Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Published by i love love my book, 2021-06-03 08:05:04

Description: ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

Search

Read the Text Version

เอกสารชุดแนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรบั นกั เรียนทีม่ ีความบกพร่องทางการเรยี นร้ ู ความรู้พน้ื ฐานและแนวทางพัฒนา นกั เรยี นท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนร ู้ ข ก ค ง สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

เอกสารชดุ แนวทางพัฒนาการเรยี นร ู้ สำหรับนกั เรยี นทมี่ คี วาม บกพร่องทางการเรียนร ู้ ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนา นกั เรยี นท่มี ีความบกพรอ่ งทางการเรยี นร้ ู สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพน้ื ฐาน กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

เร่ือง ความรูพ้ ้ืนฐานและแนวทางพฒั นานักเรียนทีม่ คี วามบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ ผูจ้ ดั พมิ พ ์ กลุ่มการจัดการศกึ ษาเรยี นรว่ ม สำนักบรหิ ารงานการศกึ ษาพเิ ศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร จำนวนพิมพ์ 2,500 เลม่ ปีที่พิมพ์ 2554 ISBN 978-616-202-307-1

คำนำ เอกสารชุด “แนวทางพัฒนาการเรยี นรู้ สำหรับนกั เรยี นที่มีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู”้ น้ ี ได้จดั ทำและเผยแพร่ครง้ั แรกในปี พ.ศ. 2551 โดยในครง้ั นัน้ ได้จัดทำเปน็ เอกสาร 5 เล่ม คือ เลม่ ท่ี 1 ความรู้พื้นฐานและแนวทางพัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนร้ ู เล่มที่ 2 การเตรียม ความพรอ้ มสำหรบั นกั เรยี นทม่ี ีความบกพรอ่ งทางการเรยี นร้ ู เลม่ ที่ 3 เทคนิค วิธกี ารและส่อื สำหรับ นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เล่มที่ 4 เทคนิค วิธีการและส่ือ สำหรับ นกั เรยี นที่มีความบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้ด้านการเขยี น และเล่มที่ 5 เทคนิค วิธกี ารและสื่อ สำหรบั นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ โดยที่ผ่านมาพบว่าเอกสารชุดดังกล่าว เป็นประโยชน์กับครูผู้สอนและผู้ท่ีเก่ียวข้องในการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานักเรียนท่ีมีความ บกพรอ่ งทางการเรยี นรดู้ ้านต่าง ๆ ไดเ้ ป็นอยา่ งดี อย่างไรก็ตามเพื่อให้เอกสารชุดน้ีมีความเป็นปัจจุบันและมีความสมบูรณ์มากย่ิงข้ึน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐานจึงเห็นควรปรับปรุงเอกสารดังกล่าว โดยในการ ปรับปรุงครั้งน้ี นอกจากความเหมาะสมของเทคนิค วิธีการและส่ือสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้แล้ว ยังได้คำนึงถึงความสะดวกของครูและผู้ท่ีเกี่ยวข้องในการนำไปใช้ด้วยเป็นสำคัญ ด้วยเหตุนจี้ งึ ไดจ้ ดั พมิ พเ์ อกสารชุดนอี้ อกเป็น 1 เล่มกบั อกี 4 ชดุ เพื่อให้เอกสารแต่ละเล่มมขี นาดไม่ หนาจนเกนิ ไป โดยประกอบดว้ ยเอกสารตา่ ง ๆ ดังน ี้ เอกสาร ความรพู้ น้ื ฐานและแนวทางพฒั นานกั เรยี นทมี่ คี วามบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้ เอกสารชุดที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการ เรยี นรู้ ประกอบด้วยเอกสาร 2 เล่ม เอกสารชุดที่ 2 เทคนิค วิธีการและส่ือ สำหรับนักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการ เรียนรดู้ า้ นการอ่าน ประกอบดว้ ยเอกสาร 6 เลม่ เอกสารชุดท่ี 3 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ เรียนรดู้ ้านการเขียน ประกอบด้วยเอกสาร 3 เลม่ เอกสารชุดท่ี 4 เทคนิค วิธีการและส่ือ สำหรับนักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการ เรยี นร้ดู ้านคณติ ศาสตร์ ประกอบด้วยเอกสาร 5 เล่ม

สำหรบั เอกสารนเี้ ป็น “ความรู้พ้ืนฐานและแนวทางพฒั นานักเรยี นที่มคี วามบกพร่องทางการ เรยี นร”ู้ ซง่ึ เปน็ เอกสารเลม่ แรกของเอกสารชดุ “แนวทางพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรยี นท่มี ีความ บกพร่องทางการเรียนรู้” โดยในเอกสารจะนำเสนอเน้ือหาเก่ียวกับความเป็นมาและความสำคัญ คำจำกัดความของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนรู้ ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การประเมินและคัดแยกนักเรียนที่มีความบกพร่อง ทางการเรยี นรู้ กลยุทธ์ในการจดั การเรยี นการสอนเพ่อื ชว่ ยเหลอื เด็กท่มี ีความบกพรอ่ งทางการเรยี นร้ ู ข้อเสนอแนะสำหรับครูผู้สอน พอ่ แม่ ผูป้ กครองและผ้ทู ี่เกย่ี วข้อง และแหล่งข้อมูลเพมิ่ เติม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการจัดทำเอกสาร ชุดนี ้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารน้ีจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครูผู้สอน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุก ระดบั ซึ่งจะได้นำไปประยุกต์ใชเ้ พื่อพัฒนานักเรียนที่มีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ไดอ้ ย่างเหมาะสม กล่าวคือนักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคนจะได้รับการช่วยเหลือและส่งเสริมให้ได้รับ การพฒั นาเต็มศักยภาพ ซง่ึ ยอ่ มสง่ ผลโดยตรงต่อคณุ ภาพการศึกษาและคุณภาพชีวติ ของผูเ้ รยี น (นายชนิ ภทั ร ภูมริ ัตน) เลขาธิการคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพนื้ ฐาน

สารบญั เรื่อง หนา้ คำนำ สารบัญ ความนำ................................................................................................................................... 1 1.ความเปน็ มาและความสำคญั ..................................................................................................... 1 2.คำจำกดั ความของ “เด็กทีม่ ีความบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้”....................................................... 4 3.สาเหตขุ องความบกพรอ่ งทางการเรียนร.ู้ .................................................................................. 6 การวิเคราะหผ์ ูเ้ รยี น.............................................................................................................. 9 4.ลกั ษณะของเด็กทีม่ คี วามบกพร่องทางการเรยี นรู้ในวยั ต่างๆ..................................................... 9 5.ประเภทและลักษณะของเด็กทีม่ คี วามบกพรอ่ งทางการเรียนรู้................................................... 11 6.สรปุ ลกั ษณะของเดก็ ที่มีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้โดยภาพรวม........................................... 16 7.การคดั กรอง/คดั แยก (Identification) และประเมนิ (Assessment) นักเรียน........................... 22 แนวทางพัฒนานกั เรยี น....................................................................................................... 27 8.กลยุทธใ์ นการจัดการเรียนการสอนเพอ่ื ชว่ ยเหลอื เด็กท่มี คี วามบกพรอ่ งทางการเรียนร.ู้ ............ 27 9.ข้อเสนอแนะสำหรบั ครูผสู้ อน พอ่ แม่ ผ้ปู กครอง และผทู้ เ่ี กยี่ วขอ้ ง............................................. 34 10.ตัวอยา่ งนวัตกรรมที่ใช้พฒั นานกั เรียนทม่ี คี วามบกพรอ่ งทางการเรยี นรู.้ ................................. 36 11.บทสรุป.................................................................................................................................... 50 บรรณานุกรม......................................................................................................................... 51 ภาคผนวก................................................................................................................................ 61 แหล่งข้อมูลเพิ่มเตมิ ...................................................................................................................... 62 ตวั อยา่ งแบบฟอรม์ IEP................................................................................................................ 68 ตัวอย่างแบบฟอรม์ เอกสารรับรองคนพิการ................................................................................... 72 ตวั อย่างแบบคดั กรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรยี นร.ู้ ....................................................... 75 คณะทำงาน................................................................................................................................... 80

ความนำ 1. ความเป็นมาและความสำคญั ในการศึกษาช่วงแรก ต้ังแต่ปี ค.ศ. 1800-1930 บุคคลสำคัญช่ือ Gall ได้ศึกษาการ ทำงานของสมองในผู้ใหญ่ท่ีสูญเสียความสามารถในการพูด เพ่ือแสดงความรู้สึก และความคิดของ ตนเอง โดยที่บุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีปัญหาเก่ียวกับความบกพร่องทางสติปัญญา แต่ในรายงานไม่ได้ กล่าวถึงความยากลำบากว่าเน่ืองมาจากอุบัติเหตุหรือความบาดเจ็บทางกายบางประการท่ีอาจส่งผล ตอ่ การทำงานของสมอง และ Goldstein ได้ศึกษากับทหารท่สี มองไดร้ บั ความเสียหายหรอื บาดเจ็บใน ระหว่างสงครามโลกคร้ังที่ 1 และพบว่าทหารเหล่านี้จะมีปัญหาเก่ียวกับการรับรู้ทางการเห็น ความ ยากลำบากในการรับรู้ข้อมูลจากฉากหน้าและฉากหลัง และปัญหาในการให้ความสนใจกับวัตถุหรือส่ิงของ ท่ีไม่ใช่สิ่งสำคัญ ซ่ึงการศึกษาการทำหน้าที่ท่ีบกพร่องของสมองในผู้ใหญ่คร้ังน้ีมีอิทธิพลไปสู่การศึกษา เกยี่ วกับความบกพร่องทางด้านการเรยี นร้ขู องเดก็ ๆ ซงึ่ Strauss และ Werner ได้ศึกษาเปน็ ครง้ั แรก เก่ยี วกับปัญหาของเดก็ ทีบ่ าดเจบ็ ทางสมองและเดก็ ท่ีมีความบกพร่องทางสตปิ ัญญา พบวา่ เด็กเหลา่ น้ี มีปัญหาเช่นเดียวกับที่พบปัญหาของทหาร และมีปัญหาในการเรียนรู้วิชาการเช่นเดียวกับท่ีพบใน ทหาร หลังจากนั้นการศึกษาเพื่อช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ก้าวหน้าขึ้นอย่าง รวดเร็ว โดยมีทฤษฏตี ่างๆ เทคนคิ การประเมินและยทุ ธวธิ ใี นการสอนเดก็ เกดิ ข้ึนมากมาย รวมทัง้ ไดม้ ี กฎหมายคมุ้ ครองสิทธขิ องเดก็ และครอบครัวด้วย (Bakken, 2007) Samuel Kirk นักการศึกษาชาวอเมริกัน เป็นผู้เริ่มใช้คำว่า “Learning Disabilities หรือที่ เรียกว่า LD” ในปี ค.ศ. 1963 เพื่ออธิบายบุคคลที่ดูเหมือนปกติในด้านสติปัญญา แต่มีความยาก ลำบากในการเรยี นรทู้ างวิชาการในบางเรื่อง เชน่ การอ่าน การสะกดคำ การเขยี น การพดู และหรอื การคิดคำนวณ (Lerner, 2006; Bender, 1996; Smith et al., 2006) โดยพบว่าความบกพร่อง เหลา่ นเ้ี ป็นผลทำใหเ้ กิดความไม่สอดคล้องหรอื เกดิ ชอ่ งว่าง (gap) ระหวา่ งผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนกบั ความสามารถทางสตปิ ญั ญาท่แี ท้จรงิ สำหรบั ในประเทศไทย คำว่า “Learning Disabilities” มีคำท่ีใชเ้ รยี กกันหลายคำ เช่น ความ บกพรอ่ งทางการเรยี นรู้ (ศันสนยี ์ ฉัตรคุปต์, 2543) ปัญหาในการเรียนรู้ (ผดุง อารยะวิญญ,ู 2544) ความบกพร่องด้านการเรียนรู้ (เบญจพร ปัญญายง) ความด้อยความสามารถในการเรียน (ศรีเรือน แก้วกังวาน, 2548) เปน็ ตน้ แต่สำหรบั ในท่นี ้จี ะใช้คำว่า “ความบกพร่องทางการเรยี นร”ู้ ซ่ึงเป็นคำท่ี 1

ใช้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เร่ือง กำหนดประเภท และหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการ ศึกษา พ.ศ. 2552 (พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551และอนุบัญญัติ ตามพระราชบัญญตฯิ ) แม้ว่ายังไม่มีคำจำกัดความใดที่ถือว่ามีความสมบูรณ์ เน่ืองจากลักษณะของความบกพร่องท่ี แสดงว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้นั้นมีความหลากหลาย จึงมีความยากลำบากในการใช้ ลกั ษณะเหล่าน้ันมาจำแนกเดก็ ที่มีความบกพร่องทางการเรยี นรู้ (Swanson, 2000) ดังนั้นบอ่ ยครง้ั ที่ เด็กกลุ่มน้ีถูกเข้าใจว่าเป็นเด็กท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา และในอดีตอาจถูกจัดให้เรียนร่วมกับ เด็กท่ีมีความบกพร่องทางสติปัญญา ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งท่ีผู้เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจลักษณะท่ีแสดงถึงความบกพร่องทางการเรียนรู้ รวมทั้งแนวทางวิเคราะห์ผู้เรียนเพ่ือ ค้นหาสิ่งท่ีเป็นอุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ หรือความยุ่งยากในการเรียนรู้ในเรื่องใดให้ชัดเจนเสียก่อน หลังจากน้ันจะต้องจัดหาหรือพัฒนารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมกับนักเรียนเป็นเฉพาะบุคคล จึงจะ สามารถพัฒนานักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ตรงกับความเป็นจริง สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาท่แี ตกตา่ งกนั และจะสามารถชว่ ยให้นกั เรยี นประสบผลสำเร็จไดอ้ ยา่ งเป็นรูปธรรม สำหรับลักษณะบ่งชี้ถึงความบกพร่องของนักเรียน ที่จะแสดงให้เห็นว่านักเรียนอาจมีความ บกพรอ่ งทางการเรยี นร้นู ัน้ ครูผู้สอนมกั พบว่านกั เรียนบางคนมปี ญั หาดา้ นการอ่าน เช่น นักเรยี นอ่าน หนงั สอื ไม่ออก อ่านสะกดคำง่ายๆไม่ได้ สบั สนในการอา่ นตวั อกั ษร หรอื คำทคี่ ล้ายกัน ไมเ่ ข้าใจเรื่องท่ี อ่าน หรืออ่านแล้วจับใจความไม่ได้ บางคนเขียนหนังสือไม่ได้ แม้ว่าจะคัดลอกจากในหนังสือหรือบน กระดานดำกต็ าม เขยี นหนงั สือไม่เปน็ ตวั เขยี นอักษรกลับหลัง เขยี นตวั อกั ษรหลายลกั ษณะปะปนกัน เขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ส่วนในด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนบางคนไม่สามารถคิดคำนวณง่ายๆได้ ไม่เข้าใจความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ จำหลักเลขไม่ได้ เป็นต้น ทั้งๆที่ครูผู้สอนทราบดีว่า นักเรียนกลุ่มน้ีไม่ได้บกพร่องทางสติปัญญา หรือไม่ได้บกพร่องในด้านอ่ืนๆ รวมทั้งไม่ได้เกิดจาก ความด้อยโอกาสในการใช้ภาษาอ่ืน เช่น เด็กชาวเขา หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยพบว่า นักเรียนสามารถเรียนรู้ในเรื่องอื่นได้ดี หรือดูเป็นปกติเช่นเดียวกับนักเรียนคนอื่นๆในชั้นเรียน เดียวกัน แต่แม้ว่าครูผู้สอนได้พยายามจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ปัญหาเหล่าน้ัน โดยใช้ส่ือและ จัดการเรียนการสอนให้อย่างเต็มที่แล้ว นักเรียนก็ยังมีความยากลำบากในการเรียนในเร่ืองดังกล่าว ซ่ึงพบว่านักเรียนบางคนไม่มีความก้าวหน้าทางการเรียนเลย ซึ่งส่งผลให้นักเรียนขาดความมั่นใจ ท้อถอย หลีกเล่ียงหรือไม่สนใจเรียนรู้ในเรื่องนั้น เพราะคิดว่าตนเองด้อยความสามารถในการเรียนรู้ และแม้ว่าจะพยายามเรียนรู้แล้ว ก็ยังพบว่าตนเองไม่ประสบผลสำเร็จเท่าท่ีควร นอกจากน้ีอาจทำให้ ครผู สู้ อนมคี วามกังวลใจมากยิง่ ข้ึน เพราะเมื่อนักเรยี นไดเ้ รียนในชั้นทส่ี ูงขึ้น แต่กลับพบวา่ ปญั หาดงั กลา่ ว ก็ยังคงมีอยู่ โดยพบว่ายิ่งมีความแตกต่างจากระดับความสามารถในระดับชั้นที่กำลังเรียนมากย่ิงข้ึน ซง่ึ อาจพบว่านักเรียนมคี วามสามารถต่ำกว่าชัน้ เรยี นปัจจบุ นั ถงึ 2 ชนั้ เรยี นหรอื มากกว่านั้น 2

ในปัจจุบันจำนวนนกั เรยี นทม่ี ีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้มมี ากขนึ้ เรื่อย ๆ และพบไดท้ ุกวยั โดยในประเทศสหรัฐอเมริกามีการสำรวจพบว่าเด็กกลุ่มน้ีมีจำนวนมากกว่าเด็กพิเศษกลุ่มอ่ืนๆ ท้ังหมด(Hardman et al., 1996; Turner et al., 2004; Smith et al., 2006) สำหรบั ในประเทศ ไทยจากการศกึ ษาของ ศรเี รอื น แกว้ กังวาล (2540 อา้ งถึงใน ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2548) พบว่า จำนวนของเด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพ่ิมมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในปัจจุบันหลายประเทศ เช่น ประเทศ สหรัฐอเมริกา แคนาดา มีการจัดตั้งหน่วยงานทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนเพ่ือช่วยเหลือเด็กกลุ่มน้ี อย่างจริงจัง ส่วนในประเทศไทยเร่ิมมีการศึกษาเก่ียวกับเด็กกลุ่มน้ีอย่างจริงจังเม่ือไม่กี่ปีมานี้เอง ซ่งึ จากการสำรวจจำนวนนกั เรียนทม่ี ีความบกพรอ่ งทางการเรียนรใู้ นประเทศไทย พบว่า ในปี 2549 มนี ักเรยี นทม่ี คี วามบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 105,952 คน คดิ เป็นร้อยละ 47.46 ของจำนวน นักเรียนพิการท้ังส้ิน 223,211 คน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน, 2549) ดังน้ัน จึงเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งท่ีจะต้องเร่งดำเนินงานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ท้ังการวิเคราะห์คัดแยก เพ่ือรู้จักนักเรียนและการกำหนดแนวทางในการพัฒนานักเรียนกลุ่มนี้ ทั้งน้ีโดยมีรูปแบบและวิธีการที่ เหมาะสมอยา่ งหลากหลาย ซึ่งนอกจากจะสามารถป้องกันกลุ่มเส่ียง ซึง่ พบว่ามลี ักษณะบางประการท่ี อาจเป็นความบกพร่องเหล่าน้ี ต้ังแต่เม่ือเริ่มเรียนระดับชั้นต้นๆแล้ว ยังนำสู่การแก้ปัญหาและพัฒนา ในเรอ่ื งทเ่ี ป็นความบกพรอ่ งดงั กล่าวอยา่ งชัดเจนและเปน็ รปู ธรรม ในเอกสารเล่มน้ีจะนำเสนอความรู้พ้ืนฐานเกี่ยวกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรือเด็ก LD โดยจะเร่ิมต้นทำความเข้าใจกับเด็กกลุ่มน้ีว่าต้องประสบกับปัญหาหรือความยากลำบากใน ด้านใดบ้าง มีลักษณะใดท่ีจะบ่งชี้ได้ว่านักเรียนมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ทั้งนี้โดยเสนอแนะการ คัดแยกและวินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เคร่ืองมือและวิธีการในการตรวจสอบที่มี ความเป็นปรนัยและเช่ือถือได้ ต่อจากน้นั จะนำเสนอตัวอยา่ งนวตั กรรม (เทคนิค วธิ กี าร และสอ่ื การเรยี น การสอน) ที่เคยใช้ได้ผลดีมาเป็นตัวอย่างในการนำไปพัฒนาเด็กกลุ่มน้ี เพ่ือให้นักเรียนมีโอกาส ประสบผลสำเร็จในการเรียนและการดำรงชีวิตในสังคมเช่นเดียวกับนักเรียนคนอ่ืนๆ นอกจากน ้ี คาดหวังว่าจะเกิดการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้นด้วย โดยนวัตกรรมดังกล่าวสามารถนำมารวบรวมเพ่ิมเติมสำหรับการพัฒนางานในช้ันเรียนให้มีประสิทธิภาพ ย่งิ ขน้ึ ในลำดับตอ่ ไป 3

2. คำจำกัดความของ “เด็กทมี่ คี วามบกพรอ่ งทางการเรยี นร”ู้ นักจิตวิทยาและนักวิชาการศึกษาหลายท่าน ได้ให้คำจำกัดความเด็กท่ีมีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ซง่ึ มีความหมายตรงกบั ภาษาอังกฤษวา่ Learning Disabilities ใชช้ ื่อยอ่ วา่ LD ในทีน่ ี้ จะนำเสนอคำจำกัดความที่นิยมใช้กนั อยโู่ ดยทว่ั ไป ดังตอ่ ไปน้ี คณะกรรมการร่วมแห่งชาติว่าด้วยความบกพร่องทางการเรียนรู้ (National Joint Committee on Learning Disabilities: NJCLD) ให้คำจำกัดความ “ความบกพร่องทางการเรียนรู้” ว่าหมายถึง ความบกพร่องที่มีลักษณะหลากหลายรูปแบบ ซึ่งแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความ ยากลำบากในการเข้าใจและการใช้ทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียน การให้เหตุผลและหรือทักษะทาง คณิตศาสตร์ โดยสันนิษฐานว่าอาจเก่ียวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง และหาก เกิดกบั บุคคลใดแล้ว อาจคงอยไู่ ปตลอดชีวิตของบคุ คลนนั้ โดยบุคคลทีม่ คี วามบกพร่องทางการเรยี นรู้ อาจแสดงออกถึงปัญหาทางพฤติกรรม ปัญหาการรับรู้ทางสังคมและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่ืน แต่ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นองค์ประกอบของความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยตรง และแม้ว่าความ บกพร่องทางการเรียนรู้อาจเกิดร่วมกับความบกพร่องอย่างอ่ืน เช่น ความบกพร่องทางด้านการรับรู้ ความบกพร่องทางสติปัญญา ความบกพร่องทางอารมณ์หรืออิทธิพลจากภายนอกอื่นๆ เช่น ความ แตกต่างทางวัฒนธรรมการสอนที่ไม่เหมาะสมแต่ความบกพร่องหรืออิทธิพลจากภายนอกเหล่านี้ไม่ได้ เปน็ สาเหตุโดยตรงของความบกพรอ่ งทางการเรยี นรู ้ ในกฎหมาย ซ่ึงว่าด้วยการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง(Individuals with Disabilities Education Act- IDEA) ของสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำจำกัดความว่า “ความบกพร่อง ทางการเรียนรู้” หมายถึง ความบกพร่องอย่างใดอย่างหน่ึงหรือมากกว่าหน่ึงอย่างทางกระบวนการ พื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา การพูด การเขียน ซ่ึงอาจแสดงออก ถึงความบกพร่องในความสามารถทางการฟัง การคิด การพูด การอ่าน การเขียน การสะกดคำหรือ การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ และยังรวมไปถึงความบกพร่องทางการรับรู้ ความบาดเจ็บทางสมอง ความบกพร่องเพียงเล็กน้อยของการทำหน้าท่ีของสมอง ความบกพร่องทางการอ่าน (dyslexia) ความบกพรอ่ งในการพูดและในการเขา้ ใจภาษาพดู หรือภาษาเขียน (aphasia) แต่ไมค่ รอบคลมุ ความ บกพร่องทางการเรียนรู้อันเนื่องมาจากความบกพร่องอ่ืน ได้แก่ ความบกพร่องทางการเห็น ความบกพร่องทางการได้ยิน ความบกพร่องทางการคล่ือนไหว ความบกพร่องทางสติปัญญา และ ความบกพร่องทางอารมณ์ รวมท้ังความด้อยโอกาสอันน่ืองมาจากเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสภาพ แวดล้อม อย่างไรก็ตามคำจำกัดความโดย IDEA ยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดความชัดเจน และมี ความยากลำบากในการใช้จำแนกเดก็ ท่ีมีความบกพร่องทางการเรยี นรู้ (Swanson, 2000) 4

Gearheart (1977: 12) ได้ให้ความหมายของเดก็ ทมี่ ีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ หมาย ถึง เด็กที่มีความเฉลียวฉลาดเหมือนเด็กปกติท่ัวไป หรือบางคนอาจฉลาดกว่าเด็กปกติท่ัวไป แต่เด็ก เหล่านี้มีปัญหาในการเรียน ทำให้มีผลการเรียนต่ำเมื่อเทียบกับเด็กอื่นในวัยเดียวกัน ทำให้เกิดช่อง วา่ งระหวา่ งความเฉลียวฉลาดทแี่ ท้จรงิ กับผลสมั ฤทธ์ิทางการเรยี น ศรียา นิยมธรรม (2540: 3) ได้ให้ความหมายของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabled Children) ว่าหมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติอย่างใดอย่างหน่ึงหรือหลายอย่าง ของกระบวนการพ้ืนฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ท่ีเก่ียวกับความเข้าใจ การใช้ภาษาพูด หรือภาษา เขยี น ซ่ึงความผิดปกติน้ี อาจเห็นได้ในลกั ษณะของการมปี ัญหาในการรบั ฟัง การคิด การพดู การอา่ น การเขยี น การสะกดคำ หรอื การคำนวณ ตลอดจนการรับรู้ วา่ เปน็ ผลจากความผดิ ปกติทางสมอง แตไ่ ม่ รวมถึงเด็กท่ีมีปัญหาในการเรียน อันเนื่องมาจากการมองไม่เห็น ปัญญาอ่อน การไม่ได้ยิน การเคลือ่ นไหวไม่ปกติ เน่ืองจากร่างกายพิการ มีอารมณ์แปรปรวน หรือเดก็ ทดี่ อ้ ยโอกาสทางการศึกษา ผดุง อารยะวิญญู (2542: 3) ได้กล่าวว่าคำจำกัดความของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายก็คือ คำจำกัดความของกระทรวง ศึกษาธิการของสหรฐั อเมริกา (U.S. Office of Education) และของคณะกรรมการร่วมแหง่ ชาติว่าดว้ ย ความบกพร่องทางการเรยี นรู้ (The National Joint Committee on Learning Disabilities–NJCLD) ไว้ว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นคำท่ีหมายถึง ความผิดปกติที่มีลักษณะหลากหลายที่ปรากฏ ให้เห็นเด่นชัดถึงความยากลำบากในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และความ สามารถทางคณิตศาสตร์ ความผิดปกตินี้เกิดขึ้นภายในตัวเด็ก โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความ บกพร่องของระบบประสาทส่วนกลาง ปัญหาบางอย่างอาจมีไปตลอดชีวิตของบุคคลผู้น้ัน นอกจากน้ี บคุ คลทีม่ คี วามบกพร่องดงั กล่าวอาจแสดงออกถงึ ความไมเ่ ป็นระบบระเบยี บ ขาดทกั ษะทางสังคม แต่ ปัญหาเหล่านี้ไม่เกื้อหนุนต่อสภาพความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยตรง แม้ว่าสภาพความบกพร่อง ทางการเรยี นรูจ้ ะเกดิ ควบคูไ่ ปกบั สภาพความบกพร่องทางร่างกายอนื่ ๆ เช่น การสูญเสยี สายตา หรอื ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือความบกพร่องทางร่างกายอื่นๆ หรืออิทธิพลจากภายนอก เช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม หรือการสอนท่ีไม่ถูกต้อง แต่องค์ประกอบเหลา่ นม้ี ไิ ดเ้ ปน็ สาเหตสุ ำคัญของความบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้โดยตรง ศนั สนีย์ ฉัตรคปุ ต์ (2543: ค) ได้ให้ความหมายของเด็กทมี่ ีความบกพร่องทางการเรียนรู้ วา่ หมายถึง เดก็ ทไี่ ม่สามารถจะบรรลผุ ลสมั ฤทธิ์ทางการเรยี นทงั้ ๆ ท่ีมศี ักยภาพ แตค่ วามบกพรอ่ งน้ัน ไมไ่ ด้เกิดมาจากสาเหตทุ างร่างกาย เชน่ ปญั หาทางการมองเห็น หรือปัญหาทางการไดย้ ิน เดก็ กลมุ่ น้ี จะมกี ระบวนการเรยี นร้ทู ่บี กพร่อง จะมีความยากลำบากในการอา่ น การเขียน การคิดคำนวณ การพดู การส่ือสาร การใช้ภาษาและการใช้กลา้ มเนื้อเคล่ือนไหว 5

กล่าวโดยสรุป เนื่องจากลักษณะของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความหลาก หลาย ยังไม่ชัดเจน และมีความยากลำบากในการใช้จำแนกบุคคลท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ดังนั้นการให้คำจำกัดความของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จึงมีความหลากหลายแตกต่าง กันไปด้วย ท้ังนี้ข้ึนอยู่กับผู้ให้คำจำกัดความว่าจะยึดแนวคิดใด อีกท้ังในปัจจุบันการให้ความหมาย ของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ก็ยังคงมีการปรับเปล่ียนอยู่ตลอดเวลา โดยมีความ พยายามที่จะให้คำจำกัดความที่มีความครอบคลุมลักษณะความบกพร่องท่ีหลากหลายของเด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามคำจำกัดความข้างต้น นับเป็นคำจำกัดความท่ีได้รับการ ยอมรบั และนยิ มใช้กันอย่โู ดยทั่วไป 3. สาเหตขุ องความบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้ ผดุง อารยะวญิ ญู (2542: 7-8) กล่าวไว้ว่า ความบกพร่องทางการเรยี นร้กู อ่ ใหเ้ กดิ ปญั หา ในการเรียนเน่ืองจากเด็กไม่สามารถเรียนได้ดีเท่ากับเด็กปกติท่ัวไป การค้นหาความบกพร่องของเด็ก สว่ นมากเป็นหน้าท่ีของบุคลากรทางสาธารณสุข บคุ ลากรทางการศึกษาอาจจำแนกการรบั ร้ไู ว้ เพอื่ จะ ได้หาทางจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับปัญหาของเด็กต่อไป สาเหตุของความบกพร่องน้ีอาจจำแนก ได้ ดงั นี้ 1. การได้รับบาดเจ็บทางสมอง บุคลากรทางการแพทย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเด็กท่ีมีความ บกพร่องทางการเรียนรู้ในหลายประเทศมีความเช่ือว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถ เรียนรไู้ ดด้ ีนั้น เน่ืองมาจากการไดร้ ับบาดเจ็บทางสมอง(brain damage) อาจจะเป็นการได้รับบาดเจ็บ ก่อนคลอด ระหวา่ งคลอด หรือหลังคลอดกไ็ ด้ การบาดเจ็บน้ีทำให้ระบบประสาทสว่ นกลางไม่สามารถ ทำงานได้เต็มท่ี อย่างไรก็ตามการไดร้ บั บาดเจบ็ อาจไม่รุนแรงนกั (minimal brain dysfunction) สมอง และระบบประสาทส่วนกลางยงั ทำงานไดด้ ีเป็นส่วนมาก มีบางส่วนเท่านน้ั ท่ีบกพรอ่ งไปบ้าง ทำใหเ้ ดก็ มีปัญหาในการรับรู้ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเรียนรู้ของเด็ก แต่ปัญหาน้ียังไม่เป็นท่ียอมรับท้ังหมด เพราะเด็กบางรายอาจเปน็ กรณียกเว้นได้ 2. กรรมพันธุ์ งานวิจัยเป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าความบกพร่องทางการเรียนรู้บาง อย่างสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธ์ุได้ ดังจะเห็นได้จากการศึกษาเป็นรายกรณีพบว่า เด็กที่มีความ บกพร่องทางการเรียนรู้บางคน อาจมีพี่น้องท่ีเกิดจากท้องเดียวกันมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ หรืออาจมีพ่อแม่ พี่ น้อง หรือญาติใกล้ชิดมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาในการอ่าน การเขียนและความเข้าใจ มรี ายงานการวิจัยทน่ี ่าเช่ือถือไดว้ า่ เด็กฝาแฝดที่เกดิ จาก 6

ไข่ใบเดียวกัน (identical twin) เม่ือพบว่าฝาแฝดคนหนึ่งมีปัญหาในการอ่าน ฝาแฝดอีกคนหน่ึงมักมี ปัญหาในการอา่ นด้วย แต่ปญั หาน้ไี ม่พบบ่อยนกั สำหรับฝาแฝดที่มาจากไข่คนละใบ (fraternal twins) จึงอาจกล่าวโดยสรปุ ได้ว่าความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจสบื ทอดทางกรรมพนั ธไุ์ ด ้ 3. สิ่งแวดล้อม ในที่น้ี หมายถึง สาเหตุอื่นๆ ท่ีไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมองและ กรรมพันธ์ุ เป็นสิ่งท่ีเกิดขึ้นกับเด็กภายหลังคลอด เมื่อเด็กเติบโตขึ้นมาในสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิด ความเส่ียง เช่น การที่เด็กมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้าด้วยสาเหตุบางประการ หรือร่างกายได้รับ สารบางประการอันเน่ืองจากสภาพมลพิษในส่ิงแวดล้อม การขาดสารอาหารในวัยทารกและในวัยเด็ก การสอนทไี่ ม่มีประสทิ ธภิ าพของครู ตลอดจนการขาดโอกาสในการศกึ ษา เปน็ ตน้ แม้วา่ องค์ประกอบ ทางสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะไม่ใช่สาเหตุท่ีก่อให้เกิดความบกพร่องทางการเรียนรู้โดยตรง แต่ องค์ประกอบเหลา่ น้ีอาจทำให้สภาพการเรยี นร้ขู องเดก็ มีความบกพรอ่ งมากยิ่งข้ึน เบญจพร ปัญญายง (2543: 13) ได้กลา่ วถงึ เด็กทมี่ ีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ว่าอาจ มสี าเหตมุ าจากสมองทำงานผิดปกติเนอื่ งจากสาเหตุดงั น ้ี 1. พยาธิสภาพของสมอง การศึกษาเด็กท่ีมีบาดแผลทางสมอง เช่น คลอดก่อนกำหนด ตัวเหลอื งหลังคลอด ฯลฯ แตม่ สี ตปิ ญั ญาปกติ พบว่ามปี ัญหาการอ่านร่วมดว้ ย 2. ความผิดปกติของสมองซีกซ้าย โดยปกติสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออกทาง ด้านภาษา และสมองซีกซ้ายจะมีขนาดโตกวา่ ซีกขวา แต่เดก็ LD สมองซีกซา้ ยและซีกขวามขี นาดเท่า กนั และมีความผิดปกตอิ ่ืนๆท่ีสมองซกี ซา้ ยด้วย 3. ความผิดปกติของคล่ืนสมอง เด็ก LD จะมีคล่ืนแอลฟาที่สมองซีกซ้ายมากกว่าเด็ก ปกต ิ 4. กรรมพันธุ์ เด็กที่มีปัญหาการอ่าน บางรายมีความผิดปกติของโครโมโซมคู่ท่ี 15 และสมาชิกของครอบครวั เคยเป็น LD โดยท่พี อ่ แม่มักเล่าว่าเมอ่ื ตอนเดก็ ๆ ตนเคยมีลักษณะคลา้ ยกัน 5. พัฒนาการล่าช้า เดมิ เชอ่ื วา่ เดก็ LD มีผลจากพัฒนาการลา่ ชา้ แต่ปจั จบุ นั ไม่เชื่อเช่นนั้น เพราะเมื่อโตข้ึนเด็กไมไ่ ดห้ ายจากโรคน ้ี ศันสนยี ์ ฉัตรคปุ ต์ ( 2544: 10-11) กล่าวว่านกั วิจัยไดพ้ ยายามหาสาเหตทุ ชี่ ดั เจน โดย หวังว่าในอนาคตอาจจะป้องกันและอาจจะช่วยให้วินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้อย่างแม่นยำ ปัจจุบันทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับโดยส่วนใหญ่คือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้มีรากฐานมาจาก ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสมอง หรอื หลายๆ กรณีความผดิ ปกตนิ นั้ เกดิ ขึน้ ต้งั แต่ 7

ก่อนคลอด และมีงานวิจัยทางพันธุกรรมได้ให้หลักฐานท่ีสรุปได้ว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้โดย เฉพาะความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านและความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์น้ัน อาจมี สว่ นเกีย่ วข้องกับปจั จัยทางพันธุกรรมและสงิ่ แวดลอ้ ม 8

การวเิ คราะหผ์ เู้ รยี น 4. ลักษณะของเดก็ ทม่ี ีความบกพร่องทางการเรยี นรูใ้ นวยั ตา่ งๆ ในปัจจุบันเป็นที่ตระหนักแล้วว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นปัญหาที่สามารถปรากฏ อยู่ในช่วงวัยต่างๆของชีวิต โดยลักษณะของปัญหาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัย ดังน้ันหากได้รู้ ลักษณะของความบกพร่องทางการเรียนรู้ในแต่ละวัย ทำให้สามารถช่วยเหลือกลุ่มบุคคลเหล่านี้ใน ช่วงวัยตา่ ง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ในทน่ี จี้ ำแนกลักษณะที่เป็นความบกพร่องทางการเรียนรู้เปน็ 4 ช่วงวัย คือ ก่อนวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และวัยผู้ใหญ่ (Lerner, 2006; Lerner, 2003) ดงั มีสาระสำคัญดงั นี ้ 4.1 ช่วงกอ่ นวยั เรียน (The Preschool Level) โดยท่ัวไปนักการศึกษายังไมเ่ หน็ ดว้ ยท่ีจะคดั แยก (identify) วา่ เด็กคนใดบา้ งในช่วงวยั น้ีเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ท่ีพบว่ามีความบกพร่อง ทางการเรียนร้มู กั จะถกู บ่งระบุว่าเปน็ เดก็ ทีม่ ีความลา่ ช้าทางพฒั นาการ (developmental delay) หรอื เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง (children at risk) ซ่ึงไม่ถือว่าอยู่ในประเภทใด ๆ ของความบกพร่องตามท่ีได้ กำหนดไว้ อยา่ งไรกต็ ามจากประสบการณแ์ ละงานวจิ ัยไดแ้ สดงให้เหน็ ว่าการทเ่ี ด็กไดร้ บั การช่วยเหลอื อย่างเหมาะสมตั้งแต่ในช่วงวัยเด็กเล็ก จะทำให้เป็นผลดีต่อความพยายามทางด้านการศึกษาในระยะ ตอ่ ๆ มา (Lerner, Lowenthal & Egan, 2003 อ้างถงึ ใน Lerner, 2006) ลักษณะของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในช่วงวัยนี้ ส่วนใหญ่จะพบว่ามีความ ดอ้ ยหรือลา่ ช้าไม่เปน็ ไปตามวยั ในพัฒนาการทางด้านการเคล่ือนไหว เช่น การคลาน การเดนิ การใช้ กล้ามเน้ือมัดใหญ่และมัดเล็ก มีความล่าช้าของพัฒนาการทางภาษา มีความบกพร่องทางด้านการพูด มีพฒั นาการทางสตปิ ญั ญาท่ลี ่าชา้ (poor cognitive development) และมคี วามบกพรอ่ งทางด้านการ รับรู้ เป็นต้น ตัวอย่างปัญหาท่ีสามารถเห็นได้ชัดเจนของเด็กวัยนี้ เช่น พบว่าเด็กวัย 3 ขวบ ที่มี ปัญหาในการจับหรือรับลูกบอล มีปัญหาในการกระโดด มีปัญหาในการเล่นของเล่นที่ใช้มือประกอบ (manipulative toys) ซ่งึ เปน็ ผลจากพฒั นาการทางการเคลอ่ื นไหวทลี่ า่ ชา้ เปน็ ต้น หรอื เดก็ วัย 4 ขวบ ที่อาจพบว่าไม่สามารถใช้ภาษาในการส่ือสารได้ การรู้คำศัพท์จำกัดและไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ อันเป็นผลเน่ืองมาจากความบกพร่องทางด้านภาษาและการพูด และเด็กวัย 5 ขวบ ที่อาจพบว่าไม่ 9

สามารถนับ 1 ถึง 10 ได้ หรือมีความยุ่งยากในการทำงาน (work puzzle) ซ่ึงเป็นผลมาจาก พัฒนาการทางสตปิ ัญญาลา่ ชา้ หรอื พฒั นาการไม่ไดต้ ามวัย (poor cognitive development) นอกจาก น้ียังพบว่าเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในวัยน้ี มักมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมการไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) และสมาธสิ ั้น(poor attention) 4.2 ระดับประถมศกึ ษา (The Elementary Level) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวนมากที่เริ่มแสดงถึงความบกพร่องทางการ เรียนรู้ท่ีชัดเจน เม่ือพวกเขาเข้าเรียนในโรงเรียนและประสบกับความล้มเหลวในการเรียนรู้ทางวิชา การ โดยส่วนใหญ่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ทำให้อาจเกิดความบกพร่องทางการ เรยี นรูว้ ชิ าคณิตศาสตร์ การเขียน หรือวชิ าอื่น ๆ ไดเ้ ชน่ กนั ลักษณะบางประการของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในวัยนี้ท่ีพบเห็นอยู่ท่ัวๆ ไป ไดแ้ ก่ ทกั ษะทางการเคล่ือนไหวที่ลา่ ชา้ ไมส่ มวัย (poor motor skills) ซ่งึ อาจแสดงออกโดยการจบั ดินสอท่ีดูงุ่มง่ามไม่ถูกวิธี ลายมือยุ่งเหยิง อ่านยาก มีความยากลำบากในการอ่าน การเขียน การคิด คำนวณ การทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และการใหเ้ หตผุ ล เปน็ ตน้ เน่ืองจากการอ่านเป็นพ้ืนฐานสำคัญในการเรียนรู้วิชาอ่ืนๆ อีกทั้งหลักสูตรระดับประถม ศึกษาในช่วงปีหลัง ๆ มีความยากและความซับซ้อนมากขึ้น ดังน้ันการศึกษาในระดับน้ี จึงอาจพบว่า เด็กบางคนจะมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในวิชาอื่นๆ ด้วย เช่น สังคมศึกษา หรือวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้อาจพบปัญหาทางอารมณ์ อันเนื่องมาจากเด็กต้องประสบกับความล้มเหลวในการเรียนปี แล้วปเี ล่า โดยเฉพาะเมอ่ื เด็กเปรียบเทยี บความสามารถของตนเองกับเพื่อนคนอน่ื ๆ และสำหรับเดก็ บางคนปัญหาทางสังคมรวมท้ังปัญหาในการสร้างมิตรภาพหรือรักษามิตรภาพให้คงอยู่ อาจเป็น ปัญหาท่ีเพม่ิ มากขึ้นดว้ ยเชน่ กัน 4.3 ระดบั มธั ยมศึกษา (The Secondary Level) ในช่วงวัยนี้เด็กจะประสบกับปัญหาและความยากลำบากเพิ่มมากยิ่งข้ึน เน่ืองจากความ คาดหวังของโรงเรียนและครู ความสับสนของเด็ก รวมทั้งความล้มเหลวทางการเรียนรู้ทางวิชาการ อย่างต่อเน่ือง นอกจากน้ีตัวเด็กเองซึ่งอยู่ในช่วงของวัยรุ่นก็เร่ิมมีความกังวลถึงอนาคตของตนเอง หลงั จากสำเรจ็ การศกึ ษาจากทางโรงเรยี น ดงั นน้ั เด็กอาจตอ้ งการคำปรึกษา แนะนำเก่ยี วกับการเรยี น ต่อในระดับอุดมศึกษา การประกอบอาชีพ หรือการฝึกอบรมทางวิชาชีพ สำหรับปัญหาของเด็กท่ีมี ความบกพร่องทางการเรียนรู้ในวัยนี้ นอกจากจะมีปัญหาทางด้านการอ่าน การพูด การเขียน 10

การคิดคำนวณ การทำโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การให้เหตผุ ล ท่อี าจเปน็ ปญั หาทต่ี ่อเนือ่ งมาจาก ระดับประถมศึกษาแล้ว เด็กในช่วงวัยนี้ซ่ึงเป็นวัยท่ีมีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าปกติ ยังมักจะ ประสบกับปัญหาทางอารมณ์และสังคม รวมท้ังการเห็นคุณค่าในตนเอง (Lerner, 2006; Deshler, Ellis & Lenz, 1996) 4.4 วยั ผใู้ หญ่ (The Adult Years) เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้บางคน เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา แล้ว จะสามารถก้าวผ่านอุปสรรคและความบกพร่องทางการเรียนรู้ของตนเองได้ โดยได้เรียนรู้ในการ ที่จะทำให้ความบกพร่องทางการเรียนรู้ลดน้อยลง หรือรู้แนวทางในการเรียนรู้ท่ีเหมาะสมกับตนเอง อย่างไรก็ตามยังคงมีเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวนมากที่ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ยังคงมีต่อเนื่อง โดยท่ัวไปเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในวัยน้ี พบว่าอาจมีความยากลำบาก ในการนำข้อมูลหรือความรู้ท่ีได้เรียนรู้มาแต่เดิมมาใช้ในการเรียนรู้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ มีความยาก ลำบากในการจัดระบบความคิด มีความยากลำบากในการจดจำและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้จาก แหล่งข้อมูลต่างๆ และมีความยากลำบากในการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นต้น จนถึงวัยท่ีเป็นผู้ใหญ่ความ บกพร่องเหล่าน้ีไม่ว่าจะเป็นความยากลำบากในการอ่าน หรือความบกพร่องในทักษะทางสังคม นับเป็นข้อจำกัดในความเจริญก้าวหน้าในงานอาชีพของตนเอง รวมทั้งยังอาจเป็นปัญหาในการสร้าง มติ รภาพและรกั ษามติ รภาพกบั ผูอ้ นื่ ให้คงอยอู่ กี ดว้ ย 5. ประเภทและลักษณะของเดก็ ทีม่ ีความบกพร่องทางการเรียนร้ ู นักการศกึ ษาหลายท่านไดแ้ บ่งประเภทของเดก็ ท่ีมคี วามบกพร่องทางการเรยี นรไู้ ว้ดังน้ี ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ (2543) ได้กล่าวถึงประเภทและลักษณะของความบกพร่องทางการ เรียนรู้ไว้ว่า ในอดีตเรียกการบกพร่องในการเรียนรู้ว่า เป็นความบกพร่องทางด้านทักษะทางวิชาการ (academic skill disorders) เพราะนักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้มักจะตามไม่ทันเพ่ือน ร่วมช้ันเรียนทางด้านวิชาการ อาจจะล้าหลังจากเพ่ือนไปหลายปีในเร่ืองของทักษะการอ่าน การเขียน หรือการคดิ คำนวณ 11

จากหนังสืออ้างอิง DSM IV (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ไดร้ ะบปุ ระเภทของความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้วา่ แบง่ ออกเป็น 4 ประเภท ดงั น ้ี 1. ความบกพร่องทางด้านการอ่าน (reading disorder) เป็นความบกพร่องที่พบบ่อยท่ีสุด และมีผลกระทบต่อนักเรียนในวัยประถมศึกษาประมาณร้อยละ 2–8 มักรู้จักกันในนามของ ดิสเลกเซีย (Dyslexia) ตัวอย่างเด็กที่มีอาการบกพร่องทางด้านการอ่าน ได้แก่ การแยกแยะหรือการจำ ตัวอักษร เชน่ ความสับสนระหวา่ งตวั อกั ษร ม กับ น หรอื ตัวอกั ษร ถ กับ ภ ทำให้การเรยี นรเู้ รื่อง คำศัพท์เปน็ เรื่องยากสำหรบั นกั เรยี น 2. ความสามารถทางด้านการเขียน (disorder of written expression) เปน็ ความบกพร่องที่ เรียกว่า ดิสกราเฟีย (dysgraphia) มีลักษณะของการแสดงออกทางการเขียนค่อนข้างยากลำบาก สำหรับเด็ก แม้จะใช้เวลาและความพยายามมากเพียงใดก็ตาม ลายมือก็แทบจะอ่านไม่ออกเลย สาเหตุของปัญหาอาจเกิดจากการทำงานของสมองที่มีความเกี่ยวข้องกัน ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์ และประสานกันเป็นอย่างดี เพื่อที่จะใช้ในเร่ืองคำศัพท์ หลักภาษา การเคล่ือนไหวมือ และความจำ ดังนั้นความบกพร่องทางด้านการเขียนอาจมีผลมาจากปัญหาด้านใดด้านหน่ึงได้ เช่น ถ้าเด็กไม่ สามารถจะแยกแยะลำดับของเสียงในคำได้ก็จะมีปัญหาในด้านการสะกดคำ เด็กท่ีมีความบกพร่อง ทางด้านการเขียนก็อาจจะเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านภาษา ด้านการแสดงออกทำให้ไม่ สามารถแตง่ หรอื เติมประโยคให้ถูกตอ้ งตามหลกั ภาษาได ้ 3. ความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ (mathematics disorder) เช่น การคิดคำนวณ คณิตศาสตร์ท่ีเป็นข้ันเป็นตอนที่สลับซับซ้อน หรือแม้ว่าจะเป็นการแก้โจทย์คณิตศาสตร์อย่างง่ายๆ ก็ตาม เนื่องจากการคิดคำนวณเก่ียวข้องกับการจดจำจำนวนและสัญลักษณ์ ได้แก่ การจำสูตรคูณ การเรียงลำดับจำนวน และยงั เกย่ี วขอ้ งกับความเขา้ ใจ ความคดิ รวบยอดทเ่ี ป็นนามธรรม เชน่ หลักการ ต่างๆ ภาพของจำนวนและเศษส่วน ส่ิงต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากมากสำหรับเด็กท่ีมีความ บกพร่องทางด้านการคิดคำนวณ ทั้งน้ีปัญหาเก่ียวกับจำนวนและความคิดรวบยอด หรือหลักการพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์น้ัน มีแนวโน้มท่ีจะปรากฏชัดตั้งแต่ในช่วงต้นๆ ของการเรียนและความบกพร่อง ที่เกดิ ข้ึนในช้นั เรียนสงู ๆ ขน้ึ ไปมักจะเกยี่ วข้องกับปัญหาในการใชเ้ หตุผลทางคณิตศาสตร์ 4. ความบกพรอ่ งทไ่ี ม่สามารถเฉพาะเจาะจง (learning disorder not otherwise specified) DSM IV ยังให้รายการความบกพร่องในการเรียนรู้ประเภทอื่นๆ อีก ที่ไม่เข้ากฎเกณฑ์ของ ความบกพร่องในการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ซ่ึงอาจจะหมายรวมถึงความบกพร่องท้ัง 3 ประเภทที่เกดิ ร่วมกนั หรอื เป็นความบกพรอ่ งทไ่ี มไ่ ดต้ ำ่ กว่าเกณฑ์มากนัก 12

จากที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณทาง คณิตศาสตร์มีแง่มุมต่างๆ ท่ีเหล่ียมซ้อนกัน และจำเป็นต้องอาศัยความสามารถของสมองหลายๆ ส่วนหลายๆ เรื่องร่วมกัน ดังน้ันจึงไม่น่าประหลาดใจเลยท่ีคนบางคนอาจจะมีความบกพร่องในการ เรียนรมู้ ากกวา่ หนึง่ ด้าน เชน่ ความสามารถในการเข้าใจภาษาเปน็ พ้นื ฐานในการเรียนร้สู ำหรับการพดู ดังนั้นความบกพร่องใดๆ ก็ตามท่ีขัดขวางความสามารถที่จะเข้าใจภาษาก็ย่อมไปรบกวนพัฒนาการ ทางการพูดและสกัดก้ันการเรยี นรู้ที่จะอา่ นและเขยี นดว้ ย ความผิดปกติเพยี งส่วนเดียวของการทำงาน ของสมองก็สามารถที่จะมีผลกระทบต่อกิจกรรมประเภทต่างๆ ได้อย่างมากมาย นอกจากน้ียังม ี ความบกพร่องทพ่ี บร่วมกับความบกพร่องในการเรยี นรู้ ไดแ้ ก ่ 1. ความบกพร่องทางสมาธิ (attention deficit disorders) เด็กที่มีความบกพร่องในการ เรียนรู้ร่วมกับความบกพร่องทางด้านสมาธิ จะไม่สามารถจดจ่อและสนใจกับส่ิงท่ีจะต้องเรียนรู้ เด็ก และผู้ใหญ่บางคนที่มีความบกพร่องทางด้านสมาธิจะดูเหมือนกับเหม่อลอย ฝันกลางวันมากเกินไป และเมื่อดึงความสนใจของเขาได้สำเร็จ เขาก็จะเสียสมาธิได้ง่าย วอกแวกง่าย เด็กบางคนมีความ บกพร่องทางด้านสมาธิและซุกซนอยู่ไม่สุข บางคนมีความบกพร่องทางด้านสมาธิโดยที่ไม่ซน เขาจะนิ่งเงยี บๆ เฉยๆ แต่มีอาการเหม่อลอย บางคนมลี ักษณะทผี่ ลผี ลาม หนุ หนั พลันแลน่ อดทนรอ อะไรไม่ได้ ว่ิงข้ามถนนโดยไม่มองซ้าย มองขวา อาจจะกระโดดขึ้นลงทำให้เกิดอุบัติเหตุ แขนขาหัก เป็นต้น จึงเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ร่วมกับความบกพร่องทางด้าน สมาธิ และยังอาจมีอาการไฮเปอร์แอคทีฟ (hyper active) หรอื ซนมากกว่าปกตริ ว่ มดว้ ย จะเป็นเดก็ ที่ มีภาวะความบกพร่องท่ีรุนแรงมีผลกระทบต่อการเรียนรู้มาก และแก้ไขได้ยากกว่าเด็กท่ีมีความ บกพรอ่ งลกั ษณะใดลกั ษณะหน่ึงเพียงอย่างเดียว 2. ความบกพร่องทางด้านการส่ือสาร (communication disorders) ปัญหาการสื่อสาร ทางการพูดและภาษา จะเป็นตัวบ่งช้ีแรกที่สุดของความบกพร่องทางการเรียนรู้ บุคคลท่ีมีความ บกพร่องทางการพูดและภาษา จะมีความยากลำบากในการออกเสียงพูดการใช้ภาษาพูดเพ่ือการ สื่อสารหรือการเข้าใจสิ่งท่ีผู้อื่นพูด นอกจากน้ีการวินิจฉัยเฉพาะเจาะจงลงไป จึงเป็นไปตามลักษณะ ของปญั หา ไดแ้ ก่ 2.1 ความบกพร่องทางด้านการแสดงออกดว้ ยภาษา (expressive language disorder) 2.2 ความบกพร่องทางด้านการรับรู้ภาษาและการแสดงออก (mixed receptive expressive language disorder) 2.3 ความบกพร่องทางด้านการออกเสยี ง (phonological disorder) 13

จากคำกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นผู้ท่ีมีสติ ปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติ แต่การที่ต้องประสบกับความล้มเหลวในการเรียนนั้น เนื่องจากเกิดช่อง ว่าง (gap) หรอื ความไมส่ อดคล้องกันระหวา่ งผลสมั ฤทธทิ์ างการเรยี นและความสามารถท่แี ท้จรงิ ทาง สตปิ ัญญา ซง่ึ เปน็ ผลเนอ่ื งมาจากความบกพร่องทางการเรียนรทู้ เ่ี ขาประสบอยู่ โดยอาจจำแนกปญั หา หรือความยากลำบากที่นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ประสบออกเป็น 4 ด้านใหญ่ ๆ ได้ ดงั น้ี (Salend, S. J., 2005) 1. ความยากลำบากในการเรยี นรู้ทางวิชาการ (Learning and Academic Difficulties) เน่ืองจากนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จำนวนมากจะมีความบกพร่องหรือความยากลำบาก เก่ียวกับความจำ สมาธิ หรือการจัดระบบ จึงทำให้การเรียนรู้ทางวิชาการของนักเรียนเหล่านี้มีความ อ่อนด้อยไปด้วย โดยนักเรียนเหล่านี้มักประสบกับปัญหาหรือความยากลำบากเก่ียวกับการรับข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ความจำ และการแสดงออกเก่ียวกับความคิดหรือความรู้สึกของตนเอง ซึ่งความบกพร่องหรือความยากลำบากเหล่าน้ีนี่เองท่ีส่งผลให้พวกเขามีปัญหาหรือความยากลำบาก ในเรือ่ งของการอ่าน การเขยี น และคณิตศาสตร์ สำหรับปัญหาทางด้านการอ่านน้ัน นับเป็นปัญหาหลักท่ีนักเรียนกลุ่มนี้ประสบ โดยจากงาน วิจัย พบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ถึงประมาณร้อยละ 80 ที่มีปัญหาทางด้านการ อ่าน โดยปัญหาและความยากลำบากด้านการอ่านอาจเห็นได้จากการท่ีเด็กไม่สามารถจำรูปและเสียง ของพยัญชนะได้ ไม่สามารถจำคำได้ และไม่สามารถใช้เทคนิคการเดาความหมายของคำจากบริบท ได้ มอี ตั ราการอา่ นท่ีชา้ มาก มคี วามออ่ นดอ้ ยในเรื่องการฟงั และการอา่ นเพื่อความเข้าใจ หรอื อาจอ่าน หลงคำหลงประโยคหรือบรรทัด โดยจะเห็นว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน นั้น อาจส่งผลให้เด็กอ่านคำส่ังต่าง ๆ ผิดพลาด หรือหลีกเล่ียงการอ่าน การเขียน หรือประสบกับ ปญั หาในการไดม้ าซงึ่ ข้อมลู หรือองคค์ วามรตู้ ่าง ๆ ในหนงั สือเรียน นอกจากน้ียังพบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจำนวนมาก จะประสบกับปัญหาด้านการเขียนด้วย โดยปัญหาทางด้านการเขียนน้ันอาจแสดงออกถึงความยาก ลำบากในเร่ืองของความคิด การจัดระบบของข้อความ โครงสร้างของประโยค การเลือกใช้คำศัพท์ การสะกดคำ และความถูกต้องของไวยากรณ์ ซึ่งความยากลำบากเกี่ยวกับการเขียนเหล่าน้ีสามารถ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในวิชาอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน ส่วนปัญหาทางด้าน คณิตศาสตร์ท่ีเด็กประสบน้ัน อาจสังเกตได้จากการที่เด็กมีความอ่อนด้อยเก่ียวกับความรู้พื้นฐานด้าน คณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ไม่สามารถจำแนกความแตกต่างของตัวเลข จำนวน เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ การด้อยความ สามารถในการแกโ้ จทย์ปญั หา การเปรยี บเทียบหรอื การคิดคำนวณทม่ี ขี นั้ ตอนซบั ซ้อนมากข้นึ 14

2. ความยากลำบากเก่ียวกับภาษาและการส่ือสาร (Language and Communication Difficulties) ความยากลำบากทางด้านภาษานับเป็นลักษณะพ้ืนฐานที่สำคัญอีกประการหน่ึงของ นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้วยเหตุน้ีนักเรียนเหล่านี้บางคนอาจมีภาษาพูดท่ีมีรูปแบบ ไม่สมบูรณ์เหมือนเด็กทั่ว ๆ ไป มีความยากลำบากในการเข้าใจความหมายของภาษา และมีความ ยากลำบากในการแสดงความคิดหรือความรู้สึกของตนเอง โดยจะสังเกตเห็นได้จากการที่เด็กเหล่าน้ี จะมีความยากลำบากในการเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ การทำตามคำส่ัง การเข้าใจคำถาม การออกเสียง คำ และการแสดงออกเพื่อให้ผู้อ่ืนรู้เกี่ยวกับส่ิงท่ีตนเองต้องการ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องที่ ไม่ใชด่ า้ นภาษา หรอื เป็น nonverbal learning disabilities จะมีความยากลำบากในการเขา้ ใจเกยี่ วกับ ภาษากาย ภาษาทา่ ทาง และการเลอื กใชภ้ าษาในการปฏิสมั พนั ธ์กับผ้อู นื่ ในบรบิ ทต่าง ๆ เดก็ อาจช่าง พูด แต่ลกั ษณะของภาษาที่ใช้ในการส่อื สารและคำที่เลอื กใช้อาจมีวงคำศพั ทท์ จี่ ำกดั รวมทั้งมีลักษณะ ไม่สละสลวย นอกจากนี้ระดับเสียงท่ีใช้จะเป็นระดับเสียงที่ต่ำ และมักจะไม่เข้าใจตัวชี้แนะทางสังคม (social cues) จึงทำให้มีความยากลำบากในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และเน่ืองจากมักจะรับรู้ในสิ่งท่ี เป็นรายละเอียดมากกว่าส่ิงที่เป็นองค์รวม จึงมีความยากลำบากในการเข้าใจข้อมูลข่าวสารท่ีรับรู้โดย การเห็น การทำงานที่ซับซ้อนให้เสร็จสมบูรณ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน การระบุใจความ สำคัญจากสิง่ ท่อี า่ น การจดโน้ต การจดั ระบบและเช่ือมโยงลำดบั ของความคดิ ในงานเขียน 3. ความยากลำบากเก่ียวกับการรับรู้และการเคล่ือนไหว(Perceptual and Motor Difficulties) แม้ว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ อาจไม่ได้มีประสาทการรับรู้ท่ีบกพร่อง แต่เด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่มักมีความยากลำบากในการระลึกถึง การจำแนก และการแปลความหมาย สิง่ เร้าทไี่ ดจ้ ากการรับร้โู ดยการเห็นและการไดย้ ิน ยกตวั อยา่ งเช่น นักเรยี นเหล่านบี้ างคนอาจมคี วามยาก ลำบากในการจำแนกรูปรา่ ง ลกั ษณะของตวั อกั ษร การคัดลอกงานจากกระดานดำ การทำตามคำสง่ั ที่ มีหลายข้ันตอน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างตัวอักษรกับเสียง การท่ีต้องให้ความสนใจกับสิ่งเร้าท่ี เกี่ยวข้อง และการต้องทำงานในชว่ งเวลาที่เหลอื นอกจากนี้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจมีความบกพร่องในการทำงานของ กล้ามเน้ือมัดเล็กและมัดใหญ่ โดยความบกพร่องของกล้ามเนื้อมัดใหญ่อาจแสดงออกโดยท่าทางการ เดินท่ีดูงุ่มง่าม การทรงตัวที่ไม่ค่อยสมดุล การที่ไม่สามารถจับหรือเตะลูกบอลได้ หรือการท่ีไม่ สามารถเคลื่อนไหวหรือเต้นรำตามจังหวะได้ ส่วนความบกพร่องของกล้ามเนื้อมัดเล็กอาจแสดงออก ถึงความยากลำบากในการตัด การติดปะรูปภาพ การวาดภาพ การลากเส้นตามรอย การจับดินสอ การเขียน การคัดลอก และการเขียนตวั เลขให้ตรงหลัก ปัญหาทางดา้ นการเคลื่อนไหวอีกประการหนง่ึ ท่ีอาจพบในเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้บางคน คือ การซุกซน ไม่อยู่นิ่ง (hyperactive) ซึ่ง จะสง่ ผลให้เดก็ มีการเคล่ือนไหวอยู่ตลอดเวลา มีความยากลำบากในการนัง่ ตดิ ที ่ 15

4. ความยากลำบากเกี่ยวกับพฤติกรรม อารมณ์และสังคม (Social-Emotional and Behavioral Difficulties) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้บางคนอาจมีปัญหาทางด้าน พฤติกรรมและสังคม โดยจะเห็นได้จากการที่เด็กไม่เห็นคุณค่าของตนเอง การหลีกเล่ียงการทำงานท่ี ไดร้ ับมอบหมาย การแยกตัวออกจากสงั คม มคี วามรูส้ กึ โดดเด่ยี ว ความคับข้องใจ ซงึ่ ส่ิงเหล่านี้อาจส่ง ผลต่อการเรยี นและการทำนายพฤตกิ รรมท่เี กิดขึน้ ตามมาของเดก็ ท่ีเป็นเชน่ นกี้ เ็ น่อื งมาจากการทีเ่ ดก็ เหลา่ นีม้ คี วามออ่ นดอ้ ยเกยี่ วกบั ทกั ษะทางสงั คม ทำใหเ้ ดก็ ไม่เข้าใจเกยี่ วกบั ตัวช้ีแนะทางสงั คม(social cues) จงึ ทำให้การปฏิสัมพนั ธก์ บั ผู้อื่นมีความลม้ เหลวเพราะไมร่ ู้วา่ ในการปฏสิ ัมพนั ธ์กับผู้อน่ื ในบรบิ ท ตา่ ง ๆ นั้น ตนเองควรพดู หรอื แสดงพฤติกรรมอย่างไร จงึ จะมคี วามเหมาะสม 6. สรปุ ลกั ษณะของเด็กทีม่ คี วามบกพร่องทางการเรียนรโู้ ดยภาพรวม การบ่งบอกลักษณะโดยรวมของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเร่ืองที่ค่อนข้าง ยาก เพราะความหลากหลายความหมายของเด็กกลุ่มน้ี แม้แต่นักวิชาการ นักการศึกษา หรือ นักจิตวิทยาก็ยังกล่าวถึงลักษณะของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปในราย ละเอียด อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่าลักษณะท่ีค่อนข้างเด่นชัดของเด็กกลุ่มนี้ คือ ความด้อย ความสามารถอย่างมากในทางภาษา ไม่ว่าจะเป็นเร่ืองของการอ่าน การเขียน การสะกดคำ และการ คิดคำนวณหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และยังพบว่าเด็กกลุ่มนี้มักมีความบกพร่องด้านอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เช่น ความบกพร่องทางด้านสมาธิ พฤติกรรม อารมณ์ หรือสังคม เป็นต้น (Lerner, 2006; Smith et al., 2006; Mercer& Pullen, 2005; Smith et al., 1997; ศรีเรือน แก้วกงั วาล, 2548; เบญจพร ปัญญายง, 2547; ผดุง อารยะวิญญู, 2544; ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์, 2543) ใน การนำเสนอลักษณะของเด็กกลุ่มนี้จะจำแนกออกเป็นลักษณะของปัญหาหรือความยากลำบากที่เด็ก แสดงออกใน 4 ด้านใหญ่ ๆ คือ ปัญหาทางด้านการอ่าน ปัญหาทางด้านการเขียนและการสะกดคำ ปญั หาทางด้านคณิตศาสตร์ และปญั หาทางด้านอื่น ๆ 16

6.1 ปัญหาทางดา้ นการอา่ น เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านการอ่าน โดยจากงาน วจิ ยั พบว่ามีประมาณร้อยละ 80 ของเด็กกลุ่มน้ี (Lyon et al., 2001 อา้ งถึงใน Smith et al., 2006) และเด็กทีม่ ีปญั หารนุ แรงด้านการอา่ น เรียกว่า ดิสเลกเซีย (dyslexia) โดยทัว่ ไปพบว่าปัญหาทางด้าน การอ่านอาจมหี ลายประการ ในท่นี จี้ ะนำเสนอลักษณะเด่น ๆ บางประการที่พบเห็นกันอย่ทู ่ัวไป 1) มคี วามยากลำบากในการจำรปู พยัญชนะและการอา่ นพยญั ชนะ 2) มคี วามยากลำบากในการแยกแยะเสียง เช่น การแยกแยะเสยี ง บ ป พ 3) มคี วามยากลำบากในการจำรปู สระและการอ่านสระ 4) การออกเสียงคำไมช่ ัด หรอื ไม่ออกเสียงบางเสียง บางครั้งออกเสยี งรวบคำ 5) ไม่สามารถอ่านคำได้ถูกต้อง เช่น การอ่านคำท่ีมีวรรณยุกต์กำกับ การอ่านคำท่ีมี ตวั สะกดไมต่ รงมาตรา 6) อ่านคำโดยสลบั ตวั อกั ษร เชน่ “นก” เป็น “กน” “งาน” เปน็ “นาง” เป็นต้น 7) ไม่สามารถอ่านข้อความหรือประโยคได้ถูกต้อง เช่น อ่านข้ามคำ อ่านตกหล่น อา่ นเพิม่ คำ อ่านสลบั คำ 8) ไมส่ ามารถเรยี งลำดับจากเรือ่ งที่อา่ นได้ 9) จับขอ้ เทจ็ จรงิ จากเร่อื งที่อา่ นไม่ได้ 10) จบั ใจความสำคญั จากเรือ่ งท่อี า่ นไมไ่ ด้ 6.2 ปญั หาทางดา้ นการเขียนและการสะกดคำ เดก็ ที่มปี ญั หาทางด้านการเขยี นและการสะกดคำพบวา่ อาจมปี ัญหาในเรื่องต่อไปน้ี 1) มคี วามยากลำบากในการเขยี นพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเลขไทย เช่น เด็ก จะลากเส้นวน ๆ ไมร่ วู้ า่ จะม้วนหวั เข้าในหรือออกนอก ขีดวน ๆ ซำ้ ๆ 2) เขยี นพยัญชนะ สระ และเลขไทยกลับดา้ นคลา้ ยมองจากกระจกเงา 3) มีความสับสนในการเขียนพยัญชนะ และเลขไทยท่ีมีลักษณะคล้ายกัน เช่น ค-ด น-ม พ-ผ ๓-๗ ๔-๕ 4) เขยี นด้วยลายมอื ทอี่ ่านไมอ่ อก 5) เขียนเรียงลำดับพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในคำผิดตำแหน่ง เช่น “ปลา” เป็น “ปาล” “หมู” เป็น “หมู ” “กลว้ ย” เป็น “ก้ลวย” 6) เขยี นสะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสยี ง คำท่ีมีตวั สะกดในมาตราเดียวกนั คำที่ มีตวั การันต์ 17

7) เขียนคำตามคำอ่านไม่ได้ 8) เขียนไม่ไดใ้ จความ 9) เขยี นหนังสือ ลอกโจทย์จากกระดานช้าเพราะกลัวสะกดผิด 10) เขยี นไมต่ รงบรรทดั เขยี นต่ำหรือเหนอื เส้น ขนาดตวั อักษรไม่เทา่ กนั ไมเ่ ว้นขอบ กระดาษ ไมเ่ ว้นช่องไฟ 11) จบั ดนิ สอหรอื จับปากกาแน่นมาก 12) ลบบ่อย ๆ เขียนทับคำเดิมหลายครง้ั เขียนตัวหนังสือตัวโต 6.3 ปญั หาทางดา้ นคณิตศาสตร ์ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์พบว่าอาจมีปัญหาในเร่ือง ตอ่ ไปนี้ 1) ไม่เขา้ ใจค่าของตวั เลขและจำนวน เชน่ บางคนจะนบั ตัวเลข หรอื จำนวนได้ แตไ่ ม่ เขา้ ใจความหมายของตัวเลขหรือจำนวนท่ตี นนับ 2) ไม่เข้าใจเก่ียวกับค่าประจำตำแหน่ง เช่น จะไม่รู้ว่า เลข “3” ในจำนวนต่อไปน้ี 23, 38, 317 มีค่าแตกต่างกัน ซึ่งส่ิงเหล่าน้ีจะส่งผลทำให้มีความยุ่งยากในการบวก ลบ คูณ หาร จำนวน และไมส่ ามารถหาคำตอบที่ถูกต้องได ้ 3) ไม่สามารถจำ และเขียนสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น “+ แทน การบวก” “ - แทน การลบ ” “ × แทน การคณู ” และ “ ÷ แทน การหาร” 4) ไมเ่ ขา้ ใจความหมายของสัญลกั ษณ์ทางคณติ ศาสตร์ เชน่ ไมเ่ ขา้ ใจว่า + หมายถงึ เพม่ิ ขน้ึ มากข้ึน – หมายถงึ ลดลง น้อยลง > หมายถึง มากกวา่ < หมายถงึ น้อยกว่า 5) มคี วามยากลำบากในการบวก ลบ คณู หารเพียงอยา่ งใดอย่างหน่งึ หรือมากกวา่ หนึ่งอยา่ ง เชน่ ในการบวกจำนวน เดก็ จะไม่เขา้ ใจว่าจะต้องบวกตวั เลขในหลักหน่วยก่อน แลว้ จึงบวก ตัวเลขในหลักสิบ และหลักร้อยตามลำดับ เด็กจะคำนวณโดยการบวกตัวเลขในหลักหน้าสุดก่อน คือ จะบวกตวั เลขในหลักร้อยก่อน แล้วจงึ จะเปน็ ตวั เลขในหลกั สิบ และหลกั หน่วย เป็นตน้ 6) มีความยากลำบากในการบวก การลบที่มกี ารทด และการกระจาย เช่น การบวก 56 กับ 28 ซ่งึ จะมีการทดจากผลบวกในหลักหนว่ ย หรอื การลบ 72 ด้วย 45 ซึ่งจะต้องมกี ารกระจาย ในหลกั สิบ เปน็ ตน้ 18

7) เขยี นตวั เลขกลับกัน เช่น “45 เปน็ 54” หรอื เขียน “5 เป็น ” 8) มคี วามยากลำบากในการจำแนกรูปทรงเรขาคณติ เชน่ การจำแนกรูปสามเหลยี่ ม รูปสี่เหล่ียม รปู หา้ เหล่ยี ม เด็กอาจทำไมไ่ ด ้ 9) มีความยากลำบากในการจำแนกวัตถุ หรือส่ิงของที่มีขนาดต่างกันออกจากกัน เช่น การแยกลูกบอล หรือลูกแก้วสองขนาดที่กองรวมกันอยู่ออกเป็นสองกอง กองหน่ึงเป็นลูกแก้ว หรือลกู บอลขนาดเล็ก อกี กองหนง่ึ เปน็ ลกู แก้วหรือลกู บอลขนาดใหญ่ เดก็ อาจทำไม่ได ้ 10) มีความยากลำบากในการแก้โจทย์ปัญหา เนื่องจากเด็กไม่สามารถตีโจทย์ปัญหา เหลา่ นน้ั ได้ ทำให้ไมเ่ ขา้ ใจวา่ จะใช้การบวก การลบ การคูณ หรอื การหาร 11) มคี วามสับสนในการเรียงลำดบั วันในหน่ึงสัปดาห์ และเดอื นในหน่ึงปี 6.4 ปญั หาทางดา้ นอ่นื ๆ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้อาจมีความบกพร่องทางด้านอื่น ๆ ต่อไปนี้ร่วม ด้วย เช่น ความบกพร่องทางด้านสมาธิและความสนใจ การจัดระบบระเบียบ พฤติกรรมและอารมณ์ การประสานสมั พันธ์กันของรา่ งกาย และดา้ นความจำ 6.4.1 ความบกพร่องทางด้านสมาธแิ ละความสนใจ จากการศึกษาวิจัย พบว่า เด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะมีความ บกพร่องทางด้านสมาธิและความสนใจร่วมด้วยร้อยละ 41 ถึง 80 ( DeLong, 1995 อ้างถึงใน Smith et al., 2006) โดยความบกพร่องทางด้านสมาธิและความสนใจอาจแสดงออกในลักษณะตอ่ ไปน ี้ 1) ซกุ ซน ไม่อยู่นิง่ 2) มีสมาธสิ นั้ คอื ช่วงความตั้งใจส้นั เมอื่ เทียบกบั เดก็ ทว่ั ไป 3) หุนหันพลันแล่น มีแนวโน้มท่ีจะตอบคำถาม หรือทำสิ่งต่าง ๆ โดยท่ีไม ่ ไตรต่ รองหรอื พจิ ารณาผลทีเ่ กิดข้นึ 4) ขาดสมาธใิ นสงิ่ ทีเ่ รียน หรือแบบฝกึ หดั ที่ตอ้ งทำ 5) หันเหไปสสู่ ่งิ อืน่ ไดง้ า่ ย 6) ไมส่ ามารถทำงานตา่ ง ๆไดส้ ำเรจ็ โดยจะเหน็ ไดจ้ ากการทำแบบฝกึ หดั หรอื งานอนื่ ๆ คา้ งไว ้ 7) กระวนกระวาย ทำสิง่ ต่าง ๆ อย่างไรเ้ ปา้ หมาย 8) รอคอยไม่เป็น ดังจะเหน็ ว่าเมือ่ ให้คอยอะไรนาน ๆ มักทนไม่ค่อยได ้ 9) ฝันกลางวัน เช่น นงั่ ตาลอย 19

6.4.2 ความบกพรอ่ งในการจดั ระเบยี บ ความบกพร่องในการจดั ระเบยี บอาจแสดงออกในลักษณะต่อไปน ี้ 1) มีความยากลำบากในการจัดการ และการบริหารเวลา ทำให้ไม่สามารถ ทำงานไดส้ ำเรจ็ ตามเวลาทกี่ ำหนด 2) มีความยากลำบากในการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งท่ีจะทำ โดยไม่รู้ว่า สง่ิ ใดควรทำก่อนและสงิ่ ใดควรทำหลงั 3) มคี วามยากลำบากในการจัดลำดับเร่อื งราวต่าง ๆ 4) มีความยากลำบากในการทำงานตามแผนทว่ี างไว ้ 5) มีความยากลำบากในการจัดหมวดหมู่ และการจัดลำดับความคิด 6) มักหาของไม่พบ เนื่องจากไม่มีระบบในการจัดเก็บ โดยจะพบว่าเด็กมัก หาการบา้ น หนงั สอื ดินสอ ยางลบไมพ่ บ 7) โตะ๊ ทำงานเลอะเทอะ ไม่มรี ะเบียบ 6.4.3 ความบกพรอ่ งทางดา้ นพฤตกิ รรมและอารมณ ์ ความบกพร่องทางด้านพฤตกิ รรมและอารมณ์อาจแสดงออกในลกั ษณะต่อไปน ้ี 1) มคี วามยากลำบากในการสรา้ งมติ รภาพ หรือรักษามิตรภาพให้คงอย ู่ 2) มีพฤติกรรมท่ไี ม่ยัง้ คดิ 3) มีความอดทน อดกลั้นตอ่ ความกดดนั หรอื ความคบั ขอ้ งใจได้นอ้ ย 4) อารมณข์ ้นึ ๆ ลง ๆ หงดุ หงดิ งา่ ย 5) อาจมพี ฤตกิ รรมกา้ วรา้ วกบั บคุ คลทอ่ี ยรู่ อบขา้ ง ในกรณถี กู จำ้ จจี้ ำ้ ไชในเรอ่ื ง ใดเรอ่ื งหนงึ่ 6) รับการเปลี่ยนแปลงในกิจวตั รประจำวนั ได้น้อย 7) ร้สู ึกเบ่อื หน่าย ทอ้ แท้ 8) ขาดความภาคภูมใิ จในตนเอง 9) ไมร่ ู้สึกขำเม่ือคนอ่นื ขำ แตจ่ ะรสู้ กึ ขำในขณะทีค่ นอืน่ ไม่ขำ 10) ไมส่ ามารถตคี วามหมายทางภาษากายหรอื ทา่ ทาง(nonverbal cues) 11) มคี วามยากลำบากในการแสดงความคดิ เห็นหรือการวิพากษท์ างสงั คม 12) มกั ไม่ใหค้ วามร่วมมือกบั เพื่อน ๆ ในการทำงานกล่มุ 13) มกั ชอบเล่นกบั เด็กทีอ่ ายนุ ้อยกว่าตนเอง 20

6.4.4 ความบกพร่องทางด้านการประสานสัมพันธก์ นั ของรา่ งกาย ความบกพร่องทางด้านการประสานสัมพันธ์กันของร่างกายอาจแสดงออกใน ลักษณะต่อไปน้ี 1) มีความยากลำบากในการจับวัตถุเล็ก ๆ ซ่ึงเกิดจากความบกพร่องของ กล้ามเนอื้ มดั เลก็ เช่น ไม่สามารถผกู เชอื กรองเท้าได้ 2) การเรยี นรู้ในเรือ่ งทกั ษะการช่วยตนเองทำไดไ้ ม่ดี 3) มีปัญหาในเร่ืองการตัด ดังจะเห็นได้จากการใช้กรรไกรตัดกระดาษ หรือ สง่ิ ของไม่สามารถทำไดห้ รอื ทำได้ไมด่ ี 4) ลายมืออ่านยาก การเวน้ ชอ่ งไฟไม่ดี เขียนไม่ตรงบรรทัด 5) การวิ่ง การปีนป่ายทำได้ไม่ดี ดูงุ่มง่าม ซ่ึงเกิดจากความบกพร่องในการ ทำงานของกลา้ มเนอื้ มัดใหญ่ 6) มปี ญั หาเก่ยี วกับทักษะการเล่นกีฬา 6.4.5 ความบกพร่องทางด้านความจำ ความบกพร่องทางด้านการจำแสดงออกในลักษณะต่อไปน ้ี 1) มคี วามยากลำบากในการจำส่งิ ที่เรยี น และการดึงสิง่ ทีร่ อู้ อกมาใช้ 2) มีความยากลำบากในการเรียนรู้กระบวนการใหม่ ๆ 3) มีความยากลำบากในการเรียนรูก้ ระบวนการทางคณติ ศาสตร ์ 4) มคี วามยากลำบากในการเรียนรู้พยัญชนะ 5) มคี วามยากลำบากในการสะกดคำ 6) มีความยากลำบากในการจำเหตุการณ์ตา่ ง ๆ 7) มีความยากลำบากในการจำช่ือคน 8) มีความยากลำบากในการจำทศิ ทาง 9) การอ่านหนังสือเพือ่ เตรยี มตัวสอบทำได้ไม่ดี หรอื ทำไม่ได ้ เน่ืองจากเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้แต่ละคนอาจแสดงออกถึงความบกพร่อง ทางการเรียนร้ใู นหลาย ๆ ดา้ น รวมท้งั อาจแสดงออกถึงปัญหาตา่ ง ๆ ทีเ่ ก่ยี วข้องในหลาย ๆ ลักษณะ ที่อาจเหมือนหรือแตกต่างกันออกไป และในแต่ละวัยอาจแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะท่ีแตกต่างกัน ออกไปด้วย ดังน้ันการจะบ่งระบุว่าเด็กคนใดมีความบกพร่องทางการเรียนรู้จึงเป็นเรื่องท่ียาก นอกจากต้องอาศัยความสนใจและการสังเกตอย่างต่อเนื่องของครู ผู้ปกครองและผู้ที่เก่ียวข้องแล้ว การคัดแยก(identify) เดก็ โดยการใชเ้ ครื่องมือทเี่ หมาะสมก็มคี วามสำคญั ยิง่ 21

7. การประเมิน (Assessment) และคัดแยก (Identification) นักเรียนที่มีความ บกพรอ่ งทางการเรยี นร้ ู การประเมินและคัดแยกเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้นับเป็นกระบวนการท่ีสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการจัดประเภทเด็กเข้ารับบริการทางการศึกษาพิเศษตามท่ีกฎหมายได้กำหนด ไว้แล้ว ยังเป็นการช่วยให้เด็กได้รับบริการทางด้านการศึกษาท่ีเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการ เรียนการสอน สอื่ อุปกรณ์ เทคโนโลยสี ิง่ อำนวยความสะดวก (assistive technology) การจดั สภาพ แวดล้อมในห้องเรียน รวมท้งั การให้บริการความช่วยเหลือในด้านอ่นื ๆ ท่ีเก่ยี วข้อง สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ในกฎหมายว่าด้วยการศึกษาสำหรับผู้ท่ีมีความบกพร่อง (Individuals with Disabilities Education Act- IDEA) ซ่ึงถอื เป็นกฎหมายสาธารณะ (Public Law) และกฎหมายแห่งสมาพันธรัฐ (Federal Law) ท่ีทุกรัฐต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ได้กำหนดไว้อย่าง ชัดเจนในเรื่องของการประเมินเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และเด็กที่มีความบกพร่องด้าน ต่างๆ เพื่อจะได้พิจารณาตัดสินใจได้ว่าเด็กคนใดสมควรได้รับการศึกษาพิเศษและความช่วยเหลือ อื่นๆ ทสี่ อดคล้องกับประเภทความบกพรอ่ งของตน (Overton, 2003) โดยในกฎหมายดังกลา่ วยงั ได้ บ่งระบุไว้อีกว่า ในการประเมินเด็กไม่ควรใช้เพียงแบบทดสอบอย่างเดียว แต่ควรใช้วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูลวิธีอ่ืน ๆ ประกอบด้วย เช่น การสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในช้ันเรียนหรือในขณะ ทำกิจกรรมในสถานท่ีอ่ืน ๆ การสัมภาษณ์บุคคลท่ีเก่ียวข้องกับตัวเด็ก การศึกษาประวัติและผลการ เรยี นของนักเรยี น เปน็ ต้น โดยท่ัวไปในประเทศสหรัฐอเมริกา ถ้าเด็กคนใดถูกสงสัยว่าอาจมีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ การประเมินอาจเกิดขึ้นได้ในสองลักษณะ คืออาจเร่ิมจากทางโรงเรียนเป็นผู้ขออนุญาตจาก ผปู้ กครองเพ่อื ทำการประเมนิ นกั เรียนท่ีไดร้ บั การสงสยั ว่าอาจมีความบกพร่องทางการเรยี นรู้ หรอื อาจ เร่ิมจากการที่ผู้ปกครองขอให้ทางโรงเรียนประเมินบุตรหลานของตนท่ีสงสัยว่าอาจมีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ และเนื่องจากในประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐให้บทบาทความสำคัญอย่างมากกับ ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของบุตรหลานของตน รวมทั้งผู้ปกครองเองก็มีความ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนมากขึ้น ดังน้ันการประเมินเด็กที่ได้รับการสงสัยว่าอาจมีความ บกพร่องทางการเรียนรู้ไม่ว่าในกรณีใด ๆ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง จะเห็นว่า ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญย่ิงต่อการจัดการศึกษาของเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซ่ึงใน ประเทศไทยก็ควรที่จะส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเก่ียวกับเด็กท่ีมีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ และสร้างเสริมความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการ ศกึ ษาสำหรบั บตุ รหลานมากยิ่งขึน้ 22

เน่ืองจากมีความยากลำบากในการประเมินบางองค์ประกอบที่ยังมีความคลุมเครือ หรือยัง ขาดความชัดเจนใน “คำจำกัดความของความบกพรอ่ งทางการเรยี นร”ู้ เชน่ คำวา่ “กระบวนการทาง จิตวิทยา” (psychological process) รัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงมีข้อกำหนดที่ ครอบคลุมในหลายด้าน สำหรับใช้เป็นมาตรการในการประเมินและคัดแยกเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ เพื่อประกอบการพิจารณาและตัดสินให้ได้รับบริการทางการศึกษาพิเศษตามท่ี กฎหมายกำหนด ซึ่งข้อกำหนดเหลา่ น้ถี อื เป็นมาตรฐานขนั้ ต่ำทท่ี กุ รัฐตอ้ งถอื ปฏบิ ัติ โดยแต่ละรฐั อาจมี ขอ้ กำหนดเพ่ิมเตมิ จากขอ้ กำหนดเหลา่ นีไ้ ด้ (Smith et al., 2006) ข้อกำหนดเหล่านี้ ได้แก ่ 1) คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากหลายสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง (Multidisciplinary team) โดยอยา่ งน้อยตอ้ งประกอบด้วยครผู ูส้ อน ผูท้ ม่ี ีความสามารถในการวินจิ ฉยั เด็ก และผเู้ ชีย่ วชาญด้านความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ สำหรบั สมาชกิ อนื่ ๆ ในทีมอาจประกอบดว้ ยผู้ บรหิ ารสถานศกึ ษา นกั จิตวทิ ยา นักสังคมสงเคราะห์ นกั บำบัดการพดู ผปู้ กครอง เป็นตน้ 2) การสังเกต เด็กตอ้ งไดร้ บั การสงั เกตพฤติกรรมตา่ ง ๆ ในชัน้ เรยี นปกตจิ ากสมาชกิ ในทีม ประเมินอย่างน้อยหน่ึงคน โดยการสังเกตมีวัตถุประสงค์เพ่ือเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับส่ิง ท่ีเด็กไดแ้ สดงออกในช้ันเรียน 3) เกณฑ์ท่ีใช้ประกอบการตัดสินใจว่าเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือไม่ โดยเกณฑเ์ หล่านปี้ ระกอบด้วย - ทีมต้องพิจารณาความไม่สอดคล้องกันอย่างมากระหว่างผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกับ ระดบั สติปัญญาท่ีแทจ้ รงิ ของเด็กในด้านใดด้านหนงึ่ หรือมากกวา่ หน่งึ ด้านตอ่ ไปนี้ คือ ทกั ษะการอา่ น ความเขา้ ใจในส่งิ ทอ่ี า่ น การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ การใหเ้ หตุผลทางคณติ ศาสตร์ การแสดงออก ทางการเขยี น การแสดงออกทางการพูด และความเขา้ ใจในสิง่ ทฟ่ี งั - คณะกรรมการอาจไมต่ อ้ งคดั แยกว่าเดก็ ท่ไี ด้รบั การประเมนิ เป็นเด็กทม่ี คี วามบกพร่อง ทางการเรียนรู้ ถ้าความไม่สอดคล้องกันอย่างมากระหว่างผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนกับระดับสติปัญญาที่แท้ จริงของเด็ก เป็นผลเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น ความบกพร่องทางการได้ยิน ความ บกพรอ่ งทางการเคลอ่ื นไหว ความบกพรอ่ งทางสตปิ ัญญา ความบกพรอ่ งทางอารมณ์ หรอื ความดอ้ ย โอกาสทางดา้ นเศรษฐกจิ - คณะกรรมการตอ้ งบนั ทกึ ว่าเด็กตอ้ งมโี อกาสในการได้รบั การศกึ ษาทเี่ หมาะสม 4) การเขียนรายงาน คณะกรรมการต้องจัดทำรายงานที่มีการบันทึกข้อมูลในด้านต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ข้างต้น และในรายงานต้องมีการกำกับว่าผลการประเมินดังกล่าวผ่านความเห็น ชอบจากคณะกรรมการทกุ คน 23

จากท่ีกล่าวมาแสดงให้เหน็ ว่า การคัดแยกและประเมินเด็กมีความสำคัญมาก และในประเทศ สหรัฐอเมริกาได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริง โดยมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนใน กฎหมาย เกี่ยวกับการคัดแยกและประเมินเด็กท่ีทุกรัฐต้องถือปฏิบัติ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีการ พัฒนาแบบทดสอบท่ีสามารถใช้ประกอบการประเมินเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ไว้อย่าง กว้างขวาง โดยแบบทดสอบทนี่ ยิ มใช้กันอยูโ่ ดยทัว่ ไป ไดแ้ ก่ 1) แบบทดสอบความสามารถทางสตปิ ัญญา (Intelligence tests) - Wechsler Intelligence Scale for Children-Third Edition (WISC-III) - Stanford-Binet Intelligence Scale-Forth Edition - Kaufman Assessment Battery for Children (K-ABC) - Illinois Test of Psycholinguistic Abilities (ITPA) - Woodcock –Johnson Psychoeducational Battery-Revised: Cognitive Tests - Kaufman Brief Intelligence Test (K-Bit) - Slosson Intelligence Test-Revised - Detroit Tests of Learning Aptitude - McCarthy Scales of Children’s Abilities - Goodenough-Harris Drawing Test 2) แบบทดสอบความสามารถท่ัว ๆไปทางดา้ นการอ่าน (General reading tests) - California Achievement Tests: Reading - Gates-MacGinite Reading Tests - Metropolitan Achievement Test: Reading - SRA Achievement Series: Reading - Stanford Achievement Test: Reading 3) แบบทดสอบเพอื่ วนิ จิ ฉยั ความสามารถทางดา้ นการอ่าน (Diagnostic reading tests) - Analytic Reading Inventory - Diagnostic Assessment of Reading with Trial Lessons (DARTTS) - Diagnostic Reading Inventory - Gates-McKillop-Horowitz Reading Diagnostic Tests - Stanford Diagnostic Reading Test 24

- Test of Reading Comprehension (TORC) - Woodcock Reading Mastery Test-Revised 4) แบบทดสอบความสามารถทั่ว ๆ ไปทางวิชาการ (Comprehension batteries of academic tests) - California Achievement Tests - Iowa Tests of Basic Skills - Metropolitan Achievement Tests - SRA Achievement Series - Stanford Achievement Test - Wide-Range Achievement Test-III (WRAT-III) 5) แบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยความสามารถทางวิชาการ (Diagnostic academic tests and test batteries) - Brigance Diagnostic Comprehension Inventories of Basic Skills - Kaufman Test of Educational Achievement (K-TEA) - Key Math-Revised - Peabody Individual Achievement Test-Revised (PIAT-R) - Stanford Diagnostic Mathematics Test - Test of Written Spelling-2 - Woodcock –Johnson Psychoeducational Battery-Revised: Achievement Tests 6) แบบทดสอบความสามารถทางดา้ นการเคลอื่ นไหว (Motor Tests) - Bruininks-Oseretsky Test of Motor Proficiency - Peabody Development Motor Scales - Southern California Perceptual-Motor Tests - Purdue Perceptual-Motor Survey - Frosting Movement Skills Test Battery - Southern California Sensory Integration Tests 25

ในประเทศไทย แม้วา่ การคัดกรอง/คัดแยกและประเมนิ เด็กท่มี ีความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ ที่ผ่านมาอาจต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามได้มีนักการศึกษาบางท่าน ได้พัฒนาเครื่องมือคัดกรอง/คัดแยกเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ข้ึน โดยเครื่องมือดังกล่าวได้ มีผนู้ ำไปใชแ้ ละอา้ งองิ ถงึ มากขน้ึ เชน่ แบบคัดแยกเดก็ ทีม่ ีความบกพร่องทางการเรยี นรู้ ซ่งึ พฒั นาโดย ศาสตราจารย์ศรียา นิยมธรรม และแบบสำรวจปัญหาในการเรียน ซึ่งพัฒนาโดย ศาสตราจารย์ ดร. ผดุง อารยะวิญญู ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นอกจากนี้กระทรวงศกึ ษาธกิ ารไดจ้ ดั ทำคู่มือการคดั แยกและสง่ ตอ่ คนพิการเพอ่ื รบั การศึกษา เพ่ือเป็น แนวทางในการปฏิบัติให้กับทางโรงเรียน โดยเป็นแบบสังเกตพฤติกรรมของเด็กใน 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมโดยรวม ด้านพฤติกรรมการเรียนภาษาไทย และด้านพฤติกรรมการเรียน คณิตศาสตร์ (กระทรวงศกึ ษาธกิ าร, 2545) ในปีการศึกษา 2550 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการ พัฒนาคุณภาพนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้เคร่ืองมือคัดกรองนักเรียนที่มีภาวะ สมาธสิ ้นั บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซมึ KUS-SI Rating Scales: ADHD/LD/Autism (PDDs) พัฒนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารณี อุทัยรัตนกิจ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชาญวิทย์ พรนภดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช พยาบาล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน โดยเฉพาะในโรงเรียน แกนนำจัดการเรียนร่วม จำนวน 2,700 คน ทั้งนี้โดยจัดให้มีการฝึกอบรมผู้ใช้แบบคัดกรองดังกล่าว เพื่อให้สามารถใช้แบบคัดกรองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการคัดกรอง/คัดแยกและประเมิน เด็กเป็นข้ันตอนสำคัญยิ่ง เพราะก่อนท่ีโรงเรียนจะจัดการศึกษาท่ีเหมาะสมให้กับเด็กท่ีมีความ บกพร่องทางการเรียนรู้ได้นั้น โรงเรียนต้องทราบชัดเจนว่าในโรงเรียนของตนมีเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร จำนวนเท่าใด ระดับชั้นใด และมีความสามารถปัจจุบันอยู่ในระดับใด เพ่ือโรงเรียนจะได้วางแผนการจัดการศึกษาให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมต่อไป ดังนั้นการพัฒนา กระบวนการและเคร่ืองมือที่ได้มาตรฐานให้มีเพ่ิมมากขึ้น เพ่ือผู้ใช้จะได้เลือกใช้เคร่ืองมือท่ีมีคุณภาพ อย่างหลากหลายและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จึงมีความสำคัญยิ่ง ซึ่งจะส่งผลให้การคัดกรอง/คัดแยก การวนิ จิ ฉัยและการประเมนิ เดก็ มคี วามถูกต้อง แมน่ ยำและมคี วามสมบรู ณ์มากยิ่งขึ้นดว้ ย 26

แนวทางพฒั นานักเรยี น 8. กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่อง ทางการเรียนรู้ แมว้ ่าเทคนคิ วธิ ีการจดั การเรยี นการสอนทใ่ี ชก้ บั เด็กปกตทิ กุ ๆ วิธี สามารถนำมาปรบั ใช้กบั เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ได้ แต่เพ่ือให้การจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลมากท่ีสุด ได้มีนักการศึกษาเสนอ แนวคดิ และเทคนิควิธตี า่ ง ๆ ทีน่ า่ สนใจไวด้ งั น้ี 8.1 กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไปท่ีใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ เรยี นรู้ 1) ใช้คำสั่งที่มีความเฉพาะเจาะจง โดยการใช้ข้อความที่ส่ือความหมายได้ชัดเจน หรอื อาจมีตัวอย่างประกอบ 2) ใชค้ ำสง่ั ทเี่ ปน็ ประโยคงา่ ย ๆ สน้ั ๆ หากตอ้ งใชค้ ำสงั่ ยาว ๆ ทมี่ คี วามตอ่ เนอื่ งเปน็ ขน้ั ตอน ใหแ้ ยกคำสง่ั นน้ั ออกเปน็ สว่ น ๆ และใหน้ กั เรยี นทำงานตามคำสงั่ แตล่ ะสว่ นในการเรยี นแตล่ ะ ครง้ั 3) ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำส่ังที่ไม่ชัดเจนหรือทำให้เกิดความสับสน ยกตัวอย่างเช่น ใชค้ ำวา่ “เขยี นประโยคแตล่ ะประโยค 5 ครง้ั ” จะดกี ว่าการใชค้ ำวา่ “ฝกึ การสะกดคำ” 4) การบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนควรใช้คำง่ายๆ และควรใช้คำเดิมๆ ที่นกั เรยี นมีความคุ้นเคย รวมทัง้ มีการนำเสนอเนือ้ หาเป็นข้นั ตอนยอ่ ยๆ เพ่ือใหน้ ักเรียนสามารถเรยี น รู้และเข้าใจไดม้ ากทส่ี ดุ เทา่ ทีเ่ ปน็ ไปได ้ 5) มกี ารทำสญั ญาในการเรียนร่วมกันระหว่างนักเรียนกับครู 6) หลีกเลี่ยงการให้งานเด่ียว หรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ไม่กระตุ้นความสนใจ ของนักเรยี น รวมท้ังกจิ กรรมที่กนิ เวลานาน โดยกจิ กรรมท่ีดีควรเป็นกจิ กรรมทชี่ ว่ ยให้นักเรียนมีความ กระตือรือร้นในการเรยี น 7) ลดจำนวนภาระงานเพอื่ หลกี เลยี่ งการบ่นั ทอนกำลังใจของผู้เรยี น 8) สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ คะแนนจากการทดสอบ ควร เปน็ จำนวนข้อท่ีถูกตอ้ งจากจำนวนขอ้ ของความพยายาม เช่น ให้โจทยไ์ ป 20 ขอ้ ถา้ นกั เรียนทำ 27

ถกู 7 ข้อ ควรคิดว่าเด็กทำถกู 7 ข้อ จาก 12 ขอ้ มากกว่าทีจ่ ะคิดว่าเด็กทำถูก 7 ขอ้ จาก 20 ข้อ (ครคู าดหวังเพียง 12 ข้อ กพ็ อแล้ว) ซ่ึงจะชว่ ยใหน้ กั เรียนมีความรสู้ กึ ท่ีดขี นึ้ 9) ใชเ้ ทปบนั ทึกเสยี งคำสั่ง โดยเฉพาะคำสัง่ ทำภาระงานท่ีเป็นขอ้ ความยาวๆ 10) ให้เพื่อนชว่ ยอธบิ ายภาระงานหรือคำสง่ั ในการทำงาน 11) ใหเ้ วลาในการทำแบบทดสอบเพมิ่ มากขึ้น 12) ใชเ้ ทคนิคเพือ่ นชว่ ยเพ่อื นสำหรบั การฝกึ เกยี่ วกบั เน้ือหา คำศัพท์ การสะกดคำ 13) ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning groups) เพ่ือช่วยส่ง เสริมการเรียนรู้สำหรบั เด็กทกุ คนโดยไมม่ กี ารยกเวน้ 14) ขออาสาสมัครจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้อาวุโสที่เกษียณอายุแล้ว สำหรับ การทบทวนเนื้อหา หรือทกั ษะในวชิ าสงั คมศกึ ษาหรอื วทิ ยาศาสตร์ โดยการอ่านบทเรียนบนั ทึกเทปให้ เดก็ ฟัง หรืออาจอ่านใหเ้ ด็กฟังโดยตรง 15) ใหง้ านทหี่ ลากหลายแตกตา่ งไปตามระดบั ความสามารถของผูเ้ รียน 16) ให้ข้อมูลย้อนกลับกบั นกั เรียนในรปู ของกราฟ หรือแผนภูม ิ 17) ใชร้ ูปแบบคำสงั่ ทเ่ี ป็นมาตรฐาน เช่น การจบั คู่ การเตมิ คำในชอ่ งวา่ ง และสำหรบั การใช้คำสั่งรูปแบบใหม่ ๆ จะมคี วามเป็นไปได้มากขน้ึ เมอื่ เด็ก ๆ เหล่าน้ีได้ถูกพัฒนาแล้ว 18) งานท่ีแบ่งเปน็ กลมุ่ ๆ (Group learning tasks) จะชว่ ยลดจำนวนของสิง่ ทจ่ี ะต้อง เรียนรู้ ยกตัวอย่างเช่น ส่ีกลุ่มของสามเดือน ดูเหมือนว่าจะน้อยว่าการที่ต้องเรียนรู้คร้ังเดียวสิบสอง เดือน การเรียนรู้สามเดือนท่ีเป็นฤดูหนาว คำส่ีคำท่ีมีสองพยางค์ หรือคำห้าคำท่ีมีความหมายว่าการ เคลอ่ื นที่ เปน็ ต้น 19) เพือ่ เพิ่มความตงั้ ใจให้กับนักเรยี นให้ใชค้ ำช่วย (cue words) เช่น “นกั เรียนมอง ทางน้ี” “นักเรยี นฟังคณุ ครูกอ่ น” และ “พรอ้ มหรือยงั ” นอกจากนอี้ าจใชท้ า่ ทาง เชน่ การยกมือ การ ชี้ เปน็ ตน้ 20) ใช้เทคโนโลยี เช่น เทปบันทึกเสียง เครื่องฉายข้ามศีรษะ วีดีโอ คอมพิวเตอร ์ ซ่ึงเป็นการใหท้ างเลือก หรือเพ่มิ เทคนิควธิ ีการสอนในการนำเสนอบทเรยี น หรือทบทวนความคิดรวบ ยอดที่ไดน้ ำเสนอไวใ้ นบทเรยี น 21) ใช้บอร์ดความรู้ (bulletin boards) ในการติดข้อมูลที่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจความ คิดรวบยอด เน้อื หาในบทเรียน และพัฒนาความกา้ วหนา้ ในการเรยี นของนกั เรยี น 28

22) เทคนิคการสอนทางเลอื ก (Alternative teaching techniques) - การบรรยาย ครูจะต้องให้กรอบของการบรรยาย และในการบรรยายควรใช้ แผ่นใสหรอื กระดานดำนำเสนอให้นกั เรียนไดม้ องเหน็ ควบคู่ไปดว้ ย - ส่ือ/วัสดุอุปกรณ์ ท่ีใช้การฟัง หรือสื่อท่ีใช้การมองเห็น (Audio or visual media) - ครูต้องแนะนำส่ือก่อนการใช้ พร้อมท้ังทบทวนจุดประสงค์ของการนำเสนอ และควรจดั ให้นกั เรียนท่มี ีปญั หาทางด้านการฟังอย่ใู กล้ ๆ กบั แหลง่ เสียง - การอภปิ ราย ครูควรเขียนประเดน็ การอภปิ รายลงในกระดาน และแบ่งนักเรียน ออกเป็นกลมุ่ ๆ เพอ่ื ใหอ้ ภปิ รายรว่ มกันภายในกล่มุ - การถามคำถาม ครูควรใช้คำถามท่ีหลากหลาย เพ่ือเข้าถึงนักเรียนท่ีมีระดับ สติปญั ญาแตกตา่ งกนั โดยก่อนถามคำถามควรเรยี กช่ือนักเรียนกอ่ นทกุ ครัง้ - เกมส์ ครูควรออกแบบเกมส์โดยคำนึงถึงการพัฒนาทักษะท่ีต้องการเป็น อนั ดับแรก ในการเล่นเกมส์ควรใช้คำสัง่ งา่ ยๆ ขดี เส้นใตค้ ำส่งั ทสี่ ำคัญๆ ด้วยสตี า่ งๆ หรืออาจใช้เทคนิค เพือ่ นช่วยเพื่อนเพือ่ อนุญาตใหน้ ักเรียนเตรยี มเกมสข์ องตนเอง 8.2 กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในการเรียนการสอนนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนวิชา คณติ ศาสตร ์ 1) ใช้สงิ่ ท่ีชว่ ยการรบั ร้ทู างการเหน็ ของนักเรียน (visual cueing) เช่น กล่องข้อความ วงกลม การขีดเส้นใต้ เพือ่ แสดงขอ้ ความหรือข้อมูลทตี่ อ้ งการเนน้ 2) ใช้สมุดกราฟสำหรับการเรียนพีชคณิต เพ่ือช่วยให้นักเรียนสามารถเขียนตัวเลข ในแตล่ ะหลักใหต้ รงกันได้โดยง่าย โดยการใช้คอลมั นเ์ ป็นตวั กำกับ 3) เวน้ ระยะห่างของโจทยป์ ญั หาในแตล่ ะข้อใหเ้ ห็นอย่างชัดเจน 4) จัดกลุ่มปญั หาทค่ี ลา้ ยกนั เข้าดว้ ยกัน 5) ถ้านักเรียนมีปัญหาในการลอกงานจากหนังสือเรียน ให้ครูหรือเพ่ือนช่วยลอกให้ และให้นกั เรยี นทำภาระงานนน้ั ใหส้ มบรู ณ์ดว้ ยตนเอง 6) หลังจากครูได้แสดงตัวอย่างบนกระดานแล้ว ให้นักเรียนออกมาทำโจทย์ท่ีมี ลกั ษณะคลา้ ย ๆ กนั ใหส้ มบูรณ์ เพ่ือฝึกความพรอ้ มในการแกป้ ัญหาทางคณติ ศาสตร์ 7) ขดี เส้นใต้สัญลกั ษณส์ ำหรบั การดำเนนิ การทางพชี คณิต ( + , — , × , ÷) หรือคำ ในโจทยป์ ัญหาท่ีบง่ บอกใหร้ วู้ ่าจะใชก้ ารดำเนินการ (operation) อะไรในโจทยป์ ญั หาน้นั ๆ 29

8) ให้นักเรียนได้ใช้อุปกรณ์ช่วยในการคำนวณ เช่น เส้นจำนวน ลูกคิด แผนภูมิ แผนภาพต่าง ๆ 9) สอนการใช้เครือ่ งคำนวณ (calculator) 8.3 กลยทุ ธ์ท่วั ๆ ไปทใ่ี ช้ในการสอนนักเรียนทมี่ ีปัญหาเกีย่ วกับการอ่าน 1) ใช้หนังสือเสียงเพื่อช่วยให้นักเรียนท่ีมีปัญหาเก่ียวกับการอ่านสามารถเข้าใจ เนอ้ื หาทีเ่ รยี นไดโ้ ดยใช้การฟัง 2) ลดจำนวนหน้าของแบบฝึกหัด หรือหนังสือประกอบการอ่านอื่นๆ เพื่อลดความ วติ กกงั วลของนักเรียน 3) ใช้กระดาษท่ีมีสีสดใส (a bright construction paper) ทาบบนข้อความที่จะอ่าน เพอ่ื ช่วยใหน้ ักเรียนสามารถจดจ่ออยูก่ ับขอ้ ความที่อ่าน 4) ใช้แผ่นใส หรือแผ่นพลาสติกท่ีมีสีสดใสทาบบนข้อความที่จะอ่าน เพื่อช่วยให้ นกั เรยี นสามารถจดจ่ออยู่กบั ขอ้ ความที่อา่ น 5) ใช้กระดาษทำเป็นหน้าต่างการอ่าน (reading window) ซึ่งสามารถติดประโยค หรอื ข้อความเพอ่ื ช่วยใหน้ กั เรยี นสามารถติดตามและให้ความสนใจในเรอื่ งที่อา่ น 6) ให้เพือ่ นชว่ ยอ่านงานท่คี รูมอบหมายใหก้ บั นกั เรยี นทม่ี ปี ัญหาเกยี่ วกบั การอ่าน 7) ขีดเส้นใต้คำสำคัญหรือใจความสำคัญ เพื่อเพ่ิมความสนใจในรายละเอียดที่ สำคัญๆ 8) ใหเ้ ดก็ ทม่ี ปี ญั หาเกยี่ วกบั การอา่ นมเี วลาในการอา่ นใหเ้ สรจ็ สน้ิ สมบรู ณม์ ากกวา่ เดก็ ปกติ 9) ใช้การอ่านซ้ำ ๆ ซ่ึงรวมถึงการท่ีครูอ่านเรื่องให้เด็กฟัง แล้วหลังจากน้ันครูอ่าน เร่อื งและให้เดก็ อา่ นตาม จนสดุ ทา้ ยใหน้ ักเรยี นอา่ นเรือ่ งดว้ ยตนเอง 10) ให้นักเรียนท่มี ีปญั หาเก่ียวกับการอ่านสามารถทำงานทไี่ ด้รับมอบหมายโดย ใชก้ ารวาดภาพ หรือโมเดลได้ 11) ใช้กลยุทธ์การประเมินตนเอง (self-monitoring) และการต้ังคำถามกับตัวเอง (self-questioning) เก่ยี วกับเรือ่ งทอี่ า่ น เพ่ือช่วยใหเ้ ข้าใจเรื่องท่ีอ่านมากยิ่งขึ้น โดยมขี ั้นตอนดงั นี้ - การต้ังคำถามกับตนเองในขณะที่อ่าน โดยเร่ิมต้นให้นักเรียนถามคำถามกับ ตัวเองดังๆ ก่อน เพื่อท่ีครูสามารถทราบและช่วยเหลือแนะนำนักเรียนได้ ต่อจากนั้นให้นักเรียนใช้ “เอกสารการประเมินตนเอง” ยกตัวอย่างเช่น ในการอ่านย่อหน้าแรกนักเรียนถามตนเองว่า “ฉัน เขา้ ใจเรื่องทฉ่ี นั พึง่ อา่ นไปไหม” ... “ใช่ หรอื ไม่ใช”่ 30

- ศัพทท์ ี่ควรรู้ สามารถใชร้ ่วมกบั การตงั้ คำถามกับตนเอง เดก็ จะเป็นผ้กู ำหนดคำศัพท์ ของตนเองเก่ียวกบั เรอ่ื งท่ไี ดอ้ ่านไปแล้ว - การลำดับเรื่อง จะดีท่ีสุดเมื่อนำมาใช้ตอนใกล้ๆ กับตอนจบของเรื่อง และจะเป็น ประโยชนเ์ ม่อื ลำดบั ของเหตกุ ารณ์ตา่ ง ๆ มีความสำคญั ต่อการจดจำ - การจินตนาการ เป็นการจินตนาการถึงเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดข้ึนใน เร่ืองน้ัน ๆ และให้นักเรียนสร้างภาพข้ึนในจินตนาการของตนเอง เพ่ือเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์และ เร่ืองราวต่าง ๆ จากเรอื่ งท่ีตนเองได้อา่ นไปแล้ว โดยเทคนิควิธีนี้ควรใช้กบั เด็กโต - การทบทวนเรื่องที่อ่านไปแล้ว โดยการทบทวนจะประกอบไปด้วยการให้นักเรียน ดูชอ่ื เร่ือง ภาพประกอบ และหัวขอ้ ตา่ ง ๆ ในเรอื่ งนัน้ ๆ 8.4 กลยทุ ธ์ทั่ว ๆ ไปที่ใชใ้ นการสอนนักเรียนท่มี ีปญั หาเกีย่ วกับการเขยี น 1) จัดเวลาให้เพยี งพอสำหรับการเขียนอยา่ งนอ้ ย 20 นาทตี อ่ วัน 2) หาหวั ขอ้ หลาย ๆ หวั ข้อสำหรับการเขียน 3) บูรณาการเขา้ กับวชิ าอน่ื ๆ 4) สร้างบรรยากาศใหส้ นุกสนานเพื่อสง่ เสรมิ การเขียน 5) เนน้ กระบวนการสำคญั ในการเขยี น คือ รา่ งต้นฉบบั ลงมอื เขียน เขียนทบทวนใหม่ 6) เนน้ การเรียบเรยี งเนอ้ื ความ ใหค้ วามเอาใจใสก่ บั การสะกด และเครื่องหมายวรรค ตอนหลังจากเขียนเรียบรอ้ ยแล้ว 7) สอนทักษะในการเรียบเรียงเนื้อหา เช่น การประชุม การระดมความคิด การ เขียนรปู ประโยค และการประเมินการเขียน 8) ให้นกั เรียนหาจดุ มุ่งหมายของตนเองในขณะที่กำลงั เขยี น 8.5 กลยุทธ์ทั่ว ๆ ไปที่ใช้ในการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ให้ สามารถทำตามคำสั่ง 1) เมอ่ื ต้องการส่ังให้นักเรียนทำอะไร ให้ครูมองตานักเรียนกอ่ นทุกครงั้ 2) หลังจากบอกให้นักเรียนทำอะไรแลว้ ใหน้ กั เรยี นทบทวนคำสง่ั ให้ครฟู งั อีกคร้ังหนง่ึ 3) ให้คำสัง่ ทง้ั วิธีการให้นกั เรียนไดเ้ หน็ และไดย้ ิน โดยการเขยี นบนกระดานดำและ อา่ นคำสัง่ ใหฟ้ งั 4) เม่ือนักเรียนไม่เข้าใจคำส่งั ของครู ใหเ้ พื่อนที่คอยทำหนา้ ท่ชี ่วยเหลอื หรอื เพอื่ นท ่ี นงั่ ใกล้ ๆ ช่วยทบทวนคำสัง่ ของครใู หน้ ักเรยี นทราบ 31

5) ถ้าเป็นไปได้ในเวลาเดียวกันควรให้คำส่ังกับนักเรียนเพียงหนึ่งหรือสองคำสั่ง เทา่ นัน้ 6) ในขณะที่บอกใหน้ ักเรียนทำอะไร ให้สัมผสั นกั เรยี นทแี่ ขนหรอื ไหล่อยา่ งนุ่มนวล 7) สำหรับเด็กเล็ก ๆ การให้คำสั่งโดยการใช้รูปภาพจะมีผลช่วยให้เด็กสามารถทำ ตามคำส่งั ได้ดีขนึ้ เพราะภาพที่เด็กมองเห็นจะชว่ ยเตอื นความจำของเด็ก 8) สำหรับเด็กที่อาจต้องการความช่วยเหลือจากครู แต่มีความลังเลใจไม่กล้าขอ ความช่วยเหลือ ครูอาจคิดเป็นสัญลักษณ์ให้เด็กใช้แทน เช่น อาจเขียนข้อความไว้บนการ์ดว่า “ช่วย หนูด้วยคะ่ ” แล้วให้เด็กวางการ์ดไวบ้ นโต๊ะเพือ่ ท่คี รจู ะได้สังเกตเห็นตอนเดนิ ผา่ น 8.6 กลยุทธ์ท่ัว ๆ ไปท่ีใช้ในการสอนให้นักเรียนท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สามารถทำงานไดเ้ สร็จ 1) ใช้การทำสัญญาร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียนในการทำภาระงานท่ีได้รับมอบ หมายใหแ้ ล้วเสรจ็ โดยในสญั ญาจะตอ้ งมกี ารระบุงานท่ตี ้องทำให้เสรจ็ ระยะเวลาในการทำ รวมท้ังการ ใหร้ างวัล โดยทัง้ ครแู ละนกั เรยี นตอ้ งเซน็ สัญญาร่วมกัน 2) ใหเ้ วลาวา่ งกับเด็กในการทำกจิ กรรมทีต่ นเองชอบหลงั จากทำงานทไ่ี ดร้ ับ มอบหมายเสรจ็ สน้ิ แล้ว 3) จดั ทำข้อมูลของนักเรียนเพื่อแสดงถงึ จำนวนงานท่ีนกั เรยี นทำเสรจ็ ในแต่ละวัน 4) แบ่งภาระงานน้ัน ๆ ออกเป็นงานย่อย ๆ และให้รางวัลกับนักเรียนหลังจาก ทำงานยอ่ ย ๆ แตล่ ะชนิ้ เสร็จส้ินสมบูรณ์แล้ว 5) การให้งานกับนกั เรยี นทมี่ ีความยากลำบากในการทำงานใหเ้ สร็จ ควรเร่มิ จากการ ใหง้ านเพียงหนง่ึ อย่างต่อวัน หลงั จากนั้นเพ่มิ เป็นสองอยา่ ง และคอ่ ย ๆ เพิ่มขน้ึ ตามความเหมาะสม 6) ใช้เอกสารเพื่อแสดงภาระงานท่ีเด็กต้องทำ โดยผู้ปกครองจะต้องเซ็นชื่อใน เอกสารนท้ี กุ วนั 8.7 กลยทุ ธท์ ่ัว ๆ ไปที่ใชใ้ นการสอนนกั เรยี นท่ีมคี วามบกพร่องทางการเรียนรู้เกี่ยว กบั ทกั ษะการจัดระเบยี บ 1) สอนให้นักเรียนทราบเก่ยี วกบั กฎระเบยี บ และข้อควรปฏบิ ตั ใิ นชีวติ ประจำวัน 2) ให้อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียนในสถานการณ์ที่อาจทำให้นักเรียนเกิดความสับสน เพ่ือ จะได้คอยแนะนำชว่ ยเหลอื เช่น ในการเลอื กตง้ั การฝกึ ซ้อมการเกดิ เพลงิ ไหม้ เป็นตน้ 3) จัดทำตารางกิจกรรมการเรยี นการสอนทีต่ อ้ งปฏบิ ตั ใิ นแตล่ ะคาบใหน้ กั เรียนทราบ 32

4) ใช้สีเป็นเคร่ืองหมายเพื่อแสดงถึงวิชาต่าง ๆ ที่เรียน เช่น การอ่านจะใช้สีฟ้าบน ตารางเรยี น และเอกสารต่าง ๆ เกยี่ วกบั การอ่านจะเก็บไวใ้ นแฟ้มเอกสารสฟี า้ ในขณะท่หี นังสือเรยี น วิชาการอ่านจะหมุ้ ดว้ ยปกสฟี ้า เปน็ ตน้ 5) บอกให้นักเรียนทราบเป็นประจำทุกวันว่าเวลาใดเป็นการเรียนวิชาอะไร เน้ือหาใด และกจิ กรรมใดบา้ ง 6) เตรียมพร้อมนักเรียนในการเปล่ียนจากการทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง ไปสู่กิจกรรมอีกอย่างหน่ึง โดยการใช้คำพูดเตือน เช่น อาจบอกว่า “ในอีก 1 นาที เราจะไปที่... ” หรอื อาจใชก้ ารปดิ -เปิดไฟ พร้อมกับพูดวา่ “ตอนน้ีเป็นเวลาสำหรับ... ” 7) จัดทำรายการเพื่อเตือนให้นักเรียนทราบว่าในแต่ละวันต้องเรียนวิชาใดบ้าง และใน ช่วงเวลาใด 8) เขียนคำสั่งในการทำงานในทท่ี ี่นกั เรยี นสามารถเห็นไดอ้ ยา่ งชัดเจน เชน่ เขยี นไว้ ในหนังสอื แบบฝึกหัดคณิตศาสตรข์ องนักเรียน หรือเขียนบนเอกสารแล้วใสไ่ ว้ในหนงั สอื ของนักเรยี น 9) ใหน้ กั เรียนนำหนังสอื และเอกสารต่างๆ ออกจากโตะ๊ ยกเวน้ หนังสือหรอื เอกสารที่ จำเปน็ ตอ้ งใชป้ ระกอบการเรียนการสอนในรายวชิ าน้ันๆ 10) สรุปประเด็นสำคัญสองหรือสามประเด็นจากบทเรียนในตอนท้ายคาบ พร้อมท้ัง ทบทวนประเด็นสำคัญเหล่านีใ้ นวันถัดไปกอ่ นการเรม่ิ ต้นบทเรียนใหม ่ 11) ทำเครอ่ื งหมายเพื่อแสดงขอบเขตหรือตำแหน่งตา่ งๆ ใหน้ ักเรียนทราบ เช่น ทำ ตำแหน่งที่จะให้นักเรียนวางเอกสาร ทำรอยเท้าบนพ้ืนเพ่ือช่วยให้เด็กเล็กสามารถอยู่ในที่ที่กำหนดใน การทำกิจกรรมท่ีเป็นวงกลม เปน็ ตน้ 12) ช่วยให้นักเรียนมีความตั้งใจในการเรียน โดยการเริ่มต้นกิจกรรมสำคัญ หรือ กจิ กรรมใหม่ โดยการใช้ขอ้ ความว่า “สง่ิ นเี้ ปน็ สิ่งสำคัญ” กลยุทธ์ในการจัดการเรียนการสอนที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เป็นเพียงกลยุทธ์ทั่วๆ ไปที่ใช้ ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในด้านต่างๆ ดังนั้นใน การจัดการเรียนการสอนเพ่ือช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนร ู้ ในแต่ละด้านให้ได้ผลดี ยง่ิ ขน้ึ อาจตอ้ งใช้เทคนิคการสอนทีม่ ีความเฉพาะเจาะจงข้นึ 33

9. ขอ้ เสนอแนะสำหรบั ครผู ้สู อน พอ่ แม่ ผปู้ กครอง และผู้ทเ่ี ก่ยี วขอ้ ง 1) เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้เป็นเด็กที่มีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติ รวมทั้งอาจพบว่าเด็กบางคนมีจุดเด่นหรือมีความเป็นอัจฉริยะในบางด้าน การช่วยให้เขาได้รับการ พัฒนาในส่วนท่ีด้อย พร้อมท้ังช่วยค้นหาและเสริมในส่วนท่ีเด่น จะช่วยให้เด็กท่ีมีความบกพร่อง ทางการเรยี นรสู้ ามารถประสบความสำเร็จในชีวติ ได้เปน็ อยา่ งด ี 2) นอกจากความช่วยเหลือในด้านต่างๆ อย่างเหมาะสมแล้ว ความรัก ความเมตตา ความเข้าใจ รวมทั้งความตั้งใจจริงในการให้ความช่วยเหลือ ยังเป็นส่ิงสำคัญท่ีจะส่งเสริมให้เด็กที่มี ความบกพร่องทางการเรียนรมู้ ีพลงั ในการฟันฝ่าอปุ สรรคในการเรยี นรขู้ องตนเอง 3) การที่เด็กทมี่ คี วามบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้ตอ้ งประสบกบั ความลม้ เหลวทางการเรียน อย่างต่อเนอ่ื งปีแล้วปเี ล่า อาจสง่ ผลให้เด็กเหลา่ นปี้ ระสบกับปญั หาอืน่ ๆ ได้ เช่น ปัญหาทางพฤติกรรม อารมณ์ และสังคม เปน็ ต้น 4) การที่เด็กไม่สามารถเรียนรู้ในบางวิชา หรือบางด้านได้ดีเหมือนเพื่อนๆ อาจไม่ได้เป็น เพราะเด็กมีสติปัญญาไม่ดี ขี้เกียจ ไม่สนใจเรียน หรือไม่มีความรับผิดชอบ แต่อาจเป็นเพราะ เขาประสบกับความบกพรอ่ งทางการเรยี นรู้ ดังท่ไี ดก้ ล่าวมาแล้วขา้ งต้น 5) การคัดแยกและประเมินเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ควรกระทำด้วยความ รอบคอบ นอกจากต้องมีระยะเวลาในการศึกษาเด็กอย่างต่อเน่ืองและเพียงพอแล้ว ควรมีการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากหลายๆ ฝ่ายท่ีเกี่ยวข้องท้ังอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมท้ังการ พิจารณาผลการประเมินควรเป็นไปด้วยความรอบคอบ ไม่เช่นนั้นแทนที่การประเมินจะเป็นการช่วย เหลือเด็ก อาจกลับกลายเป็นการสรา้ งตราบาปหรือเพ่มิ ปญั หาให้กบั เด็กมากยิง่ ข้นึ 6) การที่เด็กบางคนซ่ึงคุ้นเคยกับการใช้ภาษาถ่ิน และอาจทำให้มีความยากลำบากเกี่ยว กับการใช้ภาษา ไม่ว่าจะเป็นการพูด การอ่าน หรือการเขียนในช่วงที่มาเข้าเรียนในโรงเรียน โดย เฉพาะในชั้นต้น ๆ นัน้ อาจเป็นผลเนอ่ื งมาจากการทีเ่ ด็กตอ้ งมาเรียนรู้ภาษาที่ใช้ในการเรยี นการสอน ซึ่งเปรียบเสมือนภาษาที่สองของพวกเขา ซึ่งอาจไม่ได้เป็นผลมาจากความบกพร่องทางการเรียนร ู้ แต่อย่างไรก็ตามอาจมีเด็กกลุ่มน้ีบางคนท่ีเป็นเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จริงๆ ดังน้ันการ พจิ ารณาจงึ มคี วามยากลำบาก และต้องมคี วามรอบคอบมากย่งิ ขึ้น 34

7) การพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ ความเข้าใจเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนร้ ู รวมท้ังให้มีความรู้ในเร่ืองเทคนิควิธีสอน การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การคัดกรองเด็ก การตรวจวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนรู้ของนักเรียน ท้ังในด้านภาษาและ คณิตศาสตร์ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มีความสำคัญยิ่ง โดยการพัฒนาอาจทำในรูปแบบ การฝึกอบรม และ/หรอื การศกึ ษาดงู าน 8) การจดั หาสอ่ื และสงิ่ อำนวยความสะดวก จัดทำส่ือตน้ แบบ เครอื่ งมือคัดกรอง เครื่องมือ ตรวจวินิจฉยั ความบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ของนกั เรยี น ทั้งดา้ นภาษาและคณิตศาสตร์ เอกสารความรู้ อื่นๆ เช่น เทคนิควิธีสอน การพัฒนาสื่อ การให้ความช่วยเหลือเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เผยแพร่ให้กับโรงเรียนและหน่วยงานที่เก่ียวข้อง รวมทั้งจัดหาสื่อและเทคโนโลยีส่ิงอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ ใหก้ บั เดก็ ทีม่ คี วามบกพร่องทางการเรียนรใู้ นแต่ละโรงเรยี นใหเ้ พียงพอ และควรจดั สรร งบประมาณเฉพาะเพอื่ พัฒนาและจัดหาสอื่ การเรียนการสอน วสั ดุ อุปกรณท์ ีจ่ ำเป็นอน่ื ๆ 9) ควรจัดทำงานวิจัยเพื่อพัฒนา และวิจัยปฏิบัติการควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอน และการพฒั นางานทุกดา้ น 10) หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องท้ังหน่วยงานในส่วนกลาง หน่วยงานในระดับเขตพ้ืนที่ โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการประสานความร่วมมือ และมีการดำเนิน งานการจัดการศึกษาสำหรับเด็กท่ีมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ท่ีต่อเนื่อง สอดคล้องกันทั้งในด้าน นโยบายและด้านการปฏบิ ัต ิ 11) บุคลากรท่ีเก่ียวข้องท้ังผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และบุคลากรอื่นๆ ต้องมี ความรู้ ความเข้าใจ และพร้อมท่ีจะให้ความร่วมมือและการสนับสนุนการจัดการศึกษาสำหรับเด็กท่ีมี ความบกพร่องทางการเรยี นร้ ู 12) ควรมีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเน่ือง เป็นระยะๆ รวมท้ังควรนำผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ มาเป็นแนวทางใน การพัฒนาการจดั การศึกษาสำหรับเดก็ ท่มี ีความบกพรอ่ งทางการเรียนร้ใู ห้มีประสิทธภิ าพยง่ิ ขึ้น 35

10. ตวั อยา่ งนวัตกรรมทีใ่ ชพ้ ัฒนานักเรยี นท่ีมคี วามบกพรอ่ งทางการเรียนรู้ 10.1 ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้พัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้าน การอ่าน 1) ใช้กระดาษทีม่ สี ีสดใส (a bright construction paper) ทาบบนข้อความทีจ่ ะอา่ น เพอ่ื ช่วยให้นักเรยี นสามารถจดจ่ออยูก่ ับขอ้ ความทอ่ี า่ น 2) ใช้แผ่นใสหรือแผ่นพลาสติกท่ีมีสีสดใส ทาบบนข้อความท่ีจะอ่านเพ่ือช่วยให้ นกั เรยี นสามารถจดจ่ออยกู่ ับขอ้ ความทีอ่ ่าน 3) ใช้กระดาษทำเป็นหน้าต่างการอ่าน (reading window) ซึ่งสามารถติดประโยค หรือข้อความเพือ่ ช่วยให้นักเรียนสามารถติดตามและให้ความสนใจในเร่อื งทีอ่ า่ น ตดิ คำ ประโยค หรือข้อความ ติดคำ ประโยค หรอื ขอ้ ความ ตดิ คำ ประโยค หรอื ขอ้ ความ ตดิ คำ ประโยค หรือขอ้ ความ 36

4) เทคนคิ การสอนเพอื่ ช่วยใหอ้ ่านคลอ่ ง (Reading Fluency) 4.1) เทคนิคการชว่ ยอา่ น (Assisted Reading Practice) เทคนิคน้ีนับเป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ยังคงใช้ได้ผลดี โดยการให้นักเรียนอ่านออก เสียงดัง ในขณะท่ีผู้ให้ความช่วยเหลือซึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านการอ่านจะอ่านตามเบา ๆ ถ้า นักเรียนอา่ นผิด ผูช้ ่วยจะชว่ ยแก้ไขให้ ขั้นตอนในการปฏิบัต ิ - ข้นั ตอนท่ี 1: นงั่ ดว้ ยกันกับนักเรียนในสถานท่เี งยี บ ๆ ทค่ี วรปราศจากเสียง รบกวน วางหนังสือที่ต้องการอ่านอยู่ในตำแหน่งที่ทั้งผู้ช่วยและนักเรียนสามารถอ่านข้อความใน หนงั สือได้โดยง่ายหรอื ถ้าเป็นไปได้ควรมหี นังสือสองชดุ สำหรับแตล่ ะคน - ข้ันตอนที่ 2: ให้นักเรียนเร่ิมต้นอ่านหนังสือโดยการอ่านออกเสียง โดยครู หรือผชู้ ่วยพูดให้กำลังใจนกั เรยี นเพือ่ เป็นการเสรมิ แรงใหส้ ามารถอ่านได้ดี - ขน้ั ตอนที่ 3 ในขณะทีน่ กั เรยี นอา่ น ให้ครหู รือผชู้ ว่ ยอ่านตามไปด้วยเบา ๆ - ขัน้ ตอนที่ 4 ถา้ ในขณะกำลงั อ่านนกั เรยี นอา่ นผิดหรอื เกดิ ความลังเลในการ ออกเสียงคำบางคำนานเกิน 5 วินาที ให้อ่านออกเสียงคำน้ันให้นักเรียนฟัง พร้อมท้ังให้นักเรียนอ่าน ออกเสียงคำน้ันซ้ำอีกคร้ังให้ถูกต้องและให้นักเรียนอ่านออกเสียงต่อไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่องที่ต้องการ ให้อา่ น - ขั้นตอนท่ี 5: ถ้ามีโอกาสให้คำชมเชยนักเรียนในการอ่าน เช่น “หนูเก่ง มากเลยรไู้ หม หนูออกเสียงคำที่หนูไมร่ ไู้ ดถ้ กู ต้องเลยล่ะ” 4.2) เทคนคิ การแก้ไขคำผดิ (Error Correction) เทคนิคการแก้ไขคำผิดท่ีนิยม ใชก้ นั อยูม่ ดี ังตอ่ ไปน้ ี 4.2.1) การบอกคำท่ีเด็กไม่รู้ให้เด็กทราบ (Word Supply) เทคนิคน้ีถือเป็น เทคนิคในการแก้ไขคำผิดที่นับว่าง่ายท่ีสุดท่ีนิยมใช้กันอยู่ ซึ่งสามารถนำมาใช้โดยให้นักเรียนที่ทำ หน้าท่ีเป็นผู้ช่วยฝึก(tutor) เป็นผู้ทำหน้าท่ีแทนครู หรือพ่อแม่ ผู้ปกครองอาจนำไปใช้เพื่อช่วยเหลือ บตุ รหลานของตนท่ีบ้านกไ็ ด้เชน่ กัน โดยมขี น้ั ตอนในการปฏบิ ัติดงั นี้ - ก่อนที่จะให้นักเรียนเริ่มต้นอ่านให้บอกกับนักเรียนว่า “ถ้ามีคำที่หนูไม่รู้ครู จะช่วย โดยครูจะบอกคำท่ีถูกต้องให้หนูทราบ และหนูต้องฟังพร้อมทั้งชี้คำในหนังสือตามไปด้วย ต่อ จากนั้นครูต้องการให้หนูอ่านคำที่ครูออกเสียงซ้ำอีกครั้งหนึ่งแล้วจึงอ่านคำอื่นๆต่อไปตามปกติ พยายามอา่ นใหถ้ กู ตอ้ งนะ” 37

- ถา้ นกั เรยี นมขี อ้ ผดิ พลาดในการอา่ น อาจจะโดยการอา่ นผดิ เชน่ อา่ นเพมิ่ คำ อา่ นขา้ มคำ หรอื มคี วามลงั เลในการออกเสยี งคำบางคำเกนิ 5 วนิ าที ใหค้ รอู อกเสยี งคำทถี่ กู ตอ้ งใหก้ บั นกั เรยี น พรอ้ มทง้ั ใหน้ กั เรยี นออกเสยี งคำนน้ั ซำ้ อกี ครง้ั ใหถ้ กู ตอ้ ง ใหน้ กั เรยี นอา่ นตอ่ ไปเรอื่ ย ๆ จนจบ 4.2.2) การอ่านซำ้ ประโยค (Sentence Repeat) โดยมีขัน้ ตอนการปฏิบตั ดิ ังน้ี - ในตอนเร่มิ ต้นใหบ้ อกกับนักเรยี นว่า “ถา้ มคี ำท่ีหนไู มร่ ู้ ครูจะชว่ ย โดยครูจะ บอกคำที่ถูกต้องให้หนูทราบหนูต้องฟังพร้อมทั้งช้ีคำในหนังสือตามไปด้วย ต่อจากนั้นครูต้องการให้ หนูอ่านคำท่คี รอู อกเสียงซำ้ อกี ครงั้ พร้อมทง้ั อา่ นซ้ำท้งั ประโยค พยายามอา่ นใหถ้ ูกต้องนะ” - ถ้านักเรียนมีข้อผิดพลาดในการอ่าน อาจจะโดยการอ่านผิด เช่น อ่านเพิ่ม คำ อา่ นข้ามคำหรือมีความลงั เลในการออกเสียงคำบางคำเกนิ 5 วินาที ให้ครูออกเสียงคำที่ถูกต้องให้ กับนักเรียนพร้อมท้ังให้นักเรียนออกเสียงคำน้ันซ้ำอีกคร้ังให้ถูกต้อง แล้วจึงให้นักเรียนอ่านข้อความ ในประโยคที่นักเรียนอ่านผิดพลาดซ้ำทัง้ ประโยค - ถ้าในขณะท่ีนักเรียนอ่านข้อความในประโยคซ้ำท้ังประโยคแล้วเกิดมีการ อ่านคำเดิมผิดพลาดอีก ครูควรแก้ไขคำนั้นให้กับนักเรียนและให้นักเรียนออกเสียงคำนั้นซ้ำให้ถูกต้อง อกี ครง้ั แล้วจงึ ดำเนินการตอ่ ไปตามขนั้ ตอน - ให้นกั เรยี นอา่ นต่อไปเร่อื ย ๆ จนจบเรอ่ื งที่ตอ้ งการให้อา่ น หมายเหตุ เนื่องจากในภาษาไทยข้อความแต่ละประโยคไม่ได้มีเคร่ืองหมายจบประโยคที่ชัดเจน ดังเช่นภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาไทยจะใช้การแบ่งข้อความเป็นวลีหรือประโยคสั้นๆ แทน ดังน้ัน การนำมาปรับใช้กับภาษาไทยถ้าข้อความยาวเกินไป ครูอาจต้องทำเครื่องหมายแบ่งข้อความให้ ชัดเจนเพือ่ ให้นักเรยี นสะดวกในการอ่าน 4.3) เทคนิคการจบั คู่อ่าน (Paired Reading) เทคนิคน้ีให้นักเรียนอ่านออกเสียงโดยการจับคู่กับผู้ท่ีมีความสามารถด้านการ อา่ น ซง่ึ จะทำหน้าท่เี ปน็ ผู้ชว่ ย ในตอนแรกผู้ช่วยจะอา่ นออกเสยี งด้วยกนั กบั นกั เรยี น และเม่อื นกั เรยี น ส่งสัญญาณแสดงความพร้อมผู้ช่วยจะหยุดอ่านในขณะท่ีนักเรียนยังคงอ่านต่อไปเร่ือย ๆ โดยถ้า นักเรียนอา่ นไมถ่ ูกตอ้ ง ผู้ทำหนา้ ทีเ่ ป็นผชู้ ว่ ยจะคอยแก้ไขให้ 38

ข้ันตอนในการปฏิบตั ิ - ขั้นตอนท่ี 1: นั่งด้วยกันกับนักเรียนในสถานที่เงียบ ๆ ที่ควรปราศจากเสียง รบกวน วางหนังสือที่ต้องการอ่านอยู่ในตำแหน่งที่ทั้งผู้ช่วยและนักเรียนสามารถอ่านข้อความใน หนงั สือได้โดยงา่ ย - ข้ันตอนที่ 2: บอกให้นักเรียนทราบว่า “เรากำลังจะเร่ิมอ่านออกเสียงด้วยกัน สักช่วงเวลาหน่ึงนะ เมื่อไรก็ตามที่เธอต้องการจะอ่านตามลำพังให้แตะที่หลังมือครูแบบน้ี (แสดงการ แตะให้นักเรียนดู) ครูก็จะหยุดอ่าน ถ้ามีคำที่เธอไม่รู้ ครูจะช่วยบอกคำที่ถูกต้องให้ทราบ และจะเริ่ม ต้นอา่ นกบั เธออกี ครั้ง” - ขนั้ ตอนท่ี 3 ผชู้ ่วยและนักเรียนเริ่มต้นการอ่านออกเสยี งด้วยกนั ถ้าอ่านคำผิด ใหผ้ ูช้ ่วยชีท้ ี่คำนัน้ พร้อมทั้งออกเสียงคำทถี่ กู ตอ้ งใหน้ กั เรยี นทราบ แล้วจงึ ใหน้ กั เรยี นอ่านคำนั้นซำ้ อกี ครั้งหนึ่ง เมื่อนักเรียนอ่านคำน้ันได้ถูกต้องแล้วให้นักเรียนอ่านต่อโดยท่ีผู้ช่วยจะอ่านคู่ไปกับนักเรียน ดว้ ย - ขัน้ ตอนท่ี 4: เมื่อนกั เรยี นส่งสญั ญาณแสดงความพรอ้ มทจ่ี ะอา่ นคนเดยี ว ให้ผู้ ช่วยหยดุ อ่าน และนั่งติดตามการอา่ นของนกั เรียนตอ่ ไปอย่างเงยี บ ๆ 10.2 ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้พัฒนานักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการ เขยี น 1) การฝึกประสาทสัมผัสทางการเห็นเพื่อการจำตัวเลข พยัญชนะ สระ เช่น เป็นการใช้สัญญาณไฟเพอื่ กำหนดทศิ ทางของการเขยี นตัวเลขอยา่ งถูกต้อง 39

2) การใช้น้วิ สมั ผัสตามร่องตวั อกั ษร 3) การใหร้ ู้จกั ตำแหนง่ ของพยญั ชนะ สระ และวรรณยุกตข์ องไทย เชน่ 40

4) การฝึกเขียนคำ จัดหมวดหมู่คำและการสร้างประโยค ซ่ึงสามารถประยุกต์ ใชแ้ ละพฒั นาเพ่ิมขึ้นเพื่อให้เหมาะสมตามสภาพปญั หาของนักเรียน 5) การสอนเก่ียวกับโครงสร้างประโยคอย่างง่าย และค่อยพัฒนาสู่ประโยคท่ี ซับซอ้ นขึน้ ประธาน กรยิ า กรรม 41

6) ฝึกสร้างประโยคจากบัตรคำหมวดต่าง ๆ ที่กำหนด โดยการเร่ิมต้นจาก ประโยคง่าย ๆ กอ่ น - บัตรคำหมวดคำนาม และคำกริยา - บัตรคำหมวดคำนาม คำกริยา คำวเิ ศษณ ์ ฯลฯ แมว กนิ ปลา แมว กนิ ปลา ตัวใหญ่ 7) เทคนิค “Self-regulated strategy development: SRSD” (Harris et al., 2003)นักเรียนท่ีมีปัญหาหรือความยากลำบากเก่ียวกับการเขียนมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เทคนิค ทางดา้ นการเขียนในการชว่ ยเหลือพวกเขา จดุ มุง่ หมายของเทคนิค “SRSD” มีดงั นี้ - ช่วยให้นักเรียนพัฒนาความรู้เก่ียวกับการเขียนรวมทั้งวิธีการที่ใช้ใน กระบวนการเขียน - สนับสนนุ ให้นกั เรยี นไดพ้ ฒั นาความสามารถท่จี ำเป็นที่ตอ้ งใชใ้ นการเขียน - ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับการเขียนและต่อตนเองใน ฐานะนกั เขยี น 42

ขัน้ ตอนทง้ั 6 ขั้นของเทคนคิ “SRSD” ประกอบดว้ ย (1) พัฒนาความรพู้ ้นื ฐาน โดยการทำงานรว่ มกนั เป็นกลุ่ม นกั เรียนจะคิดเกย่ี วกบั สงิ่ ที่ตนเองรูเ้ กีย่ วกับหวั ขอ้ ทีจ่ ะเขยี น และช่วยกนั หาข้อมลู เพ่ิมเติมจากแหลง่ ข้อมลู ตา่ ง ๆ (2) อภิปรายเกี่ยวกับงานเขียน โดยเร่ิมจากการที่นักเรียนจะพูดคุยและอภิปราย กันว่า เขาได้เรียนรู้อะไรกันบ้างจากเพื่อน ๆ และครู ต่อจากน้ันจะอภิปรายกันว่าในงานเขียนน้ีจะ เลือกใชเ้ ทคนคิ การเขียนอะไร เช่น เขาอาจวางแผนทีจ่ ะใช้ เทคนิคการกำหนดคำสำคัญและใหห้ าคำ ท่เี กีย่ วขอ้ ง (semantic mapping) (3) ออกแบบงานเขียน นกั เรยี นชว่ ยกันออกแบบว่าจะใชเ้ ทคนิควิธีในการเขยี นที่ เลอื ก มาเขียนเร่อื งกันอยา่ งไร โดยการพูดให้ผู้อน่ื ทราบเกย่ี วกบั ความคิดของตนเอง(think aloud) (4) จดจำเก่ียวกับเทคนิควิธีในการเขียนท่ีตนเองเลือกใช้ โดยนักเรียนจะช่วยกัน ทบทวนและพูดดัง ๆ เกย่ี วกับองค์ประกอบต่าง ๆ ของเทคนคิ วธิ ใี นการเขียนทตี่ นเลอื ก (5) นกั เรยี นเรมิ่ ต้นเขียนเรื่องโดยใช้เทคนคิ วิธใี นการเขยี นทเี่ ลอื ก (6) นกั เรียนแตล่ ะคนเขียนเร่ืองดว้ ยตนเอง โดยใช้เทคนคิ วธิ ีในการเขียนทเ่ี ลอื ก 8) เทคนิค “การสนทนาโดยการเขียน” (Written Conversation) ในการใช้เทคนิคนี้จะต้องประกอบด้วยนักเรียน 2 คน หรืออาจเป็นนักเรียนกับ ครู โดยคู่สนทนาคนหน่ึงจะน่ังข้าง ๆ ของอีกคนหนึ่ง และในการสื่อสารคู่สนทนาจะไม่สามารถใช้คำ พูดใด ๆ เว้นแต่การเขียนเท่าน้ัน ถ้าข้อความท่ีคู่สนทนาเขียนยังขาดความชัดเจน อีกคนหน่ึงต้อง ถามเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อความที่สนทนามีความชัดเจน เทคนิคนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ท่ีจะถ่ายทอด ความคิดมาสู่การเขียน ยกตัวอย่างเช่น ในการเก็บข้อมูลของข่าวจากหนังสือพิมพ์ ครูอาจถาม นักเรียนว่าในข่าวเกิดอะไรข้ึน อย่างไร นอกจากนี้ครูยังสามารถเขียนข้อความท่ีแสดงการทักทาย นกั เรียนและนักเรียนเขยี นตอบครู หรือนักเรียนอาจเขยี นอะไรกไ็ ดแ้ ละให้ครูตอบโดยการเขียน โดยใน การสนทนากนั ดว้ ยการเขยี นคู่สนทนาควรใช้ดินสอหรอื ปากกาทม่ี ีสีต่างกัน (Richek et al., 1996) 43

10.3 ตัวอย่างนวัตกรรมท่ีใช้พัฒนานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ด้านการคดิ คำนวณทางคณิตศาสตร ์ 1) การใช้ตัวอักษรจาง โดยเริ่มให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลขท่ี สมบูรณ์ รวมทั้งใชส้ แี สดงจุดเริม่ ต้น หลังจากน้ันคอ่ ยๆ ใหต้ ัวอักษร จางลงทลี ะนอ้ ย จนสุดทา้ ยให้เด็ก จำและเขยี นไดเ้ อง โดยสามารถฝึกกบั ตวั อกั ษรอืน่ ๆ โดยเฉพาะตวั อักษรทีค่ ล้ายกนั 44