Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เพิ่มหัวเรื่องย่อย (1)

เพิ่มหัวเรื่องย่อย (1)

Published by döme Sïrïkörñ, 2021-09-16 03:24:55

Description: เพิ่มหัวเรื่องย่อย (1)

Search

Read the Text Version

ดวงอาทิตย์ (The Sun) คือดาวฤกษ์ที่อยู่ตรงศูนย์กลาง ของระบบสุริยะ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 ล้าน กิโลเมตร หรือ 109 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางโลก อยู่ห่าง จากโลก 149,600,000 กิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ดวงอาทิตย์มีมวลมากกว่าโลก 333,000 เท่า แต่มี ความหนาแน่นเพียง 0.25 เท่าของโลก เนื่องจากมีองค์ ประกอบเป็นไฮโดรเจน 74% ฮีเลียม 25% และธาตุชนิดอื่ น 1%

ดาวพุธเป็ นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาว เคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้ เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้ สังเกตเห็นได้ยากที่สุด ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศ เพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธใน ระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 (ค.ศ. 1974- 1975) และสามารถทำแผนที่พื้นผิว ดาวพุธได้เพียง 40-45% เท่านั้น ดาวพุธมีสภาพพื้นผิวขรุขระ เนื่ องจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ไม่มีดวงจันทร์เป็ นบริวารและไม่มี แรงโน้ มถ่วงมากพอที่จะสร้างชั้น บรรยากาศ ดาวพุธมีแก่นดาวเป็น เหล็กขนาดใหญ่ทำให้เกิดสนามแม่ เหล็กความเข้มประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของสนามแม่เหล็กโลก ล้อมรอบดาวพุธไว้

ดาวศุกร์ (อังกฤษ: Venus) เป็น ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่าน ศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและ ดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของ ดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่ง ความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาว เคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า \"น้ องสาว\" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุก ดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์ จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้อง ศูนย์กลาง (ความรี) น้ อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์ เป็นวัตถุท้องฟ้ าที่สว่างที่สุดเป็น ลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และ ดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวง โคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้า มืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏใน ท้องฟ้ าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า \"ดาวประจำเมือง\" และเมื่อ ปรากฏในท้องฟ้ าเวลาเช้ามืดทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า

โลก (บาลี: loka; อังกฤษ: world) มีความหมายโดยปริยาย หมายถึงหมู่มนุษย์[1] รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวม ทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือ สภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึง สถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก[2] ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ 1. โลกที่เป็ นเอกภพทางกายภาพทั้งหมด 2. โลกในแบบภววิทยา ในทางเทววิทยา โลก หมายถึง โลกที่เป็นวัตถุหรือภพภูมิที่ เป็นโลกียะ ซึ่งต่างจากสภาพจิตวิญญาณ อุตรภาพ หรือ ศักดิ์สิทธิ์ คำว่า \"โลกาวินาศ\" หมายถึง สภาพการณ์ที่เชื่อว่าเป็นจุด สิ้นสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แนวคิดนี้มักพบใน ศาสนาต่าง ๆ ประวัติศาสตร์โลก หมายถึง พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์ หลัก ๆ ในช่วง 5 สหัสวรรษตั้งแต่อารยธรรมแรกมาจน ปั จจุบันนี้

ดาวอังคาร ( อังกฤษ : Mars ) เป็น ดาวเคราะห์ ลำดับที่ สี่จาก ดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองใน ระบบสุริยะ รองจาก ดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตาม เทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม \"ดาว แดง\" เพราะมี ออกไซด์ของเหล็ก ดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มี สีออกแดงเรื่อ [15] ดาวอังคารเป็น ดาวเคราะห์หิน ที่มี บรรยากาศ เบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้ง หลุม อุกกาบาต บน ดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจน พิดน้ำแข็งขั้วดาว ที่ปรากฏบน โลก คาบการ หมุนรอบตัวเอง และวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความ คล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาว อังคารเป็นที่ตั้งของ โอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟ ใหญ่ที่สุดบน ดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้น พบ และเป็นที่ตั้งของ เวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่ อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิส ที่ราบเรียบใน ซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40

ดาวพฤหัสบดี เป็น ดาวเคราะห์ ที่อยู่ห่างจาก ดวงอาทิตย์ เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดใน ระบบสุริยะ นอกจากดาว พฤหัสบดี ดาวเคราะห์แก๊สดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะได้แก่ ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ชื่อ ละติน ของ ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) มาจากเทพเจ้า โรมัน สัญลักษณ์ แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้ าของเทพเจ้าซุส หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวยักษ์ ดาวพฤหัสบดีมี มวล สูงกว่ามวลของดาวเคราะห์อื่นรวม กันราว 2.5 เท่า ทำให้ ศูนย์ระบบมวล ระหว่างดาว พฤหัสบดีกับดวงอาทิตย์ อยู่เหนือผิวดวงอาทิตย์ (1.068 เท่าของรัศมีดวงอาทิตย์ เมื่อวัดจากศูนย์กลางดวงอาทิตย์) ดาวพฤหัสบดีหนักว่า โลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลาง ยาวกว่าโลก 11 เท่า และมี ปริมาตร คิดเป็น 1,300 เท่า ของโลก เชื่อกันว่าหากดาวพฤหัสบดีมีมวลมากกว่านี้สัก 60-70 เท่า อาจเพียงพอที่จะให้เกิด ปฏิกิริยานิวเคลียร์ จน กลายเป็น ดาวฤกษ์ ได้

ดาวเสาร์ ( อังกฤษ : Saturn ) เป็น ดาวเคราะห์ ดวงที่ 6 จาก ดวงอาทิตย์ ถัดจาก ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ รองจาก ดาว พฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็น ดาวแก๊สยักษ์ ที่มีรัศมีเฉลี่ย มากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า [3] [4] แม้ว่าจะมีความหนา แน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลก ถึง 95 เท่า [5] [6] [7] ดาวเสาร์ตั้งชื่อตาม เทพโรมัน แห่ง การเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทน เคียว ของเทพเจ้า

ดาวยูเรนัส (อังกฤษ: Uranus หรือ มฤตยู) เป็นดาว เคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 ในระบบ สุริยะ จัดเป็นดาวเคราะห์แก๊ส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร นับได้ว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่3 ในระบบสุริยะ ของเรา ยูเรนัสถูกตั้งชื่อตามเทพเจ้ายูเรนัส(Ouranos) ของ กรีก สัญลักษณ์แทนดาวยูเรนัส คือ หรือ (ส่วนใหญ่ใช้ใน ดาราศาสตร์) ชื่อไทยของยูเรนัส คือ ดาวมฤตยู ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส คือ เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล(Sir William Herschel) พบในปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ. 1781) ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) นักดาราศาสตร์จากหอ ดูดาวไคเปอร์แอร์บอร์น (James L. Elliot, Edward W. Dunham, and Douglas J. Mink using the Kuiper Airborne Observatory) ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมี วงแหวน จางๆโดยรอบ และเราก็ได้เห็นรายละเอียด ของดาวยูเรนัสพร้อมทั้ง วงแหวน และดวงจันทร์บริวารในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) เมื่อยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) เคลื่อนผ่าน

ดาวเนปจูน (อังกฤษ: Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็น ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาว เสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาว พฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า \"เนปจูน\" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้า แห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก : โปเซดอน) มี สัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของ บรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์ มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหิน และก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่ง ร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook