Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore E-Book

E-Book

Published by ชวัลรัตน์, 2022-06-22 15:26:04

Description: E-Book

Search

Read the Text Version

องค์ประกอบที่สำคัญของ \"หลักสูตรแกนกลาง\" การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

จุดมุ่งหมาย 1.มีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยม ที่พึงประสงค์ หรือศาสนาที่ตนนับ ถือยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้อันเป็นสากลและมีความ สามารถในการสื่อสารการคิดการ แก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีและ ทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีมี สุขนิสัย 4. มีความรักชาติมีจิตสำนึกในความ เป็นพลเมืองไทยและพลโลก 5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

เนื้อหาสาระประสบการณ์ กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ \"สาระการเรียนรู้ภาษาไทย\" แบ่งเป็น วรรณคดีไทยและทักษะภาษา \"สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์\" แบ่งเป็น คณิตศาสตร์พื้นฐาน และคณิตศาสตร์เพิ่มเติม \"สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี\" แบ่งเป็น วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์เพิ่มเติมและเทคโนโลยี \"สาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม\" แบ่งเป็น สังคมศึกษา พุทธศาสนา หน้าที่พลเมืองเศรษฐศาสตร์และ ภูมิศาสตร์

เนื้อหาสาระประสบการณ์ กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ \"สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา\" แบ่งเป็น สุขศึกษาและพลศึกษา \"สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ\" แบ่งเป็น การงานอาชีพ \"สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ\" แบ่งเป็น ภาษาอังกฤษพื้นฐาน และภาษาอังกฤษเพิ่มเติม

เนื้อหาสาระประสบการณ์ กำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้ \"สาระการเรียนรู้ศิลปะ\" แบ่งเป็น 1.ทัศนศิลป์ จุดมุ่งหมายมีความรู้ ความเข้าใจในองค์ ประกอบศิลป์ทัศนธาตุ และเสนอผลงานทางทัศน ศิลป์จากจินตนาการรวมทั้งสามารถใช้เทคนิคการ สร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ ทัศนศิลป์ได้อย่างเข้าใจ 2.ดนตรี จุดมุ่งหมาย เข้าใจและแสดงออกทางดนตรี อย่างสร้างสรรค์วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เข้าใจความ สัมพันธ์ระหว่างดนตรีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย 3.นาฏศิลป์ จุดมุ่งหมาย เข้าใจและแสดงออกทาง นาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ คุณค่าด้านนาฏศิลป์ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดอย่าง อิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเข้าใจ ในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเห็นคุณค่าของ นาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้อง ถิ่นและภูมิปัญญาไทยและสากล

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่ บนหลักการพื้นฐาน 2 ประการคือ การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนในการพัฒนา คุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จ นั้นผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมิน ตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายมาตรฐาน การเรียนรู้สะท้อนสมรรถนะสำคัญและ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนซึ่งเป็นเป้า หมายหลัก ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในทุกระดับไม่ว่าจะเป็นระดับชั้นเรียนระดับ สถานศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับ ชาติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระ บวนการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลการ ประเมินเป็นข้อมูลและสารสนเทศที่แสดง พัฒนาการความก้าวหน้าและความสำเร็จทางการ เรียนของผู้เรียนตลอดจนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและเรียน รู้อย่างเต็มตามศักยภาพ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียนในการ พัฒนาคุณภาพการเรียนของผู้เรียนและจะแบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ \"ระดับชั้นเรียน\" เป็นการวัดและประเมินผลที่อยู่ในกระบวนการ จัดการเรียนรู้ครูผู้สอนใช้เทคนิคการประเมิน อย่าง หลากหลาย เช่น การซักถามการสังเกตการ ตรวจการบ้าน เป็นต้น \"ระดับสถานศึกษา\" เป็นการประเมินที่สถานศึกษาดำเนินการ เพื่อ ตัดสินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายปี รายภาค ผลการประเมินการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้ เรียน

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ \"ระดับเขตพื้นที่การศึกษา\" เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับเขต พื้นที่การศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน \"ระดับชาติ\" เป็นการประเมินคุณภาพผู้เรียนในระดับชาติ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน

สมาชิก นางสาวทานตะวัน ช่อฉาย นางสาวศิลารัตน์ ไชยพงษ์ ชั้นปีที่ 2/1 เลขที่ 10 ชั้นปีที่ 2/1 เลขที่ 12 นางสาวกัณทิมา อ่อนชื่น นางสาวชวัลรัตน์ ศรีอินทร์น้อย ชั้นปีที่ 2/1 เลขที่ 19 ชั้นปีที่ 2/1 เลขที่ 28 นายเจษฎา เอื้อสลุง ชั้นปีที่ 2/2 เลขที่ 27


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook