Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แผนปฏิบัติการจังหวัดสะอาดจังหวัดพังงา 2563

แผนปฏิบัติการจังหวัดสะอาดจังหวัดพังงา 2563

Published by jtt_mk99, 2020-04-16 03:09:34

Description: แผนปฏิบัติการ63

Search

Read the Text Version

แผนปฏบิ ัติการ จัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จังหวดั สะอาด” จังหวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนกั งานสง่ เสรมิ การปกครองทอ้ งถน่ิ จงั หวดั พงั งา

คำนำ แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖3 วางอยู่บนแนวคิด ๓Rs ตามแนวทางประชารัฐ คือ การส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการที่ยั่งยืน คือการลดปริมาณขยะจากครัวเรือน (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) โดย คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการปญั หา ได้แก่ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ภาคเอกชน ภาคประชาชน/ประชาสงั คม ภาคการศกึ ษาและศาสนสถาน แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน”จังหวัดสะอาด”จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖3 นอกจากมงุ่ ลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะ (ต้นทาง) แล้ว ยังมุ่งสร้างระบบการเก็บขนขยะ (กลางทาง) ซึ่งเป็น หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อนำไปสู่ การกำจัดขยะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ (ปลายทาง) เช่น การแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง การแปรรูป เป็นพลังงานไฟฟ้า การนำไปผ่านกระบวนการเพอื่ ผลิตเปน็ ปยุ๋ อินทรีย์ต่าง ๆ ท่เี ป็นมติ รต่อสิ่งแวดลอ้ มตอ่ ไป การจัดการขยะมูลฝอยตามแผนปฏบิ ตั ิการจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน”จงั หวัดสะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ.๒๕๖3 จะประสบผลสำเรจ็ เพียงใดข้ึนอยกู่ ับทกุ ภาคส่วนท่ีจะชว่ ยกนั ขับเคลอื่ นต่อไป จงั หวดั พงั งา แผนปฏบิ ัติการจัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จังหวัดสะอาด” จังหวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า ก

สารบัญ หน้า เรอ่ื ง 1 1 บทที่ 1 บทนำ 3 1. หลกั การและเหตผุ ล 5 2. แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชนจงั หวัดพงั งา ปี พ.ศ. 2563 5 6 บทท่ี 2 สถานการณ์ขยะมูลฝอยในภาพรวมของจังหวัดพังงา 1. นิยามและความหมาย 7 2. อัตราการผลติ และปริมาณของขยะมูลฝอย 9 3. สรุปผลการดำเนนิ การตาม แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” 10 ประจำปี พ.ศ. 2562 10 4. รูปแบบการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอย 12 20 บทท่ี 3 บทบาทหน้าที่ มาตรการ และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยเพ่ือนำไปสู่ความสำเร็จ 20 1. บทบาทหน้าท่ขี องหนว่ ยงานทเี่ กย่ี วข้อง 2. มาตรการและแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยเพ่ือนำไปสู่ความสำเรจ็ 22 บทที่ 4 แผนปฏิบัตกิ ารตามมาตรการและแนวทางการดำเนนิ การเพอื่ นำไปสเู่ ป้าหมายการปฏบิ ัติ 24 1. มาตรการลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนดิ (ต้นทาง) 26 2. มาตรการเพ่ิมประสิทธิภาพการเกบ็ ขนขยะมูลฝอยของ องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ิน (กลางทาง) 35 3. มาตรการเพ่มิ ศักยภาพและประสทิ ธิภาพการกำจัดขยะมลู ฝอยชุมชนใหไ้ ดร้ ับ การจัดการอยา่ งถกู ต้องตามหลกั วิชาการ (ปลายทาง) มาตรการ แนวทางและกจิ กรรมการดำเนินการเพอ่ื นำไปสเู่ ป้าหมายการปฏิบตั ิ มาตรการ แนวทางและกิจกรรมสง่ เสรมิ และสนับสนุนการบริหารจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน ตง้ั แตต่ น้ ทาง กลางทาง และปลายทาง แผนปฏิบตั กิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า ข

บทท่ี 1 บทนำ 1. หลกั การและเหตผุ ล ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บท การบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 - 2564) ตามท่ีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดล้อม เสนอ เพอื่ ใช้เป็นกรอบและทิศทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจดั การขยะมูลฝอย และขยะอันตรายของประเทศ ซึง่ มีสาระสำคญั ให้เกิดการจัดการขยะมลู ฝอยอยา่ งครบวงจร โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคสว่ น ท้งั ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีวิธีการที่สำคัญ ไดแ้ ก่ การลดการเกดิ ขยะมูลฝอยหรือขยะอันตราย ท่แี หลง่ กำเนิด การนำขยะมูลฝอยกลบั มาใช้ซ้ำและใชป้ ระโยชน์ใหม่ การเก็บขนขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ การกำจัดขยะมูลฝอยด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การส่งเสริม ภาคเอกชนใหเ้ ข้ามามสี ่วนร่วมในการแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานหรือเช้ือเพลิง แผนยทุ ธศาสตรช์ าติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580) เพื่อใช้ ในการขบั เคลือ่ นการพฒั นาประเทศสูค่ วามม่ันคง มง่ั ค่งั และยง่ั ยนื ภายใตร้ า่ งกรอบยุทธศาสตรช์ าติ (พ.ศ. 2561 – 2580) ไดร้ ะบุถึงปัญหาในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญกับภาวะขยะล้นเมืองและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง ในทุกด้าน กรอบยุทธศาสตร์ฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง” โดยในมติ ิ “ความยั่งยืน” ไดร้ ะบุถงึ การพัฒนาทีส่ ามารถสร้างความเจริญ รายไดแ้ ละคุณภาพชวี ิตของประชาชนให้เพ่ิมขนึ้ อยา่ งต่อเนื่อง ซง่ึ เปน็ การเจรญิ เติบโตของเศรษฐกจิ ท่ีไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิน ความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนเิ วศน์ การผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคมโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกนั ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละ เพอ่ื ผลประโยชน์ส่วนรวม ม่งุ ประโยชนส์ ว่ นรวมอย่างย่ังยืน และประชาชนทุกภาคสว่ นในสังคมยึดถือและ ปฏบิ ัตติ ามปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากน้ี ยงั ได้กำหนดเป้าหมายอนาคตประเทศไทยใน 20 ปี ข้างหน้า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม คือ การขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปสู่เศรษฐกิจและสังคมพัฒนา อย่างเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจสีเขียว ระดับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำ มีพื้นที่สีเขียวใหญ่ข้ึน ประชาชนมพี ฤตกิ รรมการผลิตและการบรโิ ภคทีเ่ ป็นมติ รต่อส่ิงแวดลอ้ ม เปา้ หมายของแผนแมบ่ ทการบริหารจดั การขยะมลู ฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 - 2564 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๔ กำหนดเป้าหมายในการ จัดการขยะมลู ฝอยของประเทศ ดงั น้ี 1. ขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของปริมาณ ขยะมูลฝอยที่เกดิ ขึน้ ภายในปี 2564 2. ขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ร้อยละ 100 ของปริมาณขยะ มลู ฝอยตกคา้ งของปี 2558 ภายในปี 2564 แผนปฏิบตั ิการจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 1

3. ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการรวบรวม และส่งไป กำจัดถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของ ปรมิ าณของเสียอนั ตรายชุมชน ท่เี กิดขึ้น ภายในปี 2564 4. มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลัก วิชาการ ร้อยละ 100 ของปริมาณขยะมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้น ภายในปี 2564 5. กากอตุ สาหกรรมทเี่ ป็นอนั ตรายเขา้ สรู่ ะบบการจัดการ ที่ถูกต้อง ร้อยละ 100 ของปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เป็น อนั ตรายที่เกิดขึ้น ภายในปี 2564 6. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายชุมชนที่ต้นทาง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของ จำนวนองค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ ทว่ั ประเทศ ภายในปี 2564 แผนปฏบิ ตั กิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จังหวดั สะอาด” จังหวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 วางอยู่ บนแนวคิด 3Rs หรือ ๓ ช คือ การส่งเสริมการจัดการขยะที่ต้นทาง ซึ่งเป็นการจัดการ ที่ยั่งยืน คือการลดปริมาณขยะจากแหล่งต้นทาง (Reduce, ใช้น้อย) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ซึ่งการจัดการ ขยะนั้น มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะจากครัวเรือน ส่งเสริมการคัดแยก ขยะจากต้นทาง เป็นการเพิ่มมูลค่าหรือแปรรูปขยะ ซึ่งจะส่งผลให้ ปริมาณขยะในภาพรวมทั้งจังหวัดลดลง ทำให้ปริมาณขยะที่จะต้อง เข้าสู่ระบบการกำจัดลดลง และมีการกำจัดที่ถูกวิธีเพิ่มมากขึ้น ตามแนวคิดเรื่อง “ประชารัฐ” คือการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วนในการจัดการปัญหา ได้แก่ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชน/ประชาสังคม ภาคการศึกษา และศาสนสถาน เป็นต้น แผนปฏบิ ตั ิการจัดการขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 นอกจาก การมุ่งลดปริมาณขยะและการคัดแยกขยะ (ต้นทาง) แล้ว ยังมุ่งสร้างระบบการเก็บขนขยะ (กลางทาง) ซึ่งเป็น หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการใหม้ ีประสิทธิภาพมากย่ิงขึ้น เพื่อนำไปสู่ การจัดการหรือการกำจัดขยะอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ (ปลายทาง) เช่น การแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิง การแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า การนำไปผ่านกระบวนการเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคตต่อไป แผนปฏิบัตกิ ารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 2

2. แนวทางการจดั การขยะมลู ฝอยชุมชนของจังหวัดพังงาปี พ.ศ. 2563 การจัดการขยะมูลฝอยอย่างครบวงจรและมุ่งสู่ความยั่งยืน ต้องอาศัยการจัดการแหล่งที่มาของสิ่ง ที่ก่อให้เกิดขยะ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือพฤติกรรมของประชาชนในการดำรงชีวิตประจำวันตลอดจนการมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ในรูปของ”ประชารัฐ” หรือในรูปของ “บวร” โดยดำเนนิ การบนแนวคิด มาตรการต่าง ๆ ดงั นี้ 2.1 แนวคิดพื้นฐาน โดยใช้หลัก 3 Rs ได้แก่ Reduce ลด (โดยคิดก่อนใช้) Reuse ใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีกหากยังใช้ได้) และ Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) และหลักการประชารัฐ คือ การส่งเสริมบทบาท ของทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาคราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคการศาสนา ภาคประชาชนและประชาสงั คม 2.2 มาตรการการจดั การขยะท้ัง ๓ ระยะ ไดแ้ ก่ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ประกอบด้วย 1) มาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยท่ีแหลง่ กำเนิด คอื สนับสนนุ และขยายผลให้มีการจัดการ ขยะมูลฝอยตั้งแต่ครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ รวมทั้งสถานบริการต่าง ๆ ทั้งในชุมชนและสถานที่ ท่องเที่ยว ส่งเสริมใหเ้ กิดการลดการเกิดขยะมูลฝอยทุกวิถีทาง ตั้งแต่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุม้ ค่า มุ่งเน้น การลดใชถ้ งุ พลาสตกิ และโฟม และซอ้ื ผลิตภัณฑ์ที่เปน็ มิตรกบั สง่ิ แวดล้อม เพื่อลดปริมาณการเกดิ ขยะมูลฝอยชุมชน 2) มาตรการเพิ่มศักยภาพการเก็บขน คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัดดำเนินการ จัดระบบการเก็บรวบรวมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บขนขยะมูลฝอยประเภทต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ การกำจดั อยา่ งถูกตอ้ งตามหลกั วชิ าการตอ่ ไป 3) มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการ คือ สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตั้งแต่ระดับเยาวชนและ ประชาชนทั่วไป เขา้ มามีสว่ นร่วมในการจัดการขยะมลู ฝอย 4) มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง 5) มาตรการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานของภาครฐั ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม/ภาคประชาชน เปา้ ประสงคแ์ ผนปฏิบตั ิการจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จังหวดั สะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 1. ขยะมลู ฝอยมีการนำกลบั ไปใช้ประโยชนเ์ พิม่ ขึน้ 2. ขยะมลู ฝอยตกค้างสะสมได้รบั การกำจัดอย่างถูกต้องตามหลกั วิชาการ 3. ขยะมูลฝอยไดร้ บั การจดั การอย่างถกู ต้องตามหลักวชิ าการเพมิ่ ขึน้ 4. ขยะอันตรายได้รับการกำจดั อย่างถกู ตอ้ งตามหลกั วชิ าการเพมิ่ ขึ้น 5. ประชาชนในพนื้ ที่มีความตระหนกั และความเข้าใจในการจัดการขยะทต่ี ้นทางเพ่ิมขึน้ 6. การดำเนนิ การเพ่ือสรา้ งความเปน็ ระเบยี บเรยี บร้อยและสุขภาวะที่ดีของทอ้ งถ่ินและจังหวดั แผนปฏบิ ตั ิการจดั การขยะมูลฝอยชมุ ชน “จังหวัดสะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 3

ตวั ชว้ี ดั เปา้ ประสงคแ์ ผนปฏิบตั กิ ารจัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จงั หวัดสะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 1. ดา้ นการจัดการขยะต้นทาง 1.1 องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ ร้อยละ 100 ออกข้อบญั ญัต/ิ เทศบญั ญตั กิ ารจัดการขยะมลู ฝอย 1.2 ครวั เรือน รอ้ ยละ 100 มกี ารบริหารจดั การขยะอินทรยี ์ 1.3 ครวั เรือน รอ้ ยละ 60 เขา้ ร่วมเครือขา่ ย “อาสาสมัครท้องถ่ินรักษโ์ ลก” เพ่อื ส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอย 2. ดา้ นการจดั การขยะกลางทาง 2.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยแบบแยกประเภทในที่ สาธารณะและหรือสถานท่ที ่องเทีย่ วทกุ แหง่ 2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 80 มีการวางระบบการเกบ็ ขนหรือมีประกาศเก็บขนขยะมูลฝอย ให้สอดคล้องกับพนื้ ที่ 2.3 หมบู่ า้ น/ชมุ ชน รอ้ ยละ 100 มีการจัดต้งั “จดุ รวบรวมขยะอนั ตรายชุมชน” 3. ดา้ นการจัดการขยะปลายทาง 3.1 ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึน้ และเก็บขนได้ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 ร้อยละ 80 ได้รับการจดั การ อย่างถกู ต้องตามหลกั วชิ าการ 3.2 ขยะมูลฝอยตกคา้ งได้รบั การจดั การอย่างถูกต้อง รอ้ ยละ 100 3.3 กลมุ่ พืน้ ท่ใี นการจดั การมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิน่ รอ้ ยละ 100 แผนปฏบิ ัตกิ ารจัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จงั หวัดสะอาด” จังหวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 4

บทที่ 2 สถานการณข์ ยะมูลฝอยในภาพรวมของจงั หวัดพงั งา 1. นิยามและความหมาย มลู ฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินคา้ ถุงพลาสตกิ ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น (พระราชบัญญัติ การสาธารณสขุ , 2535) ขยะมูลฝอย (Solid waste) คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะท่ใี ส่อาหาร เถ้า มูลสตั ว์ซากสตั ว์ หรือสง่ิ อื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ท่เี ลีย้ งสัตวห์ รอื ท่ีอนื่ และหมายความ รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากชุมชนหรือครัวเรอื น ยกเว้นวัสดุท่ีไม่ใช้แล้วของโรงงาน ซึ่งมี ลกั ษณะและคุณสมบตั ทิ ี่กำหนดไวต้ ามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (กรมควบคมุ มลพิษ, 2548) ขยะย่อยสลาย (Compostable waste) หรือ มูลฝอยย่อยสลาย คือ ขยะที่เน่าเสียและ ย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนื้อสัตว์ เป็น ต้น แตจ่ ะไมร่ วมถงึ ซากหรอื เศษของพืช ผกั ผลไม้ หรือสตั ว์ทีเ่ กิดจากการทดลองในหอ้ งปฏบิ ตั ิการ โดยขยะทย่ี ่อยสลาย น้ีเป็นขยะทพ่ี บมากทสี่ ุด คือ พบมากถึงร้อยละ 64 ของปริมาณขยะท้ังหมดในกองขยะ (กรมควบคมุ มลพษิ , 2558) ขยะรีไซเคิล (Recyclable waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซ่ึงสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ เศษพลาสติก กล่องเครื่องด่ืมแบบ UHT กระป๋องเครื่องด่ืม เศษโลหะ อะลูมิเนียม ยางรถยนต์ เป็นตน้ สำหรับขยะรีไซเคิลน้ีเป็นขยะท่ีพบมากเป็นอันดับท่ีสองในกองขยะ กล่าวคือ พบประมาณร้อยละ 30 ของปรมิ าณขยะทงั้ หมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2558) ขยะอันตราย (Hazardous waste) หรือ มูลฝอยอันตราย คือ ขยะที่มีองค์ประกอบหรือ ปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิด ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วั ตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถกุ ัมมันตรังสี วัตถุท่ที ำให้เกดิ การเปล่ยี นแปลงทางพันธุกรรม วตั ถุกัดกรอ่ น วัตถทุ ีก่ อ่ ให้เกดิ การระคายเคอื ง วตั ถุ อย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถา่ นไฟฉาย หลอดฟลูออเรสเซนต์ แบตเตอรีโ่ ทรศัพทเ์ คลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศตั รูพืช กระป๋องสเปรย์ บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น ขยะอันตรายนี้เป็นขยะที่มักจะพบได้น้อยที่สุด กล่าวคือ พบประมาณเพียงร้อยละ 3 ของปรมิ าณขยะท้ังหมดในกองขยะ (กรมควบคุมมลพิษ, 2548) ขยะทั่วไป หรือ มูลฝอยทั่วไป (General waste) คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น หอ่ พลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจผุ งซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหม่ีก่ึงสำเร็จรปู ถงุ พลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอยล์เปื้อนอาหาร เป็นต้น สำหรับขยะทั่วไปนี้เป็นขยะที่มีปริมาณใกล้เคียงกับขยะอันตราย กล่าวคอื จะพบประมาณร้อยละ 3 ของปรมิ าณขยะทัง้ หมดในกองขยะ (กรมควบคมุ มลพิษ, 2558) มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น ซึ่งถ้ามี การสมั ผัสหรือใกลช้ ิดกบั มลู ฝอยน้นั แลว้ สามารถทำให้เกิดโรคได้ แผนปฏบิ ตั ิการจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 5

กรณมี ลู ฝอยดงั ต่อไปนี้ที่เกิดขึน้ หรือใช้ในกระบวนการตรวจวนิ จิ ฉยั ทางการแพทยแ์ ละการรักษาพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัย เรือ่ งดังกลา่ ว ใหถ้ ือว่าเปน็ มลู ฝอยตดิ เช้ือ (กฎกระทรวงสาธารณสุข วา่ ด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ, 2545) (1) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์ หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพ หรือ ซากสตั ว์ และการใช้สัตว์ทดลอง (2) วสั ดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมดี กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะทท่ี ำดว้ ยแกว้ สไลด์ และกระจกปิดสไลด์ (3) วัสดุซึ่งสมั ผัสหรอื สงสยั วา่ จะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลอื ด สารนำ้ จากรา่ งกายของมนษุ ยห์ รือสัตว์ หรอื วัคซนี ทท่ี ำจากเชอื้ โรคทม่ี ีชีวติ เชน่ สำลี ผ้าก๊อซ ผา้ ต่าง ๆ และท่อยาง (4) มูลฝอยทกุ ชนดิ ที่มาจากหอ้ งรกั ษาผปู้ ่วยตดิ เชื้อร้ายแรง กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย หมายถึงขยะอันตรายที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานประกอบการ ในการกำกบั ของกระทรวงอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัตโิ รงงาน พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญตั ิวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 2. อัตราการผลิตและปริมาณของขยะมลู ฝอย 2.1 องคป์ ระกอบขยะมลู ฝอย จากผลการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดพังงา พบว่า ใน ปี พ.ศ. 2560 สัดส่วนองค์ประกอบของขยะมูลฝอยแต่ละประเภทของจังหวัดพังงา (แบ่งแยกประเภท ขยะตามขอ้ มูลของกรมควบคุมมลพิษ) ดงั นี้ ขยะท่ัวไป จำนวน 28,475.75 ตนั ขยะอนิ ทรีย์ จำวนวน 13,162.52 ตนั ขยะรีไซเคิล จำนวน 8,772.07 ตนั ขยะอันตราย จำนวน 224.17 ตนั ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment: WEEE) จำนวน 100.93 ตนั สถานการณ์การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนจังหวัดพังงา พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกือบทุกแห่ง ยังไม่มีระบบบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนที่เป็นระบบครบวงจร ตั้งแต่การคัดแยก รวบรวม ขนส่งและกำจดั (มลู ฝอยตดิ เชอื้ ) การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลในปี 2561 พบว่า โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวง สาธารณสขุ ของรฐั ในจังหวดั พังงา กำจดั ได้ 100 % แผนปฏบิ ัติการจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 6

2.2 การคดั แยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ประโยชนใ์ หม่ ในปี พ.ศ. 2562 สถานการณ์การใช้ประโยชน์จากขยะในพื้นที่จังหวัดพังงา ประกอบด้วย กิจกรรมการ จัดการขยะเปยี ก กิจกรรมธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคลิ กิจกรรมสง่ิ ประดิษฐ์จากวัสดรุ ไี ซเคิล กิจกรรมปุ๋ยนำ้ หมกั ชวี ภาพจาก ขยะอินทรีย์ กิจกรรมคัดแยกขยะของพนักงานท้ายรถขยะ โดยจากการสอบถามข้อมูลด้านการจัดการขยะของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพังงา เบื้องต้นพบว่าในครัวเรือนและตลาดสดบางแห่งได้มีการคัดแยกขยะ อินทรีย์และขยะรีไซเคิล บางส่วนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ประมาณ 21 ตัน/ปี หรือประมาณ 28.89 % ขยะที่ เกิดข้นึ ทง้ั หมด 3. สรปุ ผลการดำเนินการตาม แผนปฏิบตั ิการจดั การขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖2 ตวั ชว้ี ดั เปา้ ประสงคต์ ามแผน จากการดำเนินการตาม“แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖2” ของจังหวดั พงั งา มีผลการดำเนนิ งาน ดังน้ี 1. ดา้ นการบรหิ ารจดั การ 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พังงา) มีการรายงานข้อมูลในแบบ รายงานผลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ผ่านระบบสารสนเทศของกรมสง่ เสรมิ การปกครองท้องถน่ิ (มฝ.2) จำนวน 51 แหง่ คดิ เปน็ รอ้ ยละ 100 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมด 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พังงา) ออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ จัดการขยะมูลฝอย จำนวน 44 แห่ง คดิ เป็นร้อยละ 86.27 3) จังหวดั พังงามีการประชุมคณะกรรมการส่ิงปฏกิ ูลและมลู ฝอยจงั หวัดจำนวน 2 คร้งั 2. ดา้ นการจดั การขยะตน้ ทาง 1) องคก์ รปกครองสว่ นท้องถิ่น ทัง้ หมด 51 แห่ง (ไมร่ วมอบจ.พงั งา) มีการจัดกจิ กรรมรณรงค์ 3ช: ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3Rs: Reduce Reuse Recycle ให้เป็นรูปธรรมและเกิดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 51 แห่ง คิดเปน็ ร้อยละ 100% 2) การจดั การขยะเปียกจากครัวเรือน จังหวดั พังงามีจำนวนครวั เรือน ทงั้ สนิ้ 56,479 ครัวเรือน (ตามข้อมูล จปฐ.ปี 2561) ครัวเรือนท่ีจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน จำนวน 2,926 ครัวเรือน และครัวเรือน ท่ีจัดการขยะเปยี กโดยวธิ ีอน่ื ๆ จำนวน 53,553 ครัวเรือน รวมทงั้ สิ้น 56,479 ครวั เรอื น คดิ เป็นรอ้ ยละ 100 3) ขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดพังงา ปี พ.ศ. 2562 (ช่วงเดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) จำนวน 75,327.5297 ตนั ขยะมลู ฝอยทถี่ ูกนำไปใช้ประโยชน์ 21,763.7450 ตัน คดิ เป็นรอ้ ยละ 28.89 4) การจดั ต้ังกลุ่มกิจกรรมเพื่อนำขยะที่คดั แยกแลว้ ไปจำหน่ายหรือแลกเปล่ียนเป็นเงินหรือสิ่งของ ที่มีมูลค่า เช่น ตลาดนัดขยะ ฯลฯ โดยจังหวัดพังงามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พังงา) มีการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมเพื่อนำขยะที่คัดแยกแล้วไปจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือสิง่ ของที่มีมูลค่า จำนวน 13 แหง่ คดิ เปน็ ร้อยละ 25.49 5) จำนวนครวั เรอื นในจังหวัด ทง้ั สน้ิ 194,878 ครัวเรอื น เข้ารว่ มเครือขา่ ย “อาสาสมัครทอ้ งถิ่น รักษโ์ ลก” เพื่อส่งเสรมิ การจดั การขยะมลู ฝอย จำนวน 35,874 ครวั เรอื น คิดเป็นรอ้ ยละ 18.41 แผนปฏิบตั กิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จงั หวัดสะอาด” จังหวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 7

6) องค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่ินในจังหวัดเปน็ เจ้าภาพการจัดกิจกรรมเพือ่ ให้ “อาสาสมัครท้องถ่ิน รกั ษ์โลก” ได้ดำเนินกจิ กรรมเก่ียวกับส่งิ แวดลอ้ มทเี่ ปน็ ประโยชน์กับทอ้ งถิน่ อยา่ งน้อยปีละ 6 คร้งั ผลการดำเนินงาน 1.กจิ กรรม “อาสาสมคั รท้องถิ่นรกั ษโ์ ลก” เก็บขยะบริเวณชายหาด 2.กจิ กรรม “อาสาสมัครทอ้ งถนิ่ รกั ษ์โลก” เดินรณรงค์ทำความสะอาดหมูบ่ า้ นชุมชน 3.กจิ กรรม “อาสาสมคั รท้องถิ่นรกั ษ์โลก” พฒั นาภมู ิทศั นพ์ น้ื ทีส่ าธารณะ 4.กิจกรรม “อาสาสมคั รท้องถน่ิ รักษ์โลก” โครงการพฒั นา วัดสรา้ งสุข 5.กจิ กรรม “อาสาสมคั รทอ้ งถ่นิ รกั ษโ์ ลก” พฒั นาทำความสะอาดวัด 6.กจิ กรรม “อาสาสมัครทอ้ งถนิ่ รกั ษโ์ ลก” ปลกู ต้นไมเ้ พอื่ รกั ษาสิ่งแวดลอ้ มในชุมชน 3. ดา้ นการจดั การขยะกลางทาง 1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พังงา) มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยแบบ แยกประเภทในสถานท่สี าธารณะ อยา่ งน้อยจุดละ 2 ถัง จำนวน 51 แห่ง คดิ เป็นร้อยละ 100 2) จังหวัดพังงามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการเก็บขนจำนวน 47 แห่ง องค์กรปกครอง สว่ นทอ้ งถนิ่ ท่ีมีการวางระบบการเก็บขนขยะมูลฝอย จำนวน 42 แห่ง คดิ เป็นร้อยละ 89.36 3) จังหวัดพังงามีหมู่บ้าน/ชุมชน มีการจัดตั้ง “จุดรวบรวมขยะอันตรายชุมชน 356 แห่งหมู่บ้าน/ ชุมชน มกี ารจัดตั้ง “จดุ รวบรวมขยะอันตรายชมุ ชนจำนวน 356 แห่ง คิดเป็นรอ้ ยละ 100 4. ด้านการจัดการขยะปลายทาง 1) จังหวัดพังงามีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพังงา 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พังงา) องค์กร ปกครองสว่ นท้องถ่ินที่มีการจัดเก็บและรวบรวมขยะอันตรายส่งไปกำจัด/รอส่ง จำนวน 47 แหง่ คิดเปน็ รอ้ ยละ 92.16 2) ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นและเก็บขนได้ 50,507.72 ตัน ได้รับการจัดการ อย่างถูกตอ้ งตามหลักวชิ าการ 28,566.43 ตนั คิดเปน็ ร้อยละ 56.56 3) ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างของจังหวัดพังงา ตามข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ มีจำนวน 132,533.94 ตนั ยงั ไมไ่ ด้รับการจดั การ 4) กลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) จังหวัดพังงา มีจำนวน 7 Clusters กลุ่มพื้นที่ ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ท่ีมีการดำเนินการกำจัดขยะ หรือมีแผนการดำเนินการฯ โดยผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการจัดการสิง่ ปฏกิ ูลและมูลฝอยจงั หวัด จำนวน 3 Clusters คดิ เปน็ รอ้ ยละ 42.86 5. ด้านอืน่ ๆ 1) องคก์ รปกครองส่วนท้องถนิ่ ในจงั หวดั พังงา 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พงั งา) มถี นนอยา่ งนอ้ ย 1 สายทาง ความยาวไม่น้อยกว่า 500 เมตร เป็นถนนสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ตามแนวทางการดำเนินโครงการ “1 องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถ่นิ 1 ถนนท้องถิ่น ใส่ใจสงิ่ แวดลอ้ ม” จำนวน 51 แห่ง คิดเปน็ ร้อยละ 100 แผนปฏบิ ัตกิ ารจดั การขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 8

2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวดั พังงา 51 แห่ง (ไม่รวมอบจ.พังงา) มีการจัดทำโครงการ “1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 วัด ประชารัฐสร้างสุข 5 ส.” อย่างน้อยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละ 2 โครงการ ในปงี บประมาณ พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2562 จำนวน 42 แหง่ คดิ เป็นร้อยละ 82.35 3) องค์กรปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นในจังหวดั พงั งา 52 แห่ง มกี ารดูแล ปรบั ปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพ ที่ใช้การได้ดีและมีการจัดการตามแนวทางการดำเนินโครงการ “ห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย”จำนวน 52 แหง่ คิดเปน็ ร้อยละ 100 ๔. รูปแบบการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอย 4.1 การบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบการรวมกลุ่มขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นท่ีใน การจัดการมูลฝอย Clusters ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก (S) คือ กลุ่มที่มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันแล้ว น้อยกว่า ๓๐๐ ตัน/วนั จำนวน ๗ กลมุ่ มีองคก์ รปกครองสว่ นท้องถนิ่ จำนวน ๕๑ แห่ง เข้าร่วม (ซ่งึ มี ๔ แห่งท่ีอาจ แยกออกไปดำเนินการโดยประชาชนได้) 4.2 การบริหารจัดการขยะมูลฝอยโดยประชาชน เป็นการจัดการขยะในพื้นที่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่ไม่มีรถขยะ ซึ่งสภาพพื้นที่ค่อนข้างเป็นชนบทเพื่อขับเคลื่อนการเป็น Zero waste โดยต้องส่งเสริมการใช้ ทรัพยากร ที่มีอยู่นำกลับมาใช้ใหมเ่ พื่อเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสทิ ธิภาพสูงสดุ และเป็นการลดปรมิ าณของ เสียที่เกิดข้ึนให้เหลือน้อยที่สุด โดยการใช้หลักการมสี ่วนร่วมลดและคัดแยกขยะมูลฝอยท่ีต้นทางตามหลกั การ 3 ช : คือ ใช้น้อยลง ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ (3Rs : Reduce Reuse Recycle) มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๔ แหง่ ทจี่ ะดำเนนิ การได้แก่ ๑.ทต.เกาะยาวใหญ่ ๒.อบต.บางวนั ๓.อบต.ลำภี ๔.อบต.ทุง่ คาโงก แผนปฏิบัติการจัดการขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จงั หวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 9

บทที่ 3 บทบาทหน้าที่ มาตรการ และแนวทางการจดั การขยะมูลฝอยเพ่อื นำไปสู่ความสำเร็จ 1. บทบาทหนา้ ท่ีของหนว่ ยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ ง (ภายใต้แผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอย พ.ศ.2559-2564) แผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอย (พ.ศ.2559–2564) ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบทิศทาง การดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยและขยะอนั ตรายของประเทศ มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการขยะ การบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทั้ง ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน และที่สำคัญ ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ไว้ อย่างชัดเจน กระทรวงมหาดไทยในฐ านะหน่วยงานหลัก ที่รับผิดชอบขยะมูลฝอยชุมชน ประกอบกับเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ และแนวทางที่ เหมาะสม จึงเป็นพันธกิจและ ภารกิจที่จำเป็นในการจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอย ชุมชนของทั้งจังหวัดและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสามารถดำเนินการ จัดการขยะมูลฝอยได้อย่าง มีประสิทธภิ าพ แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 – 2564) ไดก้ ำหนดบทหน้าที่ ของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานภายใต้กระทรวงมหาดไทยไวด้ งั นี้ 1.1 บทบาทหนา้ ทก่ี ระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ในพ้ืนทท่ี ว่ั ประเทศ โดยดำเนนิ การ ดังนี้ 1.1.1 เร่งรัดการดำเนินการกำจัดขยะมลู ฝอยตกค้างทั่วประเทศให้หมดไป โดยกำกับดูแลจังหวดั และองคก์ รปกครองส่วนท้องถ่นิ ดำเนินการปิด และ/หรอื ปรับปรงุ ฟืน้ ฟสู ถานท่กี ำจัดขยะมูลฝอยเดิมให้ถูกต้อง 1.1.2 เป็นหนว่ ยงานจดั ตั้งงบประมาณการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.1.3 กำกับ ติดตาม เร่งรัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการ ขยะมูลฝอย ของกระทรวง จงั หวัด และแผนแม่บทการจดั การขยะมลู ฝอยของประเทศ 1.1.4 สนับสนุนการรวมกลุ่มพื้นทีก่ ำจัดขยะมูลฝอย (Clusters) สนับสนุนการกำจัดขยะมูลฝอย โดยเทคโนโลยที เ่ี หมาะสม และสง่ เสริมเอกชนลงทนุ การจดั การขยะมูลฝอย 1.1.5 สนบั สนุนให้ใช้กฎหมายผงั เมืองในการพจิ ารณาจัดตง้ั โรงกำจัดขยะมูลฝอย 1.1.6 จัดกิจกรรมและสง่ เสริมการลดและคดั แยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานสังกดั กระทรวงมหาดไทย 1.1.7 สรา้ งความรู้ ความเข้าใจกบั ภาคเอกชน เพอ่ื ลดการตอ่ ต้านในการดำเนินมาตรการเกี่ยวกับ มาตรการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอนั ตราย 1.2 บทบาทหน้าท่ีจังหวัด เป็นหน่วยงานหลักในเรื่อง การถ่ายทอดนโยบายหลัก การกำกับ ติดตาม เร่งรัด การดำเนินการ ด้านการจัดการขยะมูลฝอยในภาพรวมของพ้ืนท่ี 1.2.1 จัดทำแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อดำเนินงานในการจัดการขยะมลู ฝอยของจังหวดั (สถจ.) 1.2.2 เร่งรัดการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างภายในจังหวัดให้หมดไป โดยกำกับดูแลองค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถิ่นดำเนนิ การปดิ และ/หรือปรบั ปรงุ ฟนื้ ฟูสถานท่ีกำจดั ขยะมูลฝอยเดิมใหถ้ ูกต้อง (สถจ. , ทสจ.) 1.2.3 สนับสนนุ การรวมกลุ่มพ้ืนท่ีกำจัดขยะมลู ฝอย (Clusters) การกำจัดขยะมูลฝอยโดยเทคโนโลยี ทเี่ หมาะสม และสง่ เสรมิ เอกชนลงทุนการจัดการขยะมูลฝอย (สถจ.) 1.2.4 สนับสนนุ ให้มีศนู ย์รวบรวมขยะอันตรายชมุ ชนของจงั หวดั หรอื องคก์ รปกครองสว่ นท้องถน่ิ (สถจ.) แผนปฏิบตั ิการจดั การขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวดั สะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 10

1.2.5 สร้างความรู้ ความเข้าใจเก่ยี วกับการลด คดั แยก ขยะมลู ฝอยและขยะอันตรายทต่ี ้นทางให้กับ ประชาชน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการลด คัดแยก และนำขยะมูลฝอย กลับมาใช้ประโยชน์ (สถจ. , ทสจ. , สสจ. , อกจ.) 1.2.6 ติดตามและกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และขยะอันตรายภายในจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงให้มีการรายงานผล การดำเนินการ (สถจ.) 1.2.7 สนับสนุนการจัดหาพืน้ ทีใ่ นการจดั การหรือกำจัดขยะมลู ฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (สถจ.) 1.2.8 สนับสนุนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยการเผยแพร่ข้อมูล ขา่ วสาร และเปิดชอ่ งทางให้ประชาชนสามารถเสนอแนะ ร่วมตดั สินใจและร่วมมือในการดำเนินโครงการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยและขยะอันตรายตั้งแต่ต้นทาง (สถจ. , ทสจ. , สสจ. , อกจ.) 1.2.9 รับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟัง ความคดิ เห็นของประชาชน พ.ศ.2548 หรือระเบียบ/กฎหมายอ่ืนท่เี กยี่ วขอ้ ง (ถ้ามี) (สถจ. , ทสจ. , สสจ. , อกจ.) 1.3 บทบาทหนา้ ที่องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถิ่น องค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิ่น เป็นหนว่ ยงานปฏิบัตกิ ารในระดบั พนื้ ที่ 1.3.1 ร่วมกับจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินงานในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถิน่ และจังหวดั 1.3.2 ดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยตกค้างภายในพื้นที่ให้หมดไป โดยดำเนินการปิด และ/หรือ ปรับปรุง ฟ้นื ฟูสถานทกี่ ำจดั ขยะมลู ฝอยเดมิ ใหถ้ ูกต้อง 1.3.3 ดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในพื้นที่ และจัดระบบการเก็บรวบรวมขนส่ง ขยะมูลฝอยและขยะอันตรายชุมชนแบบแยกประเภทเพื่อสง่ กำจัดอยา่ งถูกต้องตามหลกั วิชาการ 1.3.4 การรวมกลุ่มพื้นที่และจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สง่ เสริม ภาคเอกชนลงทนุ การจัดการขยะมลู ฝอย และได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ 1.3.5 จัดหาพนื้ ท่ีทีเ่ หมาะสมเพ่ือรองรับการจัดการขยะมูลฝอยหรอื การกำจัดขยะมลู ฝอย 1.3.6 ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการคัดแยก เก็บรวบรวม การเก็บขนและกำจัดขยะมูลฝอย การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนและกำจัด ขยะมลู ฝอยใหเ้ หมาะสม 1.3.7 จัดตง้ั ศนู ย์แลกเปลยี่ นเรยี นรกู้ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชนในระดับท้องถ่ิน 1.3.8 ติดตามและบังคับใช้กฎหมายกับเอกชนผู้รับจ้างการจัดการขยะมูลฝอย ให้เอกชน ดำเนินการ จดั การขยะมลู ฝอยในพืน้ ทบี่ ริการอยา่ งถูกต้องตามหลกั วชิ าการ 1.3.9 สนับสนุนการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ โดยการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และเปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถเสนอแนะ ร่วมตัดสินใจและร่วมมือในการดำเนินโครงการบริหาร จดั การขยะมูลฝอยและขยะอนั ตรายตัง้ แตต่ น้ ทาง 1.3.10 รับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 หรือระเบยี บกฎหมายอ่ืนทีเ่ กย่ี วข้อง (ถา้ มี) แผนปฏิบตั กิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 11

2. มาตรการและแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยเพอ่ื นำไปสคู่ วามสำเรจ็ กรอบการดำเนินงาน การดำเนินงานในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพนั้น สามารถแบ่งการดำเนินงาน ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและมีการคัดแยกขยะที่ครัวเรือน สถานที่ราชการ สถานท่ีสาธารณะ และสถานประกอบการ ระยะกลางทาง คือ การเกบ็ และขนท่มี ปี ระสทิ ธิภาพ และระยะปลายทาง คือ การจดั การขยะที่ถูกตอ้ งตามหลักวิชาการและมปี ระสิทธภิ าพ มาตรการส่งเสรมิ และสนับสนนุ การบริหารจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชนให้ประสบความสำเร็จ มาตรการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยประสบผลสำเร็จ โดยเริ่มต้นคือให้ประชาชนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย การบริโภคที่เป็นมิตรกับ สง่ิ แวดล้อม การสรา้ งจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดวินยั ลดการบริโภคสินค้าท่ีฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็น เพ่ือลดอัตราการเกิด ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ณ แหล่งกำเนิด สนับสนุนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการใช้ซ้ำ การคัดแยกและนำขยะมูลฝอยและขยะอันตรายไปใช้ประโยชน์ใหม่ให้มากที่สุดก่อนการกำจัด ในขั้นสุดท้าย ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ และภาคบริการ ทั้งในชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวคัดแยกและลดปริมาณ ในส่วนของภาคเอกชนต้องมีการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ท่ีเป็นมิตรกบั ส่ิงแวดล้อม และสง่ เสริมการใชว้ ัสดุที่สามารถใช้ซ้ำ หรอื นำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ตามหลักการ 3Rs ภาครัฐเป็นผู้นำในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในหน่วยงาน และส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ครบวงจร ขยะมูลฝอยที่เราพบเห็นกันในชีวิตประจำวันนั้นเกิดจากครัวเรือน สถาน ประกอบการ รวมถงึ สถานทส่ี าธารณะ ดังนั้น จงึ ต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ในการจัดการขยะมลู ฝอยชุมชน ดังน้ี 1. มาตรการลดปรมิ าณและคดั แยกขยะมลู ฝอย ณ แหล่งกำเนดิ (ต้นทาง) เพื่อเป็นการจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีประสิทธิภาพและ นำกลับมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งเพื่อป้องกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแตต่ ้นทาง มีแนวทาง การจดั การ ดังตอ่ ไปน้ี 1.1 การใช้หลักการ 3Rs (Reduce Reuse และ Recycle) หรือ 3 ช คือ (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใชใ้ หม)่ 1) Reduce (ใช้นอ้ ย) การใช้น้อย คือ การลดระดับการใช้ใน ปัจจุบนั ควบคุมปรมิ าณการใช้ใหอ้ ยใู่ นสัดสว่ นท่ีพอเหมาะ เพ่ือเป็นการลด ปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้น เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้ทิชชู ใช้ปิ่นโตแทนการใช้โฟม การไม่รับถุงพลาสติก การเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงการซื้อวัสดุ สนิ้ เปลืองแบบใช้ครงั้ เดียว การบริโภคทีพ่ อเพยี ง เปน็ ตน้ 2) Reuse (ใช้ซำ้ ) การใช้ซ้ำการนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ ประโยชน์ให้คมุ้ ค่า เช่น การใช้กระดาษท้ังสองหน้า การใช้ภาชนะที่สามารถใชซ้ ้ำได้ การใชบ้ รรจภุ ัณฑ์ซ้ำหลายครั้ง ก่อนทิ้ง การเลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้การดัดแปลงของเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ใช้ไดใ้ หม่ แผนปฏิบตั กิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 12

3) Recycle (นำกลบั มาใช้ใหม่) การนำกลับมาใชใ้ หม่ คือ การคัดแยกขยะมลู ฝอยแตล่ ะประเภท ทงั้ ท่ีบ้าน โรงเรียน และสำนักงาน เพื่อนำวัสดุที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับมาเข้าสู่กระบวนการผลิตตามกระบวนการของแต่ละ ประเภท เพอื่ นำกลับมาใช้ประโยชนใ์ หม่ ขยะรไี ซเคลิ แยกโดยท่วั ไปได้ 4 ประเภท คอื แกว้ กระดาษ พลาสติก และ โลหะ/อโลหะ โดยการเลอื กสนิ ค้าทีท่ ำมาจากวัสดุทสี่ ามารถรีไซเคิลได้ หรือการร่วมกิจกรรมการส่งเสริมการคัดแยก ขยะ และการนำขยะรไี ซเคิลเข้าสกู่ ระบวนการผลติ เปน็ สนิ คา้ ใหม่ เป็นต้น 1.2 การคดั แยกขยะมลู ฝอยท่ีตน้ ทาง หรือแหล่งกำเนิดขยะมลู ฝอย สนบั สนนุ และขยายผลให้ประชาชนมีการจัดการขยะมูลฝอยท่ีตน้ ทาง หรือแหล่งกำเนิดมูลฝอยต้ังแต่ ระดับครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ สถานที่ราชการ ศาสนสถาน สถานบริการต่าง ๆ ทั้งนี้ ในชุมชนและ สถานที่ท่องเที่ยว เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย คือ การส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะมูลฝอย และ นำขยะมลู ฝอยกลบั มาใชป้ ระโยชนใ์ หไ้ ด้มากทสี่ ุด อาทิ 1) คดั แยกขยะขยะรีไซเคิลออกจากขยะมูลฝอย ชุมชน หรือขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ โดยบรรจุขยะทั่วไปลงใน ถงั ขยะสีน้ำเงิน และขยะรไี ซเคลิ หรือขยะท่นี ำกลบั มาใช้ใหม่บรรจุ ลงในถังขยะสีเหลือง หรือถังที่มีสัญลักษณ์หรือข้อความระบุ อยบู่ นถงั ก็ได้ 2) คดั แยกขยะท่ัวไปออกจากขยะมลู ฝอยชุมชน โดยบรรจุขยะทั่วไปลงในถังขยะสีน้ำเงิน หรือถังที่มีสัญลักษณ์ หรอื ข้อความระบุ อยบู่ นถงั กไ็ ด้ 3) คัดแยกขยะอินทรีย์ออกจากขยะมูลฝอยชุมชน โดยบรรจุลงในถังขยะสีเขียว หรือถังที่มี สญั ลักษณห์ รอื ขอ้ ความระบอุ ยบู่ นถงั ก็ได้ 4) คดั แยกขยะอันตรายออกจากขยะมูลฝอยชมุ ชน โดยแตล่ ะหมบู่ ้าน/ชุมชน กำหนดจดุ รวบรวมขยะ อันตรายชุมชน เพ่ือส่งกำจดั อย่างถูกต้องตามหลกั วิชาการต่อไป 5) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์การลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง หรือแหล่งกำเนิด ขยะมูลฝอย เพอ่ื สรา้ งความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนสง่ เสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ตระหนักและมีจิตสำนึกในการ ลดปริมาณและคดั แยกขยะมูลฝอยทีต่ ้นทาง หรือ แหลง่ กำเนดิ มูลฝอย อาทิ การจดั ตง้ั ธนาคารขยะ การสนบั สนุน ถงั ขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชนในครัวเรือน ดำเนินการคัดแยกขยะมูลฝอยทั่วไป และการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ การอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในการลดปริมาณและการคัดแยกขยะมูลฝอย และการส่งเสริมการนำขยะมูลฝอย ไปใชป้ ระโยชน์ การสง่ เสรมิ และสนบั สนุนให้ประชาชนแต่ละครัวเรือนสามารถจำหนา่ ยขยะขายได้ เปน็ ตน้ 6) การจัดวางภาชนะรองรับขยะแบบแยกประเภท อยา่ งนอ้ ย ๔ ประเภท ไวใ้ นทส่ี าธารณะและสถาน สาธารณะให้เพียงพอและเหมาะสมกับประเภท ปรมิ าณมลู ฝอย และกจิ กรรมในสถานทนี่ น้ั ๆ ไดแ้ ก่ ภาชนะรองรับขยะ มูลฝอยทั่วไปสีน้ำเงิน ภาชนะรองรับขยะมูลฝอยรีไซเคิลหรือขยะมูลฝอยนำกลับมาใช ้ใหม่ สีเหลืองภาชนะรองรับขยะมูลฝอยเศษอาหารหรือขยะมูลฝอยอินทรีย์สีเขียว และภาชนะรองรับขยะมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออนั ตรายจากชุมชนสีส้ม ท้ังน้ี เพ่อื ความปลอดภยั อาจจดั ภาชนะรองรับมูลฝอยใหม้ ลี ักษณะโปรง่ ใสก็ได้ 7) กำหนดจุดหรือสถานที่รวบรวม “ขยะพิษหรืออันตรายจากชุมชน” โดยการจัดวางภาชนะ รองรบั ขยะพิษหรอื อันตรายจากชมุ ชนไว้ในพน้ื ทท่ี ี่เหมาะสม แผนปฏบิ ตั กิ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 13

1.3 การจดั การขยะโดยเครือข่าย “อาสาสมัครทอ้ งถ่ินรักษโ์ ลก (อถล.)” เป็นเครือข่ายที่เกิดจากความร่วมมือโดยสมัครใจ ของบคุ คลท่มี ีความสนใจ มีความสมัครใจ มคี วามเสยี สละ และอุทิศตน ในการทำงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และ การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง โดยมีจำนวน อถล. ที่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของจำนวน ครัวเรือนที่มีอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพอ่ื ร่วมมือในการวางแผนและเลือกวธิ ีการจัดการมูลฝอยในหมู่บ้าน/ ชุมชน ตั้งแต่การส่งเสริม และสนับสนุนการลดการเกิดขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย การใชป้ ระโยชน์จากขยะมลู ฝอย การเก็บรวบรวมขยะมูลฝอย การจัดกิจกรรมรว่ มกันในชุมชน เช่น การจัดตั้งธนาคารขยะ การจัดตลาดนัดขยะ การเชิญชวนเอกชนเข้ามารั บซื้อขยะในหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นกระบอกเสียงในการสร้างความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนในการคัดแยกขยะและการใช้ ขยะมูลฝอย จัดกิจกรรมร่วมกันในการทำความสะอาดในวันสำคัญต่าง ๆ การส่งเสริมการเลี้ยงใส้เดือนดิน ฯลฯ สำหรับการจัด กจิ กรรมขึน้ อยกู่ บั ความเหมาะสมและบรบิ ทของแต่ละพื้นท่ีประโยชนจ์ าก 2. มาตรการเพม่ิ ประสทิ ธิภาพการเก็บขนขยะมลู ฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถ่นิ (กลางทาง) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดระบบการเก็บรวบรวมและขนส่งขยะมูลฝอย ประเภทต่าง ๆ เพ่อื นำไปสู่การจัดการขยะมูลฝอยต่อไป โดยตอ้ งดำเนินการดงั ตอ่ ไปนี้ 2.1 การสร้างระบบฐานข้อมูล เพอ่ื นำไปสู่การวางแผนการจัดการขยะมูลฝอยในพืน้ ที่ ให้องค์กร ปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ ในพื้นที่ จัดทำฐานขอ้ มลู การบรหิ ารจดั การขยะมูลฝอย โดยการเก็บรวบรวมผลจากแหลง่ ขอ้ มลู ต่าง ๆ อาทิ ขยะที่จัดเก็บได้จากครัวเรือน สถานที่กำจัดขยะ หน่วยงานที่รับจ้างเก็บขน หรือรับกำจัดขยะ เป็นต้น เพื่อนำมา ประมวลผลข้อมูลใชส้ ำหรับเพ่ิมประสทิ ธิภาพการบรหิ ารจัดการต่อไป 2.2 กำหนดวัน เวลา สถานที่ และเส้นทางการเก็บขนขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชน และ ประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ อาทิ เสียงตามสาย หอกระจายข่าว ปา้ ยประชาสัมพันธ์ เป็นตน้ 2.3 จัดให้มีระบบการเกบ็ ขนขยะมลู ฝอย โดยให้มยี านพาหนะขนส่งขยะมลู ฝอยทเี่ พียงพอ และ ให้ดำเนินการตามมาตรฐานและระเบยี บกฎหมายทีเ่ กยี่ วขอ้ ง 2.4 จัดให้มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย สำหรับองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นทเ่ี ปน็ เจา้ ของสถานท่ีกำจัดขยะมลู ฝอย หากมีระยะ ทางการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยจากหมู่บ้าน/ชุมชนห่างจากสถานท่ี กำจดั มลู ฝอย ควรจดั ให้มสี ถานขนถ่ายขยะมลู ฝอย เพ่อื เปน็ สถานทตี่ ้ังกลาง ระหว่างแหล่งกำเนดิ ขยะมูลฝอยกบั สถานทกี่ ำจัดขยะมูลฝอย และเป็นที่พัก หรือรวบรวมขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งนี้ เพื่อลดระยะทางการขนส่งขยะมูลฝอย ก่อนส่งไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย เกินกว่า 40 กโิ ลเมตร หากจำเปน็ ต้องขนส่งขยะมลู ฝอยไปกำจัดรว่ มกบั สถานที่กำจดั ขยะมลู ฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นแห่งอืน่ และยังไม่มียานพาหนะขนส่งขยะมูลฝอยเพียงพอที่จะขนสง่ ไปยังสถานทีก่ ำจัด ทั้งนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ในการขนส่งตามความเหมาะสมของพนื้ ท่ี โดยจะตอ้ งพจิ ารณาตามความพร้อมขององค์กรปกครองสว่ นท้องถ่นิ ดงั น้ี แผนปฏิบัตกิ ารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวดั สะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 14

1) ระยะทางการขนส่งมูลฝอยไปยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม 40 – 50 กิโลเมตร ทั้งน้ี ตอ้ งพจิ ารณาความคมุ้ ค่าในการขนสง่ ไปยงั สถานทีก่ ำจัดขยะมลู ฝอยดว้ ย 2) การออกแบบและการก่อสร้างสถานที่ขนถ่ายขยะมูลฝอยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ มาตรฐานหรือข้อกำหนดของหน่วยงานของรฐั ท่เี ก่ยี วข้อง หรอื มาตรฐานอ่นื ท่ียอมรับได้ 3) ความสามารถและการบรหิ ารจัดการระดับท้องถน่ิ และความพร้อมของบคุ ลากรในการดำเนนิ การ 2.5 ออกข้อกำหนดท้องถน่ิ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวธิ ีการในการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสขุ พ.ศ. 2535 และแกไ้ ขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับกฎกระทรวงสุขลักษณะ การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 และพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 ประกอบกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560 ตลอดจนอัตราค่าธรรมเนียมในการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออก ใบอนญุ าต หนังสอื รบั รองการแจ้ง และการใหบ้ ริการในการจัดการส่งิ ปฏิกูลหรือมลู ฝอย พ.ศ. 2559 2.6 สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดให้มี ระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งานตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บขน การรีไซเคิล และ การบำบัดกำจดั อย่างปลอดภยั ต่อสงิ่ แวดลอ้ ม ตามหลกั การขยายความรบั ผดิ ชอบของผ้ผู ลติ (Extended Producer Responsibility : EPR) รวมทั้งแบบรวบรวมในพื้นท่ีสาธารณะ หรือชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน พฒั นาและส่งเสริมใหม้ ีระบบเรียกคืนบรรจุภณั ฑ์ (Deposit Refund) 3. มาตรการเพ่ิมศักยภาพและประสิทธิภาพการกำจดั ขยะมูลฝอยชมุ ชนให้ไดร้ ับการจดั การอย่างถูกต้อง ตามหลกั วิชาการ (ปลายทาง) 3.1 กำจัดขยะมูลฝอยตกค้าง (ขยะมูลฝอยเก่า) ขยะมูลฝอยตกค้าง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน สามารถดำเนนิ การได้ ดังนี้ 1) สำรวจ ประเมิน สถานท่กี ำจดั ขยะมูลฝอยเพอื่ ปดิ หรอื จัดทำแผนงานฟ้ืนฟูสถานท่กี ำจดั ขยะมูลฝอย 2) ปิด/หรือฟื้นฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อจัดการขยะมูลฝอยเก่า โดยการรื้อร่อนขยะมูลฝอยในพื้นที่บ่อขยะมูลฝอยและแปรรูปขยะมูลฝอยผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF) เพื่อส่งไปเป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานเอกชน หรือส่งไปยังเตาเผาขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า (รูปแบบ การดำเนนิ โครงการแปรรูปขยะมูลฝอยผลิตเป็นเชอ้ื เพลิง RDF) 3) ปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย โดยปรับปรุงพื้นที่ที่มีการเทกองขยะมูลฝอย (Open Dump) และสถานท่ีฝังกลบขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้เป็นแบบควบคุม (Controlled Dump) หรือฝังกลบถูกหลักถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfills) ทั้งนี้ สามารถดำเนินการจ้างเอกชนเพื่อนำไปกำจัด โดยถอื ปฏบิ ตั ติ ามประกาศกระทรวงมหาดไทย เร่อื ง การจดั การมูลฝอย พ.ศ. 2560 ข้อ 12 และหมวด 3 เป็นตน้ ไป 4) ติดตามตรวจสอบการปนเป้อื นนำ้ ชะขยะมลู ฝอยบรเิ วณโดยรอบสถานที่กำจดั ขยะมูลฝอย 5) การจดั ต้งั งบประมาณเพื่อสนบั สนนุ ใหส้ ามารถจัดการขยะตกค้างได้อยา่ งเหมาะสม 3.2 การสร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้นรายวัน ควรได้รับ การจัดการและกำจัดให้หมดเป็นประจำทุกวันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างขึ้นอีก และให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการขยะมูลฝอยด้วยการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน โดยจัดให้มีสถานที่หรือ ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยและนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์มากที่สุดส่วนที่เหลือ จึงนำไปกำจัดยังศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม แผนปฏบิ ตั ิการจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวดั สะอาด” จงั หวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 15

ซึ่งจะทำให้ขนาดพื้นที่ที่ใช้ในการกำจัดขยะมูลฝอยลดลงและยังลดต้นทุนการกำจัดอีกด้วย ทั้งนี้ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถ่ินสามารถดำเนนิ การไดต้ ามความเหมาะสมของแต่ละกลุม่ พ้ืนที่ ดงั น้ี 1) จัดให้มีการรวมกลุ่มพื้นที่จัดการขยะมูลฝอย (Clusters) กระทรวงมหาดไทยได้แจ้งให้จังหวัด รายงานการรวมกลุ่มพื้นที่จัดการขยะมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ปัจจุบันมีการ รวมกลุ่มพื้นที่จัดการขยะมูลฝอย (Clusters) จำนวน 262 กลุ่ม (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) โดยถือปฏิบัติตาม แนวทางในประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่าด้วยการทำความตกลง ร่วมมือกันจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมลู ฝอย พ.ศ. 2560 ลงวนั ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2560 ซึง่ แบ่งออกเปน็ 3 ขนาด ไดแ้ ก่ - กลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (L) หมายถึง กลุ่มพื้นที่องค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่นท่ีมีปริมาณขยะมูลฝอย รวมกันแล้วมากกวา่ 500 ตนั /วัน ขนึ้ ไป มจี ำนวน 11 แห่ง - กลุ่มพนื้ ท่ีขนาดกลาง (M) หมายถงึ กล่มุ พ้นื ทีอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีปริมาณขยะมูลฝอย รวมกนั ตัง้ แต่ 300 - 500 ตัน/วนั ข้นึ ไป มีจำนวน 1 แหง่ - กลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก (S) หมายถึง กลุ่มพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีปริมาณขยะมูลฝอย รวมกันแล้วน้อยกว่า 300 ตนั /วัน มีจำนวน 240 แห่ง 2) การเลือกใช้วิธีการกำจัดขยะมูลฝอยตาม ประเภทขยะมูลฝอย กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดวิธีการกำจัด ขยะมูลฝอย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการ มลู ฝอย พ.ศ. 2560 ลงวันท่ี 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ก) การฝงั กลบอย่างถกู หลักสขุ าภบิ าล ข) การหมกั ทำป๋ยุ หรอื กา๊ ซชวี ภาพ ค) การกำจดั ดว้ ยพลังงานความรอ้ น ง) การแปรสภาพเป็นเชือ้ เพลิงหรอื พลังงาน จ) วิธีการอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด หรือคณะกรรมการจังหวัดให้คำแนะนำ ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน จะต้องดำเนินการนำขยะมูลฝอยที่ จัดเก็บได้ไปกำจัดที่สถานที่ที่มีวิธีการ ท่ีต้องตามหลักวชิ าการ สำหรบั ในกรณีที่ พืน้ ทน่ี ้นั องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินไม่มี การให้บริการจัดเก็บ ขน และกำจัดขยะ มูลฝอย องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ส า ม า ร ถ ม อ บ ห ม า ย ใ ห ้ ห น่ ว ย ง า น รั ฐ ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นหรือหน่วยงานเอกชนดำเนินการก็ได้ ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามระเบียบ ประกาศ กระทรวงมหาดไทยและกฎหมายท่ีเกย่ี วข้อง แผนปฏิบตั ิการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 16

4. มาตรการส่งเสริมและสนบั สนนุ การบรกิ ารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนตั้งแต่ตน้ ทาง กลางทาง ปลายทาง 4.1 ขอความร่วมมือหน่วยราชการทุกหน่วยงานทั้งในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงาน สังกัดอื่นทุกกระทรวง ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ สร้างความตระหนักให้บุคลากรในสังกัด เด็ก เยาวชนและประชาชน ท่วั ไปเข้ามามสี ่วนรว่ มและตระหนักในการจดั การปัญหาขยะมลู ฝอยตั้งแต่ตน้ ทางจนถึงปลายทาง 4.2 ขอความร่วมมือหน่วยราชการทุกหน่วยงานทั้งในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงาน สังกัดอื่นทุกกระทรวง รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลด คัดแยกขยะมูลฝอย การลดใช้ถุงพลาสติก การใช้ผลิตภัณฑ์ ท่เี ป็นมติ รต่อสิง่ แวดลอ้ มในสำนักงานอยา่ งเปน็ รูปธรรม 4.3 ขอความร่วมมือหน่วยราชการทุกหน่วยงานทั้งในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงาน สงั กัดอนื่ ทุกกระทรวง จดั ให้มภี าชนะรองรับมูลฝอยแบบแยกประเภทให้เพียงพอในสำนักงาน 4.4 ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมโครงการการลดและคัดแยก ขยะมูลฝอยให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการในพื้นที่แหล่ง ท่องเที่ยว และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการดำเนินการตามมาตรฐาน ดา้ นสงิ่ แวดลอ้ มในแหล่งท่องเที่ยว 4.5 ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สอดแทรกเนื้อหาในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับ เพื่อสร้าง ความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับการจัดการขยะมลู ฝอยทุกระดับ 4.6 ขอความรว่ มมือหน่วยราชการทุกหนว่ ยงานท้ังในสังกัดของ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานอื่นที่เก่ียวข้อง สร้างความรู้ความเข้าใจเชิงรุกอันดีให้แกป่ ระชาชน ในพื้นที่ เพื่อลด การต่อต้านจากประชาชนในประเด็นปัญหาเรื่องการก่อสร้างระบบการกำจัดขยะมูลฝอย และผลกระทบด้านต่าง ๆ จากการกอ่ สรา้ งระบบกำจัดขยะมูลฝอย 4.7 ศึกษา วิจัย ประยุกต์ และพัฒนาทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่ ปริมาณ และองค์ประกอบขยะมูลฝอย รวมถึงส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดการรวมกลุ่มพื้นที่จัดการขยะมูลฝอย (Clusters) อยา่ งมีประสิทธิภาพ 4.8 พฒั นาระบบฐานข้อมลู และการรายงานข้อมลู การบริหารจัดการขยะมลู ฝอย 4.9 อบรมและพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถและศักยภาพ ในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมปี ระสิทธภิ าพ 4.10 สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สถานศึกษาของ อปท. และประชาชน ในพื้นที่ ในการเสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมตัดสินใจและร่วมมือการดำเนินการโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาขยะมลู ฝอยและการจัดการขยะอนิ ทรีย์ 4.11 สร้างกลไก และเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอย โดยการมสี ว่ นรว่ มจากภาคประชาชน 4.12 ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ประกวดและให้รางวัลองค์กรและบุคคลที่มีจิตสำนึกและผลงานการ บริหารจดั การขยะมลู ฝอยดเี ด่น เช่น หนว่ ยงานระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่น หมู่บ้านชุมชน สถาน ประกอบการต่าง ๆ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ข้าราชการ ผู้ประกอบการ และประชาชน แผนปฏิบตั ิการจดั การขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 17

ดำเนนิ งานตาม “หลักการประชารัฐ” หลักการดำเนินงานตามแนวทาง “ประชารัฐ” นั้น เป็นหลักการที่คำนึงถึงหลักความรับผิดชอบและ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทางสังคม (Participatory Principle) ในการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตราย เพื่อความยั่งยืนในการบริหารจัดการในอนาคต โดยส่งเสริมบทบาทของทุกภาคส่วนในสังคม อันประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ภาคราชการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาชนและ ประชาสังคม ภาคการศึกษา และศาสนสถาน ทั้งในกระบวนการการกำหนดนโยบาย การให้ข้อมูล การแสดงความคิดเห็น รวมตลอดไปถึงการออกแบบการคัดแยกขยะ การเก็บขน การกำหนดมาตรการ และการมีส่วนร่วมในพื้นที่ และ การวางระบบการบรหิ ารจดั การอย่างย่ังยนื ในอนาคต ภาคราชการ ศาสนสถาน ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาค ประชาชน/ กลยุทธ์ ประชาสังคม จากสถานการณ์ด้านการจัดการขยะมูลฝอยและปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าการแก้ไข ปัญหาขยะมูลฝอยไม่สามารถดำเนินการแก้ไขได้ด้วยหน่วยงานใดเพียงหน่วยงานเดียว หรือแก้ไขโดยใช้มาตรการ ด้านใดด้านหนึ่งแต่จำเป็นต้องอาศัยมาตรการที่ครอบคลุมทุกด้านอย่างบูรณาการในการแก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วง โดยจะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่ แข็งขัน และมีกลไกที่ แข็งแรง จากหน่วยงานในทุกภาคส่วน มคี วามสอดคลอ้ งทางนโยบายและการสอดรับกบั แผนปฏิบัติการน้ี ซ่งึ ได้กำหนดใหม้ ีกลยุทธ์ 5 กลยทุ ธ์ ด้วยกนั คอื กลยุทธ์ท่ี 1 การจดั การขยะมูลฝอยอย่างมปี ระสิทธภิ าพโดยการประสานความเขา้ ใจ คือ การประสานให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการจัดการขยะแก่ทุกภาคส่วน เช่น การประสานความรู้ ความเข้าใจระหว่างหน่วยงานราชการกับภาคเอกชน การกอ่ ต้งั อาสาสมัครท้องถน่ิ รักษโ์ ลกเพื่อทำหน้าท่ีแนะนำให้ความรู้ แก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน เพื่อเพิ่มทัศนคติที่ดีให้ประชาชน การประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนและทุกภาคส่วนถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองเพื่อให้ตระหนัก ถงึ ความสำคัญของการบริหารจัดการขยะอย่างถูกต้องตามหลักวชิ าการ และการสร้างจิตสำนึกและค่านิยมในการจัดการ ขยะมลู ฝอยชุมชน เปน็ ตน้ กลยทุ ธ์ท่ี 2 การจัดการขยะแบบครบวงจร กิจกรรมตามกลยุทธ์การจัดการขยะแบบครบวงจร มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ ครัวเรือน การคัดแยกและนำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ การจัดการขยะอินทรีย์ หลีกเลี่ยงการใช้ขยะมูลฝอยอันตราย ต้ังแตต่ น้ ทาง การเกบ็ ขนขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และการกำจดั ที่ถูกตอ้ งตามหลักวิชาการ แผนปฏบิ ัตกิ ารจัดการขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จงั หวัดสะอาด” จงั หวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 18

กลยทุ ธ์ท่ี 3 การบริหารจดั การแบบมีส่วนร่วม การเปดิ โอกาส ใหป้ ระชาชนได้มีส่วนร่วมในการคดิ ริเรมิ่ การพจิ ารณาตัดสนิ ใจ การปฏิบตั ิและรบั ผิดชอบ ในเรื่องการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนซึ่งจะส่งผลกระทบถึงตัวประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการพฒั นาทอ้ งถ่ินร่วมกบั หน่วยงานภาครฐั เพ่ือแกไ้ ขปัญหาขยะมูลฝอยชมุ ชน กลยุทธ์ท่ี 4 การบังคับใชก้ ฎหมายอย่างมีประสทิ ธิภาพ ถือเป็นแนวทางสำคัญอกี ข้อหนึ่งในการจดั การปัญหาขยะมูลฝอยซึง่ เป็นปัญหาเร่งดว่ น เช่น กำหนดให้มี การใช้มาตรการทางกฎหมายมาป้องปรามและแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะ รวมทั้งของเสียมีพิษต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบ และดำเนนิ การทางกฎหมายแก่ผู้ลักลอบทิ้ง ลักลอบกำจัดขยะมูลฝอยชมุ ชน กากอุตสาหกรรมของเสียอันตรายและมูลฝอย ตดิ เช้ือท่ไี มถ่ ูกตอ้ ง เปน็ ต้น กลยทุ ธท์ ี่ 5 การสนบั สนนุ การบรหิ ารจดั การใหม้ ีประสิทธภิ าพ 1) การจัดทำฐานขอ้ มลู และการบรหิ ารจดั การขยะมลู ฝอยใหเ้ ปน็ ปัจจุบนั 2) เตรยี มความพร้อมในการจัดทำระบบกำจัดขยะมลู ฝอยให้มปี ระสทิ ธิภาพและถูกตอ้ งตามหลักวิชาการ 3) การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตาม เปา้ หมายท่ีกำหนดไว้ 4) การประชาสัมพันธ์การดำเนินงานในระดับ อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมู่บ้าน/ชุมชน เพือ่ กระตุ้นจิตสำนึกใหเ้ กดิ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการคัดแยกขยะมลู ฝอยในภาพรวมของจังหวัดพังงา แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 19

บทที่ 4 แผนปฏบิ ตั ิการตามมาตรการ แนวทาง และกลยทุ ธ์การดำเนนิ การเพื่อนำไปสู่เปา้ หมายการปฏิบัติ เพ่อื ใหก้ ารสง่ เสรมิ และสนับสนุนให้การบริหารจดั การขยะมลู ฝอยในระดับจังหวัดประสบผลสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด”จังหวัดพังงา จึงได้กำหนด แผนปฏิบัตกิ ารตามมาตรการและแนวทางการดำเนินการเพ่ือนำไปสู่เป้าหมายการปฏิบัติ เพ่อื ให้ประชาชนเกิดการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึก ให้ประชาชนเกิดวินัยลดการบริโภคสินค้าที่ฟุ่มเฟือยหรือไม่จำเป็นเพื่อลดเพื่อลดอัตราการเกิดขยะมูลฝอย และ ของเสียอันตราย ณ แหล่งกำเนิดสนับสนุนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการใช้ซ้ำ การคัดแยกและนำขยะมูลฝอยและขยะอันตรายไปใช้ประโยชน์ใหม่ให้มากที่สุดก่อนการกำจัด ในขั้นสุดท้าย ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจรีไซเคิล รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ และภาคบริการ ทั้งในชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยวคัดแยกและลดปริมาณ ในส่วนของภาคเอกชนต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้วัสดุที่สามารถใช้ซ้ำ หรือนำกลับมาแปรรูปใช้ใหม่ ตามหลักการ 3Rsภาครัฐ เปน็ ผ้นู ำในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในหนว่ ยงาน และส่งเสรมิ การใช้สนิ คา้ และบริการท่ีเป็นมิตร กับสิ่งแวดลอ้ มให้ครบวงจร ขยะมูลฝอยที่เราพบเห็นกันในชีวิตประจำวนั นั้น เกิดจากครัวเรอื น สถานประกอบการ รวมถึงสถานท่สี าธารณะ ดังน้นั จึงตอ้ งใช้มาตรการต่าง ๆ ในการจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน ดังนี้ 1. มาตรการการลดปริมาณและคัดแยกขยะมลู ฝอย ณ แหลง่ กำเนดิ (ต้นทาง) เพื่อเป็นการจัดการขยะมูลฝอยเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีประสิทธิภาพและนำ กลับมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งเพื่อป้องกันและควบคุมการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางมีแนวทาง การจัดการ ดงั ตอ่ ไปนี้ 1.๑ การใช้หลักการ ๓ Rs คือ (Reduce Reuse และ Recycle) หรือ ๓ ช คือ (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใชใ้ หม)่ ๑) Reduce (ใช้น้อย) : การใช้น้อย คือ การลดระดับการใช้ในปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อเป็นการลดปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้น เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้ทิชชู ใช้ปิ่นโตแทนการใช้โฟม การไม่รับถุงพลาสติก การเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตร กบั ส่ิงแวดล้อม หลีกเลี่ยงการซือ้ วสั ดสุ ิน้ เปลอื งแบบใช้ครงั้ เดยี ว การบรโิ ภคที่พอเพียง เปน็ ต้น ๒) Reuse (ใช้ซ้ำ) : การใช้ซ้ำ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น การใช้ กระดาษทั้งสองหน้า การใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ การใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อนทิ้ง การเลือกซื้อสิ้นค้าท่ี สามารถใชซ้ ้ำได้ การดดั แปลงของเหลอื ใชม้ าใช้ประโยชน์ การซอ่ มแซมอปุ กรณ์ตา่ ง ๆ ใหใ้ ชไ้ ด้ใหม่ ๓) Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) : การนำกลับมาใช้ใหม่ คือ การคัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละ ประเภท ทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานเพื่อนำวัสดุที่ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับมาเข้าสู่ กระบวนการผลิตตามกระบวนการของแต่ละประเภท เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ขยะรีไซเคิลแยกโดยทั่วไปได้ 4 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสติก และโลหะ/อโลหะ โดยการเลือกสินค้าที่ทำมาจากวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้ หรือการรว่ มกจิ กรรมการสง่ เสรมิ การคดั แยกขยะ และการนำขยะรีไซเคลิ เขา้ ส่กู ระบวนผลติ เป็นสนิ คา้ ใหม่ เปน็ ต้น แผนปฏบิ ัตกิ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวัดสะอาด” จงั หวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 20

1.๒ การคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหลง่ กำเนดิ (ต้นทาง) สนับสนุนและขยายผลให้ประชาชนมีการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทาง หรือแหล่งกำเนิดมูลฝอย ตั้งแต่ระดับครัวเรือน สถานศึกษา สถานประกอบการ สถานที่ราชการ ศาสนสถาน สถานบริการต่าง ทั้งในชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อลดปริมาณการเกิดขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะมูลฝอย และการนำขยะมลู ฝอยกลบั มาใช้ประโยชน์ใหม่ใหม้ ากท่ีสดุ อาทิ 1) คัดแยกขยะทั่วไปออกจากขยะรีไซเคิลหรือขยะที่ นำกลับมาใช้ใหม่ โดยบรรจุขยะทั่วไป ลงในถุงขยะสีน้ำเงิน และ ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่บรรจุลงในถุงขยะสีเหลือง หรอื ถงุ ท่มี ีสัญลกั ษณห์ รือข้อความระบุอยูบ่ นถุงก็ได้ 2) คัดแยกขยะทั่วไปออกจากขยะรีไซเคิลหรือขยะท่ี นำกลับมาใช้ใหม่และขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์ โดยบรรจุ ขยะทั่วไปลงในถุงขยะสีน้ำเงิน ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่นำกลับ มาใช้ใหม่บรรจุลงในถุงขยะสีเหลือง และขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์บรรจุลงในถุงขยะสีเขียว หรือถุงที่มี สญั ลักษณห์ รอื ขอ้ ความระบอุ ยบู่ นถงุ ก็ได้ 3) คัดแยกขยะทั่วไปออกจากขยะรีไซเคิลหรือขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่และขยะเศษอาหารหรือ ขยะอินทรีย์และขยะอันตราย โดยบรรจุขยะทั่วไปลงในถุงขยะสีน้ำเงิน ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ บรรจุลงในถงุ ขยะสีเหลือง และขยะเศษอาหารหรือขยะอินทรีย์บรรจุลงในถุงขยะสีเขียว และขยะพิษหรืออันตราย จากชมุ ชนบรรจุลงในถงุ ขยะสีส้ม หรือถงุ ท่มี ีสัญลักษณห์ รอื ข้อความระบุอย่บู นถงุ กไ็ ด้ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการจัดการขยะจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามหลักการของ “ประชารัฐ” เพื่อคัดแยกขยะที่ต้นทางตามหลักการ ๓Rs คือ (Reduce Reuse และ Recycle) หรือ 3 ช คือ (ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ หมู่บ้าน/ชุมชน ตลาด สถานศึกษา โรงแรม สถานี บรกิ ารนำ้ มัน สถานพยาบาล สวนสาธารณะ ซเู ปอร์มาร์เกต็ /มนิ ิมารท์ วดั /ศาสนสถาน อาคารสูงหรอื คอนโนมิเนียม อพาร์ทเมน้ ท์ ห้างสรรพสนิ ค้า ธนาคาร ร้านอาหาร สถานบันเทงิ โรงงาน เป็นต้น 1.๓ การจดั การขยะโดยเครอื ข่าย “อาสาสมคั รท้องถ่ินรักษ์โลก (อถล.)” เป็นเครอื ข่ายทเ่ี กดิ ข้นึ จากความร่วมมอื ของบุคคลท่ีมีความสนใจ มีความสมัครใจ มคี วามเสียสละ และอุทิศตนในการทำงานด้านการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การปกป้อง และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ ส่ิงแวดลอ้ มในทอ้ งถิ่นของตนเอง โดยมจี ำนวน อถล. ทเี่ กดิ ข้นึ ไม่นอ้ ยกวา่ ร้อยละ 60 ของจำนวนครัวเรือนที่มีอยู่ใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือในการวางแผนและเลือกวิธีการจัดการมูลฝอยใน หมู่บ้าน/ชุมชน ตั้งแต่การส่งเสริม และสนับสนุนการลดการเกิดขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอยการใช้ ประโยชน์จากขยะมลู ฝอยการเกบ็ รวบรวมขยะมลู ฝอย การจดั กิจกรรมรว่ มกันในชุมชน เช่น การจดั ตั้งธนาคารขยะ การจัดตลาดนัดขยะ การเชิญชวนเอกชนเข้ามารับซื้อขยะในหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นกระบอกเสียงในการสร้างความรู้ และความเข้าใจแก่ประชาชนในการคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยจัดกิจกรรมร่วมกันในการ ทำความสะอาดในวันสำคัญต่าง ๆ การส่งเสริมการเลี้ยงไส้เดือนดิน ฯลฯ สำหรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับ ความเหมาะสมและบรบิ ทของแต่ละพื้นท่ี แผนปฏิบัติการจดั การขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวัดสะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 21

1.๔ มาตรการการลดและคดั แยกขยะมูลฝอยในหนว่ ยงานภาครฐั คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ “มาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ”ภายใต้ โครงการ “ทำความดีด้วยใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 โดยมอบหมายทุกหน่วยงาน ภาครัฐดำเนนิ งานพรอ้ มกนั ทวั่ ประเทศ ตงั้ แตว่ ันที่ 1 สงิ หาคม 2561 และใหส้ ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการกำหนดให้ “ผลการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย” เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพของหน่วยงานภาครัฐ โดยเริ่ม ต้ังแต่ปีงบประมาณ 2562 โครงการ “ทำความดีด้วยใจ ลดภยั สงิ่ แวดลอ้ ม” มวี ัตถปุ ระสงคเ์ พ่ือลดปริมาณขยะมูลฝอย ลดใช้ ถุงพลาสติกหูหิ้ว และงดใช้โฟมบรรจุอาหาร โดยการดำเนินกิจกรรมร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งมกี จิ กรรมการภายใตโ้ ครงการดังกลา่ วประกอบดว้ ย 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) กิจกรรมมาตรการลด และคดั แยกขยะมลู ฝอยในหน่วยงานภาครฐั 2) กจิ กรรมรณรงคท์ ำความดีด้วยหวั ใจ ลดรบั ลดให้ลดใช้ถงุ พลาสติก 3) กิจกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วและงดใช้โฟมบรรจุอาหาร ในพน้ื ทีอ่ ุทยานแหง่ ชาติ 4) กจิ กรรมทำความดีดว้ ยหัวใจ งดการใชพ้ ลาสตกิ และโฟมในสวนสัตว์ 5) กิจกรรมการจดั การขยะบกสู่ทะเลในพ้ืนที่ 24 จังหวดั ชายทะเล ท้งั นี้ ไดก้ ำหนดให้เป็นตัวชว้ี ัดการประเมินผลการปฏิบตั ิราชการประจำ ของหัวหน้าส่วนราชการภาครัฐด้วย เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการฯ เกดิ ประสทิ ธิภาพและประสิทธผิ ลอย่างเปน็ รปู ธรรมชัดเจน 2. มาตรการเพิ่มประสทิ ธิภาพการเกบ็ ขนขยะมลู ฝอยขององค์กรปกครองส่วนทอ้ งถิ่น (กลางทาง) เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการจัดระบบการเก็บรวบรวมและขนส่ง ขยะ มลู ฝอยประเภทตา่ ง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำจัดขยะมูลฝอยต่อไปได้มแี นวทางดำเนนิ การ ดังตอ่ ไปน้ี 2.1 การสร้างระบบฐานข้อมลู เพอ่ื นำไปสกู่ ารวางแผนการจัดการขยะมลู ฝอยในพนื้ ท่ี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ และปริมาณขยะมูลฝอยที่ท้องถิ่นจัดเก็บและ นำไปกำจัด โดยให้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และนำมาเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เช่น ปริมาณขยะ ที่เกิดขึ้น ปริมาณขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้เพื่อนำไปกำจัด องค์ประกอบขยะที่จัดเก็บได้ในพื้นที่ ค่าใช้จ่าย ในการดำเนินการทุกด้าน และควรพิจารณาความครอบคลุมพื้นที่การให้บริการการเก็บขนว่าครอบคลุมทุกพื้นท่ี หรือไม่ หากไม่ครอบคลุมควรมีการส่งเสริมให้เกิดการบริการที่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ โดยกำหนดให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถ่ินบนั ทึกข้อมูลในแบบรายงานผลการบรหิ ารจัดการขยะมลู ฝอยประจำเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ (มฝ.๒) ผ่านระบบสารเทศเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์กำหนด นโยบาย การวางแผนงาน/โครงการ และการเลือกใช้เทคโนโลยีในการกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้กำหนดให้องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ินจดั ทำฐานข้อมลู ขยะมูลฝอย ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งทีจ่ ำเป็นอยา่ งย่ิงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องจัดทำฐานข้อมูลการบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดย การเก็บรวบรวมผลจากแหล่งข้อมูลตา่ ง ๆ อาทิ ขยะทจ่ี ดั เกบ็ ไดจ้ ากครวั เรือน สถานทก่ี ำจดั ขยะ หนว่ ยงานทีร่ ับจ้าง เก็บ ขน หรอื รบั กำจดั ขยะ เป็นต้น เพื่อนำมาประมวลผลข้อมลู ใช้สำหรบั เพมิ่ ประสิทธภิ าพการบริหารจัดการต่อไป แผนปฏบิ ตั กิ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวัดสะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 22

2.๒ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์การลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง หรอื แหลง่ กำเนิดขยะมูลฝอย เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ได้ตระหนักและ มจี ติ สำนึกในการลดปรมิ าณและคดั แยกขยะมูลฝอยท่ีตน้ ทางหรือแหล่งกำเนิดมลู ฝอย 2.๓ การจัดวางภาชนะรองรับขยะแบบแยกประเภท อย่างน้อย 2 ประเภท ไว้ในที่สาธารณะ และสถานที่สาธารณะให้เพียงพอและเหมาะสมกับประเภท ปริมาณมูลฝอย และกิจกรรมในสถานที่นั้น ได้แก่ ภาชนะรองรับขยะมูลฝอยทั่วไปเป็นสีน้ำเงิน ภาชนะรองรับขยะมูลฝอยรีไซเคิลหรือขยะมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ เปน็ สเี หลอื ง สำหรับพ้ืนท่ีที่ต้องการเน้นในเรื่องความปลอดภัย อาจจดั ให้มีภาชนะรองรับมลู ฝอยท่ีมีลักษณะโปร่งใสก็ได้ โดยขอใหม้ ีสญั ลกั ษณ์ทบ่ี ง่ บอกประเภทขยะโดยชัดเจน รวมถึงภาชนะเดิมที่สามารถดัดแปลงได้ สำหรับในพื้นที่ของเอกชน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อกำหนดท้องถิ่นเพื่อให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่ของเอกชนที่เปิดให้ประชาชนเข้าไปได้ ต้องจัดให้มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอยให้เพียงพอ และเหมาะสมกับประเภท ปริมาณขยะมูลฝอย และกิจกรรมในสถานที่แห่งนั้น โดยอย่างน้อยต้องมีภาชนะรองรับ ขยะมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ได้แก่ ปั๊มน้ ำมันหอพัก โรงแรม ห้างสรรพสินค้า สถานที่จำหน่ายอาหาร ตลาดน้ำ/ตลาดนัด/ถนนคนเดิน สถานบันเทิงสถานที่ท่องเที่ยว และ สถานพยาบาลของเอกชน ฯลฯ 2.4 กำหนดจุดหรือสถานที่รวบรวม “ขยะพิษหรืออันตรายจากชุมชน” โดยการจัดวางภาชนะรองรับ ขยะพษิ หรือขยะอนั ตรายจากชมุ ชนไวใ้ นพน้ื ที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นในหมูบ่ า้ นหรือชมุ ชนแหง่ นัน้ อย่างน้อย 1 จดุ 2.๕ กำหนดวัน เวลา สถานที่ และเส้นทางการเก็บขนขยะมูลฝอยให้แก่ประชาชน และ ประชาสัมพันธ์ชี้แจงให้ประชาชนทราบอย่างเปิดเผยผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง เช่นเสียงตามสาย หอกระจายข่าว ปา้ ยประชาสัมพันธ์ เปน็ ต้น 2.๖ จดั ใหม้ รี ะบบการเก็บขนขยะมูลฝอย โดยให้มียานพาหนะขนส่งขยะมลู ฝอยท่เี พียงพอ และ ให้ดำเนนิ การตามมาตรฐานและระเบยี บกฎหมายท่เี ก่ียวข้อง 2.๗ จัดให้มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเจ้าของ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย หากมีระยะทางการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยจากหมู่บ้าน/ชุมชนห่างจากสถานที่กำจัด ขยะมูลฝอยควรจัดให้มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย เพื่อเป็นสถานที่ตั้งกลางระหว่างแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยกับ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอย และเป็นที่พักหรือรวบรวมขยะมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้จากในหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งนี้ เพื่อลดระยะทางการขนส่งขยะมูลฝอยก่อนส่งไปยังสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน ท่อี ย่หู า่ งไกลจากสถานที่กำจัดขยะมลู ฝอยเกินกว่า 40 กโิ ลเมตร หากจำเป็นต้องขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดร่วมกับ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งอื่น และไม่มียานพาหนะขนส่งขยะมูลฝอย เพียงพอที่จะขนส่งไปยังสถานที่กำจัด ควรจัดให้มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยเพื่อรวบรวมขยะมูลฝอยที่รอการ ขนส่งไปยังสถานที่กำจัด ทั้งนี้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนสง่ ตามความเหมาะสมของพืน้ ที่ โดยจะต้องพิจารณาตาม ความพร้อมขององค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ิน ดังนี้ 1) ระยะทางการขนส่งขยะมูลฝอยไปยังศูนย์ก าจัดขยะมูลฝอยรวม 40 – 50 กิโลเมตร ทั้งนี้ ตอ้ งพจิ ารณาความคุ้มคา่ ในการขนส่งไปยงั สถานท่กี าจดั ขยะมูลฝอย 2) การออกแบบและการก่อสร้างสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยให้เปน็ ไปตามหลักเกณฑแ์ ละมาตรฐาน หรอื ข้อกำหนดของหน่วยงานของรฐั ทเี่ ก่ยี วข้อง หรือมาตรฐานอืน่ ที่ยอมรับได้ 3) ความสามารถและการบรหิ ารจดั การระดับทอ้ งถ่นิ และความพรอ้ มของบคุ ลากรในการดำเนนิ การ แผนปฏิบตั กิ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จังหวัดสะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 23

2.8 ออกขอ้ กำหนดท้องถนิ่ เพื่อกำหนดหลักเกณฑแ์ ละวิธีการในการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน ประกอบกับกฎกระทรวง สุขลักษณะการจัดการมลู ฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 พระราชบญั ญัตริ กั ษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 รวมทั้งอัตรา ค่าธรรมเนียมในการเก็บ ขนและกำจัดขยะมูลฝอย ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนงั สอื รบั รองการแจ้ง และการใหบ้ รกิ ารในการจดั การสงิ่ ปฏกิ ลู หรอื มูลฝอย พ.ศ. 2559 2.9 สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดให้มี ระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เมื่อหมดอายุการใช้งาน ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การเก็บขน การรีไซเคิลและ การบำบัดกำจัดอย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility : EPR) รวมทั้งแบบรวบรวมในพื้นที่สาธารณะ หรือชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนพัฒนา และส่งเสริมใหม้ ีระบบเรียกคนื บรรจุภัณฑ์ (Deposit Refund) 3. มาตรการการเพ่ิมศักยภาพและประสิทธิภาพการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้ได้รบั การจัดการอยา่ ถกู ต้อง ตามหลักวิชาการ (ปลายทาง) 3.๑ กำจัดขยะมูลฝอยตกคา้ ง (ขยะมลู ฝอยเก่า) ขยะมูลฝอยตกค้างจะต้องได้รับการกำจัดให้หมดไป โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ ดำเนินการได้ ดงั น้ี 1) สำรวจ ประเมนิ สถานทกี่ ำจัดขยะมูลฝอยเพ่ือปิดหรือจดั ทำแผนงานฟ้นื ฟสู ถานที่กำจัดขยะมลู ฝอย 2) ปิด/หรือฟื้นฟูสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อจัดการขยะมูลฝอยเก่า โดยการรื้อร่อนขยะมูลฝอยในพื้นที่บ่อขยะมูลฝอยและแปรรูปขยะมูลฝอยผลิตเป็นเชื้อเพลิง ( Refuse Derived Fuel:RDF) เพื่อส่งไปเป็นวัตถุดิบให้แก่โรงงานเอกชน หรือส่งไปยังเตาเผาขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า (รูปแบบการดำเนินโครงการแปรรูปขยะมูลฝอยผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF) โดยถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรอื่ ง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ขอ้ 23 กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับเอกชนท่ีได้รับมอบหมายนำ มูลฝอยที่จัดเก็บได้ไปดำเนินการใช้หรือหาประโยชน์โดยวิธีการจำหน่าย จ่าย โอนตามข้อ 22 และข้อตกลงใน หมวด 3 ซึ่งกำหนดให้จัดทำข้อเสนอโครงการเสนอต่อคณะกรรมการจงั หวดั หรือคณะกรรมการกลาง แล้วแต่กรณี ท้งั นี้ ให้คำนงึ ถงึ ศกั ยภาพ ตน้ ทุน ความคุ้มค่า และประโยชนข์ องทางราชการเปน็ สำคญั 3) ดำเนินการฟื้นฟู/ปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย โดยให้ดำเนินการฟื้นฟู/ปรับปรุงสถานท่ี กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง คือ สถานที่กำจัดขยะที่มีการเทกองขยะมูลฝอยแบบเปิด (Open Dump) และ สถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยทีไ่ ม่ถูกตอ้ งตามหลักวิชาการให้เป็นสถานทีก่ ำจดั ขยะมูลฝอยแบบควบคุม (Controlled Dump) หรือฝังกลบถูกหลักสุขาภิบาล (Sanitary Landfills) หรือให้ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรอ่ื ง การจัดการมลู ฝอย พ.ศ. 2560 ขอ้ 12 และหมวด 3 เป็นต้นไป 4) ติดตามตรวจสอบการปนเป้ือนน้ำชะขยะมลู ฝอยบรเิ วณโดยรอบสถานที่กำจัดขยะมลู ฝอย 5) การจัดต้งั งบประมาณเพ่อื สนับสนุนการจดั การขยะตกคา้ งสะสมในพื้นที 3.๒ การสรา้ งรปู แบบการจัดการขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยชุมชนใหมท่ ี่เกิดข้ึนรายวันควรได้รับการจัดการและกำจัดให้หมดทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิด ปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างขึ้น และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการขยะมูลฝอยควรมีการดำเนินการ จัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน คือการจัดให้มีสถานทีห่ รือศนู ย์กำจดั ขยะมูลฝอยรวมเพื่อกำจัดขยะมูลฝอยหรอื แปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน ทั้งนี้ การส่งไปศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม เริ่มต้นต้องมีระบบการคัดแยก แผนปฏบิ ตั ิการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวัดสะอาด” จังหวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 24

ขยะมูลฝอยและนำขยะมูลฝอยไปใชป้ ระโยชน์มากที่สุด ส่วนที่เหลือจึงจะนำไปกำจัดยงั ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวม ซึ่งจะทำให้ขนาดพื้นที่ท่ีใช้ในการกำจดั ขยะมูลฝอยลดลงและยังลดต้นทุนการกำจดั อีกด้วย ซึ่งองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นสามารถดำเนนิ การไดต้ ามความเหมาะสมของแต่ละกลมุ่ พ้ืนท่ี ดงั น้ี ๑) จดั ใหม้ กี ารรวมกลมุ่ พ้นื ทีจ่ ัดการมลู ฝอย (Clusters) ๒) การเลือกใชว้ ิธกี ารกำจดั ขยะมูลฝอยตามประเภทขยะมลู ฝอย กระทรวงมหาดไทยได้กำหนด วธิ ีการกำจัดขยะมูลฝอย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เร่อื ง การจัดการมลู ฝอย พ.ศ. 2560 ดงั น้ี ก) การฝงั กลบอยา่ งถกู หลักสุขาภิบาล ข) การหมักทำปุ๋ยหรอื กา๊ ซชีวภาพ ค) การกำจัดด้วยพลงั งานความร้อน ง) การแปรสภาพเป็นเชอื้ เพลงิ หรอื พลงั งาน จ) วธิ ีการอนื่ ตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด หรือคณะกรรมการจงั หวดั ให้คำแนะนำ ตามทเ่ี ห็นสมควร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการนำขยะมูลฝอยที่จัดเก็บได้ไปกำจัดในสถานที่ที่มี วธิ กี ารกำจดั ท่ถี ูกต้องตามหลักวชิ าการ สำหรับในกรณีองค์กรปกครองสว่ นท้องถิ่นท่ีไม่มีการให้บรกิ ารเก็บ ขน และ กำจดั ขยะมูลฝอย ใหอ้ งค์กรปกครองสว่ นท้องถ่ินปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. 2560 ในหมวดที่ 3 เป็นต้นไป คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น เพ่ือจัด ให้มีการให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางในประกาศคณะกรรมการการกระจาย อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าด้วยการทำความตกลงร่วมกันจัดทำบริการสาธารณะขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และข้อ 13 วรรคสอง ที่ได้กำหนดให้กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมายหน่วยงาน ของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ในการดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย ให้ถือปฏิบัติตามแนวทางใน ประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าด้วยการทำความตกลงร่วมมือกัน จดั ทำบริการสาธารณะขององคก์ รปกครองสว่ นท้องถน่ิ โดยอนโุ ลม แผนปฏิบตั กิ ารจดั การขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวัดสะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 25

มาตรการ แนวทางและกจิ กรรมการดำเนนิ การเพื่อนำไปสเู่ ป้าหมายการปฏิบัติ เป้าหมายของจังหวัด กจิ กรรมหลกั * หนว่ ยงานรับผิดชอบหลัก หนว่ ยงานสนบั สนุน 1. ดา้ นการจดั การขยะต้นทาง - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน 1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน (1) มีการออกข้อบัญญัติ/ เทศบัญญัติการจัดการ - อปท. - ภาคประชาชน ร้อยละ 100 ออกข้อบัญญัติ/ ขยะมลู ฝอย - จงั หวัด - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน เทศบัญญัตกิ ารจดั การขยะมูลฝอย - ภาคประชาชน - สถจ./สถอ. 1.2 ครวั เรือน รอ้ ยละ 100 มกี าร - อปท. เก็บข้อมูลผลการดำเนินการ เช่น ปริมาณขยะ - อปท. - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน บริหารจดั การขยะอนิ ทรีย์ ทล่ี ดไดแ้ ละปริมาณสารบำรุงดินท่ีไดจ้ ากการทำถงั ขยะเปียก - จังหวดั - สถจ./สถอ. (1) อปท. สำรวจข้อมลู ครัวเรอื นท่ีมีอยทู่ ง้ั หมดตามจำนวน - อปท. - ภาคเอกชน ทมี่ ีผู้อาศัยอยจู่ รงิ - ภาคประชาชน (2) อปท. สำรวจข้อมูลครัวเรือนว่ามีความพร้อมหรือไม่มี - อปท. - สถจ./สถอ. ความพรอ้ มในการทำถงั ขยะเปยี ก - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน (3) อปท. แนะนำ ส่งเสริม และขอความร่วมมือ - อปท. ให้ครัวเรือนจัดทำถังขยะเปียกสำหรับครัวเรือนที่มี บริเวณหรือพื้นที่ในการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนได้ รวมถึงสาธติ วิธีการใชง้ าน แผนปฏิบตั ิการจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จังหวัดสะอาด” จังหวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 26

เป้าหมายของจังหวดั กิจกรรมหลกั * หน่วยงานรบั ผิดชอบหลกั หนว่ ยงานสนับสนุน - สถจ./สถอ. (4) อปท. จัดทำประกาศขอความร่วมมือประชาชนที่มี - อปท. - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน ความต้องการนำขยะเปียกไปใช้ประโยชน์ เช่น เลี้ยงสัตว์ - สถจ./สถอ. ทำสารบำรุงดิน เป็นต้น และลงทะเบียนเพื่อเชิญชวน - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน นำขยะไปใช้ประโยชน์ - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน (5) อปท. จัดทำถังขยะเปียกรวมสำหรับครัวเรือนที่ไม่มี - อปท. - ภาคประชาชน บริเวณหรือพื้นที่ในการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนได้ และจดั ทำแผนเก็บขนแล้วประกาศให้ประชาชนทราบ - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน (6) อปท. จัดเก็บขยะเปียกที่ครัวเรือนคัดแยกไว้ - อปท. - ภาคประชาชน เพ่ือดำเนนิ การตามกระบวนการต่อไป - สถจ./สถอ. (7) จัดหาสถานที่กลางสำหรับจัดทำภาชนะรองรับ - อปท. - ภาคเอกชน ขยะเปียก เพื่อเป็นจุดรวบรวมขยะเปียกจากศูนย์พัฒนา - ภาคประชาชน เด็กเล็ก โรงเรียน และตลาด โดย อปท. กำหนดวัน เวลา และเส้นทางการจัดเก็บ - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน (8) อปท. จัดทำจุดรวบรวมขยะเปียกในศูนย์พัฒนา - อปท. - ภาคประชาชน เด็กเลก็ และโรงเรยี น (9) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนในสังกัด อปท. - อปท. ใหค้ วามรู้แก่เด็กนักเรียนเรอ่ื งการบรหิ ารจัดการขยะ แผนปฏบิ ัติการจดั การขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวัดสะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 27

เปา้ หมายของจังหวัด กิจกรรมหลัก* หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบหลัก หนว่ ยงานสนับสนนุ - สถจ. 1.3 ครวั เรอื น รอ้ ยละ 60 เขา้ (1) อปท. “รับสมัครอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.)” - อปท. - สถอ. - ภาคเอกชน ร่วมเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์ และอบรมใหค้ วามร้จู ัดต้ังเป็นเครือขา่ ยท่ีเกิดขน้ึ จากความร่วมมือ - ภาคประชาชน โลก” เพื่อส่งเสริมการจัดการ ขยะมูล โดยสมัครใจ มีความเสียสละและอุทิศตนในการทำงาน - สถจ. - สถอ. ฝอย ดา้ นการจดั การสิ่งปฏิกูลและมลู ฝอย การปกป้อง และรักษา - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในท้องถิน่ ของตนเอง (2) อปท. มีโครงการ/กิจกรรมรณรงค์สร้างจิตสำนึก - อปท. บริหารจดั การขยะมูลฝอย ดงั นี้ (2.1) จัดกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน เริ่มจากการลดการเกิดขยะมูลฝอย คัดแยกมูลฝอย การใช้ประโยชน์จากขยะมลู ฝอย และรวบรวมขยะมูลฝอย เพ่อื เปน็ การอำนวยความสะดวกในการเกบ็ ขนของ อปท. (2.2) การจัดกิจกรรมการการรักษาความสะอาดและ ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น นัดเวลาเกบ็ ขนขยะมลู ฝอย เกบ็ กวาดขยะมูลฝอย (2.3) สอดส่องดูแล เฝ้าระวัง และรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของหมู่บ้าน/ชุมชน รวมทงั้ สถานการณก์ ารจดั การขยะมลู ฝอยในพ้ืนที่ (2.4) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการลด และคดั แยกขยะ เชน่ กจิ กรรม Big Cleaning Day กจิ กรรม รณรงค์ให้ประชาชนในพื้นท่ีลดการใช้ถุงพลาสติก โฟม และ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เปน็ มิตรต่อสิง่ แวดล้อม หรอื กิจกรรมท่เี ป็นประโยชน์ด้านสิง่ แวดล้อมต่อชุมชน แผนปฏิบตั ิการจัดการขยะมลู ฝอยชุมชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 28

เป้าหมายของจังหวัด กจิ กรรมหลัก* หนว่ ยงานรับผิดชอบหลัก หนว่ ยงานสนบั สนุน (2.5) เปน็ ส่ือกลางในการประชาสัมพันธเ์ พ่ือขอ ความ - สถจ. - สถอ. ร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ภาคราชการ ภาค - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน - สถจ. การศึกษา ภาคศาสนา ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้ - สถอ. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนในการจัดการมูลฝอย - สถจ. ในหมบู่ ้าน/ชมุ ชน - สถอ. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน 2. ด้านการจดั การขยะกลางทาง - สถจ. - สถอ. 2.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1) สำรวจสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยว - อปท. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน - สถจ. ร้อยละ 100 มีภาชนะรองรบั ขยะ มูล ในพื้นทีร่ ับผิดชอบเพ่ือประเมนิ สถานการณ์และเตรียมการ - สถอ. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ฝอยแบบแยกประเภทในที่สาธารณะ จดั หาภาชนะ และ/หรอื สถานท่ีทอ่ งเที่ยวทกุ แห่ง (2) จัดหาภาชนะรองรับขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท - อปท. ในสวนสาธารณะและสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบ ให้ครบทกุ แหง่ (3) จัดหายานพาหนะขนส่งขยะมูลฝอยและพนักงาน - อปท. ประจำรถให้เพียงพอกับปริมาณขยะมูลฝอยท่ีเกิดข้ึน (4) ตรวจสอบและปอ้ งกันไมใ่ หข้ ยะมลู ฝอย น้ำ หรือส่งิ อน่ื - อปท. ที่เกิดจากการขนส่งขยะมูลฝอยตกหล่น รั่วไหลออกจาก รถเก็บขนขยะมูลฝอย (5) การทำความสะอาดยานพาหนะให้มีความสะอาด - อปท. เป็นประจำทกุ ครัง้ ทมี่ กี ารขนส่งขยะ แผนปฏิบัติการจดั การขยะมลู ฝอยชมุ ชน “จังหวัดสะอาด” จังหวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 29

เป้าหมายของจังหวัด กจิ กรรมหลัก* หน่วยงานรบั ผดิ ชอบหลกั หนว่ ยงานสนบั สนุน - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน 2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (1) มีการกำหนดวัน เวลา สถานที่ และเส้นทางเก็บขน - อปท. - สถจ./สถอ. ร้อยละ 80 มีการวางระบบการเก็บ โดยสามารถทำเป็นปฏทิ ินการเก็บขน - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ขนหรือมีประกาศเก็บขนขยะมูลฝอย (2) ทำประชาพจิ ารณ์ เพ่ือแจ้งใหป้ ระชาชนในองคก์ ร - อปท. ใหส้ อดคล้องกับพื้นทที่ ี่มกี ารเกบ็ ขน) ปกครองสว่ นทอ้ งถนิ่ ทราบโดยทัว่ กนั 2.3 หมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ (1) จัดให้มีจุดรวบรวมหรือถังขยะอันตรายอย่างน้อย - อปท. - สถจ./สถอ. 100 มีการจัดตั้ง “จุดรวบรวมขยะ หมู่บา้ น/ชุมชนละ 1 แหง่ - อบจ. อันตรายชมุ ชน” - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน (2) กรณีพื้นที่ที่สนับสนุนนโยบายไร้ถังจะต้องจัดให้มี - อปท. - สถจ./สถอ. ระบบหรือนวัตกรรมการรวบรวมขยะอันตราย - อบจ. ที่ครอบคลุมพื้นท่ที กุ หมบู่ ้าน/ชมุ ชน - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน (3) รายงานการจัดตั้งจุดรวบรวมขยะอันตรายชุมชน - อปท. - สถจ. ผ่านระบบสารสนเทศกรมส่งเสรมิ การปกครองทอ้ งถิ่น - สถอ. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน 3. ด้านการจัดการขยะปลายทาง - สถจ./สถอ. 3.1 ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้น (1) อปท. จัดอบรมการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์จากขยะ - อปท. - ทสจ. - ภาคเอกชน และเก็บขนได้ในปีงบประมาณ แก่ประชาชนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ เช่น โซฟาถังขยะ - หมูบ่ ้าน/ชุมชน - ภาคประชาชน - จงั หวัด พ.ศ. 2563 ร้อยละ 80 ได้รับ โต๊ะเก้าอี้เครื่องใช้ภายในบ้านจากไม้เก่า เตาเผาไร้ควัน - สถจ./สถอ. - ทสจ. การจัดการอย่างถูกต้องตามหลัก ไสเ้ ดือนดนิ ทำสารบำรุงดนิ เปน็ ต้น - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน วิชาการ (2) อปท. จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเห็น - อปท. คุณค่าของขยะก่อนนำไปทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ เช่น ผ้าป่า รไี ซเคลิ การลอ่ งเรือเกบ็ ขยะ กจิ กรรม Big Cleaning Day กิจกรรมทำสารบำรุงดิน น้ำหมักชีวภาพ กิจกรรมร้าน รับซื้อของเก่าสีเขียว กจิ กรรมธนาคารขยะชุมชน ธนาคาร แผนปฏบิ ตั ิการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” จังหวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 30

เปา้ หมายของจังหวดั กิจกรรมหลัก* หน่วยงานรับผดิ ชอบหลัก หน่วยงานสนับสนุน ขยะโรงเรียน ศูนย์รีไซเคิลชุมชน กิจกรรมขยะแลกไข่/ - จงั หวดั - ศกึ ษาธิการจังหวดั ส่งิ ของ กจิ กรรมตลาดนดั มอื สอง เปน็ ตน้ - สถจ. - ทสจ. (3) สถานศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัด อปท. - สถานศกึ ษาในสงั กดั อปท. ทกุ แห่ง - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน และโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ตลอดจนสถาบันการศึกษา - อปท. - ทกุ หนว่ ยงานในจังหวดั ในพื้นที่ จัดกิจกรรมให้ความรู้ 3Rs หรือ 3 ช คือ วิธีการ - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน ลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะ การนำขยะมูลฝอย - ปค. กลับมาใช้ประโยชน์ให้แก่เด็ก นักเรียน และนักศึกษา - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน และการอำนวยความสะดวกให้แก่โรงเรียน สถานศึกษา - ภาคประชาชน - ปค. วัด หรือหน่วยงานราชการในพื้นที่ โดยการจัดตั้งภาชนะรองรับ - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน แบบแยกประเภท ทง้ั นี้ เพื่อส่งเสริมใหม้ ีการคัดแยกขยะ - ภาคประชาชน (4) ขอความร่วมมือ “ประชารัฐ” ตั้งแต่ภาคราชการ - จังหวดั ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคศาสนา ภาคประชาสังคม/ ภาคประชาชน ร่วมดำเนินการขับเคลื่อนการจัดกิจกรรม ลดการใชถ้ ุงพลาสติก โฟม และรณรงคใ์ หใ้ ช้ถงุ ผา้ (5) สนับสนุนให้มีการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้คัดแยก - อปท. ขยะมูลฝอยรายย่อย เชน่ ซาเล้ง ร้านค้าของเกา่ เครือข่าย ชมุ ชน เขา้ มาบริการในหมบู่ า้ น/ชมุ ชน (6) อปท. ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จัดการรวมกลุ่ม - อปท. ประชาชนที่สมคั รใจตั้งเป็นกล่มุ บรหิ ารจดั การขยะ และจัดหา สถานที่ทำการกลุ่ม รวมทั้งนัดหมายผู้ค้าของเก่ารับซื้อ หรือกลุ่มจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนขยะเป็นเงินหรือสิ่งของ ทีม่ มี ลู ค่า อย่างน้อยเดือนละ 1 ครง้ั แผนปฏิบตั กิ ารจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จังหวัดสะอาด” จังหวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 31

เปา้ หมายของจังหวัด กจิ กรรมหลกั * หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบหลกั หน่วยงานสนบั สนนุ - จังหวัด (7) ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการ - อปท. - หอการคา้ จงั หวดั - สภาอุตสาหกรรมจงั หวัด ภาคเอกชน ลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติกและโฟม - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน ห ร ื อ น ำ ถ ุ ง พ ล า ส ต ิ ก แ ล ะ โ ฟ ม ก ล ั บ ม า ใ ช ้ ป ร ะ โ ย ช น์ - จงั หวัด - ภาคเอกชน หรอื ขอความรว่ มมอื จากภาคเอกชนไม่ใช้ถุงพลาสติกใส่สินค้า - ภาคประชาชน - สถจ. และใหส้ รา้ งแรงจูงใจให้แก่ประชาชน ในการใชถ้ งุ ผา้ แทน - ทสจ. - สสภ. (8) จดั ตงั้ ศนู ยแ์ ลกเปลี่ยนเรียนร้กู ารจัดการขยะมลู ฝอย - อปท. - คพ. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ชุมชน - สถจ. (9) ปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ดำเนินการ - อปท. - ทสจ. ไม่ถูกต้อง ให้มีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง - สสภ. โดยกระบวนการต่างๆ ดังนี้ การฝังกลบเชิงวิศวกรรม - คพ. (Engineer Landfill) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน (Sanitary Landfill) เตาเผาที่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ การแปรรปู เพื่อผลิตพลังงาน (WTE) การหมกั ปยุ๋ (Compost) การแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง (RDF) การกำจัดขยะมูลฝอย แบบเชิงกล – ชีวภาพ (MBT) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน และเตาเผา ขนาดน้อยกวา่ 10 ตนั /วัน ท่ีมรี ะบบกำจัดอากาศเสีย (10) รวบรวมตัวเลขปริมาณขยะที่ อปท. เก็บขนไปกำจัด - อปท. ที่ระบบกำจัด หรือประสานขอตัวเลขปริมาณที่บ่อหรือระบบ กำจัดของเอกชนที่ อปท. จ้างเก็บ/ขน/กำจัด จัดทำเป็น ฐานข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของ อปท. และรายงานข้อมลู ผ่านระบบสารสนเทศ สถ. รวมทั้งรายงานข้อมูลผ่าน ทสจ. เพอ่ื รวบรวมให้ สสภ. รายงานข้อมลู ผา่ นระบบสารสนเทศของ คพ. แผนปฏิบัตกิ ารจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 32

เป้าหมายของจังหวัด กิจกรรมหลัก* หน่วยงานรับผดิ ชอบหลัก หนว่ ยงานสนบั สนุน - สถจ.สถอ. (11) ในกรณีที่พื้นที่นั้นๆ ไม่มีระบบการให้บริการจัดเก็บ - อปท. - ทสจ. - สสภ. ขยะมูลฝอย ให้ อปท. ส่งเสริมประชาชนกำจัด - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ขยะมูลฝอยภายในครวั เรือนอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ - สถจ./สถอ. - ทสจ. โดยคำนึงความเหมาะสมของพื้นที่ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ - สสภ. - คพ. และผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อม - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน 3.2 ขยะมูลฝอยตกค้างได้รับ (1) ปิด/ปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ดำเนินการ - อปท. - สถจ. การจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ไม่ถูกต้อง และนำขยะมูลฝอยตกค้างไปจัดการอย่างถูกต้อง - ทสจ. - สสภ. โดยกระบวนการต่าง ๆ ได้แก่ การฝังกลบเชิงวิศวกรรม - คพ. (Engineer Landfill) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน (Sanitary Landfill) เตาเผาที่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ การแปรรูปเพอื่ ผลิตพลงั งาน (WTE) การหมกั ปยุ๋ (Compost) - สถจ. การแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง (RDF) การกำจัดขยะมูลฝอย - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน แบบเชิงกล – ชีวภาพ (MBT) การฝังกลบแบบเทกองควบคุม (Control Dump) ขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน และเตาเผา ขนาดน้อยกว่า 10 ตัน/วนั ทม่ี ีระบบกำจดั อากาศเสยี (2) รวบรวมตัวเลขปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างได้รับ - อปท. การจัดการอย่างถูกต้อง เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล การจัดการขยะมูลฝอยของ อปท. และรายงานข้อมูล ผ่านระบบสารสนเทศ สถ. รวมทั้งรายงานข้อมูลผ่าน ทสจ. เพื่อรวบรวมให้ สสภ. รายงานข้อมูลผ่านระบบ สารสนเทศของ คพ. 3.3 กลุ่มพื้นที่ในการจัดการ (1) กลุ่ม Clusters แต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการขยะ - อปท. มูลฝอย (Clusters) ขององค์กร ของกลมุ่ แผนปฏิบัติการจดั การขยะมลู ฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” จงั หวดั พงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 33

เปา้ หมายของจังหวัด กิจกรรมหลัก* หน่วยงานรับผดิ ชอบหลัก หนว่ ยงานสนับสนนุ - สถจ. ปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 (2) คณะทำงานประชุมกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ - อปท. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ใ น แ ต่ ล ะ จั ง ห วั ด มี การจัดทำ และพจิ ารณาจัดทำแผนบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยของกลมุ่ - สถจ. - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน แผนการจัดการขยะมูลฝอย (3) จัดทำแผนดำเนินการบริหารจัดการขยะมูลฝอยกลุ่ม - อปท. โดยผ่านการพิจารณาจาก Clusters - สถจ. คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและ - ภาคเอกชน/ภาคประชาชน (4) คณะกรรมการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยพิจารณาให้ - อปท. มลู ฝอยจงั หวัด ขอ้ เสนอแนะแผนของกล่มุ Clusters *หมายเหตุ กจิ กรรมหลักเป็นแนวทางเพอื่ ใชด้ ำเนินการ ซง่ึ สามารถปรับเปล่ียนไดต้ ามความเหมาะสม แผนปฏบิ ตั ิการจดั การขยะมูลฝอยชุมชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวัดพงั งา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 34

มาตรการ แนวทาง และกิจกรรมสง่ เสรมิ และสนบั สนุนการบรหิ ารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ต้ังแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง กิจกรรมหลกั * หนว่ ยงานรบั ผดิ ชอบหลกั หน่วยงานสนบั สนุน 1. ประชาสมั พนั ธใ์ ห้ความรู้ สรา้ งความตระหนักใหบ้ ุคลากรในสังกัด เดก็ เยาวชน และประชาชน - ทกุ หนว่ ยงานทุกสังกดั ในจังหวัด - จว./ทสจ. - สถจ./สถอ. ทว่ั ไปเขา้ มามสี ่วนร่วมและตระหนักในการจดั การปญั หาขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางจนถงึ ปลายทาง - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน 2. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์การลด คัดแยกขยะมูลฝอย การลดใช้ถุงพลาสติก การใช้ผลิตภัณฑ์ - ทกุ หนว่ ยงานทกุ สงั กัดในจงั หวดั ทีเ่ ป็นมิตรตอ่ สิง่ แวดลอ้ มในสำนักงานอย่างเป็นรปู ธรรม - จว./ทวจ. - สถจ./สถอ. 3. สำนักงานจดั ให้มีภาชนะรองรบั มูลฝอยแบบแยกประเภทใหเ้ พยี งพอในสำนักงาน - ทกุ หนว่ ยงานทกุ สังกัดในจงั หวัด - หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาสงั คม 4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรมโครงการการลด - หน่วยงานในสงั กัดกระทรวงการ - จว./ทสจ. และคดั แยกขยะมูลฝอยให้กบั นักท่องเท่ียว ผู้ประกอบการในพ้ืนท่ีแหล่งท่องเทย่ี ว และส่งเสริมให้ ทอ่ งเทย่ี วและกีฬาในจังหวดั - สถจ./สถอ. - ภาคเอกชน ผ้ปู ระกอบการดำเนนิ การตามมาตรฐานดา้ นสิ่งแวดลอ้ มในแหล่งท่องเทย่ี ว - ภาคประชาชน 5. สอดแทรกเน้ือหาในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับ เพอ่ื สร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ - ทกุ หนว่ ยงานในสังกัด - จว. - ภาคเอกชน การจดั การขยะมลู ฝอยทุกระดับ กระทรวงศึกษาธิการ - ภาคประชาชน - ทุกสถานศึกษาสงั กัด อปท. - ศกึ ษาธิการจังหวัด - สถจ./สถอ. - ทุถกสถานศึกษาในสงั กดั ศธ - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน 6. สร้างความรู้ความเข้าใจเชิงรุกอันดีให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดการต่อต้านจากประชาชน - ทกุ หนว่ ยงานในสงั กดั มท. - สถ. ในประเด็นปัญหาเรื่องการก่อสร้างระบบการกำจัดขยะมูลฝอยและผลกระทบด้านต่าง ๆ - ภาคเอกชน - ภาคประชาชน จากการก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอย แผนปฏิบัตกิ ารจดั การขยะมูลฝอยชมุ ชน “จังหวดั สะอาด” จังหวัดพังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หนา้ 35

กิจกรรมหลัก* หนว่ ยงานรบั ผิดชอบหลัก หน่วยงานสนบั สนุน 7. ศึกษา วิจัย ประยุกต์ และพัฒนาทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสมกับพื้นที่ - สถ. - วท./คพ. /พพ. - ภาคเอกชน ปริมาณ และองค์ประกอบขยะมูลฝอย รวมถึงส่งเสริมและขับเคลื่อนให้เกิดการรวมกลุ่มพื้นที่ - ภาคประชาชน จดั การขยะมลู ฝอย (Clusters) อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ - สถ./สถจ./ภาคเอกชน 8. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการรายงานขอ้ มลู การบรหิ ารจดั การขยะมูลฝอย - อปท. - ทส. -ภาคเอกชน/ภาคประชาชน 9. อบรมและพัฒนาบุคลการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถและศักยภาพ - สถ. - ทส. ในการจดั การขยะมลู ฝอยอย่างมีประสทิ ธภิ าพ - อปท. - หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาสังคม 10. สร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนและประชาชนในพื้นที่ ในการเสนอแนะ - จงั หวดั - สถ. แลกเปลีย่ นเรยี นรู้ รว่ มตัดสนิ ใจและร่วมมอื การดำเนินการโครงการทีเ่ กีย่ วข้องกับการแก้ไขปัญหา - สถ. - ภาคประชาชน ขยะมูลฝอย - สถจ./สถอ. - หน่วยงานภาคเอกชน 11. สร้างกลไก และเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ติดตาม และตรวจสอบการจัดการขยะมูลฝอย - จงั หวัด และภาคประชาสงั คม โดยการมสี ่วนร่วมจากภาคประชาชน - สถจ. - อปท. 12. ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ประกวดและให้รางวัลองค์กรและบุคคลที่มีจิตสำนึกและผลงาน - คณะกรรมการจดั การสิง่ ปฏิกูลและ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยดีเด่นเช่น หน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครอง มลู ฝอย ส่วนทอ้ งถ่นิ หม่บู า้ นชุมชน 13. การปรบั ปรงุ ภูมิทศั น์สายทาง - อปท. *หมายเหตุ กิจกรรมหลกั เปน็ แนวทางเพ่ือใชด้ ำเนินการ ซงึ่ สามารถปรบั เปลี่ยนไดต้ ามความเหมาะสม แผนปฏบิ ตั ิการจัดการขยะมูลฝอยชมุ ชน “จงั หวดั สะอาด” จงั หวดั พังงา ประจำปี พ.ศ. 2563 หน้า 36


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook