Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา

Published by นอหนู จันทร์นาค, 2020-07-03 07:41:11

Description: วันอาสาฬหบูชา

Search

Read the Text Version

วันอาสาฬหบูชา พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้น การพัฒนาคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ โดยใช้คุณธรรมและสติปัญญาในการดาเนินชีวิตเพ่ือพัฒนาตนเอง และรว่ มมอื ร่วมใจกันพฒั นาชุมชน พัฒนาสังคม และพฒั นาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง โดยมีวัดเป็นแหล่ง เรียนรู้ของสังคมไทยต้ังแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชายไทยได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนดี เป็นกาลงั สาคัญในการพัฒนาชาตไิ ทย เพ่อื ใหค้ นไทยประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศลี ธรรมอันดีงาม จากความสาคัญท่ีพระพุทธศาสนามีบทบาทกับสังคมไทย ประเทศไทยจึงได้รับการยกย่อง ใหเ้ ปน็ ศนู ย์กลางพระพุทธศาสนาโลก ในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะวันอาสาฬหบูชาซึ่งเป็นวันที่ พระสัมมาสมั พทุ ธเจา้ ทรงแสดงปฐมเทศนาเปน็ ครั้งแรกในโลก ช่ือว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ทาให้โกณฑัญญะพราหมณ์ ได้ดวงตาเห็นธรรม ทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์รูปแรกในโลก และเป็นวันท่ีบังเกิดพระรัตนตรัย ครบทงั้ ๓ ประการ คอื พระพทุ ธ พระธรรม และพระสงฆ์ ดังน้ัน เม่ือวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาดังกล่าวเวียนมาบรรจบ จึงเป็นโอกาสท่ีดีที่ทุกภาคส่วน ของสังคมไทยจะได้ร่วมมือร่วมใจส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ปลุกจิตสานึกคนในชาติให้ยึดมั่น และเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้ประชาชนมีความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะมากขึ้น จากการเข้าร่วมกิจกรรมในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนานับเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้น้อมนาหลักธรรม คาสอนไปประพฤติปฏิบัติสร้างคุณความดี ได้เข้าใกล้พระพุทธศาสนา นอกจากได้ร่วมสืบทอดอายุ พระพุทธศาสนาให้ย่ังยืนถาวรตลอดไปแล้ว ยังเป็นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของประชาชนทุกภาคส่วน ในสังคมไทยมีส่วนร่วมโดยพรอ้ มเพรียงกันท่วั ประเทศ เพ่อื ประโยชนแ์ กต่ นเองสังคมและประเทศชาติโดยรวม

-๒- ความหมายของอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ (ข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๘) เน่ืองในโอกาสคลา้ ยวันทีพ่ ระพทุ ธเจา้ ทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกดิ มพี ระสาวกรูปแรกขึน้ ในพระพุทธศาสนาจนถอื ได้ว่าเป็นวันแรกทม่ี ี พระพทุ ธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบเป็นองคพ์ ระรตั นตรัย ความสาคญั ของอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) เน้ือหาว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ท่ีนาไปสู่การบรรลุนิพพาน ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรกท่ีเป็น ประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในบรรดาประเทศที่นับถือ พระพทุ ธศาสนาท่ีประกาศให้มวี ันอาสาฬหบชู า และถอื ปฏิบตั ิมาจนกระท่ังปจั จุบัน พระพุทธศาสนา ได้ประดิษฐานขึ้นในโลก นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 2,500 ปีมาแล้ว เมื่อย้อนไปครั้งอดีต กาลในวันขึ้น 15 ค่า เดือน 8 พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ‘ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร’ แก่ปัญจวัคคีย์ ท้ัง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี จนกระท่ังท่านอัญญาโกญฑัญญะหน่ึงในปัญจวัคคีย์ได้บรรลุโสดาบัน และทูลขอบวชกับ พระพุทธองค์นับเป็นพระอริยสาวกรูปแรก และเป็นวันท่ีพระรัตนตรัยครบองค์สาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เราเรยี กวนั น้ีว่า ‘วันอาสาฬหบูชา’ ความเป็นมาของวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย วันอาสาฬหบูชาได้รับการกาหนดให้เป็นวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ใน พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยคณะสังฆมนตรี (มหาเถรสมาคม) ในสมัยน้ัน ได้มีมติให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาเป็นวันสาคัญ ทางพุทธศาสนา (ในประเทศไทย) ตามคาแนะนาของพระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) โดยคณะสังฆมนตรี ได้ออกเป็นประกาศสานักสังฆนายก กาหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสาคัญทางพุทธศาสนาพร้อมทั้งกาหนด พิธีอาสาฬหบูชาขึน้ เมือ่ วนั ท่ี ๑๔กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ ไมป่ รากฏหลกั ฐานในประเทศไทยว่าในสมัยกอ่ น พ.ศ. ๒๕๐๑ เคยมีการประกอบพธิ ีอาสาฬหบูชามาก่อน การกาหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาของสานักสังฆนายกในครั้งน้ี เป็นครั้งแรก ทม่ี ีการกาหนดแบบแผนการประกอบพิธนี อ้ี ยา่ งเปน็ ทางการ โดยหลงั จาก พ.ศ. ๒๕๐๑ ซึ่งเป็นปีแรกที่เร่ิมมีการ รณรงคใ์ ห้มกี ารประกอบพธิ ีอาสาฬหบูชา พทุ ธศาสนิกชนชาวไทยได้ร่วมใจกันประกอบพิธีน้ีกันอย่างกว้างขวาง และแพร่หลายไปทุกจังหวัด จนกลายเป็นพิธีสาคัญของพุทธศาสนิกชนไทยต้ังแต่น้ันมา ดังนั้นในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ คณะรัฐมนตรีนาโดยจอมพลสฤษด์ิ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยน้ัน จึงได้ลงมติให้ ประกาศกาหนดเพ่ิมให้วันอาสาฬหบูชา หรือวันข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๘ (ปีที่ตรงกับอธิกมาส) และวันข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๘ หลัง (ปีที่ไม่ตรงกับอธิกมาส) เป็นวันหยุดราชการประจาปีอีก ๑ วัน เพ่ือเป็นการให้ความสาคัญ กับวันดังกล่าว ตลอดจนเป็นการอานวยความสะดวกแก่พุทธศาสนิกชนที่จะไปประกอบพิธีกรรม ทางพระพทุ ธศาสนาด้วย

-๓- การประกอบพธิ ีทางศาสนาในวันอาสาฬหบูชาของประเทศไทย การประกอบพธิ ีทางศาสนาในวนั อาสาฬหบูชาได้มีการกาหนดเป็น ๒ ลักษณะ คือ การจัดงานพระราชพิธี และพิธีราษฎร์ ซ่งึ มรี ายละเอยี ด ดังน้ี ๑. พระราชพิธี การพระราชพิธีบาเพ็ญพระราชกุศลเน่ืองในวันอาสาฬหบูชา มีช่ือเรียกทางการว่า “พระราชพิธีทรงบาเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และเทศกาลเข้าพรรษา ” ซ่ึงเดิมก่อน พ.ศ. ๒๕๐๑ เรียกเพียง การพระราชพิธีทรงบาเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเข้าพรรษา แต่หลังจาก มีการกาหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสาคัญทางพระพุทธศาสนาใน พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้ว สานักพระราชวัง จึงได้กาหนดวันอาสาฬหบูชาเพิ่มเติมขึ้นมา การพระราชพิธีน้ีโดยปกติพระมหากษัตริย์ เป็นองค์ประธาน ในการพระราชพิธีดังกล่าว แต่บางครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์ โดยสถานท่ีประกอบพระราชพิธีหลักจะจัด ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง การสาคัญของพระราชพิธี คือการถวายพุ่มเทียนเคร่ืองบูชาแก่พระพุทธปฏิมาและพระราชาคณะ รวมท้ังการ พระราชทานภัตตาหารแก่พระราชาคณะ ฐานานุกรม เปรียญ ซึ่งรับอาราธนามารับบิณฑบาตในพระบรมมหาราชวัง เป็นประจาทุกปี เป็นต้น ซ่ึงการพระราชพิธีน้ีเป็นการแสดงออกถึงพระราชศรัทธาอันแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ของพระมหากษัตริย์ไทยผทู้ รงเป็นเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภกมาตั้งแต่อดตี จนถงึ ปจั จบุ นั

-๔- ๒. พิธีราษฎร์ การประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนาเน่ืองในวันอาสาฬหบูชาของพุทธศาสนิกชน ชาวไทยโดยทั่วไปนิยมทาบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนรอบอุโบสถหรือสถูปเจดีย์พุทธสถานต่าง ๆ ภายในวัด เพื่อเปน็ การระลึกถงึ วันคลา้ ยวันที่เกดิ เหตุการณส์ าคัญของพระพทุ ธศาสนาในวนั ข้นึ ๑๕ ค่า เดอื น ๘ โดยแนวปฏบิ ตั ิในการประกอบพธิ ีในวันอาสาฬหบชู า ตามประกาศสานักสงั ฆนายกที่คณะสงฆ์ไทยได้ถือเป็นแบบแผน มาจนถึงปัจจุบันนี้คือ ให้คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจัดเตรียมสถานที่ก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา โดยมีการทา ความสะอาดวัด และเสนาสนะต่าง ๆ จัดตั้งเคร่ืองพุทธบูชา ประดับธงธรรมจักร และเมื่อถึงวันข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๘ ก็จัดแสดงพระธรรมเทศนาตลอดทั้งวัน เมื่อถึงเวลาค่ามีการทาวัตรสวดมนต์และสวดบทพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร มีการแสดงพระธรรมเทศนาในเน้อื หาท่ีเกีย่ วกับพระธัมมจักกปั ปวัตตนสตู ร นาสวดบทสรภัญญะบูชาคุณพระรัตนตรัย และให้พระสงฆ์นาเวียนเทียนบูชาพระพุทธปฏิมา อุโบสถ หรือสถูปเจดีย์ เม่ือเสร็จการเวียนเทียน อาจมกี ารเจรญิ จติ ตภาวนา สนทนาธรรม หลกั ธรรมสาคญั ในวนั อาสาฬหบชู าที่ควรนามาปฏิบตั ิ ในวันอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชนควรนาหลักธรรมคาสอนมาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิด ประโยชน์ตอ่ ตนเองและสงั คมโดยรวม ดงั น้ี ๑. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเป็นข้อปฏิบัติท่ีเป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสม ที่จะทาให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดาเนินชีวิตท่ีเอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ ๑) กามสุขัลลิกานุโยค การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง ๒) อัตตกิลมถานุโยค การสรา้ งความลาบากแก่ตน ๒. มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ๑) สมั มาทิฏฐิ (เหน็ ชอบ) คือ รูเ้ ขา้ ใจถกู ต้อง เหน็ ตามที่เปน็ จรงิ ๒) สัมมาสังกัปปะ (ดาริชอบ) คอื คดิ สุจรติ ตงั้ ใจทาสิง่ ท่ดี งี าม ๓) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) คือ กลา่ วคาสุจริต ๔) สัมมากัมมนั ตะ (กระทาชอบ) คอื ทาการที่สจุ ริต ๕) สมั มาอาชวี ะ (อาชพี ชอบ) คอื ประกอบสมั มาชพี หรืออาชพี ทส่ี จุ ริต ๖) สมั มาวายามะพยายามชอบ คือ เพียรละชว่ั บาเพญ็ ดี ๗) สมั มาสติ (ระลกึ ชอบ) คอื ทาการดว้ ยจิตสานึกเสมอ ไมเ่ ผลอพลาด ๘) สมั มาสมาธิ (ตงั้ จติ มนั่ ชอบ) คอื คุมจิตใหแ้ นว่ แนม่ ่นั คงไม่ฟงุ้ ซ่าน ๓. อริยสจั ๔ แปลวา่ ความจรงิ อันประเสรฐิ ของอริยะ ซึ่งคอื บุคคลทห่ี ่างไกลจากกเิ ลส ได้แก่ ๑) ทุกข์ ไดแ้ ก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกาหนดรู้ให้เท่าทันความเป็นจริง วา่ คอื อะไร ต้องยอมรับรู้ กลา้ สู้ปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจสภาวะโลกว่าทุกส่ิงไม่เที่ยง มีการเปล่ียนแปลง ไปเป็นอยา่ งอน่ื ไมย่ ึดตดิ ๒) สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสาคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือ ความอยากซงึ่ สัมพันธ์กบั ปจั จยั อน่ื ๆ ๓) นโิ รธ ไดแ้ ก่ ความดับทุกข์ การดาเนนิ ชีวิตอยา่ งรู้เท่าทนั โลกโดยการใชป้ ัญญา ๔) มรรค ไดแ้ ก่ วิธีการแก้ปญั หา อันไดแ้ ก่ มรรคมอี งค์ ๘ ประการดงั กลา่ วขา้ งตน้

-๕- แนวทางท่ีพึงปฏบิ ัติ ๑. การแต่งกายด้วยชดุ สีขาวปฏิบัตธิ รรมถวายเปน็ พุทธบูชาตลอดอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ๒. การรักษาศลี ๕ ตลอดพรรษา ๓. การเขา้ วัดสวดมนต์ เจริญภาวนา ปฏิบตั ธิ รรมในวนั ธรรมสวนะ ตลอดพรรษา ถวายเปน็ พุทธบูชา ๔. เขา้ วดั เวยี นเทียน ในวนั อาสาฬหบชู า ๕. น้อมนาหลักธรรมทางศาสนาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในชีวิตประจาวัน เพอ่ื ความสุขของชวี ิตเป็นการได้ปฏบิ ัตติ นตามวถิ ีชาวพทุ ธ ๖. ประดับธงชาติและธงธรรมจักร บริเวณหน้าบ้าน หน้าหน่วยงานราชการ หน้าหน่วยงาน ภาคเอกชน สถานศึกษา โรงงาน โรงพยาบาล ถนน บริเวณชมุ ชน หรือสถานทส่ี ่วนกลางที่สาคญั ของชมุ ชน ขอ้ ปฏบิ ัตหิ ลักของคุณธรรมเพอื่ ความสขุ ที่ย่ังยืนในสงั คมไทย เม่ือวันอาสาฬหบูชาเวียนมาถึง ถือเป็นโอกาสดีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ร่วมกิจกรรมในวันสาคัญ ทางพระพุทธศาสนาโดยพร้อมเพรียงและรว่ มกันประพฤติปฏิบัติตามขอ้ ปฏิบัตหิ ลักของคุณธรรม ดังน้ี ๑. ยึดและปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยการรักษาศีล ๕ นาหลักคุณธรรม ทางพระพุทธศาสนามาบรู ณาการกับการดาเนินชวี ิต เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัตติ นได้อย่างถกู ต้อง ๒. น้อมนาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สามารถ ดาเนินชีวิตอย่างม่ันคงบนพื้นฐานของการพ่ึงพาตนเอง ความพอมีพอกิน การรู้จักพอประมาณ และการคานึงถึง ความมเี หตุผลโดยยึดหลกั ทางสายกลาง

-๖- ๓. ดารงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมไทย มีความเอื้ออาทร มีขนบธรรมเนียม ประเพณีท่ีดีงามของไทย และมกี ารถา่ ยทอดภูมิปญั ญาของท้องถน่ิ สู่การปฏิบตั ิในชีวติ ประจาวันของคนไทย -๘- ๑. http://www.dhammathai.org ๒. th.wikipedia.org ๓. http://www.learntripitaka.com ๔. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม : เอกสารประชาสัมพันธ์งานสัปดาห์ส่งเสริม พระพุทธศาสนา เน่อื งในเทศกาลอาสาฬหบูชาและเขา้ พรรษา ประจาปี ๒๕๖๑ , โรงพมิ พอ์ กั ษรไทย, กรุงเทพฯ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook