หน่ วยที่3 การเปลี่ยนแปลงของสาร ชั้ นประถมศึกษาปี ที่5
บทที่1 การเปลี่ยนแปลง ทางกายภาพ
เมื่อเรียนจบบทนี้ นักเรียนสามารถ 1. อธิบายการเปลี่ยนสถานะของ สสาร 2. อธิบายการละลายของสารในน้ำ 3. อธิบายการเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพ
แนวคิดสำคัญ สสารเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปเป็นอีกสถานะหนึ่งเมื่อได้รับหรือ สูญเสียความร้อน การเปลี่ยนแปลงนี้ เรียกว่า การเปลี่ยนสถานะ สารหลายชนิดเมื่อใส่ลงในน้ำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยแตก ออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ และรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำการ เปลี่ยนแปลงนี้ เรียกว่า การละลายสารที่เปลี่ยนสถานะและสารที่ ละลายยังคงเป็นสารเดิมไม่เปลี่ยนเป็นสารใหม่การเปลี่ยนสถานะ และการละลายจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
การทำไอศกรีมเกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนสถานะและการละลายซึ่ง เป็นกาเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อย่างไร เราจะได้มาเรียนรู้กันในบท นี้
สำรวจความรู้ หนังสือหน้า 77 ก่อนเรียน สำรวจความรู้ก่อนเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดย 1. จากสถานการณ์ต่อไปนี้ สารมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไร และเรียก การเปลี่ยนสถานะนั้นว่าอะไร
1.1 วางเกล็ดการบูรไว้ เกล็ดการบูรค่อย ๆ มีขนาดเล็กลง ตอบ= การระเหิด 1.2 วางแก้วที่ใส่น้ำเย็นไว้ มีหยุดน้ำมาเกาะที่ผิวด้านนอกของแก้ว ตอบ= การควบแน่น 1.3 ใส่ก้อนน้ำแข็งในแก้วที่มีน้ำ ก้อนน้ำแข็งจะมีขนาดเล็กลงและมีปริมาณ น้ำในแก้วมากขึ้น ตอบ= การละลาย 1.4 ทาแอลกอฮอล์บนผิวหนังก่อนฉีดยา แล้วแอลกอฮอล์หายไป ตอบ= การระเหย
สำรวจความรู้ หนังสือหน้า 77 ก่อนเรียน สำรวจความรู้ก่อนเรียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ โดย 2. เมื่อผสมสารแต่ละคู่แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังตาราง สารคู่ใด มีการละลายเกิดขึ้น
สสารรอบตัวเรามีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และแก๊ส สสารสามารถเปลี่ยน สถานะจากสถานะหนึ่งไปเป็ นอีก สถานะหนึ่งโดยไม่เปลี่ยนเป็ นสารใหม่ การเปลี่ยนสถานะของสสารจึงเป็ นการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น อาหารที่ เป็ นของแข็งอาจมีน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ เป็ นองค์ประกอบ เมื่อนำอาหารไปใส่ไว้ ในช่องแช่แข็ง ของเหลวในอาหารจะ เปลี่ยนเป็ นของแข็ง
ถ้าต้องการจะรับประทานอาหาร นั้น เราต้องนำอาหารออกมาวาง ข้างนอกช่องแช่แข็งสักครู่ เพื่อ รอให้ของแข็งในอาหารเปลี่ยน กลับมาเป็ นของเหลวหรือเราอาจ ใช้วิธีตั้งไฟอ่อน ๆ เพื่ออุ่นอาหาร แช่แข็งนั้น ความร้อนจากไฟจะ ช่วยให้ของแข็งในอาหารนั้น เปลี่ยนกลับมาเป็ นของเหลวได้ เร็วขึ้น
แต่ถ้าเราตั้งไฟไว้นานเกินไป ของเหลวเหล่านั้นก็จเปลี่ยน สถานะเป็ นแก๊สลอยไปใน อากาศ อาหารที่เราอุ่นไว้ก็จะ แห้งและไหม้ในที่สุด นอกจากของเหลวในอาหาร แล้ว สารอื่น ๆ สามารถ เปลี่ยนสถานะได้หรือไม่ อย่างไร
กิจกรรมที่ 1.1 หนังสือหน้า80 น้ำแข็งมีการเปล ี่ยนสถานะอย่างไร จุดประสงค์ของกิจกรรม สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของน้ำแข็ง
กิจกรรมที่ 1.1น้ำแข็งมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไร 1. การหลอมเหลวของน้ำแข็ง มีการเปลี่ยนสถานะใดเป็นสถานะใด ของแข็งเป็นของเหลว 2. การกลายเป็นไอของน้ำ มีการเปลี่ยนสถานะใดเป็นสถานะใด ของเหลวเป็นแก๊ส 3. การควบแน่นของไอน้ำ มีการเปลี่ยนสถานะใดเป็นสถานะใด แก๊สเป็นของเหลว
กิจกรรมที่ 1.1น้ำแข็งมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไร 4. การเปลี่ยนสถานะของน้ำในสถานะต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับพลังงานความร้อนอย่างไร น้ำแข็งซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อได้รับความร้อน จะเปลี่ยนเป็นน้ำซึ่งมีสถานะ เป็นของเหลว และเมื่อน้ำได้รับความร้อนต่อไป จะเปลี่ยนเป็นไอน้ำซึ่งมีสถานะเป็น แก๊ส เมื่อเย็นลง ไอน้ำจะเปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นน้ำ
กิจกรรมที่ 1.1น้ำแข็งมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไร 5. จากสิ่งที่ค้นพบ สรุปได้ว่าอย่างไร การเปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลวการเปลี่ยนสถานะ ของเหลวเป็นแก๊สเรียกว่า การกลายเป็นไอ ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ การ ระเหยและการเดือด ส่วนการเปลี่ยนสถานะของแก๊สเป็นของเหลว เรียกว่า การ ควบแน่น ทั้งการหลอมเหลว การกลายเป็นไอ และการควบแน่นเป็นการ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสาร ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนเป็นสารใหม่
น้ำแข็งซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง เมื่อได้รับความร้อน จะเปลี่ยน เป็นน้ำซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว และเมื่อน้ำได้รับความร้อนต่อไป จะเปลี่ยนเป็นไอน้ำซึ่งมีสถานะ เป็นแก๊ส เมื่อเย็นลง ไอน้ำจะ เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นน้ำ
การเปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว การเปลี่ยนสถานะของเหลวเป็น แก๊สเรียกว่า การกลายเป็นไอ ซึ่งเกิดขึ้นได้ใน 2 ลักษณะ คือ การระเหยและการเดือด ส่วนการ เปลี่ยนสถานะของแก๊สเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น ทั้งการหลอมเหลว การกลายเป็นไอ และการควบแน่นเป็นการเปลี่ยนแปลงทาง กายภาพของสาร ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนเป็นสารใหม่
กิจกรรมที่ 1.2 หนังสือหน้า84 การเปลี่ยนสถา นะสาร 3 สถานะ จุดประสงค์ของกิจกรรม สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
กิจกรรมที่ 1.2 การเปลี่ยนสถานะสาร 3 สถานะ
กิจกรรมที่ 1.2 การเปลี่ยนสถานะสาร 3 สถานะ ผลการอภิปราย ของเหลวเมื่อสูญเสียความร้อนจนเย็นลงถึงระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า การแข็งตัว ในอากาศก็มีของเหลวปะปนอยู่เช่นกัน คือไอน้ำ ส่วนของแข็งที่ได้รับความร้อนและ เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเรียกว่า การหลอมเหลว
กิจกรรมที่ 1.2 การเปลี่ยนสถานะสาร 3 สถานะ จากกิจกรรมนี้ใช้อธิบายการทำไอศกรีมหมุนโบราณ หรือการทำสเลอปี้อย่างไร ไอศกรีมหมุนโบราณ หรือการทำสเลอปี้ ทำมาจากน้ำหวานมีสถานะเป็น ของเหลว เมื่อทำให้เย็นลงจนถึงระดับหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
น้ำผลไม้มีสถานะเป็นของเหลว เมื่อทำให้เย็นลงจนถึงระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนเป็นเกล็ดน้ำแข็งซึ่งมี สถานะเป็นของแข็งเนื่องจากสูญ เสียความร้อน และเมื่อเกล็ดน้ำ แข็งได้รับความร้อนจากอากาศ จะเปลี่ยนสถานะกลับมาเป็น ของเหลวเหมือนเดิม
ของเหลวเมื่อสูญเสียความร้อนจนเย็นลงถึง ระดับหนึ่ง จะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง เรียกว่า การแข็งตัว ส่วนของแข็งที่ได้รับ ความร้อนและเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว เรียกว่า การหลอมเหลว ทั้งการแข็งตัวและ การหลอมเหลวไม่มีการเปลี่ยนเป็นสารใหม่ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
กิจกรรมที่ 1.3 หนังสือหน้า88 พิมเสนมีการเปลี่ยนแปลง สถานะอย่างไร จุดประสงค์ของกิจกรรม สังเกตและอธิบายการเปลี่ยนสถานะของพิมเสน
กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนแปลงสถานะอย่างไร 1.เมื่อให้ความร้อนกับพิมเสนผลการสังเกตเหมือนหรือแตกต่างจากผลการ อภิปรายอย่างไร เหมือนกัน พิมเสนเมื่อได้รับความร้อนกลายเป็นไอ ไม่เป็นของเหลว 2.พิมเสนมีการเปลี่ยนสถานะอย่างไรบ้าง เรียกการเปลี่ยนสถานะนั้นๆ ว่า อะไร เปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส
กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนแปลงสถานะอย่างไร 3. การเปลี่ยนสถานะของพิมเสนเกี่ยวข้องกับพลังงานความร้อนอย่างไร พิมเสนเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นไอโดยไม่เปลี่ยนเป็นของเหลว ก่อนและเมื่อไอของพิมเสนเย็นลงจะเปลี่ยนกลับมาเป็นของแข็ง ระเหิด
กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนแปลงสถานะอย่างไร 4. การเปลี่ยนสถานะของพิมเสนเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือไม่ รู้ได้อย่างไร เป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ พิมเสนเปลี่ยนเป็นไอ ซึ่งมีสถานะเป็น แก๊ส และเมื่อไอของพิมเสนเย็นลงหรือสูญเสียความร้อน จะเปลี่ยนกลับมา เป็นของแข็งที่เป็นสารเดิมซึ่งมีสถานะ สี และกลิ่นเหมือนเดิม ไม่มีการ เปลี่ยนเป็นสารใหม่
กิจกรรมที่ 1.3 พิมเสนมีการเปลี่ยนแปลงสถานะอย่างไร 5. จากกิจกรรมนี้ สรุปได้ว่าอย่างไร ของแข็งเป็นแก๊สโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อนว่า การระเหิด และเรียกการ เปลี่ยนสถานะของแก๊สเป็นของแข็งโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อนว่า การ ระเหิดกลับ
ไอโอดีนเป็นของแข็งสี ม่วง เมื่อเปลี่ยนสถานะ เป็นแก็ส ได้ไอของ ไอโอดีนซึ่งมีสีม่วง
การควบแน่ นของไอน้ำ เมื่อวางก้อนน้ำแข็งไว้ อาจสังเกตเห็นไอสีขาวคล้ายควันลอยอยู่เหนือก้อนน้ำแข็ง ไอสีขาวที่ เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากน้ำแข็งระเหิดเป็นไอ แต่เกิดจากไอน้ำในอากาศที่อยู่รอบ ๆ ก้อนน้ำแข็ง มีอุณหภูมิต่ำจนถึงระดับหนึ่ง ทำให้ควบแน่นเป็นของเหลว เมื่อของเหลวรวมตัวกันมากขึ้น จะทำให้มองเห็นเป็นละอองน้ำเล็กๆสีขาวจับตัวกัน ลอยอยู่บริเวณก้อนน้ำแข็งนั้น
การเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเป็นการ เปลี่ยนแปลงสมบัติบางอย่างของสารเช่น ขนาด รูปร่างลักษณะ สถานะ หลังจาก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ สารยังคง เป็นสารเดิม เช่น เมื่อนำน้ำแข็งใส่ในแก้ว แล้ววางไว้ อุณหภูมิของน้ำแข็งต่ำกว่า อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ความร้อนจึง ถ่ายโอนจากสิ่งแวดล้อมไปยังน้ำแข็งซึ่ง เป็นของแข็ง ทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นน้ำ ซึ่งเป็นของเหลว
การเปลี่ยนสถานะ ทั้งนี้น้ำแข็งและน้ำเป็นสารเดียวกันแต่มีสถานะต่างกัน เมื่อนำน้ำไปให้ความร้อน ความร้อน จากเปลวไฟทำให้น้ำเปลี่ยนเป็นไอน้ำซึ่งเป็นแก๊ส โดยที่น้ำและไอน้ำก็เป็นสารเดียวกันแต่มี สถานะต่างกัน และเมื่อไอน้ำสูญเสียความร้อน ไอน้ำก็จะเปลี่ยนกลับมาเป็นน้ำ
การเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนสถานะของสสารเกิดขึ้นเมื่อสสารได้รับหรือสูญเสียความ ร้อนจนถึงอุณหภูมิหนึ่ง โดยของแข็งเมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยน เป็นของเหลวเรียกว่า การหลอมเหลว และของเหลวเมื่อได้รับความ ร้อนเพิ่มขึ้นอีกก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส เรียกว่า การกลายเป็นไอ โดยเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะคือ การระเหยและการเดือด โดยการระเหย เกิดการเปลี่ยนสถานะขึ้นที่ผิวหน้าของของเหลว ส่วนการเดือดเกิด การเปลี่ยนสถานะทั่วทุกส่วนของของเหลวในทางกลับกัน เมื่อแก๊ส สูญเสียความร้อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวเรียกว่า การ ควบแน่น และเมื่อของเหลวสูญเสียความร้อนต่อไปอีก ของเหลวก็จะ เปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า การแข็งตัว
การเปลี่ยนสถานะ สำหรับของแข็งบางชนิด เช่น การบูร น้ำแข็งแห้ง ไอโอดีน ลูกเหม็น เมื่อได้รับความร้อน จะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อนเรียกว่า การระเหิด และ เมื่อแก๊สนั้นสูญเสียความร้อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งเรียกว่า การระเหิดกลับ
การเปลี่ยนสถานะ
เรื่องที่ 2 การละลาย คิดก่อนอ่าน 1. เพราะเหตุใด น้ำทะเลจึงมีรสเค็ม 2. น้ำแข็งเปลี่ยนเป็นน้ำ เป็นการละลายหรือไม่ เพราะเหตุใด
น้ำทะเลจึงมีรสเค็ม นั่นเป็นเพราะเมื่อฝนตกลงบนพื้นที่ที่มีสาร ต่าง ๆ และเกลือแกงหรือโซเดียมคลอไรด์ซึ่งมีรสเค็มปนอยู่ใน หินหรือดิน น้ำฝนจะละลายเกลือแกงและสารต่าง ๆ เหล่านั้น แล้วไหลลงสู่ทะเล เมื่อเวลาผ่านไป ปริมาณเกลือแกงที่สะสมใน น้ำทะเลจะมากขึ้น จึงทำให้น้ำทะเลมีรสเค็ม
น้ำแข็ง เปลี่ยนเป็นน้ำไม่ใช่การละลาย แต่เป็นการหลอมเหลว ซึ่งเป็นการ เปลี่ยนสถานะของสสารจากของแข็งเป็นของเหลว
กิจกรรมที่ 2 การละลายเป็นอย่างไร ทำเป็นคิดเป็น ทำกิจกรรมนี้เพื่อสังเกตและอธิบาย การละลายของสารในน้ำ
สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารละลาย เมื่อผสมสารบางชนิดกับน้ำ แล้วสารนั้นดูเหมือนหายไปในน้ำทำให้มองเห็น เป็นสารเนื้อเดียว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เป็นการละลาย แต่ถ้าสารไม่หายไป มอง เห็นเป็นสารเนื้อผสม จะไม่มีการละลายเกิดขึ้น การละลายเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการที่สารตั้งแต่2 ขนิดขึ้นไปมา รวมตัวกันเป็นเนื้อเดียวโดยหลังการเปลี่ยนแปลงสารแต่ละชนิดยังคงเป็นสารเดิม ซึ่ง สารผสมที่ได้เป็นสารละลายส่วนสารผสมของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมารวมตัวกัน แล้วไม่เห็นเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด เรียกว่า สารเนื้อผสม
เรื่องที่ 2 การละลาย เมื่อผสมสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเข้าด้วยกัน สารที่ได้เรียกว่าสารผสม สารผสมที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด จัดเป็นสารเนื้อเดียว ส่วนสารผสม ที่มองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียวกัน จัดเป็นสารเนื้อผสม การเปลี่ยนแปลงของสารที่ ผสมกันเป็นเนื้อเดียว โดยที่แต่ละสารยังคงเป็นสารเดิม เรียกว่า การละลาย และสารที่ได้เรียกว่า สารละลาย เช่น น้ำเชื่อมเป็นสารละลายที่เกิดจากน้ำตาล ทรายละลายกับน้ำสารละลายเอทานอลเป็นสารละลายที่เกิดจากเอทานอล ละลายกับน้ำ
เรื่องที่ 2 การละลาย สารละลายจะยังแสดงสมบัติของสารเดิมที่นำมาผสมกัน เช่น น้ำตาลทรายซึ่งมีรสหวานเมื่อละลายน้ำ จะได้สารละลายน้ำตาลทรายที่มี รสหวาน รสหวานเป็นรสชาติของน้ำตาลทรายที่อยู่ในน้ำนั่นเอง การ ละลายจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่ในบางครั้งเมื่อผสมสาร ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจเกิดการละลายไม่หมดจึงเห็นเป็นสารเนื้อผสม
Search