Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore inbound8946488965308997678

inbound8946488965308997678

Published by Guset User, 2022-03-07 05:49:22

Description: inbound8946488965308997678

Search

Read the Text Version

การบัญชีน่ารู้

1. ความหมายของ การบัญชี (Book Keeping) การบัญชี (Book Keeping) เป็นศิลปะของการรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุป ข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการ บัญชีคือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจใน แต่ละกิจกรรม 2. จากคำจำกัดความของคำว่า “การบัญชี” สามารถอธิบาย ความหมายได้ดังนี้ ขั้นตอนของการเลือกและการเก็บรวบรวม คือการพิจารณาว่ารายการที่เกิดขึ้นเป็น รายการค้าหรือไม่ ต้องเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานเพื่อไว้ใช้ในการบันทึกบัญชี การจดบันทึกและการวัดมูลค่า เป็นการนำข้อมูลเอกสารจากขั้นตอนแรกมาบันทึก รายการทางบัญชีหรือรายการค้าและเหตุการณ์ ซึ่งจะต้องเป็นรายการหรือเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นแล้วมาบันทึกลงในสมุดบัญชี เรียกว่า “สมุดรายวัน” (Journal) การบันทึกจะมี การวัดมูลค่าเข้ามาเกี่ยวข้อง การวัดมูลค่า หมายถึง การแสดงมูลค่าของรายการนั้นๆ จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเป็นรายการประเภทไหน เช่น วัดด้วยราคาทุน (ราคา ณ วัน ที่ได้มา) หรือวัดด้วยราคายุติธรรม (ราคาที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีความเต็มใจในการซื้อขายกัน ไม่มีใครมีอำนาจเหนือใคร) การใช้หน่วยเงินตรา การบันทึกรายการทางบัญชีต้องใช้หน่วยเงินตรา เช่น บาท ดอลลาร์ เป็นต้น และถือว่าจำนวนที่บันทึกลงไปแต่ละหน่วยจะมีค่าคงที่ แม้ค่าของเงินจะ เปลี่ยนแปลง การจัดหมวดหมู่ เพื่อหายอดคงเหลือของทุกรายการโดยการแยกประเภทบัญชีเป็น สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย ในการจัดหมวดหมู่จะใช้สมุดบัญชีที่เรียกว่า “สมุดแยกประเภท” (Ledger) 02

การสรุปผลและการรายงานข้อมูลทางการเงิน เมื่อ มีการบันทึกบัญชีไประยะหนึ่ง จะต้องนำรายการที่ จัดหมวดหมู่มาสรุปผลดำเนินการและฐานะของ กิจการโดยจัดทำ “งบการเงิน” (Financial Statement) ซึ่งประกอบด้วย 5 ส่วนคือ (1) งบกำไรขาดทุน (2) งบดุล (3) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วน ของผู้ถือหุ้น (4) งบกระแสเงินสด (5) นโยบายบัญชี และหมายเหตุ ประกอบงบการเงิน นโยบายบัญชี เป็นหลักการ ทางบัญชีที่กิจการใช้ในการจัดทำ และนำเสนองบ การเงิน สำหรับหมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญทำให้ผู้ใช้งบ การเงินได้ทราบหลักปฏิบัติทางบัญชีที่กิจการ เลือกใช้ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน 03

3. ความหมายของวิชาการ บัญชี (Accounting) ความหมาย วิชาบัญชี ในทางธุรกิจ หมายถึง การบันทึกรายการค้าและเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ที่จะทำให้สามารถบันทึกรายการนั้น ๆ ได้ การบัญชีได้แก่ การออกแบบและวางระบบบัญชี การจดบันทึกรายการค้า การจัดทำงบการเงิน การตรวจสอบบัญชี การบัญชีเกี่ยวกับภาษีอากร การจัดทำงบประมาณ การบัญชีต้นทุน การควบคุมภายใน การตรวจสอบโดยเฉพาะ 04

4. การบัญชีและการทำ บัญชี งานของการทำบัญชี เป็นเรื่องของการบันทึกรายการค้าหรือข้อมูลทางบัญชีที่เกิด ขึ้นในสมุดบัญชีจนกระทั่งจัดทำงบการเงิน ผู้ที่มีหน้าที่ในการบันทึกบัญชีเรียกว่า “ผู้ทำบัญชี” (Bookkeeper) ส่วนการบัญชีเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ระบบการบันทึกบัญชี การจัดทำรายงานการเงินและแปลความหมายของรายงาน การเงิน นักบัญชี (Accountant) มีหน้าที่จัดวางระบบบัญชีของกิจการ ควบคุม และตรวจตรางานของผู้ทำบัญชี ดังนั้นนักบัญชีต้องเป็นผู้มีความรู้และ ประสบการณ์มากว่าผู้ทำบัญชี 05

5. จุดประสงค์การบัญชีมีดังนี้ เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ ที่ เกิดขึ้นโยเรียงลำดับก่อนหลัง และจำแนกประเภทของรายการ ค้าไว้อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้า นั้นถูกต้อง เป็นตามหลักการ บัญชีและตามกฎหมายว่าด้วย การบัญชี เพื่อแสดงผลการดำเนินงานใน รอบระยะเวลาหนึ่ง และแสดง ฐานะการเงินของกิจการในระยะ เวลาหนึ่ง 06

6. ประโยชน์ของข้อมูลทาง การบัญชี ทำให้เจ้าของกิจการสามารถ ควบคุม ดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้ ทำให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีผลกำไรหรือ ขาดทุนเป็นจำนวนเงินเท่าใด ทำให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันหนึ่งวันใด ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเงิน เท่าใด 07

08 ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้ บริหาร ช่วยในการกำหนดนโยบายใน การวางแผนและช่วยในการตัดสินใจ ต่าง ๆ ในการบริหารงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถ ช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดำเนินงานได้ ทำให้รู้ถึงความก้าวหน้าของกิจการ และประสบการณ์ในการดำเนินงานของ ผู้บริหาร ทำให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ใช้ ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการ ควบคุม และตัดสินใจ ทำให้ฝ่ายบริหารรู้ถึงข้อบกพร่องใน การดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อที่จะเป็น แนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงาน ในอนาคต

7. ประวัติและความเป็น มาของ การบัญชี การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้ (1.) ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่ 13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและ การเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อ ขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูล ทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง (2.) ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book – keeping) ในปลายศตวรรษที่ 13 ในยุคนี้มีการลงทุน ทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมี การก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการ พิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ. 1202 ได้ค้นพบการจัด บันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจ นัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15 อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจ ลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน 09

10 8. ผู้ใช้ข้อมูลทาง การบัญชี ผู้ถือหุ้น (Stockholder) เป็นผู้นำเงินมาลงทุนในกิจการ (ในรูปเงินสดหรือสิ่งของก็ได้) ดังนั้นผู้ถือ หุ้นก็ต้องการทราบผลการดำเนินงานว่ามีกำไรหรือขาดทุน มีการจ่ายเงินปันผลมากน้อยเพียงใด บทสรุปของอีเวนต์การแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นตั้งแต่ เดือนเมษายนถึงมิถุนายน ผู้บริหาร (Management Team) เป็นผู้ที่ได้รับผลตอบแทน ดังนั้นผู้บริหารต้องสนใจในผลประกอบการของกิจการรวมทั้ง ฐานะของกิจการ หากกิจการมีผลประกอบการที่ดี ฐานะการ เงินที่มั่นคง ผู้บริหารก็จะได้รับผลตอบแทนจากกิจการที่ดี คู่แข่งขัน (Competitor) ต้องการทราบเพื่อที่จะได้วางแผน กำหนดนโยบายของกิจการตัวเองเพื่อที่จะได้แข่งขันและอยู่ รอดได้ในธุรกิจ พนักงาน (Employee) เพื่อคาดการณ์การได้รับผลตอบแทน ในรูปของเงินเดือน โบนัส รวมทั้งจะได้พิจารณาถึงความ มั่นคงของตัวเองในการทำงานที่กิจการ ลูกค้า (Customer) หากลูกค้าต้องการที่จะสั่งซื้อสินค้าหรือ บริการจากกิจการก็ต้องพิจารณาถึงความมั่นคงของกิจการ เพื่อพิจารณาว่าเมื่อสั่งสินค้าแล้วจะได้รับการจัดส่งตรงตาม เวลาหรือไม่จากผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี จะเห็นได้ว่าสามารถ จำแนกประเภทของผู้ใช้งบการเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ ผู้ใช้งบการเงินภายในกิจการ และผู้ใช้งบการเงินภายนอก กิจการ จากหลักการนี้สามารถแบ่งประเภทของการบัญชีได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบัญชีการเงิน และการบัญชีบริหาร หรือการบัญชีเพื่อการจัดการ

การบัญชีการเงิน (Financial Accounting) หมายถึงการจัดทำบัญชี และการรายงานทางการเงินของกิจการ ที่จัดทำภายใต้กฎเกณฑ์หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปหรือ มาตรฐานบัญชี ให้แก่ผู้ใช้งบการเงินภายนอกกิจการ เพื่ อใช้ ประกอบการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจในการดำเนินการ ต่างๆ การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting) หมายถึง การจัดทำบัญชี และรายงาน ทางการเงินของส่วนงานต่างๆ ในองค์กรให้ แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการ วางแผน ควบคุม และตัดสินใจ การจัดทำ ข้อมูลทางบัญชีจะทำตามความเหมาะสม และตามความต้องการของฝ่ายบริหาร 11


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook