Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Book_05_2560

Book_05_2560

Published by 500bookchonlibrary, 2021-05-12 09:37:22

Description: Book_05_2560

Search

Read the Text Version

เอกสารคำ� แนะนำ� ที่ 5/2560 เทคโนโลยีการเพ่มิ ประสทิ ธภิ าพการผลิตไมด้ อกไมป้ ระดับ พมิ พ์คร้งั ที่ 1 : จำ� นวน 5,000 เลม่ กุมภาพนั ธ์ พ.ศ.2560 จัดพิมพ ์ : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิมพ์ที่ : บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จ�ำกดั





คำ� นำ� การเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิต เป็นปัจจัยท่ีส�ำคัญ ทที่ ำ� ใหเ้ กษตรกรผปู้ ลกู ไมด้ อกไมป้ ระดบั มคี วามเขม้ แขง็ มคี วามยง่ั ยนื ในสภาวะปัจจุบันที่ตลาดมีการแข่งขันสูง โดยมีจุดมุ่งหมายที่ส�ำคัญ 3 ประการ คือ 1. การลดต้นทุนการผลิต เช่น วัสดุทางการเกษตร แรงงาน ที่ดิน ฯลฯ 2. การเพ่ิมผลผลิตต่อหน่วยพ้ืนท่ี รวมท้ัง ลดการสูญเสียผลผลิตตลอดกระบวนการผลิตจนถึงปลายทาง และ 3. การพัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยผลิตให้ตรงตามความต้องการ ของตลาด ซ่ึงจะท�ำให้เกษตรกรมีผลตอบแทนสุทธิหรือก�ำไร จากการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ จ�ำเป็นต้องอาศัย เทคโนโลยีการเพ่ิมประสิทธิภาพผลิตที่เหมาะสม ร่วมกับการบริหาร จัดการแปลงและผลผลิต เอกสารคำ� แนะนำ� ความรทู้ างการเกษตร เรอ่ื ง “เทคโนโลยี การเพม่ิ ประสทิ ธภิ าพการผลติ ไมด้ อกไมป้ ระดบั ” เลม่ นี้ กรมสง่ เสรมิ การเกษตร จัดท�ำข้ึนเพ่ือให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรใช้เป็นคู่มือ ส่งเสริมเกษตรกรในการพัฒนาไม้ดอกไม้ประดับ รวมท้ังให้เกษตรกรได้น�ำ ไปใช้ประโยชน์เพ่ือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง โดยรวบรวม และเรียบเรียงเทคโนโลยีการเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอก ไม้ประดับชนิดต่างๆ ที่นิยมปลูกมากในปัจจุบัน ทั้งน้ี หวังว่าจะเกิด ประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ เกษตรกร และผู้สนใจในการประกอบอาชีพ ไม้ดอกไม้ประดับ ให้มคี วามม่ันคงและย่งั ยืนต่อไปในอนาคต กรมส่งเสริมการเกษตร 2560

สารบัญ หน้า บทนำ� 1 เทคโนโลยกี ารเพิ่มประสิทธภิ าพการผลิต • กล้วยไม้ตัดดอกสกลุ หวาย 5 • กหุ ลาบตัดดอก 9 • เบญจมาศตัดดอก 13 • ดาวเรอื งตดั ดอก 17 • มะลิ 20 • ครสิ ตม์ าส 23 • ไมก้ ระถาง 25 เอกสารอ้างองิ 28

บทนำ� เท ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง พรรณไม้ที่มีความงามจากดอก ใบ ต้น หรือทรงพุ่ม นิยมปลูกเพื่อตกแต่งบ้านเรือน และใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา จ�ำแนก ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ แบง่ เปน็ ประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. ไม้ตัดดอก เป็นพืชท่ีมีดอกสวยเด่น สีสดใส มีก้านดอกยาว และมีอายุการใช้งาน ได้นาน เช่น กล้วยไม้ตัดดอก กุหลาบตัดดอก เบญจมาศตัดดอก หน้าวัวตัดดอก บัวหลวง เป็นต้น 2. ไมด้ อกกระถาง เป็นพืชท่ีให้ดอกสวยงาม มีปริมาณดอกต่อต้นจ�ำนวนมาก เมื่อน�ำ มาปลูกในกระถาง มีความสวยงาม เช่น กล้วยไม้กระถาง กุหลาบกระถาง หนา้ วัวกระถาง พิทเู นีย แพงพวย กล็อกซีเนยี เปน็ ต้น 3. ไม้ตดั ใบ เป็นพืชที่ใบมีรูปทรงแปลกสวยงาม หรือมีสีสวยงาม มีอายุปักแจกัน ได้นาน เช่น หมากผู้หมากเมยี ฟโิ ลเดนดรอน เฟนิ ใบหนงั เฟินนาคราช เปน็ ต้น 4. ไม้ใบกระถาง เป็นพืชท่ีมีลักษณะเด่นที่ใบสวยงาม มีสีสันสดใส มีทรงต้นสวยงาม เม่อื นำ� มาปลกู ในกระถาง เช่น บอนสี แก้วกาญจนา ไผก่ วนอิม ลนิ้ มงั กร เป็นต้น 5. ไม้เด็ดดอก เป็นพืชที่ให้ดอกสวย บางชนิดมีกล่ินหอม ไม่เห่ียวเฉาง่ายหลังเด็ดจากต้น นยิ มใช้รอ้ ยพวงมาลัย เชน่ มะลิ ดาวเรอื ง จำ� ปี จำ� ปา รกั เป็นตน้ 6. ไม้จดั สวน ใชป้ ระโยชนเ์ พอื่ การประดับตกแต่งสวนใหส้ วยงาม แบ่งได้เปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ เทคโนโลยกี ารเพ่มิ ประสทิ ธภิ าพการผลิตไม้ดอกไม้ประดบั 1

6.1 ไม้คลุมดิน เป็นพืชท่ีมีล�ำต้นเลื้อยทอดไปตามผิวดิน หรือมีล�ำต้น เต้ียมาก ใบปกคลุมดนิ เชน่ เศรษฐเี รอื นใน เศรษฐเี รือนนอก ดาดตะกัว่ กาบหอยแครง คณุ นายตนื่ สาย เปน็ ต้น 6.2 ไม้พุ่ม เป็นพืชท่ีมีล�ำต้นเป็นพุ่มสูงไม่เกิน 6 เมตร เช่น โมกพวง ทองอไุ ร พุดพิชญา พุดสามสี เป็นต้น 6.3 ไมย้ นื ตน้ เป็นพชื ทมี่ ลี �ำต้นสูงเกนิ 6 เมตร เช่น จามจุรี ราชพฤกษ์ หางนกยูง ชมพูพนั ธ์ทุ พิ ย์ เป็นตน้ แนวทางและวิธีการเพิม่ ประสทิ ธภิ าพการผลิตไมด้ อกไมป้ ระดบั 1. การคัดเลือกพื้นทท่ี ่ีเหมาะสม ปจั จัยทีค่ วรพจิ ารณา ได้แก่ 1.1 แสงสว่าง ได้แก่ ความเข้มของแสง และชว่ งแสงหรือระยะเวลา นานของแสงในแตล่ ะวัน ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนดิ พชื เชน่ มะลิชอบแสงแดดเต็มที่ ส่วนเฟนิ ชอบทีร่ ม่ เบญจมาศต้องการช่วงแสงสัน้ เพอ่ื การออกดอก เปน็ ต้น 1.2 อณุ หภมู ิ ไมด้ อกไมป้ ระดบั ทเี่ จรญิ เตบิ โตไดด้ ีในสภาพทม่ี อี ากาศรอ้ น ได้แก่ กล้วยไม้ (เช่น สกุลหวาย มอคคารา แวนดา แคทลียา) บัว ปทุมมา ธรรมรักษา ดาหลา หน้าวัว ดาวเรือง มะลิ เป็นต้น ไม้ดอกไม้ประดับท่ีเจริญเติบโต ได้ดใี นสภาพทม่ี อี ากาศเย็น ได้แก่ กหุ ลาบ เบญจมาศ คาร์เนชั่น ลลิ ล่ี เยอบีรา่ กล้วยไม้ (ซมิ บีเดยี ม ฟาแลนอปซสิ ) 1.3 ดิน ไม้ดอกไม้ประดับที่ปลูกลงดิน ควรเป็นดินท่ีมีความลึก พอประมาณ ลักษณะร่วนซุย ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายน�้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง และมีค่าความเป็นกรดเล็กน้อย – เป็นกลาง ไม่เป็นพ้ืนท่ีท่ีมีน�้ำท่วมขัง ส�ำหรับ พืชที่ต้องปลูกในโรงเรือน โครงสร้างดินต้องแข็งแรงเพื่อรองรับโรงเรือนได้อย่างมั่นคง ไม่เปน็ บริเวณทม่ี ลี มพดั แรง 1.4 นำ้� มปี รมิ าณนำ้� เพยี งพอตอ่ การผลิตไมด้ อกไม้ประดับตลอดปี 2 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

2. การใช้พันธุ์ดี คือ พันธุ์ท่ีให้ผลผลิตสูง คุณภาพผลผลิต เป็นที่ต้องการ ของตลาด ทนทานต่อสภาพแวดล้อมท่ีไม่เหมาะสมและโรคแมลงศตั รพู ชื 3. โรงเรอื น ไมด้ อกไมป้ ระดบั หลายชนดิ ตอ้ งปลกู และดแู ลรกั ษาในโรงเรอื น ซ่ึงต้องสร้างโรงเรือนให้แข็งแรง มีการพรางแสงด้วยตาข่ายพรางแสงที่เหมาะสมกับ ความตอ้ งการแสงของพชื มีความสงู ท่ีเหมาะสมเพือ่ ใหโ้ ปรง่ และมกี ารระบายอากาศทด่ี ี พืชบางชนิดต้องการโรงเรือนมุงหลังคาพลาสติก เพื่อป้องกันฝน และการแพร่กระจาย ของเช้อื โรค โดยเฉพาะพืชทมี่ ีราคาสูง 4. วัสดุปลูก กรณีไม้กระถางต้องใช้วัสดุปลูกคือดินผสมกับวัสดุอ่ืน ซ่ึงเมื่อผสมแล้วต้องได้วัสดุปลูกท่ีมีปริมาณธาตุอาหารเพียงพอต่อการเจริญเติบโต ของพืช มีความโปร่ง ร่วนซุย ระบายน�้ำและอากาศได้ดี มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสม 5. การปฏิบตั ิดแู ลรักษา 5.1 การปรับสภาพดิน ได้แก่ สภาพทางกายภาพ ความเป็นกรด เปน็ ดา่ ง และความอดุ มสมบรู ณข์ องธาตอุ าหารในดนิ ควรใชส้ ตู รและปรมิ าณทเ่ี หมาะสม กับช่วงการเจรญิ เตบิ โตตามคำ� แนะน�ำ หรือตามค่าวเิ คราะหด์ ินเพ่ือลดตน้ ทนุ ทีไ่ มจ่ ำ� เป็น 5.2 การจัดการน้�ำ ควรให้น้�ำสม่�ำเสมอตามความเหมาะสม ปริมาณ ขน้ึ กบั สภาพความชน้ื ในอากาศ และความชน้ื ในดนิ หรอื ในวสั ดปุ ลกู หากดนิ หรอื วสั ดปุ ลกู ยังมีความชื้นเพียงพอ ก็ไม่จ�ำเป็นต้องให้น้�ำ เพราะหากดินชื้นแฉะหรือวัสดุปลูกอุ้มน้�ำ มากเกินไป จะทำ� ให้เกดิ โรคจากเชือ้ ราไดง้ า่ ย 5.3 การจดั การศตั รพู ชื ปจั จบุ นั แนะนำ� ใหใ้ ชก้ ารปอ้ งกนั กำ� จดั ศตั รพู ชื แบบผสมผสานหลายวธิ ีรว่ มกนั ไดแ้ ก่ • วิธีกล เป็นการท�ำลายศัตรูพืชโดยตรง เช่น การเก็บไข่แมลง หรือหนอนทง้ิ การตดั ทำ� ลายใบหรือต้นทเี่ ป็นโรค ฯลฯ • ชีววิธี เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตด้วยกันในการก�ำจัดศัตรูพืช เช่น การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติในการท�ำลายแมลงศัตรูไม้ดอกไม้ประดับ การใช้เชื้อรา ทำ� ลายแมลง การใช้เชอื้ รา เช่น ไตร์โคเดอรม์ ่า ในการควบคมุ เช้อื ราศัตรูพชื ฯลฯ เทคโนโลยกี ารเพ่มิ ประสทิ ธภิ าพการผลิตไม้ดอกไมป้ ระดับ 3

• สารอนนิ ทรยี ์ เปน็ การนำ� เอาสารในธรรมชาตมิ าปอ้ งกนั ทำ� ลาย แมลงศตั รพู ชื เช่น สารสะเดา ยาสบู พริก ฯลฯ • การใชส้ ารเคมปี อ้ งกนั กำ� จดั ศตั รพู ชื แนะนำ� ใหส้ ลบั กลมุ่ สารเคมี ตามกลไกการออกฤทธ์ิ โดยไมใ่ ชส้ ารเคมีในกลุ่มเดียวกันฉีดพ่นซำ�้ กนั มากกว่า 2 ครงั้ 5.4 การตัดแต่งก่ิง เพ่ือให้มีทรงพุ่มท่ีสวยงาม ให้ก่ิงท่ีสมบูรณ์ เพ่ิมปริมาณและคุณภาพของดอก ดูแลรักษาได้ง่าย รวมท้ังการบังคับให้ออกดอก ในช่วงเวลาที่ตอ้ งการ (นอกฤดู) 5.5 การเดด็ ยอด ไมด้ อกบางชนดิ ตอ้ งมกี ารเดด็ ยอด เพอื่ เพิ่มคณุ ภาพ ของดอก ท�ำใหข้ นาดดอกใหญ่ กา้ นดอกยาว แข็งแรง ดอกดก ขนาดดอกเท่ากัน และ บานพรอ้ มกัน 5.6 การใชส้ ารควบคมุ การเจรญิ เตบิ โต เพอื่ ควบคมุ ทรงตน้ ใหไ้ ดข้ นาด ตามต้องการหรือสารส่งเสริมตาดอกให้ผลิออกพร้อมกันเป็นชุด ในไม้ดอกบางชนิด มีความจ�ำเป็นต้องใช้สารดังกล่าว แต่ต้องต้องศึกษาวิธีการใช้อย่างละเอียดและใช้ใน ระยะเวลาท่ีเหมาะสม เพื่อใหเ้ กิดประสิทธิภาพสูงสดุ 6. การเก็บเก่ยี วและการปฏิบัติหลงั เกบ็ เกยี่ ว 6.1 การเก็บเกี่ยว ต้องเก็บเกี่ยวตามเวลาที่ให้ผลผลิตสูงสุด และหรือ คุณภาพดีที่สุด หรือเก็บเก่ียวก่อนเกิดความเสียหาย ใช้วิธีการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม อุปกรณ์ช่วยในการเก็บเกี่ยว เช่น มีด กรรไกร ต้องมีความคม และสะอาด ในไม้ดอก บางชนิดท่ีมีราคาสูงและมีโอกาสแพร่กระจายของโรคในช่วงการเก็บเกี่ยวได้ง่าย ต้อง จุ่มมดี ในน�้ำยาฆา่ เชอ้ื โรคบ่อยๆ 6.2 การปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยว เม่ือเก็บเก่ียวไม้ตัดดอกแล้ว ให้รีบ น�ำมาไว้ในที่ร่ม ตัดก้านดอกในแนวเฉียง แล้วแช่น�้ำสะอาดทันที เพื่อให้ดูดน้�ำได้มาก ส่วนไม้เด็ดดอก ถ้าต้องการยืดอายุการเก็บรักษา เก็บแล้วต้องแช่ในน�้ำเย็น และใส่ ถงุ พลาสตกิ แชใ่ นนำ้� แขง็ คดั คณุ ภาพผลผลติ โดยแยกดอกทไ่ี มส่ มบรู ณอ์ อก และคดั แยก ตามเกรดทก่ี ำ� หนด ลดความช้นื เพอ่ื ป้องกนั ความเสยี หายในขณะรอจ�ำหน่าย 7. การปรบั ระบบการปลกู พชื เพอื่ ใชป้ ระโยชนจ์ ากพนื้ ทใี่ หม้ ากขน้ึ เปน็ การ เพ่ิมผลผลิต เช่น การปลูกพืชผสมผสาน การปลูกพืชแซม การปลูกพืชเสริมรายได้ ในขณะทีพ่ ืชหลักยังไมใ่ หผ้ ลผลติ การเพ่มิ จำ� นวนครง้ั ตอ่ ปีในการปลูกพชื เปน็ ตน้ 4 กรมสง่ เสริมการเกษตร

เทคโนโลยีการเพมิ่ ประสทิ ธิภาพการผลิต กล้วยไม้ตดั ดอกสกุลหวาย ประเทศไทยเป็นผู้น�ำในการผลิตและการส่งออกกล้วยไม้ตัดดอกเมืองร้อน ของโลกมาเปน็ เวลายาวนานอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง ซง่ึ การผลติ กลว้ ยไมค้ ณุ ภาพดี ตอ้ งมสี ภาพดอก ต้น ใบ และรากสมบูรณ์ ปราศจากรอยต�ำหนิหรือการท�ำลายจากโรคและศัตรูพืช ดอกมสี สี นั สวยงาม จำ� นวนดอกและขนาดเปน็ ไปตามมาตรฐาน มคี วามคงทน โดยเกษตรกร ต้องมีความรู้ มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องในการปลูกและดูแลรักษา ต้องมีการวางแผน และการจดั การการผลติ ทด่ี ีดว้ ย โดยมขี ้ันตอนในการปฏิบตั สิ ำ� คัญท่คี วรค�ำนงึ ถงึ ดงั น้ี การเลือกพน้ื ทีป่ ลูก ควรเป็นพื้นที่ราบ และไม่มีปัญหาน้�ำท่วม น�้ำเค็ม มีอุณหภูมิเฉลี่ยท้ังปี 25–35 องศาเซลเซียส ความช้ืนสัมพัทธร์ อ้ ยละ 50–60 มกี ารถา่ ยเทอากาศดี มีนำ�้ เพียงพอ ตลอดปี และการคมนาคมขนสง่ สะดวก การเตรยี ม ใช้ต้นจากการเพาะเล้ียงเน้ือเยือ่ หรือแยกล�ำหนา้ และล�ำหลัง การปลกู และการดูแลรักษา โรงเรือน ควรมีความสูงอย่างน้อย 4.50 เมตร และพรางแสง ด้วยตาข่ายสีด�ำ 40-50 % โดยขึงตาข่ายพรางแสงห่างกันประมาณ 15 เซนตเิ มตร หรอื สูงต่ำ� เหล่ือมกนั 50 เซนติเมตร ทกุ ระยะ 20–25 เมตร เพ่ือระบาย อากาศให้ถ่ายเทดี โตะ๊ วางกลว้ ยไม้ กวา้ ง 1 เมตร ยาว 20-25 เมตร และสูง 70 เซนติเมตร ทางเดินระหว่างโต๊ะกว้าง 1 เมตร ขาโต๊ะเป็นแท่งคอนกรีตอัดแรง ขนาด 2 นวิ้ x 2 น้วิ สงู 1 เมตร ฝังลึกลงในดินลกึ 30 เซนตเิ มตร แต่ละเสาหา่ งกัน 1 เมตร พน้ื โต๊ะท�ำดว้ ยสายโทรศัพท์ตามความยาวของโตะ๊ จำ� นวน 10 แถว เทคโนโลยกี ารเพม่ิ ประสิทธิภาพการผลติ ไมด้ อกไม้ประดับ 5

KPN บ่อพักน�้ำ ลกึ ไม่ควรเกนิ 3 เมตร เพือ่ พกั น้�ำให้ ตกตะกอนก่อนน�ำไปใช้ และกักเก็บน�ำ้ ไว้ใช้ ในชว่ งทีข่ าดแคลน การปลกู นิยมปลูก ในกาบมะพร้าวเรือใบ เพราะ ตน้ ทนุ ถกู และเกบ็ ความชนื้ ไดด้ ี ใช้ระยะปลูก 25x25 เซนตเิ มตร แตล่ ะโต๊ะปลกู 4 แถว และอีกวธิ ีคอื ปลูกในกระบะกาบมะพร้าว ซ่ึงอัดเปน็ รปู กระบะสีเ่ หลีย่ มขนาด 24x32 เซนติเมตร ปลูกบนกระบะละ 4 ต้น โดยปลูกให้แตล่ ะตน้ ห่างจากมมุ เข้ามา ประมาณ 3 น้ิว (ประมาณ 12,000– 15,000 ตน้ ตอ่ ไร)่ การให้น�้ำ ใช้ระบบสปริงเกลอร์ หรือสายยางรด น�้ำท่ีใช้ควรเป็นน้�ำ จากแหล่งน้�ำธรรมชาติ โดยน�ำมาพักในบ่อพักน้�ำก่อน และควรวัด ค่าความเป็นกรด–ด่าง (pH) ของน�้ำ เท่ากับ 5.2–6.2 รวมถึงค่าการน�ำไฟฟ้าของ เกลือ (EC) ไมเ่ กนิ 750 ไมโครซีเมนส์ตอ่ เซนตเิ มตร การให้ปยุ๋ • ต้นเล็ก (ระยะออกจากขวดถึง 6 เดือน) สูตร 20-20-20 หรือ 21-21-21 อัตรา 50-100 กรมั ผสมน้�ำ 20 ลิตร ฉดี พน่ ทกุ 7 วัน • ไมส้ าว ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือ 21-21-21 สลบั กบั 16-21-27 อตั รา 50-100 กรมั ผสมน้ำ� 20 ลิตร ฉีดพน่ ทุก 7 วนั • ไม้ระยะออกดอก ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-20 หรือ 21-21-21 สลับกับ 10-20-30 อัตรา 50-100 กรัม ผสมนำ�้ 20 ลติ ร ฉีดพน่ ทุก 7 วัน 6 กรมสง่ เสริมการเกษตร

การปอ้ งกนั กำ�จัดศัตรูพชื • โรคจากเชื้อรา ฉดี พน่ แคบแทนสลบั กับแมนโคเซบ ทุก 7 วนั • โรคใบจุด ฉีดพ่นสารคาร์เบนดาซมิ ฉีดพ่น 1 ครง้ั ตอ่ เดือน • โรคเน่า ฉดี พน่ สารเมทาแลกซิลรว่ มกับแมนโคเซบ (68%WP) อัตรา 30 กรมั ต่อนำ้� 20 ลิตร ฉดี พน่ 1 ครง้ั ต่อเดอื น • บ่วั กล้วยไม้ ฉดี พน่ อิมิดาโคลพริค แลมป์ดาไซฮาโลทริน หรือไทอะมี โทแซม ใช้ช่วงพน่ 5 วนั ตดิ ตอ่ กนั จนกวา่ การระบาดลดลง • หอยทาก ฉีดพ่นนิโคลซาไมด์ โอลามีน บริเวณวัสดุปลูก โต๊ะหรือ ทางเดินให้ถกู ตวั หอยทาก หลังการใหน้ �้ำ การเก็บเกี่ยว การตัดดอกกล้วยไม้ท่ีมีจ�ำนวนดอกบานในช่อน้อย กว่ามาตรฐาน เช่น ตัดกล้วยไม้สกุลหวายท่ีมีจ�ำนวนดอกบาน น้อยกว่า 5 ดอก จะท�ำให้อายุการใช้งานของดอกกล้วยไม้ส้ันลง และช่อดอกไม่มี ความสวยงาม กลายเป็นดอกกล้วยไม้ที่มีคุณภาพต�่ำ ดังน้ัน ปัจจุบันเกษตรกร ควรเก็บเก่ียวช่อดอกกล้วยไม้ที่มีจ�ำนวนดอกบานไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของจ�ำนวน ดอกท้งั หมดต่อช่อ เทคโนโลยกี ารเพิ่มประสิทธิภาพการใหน้ ำ้� และสารป้องกนั กำ�จดั ศตั รพู ืช ปัจจุบัน สถานการณ์วิกฤตภัยแล้งและน้�ำเค็มรุกเข้าพ้ืนที่ปลูก กล้วยไม้ทวีความรุนแรงมากขึ้น ท�ำให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไม้ต้องตระหนัก ในการใช้น้�ำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ประกอบกับสารเคมีป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช มรี าคาแพงขน้ึ จงึ ไดม้ เี กษตรกรผปู้ ลกู กลว้ ยไมบ้ างรายหนั มาเทคโนโลยกี ารใหน้ ำ้� และสารปอ้ งกนั กำ� จดั ศตั รพู ืชทม่ี ีประสทิ ธภิ าพมากข้นึ ดงั นี้ • การใหน้ ำ�้ โดยใชส้ ปรงิ เกลอรแ์ บบประหยดั ปจั จบุ นั ชาวสวนใช้ หัวสปรงิ เกลอร์ อัตราการใชน้ ้ำ� 600 ลติ ร ต่อ 1 หวั ในเวลา 1 ชว่ั โมง เพอื่ การใชน้ ำ�้ อยา่ งประหยดั จงึ มกี ารนำ� หวั สปรงิ เกลอร์ แบบประหยัดน้�ำท่ีมีอัตรา การใชน้ ำ�้ 100-120 ลติ ร ตอ่ 1 หวั ในเวลา 1 ชั่วโมง มา ทดแทนท�ำให้ปริมาณการ ใชน้ �ำ้ สำ� หรับกล้วยไมล้ ดลง เทคโนโลยีการเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ 7

• การใหน้ ำ�้ โดยใชเ้ ทคโนโลยนี ำ�้ หยด โดยนายสมโภชน์ นนั ทพงษ์ เกษตรกรผปู้ ลกู เลย้ี ง กลว้ ยไมจ้ งั หวดั นครปฐม เปน็ ผคู้ ดิ คน้ วธิ กี ารใหน้ ำ้� โดยใชเ้ ทคโนโลยนี ำ�้ หยด มอี ตั ราการใชน้ ำ�้ ทเ่ี หมาะสม คือ 4 ลิตรต่อ 1 ชวั่ โมงตอ่ 1 กระบะ ส่งผลให้ ต้นทุนการผลิตถูกลง ผลผลิตท่ีได้มีคุณภาพ ลดความเสี่ยงจากการเข้าท�ำลายของโรคและ แมลง ตลอดจนเป็นการใช้น�้ำอย่างประหยัด และคมุ้ คา่ กับการลงทุน จึงเปน็ อีกหน่ึงทางเลอื ก ในการให้น้�ำ และเข้ากับสถานการณ์ปัญหา ภัยแล้งและน้�ำเค็มรุกสวนกล้วยไม้ที่เกษตรกร กำ� ลงั เผชญิ อย่ใู นขณะน้ี • เครอื่ งพน่ ป๋ยุ สารป้องกันกำ� จดั ศัตรูพืช และน�้ำอัตโนมัติ (แขนกล) โดย คุณสมพงษ์ ทวสี ุข เกษตรกรผ้ปู ลูกเล้ียงกลว้ ยไม้ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นผู้คิดค้น เพ่ือลดต้นทุน แรงงานได้มากกว่า 10 เท่า เม่ือเทียบกับเวลา ฉีดพ่นสารแบบเดิม เพ่ิมประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย สารป้องกันก�ำจัดศัตรูพืช และน�้ำ แก้ปัญหา แรงงานในสวนกลว้ ยไม้ และทสี่ ำ� คญั ลดความเสยี่ ง ในการสัมผัสสารเคมีของแรงงาน ซ่ึงจะเป็น ปัญหาใหญใ่ นอนาคต 8 กรมสง่ เสริมการเกษตร

เทคโนโลยีการเพม่ิ ประสิทธภิ าพการผลติ กุหลาบตัดดอก การเลอื กพนื้ ทีป่ ลูก ควรมีสภาพอากาศเย็น ความสูงจากระดับน้�ำทะเล 500–1,000 เมตร ดินมีการระบายน้�ำดี ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ความเป็นกรด–ด่าง (pH) 5.5-6.5 มกี ารถา่ ยเทอากาศดี มีแหลง่ นำ�้ คณุ ภาพดแี ละเพียงพอทงั้ ปี การเตรยี มพนั ธ์ุ ใช้ต้นพันธุ์ดี แข็งแรงปราศจากโรค คัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพ้ืนที่ นิยมใช้ ต้นพันธุ์ติดตาบนตอกุหลาบป่า เพราะระบบราก แข็งแรง ใหผ้ ลผลติ สูง การปลกู และการดูแลรกั ษา ตน้ พันธุ์ติดตา การเตรียมดิน ไถลึกประมาณ 50 เซนติเมตร วัสดุปลูกใช้ ดิน : ปยุ๋ อนิ ทรยี ์ : แกลบดิบ อัตราสว่ น 3 : 1 : 2 ผสมปุ๋ยกบั วัสดปุ ลูก หรอื ใชป้ ุ๋ยรองพ้ืน เชน่ ปุ๋ยอนิ ทรยี ์ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรงเรอื น ควรมคี วามสงู 3.5-4 เมตร หลังคาเป็น พลาสตกิ หรอื กระจก มชี อ่ งระบายอากาศ เพอ่ื การ ระบายอากาศร้อนภายในโรงเรือน โรงเรอื นมคี วามจำ� เป็นในการผลติ กหุ ลาบตัดดอกให้ได้คุณภาพดี ชว่ ยลดความชอกช้ำ� ของดอกและใบ จากฝนที่กระทบโดยตรง ควบคุมการเกดิ โรค เพิ่มประสิทธิภาพ การใหป้ ๋ยุ และสารป้องกนั กำ� จัดศัตรกู ุหลาบ เทคโนโลยีการเพิม่ ประสิทธภิ าพการผลติ ไม้ดอกไม้ประดับ 9

การปลกู การปลกู ในโรงเรอื นทำ� แปลง การปลกู กหุ ลาบ กว้าง 90 เซนติเมตร เว้นทางเดิน การปลูกกหุ ลาบในโรงเรอื น 60 เซนติเมตร ปลูก 2 แถว ระยะห่างระหว่างต้น 20–25 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถว 40 เซนตเิ มตร ใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 8,000–10,000 ต้นต่อไร่ ส�ำหรับการปลูกกลางแจ้ง ท�ำแปลง กว้าง 1 เมตร ทางเดิน 50 เซนติเมตร ระยะปลูก 60 x 60 เซนตเิ มตร ใชต้ ้นพันธ์ปุ ระมาณ 3,200 ตน้ ต่อไร่ หลังจากปลูกใช้ฟางคลุมโคนต้นจะช่วยรักษา ความชื้นในดินได้ การควบคมุ ทรงพมุ่ และตัดแตง่ ก่งิ • เริ่มแรกควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบเพื่อสะสมอาหารและ สรา้ งกิ่งกระโดง ท�ำไดโ้ ดยการเดด็ ยอดสว่ นเหนอื ใบสมบูรณ์ (5 ใบยอ่ ย) ใบท่ี 2 จากยอด เมอ่ื ดอกมขี นาดเทา่ เมลด็ ถวั่ ลนั เตา จากนน้ั กงิ่ กระโดงจะเรม่ิ แทงออกเปน็ โครงสรา้ งหลกั เม่ือกิ่งกระโดงเริ่มมีสีให้ตัดท้ิง เหลือใบสมบูรณ์ไว้กับก่ิงกระโดง 5-6 ใบ กุหลาบจะ แตกกิง่ กระโดงใหม่ ประมาณ 2 เดอื น จงึ ตัดดอกขายได้ • ตัดแต่งกิ่ง เพ่ือให้ได้ดอกมีคุณภาพดี จ�ำนวนดอกมาก และออกดอกสม่�ำเสมอตลอดท้ังปี วิธีการตัดแต่งท่ีนิยมได้แก่ การตัดแต่งก่ิงแบบตัดสูง และต่�ำ (สูงและต�่ำจากจุดก�ำเนิดของก่ิงสุดท้าย) โดยมีหลักการ คือ ตัดแต่งก่ิงแบบสูง จนกิ่งสดุ ท้ายมขี นาดเล็ก ให้ดอกที่ไมไ่ ดค้ ุณภาพ จากนน้ั จงึ ตดั แตง่ กิง่ แบบตำ่� การตดั สงู การตัดต�่ำ 10 กรมส่งเสริมการเกษตร

KPN การใส่ปุ๋ย ถ้าให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น�้ำ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตรา ความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มลิ ลกิ รมั ต่อลติ ร (ppm) และหากให้ ปยุ๋ ทุกสัปดาหค์ วรใหใ้ นอัตราความเข้มขน้ ของไนโตรเจน 480 มลิ ลิกรัมตอ่ ลติ ร (ppm) โดยสัดสว่ นของ N:P:K คือ 1:0.5:1 ถา้ ใหป้ ยุ๋ ผสมโดยการหวา่ น ใหใ้ ช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 3 กรัมต่อต้นต่อสัปดาห์ ในการให้ปุ๋ยหลังตัดแต่งส�ำหรับบ�ำรุงต้นและก่ิงยอด เพือ่ ให้แตกกง่ิ ท่ีโตและแขง็ แรง ใช้ปุ๋ยสตู ร 15-15-15 หรอื 21-21-21 รว่ มกับปยุ๋ อินทรยี ์ การให้น�้ำ ให้น้�ำด้วยสายยาง หรือระบบน�้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้�ำ ระหว่างแถวปลูก น้�ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH ประมาณ 5.8–6.5 หากปลูกในโรงเรอื น ใชน้ ้ำ� ประมาณ 78,400 ลติ ร หรือ 78.4 ควิ บิคเมตรตอ่ ไรต่ ่อสปั ดาห์ หากปลูกกลางแจ้ง ให้น้�ำอัตรา 49 ลิตรต่อตารางเมตรต่อสัปดาห์ อาจให้น�้ำทุกวัน วนั เวน้ วนั หรอื 2–3 วนั ตอ่ ครงั้ แลว้ แตส่ ภาพความชนื้ ของดนิ อยา่ รดนำ�้ ใหแ้ ฉะตลอดเวลา การป้องกนั กำ�จดั ศัตรพู ชื • โรคราน�้ำค้าง เกิดจากเช้ือรา ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูหนาว การปอ้ งกันก�ำจดั โดยตัดแตง่ สว่ นทเี่ ป็นโรคเผาท�ำลาย และฉดี พ่นดว้ ยสารปอ้ งกนั กำ� จัด เชือ้ รา ทกุ ๆ 15-20 วนั • โรคใบจุดสีด�ำ เกิดจากเช้ือรา ระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน การป้องกันก�ำจัด ตัดแต่งส่วนท่ีเป็นโรคเผาท�ำลาย และฉีดพ่นด้วยสารป้องกันก�ำจัด เชอ้ื รา ทุกๆ 15-20 วนั • หนอน เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกระทู้ผัก ระบาด ไดต้ ลอดทง้ั ปี การปอ้ งกันกำ� จัด ใชส้ ารเคมฉี ีดพน่ ตามฉลากแนะน�ำ • เพลยี้ ไฟ ระบาดรนุ แรงในชว่ งฤดรู อ้ น การปอ้ งกนั กำ� จดั ใชก้ บั ดกั กาวเหนยี ว หรือใชส้ ารเคมีฉดี พน่ ตามฉลากแนะน�ำ การเก็บเกี่ยว ควรตัดดอกกุหลาบในเวลาเช้าหรือเย็น ส่วนใหญ่จะตัด เมื่อดอกตูมอยู่หรือเห็นกลีบดอกเร่ิมแย้ม และปรากฏสีของกลีบดอก หลงั จากตัดให้นำ� ก้านดอกแช่น้�ำสะอาดทนั ที คดั เกรดตามความยาวของกา้ นดอก มดั ก�ำ และห่อดอก เก็บรักษาในห้องเยน็ หรอื ที่มคี วามชนื้ มดื ลมไมพ่ ดั โกรก เพือ่ รอการขนสง่ หรอื จำ� หนา่ ย เทคโนโลยกี ารเพิม่ ประสทิ ธิภาพการผลติ ไม้ดอกไมป้ ระดบั 11

เทคโนโลยกี ารบงั คบั ให้กุหลาบออกดอกในเวลาทีต่ ้องการ ก่อนอ่ืนต้องทราบว่ากุหลาบพันธุ์นั้น ๆ ใช้เวลาเท่าไรจากตัดก่ิง จนถึงวันออกดอก จากนั้นจึงค�ำนวณกลับ ปกติใช้เวลาประมาณ 2 เดือน หลังตัดแตง่ จึงจะตัดดอกจ�ำหนา่ ยได้ ทำ� ไดด้ งั น้ี 1. เมอ่ื เรมิ่ เหน็ ดอกขนาดเทา่ เมลด็ ถว่ั เขยี ว ใหล้ ดการใหน้ ำ�้ ลงเรอ่ื ย ๆ เปน็ เวลา 3 สปั ดาห์ แต่ยงั ใหป้ ยุ๋ ท่มี ี P สงู N ตำ�่ ในอตั ราต่ำ� 2. งดใหน้ ้ำ� เปน็ เวลา 1 สปั ดาห์ (เป็นเวลาทีด่ อกบานเตม็ ทแี่ ลว้ ) 3. วันสดุ ท้ายของการงดน�้ำ ใหต้ ัดแต่งครั้งท่ี 1 โดยตดั ต�่ำ ความสงู ประมาณ 80-100 เซนติเมตร 4. ให้น้�ำเต็มท่ีหลังตัดแต่ง ประมาณ 15-20 ลิตรต่อตารางเมตร หลังจากนั้น 4-5 วนั จงึ เริม่ ให้น�้ำและปยุ๋ 5. ตัดแต่งครง้ั ท่ี 2 โดยการตดั ต�่ำ โดยคำ� นวณให้เหลอื เวลาเทา่ กบั จำ� นวนวนั ท่กี หุ ลาบจะให้ดอกพรอ้ มตัด 12 กรมสง่ เสริมการเกษตร

เทคโนโลยีการเพิ่มประสทิ ธิภาพการผลติ เบญจมาศตดั ดอก การเลือกพืน้ ทีป่ ลูก เบญจมาศชอบสภาพอากาศเย็น โดยเฉพาะภาคเหนือ สามารถผลิตไดท้ ้งั ในฤดูกาล และนอกฤดูกาล แต่หากปลูกในท่ีราบซึ่งมีอุณหภูมิสูง จะส่งผลให้ผลผลิต มีคณุ ภาพต�่ำ การเตรยี มพนั ธ์ุ การปักชำ�ต้นพนั ธ์ุ แปลงพอ่ แมพ่ ันธ์ุ 1. การขยายพนั ธเ์ุ พอ่ื ปลกู เปน็ ตน้ แมพ่ นั ธ์ุ ปจั จบุ นั นยิ มเพาะเลยี้ งเนอื้ เยอื่ แหลง่ จำ� หนา่ ยตน้ พนั ธ์ุ เช่น ส�ำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มลู นธิ โิ ครงการหลวง จงั หวดั เชยี งใหม่ สวนสตางคท์ อง อ�ำเภอแมล่ าว จงั หวดั เชยี งราย เป็นต้น 2. การขยายพันธุ์ปลูกเพื่อตัดดอก ท�ำโดยปักช�ำก่ิงยอด โดยน�ำก่ิงแขนงจากต้นแม่พันธุ์ ท่ีสมบูรณ์ ตัดก่ิงยาว 2.5-3 นิ้ว ปลิดใบล่าง จุ่มฮอร์โมนเร่งราก เซอร์ราดกิ เบอร์ 2 ผ่ึงให้แห้ง แล้วจึงน�ำไปปักช�ำในวัสดุปักช�ำ เช่น แกลบด�ำ ขยุ มะพร้าว และทรายในอตั ราสว่ น 1:1:0.5 ปักให้ โคนก่ิงลึกลงในวัสดุปักช�ำ 0.5-1 นิ้ว รดน้�ำให้ชุ่ม ประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงแตกรากใหม่ หลังจากนั้น ยา้ ยกง่ิ ลงปลูกในแปลง การวางแผนการปลูกเบญจมาศ แบง่ ได้เปน็ 2 ลักษณะ ดงั น้ี 1. การผลิตเบญจมาศในฤดู (ระหว่างเดือนมิถนุ ายน–มกราคม) เน่ืองจาก เบญจมาศเป็นพืชวันส้ัน จะมีดอกและดอกเจริญจนบานได้เฉพาะช่วงเวลามีแสง น้อยกว่า 13.5 ชว่ั โมงต่อวนั เทคโนโลยกี ารเพ่มิ ประสิทธิภาพการผลติ ไมด้ อกไม้ประดับ 13

2. การผลิตเบญจมาศนอกฤดู (ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ตอ้ งมีการลดช่ัวโมงแสง เพื่อชกั นำ� ใหเ้ กดิ วันสน้ั โดยการคลุมด้วยผ้าพลาสติกดำ� ช่วงเชา้ และเยน็ เวลา 18.30–08.00 น. ของวันใหม่ การปลกู และการดูแลรักษา การเตรียมดิน ไถดินตากแดด ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ดินที่ เหมาะสมควรมี pH 5.5-6.5 หากดินเป็นกรด ให้โรยปูนขาว หรือโดโลไมท์ เพื่อปรับ การเตรียมแปลงปลูก สภาพดิน ยกแปลงสูง 20-25 เซนติเมตร ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ทางเดินกว้าง 50-60 เซนติเมตร ความยาวตามพื้นที่ ระยะทเ่ี หมาะสม 20 เมตร 1ก4่งิ พวันนั ธอปุ์ อกั กชำร�าก การปลกู ควรปลกู ในชว่ งบา่ ยถงึ เยน็ นำ� ตน้ กลา้ ทีไ่ ดจ้ ากการปกั ช�ำ ปลกู ลงแปลงลกึ ประมาณ 3/4 นิ้ว ถ้าปลูกแบบไม่เด็ดยอดใช้ระยะปลูก 12.5x12.5– 15x15 เซนติเมตร ถ้าปลูกแบบเด็ดยอดใช้ระยะปลูก 15x20–20x20 เซนติเมตร ให้น�้ำวนั เวน้ วนั การเด็ดยอด นิยมเด็ดยอดภายหลังการปลูกประมาณ 10-15 วัน แลว้ เลย้ี งกงิ่ แขนงไว้ 3 ก่ิง ซงึ่ ก่งิ ช�ำ 1 ตน้ จะผลติ ดอกได้ 3 ดอก หรอื 3 ช่อ ขึน้ กบั ว่าการปลกู ตดั ดอกเปน็ ชนดิ ดอกเดยี วหรือดอกชอ่ การพยุงต้น ควรมีการพยุงต้นให้ตรง เพ่ือให้ได้ดอกที่มีคุณภาพ โดยใช้ตาข่ายไนล่อนขนาดช่อง 12.5x12.5 เซนติเมตร ขึงแปลงปลูก ให้สงู จากพนื้ ดิน 20-30 เซนติเมตร เม่ือต้นเบญจมาศสูงพน้ ตาข่ายชัน้ แรก ให้ขงึ ชั้นที่ 2 สูงจากชน้ั แรกประมาณ 30-50 เซนติเมตร 14 กรมสง่ เสริมการเกษตร

KPN การใส่ปุ๋ย เมื่อก่ิงช�ำตั้งตัวแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เช่น 46–0-0 หรือ 21-0-0 อตั รา 2-3 ช้อนแกง ต่อน�้ำ 20 ลติ ร รด 2 ครัง้ ห่างกนั 7-10 วัน และให้ปุ๋ย 15-15-15 หว่านบนแปลงปลูก 15 วันต่อครั้ง เมื่อเกิดตาดอก ให้ใสป่ ุ๋ยอตั รา 1:2:1 เช่น สูตร 12-24-12 และเสรมิ ด้วยปยุ๋ ทางใบทีม่ ธี าตุอาหารรอง เพื่อเพิ่มคุณภาพดอก ก่อนตัดดอก 5-7 วัน ควรใช้โปแตสเซียมคลอไรด์ 1 ช้อนแกง ละลายนำ�้ 20 ลติ ร ฉดี พน่ ทางใบ เพอ่ื ชว่ ยใหก้ า้ นดอกแขง็ แรงและดอกบานทนนานยง่ิ ขนึ้ การเดด็ ดอกขา้ งและการเดด็ ดอก การเด็ดดอกท่ยี อด ที่ยอด ในการผลิตเบญจมาศ ดอกเด่ียว เพื่อให้ได้ดอกมีขนาดใหญ่ เพียง ดอกเดียว ต้องมีการเด็ดดอกข้างออก ใหเ้ หลอื เพยี งดอกยอดดอกเดยี ว สว่ นเบญจมาศ ชนิดดอกช่อ จะเด็ดดอกแรกที่ส่วนยอด ของล�ำต้นท้ิง โดยเด็ดตั้งแต่ตาดอกมีขนาด เท่าหัวไม้ขดี ไฟ การป้องกันกำ�จัดศัตรูพืช • โรคใบแหง้ เกดิ จากเชอื้ แบคทเี รยี ระบาดมากในสภาพอากาศรอ้ น และความชน้ื สูง การปอ้ งกนั กำ� จัด ควรใช้กง่ิ ปกั ช�ำท่ปี ราศจากโรค และถา้ มโี รคระบาด ในแปลงควรเผาท�ำลาย หรอื ฉีดพน่ ดว้ ยสารเคมีประเภทสเตรปโตมัยซิน • โรคใบจุด เกิดจากเช้ือรา ระบาดมากในฤดูฝน การปอ้ งกนั ก�ำจัด ควรใชก้ งิ่ ปกั ช�ำทีป่ ราศจากโรคมาปลูก และถ้ามีโรคระบาดในแปลงควรเผาท�ำลาย หรือ ฉดี พ่นด้วยสารเคมปี ระเภทสเตรปโตมัยซิน • โรคดอกเนา่ เกดิ จากเชอื้ รา ระบาดมากในฤดฝู น การปอ้ งกนั กำ� จดั ควรฉดี สารปอ้ งกันก�ำจัดเชอ้ื รา เชน่ ไซเนบ, แคบแทน เอ็ม 45 โดยใช้ร่วมกบั สารจับใบ • โรคราสนิม เกิดจากเชื้อรา การป้องกันก�ำจัด ดูแลแปลงปลูก ใหส้ ะอาด และฉีดพน่ ด้วยเพลนทแ์ วกซ์ ทกุ ๆ 7 วนั ในช่วงที่มีการระบาด เทคโนโลยกี ารเพิม่ ประสทิ ธิภาพการผลติ ไม้ดอกไมป้ ระดบั 15

การเก็บเกี่ยว เบญจมาศดอกเด่ียว ควรเก็บเกี่ยวในระยะที่ส่วนกลาง ของดอกยงั บานไม่หมด เหลืออยปู่ ระมาณ 2 เซนติเมตร สว่ นเบญจมาศ ดอกช่อ ถ้าเป็นดอกชั้นเดียวควรเก็บเกี่ยวเม่ือส่วนของกลีบช้ันในพร้อมที่จะบาน ส่วนในดอกช่อแบบดอกซ้อน จะเก็บเกี่ยว เมื่อมีดอกจ�ำนวน 3 ดอก บานประมาณ 1/2 - 3/4 ของดอกทบี่ าน โดยใชม้ ีดหรอื กรรไกรตดั ทีโ่ คนกิง่ แล้วแช่น้ำ� ทนั ที เทคโนโลยีการควบคมุ การออกดอกของเบญจมาศ พันธุ์เบญจมาศส่วนใหญ่เป็นพืชวันสั้น คือ สามารถสร้างตาดอก และเจริญเปน็ ดอกได้ เมือ่ มชี ่วงแสงต่อวัน (ชว่ งกลางวนั ) นอ้ ยกว่า 13.5 ชั่วโมง จะท�ำให้เกิดตาดอกเร็วข้ึน ทั้งที่ต้นเบญจมาศยังไม่สมบูรณ์เต็มท่ี ดอกที่ได้ จึงคุณภาพไม่ดี ดังน้ันเพ่ือเป็นการยับย้ังไม่ให้เบญจมาศออกดอกเร็ว จึงต้อง มีการเพ่ิมจ�ำนวนแสงต่อวันให้ยาวข้ึนท้ังในแปลงปลูกและแปลงปักช�ำ โดย ตดิ ตงั้ หลอดไฟฟ้า ให้สงู จากตน้ เบญจมาศประมาณ 1.50 เมตร ชว่ งระยะเวลา ใหแ้ สงประมาณ 2-3 ช่ัวโมงต่อคืน ขน้ึ อยู่กลบั ชว่ งฤดูการปลูก (ฤดรู ้อน-ฤดูฝน ประมาณ 2-2.5 ช่ัวโมง ฤดูหนาว 3 ชั่วโมง) เม่ือต้นมีความสูงประมาณ 30-40 เซนตเิ มตร จงึ ปดิ ไฟใหต้ ้นได้รับแสงตามปกติ การใหแ้ สงไฟในช่วงเวลากลางคนื คลมุ ผ้าดำ�สรา้ งตาดอก 16 กรมส่งเสริมการเกษตร

เทคโนโลยีการเพ่มิ ประสิทธภิ าพการผลิต ดาวเรืองตัดดอก ดาวเรือง เป็นพืชท่ีนิยมปลูกมากชนิดหนึ่ง เน่ืองจากปลูกง่าย ต้นโตเร็ว ใหด้ อกดก มหี ลายชนิดหลายสี รปู ทรงของดอกสวยงาม บานทนนานหลายวัน ให้ดอก ในระยะเวลาสั้น ประมาณ 50-60 วันหลังปลูก นอกจากนี้ ยังสามารถก�ำหนดระยะ เวลาออกดอกให้ตรงกับเทศกาลส�ำคัญได้ ปัจจุบันการปลูกดาวเรือง นอกจากปลูกเพื่อ ตดั ดอกขายแลว้ ยงั นยิ มปลกู ในกระถางหรอื ถงุ พลาสตกิ เพอ่ื ประดบั ตกแตง่ อาคารสถานที่ และปลูกเพื่อตดั ดอกส่งโรงงานอาหารสัตวอ์ ีกดว้ ย การเลอื กพ้ืนทีป่ ลูก พ้ืนที่ราบหรือลาดเอียงเล็กน้อย สภาพอากาศไม่หนาวเย็นเกินไป ดินร่วน ปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด–ด่าง (pH) 6.2–7.5 หน้าดินลึก มีการ อุ้มน�้ำและระบายไดด้ ี ไมค่ วรปลกู ดาวเรืองซ้ำ� ในพนื้ ท่ีเดมิ เกิน 2 รอบการปลกู เนอื่ งจาก อาจเกิดการสะสมของเชือ้ โรคในดนิ ทำ� ให้ผลผลิตดาวเรืองลดลง การเตรียมพันธ์ุ ใช้พันธุ์ตามท่ีตลาดต้องการ โดยตลาดจะมีความต้องการพันธุ์ที่มีลักษณะ ดอกใหญ่ ก้านยาว และออกสีเหลืองทอง โดยน�ำเมล็ดพันธุ์มาเพาะในตะกร้าเพาะ กล่องโฟม หรือถาดเพาะ ขนาด 200 หลุม วัสดุเพาะใช้ ขุยมะพร้าว ทราย และ ข้ีเถ้าแกลบ ในอัตราส่วน 1:1:1 โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 เมล็ดต่อหลุม และให้พ่น สารเคมีป้องกันเช้ือรา แล้วน�ำวางใต้ตาข่ายพรางแสง 70-80% รดน้�ำ วันละ 2 ครั้ง เช้า-บา่ ย เมอ่ื ต้นกล้าแข็งแรง มีใบจริงคแู่ รกเรมิ่ พัฒนาแลว้ จึงใหร้ ับแสงแดดเต็มท่ี เทคโนโลยกี ารเพมิ่ ประสทิ ธภิ าพการผลติ ไม้ดอกไม้ประดบั 17

KPN การปลกู และการดแู ลรักษา การเตรียมดิน หากสภาพดินเป็นกรด ให้ปรับสภาพด้วยปูนขาว และเพมิ่ อนิ ทรยี วตั ถดุ ว้ ยปยุ๋ คอกหรอื ปยุ๋ หมกั ทยี่ อ่ ยสลายแลว้ (อตั ราสว่ น ตามสภาพของดนิ ) 500-1,000 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ หรอื ปลกู พชื ตระกลู ถวั่ เชน่ ถวั่ เขยี ว ปอเทอื ง แล้วไถกลบลงดินใหย้ ่อยสลาย การปลกู เมอ่ื ตน้ กลา้ มใี บจรงิ 4-6ใบประมาณ7-15วนั สามารถยา้ ยตน้ กลา้ ไปปลูกได้ ใหย้ า้ ยในช่วงเวลาเยน็ โดยให้มวี สั ดุเพาะชำ� ติดต้นกลา้ ไปดว้ ย ปลูกในหลมุ ลกึ 4-5 เซนติเมตร หลุมละ 1 ตน้ ระยะระหว่างต้นและระยะระหวา่ งแถวใช้ ระยะปลูก 30-40X30-40 เซนตเิ มตร รองก้นหลุมดว้ ยปุย๋ สูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา การให้น้�ำ ช่วงย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ให้น้�ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จนต้นดาวเรืองฟื้นตัว หลังจากน้ันให้น้�ำประมาณวันละคร้ัง ท้ังน้ี ข้นึ อยกู่ บั สภาพภูมิอากาศ การใสป่ ุ๋ย • หลังจากยา้ ยปลกู ได้ 5-7 วัน ให้ปยุ๋ สตู ร 46-0-0 หรือ 15-0-0 อตั ราสว่ น 1 กิโลกรมั ตอ่ นำ้� 100 ลติ ร รดบนดนิ บริเวณโคนตน้ โดยใส่ติดต่อกัน 2 ครั้ง โดยครั้งท่ี 2 ห่างจากคร้งั แรก 7-10 วัน • ใสร่ ะยะกลบโคนเมอื่ ดาวเรอื งมอี ายุ20-25วนั ใสป่ ยุ๋ สตู ร15-15-15 อัตราส่วน 50 กโิ ลกรมั ต่อไร่ และเมอ่ื ดาวเรืองอายุ 35 และ 45 วนั ใส่ปุย๋ สตู ร 12-24-12 อตั ราสว่ น 50 กโิ ลกรมั ตอ่ ไร่ โรยตรงทรงพมุ่ พรอ้ มพรวนดนิ กลบโคนตน้ และกำ� จดั วชั พชื การเด็ดดอก หลงั จากย้ายปลกู 7-10 วนั หรือระยะต้นดาวเรอื งมีใบจริง ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดท่ีประกอบด้วยใบเล็กๆ อกี 1-2 คู่ ให้ปลดิ ยอดใหญ่ตรงกลางท้ิงเพ่ือให้แตกกิ่งข้าง ประมาณ 8-10 ก่ิง ท�ำให้ดาวเรืองแตกพุ่ม โดยแต่ละก่ิงจะมีดอกยอด 1 ดอก ส่วนยอดอ่อนอ่ืนๆ ท่ีแตกตามง่ามใบ ให้ปลิดออก ให้หมด ก่อนท่ีจะเจริญต่อไปเป็นดอก เพ่ือเป็นการเพิ่มคุณภาพผลผลิต และท�ำให้ ดอกมขี นาดใหญ่ 18 กรมสง่ เสรมิ การเกษตร

การป้องกนั กำ�จดั ศัตรูพชื • เพลี้ยไฟ จะระบาดมากในช่วงแล้ง (ฤดูร้อน) การป้องกันก�ำจัด ใชส้ ารชีวภาพ เชื้อราบวิ เวอรเ์ รีย หรอื ใช้สารเคมตี ามค�ำแนะน�ำทฉ่ี ลาก • หนอนผเี สอ้ื จะเขา้ ทำ� ลายในขณะดอกเรม่ิ บาน การปอ้ งกนั กำ� จดั ใชส้ ารชวี ภาพบีที (บาซลิ ลสั ทูริงเจนซสิ ) หรอื ใชส้ ารเคมตี ามคำ� แนะนำ� ท่ฉี ลาก • โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา มักจะเกิดกับดาวเรืองท่ีโตเต็มท่ี ดอกก�ำลังจะบาน การป้องกันก�ำจัด ถอนต้นท่ีเป็นโรคเผาท�ำลาย และใช้สารชีวภาพ เชอ้ื ราไตรโคเดอร์ม่า หรอื ใชส้ ารเคมีตามคำ� แนะนำ� ท่ฉี ลาก การเก็บเกีย่ วและการปฏบิ ัตหิ ลังการเกบ็ เก่ยี ว • การเกบ็ เกยี่ ว อายกุ ารเกบ็ เกย่ี วดาวเรอื งจะอยรู่ ะหวา่ ง 55-75 วนั ทั้งนี้ จะขนึ้ อย่กู ับพันธุ์ และการดูแลรกั ษา โดยตดั ดอกทีบ่ าน 80-90 % (กลีบดอกชน้ั ใน ตรงกลางดอกเป็นสเี ขียว เสน้ ผา่ ศูนยก์ ลางประมาณ 0.5-1 เซนตเิ มตร) ให้ใช้กรรไกรตัด ดอกให้ตดิ ก้านดอกยาวประมาณ 5-10 เซนตเิ มตร เพ่อื ใหม้ อี ายกุ ารเกบ็ รกั ษาได้นานขึน้ และหลังเกบ็ ดอกคร้ังแรกแลว้ ยงั เกบ็ เกย่ี วดอกตอ่ ไดอ้ กี ประมาณ 30-45 วัน • การปฏิบัติหลังการเก็บเก่ียว น�ำดอกไปผ่ึงลมให้แห้ง หรือ ถ้ามีความชืน้ ในอากาศสงู ใช้พัดลมเป่า อย่าตากแดด และคัดแยกดอกตามเกรดทีก่ �ำหนด ส่วนใหญ่แยกเป็นขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แล้วใส่ถุงพลาสติก ทเี่ จาะรู มดั ปากถุงใหแ้ นน่ แล้วเตรยี มสง่ จำ� หนา่ ยตอ่ ไป เทคโนโลยีการเพิม่ ประสทิ ธภิ าพการผลติ ไมด้ อกไมป้ ระดบั 19

เทคโนโลยีการเพิ่มประสทิ ธิภาพการผลิต มะลิ การเลอื กพนื้ ทปี่ ลูก พนื้ ทร่ี าบหรอื ลาดเอยี งเลก็ นอ้ ย สภาพอากาศไมห่ นาวเยน็ มากนกั มแี สงแดด เต็มที่ ดินเป็นดินร่วนปนทรายจนถึงดินเหนียว ความเป็นกรด–ด่าง (pH) 6.5–7.5 มีความอดุ มสมบูรณ์ ระบายน�้ำได้ดี มนี ำ้� เพยี งพอตลอดปี การเตรยี มพันธ์ุ นิยมขยายพนั ธดุ์ ว้ ยการปักชำ� เนือ่ งจากงา่ ย สะดวก และรวดเร็ว มีขั้นตอน คือ เตรยี มวสั ดุเพาะชำ� โดยใช้ทรายผสมข้ีเถา้ แกลบ อตั รา 1 : 1 บรรจุในถงุ เพาะ หรือ ตะกร้า แล้วรดน�้ำให้ชุ่ม จากนั้นเตรียมกิ่งพันธุ์ กิ่งท่ีใช้จะเป็นกิ่งกึ่งแก่ก่ึงอ่อน ตัดให้ มคี วามยาวประมาณ 4 น้วิ หรอื มขี ้ออย่างน้อย 3 ข้อ ปลิดใบส่วนลา่ งออกให้เหลือใบ คู่บนสุด 1 คู่ ตัดใบออกให้เหลือเพียงคร่ึงใบเพ่ือลดการคายน้�ำ น�ำก่ิงมะลิท่ีเตรียมไว้ ปักช�ำลงในถุงเพาะหรือตะกร้า จากนั้นรดน้�ำและสารกันเชื้อรา รักษาความช้ืนให้ เหมาะสม จนตน้ มะลแิ ข็งแรงสามารถนำ� ไปปลูกได้ การปลูกและการดแู ลรกั ษา การเตรียมดิน หากดินมีสภาพเป็นกรด ควรใช้ปูนขาวหรือโดโลไมต์ ปรับสภาพดินก่อนท่ีจะปลูกมะลิ และใส่อินทรียวัตถุเพื่อเพิ่มความ อดุ มสมบรณู ข์ องดนิ อาจปลกู พชื ตระกลู ถวั่ เชน่ ถว่ั เขยี วปอเทอื งฯลฯในแปลงทจี่ ะปลกู มะลิ ประมาณ 45-55 วนั (ระยะพืชตระกลู ถว่ั ออกดอก) ให้ไถกลบลงดนิ พร้อมราดน�ำ้ หมกั ชวี ภาพในอัตราความเข้มขน้ สูง เพ่อื ใหจ้ ุลินทรีย์ย่อยสลายพืชตระกูลถว่ั ได้เร็วขึ้น การปลูก ถ้าสภาพพื้นที่เป็นท่ีลุ่มน�้ำท่วมถึง ควรยกร่องขุดคันดิน แปลงปลกู ใหส้ งู กวา้ ง 1-1.50 เมตร หรอื หนงึ่ รอ่ งปลกู ได้ 3 แถว ทงั้ นี้ ขนึ้ อยกู่ บั สภาพของพนื้ ท่ี ระยะปลกู 0.60–0.70x0.80–1.0x1.0 เมตร (800–1,200 ต้นต่อไร่) 20 กรมสง่ เสริมการเกษตร

KPN การให้น้�ำ มะลิเป็นพืชที่ต้องการน้�ำพอสมควร แต่ก็ไม่ชอบน้�ำท่วมขัง หากดินแฉะไม่ควรรดน้�ำ ให้รอจนดินแห้งหมาดๆ เสียก่อน การให้น้�ำ ส่วนใหญ่ใช้ระบบสปริงเกลอร์ แต่ถ้าเป็นแบบยกร่อง บางพื้นท่ีให้น�้ำโดยใช้เรือพ่นน้�ำ วงิ่ ผา่ นกลางรอ่ งสวน โดยจะพน่ กระจายนำ�้ ออกทงั้ 2 ขา้ งของเรือ การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดกิ่งท่ีแห้งและตายออก ใน 1 ปี ควรจะตัดแต่ง 2 คร้งั จะชว่ ยให้มะลมิ ีทรงพุ่มสวยงาม โรคและ แมลงลดนอ้ ยลง งา่ ยตอ่ การดแู ลรกั ษา อกี ทง้ั ยงั สามารถบงั คบั ใหอ้ อกดอกไดต้ ามตอ้ งการ มะลมิ ชี ่วงเวลาตง้ั แต่เก็บดอก จนถงึ ตาก่ิงเจริญใหด้ อกใหมอ่ กี คร้ัง ประมาณ 6 สปั ดาห์ การใส่ปุ๋ย เม่ือตัดแต่งกิ่งมะลิแล้ว จ�ำเป็นมากท่ีจะต้องบ�ำรุงต้นมะลิ ใหส้ มบรู ณ์ โดยการใสป่ ยุ๋ คอกและปยุ๋ เคมี ปยุ๋ คอกทย่ี อ่ ยสลายแลว้ สามารถ ใส่ไดไ้ ม่จ�ำกัด ส่วนปุ๋ยเคมใี หใ้ ส่สูตรเสมอ 15-15-15 อตั ราตามคำ� แนะน�ำเดอื นละ 1 ครั้ง การป้องกนั กำ�จดั ศัตรูพืช • หนอนเจาะดอก ใชส้ ารชวี ภาพ บที ี (บาซิลลสั ทูริงเจนซสิ ) • เพลยี้ ไฟ ใชร้ าขาว “บวิ เวอเรยี ” ในการปอ้ งกนั กำ� จดั หรอื ใชส้ าร เคมีชนดิ ดดู ซึม ใช้ตามค�ำแนะน�ำตามฉลากขา้ งขวด ฉีดพ่นในช่วงเวลาเย็น • โรครากเน่า (ราเมล็ดผักกาด) เกิดจากเชื้อรา หากเกษตรกร มีการเตรียมดินที่ดี และใช้ปูนขาวในการปรับสภาพดินแล้ว จะเป็นการป้องกันโรค ท่ีเกิดจากเชื้อราได้ในระดับหน่ึง หากมีการพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนและเผาท�ำลาย แล้วใชป้ นู ขาวหรอื สารเคมีป้องกันเช้อื ราราดลงดิน การเก็บเกี่ยว เก็บเกย่ี วมะลิขณะดอกตูม สขี าวนวล วิธเี กบ็ ให้ใช้มอื เด็ดตรงก้านดอก ใต้กลีบเล้ียง ควรเก็บดอกตอนเช้า ถ้าไม่เก็บดอกจะบานในช่วงบ่าย ท�ำให้ยากต่อการ เก็บดอกตูมท่ีต้องการ เนื่องจากดอกจะบดบังกัน ราคาดอกมะลิจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในการซอื้ ขายตามท้องตลาด มหี นว่ ยวดั เรยี กวา่ “ลติ ร” (1 ลิตร เทา่ กับ 7 ขดี ) เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธภิ าพการผลติ ไมด้ อกไม้ประดับ 21

เทคโนโลยกี ารเพ่ิมประสิทธภิ าพให้มะลิออกดอกในฤดูหนาว และการใชส้ ารเรง่ ใหม้ ะลเิ ปิดตาดอก 1. การเพิ่มผลผลิตมะลิในฤดูหนาว ถ้าต้องการให้มะลิออกดอกในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากราคาสูง ด�ำเนนิ การดังน้ี 1.1 ตดั แต่งกงิ่ ทันทหี ลงั จากเก็บเก่ียวดอกชุดสดุ ท้ายของฤดฝู น ประมาณเดอื น กันยายน–ตุลาคม เพอ่ื ให้แตกยอดอ่อน และเพม่ิ ก่ิงแขนงยอ่ ย 1.2 ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 12-24-12 ในอัตรา 50 กรมั ตอ่ ต้น ทกุ 2 สัปดาห์ 1.3 พ่นสารเร่งดอก โดยใช้ไธโอยูเรีย 200 กรัม ผสมน้�ำ 20 ลิตร หรือสาร โพแทสเซยี มไนเตรทเขม้ ขน้ 500 กรมั ตอ่ นำ้� 20 ลติ ร เพอื่ ทำ� ลายการพกั ตวั และทำ� ใหอ้ อกดอก 1.4 ใหน้ ้ำ� อยา่ งสม่ำ� เสมอ ถา้ ขาดน�้ำในช่วงนจี้ ะทำ� ให้ดอกลดนอ้ ยลงอยา่ งมาก 1.5 ใช้วสั ดุคลมุ ดิน ได้แก่ อินทรยี วตั ถตุ า่ งๆ หรือแผน่ พลาสตกิ สดี �ำ เพื่อรักษา อณุ หภูมแิ ละความชื้น 2. การเพมิ่ ผลผลติ โดยใชส้ ารและฮอรโ์ มนเรง่ ดอก เปน็ การเรง่ ใหม้ ะลเิ ปดิ ตาดอก เพื่อให้ออกดอกจ�ำนวนมาก ซึ่งเกษตรกรแต่ละพ้ืนที่จะมีเทคนิคการใช้ปุ๋ยน�้ำหมักชีวภาพ หรอื ฮอรโ์ มนเรง่ ดอกทแี่ ตกตา่ งกนั ไป เชน่ สตู รทกี่ ลมุ่ งานอารกั ขาพชื สำ� นกั งานเกษตรจงั หวดั นครปฐมแนะน�ำ ได้แก่ 2.1 สตู รน้ำ� หมกั ที่ใช้รกหมู เปน็ สว่ นประกอบ ดงั น้ี • รกหมู 1 สว่ น • นำ�้ เปลา่ 1 ส่วน • น�ำ้ ตาลทราย 10 เปอรเ์ ซ็นต์ ของนำ�้ หนัก • จุลนิ ทรยี ์ 1 สว่ น ใช้ส่วนผสมหมักในภาชนะท่ีทนต่อความเป็นกรด ในช่วง 7 วันแรก ให้คนส่วนผสมทุกวันเน่ืองจากรกหมูจะพองตัว หลังจากน้ันหมักท้ิงไว้ ประมาณ 42 วัน จึงน�ำไปใช้ได้ โดยใชส้ ่วนผสม น�้ำหมัก 1 สว่ น ตอ่ น�้ำ 100 สว่ น น�ำไปฉดี พน่ หรือราดลงดนิ 2.2 สตู รฮอรโ์ มนไข่ มสี ่วนผสม ดงั นี้ • ไขไ่ ก่เบอร์ 0 จำ� นวน 10 ฟอง (เอาแตน่ ้�ำและไขแ่ ดงตีให้เขา้ กนั ) • นมขน้ หวาน 1 กล่อง • นำ�้ เปลา่ 1 กระป๋องนม • ยาคลู ท์ (จลุ นิ ทรยี )์ จำ� นวน 1 ขวด น�ำส่วนผสมคนให้เข้ากัน บรรจุในภาชนะขวด 1 ลิตร ระยะ 7 วันแรก ให้เขย่าขวดทุกวัน หลังจากน้ันหมักท้ิงไว้ 21 วัน จึงน�ำไปใช้ อัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ตอ่ นำ�้ 20 ลิตร ส�ำหรับฉีดพน่ 22 กรมส่งเสริมการเกษตร

เทคโนโลยีการเพิม่ ประสิทธภิ าพการผลิต ครสิ ตม์ าส คริสต์มาส เป็นไม้พุ่มเน้ืออ่อน สูง 1-3 เมตร ใบคล้ายรูปไข่ปลายแหลม ขอบใบหยัก ดอกสเี หลอื งออกเปน็ ชอ่ ทยี่ อด บานในชว่ งเดอื นธนั วาคม โดยมดี อกเพศผแู้ ละเพศเมยี อยบู่ นชอ่ เดยี วกนั มีลกั ษณะเดน่ คือ เมือ่ ถึงช่วงฤดหู นาวท่ีมีอากาศหนาวเย็น และแสงนอ้ ยกวา่ 11 ชวั่ โมง (ประมาณ ปลายเดอื นตลุ าคม) สว่ นของใบประดบั จะเปลย่ี นสจี ากสเี ขยี วเปน็ สแี ดงสด สชี มพู สขี าว หรอื สเี หลอื ง ขน้ึ กบั พนั ธ์ุ สว่ นใบลา่ งจะมสี เี ขยี ว และเมอื่ ถงึ ปลายเดอื นมนี าคมปถี ดั ไป ใบประดบั จะกลบั เปน็ สเี ขยี ว เหมือนเดิม ซึ่งช่วงเวลาท่ีใบประดับเปลี่ยนเป็นสีแดงจัด หรือสีสดใสตรงกับตรุษฝรั่งหรือคริสต์มาส จงึ เรยี กกนั วา่ ตน้ หรอื ดอกครสิ ตม์ าส นยิ มปลกู เปน็ ไมก้ ระถางตกแตง่ ประดบั บา้ น หา้ งรา้ น โดยเฉพาะ ในเทศกาลครสิ ต์มาส การเลอื กพ้ืนทป่ี ลกู คริสต์มาสเป็นพรรณไม้ท่ีชอบแสงแดดก่ึงร่ม ชอบอากาศเย็นแต่ไม่หนาวจัด ปลูกได้ดี ในดินร่วนปนทราย มีสภาพความเป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลาง (pH 6-7) แหล่งผลิตที่ส�ำคัญ ได้แก่ อำ� เภอภเู รือ จงั หวัดเลย การเตรยี มพนั ธุ์ พนั ธุแ์ บ่งตามลักษณะสีของกลบี เล้ยี ง ไดแ้ ก่ สีแดง สเี หลือง และสีชมพู นิยมขยายพนั ธ์ุ โดยการตัดก่ิงชำ� ในวัสดุเพาะชำ� ท่เี หมาะสม ระบายนำ�้ ดแี ละปราศจากเชอ้ื โรค เชน่ ทราย แกลบด�ำ พีทมอส เพอรไ์ ลท์ เป็นตน้ การปลูกและดูแลรกั ษา วสั ดปุ ลกู ใชว้ สั ดทุ ห่ี างา่ ยในทอ้ งถน่ิ ทม่ี คี วามรว่ นโปรง่ นำ�้ หนกั เบา ดดู ซบั ความชน้ื ระบายน�้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี เช่น ดินร่วน แกลบดิบ แกลบเผา ผสมดินกับแกลบ ในอัตรา 2:3 ให้เข้ากัน จากนั้นน�ำวัสดุปลูกไปอบฆ่าเช้ือสาเหตุโรคในดินโดยใช้ปุ๋ยยูเรียและปูนขาว ในอัตราส่วน ยูเรีย 20 กรัม ผสมกับปูนขาว 200 กรัม ต่อวัสดุปลูกที่มีปริมาตร 1 ลูกบาศก์ฟุต คลุกเคล้าส่วนผสมตา่ งๆ ให้เขา้ กันแลว้ รดน้�ำให้ชมุ่ พอประมาณ คลุมพลาสตกิ ไว้ 7 วนั หลงั จากน้นั เปดิ พลาสตกิ ออก ทงิ้ ไวอ้ กี 2-3 วนั เพอื่ ใหแ้ กส๊ ทเี่ กดิ ขน้ึ ระเหยใหห้ มด จากนน้ั ใสเ่ ชอ้ื ราไตรโคเดอรม์ า ในกองวัสดุปลูกคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถใช้ได้ท้ังรูปแบบเชื้อสด และเชือ้ ส�ำเรจ็ รูป ดังน้ี 1. รปู แบบเชอ้ื สด 1.1 ผสมกบั วสั ดปุ ลกู โดยใช้เชื้อสดทผ่ี สมแลว้ (เชอ้ื สด 1 สว่ น : ร�ำละเอียด 4 ส่วน : ปุย๋ หมัก 100 ส่วน) ผสมลงในวัสดปุ ลูกอัตรา 1:4 เทคโนโลยกี ารเพ่ิมประสทิ ธภิ าพการผลิตไม้ดอกไม้ประดบั 23

KPN 1.2 ใชฉ้ ดี พน่ หรอื ราดดนิ โดยใชเ้ ชอื้ สด1ถงุ (ครงึ่ กโิ ลกรมั )ผสมนำ้� 30-100ลติ ร กรองเอาเฉพาะส่วนทีเ่ ปน็ น�้ำมาใช้ 2. เชื้อสำ�เร็จรปู ใส่ตามอัตราแนะน�ำข้างขวด คลกุ เคลา้ เชอื้ ราไตรโคเดอรม์ ากบั วสั ดปุ ลกู ใหเ้ ขา้ กนั รอใหแ้ หง้ นำ� กงิ่ ชำ� มาปลกู จากน้นั ทุก 15-30 วนั รดด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา การวางถุงเพาะชำ� ควรวางให้สูงจากพ้ืนประมาณ 75 เซนติเมตร หรือใช้ กระถางคว่�ำและวางถุงเพาะช�ำบนกระถาง เพือ่ หลกี เล่ียงการตดิ เชือ้ ทางดิน การใหน้ ำ้� ควรใหน้ ำ้� อยา่ งสมำ�่ เสมอ ใหม้ คี วามชน้ื พอเหมาะ แตไ่ มแ่ ฉะ ไมค่ วรรดนำ้� ใหโ้ ดนใบ เพราะนำ้� จะขังบนใบอ่อน ท�ำให้ยอดเนา่ ได้ การให้ปุ๋ย ระยะแรกให้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1/2 ช้อนชาต่อกระถาง ใหส้ ปั ดาหล์ ะ 1 ครงั้ ระยะใบเรมิ่ เปลย่ี นสี ใหป้ ยุ๋ เคมสี ตู ร 15-15-15 ผสมปยุ๋ เคมสี ตู ร 0-0-60 อัตราสว่ น 3:1 อตั รา 1/2 ชอ้ นชาตอ่ กระถาง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หมั่นพรวนดินใสป่ ุ๋ยอนิ ทรยี ์ หรือป๋ยุ คอกบำ� รุงต้นเดือนละครง้ั โดยใช้วธิ ีฝังกลบ จะชว่ ยเรง่ ใหใ้ บเปลีย่ นสไี ดด้ ีกว่าวธิ อี นื่ การเดด็ ยอด เพอ่ื ใหไ้ ดท้ รงพมุ่ ทมี่ ขี นาดใหญส่ วยงาม ครง้ั แรกหลงั ปลกู 2 สปั ดาห์ ครัง้ ที่ 2 และ 3 ในอีกทกุ ๆ 4 สัปดาห์ การให้แสง การปลูกและดูแลต้นคริสตม์ าส ให้มีใบสีแดงสดอยู่ได้นาน แนะนำ� ให้ ปลูกในท่มี ีแสงแดดกึ่งรม่ ไม่ควรปลูกกลางแจ้ง เพราะจะทำ� ใหใ้ บไมเ่ ปลี่ยนสี การปอ้ งกันกำ�จัดศตั รพู ชื การส�ำรวจและการปฏิบัติเพอื่ ป้องกันกำ� จดั ศตั รคู รสิ มาส 1. หากพบต้นคริสมาสเป็นโรคเน่า-โคนเน่า 5 ต้นต่อการสุ่ม 100 ต้น ให้พ่น อาลีเอท (fosetyl-aluminium 80% WP) อัตรา 50 กรัมตอ่ น้ำ� 20 ลิตร 2. หากพบแมลงหวี่ขาว 10 ต้นต่อการส่มุ 100 ตน้ หรอื แมลงหวขี่ าว เฉล่ีย 3 ตวั ต่อกับดักกาวเหนียว (5 กับดักต่อโรงเรือน) ให้พ่นสารเคมี 2 คร้ัง buprofezin 40% SC อัตรา 15 มิลลิลติ ร ตอ่ น�้ำ 20 ลิตร หรือ spiromesifen 24% SC อตั รา 15 มิลลลิ ติ ร ต่อน้�ำ 20 ลิตร เลอื กใช้สารเคมชี นดิ ใดชนดิ หน่ึง โดยพน่ ทันทใี นครงั้ แรก และเวน้ ระยะ 7 วัน จึงพ่นครัง้ ท่ี 2 เทคโนโลยกี ารบงั คบั ใหค้ รสิ ตม์ าสมใี บประดบั สแี ดงหรอื สสี ดใสตรงกบั ชว่ งเทศกาล ช่วงเดือนตลุ าคม พรางแสงใหม้ ดื ระหว่างเวลา 17.00–08.00 น. หลังจากนนั้ 40 วนั ปลอ่ ยให้ได้รบั แสงตามปกติ ใหน้ ำ้� ปุ๋ย รวมทง้ั สภาพอากาศที่เย็น จะทำ� ใหใ้ บประดบั เปลย่ี นสีช่วงเดอื นธนั วาคม 24 กรมส่งเสรมิ การเกษตร

เทคโนโลยกี ารเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต ไม้กระถาง ไมก้ ระถาง หมายถงึ การนำ� พรรณไมบ้ างชนดิ มาปลกู ลงในกระถาง หรอื ภาชนะ สวยงาม เพื่อใชเ้ ป็นไมป้ ระดับตกแตง่ อาคารสถานทที่ ่ีมีพ้ืนที่จ�ำกดั และสามารถเคลือ่ นยา้ ย ไปประดับในสถานทีต่ ่างๆ ได้ง่าย สะดวกในการดแู ลรกั ษา และโยกยา้ ยสบั เปล่ียนพรรณไม้ ไดต้ ามความพอใจ การแบง่ กลมุ่ ไม้กระถางตามลกั ษณะความต้องการแสง แบง่ ไดด้ งั นี้ 1. ไม้กระถางในรม่ เช่น ว่านต่างๆ บอน เฟิน สาวน้อยประแปง้ แก้วกาญจนา พลูด่าง เดหลี วาสนา ก�ำมะหย่ี หมากผู้หมากเมีย กล็อกซีเนีย อาฟริกันไวโอเลท ฯลฯ พรรณไมเ้ หลา่ น้ตี อ้ งการแสงแดดเพยี ง 20–40% 2. ไมก้ ระถางกลางแจง้ เชน่ โป๊ยเซยี น เบญจมาศ กหุ ลาบ โกสน ชวนชม เฟือ่ งฟา้ วา่ นส่ีทิศ ครสิ ตม์ าส ดาวเรือง มะลิ เป็นต้น เปน็ กลุ่มไม้ท่ชี อบแสงแดด โดยจะต้อง ไดร้ ับแสงแดดมากกว่า 50% ขึน้ ไป การเลือกกระถาง เลือกกระถางท่ีมีรูเพียงพอส�ำหรับการระบายน้�ำ เน่ืองจากการระบายน�้ำ ที่ไม่ดีเป็นสาเหตุให้เกิดอาการรากเน่า และต้นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี กระถางท่ีท�ำ จากพลาสติก ไฟเบอร์ หรือเรซิ่นจะเก็บความชน้ื ไดน้ อ้ ยกว่ากระถางดนิ เผา การเลอื กวสั ดุปลกู วสั ดปุ ลกู ควรมลี กั ษณะรว่ นโปรง่ อมุ้ นำ้� หรอื เกบ็ ความชน้ื ไดด้ ี สามารถระบายนำ้� และถา่ ยเทอากาศไดด้ ี โดยอาจใชด้ ินธรรมชาติผสมกบั วสั ดุตา่ งๆ เชน่ อินทรียว์ ัตถุ ปุ๋ยคอก และอน่ื ๆ เชน่ ทราย อฐิ ปน่ และถา่ นปน่ หรอื อาจซอ้ื มาจากแหลง่ ขาย เชน่ Garden Center ซงึ่ วสั ดทุ มี่ นี ำ�้ หนกั เบา เชน่ พที มอส เวอรม์ คิ ไู ลท์ หรอื อนิ ทรยี วตั ถทุ ยี่ อ่ ยสลาย เหมาะสำ� หรบั การปลูกไม้อวบน�้ำ เช่น แคคตัส ไม้บางชนิดอาจต้องมีการผสมวัสดุปลูกตามสูตร และ หากต้องการลดการดูแลไม้กระถาง แนะน�ำให้ปุ๋ยละลายช้าและใส่โพลิเมอร์เก็บความช้ืน ไมใ่ ช้วสั ดุปลกู จากสนามหรือสวนที่มีเมลด็ วชั พชื เมลด็ พชื แมลงและเช้อื นำ� โรค เทคโนโลยกี ารเพ่ิมประสิทธภิ าพการผลิตไม้ดอกไมป้ ระดบั 25

KPN การเลอื กตน้ ไม้ พจิ ารณาให้เหมาะกบั สภาพพืน้ ที่ สภาพอากาศและระยะเวลา ท่ไี ดร้ บั แสง ไมค่ วรปลกู ตน้ ไม้ท่ีต้องการสภาพแวดลอ้ มตา่ งกันในบรเิ วณเดยี วกนั การปลกู และการดูแลรักษา การปลกู • เตรยี มกระถางใหเ้ หมาะสมกบั ขนาดของตน้ ไม ้ ใสเ่ ศษกระเบอ้ื งรอง หลมุ กระถาง เพอื่ ป้องกันวัสดุปลูกออกมาจากกระถาง แตใ่ หน้ �้ำระบายผา่ นไดส้ ะดวก • ใส่ดนิ หรือวัสดุปลูกลงในกระถาง • น�ำไม้กระถางออกจากภาชนะเดิม โดยรดน้�ำต้นไม้ในกระถางเดิม 1 ชวั่ โมงกอ่ นถอดภาชนะ เพอื่ ใหส้ ามารถถอดรากตน้ ไมอ้ อกมาเปน็ ตมุ้ กอ้ นดนิ ปอ้ งกนั ความ เสียหายจากการช็อกของต้นไม้ ไม่ควรดึงหรือถอนต้นไม้ออกจากกระถาง หากรากต้นไม้ มจี �ำนวนมากบริเวณตุม้ ดิน ให้ตดั แตง่ รากฝอยออกพอสมควร วางตน้ ไมแ้ ละกลบวสั ดุปลกู โดยปลูกให้ต่�ำกว่าขอบกระถางประมาณ 1 น้ิว กดดินเล็กน้อย เพ่ือไล่โพรงอากาศ และให้ดินสัมผัสรากพชื ได้กระชับขน้ึ รดน้�ำหลังปลูก การให้น้�ำ พิจารณาตามฤดูกาล ความช้ืนของดิน และขนาดของไม้ ไมแ้ ขวนและไมก้ ระถางขนาดเล็กตอ้ งใหน้ �้ำ 2 ครั้งต่อวนั ช่วงเช้าและเยน็ ไม้กระถางขนาดใหญ่ให้น้�ำวันละครั้ง โดยรดน้�ำจนกระทั่งน�้ำระบายออกจากรูกระถาง รดเฉพาะที่โคนต้น ไม่รดที่ใบหรือดอก หรือต้องปล่อยให้ใบแห้งก่อนค่�ำ เพ่ือป้องกัน การเกิดโรค ไม่วางกระถางแช่ในน�้ำ เน่ืองจากจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรครากเน่าและตายได้ และหากใช้จานรอง ใหเ้ ทน�ำ้ ทีค่ ้างในจานรองออกทุกคร้งั การให้ปุ๋ย ต้นไม้ที่ปลูกในกระถางต้องการปุ๋ยมากกว่าต้นไม้ท่ีปลูก ในดิน ยิ่งให้น�้ำมากเท่าไรก็ยิ่งเป็นการชะปุ๋ยและธาตุอาหารออกไปมาก เท่านั้น โดยท่ัวไปมักใช้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรีย (46-0-0) โดยใส่หลังจากปลูกประมาณ 3–7 วัน และครั้งตอ่ ไปใส่สัปดาห์ละคร้ัง เพ่อื เรง่ การเจริญเติบโต ควรรดน�ำ้ ตามหลงั การให้ปยุ๋ เสมอ เพราะน้�ำจะเป็นตัวละลายให้พืชดูดน�ำไปใช้ได้สะดวก การให้ปุ๋ยไม้กระถางประดับ ในอาคาร ไม่ควรใส่มากเหมือนไม้กลางแจ้ง จะท�ำให้พืชยืดล�ำต้นเร็ว และอ่อนแอ ไม่ทน ต่อโรคแมลง ควรใส่ปุ๋ยในระยะที่น�ำไม้ออกมาพักฟื้นภายนอกอาคาร อาจเป็นปุ๋ยเม็ดสูตร 26 กรมสง่ เสริมการเกษตร

เสมอ เช่น 15-15-15 ใส่ทางดนิ ร่วมกับการใชป้ ุย๋ น้ำ� สูตรไนโตรเจนสูง เช่น 21-13-13 ฉีด พน่ ทางใบสปั ดาหล์ ะครง้ั เมอื่ เหน็ วา่ ตน้ ไมเ้ รม่ิ ฟน้ื ตวั ดขี นึ้ ควรงดปยุ๋ ทางใบ ใหเ้ ฉพาะปยุ๋ เมด็ ทางดนิ อย่างเดียว การใส่ปยุ๋ ละลายช้า เปน็ อีกทางเลอื กหนง่ึ ในการปลูกไม้กระถาง ซ่ึงอาจ จะให้ 2 สปั ดาห์ตอ่ คร้ัง การปลิดยอด เป็นส่ิงจ�ำเป็นเพ่ือให้ต้นสามารถผลิตดอกได้ในปริมาณ มากข้นึ โดยตัดแต่งก่ิงออกประมาณ 1 ใน 3 สว่ น ต้นจะดูอิดโรยประมาณ 1 สปั ดาห์ หลงั จากนั้นจะออกตาดอกเป็นจำ� นวนมากและบานในเวลาต่อมา ต้นไม้บางชนิด ไม่ต้องปลิดยอด หรือตัดแต่งกิ่ง โดยดอกท่ีมีความสมบูรณ์จะบานคลุมดอกเล็กๆ ซึ่งจะ เหี่ยวเฉาและแหง้ ไปในที่สุด การปอ้ งกนั กำ�จัดศตั รูพืช • แมลงทีพ่ บมากมี 2 ประเภท คอื ประเภทปากกดั ไดแ้ ก่ ต๊กั แตน หนอนผีเส้ือ ด้วง ฯลฯ ป้องกันก�ำจัดโดย จับท�ำลาย หรือใช้สารเคมีตามค�ำแนะน�ำ ข้างฉลาก และประเภทดูดน้�ำเล้ียง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยจั๊กจ่ัน เพล้ียไฟ เพลี้ยอ่อน แมงมุมแดง เพล้ยี หอย ฯลฯ ปอ้ งกนั ก�ำจดั โดย ใช้สารเคมีตามค�ำแนะนำ� ข้างฉลาก • โรคท่ีพบมาก ได้แก่ โรคโคนเน่า ป้องกันก�ำจัดโดย ท�ำให้ บริเวณโคนต้นโปร่ง มีการระบายอากาศดี มีแสงแดดส่องถึง และรักษาผิวหน้าดินปลูก อย่าใหช้ ืน้ แฉะเกินไป การดูแลรักษาโดยทั่วไป เช่น ไม่ควรตั้งไม้กระถางในที่ที่มีลมแรงมาก หรือตั้งใกล้ที่มีไอร้อนมาก ไม้บางชนิด ควรดูแลท�ำความสะอาดใบ เพราะจะทำ� ให้ใบสะอาดสวยงาม และท�ำให้พืชสามารถสงั เคราะห์แสงไดด้ ขี ้ึนอกี ดว้ ย เทคโนโลยีวสั ดุอุปกรณส์ ำ�หรับการปลูกเลยี้ งไม้ดอกไมป้ ระดับ วัสดุอุปกรณ์ส�ำหรับการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับมีการพัฒนาไปมาก เช่น กระถางตน้ ไมท้ มี่ อี ปุ กรณว์ ดั ปรมิ าณนำ�้ ทำ� ใหท้ ราบปรมิ าณนำ้� ทค่ี งอยใู่ นกระถาง และจะเตมิ นำ้� อกี เทา่ ใดจงึ จะเพยี งพอแกต่ น้ ไม้ กระถางตน้ ไมท้ ท่ี ำ� มาจากวตั ถดุ บิ ธรรมชาติ เชน่ เปลอื กถว่ั แกลบ ฟางข้าว ซังข้าวโพด ซึง่ ยอ่ ยสลายได้ด้วยกระบวนการธรรมชาติ แตม่ ีคณุ ลกั ษณะเช่นเดยี วกบั พลาสติกใช้งานได้เอนกประสงค์ วัสดุปลูกท่ีมีลักษณะเป็นก้อนเพาะปลูกมีวัสดุหลัก ได้แก่ ขยุ มะพร้าว หินบด แรบ่ ด ก้อนเพาะปลกู นไ้ี ดผ้ ่านความร้อนสงู เพ่ือฆ่าเชื้อรา ก้อนเพาะปลูก มีความโปร่ง ท�ำให้รากต้นไม้สามารถกระจายได้ท่ัวถึง รวมถึง สามารถเก็บความช้ืนได้นาน และอุ้มน้ำ� ไดด้ ี เมอ่ื ถกู น้�ำแลว้ ไม่ยุบตวั หรือเปื่อยย่ยุ สามารถน�ำไปปลกู พชื ใตน้ �้ำไดด้ ว้ ย เทคโนโลยีการเพม่ิ ประสิทธิภาพการผลติ ไมด้ อกไม้ประดบั 27

เอกสารอา้ งองิ กรมส่งเสรมิ การเกษตร. 2530. คมู่ ือการผลิตไม้ตดั ดอกเพ่อื การส่งออก. กรุงเทพฯ. . 2531. รายงานการสมั มนา เรือ่ ง การผลติ กุหลาบเพอ่ื การส่งออก. กรงุ เทพฯ. . 2533. ข้อมูลการผลติ ไมด้ อกทส่ี �ำคญั . กรงุ เทพฯ. . 2539. การผลติ ไมด้ อกไมป้ ระดับเชงิ อตุ สาหกรรม. กรุงเทพฯ กรมสง่ เสริมการเกษตร. . 2551. คมู่ อื นักวชิ าการสง่ เสรมิ การเกษตร: กุหลาบ. กรุงเทพฯ. . 2556. องคค์ วามรเู้ พม่ิ ประสทิ ธภิ าพการผลติ สกู่ ารเปน็ Smart officer ไมด้ อกไมป้ ระดบั . กรงุ เทพฯ: โรงพมิ พช์ ุมนุมสหกรณก์ ารเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำ� กัด. . 2557. สวนกล้วยไม้ GAP ส�ำหรับเกษตรกร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง ประเทศไทย จำ� กดั . กองสง่ เสรมิ การอารักขาพชื กรมส่งเสรมิ การเกษตร. 2560. การดำ� เนินกิจกรรมเพอื่ ควบคุมและก�ำจดั ศตั รคู ริสต์มาส (โรคโคนเน่ารากเน่าและแมลงหว่ีขาว). การประชุมรายงานผลการทดสอบและพัฒนาวิธีการควบคุม ศัตรูครสิ ตม์ าสโดยวธิ ีผสมผสาน; 17 กุมภาพันธ์ 2560; สำ� นักงานเกษตรอำ� เภอภูเรือ จังหวัดเลย. กรมส่งเสริมการเกษตร. คณะกรรมการบริหารกลุ่มผูป้ ลกู กุหลาบเชียงใหม่. 2534. คมู่ อื สมาชกิ กลมุ่ ผปู้ ลกู กหุ ลาบเชียงใหม.่ ปริญญา กอ่ ศรีพิทักษก์ ุล. 2541. การจัดการกุหลาบตดั ดอก. สาขาเทคโนโลยีการเกษตร, มหาวิทยาลัยรามคำ� แหง. พจนา นาควชั ระ. 2542. กุหลาบ. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพบ์ ้านและสวน. มารศรี วงศ์อนันทรพั ย.์ 2559. กลว้ ยไมต้ ัดดอกสกุลหวาย. ใน วารสารเกษตรก้าวหน้า, 29(3), 9 – 24. วชั รพี ร โอฬารกนก และวรี ะเดช ฟองชยั . 2560. โครงการทดสอบและพฒั นาวธิ กี ารควบคมุ ศตั รคู รสิ ตม์ าสโดยวธิ ผี สมผสาน ณ พื้นที่จังหวัดเลย. การประชุมรายงานผลการทดสอบและพัฒนาวิธีการควบคุมศัตรูคริสต์มาส โดยวธิ ผี สมผสาน; 17 กมุ ภาพนั ธ์ 2560; สำ� นกั งานเกษตรอำ� เภอภเู รอื จงั หวดั เลย. กรมสง่ เสรมิ การเกษตร. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดเลย (พืชสวน). 2552. เอกสารประกอบการฝึกอบรม โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรเฉพาะด้าน ปี 2552 หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตไม้ดอก ไมป้ ระดบั เพือ่ การคา้ . เศรษฐพงศ์ เลขะวัฒนะ. 2545. การปลกู กหุ ลาบตดั ดอก. กรุงเทพฯ. . 2548. การผลติ เบญจมาศตดั ดอก. กรุงเทพฯ กรมส่งเสรมิ การเกษตร. สมเพยี ร เกษมทรพั ย.์ 2528. การปลูกไม้ตัดดอก. กรุงเทพฯ : ฟันนพ่ี บั บลิชชงิ่ . . 2542. คำ� แนะนำ� ท่ี 80 เร่ือง การปลกู เบญจมาศ. กรุงเทพฯ กรมส่งเสรมิ การเกษตร. สัญญานี ศรีคชา. 2560. การจัดการแมลงหว่ีขาวและโรครากเน่า-โคนเน่า แบบผสมผสานส�ำหรับต้นคริสต์มาส. การประชุมรายงานผลการทดสอบและพัฒนาวิธีการควบคุมศัตรูคริสต์มาสโดยวิธีผสมผสาน; 17 กุมภาพนั ธ์ 2560; สำ� นักงานเกษตรอำ� เภอภูเรอื จงั หวัดเลย. กรมวิชาการเกษตร. อดิศร กระแสชัย. 2535. เบญจมาศ. กรงุ เทพฯ. ส�ำนักพมิ โอเดยี นสโตร์. อารีวรรณ ใจเพชร. 2558. เชื้อราไตรโคเดอร์มา. (แผน่ พบั ). กรมสง่ เสรมิ การเกษตร. http://www.aopdh06.doae.go.th/ การผลิตและขยายพนั ธ์ุเบญจมาศ. เข้าถึงวนั ที่ 6 ธนั วาคม 2559 http://www.panmai.com/pottechnic/PotMain.shtml เทคนคิ การปลกู ไมก้ ระถาง. เขา้ ถงึ วนั ที่ 14 ธนั วาคม 2559 http://www.rakbankerd.com/ เขา้ ถงึ วนั ที่ 6 ธันวาคม 2559 http://www.theflowerexpert.com/content/giftflowers/flowerandoccasions/poinsettias เขา้ ถงึ วนั ท่ี 6 ธนั วาคม 2559 http://www.vcharkarn.com/varticle/44277 เข้าถงึ วนั ที่ 6 ธนั วาคม 2559 http://www.wikihow.com/Grow-Potted-Plants เขา้ ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2559 28 กรมส่งเสริมการเกษตร

เอกสารคำ�แนะนำ�ที่ 5/2560 เทคโนโลยีการเพ่มิ ประสทิ ธภิ าพการผลติ ไมด้ อกไมป้ ระดับ ทีป่ รึกษา อธบิ ดีกรมสง่ เสริมการเกษตร www.doae.go.th รองอธบิ ดีกรมส่งเสรมิ การเกษตร ฝ่ายบรหิ าร นายสมชาย ชาญณรงคก์ ุล รองอธบิ ดกี รมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายวิชาการ นายสงกรานต์ ภักดคี ง รองอธบิ ดกี รมสง่ เสริมการเกษตร ฝ่ายสง่ เสริมและฝกึ อบรม นายประสงค์ ประไพตระกลู ผู้อ�ำนวยการสำ� นกั พฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี นายสดุ สาคร ภทั รกลุ นษิ ฐ์ ผอู้ �ำนวยการส�ำนักสง่ เสรมิ และจัดการสนิ ค้าเกษตร นางอัญชลี สุวจติ ตานนท ์ นายสำ� ราญ สาราบรรณ ์ เรียบเรียง ผู้อำ� นวยการกลมุ่ ส่งเสรมิ ไมด้ อกและไมป้ ระดับ นางพสิ มัย พ่ึงวกิ รัย นางภรู พิ ันธ์ุ สวุ รรณเมฆ นักวิชาการเกษตรชำ� นาญการพเิ ศษ นายธรี ะวฒั น์ วงศ์วชิ ิต นกั วิชาการเกษตรช�ำนาญการพิเศษ นางสาวมณฑกาฬ ลีมา นกั วชิ าการเกษตรช�ำนาญการ นางสาวมารศรี วงศ์อนันทรัพย ์ นกั วิชาการเกษตรชำ� นาญการ กลุม่ สง่ เสริมไมด้ อกและไมป้ ระดับ สำ� นักสง่ เสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร จดั ทำ� นางอมรทิพย์ ภิรมยบ์ รู ณ์ ผู้อำ� นวยการกลมุ่ พัฒนาสื่อส่งเสรมิ การเกษตร นางสาวอำ� ไพพงษ์ เกาะเทยี น นกั วิชาการเผยแพรช่ ำ� นาญการ กลมุ่ พัฒนาสือ่ สง่ เสริมการเกษตร สำ� นกั พฒั นาการถา่ ยทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook