Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง

อินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง

Published by meeploy-swp, 2021-12-21 13:39:29

Description: อินเตอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง

Search

Read the Text Version

อินเตอร์เน็ต เพื่ อสรรพสิ่ง INTERNET OF THINGS

SHmoamret

1.SMART HOME ระบบสมาร์ทโฮม (Smart Home System) หรือ “ระบบบ้าน อัจฉริยะ” เป็นการนำอุปกรณ์ที่สามารถส่งสัญญานผ่าน อินเตอร์เน็ตได้ มาทำงานร่วมกับซอพท์แวร์ บนโทรศัพท์มือถือ ทำให้เราสามารถควบคุมระบบไฟฟ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือ ระบบรักษาความปลอดภัย ต่างๆ ภายในบ้านด้วยการกดปุ่มสั่ง การผ่านสมาร์ทโฟน (Smartphone) หรือใช้ เสียงพูด (Voice Command) ช่วยในการเปิดปิดหรือควบคุมการทำงานของ สิ่งของในบ้าน นอกจากจะช่วยให้การอยู่อาศัย และ การดูแลบ้านมี ความสะดวกสบาย ทันสมัยมากขึ้น ยังช่วยเรื่องความปลอดภัย และช่วยประหยัดทั้งเวลา และค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้นด้วย ประโยชน์ของ Smart Home บ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home คือตัวระบบที่จะคอยช่วยอำนวย ความสะดวกให้กับเจ้าของบ้าน ช่วยรักษาความปลอดภัย รวมถึง ควบคุมระบบต่างๆให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าตัวเราจะ ไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านก็ตาม ในเรื่องของประโยชน์ แน่นอนว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นจะต้องเป็นตัวช่วยเสริมคุณภาพ ชีวิตให้ดียิ่งขึ้น โดยมีการจำแนกประโยชน์ของ Smart Home ออกมาได้หลัก ๆ ดังนี้

1. Fast สั่งงานง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ในส่วนของ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่สามารถ เชื่อมโยงกันได้ ที่มักจะชอบใช้ชื่อประกอบผลิตภัณฑ์ ว่า Smart TV , Smart Refrigerator หรืออะไร ก็ตามที่มักจะมีคำว่า Smart อยู่ ล้วนแล้วแต่สามารถ สั่งงานผ่านทาง Smart Phone หรือ Tablet ได้ ซึ่ง รวมไปถึงการเปิดปิดไฟ ล็อกหรือปลดล็อกประตูบ้าน อีก 2. Safety มีความปลอดภัยสูง ในด้านของความปลอดภัยจากการใช้ Smart Home จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบ การเข้าออก บ้าน หรือ การตรวจสอบว่ามีประตูหรือหน้าต่างบาน ไหน ที่เราลืม หรือไม่ได้ล็อคใว้หรือไม่ รวมถึงการติด ตั้งระบบเปิดปิดประตูที่มีระบบล็อกอัตโนมัติ และยังมี ในส่วนของระบบกล้องวงจรปิดที่สามารถตรวจจับ ความเคลื่ อนไหวและแจ้งเตือนหากมีสิ่งผิดปกติเวลา ที่เราไม่อยู่บ้าน ซึงจะช่วยป้องกันอันตรายให้ชีวิตและ ทรัพย์สินของเราได้เป็นอย่างดี และทำให้เรารู้สึกอุ่นใจ เมื่อไม่อยู่บ้านอีกด้วย

3 Easyใช้งานง่าย ในส่วนของการใช้ Smart Home ทุกคนในบ้านสามารถใช้ งาน Technology นี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม มีระบบสั่งการ ที่หลากหลาย ไม่ต้องกังวลว่าผู้สูงอายุจะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะมีระบบสั่งงานด้วยเสียง ไม่ว่าจะเป็น เปิด/ปิด ไฟ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายและสะดวก 4. Save Energy ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ในส่วนของการใช้พลังงานภายในบ้านนั้นที่มีระบบ Smart Home นอกจากเราจะสามารถตรวจสอบภายในระบบว่าเรา ลืมเปิด/ปิดไฟตัวไหนแล้ว ปัจจุบันการใช้เซนเซอร์ในการเปิด ปิดไฟ เริ่มถูกใช้งานมากขึ้นเนื่องจากช่วยประหยัดพลังงาน ได้มาก และไม่ต้องกังวลว่าจะลืมปิดไฟด้วย 5. Safe cost ประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างน้อย 10 – 30% จากข้อที่ 4 ที่ว่า Smart Home คือ ตัวช่วยในการ ใช้พลังงานนั้น จึงส่งผลให้เกิดประโยชน์ในข้อที่ 5 นี้ขึ้นโดย อ้างอิงตามรายงานจากจาก US Environmental Protection Agecy พบว่าผู้ที่ใช้ Technology Smart Home ภายในบ้าน สามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 10 – 30% ต่อเดือนเลย

5. Safe cost ประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างน้อย 10 – 30% จากข้อที่ 4 ที่ว่า Smart Home คือ ตัวช่วยใน การใช้พลังงานนั้น จึงส่งผลให้เกิดประโยชน์ในข้อที่ 5 นี้ขึ้น โดยอ้างอิงตามรายงานจากจาก US Environmental Protection Agency พบว่าผู้ที่ใช้ Technology Smart Home ภายในบ้าน สามารถ ประหยัดค่าไฟได้ถึง 10 – 30% ต่อเดือนเลย 6. Future เทคโนโลยีของอนาคต สำหรับประเทศของเรานะคะ เทคโนโลยีSmart home ยังถือว่าเป็นของใหม่ และยังมีการใช้งานไม่มาก เนื่องด้วยปัจจัยหลาย ๆอย่าง แต่สำหรับหลายๆ ประเทศที่มีการพัฒนาสูง ๆ ได้มีการใช้เทคโนโลยีนี้กัน อย่างแพร่หลาย และในอนาคต สำหรับประเทศไทยนั้น ค่อนข้างเชื่อว่าในการใช้เทคโนโลยี Smart Home จะ ต้องมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต หรือ คุณภาพชีวิตของเราไม่มากก็น้อย อย่างแน่นอนค่ะ

SMART CITY

2.SMART CITY เมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เป็นรูปแบบการประยุกต์ เทคโนโลยีดิจิทัล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการ เพิ่มประสิทธิและคุณภาพของบริการชุมชน เพื่อช่วยในการลด ต้นทุน และลดการบริโภคของประชากร โดยยังคงเพิ่ม ประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพชีวิตที่ดี ขึ้น Smart City เป็นโครงการที่หลาย ๆ เมืองทั่วโลก พยายาม พัฒนาให้เข้ากับยุค 4.0 โดยการเอาเทคโนโลยีมาผสานกับการ ใช้ชีวิตของประชาชน ไม่ว่าจะทั้งด้านการขนส่ง การใช้พลังงาน หรือโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้เมืองที่สะดวกสบายเหมือนใน ฝัน เกิดขึ้นได้จริง ทั้งยังทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขกันด้วย แนวคิด Smart City เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนา อย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ซึ่ง เป็นรากฐานในการเชื่อมโยงอุปกรณ์หรือสิ่งของรอบ ๆ ตัวเข้า กับโครงข่ายการสื่อสารแบบอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการวาง ผังเมืองที่ชาญฉลาด รองรับการใช้ชีวิตที่สะดวกสบายรูปแบบ การบริหารจัดการเมืองแบบ Smart City เป็นการสร้างเมืองที่ จะมีการเติบโตอย่างยั่งยืน เน้นการจัดสมดุลของสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และเลือกใช้พลังงานสะอาด จึงช่วยลดปัญหา ทางด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหามลภาวะทางอากาศ น้ำเสีย ขยะ การ ระบายน้ำ ช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดี คุณภาพอากาศที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว และลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat Island Effect)

แม้ว่าประเทศไทยจะยังไม่มี Smart City ที่สมบูรณ์เป็นรูป เป็นร่าง แต่ก็กำลังขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่คัด เลือกเป็นเมืองอัจฉริยะต้นเเบบด้วยกัน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา โดยความร่วมมือของ 3 กระทรวง คือ กระทรวง พลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะซึ่งมี แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เน้น 5 เสาหลัก สำคัญ ดังนี้ เสาหลักที่ 1 การพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้าหมาย ในการเลือกเมืองที่มีศักยภาพ ที่จะใช้สำหรับการดำเนินงาน นำร่อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เสาหลักที่ 2 การปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เมืองอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายที่จะบูรณาการกฎหมายที่ เกี่ยวข้องทั้งระบบ เสาหลักที่ 3 สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการ พัฒนาเมืองอัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ มีเป้าหมายให้มีผู้รับผิด ชอบการบริหารจัดการพื้นที่ จัดเตรียมองค์กร ระบบ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการให้บริการสาธารณะ ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เสาหลักที่ 4 ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มีเป้าหมายในการส่งเสริมและต่อยอดการ พัฒนาเมืองอัจฉริยะที่สามารถนำไปปรับใช้สำหรับเมือง อัจฉริยะในอนาคต เสาหลักที่ 5 ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล ตลอดจนเข้าถึงการ เชื่อมโยงและการใช้งานข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่ ข้อมูล สร้างการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนการวางแผน ตลอดจนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ การที่จะเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) สมบูรณ์ แบบ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ 7 อย่าง ดังต่อไปนี้ 1.Smart Mobility การสัญจรอัจฉริยะ 2.Smart Community ชุมชนอัจฉริยะ 3.Smart Economy เศรษฐกิจอัจฉริยะ 4.Smart Environment สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ 5.Smart Governance การปกครองอัจฉริยะ 6.Smart Building อาคารอัจฉริยะ 7.Smart Energy พลังงานอัจฉริยะ



3.SMART GRID สมาร์ทกริด (Smart Grid) คือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน โดย ครอบคลุมตั้งแต่การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นตลอดทั้ง ห่วงโซ่ของระบบไฟฟ้าตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า การส่งไฟฟ้า การ จำหน่ายไฟฟ้า ไปจนถึงภาคส่วนของผู้บริโภค ได้อย่างชาญฉลาด การสื่อสารในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่าย ไฟฟ้าโดยใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจ เช่น เก็บข้อมูล พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าจากผู้ใช้งานและการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อทำการปรับปรุง ประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และ ความยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า นั่น คือผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปตั้งแต่ภาคบ้านเรือน ภาคอุตสาหกรรม ภาค ธุรกิจและการพาณิชย์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึงการ เชื่อมต่อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าและ เตรียมพร้อมรองรับการนำรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้งานในอนาคต เป็นต้น

ประโยชน์ของ Smart Grid : ด้านระบบไฟฟ้า - ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ามีความมั่นคง เชื่อถือได้และมีคุณภาพสูงขึ้น มาก - ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าจะสื่อสารกันได้อย่างทั่วถึง ทําให้เพิ่ม ประสิทธิภาพสูงขึ้น - ในกรณีที่เกิดปัญหาไฟฟ้าดับขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถกลับมาใช้ ไฟฟ้าได้ใหม่ภายในระยะเวลาอันสั้น ด้านบริการ - ผู้ใช้ไฟฟ้าตรวจสอบลักษณะการใช้ไฟฟ้าและลดค่าไฟฟ้าใน แต่ละเดือนได้ - มีระบบแจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องแบบอัตโนมัติ - มีบริการใหม่ ๆ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม - สนับสนุนให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประหยัดการใช้พลังงาน และผลิต พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม -สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการสร้างความมั่นคง ทางพลังงานของประเทศ - สร้างความปลอดภัยให้ชุมชน

SMART FARMING

4.SMART FARMING Smart Farming คือเกษตรกรที่มีการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีและระบบดิจิทัล นวัตกรรม รวมถึงข้อมูล หรือ แนวคิดทางธุรกิจแบบใหม่ เพื่อผลักดันประสิทธิภาพการผลิต ของตัวเองให้ได้มากที่สุด ภายใต้งบประมาณที่เหมาะสมที่สุด หลายคนเข้าใจว่าการทำงานของ Smart Farming นั้น ไกลตัว แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น การใช้อุปก รณ์สมาร์ทโฟนและแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูล การเกษตร การผลิตและการคำนวณหาการเพาะปลูกที่เหมาะ สมที่สุด ก็เป็นขั้นแรกของ Smart Farming แล้วแนวคิด ของ Smart Farming เพิ่มความเป็นไปได้ยิ่งขึ้นอีก เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล ที่ทำให้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IoT การใช้ งาน Big Data การใช้งานโดรน หรือการใช้หุ่นยนต์รูปแบบ ต่างๆ ร่วมกับการเกษตรก็สามารถหาได้ง่ายขึ้น ต้นทุนลดต่ำ ลง โดยการใช้งาน Smart Farmer มีตัวอย่างดังต่อไปนี้

ตัวอย่างของ Smart Farming การใช้เทคโนโลยี GPS เพื่อตรวจสอบพื้นที่การเกษตร และเทคโนโลยีจัดการข้อมูลเพื่อตรวจสอบสภาพภูมิ อากาศในออสเตรเลีย ทำให้เกษตรกรสามารถคาดเดา การรดน้ำใส่ปุ๋ยให้พืชผลของตนเองได้ การเกษตรของญี่ปุ่น ที่ภาครัฐและมหาวิทยาลัยได้มีการ ศึกษาแนวคิดรถแทร็กเตอร์ไร้คนขับ เพื่อนำมาใช้งาน แทนแรงงานคน โดยรถแทร็กเตอร์นี้จะสามารถทำงานได้ ทั้งการไถ หว่าน ให้ปุ๋ย จนถึงการเก็บเกี่ยว การนำเทคโนโลยี Big Data มาประยุกต์ใช้ในฟาร์มญี่ปุ่น เพื่อรวบรวมข้อมูลการปลูกพืชทั้งหมด มาวิเคราะห์ว่าการ ทำการเกษตรแบบไหนสามารถให้ผลตอบแทนได้ดีที่สุด เห็นได้ชัดว่าการทำการเกษตรด้วยแนวคิด Smart Farming นั้นครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนก่อนการหว่านเมล็ด จนถึง การขายสินค้า ทำให้เกษตรกรสามารถลดภาระของตัวเองได้ ด้วยการลงทุนในระบบที่ดีในระยะยาว

ประโยชน์ของการทำการเกษตรแบบ Smart Farming ลดการใช้แรงงานคน เนื่องจากงานบางส่วนจะมีการใช้ เทคโนโลยี เช่น โดรน หุ่นยนต์ รถไถอัตโนมัติ เข้ามาช่วย ดังนั้นจะลดภาระงานของคนโดยรวมได้ ได้สินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น การใช้เครื่องมือที่มีความ แม่นยำสูงเข้ามาช่วย จะทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่ม คุณภาพของสินค้าได้ ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ ปรับสัดส่วน ปุ๋ย การให้น้ำ การให้แสง เป็นต้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการทำงานที่มีการเก็บ ข้อมูลอยู่ตลอดและการจัดการในรูปแบบ Zero Waste ทำให้เกษตรกรสามารถคำนวณพื้นที่การปลูก รูปแบบ พันธุกรรมต่างๆ ให้มีคุณภาพที่ดี ตามต้องการของผู้บริค ในลักษณะต่างๆ หรือในลักษณะ customization เพื่อขาย ได้ในราคาที่เหมาะสม ไม่ล้นตลาด มีการขายที่ง่ายขึ้น ในปัจจุบันชาวนาชาวสวนสามารถเข้าถึง การขายได้ง่ายผ่านการตลาดออนไลน์ในแอปพลิเคชันต่างๆ โดยการสนับสนุนจากภาครัฐหรือบริษัทเอกชน

ชัดเจนว่าการนำระบบ Smart Farm มาประยุกต์ใช้นั้นได้ ประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะประเทศไทยที่การทำเกษตรยังคง เป็นหัวใจหลักของประชาชน ทว่าในการทำงานจริงนั้นอาจไม่ได้ สวยงามเสมอไป ซึ่งการทำงานดังกล่าวมีความเป็นไปได้ดังนี้ Smart Farmer ในไทยและการทำงานจริง สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับสำหรับการทำงานด้วย Smart Farm คือ การเข้าถึงเทคโนโลยีและะระบบดิจิทัลต่างๆ ยังคงเป็น อุปสรรคกับพี่น้องเกษตรกรอยู่ไม่น้อย จนสามารถกล่าวได้ว่า แนวคิดนี้ยังต้องใช้เวลาอีกมากสำหรับการประยุกต์ใช้งานจริง ขณะเดียวกัน ในหน่วยงานทั้งจากภาครัฐและเอกชนก็มีการ ลงทุนในด้านเทคโนโลยีนี้เพื่อทำให้การผลิตภายในประเทศดีขึ้น เช่นบริษัท เอไอ โรโบติกส์ เวนเจอร์ ในเครือ PTTEP ได้ร่วม ลงทุนในการสร้างระบบโดรนนวัตกรรมการเกษตร พร้อมบริการ ครบวงจร รวมถึงระบบการเก็บข้อมูล เพื่อทำให้ทางเกษตรกรเข้า ถึงเครื่องมือชนิดนี้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ปตท. ส่งเสริมและผลักดันกลุ่ม “วังจันทร์รวมรัก ปลูกผักแบ่งปัน” ในการสร้างร้านค้าผักวังจันทร์ ซึ่งเป็นตลาด ออนไลน์สำหรับจำหน่ายผลผลิตจากชุมชนราษฎรตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง จำนวน 8 หมู่บ้านครัวเรือนนำร่อง ผลกำไรจากการจำหน่ายผักจะปันผลคืนให้แก่สมาชิก แน่นอนว่าการใช้งานอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ระบบ IoT และการใช้ Robotics ในการเกษตร รวมถึง Smart Farmer เองก็ยังเป็น หนึ่งในหัวข้อสำคัญสำหรับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย คาดว่า หลังจากนี้ในส่วนของการเกษตรจะมีการใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญอย่างแน่นอน

สรุป การทำการเกษตรแบบ Smart Farmer นั้นมีส่วน ช่วยอย่างมากในการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้อง เกษตรกร ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ รวมถึงทำให้ผู้ บริโภคได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ทว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงเป็นเรื่องยากที่ จะกระจายเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลรวมถึงบอกเล่า ความรู้เหล่านั้นไปสู่มือของเกษตรกร จึงอาจเป็นหน้าที่ ของทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลและ สนับสนุนในระยะยาว เพื่อทำให้การเกษตรแบบอัจฉริยะนี้ กลายเป็นหนึ่งในหนทางพัฒนาคุณภาพของประเทศไทย ในอนาคต



5.CONNECTED CAR Connected Car เป็นการประยุกต์ใช้งานอย่างหนึ่งของ Internet of Things (IoT) โดยเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมา ประยุกต์ใช้กับยานยนต์และการคมนาคมขนส่ง ทำให้รถยนต์ สามารถสื่อสารกับสิ่งต่างๆ หรือเป็นเหมือน “สมาร์ทโฟนติดล้อ (Smartphone on wheels)” ตามคำกล่าวของ Akio Toyoda ประธานบริษัท Toyota Motor Corporation Connected Car จะทำให้เกิดบริการแอพพลิเคชันและรูปแบบ ธุรกิจใหม่ๆ ที่ช่วยให้การคมนาคมขนส่งมีความปลอดภัยมาก ขึ้น มีประสิทธิภาพคล่องตัวมากขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวก สบายให้แก่ผู้เดินทาง ดังนี้ 1. บริการด้านข่าวสารและความบันเทิง (Infotainment) โดยผู้โดยสารรถยนต์สามารถดูหนังฟังเพลง จากในรถที่ sync ข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือ ทำให้ประสบการณ์ ในการใช้งานระหว่างอุปกรณ์เป็นไปอย่างลื่นไหล ตัวอย่างเช่น Apple Carplay 2. บริการประกันภัยที่คิดเงินตามการขับจริง (Usage- based Insurance) โดยจากข้อมูลลักษณะการขับขี่จะทำให้ บริษัทประกันภัยสามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ขับขี่ได้ดีขึ้น และนำมาคิดค่าเบี้ยประกันตามพฤติกรรมในการขับรถได้ เช่น ผู้ขับขี่เป็นระยะทางสั้นๆ และใช้ความเร็วต่ำ ก็จะจ่ายค่าเบี้ย ประกันต่ำกว่าผู้ขับขี่ระยะทางไกลๆ และใช้ความเร็วสูง

4) บริการตรวจเช็ครถยนต์จากระยะไกล (Remote Diagnostic and Maintenance) โดยเซนเซอร์ที่อยู่บนรถยนต์จะตรวจวัด สภาพรถและส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการโดยอัตโนมัติ ทำให้ศูนย์ บริการสามารถวิเคราะห์สภาพรถและพยากรณ์การเสียของรถได้ ล่วงหน้าแล้วแจ้งให้ผู้ขับขี่นำรถมาซ่อมได้ก่อนที่จะเกิดการเสียจริง 5) การสื่อสารของรถยนต์กับสิ่งรอบตัว (Vehicle-to-Everything Communications: V2X) โดยมีทั้งการสื่อสารระหว่างรถยนต์ (Vehicle-to-vehicle: V2V) เช่น รถยนต์คันหน้าแจ้งเตือนรถยนต์ ที่ตามมาเมื่อมีการเบรกเพื่อความปลอดภัย การสื่อสารระหว่างรถ และโครงสร้างพื้นฐาน (Vehicle-to-infrastructure: V2I) เช่น สัญญาณไฟจราจรอาจแจ้งให้รถหลีกเลี่ยงเส้นทางรถติด ช่วย ให้การคมนาคมคล่องตัวขึ้น ซึ่งการสื่อสารของรถยนต์ในลักษณะนี้ จะเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในการเข้ามามีบทบาทใน อุตสาหกรรมยานยนต์ ตัวอย่างเช่น การจัดตั้งสมาคม 5G Automotive Association ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้เล่นใน อุตสาหกรรมโทรคมนาคมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ 6) การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยสามารถนำ ข้อมูลจากเซนเซอร์ต่างๆ ที่ติดตั้งในรถยนต์มาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงระบบการคมนาคมขนส่งและการพัฒนาเมือง ตาม แนวคิดของเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ได้ เช่น หากเซนเซอร์ ตรวจพบการเบรกของรถยนต์บนถนนเส้นหนึ่งอย่างผิดปกติ อาจ เป็นไปได้ว่าผู้ใช้ทางเบรกเนื่องจากถนนดังกล่าวเกิดการทรุดตัว ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาใช้ในการแจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อซ่อมแซม ถนนได้ 7) การขับขี่โดยอัตโนมัติ (Automated Driving) โดยนำการสื่อสาร มาใช้ร่วมกับเซนเซอร์ต่างๆ ซึ่งใช้ในการตรวจจับสิ่งที่อยู่รอบตัว



6.SMART RETAIL ระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Retail Solution) ในยุค ที่เทคโนโลยีมีการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญใน ชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของทุกคน คงเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ใน รอบหลายปีที่ผ่านรูปแบบการซื้อของผู้บริโภคมีแนวโน้มที่ เปลี่ยนแปลงไปจากกระแสเทคโนโลยี (Technology disruption) อาทิเช่น การซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ (Online shopping) แว่นตาภาพเสมือนจริง(Virtual reality) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) การปรับตัวให้ก้าวทันต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในทุกๆ วัน จึง เป็นความท้าทายของผู้ประกอบการหลายๆ รายที่ต้องแข่งขันกัน และเรียนรู้เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในด้านอุตสาหกรรมค้าปลีกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซื้อและเข้า ถึงสินค้าที่ต้องการของผู้บริโภคกับพฤติกรรมการซื้อ การลด ต้นทุนของการดำเนินงาน(Operation cost) และการเก็บข้อมูล ลูกค้า (Customer static) จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแนวโน้ม อุตสาหกรรมร้านค้าปลีกยุคใหม่ (Smart Retail solution) ซึ่งมี จุดเด่นหลักดังต่อไปนี้

1. ระบบป้องกันบุคคลต้องสงสัยจากใบหน้า (Face recognition) เพื่อป้องกันการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการโจรกรรม โดย บุคคลผู้ต้องสงสัยเดิม ผู้ประกอบการสามารถนำใบหน้าของ ผู้ต้องสงสัยจากการโจรกรรมในร้านค้ามาบันทึกในระบบ เพื่อ ป้องกันการกระทำผิดซ้ำหากผู้ต้องสงสัยย้อนกลับมาที่ร้าน 2. ระบบนับจำนวนบุคคลด้วยกล้อง (People counting camera) สามารถนับจำนวนของลูกค้าในจุดเข้า-ออก แล้วทำรายงาน ทางสถิติเพื่อวางแผนการใช้ทรัพยากรบุคคลในแต่ละช่วง เวลาและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ

3. ระบบภาพแสดงความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ (heatmap) ระบบเก็บข้อมูลความหนาแน่นของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ สามารถทำรายงานกำหนดช่วงเวลาต่างๆ เพื่อนำมา วิเคราะห์พื้นที่หรือสินค้าที่ได้รับความนิยม บริหารจัดการ พื้นที่ให้เกิดความสะดวกสบาย และวางแผนการขายให้มี ประสิทธิภาพ 4. ระบบนับคนในขณะเข้าคิว (People counting in queue) เป็นระบบแจ้งเตือนเมื่อมีลูกค้ารอคิวมากกว่าที่กำหนดไว้ ในชุดเช็คอิน หรือจุดชำระสินค้า เพื่อแจ้งเตือนไปยังผู้ ประกอบการให้ทราบโดยทันที

5. ระบบตรวจจับความหนาแน่นของชั้นวางสินค้า (shelf fullness check) ระบบจับภาพชั้นวางสินค้าและแจ้งเตือนปริมาณของ สินค้าที่เหลืออยู่ไปยังพนักงานให้มาเติมสินค้าให้เต็ม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างโอกาสการขายสินค้าให้มี ประสิทธิภาพสูงสุด ลดการเสียโอกาสจากชั้นวางสินค้าที่ ไม่เต็ม



7.SMART WEARABLE แวร์เอเบิ้ล (Wearable) คืออะไร? มีประวัติความ เป็นมาจากไหน? Wearableก็คืออุปกรณ์สวมใส่ติดตัวกับร่างกายเสมือน ว่าสิ่งของชิ้นนี้ที่เราพกพาเป็นดั่งอวัยวะส่วนนึงของ ร่างกายที่เราจะขาดเสียไม่ได้ในชีวิตประจำวันหรือห่างตัว เราไม่ได้เลยหากคิดและมองให้ดี Wearable มันก็เหมือน ของเล่นที่เราเล่นหรือใช้จนเกิดอาการเสพติดขาดมันไป เราก็ลงแดงแล้วถ้าเราย้อนอดีตไปในช่วงยุคต้น ๆ จาก การที่ผมสืบค้นหาข้อมูลจากหลาย ๆ เว็บที่มีเรื่องราว ประวัติของ Wearable พบว่ามันเริ่มมาจากสิ่งประดิษฐ์ ง่าย ๆ อย่าแว่นตาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศอิตาลี ในช่วง ค.ศ 1285 และมีการพัฒนาตัวแว่นตามาเรื่อย โดยเริ่มต้นโดยบาทหลวง Giordano da Pisa เป็นผู้ คิดค้นแว่นตาขึ้นมานับเป็นเวลาถึง 12 ปีที่เขาคิดค้นและ พัฒนาและนำสู่การปฏิวัติให้ผู้คนที่มีปัญหาทางสายตาได้ มองเห็นได้อย่างชัดเจนเหมือนเป็นคนปกติหรืออย่าง เครื่องคิดเลขอย่างลูกคิดที่ชาวจีนคิดค้นขึ้นในช่วงยุค ทศวรรษที่ 17 และดัดแปลงให้มันเล็กลงจนเป็นแหวน เป็นต้น

Wearable Technology ในยุคใหม่เริ่มต้นจากไหน? Wearable หรืออุปกรณ์สวมใส่นั้นตามที่กล่าวตอบ ไว้แล้วและหลาย ๆ คนรู้จักดีอย่าง Smartwatch ที่ คนใน ยุคไอทีอยากได้มาใช้งานโดยมีประโยชน์ในด้านช่วยให้คน เราที่รักสุขภาพหรือรักการออกกำลังกายได้รับรู้ว่าแต่ล่ะวัน ใช้พลังงานไปกี่แคลโลรี่ เดินวิ่งไปกี่ก้าว นอนไปกี่ชั่วโมง หรือตั้งเวลากำหนดแจ้งเตือนหรือใช้งานร่วมกับ Smart Phone เพื่อช่วยแจ้งเตือนนัดหมาย แจ้งเตือนว่ามีมิสคอล กี่สาย มีแมสเซสข้อความเข้ามันก็ช่วยให้เราคล่องตัวขึ้นแต่ นั้นมันไม่ได้เหมาะกับคนทุกคนเพราะ Life Style แต่ล่ะคน ต่างกันไปอีกอย่างเจ้าตัว Wearable ในยุคไอทีมีความ เกี่ยวข้องกับงานด้านแฟชั่นรวมอยู่ด้วยตัวอย่าง Wearable ที่เกิดขึ้นมาสำหรับผู้ชื่นชอบออกกำลังกายและ เป็นจุดเริ่มต้นก็คงเป็นอุปกรณ์ของไนกี้คือ Nike+ FuelBand Wearable Technology มีชื่อเรียกว่าแยกประเภทใด บ้าง? 1.Smart Glasses 2.smart watch 3.smart ring 4.smart bracelet 5.smart shoes

สรุป ไม่ว่าโลกของเราและเทคโนโลยีจะหมุนไปเร็วเพียง ใดเราจะมีอุปกรณ์คอยช่วยอำนวยความสะดวกและ ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของเราที่แสนจะ ยุ่งเหยิงแค่ไหนตัวเราก็ยังคงคอยพึ่งพาอาศัย เทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อให้ทันโลกทันเกมการ แข่งขันเพราะชีวิตคือ “การแข่งขัน” ที่มีมูลค่าสูงกว่า เงินทองหรือสิ่งใด ๆ แต่เราจะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Wearable ต่าง ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้อย่างไร้ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดก็ขึ้นกับตัวเราเอง



8.SMART SUPPLY CHAIN Supply Chain คือ Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน คือกระบวนการตั้งแต่การติดต่อซัพพลายเออร์เพื่อนำวัตถุดิบจน เข้าสู่กระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ การจัดเก็บ จนถึง ขั้นตอนการนำส่งถึงมือลูกค้า เป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจำเป็นต้อง ศึกษาเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเพิ่ทโอกาสแห่งการเติบโตในอนาคต หากแปลอย่างเข้าใจง่าย Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง กระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่ก่อนผลิตสินค้ากระทั่งนำ สินค้าไปสู่กลุ่มผู้บริโภคเพื่อความพึงพอใจสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการ จัดซื้อวัตถุดิบ, การผลิต, การจัดเก็บ, การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามา เป็นตัวช่วย, จัดจำหน่ายสินค้า, การขนส่งสินค้า ซึ่งตรงนี้หาก สังเกตดี ๆ จะเห็นว่าทุกกระบวนการมีความเชื่อมโยงถึงกัน ทั้งหมด และต้องผ่านขั้นตอนตามมาตรฐานเพื่อให้ผู้บริโภคเกิด ความประทับใจต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว Supply Chain มีประโยชน์อย่างไร เมื่อรู้ถึงความหมายของ Supply Chain กันแล้ว คราวนี้ก็มาเข้าเรื่องราวของประโยชน์ที่จะช่วยให้เห็นภาพชัดเจน ยิ่งขึ้นว่า หากมีระบบ Supply Chain ซึ่งจริง ๆ รวมถึง Supply Chain Management หรือ ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ที่ ดี ย่อมช่วยส่งเสริมความสำเร็จให้กับองค์กรได้เยอะมาก และนี่ คือประโยชน์ของ Supply Chain

1. มีระบบขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน เมื่อทุกอย่างถูกวางเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตด้วยซ้ำ นั่นคือจัดซื้อ วัตถุดิบต่าง ๆ ไปจนถึงกระบวนการจัดเก็บ, การซื้อขายสินค้า, การขนส่ง ท้ายที่สุดคือไปถึงมือลูกค้า นั่นแสดงให้เห็นว่าหากมีวิธีบริหารจัดการ supply chain ที่ดีจะช่วยให้การทำงานคล่องตัว มีความเป็นขั้นตอน ชัดเจน พนักงานทำงานง่ายขึ้น ตัวผู้บริหารรับรู้ถึงปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ แก้ไขได้รวดเร็ว 2. องค์กรเดินหน้าได้เร็วกว่าคู่แข่ง เมื่อระบบจัดการต่าง ๆ มีประสิทธิภาพย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้องค์กร สามารถเดินหน้าได้เร็วกว่าคู่แข่งของตนเอง เรื่องนี้เป็นสิ่งเพิ่มโอกาสแห่ง ความสำเร็จให้กับคนทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะทุก ๆ องค์กรย่อมมีเป้า หมายของตนเองชัดเจนอยู่แล้ว เมื่อนำระบบจัดการที่มีมาตรฐานเข้ามา เสริมอีก คราวนี้ก็เดินหน้าแบบก้าวกระโดดกันเลย 3. ประหยัดต้นทุนมากขึ้น เรื่องต้นทุนเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะยิ่งต้นทุนสูงแต่ราคา ขายเท่าเดิม หมายถึง การขาดทุนกำไร แต่เมื่อกำไรก็ไม่มีแต่ต้นทุนยังสูง เหมือนเดิม เท่ากับการขาดทุนแบบจริงจัง ดังนั้นระบบ Supply Chain จะ ช่วยให้คุณรู้ว่าแต่ละขั้นตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นเท่าไหร่ สามารถควบคุมหรือลดปริมาณต้นทุนบางส่วนที่ไม่จำเป็นลงได้ 4. สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ท้ายที่สุดการมีระบบ Supply Chain ที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และอยากกลับมาซื้อสินค้าของคุณอยู่เรื่อย ๆ ตรงนี้ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจ ที่จะเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็คาดหวังอยาก ให้เกิดขึ้นทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้การบริหารจัดการระบบ Supply Chain ให้ถูก ต้อง จะช่วยให้องค์กรก้าวไปตามจุดมุ่งหมายที่คาดหวังเอาไว้ได้จริง

องค์ประกอบของ Supply Chain มีอะไรบ้าง ในด้านองค์ประกอบของระบบ Supply Chain คือ รูปแบบ การทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีความเชื่อมโยงเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย เดียวกัน นั่นคือ ความพึงพอใจของลูกค้า ตั้งแต่เริ่มต้นจัดหา จัด ซื้อวัตถุดิบ, การผลิต ไปจนถึงขั้นตอนต่าง ๆ หลังการผลิตและถึง มือลูกค้า ซึ่งหลัก ๆ แล้วสามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ 1. Upstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานที่เตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต ตรงนี้ปัจจัยหลัก ๆ ขององค์ประกอบก็คือ การจัดหาซัพพลายเออร์ (Supplier) ที่ดี เพื่อการจัดซื้อวัตถุดิบต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ราคาคุ้มค่า เหมาะกับการนำมาใช้เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตต่อไป 2. Internal Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานในระหว่างขั้นตอนการผลิต อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ การเปลี่ยนจากวัตถุดิบที่จัดซื้อเข้ามาสู่ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการออกสู่ ท้องตลาด หลัก ๆ เลยจะต้องมีผู้ผลิต, การนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาประกอบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของลูกค้า และเป็นไปตามมาตรฐานที่วางเอาไว้มากที่สุด ไปจนถึงขั้นตอนการ จัดเก็บสต็อกสินค้าอย่างมีระเบียบ มีพื้นที่เหมาะสม 3. Downstream Supply Chain ห่วงโซ่อุปทานเข้าสู่ขั้นตอนส่งถึงมือลูกค้า หลังจากผ่านการนำเข้า วัตถุดิบจนถึงการผลิต ท้ายที่สุดผลิตภัณฑ์ก็ต้องถูกส่งให้ถึงมือ ลูกค้า ซึ่งจะมีส่วนเกี่ยวข้องหลัก ๆ คือ ช่องทางการซื้อ-ขาย, การ ขนส่งสินค้า และความพึงพอใจของลูกค้าเมื่อได้ใช้งานผลิตภัณฑ์ ดังกล่าว

การจัดการ Supply Chain 5 กระบวนการ ท้ายที่สุดเพื่อสร้างระบบ Supply Chain อย่างมีประสิทธิภาพ มา ทำความเข้าใจกับแนวทางการจัดการทั้ง 5 กระบวนการ เพื่อเป็นตัวช่วย ให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง 1. การจัดซื้อวัตถุดิบ Purchasing ส่วนสำคัญมาก ๆ ในเรื่องนี้คือการจัดหาซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งทีมฝ่ายจัดซื้อต้องมีความเชี่ยวชาญ สามารถต่อรองราคาได้ ในจำนวนที่เหมาะสม คุ้มค่ากับต้นทุนที่จ่ายไปจริง ๆ นี่คือปัจจัยสำคัญ ลำดับแรกของกระบวนการจัดการ Supply Chain 2. การผลิต Manufacturing เมื่อได้วัตถุดิบมาแล้วก็เข้าสู่กระบวนการผลิต ตรงนี้จะมีเรื่องของ เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพื่อเป็นตัว ช่วยในการผลิตให้เกิดความทันสมัย สินค้าออกมามีคุณภาพ ได้ มาตรฐานตามความพึงพอใจของลูกค้า เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ห้ามมองข้าม เด็ดขาด 3. การตลาด Marketing แม้ว่าการผลิตสินค้าจะยังไม่เสร็จดีแต่กระบวนการต่อมาของ Supply Chain ที่ต้องทำรอเอาไว้ล่าวงหน้าเลยคือ ช่องทางการตลาด หรือบาง คนอาจเรียกแค่ช่องทางการซื้อ-ขายก็พอได้ หลักคือทำให้คนหันมา สนใจและยินดีใช้สินค้าของธุรกิจมากที่สุด เช่น มีการโฆษณา, สร้างโปร โมชั่น, กำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสม เป็นต้น กระบวนการเหล่านี้คืออีก หัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างคุ้มค่า เพราะถ้า ผลิตมาแต่การตลาดไม่ดีก็มีสิทธิ์จมทุน

4. การกระจายสินค้า Distribution ต้องแยกความต่างจากการขนส่งก่อน การกระจายสินค้าในระบบ Supply Chain จะเน้นไปที่เรื่องของสต็อกสินค้าเป็นหลัก อธิบายแบบ เข้าใจง่ายคือ หลังการผลิตสินค้าเสร็จอาจมีการกระจายสินค้าไปไว้ตาม สต็อกหลาย ๆ แห่ง เพื่อให้สะดวกต่อการขนส่งในลำดับต่อไป ซึ่งคลัง สินค้าจะต้องมีมาตรฐานเพื่อให้สินค้าไม่เกิดความเสียหาย 5. การขนส่ง Logistics ท้ายที่สุดของกระบวนการ Supply Chain คือ การขนส่งสินค้าไปยัง ลูกค้า ซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ผู้บริโภคคนสุดท้ายเสมอไป แต่อาจเป็น ช่องทางการจัดจำหน่ายที่ได้ตกลงกันไว้ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ, ร้านโชห่วย ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งความสำคัญของระบบขนส่งคือ ต้องตรงเวลา สินค้า ไม่เกิดความเสียหาย ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Supply Chain เชื่อว่าจะช่วยเพิ่ม ความเข้าใจให้กับธุรกิจได้มากขึ้นกว่าเดิม และอย่าลืมว่านี่เป็นระบบที่มี ความสำคัญมาก ๆ ดังนั้นอย่าคิดแค่การทำแบบผิวเผินเท่านั้น แต่ต้อง เจาะลึกในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ธุรกิจเดิน ไปข้างหน้าอย่างมั่นคงไม่ยาก

บรรณานุกรม ribbiebo. (2015). Smart home คืออะไร?. [ออนไลน์]. จาก:https://www.indyinsights.info Engineering Today. (2020). เมืองอัจฉริยะ (Smart City) คืออะไร และจะเกิดขึ้นได้อย่างไร.[ออนไลน์]. จาก:https://www.engineeringtoday.net การไฟฟ้านครหลวง. (2020). Smart Grid คืออะไร ? ตอบ สนองวิถีชีวิตคนในเมืองอย่างเราได้ยังไงนะ .[ออนไลน์]. จาก:https://www.mea.or.th/content/detail/82/3131/5524 expresso. (2020). Smart Farmer คืออะไร ? ช่วยลดต้นทุน ทางการเกษตรได้อย่างไรบ้าง .[ออนไลน์]. จาก:https://blog.pttexpresso.com/what-is-smart-farmer/ Techsauce Team. (2018). Connected Car : เทคโนโลยี ดิจิทัลกับยานยนต์. [ออนไลน์].จาก:https://techsauce.co/tech-and- biz/connected-car entech. (2021). ระบบร้านค้าปลีกอัจฉริยะ (Smart Retail Solution) .[ออนไลน์]. จาก:https://www.entech.co.th ByakkoHD. (2015). แวร์เอเบิ้ล (Wearable) เทคโนโลยีเคียง คู่ Life Style สุดล้ำหน้า.[ออนไลน์]. จาก:https://ireview.in.th/article-what-is-wearable- technology/ tIGER. (2021). Supply Chain คืออะไร? 5 กระบวนการ จัดการห่วงโซ่อุปทาน.[ออนไลน์]. จาก:https://thaiwinner.com/supply-chain/


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook