Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือ ความฉลาดทางดิจิทัล

คู่มือ ความฉลาดทางดิจิทัล

Published by 21 ณรัชตภณ สุขอิ่ม, 2022-02-26 04:43:04

Description: คู่มือ ความฉลาดทางดิจิทัล

Search

Read the Text Version

คู่มือ ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ DIGITAL INTELLIGENCE )

คำนำ \"คู่มือทักษะความฉลาดทางดิจิทัล\" เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการพัฒนาความเป็นครู (GD58201) จัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการรู้เท่าทันดิจิทัล เพื่อ ที่จะได้นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของเทคโนโลยี ดิจิทัล ให้บุคคลที่ได้ศึกษาได้มีทักษะกระบวนการคิดทั้ง 8 ด้านได้ดีมากยิ่งขึ้น ป้องกัน ตนเองจากผู้ไม่ประสงค์ดี การป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล รู้จักการป้องกันตัวเองให้ ปลอดภัย จึงควรศึกษาเนื้อหาสำคัญพวกนี้ให้มากที่สุด

DQ สารบัญ เ รื่ อ ง ห น้ า ความเป็นพลเมืองดิจิทัล 1 ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 2 (Digital Citizen Identity) ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี 3 (Critical Thinking) ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเอง 4 ในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว 5 (Privacy Management) ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ 6 (Screen Time Management) ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งาน 7 มีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) ทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ 8 (Cyberbullying Management) ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม 9 (Digital Empathy) สรุป ความฉลาดทางดิจิทัล 10 เอกสารอ้างอิง 11 นำเสนอ 12

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คืออะไร ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คือ พลเมืองผู้ใช้งานดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจ บรรทัดฐานของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมและมีการรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดย อย่างยิ่ง การสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการสื่อสารที่ไร้พรมแดน สมาชิกของโลกออนไลน์ คือ ทุกคนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโลกใบนี้ ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์มีความหลาก หลายทางเชื้อชาติ อายุ ภาษา และวัฒนธรรม พลเมืองดิจิทัลต้องเป็นผลเมืองที่มี ความรับผิดชอบ มีจริยธรรม เห็นอกเห็นใจและเคารพผู้อื่น มีส่วนร่วมและมุ่งเน้นความ เป็นธรรมในสังคม การเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลนั้น มีทักษะที่สำคัญ 8 ประการ 1 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

1.ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง (Digital Citizen Identity) สามารถสร้างและบริหารจัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลก ออนไลน์และโลกความจริง อัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้างภาพลักษณ์ ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก และการกระทำโดยมี วิจารณญานในการรับส่งข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วม ใช้งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่กระทำการที่ผิดกฎหมาย และจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจา ที่สร้างความเกลียดชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น บางคนในโลกชีวิตจริงภาพลักษณ์ที่แสดงออกต่อคนในสังคม ทั่วไป หรือ กับเพื่อนร่วมงาน ก็ดูเป็นคนสุภาพ พู ดจาดี แต่พออยู่บนโลกออนไลน์ กลับแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมาเต็มที่ โพสต์ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ต่อว่าผู้อื่นที่ ทำให้ไม่พอใจด้วยถ้อยคำที่รุนแรงโดยไม่ผ่านการกลั่นกรองใดๆทั้งสิ้น เพราะคิดว่านี่ เป็นพื้นที่ส่วนตัว แต่ไม่ทันได้คิดต่อว่าเป็นพื้นที่ส่วนตัวนี้ได้เปิดเป็นสาธารณะเอาไว้ ที่ใครๆก็เข้ามาอ่านโพสต์ของเราได้ตลอดเวลา และนี่ก็คือเหตุผลที่เราจึงควรรักษา อัตลักษณ์ หรือ ภาพลักษณ์ ของเราให้ดีทั้งในโลกออนไลน์​และโลกชีวิตจริง 2 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

2. ทักษะการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) สามารถในการวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหา เป็นประโยชน์และข้อมูลที่เข้าข่ายอันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัย และน่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต จะรู้ว่าเนื้อหาอะไร เป็นสาระ มีประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลาก หลายได้ เข้าใจรูปแบบการหลอกลวงต่างๆ ในโลกไซเบอร์ เช่น ข่าวปลอม เว็บปลอม ภาพตัดต่อ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อเราเห็นข่าวอะไร หรือข้อมูลเรื่องอะไรก็ตาม อย่าเพิ่งตัดสินใจเชื่อ อย่าเพิ่ง แชร์ข้อมูลต่อโดยทันที แม้เรื่องนั้นจะถูกส่งมาจากคนใกล้ชิดที่น่าเชื่อถือก็ตาม เราควร ตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆแแหล่งข่าวก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าข่าวหรือเรื่องราวนั้นๆเป็น เรื่องจริง แล้วจึงเชื่อหรือแชร์ออกไป เพื่อที่เราจะไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมและไม่เป็นผู้ ปล่อยข่าวปลอมไปทำร้ายคนในสังคมเสียเอง 3 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

3. ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเอง ในโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) สามารถป้องกันข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และป้องกันการ โจรกรรมข้อมูล หรือการโจมตีออนไลน์ได้ มีทักษะในการรักษาความปลอดภัยของ ตนเองในโลกออนไลน์ การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกไซเบอร์คือ การปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลที่จัดเก็บและข้อมูลส่วนตัว ไม่ให้เสียหาย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจากผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์ ดังนั้นในยุคดิจิทัลแบบนี้เราต้องให้ความสำคัญกับการตั้งรหัสผ่านในทุกกิจกรรมที่เรา ทำบนโลกออนไลน์ให้มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านที่คนจะเดาได้ง่ายหรือใช้รหัส ผ่านเดียวกันในทุกๆ บริการออนไลน์ที่เราใช้ เพราะเมื่อแฮกเกอร์สามารถล่วงรู้รหัสผ่าน เราได้แล้วก็จะสามารถเข้าถึงทุกบริการออนไลน์ของเราได้ทันที 4 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

4. ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) มีดุลพินิจในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รู้จักปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลก ออนไลน์โดยเฉพาะการแชร์ข้อมูลออนไลน์เพื่ อป้องกันความเป็นส่วนตัวทั้งของตนเอง และผู้อื่น รู้เท่าทันภัยคุกคามทาง อินเทอร์เน็ต เช่น มัลแวร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ และกลลวงทางไซเบอร์ การไม่ระวังรักษาความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สื่อโซเชียลในชีวิตประจำวัน หลายคนก็โพสต์ทุกสิ่งอย่างลงไปเลย ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ความรู้สึก สุข เศร้า เหงา รัก อกหัก รักคุด หรือการเช็กอินอ้ปเดตชีวิตทุกที่ ที่ได้ไป แม้กระทั่งภาพต่างๆในบ้าน เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในครอบครัว เปิดเผยหมด โดยไม่รู้เลยว่าสิ่งที่ทำอยู่คือการเรียกแขก เรียกผู้ไม่หวังดีเข้ามาในชีวิต 5 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

5. ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ (Screen Time Management) สามารถในการบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวมไปถึงการควบคุมเพื่อให้เกิด สมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และโลกภายนอก ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้เวลาหน้า จอนานเกินไป การทำงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน และผลเสียของการเสพติด สื่อดิจิทัล ตัวอย่างเช่น การลดใช้อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ขณะอยู่กับครอบครัว เพื่อน หรือบุคคลที่เรา อยู่ด้วย เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันกับ บุคคลที่อยู่ตรงหน้ามากกว่าสื่อออนไลน์ 6 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

6. ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งาน มีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) รอยเท้าดิจิทัลคือ คำที่ใช้เรียกร่องรอยการกระทำต่างๆ ที่ผู้ใช้งานทิ้งรอยเอาไว้ในโลก ออนไลน์ โซเชียลมีเดีย เว็บไซต์หรือโปรแกรมสนทนา เช่นเดียวกับรอยเท้าของคน เดินทาง ข้อมูลดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน อีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ เมื่อ ถูกส่งเข้าโลกไซเบอร์แล้วจะทิ้งร่อยรอยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไว้ให้ผู้อื่นติดตาม ได้เสมอ แม้ผู้ใช้งานจะลบไปแล้ว ดังนั้น หากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือ ศีลธรรม ก็อาจมีผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของผู้กระทำ กล่าวง่ายๆ รอยเท้าดิจิทัลคือทุกสิ่งทุกอย่างในโลกอินเทอร์เน็ตที่บอกเรื่องของเรา ตัวอย่างเช่น สิ่งที่โพสหรือแชร์ในโลกออนไลน์ มันจะยังคงอยู่เพราะทุกหรือจะสามารถ เห็นโพสหรือแชร์ของเราได้ โดยที่เราไม่สามารถตามลบได้ด้วย ซึ่งร่องรอยดิจิทัลนี้ สามารถส่งผลเสียทำลายชีวิตเราได้ 7 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

7. ทักษะในการรับมือกับการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Management) การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คือ การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทางเพื่อ ก่อให้เกิดการคุกคามล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคม ออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึงเด็กวัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลก ไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้งในรูปแบบอื่น หากแต่การกลั่นแกล้งประเภทนี้จะ กระทำผ่านสื่อออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่นแกล้ง อาจจะเป็นเพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรืออาจจะเป็นคนแปลกหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทำจะรู้จักผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง ตัวอย่างเช่น การว่าคนอื่นผ่านทางโลกออนไลน์ และทำให้คนอื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง การถูกกลั่นแกล้งผ่านโลกออนไลน์ 8 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

8. ทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) มีความเห็นอกเห็นใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นบนโลกออนไลน์ แม้จะเป็นการ สื่อสารที่ไม่ได้เห็นหน้ากัน มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อคนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้ง ในโลกออนไลน์และในชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียงอย่าง เดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ไฟไหม้ที่ออสเตรเลีย ที่มีคนเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แสดง ความเห็นอกเห็นใจ มีการระดมทุนจากองค์กรต่างๆ เพื่อขอรับบริจากผ่านโลกออนไลน์ และยังมีอีกหลายเหตุการณ์เพื่ อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 9 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

สรุป ความฉลาดทางดิจิทัล กล่าวโดยสรุป การจะเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีนั้น ต้องมีความฉลาดทางดิจิทัล ซึ่ง ประกอบขึ้นด้วยชุดทักษะและความรู้ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการคิดขั้นสูง หรือที่เรียกว่า “ความรู้ดิจิทัล” (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในโลก ไซเบอร์ รู้วิธีป้องกันตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ ในโลกออนไลน์ เข้าใจถึงสิทธิ ความ รับผิดชอบ และจริยธรรมที่สำคัญในยุคดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตในการมี ส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่เกี่ยวกับตนเอง ชุมชน ประเทศ และพลเมืองบนโลก ได้อย่างสร้างสรรค์ 10 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

เอกสารอ้างอิง วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ. ทักษะทางดิจิตอลที่จำเป็นสำหรับเด็กในอนาคต [Online]. แหล่งที่มา http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642553 [11 กุมภาพันธ์ 2565] ดร.สรานนท์ อินทนนท์. ความฉลาดทางดิจิทัล [Online] แหล่งที่มา http://cclickthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/dq_FINAL.pdf [11 กุมภาพันธ์ 2565] 11 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

รายวิชา การพัฒนนาความเป็นครู (GD 58201) อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ดร.สุจิตตรา จันทร์ลอย อาจารย์ ดร.สุธิดา ปรีชานนท์ จัดทำโดย นายณรัชตภณ สุขอิ่ม รหัสนักศึกษา 647190521 หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นที่ 23 11 I ความฉลาดทางด้านดิจิทัล

“ความรู้ดิจิทัล” (Digital Literacy)


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook