Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore - คอซู้เจียง (2)

- คอซู้เจียง (2)

Published by tai23102528, 2021-12-20 09:23:20

Description: - คอซู้เจียง (2)

Search

Read the Text Version

ประวัติ คอซู้เจียง

คคออซซู้เจีียยงง เดิม คอซู้เจียง เป็นกรรมกรรับจ้าง ปลูกผักขาย ซึ่งผักที่ท่านปลูกจะตัดตอน เจ้าเมืองรระะนนอองง เย็นเพื่ อเดินหาบในช่วงเวลาตอนกลางคืน นำไปขายผักที่ตลาดตอนเช้าจากเมืองปีนัง ไปยังเกาะหมาก ระยะทางในการเดิน ๑๘ ไมล์ อาทิตย์ละ ๑ ครั้ง ต่อมาท่านได้ อพยพมาอยู่อาศัยในประเทศไทยที่ตะกั่วป่า เมืองพังงา โดยประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขายและได้แต่งงานกับภรรยาคนจีนใน เมืองพังงา ภรรยาท่านมีชื่อว่า ซิมกิม เลี่ยน ซึ่งตอนนั้นอาชีพค้าขายทำให้ท่านมี กำไรมากขึ้น ท่านคอซู้เจียงจึงได้ ๔๓ พารา (ถ้าคิดเป็นเงินบาทในสมัยนั้นจะอยู่ ประมาณล้านบาทเศษ) ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงได้ โปรดเกล้าให้ท่านคอซู้เจียงเป็นนายอากรดีบุกประจำแขวงเมืองระนอง และโปรด เกล้าบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรัตนเศรษฐีอากรดีบุก ณ เวลานั้น ระนองมีประชากร เพียง ๑๗ หลังคาเรือน เป็นเมืองๆ หนึ่งที่อยู่ภายใต้ความปกครองของชุมพร แต่ ด้วยเวลานั้นประชากรมีจำนวนน้อยและไม่มีกำลังมากพอที่จะทำรายได้ส่งไปยัง กรุงเทพ ท่านคอซู้เจียงจึงได้ชักชวนคนจากเมืองจีน ประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ คน มา ทำงาน ช่วงต้นของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงโปรดเกล้าท่านคอซู้เจียงจากหลวงรัตนเศรษฐีอากรดีบุก แต่งตั้ง เป็นพระรัตนเศรษฐีเป็นเจ้าเมืองระนอง แต่ยังอยู่ภายใต้ความปกครองของชุมพร ซึ่งท่านได้มีการพัฒนาระนองอย่างต่อเนื่อง และได้สร้างถนนขึ้นมาจำนวน ๑๐ สาย ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ ได้เสด็จมาพักแรมที่ระนอง ในวันที่ ๒๓-๒๕ เมษายน ๒๔๓๓ พระองค์ท่านทรง พระราชทานชื่อถนนที่ท่านคอซู้เจียงได้สร้างขึ้น ดังนี้

๑. ถนนท่าเมือง ๒. ถนนเรืองราษฎร์ ๓. ถนนชาติเฉลิม ๔. ถนนเพิ่มผล ๕. ถนนชลรอุ ๖. ถนนลุวัง ๗. ถนนกำลังทรัพย์ ๘. ถนนดับคดี ๙. ถนนทวีสินค้า ๑๐. ถนนผาดาษ (โดยชื่อถนนได้ตั้งชื่อตามสภาพความเป็นจริง ณ เวลานั้น และฃื่อ ) ช่วงปลายของสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระองค์ท่านทรงพระราชดำริว่า “เมืองระนองเป็นเมืองเจริญแล้ว และเป็น เมืองเชอายเแวดอนตริีดตเ่ดอกัวบิปสระเทศพม่า (ซึ่งสมัยนั้นพระนางเจ้าวิคตอเรียเป็น กษัตริย์ ประเทศอังกฤษ ได้ยึดประเทศพม่าเป็นเมืองขึ้น และได้ปกครองอย่าง เข้มงวด) ระนองยังเป็นเมืองที่ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของชุมพร จะเป็นการ รักษาราชการชายแดนไม่สะดวก เพราะถ้ามีปัญหาหรืออุปสรรค ท่านคอซู้เจียง เจ้าเมืองระนองต้องปรึกษาไปยังชุมพรจะตัดสินใจด้วยตนเองไม่ได้ รัชกาลที่ ๔ จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าให้แยกระนองออกจากชุมพรไปขึ้นตรงต่อกรุงเทพ โดยตรง ยกฐานะเป็นหัวเมืองจัตวา และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้ท่านคอซู้เจียง แต่งตั้งเป็นพระยารัตนเศรษฐี เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๐๕ พ.ศ.๒๔๑๙ เกิดเหตุการณ์กบฎขึ้นในระนอง กรรมกรเหมืองแร่ซึ่ง เป็นคนจีนที่เข้ามาทำงานในเหมืองแร่ได้ตกลงสัญญากับเจ้าของเหมืองแร่ว่า ๑ ปี จะมีการคิดบัญชีจ่ายค่าแรงให้กรรมกรในช่วงตรุษจีน แต่ในช่วงระหว่างปี กรรมกรจะใช้จ่ายกินใช้ต้องลงบัญชีไว้ในเหมือง ซึ่งสมัยนั้นเจ้าของเหมืองแร่จะ ให้ทั้งที่อยู่อาศัย ของกินของใช้ เสื้อผ้า เหล้า และฝิ่ น เพื่อไม่ต้องการให้ กรรมกรออกไปจากเหมือง แต่ปรากฎว่าใน พ.ศ.๒๔๑๙ กรรมกรกลุ่มนี้ทำงาน ทั้งปีแล้วไม่มีเงินเหลือ อีกทั้งยังเป็นหนี้กับเจ้าของเหมืองอีก จึงทำให้กรรมกร ไม่พอใจเพราะกรรมกรกลุ่มนี้ต้องใช้เงินในช่วงตรุษจีน จึงรวมกลุ่มปล้นระนอง ซึ่งสมัยนั้นท่านคอซู้เจียงเป็นเจ้าเมืองระนอง จึงมีการระดมพลจากชุมพรและ หลังสวนมาช่วยสู้ (เพราะประชากรคนระนองมีน้อย) ผลปรากฎว่ากรรมกรสู้ไม่ ได้จึงหนีไปปล้นเมืองภูเก็ตแทน จากนั้นล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าเลื่อน ตำแหน่งท่านจากเจ้าเมืองระนอง เป็นจางวางกำกับราชการเมืองระนอง และ โปรดเกล้าเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นขนิษฐาพระดำรงสุจริตมหิศรภักดี ซึ่งตอนนั้น ท่านอายุ ๘๐ ปี

ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าให้บุตรชาย ของท่านคนที่ ๒ ที่มีชื่อจีนว่า คอซิมก๊อง เป็นเจ้าเมืองระนองคนต่อมา ได้รับแต่งตั้ง เป็นพระยารัตนเศรษฐีแทนท่านคอซู้เจียง หลังจากนั้นท่านคอซิมก๊องจึงได้สร้าง กำแพงเมืองสูงประมาณ ๕ เมตรเพื่อ ป้องกันโจร (แต่ไม่ได้สร้างกำแพงเพื่อไว้สู้ รบกับใคร) การสร้างกำแพงสมัยนั้นไม่มี ปูนซีเมนต์ เขาใช้ดินเป็นตัวสออิฐ ลักษณะ คือ อิฐ ดิน อิฐ ดิน ก่อขึ้นมาเป็นชั้นๆ แต่ เนื่องจากระนองเป็นเมืองฝนกำแพงได้ เสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ (ปัจจุบันกรม ศิลปากรได้ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และได้บูรณะตามร่องรอยประวัติศาสตร์) ซึ่งท่านคอซู้เจียงได้อนิจกรรม อายุ ๘๖ ปี และศพท่านได้ฝังตามธรรมเนียมของจีนที่ ภูเขา ภูเขามีชื่อว่า “เขาระฆังทอง” สุสาน ของท่านได้สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ โดยใช้เงิน ในการสร้าง ๖๐๐ ชั่ง (ประมาณ ๔๘,๐๐๐ บาท ในสมัยนั้น) บริเวณที่ตั้งล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานให้เป็นสุสาน ประจำตระกูล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ให้ชื่อพระที่นั่ง ชื่อเขา และชื่อถนน ๑๐ สาย ดังนี้ พระที่นั่ง ชื่อว่า \"รัตนรังสรรค์\" แปลว่า พระยารัตนเศรษฐี ภูเขา ชื่อว่า \"นิเวศคีรี\" ถนน ๑๐ สาย ได้กำหนดเส้นทางและชื่อเรียกถนน ดังนี้ ถนนที่ ๑ ถนนตั้งแต่ตะพานท่าน้ำจนสุดตลาด ชื่อ “ถนนท่าเมือง” ถนนที่ ๒ ถนนตั้งแต่สามแยกตลอดไปจนถึงตะพานยูงชื่อ “ถนนเรืองราษฎร์” ถนนที่ ๓ ถนนตั้งแต่ตะพานยูงไปจนถึงห้องซุ้ยชื่อ “ถนนชาติเฉลิม” ถนนที่ ๔ ถนนตั้งแต่เหมืองดีบุกไปถึงหลุมถ่านชื่อ “ถนนเพิ่มผล” ถนนที่ ๕ ถนนตั้งแต่สี่แยกบ้านพระยาระนองถึงบ่อน้ำร้อนชื่อ “ถนนชลรอุ” ถนนที่ ๖ ถนนผ่านหน้าวังชื่อ “ถนนลุวัง” ถนนที่ ๗ ถนนตั้งแต่ถนนเรืองราษฎร์ถึงถนนลุวังชื่อ “ถนนกำลังทรัพย์” ถนนที่ ๘ ถนนตั้งแต่หน้าบ้านพระยาระนองถึงถนนชลรอุชื่อ “ดับคดี” ถนนที่ ๙ ถนนต่อจากถนนเรืองราษฎร์ลงไปท่าชื่อ “ถนนทวีสินค้า” ถนนที่ ๑๐ ถนนที่จะตัดใหม่ไปออกทางโทรเลขที่หินดาษชื่อ “ถนนผาดาษ” “ข้อความดังกล่าวได้อ้างอิงมาจากหนังสือ.............................................\" ** หมายเหตุ สมัยก่อนเรียกว่า \"สะพาน\" ว่า \"ตะพาน\"

นายโกศล ณ ระนอง ผู้ให้ข้อมูล ณ วันที่..........ธันวาคม ๒๕๖๔


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook