Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เรื่อง กีฬา

เรื่อง กีฬา

Published by Guset User, 2021-10-08 05:39:51

Description: เรื่อง กีฬา

Search

Read the Text Version

ประเภทของกีฬา นิลธิดา เเก้วศาลา 6427228001579 วรทิ ส์ิ สำลเี มอื ง 6427228001618 สดุ ารัตน์ จติ บญุ 6427228001641 อาภาภัทร ชัยจนั ทร์ 6427228001658 กลมุ่ เรยี น 64026.071 รายงานนี้เปน็ สว่ นนงึ ของการศึกษาวิชาเทคโนโลยสี ารสนเทศและการศกึ ษาคน้ ควา้ ภาคเรยี นท่ี 1 ปกี ารศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏสรุ าษฎร์ธานี

ก คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาค้นคว้าโดยมีจุดประสงค์เพ่ือ การศึกษาคน้ คว้าเร่ืองกีฬาซ่ึงรายงานนีม้ ีเนื้อหาเก่ียวกับประเภทของกฬี าต่างๆและประวัตคิ วามเป็นมาทางผู้จัดทำ ไดท้ ำรายงาน โดยรวบ เนอื้ จากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ผู้จดั ทำจะตอ้ งขอขอบคุณอาจารย์ผู้ให้ความรู้ และแนวทาง การศึกษา เพื่อน ๆ ทุกคนที่ให้ ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้และเป็น ประโยชนแ์ กผ่ ู้อา่ นทกุ ๆ ท่าน คณะผ้จู ดั ทำ 21 กนั ยายน 2564

สารบัญ ข เร่อื ง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ประวตั กิ ีฬาแฮนดบ์ อล ความรู้ทว่ั ไปเก่ียวกับกฬี าแฮนดบ์ อล 1 ประวัติปงิ ปอง ขอ้ มูล กีฬาปงิ ปอง 3 ประวัติฟตุ บอลไทย – ประวัติกฬี าฟุตบอลโลก 6 ประวตั กิ รีฑาข้อมลู และประเภทกรฑี า 9 ประเภทของกรีฑา 10 บรรณณานุกรม 16 ภาคผนวก 17

1 ประวตั ิด้านกีฬา ประวตั ิกฬี าแฮนดบ์ อล ความรทู้ ่วั ไปเกยี่ วกบั กฬี าแฮนดบ์ อล กีฬาแฮนด์บอล มีที่มาจากประเทศเยอรมนี โดยนาย Konrad Koch ครูพละศึกษาคนหนึ่งแต่ก็ยังไม่เป็นที่ นิยมมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) กีฬาแฮนด์บอลก็ถูกพัฒนาขึ้นในทวีปยุโรป และกำหนดกติกา ข้ึนโดยอา้ งองิ จากกติกาของกีฬาฟตุ บอลเป็นหลัก ซง่ึ เป็นการดดั แปลงกีฬาฟุตบอลมาเล่นด้วยมือแทน เดิมใช้ผู้เล่น ทมี ละ 11 คน แต่ลดลงเหลือทีมละ 7 คนแทน เน่ืองจากผูเ้ ลน่ มีจำนวนมากจนเกินไปทำใหเ้ ลน่ ไม่สะดวก จากน้นั จึง คอ่ ย ๆ แพร่หลายเร่ือยมาในปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) แฮนดบ์ อลถูกนำไปสาธติ ในงานกีฬาโอลมิ ปิก และถกู บรรจุ เข้าเป็นหนึง่ ในรายการการแข่งขันกีฬาระดับชาติเมื่อปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ.1931) และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายจน ถูกบรรจุเข้าเป็นชนิดกีฬาการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) ก่อนที่จะเจอกับเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2 จนความนิยมลดลงต่อมาในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ก็ได้มีการแก้ไขกติกาแฮนด์บอลใหม่ ด้วยการนำเอากติกาของกีฬาฟุตบอล และกีฬาบาสเก็ตบอลมาผสมกัน เพื่อฟื้นฟูความนิยมกีฬาแฮนด์บอลให้ กลับมาอีกครั้ง ปจั จบุ นั กีฬาแฮนดบ์ อลกลายเปน็ กีฬาทีน่ ิยมกนั ไปท่ัวโลก ประวตั แิ ฮนดบ์ อลในประเทศไทย หลังจากที่กีฬาแฮนด์บอลนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลกแล้ว ประเทศไทยก็เริ่มนำเอากีฬา แฮนด์บอลเขา้ มาเม่ือปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) โดย อาจารยก์ อง วิสทุ ธารมย์ อดตี อธบิ ดกี รมพลศึกษาในขณะนั้น ซึ่งในตอนนั้นยังกติกาแฮนด์บอลยังต้องมีผู้เล่นทีมละ 11 คน จึงทำให้ไม่สะดวก และไม่เป็นที่นิยมในไทยมากนัก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) อาจารย์ชนิต คงมนต์ ได้บรรจุกีฬาแฮนด์บอลเข้าสอนในโรงเรียนฝึกหัดครู พลานามัย และวิทยาลัยพลศึกษาอื่น ๆ ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ จนกลายเป็นหลักสูตรบังคับของ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และใช้กติกาการแข่งขันแบบสากลเมื่อปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) และเป็นที่นยิ มในประเทศไทยในท่ีสดุ

2 กติกาแฮนดบ์ อล สนามแข่งขนั ขนาดส่ีเหลีย่ มผืนผ้า ยาว 40 เมตร กวา้ ง 20 เมตร มเี สน้ รอบสนามและเขตประตู โดยประตจู ะต้องมขี นาดสงู 2 เมตร กวา้ ง 3 เมตร ต้ังอยู่ท้งั สองฝง่ั มีพ้นื ที่รอบสนามห่างจากเส้นขอบสนามอย่างนอ้ ย 1 เมตร หา่ งจากหลงั ประตู 2 เมตร ลกู บอล ตอ้ งทำจากหนังหรือวัสดุสงั เคราะหร์ ปู ทรงกลม ผิวไม่สะท้อนแสงและไมล่ ื่น สำหรับผชู้ ายลูกบอลต้องมขี นาดเสน้ รอบวง 58-60 เซนติเมตร หนักประมาณ 425-475 กรัม สำหรับผู้หญงิ ลูกบอลต้องมีขนาดเส้นรอบวง 54-56 เซนตเิ มตร หนักประมาณ 325-400 กรมั และต้องมลี กู บอลสำหรบั การแข่งขัน 2 ลกู เมื่อการแขง่ ขันเร่ิมต้นข้นึ แล้วจะเปลี่ยนลูกบอลไมไ่ ด้ นอกจากมเี หตผุ ลอันสมควร ผู้เลน่ ทีมหนึ่งต้องส่งตวั ผู้เล่น 12 คน (รวมผเู้ ล่นสำรอง) และลงสนามได้ 7 คน คอื ผ้เู ล่น 6 คน ผู้รักษาประตู 1 คน โดย สามารถเปลยี่ นตวั เข้าเล่นได้ทุกเวลา และสามารถเปล่ยี นตวั กลับเขา้ ในสนามใหม่ได้ โดยผู้เล่นจะตอ้ งสวมเสื้อทีมที่ ตดิ หมายเลข 1-20 ไวท้ ีเ่ ส้อื โดยมีขนาดตัวเลข สงู อยา่ งน้อย 20 เซนตเิ มตร กว้างอย่างน้อย 10 เซนติเมตร สีของ ตัวเลขตัดกับเสือ้ อย่างชดั เจน สวมใส่รองเทา้ กฬี า และหา้ มใส่เครือ่ งประดบั ทุกชนดิ

3 วธิ ีการเลน่ ใช้มอื จับ ขวา้ ง โยน ลกู บอล สง่ ตอ่ กันกับผเู้ ล่นในทมี ตนเอง เพ่ือขวา้ งบอลเข้าประตฝู ่ายตรงขา้ ม หา้ มใชร้ า่ งกายส่วนทตี่ ่ำกวา่ หวั เข่าลงไปโดนลูกบอล ผู้เลน่ สามารถถือลกู บอลไวใ้ นมอื ได้ไม่เกนิ 3 วินาที ขณะถือลกู บอลสามารถกา้ วขาได้ไม่เกิน 3 กา้ ว ห้ามผ้เู ล่นดึงลูกบอลจากมอื ของฝ่ายตรงข้าม หา้ มเขา้ ไปในเขตประตูของฝา่ ยตรงขา้ ม ใช้เวลาในการแขง่ ขนั คร่ึงละ 30 นาที พัก 10 นาที หากมีการต่อเวลาพิเศษจะเพมิ่ 2 ครึง่ คร่ึงละ 5 นาที การคิดคะแนน หากสามารถขว้างบอลเขา้ ประตูฝั่งตรงข้ามได้จะคดิ เป็น 1 คะแนนต่อ 1 ครั้ง หากมีการทำเขา้ ประตตู นเองก็จะเสยี คะแนนใหก้ ับฝ่ายตรงข้าม เม่ือหมดเวลาใครทำประตไู ด้มากกวา่ จะเปน็ ฝา่ ยชนะ ประวัติปิงปอง ขอ้ มูล กีฬาปิงปอง กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เลน่ ปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจาก พลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกบั พืน้ โต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง “ปิก-ป๊อก” ดังนั้น กีฬานี้จึงถกู เรยี กชอ่ื ตามเสยี งทีไ่ ด้ยินวา่ “ปงิ ปอง” (PINGPONG) และไดเ้ ริม่ แพร่หลายในกล่มุ ประเทศยโุ รปก่อนซึ่งวิธกี ารเล่น

4 ในสมัยยุโรปตอนตน้ จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING) และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเปน็ การเลน่ แบบ BLOCKING และ CROP หรือเรยี กวา่ การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเลน่ นี้เป็นทนี่ ยิ มมากแถบนยโุ รป ส่วน วิธกี ารจับไม้ จะมี 2 ลกั ษณะ คอื จบั ไม้แบบจับมือ (SHAKEHAND) ซ่งึ เราเรยี กกันว่า “จบั แบบยโุ รป” และการจับ ไม้แบบจบั ปากกา (PEN-HOLDER) ซ่ึงเราเรยี กกนั ว่า “จบั ไม้แบบจีน”ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี ( ATTRACK หรือ OFFENSIVE) โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND) และ หลังมือ (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคง นิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนยร์ วมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริงต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465) ได้มบี ริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบยี นเครื่องหมายการค้าวา่ “PINGPONG” ดว้ ยเหตนุ ี้ กีฬาปิงปองจึง ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้ง สหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLETENNIS FEDERATION : ITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอนใน เดอื นธนั วาคม พร้อมกบั มีการจัดการแขง่ ขนั เทเบลิ เทนนสิ แห่งโลกคร้ังท่ี 1 ขน้ึ เปน็ ครั้งแรก จากนั้นในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) เป็นยุคที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งได้หันมาสนใจกีฬาเทเบิลเทนนิสมากขึ้น และได้มี การปรับวิธีการเล่นโดยเนน้ ไปที่ การตบลูกแม่นยำ และหนักหน่วง และการใช้จังหวะเตน้ ของปลายเท้า ต่อมาในปี ค.ศ. 1952 (พ.ศ. 2495) ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมการแข่งขนั เทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปี ค.ศ. 1953 (พ.ศ. 2496) สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกที่กรุงบูคาเรสต์ ประเทศรูมาเนีย ทำให้จึงกีฬาเทเบิลเทนนิสกลายเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริง โดยในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบ จับปากกาและมกี ารพัฒนาไม้ปิงปองโดยใช้ยางเม็ดสอดไส้ด้วยฟองน้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเดิมที่ใช้กนั ท่วั โลก ในเร่อื งเทคนิคของการเล่นน้นั ยุโรปรกุ ดว้ ยความแม่นยำ และมชี ว่ งตีวงสวงิ สัน้ ๆ ซง่ึ เมื่อเปรียบเทียบกับญ่ีปุ่นที่ใช้ ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางของการตีลูกแบบรุกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ญี่ปุ่นสามารถชนะการเล่นของยุโรปได้ แม้ใน ชว่ งแรกหลายประเทศจะมองว่าวธิ ีการเล่นของญปี่ ุ่น เปน็ การเล่นทีค่ ่อนข้างเสี่ยง แต่ญปี่ ุ่นก็สามารถเอาชนะในการ แข่งขนั ตดิ ต่อกนั ไดห้ ลายปี เรียกไดว้ า่ เป็นยุคมืดของยโุ รปเลยทเี ดียวในที่สุดสถานการณก์ เ็ ปล่ียนไป เม่ือสาธารณรัฐ ประชาชนจีนสามารถเอาชนะญป่ี ่นุ ได้ด้วยวธิ ีการเล่นท่ีโจมตีแบบรวดเรว็ ผสมผสานกับการป้องกัน ซ่ึงจีนได้ศึกษา การเลน่ ของญี่ปุ่น ก่อนนำมาประยุกตใ์ ห้เข้ากับการเล่นแบบทจ่ี นี ถนัด กระทง่ั กลายเป็นวิธกี ารเลน่ ของจีนที่เราเห็น ในปัจจุบันหลังจากนัน้ ยโุ รปไดเ้ ริ่มฟื้นตวั ขึ้นมาอีกคร้ัง เนื่องจากนำวธิ ีการเล่นของชาวอินเดียมาปรับปรุง และในปี ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จึงเป็นปีของการประจันหนา้ ระหว่างผู้เล่นชาวยุโรป และผู้เล่นชาวเอเชีย แต่นักกีฬาของ ญี่ปุ่นได้แก่ตัวลงแล้ว ขณะที่นักกีฬารุ่นใหม่ของยุโรปได้เริ่มเก่งขึ้น ทำให้ยุโรปสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศชาย เด่ยี วของโลกไปครองได้สำเร็จจากนั้นในปี ค.ศ. 1971 (พ.ศ. 2514) นักเทเบิลเทนนสิ ชาวสวเี ดนชือ่ สเตลงั เบนค์

5 สัน เป็นผู้เปิดศักราชใหม่ให้กับชาวยุโรป โดยในปี ค.ศ. 1973 (พ.ศ. 2516) ทีมสวีเดนสามารถคว้าแชมป์โลกได้ จึงทำให้ชาวยุโรปมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ปรังปรุงมา ดังนั้นนักกีฬาของยุโรป และนักกีฬาของเอเชีย จึงเป็น คู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่นักกีฬาในกลุ่มชาติอาหรับ และลาตินอเมริกา ก็เริ่มก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น และมีการแปลก เปลี่ยนความรู้ทางด้านเทคนิค ทำให้การเล่นแบบตั้งรับ ซึ่งหายไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ. 2503) เริ่มกลับมามี บทบาทอีกครั้งจากนั้นจึงได้เกิดการพัฒนาเทคนิคการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก และมีการปรับปรุงหน้าไม้ซ่ึง ติดดว้ ยยางปงิ ปอง ทม่ี คี วามยาวของเมด็ ยางมากกวา่ ปกติ โดยการใชย้ างที่สามารถเปลย่ี นวถิ กี ารหมนุ และทศิ ทาง ของลูกเข้าได้ จึงนับได้ว่ากีฬาเทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีการพัฒนาอุปกรณ์ และมีวิธีการ เล่นใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา กระทั่งกีฬาเทเบิลเทนนิสได้ถูกบรรจุเป็นการแข่งขันประเภทหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก เมื่อปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีสำหรับประวัติกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสใน ประเทศไทยนั้น ทราบเพียงว่า คนไทยรู้จักคุน้ เคย และเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิสมาเป็นเวลาช้านาน แต่รู้จักกันในชอ่ื ว่า กีฬาปิงปอง โดยไม่ปรากฏหลกั ฐานแนช่ ดั วา่ มีการนำกีฬาชนิดน้เี ขา้ มาเล่นในประเทศไทยตั้งแตเ่ มื่อใด และใคร เปน็ ผนู้ ำเข้ามา แต่ปรากฏวา่ มีการเรยี นการสอนมานานกว่า 30 ปี โดยในปี พ.ศ. 2500 ประเทศไทยไดม้ กี ารจัดตั้ง สมาคมเทเบิลเทนนิสสมัครเล่นแห่งประเทศไทย และมีการแข่งขันของสถาบันต่างๆ รวมทั้งมีการแข่งขันชิงแชมป์ ถ้วยพระราชทานแห่งประเทศไทย ตงั้ แต่น้นั เป็นต้นมา วิธกี ารเลน่ กีฬาปิงปอง หรือ เทเบลิ เทนนสิ 1. การส่งลกู ท่ถี ูกตอ้ ง ลูกจะต้องอยู่ท่ีฝ่ามือแล้วโยนขน้ึ ไปในอากาศ สูงไม่น้อยกวา่ 16 เซนติเมตร 2. การรบั ลกู ทถ่ี ูกตอ้ ง เมอื่ ลูกเทเบิลเทนนสิ ถกู ตีขา้ มตาขา่ ยมากระทบแดนของตนครง้ั เดยี ว ต้องตีกลับให้ ข้ามตาข่าย หรือออ้ มตาข่ายกลับไป ลกู ท่ีให้ส่งใหม่ คือ ลูกเสริ ฟ์ ตดิ ตาขา่ ย แลว้ ข้ามไปตกแดนคูต่ ่อส้หู รอื เหตุอน่ื ทผี่ ูต้ ัดสนิ เห็นว่าจะต้องเสริ ์ฟใหม่

6 3. การแข่งขันมี 2 ประเภท คือ ประเภทเดย่ี วและประเภทคู่ 4. การนบั คะแนน ถ้าผูเ้ ล่นทำผิดกตกิ า จะเสียคะแนน 5. ผูเ้ ลน่ หรอื คเู่ ลน่ ทท่ี ำคะแนนได้ 11 คะแนนกอ่ น จะเปน็ ฝา่ ยชนะ ยกเว้นถ้าผเู้ ลน่ ทง้ั สองฝ่ายทำคะแนนได้ 10 คะแนนเทา่ กันจะต้องเล่นตอ่ ไป โดยฝ่ายใดทำคะแนนได้มากกว่าอีกฝา่ ยหน่ึง 2 คะแนน จะเปน็ ฝ่ายชนะ 6. การแขง่ ขันประเภททีมมี 2 แบบ คอื 6.1. SWAYTHLING CUP มผี ้เู ล่นครัง้ ละ 3 คน ประวัติฟุตบอลไทย – ประวตั ิกฬี าฟตุ บอลโลก นับได้ว่า ฟุตบอล เป็นกีฬาที่มีคนสนใจอยู่ทั่วมุมโลก เห็นได้จากเวลาที่มีการแข่งขันรายการใหญ่อย่าง ฟุตบอลโลก หรือฟุตบอลยูโร ก็จะมีบริษัทต่าง ๆ ผลิตสินค้าเกี่ยวกับการแข่งขันออกมาขายตอบสนองความ ต้องการของแฟนบอลในตลาดเสมอ เช่น แก้วฟุตบอลโลก เสื้อแข่ง เป็นต้น จึงเป็นหลักฐานชี้ชัดว่า กีฬาชนิดน้ี ได้รับความนิยมไปทั่วโลกจริง ๆ โดยเฉพาะประเทศไทยท่ีประชาชนสนใจกีฬาฟุตบอลเปน็ อันดับ 1 อยู่แล้ว ดังนน้ั เราจะมาทำความรจู้ ักกบั กฬี าฟุตบอลกันเพ่ือทำให้ผู้อ่านเกดิ อรรถรสในการรับชมการแข่งขันย่งิ ขึ้น ประวตั ฟิ ุตบอล จุดเริ่มต้นของกีฬาฟุตบอลไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่ากำเนิดมาจากที่ใดกันแน่เพราะแต่ละชาติต่างออกมายืนยันว่า ประเทศตนเองเป็นประเทศต้นกำเนิด เช่น อิตาลี กับ ฝรั่งเศส ก็มีการเล่น ซูเลอ หรือ จิโอโค เดล คาซิโอ ซึ่งมี กติกาคล้ายกับฟตุ บอล เป็นต้นอยา่ งไรกต็ าม จดุ เรมิ่ ตน้ ของฟตุ บอลที่มีหลักฐานอย่างเป็นทางการ เรม่ิ ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1863 (พ.ศ. 2406) ที่ประเทศอังกฤษ มีการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลอังกฤษในปีนั้น และเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลลีก เป็นครั้งแรก ใน ค.ศ. 1888 (พ.ศ. 2431) และเริ่มมีการแข่งขันระหว่างประเทศครั้งแรกในปี ค.ศ. 1889 (พ.ศ. 2432)ในปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) เริ่มก่อตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่าขึ้น และมีการแข่งขันฟุตบอล โลกครัง้ แรกใน ค.ศ. 1930 (พ.ศ. 2473) ที่ประเทศอุรุกวยั

7 กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย สำหรับกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย เริ่มเข้ามาในยุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมี เจ้าพระยาธรรมศักดม์ิ นตรนี ำเข้ามา จากการไปเรยี นที่ต่างประเทศ ซงึ่ ใน พ.ศ. 2443 มกี ารแขง่ ขนั ฟุตบอลเป็นคร้ัง แรกระหว่างทีมชุดบางกอก กับชุดกรมศึกษาธิการ ที่สนามหลวง ปรากฎว่าเสมอกัน 2-2ต่อมาในยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างมาก มีทีมฟุตบอลส่วน พระองค์ คือ ทีมเสือป่า และมีการเผยแพร่ข่าวสาร การเล่น เกี่ยวกับฟุตบอลอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ สมาคม ฟตุ บอลแหง่ สยาม ถกู ก่อตง้ั ขึน้ เปน็ ครัง้ แรกในปี พ.ศ. 2459 อีกด้วย สนามแข่งขนั สนามฟุตบอล ไมไ่ ดม้ กี ารกำหนดขนาดไว้แบบตรง ๆ เนอ่ื งจากในพน้ื ทีแ่ ตล่ ะสนาม อาจมีพ้ืนทไี่ ม่เท่ากันแต่ได้มีการ กำหนดด้านยาว กว้างประมาณ 100-130 หลา ส่วนด้านกว้าง กว้างประมาณ 50-100 หลา โดยแบ่งเขตแดน ออกเป็น 2 ฝั่ง อยา่ งละเท่า ๆ กนั มี ประตูขนาดกวา้ ง 8 หลา สูง 8 ฟุต มเี ขตโทษ ซึ่งนบั ห่างจากโกล ห่าง 18 หลา สว่ นพื้นสนามฟุตบอล ใชห้ ญา้ แท้หรือหญา้ เทียมก็ได้ ลกู ฟุตบอล ลกู ฟตุ บอลมีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเสน้ รอบวงไม่เกิน 27-28 นว้ิ และหนกั 400-450 กรมั ผ้เู ล่น มีจำนวนฝัง่ ละ 11 คน โดยท่เี ป็นผรู้ กั ษาประตู 1 คน มีหน้าท่ปี อ้ งกนั ไม่ให้ฝัง่ ตรงข้ามยงิ ประตไู ด้

8 วธิ กี ารเลน่ ผู้เล่นจะใช้เท้าเล่นเป็นหลัก โดยสามารถใช้อวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ใช่แขนและมือในการเล่นได้ด้วยโดยมีเป้าหมายคือ การทำประตูฝา่ ยตรงข้ามให้ได้ กตกิ า เวลาในการแขง่ ขัน การแขง่ ขนั แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครง่ึ ละ 45 นาที โดยทง้ั 2 ฝ่งั มหี นา้ ทยี่ ิงประตูฝ่ังตรงข้าม ให้ได้มากกว่า ทั้งนี้ หากเสมอกันในการแข่งขันฟตุ บอลรายการแพค้ ัดออก จะต่อเวลาเพ่ิมอีกครึง่ ละ 15 นาที รวม 2 คร่งึ 30 นาทีด้วยกนั และถา้ หากยังตดั สนิ ผู้ชนะไม่ได้ กจ็ ะดวลจุดโทษตดั สินฝั่งละ 5 ลกู ซึง่ ถา้ หากตดั สนิ ไม่ได้อีก ก็จะยิงทีละ 1 ต่อ 1 คือ หากใครยิงพลาด และอีกฝ่ายยิงได้ ก็เกมจบทันที อย่างไรก็ตาม เมื่อยิงครบ 11 คนแล้ว ตัดสินผู้ชนะไมไ่ ด้ ก็จะวนกลับมายงิ ใหม่ท่คี นแรก ไปเร่ือย ๆ การผิดกติกา ก็มี การที่ไม่ใช่ผู้รักษาประตูแล้วใช้มือเล่น หรือ การพยายามขัดขวางการเล่นของฝั่งตรงข้าม เชน่ ชน กระแทก ผ้เู ล่นที่มีบอล กค็ อื ว่าเปน็ การฟาลว์ และฝ่ายท่ีถูกทำฟาลว์ กจ็ ะไดล้ ูกต้ังเตะ แต่ถ้าฝ่ายบุกถูกทำ ฟาล์วในเขตโทษของฝา่ ยรับ กจ็ ะเปน็ ลูกจดุ โทษ ทฝ่ี ่ายบุกจะได้โอกาสยิงแบบ 1 ต่อ 1 กบั ผู้รกั ษาประตูฝา่ ยรบั กรณีทีฟ่ ตุ บอลออกขา้ ง ฝ่ายทไี่ ม่ได้ทำใหอ้ อกขา้ งจะเป็นฝ่ายได้ทุ่ม ส่วนกรณีบอลออกหลัง ถ้าเป็นฝ่ายเจ้าของ แดนทำออกหลงั เอง ฝา่ ยท่ีเดินหน้าบกุ จะได้เตะมมุ เข้ามา แต่ถ้าเป็นฝา่ ยบุกทีท่ ำออก จะเปน็ ลูกตง้ั เตะจากประตู ใบเหลอื ง-ใบแดง จะแจกกต็ ่อเม่ือมผี เู้ ล่นที่ทำผิดกติกา ในลักษณะทร่ี ุนแรง หรือ การถ่วงเวลาผู้ตัดสินก็จะ ให้ใบเหลืองแก่คนที่ผิดกติกา ส่วนใบแดง ผู้ตัดสินจะให้ก็ต่อเมื่อ มีการทำฟาล์วที่รุนแรงมาก เช่น ทำให้ ได้รับบาดเจ็บหนัก หรือ เล่นอันตรายอย่างการเปิดปุ่มสตั๊ดไปที่ขาของฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น นอกจากนี้ การได้ใบแดง จะมีอีกกรณีหนึ่งคือ การทำฟาล์วแบบไม่รุนแรง แต่ฟาล์วขณะที่ฝั่งตรงข้ามกำลังจะทำ ประตูได้ กไ็ ดร้ ับใบแดงเช่นกัน

9 การล้ำหนา้ คอื การจ่ายบอลไปยงั ผเู้ ล่นทยี่ ืนอยสู่ งู กวา่ ผู้เล่นฝั่งตรงขา้ มในลำดับรองสดุ ท้าย การคิดคะแนน นับจากจำนวนลกู ฟุตบอลท่ีผา่ นเสน้ ประตเู ข้าไปอย่างเตม็ ใบภายในเวลาที่กำหนดในการแข่งขนั (90 นาท)ี ประวัติกรีฑาขอ้ มูลและประเภทกรฑี า เชื่อกันว่าต้นกำเนิดของกรีฑานั้น เริ่มมากจากชาวกรีกโรมัน เมื่อประมาณ 776 ปีก่อนคริสตศักราชโดยเจ้า เมืองนั้นอยากให้พลเมืองของกรีกมีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง เพื่อรับใช้ประเทศได้อย่างเต็มท่ี นอกจากนี้ใน สมัยก่อนเชื่อว่ามีเทพเจ้าสถิตอยู่บนเขาโอลิมปัสพยายามทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานด้วยการทำพิธีกรรมบวงสรวง ต่าง ๆ พร้อมเล่นกีฬาถวาย ณ ลานเชิงเขาโอลิมปัสแคว้นอลี สิ เพอ่ื ให้เกียรติแก่เทพเจ้าโดยมีกีฬาที่ชาวกรีกเล่นนั้น มี 5 ประเภท คือ การวิ่งแข่ง การกระโดด มวยปล้ำ พุ่งแหลน ขว้างจักร ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตได้ว่านอกจากกีฬามวย ปล้ำแล้ว กีฬาทั้ง 4 ชนิด ล้วนแต่เป็นกีฬากรฑี าทัง้ ส้ินนอกจากน้ียังได้ดำเนินการแข่งขันตดิ ต่อกันมาเป็นเวลานาน กวา่ 1,200 ปี เลยทีเดยี ว ต่อมากรีกเส่ือมอำนาจลงและตกอยู่ภายใต้อำนาจของชาวโรมันการกีฬาของกรีกเลยเสื่อมลงตามลำดับใน พ.ศ. 936 (ค.ศ. 393) เนื่องจากจกั รพรรดิธโี อดซีอุส แห่งโรมนั มคี ำสัง่ ใหย้ กเลิกการเลน่ กีฬา ท้งั 5 ประเภท เพราะ เห็นว่าประชาชนเล่นกีฬาเพื่อการพนัน ไม่ได้เล่นเพือ่ สุขภาพแตอ่ ย่างใด และนับตั้งแต่นั้นกีฬาโอลิมปิกกไ็ ด้ยตุ ิเป็น ระยะเวลานานกว่า 15 ศตวรรษ หลังจากนั้นก็ได้มีบุคคลสำคัญกลับมารื้อฟื้นให้กีฬาโอลิมปิกกลับมาเริ่มอีกครั้งโดย บารอน ปีแอร์ เดอ คู แบร์แตง (BaronPierredeCoubertin) ชาวฝรั่งเศส ซึ่งเขาได้ชักชวนบุคคลคนสำคัญของชาติต่าง ๆ เข้ามาร่วม ประชมุ เพ่ือแขง่ ขันกีฬารว่ มกัน โดยใหจ้ ัดการแข่งขัน 4 ปี ต่อ 1 คร้งั พร้อมระบขุ ้อตกลงในการเล่นกีฬากรีฑาเป็น หลักของการแข่งขัน เพ่อื เป็นเกียรติและอนุสรณแ์ ก่ชาวกรีกในสมัยโบราณ ผู้ริเร่ิมกฬี าโอลิมปิก ท้ังน้ี กีฬาโอลิมปิก ไดเ้ ริม่ แขง่ ขนั ขึ้นอีกคร้ัง ใน พ.ศ.2439 (ค.ศ. 1896) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก ประวตั คิ วามเป็นมาของกรฑี าในประเทศไทย ผูร้ ิเริม่ ใหม้ ีการแข่งขันกรีฑาในประเทศไทยน้นั ก็ คือ กระทรวงธรรมการ (ปัจจุบนั คือกระทรวงศึกษาธิการ) ที่ไดจ้ ัดให้มกี ารแข่งขนั กรีฑาระดบั นักเรยี น คร้ังแรกเม่ือวนั ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 ณ ทอ้ งสนามหลวง โดยมี

10 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเป็นองค์ประธานเปิดการแข่งขันกรีฑานักเรียนเป็นประจำทุกปี และไดจ้ ดั ตั้งให้มสี มาคมกรฑี าสมคั รเลน่ ประเทศไทยข้ึน ประเภทของกรีฑา 1. กรฑี าประเภทลู่ กรีฑาประเภทลเู่ ปน็ กรีฑาที่ต้องแข่งขันกนั บนทางวิ่งหรอื ล่วู ิ่งตลอดระยะทาง ใช้การวงิ่ เป็นสำคัญตัดสินแพ้ ชนะกนั ดว้ ยเวลาการแขง่ ขนั ทน่ี ยิ มกันทวั่ ไปมี ดงั นี้ 1.1 ) การวิ่งระยะสั้น หมายถึง การวิ่งในระยะทางไม่เกิน 400 เมตร นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงเส้นชัย ซ่ึง จะต้องว่งิ ในลขู่ องตนเองตลอดระยะทาง โดยแบ่งระยะทางวง่ิ ออกเปน็ 60, 80, 100, 200 และ 400 เมตร 1.2) การวิ่งระยะกลาง หมายถงึ การว่ิงในระยะทางต้ังแต่ 800 เมตรข้นึ ไป แต่ไม่เกนิ 1,500 เมตร 1.3) การวิ่งระยะไกล หมายถึง การวิ่งในระยะทางมากกว่า 1,500 เมตรขึ้นไป และการวิ่งมาราธอน (42.195 เมตร ) 1.4) การว่ิงผลดั หมายถึง การแข่งขันท่แี บ่งเปน็ ชดุ ๆ แตล่ ะชุดมจี ำนวนผแู้ ข่งขนั เทา่ ๆ กัน มีดงั น้ี… การวิ่งผลัดระยะทางเท่ากัน หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนในชุดเดียวกันต้องวิ่งในระยะทางเท่ากัน เชน่ 5 x 80, 8 x 50, 4 x100,4 x 200, 4 x 400 เมตร เปน็ ตน้ การวง่ิ ผลัดต่างระยะ หมายถงึ ผู้เข้าแข่งขนั แตล่ ะคนในชุดเดียวกนั วิ่งในระยะทางไม่เท่ากนั เช่น 80 x 120 x 120 x 80 เมตร เปน็ ตน้ 1.5) การวิ่งข้ามรั้ว หมายถึง การวิ่งตามลู่วิ่งข้ามสิ่งกีดขวางความสูง และจำนวนรั้วที่ใช้แข่งขันในแต่ละ ประเภทแตกตา่ งกนั ไป เช่น วิ่งข้ามร้วั 100 ,110,400 เมตร เปน็ ต้น 2. กรฑี าประเภทลาน กรีฑาประเภทลาน เปน็ กรฑี าทตี่ ้องแข่งขันกนั ในสนาม ตดั สินแพ้ชนะกันดว้ ยระยะทาง อาจเป็นความไกล หรือความสงู โดยแบ่งประเภทการแขง่ ขนั ดังน้ี

11 2.1) ประเภทที่ตัดสินด้วยความไกล ได้แก่ กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด ทุ่มลูกน้ำหนัก ขว้างค้อน ขว้าง จกั ร และพงุ่ แหลน 2.2) ประเภททต่ี ดั สินด้วยความสงู ได้แก่ กระโดดสูง และกระโดดค้ำ 3. กรฑี าประเภทผสม กรฑี าประเภทผสมเป็นการแข่งขันท่ีนำกรีฑาประเภทลู่ และลานบางสว่ นผสมกัน แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังน้ี 3.1) ประเภทชาย มกี รฑี าประเภทผสมใหเ้ ลือกแขง่ ขนั ได้ 2 แบบ ดงั น้ี ปญั จกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 5 รายการ ทำการแขง่ ขันภายในวนั เดียว ตามลำดับ คือ กระโดด ไกล, พุ่งแหลน , วง่ิ 200 เมตร, ขวา้ งจักร และว่ิง 1,500 เมตร ทศกรีฑา ประกอบดว้ ยการแข่งขนั 10 รายการ ทำการแขง่ ขัน 2 วัน ติดตอ่ กันตามลำดบั ดังน้ี วันท่หี นงึ่ : วิ่ง 100 เมตร กระโดดไกล ทุ่มลูกนำ้ หนกั กระโดดสูง และวิง่ 400 เมตร วนั ทส่ี อง : วิ่งขา้ มรัว้ 110 เมตร ขว้างจกั ร กระโดดคำ้ พงุ่ แหลน และวิ่ง 1,500 เมตร 3.2) ประเภทหญิง มีการแข่งขันเพียงแบบเดียว คือ สัตตกรีฑา ประกอบด้วยการแข่งขัน 7 รายการ ทำ การแข่งขัน 2 วัน ตดิ ต่อกันตามลำดับ ดงั น้ี วนั ท่หี นึง่ : วิ่งข้ามร้ัว 100 เมตร, กระโดดสูง, ทมุ่ ลกู น้ำหนกั และวิง่ 200 เมตร วนั ที่สอง : กระโดดไกล, พุง่ แหลน และวงิ่ 800 เมตร สำหรับกรีฑาประเภทผสมนั้น ผู้ชนะ คือ ผู้ที่สามารถทำคะแนนสูงสุดในการแข่งขัน ถ้าไม่เข้าแข่งขัน หรือไม่ทำการประลองแมแ้ ตค่ รงั้ เดยี วให้ถือวา่ เลิกการแข่งขนั

12 กติกากรฑี า การแขง่ ขันประเภทลู่ ประกอบไปด้วย การแขง่ ขนั ว่งิ 1. ประเภทวิง่ 100 เมตร, 200 เมตร, 400 เมตร, ขา้ มร้ัว 100 เมตร, ขา้ มร้วั 110 เมตร 2. ประเภทวง่ิ 400 เมตร, 800 เมตร, ว่งิ ผลัด 4×100 เมตร, วิ่งผลดั 4×400 เมตร 3. ประเภท 1,500 เมตร 4. ประเภท 3,000 เมตร, วง่ิ วบิ าก 3,000 เมตร 5. ประเภท 5,000 เมตร 6. ประเภท 10,000 เมตร การแข่งขันวิ่งผลดั 1. เขตรับส่งไม้คทามีระยะทาง 20 เมตร โดยถอื ไม้คทาเปน็ เกณฑ์ไม่เก่ียวกบั ขา แขน ลำตวั ของนักกีฬา 2. การแขง่ ขนั วิง่ ผลัด 4×200 เมตร นักกีฬาคนท่ี 1 และ คนที่ 2จะต้องว่ิงชอ่ งวง่ิ ของตนเองเท่านน้ั คนท่ี 3 จะวิ่งในช่องวิ่งของตนเองจนกระทง่ั ถงึ เสน้ ตดั (เส้นโคง้ แรกประมาณ 120 เมตร) 3. การแข่งขนั วิ่งผลัด 4×400 เมตร คนที่ 1 วง่ิ ในชอ่ งวงิ่ ของตนเองเท่าน้ัน คนที่ 2 วง่ิ ในช่องว่ิงของตนเอง จนกระท่ังถงึ เสน้ ตัด ซง่ึ อยู่ในแนวเส้นชัย คนท่ี 3 และ 4 จะยนื คอยรบั ในเขตรบั ระยะรวมเทา่ น้ัน เมอ่ื นักกีฬาทีมใด วิ่งมาถงึ จุด 200 เมตร กอ่ น ทมี นัน้ จะสามารถยืนคอยรับคทาจากดา้ นในของลวู่ ิง่ เรยี งตามลำดบั ออกมา 4. ถือไม้คทาดว้ ยมอื ตลอดการแข่งขัน หลังส่งไมค้ ทาแล้วควรอยใู่ นช่องว่งิ ของตนเอง หรอื ภายในเขตรับส่ง จนกว่าทางวิ่งจะไม่มนี กั กีฬา

13 5. สามารถเปล่ยี นนักกีฬาได้ 2 คนจะตอ้ งมรี ายช่อื ในการแข่งขนั ครั้งน้นั 6. กรณีการแข่งขันวิ่งผลัด 4×100 เมตร, 4×400 ถ้ามีทีมแข่งขันไม่เกิน 5 ทีม ให้ไม้แรกวิ่งโค้งเดียว แล้ว ตดั เข้าชอ่ งในได้ การแขง่ ขนั วง่ิ ข้ามรว้ั นกั กฬี าจะตอ้ งวงิ่ ขา้ มร้วั ทั้งหมด 10 คร้งั ตลอดระยะทางการแขง่ ขัน ส่ิงตอ้ งห้าม : วง่ิ ขา้ มรวั้ เพียงขาข้างเดียว และหา้ มใช้มอื ผลักดันรวั้ หรือใช้ขาเจตนาถบี รว้ั ใหล้ ้ม การแขง่ ขันประเภทลาน แบง่ ออกเป็น 2 ประเภทดงั นี้ 1. การแข่งขันประเภทกระโดด ไดแ้ ก่ กระโดดสูง, เขย่งกา้ วกระโดด, กระโดดสงู , กระโดดค้ำถ่อ 2. การแขง่ ขนั ประเภทท่มุ พุ่ง ขว้าง ได้แก่ ท่มุ นำ้ หนัก, ขว้างจัก, ขว้างฆ้อน, พงุ่ แหลน การแขง่ ขันกระโดดไกล การแข่งขัน นกั กีฬากระโดดในขั้นที่ดีที่สุดของแตล่ ะคน จะถอื เป็นสถิติ รวมทัง้ ตัดสินเสมอกันของอันดับที่ 1 ดว้ ย นกั กีฬากระโดดลงในบ่อทรายแล้วตอ้ งออกไปข้างหน้าหรือด้านขา้ งเทา่ นั้น การแข่งขันเขยง่ ก้าวกระโดด ประกอบดว้ ยเขยง่ การก้าว และการกระโดด การเขยง่ จะต้องใช้เทา้ เดยี วกับท่เี หยียบกระดานลงสพู่ ืน้ จะต้องกระโดดดว้ ยเท้าข้างเดียว สามารถกระโดดไดไ้ ม่เกนิ 3 ครั้ง จะหมดสทิ ธิ์ในการแขง่ ขนั ความสงู ต่อไป นกั กฬี าท่ีชนะเลศิ สามารถเลอื กความสูงไดต้ ามต้องการ การแขง่ กระโดดค้ำถ่อ หากกระโดดไม่ผ่าน 3 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์ ห้ามใช้ผ้ายางพันมือหรือนิ้วมือ ยกเว้นบาดเจ็บการแข่งขันใน ข้นั ทดี่ ีที่สุดถือว่าเปน็ สถติ ิ การแขง่ ขนั ทมุ่ น้ำหนกั นกั กฬี าเขา้ แข่งขนั มากกว่า 8 คน การแขง่ ขันคนละ 3 คร้ัง ผูท้ ำสถิตดิ ที ส่ี ดุ ทำการแข่งขันรอบสุดท้ายถ้าไม่ เกิน 8 คน คนละ 6 ครั้ง ทำการฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ต้องทุ่มภายในบริเวณวงกลม ลูกน้ำหนักต้องทุ่มออกไป จากไหล่ด้วยมือข้างเดียว โดยลูกน้ำหนักต้องสัมผัสหรืออยู่ชิดคาง และมือต้องไม่ลดต่ำกว่าไหล่เลยไปด้านหลัง ขณะจะทุ่มลูกน้ำหนกั ออกไป

14 การฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมเพือ่ ทำการทุม่ แลว้ สัมผัสภายนอกวงกลมหรอื ขอบบนของไม้ขวางหรือขอบ บนไม้ขวางหรอื ขอบบนของวงกลม จะตอ้ งวางอปุ กรณ์ไวด้ ้านนอกหรอื ภายในวงกลมแลว้ เดนิ ออกดา้ นหลัง ห้ามใช้ผ้ายางพันนว้ิ มอื 2 น้ิวหรือมากกว่าเข้าด้วยกนั ยกเวน้ บาดเจบ็ หา้ มสวมถุงมือ ห้ามฉีดสเปรยห์ รอื สารบางอย่างในวงกลมหรือรองเทา้ สามารถใช้สารทามอื ได้ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรอื อปุ กรณอ์ ืน่ ทีจ่ ำเป็นวา่ เหมาะสม เพอ่ื ปอ้ งกนั การบาดเจ็บ ของกระดูกได้ ลูกนำ้ หนกั ต้องอย่ภู ายในเสน้ รศั มี และต้องไม่ออกจากวงกลมจนกวา่ ลูกทมุ่ น้ำหนกั จะตกถึงพืน้ การขว้างจักร จักรจะต้องตกภายในเส้นรัศมีเท่านั้น ห้ามออกนอกวงกลม จนกว่าจักรจะตกถึงพื้นครั้งแรกสมบูรณ์แล้ว และต้องไม่ฉีดสเปรย์หรือสารบางอย่างในวงกลมหรือรองเท้า ห้ามใช้ผ้ายางพันนิ้ว มือ 2 นิ้วหรือมากกว่าเข้า ด้วยกันยกเว้นบาดเจ็บ สามารถคาดสายเข็มขัดหนังหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็นว่าเหมาะสม เพื่อป้องกันการบาดเจบ็ ของกระดูกได้ สว่ นจักรทข่ี วา้ งออกไปแลว้ ห้ามขวา้ งกลบั มาใหถ้ ือกลับมาท่ีวงกลม และหา้ มออกนอกวงกลมจนกว่า จกั รถึงเสน้ การขว้างฆ้อน ฝึกซ้อมได้ไม่เกิน 2 ครั้ง การขว้างเริ่มจากในวงกลม เมื่อเหวี่ยงสัมผัสพื้นดิน หรือขอบของวงกลมจะไม่ถอื ว่าฟาล์ว แต่ถ้าหลังจากสัมผัสพื้นดินหรือขอบเหล็กแล้วเขาหยุดการหมุนจะถือว่าฟาล์ว เมื่อเข้าไปในวงกลมห้าม สมั ผัสพน้ื ดินนอกหรอื ขอบวงกลมจะถือวา่ ฟาลว์ ถ้าเกดิ หลุดหรือขาดกลางอากาศไมถ่ ือวา่ ฟาล์ว สว่ นถ้าเสยี หลักจน เกิดการฟาล์ว จะถือว่าการประลองครั้งนั้นไม่นับเช่นกัน ตัวฆ้อนต้องตกภายในรัศมี ห้ามออกนอกวงกลมจนกว่า ฆ้อนจะตกถงึ พ้นื นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ขวา้ งไปแล้วหา้ มขวา้ งกลบั ให้ถอื กลบั มา การพุ่งแหลน ต้องจับตรงที่จบั การพ่งุ จะต้องพงุ่ ออกไปเหนือไหล่หรอื เหนือแขนท่อนบน ห้ามใช้วิธีเหว่ยี งหรอื ขวา้ ง หรือม่งุ ดว้ ยทา่ พลิกแพลงอ่นื ๆ การท่หี ัวแหลนทเ่ี ป็นโลหะไมไ่ ดถ้ ูกพื้นกอ่ นส่วนอ่นื ๆ ของแหลน ถือว่าการแข่งขันไมม่ ีผล หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือแขนขา ถูกไม้โค้งหรือเส้นที่ลากต่อจากปลายของส่วนโค้ง ถือว่า การแขง่ ขันไม่ไดผ้ ล หากแหลนหกั ในระหว่างพุง่ ใหท้ ำการแข่งขนั ใหมแ่ หลนพุ่งแล้วห้ามพงุ่ กลับ

15 การแขง่ ขนั เดนิ ลักษณะการเดินที่ถูกต้องก่อนยกเท้าหลังจากพื้นเท้าหน้านำต้องสัมผัสพื้นก่อนด้วยส้นเท้าเมือ่ เท้าหนา้ นำ สัมผัสพืน้ แล้วต้องตึงช่วั ขณะจนกวา่ จะอยูแ่ นวตั้งฉากกับลำตัว การตัดสิน นักกีฬาผไู้ ด้คะแนนสูงสุดเป็นผูช้ นะถ้าเสมอกนั ให้ผเู้ ข้าแข่งขันมากประเภทกว่าเป็นผู้ชนะถ้ายังเสมอกันอยู่ อีก ก็ให้ถือคะแนนท่ีมากกวา่ ในประเภทใดประเภทหนึ่งเปน็ ผู้ชนะ สว่ นนกั กีฬาใดไม่ประลองในประเภทใดประเภท หนงึ่ ใหถ้ อื ว่าหมดสิทธิ์ในการแขง่ ขันตอ่ ไปต้องออกจากสนามทันที

16 บรรณณานุกรม https://example90105.wordpress.com/2016/01/30/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A C%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B 8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97/ https://www.kapook.com/

17 ภาคผนวก

18 ทม่ี า สมาคมกฬี าฟตุ บอลแห่งประเทศไทย ทม่ี า มหกรรมกฬี าซีเกมส์ 2019 ท่ี ซูบคิ เบย์ เอก็ ซิบิชน่ั ประเทศฟิลิปปนิ ส์

19 ที่มา https://www.khaosod.co.th/sports/news_1494912 ทีม่ า https://www.khaosod.co.th/sports/news_1494912


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook