดหมี่เป็นลายขันหมากเบ็ง สีน้ำตาลภายในเป็นลายโคมห้าสีน้ำตาลเข้ม มัดเป็นขันหมากเบ็งตรงกลาง จดั วางไลร่ ะดบั ๕ ชน้ั ลายที่ ๒ ลายใหม่ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๑ ลายท่ี ๓ ลายใหม่ มีการปรบั ลาย เพอ่ื เสนอคณะกรรมการคดั เลือก ลายที่ ๔ ลายใหม่ มีการปรับลาย เพ่ือเสนอคณะกรรมการคัดเลอื ก ลายใหม่ทคี่ ัดเลือกชอื่ ลายเพื่อพจิ ารณา เช่น ลายดอกคูณเสยี งแคน, ลายช่อราชพฤกษ์, ลายขอนคูณ แคน, ลายแก่นคูณแคน ความหมายของลาย ลายแคน หมายถงึ สญั ลกั ษณแ์ ทนความรื่นเรงิ ความสนุกสนาน และความสุข ของชาวขอนแก่น ดอกคูณ หมายถึง สญั ลักษณ์ซ่งึ เป็นตน้ ไม้ประจำจังหวัด ความอดทน พานบายศรี หมายถงึ ความมีมติ รภาพ ประเพณีการผกู เส่ยี ว และการยนิ ดีต้อนรับผูม้ าเยือนของ ประชาชนชาวขอนแกน่ หัวใจ หมายถงึ ความรกั ความสามคั คี ความเป็นนำ้ หนึ่งใจเดยี วกันของประชาชนชาวขอนแก่น ลายขอ หมายถงึ เปน็ สัญลักษณ์แทนความอยดู่ กี นิ ดี ความอดุ มสมบูรณ์ ของประชาชนชาวขอนแก่น ลายโคม ลายบกั จับ ลายกง หมายถึง การสบื ทอดภูมปิ ัญญาวฒั นธรรมของชาวขอนแกน่ ให้คงอยู่คู่ กับชาวขอนแกน่ สืบไป ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๒ ที่ประชุมมีมติมอบหมายสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น รวบรวมข้อมูลประวัติลายผ้าท่ี คัดเลือกไว้ และเมื่อได้ลายผ้าแล้ว จะนำไปจัดทำผ้าต้นแบบโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น จัดหาวัตถุดิบ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๕ เป็นผู้ฟอกย้อม มัดหมี่ และทอ เพื่อการนำเสนอและ ประชาสัมพันธต์ ่อไป (ปดิ การประชุม เวลา ๑๔.๓๐ น.) ผพู้ มิ พร์ ายงานการประชุม นางอารียร์ ัตน์ พระภวู งศ์ นักวชิ าการเกษตรปฏบิ ตั ิการ (ผ้ชู ่วยเลขานุการ) ผ้ตู รวจรายงานการประชุม นายสมบตั ิ กองภา ผูอ้ ำนวยการศูนยห์ มอ่ นไหมเฉลิมพระเกียรตฯิ ขอนแก่น (กรรมการและเลขานกุ าร) ❖ การประชมุ คร้งั ท่ี ๓/๒๕๖๑ การประชุมคณะกรรมการจดั ทำลวดลายผา้ ประจำจังหวดั ขอนแก่น เมอ่ื วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๑.๐๐ น. ณ หอ้ งประชุมพัฒนาชุมชนจงั หวดั ขอนแก่น ชัน้ ๒ ศาลากลางขอนแก่น (หลงั เก่า) โดยมี ผูเ้ ข้าร่วมประชุม ดงั นี้ ๑. ดร.สมศกั ด์ิ จงั ตระกลุ ผู้ว่าราชการจงั หวดั ขอนแกน่ ประธานกรรมการ ๒. นางพรพิมล คงตระกลู วัฒนธรรมจังหวัดขอนแกน่ รองประธานกรรมการ ๓. นายวิศิษฐ์ ไฝจันทร์ ผอู้ ำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลมิ พระเกยี รติฯ เขต ๓ จงั หวดั ขอนแกน่ กรรมการ ๔. นายโอภาส ปลดเปลอื้ ง หวั หน้าช่างทอผ้า แทนผอู้ ำนวยการศูนยส์ ่งเสรมิ อุตสาหกรรมภาคที่ ๕ กรรมการ ๕. นายดสุ ติ โพธจิ์ ันทร์ พนกั งานเทคนิคอุตสาหกรรม ส ๒ ศนู ยส์ ่งเสรมิ อุตสาหกรรมภาคท่ี ๕ กรรมการ ๖. นายธีระเชษฐ สอนปะละ พัฒนาการจงั หวดั ขอนแกน่ กรรมการ ๗. นางวรี ะวรรณ นามขวา เจา้ หน้าทศ่ี าลาไหมไทย วทิ ยาลัยการอาชีพขอนแกน่ กรรมการ ๘. นายสมบตั ิ กองภา ผอู้ ำนวยการศนู ยห์ ม่อนไหมเฉลมิ พระเกยี รติฯ ขอนแก่น กรรมการและ เลขานุการ ขอนแก่น : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๓ ๙. นางอารีย์รัตน์ พระภูวงศ์นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแกน่ ผชู้ ่วยเลขานุการ ๑๐. นายอาคม จงอริยตระกูล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักงานหม่อนไหมเฉลิม พระเกยี รตฯิ เขต ๓ จังหวดั ขอนแกน่ ๑๑. นางสาวกาญขนา ทองตัน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแกน่ ๑๒. นางภัสรา แสงลุน นักวชิ าการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจงั หวัดขอนแกน่ ผลจากการประชุมฯ มสี าระสำคัญ ดังนี้ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานเปิดประชุมคณะกรรมการจัดทำ ลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ จากน้ัน ประธานมอบหมายให้ นายสมบัติ กองภา ผูอ้ ำนวยการศนู ย์หมอ่ นไหมเฉลิมพระเกียรตฯิ ขอนแกน่ กรรมการ และเลขานกุ ารรายงานผลการดำเนนิ งานทผ่ี ่านมา นายสมบัติ กองภา ชี้แจงตามคำสั่ง จังหวัดขอนแก่น ที่ ๑๘๕๑/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ จัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้คณะกรรมการฯ ดำเนินการจัดทำลวดลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น เพื่อประโยชน์ ในการส่งเสริมสนับสนุน และ ประชาสัมพันธ์ผ้าไหมของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีความงดงาม มีชื่อเสียงเป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงภูมิปัญญา ของชาวจงั หวัดขอนแกน่ ให้เป็นทร่ี จู้ กั อย่างกว้างขวางมากขน้ึ ทัง้ ในระดบั ประเทศและระดบั สากล สรปุ ความความก้าวหน้าการจัดทำและออกแบบลวดลายผ้าไหมประจำจังหวดั ขอนแกน่ ผลจากการประชมุ ครั้งท่ี ๑/๒๕๖๑ (นอกรอบ) วันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ศาลาไหม ไทย อำเภอชนบท จงั หวัดขอนแก่น ซ่งึ หลักเกณฑก์ ารคดั เลือกมีดงั น้ี ๑. เกณฑ์การคัดเลอื ก คือ เนน้ ลายทีเ่ กิดจากจงั หวัดขอนแก่น ทำได้ง่ายไมซ่ บั ซ้อนมากเกินไป มคี วาม สวยงาม บ่งบอกความเป็นจังหวัดขอนแก่น ลวดลายมีความสมดุลซ้ายขวา สามารถนำไปตัดเย็บได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ไม่กำหนดสี ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๔ ๒. คัดเลือกลายผ้าไว้ ๒ ประเภท คอื ลายโบราณ และลายใหม่ ได้แก่ - ลายโบราณ ลายที่ ๑ ขนั หมากเบ็ง ประกอบด้วยลายพ้นื ฐาน ได้แก่ โคม ๕, หมากจับ,กง ๗, กง ๙, กง ๑๓, ขอ, เอย้ี และหม่ขี ้อตรง - ลายโบราณ ลายท่ี ๒ ขาเปยี (หมากจบั ขาเปีย) ประกอบดว้ ยลาย ขาเปยี และหมากจับ - ลายใหม่ มอบหมายให้ผู้ช่วยเลขานุการ นางอารีย์รัตน์ พระภูวงศ์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น เป็นผู้ออกแบบ และให้กรรมการช่วยปรับแก้พร้อมคัดเลือก เพ่อื นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการชดุ ใหญ่ต่อไป ๓. ไดม้ อบหมายให้วัฒนธรรมจงั หวัดขอนแกน่ รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในเบ้ืองต้นเก่ียวกบั ลายผา้ ของ จงั หวดั ขอนแก่น ไว้เพื่อคณะกรรมการพจิ ารณา ๔. เมื่อได้ลายผ้าแล้ว จะนำไปจัดทำผ้าต้นแบบโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น จัดหาวัตถุดิบ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๕ เป็นผู้ฟอกย้อม มัดหมี่ และทอ เพื่อการนำเสนอและ ประชาสมั พันธต์ อ่ ไป ผลจากการประชุมครั้งท่ี ๒/๒๕๖๑ (นอกรอบ) วันที่ ๒๑ มถิ นุ ายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ ห้อง ประชมุ มดั หมี่ อาคารสำนกั งานศนู ย์หมอ่ นไหมเฉลิมพระเกยี รตฯิ ขอนแกน่ ๑. นางอารีย์รัตน์ พระภูวงศ์ นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น ผู้ช่วยเลขานุการ นำเสนอลายผ้าไหม ซึ่งประกอบด้วย ลายขันหมากเบ็ง ลายขาเปีย และลายที่ ออกแบบใหม่ จำนวน ๕ ลาย ให้กับคณะกรรมการเพ่อื พิจารณา ๒. นายวิศิษฐ์ ไฝจนั ทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกยี รติฯ เขต ๓ จงั หวัดขอนแก่น กรรมการคณะทำงาน และนายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการศูนย์หมอ่ นไหมเฉลิมพระเกียรตฯิ ขอนแกน่ เสนอ ใหค้ ดั เลอื กลายใหม่ ใหเ้ หลอื ๓ ลาย เพ่ือนำเสนอทป่ี ระชุมใหญ่ ในครัง้ ตอ่ ไป และลายโบราณท่ีคัดเลือกควรมี ที่มาจากลายผ้าไหมในจังหวัดขอนแก่น และลายใหม่ที่ออกแบบควรมีลวดลายหรือสิ่งที่ชี้ให้เห็นถึงจังหวัด ขอนแกน่ เชน่ ดอกคณู แคน หมี่ขอ เปน็ ตน้ ๓. นางพรพิมล คงตระกลู วัฒนธรรมจังหวัดขอนแกน่ ประธานในทป่ี ระชมุ คร้ังท่ี ๒/๒๕๖๑ แนะนำ ว่าลายท่ีจะนำมาใช้ควรหลีกเลยี่ งลายทแี่ สดงถึงส่ิงศักด์สิ ิทธ์ิ เน่ืองจาก การนำไปใช้จะไม่เกดิ ความหลากหลาย เชน่ ไม่สามารถนำไปนงุ่ /หม่ ได้ ๔. คณะกรรมการได้คัดเลือกลายผา้ ไว้ ๒ ประเภท คอื ลายโบราณ และลายใหม่ ได้แก่ - ลายโบราณ ลายท่ี ๑ ขนั หมากเบ็ง - ลายใหม่ จำนวน ๓ ลาย โดยคณะกรรมการในที่ประชุมสามารถนำลายเก่าที่คัดออกไปแล้ว กลบั มาพจิ ารณาได้อีกหากคณะกรรมการในที่ประชุมเห็นชอบ หรอื เพม่ิ เติมลายใหม่อนื่ ๆ ได้ โดยมีการคิดชื่อ ลายใหม่ไว้คร่าว ๆ จำนวน ๔ ชื่อ คือ ลายดอกคูณเสียงแคน ลายช่อราชพฤกษ์ ลายขอนคูณแคน และลาย แก่นคณู แคน เปน็ ต้น และได้ใหค้ วามหมายของลายใหม่ไว้ดงั น้ี ลายแคน หมายถงึ สัญลกั ษณ์แทนความรน่ื เรงิ ความสนุกสนาน และความสุข ของชาวขอนแกน่ ดอกคณู หมายถึง สัญลกั ษณซ์ ึ่งเปน็ ตน้ ไมป้ ระจำจังหวดั ความอดทน ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๕ พานบายศรี หมายถึง ความมีมิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว และการยินดีต้อนรับผู้มาเยือน ของประชาชนชาวขอนแกน่ หวั ใจ หมายถงึ ความรัก ความสามัคคี ความเปน็ น้ำหนึ่งใจเดียวกนั ของประชาชนชาวขอนแก่น ลายขอ หมายถึง เป็นสัญลักษณ์แทนความอยู่ดีกินดี ความอุดมสมบูรณ์ ของประชาชนชาว ขอนแก่น ลายโคม ลายบักจับ ลายกง หมายถึง การสืบทอดภูมิปัญญาวัฒนธรรมของชาวขอนแก่นให้คง อยู่ค่กู บั ชาวขอนแก่นสืบไป ๕. เมื่อได้ลายผ้าแล้ว จะนำไปจัดทำผ้าต้นแบบโดย ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น จัดหาวัตถุดิบ และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๕ เป็นผู้ฟอกย้อม มัดหมี่ และทอ เพื่อการนำเสนอผู้ว่า ราชการจังหวดั ขอนแกน่ ลงนามประกาศใช้ และประชาสมั พันธต์ อ่ ไป นายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น เลขานุการ กล่าวว่า ลายขันหมากเบ็ง มีการนำไปใช้เปน็ ลายผ้าประจำจังหวัดบึงกาฬ แล้วโดยใชช้ ่ือลายว่า “หมากเบ็ง” โดยลาย ขันหมากเบ็งของจังหวัดขอนแก่นจะแตกต่างกับลายหมากเบ็งของจังหวัดบึงกาฬ ลายขันหมากเบ็งของ จังหวัดขอนแก่น จะมีรายละเอียดประกอบ ดังนี้ คือ ขันหมากเบ็ง ลักษณะเหมือนพานบายศรีเป็นพานพุ่ม ดอกไม้สำหรับใช้เป็นเครื่องบูชาในพิธีกรรม ประดับประดาเครื่องสักการะ ๕ อย่าง คำว่า “หมาก” สื่อ ความหมายว่าช้ินหรืออัน คำว่า “เบ็ง” แปลว่า ๕ ในลายผ้าน้ันจะมีลาย โคมห้ามัดขนั หมากเบ็งตรงกลาง มี ลายหมากจับเป็นองค์ประกอบ มัดหมี่เป็นลายขันหมากเบ็ง สีน้ำตาลภายในเป็นลายโคมห้าสีน้ำตาลเข้ม มัด เป็นขันหมากเบ็งตรงกลาง จัดวางไล่ระดับ ๕ ชั้น และนำเสนอตัวอย่างลายผ้าประจำจังหวัดมหาสารคาม (ลายสร้อยดอกหมาก) จังหวัดร้อยเอ็ด (ลายสาเกต) จังหวัดชัยภูมิ (ลายหมี่คั่นขอนารี) จังหวัดอุบลราชธานี (ลายกาบบวั ยกดอก) จังหวดั บึงกาฬ (ลายหมากเบง็ ) และตวั อยา่ งลายผา้ ไหมมัดหมี่ของอำเภอชนบท ประธานกล่าวว่า จังหวัดขอนแก่น ก่อตั้งมากว่า ๒๒๑ ปี แล้ว มีแต่การกล่าวว่าเป็นเมืองผ้าไหม มัดหมี่ แต่ยังไม่มีลายผา้ ประจำจงั หวัด ซึ่งควรตอ้ งมีลายที่เป็นของตัวเอง ดังเช่นจังหวัดอ่ืนๆ โดยต้องมีความ เป็นเอกลักษณ์พิเศษ เช่น ความหอม ต้องมีลักษณะที่โดดเด่น ความนุ่มเป็นพิเศษ สามารถซักรีดได้ง่าย และ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๖ เมื่อได้ลายผ้าแล้ว ควรมีการจัดประกวดการตั้งชือ่ ลายประจำจังหวัด โดยชื่อใหม่ควรแสดงถึงเอกลกั ษณ์ของ จังหวัดขอนแก่น (เมืองหมอแคน เมืองแห่งความเจริญ) ควรมีการนำเสนอผ่านทางรายการทีวี ช่อง ๑๑ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตั้งชื่อ และจังหวัดขอนแก่นเป็นเมือง Smart city ดังนั้น ผ้าลายผ้าและชื่อต้องมีความเป็นอัตลักษณ์ และให้มีการกำหนดสีประจำจังหวัดด้วย เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยลายผ้าไหมประจำจังหวัดขอนแก่นชุดแรกจะนำมาใช้ใน วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ในพิธีบวงสรวง ส่ิงศักด์สิ ิทธ์ิกอ่ นเร่ิมงานเทศกาลไหมสากล ประเพณีผูกเสย่ี ว และงานกาชาดจังหวดั ขอนแก่น ประธาน แจ้งว่าติดภารกิจขอมอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกลายผ้าประจำจังหวัด ขอนแกน่ ต่อ โดยมพี ัฒนาการจงั หวัดขอนแก่นเป็นประธานในทีป่ ระชุม นายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการศูนย์ หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น เลขานุการ กล่าวว่า ควรหาข้อยุติเรื่องลายผ้า และเชิญชวน หรือ ประชาสัมพนั ธ์ให้มกี ารต้ังชือ่ การคดั เลือกลายผ้าประจำจังหวดั ขอนแกน่ ประธาน (พฒั นาการจงั หวดั ขอนแก่นเปน็ ประธานในทป่ี ระชุมแทนผู้วา่ ราชการจังหวัดขอนแก่น) กลา่ วว่าควรมกี ารประกวดชื่อลายผ้าประจำจงั หวดั ขอนแก่น นายวิศิษฐ์ ไฝจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต ๓ จังหวัดขอนแก่น กรรมการคณะทำงาน กล่าววา่ ขอใหม้ กี ารคดั เลอื กลายใหมใ่ ห้เหลือเพยี ง ๑ ลายเทา่ น้ัน ประธาน ก ล ่ า ว ว ่ า ล า ย ท ี ่ ค ั ด เ ล ื อ ก ค ว ร ม ี ค ว า ม ห ม า ย ท ี ่ แ ส ด ง ถ ึ ง จ ั ง ห ว ั ด ข อ น แ ก ่ น ไ ด ้ ช ั ด เ จ น ให้คณะกรรมการพิจารณาคดั เลือกลายโดยการโหวต กรรมการลงความเห็นคดั เลือกลายใหมล่ ายท่ี ๒ เป็นลายประจำจงั หวัดขอนแกน่ ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๗ ลายใหม่ลายที่ ๒ พร้อมทัง้ ใหค้ ณะกรรมการในที่ประชมุ ร่วมแกไ้ ขและให้ความหมายของลายทีค่ ัดเลือกน้ี ดังนี้ ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและสนุกสนาน เมืองแห่งหมอแคน ความสุขของชาว ขอนแกน่ ดอกคนู หมายถงึ สญั ลักษณ์ซง่ึ เป็นดอกไมป้ ระจำจงั หวดั ขอนแกน่ พานบายศรี หมายถึง ความมีมิตรภาพ ประเพณีการผูกเสี่ยว และการยินดีต้อนรับผู้มาเยือนของ ประชาชนชาวขอนแก่น ลายขอ หมายถึง เปน็ สัญลกั ษณแ์ ทนความอยดู่ ีกนิ ดี ความอดุ มสมบรู ณ์ ของประชาชนชาวขอนแกน่ ลายโคม ลายกง หมายถึง การสืบทอดภูมปิ ญั ญาวฒั นธรรมของชาวขอนแกน่ บักจับหรือหมากจับ หมายถึง ความรัก ความสามัคคี ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของประชาชน ชาวขอนแก่น (ปิดการประชมุ เวลา ๑๓.๓๐ น.) ผพู้ ิมพ์รายงานการประชุม นางอารีย์รตั น์ พระภูวงศ์ นกั วชิ าการเกษตรปฏิบัติการ (ผชู้ ่วยเลขานุการ) ผู้ตรวจรายงานการประชุม นายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ขอนแก่น (กรรมการและเลขานกุ าร) ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๘ ลายท่คี ัดเลอื กเปน็ ลายผ้าประจำจงั หวัดขอนแก่น ลายใหม่ ลายที่ ๒ • ขนาดลาย ๔๙ ลำ • ลายขนาดกลาง ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๒๙ ลกั ษณะลายบนผนื ผ้า ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๐ ความหมายของลาย ลายแคน หมายถึง สัญลักษณ์แทนความเจริญและ สนกุ สนาน เมอื งแห่งหมอแคน ความสุขของชาวขอนแก่น ลายแคน ดอกคูน หมายถึง สญั ลกั ษณ์ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจงั หวดั ขอนแกน่ ดอกคนู พานบายศรี หมายถงึ ความมีมติ รภาพ ประเพณีการผกู พานบายศรี เสยี่ ว และการยนิ ดีตอ้ นรบั ผู้มาเยือนของประชาชนชาว ขอนแกน่ ลายขอ ลายโคม ลายขอ หมายถงึ เปน็ สญั ลักษณ์แทนความอยู่ดีกนิ ดี ความอุดมสมบรู ณ์ ของประชาชนชาวขอนแก่น ลายโคม ลายกง หมายถึง การสบื ทอดภูมิปัญญา วฒั นธรรมของชาวขอนแกน่ ลายกง บกั จบั หรือหมากจับ หมายถึง ความรกั ความสามัคคี บกั จบั หรือหมากจับ ความเปน็ น้ำหนง่ึ ใจเดียวกนั ของประชาชนชาวขอนแก่น ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๑ บทที่ ๔ การประกวดต้ังชื่อลายผา้ ประจำจังหวดั ขอนแกน่ จังหวัดขอนแก่น โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการประกวดตั้งชื่อลายผ้า ประจำจังหวดั ขอนแกน่ ดังนี้ ๑. ประกาศเชญิ ชวนประกวดตงั้ ชื่อลายผ้าประจำจงั หวัดขอนแก่น ลงวันท่ี ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ ๒. แต่งตั้งคณะกรรมการตัดสินการประกวดตั้งชื่อลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๖๑ ๓. ประชุมคณะกรรมการตดั สนิ การประกวดตั้งชื่อลายผ้าประจำจงั หวัดขอนแกน่ เมื่อวันอังคารที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๐.๐๐ น. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด ขอนแก่น เป็นประธานกรรมการตัดสินการประกวดตั้งช่ือลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ส่งรายช่ือ จำนวน ๑๓๔ ชื่อ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีมติเป็นเอกฉันท์ คือ “แคนแก่นคูน (KAN-KAEN-KOON)” ซึง่ มผี ู้ที่เสนอชอื่ ดงั กล่าว จำนวน ๒ ราย และจะได้รับรางวัลจากผวู้ ่าราชการจงั หวัดขอนแก่น รายละ ๕,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร ทั้งนี้ จังหวัดจะได้ประกาศชื่อลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น “แคนแก่นคูน (KAN-KAEN-KOON)” ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างเป็นทางการโดยทวั่ กนั ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๒ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น จัดมอบ เกียรตบิ ัตรและเงินรางวลั ใหก้ ับผู้ชนะเลิศในการประกวดตงั้ ช่ือลายผ้าประจำจงั หวัดขอนแกน่ “แคนแก่นคูน” จำนวน ๒ ราย คือ นางพิชญา สุวงศ์ และ นางกัญญารัตน์ ท่วมไธสง ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ จังหวัดขอนแก่น ประจำเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยมี นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัด ขอนแก่น เปน็ ประธาน ณ ห้องประชมุ แก่นเมอื ง ศาลากลางจงั หวดั ขอนแกน่ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๓ บทที่ ๕ การประชาสัมพันธแ์ ละสง่ เสริมการทอผา้ ลายประจำจงั หวัดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น โดยการจัดทำผ้าไหม มัดหมี่ลายต้นแบบ ประชาสัมพันธ์ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งของ หน่วยงานรัฐและเอกชน และส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนช่างทอผ้าของทุกอำเภอในจังหวัดขอนแก่น ทอผา้ ลายประจำจงั หวัดขอนแก่น เม่ือวันท่ี ๒๖ กนั ยายน ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๐๐ น. ดร.สมศักด์ิ จังตระกุล ผูว้ ่าราชการจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะ ลงพื้นที่หมู่บ้านดอนหญ้านาง ตำบลดอนช้าง และศูนย์สืบสานการทอผ้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลดอนช้าง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น ซึ่งเป็นแหล่งทอผ้าไหม/ผ้าฝ้ายทอมืออีกแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น เพื่อประชาสัมพันธ์ลายผ้า ประจำจังหวัดขอนแก่น \"แคนแก่นคูน\" (KAN-KAEN-KOON) พร้อมทั้งส่งเสริมการทอผ้าไหมลายดังกล่าว เพ่อื เปน็ การกระจายรายได้สู่ชุมชนอกี ช่องทางหนง่ึ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๑ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้ นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พร้อมคณะ ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมการทอผ้าลายประจำ จงั หวดั ขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ณ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๔ เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัดขอนแกน่ ให้สัมภาษณ์ในรายการสด PR.KHONKAEN ตอนที่ ๖๔ ประเด็นลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น ลาย “แคน แก่น คนู ” ในเร่ืองการลงพ้ืนท่ชี ุมชนคุณธรรม และการเตรยี มความพร้อมในการผลิต ณ ประชาสมั พันธ์ จังหวดั ขอนแกน่ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้นายสันติ เหลา่ บญุ เสง่ียม รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พรอ้ มด้วยหวั หนา้ ส่วนราชการและผู้ มีสว่ นเก่ยี วขอ้ ง รว่ มตอ้ นรับและนำเสนอขอ้ มูลเอกลกั ษณ์ผา้ ไทย ประวตั คิ วามเป็นมาจังหวดั ขอนแก่น วิถชี ีวติ การทอผ้าในมิติวัฒนธรรม และลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่นลาย \"แคนแก่นคูน\" ต่อคณะกรรมการ สภาหัตถกรรมภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก ที่เดินทางมาประเมินรับรองจังหวัดขอนแก่นเป็นนครแห่งมัดหมี่โลก ณ ห้องประชมุ แกน่ ภูมิ ศาลากลางจังหวดั ขอนแก่น ชั้น ๔ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๓๐ น. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย นายสมบัติ กองภา ผู้อำนวยการ หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯขอนแก่น ให้สัมภาษณ์ในรายการสด รายการ \"อีสานวันนี้\" ในประเด็นลายผ้า ประจำจังหวัดขอนแก่น “แคนแก่นคูน” และรณรงค์ด้านการสวมใส่ผ้าไทย ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทยจงั หวดั ขอนแกน่ NBT ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๕ เมอื่ วันท่ี ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๕.๐๐ น. ดร.สมศักด์ิ จังตระกุล ผูว้ า่ ราชการจังหวดั ขอนแก่น มอบหมายให้สำนกั งานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น ลงพืน้ ทใ่ี ห้กำลังใจชมุ ชนพ้นื ท่ีในการทอผ้าลายประจำ จงั หวัดขอนแกน่ “แคนแก่นคูน” ณ บา้ นหนองหญ้าป้อง ตำบลดอนช้าง อำเภอเมืองขอนแกน่ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๖.๓๐ น. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแกน่ มอบหมายให้ นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวดั ขอนแก่น ใหข้ อ้ มลู เรอื่ งความหมายของลายผ้าประจำ จังหวัดขอนแก่น ลาย \"แคนแก่นคูน\" ในรายการยิ้มมุมปาก ออกอากาศทางช่อง TRUE ๔U ณ ห้องรับรอง ขวญั เมืองชั้น ๔ ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๖ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ เวลา ๑๒.๓๐ น. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวดั ขอนแก่น มอบหมายให้ นางพรพมิ ล คงตระกลู วัฒนธรรมจงั หวดั ขอนแกน่ พรอ้ มเจ้าหนา้ ท่ีสำนักงานวฒั นธรรมจังหวัด ขอนแก่นอธิบายความหมายของลายผ้าประจำจังหวัด ลาย\"แคนแก่นคูน\" ให้กับคณะนักศึกษาสถาบัน วิทยาการตลาดทุน (วตท.) และภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนงานไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงาน กาชาดจงั หวดั ขอนแก่น ณ หอ้ งรับรองขวญั เมือง ชั้น ๔ ศาลากลางจังหวดั ขอนแก่น เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี (๙ MCOT HD) ในประเด็นการส่งเสริมอัตลักษณ์ ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น “แคนแก่นคูน” พร้อมด้วย นางพรพิมล คงตระกูล วัฒนธรรมจังหวัด ขอนแกน่ ณ โรงแรมขอนแก่น โฮเต็ล ตำบลในเมอื ง อำเภอเมืองขอนแก่น จงั หวดั ขอนแก่น ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๗ จังหวัดขอนแก่น รณรงค์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมแต่งกายด้วยผ้าลายประจำจังหวัด ขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ในการรำบวงสรวง ๑๐ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น ฉลองขอนแก่นครบรอบ ๒๒๑ ปี เนอื่ งในเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณผี กู เส่ียว และงานกาชาดจังหวดั ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๖๑ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๘ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ให้สัมภาษณ์ สื่อทีวี Thai PBS ประเด็นเกี่ยวกับ ความเป็นมาและยุทธศาสตร์การพัฒนาขอนแก่น “เมืองหัตถกรรมโลก แห่งผ้ามัดหมี่” และลายผ้าประจำจังหวัดขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ที่กำลังเป็นทีร่ ู้จักและสรา้ งรายได้ในการ ทอผ้าให้กับชาวบ้าน ทุกอำเภอในจังหวัดขอนแก่น ตลอดจนประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการแต่งกายผ้าไทยลาย ประจำจังหวัดขอนแก่นทุกวันศุกร์ ให้เป็น “วาระจังหวัดขอนแก่น” ณ ห้องแสดงผลิตภัณฑ์ศูนย์ บนั ดาลไทย สำนักงานวฒั นธรรมจังหวดั ขอนแก่นเม่ือวนั ท่ี ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. จังหวัดขอนแก่น โดย ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยรองผู้ว่า ราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่จากกรม ประชาสัมพันธ์ ในโอกาสเดินทางมาร่วมกิจกรรมดนตรรี ักชาติ แคนแก่นคูน ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น ทั้งน้ี ได้รณรงค์ให้ผู้เข้าร่วมงานแต่งกายด้วยผ้าลาย “แคนแก่นคูน” เพื่อประชาสัมพันธ์ สง่ เสริมลายผ้าประจำจงั หวัดขอนแกน่ ให้เปน็ ที่รจู้ ักอยา่ งแพรห่ ลาย ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๓๙ จังหวัดขอนแก่น รณรงค์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมแต่งกายด้วยผ้าลายประจำจังหวัด ขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ในการรำบวงสรวง ๑๐ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น ฉลองขอนแก่นครบรอบ ๒๒๒ ปี เนอื่ งในเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณผี กู เส่ียว และงานกาชาดจังหวดั ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๖๒ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔๐ จังหวัดขอนแก่น รณรงค์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมแต่งกายด้วยผ้าลายประจำจังหวัด ขอนแก่น “แคนแก่นคูน” ในการรำบวงสรวง ๑๐ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองขอนแก่น ฉลองขอนแก่นครบรอบ ๒๒๓ ปี เนอื่ งในเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณผี กู เส่ียว และงานกาชาดจังหวดั ขอนแก่น ประจำปี ๒๕๖๓ ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔๑ จังหวัดขอนแก่น โดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น บูรณาการร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ/ ภาคเอกชน สมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดขอนแก่นและชมรมถ่ายภาพโฟโต้แก้งค์ จัดโครงการส่งเสริม อัตลักษณ์เสน่ห์ผ้าไทย จังหวัดขอนแก่น กิจกรรมถ่ายแบบชุดผ้าไทยอัตลักษณ์ จังหวัดขอนแก่น ลายผ้า ประจำจังหวัดขอนแก่น แคนแก่นคูนและผ้าไหมมัดหมี่ เพื่อประกอบการจัดทำหนังสือ “การส่งเสริม อัตลักษณ์เสน่ห์ผ้าไทย จังหวัดขอนแก่น” ทั้งนี้เพื่อการส่งเสริมการส่งเสริมการแต่งกายผ้าไทยและ ประชาสัมพันธ์อัตลักษณ์ผ้าพื้นถิ่น \"ลายแคนแก่นคูน\" และผ้าไหมมัดหม่ีจังหวัดขอนแก่นให้เป็นที่รู้จักอย่าง กวา้ งขวางและสง่ เสรมิ การสร้างรายไดใ้ ห้ชุมชมชา่ งทอผ้า ช่างตัดเยบ็ กระตุน้ เศรษฐกจิ ฐานรากอย่างย่งั ยนื ขอนแกน่ : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔๒ จังหวัดขอนแก่น โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น จัดงานแสดงและจำหน่ายผ้าไหม OTOP : มัดหมี่ เบียนนาเล่ 2021 Mudmee Biennale 2021 ถักทอเส้นใยอีสาน สู่สายใยโลก Craft the world ในระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๕ กันยายน ๒๕๖๔ ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในงานมีกิจกรรม อาทิ การจัดแสดงและจำหน่ายผ้าไหม ระดับพรีเมี่ยม ของ จังหวัดขอนแก่น, การแสดงแฟชั่นโชว์ การแสดงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมส่งเสริมการขาย, การจัดแสดง โชว์ผลงาน การประกวดผ้าไหมลายแคนแก่นคูน และผ้าไหมมัดหมี่ของจังหวัดขอนแก่น, กิจกรรมเสวนา วิชาการ การพัฒนาส่งเสริมผ้าไหม เพื่อการส่งออก สู่ตลาดโลก เป็นต้น ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔๓ จังหวัดขอนแก่น โดยสำนกั งานวัฒนธรรมจังหวดั ขอนแกน่ จัดโครงการแสดงศลิ ปวฒั นธรรมถ่ายทอด องค์ความร้อู ัตลักษณแ์ ละลายผ้าเมืองขอนแก่น“ออนซอนมหานครขอนแก่น สบื ศลิ ป์ถนิ่ สรา้ งสรรค์” กจิ กรรม ประกอบไปด้วย จดั แสดงจำหนา่ ยผลติ ภัณฑ์ผ้าไหมมัดหม่ีผา้ ไหมมัดหมี่ลาย“แคนแกน่ คูน”ลายประจำจงั หวดั ขอนแก่น กิจกรรมแลกเปล่ยี นเรียนรูเ้ กี่ยวกับลายผ้า การถา่ ยทอดองค์ความรู้ การสรา้ งสรรคพ์ ัฒนารูปแบบ ลวดลายผา้ ไหม การเดินแบบแฟชัน่ ชุดผา้ ไหมลาย “แคนแกน่ คนู ” เพ่ือกระตุน้ ปลูกจิตสำนึกใหเ้ ดก็ เยาวชน และประชาชนเกิดความภาคภมู ิใจในเอกลักษณ์ของวฒั นธรรมทอ้ งถ่นิ ไดร้ ่วมกนั สง่ เสริม อนุรกั ษ์ สรา้ งสรรค์ และสบื สานภูมปิ ัญญาของท้องถ่นิ ใหค้ งอย่สู ืบไปนำทุนทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นมาสร้างรายไดเ้ พ่ิมมูลค่าทาง เศรษฐกจิ สรา้ งความมนั่ คง ม่ังคั่ง และยง่ั ยนื ของชมุ ชน เพื่อเป็นการประชาสมั พันธ์ การสร้างสรรคพ์ ัฒนา ลายผา้ แคนแก่นคนู ลายผ้าประจำจงั หวัดขอนแก่น ให้เป็นท่รี จู้ กั อย่างแพร่หลาย ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔๔ ❖ การขอแจง้ ข้อมลู ลขิ สิทธ์ิ ลายผ้าประจำจังหวดั ขอนแก่น “แคนแก่นคนู ” (KAN-KAEN-KOON) นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแก่น ดำเนนิ การจัดทำคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธ์ิประเภทงานอน่ื ใดในแผนกวรรณคดี แผนกวทิ ยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ชอ่ื ผลงาน (แคนแกน่ คนู ) KANKAENKOON ลักษณะงานลายผา้ ประจำจงั หวดั ขอนแก่น ส่งไปยังสำนักลิขสทิ ธิ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันท่ี ๒๐ กันยายน ๒๕๖๑ เพื่อให้ประชาชนชาวขอนแก่นได้นำไปใช้ประโยชน์ เป็นการสง่ เสรมิ ประชาสัมพันธ์อตั ลักษณ์ลายผ้าประจำจังหวัดขอนแกน่ “แคนแก่นคนู ” และส่งเสริมการเป็น เมอื หัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ ❖ การส่งเสรมิ พัฒนาตอ่ ยอดผลิตภัณฑ์จากลายผ้าประจำจังหวัดขอนแกน่ “แคนแกน่ คนู ” จังหวัดขอนแก่น โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น สำนักงานพาณิชย์จังหวัดขอนแกน่ บูรณาการรว่ มกันระหวา่ งภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มผู้ผลิตชุมชนช่างทอผา้ กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดขอนแก่น ร่วมกันส่งเสริมนำผ้าลายอัตลักษณ์ประจำจังหวัดขอนแก่น “แคนแก่นคูน” มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ชุดการแต่งกาย กระเป๋า หมวก ตุ๊กตา ของฝาก ของที่ระลึก เป็นต้น ทั้งน้ีเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมลายผ้าไหมมัดหมี่ ท่ีมีชื่อเสียงเป็นเอกลักษณ์ บ่งบอกถึงภูมิปัญญาชาวจังหวัดขอนแก่น พัฒนาต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของตลาด สร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับชุมชน กระตนุ้ เศรษฐกจิ ฐานรากอยา่ งยั่งยนื ชดุ การแตง่ กายจากผ้าลายแคนแกน่ คนู ขอนแก่น : เมืองหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหมี่ Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)

๔๕ ชดุ การแตง่ กายจากผา้ ลายแคนแก่นคูน ขอนแกน่ : เมอื งหัตถกรรมโลกแห่งผา้ มัดหม่ี Khon Kaen : World Craft City for Ikat (Mudmee)