Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 1.(สสว.2) เล่ม KM พ.ร.บ.3ฉบับ

1.(สสว.2) เล่ม KM พ.ร.บ.3ฉบับ

Published by สสว.2 ชลบุรี, 2023-06-18 09:29:21

Description: 1.(สสว.2) เล่ม KM พ.ร.บ.3ฉบับ

Search

Read the Text Version

กระทรวง พม. รู้รอด ปลอดภัย พรบ. ใกล้ตัว เพื่อพัฒนาคน พม. สำ นั ก ง า น ส่ ง เ ส ริม แ ล ะ ส นั บ ส นุ น วิ ช า ก า ร 2 สำ นั ก ง า น ป ลั ด ก ร ะ ท ร ว ง ก า ร พั ฒ น า สั ง ค ม แ ล ะ ค ว า ม มั่ น ค ง ข อ ง ม นุ ษ ย์ เอกสารวิชาการที่ 2/2565

ก คำนำ ด้วยปัจจุบันสถานการณ์ทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) หรือที่เรียกว่า “VUCA World” ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมที่หลากหลายอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เป็นเครื่องมือหน่ึง ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเตรียมพร้อม ในการรบั มือสถานการณท์ ีท่ า้ ทาย สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 จังหวัดชลบุรี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัตงิ านของหน่วยงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนษุ ย์ (พม.) จึงไดด้ ำเนนิ การจัดการความรู้ (Knowledge Management-KM) เร่อื ง “รู้รอด ปลอดภยั พ.ร.บ. ใกล้ตัวเพื่อพัฒนาคน พม.” เพื่อเป็นการรวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติ (พ .ร.บ.) จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 2) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ 3) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงใน ครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยมีเป้าประสงค์เพื่อเป็นการพฒั นาทรพั ยากรบุคคลใหม้ ีสมรรถนะที่เหมาะสมกบั การ ทำงานตามบทบาทภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและเครือข่ายด้านการพัฒนาสังคม สามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ได้อยา่ งถูกตอ้ งและมปี ระสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมายต่อไป สำนักงานสง่ เสริมและสนับสนุนวชิ าการ 2 พฤษภาคม 2565

ข สารบญั หนา้ คำนำ ก สารบัญ ข ส่วนที่ 1 สาระสำคัญของพระราชบญั ญตั ิคุ้มครองเดก็ พ.ศ. 2546 1 o มาตรา 4 นยิ ามศัพท์ 2 o หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก 5 o หมวด 2 การปฏบิ ตั ติ ่อเด็ก 6 o หมวด 3 การสงเคราะห์เดก็ 7 o หมวด 4 การคุมครองสวัสดิภาพเด็ก 9 o หมวด 5 ผูค้ ุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก 12 o หมวด 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ 17 และสถานพฒั นาและฟน้ื ฟู o หมวด 7 การส่งเสรมิ ความประพฤตินกั เรยี นและนักศกึ ษา 18 o หมวด 8 กองทุนค้มุ ครองเดก็ 20 o หมวด 9 บทกำหนดโทษ 21 สว่ นที่ 2 สาระสำคัญของพระราชบญั ญตั คิ ุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรนุ แรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 22 และทีแ่ ก้ไขเพิม่ เตมิ พ.ศ. 2562 o มาตรา 3 นยิ ามศัพท์ 23 o มาตรา 4 ระวางโทษผู้กระทำการอันเป็นความรนุ แรงในครอบครัว 24 o มาตรา 5 ผถู้ ูกกระทำดว้ ยความรนุ แรงในครอบครวั 24 o มาตรา 6 การแจ้งตอ่ พนักงานเจา้ หนา้ ท่ตี ามมาตรา 5 25 o มาตรา 7 ถ้ามิได้มีการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 หรือมิได้มีการร้องทุกข์ 25 ตามมาตรา 6 o มาตรา 8 เมื่อมีการร้องทุกข์ภายในอายุความตามมาตรา 7 แล้ว ให้พนักงานสอบสวน 25 ทำการสอบสวนโดยเรว็

หน้า o มาตรา 9 เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา 5 หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใด 26 ลงพิมพโ์ ฆษณา หรือเผยแพรต่ ่อสาธารณชนดว้ ยวธิ ใี ด ๆ o มาตรา 10 ในการดำเนินการตามมาตรา 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเทียบได้ 26 ไมต่ ำ่ กว่าพนกั งานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชนั้ ผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมาย o มาตรา 11 ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนด 27 มาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ตามมาตรา 10 หรือออกคำสั่งใด ๆ ได้ตามท่ี เห็นสมควร o มาตรา 12 ในกรณที ่ศี าลพพิ ากษาว่า ผู้กระทำความรนุ แรงในครอบครัวมีความผิด 28 o มาตรา 13 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดให้มีระบบงาน 28 เพื่อสนบั สนุนการดำเนินงาน o มาตรา 14 วิธพี จิ ารณา การย่ืน และการรบั ฟงั พยานหลกั ฐาน 29 o มาตรา 15 ไม่ว่าการพิจารณาคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจะได้ดำเนินไปแล้ว 29 เพยี งใด ให้ศาลพยายามเปรยี บเทยี บใหค้ ่คู วามไดย้ อมความกัน o มาตรา 16 ตั้งผู้ประนีประนอมประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็นบิดามารดา 29 ผู้ปกครอง ญาติของคู่ความหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือศาลเห็นสมควรเพื่อให้ คำปรึกษา o มาตรา 17 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำรายงานประจำปี 30 แสดงจำนวนคดีการกระทำความรนุ แรงในครอบครวั o มาตรา 18 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการ 30 ตามพระราชบญั ญัติน้ี ส่วนที่ 3 สาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 31 และทแ่ี กไ้ ขเพิ่มเติม พ.ศ. 2562 o หมวด 1 บททั่วไป 32 o หมวด 2 คณะกรรมการปอ้ งกันและปราบปรามการค้ามนษุ ย์ 33 o หมวด 3 อำนาจหน้าท่ีของพนักงานเจ้าหน้าท่ี 33 o หมวด 4 การช่วยเหลอื และคุม้ ครองสวสั ดภิ าพผเู้ สียหายจากการคา้ มนษุ ย์ 34 o หมวด 5 กองทนุ เพื่อการป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์ 34 o หมวด 6 บทกำหนดโทษ 35 o ความหมายการค้ามนษุ ย์ 35 1. การกระทำ 36 2. วธิ กี าร 37 3. วตั ถปุ ระสงคข์ องการกระทำ 37

หนา้ o รูปแบบการคา้ มนุษยล์ ักษณะการแสวงหาประโยชน์ 38 1. แสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี 38 2. การผลติ หรือเผยแพร่วตั ถหุ รอื สอื่ ลามก 38 3. การแสวงหาประโยชนท์ างเพศในรูปแบบอ่นื 40 4. การเอาคนลงเป็นทาส 40 5. การนำคนมาขอทาน 40 6. การบังคบั ตดั อวยั วะเพอ่ื การคา้ 41 7. การบังคับใช้แรงงานหรือบรกิ าร 42 8. การอืน่ ใดที่คลา้ ยคลงึ กันอันการขูดรดี บุคคล 42 o คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ 44 o บทกำหนดโทษ 46 o การแจง้ เบาะแส 46 o สิง่ ทคี่ วรแจง้ กบั ผ้รู บั แจง้ เหตุ 46 ภาคผนวก o สายดว่ น ก o เอกสารประกอบการบรรยาย (Presentation) เรื่อง “รู้รอด ปลอดภัย พ.ร.บ. ใกล้ตัว ข เพอ่ื พัฒนาคน พม.” (พ.ร.บ. 3 ฉบบั ) o ติดต่อสอบถาม ค o แหล่งอา้ งอิง ง คณะผจู้ ดั ทำ

Page |1

Page |2 พระราชบญั ญตั ิคมุ้ ครองเดก็ พ.ศ. 2546 มาตรา 4 นยิ ามศัพท์ “ เดก็ ” หมายความวา่ บุคคลซึง่ มอี ายุตำ่ กว่าสบิ แปดปบี ริบรู ณ์ แตไ่ ม่รวมถึงผ้ทู บี่ รรลุนิติภาวะดว้ ยการสมรส • “เด็กเร่ร่อน” หมายความว่า เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง หรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถ เลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้อง เร่ร่อนไปในที่ต่างๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิด อนั ตรายต่อสวัสดิภาพของตน • “เด็กกำพร้า” หมายความว่า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ ปรากฏบดิ ามารดาหรอื ไม่สามารถสืบหาบดิ ามารดาได้ • “เด็กที่อยู่ในสภาพยากลําบาก” หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถกู คมุ ขงั หรอื แยกกันอยู่และไดร้ ับความลําบาก หรือเด็กที่ต้องรบั ภาระหน้าท่ีในครอบครัวเกินวัย หรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรอื เด็กทไ่ี ม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ • “เด็กพิการ” หมายความว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไมว่ า่ ความบกพร่องน้ันจะมมี าแตก่ ำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลงั • “เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด” หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพ หร ื อคบหาสมาคมก ั บบ ุ คคลท ี ่ น่ าจะช ั กน ํ าไปในทางกระท ำผ ิ ดกฎหมายหร ื อข ั ดต่ อศ ี ลธรรมอ ั นดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชกั นําไปในทางเสียหาย ทงั้ น้ี ตามทกี่ ำหนดในกฎกระทรวง • “นักเรียน” หมายความว่า เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทง้ั ประเภทสามัญศกึ ษาและอาชีวศกึ ษาหรือเทยี บเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน • “นักศึกษา” หมายความว่า เดก็ ซง่ึ กำลังรบั การศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษา ของรัฐหรอื เอกชน

Page |3 • “บิดามารดา” หมายความว่า บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะ สมรสกันหรือไม่ • “ผู้ปกครอง” หมายความว่า บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับ บุตรบุญธรรม และผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพ นายจ้างตลอดจนบุคคลอื่นซึง่ รับเด็ก ไว้ในความอุปการะเลี้ยงดหู รอื ซงึ่ เด็กอาศัยอยู่ด้วย • “ครอบครัวอุปถัมภ”์ หมายความว่า บุคคลทร่ี บั เดก็ ไว้อุปการะเลีย้ งดูอย่างบุตร • “การเลี้ยงดูโดยมิชอบ” หมายความว่า การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน หรือพัฒนาเด็ก ตามมาตรฐานข้ันต่ำทกี่ ำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกดิ อันตรายแก่รา่ งกายหรือจติ ใจของเดก็ • “ทารุณกรรม” หมายความว่า การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดๆ จนเป็นเหตุให้เด็ก เสื่อมเสียเสรีภาพหรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ การกระทำผิดทางเพศต่อเด็ก การใช้เด็ก ให้กระทำ หรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรมอันดี ท้ังนี้ ไม่วา่ เด็กจะยินยอมหรอื ไมก่ ็ตาม • “สืบเสาะและพินิจ” หมายความว่า การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลและนํามา วิเคราะห์วินิจฉัยตามหลักวิชาการทางสังคมสงเคราะห์ แพทย์ จิตวิทยา กฎหมาย และหลักวิชาการ อนื่ ทเี่ กีย่ วขอ้ งกับ บุคคลและครอบครัวของบุคคลน้ัน

Page |4 • “สถานรับเลี้ยงเด็ก” หมายความว่า สถานที่รับ เลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์ และมจี ำนวนตั้งแต่หกคนข้นึ ไป ซง่ึ เดก็ ไม่เก่ียวข้อง เปน็ ญาติกับเจ้าของหรือผู้ดำเนนิ การสถานรับเล้ียงเด็ก ดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสถานพยาบาลหรือ โรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน • “สถานแรกรับ” หมายความว่า สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็ก และครอบครัว เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพที่เหมาะสมแก่เด็ก แตล่ ะราย • “สถานสงเคราะห์” หมายความว่า สถานท่ีให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการ สงเคราะห์ ซึ่งมจี ำนวนต้ังแตห่ กคนข้ึนไป • “สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ” หมายความว่า สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพ เพื่อแก้ไข ความประพฤติ บําบัด รักษา และฟ้ืนฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็กที่พึงได้รับ การคมุ้ ครองสวัสดภิ าพ •“สถานพัฒนาและฟื้นฟู” หมายความว่า สถานที่ โรงเรียน สถาบัน หรือศูนย์ที่จัดข้ึน เพื่อให้การบําบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ ท้ังทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการศึกษา แนะแนว และการฝึกอบรมอาชีพ แก่เด็กท่ี จำเปน็ ต้องไดร้ ับการสงเคราะห์หรือค้มุ ครองสวสั ดิภาพ เปน็ กรณพี ิเศษ • “สถานพินิจ” หมายความว่า สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สถานพินิจ และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัด และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนของแผนก คดีเยาวชนและ ครอบครัวในศาลจังหวัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชน และครอบครวั และวิธีพจิ ารณาคดี เยาวชนและครอบครัว

Page |5 • “กองทนุ ” หมายความวา่ กองทุนคมุ้ ครองเด็ก • “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ • “พนักงานเจา้ หนา้ ที่” หมายความว่า ผู้ซ่งึ รฐั มนตรีแต่งต้งั ให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบญั ญตั ิน้ี • “ผ้วู า่ ราชการจงหวดั ” หมายความรวมถึงผู้วา่ ราชการกรุงเทพมหานคร และผู้ซง่ึ ไดร้ ับมอบหมายจาก ผู้ว่าราชการจังหวดั • “ปลัดกระทรวง” หมายความว่า ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความม่นั คงของมนุษย์และ หมายความรวมถึงผู้ซึ่งไดร้ ับมอบหมายจาก ปลดั กระทรวง • “รฐั มนตร”ี หมายความว่า รฐั มนตรีผู้รกั ษาการตามพระราชบญั ญัตินี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 แบ่งหมวด ท้ังหมด 9 หมวด • หมวด 1 คณะกรรมการค้มุ ครองเด็ก • หมวด 2 การปฏบิ ัตติ อ่ เด็ก • หมวด 3 การสงเคราะห์เด็ก • หมวด 4 การคุม้ ครองสวสั ดภิ าพเดก็ • หมวด 5 ผูค้ ้มุ ครองสวสั ดิภาพเดก็ • หมวด 6 สถานรับเล้ยี งเดก็ สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคมุ้ ครองสวสั ดภิ าพและสถานพฒั นาและฟน้ื ฟู • หมวด 7 การสง่ เสรมิ ความประพฤตินกั เรียนและนักศึกษา • หมวด 8 กองทุนค้มุ ครองเดก็ • หมวด 9 บทกำหนดโทษ หมวด 1 คณะกรรมการคุม้ ครองเด็ก มาตรา 17 คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด ประกอบด้วย 1. ผวู้ า่ ราชการจงั หวัด ประธานกรรมการ 2. รองผ้วู า่ ราชการจงั หวดั ท่ีได้รบั มอบหมายจากผูว้ า่ ราชการจงั หวัด รองประธาน 3. อัยการจังหวัดคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัด พัฒนาการจังหวัด แรงงานจังหวัด ผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้แทน ศาลเยาวชนและครอบครวั จงั หวัด ผู้อำนวยการสถานพนิ ิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวดั นายก องค์การบริหารสว่ นจงั หวัด กรรมการ 4. ผ้ทู รงคณุ วุฒใิ นวิชาชพี สังคมสงเคราะห์ ครู จติ วทิ ยา กฎหมาย แพทย์ วิชาชีพละสองคน 5. พัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์จังหวดั กรรมการและเลขานุการ

Page |6 หมวด 2 การปฏิบตั ิต่อเดก็ มาตรา 22 การปฏิบัติต่อเด็กไม่ว่ากรณีใด ให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญและไม่ให้มีการเลือก ปฏิบตั โิ ดยไม่เป็นธรรม มาตรา 23 มาตรฐานการเลยี้ งดูของผปู้ กครอง • ผู้ปกครองต้องให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน และพัฒนาเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแลของตน ตามสมควรแก่ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่นแต่ทั้งน้ีต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ขั้นต่ำตามท่ีกำหนดในกฎกระทรวงและต้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กท่ีอยู่ในความปกครองดูแลของตน มิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกดิ อันตรายแกร่ ่างกายหรือจติ ใจ มาตรา 25 ผปู้ กครองต้องไม่กระทำการ ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาล หรือไว้กับบุคคลทีร่ บั จ้างเลี้ยงเดก็ หรือท่ีสาธารณะหรือ สถานทใี่ ดๆ โดยเจตนาทจ่ี ะไม่รบั เดก็ กลับคืน 2. ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใดๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกัน ดแู ลสวัสดภิ าพหรอื ให้การเล้ยี งดูทเี่ หมาะสม 3. จงใจหรือละเลยไม่ใหส้ ่ิงท่จี ำเปน็ แก่การดำรงชวี ิตหรือสขุ ภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกาย หรือจิตใจของเด็ก 4. ปฏิบตั ิตอ่ เด็กในลักษณะที่เปน็ การขัดขวางการเจรญิ เติบโตหรอื พัฒนาการของเด็ก 5. ปฏิบัตติ ่อเดก็ ในลกั ษณะทเ่ี ปน็ การเล้ียงดโู ดยมิชอบ มาตรา 26 คอื หา้ มมใิ หผ้ ู้ใดกระทำการ 1.ทารณุ กรรมตอ่ รา่ งกายหรือจติ ใจของเด็ก 2.ไม่ให้ส่ิงจำเปน็ แก่การดำรงชวี ติ หรอื การรกั ษาพยาบาลแกเ่ ดก็ 3.บังคับ ข่เู ขญ็ ชกั จูง สง่ เสรมิ หรือยนิ ยอมให้เดก็ ประพฤติตนไมส่ มควร 4.โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็ก ให้แก่บคุ คลอ่นื 5.บังคับ ขเู่ ขญ็ ชักจูง สง่ เสรมิ ยนิ ยอม ใหเ้ ดก็ ไปเป็นขอทาน เด็กเรร่ ่อน 6. กระทำการอนั อาจเป็นอันตรายแกร่ า่ งกาย หรอื จติ ใจมีผลกระทบต่อการเจรญิ เตบิ โต 7. แสวงหาประโยชน์ทางการคา้ 8. ใชห้ รือยินยอมให้เด็กเล่นการพนนั ไม่ว่าชนิดใด 9. บงั คับ ขู่เขญ็ ใช้ ชกั จูง ยยุ ง ส่งเสริม หรือยินยอมใหเ้ ด็กแสดงหรือกระทำการอนั มีลักษณะ ลามกอนาจาร 10. จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือใหส้ ุราหรอื บหุ รีแ่ ก่เดก็

Page |7 มาตรา 29 ผู้ใดพบเห็นเด็กตกอยู่ในสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์ หรือคุ้มครองสวัสดิภาพ ตามหมวด 3 และหมวด 4 จะต้องให้การช่วยเหลือ เบื้องต้นและแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือผู้มหี นา้ ที่ค้มุ ครองสวสั ดิภาพเด็กตามมาตรา 24 โดยมิชกั ช้า • แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข ที่รับตัวเด็กไว้รักษาพยาบาล ครู อาจารย์ หรือนายจ้าง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเด็กที่เป็นศิษย์หรอื ลูกจ้าง จะต้องรายงานให้พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 ทราบ โดยมิชักช้า หากเป็นที่ปรากฏชัดหรือน่าสงสยั วา่ เด็กถูกทารุณกรรม หรือเจ็บปว่ ยเนอื่ งจากการเลีย้ งดูโดยมิชอบ • การแจ้งหรือการรายงานตามมาตรานี้ เมื่อได้กระทำโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรอื ทางปกครอง หมวด 3 การสงเคราะหเ์ ดก็ การสงเคราะห์ หมายความว่า การให้ความช่วยเหลือแก่เด็กรวมทั้งครอบครัวซึ่งอยู่ในสภาพที่จำต้อง ได้รับการสงเคราะห์ตามกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอนื่ มาตรา 32 เดก็ ท่ีพงึ ไดร้ บั การสงเคราะห์ ไดแ้ ก่ 1. เดก็ เร่รอ่ น หรือเด็กกำพร้า 2. เด็กที่ถูกทอดทิง้ หรอื พลดั หลง ณ ท่ีใดทหี่ น่ึง 3. เดก็ ทผ่ี ้ปู กครองไมส่ ามารถอปุ การะเลย้ี งดูได้ดว้ ยเหตุใด ๆ 4. เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสม อันอาจส่งผลกระทบต่อ การพัฒนาการ ทางร่างกายหรอื จติ ใจของเดก็ ทีอ่ ยใู่ นความปกครองดูแล 5. เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรมหรือตกอยู่ในภาวะอื่นใด อันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทาง ศีลธรรมหรือเป็นเหตใุ หเ้ กดิ อนั ตรายแกก่ ายหรือจติ ใจ 6. เดก็ พกิ าร 7. เด็กท่ีอยู่ในสภาพยากลำบาก 8. เด็กท่อี ยใู่ นสภาพทจี่ ำต้องได้รบั การสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

Page |8

Page |9 มาตรา 33 แนวทางช่วยเหลือสงเคราะห์เด็ก - ช่วยเหลือครอบครวั ให้สามารถเลย้ี งดูเด็กไดม้ าตรฐานขั้นต่ำ - มอบเด็กให้ผเู้ หมาะสมดูแลชั่วคราวไมเ่ กิน 1 เดอื น - ดำเนนิ การใหเ้ ด็กได้เป็นบตุ รบุญธรรม - ส่งเดก็ เขา้ รับการอุปการะในสถานรับเลยี้ งเดก็ หรือครอบครัวอปุ ถัมภ์ - ส่งเดก็ เข้ารบั การอุปการะในสถานแรกรบั - ส่งเดก็ เขา้ รับการอุปการะในสถานสงเคราะห์ สถานพฒั นาและฟ้ืนฟู - สง่ เด็กเขา้ รับการศึกษากลอ่ มเกลาจิตใจทางศาสนา มาตรา 39 ในกรณีท่ีผู้ปกครองซึ่งได้รับเด็กกลับมาอยู่ในความดูแล มีพฤติการณน่าเชื่อว่าจะให้ การเลี้ยงดู โดยมิชอบแก่เด็กอีก ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีหน้าท่ีคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กตามมาตรา 24 ให้คำแนะนำ แก่ผู้ปกครอง หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามคำแนะนําก็ให้ยื่นคำขอต่อปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เพื่อเรียกผู้ปกครองมาทำทัณฑบน ว่าจะไม่กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการให้การเลี้ยงดูโดยมิชอบแก่เด็กอีกและให้วางประกันไวเป็นจำนวนเงิน ตามสมควร แก่ฐานานุรูป แต่จะเรียกประกันไวได้ไม่เกินระยะเวลาสองปี ถากระทำผิดทัณฑบนให้ริบเงินประกัน เป็นของกองทุน ค้มุ ครองเดก็ ตามมาตรา 69 หมวด 4 การคุ้มครองสวัสดิภาพเดก็ การคุ้มครองสวัสดิภาพหมายความว่าการป้องกันดูแล พัฒนาและฟื้นฟูเด็กและครอบครัวซึ่งอยู่ใน สภาวะที่จะต้องได้รับการคุ้มครองสวสั ดภิ าพเพ่ือ 1. คุ้มครองให้เด็กปลอดภัย 2. คุ้มครองเด็กไม่ให้ตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการกระทำความผดิ หรือไม่สามารถปกครองดูแลให้เด็กพ้น จากความเสีย่ งตอ่ การกระทำความผดิ เพอ่ื ให้เด็กพน้ จากความเส่ียงต่อการกระทำผิด มาตรา 40 เด็กท่ีต้องไดร้ ับการค้มุ ครองสวัสดิภาพ • เดก็ ถูกทารุณกรรม • เด็กเสี่ยงต่อการกระทำความผดิ • เดก็ ทีอ่ ยู่ในสภาพทีจ่ ำต้องได้รบั การคุ้มครองสวัสดิภาพ ตามท่ีกำหนดในกฎกระทรวง ได้แก่ o เดก็ ทต่ี ้องหาวา่ กระทำผิดอายไุ ม่เกนิ 10 ปี o เด็กทถ่ี ูกเลย้ี งดโู ดยมชิ อบ

P a g e | 10 เด็กทีพ่ งึ คมุ้ ครอง 3 ประเภท • คมุ้ ครอง = เด็กทีอ่ ยใู่ นสภาพท่ีจำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดกิ าร (ตามกฎกระทรวง) • เส่ยี ง = เด็กทีเ่ สี่ยงตอ่ การกระทำผิด o ประพฤตไิ มเ่ หมาะสมกับเด็กคบค้ากับบคุ คล \"ชกั นำไปกระทำผดิ \" • ทารุณ = เด็กทถ่ี กู ทารุณกรรม o เสอื่ มเสยี เสรภี าพ o เกดิ อนั ตรายแก่ ร่างกาย และจติ ใจ o การกระทำผดิ ทางเพศ o ให้เดก็ กระทำ และประพฤติน่าจะเป็นอนั ตรายตอ่ ร่างกาย จติ ใจ ขัดตอ่ กฎหมาย/ศีลธรรม ** ท้งั นี้ ไมว่ ่าเด็กจะยนิ ยอมหรือไม่กต็ าม ** ผู้มหี นา้ ทีค่ ุม้ ครองเดก็ 1. ประชาชนทว่ั ไป (มาตรา 22,29) 2. สหวิชาชีพ (มาตรา 29) 3. ผูป้ กครอง (มาตรา 23,25) 4. พนักงานเจ้าหน้าที่สงเคราะห์และคุ้มครองสวสั ดิภาพเด็ก (มาตรา28,30) 5. พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียน นกั ศึกษา (มาตรา65,66,67) 6. โรงเรียนและสถานศึกษา (มาตรา63) 7. ผูม้ หี น้าทีค่ ุม้ ครองสวสั ดภิ าพเด็ก (มาตรา 24,28,30) 8. สถานสงเคราะหค์ ุ้มครองสวัสดิภาพ มาตรา 41,42,44 แนวทางในการคุ้มครองสวัสดิภาพเดก็ • ตรวจค้นและแยกตัวเด็ก สบื เสาะพนิ จิ • ส่งเด็กไปสถานแรกรบั สถานพฒั นาและฟ้ืนฟู • ไมเ่ กิน 7 วนั ขยายได้ 30 วนั • กำหนดวิธีคุม้ ครองสวสั ดิภาพเด็กทเ่ี หมาะสม • ส่งสถานคุ้มครองสวสั ดิภาพเดก็

P a g e | 11 /การสงเคราะห.์ .. - 11 -

P a g e | 12 หมวด 5 ผ้คู ุ้มครองสวสั ดิภาพเด็ก ผมู้ ีหน้าทค่ี มุ้ ครองเดก็ 1. ประชาชนท่ัวไป (มาตรา 22,29) 2. สหวิชาชพี (มาตรา 29) 3. ผ้ปู กครอง (มาตรา 23,25) 4. พนักงานเจ้าหนา้ ที่สงเคราะหแ์ ละคมุ้ ครองสวัสดิภาพเด็ก (มาตรา 28,30) 5. พนักงานเจา้ หนา้ ท่สี ง่ เสรมิ ความประพฤตนิ กั เรียนนักศึกษา (มาตรา 65,66,67) 6. โรงเรียนและสถานศกึ ษา (มาตรา 63) 7. ผูม้ หี นา้ ท่ีคุ้มครองสวสั ดิภาพเดก็ (มาตรา 24,28,30) 8. สถานสงเคราะห์คุม้ ครองสวัสดิภาพ

P a g e | 13 บทบาทหน้าทขี่ องประชาชนท่ัวไป • ต้องปฏบิ ัติต่อเด็กโดยคำนงึ ถงึ ประโยชน์สงู สดุ ของเด็กและไม่เลอื กปฏบิ ัติโดยไม่เป็นธรรม (มาตรา 22) • เม่ือพบเห็นเด็กตกอยูใ่ นสภาพจำต้องได้รับการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพต้องให้การช่วยเหลือ เบอ้ื งตน้ และแจ้งตอ่ เจา้ หนา้ ที่ (มาตรา 29) • ห้ามกระทำผิดต่อเด็กตามมาตรา 26 ไม่ว่า เดก็ จะยนิ ยอมหรือไม่ • ห้ามโฆษณาเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือ สื่อสารสนเทศอื่นซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก หรือผู้ปกครองทำให้เกิดความเสียหายแก่เดก็ (มาตรา 27) บทบาทหนา้ ที่ของสหวิชาชีพ (มาตรา 29) • แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับตัวเด็กไว้ รกั ษาพยาบาล • ครู อาจารย์ หรอื นายจา้ ง ซึง่ มีหนา้ ท่ดี ูแลเดก็ ทเี่ ป็นศิษย์หรอื ลูกจา้ ง • หากพบหรือสงสัยว่าเด็กถูกทารุณกรรมหรือเจ็บปว่ ยเน่ืองจากการเล้ียงดโู ดยมิชอบต้องรายงานโดยไม่ ชกั ช้าตอ่ เจา้ หน้าที่ • แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา ตอ้ งรักษาทางด้านรา่ งกายและจิตใจ และฟน้ื ฟูสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจ แก่เดก็ ท่จี ำตอ้ งสงเคราะหห์ รอื ค้มุ ครองสวสั ดภิ าพ

P a g e | 14 บทบาทหนา้ ท่ขี องผปู้ กครอง (มาตรา 23,25,34) • ผู้ปกครองต้องใหก้ ารอุปการะเลยี้ งดู อบรมสั่งสอนและพฒั นาเดก็ ตามมาตรฐานขนั้ ตำ่ • ผปู้ กครองต้องคุม้ ครองสวัสดภิ าพเด็กทีอ่ ยู่ในความปกครองมิให้ตกอย่ใู นภาวะอันนา่ จะเกิดอนั ตรายแก่ ร่างกายหรอื จิตใจ • ผู้ปกครองต้องไม่ทอดทงิ้ เด็กหรอื ละทิง้ เด็กไว้ ณ สถานทีใ่ ด • ผูป้ กครองตอ้ งไมล่ ะเลยให้สิ่งจำเปน็ แก่การดำรงชีพหรอื สุขภาพเด็ก • ผู้ปกครองตอ้ งไมข่ ดั ขวางการเจริญเตบิ โตหรือพฒั นาการของเดก็ • ผปู้ กครองตอ้ งไม่เลย้ี งดเู ด็กโดยมิชอบ • ผู้ปกครองหรือญาติของเด็กอาจนำเด็กไปขอรับการสงเคราะห์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ ถ้าไม่อาจ อุปการะเลี้ยงดูได้ บทบาทหน้าทข่ี องพนักงานเจ้าหน้าที่สงเคราะห์และค้มุ ครองสวัสดิภาพเดก็ (มาตรา 28,30) 1. พนักงานเจ้าหนา้ ท่ตี อ้ งดำเนนิ การสงเคราะหห์ รอื คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพเด็กในกรณดี งั ต่อไปนี้ o ผู้ปกครองตกอยู่ในสภาพไม่อาจให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอน และพัฒนาเด็กได้ ไม่วา่ ดว้ ยเหตุใด o ผู้ปกครองกระทำการใดอนั น่าจะเกดิ อันตรายต่อสวัสดภิ าพ หรือขัดขวางต่อความเจรญิ เติบโต หรือพัฒนาการของเดก็ o ผ้ปู กครองใหก้ ารเลีย้ งดูโดยมชิ อบ o มีเหตุจำเป็นอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กหรือป้องกัน มใิ หเ้ ดก็ ไดร้ บั อันตรายหรือถูกเลือกปฏบิ ัตโิ ดยมชิ อบ 2. การสงเคราะหห์ รอื คุ้มครองสวสั ดิภาพเด็ก พนักงานเจ้าหนา้ ทีม่ อี ำนาจ ดังนี้ o เข้าไปในเคหสถานที่ใดๆ ยานพาหนะใดๆ ระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเพ่อื ตรวจค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการทารุณกรรมเด็ก มีการกักขังหรือเลี้ยงดูโดยมิชอบ (หลงั พระอาทติ ย์ตกเม่ือมีเหตุผลพิเศษ) o ซักถามเด็กหรืออาจนำตัวเด็กไปยังที่ทำการของพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับ เด็กและครอบครวั ได้ ไม่เกิน 12 ช่วั โมง แล้วตอ้ งสง่ มอบตวั เดก็ ให้ผู้ปกครอง o มีหนังสือเรียกผู้ปกครอง นายจ้าง ผู้ครอบครองดูแลสถานที่ที่เด็กอาศัย หรือศึกษา หรือ บุคคลอ่ืน มาให้ข้อเท็จจริงเก่ียวกบั เด็ก o เข้าไปในสถานที่อยู่อาศัย สถานที่ประกอบการ สถานศึกษา หรือ สถานที่ที่เด็กเกี่ยวข้องด้วย ระหว่างเวลาพระอาทิตยข์ ้นึ ถึงพระอาทติ ย์ตก เพื่อสอบถามรวบรวมข้อมูลหลักฐานเกีย่ วกบั เด็ก o มอบตวั เดก็ ใหแ้ กผ่ ปู้ กครองพรอ้ มแนะนำตักเตือนผูป้ กครอง o ทำรายงานเก่ียวกับตัวเด็ก และดำเนินการสงเคราะห์หรอื คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพ

P a g e | 15 พนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี (ผมู้ หี น้าทค่ี ุม้ ครองสวัสดิภาพ) พบเหน็ เดก็ ที่พงึ ไดร้ ับการสงเคราะห์ พิจารณา ดังน้ี • ให้การช่วยเหลือ / สงเคราะห์ • มอบเดก็ ให้อยูใ่ นความอปุ การะของบุคคลที่เหมาะสม (แตไ่ มเ่ กนิ 1 เดอื น) • ดำเนินการเพ่อื ให้เดก็ ไดเ้ ป็นบตุ รบญุ ธรรมของบุคคลอน่ื • สง่ เด็กเขา้ รับการอุปการะ o ครอบครัวอปุ ถัมภ์ o สถานรับเล้ียงเดก็ o สถานแรกรบั o สถานสงเคราะห์ • ส่งเด็กเขา้ ศกึ ษาตอ่ / ฝกึ อาชีพ / บำบัดฟนื้ ฟู

P a g e | 16 บทบาทหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าทสี่ ่งเสริมความประพฤติ (มาตรา 65,66,67) • ถ้านกั เรียนนักศกึ ษาฝา่ ฝืนระเบยี บของโรงเรยี นหรอื สถานศึกษา พนักงานเจา้ หน้าท่ีมีอำนาจ ดังนี้ o มอบตัวนกั เรยี น นักศึกษาใหผ้ บู้ ริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาไปเพื่ออบรมส่ังสอนและลงโทษ o สอบถามครู อาจารย์ หวั หนา้ สถานศกึ ษาเก่ียวกบั ตวั นักเรยี น นักศกึ ษา o เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะดูแลไม่ให้นักเรียนนักศึกษาฝ่าฝืน ระเบียบแนะนำผู้ปกครองเรอื่ งอบรมส่งั สอน o สอดส่องดูแลและรายงานความประพฤติของบุคคลหรือแหล่งที่ชักจูงนักเรียน นักศึกษา ใหป้ ระพฤตไิ ปในทางมิชอบ o ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ พนักงานเจ้าหน้าที่อ่ืน เพ่อื ส่งเสริมความประพฤตินกั เรียน นกั ศกึ ษา o เข้าไปในเคหสถาน สถานที่หรือยานพาหนะใดๆ ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เพ่อื ตรวจสอบการฝา่ ฝืนกฎหมายหรือระเบยี บของโรงเรยี น สถานศึกษาได้ บทบาทหน้าท่ขี องโรงเรยี นและสถานศึกษา (มาตรา 63,64) • ต้องจัดให้มีระบบงานและกิจกรรมแนะแนวให้คำปรึกษาและฝึกอบรมแก่ นักเรียน นักศึกษาและ ผ้ปู กครอง • เพอ่ื สง่ เสรมิ ให้นกั เรียน นักศกึ ษา o มีความประพฤติทเ่ี หมาะสม o มคี วามรับผดิ ชอบต่อสังคม o มีความปลอดภัย • วางระเบยี บให้นักเรียน นักศึกษาปฏิบตั ติ ามกฎกระทรวง บทบาทหนา้ ที่ของผ้มู หี น้าทคี่ ุ้มครองสวสั ดภิ าพเด็ก (มาตรา24) ผ้มู ีหนา้ ท่ีค้มุ ครองสวสั ดภิ าพเด็ก ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ผู้ว่าราชการจังหวัด , ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (นายก อบจ.,อบต., เทศบาล.ฯ) บทบาทหน้าท่ี 1. มหี นา้ ทค่ี มุ้ ครองสวัสดภิ าพเดก็ ทีอ่ ยใู่ นเขตพน้ื ทร่ี บั ผิดชอบ 2. ดูแลและตรวจสอบสถานรับเล้ยี งเด็ก,สถานแรกรับ,สถานสงเคราะห์,สถานคุ้มครองสวสั ดิภาพ สถานพัฒนา และฟ้ืนฟสู ถานพินจิ ท่ีอย่ใู นเขตอำนาจ 3. รายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการคุ้มครองเดก็ ฯ 4. มอี ำนาจหนา้ ท่ีเชน่ เดียวกบั พนกั งานเจ้าหนา้ ท่ี

P a g e | 17 หมวด 6 สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานแรกรับ สถานสงเคราะห์ สถานคุ้มครองสวัสดิภาพและสถานพัฒนา และฟ้นื ฟู สถานรบั เล้ยี งเด็ก • อายุ = ไม่เกนิ 6 ปบี ริบรู ณ์ • จำนวน = ต้ังแต่ 6 คนขน้ึ ไป สถานแรกรบั • รบั เด็กอปุ การะ (ช่วั คราว) o เพือ่ สบื เสาะและพนิ จิ เดก็ และครอบครวั o เพื่อกำหนดแนวทางในการสงเคราะห์คมุ้ ครองสวัสดภิ าพท่ีเหมาะสมแกเ่ ด็กแตล่ ะราย สถานสงเคราะห์ • สถานที่ = อปุ การะ + พัฒนาเดก็ o ทีจ่ ำเป็นต้องไดร้ ับการสงเคราะห์ สถานคมุ้ ครองสวสั ดภิ าพ สถานทใ่ี ห้ • การศกึ ษา เพอ่ื แก้ไขความพฤติ บำบดั รักษา ฟนื้ ฟู ด้านรา่ งกาย+จติ ใจ • อบรม แกเ่ ด็กท่พี ึงได้รบั การคุ้มครองสวสั ดิภาพ • ฝึกอาชพี สถานพฒั นาและฟื้นฟู สถานท่ใี ห้ เพื่อบำบัด ฟื้นฟู ด้านร่างกาย+จิตใจ ตลอดจน การศึกษา • การศึกษา แนะแนว ฝกึ อาชพี แก่เดก็ ที่จำเป็นต้องได้รับการสงเคราะห์ • อบรม หรือคุ้มครองสวสั ดิภาพกรณีพิเศษ • ฝึกอาชีพ

P a g e | 18 หมวด 7 การส่งเสรมิ ความประพฤตนิ กั เรยี นและนกั ศกึ ษา มาตรา 63 โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดให้มี ระบบงานและกิจกรรมในการแนะแนวให้คำปรึกษาและ ฝึกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริม ความประพฤติที่เหมาะสมความรับผิดชอบต่อสังคม และ ความปลอดภัยแก่นักเรียนและนักศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วธิ ีการและเงื่อนไขทีก่ ำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 64 นักเรียนและนักศึกษาต้องแต่งกายตาม ระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและต้องประพฤติตนตาม ระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาและตามที่กำหนด ในกฎกระทรวง มาตรา 65 นักเรียนหรือนักศึกษาผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด และมีอำนาจนำตัวไปมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ของนักเรียนหรือนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถามและอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ เมื่อได้อบรมสั่งสอนหรือลงโทษนักเรียน หรือนักศึกษาแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาแจ้งให้ผู้ปกครองว่ากล่าว ตักเตือนหรือสั่งสอนเด็กอีกชั้นหนึ่งการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้กระท ำเท่าที่สมควรเพื่อการอบรม ส่งั สอนตามระเบียบทรี่ ฐั มนตรีกำหนด มาตรา 66 พนักงานเจ้าหนา้ ทตี่ ามหมวดน้ีมอี ำนาจดำเนนิ การเพ่ือสง่ เสริมความประพฤตินักเรียนและ นักศกึ ษา ดงั ตอ่ ไปนี้ (1) สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษานิสัยและ สติปญั ญาของนกั เรียนหรือนกั ศึกษาท่ฝี ่าฝืน มาตรา 64 (2) เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา ที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัวนักเรียนหรือ นักศกึ ษา เพ่ือวา่ กลา่ วอบรมสัง่ สอนต่อไป (3) ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอน นกั เรียนหรอื นกั ศกึ ษา

P a g e | 19 (4) เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือน หรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิใหน้ ักเรียนหรือนกั ศึกษา ฝ่าฝนื มาตรา 64 อีก (5) สอดส่องดูแลรวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหรือแหล่งที่ชักจูง นักเรียนหรอื นักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ (6) ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น เพ่ือดำเนินการใหเ้ ป็นไปตามหมวดน้ี มาตรา 67 ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝนื กฎหมายหรอื ระเบียบเกีย่ วกับความประพฤติของ นักเรียนหรือนักศึกษา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน สถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ ในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการเพื่อทำการตรวจสอบการฝ่าฝืน ดังกล่าวได้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวก่อนและให้บุคคล ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรี กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

P a g e | 20 หมวด 8 กองทุนคุม้ ครองเด็ก กองทุนคุ้มครองเด็ก เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 เพื่อเป็นทุน ใช้จ่ายในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพและส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและครอบครัว อปุ ถัมภข์ องเด็ก วัตถุประสงค์ในการใช้จ่ายเงินกองทนุ • เพ่อื เป็นทุนใชจ้ ่ายในการสงเคราะห์ คมุ้ ครองสวสั ดภิ าพ และส่งเสริมความประพฤติ รวมท้ังครอบครัว และครอบครวั อุปถมั ภ์ของเดก็ การบรหิ ารกองทุนคุ้มครองเดก็ แหล่งทม่ี าของกองทนุ o รฐั บาลจดั สรรงบประมาณทนุ ประเดิม o รฐั บาลจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี o ผ้บู รจิ าค o ดอกผลกองทุน o เงนิ ทีก่ องทุนได้รับตามกฎหมายค้มุ ครองเด็กแหง่ ชาติ o บรหิ ารโดยคณะกรรมการบริหารกองทุน o ควบคุมโดยคณะกรรมการติดตาม o ประเมินผล และคณะกรรมการ o เงนิ อดุ หนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ

P a g e | 21 หมวด 9 บทกำหนดโทษ บทกำหนดโทษทางอาญา มาตรา 80 ผู้ใดขัดขวางไม่ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ปฏบิ ัตติ ามมาตรา 30 (1) หรือ (5) หรอื ไม่ยอมสง่ เอกสาร หรือส่งเอกสารโดยรู้อยู่ว่าเป็นเอกสารเท็จแก่พนักงาน เจ้าหนา้ ที่เม่อื ถูกเรียกใหส้ ่งตามมาตรา 30 (4) ตอ้ งระวาง โทษจำคกุ ไม่เกนิ หนึง่ เดือน หรอื ปรบั ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ ถ้อยคำโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 30 (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับ ให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จส้ิน การดำเนินคดอี าญาตอ่ บคุ คลน้นั ให้เป็นอันระงบั ไป มาตรา 50 ห้ามมิให้ผู้ปกครองสวัสดิภาพหรือผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เปิดเผยชื่อตัว ชื่อสกุลภาพ หรือข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับตัวเด็ก ผู้ปกครองในลักษณะที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรอื สทิ ธปิ ระโยชน์อยา่ งใดอยา่ งหนึ่งของเดก็ หรือผู้ปกครอง บทบัญญตั ใิ นวรรคหนึ่งใหใ้ ช้บังคับแกพ่ นกั งานเจ้าหนา้ ท่ีนกั สงั คมสงเคราะห์ นกั จิตวทิ ยาและผู้มีหน้าท่ี คุ้มครองสวัสดภิ าพเด็กตามมาตรา 24 ซงึ่ ได้ล่วงรูข้ ้อมลู ดงั กลา่ วเนอ่ื งในการปฏิบัตหิ น้าที่ของตนด้วยโดยอนโุ ลม ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศ ประเภทใดซึ่งข้อมูลที่เปิดเผย โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหน่ึงหรือวรรคสอง มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 50 หรือ ตอ้ งระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรอื ทัง้ จำทั้งปรบั

P a g e | 22

P a g e | 23 พระราชบัญญัติคมุ้ ครองผถู้ ูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั พ.ศ. 2550 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2562 เจตนารมณ์ประการท่ี 1 • เพอ่ื ป้องกนั และแก้ไขปญั หาการใชค้ วามรนุ แรงในครอบครัว เจตนารมณ์ประการที่ 2 • เพือ่ ปกปอ้ งคุ้มครองผถู้ กู กระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั เจตนารมณป์ ระการที่ 3 • เพ่ือรักษาความสมั พนั ธใ์ นครอบครัว มาตรา 3 • “ความรุนแรงในครอบครัว” หมายความว่า การกระทำใด ๆ โดยมุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพ หรือกระทำโดยเจตนาในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพของบุคคลในครอบครัว หรือบังคับหรือใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมให้บุคคล ในครอบครวั ต้องกระทำการ ไม่กระทำการ หรอื ยอมรบั การกระทำอย่างหน่ึงอย่างใดโดยมิชอบ แต่ไม่ รวมถึงการกระทำโดยประมาท • “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยา โดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพา อาศยั และอยู่ในครวั เรอื นเดียวกัน • “ศาล” หมายความว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและ ครอบครวั และวิธพี ิจารณาคดเี ยาวชนและครอบครวั • “เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์” หมายความว่า ค่าทดแทนความเสียหายเบื้องต้นสำหรับเงิน หรือทรัพย์สินใด ๆ ที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวสูญเสียไป โดยผลของการกระทำด้วย ความรุนแรงในครอบครัว และให้หมายความรวมถงึ รายไดท้ ส่ี ูญเสยี ไป คา่ ใช้จา่ ยในการรักษาพยาบาล ค่าใช้จา่ ยในการหาที่อยู่ใหม่ และคา่ ใช้จา่ ยอนื่ ท่จี ำเป็น • “นักจติ วทิ ยา” หมายความวา่ นกั จิตวิทยาตามประมวลกฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความอาญา • “นกั สังคมสงเคราะห์” หมายความวา่ นกั สังคมสงเคราะห์ตามประมวลกฎหมายวธิ ีพจิ ารณาความอาญา

P a g e | 24 • “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแตง่ ตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญตั ินี้และให้ หมายความรวมถงึ พนักงานฝ่ายปกครองหรอื ตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา • “พนักงานสอบสวน” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี ให้เป็น พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในท้องที่ใดไม่มีพนักงานเจ้าหน้าท่ี ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี ให้พนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เปน็ พนกั งานสอบสวนตามพระราชบญั ญตั ิน้ี • “รฐั มนตร”ี หมายความวา่ รฐั มนตรผี ูร้ ักษาการตามพระราชบัญญัตนิ ี้ มาตรา 4 ผู้ใดกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรง ในครอบครัว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ให้ความผิด ตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมาย อื่น หากการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ด้วย ให้ความผิดดังกลา่ วเปน็ ความผดิ อันยอมความได้ มาตรา 5 ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ที่พบเห็นหรือทราบการกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัว มีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้การแจ้งต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้กระทำโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองและไม่ต้ องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง

P a g e | 25 มาตรา 6 การแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 อาจกระทำโดยวาจา เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ วิธีการ ทางอเิ ลก็ ทรอนิกส์ หรอื วธิ ีการอ่นื ใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พบเห็นการกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือได้รับแจ้งตาม มาตรา 5 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปใน เคหสถานหรือสถานที่ที่เกิดเหตุเพื่อสอบถามผู้กระทำ ความรุนแรงในครอบครัว ผ้ถู กู กระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่อยู่ในสถานที่นั้นเกี่ยวกับ การกระทำท่ีได้รบั แจ้ง รวมท้ังใหม้ อี ำนาจจดั ให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั เข้ารับการตรวจรักษา จากแพทย์และขอรับคำปรึกษาแนะนำจากจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ ในกรณีท่ี ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั ประสงค์จะดำเนินคดี ให้จัดให้ผู้นน้ั ร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา แต่ถ้าผู้นั้นไม่อยู่ในวิสัยหรือมีโอกาสที่จะร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นผูร้ ้องทุกข์แทนได้ หลกั เกณฑแ์ ละวธิ ีการดำเนินการตามวรรคสอง ให้เปน็ ไปตามระเบยี บที่รฐั มนตรปี ระกาศกำหนด มาตรา 7 ถ้ามิได้มีการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 หรือมิได้มีการร้องทุกข์ ตามมาตรา 6 ภายใน สามเดือนนบั แต่ผ้ถู ูกกระทำดว้ ยความรนุ แรงในครอบครวั อยู่ในวสิ ยั และมีโอกาสทจี่ ะแจง้ หรือร้องทกุ ข์ได้ ให้ถือ ว่าคดเี ป็นอันขาดอายุความ แตไ่ มต่ ัดสิทธิผูถ้ ูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครวั หรือผู้มสี ่วนได้เสียจะร้องขอ คุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครวั มาตรา 8 เมื่อมีการร้องทุกข์ภายในอายุความตามมาตรา 7 แล้ว ให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยเร็ว และส่งตัวผู้กระทำความรนุ แรงในครอบครัว สำนวนการสอบสวนพร้อมทั้งความเหน็ ไปยังพนักงานอัยการเพอื่ ฟ้องคดีต่อศาลภายในส่ีสบิ แปดชัว่ โมงนับแต่ได้ตัวผู้กระทำความรนุ แรงในครอบครวั แตห่ ากมีเหตุจำเป็นทำให้ ไม่อาจยื่นฟ้องได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกลา่ ว ให้ขอผัดฟ้องต่อศาลได้คราวละไม่เกินหกวัน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ เกินสามคราวโดยใหน้ ำกฎหมายวา่ ดว้ ยการจดั ตั้งศาลแขวงและวธิ ีพจิ ารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับ โดยอนโุ ลม

P a g e | 26 ในกรณีที่การกระทำความผิดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดตามกฎหมาย อื่น ให้ดำเนินคดีความผิดตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง ต่อศาล รวมไปกับความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น เว้นแต่ความผิดตาม กฎหมายอื่นนั้นมีอัตราโทษสูงกว่าให้ดำเนินคดีต่อศาล ที่มีอำนาจพิจารณาความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น โดยให้ นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับ โดยอนุโลม ในการสอบปากคำผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอร่วมอยู่ด้วย ในขณะสอบปากคำเพื่อให้คำปรึกษา ในกรณจี ำเปน็ เรง่ ด่วน ซ่งึ มเี หตุอันควรไมอ่ าจรอจติ แพทย์ นักจิตวทิ ยา นักสังคมสงเคราะห์ หรอื บคุ คล ทผ่ี ูถ้ ูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวร้องขอ ใหพ้ นกั งานสอบสวนทำการสอบปากคำไปกอ่ นโดยไม่ต้องมี บคุ คลดงั กล่าวร่วมอย่ดู ว้ ย แตต่ อ้ งบนั ทกึ เหตทุ ่ไี มอ่ าจรอบคุ คลดังกล่าวไวใ้ นสำนวนการสอบสวน หลกั เกณฑแ์ ละวิธีการดำเนนิ การของพนักงานสอบสวน ให้เปน็ ไปตามระเบียบท่รี ฐั มนตรี ประกาศกำหนด มาตรา 9 เมื่อมีการแจ้งตามมาตรา 5 หรือมีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 แล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดลงพิมพ์โฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีใด ๆ ซึ่งภาพ เรื่องราว หรือข้อมูลใด ๆ อันน่าจะทำให้เกิดความเสียหาย แกผ่ ูก้ ระทำความรุนแรงในครอบครวั หรอื ผถู้ ูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวในคดีตามพระราชบญั ญัตนิ ี้ ผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรอื ทั้งจำทง้ั ปรับ มาตรา 10 ในการดำเนินการตามมาตรา 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีฐานะเทียบได้ไม่ต่ำกว่าพนักงานฝ่าย ปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน ครอบครัวเป็นการชั่วคราว ไม่ว่าจะมีคำร้องขอจากบุคคลดังกล่าวหรือไม่ โดยให้มีอำนาจออกคำสั่งใด ๆ ได้ เท่าที่จำเป็นและสมควร ซึ่งรวมถึงการให้ผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ การให้ผ้กู ระทำความรุนแรงในครอบครัวชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบ้ืองต้นตามสมควรแกฐ่ านะ การออก คำสั่งห้ามผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวเข้าไปในที่พำนักของครอบครัวหรือเข้าใกล้ตัวบุคคลใดใน ครอบครัว ตลอดจนการกำหนดวิธกี ารดูแลบุตร

P a g e | 27 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง หรอื หลายอยา่ งตามวรรคหนง่ึ แล้ว ใหเ้ สนอมาตรการหรอื วธิ ีการเพื่อบรรเทาทกุ ข์ต่อศาลภายในสีส่ ิบแปดช่ัวโมง นับแต่วันออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ หากศาลเห็นชอบกับคำสั่งกำหนดมาตรการ หรือวิธกี ารเพื่อบรรเทาทกุ ข์ดงั กล่าว ให้คำสงั่ กำหนดมาตรการหรอื วธิ กี ารเพ่อื บรรเทาทุกขม์ ผี ลต่อไป ในกรณีที่ศาลไม่เห็นชอบด้วยกับคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือมีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ให้ศาลทำการไต่สวนและมีคำสั่งโดยพลัน หากข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์เพียงพอแก่การวินิจฉัยออกคำสั่ง ศาลอาจแก้ไขเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง หรือเพิกถอนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์หรือออกคำสั่งใด ๆ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไข เพมิ่ เตมิ กไ็ ด้ ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลตามมาตรานี้ สามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่ง เปน็ หนังสอื ขอให้ศาลทบทวนคำสง่ั ได้ภายในสามสิบวนั นับแตท่ ราบคำส่ัง ใหค้ ำพพิ ากษาหรือคำส่ังของศาลเป็น ท่ีสดุ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามเดือน หรือปรบั ไม่เกนิ สามพันบาท หรือทง้ั จำทง้ั ปรบั มาตรา 11 ในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ให้ศาลมีอำนาจออกคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ เพื่อบรรเทาทุกข์ตามมาตรา 10 หรือออกคำสั่งใด ๆ ได้ตามทเ่ี หน็ สมควร ในกรณที เ่ี หตุการณ์หรอื พฤติการณ์เก่ียวกับผู้กระทำ ความรุนแรงในครอบครัว หรือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ในครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง หรอื เพกิ ถอนคำส่งั กำหนดมาตรการหรือวิธีการ เพื่อบรรเทาทุกข์ หรือคำสั่งใด ๆ รวมทั้งกำหนดเงื่อนไข เพ่ิมเติมก็ได้ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรอื ท้งั จำท้ังปรบั

P a g e | 28 มาตรา 12 ในกรณีที่ศาลพิพากษาว่า ผู้กระทำ ความรนุ แรงในครอบครัวมคี วามผิดตามมาตรา 4 ศ า ล ม ี อ ำ น า จ ก ำ ห น ด ใ ห ้ ใ ช ้ ว ิ ธ ี ก า ร ฟ ื ้ น ฟู บำบัดรักษา คุมความประพฤติผู้กระทำความผิด ให้ผู้กระทำความผิดชดใช้เงินช่วยเหลือบรรเทา ทุกข์ ทำงานบริการสาธารณะ ละเว้นการกระทำ อันเป็นเหตุให้เกิดการใช้ความรุนแรงใน ครอบครัว หรือทำทัณฑ์บนไว้ ตามวิธีการและ ระยะเวลาที่ศาลกำหนดแทนการลงโทษผู้กระทำ ความผิดก็ได้ ในกรณีทม่ี ีการยอมความ การถอนคำรอ้ งทกุ ข์ หรือการถอนฟอ้ งในความผดิ ตามมาตรา 4 ให้พนักงาน สอบสวนหรือศาล แล้วแต่กรณีจัดให้มีการทำบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นก่อนการยอมความการถอนคำร้องทุกข์ หรือการถอนฟ้องนั้น และกำหนดให้นำวิธีการตามวรรคหนึ่งเป็นเงื่อนไขในการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลง ดังกล่าวโดยอนุโลม โดยอาจรับฟังความคิดเห็นของผู้เสียหายหรือบุคคลในครอบครัวประกอบด้วยก็ได้ หากได้ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงและเงื่อนไขดังกล่าวครบถ้วนแล้วจึงให้มีการยอมความ การถอนคำร้องทุกข์ หรอื การถอนฟ้องในความผิดตามมาตรา 4 ได้ หากผตู้ ้องหาหรอื จำเลยฝ่าฝนื หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว ใหพ้ นกั งานสอบสวนหรอื ศาลมอี ำนาจยกคดีข้นึ ดำเนินการต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีผู้พิพากษา ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางประกาศกำหนดในราชกิจจานเุ บกษา หรือรัฐมนตรีประกาศกำหนด แล้วแต่กรณี มาตรา 13 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดให้มีระบบงานเพอื่ สนบั สนนุ การดำเนินงาน และการบงั คับให้เป็นไปตามมาตรา 10 มาตรา 11 และมาตรา 12 โดยกำหนดในกฎกระทรวง

P a g e | 29 มาตรา 14 วิธีพิจารณา การยื่น และการรับฟังพยานหลักฐาน หากพระราชบัญญัตินี้มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวมาใช้ บังคบั โดยอนุโลม มาตรา 15 ไม่ว่าการพิจารณาคดีการกระทำความรนุ แรงในครอบครวั จะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลพยายาม เปรียบเทียบให้คู่ความได้ยอมความกัน โดยมุ่งถึงความสงบสุขและการอยู่ร่วมกันในครอบครัวเป็นสำคัญ ทั้งน้ี ใหค้ ำนงึ ถึงหลกั การดังตอ่ ไปน้ี ประกอบดว้ ย 1. การคุ้มครองสิทธิของผถู้ กู กระทำดว้ ยความรุนแรงในครอบครวั 2. การสงวนและคุ้มครองสถานภาพของการสมรสในฐานะที่เป็นศูนย์รวมของชายและหญิงที่สมัครใจ เข้ามาอยกู่ นิ ฉันสามภี ริยา หากไมอ่ าจรกั ษาสถานภาพของการสมรสได้ กใ็ หก้ ารหย่าเป็นไปด้วยความ เป็นธรรมและเสยี หายน้อยทีส่ ุด โดยคำนงึ ถงึ สวสั ดิภาพและอนาคตของบุตรเป็นสำคัญ 3. การคุม้ ครองและช่วยเหลือครอบครัว โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ในขณะท่ีครอบครวั นั้นต้องรับผดิ ชอบในการ ดแู ลใหก้ ารศกึ ษาแกส่ มาชิกทเี่ ปน็ ผเู้ ยาว์ 4. มาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือสามีภริยาและบุคคลในครอบครัวให้ปรองดองกันและปรับปรุ ง ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งกนั เองและกับบตุ ร มาตรา 16 เพื่อประโยชน์ในการยอมความในคดีการกระทำความรุนแรงในครอบครัวพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาล แล้วแต่กรณี อาจตั้งผู้ประนีประนอมประกอบด้วยบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งเป็นบิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติ ของคู่ความหรือบุคคลที่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือศาลเห็นสมควรเพื่อให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือในการ ไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ยอมความกัน หรืออาจมอบหมายให้นักสังคมสงเคราะห์ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลใดชว่ ยเหลอื ไกลเ่ กล่ียใหค้ ู่ความไดย้ อมความกันกไ็ ด้ เมื่อผู้ประนีประนอมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามวรรคหนึ่งได้ดำเนินการไกล่เกล่ียตามคำสั่งพนัก งาน เจ้าหน้าที่หรือศาลแล้ว ให้รายงานผลการไกล่เกลี่ยต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลแล้วแต่กรณีด้วย ในกรณีท่ี การไกล่เกลี่ยเป็นผลสำเร็จ บุคคลดังกล่าวจะจัดให้มีการทำสัญญายอมความขึ้น หรือจะขอให้เรียกคู่ความมา ทำสญั ญายอมความกนั ต่อหนา้ พนกั งานเจ้าหน้าที่ หรือศาลก็ได้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลเห็นว่าสัญญายอมความไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย หรอื ศลี ธรรมอนั ดีของประชาชน ใหพ้ นกั งานเจ้าหนา้ ที่หรอื ศาลดำเนนิ การให้เปน็ ไปตามสัญญายอมความน้ัน

P a g e | 30 มาตรา 17 ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จัดทำรายงานประจำปีแสดง จำนวนคดี การกระทำความรุนแรงในครอบครัว จำนวนคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ และจำนวน การละเมิดคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และศาล และจำนวน การยอมความ และรายงานตอ่ คณะรัฐมนตรแี ละรัฐสภาเพ่ือทราบปลี ะคร้ัง มาตรา 18 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งต้ังพนักงานเจ้าหน้าท่ีกับออกกฎกระทรวงและระเบยี บเพื่อปฏบิ ัติการตามพระราชบญั ญัตินี้

P a g e | 31

P a g e | 32 พระราชบญั ญัติป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์ พ.ศ. 2551 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาพระราชบัญญตั ิป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์ พ.ศ. 2551 ซึง่ มีบทบญั ญตั ิบางประการ ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในปัจจุบันที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และ เป็น อาชญากรรมขา้ มชาติ จึงมีการปรบั ปรุงกฎหมายเปน็ - พระราชบญั ญตั ิป้องกนั และปราบปรามการค้ามนษุ ย์ พ.ศ. 2551 - พระราชบัญญตั ปิ อ้ งกนั และปราบปรามการค้ามนษุ ย์ พ.ศ. 2558 (ฉบับท่ี 2) - พระราชบญั ญัติปอ้ งกนั และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2560 (ฉบบั ที่ 3) - พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเตมิ พระราชบัญญตั ิป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2562 - พระราชบญั ญัตปิ อ้ งกนั และปราบปรามการคา้ มนษุ ย์ พ.ศ. 2551 และทแ่ี ก้ไขเพ่ิมเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยกำหนดให้มีมาตรการสร้าง แรงจูงใจให้ผู้พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์แจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกำหนดมาตรการเพิ่มอำนาจ ทางปกครองให้แก่เจ้าหนา้ ที่ รวมทัง้ ปรับปรุงบทกำหนดโทษที่เก่ยี วข้องใหเ้ หมาะสมยงิ่ ขึน้ พระราชบัญญตั ิป้องกันและปราบปรามการค้ามนษุ ย์ พ.ศ. 2551 และท่ีแกไ้ ขเพ่ิมเตมิ ไดแ้ บง่ ออกเป็น 6 หมวด 57 มาตรา ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป ได้กำหนดลักษณะความผิดฐานค้ามนุษย์ของบุคคล (ผู้ใหญ่ และเด็ก) โดยมีการตีความเกี่ยวพันกับบทนิยามศัพท์ \"การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ\" และมีบทลงโทษผู้ร่วมกระทำ ความผิดคดีค้ามนุษย์ ได้แก่ ความผิดฐานสนับสนุน ตระเตรียมการ และสมคบกันเป็นองค์กรอาชญากรรม และยังมีเขตอำนาจศาลดำเนินคดีผู้กระทำผิดคดีค้ามนุษย์นอกราชอาญาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร และไดเ้ พิม่ โทษเป็นสองถงึ สามเทา่ ของโทษที่กำหนดไวใ้ นพระราชบญั ญัตนิ ้ี

P a g e | 33 หมวด 2 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ คณะคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในการกำหนด นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์นำไปปฏิบัติ การปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือโครงสร้างราชการที่เกี่ยวข้องรวมถึงมีอำนาจในการกำหนดแนวทางและกำกับดูแล การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ตลอดจนการให้ความร่วมมือและประสานงานกับต่างประเทศ สว่ นคณะกรรมการประสานและกำกบั การดำเนินงานป้องกนั และปราบปรามการค้ามนษุ ย์ หรอื คณะกรรมการ ปกค. ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยคณะกรรมการประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยงานภาครัฐ หลายหน่วยงานและหลายกระทรวง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์แรกเริ่มในการกำกับการดำเนินการตามนโยบาย ทค่ี ณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) กำหนดอย่างมีประสิทธภิ าพทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น อันสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศและการบังคับใช้กฎหมายภายในประเทศให้เกดิ ประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การจัดทำและกำกับการ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและแผนประสานงาน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การรายงานผลการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนความร่วมมือและประสานงาน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และกำหนด หลักเกณฑ์และอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของ กองทุนเพ่ือการป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์ หมวด 3 อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ไ ด ้ ก ำ ห น ด อ ำ น า จ ห น ้ า ท ี ่ ข อ ง พ น ั ก ง า น เ จ ้ า ห น ้ า ท่ี และ อำนาจสอบสวนของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่ อำนาจสอบสวน เช่น การเรียก ตรวจค้นบุคคล และยานพาหนะมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควร รวมถึง การเข้าไปในเคหสถานโดยไม่มีหมายค้นจากศาล เพื่อพบ และช่วยบุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดง บัตรประจำตัวพนักงานเจา้ หน้าที่ตอ่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง หากมีการขอยื่นคำขอต่อศาลอาญาหรือศาลจังหวดั ที่มี อำนาจเมอ่ื เสร็จส้ินการคนั สถานที่แล้ว ตอ้ งจัดสง่ รายงานระบุเหตุผลและผลการตรวจค้นต่อศาลท่ีมีเขตอำนาจ ภายใน 48 ช่วั โมง (กฎหมายให้สง่ สำเนาต่อศาล ส่งตวั จรงิ ใหผ้ ู้บงั คบั บญั ชา)

P a g e | 34 การใชเ้ คร่ืองมือในทางลับ หากมีเหตุอันควร เชื่อว่าเอกสาร หรือข้อมูลข่าวสารซึ่งสง่ ทางไปรษณยี ์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เครื่องมืออุปกรณ์ในการ สื่อสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อสารสนเทศ ถูกใช้ หรืออาจถูกใช้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจได้มาหรือ ดั ก ฟ ั ง ซ ึ ่ ง ข้ อ ม ู ล ข ่ า ว ส า ร ดั ง ก ล ่ า ว โ ด ย ว ิ ธ ี ล ั บ ไ ด้ เพื่อประโยชน์ในการกระทำผิดคดีค้ามนุษ ย์ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่บังคับใช้กฎหมายได้รับอนุมัติ เปน็ หนังสอื จากผู้บญั ชาการตำรวจแหง่ ชาติ ยนื่ คำขอ ต ่ อ ศ า ล อ า ญ า ห ร ื อ ศ า ล จั ง ห ว ั ด ท ี ่ ม ี เ ข ต อ ำ น า จ เพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้คำเนินการได้ต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับประธาน ศาลฎีกา การดำเนินการในกระบวนการยุติธรรม ได้กำหนดให้มีการสืบพยานล่วงหน้าไว้ก่อน เพื่อประโยชน์ ในการปอ้ งกันและปราบปรามการค้ามนษุ ย์ หมวด 4 การช่วยเหลือและคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ได้กำหนดให้ ความช่วยเหลอื อย่างเหมาะสมในเรื่องอาหาร ที่พัก การรักษาพยาบาล การบำบัดฟื้นฟู การให้ความช่วยเหลือ ทางกฎหมาย การส่งกลับไปยังประเทศเดิม และให้ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จากผู้กระทำความผิดคดีค้ามนุษย์ ตลอดจนจัดให้มีการคุ้มครองถึงความปลอดภัยแก่ผู้เสียหายและบุคคล ในครอบครัวของผูเ้ สียหาย ไม่ว่าก่อน ขณะ หรือหลังการดำเนินคดี โดยนำกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยาน ในคดอี าญามาปรับใช้ด้วย หากผเู้ สียหายเปน็ คนตา่ งดา้ วคำเนินการส่งกลบั ประเทศเดิมโดยมชิ ักช้า เวน้ แต่ไดร้ ับอนุญาตให้มีถ่ินที่ อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายหรือได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจาก รฐั มนตรวี า่ การกระทรวงมหาดไทยใหค้ ำนงึ ถงึ ความปลอดภยั และสวสั ดิภาพของบคุ คลนน้ั หมวด 5 กองทุนเพื่อการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้กำหนด หลักเกณฑ์และอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมการบริหารกองทุนโดยมีวัตถุประสงค์ แรกเริ่มในการให้ความช่วยเหลือและ คุ้มครองผู้เสียหายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ในหมวดที่ 4 และคณะกรรมการติดตาม และประเมนิ ผลการดำเนินงานของกองทนุ

P a g e | 35 หมวด 6 บทกำหนดโทษ - กำหนดบทลงโทษท่วั ไปคดคี ้ามนษุ ย์ จำคกุ ตั้งแต่ 4 ปี ถึง 12 ปี และปรับตั้งแต่ 400,000 บาท ถึง 1,200,000 บาท - กรณผี เู้ สยี หายเป็นเด็ก อายเุ กินกว่า 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี มีบทลงโทษเพิ่มขึ้นเป็น จำคุก 6 ปี ถ ึ ง 15 ป ี แ ล ะ ป ร ั บ ต ั ้ ง แ ต ่ 6 0 0 , 0 0 0 บ า ท ถงึ 1,500,000 บาท - ผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี หรือผู้มีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 8 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 800,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท ความหมายการคา้ มนุษย์ ตามมาตรา 4 , 6 “การค้ามนุษย์” หมายถึง การจัดหา การขนส่ง การส่งต่อ การจัดให้อยู่อาศัยหรือการรับไว้ซึ่งบุคคล ด้วยวิธีการขู่เข็ญ หรือด้วยการใช้กำลัง หรือด้วยการบีบบังคับในรูปแบบอื่นใด ด้วยการลักพาตัว ด้วยการ ฉ้อโกง ด้วยการหลอกลวงด้วยการใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือด้วยการใช้สถานะความเสี่ยงภัยจากการค้ามนุษย์ โดยมิชอบ หรือมีการให้หรือรับเงินหรือผลประโยชน์เพื่อให้ได้มาซึ่งความยินยอมของบุคคลผู้มีอำนาจควบคุม บคุ คลอน่ื เพื่อความมุ่งประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ การแสวงประโยชน์อย่างน้อยที่สุด ให้รวมถึงการแสวง ประโยชน์จากการค้าประเวณีของบุคคลอื่นหรือการแสวง ประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นการบังคับใช้แรงงานหรือ บริการ การเอาคนลงเปน็ ทาสหรือ การทำให้ตกอยใู่ ต้บงั คับ หรือการตดั อวัยวะออกจากรา่ งกาย

P a g e | 36 1. การกระทำ ได้แก่ เปน็ ธรุ ะจดั หา ซอื้ ขาย จำหนา่ ย พามาจากหรือส่งไปยังที่ใด หน่วงเหน่ียวกักขัง จัดให้อยอู่ าศยั หรือรบั ไวซ้ ง่ึ บคุ คลใดหรือเดก็ (ตามมาตรา 6(1),(2) ) เปน็ ธรุ ะจดั หา (ไปเลอื กเฟ้นหามา จดั ให้ได้คนมาไมว่ า่ กระทำด้วยวิธีใด ๆ) 1. ซ้ือ (เอาเงนิ ตราแลกกับคน ไมไ่ ดห้ มายความถึงสัญญาซ้อื ขาย) 2. ขาย (เอาคนไปแลกเงินตรา เอาเงินเขามาโดยยอมตนเข้ารับใช้การงานของเจ้าของเงินท่ี เรียกวา่ ขายตวั ลงเป็นทาส) 3. จำหน่าย (ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน โอน เอาออก ซ่ึงแผลงมาจากจา่ ย) 4. พามาจาก (นำไปหรือนำมาโดยมีต้นทาง และแสดงอาการต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน พามาจากทใ่ี ดกไ็ ด้ ในหรอื นอกราชอาณาจักรก็ได้) 5. ส่งไปยังที่ใด (ทำให้เคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเป้าหมายด้วย อาการต่าง ๆ เช่น สง่ ขา้ ม สง่ ผ่าน ส่งต่อ เคล่อื นออกจากที่ ใชต้ รงกันขา้ มกบั มา โดยส่งไป ยังท่ใี ดก็ได้ ในหรอื นอกราชอาณาจักรก็ได)้ 6. หน่วงเหน่ียว (ร้งั ตัวไว้ ดงึ ถว่ งไว้ กักไว้ ในสถานทใ่ี ดสถานท่ีหนงึ่ ) 7. กกั ขงั (บงั คับให้อยู่ในสถานทอ่ี นั จำกัด เกบ็ ตัวไวใ้ นสถานท่ีอนั จากดั ) 8. ให้อยู่อาศยั (จดั ใหพ้ กั พิง พกั ผ่อน) 9. รบั ไว้ซ่งึ บุคคลใด (รบั คนทีผ่ ู้อนื่ สง่ ให้ หรือพาไปส่ทู พ่ี กั เพือ่ เกบ็ เขา้ ท่ี หรอื เอาเขา้ ท)่ี • ฎกี าที่ 891/2515 เปน็ ธรุ ะจดั หา หมายความว่า พาหญิงไปให้ชาย รวมทั้งพาชายไป ให้ชายหรือพาชายไปให้หญิง เช่น เกลี้ยกล่อม เป็นแม่สื่อ การตั้งสำนักรวบรวมหญิงให้ชายมาสู่ เพ่ือความใคร่ ก็เปน็ การจดั หาแลว้ • ฎีกาที่ 6560/5646 ร้านอาหาร ของ ร. โดย ร.ได้รับส่วนแบ่งหรือผลประโยชน์ จากรายได้การค้าประเวณีของพนักงานบริการ ในความดูแล การกระทำของ ร. เป็นความผิดฐาน เปน็ ธุระจดั หาหญงิ เพ่อื สนองความใครข่ องผอู้ ่นื แลว้

P a g e | 37 2. วิธีการ ได้แก่ โดยข่มขู่ ใช้กำลงบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง ใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้อำนาจครอบงำบุคคลด้วยเหตุที่ อยูใ่ นภาวะอ่อนด้อยทางร่างกาย จิตใจ การศึกษาหรือทางอื่นใดโดย มิชอบ ขู่เข็ญว่าจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโดยมิชอบ หรือโดย ให้เงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลบุคคลน้ัน เพื่อให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลให้ความยินยอมแก่ผู้กระทำความผิดใน การแสวงหาประโยชน์จากบุคคลที่ตนดูแล (มาตรา 6(1) ) ส่วนกรณี เดก็ ไม่ตอ้ งมวี ิธกี าร (ตามมาตรา 6(2) ) 1. ข่มขู่ (ทำให้กลัว ทำให้เสียขวัญ ทำให้ผู้อื่นต้องกลัวว่าจะเกิดความเสียหายเป็นภัย แก่ตนเอง แก่สกุลแห่งตน หรือแก่ทรัพย์สินของตน เป็นภัยอันใกล้จะถึงและอย่างน้อย รา้ ยแรงถงึ ขนาดท่ีจะพึงกลวั ) 2. ใช้กำลังบังคับ (ใชแ้ รงบังคับใหท้ ำ หรอื ใชอ้ ำนาจสง่ั ให้ทำ หรอื ให้ปฏบิ ัติ หรือใหจ้ ำต้องทำ หรือให้เปน็ ไปตามความประสงค์โดยกระทำแก่กายหรือจิตใจ ด้วยแรงกายภาพหรือวธิ ีอ่ืน ใดเปน็ เหตใุ ห้บคุ คลอย่ใู นภาวะทีไ่ ม่สามารถขัดขืนได)้ 3. ลักพาตวั (แอบหรอื ลอบนำคนไปหรือนำคนมา โดยบคุ คลนน้ั ไมย่ นิ ยอม) 4. ฉอ้ ฉล (ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเทจ็ มากล่าวเพื่อใหเ้ ขาหลงผดิ ) 5. หลอกลวง (ใช้อบุ ายทุจริตลวงให้เข้าใจผิด แสดงข้อความอันเปน็ เท็จ หรอื ปกปิดข้อความ จริงท่คี วรบอกให้แจ้งเพื่อให้บุคคลอนื่ เข้าใจผิด) 6. ใช้อำนาจโดยมิชอบ (ใช้อิทธิพลที่จะบังคบั ให้ผู้อื่นตอ้ งยอมทำตาม ไม่ว่าจะด้วยความสมคั รใจ หรือไม่ หรือความสามารถบันดาลให้เป็นไปตามความประสงค์ การปฏิบัติ การกระทำเพื่อให้ เกดิ ความเสยี หายแก่บคุ คลอ่ืนโดยมิชอบด้วยกฎหมาย กฎ ระเบยี บ ขอ้ บังคบั ฯลฯ) 7. โดยใชเ้ งินหรือผลประโยชน์อยา่ งอนื่ แก่ผปู้ กครองหรือผูด้ แู ลบคุ คลนัน้ เพอื่ ใหผ้ ูป้ กครองหรือ ผู้ดูแลใหค้ วามยนิ ยอมแก่ผู้กระทำความผดิ ในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคลทต่ี นดแู ล 3. วัตถุประสงค์ของการกระทำ ได้แก่ การกระทำดังกล่าว ตามข้อ 1.1 และ1.2 ถ้าการกระทำน้ัน ไดก้ ระทำโดยมีความมุ่งหมายเพ่ือเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมชิ อบผนู้ นั้ กระทำความผดิ ฐานค้ามนุษย์ มาตรา 6 • การแสวงหาประโยชนจ์ ากการค้าประเวณี • การผลิตหรอื เผยแพร่วัตถหุ รอื ส่ือลามก • การแสวงหาประโยชนท์ างเพศในรปู แบบอนื่ • การเอาคนลงเปน็ ทาสหรอื ใหม้ ฐี านะคล้ายทาส • การนำคนมาขอทาน • การตดั อวยั วะเพ่ือการคา้ • การบังคับใชแ้ รงงานหรือบริการตามมาตรา 6/1 • การอืน่ ใดที่คลา้ ยคลึงกันอนั เป็นการขดู รดี บุคคลไม่ว่าบคุ คลนน้ั จะยนิ ยอมหรือไม่ก็ตาม

P a g e | 38 รูปแบบการคา้ มนษุ ย์ลักษณะการแสวงหาประโยชน์ 1. แสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี “การค้าประเวณี” หมายความว่า การยอมรับ การกระทำชำเราหรือการยอมรบั การกระทำอนื่ ใด หรือ การกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ ของผู้อื่น อันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์ อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะ เปน็ บคุ คลเพศเดียวกันหรอื คนละเพศ “สถานการค้าประเวณี” หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้เพื่อการค้าประเวณีหรือยอมให้มีการค้าประเวณี และให้หมายความรวมถงึ สถานท่ที ี่ใชใ้ นการตดิ ตอ่ หรือจัดหาบคุ คลอน่ื เพื่อกระทำการค้าประเวณีดว้ ย มาตรา 5 ผู้ใดเข้าติดต่อ ชักชวน แนะนาตัว ติดตาม หรือรบเร้าบุคคลตามถนนหรือสาธารณสถาน หรือกระทำการดังกล่าวในที่อื่นใด เพื่อการค้าประเวณีอันเป็นการเปิดเผยและน่าอับอายหรือเป็นที่เดือนร้อน รำคาญแกส่ าธารณชน ต้องระวางโทษปรับไมเ่ กนิ หนง่ึ พนั บาท มาตรา 6 ผู้ใดเขา้ ไปมว่ั สุมในสถานการค้าประเวณเี พ่ือประโยชน์ในการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคกุ ไม่เกินหน่งึ เดือน หรอื ปรับไมเ่ กนิ หนึ่งพันบาท หรือท้ังจำทั้งปรับ ถา้ การกระทำความผิดตามวรรคหนงึ่ ได้กระทำเพราะถูกบังคับ หรือตกอยู่ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถ จะหลกี เลี่ยงหรอื ขัดขืนได้ ผู้กระทำไมม่ ีความผิด มาตรา 7 ผู้ใดโฆษณาหรือรับโฆษณา ชักชวน หรือแนะนำด้วยเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือกระทำให้ แพร่หลายด้วยวิธีใดไปยังสาธารณะในลักษณะที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือการติดต่อเพื่อการค้าประเวณี ของตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรอื ทั้งจำท้งั ปรบั 2. การผลติ หรือเผยแพร่วตั ถุหรอื สือ่ ลามก สื่อลามก หมายถึง วัตถุหรือสิ่งที่แสดงให้รู้หรือ เห็นถึงการกระทำทางเพศซึ่งแสดงออกในรูปแบบของ เอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือรูปแบบอื่นใด ในลักษณะทำนองเดียวกัน ให้หมายความรวมถึง วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ข้างต้นที่จัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นที่สามารถแสดงผล ใหเ้ ขา้ ใจความหมายได้

P a g e | 39 “(17) “สื่อลามกอนาจารเด็ก” หมายความว่า วัตถุหรือสิ่งที่ แสดงให้รูห้ รอื เหน็ ถึงการกระทำทางเพศของเด็กหรือกับเด็กซ่ึงมีอายุไม่ เกินสิบแปดปี โดยรูป เรื่อง หรือลักษณะสามารถสื่อไปในทางลามก อนาจาร ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ หรือรูปแบบอื่นใดใน ลักษณะทำนองเดียวกัน และให้หมายความรวมถึงวัตถุหรือสิ่งต่างๆ ข้างต้นที่จัดเกบ็ ในระบบคอมพิวเตอรห์ รือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อน่ื ท่ีสามารถแสดงผลให้เข้าใจความหมายได้” มาตรา 287/1 ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเอง หรือผู้อน่ื ต้องระวางโทษจาคุกไมเ่ กินหา้ ปี หรือปรบั ไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรอื ทงั้ จาท้ังปรบั ถ้าผ้กู ระทำความผิด ตามวรรคหนงึ่ สง่ ต่อซ่ึงสอ่ื ลามกอนาจารเดก็ แกผ่ ู้อื่น ตอ้ งระวางโทษจำคุกไม่เกินเจด็ ปี หรอื ปรบั ไม่เกินหนึ่งแสน สห่ี ม่ืนบาท หรอื ท้ังจำท้งั ปรบั มาตรา 287/2 ผใู้ ด (1) เพื่อความประสงค์แห่งการคา้ หรือโดยการค้า เพื่อการ แจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า หรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอก ราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดย ประการใดๆ ซึ่งส่ือลามกอนาจารเดก็ (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้า เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชน หรือใหเ้ ช่าส่ือลามกอนาจารเดก็ (3) เพ่ือจะช่วยการทำให้แพร่หลาย หรือการค้าสื่อลามก อนาจารเดก็ แล้ว โฆษณาหรอื ไขข่าว โดยประการใดๆ วา่ มบี คุ คลกระทำการอันเป็นความผิดตามมาตรานี้ หรือ โฆษณาหรือไขข่าวว่าสื่อลามกอนาจารเด็กดังกลา่ วแล้วจะหาได้จากบุคคลใด หรือโดยวิธีใด ต้องระวางโทษจา คกุ ต้งั แตส่ ามปถี ึงสบิ ปี และปรับต้ังแตห่ กหม่ืนบาทถงึ สองแสนบาท”

P a g e | 40 3. การแสวงหาประโยชนท์ างเพศในรปู แบบอ่นื การแสวงหาประโยชน์จากการนำคนมาแสดงออกในทางเพศโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการแสวงหา ประโยชน์โดยการปฏิบัติต่อบุคคลที่หมายรวมถึง เด็กชาย เด็กหญิง ผู้ชาย และผู้หญิง เสมือนเป็นสินค้า หรือวัตถุทางเพศ ไม่ว่าโดยการบังคบั ล่อลวง หรือด้วยความสมัครใจของบุคคลที่ถกู กระทำ โดยมีสิ่งตอบแทน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินสด ทรัพย์สิน สิ่งของการบริการ (เช่น การให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ หรือการให้ความคุ้มครอง) และอืน่ ๆ ทั้งนี้ “การปฏิบัติต่อบุคคลเสมือนเป็นวัตถุหรือสินค้าทางเพศ” หมายรวมถึง การล่อลวงหรือชักจูงใจให้ บุคคลเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศโดยการแต่งงาน การนำบุคคลคนมาแสดงออกหรือใช้เพื่อก่อให้เกิดการ แสดงออกในทางเพศโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เช่น การนำบุคคลไปใหบ้ ุคคลที่สามจับต้องของสงวนเพอ่ื แสวงหา ประโยชน์ /การแสดงท่ีนำบุคคลมาแต่งกายหรือใหแ้ สดงออกในลักษณะส่อไปในทางลามกอนาจาร 4. การเอาคนลงเปน็ ทาส อนุสัญญาต่อต้านความเป็นทาส (Slavery Convention (1926) ได้นิยามคาว่า “ทาส” ว่าหมายถึง “สถานะหรือเงอื่ นไขทบี่ ุคคลหนง่ึ มีอยูเ่ หนอื บุคคลอื่น โดยมีการใชอ้ ำนาจทุกอย่างอนั พงึ มีในฐานะเป็นเจา้ ของ” 5. การนำคนมาขอทาน พระราชบัญญัติควบคมุ การขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 13 ห้ามบุคคลใดทำการขอทานการกระทำอย่างหน่ึง อย่างใดดังตอ่ ไปนใ้ี ห้ถอื ว่าเปน็ การขอทาน (1) การขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่นเพื่อเลี้ยงชีวิต ไม่ว่าจะเป็น การขอด้วยวาจา ขอ้ ความหรอื การแสดงกริ ยิ าอาการใด (2) การกระทำด้วยวิธีการใดให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งมอบ เงินหรอื ทรัพย์สินให้ การแสดงความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรีหรือการแสดงอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือ ทรัพย์สินจากผู้ชมหรือผู้ฟัง การขอเงินหรือทรัพย์สินกันฐานญาติมิตร หรือการเรี่ยไรตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมการเรยี่ ไร ไมถ่ ือว่าเปน็ การขอทานตามพระราชบัญญัตนิ ้ี

P a g e | 41 6. การบังคบั ตัดอวยั วะเพ่ือการค้า มาตรา 366/1 ผู้ใดกระทำชำเราศพ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ท้ังจำท้งั ปรับ การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความ ว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้ อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของศพ หรือการใช้สิ่งอื่นใด กระทำกับ อวัยวะเพศหรอื ทวารหนักของศพ มาตรา 366/2 ผู้ใดกระทำอนาจารแก่ศพ ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรอื ท้ังจำท้งั ปรับ มาตรา 366/3 ผใู้ ดโดยไม่มีเหตอุ ันสมควร ทำให้เสยี หาย เคลื่อนยา้ ย ทำลาย ทำใหเ้ ส่อื มค่า หรอื ทำให้ ไร้ประโยชน์ ซึ่งศพ ส่วนของศพ อัฐิ หรือเถ้าของศพ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหก หมนื่ บาท หรือทงั้ จาทัง้ ปรับ มาตรา 366/4 ผใู้ ดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการดูหมนิ่ เหยียดหยามศพ ตอ้ งระวางโทษ จำคุก ไม่เกนิ สามเดอื น หรอื ปรับไม่เกนิ หา้ พันบาท หรือท้ังจำทงั้ ปรบั

P a g e | 42 7. การบังคบั ใชแ้ รงงานหรอื บริการ มาตรา 6/1 ผใู้ ดข่มขืนใจผู้อนื่ ใหท้ ำงานหรือให้บริการโดยวิธกี ารอย่างหนึ่งอย่างใด ดงั ต่อไปนี้ (1) ทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของบุคคลนั้นเอง หรือของผ้อู น่ื (2) ข่เู ขญ็ ดว้ ยประการใด ๆ (3) ใชก้ ำลังประทษุ รา้ ย (4) ยดึ เอกสารสำคัญประจำตวั ของบคุ คลนั้นไว้ (5) นำภาระหนี้ของบคุ คลนั้นหรือของผ้อู น่ื มาเป็นสง่ิ ผกู มัดโดยมชิ อบ (6) ทำดว้ ยประการอน่ื ใดอันมลี ักษณะคล้ายคลึงกบั การกระทำดังกลา่ วข้างต้น ถ้าได้กระทำให้ผู้อื่นนั้น อยู่ในภาวะทีไ่ ม่สามารถขดั ขนื ไดผ้ ้นู ้นั กระทำความผิดฐานบงั คบั ใช้แรงงานหรือบรกิ าร มาตรา 6/2 บทบัญญัติในมาตรา 6/1 ไม่ใชบ้ งั คับกับ (1) งานหรือบริการซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารสำหรับงานในหน้าที่ราชการ โดยเฉพาะ (2) งานหรอื บรกิ ารซง่ึ เป็นสว่ นหนง่ึ ของการปฏิบตั ิหน้าที่พลเมืองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ หรอื ตามกฎหมาย (3) งานหรือบริการอันเป็นผลมาจากคำพิพากษาของศาลหรือที่ต้องทำในระหว่างการต้องโทษตาม คำพิพากษาของศาล (4) งานหรือบริการเพื่อประโยชน์ในการป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือในกรณีที่มีการประกาศ สถานการณฉ์ ุกเฉนิ หรอื ในขณะทป่ี ระเทศอยใู่ นภาวะสงครามหรอื การรบ” 8. การอนื่ ใดท่คี ลา้ ยคลงึ กนั อนั การขูดรีดบคุ คล การขูดรีด หมายถึง การแสวงหาประโยชน์โดยวิธีการบีบบังคับเอา หรือวิธีการบังคับให้จ่ายอม ได้แก่ การเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดต้องทนทำงานเพื่อชดใช้หนี้ที่ไม่เป็นธรรม หรือที่ตนไม่รู้หรือไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าหรือที่เรียกว่า Debt bondage หรอื debt work เปน็ ต้น

P a g e | 43 ประเด็นท่ตี อ้ งพจิ ารณาและแสวงหาขอ้ เทจ็ จรงิ ตามรูปแบบที่ 8 1) ถึงแม้ผู้เสียหาย (เหยื่อ) จะยินยอมกระทำหรือถูกบังคับ ใหก้ ระทำก็เขา้ เกณฑร์ ปู แบบน้ี 2) การกระทำของเหยื่อหรือผู้เสียหายนั้นคล้ายคลึง (เกือบเหมือน) การกระทำตามรูปแบบที่ 1 ถึงที่ 7 แต่มีบางอย่าง ที่ไมเ่ หมือน ทำใหก้ ารกระทำนัน้ ไมเ่ ขา้ รูปแบบท่ี 1 ถงึ ที่ 7 3) การกระทำดังกล่าวผู้เสียหายหรือเหยื่อถูกเอารัด เอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมอย่างไร เช่น การทำงานในระยะเวลา มากกว่าที่กฎหมายกำหนด สภาพการทำงานไม่เหมาะสมกับวัย หรอื เพศตามที่กฎหมายหา้ ม คา่ ตอบแทนและสวัสดิการไมเ่ หมาะสม และตอ้ งหา้ มตามกฎหมายหรือไม่ มกี ารหักเงินล่วงหน้าไม่ได้รับค่าจ้าง ไปจ่ายให้กับผู้อื่นแทน (ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล) การมาทำงานต้องมี การจ่ายค่าตอบแทนแก่นายหน้าผู้นำพาและมาทำงานไม่ตรงกับ ที่ตกลงหรอื ชกั ชวน 4) การกระทำที่ถูกเอารัดเอาเปรียบนั้นเหตุใดผู้เสียหายหรือเหยื่อยังจำต้องกระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจ หรือเหตุผลใดหรือข้อเท็จจริงใดที่ทำให้ผู้เสียหายหรือเหยื่อจำต้องกระทำทั้งที่อาจจะฝืนความรู้สึกของตนเอง เชน่ ถ้าไม่ทำจะมผี ลกระทบต่อตนเองอย่างไร หรือกระทบต่อบิดามารดาผปู้ กครองผูด้ ูแลและญาติ หรือบุคคล ท่ผี เู้ สยี หายรูจ้ กั และเกย่ี วพนั กบั ผเู้ สียหายอย่างไร 5) การตกลงหรือการติดตอ่ เพื่อกระทำการดังกล่าวเปน็ การติดต่อโดยตรงกับตัว ผู้เสียหายหรือติดต่อ ผ่านบุคคลอื่นอำนาจในการต่อรองของผู้เสียหาย ความมีอิสระในการตัดสินใจโดยอยู่ภายใต้การครอบงำหรือ จ่ายอมหรือไม่ อายุของผู้เสียหายนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่จะตัดสินใจและมีผลผูกพันตามกฎหมายหรือไม่ (พ้นเกณฑ์ การเป็นผู้เยาว์หรือยัง) ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล ยินยอม หรือรู้เห็นหรือไม่ (กรณีต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตาม กฎหมายมาให้การยืนยนั เพื่อพิสูจน์ในประเดน็ ดังกลา่ วเพราะผู้ปกครองเปน็ ผู้กำหนดท่ีอยู่ของผู้เยาว์มิใช่ฟังแต่ คำให้การของผเู้ ยาว์เท่านนั้ เด็กอาจถูกหลอกล่อลวงหรือพดู ชกั จูงให้คล้อยตามเพราะเปน็ บคุ คลที่มีวยั และเพศที่ ออ่ นแอจนทำให้ครอบงำชักจงู ได้โดยง่าย) ตวั อยา่ ง 1) แขกขายโรตี ควรได้ค่าแรงวันละ 300 บาท แต่นายจ้างให้ 20 บาท เพราะเห็นว่าเป็นคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นการแสวงหาประโยชน์จากการ อ่อนดอ้ ยทางเศรษฐกจิ อำนาจต่อรองทางเลือกในการทำงาน 2) ใหเ้ ดก็ เรร่ ่อนขายสินค้าทุกวัน ตงั้ แต่เช้ายันเย็นไม่มีวันหยุดเป็นการกระทำ ทข่ี ดู รดี เอารัดเอาเปรียบ 3) โสเภณีอายุ 25 ปี ยินยอมเป็นโสเภณีรับแขกครงั้ ละ 2,000 บาท เจา้ ของ สถานคา้ ประเวณไี ด้รบั 1,500 บาท สว่ นโสเภณไี ดร้ ับ 500 บาท ถอื เป็นการขูดรดี

P a g e | 44 คณะกรรมการปอ้ งกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการประสานและกำกบั การดำเนนิ งานป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ (ปกค.) อำนาจหน้าที่ - เสนอความเหน็ ต่อคณะรฐั มนตรีในการกำหนดนโยบาย ปรบั ปรงุ กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือโครงสรา้ งของสว่ นราชการ - กำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามการคา้ มนุษย์ ในสถานประกอบกจิ การ โรงงาน และยานพาหนะ - กำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการในการป้องกันและ ปราบปรามการคา้ มนษุ ย์ - กำหนดแนวทางและกำกบั ดแู ลการดำเนนิ การตามพนั ธกรณรี ะหว่างประเทศ - สัง่ การและกำกบั ดแู ลใหม้ ีการศกึ ษาวิจยั และจดั ทำข้อมูลแบบบูรณาการ - วางระเบียบเกี่ยวกบั การจดทะเบยี นองค์กรเอกชนดา้ นการป้องกนั และปราบปรามการค้ามนุษย์ - วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษา เงนิ การจัดหาผลประโยชน์ และการจดั การกองทนุ - วางระเบียบเกยี่ วกบั การรายงานสถานะการเงนิ และการจดั การกองทนุ - สงั่ การและกำกับดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ปกค.

P a g e | 45 คณะกรรมการ ปกค. คอื คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ มีรอง นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รฐั มนตรวี า่ การ กระทรวง พม. เปน็ รองประธานกรรมการ อำนาจหนา้ ท่ี - จัดทำและกำกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและแผนประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทง้ั ในระดับสว่ นกลาง ส่วนภมู ภิ าค ส่วนทอ้ งถ่ิน ชุมชน และประชาสงั คม การพัฒนาศกั ยภาพของบุคลากร - กำกับการดำเนนิ การตามโครงการรณรงคแ์ ละการใหก้ ารศกึ ษากับประชาชนท่ัวไป - การรายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน - ติดตามและจดั ทำรายงานเกี่ยวกบั การดำเนนิ การตามพันธกรณรี ะหวา่ งประเทศการให้ความรว่ มมือ และประสานงาน - กำหนดหลักเกณฑ์และอนุมัติการใช้เงินและ ทรพั ย์สินของกองทุนตามมาตรา 44 - จัดทำและกำกับแผนปฏิบัติการ เพื่อให้การ บังคับใช้กฎหมายเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสอดคล้อง กับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอก เงิน กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจรติ แห่งชาติ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และพันธกรณีระหว่าง ประเทศ อำนาจหนา้ ที่ของพนกั งานเจา้ หนา้ ท่ี เพอื่ ประโยชน์ในการปอ้ งกนั และปราบปรามการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ 1. มหี นังสือเรียกให้บุคคลใดมาใหถ้ ้อยคำหรือส่งเอกสารหรอื พยานหลกั ฐาน 2. ตรวจตัวบุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ เมือ่ ผู้นน้ั ยินยอม แต่ถา้ ผู้น้ันเป็นหญิงจะตอ้ งใหห้ ญงิ อนื่ เปน็ ผตู้ รวจ 3. ตรวจคน้ ยานพาหนะใด ๆ ทม่ี เี หตอุ นั ควรสงสัยตามสมควรว่ามีพยานหลักฐานหรือบุคคลที่ตกเป็น ผเู้ สยี หายจากการกระทำความผดิ ฐานคา้ มนษุ ยอ์ ยู่ในยานพาหนะน้นั 4. เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น ยึด หรืออายัด เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามี พยานหลักฐานในการค้ามนุษย์ หรือเพื่อพบและช่วยบุคคลที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐาน ค้ามนุษย์ และหากเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ พยานหลักฐานนั้นอาจถูกโยกย้าย ซ่อนเร้น หรือทำลาย ไปเสยี ก่อน หรอื บคุ คลนน้ั อาจถกู ประทุษรา้ ย โยกยา้ ย หรือซ่อนเร้น ** ในการปฏิบัตหิ นา้ ท่ี ตอ้ งแสดงบตั รประจำตัวพนักงานเจา้ หนา้ ท่ตี ่อผ้ทู เี่ กีย่ วข้อง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook