Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore cover_200211_133856_merged

cover_200211_133856_merged

Published by ไชยวัฒน์ มณีจอม, 2021-03-13 05:01:02

Description: cover_200211_133856_merged

Search

Read the Text Version

ใบเน้อื หาเร่อื งความปลอดภยั ในการปฏบิ ัตงิ าน หน้า | 1 แนวคิด ในการปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติงานต้องคานึงถึงสภาพแวดล้อมและปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพื่อป้องกันการเกิด อบุ ัติเหตุกับผู้ปฏิบัตงิ าน ซึง่ เป็นปัญหาของผู้บริหารในโรงงาน เพราะการเกิดอบุ ัติเหตุแตล่ ะครั้ง นอกจากจะทาให้งาน ผลติ หยุดชะงกั แลว้ ยังตอ้ งเสยี ค่ารักษาพยาบาลเพ่ิมข้ึนอีกด้วย ในโรงงานจาเป็นต้องมีมาตรการป้องกันหรือลดอุบัตเิ หตุ ใหเ้ กดิ นอ้ ยท่ีสดุ สาระการเรียนรู้ 1. ปฐมนิเทศ 2. ศึกษาเก่ียวกับปลอดภัยในการปฏิบัตงิ าน 3. ลงมือปฏิบัติงาน ผลการเรยี นรู้ทค่ี าดหวัง 1. บอกความหมายของนิยามศพั ท์ ด้านความปลอดภัย 2. อธิบายความสูญเสยี ที่เกิดข้นึ จากอุบัติเหตไุ ด้ 3. ระบุประเภทของอบุ ตั ิเหตุได้ 4. ระบุสาเหตขุ องการเกดิ อุบตั ิเหตุในการปฏิบัตงิ านได้ 5. อธิบายแนวปฏิบัตเิ กย่ี วกบั ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานได้ 6. อธิบายหลักการปอ้ งกันอุบตั ิเหตุจางการปฏบิ ัตงิ านได้ 7. อธิบายหลังในการปฏบิ ตั ิงานใหเ้ กดิ ความปลอดภัยได้ 8. อธบิ ายสีและสัญลักษณเ์ ครื่องหมายความปลอดภัยได้ กิจกรรมการเรยี นการสอน 1. นักศึกษาสรุปเน้ือหาในหนว่ ยเรียนน้ี 2. ใหน้ ักศกึ ษาทาแบบฝกึ หัดทา้ ยบท ขัน้ นาเขา้ สบู่ ทเรียน 1. อาจารยถ์ าม : ในการปฏิบัตงิ านทุกครั้งเราควรทาอะไรกอ่ น 2. นกั ศกึ ษาตอบ :ตอ้ งมสี ตทิ ุกครงั้ กอ่ นทางาน 3. อาจารย์ : สรุปในการปฏบิ ัติงานผปู้ ฏิบตั ิงานตอ้ งคานงึ ถึงสภาพแวดล้อมและปลอดภยั เปน็ อนั ดบั แรก เพือ่ ป้องกันการเกดิ อบุ ัติเหตกุ บั ผูป้ ฏิบตั ิงาน 4. ดาเนินการสอนเกย่ี วกับความปลอดภยั ในการปฏิบตั ิงาน 5. นกั ศกึ ษารว่ มแสดงความคดิ เห็นโดยทีอ่ าจารยใ์ ช้คาถามกระตุ้น

ใบเนือ้ หาเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หน้า | 2 ขั้นสรปุ และการประยุกต์ 1. อาจารยส์ รปุ เนอื้ หาในบทเรียน 2. อาจารยส์ งั เกตพฤตกิ รรมรายบคุ คล 3. นักศึกษาทาแบบฝกึ หัดท้ายบท ส่ือการเรียนการสอน 1. Power Point 2. วดิ ีโอเรื่องความปลอดภัย

ใบเนื้อหาเร่อื งความปลอดภยั ในการปฏิบตั งิ าน หน้า | 3 หน่วยท่ี 1 ความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั งิ าน 1. หัวขอ้ เรอ่ื ง 1.นยิ ามศัพทด์ า้ นความปลอดภัย 2.ความสูญเสยี ทเี่ กดิ ขนึ้ จากอบุ ตั ิเหตุ 3.ประเภทของอุบตั ิเหตุ 4.สาเหตขุ องการเกดิ อุบตั ิเหตุในการปฏบิ ตั ิงาน 5.แนวปฏบิ ตั เิ กย่ี วกบั ความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั ิงาน 6.หลักการปอ้ งกันอบุ ตั เิ หตจุ ากการปฏิบตั งิ าน 7.หลักในการปฏิบตั ิงานใหเ้ กดิ ความปลอดภยั 8.สแี ละสญั ลกั ษณเ์ ครื่องหมายความปลอดภัย 2. จุดประสงค์ท่วั ไป มีความรูค้ วามเข้าใจ สามารถนาไปใช้และมเี จตคตทิ ี่ดใี นเรอื่ งความปลอดภัย 3. จุดประสงคก์ ารเรยี นรู้ 1. บอกความหมายของนยิ ามศัพท์ ดา้ นความปลอดภยั 2. อธิบายความสูญเสยี ทเ่ี กดิ ขึ้นจากอบุ ัติเหตุได้ 3. ระบุประเภทของอบุ ัติเหตไุ ด้ 4. ระบสุ าเหตุของการเกิดอุบัตเิ หตุในการปฏบิ ตั งิ านได้ 5. อธิบายแนวปฏบิ ัติเก่ียวกับความปลอดภยั ในการปฏิบัตงิ านได้ 6. อธิบายหลักการปอ้ งกนั อบุ ตั ิเหตจุ างการปฏบิ ตั งิ านได้ 7. อธบิ ายหลงั ในการปฏบิ ตั งิ านใหเ้ กิดความปลอดภยั ได้ 8. อธิบายสีและสัญลักษณเ์ คร่ืองหมายความปลอดภยั ได้ 4. เนอื้ หาสาระ ในการปฏิบัติงานผู้ปฏิบัติงานต้องคานึงถึงสภาพแวดล้อมและปลอดภัยเป็นอันดับแรก เพ่ือป้องกันการเกิด อุบัตเิ หตกุ บั ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเปน็ ปัญหาของผูบ้ รหิ ารในโรงงาน เพราะการเกดิ อบุ ัตเิ หตแุ ต่ละครง้ั นอกจากจะทาใหง้ านผลิต หยดุ ชะงัก แล้วยังต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มข้ึนอีกด้วย ในโรงงานจาเป็นต้องมีมาตรการป้องกันหรือลดอุบัติเหตุให้ เกดิ นอ้ ยทส่ี ุด

ใบเน้ือหาเรอื่ งความปลอดภัยในการปฏบิ ัติงาน หนา้ | 4 1.1 นยิ ามศพั ท์ดา้ นความปลอดภัย การทางานอย่างปลอดภัย คือ การทางานท่ีไม่มีอุบัติเหตุ ไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการทางาน มี สถานท่แี ละวธิ ีทางานอย่างมีประสิทธภิ าพท้ังร่างและจติ ใจ ดงั นน้ั ในหัวข้อนี้จะอธิบายนิยามศัพท์ด้านความปลอดภัยเพ่ือ เป็นพืน้ ฐานให้ผเู้ รียนไดท้ ราบทสี่ าคญั ดงั นี้ 1.1.1 ความปลอดภยั (Safety) หมายถึงการปราศจากภัยซงึ่ ในทางปฏิบัติเปน็ ไปไม่ได้ท่จี ะขจัดภัยทุกชนดิ ใหห้ มด ไปโดยสิ้นเชิงรวดไปถึงการปราศจากอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ Gloss และ Wardle ได้ให้ ความหมายของ “ความปลอดภัย (Safety)” ไว้ว่า ความปลอดภัยคือ ความเป็นอิสระจากความเส่ียงภัยและจากสภาวะ อันตรายในสภาวะแวดล้อมใด ๆ 1.1.2 อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ท่ีเกิดข้ึนนอกเหนือความคาดหมาย ซึ่งก่อให้เกิดความบาลเจ็บ พิการ หรอื เสยี ชีวติ และทาใหท้ รพั ย์สินไดร้ บั ความเสียหาย 1.1.3 การบาดเจ็บ (Injures) หมายถึง การบาดเจ็บทางร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน ซ่ึงมีท้ังบาดเจ็บเล็กน้อย บาดเจ็บจนตอ้ งหยดุ งานและบาดเจบ็ สาหัส 1.1.4 ภัย (Hazard) หมายถึง สภาพการซ่ึงมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคล หรือทรัพย์สิน หรือ กระทบกระเทือนต่อขดี ความสามารถในการปฏบิ ัตงิ านปกติของผู้ปฏิบตั งิ าน 1.1.5 อนั ตราย (Danger) หมายถึง ระดับความรุนแรงที่เป็นผลอันเนื่องมาจากภัย (Hazard)อันตรายจากภัยอาจ มรี ะดับสงู หรอื นอ้ ยก็ได้ ท้งั นี้ขึน้ อย่กู บั มาตรการในการป้องกัน 1.1.6 ความเสียหาย (Danger) หมายถึง ความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือความสูญเสียทางด้านกายภาพ หรือ ความเสยี หายท่เี กิดขนึ้ ต้อการปฏิบัตงิ านหรือความเสียหายทางด้านการเงนิ ที่เกิดข้ึนเนอื่ งจากการขาดการควบคมุ ภัย 1.1.7 ความเส่ียง (Risk) หมายถงึ สภาพการณ์ซ่ึงมแี นวโนม้ ที่จะกอ่ ให้เกดิ การบาดเจ็บหรือความเสยี หาย 1.2 ความสญู เสยี ท่ีเกดิ ขน้ึ จากอุบัติเหตุ ความสญู เสยี ทีเ่ กิดจางอุบัตเิ หตกุ ่อให้เกิดความสญู เสีย จาแนกไดเ้ ป็น 2 ลักษณะ ดังน้ี 1.2.1 ความสูญเสยี ทางตรง ท่ีเกิดจากอุบัติเหตุจากการทางาน เช่น จานวนเงินทีต่ ้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล เงิน คา่ ทดแทน คา่ ทาขวญั คา่ ทาศพ และประกนั ชีวิต เปน็ ตน้ 1.2.2 ความสูญเสียทางอ้อม ที่เกิดจากอุบัติเหตุจากการทางานได้แก่ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าใช้จ่าย ทางตรงสาหรบั การเกิดอบุ ัติเหตุแต่ละครั้ง เช่น การสญู เสยี เวลาทางานของพนักงานคา่ ใช้จ่ายในการซ่อมแซมเคร่อื งจักร เครอื่ งมือ วัตถุดิบท่ีเสียหาย กระบวนการผลิตทห่ี ยุดชะงกั ค่าสวัสดิการต่าง ๆค่างจ้างแรงงานของผู้บาดเจ็บ การสูญเสีย ต้นทุนอื่น ๆ เสยี ช่ือเสียง และภาพพจน์ขององค์กร เปน็ ตน้

ใบเน้ือหาเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัตงิ าน หน้า | 5 ความสูญเสียท่เี กดิ จากอุบัติเหตุ ทรพั ยส์ ิน(เครื่องจกั ร,สินคา้ ) ทรพั ยากรมนุษย์ เวลา หน่วยงาน ผรู้ ่วมงาน ผปู้ ระสบเหตุและครอบครัว หวั หนา้ งาน ประเทศชาติ รปู ที่ 1.1 แผนภมู ิแสดงความสูญเสียอนั เกิดจากอุบตั ิเหตุ 1.3 ประเภทของอบุ ตั เิ หตุ อบุ ตั ิเหตุจาแนกออกเปน็ 2 ประเภทดงั น้ี 1.3.1 อบุ ัตเิ หตจุ าแนกตามชนิดของอุบัติเหตุประกอบดว้ ย การพลดั ตกของคนงาน การถกู วสั ดหุ ล่นทับ การถูก เฉี่ยวชนกระแทกโดยวัสดทุ ุกชนิดยกเว้นจากการหล่น การถูกหนีบหรือจับเข้าไว้ระหว่างวัตถุ 2 ชิ้นการออกแรงเกินกาลัง การสัมผัสกับอุณหภูมิสูงต่าเกินไป การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า การสัมผัสกับสารพิษหรือการรับการแผ่รังสีต่าง ๆ และ อุบัตเิ หตอุ ื่น ๆ 1.3.2 อุบัติเหตุจาแนกตามตัวการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ เครอื่ งจักรกล เครื่องมอื วัสดุอุปกรณ์ ในการขนถา่ ยและ ยกวสั ดุ วัสดุ สาร และสภาพแวดลอ้ มในการปฏิบัติงาน 1.4 สาเหตขุ องการเกดิ อบุ ัติเหตใุ นการปฏิบตั ิงาน อุบัตเิ หตจุ ากการปฏิบตั ิงานมสี าเหตมุ าจากปจั จยั ที่สาคญั ดงั นี้ 1.4.1 ผู้ปฏิบัติงาน (Human causes) อุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ มีสาเหตุมาจากคนมากท่ีสุด คิดเป็นร้อยล่ะ 88 ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมดมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นขาดความรู้และทักษะในงานที่ทาวิธีการ ปฏบิ ตั งิ านไมถ่ กู ต้อง ความประมาท มีนิสยั ชอบเสย่ี งในการทางาน ขาดความระมดั ระวัง

ใบเน้อื หาเรือ่ งความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั งิ าน หนา้ | 6 ก) หยอกล้อกันในขณะปฏิบตั ิงาน ข) ปลอ่ ยชายเส้อื หรือแต่กายไม่รดั กมุ ค) หยอกล้อกันในขณะปฏบิ ัตงิ าน ง) การแตง่ กายไม่รัดกมุ ขณะปฏบิ ตั ิงาน จ) สภาพจิตใจ อารมณ์ไม่เหมาะสมหรอื ไม่เพียงพอ ฉ) ความประมาทและขาดความระมดั ระวงั ช) ขาดความระมดั ระวัง ซ) มนี ิสยั ชอบเสย่ี งในการทางาน (ไม่สวมอปุ กรณป์ ้องกัน) รูปที่ 1.2 อุบตั ิเหตุจากการปฏบิ ัตงิ านที่มสี าเหตุมาจากคนหรือผ้ปู ฏิบัติงาน

ใบเน้อื หาเร่ืองความปลอดภัยในการปฏบิ ัตงิ าน หนา้ | 7 1.4.2 ความผิดพลาดของเคร่ืองมือและเครื่องจักร คิดเป็นร้อยละ 10 ของการเกิดอุบัติเหตุท้ังหมดมาจากเครื่องมือหรือ อุปกรณ์ตา่ ง ๆ ชารุดและเคร่อื งจักรที่ไมม่ อี ุปกรณป์ อ้ งกนั ก) ใชเ้ ครื่องมอื ท่ีชารุด ข) เครือ่ งมอื หรืออปุ กรณต์ ่าง ๆ ชารดุ บกพรอ่ ง รปู ที่ 1.3 อุบัติเหตจุ ากการปฏบิ ตั ิงานทม่ี ีสาเหตุมาจากเครอื่ งมือปฏิบตั ิงาน ก) เคร่อื งมือหรืออปุ กรณ์ต่าง ๆ ชารุดบกพร่อง ข) เครื่องจักรไมม่ ีการ์ดป้องกันอันตราย ค) เครอ่ื งจกั รไม่มกี ารด์ ป้องกนั อนั ตราย ง) จดุ หนีบที่หมุนเข้าหากนั ระหว่างเฟือง จ) อันตรายจากเสยี งของเครื่องจกั ร รปู ที่ 1.4 อุบตั ิเหตจุ ากการปฏิบัติงานที่มีสาเหตุมาจากเครื่องมอื และเคร่อื งจกั ร

ใบเนื้อหาเรอื่ งความปลอดภัยในการปฏิบัตงิ าน หน้า | 8 1.4.3 สภาพแวดล้อม และการวางผังโรงงาน ผังโรงงานมีความสาคัญต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมากเพราะเป็นปัจจัยสาคัญในการสร้าง ส่งิ แวดลอ้ มทเี่ หมาะสมและปลอดภัยในการปฏิบัตงิ าน 1. สภาพของบริเวณปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย ประกอบด้วย แสงสว่างมาเพียงพอ เสียงดังมากเกินไป การระบาย อากาศทีไ่ ม่เหมาะสม ความสกปรกของพ้นื ท่ี พ้ืนม่ลี นื่ บริเวณท่ีคบั แคบ มสี ารเคมี และเช้อื เพลิงในบริเวณการทางาน และ การจดั วางสง่ิ ของ ทาใหว้ ัตถุกีดขวาง ก) สถานทท่ี างานไมเ่ หมาะสม ข) พนื้ ที่โรงงานต้องไม่ลน่ื หรอื วางของไม่เป็นระเบียบ รูปที่ 1.5 อุบตั ิเหตุจากการปฏบิ ัตงิ านท่มี ีสาเหตมุ าจากสภาพของบรเิ วณปฏิบตั งิ านท่ีไม่ปลอดภัย รปู ท่ี 1.6 สภาพแวดลอ้ มในโรงงานทไ่ี มป่ ลอดภัย 2. สภาพแวดล้อมและการวางผังโรงงานท่ีมีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยเน้ือที่ทางเดินที่ กวา้ งขวางเพียงพอ การระบายอากาศและขจดั กลิน่ ควั่นหรือไอพษิ ทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ ระบบปอ้ งกนั อัคคภี ัยและ อุปกรณ์ดบั เพลิง ความดังรบกวนของเสยี งจากเครื่องจักรกลไม่เกินมาตรฐาน ความร้อนจากเครื่องจักรกลหรือแหล่งความ ร้อน แสงสว่างท่เี หมาะสมการป้องกันระบบไฟฟ้าทเ่ี หมาะสมและเนือ้ ท่ีหรือการอานวยความสะดวกแกง่ านซอ่ มบารงุ

ใบเนื้อหาเรือ่ งความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หน้า | 9 ก) การตดิ ตั้งระบบระบายอากาศเพอ่ื ควบคุมมลพิษในการปฏบิ ัติงาน รปู ท่ี 1.7 สภาพแวดลอ้ มและการวางผงั โรงงานทมี่ คี วามปลอดภยั ในการปฏบิ ตั ิงาน 1.5 แนวปฏบิ ัติเกย่ี วกบั ความปลอดภัยในการปฏิบตั ิงาน ความปลอดภยั ในการปฏบิ ัติงาน เปน็ เรอื่ งทีช่ ่างทกุ คนจะต้องให้ความสาคัญเปน็ อันดับแรก ด่ังน้ันในหวั ขอ้ น้จี ะได้ อธิบายแนวปฏิบัตเิ ก่ยี วกบั ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ดงั นี้ 1.5.1 การวางแผนทดี่ ี จะเป็นปัจจยั พน้ื ฐานของความปลอดภัยในการปฏิบัตงิ าน ซ่ึงมหี ลักการดาเนนิ การดง่ั นี้ 1. ควรมกี ารวางผังโรงงานเป็นอยา่ งดี โดยให้มีพ้ืนทเี่ พยี งพอในการวางเครอื่ งจกั ร อปุ กรณ์ 2. จดั ให้มที างเขา้ – ออกพืน้ ทป่ี ฏบิ ัติงานท่ปี ลอดภยั 3. มกี าหนดเส้นทางเดนิ อยา่ งเหมาะสม มีความกวา้ งพอเหมาะและสะดวก 4. จดั ให้มตี หู้ รือกล่องเกบ็ เครอ่ื งมอื อย่างเหมาะสม และเก็บไวใ้ นสถานทท่ี ี่กาหนด 5. มกี ารจดั ระบบแสงสว่าง และการระบายอากาศท่ีเหมาะสมและเพียงพอ 6. มีการจดั สงิ่ อานวยความสะดวก เช่น หอ้ งสขุ าและหอ้ งปฐมพยาบาล 1.5.2 ความเป็นระเบียบเรียบร้อย หมายถึง การจัดให้มีเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในบริเวณพื้นท่ีปฏิบัติงานและ ห้องเก็บวัสดุส่ิงของมีความเป็นระเบยี บเรียบร้อย ถา้ หากมีการจัดวางสิ่งของอยา่ งเป็นระเบียบอยู่ในสภาพท่ดี ีสามารถใช้ งานได้และอยู่ในสถานที่ท่ีกาหนดอย่างเหมาะสม จะลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ ทัง้ นเี้ พราะ อุบัตเิ หตุทเ่ี กดิ ข้ึนส่วนใหญ่

ใบเน้อื หาเรือ่ งความปลอดภัยในการปฏิบตั งิ าน หนา้ | 10 มักมีสาเหตุมาจากการกระทาของคน เช่น การเดินสะดุดวัสดุสิ่งของหรือหกล้ม การเดินเหยียบหรือชนวัสดุส่ิงของและ โดนวัสดุสิง่ ของหล่นทบั เปน็ ตน้ รูปท่ี 1.8 การจดั วางเครือ่ งมือและอปุ กรณต์ ่างๆใหเ้ ป็นระเบยี บเรยี บร้อย รูปที่ 1.9 การจดั วางเครือ่ งจักรในบริเวณปฏิบตั งิ านให้มีความเป็นระเบยี บเรียบรอ้ ย 1.5.3 เคร่ืองจักร อุบัติเหตุจานวนมากท่ีมีสาเหตุมาจากเคร่ืองจักร ซ่ึงผู้ปฏิบัติงานสามารถที่จะหลีกเลี่ยงมิให้ เกิดขึ้นได้ ถ้าได้ทราบถึงอันตรายท่ีอาจเกิดข้ึน เมื่อเครื่องจักรมีข้อบกพร่องหรือมีความผิดปกติเกิดข้ึนเคร่ืองจักรขัดข้อง หรือไมม่ ีการ์ดป้องกนั อนั ตรายจะทาใหไ้ มป่ ลอดภยั รปู ที่ 1.10 ตรวจสอบสภาพเครอื่ งจักรให้อยูใ่ นสภาพพรอ้ มใชง้ านอย่างสมา่ เสมอ

ใบเน้ือหาเรื่องความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั ิงาน หนา้ | 11 1.5.4 เคร่ืองมือ จากสถิติประสบอันตรายพบว่า เครื่องมือเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเป็นจานวนมากซึ่ง สามารถจะป้องกันไดโ้ ดยปฏิบัติตามกฎง่ายๆดังนี้ 1. เคร่อื งมือทุกช้ินระหว่างท่ีไม่มกี ารใช้งานตอ้ งเก็บไวใ้ นท่เี หมาะสม 2. เครื่องมือทุกช้ิน ควรอยู่ในสภาพท่ีใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธภิ าพ เครอ่ื งมือควรมีความแหลมคม และไม่ ควรใช้เครอื่ งมอื ทชี่ ารุด 3. ใช้เครื่องมอื ใหถ้ ูกตอ้ งกบั ขนาด และชนดิ ของงานทีจ่ ะใช้ รปู ท่ี 1.11 ใชเ้ คร่อื งมือให้ถูกต้องกบั ขนาดและชนิดของงานทจ่ี ะปฏิบตั แิ ละไม่ควรใชเ้ ครอ่ื งมือทช่ี ารุด 1.5.5 ชุดปฏิบตั ิงาน ที่เหมาะสมสาหรับใชใ้ นขณะปฏิบตั ิงานเป็นสง่ิ สาคัญทีจ่ ะก่อให้เกิดความปลอดภัยในขณะท่ี ปฏิบตั ิงาน ถ้ากาลังปฏิบตั ิงานับส่วนที่หมุนได้ของเคร่ืองจักร จะต้องระมัดระวังมิให้สว่ นของเสื้อผ้าม้วนพนั เข้าไปในส่วน ของเครื่องจักรท่ีกาลงั หมุน คนงานที่มีผมยาวตอ้ งใส่หมวกหรือคมุ ผม หา้ มสวมเส้ือแขนยาวท่หี ลวม ถงุ มอื สรอ้ ยคอ สรอ้ ย ขอ้ มือ และผา้ พันคอเขา้ ใกลเ้ ครื่องจักรเหล่าน้ันตลอดจนใหม้ ีการสวมใส่รองเท้าท่เี หมาะสมต่อการปฏบิ ัตงิ านดว้ ย ก) การแตง่ การเหมาะสมช่วยป้องกนั อบุ ัติเหตุ ข) การแตง่ การไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุของการเกดิ อุบตั ิเหตไุ ด้ รูปท่ี 1.12 สวมใสช่ ุดปฏบิ ตั งิ านทเี่ หมาะสมกบั การปฏิบตั งิ าน

ใบเน้อื หาเร่อื งความปลอดภยั ในการปฏิบัติงาน หนา้ | 12 1.5.6 อปุ กรณ์ค้มุ ครองความปลอดภัยสว่ นบคุ คล 1. อุปกรณ์ป้องกันดวงตา ในกรณที ี่ไม่สามารถขจัดความเสีย่ งต่ออันตรายที่อาจเกดิ ขน้ึ กับดวงตาก็มีความจาเป็นท่ีจะต้อง จดั หาแว่นตานิรภยั ใหผ้ ปู้ ฏิบัติงานได้สวมใสต่ ามสภาพการเส่ยี งตอ่ อนั ตราย 2. อุปกรณ์ป้องกันเท้า ส่วนของร่างกายท่ีได้รับอุบัติเหตุอยู่เสมอก็คือเท้าและนิ้วเท้าซ่ึงสามารถป้องกันได้โดยการสวม รองเท้านริ ภยั หรอื รองเทา้ หัวโลหะ รองเท้านิรภัยน้ีมีอยู่ด้วยกันหลายแบบซง่ึ บางแบบดูแล้วเหมือนรองเท้าธรรมดาท่ัวไป จนแยกไม่ออกวา่ เป็นรองเท้านิรภยั 3. อุปกรณ์ป้องกันมือ ถุงมือท่ีใช้ป้องกนั จะแตกตา่ งกันไปตามลกั ษณะของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสารเคมี ของแหลม คมและความร้อนเป็นต้น ควรจาไว้เสมอหา้ มสวมถุงมือทางานกบั ส่วนของเคร่ืองจักรที่หมุนและเคล่ือนไหวได้ เพราะส่วน ของถุงมอื ซ่งึ อาจถกู ดงึ มว้ นเขา้ ไปในเครอ่ื งจกั รได้ ก) งานเจียรนัย ตอ้ งสวมแว่นนิรภยั ในขณะปฏบิ ัตงิ าน ข) รองเท้านริ ภยั ค) หน้ากากเชอ่ื ม ง) ถุงมือกันความร้อน จ) อุปกรณป์ อ้ งกันเสียง ฉ) สวมใสอ่ ุปกรณ์ปอ้ งกันทเ่ี หมาะสมในขณะปฏิบัตงิ าน รปู ที1่ .13 อปุ กรณค์ ุม้ ครองความปลอดภยั ส่วนบคุ คล

ใบเนอ้ื หาเรอ่ื งความปลอดภัยในการปฏิบตั ิงาน หน้า | 13 1.5.7 อัคคภี ยั อัคคีภัยหรอื ไฟไหม้ก่อให้เกิดความสญู เสยี อยา่ งมหาศาลต่อโรงงาน การบาดเจ็บและเสยี ชีวิตจานวนมาก มผี ลมา จากเพลิงไหม้ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการท่ีมีการใช้สารไวไฟ หรือการใช้กระแสไฟฟ้าเกินกาลัง ดังนั้นในโรงงานจะต้องมี มาตรการเพ่อื ลดการเส่ียงต่ออันตราย ดังนี้ 1. ใชภ้ าชนะท่ีปดิ มดิ ชดิ ป้องกนั การหกและเชด็ ทาความสะอาดทนั ทถี ้ามีสารหกออกมา 2. หากทาได้ควรแยกแหล่งความร้อนออกจากบริเวณปฏิบัติงาน ซึ่งมีสารหรอื ไอของสารไวไฟอยู่ และข้อควรจาคือ สาร ไวไฟส่วนใหญจ่ ะปล่อยไอของสารทม่ี นี า้ หนกั ซ่งึ จะลอยในระดบั ต่าใกลพ้ ้นื 3. ควรมปี ้ายติดบนภาชนะบรรจุสารไวไฟ 4. มีการติดตั้งอปุ กรณ์ดับเพลิงในโรงงาน ก)สารไวไฟเปน็ สาเหตขุ องการเกิดอัคคภี ยั หรือไฟไหม้ ข) การกระทาท่นี าไปสู่อนั ตราย ค)มกี ารติดตั้งอปุ กรณ์ดับเพลงิ ในโรงงานทพ่ี ร้อมใชง้ าน รูปท1่ี .14 สาเหตขุ องการเกิดอคั คภี ัยหรือไฟไหมแ้ ละการปอ้ งกันเบื้องตน้ 1.5.8 สุขอนามัยพนื้ ฐาน สภาพการปฏบิ ัติงานทปี่ ลอดภัยถูกสุขอนามัยไดน้ ้ัน จะต้องมกี ารดูแลสถานท่ีปฏิบัติงาน ใหม้ ีความสะอาด มีการระบายอากาศ มีแสงสว่างเหมาะสม และมีอ่างลา้ งมือและห้องสขุ าอยา่ งเพียงพอ

ใบเนอ้ื หาเร่อื งความปลอดภัยในการปฏิบตั งิ าน หนา้ | 14 ก)สถานทป่ี ฏบิ ัตงิ านสะอาด ข)จานวนอ่างลา้ งมือและห้องสุขอย่างเพยี งพอ รปู ท่ี 1.15 สถานทีป่ ฏิบัตงิ านทีม่ คี วามสะอาด มีการระบายอากาศ และจานวนอ่างลา้ งมือและห้องสขุ าอย่างเพียงพอ 1.5.9 การปฐมพยาบาล สถานศกึ ษาแตล่ ะแห่ง ควรจะไดม้ ีการจัดหาอปุ กรณ์ปฐมพยาบาลไว้อย่างเพียงพอและ เหมาะสม ซึง่ หากเป็นไปได้ควรมผี ูป้ ฏิบัติงานอย่างน้อย 1 คน ท่ีผา่ นการอบรมการปฐมพยาบาลแลว้ รปู ที่1.16 การปฐมพยาบาลเป็นส่ิงสาคญั สถานศึกษาแต่ละแหง่ ควรจะไดม้ ีการจัดหาอุปกรณ์ปฐมพยาบาลไว้อยา่ ง เพยี งพอ 1.6 หลักการป้องกันอุบัติเหตจุ ากการปฏบิ ัตงิ าน ในการดาเนินงานป้องกนั อบุ ัติเหตจุ ากการปฏิบัตงิ านจะตอ้ งพิจารณาขอ้ เท็จจริง ดงั ต่อไปน้ี 1. การเกดิ อุบัติเหตุตอ้ งมสี าเหตเุ สมอ 2. อบุ ตั เิ หตเุ ป็นเรอ่ื งทปี่ ้องกันไดเ้ สมอ 3. การป้องกันอบุ ัตเิ หตเุ ปน็ หลังมนุษยธรรม และเป็นการลงทนุ ที่คมุ้ ค่าและควรกระทา 4. คา่ ใชจ้ า่ ยในการปอ้ งกันอบุ ัตเิ หตุ จัดว่าน้อยมากเมื่อเทยี บกับความสญู เสยี หรือผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึ้น 5. การปอ้ งกนั อุบตั เิ หตุ มิใชเ่ รอ่ื งสลับซบั ซอ้ น เป็นการกระทาจากสามัญสานกึ และมคี วามตอ่ เนอื่ ง 6. สิ่งสาคญั ในการปอ้ งกนั อุบตั ิเหตุ คือต้องคน้ หาสาเหตุและขจัดสาเหตุหรอื ความเส่ยี งน้นั ๆ 7. ผู้บงั คบั บัญชา ผู้ควบคุมงาน หวั หนา้ งาน เป็นผทู้ มี่ บี ทบาทสาคัญในการปอ้ งกนั อบุ ัติเหตุ 8. การปอ้ งกันอบุ ตั ิเหตุจะประสบผลสาเร็จได้ด้วยความรว่ มมือของทกุ ฝา่ ย

ใบเนอื้ หาเรอ่ื งความปลอดภัยในการปฏบิ ัตงิ าน หนา้ | 15 1.7 หลักการปฏบิ ตั ิงานใหเ้ กดิ ความปลอดภัย 1. ผปู้ ฏิบตั งิ านจะต้องยอมรับและปฏบิ ตั ิตามกฎ ระเบียบความปลอดภยั ในการทางานโดยเคร่งครดั 2. ใชเ้ ครอ่ื งมอื ใหถ้ กู วิธี ถกู ขนาดและถูกกับงาน 3. แต่งกายใหถ้ กู ตอ้ งตามระเบยี บของโรงงาน 4. หลกี เลยี่ งการใชอ้ ุปกรณ์ เครอื่ งมอื เคร่ืองจกั รทีช่ ารดุ หรอื มีสภาพทไี่ มเ่ หมาะสมตอ่ การใช้งาน 5. เก็บรักษาอุปกรณ์ และเครอ่ื งมือที่ใช้ในการทางานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เมอ่ื นาไปใชง้ านต้องเก็บไว้ให้ถูก จุดทุกคร้ัง 6. รกั ษาความสะอาดทางเดนิ ในโรงงาน และติดป้ายแสดงให้ชัดเจนทบี่ รเิ วณปฏบิ ตั ิงานทมี่ อี นั ตราย 7. ศึกษาตาแหน่ง หรือสถานท่ีติดตั้งเคร่ืองดับเพลิงตลอดจนวิธีการใช้ และปฏิบัติตามคาเตือนหรือเคร่ืองหมายแสดง อนั ตรายใดๆภายในโรงงาน 8. ไมห่ ยอกล้อกันในขณะปฏิบัติงานและในกรณเี กิดอบุ ัตเิ หตใุ ห้รบี ชว่ ยเหลือทันที 1.8 สีและสัญลักษณเ์ ครือ่ งหมายความปลอดภัย 1.8.1 สีทีใ่ ช้เพอ่ื ความปลอดภัย ตามมาตรฐานสากล แสดงดงั ตารางท่ี 1.1 ตารางท่ี 1.1 สีท่ใี ช้เพื่อความปลอดภัย ลาดบั ที่ สีเพือ่ ความ ความหมาย ตัวอย่างการใช้งาน สีตดั ปลอดภัย 1 สแี ดง หยุด - เคร่อื งหมายหยุด - เคร่ืองหมายอุปกรณ์หยุดฉุกเฉนิ สขี าว - เคร่อื งหมายหา้ ม 2 สนี ้าเงนิ บังคบั ให้ตอ้ ง - บงั คับให้ต้องสวมเคร่อื งป้องกันส่วนบุคคล สีขาว ตอ้ งปฏบิ ตั ิ - เครื่องหมายบงั คบั 3 สีเขียว แสดงสภาวะ - ทางหนี ทางออกฉุกเฉนิ ปลอดภัย - ฝกั บวั ชาระลา้ งฉุกเฉนิ สขี าว - หน่วยงานปฐมพยาบาล หน่วยก้ภู ยั - เครื่องหมายสารนิเทศเกีย่ วกับภาวะปลอดภัย ลาดับท่ี สีเพอื่ ความ ความหมาย ตัวอยา่ งการใช้งาน สีตดั ปลอดภัย 4 สีเหลือง ระวงั มี - ช้ีบ่งว่ามีอัน ตราย (เช่น ไฟ วัตถุระเบิด อนั ตราย กัมมันตภาพรังสี วตั ถุมีพษิ และอ่นื ๆ) สดี า - ชบ้ี ่งถึงเขต/ทางผา่ นทมี่ อี นั ตราย - เครือ่ งกดี ขวาง เคร่อื งหมายเตือน

ใบเนอื้ หาเรื่องความปลอดภยั ในการปฏิบตั งิ าน หนา้ | 16 หมายเหตุ : 1) สีแดงยังใช้สาหรบั อุปกรณ์เกีย่ วกับอัคคภี ยั อปุ กรณด์ บั เพลิงและตาแหนง่ ทตี่ งั้ 2) อาจใชส้ ีแดงส้มวาวแสงแทนสีเหลอื งได้ แต่ไม่ใช้แทนสเี หลืองกับเครอ่ื งหมายเพือ่ ความปลอดภัย สแี ดงสม้ วาวแสงนม้ี องเห็นเด่นโดยเฉพาะอยา่ งยิ่งในภาวะมมี่ ดื มวั 1.8.2 สญั ลกั ษณเ์ พ่ือความปลอดภัย สญั ลักษณ์เพอื่ ความปลอดภัยมรี ายละเอียด ดังนี้ 1. รปู แบบและสที ีใ่ ช้แบง่ เป็น 4 ประเภทตามจุดประสงคข์ องการแสดงความหมาย 2. แสดงสัญลักษณ์ภาพไวต้ รงกลาง โดยไม่ทบั แถบขวางสาหรบั สัญลกั ษณห์ ้าม 3. ในกรณีท่ีไม่มีสัญลักษณ์ภาพที่เหมาะสมสาหรับสื่อความหมายตามที่ต้องการให้ใช้สัญลักษณ์ท่ัวไป แต่ละประเภท รว่ มกบั สัญลักษณเ์ สริม ตารางท่ี 1.2 สัญลักษณ์เพอ่ื ความปลอดภัย ประเภท รปู แบบ สที ีใ่ ช้ หมายเหตุ สพี ้ืน : สีขาว -พ้ืนทข่ี องท่ีสีแดงต้องมอี ยา่ งน้อย สัญลกั ษณห์ า้ ม สีของแถบตามขอบวงกลมและ ร้อยละ 35 ของพ้ืนที่ทั้งหมดของ สัญลกั ษณ์บังคบั แถบขวาง : สีแดง สัญลกั ษณ์ สัญลักษณภ์ าพ : สดี า สพี ้นื : สีฟา้ -พ้ืนที่ของสีฟ้าต้องมีอย่างน้อย สขี องสัญลักษณภ์ าพ : สขี าว ร้อยละ 50ของพ้ืนท่ีท้ังหมดของ สญั ลกั ษณ์ ประเภท รูปแบบ สีทใี่ ช้ หมายเหตุ สพี ้ืน : สเี ขียว -พ้ืนที่ของสีเขียวต้องมีอย่างน้อย สัญลกั ษณ์ สีของสญั ลกั ษณ์ภาพ : สขี าว รอ้ ยละ 50 ของพ้ืนท่ีทั้งหมดของ สารนเิ ทศเกยี่ วกบั สัญลักษณ์ สภาวะปลอดภัย สพี ้ืน : สเี หลอื ง -อาจใช้รูปแบบเป็นเหล่ียมผืนผ้า สีของแถบตามขอบ: สีดาe ได้ สัญลักษณ์เตอื น สีสญั ลกั ษณ์ภาพ : สดี -พ้ื น ท่ี ข อ ง สี เห ลื อ ง ต้ อ ง มี อ ย่ า ง น้อยร้อยละ 50ของพ้ืนที่ทั้งหมด ของสญั ลักษณ์

ใบเนอื้ หาเร่อื งความปลอดภัยในการปฏบิ ตั งิ าน หนา้ | 17 1.8.3 เครอ่ื งหมายความปลอดภัย 1. เครอื่ งหมายห้าม (Prohibition signs) ใช้พ้ืนสขี าวเสน้ ขอบสีแดง โดยมสี ัญลักษณ์ภาพอยตู่ รงกลาง มีสัญลักษณ์ตา่ ง ๆ ดงั ตารางท่ี 1.3 ตาราท่ี 1.3 เครอ่ื งหมายหา้ ม

ใบเน้อื หาเรอ่ื งความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั งิ าน หนา้ | 18 2. เครอ่ื งหมายเตือน (Warning signs) ใชส้ เี หลอื งตดั ดาโดนมสี ญั ลักษณภ์ าพอยตู่ รงกลาง มีสัญลักษณ์ตา่ ง ๆ ดังตารางที่ 1.4 ตารางท่ี 1.4เครื่องหมายเตอื น

ใบเนื้อหาเรื่องความปลอดภยั ในการปฏบิ ตั งิ าน หน้า | 19 3. เคร่ืองหมายบงั คับ (Mandatory signs) ใช้สีฟ้าตัดด้วยสีขาว โดยมีสัญลักษณ์ภาพอยู่ตรงกลาง มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังตารางที่ 1.5 ตารางที่ 1.5เครื่องหมายบังคับ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook