เครื่องมือวัดผล สมาชิกหมู่ 2 กลุ่มที่ 3 นายไพบูลย์ ดวงปากดี 65723713217 นายศักดิ์ดา ไขประภาย 65723713219 นายวิวัฒน์ พูศรีเทพ 65723713223 เสน อ รองศาสตราจารย์ ดร. ธนานันต์ กุลไพบุตร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 1 จาก 168
สารบัญ เนื้อหา หน้า ความหมาย..................................................................................................................... 5 ความสําคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้.......................................................... 6 จุดมุ่งหมายของการประเมิน .......................................................................................... 11 คุณลักษณะที่ต้องการวัดผลการเรียนรู้........................................................................... 12 ลักษณะแบบทดสอบที่ดี................................................................................................. 17 แบบทดสอบ................................................................................................................... 20 แบบตรวจสอบรายการ................................................................................................... 26 แบบมาตราส่วนประมาณค่า........................................................................................... 29 การสังเกต...................................................................................................................... 34 การสัมภาษณ์................................................................................................................. 43 เทคนิคสังคมมิติ............................................................................................................. 47 การศึกษารายกรณี......................................................................................................... 53 การสื่อสารส่วนบุคคล..................................................................................................... 64 คะแนนรูบริคส์ (Scoring Rubrics)............................................................................... 72 การวัดผลภาคปฏิบัติ (Performance Assessment).................................................... 77 แบบสอบถาม (Questionnaire) ................................................................................... 81 การวัดผลจากสภาพจริง (Authentic Assessment)..................................................... 86 แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ........................................................................................... 89 การจัดอันดับคุณภาพ..................................................................................................... 95 การให้จินตนาการ (Imagination)................................................................................. 99 การวัดบุคลิกภาพ (Personality Characteristics Subject to Appraisal) ............... 100 แบบทดสอบสติปัญญา................................................................................................... 108 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์.............................................................................................. 119 เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)........................................................................... 121 บทสรุป .......................................................................................................................... 127 บรรณานุกรม ................................................................................................................. 128 มายแม็ปสรุปหัวข้อ......................................................................................................... 129 ใบความรู้เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้................................................................................. 153 แบบฝึกหัด....................................................................................................................... 158 แบบทดสอบ..................................................................................................................... 162 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 2 จาก 168
สารบัญตาราง เนื้อหา หน้า ตารางที่ 1 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณของลิเคิร์ท................................. 31 ตารางที่ 2 การให้คะแนนการแสดงความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบ........................ 32 ตารางที่ 3 แบบจดบันทึกแผนภูมิการมีส่วนร่วมในการสังเกต................................. 38 ตารางที่ 4 แบบตรวจสอบรายการกระบวนการสร้างแบบทดสอบ.......................... 39 ตารางที่ 5 ตารางบันทึกข้อมูลจากการถามตอบผู้เรียนเป็นรายบุคคล..................... 65 ตารางที่ 6 ข้อดี-ข้อจํากัดและข้อเสนอแนะของการถามตอบในชั้นเรียน................. 66 ตารางที่ 7 ตัวอย่างแบบบันทึกผลการสนทนากับผู้เรียน.......................................... 67 ตารางที่ 8 ข้อดี-ข้อจํากัดและข้อเสนอแนะของการสนทนากับผู้เรียน...................... 67 ตารางที่ 9 แบบจดบันทึกผลการอภิปรายของผู้เรียนในชั้นเรียน.............................. 68 ตารางที่ 10 แบบจดบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน..................................................... 69 ตารางที่ 11 แบบจดบันทึกการทําความดีประจําวันของผู้เรียน............................... 69 ตารางที่ 12 แบบบันทึกสอบปากเปล่า.................................................................... 70 ตารางที่ 13 ข้อดีและข้อจํากัดในการสื่อสารส่วนบุคคล.......................................... 71 ตารางที่ 14 รูบริคส์ประเมินแฟ้มสะสมผลงานโดยรวม.......................................... 76 ตารางที่ 15 ตารางบันทึกคะแนนการวัดผลภาคปฏิบัติ........................................... 77 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 3 จาก 168
เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ เมื่อต้องการที่จะทราบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทําให้ผู้เรียนเกิดการเรียน รู้ หรือไม่ เพียงใด จําเป็นต้องมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ในอดีตการ วัดผล ประเมินผลส่วนใหญ่ให้ความสําคัญกับการใช้ข้อสอบ ซึ่งไม่สามารถสนอง เจตนารมณ์การเรียนการ สอนที่เน้นให้ผู้เรียนคิด ลงมือปฏิบัติด้วยกระบวนการหลาก หลายเพื่อสร้างองค์ความรู้ ดังนั้นผู้สอน จึงต้องตระหนักว่าการวัดผลประเมินผลจะต้อง วัดทั้งความรู้ในเนื้อหาวิชาหรือความสามารถทาง สติปัญญา ควบคู่ไปกับความสามารถ ด้านอื่นๆซึ่งได้แก่ด้านทักษะ เช่น ความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านจิตลักษณะ เช่น เจตคติ ค่านิยมและลักษณะนิสัยความรับผิดชอบ ความเอาใจใส่ ความซื่อสัตย์สุจริต ฯลฯ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สําคัญมากที่จะทําให้บุคคลประสบความสําเร็จในการทํางาน ดังนั้น การวัดผลประเมินผลการเรียนการสอนที่สมบูรณ์จึงต้องครอบคลุมพฤติกรรมทางการ ศึกษาทั้ง 3 ด้านในตัวผู้เรียนคือ ด้านพุทธิพิสัย (Cognitivedomain) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotordomain) และด้านจิตพิสัย (Affective donmain) (Bloom, 1956) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 4 จาก 168
ความหมาย เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่ครูผู้สอนใช้ในการรับ ข้อมูลเก็บหลักฐานตรวจสอบข้อมูลพฤติกรรมทางการศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าในการ จัดการเรียนการสอนสามารถทําให้ผู้เรียนบรรลุความสําเร็จในพฤติกรรมทางการ ศึกษาทั้งสามด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัยด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย หรือไม่และใน การใช้เครื่องมือจําเป็นจะต้องใช้เครื่องมือวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ใช้วัดในแต่ละพฤติกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลาก หลาย ถูกต้อง และเหมาะสมเวอร์เธนและคณะ (Worthen and others,1997) ได้ ให้ความหมายของการประเมินผลว่า เป็นการพิจารณาหรือกําหนดคุณค่าเพื่อตรวจ สอบหรือตัดสิน เขาได้อธิบายการประเมินโครงการว่าเป็นวิธีสืบค้นตัดสินและสรุป เพื่อ (1) พิจารณามาตรฐานหรือเกณฑ์สําหรับตัดสินคุณภาพและพิจารณาว่าเกณฑ์ ดังกล่าวควรเป็นเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องหรือไม่ (2) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (3) ใช้เกณฑ์ มาตรฐานเพื่อตัดสินคุณค่า คุณภาพคุณประโยชน์หรือประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องตาม วัตถุประสงค์สครีเวน (Scriven,1967) ได้อธิบายว่า การประเมินผลเป็นการตัดสิน คุณค่าของบางสิ่งบางอย่าง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 5 จาก 168
ความสําคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นองค์ประกอบสําคัญในการพัฒนา คุณภาพการศึกษาทําให้ได้ข้อมูลสารสนเทศที่จําเป็นในการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิด คุณภาพการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและมาตรฐานการเรียนรู้จากประเภท ของการประเมินโดยเฉพาะการแบ่งประเภทโดยใช้จุดประสงค์ของการประเมินเป็น เกณฑ์ในการแบ่งประเภท จะเห็นว่าการวัดและประเมินผลการเรียนนอกจากจะมี ประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนแล้ว ยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพการการสอนของครู และ เป็นข้อมูลสําคัญที่สะท้อนคุณภาพการดําเนินงานการจัดการศึกษาของสถานศึกษาด้วย ดังนั้นครูและสถานศึกษาต้องมีข้อมูลผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งจากการประเมินใน ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา และระดับอื่นที่สูงขึ้น ประโยชน์ของการวัดและการ ประเมินผลการเรียนรู้จําแนกเป็นด้านๆ ดังนี้ 1. ด้านการจัดการเรียนรู้ 2. ด้านการแนะแนว ความสําคัญของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3. ด้านการบริหาร 4. ด้านการวิจัย เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 6 จาก 168
1. ด้านการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนมีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้หรือการ จัดการเรียนการสอนดังนี้ 1.1 เพื่อจัดตําแหน่ง (Placement) ผลจากการวัดบอกได้ว่าผู้เรียนมีความรู้ความ สามารถอยู่ในระดับใดของกลุ่มหรือ เปรียบเทียบกับเกณฑ์แล้วอยู่ในระดับใด การวัดและ ประเมินเพื่อจัดตําแหน่งนี้ มักใช้ในวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1.1.1 เพื่อคัดเลือก (Selection) เป็นการใช้ผลการวัดเพื่อคัดเลือกเพื่อเข้าเรียน เข้าร่วมกิจกรรม-โครงการ หรือเป็นตัวแทน(เช่นของชั้นเรียนหรือสถานศึกษา) เพื่อการ ทํากิจกรรม หรือการให้ทุนผล การวัดและประเมินผลลักษณะนี้คํานึงถึงการจัดอันดับที่ เป็นสําคัญ 1.1.2 เพื่อแยกประเภท (Classification) เป็นการใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อ แบ่งกลุ่มผู้เรียน เช่น แบ่งเป็นกลุ่มอ่อน ปานกลาง และเก่ง แบ่งกลุ่มผ่าน-ไม่ผ่านเกณฑ์ หรือตัดสินได้-ตก เป็นต้น เป็นการวัดและประเมินที่ยึดเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งกลุ่มเป็น สําคัญ 1.2 เพื่อวินิจฉัย (Diagnostic) เป็นการใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อค้นหาจุดเด่น-จุด ด้อยของผู้เรียนว่ามีปัญหาในเรื่องใด จุดใด มากน้อยแค่ไหน เพื่อนําไปสู่การตัดสินใจการ วางแผนการจัดการเรียนรู้และการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดเพื่อการวินิจฉับ เรียกว่าแบบทดสอบวินิจฉัย (Diagnostic Test) หรือ แบบทดสอบวินิจฉัยการเรียน ประโยชน์ของการวัดและประเมินประเภทนี้นําไปใช้ใน วัตถุประสงค์ 2 ประการดังนี้ 1.2.1 เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการวัดผู้เรียนด้วยแบบทดสอบวินิจฉัย การเรียนจะทําให้ทราบว่าผู้เรียนมีจุดบกพร่องจุดใดมากน้อยเพียงใด ซึ่งครูผู้สอน สามารถแก้ไขปรับปรุงโดยการสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) ได้ตรงจุด เพื่อให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 7 จาก 168
1.2.2 เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ผลการวัดด้วยแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียน นอกจากจะช่วยให้เห็นว่าผู้เรียนมีจุดบกพร่องเรื่องใดแล้ว ยังช่วยให้เห็นจุดบกพร่องของ กระบวนการจัดการเรียนรู้อีกด้วย เช่น ผู้เรียนส่วนใหญ่มีจุดบกพร่องจุดเดียวกัน ครูผู้ สอนต้องทบทวนว่าอาจจะเป็นเพราะวิธีการจัดการเรียนรู้ไม่เหมาะสมต้องปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสม 1.3 เพื่อตรวจสอบและปรับปรุง การประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้เทียบกับจุดประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่ คาดหวัง ผลจากการประเมินใช้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดย อาจจะปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการสอน (Teaching Method) ปรับเปลี่ยนสื่อการ สอน ( Teaching Media) ใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้(Teaching Innovation) เพื่อนําไปสู่การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 1.4 เพื่อการเปรียบเทียบ (Assessment) เป็นการใช้ผลการวัดและประเมินเปรียบ เทียบว่าผู้เรียนมีพัฒนาการจากเดิมเพียงใด และอยู่ในระดับที่พึงพอใจหรือไม่ 1.5 เพื่อการตัดสิน การประเมินเพื่อการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นการประเมิน รวม (Summative Evaluation) คือใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดเทียบกับเกณฑ์เพื่อตัดสิน ผลการเรียนว่าผ่าน-ไม่ผ่าน หรือให้ระดับคะแนน เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 8 จาก 168
2. ด้านการแนะแนว ผลจากการวัดและประเมินผู้เรียน ช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนมีปัญหาและข้อบกพร่อง ในเรื่องใด มากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถแนะนําและช่วยเหลือผู้เรียนให้แก้ปัญหา มีการ ปรับตัวได้ถูกต้องตรงประเด็น นอกจากนี้ผลการวัดและประเมินยังบ่งบอกความรู้ความ สามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียน ซึ่งสามารถนําไปใช้แนะแนวการศึกษา ต่อและแนะแนวการเลือกอาชีพให้แก่ผู้เรียนได้ 3. ด้านการบริหาร ข้อมูลจากการวัดและประเมินผู้เรียน ช่วยให้ผู้บริหารเห็นข้อบกพร่องต่างๆ ของ การจัดการเรียนรู้ เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานของครู และบ่งบอกถึงคุณภาพการ จัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามักใช้ข้อมูลได้จากการวัดและ ประเมินใช้ในการตัดสินใจหลายอย่าง เช่น การพัฒนาบุคลากร การจัดครูเข้าสอน การ จัดโครงการ การเปลี่ยนแปลงโปรแกรมการเรียน นอกจากนี้การวัดและประเมินผลยัง ให้ข้อมูลที่สําคัญในการจัดทํารายงานการประเมินตนเอง (SSR) เพื่อรายงานผลการ จัดการศึกษาสู่ผู้ปกครอง สาธารณชนหน่วยงานต้นสังกัด และนําไปสู่การรองรับการ ประเมินภายนอก จะเห็นว่าการวัดและประเมินผลการศึกษาเป็นหัวใจสําคัญของระบบ การประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 9 จาก 168
4. ด้านการวิจัย การวัดและประเมินผลมีประโยชน์ต่อการวิจัยหลายประการดังนี้ 4.1 ข้อมูลจาการวัดและประเมินผลนําไปสู่ปัญหาการวิจัย เช่น ผลจากการวัดและ ประเมินพบว่าผู้เรียนมีจุดบกพร่องหรือมีจุดที่ควรพัฒนาการ แก้ไขจุดบกพร่องหรือการ พัฒนาดังกล่าวโดยการปรับเปลี่ยนเทคนิควิธีสอนหรือทดลองใช้นวัตกรรมโดยใช้ กระบวนการวิจัย การวิจัยดังกล่าวเรียกว่า การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research) นอกจากนี้ผลจากการวัดและประเมินยังนําไปสู่การวิจัยในด้านอื่น ระดับอื่น เช่น การ วิจัยของสถานศึกษาเกี่ยวกับการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน เป็นต้น 4.2 การวัดและประเมินเป็นเครื่องมือของการวิจัย การวิจัยใช้การวัดในการรวบรวม ข้อมูลเพื่อศึกษาผลการวิจัย ขั้นตอนนี้เริ่มจากการหาหรือสร้างเครื่องมือวัด การทดลอง ใช้เครื่องมือ การหาคุณภาพเครื่องมือ จนถึงการใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพแล้วรวบรวม ข้อมูลการวัดตัวแปรที่ศึกษา หรืออาจต้องตีค่าข้อมูล จะเห็นว่าการวัดและประเมินผลมี บทบาทสําคัญมากในการวิจัย เพราะการวัดไม่ดี ใช้เครื่องมือไม่มีคุณภาพ ผลของการ วิจัยก็ขาดความน่าเชื่อถือ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 10 จาก 168
จุดมุ่งหมายของการประเมิน การประเมินมีจุดมุ่งหมายหลายประการ เช่น ประเมินเพื่อวินิจฉัยจุดเด่นจุดด้อย ของผู้เรียนเพื่อตัดสินเกี่ยวกับการปฏิบัติของผู้เรียน เพื่อให้ผลย้อนกลับ เพื่อจัดระดับผู้ เรียน เพื่อวางแผนการสอบหรือประเมินเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการความสมดุลทางด้าน สังคมของผู้เรียนในห้องเรียน 1. วัดผลเพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่า นักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดแล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนนักเรียนให้เกิดการ เรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน 2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหา ว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใดเพื่อหาทางช่วยเหลือ 3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตําแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความ สามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า 4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผล เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนําผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทํานาย เหตุการณ์ในอนาคต 6. วัดผลเพื่อประเมิน หมายถึง การวัดเพื่อนําผลที่ได้มาตัดสินหรือสรุปคุณภาพของ การจัดการศึกษา เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 11 จาก 168
คุณลักษณะที่ต้องการวัดผลการเรียนรู้ คุณลักษณะต่าง ๆ ของบุคคลซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมของการเรียนรู้นั้นมีมากมาย หลายชนิดโดยจะสังเกตคุณลักษณะหรือพฤติกรรมดังกล่าวได้จากจุดมุ่งหมายของ หลักสูตรหรือจุดมุ่งหมาย ของการสอนพฤติกรรมการเรียนรู้เหล่านั้นมีตั้งแต่พฤติกรรม พื้นฐานง่าย ๆ เช่น ความจํา ความเข้าใจไปจนถึงพฤติกรรมที่ซับซ้อนลึกซึ้ง เช่น ค่านิยม ทัศนคติ เป็นต้น การวัดผลการศึกษา เป็นความพยายามที่จะวัดพฤติกรรมต่างๆ ทั้ง หลายของบุคคล เพื่อตรวจสอบความงอกงาม ปริมาณที่มีอยู่ ปัญหาที่สําคัญของการวัด มักจะเกิดจากการที่พฤติกรรมของบุคคลมีลักษณะเป็น นามธรรมและมีอยู่มากมาย จํา เป็นที่จะต้องรู้จักพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะสามารถวัดสิ่งนั้น ได้อย่างถูกต้อง จากการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บรรดาพฤติกรรมทั้งหลาย โดยนักวัดผลและนัก จิตวิทยาเพื่อให้เห็นคุณสมบัติต่าง ๆ ของพฤติกรรมเหล่านั้น ปรากฏว่าพฤติกรรมการ เรียนรู้ซึ่งใช้เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ซึ่ง ไพศาล หวังพา นิช (2526) ได้เสนอ ไว้ดังนี้ คุณลักษณะที่ต้องการวัดผลการเรียนรู้ 1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) 2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) 3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 12 จาก 168
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ได้แก่ พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความคิด (Thinking) อันเป็นความสามารถทางสมองหรือด้านสติปัญญา เป็นลักษณะที่เกี่ยวกับ วิชาการ เช่น ความจํา ความเข้าใจเชาวน์ปัญญา ความถนัด เป็นต้น พฤติกรรมด้านพุทธิ พิสัยถือว่า เป็นจุดมุ่งหมายสําคัญของการศึกษา ทั้งยังใช้เป็นเกณฑ์สําหรับตัดสินความ สามารถ เก่งหรืออ่อน ฉลาดหรือโง่ของบุคคลอีกด้วย พฤติกรรมด้านนี้แบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.1 ผลสัมฤทธิ์ในการเรียน (Achievement) เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถของ บุคคลที่เกิดจากการเรียนการสอน เป็นคุณลักษณะของผู้เรียนที่พัฒนางอกงามขึ้นมาจาก การฝึกฝน อบรมสั่งสอนโดยตรงคือ เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลการเรียนของเด็กนั่นเอง ซึ่ง ได้แก่ ความจํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ และการประเมิน ค่า การวัดผลการศึกษาในโรงเรียนหรือในสถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ จะมีการวัด คุณลักษณะด้านนี้เป็นหัวใจสําคัญ โดยมีพฤติกรรมที่เป็นคุณลักษณะอีก 6 พฤติกรรม คือ 1) ด้านความรู้ความจํา (Knowledge) 2) ด้านความเข้าใจ (Comprehension) 3) ด้านการนําไปใช้ (Application) 4) ด้านการวิเคราะห์ (Analysis) 5) ด้านการสังเคราะห์ (Synthesis) 6) ด้านการประเมินค่า (Evaluation) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 13 จาก 168
1.2 ความถนัดและเชาวน์ปัญญา (Aptitude and Intelligence) เป็นคุณลักษณะ ของความสามารถพื้นฐานอันเกิดจากการสร้างสมประสบการณ์ทุกชนิดในชีวิตของบุคคล ใช้เป็นพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ชี้บอกทิศทางของความเจริญงอกงามในภายภาคหน้า ของบุคคล หรือทําหน้าที่เป็นตัวทํานายความสําเร็จในอนาคต ความจริงแล้วทั้งความ ถนัดและสติปัญญา หรือเชาวน์ปัญญา เป็นคุณลักษณะที่ทําหน้าที่เหมือนกัน เพียงแต่ว่า นักการศึกษาและนักวัดผล แนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับการวัดคุณลักษณะดัง กล่าวแตกต่างกัน จึงทําให้แต่ละกลุ่ม ความคิดพยายามหาวิธีการวัดความถนัดและเชาวน์ ปัญญาจนมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ถึงอย่างไร ก็ตามความถนัดและสติปัญญาหรือ เชาวน์ปัญญาของบุคคลนั้นถือว่าเป็นคุณลักษณะที่ไม่ได้เป็น ผลโดยตรงจากการเรียนการ สอนเหมือนกับผลสัมฤทธิ์ แต่ในการวัดผลการศึกษาก็จําเป็นต้องมีการวัดคุณลักษณะดัง กล่าว เพื่อพิจารณาคุณลักษณะที่ถือว่าเป็นสมรรถวิสัย (Capacity) ของบุคคลอันจะเป็น ประโยชน์ต่อการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียน และการเลือกอาชีพที่เห็นว่าจะสําเร็จก้าวหน้า ด้วยดี การวัดคุณลักษณะด้านความถนัด แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ก. ความถนัดทางการเรียน (Scholastic Aptitude) เป็นคุณลักษณะพื้นฐาน ที่ เกี่ยวข้องหรือทําหน้าที่ทํานายความสําเร็จในด้านการศึกษาเล่าเรียน ข. ความถนัดเฉพาะอย่าง (Spectific Aptitude) เป็นคุณลักษณะพื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับความสําเร็จในบางอย่างที่ไม่อาจศึกษาหรือฝึกฝนให้ได้ผลเหมือนกันทุกคน เป็นคุณ ลักษณะของความสามารถพิเศษในการวัดสติปัญญาหรือเชาวน์ปัญญา เรียกว่า เป็นพรสวรรค์ของบุคคลนั้นเอง ความถนัดเฉพาะอย่างของบุคคลประกอบด้วยความ สามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านศิลปะ (Artistic) 2) ด้านเสมียน (Clerical) 3) ด้านภาษาศาสตร์ (Linguistic) 4) ด้านกลไก (Mechanical) 5) ด้านดนตรี (Musical) 6) ด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 14 จาก 168
2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) ได้แก่คุณลักษณะทางด้านความรู้สึก (Feeling) อันเป็นพฤติกรรมทางด้านจิตใจของบุคคล การวัดคุณลักษณะด้านนี้จัดว่ามีความจําเป็นอย่าง มาก เช่นเดียวกับด้านแรก เพราะเป้าหมายของการศึกษามิได้มุ่งให้บุคคลเกิดความสามารถ เพียงทาง ในสังคมด้วยความราบรื่นต่อไปด้วย ด้านสมองหรือความคิดเท่านั้น แต่ยังรวมถึง การปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรมของผู้เรียนเพื่อให้อยู่ทั้งนี้เพราะคุณธรรมมีความสําคัญในการ ปรุงแต่งคุณภาพ ของบุคคลและเป็นเครื่องชี้ถึงระดับการยอมรับคัดค้านด้านสังคมส่วนรวม ด้วย การสร้างคุณธรรม ต่าง ๆ จึงนับว่ามีความจําเป็น เช่น ต้องการให้รับรู้คุณค่าต่าง ๆ มีค่า นิยมที่ถูกต้อง มีลักษณะ นิสัยที่ดีงาม การวัดผลทางจิตพิสัยส่วนใหญ่จึงมุ่งวัดคุณลักษณะ บุคคลในด้านต่อไปนี้ 1) การรับรู้ (Receiving or Attention) 2) การตอบสนอง (Responding) 3) การสร้างคุณค่า (Valuing) 4) การจัดระบบคุณค่า (Organization) 5) การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization by a Value) ในเชิงปฏิบัติ การวัดคุณธรรมหรือจิตพิสัยของบุคคล มักนิยมคุณลักษณะรวมของ พฤติกรรม ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งประกอบด้วย 1) ความสนใจ (Interest) เป็นความรู้สึกหรือท่าทีที่ชี้ถึงแนวโน้มของความชอบใจ หรือไม่ ชอบใจ ต้องการหรือไม่ต้องการ ถือว่าเป็นจุดเริ่มที่จะนําไปสู่ทัศนคติของบุคคล ความ สนใจ เป็นองค์ประกอบสําคัญอย่างหนึ่งของการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือก และเกี่ยวข้องกับความ สําเร็จที่จะตามมา เช่น เด็กที่เลือกเรียนสิ่งที่ตนสนใจ หรือเลือกอาชีพที่มีความสนใจแล้วมัก จะ เรียนหรือกระทําได้สําเร็จด้วยดี 2) ทัศนคติ (Attitude) เป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ต่อสังคม ต่อ อาชีพเป็นต้น ที่แสดงออกในรูปพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ เห็นคุณค่าหรือไม่เห็นโดยที่ บุคคล นั้นมีความคล้อยตามที่จะปฏิบัติหรือคัดค้าน 3) การปรับตัว (Adjustment) เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวกับความสามารถในการ ตอบสนอง สิ่งแวดล้อมในสังคม ตามความเชื่อในคุณค่าหรือตามทัศนะของตน โดยแสดงออกใน ลักษณะ ของการปรุงแต่งดัดแปลง หรือการขัดแย้งต่อคุณค่าหรือทัศนะเหล่านั้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 15 จาก 168
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นการวัดความสัมพันธ์ระหว่างกลไก ทาง กายกับสมอง จึงเป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวกับความสามารถในการใช้ส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกายอย่างมี จุดมุ่งหมายหรือตามที่สมองสั่ง การวัดคุณลักษณะด้านนี้เรียกง่าย ๆ ก็คือ การวัดความสามารถ ในด้านการปฏิบัติ (Doing) หรือทักษะของบุคคลนั่นเอง เป็นเรื่อง ของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ทางร่างกายให้เป็นไปตามความคิด หรืออย่างมีแบบแผนขั้น ตอน ได้แก่การวัดคุณลักษณะที่ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทุกชนิด เช่น งานใช้มือ หู ตา การ เคลื่อนไหว รวมถึงพฤติกรรมการพูด การแสดงท่าทางต่าง ๆ การวัดจึงมักเป็นไปใน ลักษณะวัดพฤติกรรมตรงและความสามารถด้านทักษะพิสัย ยังแบ่งแยกคุณลักษณะที่จะ วัดออกเป็น 4 ด้านคือ 1) การเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย (Gross Bodily Movements) 2) การเคลื่อนไหวที่ใช้อวัยวะหลายส่วนรวมกัน (Finely Coordinated Movements) 3) พฤติกรรมการสื่อความหมายแบบไม่ใช้ภาษา (Nonverbal Communication Behaviors) 4) พฤติกรรมการพูด (Speech Behaviors) คุณลักษณะที่จะวัดทั้งสามด้านดังกล่าวข้างต้น ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่มุ่งจะให้เกิดขึ้น หรือให้พัฒนางอกงามขึ้นด้วยการให้การศึกษา จึงถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้นเอง การแบ่งแยกพฤติกรรมต่าง ๆเหล่านี้นับว่ามีคุณประโยชน์มากมายทั้งในด้านการเรียนการ สอนและ การวัดผลการศึกษา กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สอนทราบจุดมุ่งหมายปลายทาง ของการสอนชัดเจน ยิ่งขึ้น ส่วนในด้านการวัดผลช่วยให้รู้จักลักษณะของสิ่งที่วัดได้ดีขึ้น และ จะทําให้สามารถเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลได้ถูกต้องตรงตามคุณลักษณะที่จะวัด การที่ จะวัดพฤติกรรมหรือ คุณลักษณะใดได้ถูกต้องให้ผลตรงและเที่ยงได้นั้นจําเป็นต้องพิจารณา ความเหมาะของเครื่องมือที่จะใช้วัดด้วย เพราะเครื่องมือในการวัดผลมีอยู่หลายชนิด ซึ่ง แต่ละชนิดก็เหมาะสมกับการวัดคุณลักษณะอย่างหนึ่งแต่อาจจะไม่เหมาะที่จะวัดคุณลักษณะ อื่นก็ได้ ดังนั้นจึงควรที่จะทราบชนิดของเครื่องมือในการวัดผลการศึกษาว่า แต่ละชนิดมี ลักษณะอย่างไร ควรใช้วัดคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมด้านใดบ้าง ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่อง มือและวิธีการวัดเพียงบางชนิดที่เห็นว่าใช้ กันแพร่หลายในการวัดผลการศึกษา เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 16 จาก 168
ลักษณะแบบทดสอบที่ดี แบบทดสอบที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Validity) หมายถึง คุณลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถวัด ในสิ่ง ที่ต้องการวัดได้ถูกต้อง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 1.1 ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) หมายถึง ข้อสอบที่มีคําถาม สอดคล้องกับเนื้อหาในหลักสูตร เช่น สอนเรื่องน้ํา ก็ต้องตั้งคําถามเกี่ยวกับน้ํา และ ครอบคลุมเนื้อหาเรื่องน้ําทั้งหมด 1.2 ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity) หมายถึงคุณลักษณะ ของ แบบทดสอบที่สามารถวัดคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้อง เช่น ต้องการวัดเจตคติลักษณะของคําถามควรเป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับเจตคติ 1.3 ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) หมายถึง คุณลักษณะ แบบ ทดสอบที่วัดได้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของเด็กในขณะนั้น กล่าวคือถ้าเด็กทําข้อสอบ เรื่องใดได้ดีแล้วเด็กคนนั้นสามารถปฏิบัติได้จริงๆ ด้วย เช่น เด็กสอบวิชาพลานามัยได้ คะแนนดีดังนั้นในชีวิตประจําวันเขาควรมีพลานามัยที่สมบูรณ์ – แข็งแรง และออกกําลัง อยู่เสมอ เป็นต้น 1.4 ความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์(Predictive Validity) หมายถึง ลักษณะ ข้อสอบที่ สามารถวัดแล้วทํานายได้ว่าเด็กคนใดจะเรียนวิชาใดได้ดีเพียงใดในอนาคต 2. ความเชื่อมั่น (Reliability) หมายถึง คุณลักษณะของแบบทดสอบที่สามารถวัดได้ แน่นอน คงเส้นคงวา ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา การวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ําอีก หรือ หลายๆ ครั้ง โดยสิ่งที่วัดคงที่ผลการวัดก็ยังคงเดิม เช่นถ้านําแบบทดสอบฉบับหนึ่ง ไปทดสอบ กับเด็กกลุ่มหนึ่ง แล้วบันทึกคะแนนไว้ เมื่อนําแบบทดสอบฉบับเดิมไป ทดสอบกับเด็กกลุ่มเดิม (สมมติว่าเด็กจําข้อสอบไม่ได้) คะแนนที่ทําได้ก็จะคงเดิม คือครั้ง แรกสอบได้คะแนนมาก ครั้งที่สองก็ยังคงได้คะแนนมากอยู่เหมือนเดิม เป็นต้น 3. อํานาจจําแนก (Discrimination) คือความสามารถของข้อสอบในการจําแนก ผู้ สอบออกเป็น 2กลุ่ม คือ กลุ่มสูง – กลุ่มต่ํา หรือ กลุ่มเก่ง – กลุ่มอ่อนได้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 17 จาก 168
4. ความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึง ข้อสอบที่มีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ (พิตร ทองชั้น,2524 : 7) 69 4.1 คําถามชัดเจน ผู้เข้าสอบเข้าใจได้ตรงกัน 4.2 การตรวจให้คะแนนได้ตรงกันไม่ว่าใครจะตรวจก็ตาม 4.3 มีความแจ่มชัดในการแปลความหมายของคะแนน กล่าวคือ แปลคะแนนที่ได้เป็น อย่างเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบข้อสอบข้อใดก็ตามที่มีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ เราเรียกข้อสอบนั้นว่า เป็นปรนัยทั้งสิ้น 5. ความยาก (Difficulty) หมายถึง สัดส่วนที่ผู้ตอบข้อสอบข้อนั้นถูกกับจํานวนคน ที่ เข้าสอบทั้งหมด ความยากของข้อสอบขึ้นอยู่กับทฤษฎีการวัด ถ้าตามทฤษฎีการวัดผล แบบอิงกลุ่ม ข้อสอบที่ดีคือข้อสอบที่ไม่ยากเกินไปหรือไม่ง่ายเกินไป เพราะข้อสอบดัง กล่าวจะ สามารถจําแนกได้ว่าใครเก่งใครอ่อน ส่วนทฤษฎีการวัดผลแบบอิงเกณฑ์มีจุด ประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กําหนดไว้ ดังนั้น ถ้าผู้เข้าสอบทำข้อสอบ ได้หมด แสดงว่าเขา บรรลุจุดประสงค์ตามต้องการ และจะถือว่าเป็นข้อสอบที่ไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้นตามแนวคิดนี้เรื่องความยากง่ายของข้อสอบจึงไม่ใช่เรื่องสําคัญ สิ่งที่สําคัญ อยู่ที่ข้อสอบนั้นจะวัดจุดประสงค์ที่ต้องการวัดได้จริงหรือไม่ 6. ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ลักษณะข้อสอบที่มีคุณสมบัติที่ แสดง ถึงการประหยัดเศรษฐกิจ (Economic) เช่น ลงทุนน้อย มีราคาถูก ง่ายต่อการดําเนิน การ สอบ พิมพ์ชัดเจน อ่านง่ายมีเนื้อหามากแต่ใช้เวลาสอบน้อยเป็นต้น 7. การวัดอย่างลึกซึ้ง (Searching) หมายถึง ลักษณะข้อสอบที่ถามครอบคลุม พฤติกร รมหลายๆด้าน เช่นมีคําถามวัดความเข้าใจ การนําไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า เป็นต้น ไม่ใช่ว่าวัดแต่พฤติกรรมตื้นๆ คือด้านความรู้ความจํา เพียง อย่างเดียว 8. ความยุติธรรม (Fair) หมายถึง การดําเนินการสอบจะต้องไม่เปิดโอกาสให้เด็ก คนใด คนหนึ่งได้เปรียบคนอื่นๆนอกจากได้เปรียบเรื่องความรู้เท่านั้นและข้อสอบควรจะถา มมากๆ เพื่อให้ครบถ้วนตามหลักสูตร เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 18 จาก 168
9. ความเฉพาะเจาะจง (Definite) หมายถึง ข้อสอบที่มีแนวทางหรือทิศทางการ ถาม การตอบอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่แฝงกลเม็ดให้เด็กงง ในแต่ละข้อควรถามประเด็น เดียว ไม่ถามหลายแง่หลายมุม เพราะจะทําให้เด็กไม่เข้าใจคําถาม 10. การกระตุ้นยุแหย่ (Exemplary) หมายถึง แบบทดสอบที่นักเรียนทําด้วยความ สนุกสนานเพลิดเพลิน มีการถามล่อ โดยจัดเอาข้อสอบง่ายๆ ไว้ในตอนแรก แล้วจึงค่อย ถามให้ยากขึ้นตามลําดับนอกจากนี้ลักษณะคําถามควรมีรูปภาพประกอบจะช่วยให้ ข้อสอบมีความ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 70 เปอร์เซ็น แบบทดสอบใดมีลักษณะครบทั้ง 10 ประการดังกล่าว ถือว่าเป็นแบบทดสอบที่ดี เยี่ยม แต่โดยทั่วๆ ไปแล้ว แบบทดสอบที่มีคุณสมบัติเพียง 5 ประการก็ถือว่าเป็นแบบ ทดสอบที่มีคุณภาพแล้ว คุณสมบัตินั้นได้แก่ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น อํานาจจําแนก ความยากและ ความมีประสิทธิภาพของข้อสอบ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 19 จาก 168
แบบทดสอบ แบบทดสอบ (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 67) พฤติกรรมการเรียนรู้ด้าน พุทธิพิสัย เป็นพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญา ที่บลูมและคณะ (Bloom and Others) ได้จําแนกระดับความสามารถทางการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ คือ ความรู้ความ จํา ความเข้าใจ การนําไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่าและจาก การสํารวจเครื่องมือ ที่ใช้วัดพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านนี้ที่ใช้โดยส่วนมากจะเป็นการใช้ แบบทดสอบที่มีอย่างหลากหลายลักษณะ มีรายละเอียดเกี่ยวกับแบบทดสอบ ดังนี้ 1. ความหมายของแบบทดสอบ แบบทดสอบ เป็นชุดของข้อคําถาม หรือสถานการณ์ที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นเพื่อใช้ กระตุ้นให้ผู้เรียนได้ให้คําตอบหรือแสดงพฤติกรรมที่ให้ครูผู้สอนสามารถสังเกต หรือวัดได้ อย่างถูกต้อง ชัดเจน แบบทดสอบ เป็นชุดของคําถามหรือกลุ่มงานใด ๆ ที่สร้างขึ้น เพื่อชักนําให้ผู้ สอบแสดงพฤติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้สอบได้สังเกตและวัดได้ โดยที่แบบทดสอบ จะประกอบด้วย ภาคกระตุ้นยุแหย่ (Stimulus) และภาคตอบสนอง (Response) (ชวาล แพรัตกุล,มปป: 41) แบบทดสอบ (Test) หมายถึง ชุดของคําถาม หรือปัญหาที่ออกแบบสร้างขึ้น อย่างมีระบบและกระบวนการเพื่อค้นหาพฤติกรรมของผู้สอบ ภายใต้เงื่อนไขหรือสถาน การณ์ที่กําหนดขึ้น (Gronlund and Linn, 1990) เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 20 จาก 168
2. ประเภทของแบบทดสอบ (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 68-71) แบบทดสอบที่นํามาใช้ในการทดสอบนั้นจะมีอยู่หลากหลายประเภทที่สามารถตาม เกณฑ์ที่ใช้ ดังนี้ 2.1 จําแนกตามสมรรถภาพที่วัด จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัด ความรู้ ทักษะ และสมรรถภาพทางสมองที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน จําแนกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ 2.1.1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ครูสร้างขึ้น (Teacher Made Test) เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ครูผู้สอนได้สร้างขึ้น เพื่อใช้กับผู้เรียนที่ตนเองได้สอน เนื่องจากจะสามารถสร้างพัฒนา ปรับเปลี่ยนแบบทดสอบให้มีความสอดคล้องกับจุด ประสงค์และเนื้อหาที่กําหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.1.1.2 แบบทดสอบมาตรฐาน (Standardized Test) เป็นแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ที่สร้างเก็บไว้โดยผู้เชี่ยวชาญและได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และมี มาตรฐานใน การดําเนินการทดสอบและการแปลความหมายของคะแนนที่ได้รับอย่าง ชัดเจน ที่ทําให้คะแนนที่ได้รับจากแบบทดสอบประเภทนี้สามารถนําไปเปรียบเทียบ ระหว่างกลุ่มผู้เรียนได้วินิจฉัย สมรรถภาพ/พยากรณ์ความสําเร็จ เป็นต้น 2.1.2 แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัด ความสามารถที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตั้งแต่อดีต ถึ'ปัจจุบัน เพื่อนําผลมาใช้ในการพยากรณ์อนาคตของผู้เรียนว่ามีแนวโน้มที่จะเกิด พฤติกรรมดังกล่าวจะเป็นอย่างไร จําแนกเป็น 2 ลักษณะดังนี้ 2.1.2.1 แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน (Scholastic Aptitude Test) เป็นแบบทดสอบความถนัดที่มีวัตถุประสงค์วัดความรู้ความสามารถด้านวิชาการ อาทิ ความถนัด ด้านภาษา ความถนัดด้านคณิตศาสตร์ ฯลฯ เพื่อนําไปใช้พยากรณ์ความ สามารถที่จะศึกษาต่อให้ ประสบความสําเร็จสูงสุด เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 21 จาก 168
2.1.2.2 แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะอย่าง (Specific Aptitude Test)เป็นแบบทดสอบวัดความถนัดที่มีวัตถุประสงค์วัดความรู้ความสามารถเฉพาะอย่าง ที่เกี่ยวกับ การประกอบอาชีพ หรือความสามารถเฉพาะอย่าง อาทิ ความถนัดทาง เครื่องยนต์ ความถนัด ทางช่างไม้ หรือความถนัดทางด้านดนตรี เป็นต้น 2.1.3 แบบทดสอบบุคคลและสังคม (Personal Social Test) เป็นแบบทดสอบ ที่ใช้วัดบุคลิกภาพที่ดีของบุคคล หรือความสามารถในการปรับตัวสู่สังคม อาทิ แบบ ทดสอบวัดบุคลิกภาพ แบบทดสอบวัดความสามารถในการปรับตัว เป็นต้น 2.2 จําแนกตามจุดมุ่งหมายในการสร้าง จําแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 2.2.1 แบบทดสอบอัตนัย (Subjective Test) เป็นแบบทดสอบที่กําหนดให้ผู้ เรียนได้ที่หลากหลายในระดับสูง สอนตอบอย่างอิสระตามความรู้ความสามารถของ ตนเองภายในเวลาที่กําหนด และใช้วัดสมรรถภาพ 2.2.2 แบบทดสอบแบบปรนัย (Objective Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ตอบ สั้น ๆ หรือเลือกคําตอบที่ถูกต้องเพียงคําตอบเดียวจากคําตอบที่กําหนดให้ จําแนกเป็น 2.2.2.1 แบบทดสอบแบบถูก-ผิด (True-false) เป็นแบบทดสอบที่กํา หนดข้อความให้แล้วให้ระบุว่าข้อความดังกล่าวถูกหรือผิด 2.2.2.2 แบบทดสอบแบบเติมคํา (Completion) เป็นแบบทดสอบที่ให้ เติมข้อความหรือคําตอบที่ถูกต้องในช่องว่างที่กําหนดให้เพื่อให้ได้ประโยคที่สมบูรณ์ 2.2.2.3 แบบทดสอบแบบจับคู่ (Matching) เป็นแบบทดสอบที่ให้จับคู่ ระหว่างข้อความที่อยู่ในคอลัมภ์ทางช้ายกับตัวเลือกที่อยู่ในคอลัมภ์ทางขวาที่มีความ สัมพันธ์กัน 2.2.2.4 แบบทดสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) เป็นแบบทด สอบที่กําหนด ข้อคําถามและตัวเลือกที่มีทั้งตัวถูกและตัวลวงให้เลือกคําตอบที่ถูกที่สุด เพียงคําตอบเดียวเท่านั้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 22 จาก 168
2.3 จําแนกตามจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์ จําแนกเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 2.3.1 แบบทดสอบวินิจฉัย (Diagonostic Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดเพื่อ แสวงหา/ วิเคราะห์จุดเด่นหรือจุดบกพร่องที่จะใช้เป็นข้อมูลเพื่อนําไปปรับปรุงการเรียน รู้ของผู้เรียนแต่ละคนหรือการสอนของครูผู้สอน 2.3.2 แบบทดสอบพยากรณ์ (Prognostic Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดเพื่อ พยากรณ์ ว่าผู้เรียนจะประสบความสําเร็จในการเรียนในสาขาใด หรือจะสามารถเรียนใน สาขาวิชานั้นได้ประสบ ความสําเร็จมากหรือน้อยเพียงใด 2.3.3 แบบทดสอบการจัดตําแหน่ง (Placement Test) เป็นแบบทดสอบเพื่อ ตรวจสอบ ความรู้พื้นฐานว่ามีมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้กําหนดให้เรียนในชั้นที่สูงต่อ ไปไม่จําเป็นต้องมาเรียน เนื้อหาที่ซ้ําซ้อนให้เสียเวลา 2.3.4 แบบทดสอบคัดเลือก (Selection Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดคัด เลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ รับทุน ทํางาน หรือ ตอบสนองต่อวัตถุประสงค์บางประการที่กํา หนด โดยแบบทดสอบจะต้องมีความเที่ยงตรงเชิงพยากรณ์สูง 2.3.5 แบบทดสอบเพื่อประเมิน (Evaluation Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัด เพื่อประเมินผลของความสําเร็จที่ได้จากการเรียนการสอน การอบรม หรือการดําเนิน การโครงการ ต่าง ๆ เป็นแบบทดสอบที่มักจะกําหนดเกณฑ์ว่าผู้สอบสอบได้หรือตก ผ่าน หรือไม่ผ่าน เกิดสัมฤทธิผล หรือไม่กระบวนการและผลลัพธ์เป็นอย่างไร 2.4 จําแนกตามเวลาที่ใช้ จําแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 2.4.1 แบบทดสอบวัดความเร็ว (Speed Test) เป็นแบบทดสอบที่กําหนด จํา นวนข้อมาก ๆ แต่กําหนดเวลาให้น้อย ๆ เพื่อนําผลมาใช้พิจารณาทักษะในการทํางานว่า มีทักษะความคล่องแคล่ว ถูกต้องพียงใด 2.4.2 แบบทดสอบวัดความสามารถ (Power Test) เป็นแบบทดสอบที่วัด คุณลักษณะที่ซับซ้อน ต้องใช้กระบวนการคิดหลายขั้นตอน หรือใช้ความสามารถพื้นฐาน หลายประการ มาใช้แก้ปัญหาหรือสรุปผลเพื่อให้ได้คําตอบที่ถูกต้อง จึงจะต้องกําหนดให้ เวลาอย่างเพียงพอและ เหมาะสมกับจํานวนข้อสอบ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 23 จาก 168
2.5 จําแนกตามลักษณะของการตอบ จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.5.1 แบบทดสอบภาคปฏิบัติ (Performance Test) เป็นแบบทดสอบที่กําหนด สถานการณ์หรือเงื่อนไขให้ปฏิบัติตาม 2.5.2 แบบทดสอบเขียนตอบ (Paper-pencil Test) เป็นแบบทดสอบที่กําหนด ข้อคําถามแล้วให้เขียนตอบ 2.5.3 แบบทดสอบปากเปล่า (Oral Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้เรียนได้ตอบคํา ถาม/แสดงความคิดเห็นโดยการอธิบายและโต้ตอบด้วยคําพูดในประเด็นที่กําหนดให้ 2.6 จําแนกตามการนําผลไปใช้ จําแนกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 2.6.1 แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้ตรวจสอบความรู้ พื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะเรียนก่อนที่จะเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทบทวน ความรู้เดิม หรือวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน 2.6.2 แบบทดสอบระหว่างเรียน (Formative Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้ตรวจ สอบการเรียนการสอน ทดสอบย่อย ๆ ระหว่างดําเนินการเรียนการสอน เพื่อนําผลมา วินิจฉัยใช้ในการปรับปรุง 2.6.3 แบบทดสอบสรุปผล (Summative Test) เป็นแบบทดสอบที่ใช้เพื่อสรุปผล การเรียนหลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วว่า ผู้เรียนประสบความสําเร็จในการเรียน รู้มากหรือน้อยเพียงใดหรือนําผลมาพิจารณาในการตัดสินผลการเรียน 2.7 จําแนกตามการอ้างอิง จําแนกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 2.7.1 แบบทดสอบอ้างอิงเกณฑ์ (Criterion-Reference Test) เป็นแบบทดสอบ ที่มีเนื้อหา ที่เฉพาะเจาะจง แล้วนําผลการทดสอบไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กําหนดหรือ เกณฑ์มาตรฐาน (จุดตัด) เพื่อใช้ตัดสินผลการเรียนรู้ ถ้าผู้เรียนคนใดสอบไม่ผ่านเกณฑ์จะ ต้องเรียนซ่อมเสริมแล้วทดสอบใหม่ จนกระทั่งผ่านเกณฑ์ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 24 จาก 168
2.7.2 แบบทดสอบอ้างอิงกลุ่ม (Norm-Reference Test) เป็นแบบทดสอบที่มี เนื้อหากว้างขวาง สามารถนําผลการทดสอบไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบของผู้เรียน อื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน ที่ใช้แบบทดสอบเดียวกัน เพื่อใช้ตัดสินความสามารถในการเรียนรู้ ระหว่างผู้เรียนที่มีพื้นฐานความรู้ แตกต่างกันเป็นแบบทดสอบที่เน้นความยากและอํา นาจจําแนกของข้อสอบเป็นสําคัญ 2.7.3 แบบทดสอบอิงขอบข่าย (Domain-Reference Test) เป็นแบบทดสอบที่ กําหนด ขอบเขตของการสร้างข้อคําถามตามคุณลักษณะของสิ่งที่มุ่งวัดอย่างชัดเจน เพื่อ ใช้ตรวจสอบว่าผู้สอบมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่มุ่งวัดดังกล่าวมากน้อยเพียงใด เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 25 จาก 168
แบบตรวจสอบรายการ แบบตรวจสอบรายการ(สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 72-73) ในการวัดพฤติกรรม การเรียนรู้ แบบตรวจสอบรายการจะเป็นเครื่องมือวัดที่จะช่วยทําให้ ครูผู้สอนจะได้รับ ทราบข้อมูลว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตามที่กําหนดไว้ในจุดประสงค์การ เรียนรู้หรือไม่ 1. ความหมายของแบบตรวจสอบรายการ แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นเครื่องมือวัดที่กําหนดรายการพฤติกรรม/ คุณลักษณะ ที่ต้องการตรวจสอบว่ามี หรือไม่มี อาทิ พฤติกรรมความร่วมมือ พฤติกรรม กลุ่ม เป็นต้น 2. ขั้นตอนการสร้างแบบตรวจสอบรายการ ในการสร้างแบบตรวจสอบรายการให้มีประสิทธิภาพ มีการดําเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 2.1 กําหนดพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ 2.2 กําหนดพฤติกรรม/คุณลักษณะที่จะบ่งชี้ว่ามีพฤติกรรมนั้น ๆ 2.3 เขียนข้อความที่แสดงพฤติกรรม/คุณลักษณะ 2.4 ตรวจสอบความชัดเจน ความซับซ้อน แล้วจัดเรียงลําดับของการเกิดพฤติกรรม/ คุณลักษณะนั้น ๆ 2.5 นําไปทดลองใช้จริงแล้วนําผลมาแก้ไขปรับปรุง 3. องค์ประกอบของแบบตรวจสอบรายการ มีดังนี้ 3.1 ชื่อแบบตรวจสอบรายการ 3.2 คําชี้แจง เป็นข้อความที่กําหนดให้ผู้พิจารณาทราบว่าจะต้องพิจารณารายการของ คุณลักษณะที่กําหนดให้ออกมาในลักษณะใด อาทิ มี-ไม่มีใช่ไม่ใช่จริง-เท็จ เป็นต้น 3.3 รายการของคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมที่ต้องการ 3.4 ระดับของการพิจารณา อาทิ มีไม่มีใช่ไม่ใช่ หรือ จริง-เท็จ เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 26 จาก 168
4. การใช้แบบตรวจสอบรายการ 4.1 ใช้สําหรับการตรวจสอบรายการประเมินทักษะพื้นฐานของผู้เรียนก่อนที่จะเรียน เนื้อหาสาระใหม่ว่ามีความพร้อมหรือไม่ หรือขาดทักษะพื้นฐานเรื่องใดที่จะได้ซ่อมเสริม ก่อนจะเรียน 4.2 ใช้สําหรับตรวจสอบรายการประเมินทักษะการปฏิบัติที่มีลําดับขั้นตอนที่ชัดเจน ว่ามีผลการปฏิบัติงานที่ควรปฏิบัติอย่างไร มีความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยมีลําดับ ขั้นตอน ดังนี้ 4.2.1 ระบุพฤติกรรมการกระทําที่พึงปฏิบัติได้จากผลงานที่กําหนดให้ 4.2.2 จัดเรียงลําดับพฤติกรรมการกระทําที่เกิดขึ้นก่อน-หลังอย่างเหมาะสม 4.2.3 ใช้กระบวนการในการพิจารณาอย่างง่าย ๆ อาทิ ผ่าน-ไม่ผ่าน, พึงพอใจ ไม่พึงพอใจ เป็นต้น 4.3 ใช้สําหรับตรวจสอบรายการประเมินผลการปฏิบัติ โดยการกําหนดคุณลักษณะ ของ - ที่สําเร็จ แล้วว่าควรจะพิจารณาคุณลักษณะใด แล้วคุณลักษณะนั้น ๆ มีผลการปฏิบัติอย่างไร 4.4 ใช้สําหรับตรวจสอบรายการประเมินพัฒนาการทางสังคม เป็นการบันทึกข้อมูลของผู้ เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมที่เกิดจากการเรียนการสอน โดยการกําหนดรายการ ของพฤติกรรมแล้วพิจารณาว่า มี-ไม่มี จะทําให้ทราบว่าผู้เรียนมีนิสัยการทํางานอย่างไร ในการทํางานกลุ่มกับ 4.5 เพื่อนําไปใช้ในการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางสังคมที่ดีขึ้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 27 จาก 168
5. ข้อดี-ข้อจํากัดของแบบตรวจสอบรายการ 5.1 ข้อดีของแบบตรวจสอบรายการ 5.1.1 สร้างได้ง่าย และสะดวกในการนําไปใช้ 5.1.2 ข้อมูลจากการตรวจสอบสามารถนําไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้เรียน เป็นรายบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.3 ใช้เป็นเครื่องมือในการสังเกตพฤติกรรมที่ต้องการของผู้เรียนได้อย่างละเอียด 5.2 ข้อจํากัดของแบบตรวจสอบรายการ 5.2.1 ในการกําหนดรายละเอียดของพฤติกรรมจะต้องมีความชัดเจน เพื่อให้เกิด ความเข้าใจที่สอดคล้องกัน 5.2.2 ครูผู้สอนใช้แบบตรวจสอบรายการจะต้องเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับ ผู้ เรียน จะทําให้ข้อมูลที่ได้จากแบบตรวจสอบรายการมีความน่าเชื่อถือ 5.2.3 เหมาะสมสําหรับใช้พิจารณาคุณลักษณะหรือพฤติกรรมที่มีการพิจารณา เป็น 2 ระดับอาทิ มี-ไม่มี,ผ่าน-ไม่ผ่าน,จริงเท็จ เป็นต้น ถ้ามีผลการพิจารณาอย่าง ละเอียดตั้งแต่ 3 ระดับ ขึ้นไปควรใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่าทดแทน 5.2.4 ไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการตรวจสอบคุณลักษณะด้านจิตวิทยา อาทิ บุคลิกภาพ เจตคติความสนใจ เป็นต้น เนื่องจากเป็นคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมที่สังเกตได้ค่อนข้าง ยาก เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 28 จาก 168
แบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบมาตราส่วนประมาณค่า (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 74-78) ในการวัดพฤติกรรมการเรียนรู้นั้น แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า เป็นเครื่อง มือ ที่จะช่วยทําให้ครูผู้สอนจะได้รับทราบข้อมูลของผู้เรียนว่ามีระดับพฤติกรรมการเรียน รู้ที่ต้องการให้ เกิดขึ้น หรือแสดงออก มากหรือน้อยเพียงไร มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความหมายแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้ตรวจ สอบพฤติกรรม/คุณลักษณะที่ต้องการของผู้เรียนว่าแสดงออก/เกิดขึ้นในระดับที่มากหรือ น้อยเพียงใด 2. ประเภทของแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า ในการสร้างแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าจะมีรูปแบบในการสร้างที่เหมาะสม กับผู้เรียนในแต่ละระดับ หรือพฤติกรรมที่ต้องการตรวจสอบ มีดังนี้ 2.1 จําแนกตามลักษณะของตัวเลือก 2.1.1 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย เป็นการกําหนด ข้อคําถามและตัวเลือกที่ระบุระดับความคิดเห็นที่ผู้เรียนจะเลือกตอบ ดังตัวอย่างที่ 1 2.1.2 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข เป็นการกําหนดข้อ คําถามและตัวเลือกที่ระบุตัวเลขแสดงระดับความคิดเห็นที่ผู้เรียนจะเลือกตอบ ดังตัวอย่างที่ 2 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 29 จาก 168
2.1.3 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบเส้น เป็นการกําหนดข้อคํา ถามเลือกที่เป็นเส้นแสดงระดับความคิดเห็นที่ผู้เรียนจะเลือกตอบ ดังตัวอย่างที่ 3 2.1.4 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบสัญลักษณ์ เป็นการกําหนด ข้อคําถามและตัวเลือกที่เป็นสัญลักษณ์แสดงระดับความคิดเห็นที่ผู้เรียนจะเลือกตอบ ดัง ตัวอย่างที่ 4 2.1.5 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบให้จัดอันดับ เป็นการกําหนด ข้อคําถามและตัวเลือกที่ข้อความโดยให้ผู้เรียนได้เรียงอันดับตามเงื่อนไขที่กําหนดให้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 30 จาก 168
2.2 จําแนกตามบุคคล 2.2.1 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณของลิเคริท์ (Likert Rating Scale) หรือวิธีการประมาณค่ารวม (The Method of Summate Rating) 2.2.1.1 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณของลิเคริท์ เป็นแบบกําหนด คําตอบ 5 ระดับ (แบบ 0,1,2,3 และ 4 หรือ แบบ 1,2,3,4,5) ที่แสดงระดับความคิดเห็น ที่สนับสนุนหรือ ไม่สนับสนุนต่อพฤติกรรม/คุณลักษณะที่กําหนดให้ ดังตัวอย่างตารางที่ 1 2.2.1.2 แนวการกําหนดข้อคําถามของแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณ ของลิเคิร์ท มีดังนี้ 1) ข้อคําถามควรเป็นข้อความที่แสดงความคิดเห็นมากกว่าข้อเท็จจริง 2) ข้อคําถามควรมีความชัดเจนในประเด็นที่ต้องการถาม 3) คําตอบที่คาดว่าจะได้รับควรมีทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุน 4) เป็นข้อคําถามทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ที่มีการให้คะแนนดังตารางที่2 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 31 จาก 168
2.2.2 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณของออสกูด (Osgood Rating Scale) แบบนัยจําแนก (Semantic Differential. Scale) มีรายละเอียดดังนี้ 2.2.2.1 แบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณของออสกูดเป็นแบบประเมิน ที่กําหนดตัวเลือก \"คําคุณศัพท์\" ที่มีความหมายตรงกันข้ามตั้งแต่พฤติกรรมต่ําสุดไปถึง สูงสุดแล้วให้ได้แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับประเด็น/ความคิดรวบยอดที่กําหนดให้ 2.2.2.2 องค์ประกอบที่จําแนกตามคําคุณศัพท์ที่ใช้ มีดังนี้ 1) องค์ประกอบด้านการประเมิน (Evaluation Factor) เป็นองค์ประกอบแสดงคุณค่า เหมาะสมสําหรับใช้วัดเจตคติ มีตัวอย่างคําตรงข้าม ดังนี้ 2) องค์ประกอบด้านอํานาจ (Potency Factor) เป็นองค์ประกอบที่แสดงออกทางพลัง อํานาจ มีตัวอย่างคําตรงข้าม ดังนี้ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 32 จาก 168
3) องค์ประกอบด้านกิจกรรม (Activity Factor) เป็นองค์ประกอบ ที่แสดงออกทาง กิริยาอาการ มีตัวอย่างคําตรงข้าม ดังนี้ 1)ศึกษาค้นคว้าคําคุณศัพท์ตรงกันข้ามที่เกี่ยวข้องกับประเด็น/ความคิดรวบยอดที่กําหนด โดยวิเคราะห์ด้วยตนเอง หรือการระดมความคิดจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง 2) หาความถี่ และเลือกคําคุณศัพท์จากขั้นตอนที่ 1 ที่มีความ 3) นําคําคุณศัพท์มาจัดทําเป็นคําตรงข้ามแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญทาง แสดงความคิดเห็นว่าใช้ได้หรือไม่ โดยคําที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าสอดคล้องเกินครึ่งหนึ่งของผู้ เล่น แสดงความคิดเห็นว่าใช้ แสดงว่าใช้ได้ให้นําไปทดลองใช้ 4) นําคําคุณศัพท์ตรงกันข้ามสร้างเป็นมาตรการวัดแบบ 3 4 5 6 7 ระดับ ตามความต้องการ ดังตัวอย่างที่ 5 5)นําไปทดลองใช้เพื่อหาอํานาจจําแนกเป็นรายข้อโดยใช้สหสัมพันธ์สูงมาใช้ การทดสอบ ที่หรือหาสหสัมพันธ์ระหว่างข้อกับคะแนนรวม แล้วเลือกข้อที่มีอํานาจจําแนก 6) ศึกษาคุณภาพของแบบประเมิน อาทิ ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น โดยใช้วิธีการเดียวกับแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณของลิเคริท์ 2.2.2.4 การให้คะแนน โดยที่กําหนดความรู้สึกทางบวกจะมีค่ามาก และ ความรู้สึกทางลบจะมีค่าน้อย เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 33 จาก 168
การสังเกต การสังเกต (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 79-84) ในการวัดพฤติกรรมการเรียน รู้นั้น การสังเกต เป็นวิธีการที่จะช่วยให้ครูผู้สอนจะได้รับทราบข้อมูลเฉพาะบุคคลของผู้ เรียนว่ามีพฤติกรรมการเรียนรู้ที่บรรลุวัตถุประสงค์หรือต้องการให้ช่วยเหลือมาก หรือ น้อยเพียงไร หรือมีพฤติกรรมกลุ่มที่เกิดขึ้นในระหว่างจัดการเรียนรู้อย่างไร มีราย ละเอียดดังนี้ 1. ความหมายของการสังเกต การสังเกต (Observation) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า สังเกตจากผู้ถูกสังเกต โดยการเฝ้าดูพฤติกรรมในสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อทําความ เข้าใจ ซึ่งประเมินผลว่าเป็นอย่างไร (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ 2535 : 41) การสังเกต (observation) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตทําการเก็บรวบรวมข้อมูลโดย การบันทึกพฤติกรรมหรือกลุ่มหรือการกฎการณ์ในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่ เกี่ยวข้องกับประเด็น ที่ศึกษา โดยอาศัยประสาทสัมผัสของผู้สังเกตเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้หรือข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้ยังขึ้นอยู่กับการรับรู้ ทัศนคติตลอดจนประสบการณ์ของผู้สังเกตด้วย ดังนั้นข้อมูลที่ได้จากการสังเกตจะถูก ต้องเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดจึงขึ้นอยู่กับตัวผู้สังเกตเป็นสําคัญ 2. ประเภทของการสังเกต ในการสังเกตพฤติกรรมหรือคุณลักษณะของบุคคลใด ๆ สามารถจําแนกประเภท ของ การสังเกต ดังนี้ 2.1 จําแนกตามพฤติกรรมของผู้สังเกต จําแนกได้ดังนี้ (ธีระวุฒิ เอกะกุล, 2544 : 170) 2.1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) เป็นการสังเกต โดยตรงที่ผู้สังเกตจะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องการสังเกตกับผู้ถูกสังเกต เพื่อที่ ความใกล้ชิดจะทําให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจนที่จําแนกได้ดังนี้ 2.1.1.1 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยสมบูรณ์ ( Complete Participant Observation) เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปเป็นสมาชิกของกลุ่มที่ถูกสังเกตโดยที่กลุ่ม ที่ถูกสังเกตไม่รู้ตัวและผู้สังเกต ไม่ระบุสถานภาพของตนเอง เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 34 จาก 168
2.1.1.2 การสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยไม่สมบูรณ์ (Incomplete Participant Observation)เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมกิจกรรมตามโอกาสที่ เหมาะสม และ กลุ่มที่ถูกสังเกตจะรู้ตัว และระมัดระวังการแสดงพฤติกรรม 2.1.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เป็นการ สังเกต โดยทางอ้อมที่ผู้สังเกตไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ๆ แต่จะคอยเฝ้าดู พฤติกรรมอยู่ห่างๆ ที่อาจจะมีการใช้อุปกรณ์ในการช่วยเก็บข้อมูลเพื่อนําไปประกอบการ พิจารณาในภายหลัง อาทิ กล้องถ่ายรูป หรือกล้องถ่ายวีดีทัศน์ เป็นต้น 2.2 จําแนกตามลักษณะของการสังเกต จําแนกได้ดังนี้ 2.2.1 การสังเกตแบบมีโครงสร้าง (Structured Observation) เป็นการสังเกตที่ ได้ มีการกําหนดประเด็น หรือรายละเอียดของพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่ใช้ประกอบ การสังเกตไว้ล่วงหน้า 2.2.2 การสังเกตแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Observation) เป็นการ สังเกต ที่ไม่ได้กําหนดประเด็น หรือรายละเอียดของพฤติกรรมหรือคุณลักษณะไว้ล่วง หน้า แต่จะเป็น การสังเกตตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และจดบันทึกข้อมูล ทั้งหมดเพื่อนําไปวิเคราะห์ 3. องค์ประกอบของการสังเกต การสังเกตจะได้ผลดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบเหล่านี้คือ 3.1 ความตั้งใจ (Attention) การสังเกตจะได้ผลดีถ้าผู้สังเกตมีความตั้งใจจริงและสนใจ เฉพาะเรื่องที่กําลังสังเกต รว มทั้งพยายามตัดอคติหรือความลําเอียงต่าง ๆ ออกไป 3.2 ประสาทสัมผัส (Sensation) ได้แก่ประสิทธิภาพและความเฉียบคมของประสาท สัมผัสการสังเกต ควรสังเกตในขณะที่สภาพประสาทสัมผัสของผู้สังเกตดีพอ 3.3 การรับรู้ (Perception) การรับรู้ของผู้สังเกตขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความ สามารถของผู้สังเกต ผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สังเกตย่อมจะรับรู้ และสามารถทําความเข้าใจกับเรื่องที่สังเกตได้ดี เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 35 จาก 168
4. หลักการสังเกต การสังเกตเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เชื่อถือได้นั้น ต้องมี กระบวนการในการดําเนินการ โดยยึดหลักดังนี้ 4.1. มีจุดมุ่งหมาย ผู้สังเกตต้องทราบว่าจะสังเกตพฤติกรรมในเรื่องใด พร้อมทั้งต้อง แจกแจงการแสดงออกของพฤติกรรมนั้นให้ละเอียดครอบคลุมทุกแง่มุม 4.2. การรับรู้รวดเร็ว ผู้สังเกตสามารถมองเห็นพฤติกรรม หรืออาการที่เด็กแสดงออก มาได้อย่างรวดเร็ว 4.3. สังเกตหลายคนหรือหลายครั้ง จะทําให้ผลการสังเกตที่ได้เชื่อถือได้สูง 4.4. สังเกตให้ตรงความจริง คือพยายามสังเกตให้ได้พฤติกรรมการแสดงออกที่เป็น ธรรมชาติแท้จริงให้มากที่สุด 4.5. มีการบันทึกผล เพื่อจะทําให้ข้อมูลไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน วิธีบันทึกผลการ สังเกตอาจมีสัญลักษณ์แทนข้อความยาว ๆ 5. หลักการของการสังเกตที่มีประสิทธิภาพ มีแนวการดําเนินการ ดังนี้ (วิเชียร เกตุ สิงห์,2530:90-91) 5.1 วางแผนและกําหนดเป้าหมาย ขอบเขต และรายละเอียดของการสังเกตอย่าง ชัดเจน 5.2 มีความตั้งใจในการสังเกต โดยการสังเกตรายละเอียดของพฤติกรรมหรือ คุณลักษณะที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด 5.3 จดบันทึกพฤติกรรมหรือคุณลักษณะที่สังเกตพบทันทีเพื่อป้องกันการหลงลืม 5.4 มีประสาทการรับรู้ที่สมบูรณ์และมีสุขภาพที่แข็งแรง 5.5 ต้องไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้ถูกสังเกต 5.6 มีการฝึกการสังเกตให้ชํานาญ มีความไวในการรับรู้ และมีความคล่องแคล่วใน การ จดบันทึกข้อมูลจากการสังเกต เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 36 จาก 168
5.7 ให้จดบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงไม่มีความหมาย เพราะอาจจะทําให้เกิด ความคลาดเคลื่อนระหว่างการสังเกตเนื่องจากกังวลกับการตีความ 5.8 สังเกตตามช่วงเวลาที่แตกต่างกัน หรือใช้ผู้สังเกตหลายคนเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อ ถือ ของผลจากการสังเกต 5.9 มีเครื่องมือประกอบการสังเกตตามความเหมาะสมกับพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ ต้องการ 6. ข้อดีและข้อจํากัดของการสังเกต 6.1 ข้อดีของการสังเกต มีดังนี้ 6.1.1 ได้ข้อมูลจากแหล่งปฐมภูมิ ที่ให้รายละเอียดที่ชัดเจน 6.1.2 ใช้กับผู้ถูกสังเกตที่ไม่สามารถให้ข้อมูลโดยตรง อาทิ พูดหรือเขียนไม่ได้ หรือ มีการต่อต้าน/ละอายในการให้ข้อมูล 6.1.3 ใช้เป็นข้อมูลที่ใช้พิจารณาประกอบหรือตรวจสอบกับวิธีการเก็บข้อมูลด้วย วิธีการอื่นเพื่อเพิ่มถูกต้อง และความชัดเจน 6.2 ข้อจํากัดของการสังเกต 6.2.1 ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับผลที่ได้รับจาก การเฝ้า สังเกต 6.2.2 ในกรณีผู้ถูกสังเกตรู้ตัว จะทําให้ได้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมตาม ปกติที่เคยเกิดขึ้น 6.2.3 ในขณะที่เฝ้าสังเกตนั้นอาจจะไม่เกิดพฤติกรรมที่ต้องการก็ได้ 6.2.4 ผู้สังเกตต้องมีประสาทการรับรู้ที่ดี/รวดเร็ว มิฉะนั้นจะไม่ได้ผลที่ถูกต้อง และ ชัดเจนตามที่ต้องการ 6.2.5 อารมณ์ของผู้สังเกตจะมีส่วนในการเกิดความคลาดเคลื่อนของการสังเกต เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 37 จาก 168
7. ลักษณะของผู้สังเกตที่ช่วยให้การสังเกตมีประสิทธิภาพ ในการสังเกตเพื่อให้ได้ ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ ผู้สังเกตควรมีลักษณะ ดังนี้ 7.1 มีความตั้งใจดี กล่าวคือ ผู้สังเกตจะต้องมีสมาธิในการสังเกต มีเป้าหมาย และมี ความอดทนในการเฝ้าสังเกตพฤติกรรม หรือสิ่งที่มุ่งวัด เพื่อให้ได้รับข้อมูลตามจุดประ สงค์ที่กําหนดไว้ อย่างถูกต้อง และครบถ้วน 7.2 มีประสาทสัมผัสดี กล่าวคือ ผู้สังเกตจะต้องเป็นผู้ที่มีประสาทสัมผัสทางตา ทางหู หรือทางจมูกที่ดี และสมบูรณ์ เพราะมิฉะนั้นอาจจะทําให้ได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไม่ สอดคล้องกับ ความเป็นจริง 7.3 มีการรับรู้ที่ดี กล่าวคือ ผู้สังเกตจะต้องรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แม่นยํา ไม่ บิดเบือนจากความจริงที่สามารถแปลความหมายในสิ่งที่ได้รับจากประสาทสัมผัสได้อย่าง ถูกต้อง ชัดเจน มิฉะนั้นแล้วอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น อย่างยิ่ง 8. เครื่องมือที่ใช้ประกอบการสังเกต ในการสังเกตจําเป็นจะต้องมีการจด จึงมีเครื่องมือที่ใช้ประกอบการสังเกต ดังนี้ 8.1 แผนภูมิการมีส่วนร่วมเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในการเข้า นกลุ่มเล็ก ๆโดยที่ผู้สังเกตเป็นผู้สังเกตการณ์ภายนอกเพื่อป้องกันความลําเอียง โดยที่ผู้ สังเกตเป็นผู้สังเกตการณ์ภายนอกเพื่อป้องกันการลืม แล้วจึงนําผลการบันทึกมาแปล ความหมายตามจุดมุ่งหมายอีกครั้งหนึ่ง ดังตัวอย่างตารางแผนภูมิการมีส่วนร่วมในการ อภิปรายกลุ่มในตารางที่ 3 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 38 จาก 168
8.2 แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) ที่เป็นการรายการแสดงขั้นตอนกิจกรรม หรือ พฤติกรรมและคุณลักษณะของกลุ่มหรือรายบุคคลที่ผู้สังเกตได้จดบันทึกไว้ว่ามี-ไม่มี จริง-ไม่จริง ใช่ ไม่ใช่ แต่จะไม่มีการประมาณค่าระดับความเข้มของพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ดังตัวอย่างการสังเกต กระบวนการสร้างแบบทดสอบของผู้เรียนในตารางที่ 4 8.3 มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) เป็นการกําหนดรายการหรือพฤติกรรม ที่ ต้องการสังเกตในลักษณะของการประเมินที่มีค่าระดับความเข้มของพฤติกรรมหรือ คุณลักษณะที่เกิดขึ้น(กระบวนการ/ผลลัพธ์) โดยมีผู้สังเกตเป็นผู้ประเมิน แต่จะต้อง ระมัดระวังในการกําหนดข้อความที่กํากวมความลําเอียงของผู้สังเกตที่เป็นในลักษณะ Hallo Effect หรือธรรมชาติและสภาวะแวดล้อม 9. วิธีการหาความเชื่อมั่นของการสังเกต ในการสังเกตใด ๆ มีวิธีการหาความเชื่อมั่นของการสังเกต เพื่อให้ผลการสังเกตมี ความถูกต้องแม่นยํา และเชื่อถือได้ มีดังนี้ (วิเชียร เกตุสิงห์,2530 : 124-125) 9.1 ใช้ผู้สังเกตคนเดียวกันสังเกตในเวลาที่แตกต่างกันแล้วนําผลที่ได้มาหา สัมประสิทธิ์ 9.2 ใช้ผู้สังเกตหลายคนสังเกตพฤติกรรมเดียวกันของผู้ถูกสังเกตกลุ่มเดียวกันอย่าง อิสระสหสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลสองชุดนั้น แล้วนําผลที่ได้มาหาความสัมพันธ์เพื่อพิจารณา ความสอดคล้องของผลการสังเกต เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 39 จาก 168
10. ตัวอย่างการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกต 10.1. การสังเกตโดยใช้ตา ในการสังเกตโดยใช้สายตานั้น หากเด็กได้รับการชี้แนะ ให้รู้จักสังเกตลักษณะของสิ่งต่าง ๆสังเกตความเหมือน ความแตกต่าง รู้จักจําแนก และ จัดประเภทก็จะช่วยให้เด็กมี นิสัยในการมองสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างละเอียด รอบคอบ โดยขั้นแรกให้ดูสิ่งที่เด็กพบ เห็นอยู่ทุกวัน เช่น ต้นไม้ ขณะที่พาเด็กไปเดิน เล่นในบริเวณโรงเรียน ครูเก็บใบไม้ต่าง ๆ ที่หล่นอยู่บนพื้นมาให้เด็กดู (ไม่ควรเด็ดใบไม้ จากต้น ถ้าเด็กอยากเด็ด ให้บอกเด็กว่า “เก็บ จากพื้นดีกวา ดอกไม้ใบไม้ที่อยู่กับต้นช่วย ให้ต้นไม้ดูสวยงามและเจริญเติบโต ถ้าเราเด็ด ออกมาดูอีกเดี๋ยวเดียวก็จะเหี่ยว”) ให้เด็ก สังเกตสีของใบไม้ต่าง ๆ เด็กจะเห็นว่า ใบไม้ ส่วนใหญ่มีสีเขียวแต่บางใบก็มีสีแตกต่างไป ส่วนรูปร่างลักษณะก็มีทั้งคล้ายกันและต่าง กัน เช่น ใบมะนาวไม่มีแฉก ใบตําลึงมี แฉก เป็นต้น นอกจากใบไม้แล้ว ควรให้เด็กสังเกตุ รูปทรงต่าง ๆ ของพืช เช่น เป็นลําต้น ตรงสูงขึ้นไป เป็นเถาเลื้อยเกาะกับต้นอื่น ให้สังเกต ความแตกต่างของดอกไม้ และผลไม้ ต่าง ๆ เช่น ดอกอัญชันมีสีม่วงเข้ม ส่วนดอกมะลิมีสี ขาว แล้วให้เด็กนําไปใช้ประโยชน์ อะไรได้ เช่น เอาดอกอัญชันไปใช้ย้อมผ้าได้ ใบเตยนําไปใช้ในการทําขนม ทําให้มีสีสวย และกลิ่นหอม เป็นต้น นอกจากสังเกตใบไม้แล้ว ครูควรจัดหาเมล็ดพืชหลาย ๆ ชนิดมาให้เด็กเล่นเพื่อ สังเกตลักษณะรูปร่างขนาด สี และหัดแยกประเภท และจัดหมวดหมู่ โดยนําเมล็ดที่มี ลักษณะคล้ายกันไว้ด้วยกัน รวมทั้งให้คิดว่าเป็นเมล็ดของพืชชนิดใดด้วย อุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากสําหรับการสังเกต คือ แว่นขยาย เด็ก ๆ มักตื่นเต้นที่ได้ เห็นสิ่งต่าง ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น และเห็นรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ตัวมด ใบไม้ เส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ก้อนหิน เม็ดทราย เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 40 จาก 168
10.2.การสังเกตโดยใช้หู นอกจากความสามารถในการจําแนกเสียงจะมีประโยชน์ ต่อการเตรียมความพร้อม ทางภาษาแล้วยังมีประโยชน์ในการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งที่อยู่รอบตัว เด็กอีกด้วย เสียงที่เด็กคุ้นหูคือเสียงสัตว์ต่าง ๆ ครูอาจใช้วิธีอัดเสียง นกในท้องถิ่น เสียงกบร้อง เสียง จักจั่น ฯลฯ แล้วเปิดเทปให้เด็กทายว่าเป็นเสียงสัตว์ อะไรที่เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่าง ของเสียงเหล่านี้จะช่วยให้ครูสามารถเชื่อมโยงไปสู่ การสอน เกี่ยวกับลักษณะและ ความเป็น อยู่ของสัตว์ต่าง ๆ ได้ และช่วยให้เด็กมีความ กระตือรือร้นที่จะสังเกตและศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติมมากขึ้น สําหรับการฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว อาจใช้วิธีให้เด็กปิดตา แล้วเดาว่าเสียงที่ ครูทํานั้นเป็นเสียงอะไร เช่น เสียงเคาะไม้ เสียงช้อนคนแก้วน้ํา เสียงฉิ่ง เป็นต้น จากการ ฟังเสียงที่แตกต่างกันของวัตถุเหล่านี้เด็กจะเรียนรู้ถึงความแตกต่างของวัตถุซึ่งมีผลทําให้ เกิดเสียงที่ต่างกันไป นอกจากนี้ อาจนําเครื่องดนตรี หรือเครื่องให้จังหวะที่ทําด้วยวัสดุ ต่าง ๆ มาแสดงให้เด็กเห็นว่ามีเสียงต่างกัน เช่น ลูกซัดที่ใส่ถั่วเขียวไว้ข้างใน ลูกซัดหวาย ร้อนด้วยฝาน้ําอัดลม กรับไม้ไผ่ ฯลฯ 10.3.การสังเกตโดยใช้จมูก กิจกรรมที่ใช้การดมกลิ่น ควรประกอบด้วยการให้ดมสิ่งที่ มีกลิ่นต่าง ๆ กัน รวม ทั้งให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นคล้าย ๆ กัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็ก น้อยเพื่อให้รู้จักจําแนกได้ ละเอียดขึ้น ในขั้นแรกให้นําของต่าง ๆ ที่จะให้เด็กดมใส่ขวด เอากระดาษปิดขวดรอบนอก เพื่อไม่ให้เห็นสิ่งของ ให้เด็กดมแล้วบอกว่าเป็นกลิ่น อะไร ตัวอย่างสิ่งที่อาจให้ดม ได้แก่ หัวหอม กระเทียม สบู่ กาแฟ ใบสะระแหน่ เปลือก ส้ม ยาดม ฯลฯ ต่อมาหลังจากที่เด็ก สามารถจําแนกกลิ่นต่าง ๆ ได้แล้ว ควรให้ดมกลิ่น สิ่งที่มีกลิ่นคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น สบู่ต่างชนิดกัน ดอกไม้ต่าง ๆ ใบไม้ต่าง ๆ ผลไม้ เช่น ส้ม กับมะนาว แล้วให้เด็กพูดบรรยายความรู้สึก เช่น ดอกไม้ดอก นี้หอมชื่นใจ ดอกนี้หอมแรงไป หน่อย ใบไม้นี้มีกลิ่นหอม ใบนี้กลิ่นคล้ายของเปรี้ยว เป็นต้น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 41 จาก 168
10.4. การสังเกตโดยใช้ลิ้น การใช้ลิ้นชิมรสอาหารต่าง ๆ เป็นกิจกรรมที่เด็ก สนุกสนานเพราะสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กที่ชอบชิม แทะ สิ่งต่าง ๆ แต่ต้องสอนให้ เด็กเข้าใจว่าสิ่งใดเอาเข้าปากได้ และสิ่งใดไม่ควรแตะต้องเพราะมีพิษหรือเป็นอันตราย ต่อร่างกาย เมื่อเด็กไปพบเห็นสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติจะได้ไม่เอาเข้าปากการให้ เด็กได้ชิมรสต่าง ๆ นี้ก็เพื่อให้รู้จัก ความแตกต่างของรส และรู้จักลักษณะของสิ่งที่นํามา ใช้เป็นอาหารดียิ่งขึ้น ในการจัดกิจกรรมนั้น ให้เอาอาหารชิ้นเล็ก ๆ หลายอย่างใส่ถาดให้ เด็กปิดตาแล้วครูส่งให้ชิม ให้เด็กตอบว่า กําลังชิมอะไร รสเป็นอย่างไร เช่น น้ําตาล เกลือ วุ้น มะยม มะนาว ฯลฯ หลังจาก นั้นให้เปรียบเทียบอาหารที่มีรสคล้ายกันว่ามีความแตก ต่างกันอย่างไร เช่น มะยมกับ มะนาวแตกต่างกันอย่างไร 10.5. การสังเกตโดยใช้การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสโดยใช้มือแตะหรือเอาสิ่งของต่าง ๆ มาสัมผัสผิวหนัง ช่วยให้เด็กได้ เรียนรู้ เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุต่าง ๆ และเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นไป กิจกรรมอาจเริ่มโดยเอาวัตถุหลายอย่างใส่ถุง ให้เด็กปิดตาเอมมือหยิบสิ่งของขึ้นมา แล้ว ให้บอกว่าสิ่งที่คลํามีลักษณะอย่างไร เช่น นุ่ม แข็งหยาบ เรียบ ขรุขระ เย็น อุ่น บาง หนา ฯลฯ ของที่นํามาใส่ในถุงควรเป็นสิ่งที่มีพื้นผิวแตกต่างกัน เช่น ผ้าเนื้อต่าง ๆ กระดาษ หยาบ ฟองน้ํา ไม้ ขนนก เหรียญ ฯลฯ นอกจากเด็กจะได้ฝึกใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ เหล่านี้แล้วยังได้เรียนรู้ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันของวัตถุแต่ละชนิดอีก ด้วย เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 42 จาก 168
การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 85-91) ในการวัดพฤติกรรมการ เรียนรู้นั้น การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการพูดคุย ซักถามระหว่างบุคคลแต่ละฝ่ายให้ครูผู้สอน จะได้รับทราบข้อมูลเฉพาะบุคคล หรือกลุ่มของผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมการเรียนรู้ บรรลุ วัตถุประสงค์หรือต้องการให้ช่วยเหลือมากหรือน้อยเพียงไร มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความหมายของการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสนทนา โต้ตอบ อย่างมีจุดประสงค์ระหว่างผู้สัมภาษณ์ (Interviewer) และผู้ให้สัมภาษณ์ (Interviewee) เพื่อให้ได้ ความรู้ความจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณลักษณะที่ต้องการบางประการไม่ได้จาก วิธีการอื่น ๆ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2535 :42) 2. ประเภทของการสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง ชัดเจน ได้จําแนกการสัมภาษณ์ออก เป็น 2 ลักษณะดังนี้ 2.1 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ใช้ แบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นกรอบของคําถามในการสัมภาษณ์ที่เหมือนกันกับผู้ให้ สัมภาษณ์ แต่ละคน/กลุ่มหรือเป็นแบบให้เลือกตอบ เป็นวิธีการที่ง่ายสําหรับการนําผลที่ ได้มาวิเคราะห์ข้อมูล และเหมาะสมกับผู้สัมภาษณ์ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากเพียงพอ แต่ จะต้องระมัดระวังการมีตัวเลือกที่ ไม่สอดคล้องกับตัวเลือกที่กําหนดให้ทําให้จําเป็นต้อง ตอบตามตัวเลือกที่กําหนดให้ ดังนั้นอาจจําเป็น ต้องมีการกําหนดตัวเลือกแบบ ปลายเปิด อาทิ อื่น ๆ ให้ระบุ................................................เป็นต้น 2.2 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นการ สัมภาษณ์ที่ ใช้เพียงประเด็นหัวข้อเป็นแนวทางในการตั้งคําถามโดยที่ผู้สัมภาษณ์สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ตาม สถานการณ์ ทําให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย และลึกซึ้งในการนํามา พิจารณาประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ผู้สัมภาษณ์จะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และ ความเชี่ยวชาญมากทั้งในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 43 จาก 168
3. ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ ในการดําเนินการสัมภาษณ์ใด ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการสัมภาษณ์อย่างสมบูรณ์ ควรมี ขั้นตอนการดําเนินการ ดังนี้ 3.1 ขั้นก่อนการสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์จะต้องมีการวางแผน/กําหนดประเด็นล่วงหน้า และจะต้องมีการแนะนําตนเอง และบอกจุดมุ่งหมาย/ประโยชน์ที่ได้รับเงื่อนไข/การดําเนิน การ (การจดบันทึก/การบันทึกเทปวีดีทัศน์) เพื่อให้การดําเนินการเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน และกัน และ ก่อนการสัมภาษณ์ควรมีการสนทนาทั่ว ๆ ไปเพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศใน การสนทนาที่เป็นกันเองก่อนที่จะเริ่มประเด็นสัมภาษณ์ 3.2 ขั้นระหว่างสัมภาษณ์ เป็นการดําเนินการที่มีประเด็นที่ควรคํานึง ดังนี้ 3.2.1 ใช้คําถามที่ชัดเจน ใช้ภาษาง่าย ๆ ทีละคําถามและสามารถให้คําอธิบาย ได้ใน กรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ไม่เข้าใจ 3.2.2 ควรรอคอยไม่ควรรีบเร่งหรือชี้แนะการได้คําตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ 3.2.3 ไม่แสดงอาการตําหนิ หรือแสดงความไม่เห็นด้วยกับคําตอบที่ได้ 3.2.4 ในระหว่างการสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ควรสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของ ผู้ให้ สัมภาษณ์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อนํามาพิจารณาว่าผู้สัมภาษณ์ควรจะถามต่อ หยุดถามหรือ เปลี่ยน คําถาม ในการให้ได้ข้อมูลที่เกิดจากความเต็มใจในการตอบ 3.2.5 กรณีที่บางคําถามยังได้คําตอบที่ยังไม่ชัดเจน ผู้สัมภาษณ์อาจจะนํามา ทบทวนหลังจากหมดคําถามแล้ว ว่าคําตอบที่ได้มีอะไรจะเพิ่มเติมหรือไม่หรือจะเปลี่ยนคํา ตอบ 3.2.6 หลังจากได้เสร็จสิ้นการสัมภาษณ์แล้วผู้สัมภาษณ์ควรขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์ 3.3 ขั้นหลังการสัมภาษณ์ เป็นการดําเนินการที่มีประเด็นที่ควรคํานึง ดังนี้ 3.3.1 จดบันทึกข้อมูลทันทีจากเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ 3.3.2 ให้จดบันทึกเฉพาะข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เท่านั้นไม่ต้องแสดง ความคิด เห็นที่เกิดจากการตีความของผู้สัมภาษณ์ 3.3.3 คําถามใดที่ได้คําตอบไม่ชัดเจน หรือไม่ได้คําตอบควรบันทึกเหตุผลไว้ ประกอบการวิเคราะห์/แปลผลด้วย เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 44 จาก 168
4. ข้อดีและข้อจํากัดของการสัมภาษณ์ 4.1 ข้อดีของการสัมภาษณ์ มีดังนี้ 4.1.1 ใช้กับบุคคลที่ไม่สามารถให้ข้อมูลโดยการอ่านหรือเขียนหนังสือไม่ได้ 4.1.2 ได้ข้อมูลที่มีรายละเอียดชัดเจน และได้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของ ในระหว่างการให้สัมภาษณ์ ใช้ในการประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล หรือคําตอบที่ไม่ ชัดเจนระหว่างกันและกันได้ 4.1.3 ผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์สามารถซักถามประเด็นในข้อคําถาม 4.2 ข้อจํากัดของการสัมภาษณ์ มีดังนี้ 4.2.1 ใช้เวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดําเนินการค่อนข้างสูง 4.2.2 ต้องใช้ผู้สัมภาษณ์ที่มีประสบการณ์และมีมนุษยสัมพันธ์สูงจึงจะได้ข้อมูลที่ถูก ต้องและชัดเจน 4.2.3 ในการสัมภาษณ์ ใด ๆ กรณีใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ทําให้ได้ ข้อมูลที่หลากหลายที่ยุ่งยากต่อการวิเคราะห์เพื่อสรุปผล 5. องค์ประกอบของแบบสัมภาษณ์ ในแบบสัมภาษณ์แต่ละฉบับประกอบด้วยองค์ประกอบที่จําแนกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 5.1 ส่วนที่ 1 จดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการสัมภาษณ์ อาทิ วัน-เดือน-ปี ที่สัมภาษณ์ ลักษณะ ของกลุ่มที่จะสัมภาษณ์ เพื่อให้เกิดความง่ายและสะดวกในการนําข้อมูลไป วิเคราะห์ในภายหลัง 5.2 ส่วนที่ 2 เป็นรายละเอียดของผู้ให้สัมภาษณ์ในส่วนที่ยังไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ จะสัมภาษณ์อาทิ เพศ อายุ อาชีพ หรือการนับถือศาสนา ที่อยู่ เป็นต้น 5.3 ส่วนที่ 3 เป็นคําถาม/ประเด็น/เนื้อหาที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการ สัมภาษณ์ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 45 จาก 168
6. หลักการใช้คําถามในการสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์ การใช้คําถามจะมีส่วนให้ผู้สัมภาษณ์ได้รับข้อมูลที่ต้องการ ที่มีหลัก การที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ (วิเชียร เกตุสิงห์,2530 : 89) 6.1 ควรมีการสนทนา ในการทําความคุ้นเคยกับผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อสร้างบรรยากาศ ความเป็นกันเอง 6.2 ควรใช้คําถามที่เกี่ยวกับประเด็น/เรื่องที่ต้องการสัมภาษณ์ 6.3 ควรใช้ภาษาที่ง่าย ๆ เพื่อให้ได้คําตอบที่ต้องการอย่างแท้จริง 6.4 ควรใช้คําถามที่ชัดเจน รัดกุม ที่แต่ละข้อควรมีประเด็นเดียว 6.5 หลีกเลี่ยงคําอธิบายเพิ่มเติมที่จะเป็นการแนะนําคําตอบเพราะจะทําให้ได้คําตอบ ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง 6.6 หลีกเลี่ยงคําถามที่จะเป็นผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ให้สัมภาษาณ์ทั้งขณะ สัมภาษณ์และหลังสัมภาษณ์ 7. การหาความเชื่อมั่นของการสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์ใด ๆ มีวิธีการหาความเชื่อมั่นของการสัมภาษณ์ เผื่อให้ผลสัมภาษณ์ มีความถูกต้องแม่นยํา และเชื่อถือได้ มีดังนี้ (วิเชียร เกตุสิงห์,2530 : 124-125) 7.1 ใช้การสัมภาษณ์ซ้ํา เป็นการนําผลการสัมภาษณ์ทั้งสองครั้งมาหาสหสัมพันธ์ หรือ ร้อยละของความคงที่ของข้อมูล ถ้าได้ค่าสูงแสดงว่าการสัมภาษณ์มีความเชื่อมั่นสูง 7.2 การสัมภาษณ์โดยใช้ผู้สัมภาษณ์หลายคน เป็นการสัมภาษณ์โดยใช้ผู้สัมภาษณ์ หลายคนเก็บข้อมูลโดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน แล้วนําข้อมูลมาหาความสอดคล้องระหว่าง ข้อมูลที่ได้ 7.2.1 วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนของฮอยส์ (Hoyt's Analysis of Variance) โดย การแปลผลการสัมภาษณ์ของผู้สัมภาษณ์มาเป็นคะแนนที่ได้แล้วนํามา แจกแจงเป็น ตาราง 2 ทางระหว่างผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์ แล้ววิเคราะห์ความ แปรปรวนและหาค่าความเชื่อมั่น เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 46 จาก 168
เทคนิคสังคมมิติ เทคนิคสังคมมิติ (สมชาย วรกิจเกษมสกุล. 2557 : 91-98) ในการวัดพฤติกรรมส่วน บุคคล/กลุ่มของผู้เรียนนั้น การใช้เทคนิคสังคมมิติ เป็นวิธีการ ในการตรวจสอบความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่จะช่วยให้ครูผู้สอนจะได้รับทราบข้อมูลเฉพาะบุคคล หรือ กลุ่ม ของผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมทางสังคมอย่างไรในห้องเรียนที่จะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน หรือ ใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขปรับปรุงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นให้ดีขึ้น มีรายละเอียดดังนี้ 1. ความหมายของเทคนิคสังคมมิติ เทคนิคสังคมมิติ (Sociometric Techniques) เป็นเทคนิควิธีการในการวัดผลที่ใช้ ศึกษาโครงสร้างของการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ในกลุ่ม โดยใช้ข้อมูลจากการสอบถาม โดยตรง เกี่ยวกับการเลือกหรือ ปฏิเสธในการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกคนใด (ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล.2543 : 150) เทคนิคสังคมมิติ เป็นเทคนิคที่เหมาะสําหรับการนํามาศึกษาโครงสร้างทางสังคมของ ห้อง ที่เป็นเทคนิคง่าย ๆ แต่ได้ข้อมูลที่ซับซ้อนและพลวัติของกลุ่ม เพื่อประโยชน์ในการ จัดกิจกรรม การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่ม (McKeman, 1996) 2. การทําสังคมมิติมีขั้นตอน ดังนี้ 2.1. ขั้นเตรียมการ ครูจะต้องมีการตรวจสอบความพร้อมเรื่องต่อไปนี้คือ (1) นักเรียนในห้องเรียนนั้นตองมีความคุ้นเคยกันอย่างทั่วถึงก่อน (2) ครูต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อนักเรียน (3) กําหนดวัตถุประสงค์ของการทําสังคมมิติ (4) เตรียมแบบสํารวจสังคมมิติซึ่งโดยปกติจะใช้กระดาษที่มีขนาด 3×4 นิ้ว แต่อาจ ปรับปรุงได้ตามความสะดวกหรือความเหมาะสม ในกระดาษนั้นจะมีข้อความที่จะให้ นักเรียนได้เขียนชื่อตนเอง และชื่อของเพื่อนที่เลือก อันดับที่ 1, 2, 3 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 47 จาก 168
2.2. ขั้นดําเนินการสํารวจสังคมมิติในการสํารวจสังคมมิตินั้นครูจะไม่แจ้งให้ทราบล่วง หน้าแต่ละทําการสํารวจในเวลาที่ต้องการเลย ท่าทีครูขณะสํารวจสังคมมิติจะต้องเป็นไป ตามปกติไม่เคร่งเครียดหรือเป็นพิธีรีตอง และครูควรชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการตอบ พร้อมทั้งให้ความมั่นใจคําตอบของเขาจะไม่มีใครได้อ่านนอกจากครูเท่านั้น นอกจากนี้ อาจต้องอํานวยความสะดวกให้นักเรียนได้มีรายชื่อเพื่อนทุกคนในห้อง โดยอาจจะเขียน ไว้บนกระดานดําหรือพิมพ์รายชื่อแจก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลงลืมเพื่อนบางคนไป กา รสํารวจสังคมมิติจะดําเนินการดังนี้ (1) กําหนดสถานการณ์หรือตั้งคําถามเพื่อให้นักเรียนเลือกเพื่อน ตามสถานการณ์ที่ กําหนด เช่น “ถ้าครูจะแบ่งกลุ่มให้ทํางานนักเรียนอยากให้เพื่อนคนไหนมาร่วมกลุ่มบ้าง เรียงลําดับตามความชอบมา 3 คน” เมื่อนักเรียนตอบลงในแบบสํารวจสังคมมิติที่แจกให้ แล้วให้นํามาส่งครู (2) นํากระดาษคําตอบของนักเรียนแต่ละคนไปลงข้อมูลในตารางแสดงผล ดัง ตัวอย่าง ซึ่งสมมุตินักเรียนในห้องทั้งหมด 10 คน 3. วิธีการของสังคมมิติ 3.1 ใช้คําถามหรือประโยคบอกเล่าให้ผู้เรียนได้เลือกเพื่อน ๆ ตามเงื่อนไขที่ครูผู้สอนได้ กําหนดอย่างชัดเจน อาทิ ผู้เรียนต้องการนั่งเรียนกับใครในห้องเรียน หรือ เพื่อนคนใดที่ เรียนเก่ง เป็นต้น 3.2 นําคําตอบที่ได้รับจากผู้เรียนทุกคนมาแจกแจงรายละเอียด เพื่อสะท้อนผลให้เห็น ความสัมพันธ์ของกลุ่มเพื่อนภายในห้องเรียนในลักษณะของการจัดทําแผนผังสังคมมิติที่ มี ความเป็นรูปธรรมในการนํามาพิจารณา เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 48 จาก 168
4. เส้นความสัมพันธ์ เส้นความสัมพันธ์เป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ในแต่ละคู่ของบุคคลในการเขียน แผนผังสังคมมิติให้เกิดความชัดเจนในการพิจารณา มีดังนี้ (McKerman, 1996 : 156) 4.1 คู่ความสัมพันธ์ เป็นเส้นที่แสดงว่าได้เลือกซึ่งกันและกัน 4.2 กลุ่มสัมพันธ์ เป็นเส้นที่แสดงว่าสมาชิกในกลุ่มย่อยได้เลือกกันเอง 4.3 โซ่สัมพันธ์ เป็นเส้นที่แสดงว่าสมาชิกได้เลือกต่อ ๆ กัน 4.4 ปฏิเสธ เป็นเส้นที่แสดงว่าสมาชิกไม่ยอมรับ เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 49 จาก 168
4.5 โดดเดี่ยว เป็นเส้นที่แสดงว่าสมาชิกไม่เลือก (อาจเลือกคนอื่น) แต่ก็ไม่มีใคร ปฏิเสธ 4.6 สะพานเชื่อม เป็นเส้นที่แสดงว่าเป็นสมาชิกที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มย่อย 4.7. แผนผังสังคมมิติ (Sociogram) เป็นแผนผังที่ใช้แจกแจงรายละเอียดความสัมพันธ์ ของผู้เรียนในกลุ่มเพื่อนโดยนํามากําหนดเป็นสัญลักษณ์แทนบุคคลแล้วให้ลากลูกศร เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เรียนตามคําตอบที่ได้รับจากการกําหนดคําถาม ทําให้ เห็นภาพโครงสร้างของสังคมในกลุ่ม การนํามาใช้ประโยชน์ได้อย่างชัดเจนดังแสดงใน ภาพที่ 1 เครื่องมือวัดผล อีบุ้ค หน้า 50 จาก 168
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168