Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

Published by Be Bell, 2021-12-11 07:39:04

Description: ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีกับจิตรกรรมไทย

Search

Read the Text Version

ความสัมพันธ์ ระหว่างวรรณคดี กับจิตรกรรมไทย นางสาว สุจิรา ลิมป์วรกุล เลขที่17 ม.4/5

จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่าง ของไทยที่แตกต่างจากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะ มีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็ดัดแปลง คลี่คลาย ตัด ทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองได้อย่าง สวยงามลงตัว มีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบและวิธีการมาตลอด จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรม ไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่าง ของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้ หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว

ลายกระหนก ลายไทย ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูป ร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูป เทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น

เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ มีคุณค่าทาง ศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า มีเรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมือง ต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย วิวัฒนาการ ของงานจิตรกรรมไทย แบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรมที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ จิตรกรรมในสมัยอยุธยา จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย จิตรกรรม จิตรกรรมฝาผนังวัดไชยทิศ จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ ไทย จิตรกรรมในสมัยอยุธยา จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย

จิตรกรรมไทยในสมัยอยุธยา จิตรกรรมฝาผนัง วัดใหญ่สุวรรณาราม จิตรกรรมในสมัยอยุธยาส่วนใหญ่ จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา โดยช่วงแรกจะได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบ ศิลปะการเขียนภาพสมัยอยุธยาตอนปลาย ลพบุรี สุโขทัย และลังกาผสมผสานกัน บางภาพจะมีลักษณะแข็งและหนัก ใช้สีดำ ขาว และแดง มีการปิดทองบน ภาพบ้างเล็กน้อย เช่น ภาพเขียนบนผนังในกรุพระปรางค์ วัดราชบูรณะ ซึ่งสร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ภาพเขียนบนผนังในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์ เป็นต้น แต่ช่วงหลัง จิตรกรรมสมัยอยุธยามักวาดภาพที่เกี่ยวกับไตรภูมิ และมีภาพพุทธประวัติประกอบอยู่ด้วย ซึ่งวิธีการเขียนภาพจะ เป็นเช่นเดียวกับจิตรกรรมฝาผนังสมัยสุโขทัยที่นิยมใช้สีแดงเข้มเป็นพื้น แต่สมัยอยุธยาจะมีการใช้สีเพิ่มมากขึ้น อาทิ ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร จังหวัด ราชบุรี วัดใหม่ประชุมพล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.2172–2199) จนสิ้นสุดสมัยอยุธยา จิตรกรรมของอยุธยา แสดงให้เห็นถึงลักษณะของจิตรกรรมไทยแท้อย่างสมบูรณ์ มีการปิด ทองบนรูปและลวดลาย เนื้อเรื่องที่เขียนจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพชุมนุม พุทธประวัติ ไตรภูมิ วิธีการเขียนยังคงใช้สี น้อย ภาพมีลักษณะแบน และตัดเส้นด้วยสีขาว และสีดำ

จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย เป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญ ทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่าง ไกล ฯลฯ เหล่านี้ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินใน ยุคต่อๆ มา ซึ่งได้พัฒนาไปตาม สภาพแวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างมคีุณค่าเช่น เดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วม สมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทาง เดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกใน ลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย

วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีกับจิตรกรรมไทย จิตรกรรมได้ก่อให้เกิดความชื่นชมและความประทับใจต่อกวี กวีได้ถ่ายทอดความ ชื่นชมนั้นลงในวรรณคดีอย่างแจ่มชัด จิตรกรรมได้รับความรู้และความบันดาลใจจาก วรรณคดีไปสร้างสรรค์งานของตนอย่างมากมาย

1 การเผยแพร่ความรู้ สร้างความเข้าใจ และตระหนักในคุณค่าของจิตรกรรม 2 การสงวนรักษาและซ่อมบำรุง โดยการรักษา ของเก่าไว้ให้ได้มากที่สุดไม่ใช่การ ทำขึ้นใหม่ วิธีการอนุรักษ์ 3 การจัดทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อน เป็นการสร้างความ จิตรกรรมไทย สำคัญทำให้ผู้คนใน ท้องถิ่นเห็นคุณค่าและให้ความสำคัญ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook