Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ศิลปะ รวม

ศิลปะ รวม

Published by pantacha568, 2020-02-12 05:40:32

Description: ศิลปะ รวม

Search

Read the Text Version

ก คำนำ รายวิชาศิลปศึกษา ทช 21003 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาข้ัน พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ใช้กับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ โดยเนน้ ผู้เรยี นเป็นสำคญั ใหผ้ ู้เรยี นมสี ่วนรว่ มในกจิ กรรมและกระบวนการเรยี นรู้ สามารถสร้างองค์ความรู้ ได้ด้วยตนเองทั้งเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ ทั้งในห้องเรียนและนอก หอ้ งเรยี นทำให้ผูเ้ รียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ได้ในเชงิ บูรณาการด้วยวิธีการ ท่หี ลากหลาย เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปความรู้ด้วยตนเอง ทำใหผ้ ู้เรียนได้รับการ พัฒนาทั้งด้านความรู้ ด้านทักษะ/กระบวนการ และด้านคุณธรรม จริยธรรม และทำให้ผู้เรียนได้รับ ความรูเ้ กย่ี วกบั วา่ ด้วยเร่อื งของเงนิ การวางแผนการเงิน สนิ เชอ่ื สทิ ธิและหน้าท่ีของผ้ใู ช้บริการทางการเงิน และภัยทางการเงิน ซึ่งเนื้อหาความรู้ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียน กศน. มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และตระหนักถงึ ความจำเปน็ ของศลิ ปศกึ ษา ทช 21003 รายวิชารายวิชาศิลปศึกษา ทช 21003 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเล่มนี้ได้ออกแบบการ เรียนรดู้ ้วยเทคนคิ และวิธีการสอนอยา่ งหลากหลาย เพอื่ การจดั การเรียนรูส้ ำหรบั ผเู้ รียนใหบ้ รรลุเป้าหมาย ของหลักสูตรตอ่ ไป กศน.ตำบลหนองสองห้อง พฤศจกิ ายน 2562 ผู้จดั ทำ

ข สารบญั หนา้ เร่อื ง คำนำ........................................................................................................................................................ ก สารบญั .................................................................................................................................................... ข บทท่ี 1..................................................................................................................................................... 1 จุด เส้น สี แสง เงา รปู ร่าง และรูปทรงท่ีใชใ้ นทัศนศิลป์ ไทย......................................................... 1 จุด ......................................................................................................................................... 1 เส้น........................................................................................................................................ 1 สี .......................................................................................................................................... 3 บทที่ 2..................................................................................................................................................... 5 ทัศนศลิ ปไ์ ทย................................................................................................................................. 5 ทศั นศิลป์ ................................................................................................................................ 5 จิตรกรรม................................................................................................................................ 5 ประติมากรรม ......................................................................................................................... 6 สถาปัตยกรรม......................................................................................................................... 7 สถาปัตยกรรมไทยสมยั ประวัติศาสตร์ ..................................................................................... 7 บทท่ี 3...............................................................................................................................................9 ดนตรีไทย ...................................................................................................................................... 9 ประวตั คิ วามเปน็ มาของดนตรีไทย............................................................................................ 9 ประเภทของเคร่ืองดนตรไี ทย.................................................................................................. 10 วงดนตรไี ทย ........................................................................................................................... 10 ประโยชน์ของดนตรีไทย ......................................................................................................... 11 คณุ คา่ และความงามท่ีปรากฏอยูใ่ นกจิ กรรมทางสังคมไทย...................................................... 11 คณะผู้จัดทำ................................................................................................................................. 12

บทที่ 1 จุด เส้น สี แสง เงา รูปร่าง และรปู ทรงท่ีใช้ในทัศนศลิ ป์ ไทย จุด ……………………………………… คอื องคป์ ระกอบทเี่ ลก็ ทส่ี ุด จดุ เป็นสิ่งทบ่ี อกตำแหน่งและทิศทางไดก้ ารนำจุดมาเรยี งต่อกันใหเ้ ป็น เสน้ การรวมกนั ของจุดจะเกดิ นำ้ หนักทีใ่ หป้ ริมาตรแกร่ ปู ทรง เปน็ ต้น เสน้ หมายถงึ จุดหลายๆจุดทเ่ี รียงชิดตดิ กนั เปน็ แนวยาว หรอื การลากเสน้ จากจดุ หนึ่งไปยงั จดุ หน่ึง ในทิศทางท่ีแตกตา่ งกัน จะเป็นทิศมมุ 45 องศา 90 องศา 180 องศาหรอื มุมใดๆ การสลับทิศทางของเส้นที่ ลากทำให้เกิดเปน็ ลักษณะต่าง ๆ เสน้ ตรงแนวตง้ั ให้ความร้สู ึกแข็งแรง สงู เด่น สง่างาม นา่ เกรงขาม เส้นตรงแนวนอน ให้ความร้สู ึกสงบราบเรียบ กว้างขวาง การพักผอ่ น หยดุ นงิ่ เส้นตรงแนวเฉียง ใหค้ วามรู้สึกไมป่ ลอดภยั การลม้ ไม่หยุดน่งิ

2 เสน้ ตัดกัน ใหค้ วามรู้สกึ ประสานกัน แขง็ แรง เสน้ โคง้ ใหค้ วามรู้สกึ อ่อนโยนนมุ่ นวล เสน้ คล่ืน ให้ความรู้สึกเคล่ือนไหวไหลเล่อื น ร่าเริง ตอ่ เน่ือง เสน้ ประ ให้ความรสู้ ึกขาดหาย ลกึ ลบั ไมส่ มบรณู ์ แสดงสว่ นทม่ี องไม่เหน็ เส้นขด ใหค้ วามรสู้ กึ หมนุ เวียนมนึ งง

3 สี สี หมายถึง แสงที่มากระทบวัตถุแล้วสะท้อนเขา้ ตาเรา ทำให้เหน็ เป็นสีต่างๆ แมส่ ีประกอบด้วย สขี น้ั ที่ 1 (Primary Color) คือ สีพนื้ ฐาน มีแมส่ ี 3 สี ได้แก่ 1. สเี หลอื ง (Yellow) 2. สีแดง (Red) 3. สีนำ้ เงิน (Blue) สีขน้ั ที่ 2 (Secondary color) คอื สีทเ่ี กดิ จากสีขนั้ ท่ี 1 หรือแม่สีผสมกนั ในอัตราสว่ นท่ี เทา่ กัน จะทำใหเ้ กดิ สใี หม่ 3 สี ได้แก่ 1. สสี ม้ (Orange) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสเี หลอื ง (Yellow) 2. สมี ่วง (Violet) เกิดจาก สีแดง (Red) ผสมกับสนี ำ้ เงิน (Blue) 3. สีเขยี ว (Green) เกดิ จาก สเี หลือง (Yellow) ผสมกับสนี ำ้ เงนิ (Blue) สีขั้นที่ 3 (Intermediate Color) คือสีทเี่ กิดจากการผสมกนั ระหวา่ งสีของแมส่ กี บั สีขน้ั ที่ 2 จะเกิดสขี นึ้ อกี 6 สี ไดแ้ ก่ 1. สีน้ำเงินม่วง ( Violet-blue) เกดิ จาก สนี ำ้ เงิน (Blue) ผสมสีม่วง (Violet) 2. สเี ขยี วน้ำเงิน ( Blue-green) เกิดจาก สนี ำ้ เงิน (Blue) ผสมสีเขียว (Green) 3. สเี หลอื งเขียว ( Green-yellow) เกดิ จาก สเี หลอื ง(Yellow) ผสมกับสีเขยี ว (Green) 4. สีส้มเหลอื ง ( Yellow-orange) เกิดจาก สเี หลอื ง (Yellow) ผสมกบั สสี ้ม (Orange)

4 5. สีแดงสม้ ( Orange-red) เกิดจาก สแี ดง (Red) ผสมกับสีสม้ (Orange) 6. สีม่วงแดง ( Red-violet) เกดิ จาก สีแดง (Red) ผสมกบั สีมว่ ง (Violet) 1. สรี ้อน (Warm Color) ใหค้ วามรสู้ ึกรุนแรง ร้อน ต่นื เต้น ประกอบดว้ ย สเี หลือง สีเหลอื งสม้ สี สม้ สีแดงส้ม สแี ดง สมี ว่ งแดง สมี ว่ ง 2. สเี ยน็ (Cool Color) ให้ความรู้สกึ เยน็ สงบ สบายตาประกอบดว้ ย สเี หลือง สีเขยี วเหลอื ง สเี ขียว สีนำ้ เงนิ เขียว สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีมว่ ง เราจะเห็นวา่ สเี หลือง และสีมว่ ง เป็นสที ี่อย่ไู ด้ท้ัง 2 วรรณะ คือเปน็ สีกลาง เปน็ ได้ทัง้ สรี ้อน และสีเย็น

บทที่ 2 ทศั นศลิ ป์ไทย ทัศนศิลป์ ทศั นศลิ ป์ หมายถงึ ศลิ ปะทร่ี ับรู้ดว้ ยประสาทสัมผสั ทางตา ศลิ ปะท่ีมองเห็น เมือ่ พจิ ารณา ความหมายที่มีผนู้ ยิ ามไว้ จะพบวา่ การรับรู้เรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกของงานทัศนศิลป์นน้ั จะต้องอาศยั ประสาทตาเปน็ สำคัญ นัน่ คือตาจะรบั ร้เู กยี่ วกับส่ิงตา่ ง ๆ ท่ีนำมาประกอบเปน็ งานทัศนศิลปไ์ ดแ้ ก่ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี แสงเงา และพ้ืนผวิ เป็นตน้ โดยศิลปะจะนำสิ่งต่าง ๆ เหลา่ น้ีมาสร้างสรรคผ์ ลงานด้วยวธิ กี ารเขียน ภาพ ระบายสีบา้ ง ปั้นและสลักบา้ งหรืองานโครงสรา้ งเปน็ ต้น จติ รกรรม จิตรกรรม (Painting) หมายถงึ ผลงานศิลปะทแี่ สดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อใหเ้ กดิ ภาพ เปน็ งานศิลปะทมี่ ี 2 มิติ เปน็ รปู แบบไมม่ ีความลกึ หรอื นูนหนา แต่สามารถเขยี นลวงตาใหเ้ ห็น ว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจติ รกรรมเกดิ จากการใชส้ ใี นลกั ษณะตา่ ง ๆ กนั งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนดิ คือ 1. การวาดเส้น (Drawing) เปน็ การวาดภาพโดยใชป้ ากกา หรอื ดินสอ ขดี เขยี นลงไป บนพืน้ ผิว วสั ดุรองรบั เพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คอื การขดี เขียนให้เปน็ เสน้ ไม่ว่าจะเปน็ เสน้ เล็ก หรอื เสน้ ใหญ่ ๆ มกั มสี ี เดียว แต่การวาดเส้นไม่ไดจ้ ำกดั ท่ีจะตอ้ งมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สกี ็ได้ การวาดเสน้ จดั เป็นพื้นฐานทีส่ ำคัญ ของงานศิลปะแทบทุกชนิด 2. การระบายสี (Painting) เปน็ การวาดภาพโดยการใช้พู่กนั หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอ่ืน มา ระบายใหเ้ กิดเปน็ ภาพ การระบายสี ต้องใช้ทกั ษะการควบคุมสีและเคร่ืองมือมากกว่าการวาดเส้น ผลงานการ ระบายสีจะสวยงาม เหมือนจรงิ และสมบูรณแ์ บบมากกวา่ การวาดเสน้ งานจิตรกรรม ทีน่ ิยมสร้างสรรค์ ข้นึ มหี ลายลักษณะ ดังนี้ คือ 1. ภาพทิวทัศน์ (Landscape Painting) เปน็ ภาพท่ีแสดงความงาม หรือความประทบั ใจใน ความงาม ของธรรมชาติ หรอื ส่งิ แวดลอ้ มของศิลปนิ ผู้วาด ภาพทิวทศั น์แบ่งเปน็ ลกั ษณะต่าง ๆ ไดแ้ ก่ ภาพทวิ ทัศน์ผนื นำ้ หรือ ทะเล (Seascape ) ภาพทวิ ทัศน์พื้นดนิ (Landscape) ภาพทวิ ทัศนข์ องชมุ ชนหรือ เมือง (Cityscape) 2. ภาพคน (Figure Painting) เป็นภาพที่แสดงกริ ิยาทา่ ทางต่าง ๆ ของมนุษยแ์ บบเต็มตวั โดยไม่ เนน้ แสดงความเหมือนของใบหน้า 3. ภาพคนเหมอื น (Potrait Painting) เปน็ ภาพทีแ่ สดงความเหมือนของใบหนา้ ของคน ๆ ใด คนหนง่ึ 4. ภาพสตั ว์ ( Animals Figure Painting) แสดงกิรยิ าท่าทางของสตั ว์ในลกั ษณะตา่ ง ๆ

6 5. ภาพประกอบเรอื่ ง (Illustration Painting) เปน็ ภาพทเ่ี ขียนขึ้น เพือ่ บอกเลา่ เรื่องราว หรอื ถา่ ยทอดเหตกุ ารณ์ต่าง ๆ ให้ผอู้ ่นื ได้รับรู้ โดยอาจเป็นทง้ั ภาพประกอบเรอ่ื งในหนงั สอื พระคมั ภีร์ หรือ ภาพเขยี นบนฝาผนงั อาคารสถาปัตยกรรมตา่ ง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ 6. ภาพหุ่นนง่ิ (Still Painting) เปน็ ภาพวาดเกยี่ วกับสิ่งของเคร่ืองใช้ หรือ วสั ดตุ ่าง ๆ ทไ่ี ม่มกี าร เคลือ่ นไหว เป็นสิ่งท่ีอย่กู บั ท่ี 7. ภาพจิตรกรรมฝาผนงั (Mural Painting ) เปน็ ภาพเขียนทเ่ี ขยี นไว้ตามผนังอาคาร โบสถ์ หรอื วหิ ารต่าง ๆ สว่ นใหญจ่ ะแสดงเรือ่ งราวศาสนา ชาดก ประวัติของศาสดา กิจกรรมของพระมหากษัตรยิ ์ บางแห่งเขยี นไว้เพ่ือประดบั ตกแตง่ ประติมากรรม ประติมากรรม (องั กฤษ: Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการป้ัน แกะสลัก หลอ่ และ การจดั องคป์ ระกอบความงามอน่ื ลงบนสือ่ ตา่ งๆ เชน่ ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพอื่ ให้เกิดรปู ทรง 3 มิติ มี ความลึกหรอื นูนหนา สามารถส่ือถึงสงิ่ ต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจติ ใจของมนษุ ยโ์ ดยชิ้นงาน ผา่ น การสร้างของประตมิ ากร ประติมากรรมเปน็ แขนงหน่งึ ของทัศนศลิ ป์ ผ้ทู ำงานประติมากรรม มักเรยี กว่า ประติมากร ประเภทของงานประติมากรรม 1. ประติมากรรมนนู ตำ่ ไดแ้ ก่ งานประติมากรรมทมี่ ีลักษณะคลา้ ยคลึงกบั ประติมากรรมประเภท นนู สูง แต่จะแบนหรือบางกวา่ ประตมิ ากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซงึ่ มักจะได้แก่ ประติมากรรม ทีเ่ ปน็ ลวดลายประดบั ตกแตง่ เช่น แกะสลักดว้ ยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นตน้ 2. ประติมากรรมนนู สงู ได้แก่ ประติมากรรมท่ีไม่ลอยตัว มพี ้ืนหลัง ตัวประติมากรรมจะยน่ื ออกมา จากพน้ื หลงั ค่อนข้างสูง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแตง่ ด้วย เช่น ประติมากรรมปูนป้ันประดบั กระจกหน้าบา้ น พระอโุ บสถและวหิ ารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดบั ตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจบุ นั เช่น ประติมากรรมที่ปัน้ เป็นเรอื่ งราวหรอื เป็นลวดลายประดบั ตกแตง่ อาคาร ตกแตง่ ฐานอนสุ าวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสง่ิ ก่อสร้างต่าง ๆ เปน็ ตน้ และ ลอยและบินได้ 3. ประติมากรรมลอยตัว ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หลอ่ หรือแกะสลักขน้ึ เปน็ รปู ร่างลอยตัวมอง ได้รอบด้าน ไม่มพี ้นื หลัง เช่น รปู ประตมิ ากรรมทเ่ี ป็นอนสุ าวรีย์ประติมากรรมรปู เหมือน และพระพุทธรปู ลอยตวั สมัยตา่ ง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรบั ประดับตกแตง่ เป็นต้น

7 สถาปัตยกรรม สถาปตั ยกรรมไทย หมายถึง ศลิ ปะการก่อสรา้ งของไทย อันไดแ้ ก่ อาคาร บา้ นเรือน โบสถ์ วิหาร วงั สถูป และสงิ่ ก่อสรา้ งอืน่ ๆ มลี กั ษณะแตกตา่ งกันไปตามภมู ศิ าสตร์ และคตนิ ิยม สถาปัตยกรรมไทย มมี า นานตั้งแตท่ ่ีคนไทยเริ่มต้ังถิน่ ฐาน เป็นเวลาร่วม 4000 ปี บรรพบุรษุ ไทยได้พฒั นาและปรับปรงุ รปู แบบ สถาปตั ยกรรมอนั เปน็ สง่ิ จำเป็นตอ่ การดำรงชวี ิต เพ่ือให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ สภาพภมู ิประเทศ โดย เพม่ิ เติมใสเ่ อกลกั ษณ์ความเป็นไทยเข้าไป ซึง่ นบั เป็นการแสดงออกความสามารถของบรรพบุรุษไทย สามารถ แบ่งยุคไดเ้ ป็น 2 รปู แบบใหญ่ๆ คอื สถาปัตยกรรมไทยสมยั ประวัตศิ าสตร์ และ สถาปตั ยกรรมสมยั รตั นโกสนิ ทร์ สถาปตั ยกรรมไทยสมัยประวตั ิศาสตร์ ยคุ ทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 12 - 16) จะปรากฏอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย แถบจังหวดั นครปฐม สพุ รรณบรุ ี สงิ หบ์ ุรี ลพบรุ ี ราชบรุ ี และ ยังกระจายไปอยู่ทุกภาคประปราย เชน่ ภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ ตะวนั ออกและ ใต้ สถาปัตยกรรมแบบ ทวาราวดีมกั ก่ออิฐและใชส้ อดิน เชน่ วดั พระเมรุ และเจดยี ์จุลปะโทนวัดพระประโทน อำเภอเมืองนครปฐม จงั หวัดนครปฐม บางแห่งมีการใชศ้ ลิ าแลงบ้าง เชน่ ก่อสรา้ งบริเวณฐานสถูป การก่อสร้างเจดีย์ในสมยั ทวาราวดี ทพี บทั้งเจดยี ์ฐานสเ่ี หล่ียม เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มียอดแหลมอยดู่ า้ นบน ยุคศรวี ิชยั (พทุ ธศตวรรษท่ี 13 - 18) พบในภาคใต้ ศนู ย์กลางของอาณาจักรศรีวชิ ัยไม่ทราบแน่ชัด ในประเทศไทยจะพบรอ่ งรอยการ สรา้ งสถูปตามเมืองสำคญั เช่น เมืองนครหิน อำเภอไชยา จงั หวดั สุราษฎรธ์ านี เมืองตามพรลงิ ก์ จังหวัด นครศรธี รรมราช และอำเภอยะรงั จงั หวัดปตั ตานี ลกั ษณะของสถาปัตยกรรมแบบศรีวชิ ยั คอื การสรา้ งสถปู ทรง มณฑปให้มฐี านและเรือนธาตุรปู ส่ีเหลยี่ มจตั ุรสั สว่ นยอดเปน็ เจดีย์แปดเหลย่ี ม ส่วนฐานปากระฆงั สร้าง เป็นชน้ึ ลดหล่ันกันไป มีเจดยี ์ประดับมมุ และซุ้มบันแถลงในแต่ละทิศ ตวั อยา่ งเชน่ พระบรมธาตไุ ชยา จงั หวดั สุ ราษฎร์ธานี ยุคลพบรุ ี (ราวพุทธศตวรรษท่ี 12 - 18) พบบริเวณ ภาคกลาง ภาคตะวนั ออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรปู แบบคลา้ ยศิลปะขอม เช่น เทวาลัย ปราสาท พระปรางค์ ต่างๆ นยิ มใช้อิฐ หินทรายและศลิ าแลง โดยใชอ้ ฐิ และหินทรายสำหรบั สร้างเรือน ปราสาทและใช้ศิลาแลง สรา้ งส่วนฐาน ตอ่ มากส็ ร้างด้วยศิลาแลงทงั้ หลงั สถาปตั ยกรรมท่ียงั คงสภาพสมบูรณ์ อยู่เช่น ปรางค์วดั พระพายหลวง จงั หวดั สโุ ขทยั และ พระปรางค์สามยอด จงั หวัดลพบรุ ี ยคุ สโุ ขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 - 20) ศิลปะสุโขทยั เรมิ่ ต้นราว พ.ศ. 1780 เม่ือพ่อขุนศรอี ินทราทิตยส์ ถาปนากรงุ สุโขทยั เอกลักษณ์ ของ สถาปตั ยกรรมสุโขทัย จะออกแบบใหก้ ่อเกดิ ความศรัทธาด้วยการสร้างรูปทรงอาคารในเชงิ สญั ลักษณ์ เชน่ การ ออกแบบเจดยี ์ทรงดอกบวั ตมู หรือ เจดยี ์ทรงกลม และป้ันรูปชา้ งลอ้ มรอบฐานเจดีย์ เจดีย์แบบสุโขทัยแบง่ ออกเป็น 3 แบบคอื

8 เจดีย์แบบสุโขทยั แท้ หรือ เจดียท์ รงพุ่มขา้ วบณิ ฑ์ เจดยี ์ทรงกลมแบบลงั กา เจดีย์แบบศรีวชิ ัย ยุคอูท่ อง (ราวพุทธศตวรรษท่ี 17 -20) เปน็ ศลิ ปะท่ีเกดิ จากการรวมกันของศิลปะทวาราวดี และอารยธรรมขอม ตัวอย่างของ สถาปัตยกรรมอทู่ องเชน่ พระปรางคอ์ งคใ์ หญ่ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จงั หวดั ลพบรุ ี ยุคอยุธยา (พุทธศตวรรษท่ี 20 - 23) เอกลกั ษณ์ของสถาปตั ยกรรมในยคุ น้ี คือการออกแบบให้แสดงถึงความยิ่งใหญ่ รำ่ รวย สถาปตั ยกรรมจงึ มีขนาดและรูปรา่ งสงู ใหญ่ ตกแต่งดว้ ยการแกะสลักปิดทอง โบสถ์วิหารในกรุงศรีอยุธยาไม่ นิยมสรา้ งใหม้ ชี ายคาย่นื ออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเปน็ รปู บวั ตมู และนยิ มเจาะผนังอาคาร ให้เปน็ ลูกกรงเล็กๆแทนช่องหน้าต่าง ลกั ษณะเดน่ ของการก่อสร้างโบสถ์วหิ ารอีกอยา่ งคือ การปลอ่ ยแสงใหส้ าด เข้ามาในอาคารมากข้ึน โดยจะออกแบบใหแ้ สงเข้ามาทางด้านหนา้ และฉายลงยังพระประธาน สมัยอยุธยาตอนปลาย รูปแบบสถาปตั ยกรรมถือว่าอยใู่ นจุดสงู สดุ คือเปน็ สถาปัตยกรรมทส่ี ามารถ ตอบสนองความต้องการของมนุษยไ์ ด้ทกุ ประการ และมีความงดงามอ่อนชอ้ ยตามลกั ษณะแบบไทยๆ แต่การ พัฒนาทางสถาปตั ยกรรมตอ้ งหยดุ ลงหลงั กรงุ ศรีอยธุ ยาพ่ายแพแ้ กพ่ มา่ ในปี พ.ศ. 2310 นับเปน็ จุดเปลีย่ นแปลง ที่สำคัญในทุกๆดา้ น ไมว่ า่ จะเปน็ ทัง้ ด้านการปกครอง ดา้ นสงั คม ดา้ นเศรษฐกจิ ดา้ นวัฒนธรรม ฯลฯ สถาปตั ยกรรมสมัยรตั นโกสนิ ทร์ สถาปัตยกรรมสมัยรตั นโกสนิ ทร์ คอื สถาปัตยกรรมในยคุ กรุงรัตนโกสินทร์ (รชั กาลท่ี 1 ถึง รัชกาล ปจั จบุ ัน) เป็นยุคที่ได้รบั อิทธิพลจากจากตะวันตก วิชาชพี สถาปัตยกรรมในสมยั รัชกาลท่ี 6 เร่มิ เปน็ ที่ร้จู กั และ ถือไดว้ า่ การประกอบวชิ าชีพสถาปตั ยกรรมแผนใหม่ไดเ้ กิดข้ึนพรอ้ มกบั การจัดต้งั สถาบนั การศกึ ษา สถาปัตยกรรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2476 โดยอาจารยน์ ารถ โพธิประสาท และการก่อต้ัง สมาคมสถาปนิกสยามฯ ในปี พ.ศ. 2477

บทท่ี 3 ดนตรไี ทย ประวตั คิ วามเป็นมาของดนตรีไทย สมยั กรุงสโุ ขทัย ดนตรีไทยมีลกั ษณะเปน็ การขับลำนำ และรอ้ งเลน่ วรรณคดี \"ไตรภูมพิ ระร่วง\" กลา่ วถงึ เครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉงิ่ แฉง่ (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ป่ีไฉน ระฆัง กรบั และกงั สดาล สมยั กรุงศรอี ยธุ ยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรปู แบบปี่พาทยเ์ ครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แตเ่ พ่ิม ระนาดเอกเข้าไป นับแตน่ ้นั วงปพ่ี าทยจ์ งึ ประกอบด้วย ระนาดเอก ป่ีใน ฆอ้ งวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉ่ิง ส่วน วงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเคร่อื งสี่ เปน็ มโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจบั ปี่ ทบั (โทน) รำมะนา ขล่ยุ และกรบั พวง สมยั รัตนโกสินทร์ รชั กาลที่ 1 เพ่ิมกลองทัดเขา้ วงปพ่ี าทย์อีก 1 ลูก รวมเปน็ 2 ลูก ตวั ผู้เสียงสูง ตัวเมยี เสยี งต่ำ รัชกาลท่ี 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟา้ ฟาด และ ทรงพระราชนิพนธเ์ พลงไทย บุหลันลอยเลอ่ื น รัชสมยั นเ้ี กดิ กลองสองหนา้ พัฒนามาจากเปิงมางของมอญ รชั กาลท่ี 3 พฒั นาเป็นวงปีพ่ าทย์เคร่ืองคู่ มีการประดษิ ฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆอ้ งวงเลก็ ใหค้ ู่กับฆ้องวงใหญ่ รัชกาลที่ 4 เกิดวงป่ีพาทย์เคร่ืองใหญ่พร้อมการประดษิ ฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รชั กาลท่ี 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัตวิ งศ์ทรงคิดคน้ วงปีพ่ าทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการ แสดงละครดึกดำบรรพ์ รัชกาลท่ี 6 นำวงดนตรีของมอญเขา้ ผสมเรียกวงปี่พาทยม์ อญโดยหลวงประดษิ ฐไพเราะ (ศร ศลิ ป บรรเลง) มกี ารนำองั กะลุงเขา้ มาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรตี า่ งชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรง่ั มา ผสมเป็นวงเคร่อื งสายผสม แล้วจงึ เปน็ ดนตรีไทยทเี่ ราไดเ้ ห็นจนถึงปัจจบุ นั นี้ ทง้ั ความแตกตา่ งระหวา่ งวงตา่ งๆ ผู้ประพนั ธ์ทา่ นต่างๆ สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกลา้ เจ้าอยู่หวั ทรงตัง้ วงเครอื่ งสาย ส่วนพระองค์ขน้ึ โดย พระองค์ทรงซอดว้ ง และพระบรมราชนิ ที รงซออู้ พร้อมทัง้ เจ้านายอกี หลายพระองค์ อยใู่ นวงนั้น นอกจากนี้ พระองคย์ ังทรงพระราชนิพนธ์ เพลงราตรปี ระดบั ดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงคล่ืนกระทบฝง่ั 3 ชน้ั ตอ่ มาเมอื่ หลังการเปลีย่ นแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 การดนตรีไทยได้คอ่ ย ๆ เสื่อมลง จน มาถงึ หลงั สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ไปแลว้ จึงได้มีการฟน้ื ฟูดนตรไี ทยขนึ้ ใหม่ จนมาถึงในสมัย พระบาทสมเดจ็ พระ เจา้ อยหู่ วั รัชกาลท่ี 9 ก็ทรงพระปรชี าสามารถทางดนตรสี ากล และพระราชนพิ นธ์เพลงขนึ้ หลายเพลงด้วย แต่ พระองคย์ ังทรงสนพระทยั การดนตรไี ทย โดยพระราชทานทุน ให้พมิ พเ์ พลงไทยเปน็ โน้ตสากลออกจำหนา่ ยจน เปน็ ท่นี ิยมของวงการดนตรีทั่วไป

10 ประเภทของเครอ่ื งดนตรไี ทย เคร่อื งดีด เป็นเคร่อื งดนตรที ่ีอยใู่ นเครอ่ื งดนตรีตระกูล “พิณ” มีสายสำหรบั ดดี มีทงั้ ทต่ี ้ังขึ้นดีดและ วางราบดดี ในประเทศไทยมีหลายชนิด รูปรา่ งลักษณะ วิธีการดดี และชื่อเรียกต่างกนั ออกไป เช่น จะเข้ พิณ ๕ สาย พิณเป๊ียะหรือพณิ เพยี้ ะพิณน้ำเตา้ ซงึ พิณอสี าน กระจับปี่ เป็นตน้ เครือ่ งสี เปน็ เครื่องดนตรีท่ใี ชส้ ี เช่น ซออู้ ซอด้วง ซอสามสาย เป็นตน้ เครือ่ งตี เปน็ เครอื่ งดนตรีท่ีทำใหเ้ กดิ เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสงิ่ กระทบกนั ด้วยการตี นบั ว่า เป็นเคร่อื งดนตรีประเภท เกา่ แก่ท่สี ุดที่ท่มี นุษย์ร้จู ักใช้ ได้มีวิวฒั นาการจากอปุ กรณ์ง่ายๆ ใหม้ ี ความหลากหลาย ออกไปทั้งรูปแบบและวัสดทุ ใ่ี ช้ เครอื่ งเปา่ หมายถึงเคร่ืองดนตรปี ระเภททใี่ ชล้ มเป่าให้เกดิ เสยี ง ซงึ่ แบง่ ออกเป็น 2ประเภทคอื 1. ประเภททม่ี ลี น้ิ ซึ่งทำดว้ ยใบไม้ หรอื ไม้ไผ่ หรอื โลหะ สำหรับเป่าลมเข้าไปในลิน้ ๆจะเกิด ความเคลอื่ นไหวทำใหเ้ กดิ เสียงขึน้ เรียกว่า \" ล้ินป่ี \" และเรยี กเคร่อื งดนตรปี ระเภทนว้ี ่า \" ปี่ \" 2. ประเภทไม่มลี น้ิ มีแต่รูบังคับใหล้ มท่เี ป่าหกั มมุ แล้วเกิดเป็นเสยี ง เรยี กวา่ \" ขลุย่ \" วงดนตรีไทย ดนตรไี ทยมักเลน่ เปน็ วงดนตรี มกี ารแบ่งตามประเภทของการบรรเลงท่ีเป็นระเบยี บมาแต่โบราณ กาลจนถงึ ปจั จบุ ันเป็น 3 ประเภท คอื วงปี่พาทย์ ประกอบดว้ ยเคร่ืองตีเป็นสำคัญ เชน่ ฆ้อง กลอง และมีเครื่องเป่าเปน็ ประธานได้แก่ ป่ี นอกจากน้ัน เป็นเครอื่ ง วงป่ีพาทยย์ ังแบ่งไปได้อีกคือ วงปพ่ี าทยช์ าตรี,วงปพี่ าทย์ไม้แขง็ ,วงปพ่ี าทย์เครื่องหา้ ,วงปพ่ี าทย์ เครอ่ื งค,ู่ วงปี่พาทยเ์ คร่ืองใหญ่,วงป่พี าทยไ์ ม้นวม,วงป่ีพาทย์มอญ,วงปพี่ าทย์นางหงส์ วงเคร่ืองสาย เครอื่ งสาย ไดแ้ ก่ เครอ่ื งดนตรี ท่ปี ระกอบด้วยเคร่ืองดนตรีท่ีมสี ายเป็นประธาน มเี คร่ืองเป่า และ เครอ่ื งตี เปน็ สว่ นประกอบ ได้แก่ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ เป็นต้น ปัจจบุ ันวงเครอ่ื งสายมี 4 แบบ คือ วงเครื่องสาย เครื่องเด่ียว,วงเคร่ืองสายเครื่องคู่,วงเครือ่ งสายผสม,วงเครื่องสายป่ีชวา วงมโหรี ในสมัยโบราณเปน็ คำเรียกการบรรเลงโดยทว่ั ไป เชน่ “มโหรีเคร่ืองสาย” “มโหรปี ่ีพาทย์” ใน ปัจจุบัน มโหรี ใชเ้ ป็นชือ่ เรียกเฉพาะวงบรรเลงอย่างหนง่ึ อย่างใดทีม่ เี ครอื่ ง ดดี สี ตี เป่า มาบรรเลงรวมกนั หมด ฉะนน้ั วงมโหรกี ค็ ือวงเครื่องสาย และวงป่พี าทย์ ผสมกนั วงมโหรแี บ่งเป็น วงมโหรเี คร่ืองสี่,วงมโหรีเคร่ืองหก,วง มโหรเี ครื่องเดยี่ ว หรอื มโหรีเคร่อื งเลก็ ,วงมโหรเี ครื่องคู่

11 ประโยชน์ของดนตรีไทย 1. ไดฝ้ ึกสมาธิ ชว่ ยใหเ้ ป็นคนรอบคอบ 2. ชว่ ยใหเ้ ปน็ คนใจเย็นและมีระเบยี บวินยั ในตนเอง 3. รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยให้คงอยู่ต่อคนรนุ่ หลังและตลอดไป 4. สนกุ สนานและคลายเครียด 5. ไดใ้ ชเ้ วลาวา่ งให้เป็นประโยชน์ 6. เสียงดนตรีเปน็ สิ่งทีก่ ล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยอื กเย็นดบั ทุกข์ไดช้ ่ัวขณะ ปลกุ ใจใหร้ ื่นเรงิ กล้าหาญ สิ่งเหลา่ นยี้ อ่ มเกดิ แก่บุคคลผู้ฟังท่ัวๆไป 7. เปน็ เคร่ืองท่ีทำให้โลกครึกครนื้ 8. การแสดงมหรสพต่างๆ เป็นต้นวา่ โขนละคร ดนตรกี เ็ ป็นผปู้ ระกอบให้น่าดสู นกุ สนานขึ้นสม อารมณ์ผดู้ ูและผูแ้ สดง 9. ทำความสมบูรณ์ใหแ้ ก่ฤกษ์และพิธีต่างๆ ทั้งของประชาชนและของชาติ 10. เปน็ เครอื่ งประกอบในการสงคราม ซง่ึ เคยใชไ้ ดผ้ ลมาแล้วหลายชาติ กลา่ วโดยเฉพาะชาติไทย คราวสมเดจ็ พระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลก เม่ือยังดำรงพระยศเป็นเจา้ พระยาจักรที รงรักษาเมอื งพษิ ณุโลกตอ่ สู้ อะแซหว่นุ กี้ ก็ไดท้ รงใชด้ นตรีเปน็ เคร่อื งประกอบอุบาย เป็นต้น 11. ทำใหโ้ ลกเห็นว่าชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นอันดี ชาติใดที่มีวฒั นธรรมของตนอยู่อย่างดีย่อมเปน็ ท่ี ยกย่องของชาติทงั้ หลาย คณุ ค่าและความงามที่ปรากฏอยู่ในกจิ กรรมทางสงั คมไทย 1) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยทเี่ กย่ี วกับพระราชพิธี ดนตรีที่เก่ียวกับพระราชพิธี เช่น การ แหเ่ รือทม่ี ีศิลปินเห่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วงขบั ไม้ใชบ้ รรเลงในพระราชพิธีข้ึนพระอู่ของพระราช โอรสและพระราชธิดา เป็นต้น 2) คุณคา่ และความงามของดนตรีไทยท่เี กย่ี วกบั ศาสนา เชน่ ศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญม่ ีบทบาทใน งานพระราชพธิ ี สำหรบั งานที่เกย่ี วขอ้ งกบั พระพธุ ศาสนา ทั้งงานมงคลและงานอวมงคลนบั จากอดตี จนถึง ปัจจุบัน 3) คุณคา่ และความงามของดนตรีไทท่เี ก่ยี วกับกิจกรรมท่ัวไป กจิ กรรมท่ัวไป เชน่ งานมงคลสมรส งานฉลองความสำเรจ็ ของบคุ คล เป็นต้น คณุ คา่ และตามงามของดนตรไี ทยท่แี สดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย 1) ด้านรูปธรรม เคร่อื งดนตรีไทยมที งั้ เครอื่ งดดี เครื่องสี เคร่ืองตี และเครือ่ งเป่า เคร่ืองดนตรี เหลา่ นี้ครูดนตรใี นอดีตได้ใชห้ ลักการในการเลือกเคร่ืองดนตรใี หม้ คี วามสอดคล้องกันเพือ่ ประสมเปน็ วงดนตรี 2) ด้านนามธรรม รสของเพลงที่เป็นผลมาจากทำนองเพลงไทย ที่เกดิ จการบรรเลง จนก่อใหเ้ กดิ อารมณ์และความรู้สกึ วา่ เพลงนั้นมคี วามเสนาะ ไพเราะ สนุกสนาน เพลิดเพลนิ อารมณ์ โศกเศร้า

12 คณะผูจ้ ดั ทำ ท่ปี รกึ ษา 1. นายมนตรี ลมิ าภริ ักษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดสมุทรสาคร 2. นางวรภร ประสมศรี รองผู้อำนวยการ สำนกั งาน กศน.จงั หวดั สมทุ รสาคร รกั ษาการในตำแหนง่ ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอบา้ นแพว้ 3. นายนยิ ม ภาลีภณั ฑ์ นักวเิ คราะห์นโยบายและแผน สงั กัดสำนกั งาน กศน.จังหวัดประจวบคีรขี ันธ์ คณะผ้จู ัดทำ 1. นางสาวอ้อมใจ จันทรเ์ นียม ครู กศน.ตำบลหนองสองห้อง รวบรวม/เรยี บเรยี ง ครู กศน.ตำบลหนองสองห้อง 1. นางสาวออ้ มใจ จนั ทรเ์ นียม ออกแบบปกรูปเล่มและพิมพ์ ครู กศน.ตำบลหนองสองห้อง 1. นางสาวอ้อมใจ จันทร์เนียม บรรณาธิการ ครู กศน.ตำบลหนองสองห้อง 1. นางสาวอ้อมใจ จนั ทร์เนียม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook