Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ขุนช้างขุนแผน

ขุนช้างขุนแผน

Published by bing1742za, 2021-11-12 09:03:24

Description: ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

Keywords: ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

Search

Read the Text Version

ขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

ประวัติผู้แต่ง การแต่งเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนไม่นิยมบอก นามผู้แต่ง มีเพียงการสันนิษฐานผู้แต่ง โดยพิจาร- ณาจากสำนวนการแต่งเท่านั้น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างถวายฎีกาจึงไม่ทราบนามผู้แต่งที่แน่ชัด

เรื่องย่อ กล่าวถึงพลายงาม เมื่อชนะคดีความขุนช้าง แล้ว ขุนช้างได้พานางวันทองกลับไปอยู่สุพรรณบุรี ส่วนตัวพลาย งามเองก็กลับไปอยู่บ้านพร้อมหน้า ญาติและพ่อ ขาดก็แต่แม่ ทำให้พลายงามเกิดความ คิดที่จะพานางวันทองกลับมาอยู่ด้วยกัน จะได้- พร้อมหน้าพ่อ แม่ ลูก พอตกดึกจึงไปลอบขึ้นเรือน ขุนช้างแล้วพานางวันทองหนีมาอยู่ที่บ้านกับตน ตอนแรกนางก็ไม่ยินยอมที่จะมา เพราะกลัวจะเป็น- เรื่องให้อับอายว่า คนนั้นลากไป คนนี้ลากมาอีก และเกรงจะมีปัญหาตามมาภายหลัง จึงบอกให้ พลายงามนำความไปปรึกษาขุนแผน เพื่อฟ้องร้อง ขุนช้างดีกว่าจะมาลักพาตัวไป แต่พลายงามไม่ยอม สุดท้ายนางวันทองจึงจำต้องยอมไปกับพลายงาม ฝ่ายขุนช้างนอนฝันร้าย ก็ผวาตื่นเอาตอนสาย

เรื่องย่อ(ต่อ) ครั้นตื่นขึ้นมาก็ร้องเรียกหานางวันทอง ออก- มาถามบ่าวไพร่ก็ไม่มีใครเห็นจึงโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ มุ่งมั่นจะตามนางวันทองกลับมาให้ได้ ฝ่ายพลาย งามก็เกรงว่าขุนช้างจะเอาผิด ถ้ารู้ว่าตนไปพานาง- วันทองมา จะเพ็ดทูลสมเด็จพระพันวษาอีก แม่- อาจจะต้องโทษได้ จึงใช้ให้หมื่นวิเศษผลไปบอก ขุนช้างว่าตนนั้นป่วยหนักอยากเห็นหน้าแม่ จึงใช้ให้ คนไปตามนางวันทองมาเมื่อกลางดึก ขอให้แม่อยู่- กับตนสักพักหนึ่งแล้วจะส่งตัวกลับมาอยู่กับขุนช้าง ตามเดิม ขุนช้างโมโหและแค้นยิ่งนักที่พลายงาม ทำเหมือนข่มเหงไม่เกรงใจตน จึงร่างคำร้อง ถวายฎีกา แล้วลอยคอมายังเรือพระที่นั่งของ สมเด็จพระพันวษาเพื่อถวายฎีกา ทำให้สมเด็จพระ- พันวษาพิโรธมาก ให้ทหารรับคำฟ้องมา แล้วให้เฆี่ยนขุนช้าง ๓๐ ที

เรื่องย่อ(ต่อ) แล้วปล่อยไป และยังทรงตั้งกฤษฎีกาการรัก- ษาความปลอดภัยว่า ต่อไปข้าราชการผู้ใดที่มีหน้าที่ รักษาความปลอดภัยแล้วปล่อยให้ใครเข้ามาโดย มิได้รับอนุญาตจะมีโทษมหันต์ถึงประหารชีวิต กล่าวฝ่ายขุนแผนนอนอยูในเรือนกับนางแก้วกิริยา และนางลาวทองอย่างมีความสุข ครั้นสองนาง หลับ ขุนแผนก็คิดถึงนางวันทองที่พลายงามไปนำ ตัวมาไว้ที่บ้าน จึงออกจากห้องย่องไปหานางวัน ทองหวังจะร่วมหลับนอนกัน แต่นางปฏิเสธแล้ว- พากันหลับไป แต่พอตกตึกนางวันทองก็เกิดฝันร้าย ตกใจตื่นเล่าความฝันให้ขุนแผนฟัง ขุนแผนฟังความ ฝันของนางก็รู้ทันทีว่าเป็นเรื่องร้าย อันตรายถึงชีวิต แน่นอน แต่ก็แกล้งทำนายไปในทางดีเสีย เพื่อนาง จะได้สบายใจ

เรื่องย่อ(ต่อ) ฝ่ายสมเด็จพระพันวษาครั้นทรงอ่านคำฟ้อง ของขุนช้างก็ทรงกริ้วยิ่งนัก ให้ทหารไปตามตัวนาง- วันทอง ขุนแผน และพระไวยมาเฝ้าทันที ขุนแผน เกรงว่านางวันทองจะมีภัย จึงเสกคาถาและขี้ผึ้งให้ นางวันทองทาปากเพื่อให้พระพันวษาเมตตา แล้วจึง พานางเข้าเฝ้า เมื่อพระพันวษาเห็นนางวันทองก็ ใจอ่อนเอ็นดู ตรัสถามเรื่องราวที่เป็นมาจากนางวัน ทองว่า ตอนชนะคดีให้ไปอยู่กับขุนแผน แล้วทำไม จึงไปอยู่-กับขุนช้างนางวันทองก็กราบทูลด้วยความ กลัว ไปตามจริงว่า ขุนแผนถูกจองจำ ขุนช้างเอาพระ โองการไปอ้างให้ฉุดนางไปอยู่ด้วย เพื่อนบ้านเห็น เหตุการณ์ก็ไม่กล้าเข้าช่วยเพราะกลัวผิดพระโองการ สมเด็จพระพันวษาฟังความทรงกริ้วขุนช้างมาก ทรงถามนางวันทองอีกว่าขุนช้างไปฉุดให้อยู่ด้วยกัน มาตั้ง ๑๘ ปี

เรื่องย่อ(ต่อ) แล้วคราวนี้หนีมาหรือมีใครไปรับมาอยู่กับ ขุนแผน นางวันทองก็กราบทูลไปตามจริงว่าพระไวย เป็นผู้ไปรับมาเวลาสองยาม ขุนช้างจึงหาความว่า- หลบหนี สมเด็จพระพันวษาทรงกริ้วพระไวยที่ทำอะไร ตามใจตน นึกจะขึ้นบ้านใครก็ขึ้น ทำเหมือนบ้านเมือง ไม่มีขื่อมีแปร และว่าขุนแผนรู้เห็นเป็นใจ สมเด็จพระ- พันวษาทรงคิดว่า สาเหตุของความวุ่นวายทั้งหมดนี้ เกิดจากนางวันทองจึงให้นางวันทองตัดสินใจว่าจะ อยู่กับใคร นางวันทองตกใจประหม่า อีกทั้งจะหมด- อายุขัยจึงบันดาลให้พูดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะอยู่ กับใคร นางให้เหตุผลว่า นางรักขุนแผน แต่ขุนช้างก็ดี กับนาง ส่วนพลายงามก็เป็นลูกรัก ทำให้สมเด็จ- พระพันวษากริ้วมาก เห็นว่านางวันทองเป็นคนหลาย- ใจ เป็นหญิงแพศยา จึงให้ประหารชีวิตนางวันทอง เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นต่อไป

ลักษณะคำประพันธ์ ลักษณะคำประพันธ์ คือ กลอนเสภา เป็นกลอนสุภาพ เสภาเป็นกลอนขั้นเล่าเรื่องอย่าง เล่านิทานจึงใช้คำมากเพื่อบรรจุข้อความให้ชัดเจน แก่ผู้ฟัง และมุ่งเอาการขับได้ ไพเราะเป็นสำคัญ สัมผัสของคำประพันธ์ คือ คำสุดท้ายของวรรคต้น ส่งสัมผัสไปยังคำใดคำหนึ่งใน ๕ คำแรกของวรรค หลังสัมผัสวรรคอื่นและสัมผัสระหว่างบทเหมือน- กลอนสุภาพ

ลักษณะคำประพันธ์

ตัวละคร นางพิมพิลาลัย นางพิมพิลาไลย หรือ นางวันทอง ผู้หญิงที่ สวยที่สุดในเมืองสุพรรณบุรี แต่ก็ปากจัดไม่แพ้ใคร เพราะความสวยของนางทำให้เกิดการแย่งชิงกัน ระหว่างขุนช้างกับชุนแผน แต่สุดท้ายนางก็ต้องถูก- ประหารชีวิตเพราะไม่สามารถเลือกได้ว่าจะอยู่กับ ใครระหว่าง ขุนช้าง ขุนแผน หรือ พลายงามผู้เป็น ลูก พระพันวษาจึงประณามนางวันทองว่าเป็น หญิงสองใจ

ตัวละคร สมเด็จพระพันวษา เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ยุคนี้ เป็นยุคที่บ้านเมืองเจริญรุ่งรือง มีความอุดมสมบูรณ์ ราษฎรทั้งหลายอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข บรรดา ประเทศใกล้เคียงก็อ่อนน้อม เพราะยำเกรงบารมี สมเด็จพระพันวษามีนิสัย โกรธง่าย แต่พระองค์ก็ นับว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความยุติธรรมต่อพวก ทหารเสนาอำมาตย์ และราษฎรพอสมควร เมื่อมี คดีฟ้องร้องกัน ก็จะให้มีการไต่สวน และพิสูจน์ ความจริง

ตัวละคร พลายงาม มีตำแหน่งราชการเป็น จมื่นไวยวรนาถ ซึ่ง มักเรียกสั้นๆ ว่า พระไวย หรือหมื่นไวย เป็นลูก ของขุนแผนกับนางวันทอง ยิ่งโตยิ่งละม้ายคล้าย ขุนแผนมาก พลายงามได้เรียนวิชาจากตำราของพ่อ จนเชี่ยวชาญมีความสามารถเช่นเดียวกับขุนแผน และมีภรรยา ๒ คน คือ นางศรีมาลา และ นาง สร้อยฟ้า

ตัวละคร ขุนแผน ขุนแผนหรือพลายงามเป็นผู้ที่มีความสามารถ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความกล้าหาญ เสียสละ แต่เจ้าชู้ เป็นคนพูดจาอ่อนหวาน และถนัดการใช้คาถา มหาละลวยหากพบเห็นใครแล้วนึกชอบก็จะเกี้ยวพารา สี ซ้ำยังเป่าคาถาจนสาวหลงกันงมงายนอกเหนือจาก นางวันทอง ซึ่งเป็นหญิงคนแรกในดวงใจของขุนแผน แล้ว ยังมีผู้หญิงอีก ๔ คน ที่ตกเป็นเมียของขุนแผน คือ นางสายทอง นางลาวทอง นางแก้วกิริยา และนางบัว คลี่ อีกทั้งมีอาคม วิชาไสยศาสตร์ มีของวิเศษ 3 อย่าง คือ ดาบฟ้าฟื้น กุมารทองและม้าสีหมอก

ตัวละคร ขุนช้าง ขุนช้าง เจ้าสัวใหญ่แห่งเมืองสุพรรณบุรี ผู้ ยึดถือความรักที่มีต่อนางวันทองเป็นใหญ่เหนือสิ่ง อื่นใดและกระทำทุกอย่างที่จะได้นางวันทองมา ครอบครอง โดยไม่สนใจว่าการกระทำนั้นจะถูก ต้องหรือไม่

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ รสวรรณคดี

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้ภาพพจน์

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้ภาพพจน์

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้ภาพพจน์

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้โวหาร

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้โวหาร

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การสรรคำ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การสรรคำ

คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การสรรคำ

คุณค่าด้านสังคม สะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องความฝัน ถือว่าไม่ว่าจะฝันดีหรือฝันร้าย ล้วนแต่เป็นลางบอก เหตุที่จะเกิดขึ้นแก่ตน หรือคนในครอบครัว จะเห็น ได้จากบทประพันธ์ดังนี้

คุณค่าด้านสังคม สะท้อนให้เห็นความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ แม้จะนับถือพุทธศาสนาแต่ก็ยังเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ คาถาอาคม เรื่องโชคชะตาดวงของคน การพึ่งพา ไสยศาสตร์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การป้องกัน ภยันตราย การสู้รบทำสงคราม การใช้เครื่องราง เป็นเครื่องเสริมกำลังใจ หรือให้ประสบความ สำเร็จตามใจปรารถนาของตน จะเห็นได้จากบท ประพันธ์ดังนี้

คุณค่าด้านสังคม วรรณคดีเรื่องนี้สะท้อนแสดงให้เห็นโลก ทัศน์ของครอบครัวขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ว่ามีความจงรักภักดีต่อองค์พระ- มหากษัตริย์ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ยังมีอำนาจอยู่เหนือกฎหมาย (ถือว่าพระมหา- กษัตริย์เป็นเสมือนสมมุติเทพ) จะเห็นได้จากบท- ประพันธ์ดังนี้

คุณค่าด้านสังคม จากในตัวเรื่องสะท้อนให้เห็นค่านิยมความ เชื่อเรื่องบาปกรรม เชื่อ-ว่าความทุกข์ยาก เดือด ร้อนด้วยเหตุต่างๆ นั้นเป็นผลมาจากกรรมเก่าที่ทำไว้ จะเห็นได้จากบทประพันธ์ดังนี้

ข้อคิดที่ได้รับ ๑.การใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ โดยไม่- พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน อาจนำมาซึ่งความผิด พลาดในชีวิตได้ ๒.พ่อแม่ทุกคนรักลูกและ ยอมเสียสละทุก- อย่างเพื่อลูกได้ ๓.เชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ๔.ความอดทนอดกลั้น ๕.ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดี สังคมจะยกย่องผู้ที่รู้จักบุญคุณคน

แบบทดสอบ

นางสาวพลอยสวย เซ่งก่อกุล รหัสนักศึกษา 634101013


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook