Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชาเทคโนโลยี 3

วิชาเทคโนโลยี 3

Published by joy.supin_55, 2021-09-21 07:26:59

Description: วิชาเทคโนโลยี 3

Search

Read the Text Version

ชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ 3 By ครูจอย

คำนำ หนังสือเล่มน้ีเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา เทคโนโลยี 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ ในเร่ือง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน และได้ศึกษา อยา่ งเขา้ ใจเพอ่ื เปน็ ประโยชนก์ ับการเรยี นการสอน ผู้จัดทาหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน ท่ีกาลังหาข้อมูลเร่ืองน้ีอยู่ หากมีข้อแนะนา หรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทาขอน้อมรับไว้และขออภัย มา ณ ทนี่ ดี้ ว้ ย สพุ ณิ ญา หมั่นตรอง

สำรบญั เรอ่ื ง หน้ำ คานา ก สารบัญ ข การใช้เทคโนโลยอี ย่างรู้เท่าทัน 1 การประเมนิ ความนา่ เช่อื ถอื ของข้อมูล 2 การตรวจสอบความน่าเชอ่ื ถอื ของแหลง่ ทีม่ าของขอ้ มลู 4 เหตผุ ลวบิ ัติ 7 การใชเ้ ทคโนโลยสี ารสนเทศอยา่ งปลอดภยั 17 กฎหมายเก่ยี วกบั คอมพวิ เตอร์ 20 การใช้งานลิขสิทธิ์ท่ีเป็นธรรม 23

กำรใชเ้ ทคโนโลยีอยำ่ งรู้เท่ำทัน ในชีวิตประจาวันของเรา เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาท กับการดาเนินชีวิตในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ขณะท่ีในทุก ๆ วัน เทคโนโลยีมีการเปล่ียนแปลงตลอดเวลา เราเองก็ต้องเรียนรู้ และปรับตัวใหท้ ันต่อการเปลย่ี นแปลงของเทคโนโลยี อยา่ งไรก็ตาม เทคโนโลยีนั้นมีท้ังคุณประโยชน์และโทษในเวลาเดียวกัน เพ่ือให้ เ ร า มี ค ว า ม รู้ แ ล ะ ส า ม า ร ถ ใ ช้ เ ท ค โ น โ ล ยี ไ ด้ อ ย่ า ง มี ป ร ะ โ ย ช น์ และปลอดภัย ก็จาเป็นท่ีจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับความรู้ทางด้าน ต่าง ๆ ตอ่ ไปน้ี ➢ การประเมนิ ความน่าเชื่อถือของข้อมลู ➢ เหตุผลวิบตั ิ ➢ การใชเ้ ทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภยั ➢ รู้เท่าทนั สอื่ และข่าวลว่ ง ➢ กฎหมายเก่ยี วกับคอมพวิ เตอร์ ➢ การใชง้ านลขิ สิทธ์ทิ เ่ี ปน็ ธรรม

กำรประเมนิ ควำมนำ่ เชื่อถอื ของข้อมลู การนาข้อมูลมาใช้ในการเรียน การ ทางานและ การตัดสินใจต่างๆ จะต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นามา จากหลายแหล่งข้อมูล โดยต้องเป็นแหล่งข้อมูลท่ีมีความน่าเช่ือถือ มีความถูกต้องสมบูรณ์ สอดคล้องตรงตามความต้องการ และมี ความทันสมัย เพ่ือให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพนักเรียนอาจใช้การประเมิน ความน่าเช่ือถือของข้อมูลโดยใช้ประเด็นการ พิจารณา ของ “พรอมท์” ได้แก่

❑ Presentation การนาเสนอข้อมูลต้องชัดเจน ตรงตาม เนื้อหา กระชบั ❑ Relevance การพิจารณาความสัมพันธ์ ความสอดคล้อง ของข้อมลู กับสง่ิ ทตี่ ้องการ ❑ Objectivity ข้อมูลที่นามาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่มเี จตนาแอบแฝง หรือเปน็ ข้อมูลทแ่ี สดงความคดิ เหน็ ❑ Method มีการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล อย่าง เป็นระบบ ❑ Provenance มีการระบุแหล่งท่ีมาของข้อมูลอย่างชัดเจน เชอ่ื ถือได้ ❑ Timeliness ขอ้ มูลต้องเปน็ ปัจจบุ นั ทนั สมยั

กำรตรวจสอบควำมน่ำเช่ือถือของแหล่งที่มำของขอ้ มูล การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล ในการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์หรือแหล่งที่มาของข้อมูลเพ่ือนา ข้อมูลไปใช้งานและอ้างอิงจาเป็นต้องมีการ ตรวจสอบ ความน่าเชื่อถือของแหล่งท่ีมาของข้อมูลก่อน ไม่เช่นนั้นอาจจะ สร้างความเสียหายได้ วิธีการตรวจสอบความน่าเช่ือถือ ของแหลง่ ขอ้ มลู สามารถทาไดด้ งั นี้ 1 เวบ็ ไซตห์ รือแหล่งทีม่ าของข้อมูลตอ้ ง บอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือ เผยแพรข่ อ้ มูลไวใ้ นเวบ็ ไซต์ อย่างชัดเจน 2 การนาเสนอเนอ้ื หาตอ้ งตรงตาม วัตถปุ ระสงค์ในการสร้างหรอื เผยแพรข่ อ้ มลู ของเวบ็ ไซต์ 3 เนอ้ื หาเวบ็ ไซต์ไมข่ ัดขอ้ งต่อกฎหมาย ศลี ธรรม และจรยิ ธรรม

4 มีการระบุชื่อผเู้ ขยี นบทความ หรือผู้ให้ขอ้ มลู บนเวบ็ ไซต์ 5 มกี ารอา้ งองิ แหล่งที่มาหรือแหลง่ ตน้ ตอของขอ้ มลู ทีม่ ีเนื้อหาปรากฏ บนเวบ็ ไซต์ 6 สามารถเชอ่ื มโยง (link) ไปเวบ็ ไซต์อ่นื ที่อา้ งถึงเพื่อตรวจสอบ แหลง่ ตน้ ตอของขอ้ มลู ได้ 7 มกี ารระบวุ นั เวลาในการเผยแพร่ ข้อมูลบนเว็บไซต์ 8 มกี ารใหท้ ีอ่ ยู่หรืออีเมล ท่ีผูอ้ า่ น สามารถตดิ ตอ่ ผดู้ แู ลเว็บไซต์ได้

9 มชี อ่ งทางให้ผู้อ่านแสดง ความคิดเหน็ 10 มีข้อความเตอื นผูอ้ ่านใหใ้ ช้ วจิ ารณญาณในการตัดสนิ ใจใช้ ขอ้ มลู ท่ปี รากฏบนเว็บไซต์

เหตผุ ลวบิ ตั ิ เหตุผลวิบัติ (fallacy) เป็นการอ้างเหตุผลท่ีบกพร่อง อันเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการคิดหาเหตุผล ทั้งแบบ อปุ นัยและนิรนัย ซ่ึงส่งผลให้การอ้างเหตุผลน้ันเป็นการอ้างเหตุผล ทวี่ ิบัติ (fallacious argument) ในส่วนท่ีเกี่ยวกับเหตุผลวิบัติน้ี มีส่ิงท่ีควรสังเกตอยู่ อย่างหน่ึงคือ การพบว่ามีเหตุผลวิบัติในการอ้างเหตุผลใดนั้น มนั ไม่ไดท้ าใหเ้ ราสามารถสรุปไดว้ ่าข้อสรปุ น้ันเทจ็ ในกรณีทก่ี ารหา เหตุผลบกพร่องหรือวิบัติน้ัน มันหมายถึงว่า การอ้างเหตุผลน้ัน จะไมเ่ ป็นเหตุผลท่ีทาใหเ้ ราเช่อื ไดว้ า่ ขอ้ สรปุ นั้นถกู เหตผุ ลวิบตั ิแบ่งได้ 2 ประเภท 1. เหตผุ ลวิบัติแบบเปน็ ทางการ 2. เหตุผลวิบัติแบบไมเ่ ปน็ ทางการ

1. เหตผุ ลวิบตั แิ บบเปน็ ทำงกำร เกิดจากการให้เหตุผลท่ีใช้หลักตรรกะท่ีไม่ถูกต้อง แต่เขียนใน รูปแบบที่เป็นทางการทาให้ดสู มเหตสุ มผล นกั เรยี นอาจตีความว่า ถ้าเลือก แล้วจะมีการพัฒนาหมูบ้าน แต่ใน ความเปน็ จรงิ ถึงแมจ้ ะถูกเลอื กกอ็ าจจะไม่มีการพฒั นาหมบู า้ นกไ็ ด้

2. เหตุผลวิบัติแบบไม่เปน็ ทำงกำร ▪ การให้เหตุผลโดยอ้างถึงผู้พูดว่า มีพฤติกรรมขัดแย้งกับส่ิงท่ี พูดเพราะส่งิ ที่พูดเชอ่ื ถอื ไม่ได้ เหตผุ ลท่พี ่อใหเ้ ป็นเหตผุ ลทถี่ กู ตอ้ ง แตล่ ูกไม่ไดส้ นใจความถกู ตอ้ ง แต่กลับไปสนใจพฤติกรรมของพ่อท่ีขดั แย้งกบั สง่ิ ทพี่ อ่ กาลงั สอน

▪ การให้เหตุผลโดยอ้างอิงถึงลักษณะของตัวบุคคลโดยไม่สนใจ เน้ือหาสาระของขอ้ ความ ความคดิ เห็นของผู้พูดเปน็ ความคิดทด่ี ี แต่คนฟงั ไม่สนใจประเด็นท่ี พดู แต่มุ่งประเด็นไปท่ผี พู้ ูดเป็นเดก็

▪ การให้เหตุผลโดยอ้างถึงความน่าสงสาร หรือความเห็นอก เห็นใจแล้วเปลย่ี นเปน็ ความถกู ต้อง สงิ่ ที่เกิดขน้ึ เปน็ ความผดิ ทางกฎหมาย แต่คนที่แสดงความเหน็ กลบั มุง่ ประเดน็ ไปทเี่ หตุผลของการกระทา ซงึ่ ไมเ่ ก่ยี วข้องกัน

▪ การให้เหตุผลโดยอ้างถึงคนส่วนใหญ่ท่ีปฏิบัติเหมือนกัน ดังนน้ั สิ่งทีท่ าจงึ ถูกต้อง ผพู้ ดู รอู้ ยู่แลว้ ว่าสงิ่ ทที่ าไม่ถูกต้อง แต่กลบั อ้างถึงสง่ิ ทค่ี นอนื่ ทาแลว้ ไม่ถูกตอ้ งเหมอื นกัน เพื่อเป็นเหตุผลใหต้ นเองไม่ต้องทาในสงิ่ ทถ่ี ูกต้อง

▪ การใหเ้ หตุผลโดยสรา้ งทางเลอื กไวแ้ ค่ 2 ทาง แต่ในความเป็น จริงอาจมีทางเลือกอน่ื ๆ อกี การให้เหตผุ ลอาจมีปัจจยั อนื่ ๆ มาประกอบ ไม่ได้มีแค่ 2 ทางเลอื ก เท่าน้นั การทีเ่ ราไม่เห็นดว้ ยกับทางเลอื กแรก ไมจ่ าเป็นต้องเลอื ก ทางเลือกที่ 2 อาจมที างเลอื กอนื่ ๆ อกี

▪ การให้เหตุผลเกินจริง โดยบอกเหตุผลว่าเม่ือสิ่งน้ีเกิดจะมีอีก สงิ่ หนง่ึ เกดิ ขนึ้ ตามมาซง่ึ เกนิ ความจรงิ ไปมาก การโต้แยง้ ของนาย ข เกนิ ความเปน็ จรงิ ไปมาก ซึ่งนาย ก มเี จตนา ให้นกั เรยี นใสแ่ คห่ น้ากากอนามยั เฉพาะชว่ งเวลาทมี่ ฝี นุ่ จานวนมากเท่านน้ั

▪ การให้เหตุผลโดยเบี่ยงประเด็นการโต้แย้งของผู้อ่ืนให้ กลายเปน็ อีกเร่ืองหนง่ึ แลว้ คอ่ ยโจมตีประเดน็ ที่ถูกบดิ เบอื น เจตนาของนาย ก ต้องการสนับสนุนให้นกั เรียนนา SmartPhone มาใช้ในการเรียนแตน่ าย ข โตแ้ ยง้ โดยเบ่ียงไปประเด็นอน่ื เพอ่ื โจมตนี าย ก

▪ การให้เหตุผลโดยอ้างว่าส่ิงใดสิ่งหนึ่งเป็นส่ิงพิเศษไม่เหมือน ใคร ดังน้ันจะเอาไปเปรียบเทียบกับสิ่งอ่ืนไม่ได้ ท้ังท่ีประเด็น ท่อี ้างนน้ั ไมไ่ ดเ้ กีย่ วข้องกบั สิ่งที่โต้แย้งกันอยู่เลย สงิ่ ทลี่ งุ ทานน้ั ไมถ่ กู ตอ้ ง แตใ่ ห้เหตุผลโดยอา้ งถงึ ความพิเศษ คอื ตนเองเปน็ ผใู้ หญซ่ งึ่ ไม่ต้องทงิ้ ขยะลงถงั ก็ได้

กำรใชเ้ ทคโนโลยีสำรสนเทศอย่ำงปลอดภยั การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมี วัตถุประสงค์ หลายอย่าง เช่น การใช้งานเพ่ือทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic transaction) การใช้งานเพื่อสนับสนุนการทางาน และการใชง้ านทวั่ ไปซ่ึงจะต้องคานงึ ถงึ ความปลอดภยั ในการใชง้ าน กำรทำธุรกรรมอิเล็กทรอนกิ สอ์ ยำ่ งปลอดภยั ก า ร ท า ธุ ร ก ร ร ม ผ่ า น อิ น เ ท อ ร์ เ น็ ต ห รื อ ธุ ร ก ร ร ม อิเล็กทรอนิกส์น้ันกลายเป็นเร่ืองท่ีใกล้ตัวคนไทยมากข้ึนหลังจาก รัฐบาลไทยได้ให้ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เปิดโครงการพร้อมเพย์ (prompt pay) เพอ่ื ใหท้ าธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้สะดวกมาก ยิ่งข้ึน เช่น การโอนเงินการชาระค่าสินค้าและบริการในการทา ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต้องระมัดระวังและมีความรอบคอบ เช่น การซ้ือสินค้าออนไลน์ผู้ซ้ือสินค้าไม่เห็นสินค้าจริง และไม่ได้ รับสินค้าทันทีหลังจากชาระเงินซึ่งอาจเป็นช่องทางให้เกิดการ ฉ้อโกงเช่น ไม่ได้รับสินค้าสินค้าไม่มีคุณภาพหรือสินค้าไม่ตรงตาม ข้อมูลท่ีปรากฏ

กำรรทู้ นั สือ่ การรู้เท่าทันสื่อ หมายถึง ความสามารถในการป้องกัน ตนเองจากการถูกโน้มน้าวด้วยเนื้อหาที่เป็นเท็จและมีผลกระทบ ต่ อ ผู้ รั บ ส่ื อ เ พื่ อ ไ ม่ ใ ห้ ต ก เ ป็ น เ ค ร่ื อ ง มื อ ท า ง ก า ร ต ล า ด หรือผลประโยชน์ที่สื่อนาเสนอการรู้เท่าทันสื่อน้ัน ผู้รับสารต้อง สามารถตีความวิเคราะห์ แยกแยะเนื้อหาสาระของส่ือ คิดก่อน นาสือ่ ไปเผยแพร่สามารถตง้ั คาถามว่าส่ือนั้นมีทม่ี าอยา่ งไร ใครเป็น เจ้าของส่ือ ใครผลิต และผลิตภายใต้ข้อจากัดใด ควรเชื่อหรือไม่ มีความเชื่ออะไรท่ีแฝงมากับส่ือน้ัน ผู้สร้างหรือผู้เผยแพร่ส่ือนั้น หวังผลอะไร ดงั น้ันควรเลอื กแนวปฏิบตั อิ ย่างเหมาะสม โดยท่ัวไปแล้วการเข้าถึงเน้ือหาหรือข้อมูลข่าวสารจาก ส่อื ต่าง ๆ นั้นสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้รับสาร แต่ต้องสร้าง การตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามของสื่อท่ีมากับความอยากรู้อยากเห็น ด้วย

ข่ำวลวงและผลกระทบ ข่าวลวง (fake news) เป็นรูปแบบหนึ่งของการก่อกวน ซ่ึงข่าวลวงจะนาเสนอเรื่องราวท่ีเป็นเท็จมีวัตถุประสงค์แอบแฝง ท่ีแตกต่างกัน เช่น เพ่ือขายสินค้า ทาให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความสับสนให้แก่ผู้รับข้อมูล ข่าวลวงอาจแพร่ผ่านอีเมล หรือเครือข่ายทางสังคม โดยจะส่งผลให้เกิดความเสียหายท้ังส่วน บุคคลทางดา้ นเศรษฐกิจ การเมอื งการปกครอง ฯลฯ ลกั ษณะของขา่ วลวง เช่น ▪ สรา้ งเร่ืองราวเพอ่ื ใหเ้ ป็นจุดสนใจของสังคม ▪ สรา้ งความหวาดกลัว ▪ กระตุ้นความโลภ ▪ สรา้ งความเกลยี ดชัง ▪ สง่ ต่อกันมาผ่านเครือข่ายทางสงั คม ▪ ไม่ระบุแหล่งทม่ี า ▪ ขยายความต่อจากอคติของคนทั่วไปท่ีมีอยู่ก่อนแล้วเพ่ือหวังให้ ตนเองไดร้ ับผลประโยชน์หรอื ใช้เพ่ือโจมตคี ่แู ข่ง

กฎหมำยเกี่ยวกบั คอมพิวเตอร์ การออกข้อกาหนดระเบียบและกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพ่ือให้ กา ร ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปด้วยความ เรียบร้อย ประเทศไทยมีการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างสม่าเสมอ โดยรายละเอียดต่าง ๆ สามารถศึกษาได้จากพระราชบัญญัติ แตล่ ะฉบบั ดงั น้ี ▪ พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพ่ือ เศรษฐกิจ และสงั คม พ.ศ. 2560 ▪ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเก่ียวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

ตวั อยำ่ งกำรกระทำท่ีมีควำมผดิ ตำมพระรำชบัญญัติวำ่ ด้วย กำรกระทำควำมผิดเกี่ยวกับคอมพวิ เตอร์ เชน่ ... ▪ ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออีเมลให้บุคคลอ่ืนซึ่งก่อให้เกิดความ เดอื ดรอ้ นหรือราคาญโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิก หรือปฏเิ สธการตอบรับได้โดยงา่ ยเช่นส่งอีเมลสแปมส่งข้อความ โฆษณามาท่ีโทรศัพท์มือถอื ฝากร้านในเครอื ขา่ ยทางสังคม ▪ กดไลค์ (Like) เกย่ี วกบั การหมิน่ สถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ ▪ กดแชร์ (Share) ข้อมูลท่ีมีผลกระทบต่อผู้อ่ืนทาให้เกิด ความเสยี หาย ▪ พบข้อมูลผิดกฎหมายในระบบคอมพิวเตอร์หรือในบัญชี เครือข่ายทางสังคมถึงแม้ไม่ได้เป็นเจ้าของข้อมูลก็ ตาม แ ล้ ว เ พิ ก เ ฉ ย โ ด ย ไ ม่ แ จ้ ง ไ ป ยั ง ห น่ ว ย ง า น ท่ี รั บ ผิ ด ช อ บ แ ล ะ ลบข้อมลู ออกจากระบบ

▪ ผู้ดูแลเพจหรือแอดมินเพจพบข้อความแสดงความคิดเห็น ทผ่ี ิด พ.ร.บ. แลว้ เพกิ เฉย ▪ โพสต์สื่อลามกอนาจารที่ทาให้เกิดการเผยแพรส่ ู่ประชาชนได้ ▪ โพสต์เก่ียวกับเด็กเยาวชนแล้วไม่ปิดบังใบหน้ายกเว้นกรณีท่ี เปน็ การเชดิ ชหู รอื ช่ืนชมอย่างให้เกียรติ ▪ ใหข้ ้อมูลเกีย่ วกบั ผูเ้ สยี ชวี ิตแล้วทาให้เกดิ ความเสื่อมเสียชื่อเสียง ถกู ดูหมินเกลยี ดชังญาติสามารถฟ้องรอ้ งได้ตามกฎหมาย ▪ การโพสต์ด่าวา่ ผู้อน่ื หรือขอ้ ความเทจ็ เป็นความผิดทางอาญา ▪ ละเมดิ ลิขสิทธ์ิผอู้ ่ืนเช่นข้อความเพลงรูปภาพวดี ทิ ศั น์ ▪ แชร์รูปภาพของผ้อู ื่นในเชงิ พาณชิ ย์เพ่อื หารายได้

กำรใชง้ ำนลิขสิทธ์ทิ เี่ ป็นธรรม “ ลิขสิทธ์ิ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวท่ีจะกระทาการใด ๆ เกี่ยวกับงานท่ีผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถและความวิริยอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ ไ ม่ ล อ ก เ ลี ย น ง า น ข อ ง ผู้ อ่ื น โ ด ย ง า น ที่ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ต้ อ ง เ ป็ น ง า น ตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธ์ิให้ความคุ้มครองโดยผู้สร้างสรรค์ จะได้รับความคุ้มครองทันท่ีท่ีสร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน” กรมทรัพย์สินทางปัญญา ตัวอย่ำงกำรใช้งำนลขิ สิทธท์ิ เ่ี ปน็ ธรรม การวิจัยหรอื ศึกษางาน โดยไมแ่ สวงหากาไร เช่น นักเรยี น สาเนาขอ้ ความบางสว่ นในบทความเพอื่ ทาแบบฝึกหดั การคัดลอกคากลา่ วหรือบทความโดยย่อ และมีการอา้ งองิ ในการรายงานข่าว การคัดลอกคากลา่ วหรอื บทความโดยยอ่ และมกี ารอา้ งองิ ในการรายงานข่าว

ตัวอย่ำงกำรใช้งำนลิขสิทธทิ์ ี่ไมเ่ ปน็ ธรรม การดาวนโ์ หลดเพลงผู้อน่ื ไปขาย ผู้สอนถา่ ยเอกสารหนงั สอื เรยี นเพอื่ ขายกับผเู้ รียน จานวนมาก ทาใหเ้ จ้าของลขิ สทิ ธส์ิ ญู เสียรายได้ ผู้นาไปใช้มีเจตนาทุจริต โดยการนางานทมี่ ีลิขสทิ ธไ์ิ ปใช้ โดยไมอ่ า้ งอิงหรือใชใ้ นลกั ษณะทีท่ าใหผ้ ้อู น่ื เขา้ ใจวา่ ผลงาน ลิขสิทธ์นน้ั เป็นของตนเอง การใชง้ านโปรแกรมคอมพิวเตอรแ์ บบทดลองใช้ (shareware) อยา่ งตอ่ เน่ืองแมว้ า่ จะหมดอายุการใชง้ าน

สานักงานเขตพื้นทีก่ ารศึกษา มัธยมศึกษาลาปาง ลาพูน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook