Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงาน การเขียนบนสมุดไทย

รายงาน การเขียนบนสมุดไทย

Published by Thitimakorn Phraprathum, 2021-07-23 01:11:20

Description: ilovepdf_merged

Search

Read the Text Version

การเขยี นบนสมดุ ไทย กรชวัล ศกึ สงคราม ธิติมากร พระประทมุ พรวดี พงศ์ชาญบญุ มี สุทศั น์ สงิ หแ์ กว้ พรรวะษา ดอมไธสง ขวญั ชนก ศรนี าท เสนอ อาจารย์สชุ าวดี เกษมณี รายงานเลม่ น้เี ป็นส่วนหนึง่ ของวชิ า ETH 103 พัฒนาการของวรรณคดีไทย มหาวิทยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถมั ภ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564



การเขยี นบนสมดุ ไทย กรชวัล ศกึ สงคราม 63121010001 ธิตมิ ากร พระประทมุ 63121010009 พรวดี พงศ์ชาญบุญมี 63121010010 สทุ ัศน์ สงิ ห์แก้ว 63121010016 พรรวะษา ดอมไธสง 63121010022 ขวญั ชนก ศรนี าท 63121010028 คณะครุศาสตร์ สาขาวชิ าภาษาไทย เสนอ อาจารยส์ ชุ าวดี เกษมณี รายงานเลม่ น้เี ปน็ สว่ นหนึ่งของวชิ าแนวทางการศกึ ษาวรรณคดไี ทย มหาวทิ ยาลยั ราชภฏั วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ ภาคเรยี นที่ 1 ปีการศกึ ษา 2564

ก คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาพัฒนาการของวรรณคดีไทย ( ETH ๒๐๓) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรู้การเขียนบนสมุดไทย โดยหัวข้อที่เราจะทำการศึกษานั้น ได้แก่ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลเวิธีการเขียนบนสมุดไทย การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร บนสมุดไทย การสืบค้นและรวบรวมข้อมูลการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ส่งผลต่อพัฒนาการ ของวรรณคดีไทยอย่างไร เป็นต้น อีกทั้งการจัดทำรายงานในหัวข้อดังกล่าว นอกจากจะเป็น ประโยชน์ต่อตัวของคณะผู้จัดทำแล้ว ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจอยากจะศึกษาในหัวข้อ เดียวกันนี้อีกด้วย ในการจัดทำรายงานการเขี ยนบนสมุดไทยนี้ ทางคณะผู้จัดทำขอพระขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาวดี เกษมณี อาจารย์ผู้มอบความไว้วางใจให้เราได้จัดทำรายงานในหัวข้อ ดังกล่าว จนเรามีความสามารถที่จะทำรายงานฉบับนี้ได้สำเร็จสมบูรณ์ลุล่วงไปด้วยดี คณะผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างย่ิงว่า รายงานเล่มนี้จะมีประโยชน์แก่ผู้ที่ศึกษาทุกท่านไม่มากก็น้อย หากผิดพลาด ประการใด ขออภัยมา ณ ท่ีนี้ คณะผูจ้ ดั ทำ วนั ท่ี ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ข สารบญั หน้า คำนำ ก สารบัญ ข การเขียนบนสมดุ ไทย 1 1 การศกึ ษาค้นควา้ วธิ ีการเตรยี มอปุ กรณ์การทำสมุดไทย 2 การบันทกึ เป็นลายลักษณ์อกั ษรในสมุดไทย 3 การทำสมดุ ไทยเริ่มข้ึนเมอื่ ไหร่ การบันทกึ ลายลกั ษณ์อักษรสง่ ผลต่อการพัฒนาการวรรณคดขี องไทยอยา่ งไร 4 จงอภปิ รายพรอ้ มยกตวั อยา่ ง 5 บทสรุป 6 บรรณานกุ รม 7 ภาคผนวก

๑ การเขียนบนสมดุ ไทย ในปัจจุบันหนังสือสมุดไทยหรือสมุดไทยจัดว่าเป็นเอกสารโบราณ เป็นโบราณวัตถุ ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ เป็นสิ่งของหายากและไม่ปรากฏว่ามีการผลิตวัสดุนี้ขึ้นใหม่มารองรับการเขียนอีก นับว่าเป็นเอกสารโบราณที่สำคัญ เป็นผลผลิตของคนไทยในสมัยโบราณที่มีคุณค่ายิ่ง ทั้งในเนื้อหาสาระ รูปแบบของหนงั สือสมุดไทย รวมทั้งงานศิลปกรรม ท่ีปรากฏในแต่ละเล่ม การศกึ ษาคน้ คว้าวิธกี ารเตรยี มอปุ กรณ์การทำสมดุ สมุดไทยมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ไม่มีการเย็บเล่มเหมือนหนังสือในปัจจุบัน เพียงแต่ใช้ กระดาษยาวแผ่นเดียวแลว้ พับกลับไปมาจะให้หนงั สือมีขนาดหนาหรือบางขึ้นอยู่กับการใช้งานโดยทั่วไป แล้วหนังสือสมุดไทยมีอยู่สองแบบ คือ “สมุดไทยดำ”กับ “สมุดไทยขาว” เพราะเรียกตามสีของสมุด โดยถ้าต้องการทำสมุดขาวให้นำแป้งเปียกไปผสมกับน้ำปูนขาวกวนให้สุกแล้วทาบบนกระดาษ จะได้ออกมาเป็นกระดาษสีขาวถ้าเป็นสมุดดำให้นำแป้งเปียกที่ผสมเขม่าไฟหรือกาบมะพร้าวที่เผาไฟ ไปผสมกับน้ำปูนขาวจะได้ออกมาเป็นกระดาษสีดำ จากนั้นนำไปตากให้แห้งสนิทแล้วนำกระดาษมาขัด ให้เรียบและขึน้ มนั ดว้ ยหนิ จึงค่อยนำไปพับเพื่อทำสมดุ ในสมัยก่อนตน้ ไม้ที่นำมาทำกระดาษคือ ต้นสา ทางภาคเหนือนิยมนำมาทำเรียกว่า กระดาษสา อกี ชนิดหนึ่งคอื ตน้ ขอ่ ยกระดาษทไ่ี ด้จากต้นข่อยน้นั นำมาทำเป็นสมุดไทยทใี่ ช้เขยี นตวั อักษรและเขียนภาพ เชน่ ภาพพระมาลยั หรือทศชาติชาดก เปน็ ตน้ นอกจากน้ยี งั มกี ระดาษแผ่นบาง ๆ ทีย่ งั ไมไ่ ด้ทำเป็นรูปเล่ม เรียกว่า กระดาษเพลา 1. เครือ่ งมอื ท่ใี ช้เขียน ไดแ้ ก่ 1.1 ปากกาทำจากไมห้ รอื ขนไก่ แล้วนำไปบากให้เป็นร่องเพ่อื ให้น้ำหมกึ เดนิ ได้ 1.2 ดินสอขาว ได้มาจากดินสอพองชนิดหนึ่ง มีเนื้อละเอียดแข็งสีขาว เมื่อนำมาใช้ ในการเขยี นจะตอ้ งเลือ่ ยให้เป็นแทง่ เล็ก ๆ ก่อนนำมาใช้

๒ 2. สนี ำ้ หมกึ ท่ีใช้ในการเขียนสมุดไทย ไดแ้ ก่ 2.1 น้ำหมกึ สดี ำ ทำจากเขมา่ ไฟบดละเอยี ดผสมกบั กาวยางมะขวดิ 2.2 นำ้ หมกึ สขี าว ทำจากเปลอื กหอยมกุ ฝนหรือบดให้ละเอียดผสมกบั น้ำยางมะขวิด 2.3 น้ำหมกึ สีแดง ทำมาจากชาดผสมกบั กาวยางมะขวดิ 2.4 น้ำหมึกสีทอง โดยน้ำหมึกชนิดนี้ต้องเขียนด้วยกาวจากยางไม้แล้วนำทองคำเปลว ปิดบนกาว ถึงจะได้สีทองที่เงางาม การบันทึกเปน็ ลายลกั ษณอ์ ักษร คนไทยโบราณนิยมเขียนตัวอักษรใต้เส้นบรรทัด เนอื่ งจากสมุดไทยแต่ละเล่มไม่มมี าตรฐานในการกำหนด ขนาดความกว้างยาวของหน้ากระดาษ จำนวนหน้า และไม่มีเส้นบรรทัด ดังนั้นการเขียนหนังสือแต่ละคร้ัง จึงไม่จำกัดว่าหน้าหนึ่งจะต้องมีจำนวนบรรทัดเท่าใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เขียนหนังสือที่นิยม และพบมากที่สุด คือ ๓ - ๔ บรรทัด เมื่อจะเขียนหนังสือต้องขีดเส้นบรรทัดไว้ก่อน โดยใช้ตะกั่วนมเหลาแหลม ขีดเส้นบรรทัด ซึ่งต้องกำหนดความถี่ห่างของช่องไฟระหว่างบรรทัดให้ได้ระดับเสมอกันทุกเส้นบรรทัด ตลอดทงั้ เล่มสมดุ และต้องใหม้ ีทพ่ี อสำหรับการเขยี นตัวอกั ษรใตเ้ สน้ บรรทดั เน่ืองจากรูปลักษณะของสมุดไทยมีหลายประเภท และใช้วัสดุหลายชนิดเขียนตัวหนังสือ ทำให้มกี ารเรียกชอ่ื สมุดไทย ทีแ่ ตกต่างกันไป โดยอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ วิธเี รยี ก คือ ๑. เรียกช่ือสมุดตามประโยชนท์ ี่ใช้ เชน่ สมุดถือเฝา้ สมดุ รองทรง สมดุ ไตรภูมิ 1.1 สมุดถือเฝ้า คือ สมุดที่ใช้บันทึกเรื่องราวหรือข้อราชการอันจำเป็นสำหรับ อา่ นถวายพระเจ้าแผ่นดนิ ในท่เี ฝา้ หรือสำหรับจดบนั ทกึ พระราชกระแส หรอื ข้อราชการตา่ ง ๆ 1.2 สมุดรองทรง คือ หนังสือสมุดไทยที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ ส่วนมากจะมีรูปทรง และขนาดเทา่ กับสมดุ ถอื เฝ้า 1.3 สมุดไตรภูมิ คือ หนังสือสมุดไทยที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เขียนเรื่องไตรภูมิโดยเฉพาะ เป็นสมุดขนาดใหญ่กวา้ งประมาณ ๒๘ เซนติเมตร และยาวประมาณ ๕๑ เซนตเิ มตร

๓ ๒. เรียกชือ่ สมดุ ตามสีของเส้นอักษรท่ปี รากฏในเล่มสมดุ เช่น สมุดดำเสน้ ขาว สมดุ ดำเส้นหรดาล สมดุ เสน้ รง สมดุ เสน้ ทอง สมุดขาวเสน้ ดำ เป็นตน้ การทำสมดุ ไทยเริ่มขึน้ เมือ่ ไหร่ สมุดไทยเริ่มแรกเชื่อว่าทำมาจากกระดาษสา เป็นกระดาษทำมือที่ถูกนำเข้ามาพร้อมกับ พุทธศาสนา เพื่อใช้ทำบันทึกหลักคำสั่งสอนทางศาสนา จนกลายเป็นกระดาษพื้นเมืองในภาคเหนือ จากนั้นวิธีการผลิตกระดาษได้แพร่หลายไปทั่วประเทศ เราจึงมีสมุดไทยทำมาจากเปลือกไม้ หลากหลายชนิดที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นต่าง ๆ โดยในเอกสารโบราณท่ีบันทึกข้อมูลความรู้บนกระดาษ แบบไทยแท้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าเริ่มมีสมุดไทยตั้งแต่เม่ือไหร่ แต่มีการพบหลักฐานของสมุดไทย ฉบับท่ีเก่าแก่ท่ีสุด คือ หนังสือสมุดไทยดำ เรื่องพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2223 ตรงกับรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นักประวัติศาสตรกันเช่ือว่า ยงั มีหลักฐานทเ่ี ก่าแก่กว่านั้นอกี มาก แต่อาจเป็นเพราะกระดาษมคี วามเสื่อมสลายเร็ว ฉกี ขาด เปอ่ื ย และถกู ทำลายงา่ ยกวา่ เอกสารโบราณประเภทอน่ื ความนิยมในการใช้สมุดไทยเขียนหนังสือได้ส้ินสุดลง เมื่อปลายรัชกาลที่ 6 พร้อมกับการเขา้ มา ของ\"สมุดกระดาษฝรั่ง\" หรือสมุดและกระดาษ ในรูปแบบที่ใช้กนั อยูใ่ นปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่หนังสือสมุดไทย มีความคงทนถาวรและอายุการใช้งานที่ยืนยาวกว่า อีกทั้งยังปลอดภัยจากหนอนแมลงกัดกินทำลาย ได้มากกว่า แต่น่าจะเป็นเพราะสมุดฝรั่งใช้งานสะดวกกว่าสมุดไทย สมุดฝรั่งจึงครอบครองส่วนแบ่ง ทางการตลาดไปแบบเหมาคนเดยี วท้งั หมด สมดุ ไทยหรอื สมุดข่อยแบบโบราณได้คอ่ ย ๆ เสอื่ มคลายความ นยิ มลงโดยลำดับ ในปัจจุบัน สมุดไทยและเอกสารโบราณต่าง ๆ มีสำนักหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอจดหมายเหตุ แห่งชาติ และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ๆ ในการดูแลเอกสารสำคัญ ทางประวัติศาสตรเ์ หล่าน้ี โดยผ้ทู ่สี นใจสามารถเขา้ ไปดศู กึ ษาเพ่มิ เติมได้

๔ การบันทึกลายลักษณ์อักษรส่งผลต่อการพัฒนาการทางวรรณคดีของไทยอย่างไร จงอภิปราย พร้อมยกตัวอยา่ ง 1. ทำใหเ้ กิดความม่ันคงทางวรรณกรรม วรรณกรรมมุขปาฐะเป็นการเล่ากนั ผ่านปากต่อปาก ทำใหเ้ ร่ืองราวอาจมกี ารบิดเบือนไปเร่ือย ๆ แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร อันประกอบไปด้วยร้อยแก้วและร้อยกรอง ทำใหส้ ามารถจำแนกและระบุชนดิ ของวรรณกรรมได้ รวมถึงยงั เป็นหลักฐานทส่ี ำคญั ในจดบันทึก 2. เนอ้ื หาของวรรณกรรมเกิดความผิดเพยี้ นนอ้ ยลง เน่ืองจากมกี ารบันทึกไว้เป็นแบบลายลักษณ์อกั ษร ทำใหว้ รรณกรรมส่วนใหญ่สามารถตรวจสอบ แหล่งที่มารวมถึงข้อมูลของผู้แต่งได้ หากเป็นวรรณกรรมแบบมุขปาฐะน่าจะยากต่อการตรวจสอบ เนื่องจากเป็นวรรณกรรมที่เล่ากันผ่านปากต่อปาก อาจมีการแต่งเสริมเติมเนื้อเรื่องเพือ่ อรรถรส ทำให้ยาก ต่อการตรวจสอบข้อมูลของเรื่องทแี่ ทจ้ ริง 3. วรรณกรรมบางเรือ่ งสามารถเป็นหลกั ฐานทางประวตั ศิ าสตร์ได้ โดยวรรณกรรมบางเรอื่ งมกี ารจดบันทึกความถูกต้องในเรื่องของเวลา จดหมายเหตุ โดยเปน็ หลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ประเภทพงศาวดาร ซึ่งแตกต่างกับจดหมายเหตุตรงที่เป็นการบันทึกร่วมสมัย บง่ บอกเกี่ยวกับวันเวลาทม่ี ีเหตกุ ารณ์เกดิ ขึ้น มลี ักษณะเด่นในเร่อื งของการให้รายละเอยี ด พรอ้ มท้ังแทรก ความคดิ เหน็ ของผู้บนั ทกึ ลงไปดว้ ย 4. เกิดความเจรญิ งอกงามทางด้านวรรณกรรม เนื่องจากเเต่เดิมน้ันการเขยี นเปน็ ไปเพ่ือการจดบันทกึ สำหรบั ไว้ใช้ประโยชนใ์ นด้านใดดา้ นหน่งึ ที่ไม่ใช่เพื่อเน้นทางด้านความบันเทิง แต่หลังจากมีการจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ โดยอาจจะเป็นการจด บันทึกเรื่องราวของวรรณกรรมแบบมุขปาฐะหรือเรื่องราวที่เคยได้พบเห็น ผนวกกับการใช้กลวิธี ในการแต่ง ทำให้ความนิยมในงานเขียนวรรณกรรมเพิ่มมากขึ้น และเกิดการสร้างสรรค์งานเขียน ในรูปแบบใหมข่ ้นึ มากมาย 5. วรรณกรรมกอ่ ให้เกิดความเจรญิ ทางด้านสื่อมวลชน เมื่อมีตัวอักษรเป็นการรบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้ความผิดเพี้ยนในเนื้อหานั้นน้อยลง การใช้ตัวอกั ษรถือเป็นสื่อท่ีมวลชนเข้าถึงได้งา่ ยและมคี วามนา่ เช่ือถือ นอกจากน้ีวรรณกรรมยังกอ่ ให้เกดิ ส่ือในรปู แบบต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเปน็ ส่อื หนังสือพิมพ์ ส่ือละครโทรทศั น์ ส่อื ภาพยนตร์ เป็นตน้

๕ สรุป การเขียนสมุดไทยมีมานับตั้งแต่สมัยโบราณกาล เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย ซึ่งได้สร้างสรรค์ และประดิษฐ์สมุดไทยเพื่อจดบันทึกข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ ในยุคสมัยนั้น และถ่ายทอดออกมาเป็นมรดก อันทรงคณุ คา่ มาจนถึงปัจจุบันให้เราได้ศกึ ษา สมดุ ไทยจงึ เปน็ มากกว่าสมุดใช้จดบนั ทึก ถือได้ว่าเป็นแหล่ง อ้างอิงสรรพวิชาความรู้ต่าง ๆ และเป็นหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษไทย ท่ตี อ้ งการจะรวบรวมความรู้ไว้เพอ่ื ใหเ้ ป็นประโยชน์ตอ่ คนรุ่นหลังไดศ้ กึ ษา

บรรณานกุ รม

บรรณานกุ รม บรษิ ัท มตชิ น จำกัด (มหาชน). (2561). สมุดไทย “สมัยกอ่ น”. [Online]. เขา้ ถึงข้อมูลไดจ้ าก : https://www.silpa-mag.com/culture/article_16185. (2564, 14 กรกฎาคม). ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์. (2551). หนงั สือโบราณของไทย. [Online]. เข้าถงึ ขอ้ มลู ได้จาก : https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=32&chap=3&pa ge=t32-3-infodetail12.html. (2564, 14 กรกฎาคม). ศลิ ป์สมดุ Art of Bookbinding. (2562). สมุดไทย งดงามล้ำค่าไม่แพ้สมดุ ใด ๆ ในโลก. [Online]. เข้าถงึ ขอ้ มูลไดจ้ าก : https://esla.facebook.com/103818831096200/ posts/120639502747466/. (2564, 14 กรกฎาคม). อภิญญานชุ เผา่ พงษ์คลา้ ย. (2564). เอกสารโบราณหนังสือสมดุ ไทย มรดกทางภมู ปิ ญั ญา ของคนไทย. [Online]. เขา้ ถึงข้อมลู ได้จาก : https://es-la.facebook.com/10381 8831096200/posts/120639502747466/. (2564, 14 กรกฎาคม).

ภาคผนวก

ภาคผนวก พระยากสิการบัญชา (เล็ก บุราวาศ) อธิบายถึงชนิดและขนาดของสมุดไทยไว้ในปาฐกถาเรื่อง การทำกระดาษขอ่ ย (พระยากสกิ ารบญั ชา, 2477 :22-23) ไว้ดังนี้ “ การที่จะทำเล่มสมุดนั้น เรียกหลายชนิด ที่เรียกกันว่าสมุด 50 มาลัยตัด สมุด 40 และสมุด 40 ไขหน้า เสน้ ตอก และสมุด 30 สมดุ โหร สมดุ คบื การเขา้ เล่มสมุดน้ี ผู้ทำมแี บบทุกชนิด ท่ีเรียกสมุด 50, 40, 30 เหลา่ นี้คอื สมุด 50 กลีบ 40 กลบี 30 กลบี หรือจะเรียกอีกอยา่ งวา่ สมดุ 100 หนา้ 80 หน้า 60 หน้า สมุดโหรคือสมุดที่โหรจดปฏิทิน และสมุดคืบคือสมุด 11 กลีบ แบบสมุดพระมาลัย กว้างราว 13 ½ เซ็นต์ ยาวราว ๆ 65 เซน็ ต์ สมุด 40 ไขหนา้ เส้นตอก กว้าง 12 ½ เซ็นต์ ยาว 35 เซน็ ต์...” การบันทึกหนังสือสมุดไทยหรือสมุดไทย เนื่องจากสมุดไทยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สมดุ ไทยขาวและสมุดไทยดำ การบันทกึ ตวั อักษรหรอื ภาพลงบนสมุดไทยแต่ละชนดิ จงึ ตอ้ งใชว้ ัสดุต่างกัน ดังน้ี 1. สมุดไทยขาวเส้นหมึกดำ เขียนด้วยหมึกจีนหรือเขม่าไฟผสมกับกาวยางไม้ลงบนกระดาษขาว ซึ่งส่วนมากเป็นสมุด 40 ไขหน้า สมุดไทยขาวเส้นหมึกปรากฏหลักฐานแพร่กระจายอยู่ตาม วัดวาอารามตา่ งๆ ท้งั ในพระนครและหวั เมอื ง สว่ นมากเนือ้ กระดาษข่อยคุณภาพไมด่ ี มที ั้งหนังสือประเภท ตำรายา เวทมนตรค์ าถา วรรณกรรม และแบบเรยี น เช่น ประถม ก กา ประถมมาลา เป็นต้น หนงั สือสวด สมุดไทยขาวเสน้ หมึกยังพบวา่ มีเสน้ สีแดง เสน้ สีเหลอื ง สอดแทรกเพม่ิ เตมิ อยู่ในเส้นหมกึ บางตอนดว้ ย 2. สมุดไทยขาวเส้นดินสอดำ เขียนด้วยดินสอดำซึง่ ในสมัยโบราณทำมาจากผงข้ีเถ้าแกลบบดอัดเป็นแท่ง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ไม่คงทน ทำให้สมุดไทยขาวที่บันทึกด้วยดินสอดำชำรุดลบเลือนในเวลาอันรวดเร็ว จึงไดร้ ับความนยิ มน้อย 3. สมุดไทยดำเส้นทอง เป็นการบันทกึ ตวั อกั ษรลงในสมุดไทยดำที่ประณีตงดงามดว้ ยการใช้กาวที่ได้จาก ยางไม้เขียนตัวอักษรลงบนสมุดแล้วปิดทับด้วยทองคำเปลว ทำให้เส้นทองลวดลายเป็นสีทองอร่าม เช่น ต้นฉบับสมุดไทยบทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งอาลักษณ์ ในแผ่นดิน กรุงธนบุรีเปน็ ผชู้ ุบเมื่อพทุ ธศักราช 2323 4. สมุดไทยดำเส้นมุก เป็นการใช้ผงเปลือกหอยมุกบดละเอียด ผสมกับรงเขียนตัวอักษรเป็นเส้นมุก แวววาว แล้วปิดทองคำเปลวทบั เชน่ บางสว่ นของตน้ ฉบับสมดุ ไทยในหนงั สอื จนิ ดามณี

5. สมุดไทยดำเส้นหรดาล หรดาลเป็นวัตถุธาตุชนิดหนึ่ง มีสีเหลืองสด บางชนิดอมแดง ต้องนำมาบด ให้ละเอียดตามกรรมวิธี แล้วผสมกับกาวยางมะขวิด นำไปเขียนตัวอักษรลงในสมุดไทยดำ เอกสารสมุดไทยของราชสำนักกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ท่ีอาลักษณ์เป็นผู้ชุบ ส่วนมากเป็นสมุดไทยดำเส้นหรดาล 6. สมุดไทยดำเสน้ รง รงเป็นยางไม้ชนิดหนึ่ง มีสเี หลอื งอมเขยี ว นำมาบดละเอยี ดผสมกาวยางมะขวิด 7. สมุดไทยดำเสน้ ดนิ สอ ดินสอ หมายถงึ ดินขาว วสั ดทุ นี่ ำมาทำเป็นดินสอสำหรับเขียนลงใสสมุดไทยดำ มหี ลายชนิด เช่น ดนิ สอพอง ดนิ สอแกว้ และดนิ สอศิลาซงึ่ เปน็ ศิลาเนื้อออ่ นชนิดหนึ่ง ตัวอักษรมีลักษณะ คล้ายฝ่นุ สขี าวหรอื ขาวอมเหลอื ง เป็นต้น


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook