83 องค์กรภาคีเครือข่าย ปี 2563 ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก องค์กรภาคีเครือข่ายที่มีมากที่สุดคือ องค์กรสวัสดิการชุมชน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการ จัดสวัสดิการสังคม จำนวน 563 แห่ง มีมากในจังหวัดตราด รองลงมาคือศนู ย์พัฒนาครอบครวั (ศพค.) จำนวน 503 แห่ง มีมากในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถดั มาโครงการบ้านม่ันคง (พอช.) จำนวน 476 แห่ง มีมากในจังหวัดสระแก้ว องค์กรสาธารณะประโยชน์ จำนวน 394 แห่ง มีมากในจังหวัด ฉะเชิงเทรา กองทุนสวัสดิการสังคม จำนวน 314 แห่ง มีมากในจังหวัดชลบุรี ศูนย์บริการคนพิการทั่วไป จำนวน 129 แห่ง มีมากในจังหวัดปราจีนบุรี สภาองค์กรคนพิการ จำนวน 116 แห่ง มีมากในจังหวัดชลบุรี และสุดท้าย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) จำนวน 103 แห่ง มีมากในจังหวัดจันทบุรี ส่วน จำนวนภาคีเครือข่ายอาสาสมัคร ปี 2564 พบวา่ เครือข่ายอาสาสมัครท่ีมีมากทสี่ ุดคือ อาสาสมคั รพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) จำนวน 18,104 คน ซึ่งมีมากในจังหวัดชลบุรี ร้อยละ 61.20 คน (ร้อยละ 61.20) รองลงมาคอื สภาเด็กและเยาวชน จำนวน 9,956 คน มีมากในจงั หวัดชลบรุ ี เช่นกัน จำนวน 2,520 คน (รอ้ ยละ 33.66) และขอ้ มลู คลงั ปัญญาผสู้ ูงอายุ จำนวน 1,521 คน มมี ากในจังหวัดชลบุรี จำนวน 362 คน (ร้อยละ 5.14) สถานการณเ์ ชิงกลุม่ เปา้ หมาย จากข้อมูลรายงานสถานการณ์จำนวนกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออก ในปี พ.ศ. 2564 มีดงั นี้ เด็ก พบว่าจำนวนประชากรเด็กกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด จำนวน 1,069,264 คน มีปัญหาเด็ก อยู่ในครอบครัวยากจนมากที่สุด จำนวน 103,738 คน ปัญหาเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อม ในการเล้ยี งดู จำนวน 6,081คน เยาวชน พบว่าจำนวนเยาวชนกลุ่มจังหวัดตะวนั ออกมีทัง้ หมด จำนวน 493,725 คน มีปัญหาเยาวชน ที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม จำนวน 1,144 คน และเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจและทางเพศ จำนวน 121 คน สตรี พบว่าจำนวนสตรีกลุ่มจังหวัดตะวันออกมที ้ังหมด 1,657,350 คน พบปัญหาสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน จำนวน 37,939 คน แม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลําพัง จำนวน 2,316 คน และ สตรีที่ถูก ทาํ ร้ายร่างกาย จติ ใจ จำนวน 1,424 คน ครอบครัว พบว่าจำนวนครัวเรือนกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด 1,733,857 ครัวเรือน มีปัญหา ครอบครัวแหว่งกลาง จำนวน 61,741 ครัวเรือน ครอบครัวยากจน จำนวน 26,944 ครัวเรือน ครอบครัว หย่าร้าง จำนวน 25,528 ครัวเรือน และครอบครัวที่มีคนในครอบครัวกระทําความรุนแรงต่อกัน จำนวน 582 ครัวเรอื น ผู้สูงอายุ พบว่าจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด 762,799 คน คิดเป็นร้อยละ 15.61 ของประชากรทั้งหมด มีผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ 607,400 คน ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ 22,318 คน ช่วยเหลือ ตัวเองไม่ได้/ติดบ้าน/ติตเตียง 17,765 คน ผู้สูงอายุที่รับภาระดูแลบุคคลในครอบครัว 971 คน ผู้สูงอายุ ท่ีต้องดำรงชพี ดว้ ยการเรร่ ่อน ขอทาน 244 คน และผู้สูงอายุทถี่ ูกกระทําความรุนแรงทางร่างกายหรือจิตใจ 7 คน รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
84 ผู้พิการ พบว่าจำนวนคนพิการกลุ่มจังหวัดตะวันออกมีทั้งหมด จำนวน 130,230 คน มีบัตรประจำตัว คนพิการ จำนวน 130,230 คน ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 116,202 คน ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 522 คน คนพิการ มคี วามต้องการกายอุปกรณ์ จำนวน 350 คน คนพิการที่อยคู่ นเดยี วตามลำพัง/ไม่มีผู้ดูแล/ถูกทอดท้งิ จำนวน 42 คน และ มีสาเหตุความพกิ ารมาจากโรคอืน่ ๆ มากทสี่ ุด จำนวน 39,802 คน รองลงมาไมท่ ราบสาเหตุ จำนวน 21,339 คน มีสาเหตมุ าจากอบุ ตั เิ หตุ จำนวน 11,144 คน มีสาเหตมุ าจากพันธกุ รรม จำนวน 9,274 คน มีสาเหตมุ าจากโรคติดเชื้อ จำนวน 7,295 คน และมากกวา่ 1 สาเหตุนอ้ ยท่ีสดุ จำนวน 2,435 คน .ผู้ด้อยโอกาส พบว่า กลมุ่ ผดู้ ้อยโอกาสกลุ่มจังหวัดตะวันออก เป็นผูต้ ิดยาเสพตดิ จำนวน 13,737 คน ผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 10,739 คน กลุ่มชาติพันธุ์/ชนกลุ่มน้อย จำนวน 1,986 คน คนไร้ที่พึ่ง จำนวน 676 คน ผแู้ สดงความสามารถ จำนวน 258 คน และผ้ทู ำการขอทาน จำนวน 64 คน สถานการณ์เชงิ ประเดน็ สำคัญในพนื้ ท่ีกลุม่ จงั หวัด สถานการณ์การค้ามนุษย์ กลุ่มจังหวัดตะวันออก ปี 2563 - 2564 มีจำนวนผู้เสียหายจากการ ค้ามนุษย์ประเภทค้าประเวณี มากที่สุด จำนวน 27 ราย เป็นสัญชาติไทย จำนวน 25 ราย รองลงมา กัมพูชา จำนวน 1 ราย เมียนมาร์ จำนวน 1 ราย ตามลำดับ พบมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี 24 ราย (ปี 63) ฉะเชิงเทรา จำนวน 2 ราย (ปี 63,64) ระยอง จำนวน 1 ราย (ปี 64) เนื่องจาก เป็นพื้นที่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก หรือ EEC มีความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม และการลงทุน มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้มีแรงงานต่างถิ่นทั้งคนไทยและต่างชาติเข้ามาทำงานในพื้นท่ี มีสถานะ ของการค้ามนุษย์ ทั้งต้นทาง ทางผ่าน และปลายทาง ส่วนจังหวัด จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และ สระแกว้ ยังไม่พบการดำเนินคดีเกยี่ วกับการคา้ มนุษย์ทุกรูปแบบในชว่ ง 2 ปีท่ีผ่านมา และท้ังน้ีในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดระยอง ร่วมตรวจสอบกับทีมสหวิชาชีพ ดังน้ี 1) รว่ มกับตำรวจภธู รจังหวดั ระยอง ปกครองจงั หวัดระยอง ลงพืน้ ท่รี า้ นค้าประกอบการท่มี ีแนวโน้มท่ีจะมีการใช้ สิ่งเสพตดิ การค้าประเวณี การขายสุราให้กบั เดก็ อายตุ ่ำกว่า 18 ปี รวมถึงการเปิดเกินเวลาท่ีกำหนด จำนวน 84 ครงั้ ไม่พบกรณีการค้ามนุษย์ และ 2) ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดระยอง ลงพื้นท่ี ตรวจสอบเรือประมง เพื่อตรวจสอบกรณีแรงงานผิดกฎหมาย สงสัยว่าจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ จำนวน 8 ลำ ตรวจสอบแลว้ ไมพ่ บกรณกี ารคา้ มนุษย์ สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวกลุ่มจังหวัดตะวันออก ปี 2564 มีจำนวนทัง้ สนิ้ 85 ราย เปน็ ผู้ถูกกระทำความรนุ แรงในครอบครัว เพศชาย 29 ราย เพศหญงิ 56 ราย มีมากที่สุดในพ้ืนที่จงั หวัดปราจีนบุรี จำนวน 22 ราย ฉะเชิงเทรา จำนวน 21 ราย ฃลบุรี จำนวน 18 ราย และ พบความรุนแรงในครอบครัวน้อยที่สุด ในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 4 ราย โดยประเภทความรุนแรงที่พบ ส่วนใหญ่คอื ความรนุ แรงทางร่างกาย จำนวน 45 ราย รองลงมา ทางจิตใจ จำนวน 30 ราย และสาเหตุการเกิด ความรุนแรงส่วนใหญ่ มาจากการบัลดาลโทสะ 18 ราย รองลงมา อาการทางจิตจำนวน 17 ราย ความเครียด ทางเศรษฐกิจ จำนวน 14 ราย ปัญหายาเสพติด และการเมาสุรา จำนวน 11 รายเท่ากัน พฤติกรรมนอกใจ จำนวน 10 ราย และหย่าร้าง/แยกทาง จำนวน 4 ราย
85 การให้บริการของศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน 1300 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564 มีผู้โทรขอความช่วยเหลือทั้งสิ้น 14,884 กรณี เฉลี่ยวันละ 41 กรณี เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็น วยั แรงงาน/ ผู้ใหญ่ 6,190 กรณี สตรี 4,242 กรณี เดก็ และเยาวชน 2,779 เรือ่ ง คนพิการ 2,079 กรณี ผูส้ งู อายุ 1,780 กรณี โดยประเด็นที่มีผู้โทรมาขอรับความช่วยเหลือมากที่สุด ได้แก่ ประเด็นเรื่องครอบครัวยากจน 3,367 กรณี รองลงมาคือ สอบถามนโยบายรัฐบาลต่างๆ 1,623 กรณี ผลกระทบในช่วงการแพร่ระบาดของ โรค Covid-19 มาตรการเยยี วยา 1,156 กรณี และการแจ้งประเดน็ เรือ่ งคนเรร่ ่อน/ ขอทาน 337 กรณี นอกน้ัน จะเป็นเรื่องความรุนแรง ทั้งในครอบครัวและนอกครอบครัว จำนวน 291 กรณี ส่วนจังหวัดที่มีการโทรเข้ามา สอบถามมากที่สุด 3 ลำดับแรกคือ จังหวัดชลบุรี 5,249 กรณี รองลงมาคือ ระยอง 2,963 กรณี และจันทบุรี 1,692 กรณี การวิเคราะห์และจัดลำดบั ความรนุ แรงของสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจังหวดั กลุ่มเด็ก พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและ ไม่พร้อมในการเลี้ยงดู จำนวน 6,081 คน คิดเป็นร้อยละ 3.05 ของประชากรเด็ก (เพศหญิง อายุ 12-17 ปี จำนวน 199,183 คน) ในเขตพื้นท่ีกลุม่ จังหวัดทีร่ ับผิดชอบ รองลงมาคือปญั หาเด็กที่อยูใ่ นครอบครัวเลี้ยงเด่ยี ว จำนวน จำนวน 2,574 คน คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของประชากรเด็กทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุม่ จังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหาเด็กทีม่ ีพฤตกิ รรมไม่เหมาะสม จำนวน 766 คน คิดเป็นร้อยละ 0.07 ของประชากร เด็กท้ังหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจงั หวดั ท่รี ับผิดชอบ กลุ่มเยาวชน พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาเยาวชนที่มีพฤติกรรม ไม่เหมาะสมมากที่สุด จำนวน 1,144 คน คิดเป็นร้อยละ 0.23 ประชากรเยาวชนทัง้ หมดในเขตพื้นทกี่ ลุม่ จังหวัด ที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาเยาวชนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกาย จิตใจ และทางเพศ จำนวน 121 คน คดิ เปน็ ร้อยละ 0.02 ของประชากรเยาวชนทง้ั หมดในเขตพ้นื ทกี่ ลมุ่ จงั หวดั ที่รบั ผดิ ชอบ กลุ่มสตรี พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงานมากที่สุด จำนวน 37,939 คน คิดเป็นร้อยละ 2.29 ของประชากรสตรีทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาแม่เลี้ยงเดี่ยวฐานะยากจนที่ต้องเลี้ยงดูบุตรเพียงลำพัง จำนวน 2,316 คน คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของประชากรสตรที ั้งหมดในเขตพืน้ ที่กลุ่มจังหวัดทีร่ ับผิดชอบ และลำดับท่ีสาม คือปญั หาสตรีที่ถูกทำร้าย ร่างกาย จติ ใจ 1,424 คน คิดเปน็ รอ้ ยละ 0.08 ของประชากรสตรที ้ังหมดในเขตพื้นท่กี ลุ่มจังหวดั ที่รบั ผดิ ชอบ กลุ่มครอบครัว พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาครอบครัวแหว่งกลางมากท่สี ดุ จำนวน 61,741 ครอบครัว คดิ เปน็ ร้อยละ 3.56 ของกลุม่ ครอบครวั ท้งั หมดในเขตพืน้ ที่กลุ่มจังหวดั ทรี่ บั ผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาครอบครัวยากจนจำนวน 26,944 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของกลุ่มครอบครัว ทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหาครอบครัวหย่าร้าง 25,528 ครอบครัว คิดเป็นรอ้ ยละ 1.47 ของกลมุ่ ครอบครัวทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจงั หวัดทีร่ ับผิดชอบ รายงานสถานการณท์ างสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
86 กลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหา ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รบั เบี้ยยงั ชพี มากที่สุด จำนวน 22,318 คน คิดเป็นร้อยละ 2.93 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ท่รี บั ผดิ ชอบ รองลงมาคือ ผสู้ งู อายชุ ว่ ยเหลือตัวเองไม่ได้/ไมม่ ีคนดูแล/ไม่มรี ายได้/ผู้ปว่ ยเรื้อรังติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 17,765 คน คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สาม คือปัญหาผู้สูงอายุท่ีรับภาระดูแลบุคคลในครอบครัว เช่น คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง บุตรหลาน และจิตเวชจำนวน 971 คน คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่รับผดิ ชอบ กลุ่มผู้พิการ พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ มีจำนวน 522 คน หรือ ร้อยละ 0.40 ของประชากรคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ รองลงมาคอื ปัญหาคนพกิ าร มีความตอ้ งการกายอปุ กรณ์ จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27 ของประชากร คนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดที่รับผิดชอบ และลำดับที่สามคนพิการที่อยู่คนเดียวตามลำพัง/ไม่มี ผ้ดู แู ล/ถูกทอดทิ้ง จำนวน 42 คน คดิ เปน็ รอ้ ยละ 0.03 กลุ่มผู้ด้อยโอกาส พบว่า กลุ่มจังหวัดตะวันออก มีความรุนแรงของปัญหาผู้ติดยาเสพติดมากที่สุด จำนวน 13,737 คน คิดเป็นร้อยละ 50.02 ของประชากรกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่รับผิดชอบ รองลงมาคือปัญหาผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 10,739 คน คิดเป็นร้อยละ 39.10 ของประชากรกลุ่ม ผดู้ อ้ ยโอกาสทง้ั หมดในเขตพนื้ ท่ีกลุ่มจังหวดั ทรี่ ับผิดชอบ และลำดบั ทีส่ าม คอื ปัญหากลมุ่ ชาตพิ ันธุ์/ชนกลุ่มน้อย 1,986 คน คิดเปน็ ร้อย 7.23 ของประชากรกล่มุ ผ้ดู อ้ ยโอกาสท้ังหมดในเขตพน้ื ที่กล่มุ จังหวดั ท่ีรบั ผดิ ชอบ สรปุ การวิเคราะห์ กลุ่มเด็กและเยาวชนลักษณะของปัญหา มีความหลากหลายตามบริบทพื้นที่ มีประเด็นสถานการณ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องปัญหาเด็กมีพฤติกรรม ไม่เหมาะสม ติดเกมส์ ติดสารเสพติด เด็กและเยาวชนที่มีครอบครัวแตกแยก บางกลุ่มไม่ได้ศึกษาต่อเมื่อจบการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน ส่งผลตอ่ โอกาสในการประกอบอาชพี และมีรายไดท้ ไี่ มส่ ามารถเลยี้ งดูครอบครวั ได้ สำหรับกลุ่มสตรี ในบางพื้นที่พบสตรที ี่ถกู เลกิ จ้าง/ตกงาน ไม่มีรายได้/ไม่ได้ประกอบอาชีพ ด้วยหลาย สาเหตุ เช่น ว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ในบางพื้นที่ ไม่มีการรวมกลุ่มสตรี แนวทางการแก้ปัญหา คือ สร้างความเข้าใจถึงการร่วมกลุ่ม และแนะนำแหล่งทุนในการขอรับการสนับสนุน ส่งเสริมและหาช่องทางการประกอบอาชีพให้แก่กลุ่มสตรี สนับสนุนงบประมาณด้านการฝึกอาชีพให้กลุ่มสตรี เพ่อื ให้มีรายได้เสริมไปช่วยครอบครัว นอกจากน้นั การทส่ี ตรีมบี ทบาทในการเป็นแม่เลี้ยงเดยี่ ว (Single mom) และหากแม่เลี้ยงเดี่ยวนั้น ประสบปัญหาเรื่องการว่างงาน หรือรายได้ไม่เพียงพอ กระทบกับคุณภาพในการ เลี้ยงดูบตุ ร และความสามารถในการเลี้ยงดคู รอบครัว ประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ให้ความสำคัญ ซึ่งการจะพัฒนาคนได้ ต้องบูรณาการข้อมูลและดำเนินการร่วมกับ หนว่ ยงานภาคเครือข่าย ซ่งึ เปน็ ข้อทา้ ทายในการดำเนนิ งาน
87 ส่วนสถานการณ์คนพิการ ส่วนใหญ่จะสะท้อนในประเด็นปัญหาด้านสุขภาพของคนพิการ การขาด การดูแลสุขภาพที่เหมาะสม บางส่วนยากจนและมีสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม ขาดแคลนอุปกรณ์ ในการช่วยเหลือผู้พิการให้สามารถดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนเด็กที่พิการ ขาดสื่อส่งเสริมพัฒนาการและ ไมท่ ราบถงึ สิทธิและสวสั ดกิ ารตนเอง สำหรบั ผูส้ ูงอายุ ซง่ึ มจี ำนวนเพ่มิ มากขน้ึ ทกุ ปีนั้น สะท้อนปัญหาสขุ ภาพ ขาดความรใู้ นการดูแลสุขภาพ เป็นผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุบางกลุ่มไม่ได้รับการดูแล บางส่วนยังเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ และมีอีกจำนวนหนึ่ง ที่เป็นผู้สูงอายุอาศัยอยู่คนเดียว/หรือผู้สูงอายุดูแลกันเอง ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ โดยการ สนับสนุนผู้สูงอายุในกลุ่มที่ดูแลตัวเองได้ ให้มีส่วนร่วมการพัฒนาทางด้านร่างกายและจิตใจ หากมีความ ต้องการดา้ นอาชีพ ควรสง่ เสริมในการประกอบอาชีพ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ครัวเรือนยากจนมีมากขึ้นเนื่องจากการเกิดโรคระบาด บางคนติดยาเสพติด ก่ออาชญากรรม ครัวเรือนยากจนบางครัวเรอื นมีภาระมากตอ้ งดูแล เช่น ภายในครอบครัวมีผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียงหรือเด็กเล็กที่ต้องดูแล รายได้จึงไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัว จึงทำให้ในกลุ่มจังหวัด ตะวันออก พบรายงานครวั เรอื นทมี่ ีรายได้น้อย ความเป็นอย่คู ่อนขา้ งขัดสนอยา่ งตอ่ เน่ืองมาตลอด สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น หรือเฉพาะหน้านั้น เป็นเรื่องการช่วยเหลือด้านเงิน สงเคราะห์ ระยะถัดมา ควรมีการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพ Upskill Reskill และสนับสนุน แหล่งทรพั ยากรหรือทนุ ในการประกอบอาชพี เพ่ือใหก้ ลมุ่ เป้าหมายสามารถชว่ ยเหลอื ตนเองได้อยา่ งแทจ้ รงิ สถานการณ์โควิด-19 ในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออก ณ วันที่ 14 กันยายน 2564 มียอด ผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เมษายน สะสม รวม 163,635 คน เสียชีวิตสะสม 116 คน กำลังรักษา 36,430 คน โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 (ระลอก 3) เรียงลำดับจากมากสุดดังนี้ จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง สระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี และจังหวัดตราด ส่วนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากที่สุด อยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี มีผู้ติดเชื้อสะสม 75,009 คน ผู้เสียชีวิต 520 คน โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอ บางละมุง ซึ่งเป็นเขต ปกครองพิเศษ และเขตส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงพบอัตราการติดเชื้อมากสุดและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเป็นกลุ่มทีม่ าจาก กลุ่มต่างชาติเข้าประเทศ กลุ่มที่ไปเที่ยวร้านเหล้ากับเพื่อนที่ติดเชื้อในชลบุรี กลุ่มที่กลับ จากท่องเที่ยวภูเก็ตและ กทม. กลุ่มทำงานผับ/บาร์/ร้านนวด ซึ่งสัมผัสกับต่างชาติ จะเห็นได้ว่าผู้ติดเช้ือ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งได้แก่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและการลงทุน มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก และที่ได้รับผลกระทบไม่น้อยกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19) โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ที่ทำให้ GPP ของประเทศไทยและของกลุ่มจังหวัด ลดลงอย่างมาก และโดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้น กับกลุ่มเปราะบาง ที่ส่งผลให้มีความต้องการการช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น และเรง่ ดว่ น รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจงั หวัดภาคตะวันออก
88 ขอ้ เสนอแนะ การพฒั นาคุณภาพชวี ิตกลุ่มเปา้ หมายใหส้ ามารถเขา้ ถงึ บริการของรฐั เพ่ือลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมีความสอดคล้องกบั บรบิ ทพนื้ ที่ มขี ้อเสนอแนะ ดงั นี้ 6.2ข้อเสนอเชิงนโยบาย ขอ้ เสนอเชิงนโยบาย 1. จากขอ้ มูลปัญหาแมว่ ยั รุ่นท่ีตงั้ ครรภ์ก่อนวัยอนั ควรและไม่พร้อมในการเล้ียงดู จำนวน 6,081 คิดเป็นร้อยละ 0.54 ของประชากรเด็ก (เพศหญิง อายุ 12-17 ปี จำนวน 199,183 คน) กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นปัญหา ทสี่ ำคญั ในกลุ่มจงั หวัดภาคตะวันออก จงึ เหน็ ควรให้มีมาตรการในการเฝา้ ระวัง และตดิ ตามเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ในกลมุ่ ครัวเรือนทีม่ คี วามเปราะบาง สร้างคา่ นิยมเรื่องเพศสมั พนั ธท์ ม่ี ี สุขภาวะ และการป้องกันการต้ังครรภ์ไม่พร้อม การสอดแทรกเร่ืองทักษะชีวติ ในวัยรนุ่ และการรักษาการ อยู่ในระบบการศึกษาของวัยรุ่น 2. จากข้อมูลสตรีที่ถูกเลิกจ้าง/ตกงาน ของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก มีจำนวนมากที่สุด คือ 37,939 คน หรือร้อยละ 2.29 ของจำนวนสตรีทั้งหมด จำนวน 1,657,350 คน โดยเฉพาะในจังหวัดอยู่ในพื้นที่ในเขตระเบียง เศรษฐกจิ พิเศษภาคตะวนั ออก หรอื EEC ซ่ึงได้แกจ่ ังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึง่ เปน็ พ้ืนที่ที่มีศักยภาพทาง เศรษฐกิจ และการลงทุน มีความต้องการแรงงานจำนวนมาก และที่ได้รับผลกระทบ กับสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเปราะบาง ที่ส่งผลใหม้ ีความต้องการ การช่วยเหลือเพิ่มมากขึ้น และเร่งด่วน ดังนั้น ควรมีการขยายโอกาสการประกอบอาชีพ เสริมทักษะเดิม เพิ่มทักษะ อาขีพใหม่ (Upskill & Reskill) การสนับสนนุ เงินทนุ ประกอบอาชพี ให้กบั ผ้ไู ด้รับผลกระทบจากโรค COVID-19 ในทุกจงั หวดั 3. จากข้อมูลปัญหาผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน 22,318 คน คิดเป็นร้อยละ 2.93 และปัญหา ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้/ไม่มีรายได้/ผู้ป่วยเรื้อรังติดบ้าน ติดเตียง จำนวน 17,765 คน คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของประชากรผู้สงู อายุทั้งหมดในกลุ่มจงั หวัดตะวันออก ควรมีการรองรบั สังคมผู้สูงอายุ โดยการส่งเสริมคณุ ภาพชีวติ ผู้สงู อายุ สง่ เสริมการจา้ งงานผ้สู ูงอายุ ท้ังผูม้ ีรายไดน้ อ้ ยและผูส้ ูงอายุท่ีมีทักษะความชำนาญ จดั เตรียมระบบการดูแล ผู้สูงอายุในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และครอบครัว และดแู ลให้ผู้สงู อายไุ ดร้ บั เบีย้ ยงั ชีพอยา่ งครบถ้วน 4. จากปัญหาครอบครัวยากจน จำนวน 26,944 ครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 1.55 ของกลุ่มครอบครัวทั้งหมด ควรมีการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา รายครัวเรือนและช่วยเหลือแบบองค์รวมบูรณาการการช่วยเหลือระหว่าง หน่วยงาน โดยจดั ทำแผนพฒั นาครอบครัว ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง ระยะยาว เพ่อื ใหค้ รอบครัวสามารถพึง่ ตนเองได้ 5. จากข้อมูลปัญหาคนพิการที่ไม่ได้รับเบี้ยยังชีพ มีจำนวน 522 คน หรือ ร้อยละ 0.40 ปัญหาคนพิการ มีความต้องการกายอุปกรณ์ จำนวน 350 คน คิดเป็นร้อยละ 0.27 และลำดับที่สามคนพิการที่อยู่คนเดียวตามลำพัง/ ไม่มีผู้ดูแล/ถูกทอดทิ้ง จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของประชากรคนพิการทั้งหมดในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัด ที่รับผดิ ชอบ ควรจดั หาผู้ดูแลผู้พิการ โดยเฉพาะคนพิการท่ีติดเตยี ง เชน่ Long Term Care หรือ Care Giver หรอื การ วางระบบการดูแลคนพกิ ารทม่ี มี าตรฐาน และดูแลใหผ้ ้พู กิ ารได้รับเบ้ียยงั ชพี คนพกิ ารอย่างครบถ้วน 6. จากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อ Covid-19 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกที่เป็นพื้นที่สีแดง ควรมีการปรับรูปแบบ วิธีการฝึกอาชีพ โดยให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงได้ และเป็นอาชีพที่สามารถดำเนินการได้ในช่วงสถานการณ์ โควิด- 19 เช่น การขายของออนไลน์ จัดส่งพัสดุและส่งอาหาร สอนทำอาหาร สอนจัดดอกไม้ออนไลน์ รับซ่อม โทรศัพท์มือถือ ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน ฯลฯ โดยมีการส่งเสริมให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแสวงหา ช่องทางการตลาดสมยั ใหมไ่ ด้
89 Ǥ͵ข้อเสนอแนะเชิงปฏบิ ตั ิ 1. การใช้ฐานข้อมูล TPMAP ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันทั้งประเทศในการวิเคราะห์วางแผนการ ช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย และการเพิ่มเติมฐานข้อมูล TPMAP เมื่อได้มีการช่วยเหลือเพื่อเป็นประโยชน์ แก่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนบูรณาการการช่วยเหลือร่วมกันได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย ได้วิเคราะห์ ปัญหาร่วมกัน และช่วยกันแก้ปัญหาให้กับครอบครัวเปราะบางได้อย่างรวดเร็ว และรอบด้าน รวมถึงกลุ่ม จังหวดั ภาคตะวนั ออกสามารถนำข้อมลู ไป จัดทำโครงการภายใตแ้ ผนพัฒนาภาค ท้ังนต้ี อ้ งมกี ารประเมนิ ติดตาม ผลอยา่ งตอ่ เน่ือง เพื่อให้กลุ่มเปราะบางสามารถพ่ึงตนเองได้อยา่ งยั่งยนื 2. การพัฒนาศักยภาพคนพิการในการต่อยอดอาชีพที่ได้รับการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ตามมาตรา 35 เพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพ และสำหรับคนพิการที่ทำงานในสถานประกอบการตามมาตรา 33 ควรได้รับการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทักษะการปรับตัว เพื่อให้สถานประกอบการรับคนพิการ เขา้ ทำงานทม่ี ศี กั ยภาพเช่นคนปกติ 3. การส่งเสริมองค์กรภาคีเครือข่าย อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) และสภาเดก็ และเยาวชน ให้มีความเข้มแข็งและเขา้ มามีสว่ นร่วมในการพฒั นาชุมชน 4. การส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุแก่คนในชุมชน กลุ่ม/ชมรม ผู้สูงอายุ มีการผลิต ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อแสวงหาช่องทาง การตลาดสมัยใหมไ่ ด้ ทำใหส้ ามารถเพม่ิ มลู ค่าของผลิตภณั ฑ์นั้นได้ -------------------------------------------------------------- รายงานสถานการณ์ทางสังคมกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก
90 บรรณานุกรม 1. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2563). สืบคน้ 19 มถิ นุ ายน 2564, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/marry/new/stat-gen/static.php?divorce 2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมน่ั คงของมนุษย.์ (2564). แมเ่ ลย้ี งเด่ียวฐานะยากจนท่ีตองเล้ียงดูบุตรเพยี งลําพัง 3. ข้อมลู จากการสำรวจภาวะเศรษฐกจิ และสงั คมของครัวเรือน สำนกั งานสถติ แิ หง่ ชาติ (www.nso.go.th) ประมวลผลโดย : สำนกั พฒั นาฐานข้อมลู และตัวชว้ี ดั ภาวะสังคม สำนกั งานสภาพัฒนาการเศรษฐกจิ และ สังคมแหง่ ชาติ ขอ้ มูล ณ วนั ท่ี 31 ธันวาคม 2562 4. จำนวนผู้ได้รบั วัคซนี โควิด - 19 ในประเทศไทย (วนั ท่ี 14 กันยายน 2564), สำนักข่าว THE STANDARD, 2564) 5. ผลิตภัณฑภ์ าคและจังหวัด แบบปรมิ าณลกู โซ่ ฉบับ พ.ศ. 2563 สำนกั งานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ 6. ระบบรายงานศนู ยช์ ว่ ยเหลอื สงั คม สายด่วน 1300 : http://hotline1300.m-society.go.th 7. ระบบสถติ ทิ างทะเบยี น ข้อมลู ทางการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (www.dopa.go.th) ณ ธันวาคม 2563 8. รายงานสถานการ์ณทางสังคม ปี 2564 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 7 จังหวัดตะวันออก ขอ้ มลู ณ วันท่ี 31 กรกฎาคม 2564 9. ศูนยค์ ุ้มครองคนไรท้ ่ีพึ่ง 7 จังหวดั ภาคตะวันออก ข้อมลู ณ วนั ท่ี 16 มถิ นุ ายน 2564 10. ศนู ยบ์ ริการคนพิการ 7 จังหวดั ภาคตะวนั ออก ข้อมลู ณ วนั ท่ี 30 มถิ นุ ายน 2563 (http://dep.go.th/) 11. ศนู ยบ์ รหิ ารโควิด-19 (ศบค.) ข้อมูล ณ วนั ท่ี 14 กันยายน 2564 12. สืบค้นสื่อออนไลน์ (https:/th.wikipedia.org/wiki ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564) 13. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสอ่ื สาร สำนกั งานปลัดกระทรวงศึกษาธกิ าร ณ กรกฎาคม 2563 (www.mis.moe.go.th) 14. สถาบนั วจิ ัยเพอ่ื การพัฒนาประเทศไทย (ทดี อี ารไ์ อ) ขอ้ มลู ณ วนั ที่ 24 เมษายน 2564 15. สำนกั งานจดั หางานจังหวดั 7 จังหวัดภาคตะวันออก 16. สำนักงานท้องถิน่ 7 จงั หวัดภาคตะวนั ออก (2563). ผูสูงอายุจงั หวัดระยองทีไ่ ดรบั เบ้ียยังชพี 17. สำนักงานป้องกนั และปราบปรามยาเสพตดิ ภาค 2.(2564). ผ้ตู ิดยาเสพตดิ 18. สำนกั งานพัฒนาสงั คมและความมัน่ คงของมนษุ ย์จังหวัด ภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จนั ทบรุ ี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ขอ้ มูล ณ วนั ท่ี 31 กรกฎาคม 2564 19. สำนกั งานสถิตแิ ห่งชาติ กระทรวงดจิ ทิ ัลเพื่อเศรษฐกิจและสงั คม (www.nso.go.th) ณ วันท่ี 31 ก.ค. 2563 20. สำนักงานสภาพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคมแหง่ ชาติ.(2562). สืบคน้ 19 มถิ นุ ายน 2564, จาก https://logbook.tpmap.in.th/table 21. สำนกั งานสาธารณสุข 7 จังหวัดภาคตะวนั ออก ขอ้ มูล ณ วันที่ 31 สงิ หาคม 2564 22. HDC Report กระทรวงสาธารณสขุ ขอ้ มลู ณ 31 กรกฎาคม 2563
91 คณะผู้จัดทำรายงานสถานการณท์ างสงั คมจังหวัดระยอง ปี 2564 ทีป่ รกึ ษา : นางร่งุ ทวิ า สุดแดน ผอู้ ำนวยการสำนักงานสง่ เสรมิ และสนับสนุนวิชาการ 2 ฝา่ ยขอ้ มลู และเรียบเรียง : นางสุดารัตน์ ทฤษฏิคุณ หวั หนา้ กลมุ่ นโยบายและยุทธศาสตร์ นางสาวสุวิมล น้อยใจรักษ์ นักพฒั นาสงั คมชำนาญการ นายสุบิน จุญพันธ์ นกั พฒั นาสงั คม นายพงษ์พฒั น์ ศรบี ุญณะ พนักงานบริการ นางสาวพทุ ธดิ า เยาวรักษ์ (นักศกึ ษาฝึกงาน จากมหาวิทยาลยั บูรพา) นางสาวอารยา สุจวิ ัฒน์ (นักศึกษาฝึกงาน จากมหาวทิ ยาลัยบรู พา) กลุ่มนโยบายและยทุ ธศาสตร์ สำนักงานส่งเสริมและสนบั สนนุ วิชาการ 2 จงั หวดั ชลบรุ ี สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความม่ันคงของมนุษย์ เลขท่ี 172/9 ม.4 ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบรุ ี 20150 โทร.0-3824-0938-9 แฟกซ์. 038-241-821 อีเมล์ : [email protected] รายงานสถานการณท์ างสงั คมกลุ่มจังหวัดภาคตะวนั ออก
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110