Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พี่บาส

พี่บาส

Published by 945sce00461, 2020-12-09 02:44:58

Description: พี่บาส

Search

Read the Text Version

ทักษะกระบวนการ ทางวทิ ยาศาสตร์ 14 ทกั ษะ

ทกั ษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะการคิดของนักวิทยาศาสตร์ท่ีนามาใช้ใน การศกึ ษาค้นควา้ สืบเสาะหาความรู้ และแก้ปัญหาต่างๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งออกเป็น 14 ทักษะ

1. การสังเกต (observation) หมายถงึ ความสามารถในการใชป้ ระสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหน่ึง หรือหลายอย่าง ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัส โดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อหาข้อมูล หรือรายละเอียด ของสิ่งตา่ งๆ โดยไมใ่ ส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป

2. การวดั (measurement) หมายถึง ความสามารถในการเลือกและการใช้เครื่องมือทาการ วัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่าง เหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหนว่ ยกากบั เสมอ

3. การจาแนกประเภท (classification) หมายถึง การแบ่งพวก หรือเรียงลาดับวัตถุหรือส่ิงท่ีอยู่ใน ปรากฏการณ์ โดยใช้เกณฑ์ความเหมือน ความแตกต่าง หรือ ความสัมพันธ์อย่างใดอยา่ งหนึ่ง

4. การหาความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งสเปชกบั สเปช และสเปชกบั เวลา (space/space relationships and space/time relationships) สเปชของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างท่ีวัตถุน้ันครองที่ ซ่ึงจะมีรูปร่าง ลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุน้ัน โดยทั่วไปแล้วสเปชของวัตถุจะมี 3 มิติ คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง (หรือหนา) ความสัมพันธ์ระหว่างสเปชกับเวลา ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่าง การเปลี่ยนตาแหน่งท่ีอยู่ของวัตถุกับเวลา หรือความสัมพันธ์ ระหว่างสเปชของวตั ถทุ เี่ ปล่ียนไปกับเวลา

5. การคานวณ (using numbers) หมายถึง การนับจานวนของวัตถแุ ละการนาตัวเลข แสดงจานวน ทน่ี ับได้ มาคดิ คานวณโดยการบวก ลบ คณู หาร หรือหาค่าเฉลีย่

6. การจดั กระทา และการสอ่ื ความหมายข้อมูล (organizing data and communication) หมายถึง การนาผลการสังเกต การวัด การทดลองจากแหล่ง ต่างๆ มาจัดกระทาเสียใหม่ โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ เช่น การหา ความถี่ การเรียนลาดับ การจัดแยกประเภท การคานวณหาค่า ใหม่ เป็นต้น เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลดีย่ิงข้ึน โดยอาจนาเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม วงจร กราฟ สมการ หรือเขยี นบรรยาย

7. การลงความเห็นจากขอ้ มลู (inferring) หมายถึง การเพ่ิมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกต อยา่ งมเี หตุผล โดยอาศัยความร้หู รือประสบการณเ์ ดมิ มาช่วย

8. การพยากรณ์ (prediction) หมายถึง การสรุปคาตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัย ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือข้อมูลจากประสบการณ์ท่ีเกิดขึ้นซ้า ๆ หลักการ กฎ หรือทฤษฎีในเร่ืองน้ันมาช่วยในการสรุป การ พยากรณม์ สี องทางคอื การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูลทม่ี ี อยู่ ( interpolating ) และการพยากรณภ์ ายนอกขอบเขตข้อมูลทม่ี ี อยู่ ( extrapolating )

9. การต้งั สมมตฐิ าน (formulating hypotheses) หมายถึง การคิดหาคาตอบล่วงหน้า ก่อนจะกระทาการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ ประสบการณ์เดิมเป็นพ้ืนฐาน คาตอบท่ีคิดล่วงหน้าซึ่งยังไม่ทราบหรือยังไม่เป็นหลักการ กฎ หรอื ทฤษฎมี ากอ่ น สมมตฐิ านหรอื คาตอบทค่ี ิดไวล้ ่วงหน้ามักกล่าว ไว้เป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น (ตัวแปร อิสระ) กับตัวแปรตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจถูกหรือผิดก็ได้ซ่ึงจะ ทราบภายหลังการทดลองเพื่อหาคาตอบสนับสนุน หรือคัดค้าน สมมติฐานทต่ี งั้ ไว้

10. การกาหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (defining operationally) หมายถึง การกาหนดความหมายและขอบเขตของตัวแปรท่ีอยู่ใน สมติฐานท่ีต้องการทดสอบให้เข้าใจตรงกัน และสามารถสังเกต หรอื วดั ได้

11. การกาหนดและควบคมุ ตัวแปร (identifying and controlling variables) หมายถึง การบ่งชี้ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้อง ควบคุมในสมมติฐานหนึ่ง ๆ การควบคุมตัวแปรเป็นการควบคุมสิ่ง อ่ืน ๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ถา้ หากไม่ควบคุมให้เหมือน ๆ กัน จะทาใหผ้ ลการทดลองคลาดเคลือ่ น

12. การทดลอง (experimenting) หมายถึง การลงลงมือปฏิบัติการทดลองจริง โดยมี 3 ประเภท คือ การทดลองแบบแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ และลองผิดลองถูก การทดลองเป็นกระบวนการปฏิบัติการเพื่อ หาคาตอบหรือการเพ่ือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย 3 ขัน้ ตอน คอื การออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลอง การ บนั ทึกผลการทดลอง

13. การตีความหมายขอ้ มูลและการลงขอ้ สรปุ (interpreting data conclusion) การตีความหมายข้อมูล คือ การแปลความหมายหรือการ บรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูลที่มีอยู่ การลงข้อสรุป หมายถงึ การสรุปความสมั พนั ธข์ องข้อมูลท้ังหมด

14. การสร้างแบบจาลอง (Modeling Construction) หมายถึง การนาเสนอข้อมูล แนวคิด ความคิดรวบยอด เพ่ือให้ ผู้อื่นเข้าใจในรูปของแบบจาลองต่างๆ เช่น กราฟ รูปภาพ ภาพเคล่ือนไหว วัสดุ ส่ิงของ ส่งิ ประดษิ ฐ์ หุ่น เปน็ ต้น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook