Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่-3-วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง-2562

บทที่-3-วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง-2562

Published by ธนภัทร ทรงพลนภจร, 2021-10-11 07:41:38

Description: บทที่-3-วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง-2562

Search

Read the Text Version

บทท่ี ๓ วรรณคดสี มัยอยธุ ยาตอนกลาง อาณาจักรอยุธยาตอนกลางเริ่มข้ึนนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (บางตำราว่านับตั้งแต่ สมเด็จพระเจา้ ทรงธรรม) จนถึงสมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงระหว่าง พ.ศ. ๒๑๗๒ จนถึง พ.ศ.๒๒๓๑ รวมเวลา ๕๙ ปี โดยเฉพาะในรชั สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น ถอื ว่าเป็นช่วงเวลาท่ีอยธุ ยาเจริญรุ่งเรอื ง ในทกุ ๆ ด้าน รวมทั้ง ดา้ นการประพันธว์ รรณคดี จนขึน้ ชอ่ื วา่ เป็น “ยคุ ทองแหง่ วรรณคดี” แผนทีอ่ าณาจกั รอยธุ ยา สมยั สมเดจ็ พระนารายณ์ วาดโดยชาวต่างชาติ พระราชวงั ลพบรุ ี ราชธานีแห่งที่ ๒ ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ๕.๑ อยุธยาตอนกลาง : ยุคทองแหง่ วรรณคดี รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับการยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เพราะมีนักปราชญ์ราชกวี และวรรณคดีเกิดข้ึนมากมายในเวลาเพียงรัชกาลเดียวน้ี นับแต่องค์พระมหากษัตริย์ คือ สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช จนถึงบุคคลชั้นผู้น้อย ท้ังชายหญิง เช่น นายประตูต่างพากันสนใจวรรณคดีและสามารถสร้างสรรค์ วรรณคดีสำคัญหลายเร่ือง ราชสำนักของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประชุมกวีนักปราชญ์โดยมี พระมหากษตั ริยเ์ ป็นองคอ์ ปุ ถมั ภ์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสวยราชสมบัติระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙ ถึง พ.ศ. ๒๒๓๑ ทรงเป็นกษัตริย์ที่ ปรีชาสามารถในการปกครองและทรงปราดเปร่ืองในการกวี กรุงศรีอยุธยาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในช่วง เวลาหน่ึงมีการทำสงคราม เม่ืออยุธยารบชนะเชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๒๐๕ ต่อจากน้ันบ้านเมืองก็สงบราบคาบ ตลอดรัชกาล ทรงปกครองบ้านเมอื ง ศาสนา ศลิ ปะ และวฒั นธรรมใหเ้ จริญร่งุ เรอื ง ๑

ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์น้ี มีชนชาติต่างศาสนาเข้ามาค้าขาย และเผยแผ่ศาสนามากเป็นพิเศษ เช่น ฮอลนั ดา อังกฤษ และฝรง่ั เศส สมเด็จพระนารายมหาราชทรงส่งราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ท่ี ๑๔ ของฝร่ังเศส และทรงแต่งตั้งชาวกรีกผู้หนึ่งเป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงสนพระทัยความเจริญอย่างยุโรป เช่น โปรดฯ ให้มีการประปาท่ี พระราชวังลพบุรี คณะสอนศาสนาคริสต์ก็ได้รับพระราชทานเสรีภาพและพระบรมราชานุเคราะห์ให้เผยแพร่ ศาสนาคริสต์ได้อย่างกว้างขวาง มีการต้ังโรงพยาบาลรักษาคนไข้ และตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กสยาม ควบคู่กับศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันก็มีการแต่งหนังสือไทยข้ึนมาเล่มหนึ่งซ่ึงอาจนับได้ว่าเป็นหนังสือเรียน ภาษาไทยเล่มแรก คอื จนิ ดามณี วรรณคดีไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนับว่ารุ่งเรืองสูงสุดตั้งแต่มีการก่อต้ังอาณาจักร มี นักปราชญ์ราชกวีทำงานสร้างสรรค์ แต่งวรรณคดีเร่ืองต่าง ๆ กันอย่างขันแข็ง ประชาชนสนใจในกิจการงาน อย่างครึกครื้น จนกล่าวได้ว่าสมัยน้ัน หายใจเป็นกลอน เกิดวรรณคดีประเภทใหม่ ๆ ข้ึนอีก หลายชนิด เช่น กาพย์ห่อโคลง นิราศและกาพยข์ บั ไม้ เป็นต้น เหตแุ หง่ ความเจริญอาจมาจากปจั จยั ต่อไปนี้ ๑. เหตุการณ์บ้านเมืองช่วยให้วรรณคดีเจริญ เวลาน้ันมีบาทหลวงเข้ามาสอนศาสนาคริสต์มาก สมเด็จ พระนารายณ์ จึงทรงส่งเสริมให้นักปราชญ์ช่วยกันแต่งหนังสือเพ่ือโน้มน้าวใจมิให้คนไทยหันไปเข้ารีตศาสนา ครสิ ต์ ๒. สมัยนั้นไทยชนะเชียงใหม่ การได้ชัยชนะในสงครามย่อมดลใจให้กวีแสดงความช่ืนชมออกมาเป็นกวี นิพนธ์ ๓. สมัยนั้นกวีได้รับความโปรดปรานจากพระมหากษัตริย์ พระองค์เองทรงเป็นกวี ทรงจัดราชสำนักเป็น ที่ชุมชนกวีและทรงชุบเลี้ยงกวีเป็นอย่างดี พึงสังเกตได้จากประวัติของศรีปราชญ์ กวีในรัชสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราชมีหลายคนต่างทำงานอย่างจริงจัง พระมหาราชครู ปุโรหิต ของพระมหากษัตริย์แตง่ เสือโคคำฉันท์ และสมุทรโฆษคำฉันท์ตอนต้น พระโหราธิบดีแต่งอนิรุทธ์คำฉันท์ พระศรีมโหสถแต่งกาพย์หอ่ โคลงและโคลง ยอพระเกียรตสิ มเดจ็ พระนารายณ์มหาราช เปน็ ต้น วรรณคดใี นสมยั อยธุ ยาตอนกลาง มดี ังนี้ (บางเร่อื ง บางตำราอาจได้รับการจดั ไว้ในสมยั อยธุ ยาตอนต้น) ๑)๑ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ - ๒๒๓๑) หนงั สือทท่ี รงพระราชนพิ นธ์ คือ ๑.๑ สมทุ รโฆษคำฉันท์ ตอนกลาง ๑ บางตำรากล่าวว่า วรรณคดีเรอ่ื งแรกในสมยั อยธุ ยาตอนกลาง เปน็ พระราชนพิ นธใ์ นสมเดจ็ พระเจา้ ทรงธรรม(พ.ศ. ๒๑๖๓ - ๒๑๗๑) คอื เรอ่ื ง กาพย์ มหาชาติ ๒

๑.๒ โคลงสุภาษติ พาลสี อนน้อง โคลงทศรถสอนพระราม และโคลงราชสวสั ด์ิ ๑.๓ คำฉนั ท์กล่อมช้าง ข้อสันนิษฐานประการหนงึ่ กล่าวกนั ว่าสมเดจ็ พระนารายณ์ฯ ทรงพระราช นพิ นธ์ ๒) พระมหาราชครู หนังสอื ที่แต่ง คอื ๒.๑ เสอื โคคำฉนั ท์ ๒.๒ สมทุ รโฆษคำฉันท์ ตอนต้น ๒.๓ เรอื่ งเฉลมิ พระเกียรติพระเจ้าปราสาททอง ๓) พระโหราธบิ ดี หนังสือท่ีแต่ง คอื ๓.๑ จินดามณี ๓.๒ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอกั ษรนติ ิ ๔) พระศรีมโหสถ หนงั สอื ท่ีแต่ง คอื ๔.๑ โคลงอกั ษรสามหมู่ ๔.๒ โคลงเฉลมิ พระเกยี รตพิ ระนารายณม์ หาราช ๔.๓ กาพย์ห่อโคลง ๔.๔ นิราศนครสวรรค์ ๕. ศรปี ราชญ์ หนังสอื ที่แต่ง คอื ๕.๑ อนิรทุ ธ์คำฉันท์ ๕.๒ โคลงเบ็ดเตล็ดอนื่ ๆ ๖. ขนุ เทพกวี หนงั สอื ท่ีแต่ง คอื ๖.๑ คำฉนั ท์ดุษฎีสังเวยกล่อมชา้ ง ๕.๒ วรรณคดเี รอื่ งสำคัญในสมัยอยธุ ยาตอนกลาง ๕.๒.๑ สมุทรโฆษคำฉนั ท์ ผู้แตง่ พระมหาราชครู สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช และสมเดจ็ พระมหาสมณเจา้ กรมพระปรมานุชิตชโิ นรส ความเป็นมา เป็นวรรณคดีท่ีอาศัยเค้าความเร่ืองในชาดก ชื่อ ปัญญาสชาดก วรรณคดีเร่ืองนี้แต่งกันมายาวนาน คือสมัยกรุงศรี คออื ยสุธมยเาดจ็จนพถรึงะสมมหัยากรราุงชรคัตรนู ตโกอสนินตท้นรส์เพมรเดา็จะพว่ารสะอนงาตรอายนณแร์มกหทา่ีรแาตช่งสพมรัยะกรราุงชนิพนธ์ตอนกลางและสมเด็จพระมหา สศมรณอี ยเจธุ ้ายการนมน้ั พยรงั ะไมป่จรบมามนาชุ แติ ตชง่ ิโจนนรจสบแในตสง่ ตมอัยนรัชปกลาาลยทจ่ี ุด๓มผงุ่ ูแ้หตมง่าจยึงใมนีก๓ารคแนตง่ เพื่อใหเ้ ล่นหนังใหญ่ในวาระท่ีมีงาน ๓

รูปแบบการแตง่ แต่งเป็นคำฉนั ท์ ๑๑ ฉันท์ ๑๒ ฉันท์ ๑๔ ฉันท์ ๑๕ ฉันท์ ๑๙ และฉันท์ ๒๑ โดย ไม่ได้บอกชื่อฉันท์และไม่มีการเคร่งครัดในครุลหุ นับเป็นฉันท์เรื่องแรกท่ีนำมาบรรยายชาดกในทาง พระพุทธศาสนา อนั เป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ปางหนึ่ง ซ่ึงเคยเป็นนิยายเล่าสืบต่อกันมา ก่อนกวีนิพนธ์ทุก ตอนมีความประณีตบรรจงมอี รรถรสไพเราะก่อนกวีนิพนธ์ทุกตอน ดว้ ยฉันท์และกาพย์ จบลงดว้ ยโคลงส่สี ุภาพ วรรณคดีเร่อื งนี้ไดร้ บั การยกย่องจากวรรณคดีสโมสรวา่ เปน็ ยอดของวรรณคดีประเภทฉนั ท์ เริ่มต้นของเร่ืองเป็นคำนมัสการไหว้ครู แล้วจึงดำเนินเน้ือเรื่อง กล่าวถึงคร้ังที่พระพุทธเจ้า เสวยพระชาตเิ ป็นพระสมุทรโฆษ ตวั อยา่ งคำประพันธ์บางตอน คำสอนท่ีใหป้ ระชาชนปฏิบัติในชีวติ ประจำวันน้ัน วรรณคดีไทยสมยั อยุธยา เนน้ เรื่องศลี หา้ มปี รากฏอยู่ทัว่ ไป ดังโคลงท่ีพรรณนาไว้ในสมุทรโฆษคำฉนั ท์ วา่  โอวาทนสุ าสนบำเพญ็ ศีลเบญจพร้อมเพรยี ง ไพร่ฟา้ สขุ ารมยเพยี ง จักรพรรดิผา่ นสุธา ฯ เนอ้ื เร่อื งย่อ พระสมทุ รโฆษเสด็จไปคล้องชา้ งและไดพ้ กั พลใตต้ ้นโพธิ์ ตกกลางคืนพระโพธิ์ได้ อุ้มพระสมทุ รโฆษไปอย่กู ับนางพินทุมดี ครั้งรงุ่ เชา้ กอ็ ุ้มกลับ ทงั้ สององค์ต่างโหยหากนั พเ่ี ลย้ี งช่ือรัตนธารี ได้วาดรูปพระสมุทรโฆษนางก็จำได้ ต่อมาพระบิดาของนางจัดพิธีสยุมพร โดยเชิญกษัตริย์ต่าง ๆ มาร่วม ประลองความสามารถ พระสมทุ รโฆษชนะการประลองได้อภิเษกกับนางพินทมุ ดี พระสมุทรโฆษกับนางพินทุมดีเสด็จไปใช้บน (แก้บน) ที่ศาลเทพารักษ์ พบพิทยาธรตนหนึ่งถูกทำร้าย ตกลงมาในอุทยาน พิทยาธรได้มอบพระขรรค์ซึ่งมีฤทธ์ทิ ำให้เหาะได้แก่พระสมุทรโฆษ ท้ังสององค์ชวนกันเหาะ ชมป่าหิมพานตแ์ ละไดน้ อนพักบน แท่นหิน พิทยาธรอกี ตนหนง่ึ ลักพระขรรค์ไป ทงั้ สององค์เหาะกลบั เมอื งไม่ได้ ตอ้ งเดนิ ดน้ั ด้นไปกระท่ังพบแม่น้ำขวางหน้าจึงเกาะขอนไมว้ ่ายขา้ มฝ่งั แต่กเ็ กิดพายุพดั ทำใหข้ อนขาดจากกนั นางเมขลาเทวดาชว่ ยอุม้ พระสมุทรโฆษข้ึนฝ่ังและช่วยใหไ้ ด้พระขรรคค์ นื มา สว่ นนางพินทมุ ดีว่ายขนึ้ ฝั่ง ได้ก็ปลอมตัวเอาเครื่องประดับไปขาย แล้วนำมาสร้างศาลาที่พักคนเดินทาง พร้อมท้ังวาดรูปเรื่องราวของนาง และพระสมุทรโฆษ จนถึงขอนขาดจากกันให้คนเฝ้าศาลาและสังเกตดูว่า ชายใดมาเห็นภาพเหล่านี้แล้วร้องไห้ ให้รบี ไปบอกนาง ตอ่ มาพระสมุทรโฆษมาเห็นก็ร้องไห้ สององค์จงึ ได้พบกัน พระสมุทรโฆษพานางพินทุมดีเหาะ กลับเมอื งและครองเมอื งอย่างมคี วามสุข ๔

แนวคิด แนวคิดสำคัญของเร่ืองนี้คือ บุคคลใดสร้างกรรมไว้อย่างไรก็ต้องรับผลกรรมน้ัน (ดังที่พระ สมุทรโฆษเคยสร้างกรรมในชาติก่อนด้วยการแกล้งให้เรือของสามเณรล่ม จงึ ต้องได้รับผลของกรรมคือเกิดพายุ พัดให้ขอนไม้ขาดพระสมทุ รโฆษและนางพนิ ทุมดตี ้องพลดั พรากจากกนั ) ๕.๒.๒ โคลงทศรถสอนพระราม วรรณคดีเร่ือง ทศรถสอนพระราม เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกล่าวถึง หลักปฏิบตั ิของกษตั รยิ ์ผู้ครองเมอื งท่พี ึงมีต่ออาณาประชาราษฎร์ ในเนื้อเรื่องท้าวทศรถซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระรามได้ส่ังสอนหลักการปกครองไว้หลาย ประการ เช่น ใหร้ ักและบำรุงเลี้ยงราษฎรในปกครองดังพ่อและแม่ มเี มตตา กรณุ า รู้จักใหร้ างวลั ละความโกรธ มคี วามยตุ ธิ รรมไม่เบียดเบียนราษฎร ฯลฯ พระเจ้าแผ่นดิน แท้จริงกค็ ือ การสอน เรื่อง “ทศพธิ ราชธรรม” หรือ หลักปฏิบตั ิตวั ตามขนบธรรมเนยี มประเพณที ่พี ระเจ้าแผ่นดนิ พึงปฏบิ ตั อิ ยา่ งเครง่ ครัด ๑๐ ประการ นั่นเอง โคลงเรื่องน้แี ต่งเป็นโคลงสสี่ ุภาพและมีขนาดส้ันเพยี ง ๑๒ บทเทา่ น้นั ตวั อย่างคำประพนั ธบ์ างตอน (๑)  ทศรถยศยิง่ ไท้ ทุกสถาน ชมชดิ สนิทเสนห่ ก์ าร เลิศแล้ว ในพระชมมานสาร รามเทพ เรยี กรอ้ งสนองเสนอแกว้ ลบู ไล้ประโลมสอน ฯ (๒)  เจา้ จกั รักราษฎร์เลยี้ ง บรุ ีรมย์ ให้สุขศรีปรีดิชม ชอบใช้ เสมอบุรนิ ทรอ์ นิ ทร์อดุ ม พรหเมศ อาสจั ธรรมถลันให้ เทียบแท้ประมูลมวล ฯ (๓)  ประเสรฐิ เลศิ โลกลน้ โลกา จงจติ มิตรกรุณา แนไ่ ว้ เป็นต้นกลพฤกษา เสมอเมฆ อายตุ ธิ รรมนัน้ ให้ สัตว์ซรอ้ งสขุ เกษม ฯ (๔)  อาณาประชาราษฎร์ท้งั กรุงไกร จักสุขเกษมเปรมใจ ชืน่ ช้อย ไมตรีท่ีประชุมใน นรนาถ ๕

เป็นบษุ บาปรากฏรอ้ ย กลิ่นกลมุ้ ขจรจาย (๕)  รางวลั สรรพส่งิ ให้ ไทยทาน เหมือนกลผลพฤกษาหวาน เลยี่ นล้ำ เป็นทภ่ี ริ มยส์ าร เกษมราษฎร์ เสนีพริ ยี พลน้ำ จิตซอ้ งสรรเสริญ (๖)  ครองภพลพโลกลำ้ ศภุ ผล ระงับดับกงั วลกล โกรธเกรีย้ ว โลภอวิชชาผจญ มนทโมหะ กำจดั สลัดสละเลยี้ ว อย่าได้ประมลู มา (๗)  จกั เพยี รเบยี นราษฎร์รอ้ น อยา่ ทำ จงสลัดตดั ผจงคำ ว่าไว้ ขันตีเปน็ ท่นี ำ ประมูลสขุ เปน็ สวสั ด์ิพิพัฒให้ เลิศล้ำใดเสมอ (๘)  บรกั ษ์อาณาจกั รทัง้ แดนไตร ด้วยจติ สนทิ เสน่หใ์ น ผ่องแผว้ ดัง่ บิดามารดรใจ ใสสทุ ธิ์ รกั ษาธิดาบตุ รแลว้ เลศิ ล้ำใครเสมอ (๙)  ความผิดมิตรโทรหเท้ยี น อาธรรม จงประคองปอ้ งกันสรรพ ช่วั ชา้ โทษหนกั สลักแสลงปัน ผจงปลิด หยดุ ยั่งรังรักหลา้ แบง่ ใหท้ เุ ลาเบา (๑๐)  สตั วใ์ ดไว้โทษรา้ ย หนูนหนา เวรกรรมพร่ำผดงุ มา หอบให้ อยา่ เอาเขาระคนสา ระพนั เพ่มิ เสมออาตม์ระดมไล้ ลบู แล้วชโลมลง (๑๑)  เจ้าจงปลงรกั ษ์เรอ้ื ง บุรรี มย์ อย่างนศี้ รสี วัสดิชม เฟือ่ งฟา้ เสมอสวรรคช์ นั้ บรมพรหม สุธาวาส ผลไวใ้ นหตั ถ์หล้า โลกล้วนสรรเสริญ ๖

(๑๒)  บุตรรักอัคเรศเจ้า ผจงจำ ในรสพจนคำอัม- ฤตน้ี เราเผ่าสรุ ยิ ำทำ มามาก ตามระบอบประกอบกลชี้ ชอบไวใ้ นตระกลู ๕.๒.๓ โคลงพาลีสอนน้อง โคลงพาลีสอนน้องเป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่สอนเก่ียวกับหลักการรับ ราชการ เน้ือความกล่าวถึงเรื่อง รามเกียรติ์ โดยนำเร่ืองของพาลีมาอ้างว่าก่อนส้ินชีวิต พาลีได้สั่งสอนสุครีพ น้องชายและองคตลูกชายถึงหลักในการปฏิบัติต่อองค์พระมหากษัตริย์ เช่น ให้จงรักภักดี อย่าโกรธเคือง พระมหากษัตริย์ให้เข้าเฝ้าโดยสม่ำเสมอ รู้จักประมาณตน มีความกล้าหาญ อาสาเจา้ นายออกรบ เป็นต้น พาลี สอนให้น้องและองคตให้จงรักภักดีต่อเจ้านาย ทำตามสั่ง แม้งานท่ีทำจะส่งผลให้ตายก็ให้ทำ ไม่ยุ่งเก่ียวกับ ทรัพย์สนิ ในคลัง รู้จักพูด ไมท่ ำตัวเสมอเจา้ นาย เรื่องนีถ้ ือเปน็ จริยศาสตร์สำคญั ของไทย ทที่ รงส่ังสอนคนไทย โคลงพาลีสอนนอ้ งแตง่ ด้วยโคลงสสี่ ภุ าพ ๓๒ บท ตัวอย่างคำประพนั ธบ์ างตอน เลยกระบลิ (๑)  พาลมี ีเดชลำ้ แบง่ ปนั้ เป็นเหลา่ ธบิ ดินทร์อนิ ทร์ บรุ นิ ทราช ผ่านแควน้ แดนขิดขนิ ฟากฟา้ สธุ าสถาน ฯ ปรากฏยศยงช้ัน พาลี (๒)  วานรวรราชเร้ือง แนง่ น้อง เรียกอนชุ อดุ มศรี ใจเสนห่ ์ องคตยศยงมี ถ่ีถว้ นขบวนความ ฯ มากลา่ วพจนารอ้ ง ชนนี (๓)  ตัวเจ้าเผา่ น้องเนือ่ ง ห่อนแล้ว ในจิตสนิทเสนห่ ์มี พิตนาศ พีช่ ายจะวายชี เนตรเน้ือหทั ยางค์ ทง้ั สองสนองเสนอแก้ว ๗

(๔)  สององค์จงรักด้วย ภกั ดี เป็นทาสบาทจกั รี เลิศลำ้ องคตยศยงศรี เสมอเนตร อาหลานท่านพึงปลำ้ ปลกู เล้ียงประโลมกนั (๕)  เฝ้าแหนแสนเสนห่ ์ดว้ ย ใจจง ธิบดนิ ทรป์ ่นิ รฆุวงศ์ ก่ายเกล้า อยา่ คิดจะนทิ รปลง ยาวยดื วา่ สนกุ สขุ เกษมเชา้ คำ่ คุ้ยตะคุยนอน (๖)  หน่ึงคอยชะรอยเล่ห์ไท้ เรืองราม สงิ หนาทอาจไถถ่ าม ถถี่ ้อย ทลู พดิ กจิ กลความ ตามสัตย์ อย่าขานการเบานอ้ ย เน่ืองเน้อื คดีตรง (๗)  เฝ้าไทอย่าได้อ่า โอองค์ อย่าแตง่ แน่งนอ้ ยผจง นอบนอ้ ม ทีท่ างกลางโรงปลง ผดุงอาตม์ ณ โรงคัลบนั โดยด้อม อย่าไดส้ ามผลาม (๘)  นกั สนมกรมชะแมแ่ ม้น สาวสวรรค์ นางในไพบลู ย์พรรณ แนง่ น้อย เฝ้าไทภทู รงธรรม ธปิ ราช อย่าใฝ่ในเสน่ห์คล้อย เนตรเลย้ี วเลียมแสวง ……. (๑๐)  ชอบทูลมลู เหตหุ ั้น จ่ึงทลู มิชอบประกอบอาดูร หยดุ ยง้ั เกรงนเรนทรสูร เคืองค่อง หฤทยางคห์ มางหมน่ ตั้ง แตร่ ้อนสกนธก์ รม (๑๑)  หน่ึงอาสน์ธิราชไท้ ทรงธรรม ทองสุกมุกดาสรรพ กอ่ งแก้ว กระหนกรตั น์จำรัสวรร โณภาส อย่าฝืนขึน้ เล่นแลว้ อวดอา้ งทรองิ อร ๘

(๑๒)  นยั หนงึ่ พึงเฟา้ ทา้ ว นฤบดี อย่าใกลน้ กั ศักดศิ รี ท่านไท้ ทะนงจะจงมี ทวิโทษ อยา่ ไกลนัยเนตรให้ นเรนทรพ์ รอ้ งถามถึง (๑๓)  หนง่ึ เมือเฉลอื เปลยี งไปล รางวัล บำเหนจ็ เสรจ็ สรรพอนั ถี่ถว้ น อยา่ ทัดขดั ขวางธรร มิกราช จงคอยชะรอยตามล้วน เลห่ ล์ ้ำศภุ ผล (๑๔)  เมื่อเฝ้าเชา้ ค่ำคล้อย สกลกาล จงย่อมออมกระยาหาร หย่อนไว้ อยา่ กินส้ินเสร็จประมาณ ประมูลขนาด เกลอื กกวนปว่ นทอ้ งได้ ยากย้ายในวงั (๑๕)  หนึง่ ของกองโกศไว้ ในคลงั อยา่ คิดปดิ แสวงหวัง อาจเอ้ือม เอาออกนอกคลังรัง แรงโทษ อย่าได้มใี จเงอ้ื ม เง่ือนรา้ ยสลายคณุ .......... (๒๑)  หน่ึงไซรใ้ นเม่ือใช้ จงจำ แจงจดพจนำคำ ถ่ถี อ้ ย อย่าห่างทางสะเทอื นนำ เกยี จกล พดิ ทลู มลู คดรี อ้ ย สง่ิ ใช้ในการ .......... (๒๔)  แหนนกั มักกม้ อย่า เงยหงาย ซา้ ยขวาอยา่ กลบั กลาย กลอกหน้า อย่าหันผนั ผายหมาย ขลกุ ขลุ่ย ต้งั จติ นจิ ในชา้ อย่าแกล้งกลางสถาน .......... (๒๙)  สงครามยุทธ์แย้งอยา่ คดิ ขาม บุกบัน่ ประจัญบานตาม ต่อด้วย ๙

เขน่ ฆ่าอยา่ กลัวความ มรณาศ รกุ รน้ จนชีพมว้ ย จ่ึงอ้างอาจองค์ คำสอน (๓๐)  เสรจ็ การสารส่ังซ้ำ กล่าวไว้ นนี าถ ทงั้ สองสนองในกลอน อยา่ แคลว้ คลาไคล เฝ้าองค์ทรงศักดธิ ร อาหลาน ประนทิ ินส้ินจงได้ เรยี บไว้ (๓๑)  พจนำคำแกลง้ กล่าว เสมออาตม์ เฉลยไขในเบาราณ โลกรู้วนิ ยั เสนอ จงจำอมั ฤตสาร สกลไกร บรรยายคลายอรรถให้ ถถ่ี อ้ ย (๓๒)  พาลีมศี กั ด์ิพน้ พจนารถ กลอนกลา่ วราวอรรถไข โลกรสู้ รรเสริญ ท้งั สองสนองเสนอใน เปน็ เฉลิมเจมิ ภพร้อย ๕.๒.๔ จนิ ดามณี ผู้แต่งวรรณคดีเร่ืองน้ีคือ พระโหราธิบดี รับราชการในหน้าท่ีโหรหลวง อยู่ท่ีกรุงศรีอยุธยา หนังสือเร่ือง ตำนานศรีปราชญ์ของผแู้ ต่งชื่อ “พระปริยตั ิธรรมธาดา” กล่าวว่า พระโหราธิบดี เป็นบิดาของศรี ปราชญ์ สนั นิษฐานว่าทา่ นเปน็ ผู้แต่งเอกสารทางประวัติศาสตร์เล่มหนึ่ง คือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบบั หลวงประเสริฐอักษรนิติ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พวกมิชชั่นนารีฝรั่งเศสเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์และ วิชาการ จนมีการต้ังโรงเรียนสอนเด็กไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเกรงว่า คนไทยจะหันไปนิยมอย่างฝรั่ง จึงรับสั่งให้พระโหราธิบดีแต่งหนังสือจินดามณีขึ้นเพื่อให้คนไทยมีแบบเรยี นเป็นของตนเองและรวู้ ิชาอย่างไทย ไม่หันเหไปฝักใฝ่ชาวฝร่ัง ความมุ่งหมายในการแต่ง เพื่อใช้เป็นตำราให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและการแต่งคำประพันธ์ อาจนับได้ว่าจินดามณีเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรกที่ใช้เรียนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ หนังสือเล่มน้ียังเป็น การแต่งเพอ่ื เฉลมิ พระเกียรตยิ ศแหง่ องค์พระมหากษตั รยิ ์อันเป็นธรรมเนียมการแตง่ หนังสือแต่โบราณ ๑๐

การลำดับเนอ้ื หา เรมิ่ ข้ึนตน้ ด้วยร่ายสรรเสริญ กลา่ วถึงอักษรศัพท์ (ศพั ท์ต่าง ๆ ทีม่ ีเสยี งคล้ายกัน) ตัวอย่างคำท่ีใช้ ส ศ ษ ไม้ม้วน ไม้มลาย อักษรสามหมู่ การแจกลูก การผันอักษร ฯลฯ และยกตัวอย่าง จาก วรรณคดเี ก่า อาทิ ลิลติ พระลอ เปน็ ต้น ๑๑

๑๒

การแตง่ หนังสอื เล่มนี้พระโหราธิบดบี อกไว้วา่ แปลงตรงตำราฉนั ท์มาจากคัมภรี ์วตุ โตทัย  จบเสรจ็ สำเรจ็ ธเิ รื่อง บงั คบั จนิ ดามุนีฉบับ บอกแจง้ หนึ่งคอื อักษรศบั ท์ สงเขป ทงั วุดโตไทนนั้ แกล้ง กลา่ วไว้เปนครฯู ๕.๒.๖ เสือโคคำฉนั ท์ ผ้แู ต่งคือพระมหาราชครู ขุนนางช้ันสูงในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นับเป็นวรรณคดี ท่แี ตง่ ด้วยคำประพนั ธป์ ระเภทฉันทท์ ่ีจบบรบิ ูรณ์ เนื้อหาของวรรณคดีเรอ่ื งน้ีนำเค้าเร่ืองมาจาก พหลคาวีชาดก ในปัญญาสชาดก ทีภ่ ิกษชุ าวเชียงใหม่แต่งไว้ ข้อความในคำประพันธ์ตอนต้นเร่ืองที่มีว่า “กล่าวไว้เปนเฉลิม” ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าผู้แต่ง อาจมีจุดมุ่งหมายในการแต่งข้ึนเพื่อเป็นก่อให้เกิดศิริมงคล และอาจเป็นการทดลองดูว่าการนำคำประพันธ์ ประเภทฉันท์มาแต่งเป็นเรื่องยาวน้ันจะมีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด เพราะในสมัยต้น ๆ ของกรุงศรีอยุธยา มักนิยมแต่งฉันท์กันน้อย ลักษณะฉันท์ที่ใช้ก็เป็นฉันท์ชนิดท่ีแต่งไม่ยากนัก ไม่เคร่งครัดในคำครุ ลุหุ แต่ถือ จำนวนพยางคเ์ ปน็ สำคญั นอกจากน้ยี งั มีคำประพันธป์ ระเภทกาพยป์ ะปนอยู่ดว้ ย การดำเนินเนื้อหา เริ่มด้วยการกล่าวสรรเสริญคุณเทพยดา พระรัตนตรัย กษัตริย์ แล้วจึงเริ่ม เร่ือง โดยเล่าถึงตัวละครสำคัญในตอนต้นเร่ือง ได้แก่ แม่เสือ แม่โค อาศัยอยู่ในป่า วันหน่ึงแม่เสือออกไปหา อาหาร ลูกเสือหิวนม ลูกโคจึงสงสารจึงบอกแม่ให้ให้นมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูกโคจึงรักกันดุจพี่น้อง ลูกเสือ ขอให้แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำร้ายโคแม่ลูก เมื่อแม่ไม่รักษาสตั ย์จับแมโ่ คกิน ลูกเสือและลูกโคจึงช่วยกันสังหาร แมเ่ สือ แล้วออกไปหากินด้วยกนั จนพบพระฤาษี พระฤาษีเมตตาชุบให้เป็นคนเพ่ือจะไดม้ โี อกาสล้างบาปท่ีฆ่าแม่ ลูกเสือเป็นพ่ีชื่อพหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องช่ือคาวี พระฤาษีมอบพระขรรค์ให้ท้ังสอง คาวีได้ฆ่ายักษ์ที่ทำร้าย ชาวเมืองจึงได้นางสุรสุดา ธิดาท้าวมคธ แต่ก็ถวายให้แก่พหลวิไชย แล้วพี่น้องก็แยกจากกันโดยเส่ียงดอกบัวไว้ คนละดอกเพื่อบอกเหตุทุกข์ คาวีเดินทางไปพบเมืองร้างมีกลองใหญ่แต่ตีไม่ดัง ผ่าออกดูพบนางจันทร์ผมหอม ธิดาของท้าวมัทราช และนางแก้วเกสรแห่งรมยนคร เหตุท่ีเมืองร้างเพราะนกยักษ์ (นกอินทรีย์) มากินบิดา มารดาและราษฎร์ของนาง คาวีฆ่านกยักษ์ตายและได้นางจันทรเป็นชายา วันสงกรานต์นางจันทรสรงน้ำและ เอาผมใส่ผอบลอยน้ำไป ท้าวยศภูมิเมืองพัทธพิไสยเก็บได้จึงใช้นางทาสีไปนำตัวนางมาถวาย นางทาสีล้วง ความลับจากนางจันทร จึงทราบว่าฤาษีฝังชีวิตพระคาวีไว้ในพระขรรค์ นางทาสีนำพระขรรค์ไปเผาแล้วพานาง มาให้ท้าวยศภูมิ ท้าวยศภูมิเข้าใกล้นางไม่ได้ เน่ืองจากกายนางร้อนด้วยอำนาจความจงรักภักดีต่อพระคาวี ๑๓

พหลวิไชยเห็นดอกบัวอธิษฐานเห่ียว จึงออกเดินทางตามหาพระคาวี ช่วยชุบชีวิตให้ฟื้น แล้วออกตามหานาง จนั ทร พหลวไิ ชยแปลงเป็นฤาษีอาสาชุบทา้ วยศภูมิใหเ้ ป็นหนุ่ม แต่ฆ่าเสีย ให้พระคาวีออกมาแทน พระคาวีและ นางจันทรอภเิ ษกกันและครองเมอื งพทั ธพิไสย ตวั อยา่ งคำประพันธ์บางตอน บงกชบทเรืองรอง บทขึน้ ต้น สฤษดิโลกยสบสกล สัตวทัว่ ธราดล ๏ ข้าขอประนมกรประนต ตปรนตบชู า ธาดาวราฤทธจิ ำนอง บรมอิศวเรนทรา ๏ ธมั โมวโรรกั ษคชกั ไลยถวายนมัสการ เทวาสรุ าสุรอนน วัลในศิวาสถาน ๏ ข้าต้งั กฤษฎากรบังคม นวโิ รจรังษี เทเวนทรส์ ุเรนทราสุรา ดสิ มรรถทรงตรี ๏ เปนจอมมกุฏวสิ ุทธไก สิทธศิ กั ดิสังหรณ์ ศวาโมตมานดรฌาน วกิ สิตสาธร ๏ เดโชตโบฤทธติ ระศัก วรธรรมสายสานต์ ศุรางควชั ริ อันมี อยธุ ยาวโรฬาร ๏ ยอกรประนมนิยประดิษฐ์ ศขุ เกษมธเรศตรี ภูเบศวรานฤบดิศร วรพฤนทมากมี ๏ เปนปน่ิ บรุ ินทรามหมิ า นอุ นันตนฤมล สมบูรณภูลสวัสดกิ าล ชนคณะโจษจล ๏ เสนาคณานิกรนรนิ ยลนสุ นทราการ ไอยรารอัศวมณี กลนิตสิ ายสาร ๏ นานาประเทศและประชา วศิ าลประเศศโถ ฯ ทวาราวดรี ตั นดำกล ๏ ขอแถลงสำแดงกจิ ยุบล โดยในสภุ าสิตบรรหาร ๑๔

๏ โปฎกทง้ั สองเสอื โค จรอารัญโญ ประเทศมรรคาบหงึ แถวสถานสำนงึ ๏ คล้ายคลา้ ยลลี าลถุ ึง โดยบัญชรศรี สำนกั นกั สิทธิฤาษี นามาสู่สม ๏ เวลาทา่ นทอดทฤษฎี ออกไปด้วยพลัน อรญั ญกิ าอาศรม เทียรยอ่ มจะคดิ คด ๏ จง่ึ เหน็ ลูกเสือโคคม เอาเปนภกั ษพลนั สเิ นหเต้าตามกัน มติ รภาพกเู หน็ ๏ ดาบศก็ดาลอศั จรรย์ ฟังพจนนสุ นธิ์ กถ็ ามทั้งสองจัตุบท อันมีมาตาม ๏ อา้ ดูกรมฤคเอารส ประหัดประหารแก่กัน ๏ เสอื ครัน้ เห็นโคพกพนั ท์ บห่อนจะให้แวะเว้น ๏ ฤาสสู องสัตวมาเปน ดังน้ีกด็ าลดูฉงน ๏ สองสตั วกห็ ยุดแยงยล อันฤาษสี ทิ ธถิ าม ๏ พาลพยัคฆ์จง่ึ แสดงโดยความ ยุบลแตแ่ รกรงั รักษ์ คำประพนั ธป์ ระเภทโคลง  จบ จนจอมนาถไท้ คาวี บ พติ รเสวยบุรี รว่ มนอ้ ง ริ พลหมู่มนตรี ชมชื่น จติ นา บรู ณ์ บำเรอรกั ซอ้ ง แซ่ไหว้ถวายพรฯ ๑๕

 เสือโคโปฏกไท้ ทัง้ สอง สทิ ธฤิ าษสี มพอง เศกแสร้ง แลองคแ์ ลกุรงุ ปอง เปนป่ิน เมืองนา พระบรมครแู กลง้ กล่าวไว้เปนเฉลมิ ฯ คำประพนั ธป์ ระเภทกาพย์ฉบัง  ราชาพศิ เพีย้ นในคลอง ในรัตนเรอื นหลวง บมีสรุ างคนกิ ร ฯ  สงบสงัดเสียงศัพทอ์ ปั ศร แนง่ นางอรชร บมีบมานพานตา ฯ  จ่งึ เห็นกลองไชยราชา ไว้นา่ เหมา พิมลพมิ านแมนผจง ฯ  คาวีวรราชจำนง เอากรอันยง กระทบกระทมุ่ เภรี ฯ ๕.๒.๗ พระราชพงศาวดารฉบบั หลวงประเสรฐิ อักษรนิติ ผแู้ ต่งคือพระโหราธบิ ดี ขุนนางชั้นผ้ใู หญใ่ นราชสำนักสมเด็จพระนารายณม์ หาราช เร่ืองราวทเ่ี ล่า ถงึ การค้นพบเอกสารสำคัญทางประวตั ิศาสตรช์ ิ้นนี้ กล่าวกันว่าพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษณ์) เมื่อ ครั้งเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติ ได้ต้นฉบบั พงศาวดารศรีอยุธยาเป็นสมุดไทยตัวเขียนเก่าถึงสมัยกรุงศรอี ยุธยา มาจากบ้านราษฎรแห่งหนึ่งท่ีจังหวัดเพชรบุรี เม่ือ พ.ศ.๒๔๔๐ และได้นำข้ึนถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงทรงเรียกพงศาวดารนี้ว่า พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ไปพบ พงศาวดารฉบับนี้เรียบเรียง เมื่อ จ.ศ. ๑๐๔๒ (พ.ศ. ๒๒๒๓) ในรัชกาลสมเด็จพระ นารายณม์ หาราช ขอ้ ความในเอกสารท่ีบันทึกแสดงให้เห็นว่าพงศาวดารฉบับน้ีเรยี บเรียงโดยพระราชประสงค์ของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพ่ือรวบรวมจดหมายเหตุในที่ต่าง ๆ และพระราชพงศาวดารเข้าด้วยกัน ตามลำดับศักราช ทรงมีรับส่ังให้เรียบเรียงขึ้นเมื่อวันพุธขึ้น ๑๒ ค่ํา เดือน ๕ ปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๐๔๒ (พ.ศ. ๒๒๒๓) เนื้อความเริ่มต้ังแต่สรา้ งพระพุทธรูปพระเจ้าพนัญเชิง ในแผ่นดนิ สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ และ ความมาจบลงในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเม่ือทรงเตรียมทัพจะเสด็จไปตีอังวะ เป็นอันจบความ ใน ๑๖

ต้นฉบับสมุดไทยที่หลวงประเสริฐอักษรนิติ์เป็นผู้ค้นพบได้มา เข้าใจว่าคงจะมีความต่อไปอีกประมาณ ๑ เล่ม สมดุ ไทย ข้อความในตอนตน้ บันทึกไวว้ ่า ศภุ มัสดุ ๑๐๔๒ ศกวอก นักษตั ร ณ วัน ๔ ๑๒ ๕ คำ่ (พ.ศ.๒๒๒๓) ทรงพระกรณุ าตรัส เหนือเกล้าเหนอื กระหม่อมสั่งว่าใหเ้ อากฎหมายเหตุของพระโหราเขยี นไวแ้ ต่ก่อน แลกกฎหมาย เหตุ ซึง่ หาได้แต่หอหนังสอื แลเหตซุ ึง่ มีในพระราชพงศาวดารน้ันใหค้ ดั เขา้ ดว้ ยกนั เป็นแหง่ เดียว ลักษณะการเขยี นเป็นบันทึกปมู โหรเพื่อบอกเหตกุ ารณ์ตา่ ง ๆ สนั้ ๆ บางครั้ง บอกลางรา้ ยลางดี ตามลกั ษณะการทำนายของโหร เชน่ ศักราช ๘๕๐ วอกศก (พ.ศ.๒๐๓๑) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จไปเอาเมืองทวาย และเมื่อจะเสียเมืองทวายน้ันเกิดอุบาทว์เป็นหลายประการโคตกลูกตัวหนึ่งเป็นแปดเท้า ไก่ฟักไข่ สามค่องออกลูกเป็นหกตัว อน่ึงข้าวสารงอกเป็นใบ อน่ึงในปีเดียวนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสดจ็ นฤพาน ณ เมอื งพษิ ณุโลก ศักราช ๙๐๐ จอศก (พ.ศ.๒๐๘๑) แรกให้พูนดิน ณ วัดชีเชียงในเดือนหกน้ัน แรกสถาปนา พระพุทธเจ้าแลพระเจดีย์ เถิงเดือน ๑๑ เสด็จไปยังเชียงไกร เชียงกราน เถิงเดือน ๔ ขึ้น ๙ ค่ำ เพลา คำ่ ประมาณยามหน่ึงเกิดลมพายุพัดหนักหนาแลคอเรืออ้อมแก้วแสนเมืองมาน้ันหัก แลเรือไกรแก้วนั้น ทลาย อนึ่งเมื่อเสด็จมาแต่เมืองกำแพงเพชรน้ันว่าพระยานารายณ์คิดเป็นขบถ แลให้กุมเอาพระยา นารายณ์ นัน้ ฆ่าเสยี ในเมืองกำแพงเพชร ๑๗

๕.๒.๘ โคลงนิราศนครสวรรค์ ผู้แต่งคือพระศรีมโหสถ ตามหลักฐานแจ้งว่าแต่งเมื่อมีอายุได้ ๑๕ ปี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช มีจดุ มุง่ หมายในการแตง่ เพ่อื บันทกึ เหตกุ ารณ์เมอ่ื ครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสดจ็ ไปรับช้างเผือก ที่นครสวรรค์ เน้ือหาหลักเป็นการเล่าถึงการเดินทางตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการบรรยายถึง สถานทต่ี ่าง ๆ ท่ีได้เดนิ ทางผา่ น โคลงนิราศนครสวรรค์มีรูปแบบการแต่งเป็นร้อยกรอง ประกอบด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายเกร่ินนำ ๑ บท ในตอนต้นของเน้ือหา จากน้ันจึงดำเนินเน้ือความต่อด้วยโคลงสี่สุภาพ จำนวน ๖๙ บทกล่าวถึงการไหว้ครู ชม ปราสาทราชวังของกรงุ ศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ชมช้าง ชมม้า ทหาร ขบวนเรือพระที่นั่ง คร่ำครวญ ถงึ หญิงคนรักตลอดระยะทางจากกรุงศรอี ยุธยาถึงนครสวรรคโ์ ดยทางเรือ ๑๘

ตวั อย่างคำประพันธ์บางตอน  ขอเป็นปราโมทถ้วน หญิงชาย เหลือแหลเ่ ดินโดยสาย นา่ นน้ำ จรตามพระนารายณ์ จอมโลกย์ ทุกเทพจงชูค้ำ ชว่ ยให้สถาพร ฯ  คล้ายคล้ายใกลถ้ น่ิ ถี้ สลาขาว เรอื พวกพายไปฉาว อยูไ่ ซ้ ชมสวนเรียบเรยี งยาว ทิวทอ่ ง ไปนา พิศภริ มยไ์ มไ้ หล้ ร่มร้ืนเลขา ฯ  รอนรอนสรุ เยศได้ ยามศรี ยรุ ยาตรนาวาลี- ลาศเตา้ คลายสถานพิมานตรี- มขุ มาศ พระนา ถึงท่าคัลคลั เจา้ - แผน่ เหล้าเสวยรมย์ ฯ  ลถุ งึ บางน้ำซือ่ คำทอง นำ้ ปว่ นปงึ เป็นฟอง ควา่ งคว้าง แลลาญรำจวนสยอง พึงพศิ เร่งรบี พายพลขว้าง แม่นำ้ นองสินธุ์ ฯ  ดลแดนบางว่าไม้ มีพรรณ มากแฮ ดูระทวยนวยวนั โอบไม้ กลกรเจียมแจ่มจัน รัดรวบ เอ็วนา บางว่าวานวา่ ให้ อย่าชา้ ถงึ เมอื ง ฯ  คล้ายคล้ายลลี าศนำ้ ไหลหลาม หลั่งนา ถึงบ้านหอมเรือนงาม เง่อื นแต้ม เรอื ดรวดเรยี งตาม รมิ หลงิ่ ไปแฮ หอมดจุ หอมกลิ่มแกม้ นมิ่ เน้ือนวลศรี ฯ  เห็นวดั งิ้วเพ้ยี งพ่าง พรหมมาน แต่งนา นองนาคนใิ นสถาน ที่น้ัน งิว้ งามงอกใบบาน โอภาษ พรายแฮ ดุจฉัตรชัยกางกนั้ อาสน์เจา้ ไอสูรย์ ฯ ๑๙

๕.๒.๙ กาพยห์ ่อโคลงพระศรีมโหสถ วรรณคดีเรื่องนี้เช่ือกันว่าเป็นผลงานอีกเร่ืองหน่ึงของพระศรีมโหสถ ราชกวีในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช นับเป็นวรรณคดีท่ีแต่งด้วยรูปแบบคำประพันธ์กาพย์ห่อโคลงเร่ืองยาวเร่ืองแรกท่ีเหลือ หลักฐานไว้ให้ได้ศกึ ษากัน การแต่งกาพย์ห่อโคลงนั้นเป็นการแต่งให้ข้อความในกาพย์และโคลงคู่หน่ึง ๆ นั้นล้อกัน หรือมี เนอื้ ความคล้ายคลงึ กัน วรรณคดีเร่อื งน้ีแตง่ ดว้ ยกาพย์ยานสี ลับกบั โคลงสี่สุภาพ มที ้ังหมด ๓๖ บท สำหรับใช้ใน งานสมโภชชา้ งเผือกในสมยั สมเดจ็ พระนารายณ์มหาราช เน้ือความบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง ขนบธรรมเนียมประเพณี การเก้ียวพาราสีระหว่างชาย หญงิ และความสนุกสนานของชาวอยธุ ยา ตวั อย่างคำประพนั ธบ์ างตอน มามี่กอ้ งถ้องแถวทาง  หญิงชายหลายส่ำซ้อง รางชางแกลง้ แต่งดงู าม ฯ ฝงู บ่าวสาวสำอาง โนเน  หญงิ ชายหลายสำ่ ซอ้ ง ยั่วยิ้ม ฝูงบา่ วสาวสรวลเส ศวรราฃ ดงู านผา่ นโลเก พรึบพรอ้ มพรมา ฯ แตง่ แงแ่ พร่พรายพรม้ิ  ลางชายลายนุ่งเกี้ยว ยกย่างเลี้ยวเอี้ยวโอนดู ดอกไม้ใส่หอ้ ยหู พร่งั พรบู ่ายมา่ ยเมียงหญงิ เกไล  ลางชายลายนุ่งเกย้ี ว จ่อชู้ ยกย่างพลางจงใจ เพราเพริด ทัดเพยียเข่ียกนั ไร เสียดสอ้ งแลหา ฯ เมี่ยงมา่ ยกลายกลางสู้  เรียมฤาคอื บรรทดั ช่างชาญดดั ขดั เกลาขยัน ทอดเขยี นเรียนพระธรรม์ ใชส่ ้ันเคียวเบีย้ วบดิ งอ ฯ บรรทดั  ใจเรียมเทยี มดุจด้วย รอบรู้ คนช่างเกลาเหลาดัด ๒๐

ทอดเขยี นระเมยี นอรรถ ธรรเมศ ใชอ่ ันสั้นเคยี วคู้ คดค้อมคมนา ฯ  เรยี มคือพระสุธน บ่คิดชนม์ก่นทางไป ขา้ มเขาเซราชฤกไพร นานไกลสบพบมะโนหะรา สุธน  เรยี มคอื นฤเบศไท้ เช่ียวช้า บุกปา่ ฝ่าเซราชล ทนเทวศ เดินเดียวเปลีย่ วใจจน เชน่ เชอื้ สาวสวรรค์ ฯ ตามนางทางเทยี มฟา้ ๕.๒.๑๐ อนริ ุทธค์ ำฉันท์ เป็นวรรณคดีท่ีเช่ือกันว่า ศรีปราชญ์ บุตรพระมหาราชครูแต่งไว้ ในขณะท่ีรับราชการอยู่กับ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับมูลเหตุของวรรณคดีเรื่องนี้ไว้ว่า ศรีปราชญ์แต่งข้ึนเพ่ือ แข่งกบั สมทุ รโฆษคำฉนั ท์ ของพระมหาราชครู เพ่ือแสดงความสามารถในเชิงการแต่งฉนั ท์ของตน คำประพันธ์ที่ใช้เป็นฉันท์และกาพย์ บางตอนนำร่ายมาปนกับฉันท์ มีบทไหว้ครูอยู่ตอนท้าย เร่อื ง การดำเนนิ ในเร่ืองคอ่ นขา้ งรวบรดั และลักษณะคำประพนั ธ์บางตอนคล้ายกลบท อนิรุทธ์คำฉันท์มีเนื้อความใกล้เคียงกับสมุทรโฆษคำฉันท์มาก กล่าวคือเป็นเร่ืองราวที่มี เหตุการณ์สำคัญคือ การท่ีมีเทพอุ้มสมให้พระเอกและนางเอกของเรื่องได้มาประสบพบรักกัน เพียงแต่อนิรุทธ์ คำฉันท์นำเค้าเร่ืองมาจากเร่ืองเล่าในคติพราหมณ์ ตอนท่ีพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระกฤษณะ ในเร่ืองอ้าง ว่าพระอนิรุทธ์เป็นพระนัดดาของพระกฤษณะ เริ่มเร่ืองจากพระอนิรุทธ์ไปบรรทมใต้ต้นไทรขณะท่ีไปพระพาส ป่า ก่อนบรรทมได้กราบไหว้พระไทรก่อน พระไทรจงึ เขา้ ไปอมุ้ พระอนิรุทธ์ให้ไปสมกับนางอษุ า ซ่ึงเป็นธดิ ายักษ์ ที่มีชื่อว่าพานะ ต่อมา นางพิจิตรเลขาพี่เลี้ยงได้สะกดพระอนิรุทธ์ไปอยู่กับนางอุษาจึงเกิดสงครามระหว่างพระ อนุรุทธ์กับพญาพานะโดยพญายักษ์จับพระอนุรุทธ์ด้วยศร ฤาษีนารทผ่านมาเห็นจึงไปทูลพระกฤษณะจึงยก กองทพั มาช่วยพระนัดดา ฝ่ายพญายักษ์ไปขอพระอิศวรช่วย ในที่สุดพานะกอ็ อกรบกบั พระกฤษณะจนเป็นฝา่ ย พ่ายแพ้ไป ทำใหท้ ่สี ดุ พระอนิรุทธ์กบั นางอษุ าได้ครองรักกัน คำประพนั ธ์บางตอน  ดว้ ยเดชะบุญญา ธิการาอนั สมพงศ์ ผู้ฉนั ทสนององค์ คุณท่านอันสุนทร ฯ ๒๑

 จวงจัดอันมัน่ หมาย บขวางวายคำนึงกลอน บเหน็ แกห่ ลับนอน ดำริหตรบิ เวน้ เวียน ฯ  คร้นั คำฉนั ทกเ็ สร้จ แลสำเร็จกเ็ ร่งเขียน จงึ เสรจ็ สำเรจ็ เพียร จำนงจติ ตจนิ ดา ฯ  บัวตูมตดิ ข้วั บงั ใบ บังใบท้าวไท วา่ เตา้ สดุ าดวงมาลย์ ฯ  ดวงมาลย์บงกชเบิกบาน เบิกบานเปรมปาน ประภาคยพักตรพิมล ฯ  พมิ ลเลงนิโลบล นโิ ลตบลยล วา่ เนตรพิศพสิ มัย ฯ  พสิ มัยแลลาญหฤไทย หฤไทยทา้ วไท ว่าแกว้ กใ็ ช่ดาลฉงน ฯ  ดาลฉงนจงกลนีจงกล จลกลรสคน ธธารสุธาทิพรส ฯ  พลคชคชเมามัน ผูกจรีขรร คโตมร ฯ  พลคชคชส่ายสมร ภูษนาภรณ์ ประดับดาษ  พลคชคชนฤนาท สรรพประดบั มาศ ศแตง่ ตน  พลคชคชราญรณ แล่นก็แลน่ ชน กช็ นชนะ  พลคชคชสอดสนะ รานดระรง คเชีย่ วชาญ  พลคชคชผลาญมาร แย่งประแอกอาน ประดับไร  พลคชคชเศกิ ไกษย ไกรกำเลาะไช ยชาญชเยศ ๒๒

นอกจากน้ี ในสมดุ ไทยดำชุบรงค์ ๑๙/ง มีผ้เู ขียนโคลงไวว้ ่าศรปี ราชญเ์ ปน็ ผูแ้ ตง่  จบอนริ ุทเรือ่ งเรอ้ื ง รณรงค ศรีปราชญป์ ัญายง แต่งไว้ ใครจแตง่ ปรสง เอาหย่าง นีน้ า นกั เฟอ่ื งฟเู กียรติให้ เล่อี งล้ำลาญผล ฯ ๕.๒.๑๑ ฉนั ทด์ ษุ ฎีสงั เวยกล่อมชา้ ง คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง มี ๒ สำนวน สำนวนแรกแต่งโดยขุนเทพกวีซ่ึงเช่ือกันว่าเป็น พราหมณ์ในราชสำนักสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อีกสำนวนหนึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระราชนิพนธ์สมเด็จพระ นารายณม์ หาราช วรรณคดีเร่ืองน้ีใช้ในพิธีสมโภชช้างเผือก เป็นการกล่อมช้างให้ละพยศมาเป็นคู่บุญบารมี เป็น พระญาช้างตน้ ของกษัตริย์ คำฉันท์ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างสำนวนท่ีเช่ือกันว่าขุนเทพกวีแต่งนี้ มีการใช้คำศัพท์ภาษาเขมร และศัพท์โบราณปรากฏอยู่มาก นับได้ว่าเป็นฉนั ท์กล่อมช้างฉบับที่เก่าที่สุด คำประพันธ์ท่ีใช้ประกอบด้วยฉันท์ และกาพย์ แบง่ เปน็ ๓ ลา (ตอน) ไดแ้ ก่ สดดุ อี วยสงั เวย สดุดีขอช้างและสดดุ กี ษัตริย์ คำฉันท์นี้มี ๒ ส่วน ส่วนแรกน่าจะใช้ในพระราชพิธีสมโภชพระอินทร์ไอยราวรรณวิสุทธิ์ราช กริณี ท่ีได้จากกาญจนบุรี ส่วนบทหลังน่าจะใช้กล่อมเจ้าพระยาบรมคเชนทร์ฉันทันต์ ช้างทั้ง ๒ เชือกนี้ได้มาสู่ พระบรมโพธิสมภารในสมยั สมเด็จพระนารายณม์ หาราชทัง้ ส้ิน ตัวอยา่ งคำประพันธบ์ างตอน เฌอฉมนั เฌอธนม  เฌอไพรผองดูสรงม พระแลผองเสียง ดูรใดดูเรียงเรอ่ื ง แสรกเสยี งกรยุ เกรียว  เขดาไถงสดบั ศัพทส์ ำเนยี ง กกุ ุรทรนม บิยมเสนาะกนั เจรยี ว  อุกมุมปักษีพรรณเขียว เหริ ถกาดะทรนม  พฤกษเถลงิ สดบั ศพั ทผองยม ดะพะหรู โอกโฮก ๒๓

 เขดาไถงสดับศพั ทกุโงก มฤคผองรดั ดะโจรก บเิ จรียวจรงสบนา  อา้ พอ่ อยา่ คิดแก่ชนนี แลชนกในกลางไพร อ้าพอ่ อย่าคดิ ภคนิ ีใน พรสณฑสงึ สถาน ฯ  อา้ พอ่ อยา่ คิดคณผู้บตุ ร อันเสนห่ นงพาล อ้าพ่ออย่าคดิ คชผหู้ ลาน เหลนเหลือลืดแลพงษพ์ นั ธ์ ฯ  อา้ พ่ออย่าคิดพนสรนุกน์ิ สขุ แลน่ พนาวัน อ้าพ่ออย่าคดิ สุขในบรร พตหว้ ยฉทึงธาร ฯ  อ้าพ่ออยา่ คิดสขุ ในป่ง ดในป่าพฤษาสาร อ้าพอ่ อย่าคิดแก่บริพาร อนั เป็นเพอื่ นในไพรพนม ฯ คำถามทบทวน คำชี้แจง จงตอบคำถามตอ่ ไปน้ี ๑. คำว่า “ยุคทองของวรรณคดีไทย” หมายความวา่ อย่างไร ๒. วรรณคดีในสมยั อยธุ ยาตอนกลางนม้ี ีเนือ้ หาเกีย่ วกบั อะไรบา้ ง ๓. วรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนกลางนี้มีรูปแบบคำประพันธ์ชนิดใดบ้างที่ไม่เคยมีปรากฏในสมัยสุโขทัยและ อยุธยาตอนตน้ ท่ผี ่านมา ๔. รูปแบบคำประพันธ์ที่พบมากในการแต่งวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง คือคำประพันธ์ชนิดใด ใช้แต่ง วรรณคดเี รอ่ื งใดบ้าง ๕. การตดิ ตอ่ กับชาวตา่ งชาติทมี่ าจากตะวนั ตกสง่ ผลต่อการสรา้ งสรรคว์ รรณคดีในสมยั อยธุ ยาตอนกลางอย่างไร เอกสารอ้างอิง นอ้ มนจิ วงศส์ ทุ ธิธรรม. (๒๕๓๖). วรรณกรรมนริ าศ (พิมพ์คร้ังที่ ๒). กรงุ เทพฯ: สำนกั พมิ พ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง. ๒๔

นริ ันตร์ นวมารค. (๒๕๑๘). คำบรรยายภาษาไทยชัน้ สูง ของชมุ นุมภาษาไทย ของคุรสุ ภา. กรุงเทพฯ: โรง พมิ พค์ รุ ุสภา ลาดพรา้ ว. เปลือ้ ง ณ นคร. (๒๕๑๐). ประวตั วิ รรณคดีไทยสำหรับนกั ศึกษา (พมิ พค์ รัง้ ท่ี ๕). พระนคร: ไทยวัฒนาพานิช. ศิลปากร, กรม. (๒๕๐๔). “คำนำ,” ใน วรรณคดีในสมัยอยุธยาและรตั นโกสินทร์. โครงการพฒั นาการศึกษา กรมฝกึ หัดครู กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. พระนคร: โรงพิมพ์ส่งเสรมิ อาชพี . ๒๕


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook