Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สิทธิหน้าที่

สิทธิหน้าที่

Published by R'na Sayo, 2021-08-31 02:46:23

Description: สิทธิหน้าที่

Search

Read the Text Version

1

2 เร่อื ง “สิทธิ เสรภี าพ และหนา้ ท่ขี องพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย” ปีทีพ่ มิ พ ์ กรกฎาคม ๒๕๕๖ จำ�นวนหนา้ ๔๘ หนา้ พิมพ์คร้งั ที่ ๑ จาํ นวน ๕,๐๐๐ เลม่ จดั ทำ�โดย กลมุ่ งานผลติ เอกสาร สำ�นกั ประชาสมั พนั ธ์ สำํ �นกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร ถนนประดพิ ทั ธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรงุ เทพมหานคร ๑๐๔๐๐ โทร. ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๔-๕ โทรสาร ๐ ๒๒๔๔ ๒๒๙๒ ข ้อมูล/พิสูจน์อกั ษร อรทยั แสนบตุ ร พิมพ ์ ดลธี จลุ นานนท์ ศิลปกรรม/ปก ทพิ ยว์ มิ ล ออ่ นกลน่ั สิทธิ เสรภี าพ และหน้าทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

3 ค�ำ นำ� จุลสาร  เรื่อง  “สิทธิ  เสรีภาพ  และหน้าที่ของพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตย”  จัดทำ�ข้ึนเพ่ือเผยแพร่ความรู้ให้แก่นักเรียน นสิ ติ นกั ศกึ ษา และประชาชนทว่ั ไป ใหไ้ ดร้ บั ความรคู้ วามเขา้ ใจในเรอ่ื ง สทิ ธิ เสรภี าพ และหนา้ ทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย โดยเนอ้ื หา ภายในเล่มจะกล่าวถึงความหมายของคำ�ว่า  “สิทธิ”  “เสรีภาพ”  และ “หน้าท่”ี   ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย  ตลอดจนสิทธิ เสรภี าพ และหนา้ ทข่ี องประชาชนตามรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  รวมท้ังแนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดตี าม วิถีชีวิตประชาธิปไตย  ท้ังน้ี  เพราะประชาธิปไตยท่ีแท้จริงมิได้เกิดข้ึน เพียงเพราะมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เท่าน้ัน  แต่หัวใจท่ีแท้จริงของการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้อง มาจากประชาชนท่มี ีความตระหนักและมีความเข้าใจในสิทธิ  เสรีภาพ และหน้าท่ขี องตนเอง  ท่พี ึงมีต่อสังคมส่วนรวม  ดังน้นั   การฝึกฝนและ พฒั นาตนเองเพอ่ื กา้ วขา้ มสคู่ วามเปน็ พลเมอื ง  จะสง่ ผลใหส้ งั คมโดยรวม และประเทศชาตมิ ีความเปน็ ประชาธิปไตยท่ีเข้มแข็งและย่งั ยนื สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร  หวังเป็นอย่างย่ิงว่า การให้ความรู้ในเรอ่ื งดังกลา่ วจะเกิดประโยชน์แกผ่ ู้อ่าน และจุดประกาย ให้คนในสังคมเริ่มตระหนักและเห็นความสำ�คัญของความเป็นพลเมือง ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแทจ้ ริง สำ�นกั งานเลขาธกิ ารสภาผู้แทนราษฎร

4 สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

5 สารบัญ บทน�ำ ๗ ความหมายของค�ำ วา่ “สทิ ธ”ิ “เสรภี าพ” และ “หนา้ ท”่ี ๙ ความเปน็ พลเมอื งดใี นระบอบประชาธปิ ไตย ๑๒ สทิ ธแิ ละเสรภี าพของประชาชนตามรฐั ธรรมนญู ๑๗ หนา้ ทข่ี องประชาชนตามรฐั ธรรมนญู ๓๘ แนวทางการปฏิบตั ิตนเป็นพลเมอื งดีตามวถิ ีชีวติ ๔๓ ประชาธปิ ไตย บทสรปุ ๔๖ บรรณานกุ รม ๔๗

6 สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

7 บทน�ำ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยต้องประสบปัญหาต่าง  ๆ  มากมาย ไมว่ า่ จะเปน็ ปญั หาทางเศรษฐกจิ สงั คม และการเมอื ง โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ปัญหาความแตกแยกทางความคิดของคนในสังคม  ซึ่งนับวันจะทวี ความรุนแรงมากย่ิงข้ึน  และมีแนวโน้มจะขยายตัวออกไปในวงกว้าง หากผู้ที่เกี่ยวข้องและทุกภาคส่วนในสังคมยังไม่สามารถเจรจาหาข้อยุติ เพื่อสรา้ งความเปน็ ธรรมใหเ้ กดิ แกค่ นส่วนใหญ่ในสงั คม ทางออกของประเทศไทยในการแก้ปัญหาต่าง  ๆ  ที่เกิดข้ึน ในสังคม  จึงเป็นเร่ืองของประชาชนทุกคนในประเทศที่จะต้องร่วมกัน สร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยให้เกิดข้ึนอย่าง แท้จริงในสังคมไทย  เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่วิถี ประชาธิปไตยอย่างย่ังยืน  โดยในส่วนของประชาชนเองต้องก้าวข้าม สู่ความเป็นพลเมืองท่ีมีจิตสำ�นึกความเป็นพลเมือง  รู้จักเคารพสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค  มีความยินดีปฏิบัติหน้าท่ีพลเมืองด้วย ความเตม็ ใจ และรับผิดชอบตอ่ ส่วนรวม หากพิจารณาในส่วนของรัฐธรรมนูญ  จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการ เปล่ียนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยในช่วงแรก  ๆ  ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน สยาม พ.ศ. ๒๔๗๕ มีการใชค้ �ำ ว่า “ราษฎร” ในความหมายของ คำ�ว่า  ปวงชนหรือประชาชน  ที่เข้าใจกันในปัจจุบัน  โดยไม่มีการใช้

8 คำ�ว่า  “พลเมือง”  เลย  แต่เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. ๒๔๗๕ แลว้ คำ�ว่า “ชน” หรือ “ปวงชน” หรอื “ประชาชน” จะเข้าแทนท่คี �ำ วา่ “ราษฎร” ดงั ปรากฏในมาตรา ๒ ซ่ึงบัญญัติวา่ “อำ�นาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม  พระมหากษัตริย์ผู้ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำ�นาจน้ันแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญน้ี” และตอ่ มาในรัฐธรรมนญู พ.ศ. ๒๔๘๙ จึงหันมาใช้คำ�ว่า อ�ำ นาจ อธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวไทย  ถึงแม้ในรัฐธรรมนูญจะไม่ใช้ คำ�วา่ “ราษฎร” ในฐานะที่มาของอ�ำ นาจการปกครองสงู สดุ แลว้ ก็ตาม คำ�ว่า  “ราษฎร”  จะยังคงใช้ในความหมายของผู้แทนราษฎร  และ สภาผแู้ ทนราษฎรต่อมา สว่ นการน�ำ ค�ำ วา่ “พลเมือง” มาใช้ในบรบิ ท ของรฐั ธรรมนูญนั้น มีมาตงั้ แต่รฐั ธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. ๒๔๗๕ ในบริบทของขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพท่ีว่า  ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อ “หนา้ ท่พี ลเมือง” หลังจากนัน้ คำ�ว่า “พลเมือง” กใ็ ช้ในรัฐธรรมนูญฉบบั ต่าง ๆ ในบรบิ ทของ “หน้าท่ีพลเมอื ง” มาโดยตลอด และยงั ไม่เคยใช้ ในบรบิ ทของ “สิทธ”ิ หรอื “อ�ำ นาจ” เลย สทิ ธิ เสรีภาพ และหนา้ ทขี่ องพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

9 ความหมายของค�ำ วา่ “สทิ ธิ” “เสรภี าพ” และ “หน้าท”่ี คำ�ว่า  “สิทธิ”  และ  “เสรีภาพ”  เป็นคำ�ที่มักอยู่ควบคู่กัน โดยรัฐธรรมนูญทุกฉบับท่ีผ่านมาได้กำ�หนดเร่ืองสิทธิเสรีภาพของ ชนชาวไทยไวอ้ ย่างชดั เจน ทง้ั นี้ ค�ำ วา่ “สทิ ธิ” มีค�ำ คู่กันอยูค่ อื “หน้าที่” ไม่วา่ เรอ่ื งใด ๆ ก็ตาม เมอื่ มี “สทิ ธ”ิ ก็ยอ่ มมี “หน้าที่” คูก่ ันเสมอ เมอ่ื เราเกดิ มาเปน็ คนไทยมสี ทิ ธติ ามทร่ี ฐั ธรรมนญู ไทยกำ�หนด  เรากย็ อ่ ม มีหน้าท่ที ่จี ะต้องปฏิบัติในฐานะเป็นคนไทยด้วยเช่นกัน  ดังน้นั   เพ่อื ให้ เกิดความเข้าใจท่ีถูกต้องและเห็นความสำ�คัญของการปฏิบัติตนเป็น พลเมอื งดใี นระบอบประชาธปิ ไตย  เราจงึ ควรมาท�ำ ความเขา้ ใจความหมาย ท่แี ทจ้ รงิ ของคำ�ทีเ่ กี่ยวขอ้ งเหล่าน้ีกันเสียกอ่ นในเบอื้ งตน้ “สิทธิ” คือ ประโยชนห์ รอื อ�ำ นาจของบุคคลที่กฎหมายรบั รอง และคุ้มครองมิให้มีการละเมิด  รวมทั้งบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิ ในกรณีทีม่ กี ารละเมดิ ดว้ ย เชน่ สิทธใิ นครอบครวั สทิ ธคิ วามเปน็ อยู่ สว่ นตวั สิทธิในเกียรติยศ ชือ่ เสยี ง สทิ ธใิ นการเลือกอาชพี ถิ่นที่อยู่ การเดนิ ทาง สทิ ธใิ นทรัพย์สนิ เปน็ ต้น พจนานกุ รม  ฉบับราชบณั ฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธบิ าย ความหมาย “สทิ ธ”ิ ไว้วา่ “อำ�นาจที่จะกระท�ำ การใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยไดร้ บั การรบั รองจากกฎหมาย”

10 “เสรีภาพ”  เป็นคำ�ที่ถูกใช้เคียงคู่กับคำ�ว่า  “สิทธิ”  เสมอว่า “สิทธิเสรีภาพ”  จนเข้าใจว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน  ท้ังท่ีแท้จริง แล้ว คำ�ว่า “เสรีภาพ” หมายถงึ อ�ำ นาจตัดสนิ ใจดว้ ยตนเองของมนุษย์ ท่ีจะเลือกดำ�เนินพฤติกรรมของตนเอง  โดยไม่มีบุคคลอ่ืนใดอ้างหรือ ใช้อำ�นาจแทรกแซงเก่ยี วข้องกับการตัดสินใจน้นั   และเป็นการตัดสินใจ ด้วยตนเองที่จะกระทำ�หรือไม่กระทำ�การสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันไม่เป็นการ ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แตก่ ารท่ีมนุษย์ดำ�รงชวี ิตอยู่ในสังคมแลว้ แตล่ ะคน จะตดั สินใจกระทำ�การหรือไม่กระท�ำ การสิ่งใดนอกเหนือ นอกจากต้อง ปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายแลว้ ยอ่ มตอ้ งค�ำ นึงถึงกฎเกณฑต์ ่าง ๆ ของสงั คม ขนบธรรมเนียม และวฒั นธรรม คำ�ว่า  “หน้าท่ี”  ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ หมายถงึ กิจท่จี ะต้องทำ�ด้วยความรับผิดชอบ แตเ่ ม่อื นำ� ค�ำ ว่า “หน้าท”่ี รวมกบั ค�ำ วา่ “ชนชาวไทย” เป็น “หนา้ ทีข่ องชนชาวไทย” ดังท่ีปรากฏในหมวด ๔ ของรัฐธรรมนญู ฉบับปจั จุบนั คณนิ บญุ สวุ รรณ ได้ให้ความหมายไว้ในหนังสือปทานุกรมศัพท์รัฐสภาและการเมืองไทย (ฉบบั สมบูรณ์) ว่า คือ ภาระและความรับผิดชอบทรี่ ฐั ธรรมนญู ก�ำ หนด บงั คบั ให้บุคคลซ่งึ เป็นชนชาวไทยต้องปฏิบตั ิ หรือกระท�ำ ใหเ้ ป็นไปตาม รัฐธรรมนญู หรือกฎหมาย เม่อื รฐั ธรรมนญู กำ�หนดว่าการกระท�ำ ใดเปน็ หน้าท่ีของพลเมืองแล้ว  ถ้าหากผู้ใดไม่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ ถือวา่ เป็นการฝา่ ฝนื กฎหมายและจะถกู ลงโทษ อย่างไรก็ตาม หนา้ ที่ สิทธิ เสรีภาพ และหนา้ ทขี่ องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

11 ของชนชาวไทย  ถือว่าเป็นภาระและความรับผิดชอบของประชาชน ชาวไทยทุกคนทตี่ อ้ งยึดถือปฏิบตั ิน่นั เอง สิทธิและหน้าท่ีจึงเป็นสิ่งคู่กัน  เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ ประชาชนของทุกประเทศมีท้งั สิทธิและหนา้ ท ่ี แต่จะมมี ากนอ้ ยเพียงใด ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น  ๆ  และแน่นอนว่าประเทศที่ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย  ประชาชนย่อมมีสิทธิมากกว่า การปกครองในระบอบอ่นื เพราะมีสิทธิท่สี ำ�คญั ทีส่ ุด คอื สิทธิในการ ปกครองตนเอง ดังนั้นการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะประสบความ สำ�เร็จได้หรือไม่นั้น  คำ�ตอบคงไม่ได้อยู่ท่ีการมีรัฐธรรมนูญท่ีดีและ สมบูรณ์แบบเท่านั้น  หากแต่ยังข้ึนอยู่กับประชาชนในประเทศจะต้อง เขา้ ใจและตระหนกั ถงึ บทบาทหนา้ ทข่ี องตนในสงั คมดว้ ยความรบั ผดิ ชอบ อยา่ งเตม็ ท่ี รวมทง้ั มคี วามกระตอื รอื รน้ ในการรกั ษาสทิ ธติ า่ ง ๆ ของตน และชุมชนอย่างเข้มแข็ง  ท่ีสำ�คัญคือ  ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ทางการเมืองด้วยความเต็มใจโดยการแสดงออกซ่ึงสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดงความคดิ เหน็ อยา่ งเสร ี สรา้ งสรรคแ์ ละจรรโลงสงั คมโดยรวม ท้ังน้ี เพอ่ื ใหก้ ารเมอื งภาคพลเมอื งสามารถขับเคล่ือนได้อยา่ งตอ่ เนือ่ ง และมน่ั คง

12 ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองของ ประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน หากประชาชนซึ่งเปน็ เจา้ ของประเทศทีม่ ีความแตกตา่ งหลากหลายภายใตห้ ลกั สิทธิ เสรภี าพ และหลักความเสมอภาค ขาดความเปน็ พลเมือง ซึ่งจะต้องมี “ส�ำ นกึ พลเมือง”  อยู่ในจิตใจ  การพัฒนาประชาธิปไตยโดยแท้จริงก็จะไม่ ประสบความส�ำ เรจ็ ได้ ดังนั้น เพ่ือให้ประชาชนมีความตระหนกั และ เข้าใจบทบาทของตนเองในฐานะพลเมืองของประเทศอย่างถูกต้อง เราจึงควรมาทำ�ความเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำ�ว่า  “พลเมือง” ซ่งึ มีความแตกต่างจากค�ำ วา่ “ราษฎร” และ “ประชาชน” ท่คี นท่วั ไป มักเขา้ ใจคลาดเคลอ่ื นและใช้ปะปนกัน พจนานุกรมไทย ฉบบั อ.เปลอ้ื ง ณ นคร ให้ความหมาย ของคำ�วา่ “ราษฎร” หมายถงึ ชาวเมือง ไม่ใชเ่ จ้า เปน็ สามัญชนทวั่ ไป ที่อาศยั อยูใ่ นรฐั ใหน้ ยั เชิง “ผถู้ ูกปกครอง” “ประชาชน” หมายถงึ คนของประเทศ บคุ คลท่ีถือสัญชาติ และได้รับสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ใหค้ วามหมายนยั เชิง “การมสี ิทธ”ิ ส่วน “พลเมือง” แปลตามตวั อักษรภาษาไทย หมายถงึ ก�ำ ลัง ของเมือง หรือก�ำ ลงั ของประเทศ คำ�ว่า  “พลเมือง”  หากพิจารณาตามศัพท์ภาษาอังกฤษ มาจากคำ�ว่า  “citizen”  มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า  “civitas” สิทธิ เสรภี าพ และหนา้ ทขี่ องพลเมืองในระบอบประชาธปิ ไตย

13 หมายถงึ คนที่รวมกลุม่ กันอยู่ในเมอื งหรือในชุมชน พฒั นาการและ การขยายตัวของความเป็นพลเมืองเก่ียวเน่ืองเช่ือมโยงกับความเติบโต ของเมือง และการถอื กำ�เนิดของรฐั ชาติ ดงั นั้น พลเมอื ง คอื คนทอ่ี าศัยอยใู่ นรฐั ท�ำ หน้าทเ่ี ป็น “ก�ำ ลัง สำ�คญั ” ของรัฐในด้านต่าง ๆ ให้นัยเชิง “การมีส�ำ นกึ ในสิทธิ หนา้ ท่ี และความรับผดิ ชอบ” ท้ังต่อตนเอง ครอบครวั และรัฐ และพลเมือง ท่ีดที กุ คนต้องมีความรับผดิ ชอบตอ่ ส่วนรวมรว่ มกัน หากวิเคราะหต์ ามความหมายทก่ี ลา่ วมาขา้ งตน้ น้ี การเปน็ “พลเมือง” ย่อมดีกว่าการเป็น “ประชาชน” อย่างแนน่ อน และการ เปน็ “ประชาชน” ยอ่ มดกี ว่าการเปน็ “ราษฎร” เพราะการทีป่ ระชาชนมี “สำ�นึกของความเปน็ พลเมอื ง” ยอ่ มตระหนักวา่ ตนเองเป็นกำ�ลงั ของรัฐ มีส่วนรับผิดชอบต่อประเทศชาติในฐานะเจ้าของประเทศ  รู้จักสิทธิ ของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อ่ืน  ยอมรับว่าตนมีหน้าที่และความ รับผิดชอบตอ่ สว่ นรวมรว่ มกัน อาทิ หนา้ ท่ีในการเสียภาษี หนา้ ทใ่ี นการ ดแู ลสมบัติสาธารณะ ตลอดจนร่วมมือผนึกก�ำ ลังสรา้ งสรรคค์ วามเจริญ ใหก้ บั ประเทศชาติ อย่างไรก็ตาม  เป็นท่ีน่าสังเกตในภาษาไทย  ให้ความหมาย ของคำ�เหล่านี้ไว้ไม่แตกต่างกัน  เช่น  ในพจนานุกรม  ฉบับ ราชบณั ฑติ ยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ใหค้ วามหมายค�ำ วา่ “ราษฎร” ไว้ว่า หมายถงึ พลเมืองของประเทศ ให้ความหมายค�ำ วา่ “พลเมอื ง” ไว้วา่ หมายถงึ ประชาชน ราษฎร ชาวประเทศ สว่ นค�ำ ว่า “ประชาชน”

14 กลับไมม่ ีการให้ความหมายไวใ้ นพจนานกุ รม มเี พยี งค�ำ ว่า “ประชา” ซ่ึงให้ความหมายสัน้ ๆ ไวว้ ่า หมายถงึ หมู่คน ซึ่งการกำ�หนดนิยามของ คำ�เหล่านี้อย่างคลุมเครือ  ส่งผลให้คนทั่วไปจึงไม่สามารถแยกแยะ ความแตกต่างของนัยที่ซ่อนอยู่ในระหว่างค�ำ เหล่านนั้ ได้ การที่คนในสังคมมีความคลุมเครือในตำ�แหน่งแห่งท่ีของตน ในฐานะ “คนในรัฐ” ส่งผลใหข้ าด “สำ�นึกของความเปน็ พลเมือง” ขาด ความตระหนักว่า  ตนเองเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการมีส่วนร่วมพัฒนา ประเทศชาติ ดงั น้ัน เมอ่ื เข้าใจความหมายทีแ่ ทจ้ รงิ ของค�ำ ว่า “พลเมือง” พอสังเขปแลว้ ก็เชื่อไดแ้ นว่ า่ การแสดงออกซึง่ ความเป็นพลเมืองดขี อง คนในสงั คมจะด�ำ เนินไปอยา่ งถกู ท�ำ นองคลองธรรม และสอดคลอ้ งกับ หลกั การพ้นื ฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย  ประกอบด้วย คุณลักษณะดังตอ่ ไปน้ี ๑. มีอสิ รภาพและพงึ่ ตนเองได้ การทป่ี ระชาชนเปน็ เจ้าของ อ�ำ นาจสูงสุดในประเทศ ประชาชนจงึ มฐี านะเป็นเจ้าของประเทศ เป็น เจ้าของชวี ิตและมสี ทิ ธแิ ละเสรีภาพในประเทศของตนเอง ท�ำ นองเดียว กับเจ้าของบ้านมีสิทธิเสรีภาพในบ้านของตน  จึงทำ�ให้เกิดหลักสิทธิ เสรภี าพ และท�ำ ใหป้ ระชาชนมีอสิ รภาพซ่งึ น�ำ ให้เกิดภาวะ “ความเปน็ พลเมอื ง” ที่เปน็ อิสระ พึง่ ตนเองและสามารถรับผดิ ชอบตนเองได้ ๒. ความเห็นของคนเท่าเทยี มกนั ประชาชนทกุ คนในฐานะ ทเี่ ปน็ เจ้าของประเทศ มี “ความเปน็ พลเมอื ง” ล้วนแตเ่ ท่าเทยี มกนั จึงตอ้ งเคารพหลกั ความเสมอภาค และจะตอ้ งเห็นคนเทา่ เทยี มกนั สิทธิ เสรภี าพ และหน้าทขี่ องพลเมืองในระบอบประชาธปิ ไตย

15 ๓. การยอมรับความแตกต่าง  การท่ีประชาชนเป็นเจ้าของ ประเทศ  มีเสรีภาพ  ประชาชนจึงต้องมีความแตกต่างและย่อม จะตอ้ งยอมรบั ความหลากหลายของประชาชนดว้ ยกนั เอง  และเพอ่ื มใิ ห้ ความแตกตา่ งน�ำ มาซึ่งความแตกแยกในสงั คม “พลเมือง” ในระบอบ ประชาธิปไตยจึงต้องยอมรับและเคารพความแตกต่างของกันและกัน เพ่อื ให้สามารถอยู่รว่ มกันได้ ๔. การเคารพสิทธิผู้อ่ืน  ในระบอบประชาธิปไตยน้ัน ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ  ทุกคนจึงมีสิทธิ  แต่ถ้าทุกคนใช้สิทธิ โดยคำ�นึงถึงแต่ประโยชน์ของตนเองหรือเอาแต่ความคิดของตนเอง เปน็ ทต่ี ง้ั   โดยไมค่ ำ�นงึ ถงึ สทิ ธผิ อู้ น่ื หรอื ไมส่ นใจวา่ จะเกดิ ความเดอื ดรอ้ น แก่ผู้ใด ประชาธปิ ไตยกจ็ ะกลายเป็นอนาธปิ ไตย เพราะทุกคนเอาแต่ สทิ ธขิ องตนเองเป็นใหญ่ ทา้ ยท่ีสุดประเทศชาตยิ ่อมจะไปไม่รอด สิทธิ ในระบอบประชาธิปไตยจึงจำ�เป็นต้องมีขอบเขต  ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น “ความเป็นพลเมือง”  จึงต้องเคารพสิทธิผู้อ่ืนและจะต้องไม่ใช้สิทธิ เสรีภาพของตนไปละเมิดสทิ ธิของผูอ้ ่ืน ๕. ความรับผิดชอบตอ่ สงั คม นอกจากจะต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพและรบั ผิดชอบตอ่ ผูอ้ น่ื แลว้ “ความเปน็ พลเมอื ง” ในระบอบ ประชาธิปไตยยังจะต้องใช้สิทธิและเสรีภาพของตนโดยรับผิดชอบต่อ สังคมด้วย  เนื่องจากสังคมหรือประเทศชาติจะดีข้ึนหรือแย่ลงก็ด้วย การกระทำ�ของคนในสังคม  “ความเป็นพลเมือง”  จึงเป็นสำ�นึกของ ความเปน็ เจ้าของประเทศและเป็นเจา้ ของสงั คม “พลเมือง” จึงไม่ใช่ คนที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามอ�ำ เภอใจแลว้ ทำ�ใหส้ ังคมเสื่อมลงไป หากเป็น

16 ผ้ทู ีใ่ ช้สิทธิเสรภี าพโดยรับผิดชอบตอ่ สงั คมและส่วนรวม โดยมีสว่ นรว่ ม ในการแกป้ ัญหาและช่วยกนั ท�ำ ใหส้ ังคมดีขึ้นกว่าทผ่ี า่ นมา ๖. ความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม การปกครองของประชาชน  โดยประชาชน  และเพ่ือประชาชน จะประสบความส�ำ เรจ็ ไดต้ อ่ เมอ่ื มปี ระชาชนในรฐั มี “ความเปน็ พลเมอื ง” ที่เข้าใจหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตาม สมควร  ท้ังในเรื่องหลักประชาธิปไตยหรือการปกครองโดยประชาชน และหลกั นิตริ ฐั หรือการปกครองโดยกฎหมาย เข้าใจเรื่องการเลอื กต้งั และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง ติดตามความเป็นไปและ มีส่วนร่วมในเร่ืองการบ้านการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น  และแสดงกิจกรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยตามครรลอง ประชาธิปไตย ซึ่งจะต้องยอมรบั ความแตกต่าง เคารพสิทธแิ ละรจู้ ัก ท่ีจะท�ำ งานร่วมกบั ผอู้ ่นื ธีโอดอร์  รูสเวลต์  รัฐบุรุษของสหรัฐอเมริกา  กล่าวไว้ว่า “สงิ่ สำ�คัญประการแรกของการเป็นพลเมืองดี คอื เขาจะต้องสามารถ และตั้งใจทีจ่ ะดึงพลงั ในตัวของเขาออกมา” ดังน้ัน  ประชาชนของประเทศประชาธิปไตยท่ีมีคุณภาพ จึงตอ้ งฝึกฝนตนเองให้มคี วามสำ�นกึ พลเมอื ง ซง่ึ ทำ�ใหม้ ี “ความเป็น พลเมือง”  ที่ประกอบด้วยคุณลักษณะท่ีกล่าวมาแล้วข้างต้น  ท้ังนี้ ถ้าประชาชนเปน็ “พลเมอื ง” ก็เชอ่ื แนว่ า่ จะเกิด “สงั คมพลเมือง” และ ประชาธิปไตยจะเปน็ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพ่อื ประชาชนอย่างแทจ้ ริง สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทขี่ องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

17 สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรฐั ธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม  พุทธศักราช  ๒๔๗๕ ได้นำ�เรื่องการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมาบัญญัติไว้ เป็นคร้ังแรก  ว่า  “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือ ลัทธิใด  ๆ  และมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตามความเช่ือถือ ของตน  เม่ือไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน”  และ  “ภายใน บงั คับแห่งกฎหมาย บุคคลย่อมมเี สรีภาพบริบรู ณใ์ นรา่ งกาย เคหสถาน ทรพั ยส์ นิ การพดู การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุม โดยเปิดเผย  การต้ังสมาคม  การอาชีพ”  แม้ว่าจะวางหลักไว้อย่าง กว้าง  ๆ เพือ่ เป็นแนวทางปฏบิ ตั ิ แต่ในเมือ่ ไมม่ ีกฎหมายมารองรับ ในบางเรื่องจึงมีการละเมิดจนเกิดผลเสียต่อการปกครองบ้านเมือง  เชน่ การตงั้ สมาคมคณะราษฎร  ท่ีมกี จิ กรรมในทางการเมืองประหน่งึ เป็นพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นส่งผู้สมัครรับเลือกต้ัง  จนกระท่ังนำ�ไปสู่ ความขัดแย้งทางการเมอื งระหวา่ งคณะราษฎรกับขุนนางช้นั สงู เป็นตน้ นับแตน่ น้ั มาในการจัดทำ�รฐั ธรรมนญู แตล่ ะฉบบั ผ้ทู เ่ี กีย่ วขอ้ ง จะคำ�นึงถึงการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นประการ สำ�คัญเสมอ  เพราะมองว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์  และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หากละเลยหรือไม่คุ้มครองเร่ืองเหล่าน้ี  ย่อมส่งผลต่อเกียรติภูมิของ

18 ประเทศชาติอีกด้วย  ดังจะเห็นได้จากในการจัดทำ�รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๔๐ สภารา่ งรัฐธรรมนูญได้กำ�หนด กรอบการจัดทำ�ไว้ว่า  “...มีสาระสำ�คัญเป็นการส่งเสริมคุ้มครองสิทธิ และเสรภี าพของประชาชน ใหป้ ระชาชนมสี ่วนร่วมในการปกครองและ ตรวจสอบการใช้อำ�นาจรัฐเพิ่มข้ึน...”  และในการจัดทำ�รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช ๒๕๕๐ สภาร่างรฐั ธรรมนูญกไ็ ด้ ยึดกรอบดังกล่าว  และได้ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ให้กว้างขวางข้ึน  พร้อมทั้งได้กำ�หนดออกมาเป็นส่วน  ๆ​  เพื่อ ความเข้าใจของประชาชนผู้ได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญ  ดงั ปรากฏอย่างชัดเจนในหมวด ๓ ของรฐั ธรรมนูญ ซึ่งมีการกลา่ วถึง การคมุ้ ครองสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไวเ้ ป็นการเฉพาะ  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐  ได้ให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้อย่าง กวา้ งขวาง โดยมสี าระสำ�คญั ดงั นี้ ๑. ศักด์ศิ รขี องความเป็นมนุษย์ มาตรา ๔ ศกั ดศิ์ รคี วามเปน็ มนุษย์ สทิ ธิ เสรภี าพ และความ เสมอภาคของบคุ คล ยอ่ มได้รบั ความคุ้มครอง มาตรา  ๒๖  การใช้อำ�นาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำ�นึงถงึ ศกั ดิศ์ รคี วามเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบญั ญตั ิ แหง่ รฐั ธรรมนญู นี้ สทิ ธิ เสรภี าพ และหนา้ ทขี่ องพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

19 มาตรา  ๒๘  บุคคลย่อมอ้างศักด์ิศรีความเป็นมนุษย์หรือ ใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคลอื่น  ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ  หรือไม่ขัดต่อศีลธรรม อนั ดขี องประชาชน  บุคคลซ่ึงถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพท่ีรัฐธรรมนูญน้รี ับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพ่ือใช้สิทธิทางศาลหรือยกข้ึน เป็นข้อต่อสู้คดใี นศาลได้ ๒. ความเสมอภาคของบุคคล มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำ�เนิด เพศ หรอื ศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนเี้ สมอกัน มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและไดร้ บั ความ คมุ้ ครองตามกฎหมายเทา่ เทียมกัน

20 มาตรา ๓๐ วรรค ๓ การเลอื กปฏิบัติโดยไม่เปน็ ธรรม ต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถ่ินกำ�เนิด  เช้ือชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพกิ าร สภาพทางกายหรือสขุ ภาพ สถานะ ของบุคคล  ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม  ความเช่ือทางศาสนา  การศกึ ษาอบรม  หรอื ความคดิ เหน็ ทางการเมอื งอนั ไมข่ ดั ตอ่ บทบญั ญตั ิ แห่งรฐั ธรรมนูญ จะกระทำ�มไิ ด้ มาตรา ๓๑ บคุ คลผู้เป็นทหาร ตำ�รวจ ข้าราชการ เจ้าหนา้ ที่ อนื่ ของรัฐ และพนักงานหรือลกู จ้างขององค์กรของรัฐ ยอ่ มมีสิทธิและ เสรีภาพตามรฐั ธรรมนูญเชน่ เดยี วกับบุคคลทวั่ ไป ๓. สทิ ธิเสรภี าพในชีวติ และรา่ งกาย มาตรา ๓๒ บุคคลยอ่ มมสี ิทธิและเสรภี าพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน  ทารุณกรรม  หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม  จะกระทำ�มิได้  แต่การลงโทษตามคำ�พิพากษา ของศาลหรือตามท่กี ฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการ โหดรา้ ยหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคน้ี การจับและการคมุ ขงั บุคคล จะกระท�ำ มิได้ เว้นแตม่ คี ำ�ส่งั หรือ หมายของศาลหรือมเี หตุอย่างอ่นื ตามทกี่ ฎหมายบัญญตั ิ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำ�ใดอันกระทบต่อสิทธิและ เสรีภาพตามวรรคหน่ึง  จะกระทำ�มิได้  เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมาย บญั ญัติ สทิ ธิ เสรีภาพ และหน้าทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

21 มาตรา ๓๙ บคุ คลไมต่ อ้ งรบั โทษอาญา เวน้ แตไ่ ดก้ ระท�ำ การ อันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำ�น้ันบัญญัติเป็นความผิดและ กำ�หนดโทษไว้  และโทษที่จะลงแก่บุคคลน้ันจะหนักกว่าโทษที่กำ�หนด ไว้ในกฎหมายทใี่ ชอ้ ยใู่ นเวลาทีก่ ระท�ำ ความผดิ มิได้ ๔. สิทธิของผู้ต้องหา พยาน และผเู้ สยี หายในคดีแพง่ และคดีอาญา มาตรา ๓๙ วรรค ๒-๓ ในคดีอาญา ตอ้ งสนั นิษฐานไว้กอ่ น วา่ ผตู้ อ้ งหาหรอื จ�ำ เลยไม่มคี วามผิด  ก่อนมีคำ�พิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำ� ความผดิ จะปฏบิ ตั ิต่อบคุ คลนนั้ เสมือนเป็นผู้กระท�ำ ความผดิ มไิ ด้ มาตรา  ๔๐  บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดงั ต่อไปน้ี (๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย  สะดวก รวดเรว็ และทว่ั ถึง

22 (๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา  ซึ่งอย่างน้อยต้อง มีหลักประกันข้ันพื้นฐานเร่ืองการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ  การเสนอ ข้อเท็จจริง  ข้อโต้แย้ง  และพยานหลักฐานของตน  การคัดค้าน ผู้พิพากษาหรือตุลาการ  การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือ ตุลาการท่ีน่ังพิจารณาคดีครบองค์คณะ  และการได้รับทราบเหตุผล ประกอบค�ำ วินจิ ฉัย ค�ำ พพิ ากษา หรือค�ำ ส่ัง (๓) บุคคลย่อมมีสิทธิท่ีจะให้คดีของตนได้รับการพิจารณา อยา่ งถกู ตอ้ ง รวดเรว็ และเปน็ ธรรม (๔) ผ้เู สียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จ�ำ เลย คู่กรณี ผูม้ ีสว่ นได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำ�เนินการ ตามกระบวนการยุติธรรม  รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไมใ่ หถ้ ้อยคำ�เปน็ ปฏปิ ักษต์ อ่ ตนเอง (๕) ผู้เสียหาย  ผู้ต้องหา  จำ�เลย  และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความค้มุ ครอง  และความช่วยเหลือท่จี ำ�เป็นและเหมาะสม จากรฐั ส่วนค่าตอบแทน คา่ ทดแทน และค่าใช้จ่ายทีจ่ ำ�เปน็ ใหเ้ ป็นไป ตามทีก่ ฎหมายบัญญตั ิ (๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผ้สู งู อายุ หรือผูพ้ กิ ารหรอื ทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำ�เนินกระบวนพิจารณาคดี อย่างเหมาะสม  และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดี ทเี่ ก่ียวกับความรนุ แรงทางเพศ สทิ ธิ เสรีภาพ และหนา้ ทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

23 (๗) ในคดีอาญา  ผู้ต้องหาหรือจำ�เลยมีสิทธิได้รับการ สอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ  การตรวจสอบหรือได้รับทราบ พยานหลักฐานตามสมควร  การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจาก ทนายความ และการได้รบั การปลอ่ ยตัวชั่วคราว (๘) ในคดแี พง่   บคุ คลมสี ทิ ธไิ ดร้ บั ความชว่ ยเหลอื ทางกฎหมาย อยา่ งเหมาะสมจากรฐั ๕. สทิ ธขิ องเด็ก มาตรา  ๔๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษา ไม่น้อยกว่าสิบสองปีท่ีรัฐจะต้องจัดให้อย่างท่ัวถึงและมีคุณภาพ  โดยไม่เก็บค่าใชจ้ ่าย ผู้ยากไร้  ผู้พิการหรือทุพพลภาพ  หรือผู้อยู่ในสภาวะยาก ล�ำ บาก ตอ้ งไดร้ ับสทิ ธิตามวรรคหนง่ึ และการสนับสนุนจากรัฐเพ่ือให้ ได้รับการศกึ ษาโดยทดั เทยี มกับบุคคลอ่ืน

24 มาตรา  ๕๒  เด็กและเยาวชน  มีสิทธิในการอยู่รอดและ ได้รับการพัฒนาด้านร่างกาย  จิตใจ  และสติปัญญา  ตามศักยภาพ ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  โดยคำ�นึงถึงการมีส่วนร่วมของเด็ก  และเยาวชนเป็นสำ�คญั เด็ก  เยาวชน  สตรี  และบุคคลในครอบครัว  มีสิทธิได้รับ ความคุ้มครองจากรัฐ  ให้ปราศจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติ อันไม่เป็นธรรม ท้งั มีสทิ ธไิ ดร้ ับการบำ�บัดฟ้นื ฟใู นกรณีท่ีมเี หตุดังกลา่ ว การแทรกแซงและการจ�ำ กดั สิทธขิ องเด็ก เยาวชน และบุคคล ในครอบครัว  จะกระทำ�มไิ ด้ เวน้ แตโ่ ดยอาศัยอ�ำ นาจตามบทบญั ญตั ิ แห่งกฎหมาย  เฉพาะเพื่อสงวนและรักษาไว้ซึ่งสถานะของครอบครัว หรือประโยชนส์ งู สดุ ของบคุ คลนนั้ เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแลมีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและ การศกึ ษาอบรมทีเ่ หมาะสมจากรัฐ มาตรา ๘๐ รฐั จะต้องคมุ้ ครองและพัฒนาเดก็ และเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย  ส่งเสริมความ เสมอภาคของหญิงและชาย  เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่น ของสถาบันครอบครัวและชุมชน  รวมทั้งต้องสงเคราะห์และ จดั สวสั ดกิ ารใหแ้ กผ่ สู้ งู อายุ ผยู้ ากไร้ ผพู้ กิ ารหรอื ทพุ พลภาพ และผอู้ ยใู่ น สภาวะยากล�ำ บาก ให้มคี ุณภาพชวี ติ ท่ดี ขี ้ึนและพึง่ พาตนเองได้ สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทขี่ องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

25 ๖. เสรีภาพในการนับถือศาสนา มาตรา ๓๗ บุคคลยอ่ มมีเสรีภาพบริบูรณใ์ นการถือศาสนา นิกายของศาสนา  หรือลัทธินิยมในทางศาสนา  และย่อมมีเสรีภาพ ในการปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบญั ญตั ิ หรือปฏบิ ัตพิ ธิ ีกรรมตาม ความเชื่อถือของตน  เม่ือไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและ ไม่เป็นการขดั ตอ่ ความสงบเรียบรอ้ ยหรอื ศลี ธรรมอนั ดขี องประชาชน ในการใช้เสรีภาพตามวรรคหน่ึง  บุคคลย่อมได้รับความ คุ้มครองมิให้รัฐกระทำ�การใด  ๆ  อันเป็นการรอนสิทธิหรือเสีย ประโยชน์อันควรมีควรได้  เพราะเหตุที่ถือศาสนา  นิกายของศาสนา ลัทธินิยมในทางศาสนา  หรือปฏิบัติตามศาสนธรรม  ศาสนบัญญัติ หรอื ปฏิบตั พิ ิธีกรรมตามความเชอื่ ถือ แตกตา่ งจากบุคคลอืน่ มาตรา  ๗๙  รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธ ศาสนาซึ่งเป็นศาสนาท่ีประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน และศาสนาอื่น  ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา  รวมท้ังสนับสนุนการนำ�หลักธรรม ของศาสนามาใช้เพ่อื เสริมสร้างคณุ ธรรมและพฒั นาคุณภาพชวี ิต ๗. เสรีภาพในการแสดงความคดิ เห็น มาตรา ๔๕ บุคคลย่อมมเี สรภี าพในการแสดงความคิดเหน็ การพูด  การเขียน  การพิมพ์  การโฆษณา  และการสื่อความหมาย โดยวิธีอ่นื

26 มาตรา  ๔๖  พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนท่ีประกอบ กจิ การหนงั สอื พมิ พ์ วทิ ยกุ ระจายเสยี ง วทิ ยโุ ทรทศั น์ หรอื สอ่ื มวลชนอน่ื ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและ แสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำ�กัด ตามรัฐธรรมนูญ  โดยไม่ตกอย่ภู ายใต้ อาณัติของหน่วยราชการ  หน่วยงาน ของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  หรือเจ้าของ กิจการน้ัน  แต่ต้องไม่ขัดต่อจริยธรรม แห่งการประกอบวิชาชีพ  และมีสิทธิ จัดต้ังองค์กรเพื่อปกป้องสิทธิ  เสรีภาพและความเป็นธรรม  รวมทั้ง มีกลไกควบคุมกนั เองขององคก์ รวชิ าชพี ข้าราชการ  พนักงาน  หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรอื รัฐวสิ าหกจิ ในกิจการวิทยกุ ระจายเสียง วทิ ยุ โทรทศั น์ หรือสอ่ื มวลชนอ่นื   ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรอื ลกู จ้างของเอกชนตามวรรคหน่งึ มาตรา  ๔๗  คล่ืนความถ่ีที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์  และโทรคมนาคม  เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อ ประโยชนส์ าธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำ�หน้าท่ีจัดสรรคล่ืน ความถ่ีตามวรรคหน่ึง  และก�ำ กับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยโุ ทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทัง้ น้ี ตามท่กี ฎหมายบญั ญตั ิ สทิ ธิ เสรีภาพ และหน้าทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

27 ๘. เสรภี าพในการศกึ ษา มาตรา ๕๐ บุคคลยอ่ มมเี สรภี าพในทางวิชาการ การศกึ ษาอบรม  การเรยี นการสอน  การวจิ ยั   และการเผยแพร่ งานวจิ ยั ตามหลกั วชิ าการ ยอ่ มได้รบั ความคุ้มครอง ทง้ั นี้ เท่าที่ไมข่ ัด ต่อหนา้ ที่ของพลเมืองหรือศลี ธรรมอันดขี องประชาชน มาตรา ๘๐ รฐั ตอ้ งพฒั นาคณุ ภาพและมาตรฐานการจัดการ ศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสงั คม จัดให้มแี ผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพอ่ื พฒั นาการศกึ ษาของชาติ จดั ใหม้ กี ารพฒั นาคณุ ภาพครแู ละบุคลากร ทางการศกึ ษาให้กา้ วหนา้ ทนั การเปล่ยี นแปลงของสังคมโลก รวมทั้ง ปลกู ฝังให้ผเู้ รยี นมีจติ สำ�นึกของความเป็นไทย มรี ะเบยี บวนิ ัย ค�ำ นึงถงึ ประโยชนส์ ว่ นรวม  และยดึ มน่ั ในการปกครองระบอบประชาธปิ ไตยอนั มี พระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นประมุข ๙. สทิ ธิในทรัพย์สนิ มาตรา  ๔๑  สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความ คมุ้ ครอง ขอบเขตแหง่ สทิ ธแิ ละการจำ�กัดสทิ ธิเชน่ ว่าน้ยี ่อมเป็นไปตาม ทก่ี ฎหมายบัญญัติ การสืบมรดกยอ่ มได้รับความคมุ้ ครอง สิทธขิ องบคุ คลในการ สบื มรดกยอ่ มเป็นไปตามทกี่ ฎหมายบญั ญตั ิ

28 มาตรา ๔๒ การเวนคนื อสังหารมิ ทรัพยจ์ ะกระท�ำ มไิ ด้ เว้นแต่ โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะกิจการของรัฐ เพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค  การอันจำ�เป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  การผังเมือง  การส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม  การพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม การปฏิรูปท่ีดิน  การอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งทางประวัติศาสตร์ หรอื เพอ่ื ประโยชนส์ าธารณะอยา่ งอน่ื   และตอ้ งชดใชค้ า่ ทดแทนทเ่ี ปน็ ธรรม ภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาท่ีได้รับความ เสียหายจากการเวนคนื นนั้ ทั้งน้ี ตามทกี่ ฎหมายบัญญัติ การกำ�หนดค่าทดแทนตามวรรคหน่ึงต้องกำ�หนดให้อย่าง เป็นธรรมโดยคำ�นึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด การได้มา  สภาพและท่ีต้ังของอสังหาริมทรัพย์  ความเสียหายของ ผู้ถูกเวนคืน  และประโยชน์ท่ีรัฐและผู้ถูกเวนคืนได้รับจากการใช้สอย อสังหาริมทรัพย์ทีถ่ ูกเวนคืน กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่ง การเวนคืนและกำ�หนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาท่ีกำ�หนดดังกล่าว  ต้องคืนให้ เจ้าของเดมิ หรอื ทายาท การคนื อสงั หารมิ ทรพั ยใ์ หเ้ จา้ ของเดมิ หรอื ทายาทตามวรรคสาม และการเรยี กคนื คา่ ทดแทนทช่ี ดใชไ้ ป ใหเ้ ปน็ ไปตามทก่ี ฎหมายบญั ญตั ิ สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทขี่ องพลเมืองในระบอบประชาธปิ ไตย

29 ๑๐. สิทธใิ นบรกิ ารสาธารณสขุ มาตรา ๕๑ บคุ คลย่อมมสี ิทธเิ สมอกนั ในการรับบรกิ ารทาง สาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน  และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการ รกั ษาพยาบาลจากสถานบรกิ ารสาธารณสขุ ของรฐั โดยไมเ่ สยี คา่ ใชจ้ า่ ย บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซ่ึงต้อง เปน็ ไปอย่างทัว่ ถงึ และมีประสิทธภิ าพ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการป้องกันและขจัดโรคติดต่อ อันตรายจากรัฐอย่างเหมาะสม  โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและทันต่อ เหตุการณ์ มาตรา ๘๐ รฐั ต้องส่งเสริม สนบั สนุน และพัฒนาระบบ สุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำ�ไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ของประชาชน  รวมท้ังจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการ สาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างท่ัวถึงและมีประสิทธิภาพ  และส่งเสริม ให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัด บริการสาธารณสุข  โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซ่ึงได้ปฏิบัติหน้าที่ ต า ม ม า ต ร ฐ า น วิ ช า ชี พ แ ล ะ จริยธรรม  ย่อมได้รับความ คุ้มครองตามกฎหมาย

30 ๑๑. สทิ ธขิ องคนชรา มาตรา  ๕๓  บุคคลซ่ึงมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มี รายได้เพียงพอแก่การยังชีพ  มีสิทธิได้รับสวัสดิการ  สิ่งอำ�นวยความ สะดวกอนั เปน็ สาธารณะอยา่ งสมศกั ดศ์ิ ร ี และความชว่ ยเหลอื ทเ่ี หมาะสม จากรฐั มาตรา ๘๐ รฐั ตอ้ งสงเคราะห์และจัดสวสั ดิการให้แกผ่ ู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผ้พู ิการหรอื ทุพพลภาพ และผอู้ ยูใ่ นสภาวะยากล�ำ บาก ใหม้ ี คณุ ภาพชวี ติ ท่ดี ขี น้ึ และพึง่ พาตนเองได้ ๑๒. สทิ ธขิ องคนไรท้ ่ีอยู่อาศยั มาตรา  ๕๕  บุคคลซึ่งไร้ที่อยู่อาศัยและไม่มีรายได้เพียงพอ แก่การยงั ชีพ ยอ่ มมีสทิ ธไิ ด้รับความช่วยเหลอื ทีเ่ หมาะสมจากรฐั ๑๓. สิทธิของคนพกิ ารหรอื ทุพพลภาพ มาตรา ๕๔ บคุ คลซึง่ พกิ ารหรอื ทุพพลภาพ มสี ทิ ธิเขา้ ถงึ และ ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ  ส่ิงอำ�นวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความชว่ ยเหลือทีเ่ หมาะสมจากรัฐ บุคคลวกิ ลจรติ ยอ่ มได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรฐั มาตรา ๘๐ รฐั ต้องสงเคราะหแ์ ละจดั สวัสดกิ ารให้แกผ่ สู้ ูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พกิ ารหรอื ทพุ พลภาพ และผอู้ ยู่ในสภาวะยากล�ำ บาก ให้มี คุณภาพชวี ิตที่ดีขน้ึ และพง่ึ พาตนเองได้ สิทธิ เสรีภาพ และหนา้ ทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

31 ๑๔. สทิ ธิของผู้บริโภค มาตรา ๖๑ สิทธิของบคุ คลซึ่งเปน็ ผู้บริโภคยอ่ มไดร้ ับความ คุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง  และมีสิทธิร้องเรียน เพ่ือให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย  รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกัน เพอื่ พิทกั ษส์ ิทธิของผบู้ รโิ ภค ให้มีองค์การเพ่ือการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจาก หน่วยงานของรัฐ  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค  ทำ�หน้าที่ให้ ความเห็นเพ่ือประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตรา และการบังคับใช้กฎหมายและกฎ  และให้ความเห็นในการกำ�หนด มาตรการตา่ ง  ๆ เพือ่ คมุ้ ครองผูบ้ ริโภค รวมท้งั ตรวจสอบและรายงาน การกระทำ�หรือละเลยการกระทำ�อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค  ทั้งนี้  ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำ�เนินการขององค์การอิสระ ดงั กลา่ วดว้ ย ๑๕. สทิ ธิของผู้ใช้แรงงาน มาตรา  ๔๔  บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความ ปลอดภัยและสวัสดิภาพในการทำ�งาน  รวมทั้งหลักประกันในการ ดำ�รงชีพท้ังในระหว่างการ ทำ�งานและเมื่อพ้นภาวะ การทำ�งาน  ทั้งน้ี  ตามที่ กฎหมายบญั ญัติ

32 ๑๖. สิทธิของชุมชนทอ้ งถิ่น มาตรา ๖๖ บคุ คลซึง่ รวมกนั เป็นชมุ ชน ชุมชนท้องถ่ิน หรือ ชุมชนท้องถ่ินด้ังเดิม  ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟ้ืนฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถนิ่ ศิลปวฒั นธรรมอันดีของทอ้ งถิ่นและของชาติ และ มีส่วนร่วมในการจัดการ  การบำ�รุงรักษา  และการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชวี ภาพ อย่างสมดุลและยั่งยนื มาตรา  ๖๗  สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการอนรุ กั ษ์ บ�ำ รงุ รกั ษา และการไดป้ ระโยชนจ์ ากทรพั ยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสรมิ และ รกั ษาคณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ ม เพือ่ ให้ด�ำ รงชีพอย่ไู ด้อยา่ งปกตแิ ละตอ่ เนื่อง ในสงิ่ แวดล้อม ท่จี ะไมก่ อ่ ให้เกิดอนั ตรายตอ่ สุขภาพอนามัย สวสั ดิภาพ หรือคุณภาพชีวติ ของตน ยอ่ มไดร้ ับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การดำ�เนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อชุมชนอย่างรุนแรงท้ังทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากร ธรรมชาติ และสขุ ภาพ  จะกระท�ำ มิได้  เวน้ แต่จะได้ศึกษาและประเมิน ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน  และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วน ไดเ้ สยี กอ่ น  รวมท้ังได้ให้องค์การอิสระซ่ึงประกอบด้วยผู้แทนองค์การ เอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ  และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่ จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้าน สุขภาพ ให้ความเหน็ ประกอบก่อนมีการดำ�เนนิ การดงั กล่าว สิทธิ เสรีภาพ และหนา้ ทขี่ องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

33 สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการสว่ นทอ้ งถิ่น หรอื องคก์ รอน่ื ของรัฐทเ่ี ปน็ นิตบิ คุ คล เพ่อื ใหป้ ฏบิ ัตหิ นา้ ทต่ี ามบทบญั ญัติน้ี ยอ่ มไดร้ ับความคุ้มครอง ๑๗. เสรีภาพในการรวมกลุ่ม มาตรา ๖๓ บคุ คลย่อมมีเสรีภาพในการชมุ นุมโดยสงบและ ปราศจากอาวธุ การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำ�มิได้  เว้นแต่ โดยอาศยั อ�ำ นาจตามบทบญั ญตั แิ หง่ กฎหมาย  เฉพาะในกรณกี ารชมุ นมุ สาธารณะ  และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนท่ีจะใช้ ท่ีสาธารณะ  หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลา ท่ีประเทศอยู่ในภาวะสงคราม  หรือในระหว่างเวลาท่ีมีประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉนิ หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก มาตรา ๖๔ บคุ คลยอ่ มมีเสรภี าพในการรวมกนั เปน็ สมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องคก์ ารเอกชน องค์การ พัฒนาเอกชน หรอื หมู่คณะอนื่ ข้าราชการและเจ้าหน้าท่ขี องรัฐย่อมมีเสรีภาพในการรวมกล่มุ เชน่ เดยี วกบั บคุ คลทว่ั ไป  แตท่ ง้ั นต้ี อ้ งไมก่ ระทบประสทิ ธภิ าพในการบรหิ าร ราชการแผน่ ดนิ และความต่อเนือ่ งในการจดั ทำ�บริการสาธารณะ ท้ังนี้ ตามทก่ี ฎหมายบญั ญัติ

34 การจำ�กัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง  จะกระทำ� มิได้  เว้นแต่โดยอาศัยอำ�นาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  เฉพาะ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน  เพ่ือรักษาความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  หรือเพื่อป้องกันมิให้มีการ ผกู ขาดตัดตอนในทางเศรษฐกิจ มาตรา  ๖๕  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้ง พรรคการเมืองเพ่ือสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและ เพื่อดำ�เนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์น้ัน ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมขุ ตามทบี่ ญั ญัติไว้ในรัฐธรรมนญู น้ี การจัดองค์กรภายใน  การดำ�เนินกิจการ  และข้อบังคับของ พรรคการเมือง  ต้องสอดคล้องกับหลักการพ้ืนฐานแห่งการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษตั ริย์ทรงเปน็ ประมุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซ่ึงเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรคการเมือง  หรือสมาชิกพรรคการเมือง ตามจำ�นวนที่กำ�หนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง  ซ่งึ เห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเร่อื งใดของพรรคการเมือง ท่ีตนเป็นสมาชิกอยู่น้ันจะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าท่ีของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญน้ี  หรือขัดหรือแย้ง กับหลักการพ้ืนฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินจิ ฉัย สทิ ธิ เสรีภาพ และหนา้ ทขี่ องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

35 ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าว ขัดหรือแย้งกับหลักการพ้ืนฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ให้มติหรือข้อบังคับน้ันเป็นอัน ยกเลกิ ไป ๑๘. สิทธใิ นการรับรแู้ ละมีส่วนรว่ ม มาตรา ๕๖ บคุ คลยอ่ มมสี ทิ ธไิ ดร้ บั ทราบและเขา้ ถงึ ขอ้ มลู หรอื ข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ  หน่วยงานของรัฐ รฐั วสิ าหกจิ หรอื ราชการสว่ นท้องถ่นิ เวน้ แต่การเปดิ เผยข้อมูลหรือ ข่าวสารน้ันจะกระทบต่อความม่ันคงของรัฐ  ความปลอดภัยของ ประชาชน  หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรอื เป็นขอ้ มลู สว่ นบคุ คล ทงั้ น้ี ตามทีก่ ฎหมายบญั ญัติ มาตรา  ๕๗  บุคคลย่อมมสี ิทธิไดร้ บั ขอ้ มูล ค�ำ ชแ้ี จง และ เหตผุ ลจากหน่วยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รัฐวสิ าหกจิ หรือราชการ ส่วนท้องถ่นิ   ก่อนการอนุญาตหรือการดำ�เนินโครงการหรือกิจกรรมใด ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพส่ิงแวดล้อม  สุขภาพอนามัย  คุณภาพ ชีวิต หรือสว่ นไดเ้ สียสำ�คญั อน่ื ใดทเี่ กย่ี วกบั ตนหรือชมุ ชนทอ้ งถ่ิน และ มีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เก่ียวข้องเพ่ือนำ�ไป ประกอบการพิจารณาในเรือ่ งดงั กล่าว การวางแผนพฒั นาสังคม เศรษฐกิจ การเมอื ง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์  การวางผังเมือง  การกำ�หนดเขตการใช้ ประโยชน์ในที่ดิน  และการออกกฎท่ีอาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสีย

36 ส�ำ คญั ของประชาชน ใหร้ ัฐจดั ใหม้ กี ระบวนการรบั ฟงั ความคิดเห็นของ ประชาชนอย่างทว่ั ถึงกอ่ นดำ�เนินการ มาตรา  ๕๘  บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการ พจิ ารณาของเจา้ หนา้ ทข่ี องรฐั ในการปฏบิ ตั ริ าชการทางปกครองอนั มผี ล หรืออาจมีผลกระทบตอ่ สิทธแิ ละเสรภี าพของตน ๑๙. สทิ ธใิ นการร้องทุกข์และฟ้องคดี มาตรา  ๕๙  บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และ ได้รบั แจง้ ผลการพจิ ารณาภายในเวลาอนั รวดเร็ว มาตรา  ๖๐  บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกจิ ราชการสว่ นทอ้ งถน่ิ หรอื องคก์ รอน่ื ของรฐั ทเ่ี ปน็ นติ บิ คุ คล  ใหร้ บั ผดิ เนอ่ื งจากการกระทำ�หรอื การละเวน้ การกระทำ� ของขา้ ราชการ พนักงาน หรอื ลกู จ้างของหนว่ ยงานนัน้ มาตรา ๒๘ วรรค ๓ บุคคลย่อมสามารถใชส้ ิทธทิ างศาล เพอ่ื บงั คบั ใหร้ ฐั ตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามบทบญั ญตั ใิ นหมวดนไ้ี ดโ้ ดยตรง  หากการ ใช้สิทธิและเสรีภาพในเร่ืองใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดแห่งการ ใช้สิทธิและเสรีภาพตามท่ีรัฐธรรมนูญน้ีรับรองไว้แล้ว  ให้การใช้สิทธิ และเสรภี าพในเร่อื งนนั้ เป็นไปตามท่ีกฎหมายบญั ญัติ บุคคลย่อมมสี ิทธิได้รับการส่งเสริม สนบั สนนุ และชว่ ยเหลือ จากรัฐ ในการใชส้ ทิ ธติ ามความในหมวดนี้ มาตรา  ๒๔๕  และมาตรา  ๒๕๗  สิทธิท่ีจะร้องทุกข์ต่อ ผู้ตรวจการแผน่ ดนิ หรอื ต่อคณะกรรมการสทิ ธิมนษุ ยชนแหง่ ชาติ สทิ ธิ เสรีภาพ และหนา้ ทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

37 มาตรา  ๒๑๑  และมาตรา  ๒๑๒  สิทธิในการร้องขอ ต่อศาลรัฐธรรมนญู ให้พิจารณาวา่ กฎหมายใดจะขัดรัฐธรรมนญู หรือไม่ มาตรา  ๒๒๓  สทิ ธใิ นการฟอ้ งคดตี อ่ ศาลปกครองวา่ การกระท�ำ ของเจ้าหน้าทร่ี ฐั ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งน้ี  หากได้พิจารณาแล้ว  จะเห็นได้ว่าสิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทยท่ีได้รับการคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญนั้น  จำ�แนก ออกได้ ๓ ประเภท คือ (๑) สทิ ธิและเสรีภาพสว่ นบคุ คล (๒) สทิ ธแิ ละเสรภี าพในทางเศรษฐกจิ และ (๓) สิทธิและเสรีภาพในการมสี ว่ นรว่ มทางการเมือง กลา่ วไดว้ ่าสทิ ธิและเสรีภาพของประชาชน  นอกจากจะไดร้ บั การคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญแล้ว  ในความเป็นประชาคมโลกที่มี ความแตกต่างกันตามอัตลักษณ์ของแต่ละประเทศ  จึงมีวิถีปฏิบัติต่อ ประชาชนของตนแตกต่างกัน  และเพ่ือให้มนุษย์ได้รับการคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพขั้นพ้ืนฐานเหมือนกัน  จึงได้มีข้อตกลงระหว่างประเทศ หลายฉบับที่ประเทศภาคีสมาชิกยึดถือปฏิบัติ  เช่น  ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน  หากพบว่าประเทศภาคีสมาชิกใดละเมิดหรือ ไมป่ ฏบิ ัตติ ามข้อตกลง ย่อมได้รับการลงโทษ ตอบโต้ หรือน�ำ มาตรการ ทางเศรษฐกิจมากำ�หนดด้านความสัมพนั ธร์ ะหว่างประเทศได้

38 หนา้ ท่ขี องประชาชนตามรัฐธรรมนญู รัฐธรรมนญู แห่งราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐ ไดม้ ี การก�ำ หนดหน้าทขี่ องประชาชนชาวไทยไว้ในหมวด ๔ วา่ ด้วย “หนา้ ท่ี ของชนชาวไทย” ไว้ ดงั นี้ มาตรา  ๗๐  บุคคลมีหน้าท่ีพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์  และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริยท์ รงเปน็ ประมขุ ตามรฐั ธรรมนญู น้ ี เจตนารมณข์ องรฐั ธรรมนญู มาตราน ้ี เพอ่ื ก�ำ หนดใหเ้ ปน็ หนา้ ท่ี ของบคุ คลทุกคนในการพิทกั ษร์ ักษาชาติ ศาสนา และพระมหากษัตรยิ  ์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข หลักการดังกล่าวเป็นหลักการเดิมตามที่ได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  แต่แก้ไข ถ้อยคำ�เพ่ือให้ชัดเจนย่ิงข้ึน  นอกจากนี้หลักการดังกล่าวยังได้บัญญัติ ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๔๙๒  เป็น คร้งั แรกอีกดว้ ย มาตรา  ๗๑  บคุ คลมหี นา้ ทป่ี อ้ งกนั ประเทศ  รกั ษาผลประโยชน์ ของชาติ และปฏิบัตติ ามกฎหมาย เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตราน้ี  เพ่ือกำ�หนดให้ ประชาชนชาวไทยมหี น้าทตี่ ่อประเทศ  บุคคลท่เี ป็นประชาชนชาวไทย สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

39 ทุกคนต้องมีหน้าท่ีในการปกป้องประเทศไม่ว่าด้านใด  ๆ  รวมทั้ง ต้องรักษาผลประโยชน์ของชาติ  และมีหน้าที่เคารพและปฏิบัติตาม กฎหมาย เพอ่ื ให้ประเทศและประชาชนมคี วามผาสุก หลักการดังกล่าวเป็นหลักการเดิมตามที่ได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  แต่เพิ่มให้ ประชาชนชาวไทยมีหน้าท่ีรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วย  นอกจากนี้ หลักการดังกล่าวยังได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๕ เป็นครงั้ แรกอีกดว้ ย มาตรา ๗๒ บคุ คลมหี นา้ ทไ่ี ปใช้สิทธเิ ลือกต้ัง บุคคลซึ่งไปใช้สิทธิหรือไม่ไปใช้สิทธิโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควร ท่ีทำ�ใหไ้ ม่อาจไปใช้สทิ ธไิ ด้ ย่อมไดร้ บั สิทธหิ รือเสียสทิ ธิตามทีก่ ฎหมาย บัญญัติ การแจ้งเหตุที่ทำ�ให้ไม่อาจไปเลือกตั้งและการอำ�นวยความ สะดวกในการไปเลอื กตง้ั ใหเ้ ปน็ ไปตามทก่ี ฎหมายบัญญตั ิ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้  เพ่ือให้ประชาชน ชาวไทยมีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนของตนเข้าสู่ระบบการปกครอง กำ�หนดให้บคุ คลทม่ี สี ทิ ธิเลอื กตง้ั มีหน้าที่ตอ้ งไปใช้สิทธิเลอื กต้ัง ดงั นน้ั รัฐต้องมีหน้าที่โดยตรงในการอำ�นวยความสะดวกและจัดให้สามารถ ใช้สิทธิเลือกตั้งได้โดยง่าย  การไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยไม่มีเหตุ อันสมควรย่อมเสียสิทธิบางประการตามท่กี ฎหมายกำ�หนดแล้วแต่กรณี ในทางตรงกันข้ามหากไปใช้สิทธิเลือกต้ังย่อมได้สิทธิบางประการ

40 ตามทก่ี ฎหมายบญั ญตั เิ ชน่ กนั   เพอ่ื เปน็ การจงู ใจใหบ้ คุ คลไปใชส้ ทิ ธเิ ลอื กตง้ั ควบคู่กับการตัดสิทธิของผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  ทั้งน้ี  เพ่ือป้องกัน การซอ้ื สิทธขิ ายเสยี งอีกทางหนึ่งด้วย หลักการดังกล่าวเป็นหลักการเดิมตามที่ได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  แต่เพ่ิมให้ ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอาจได้รับสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ  นอกจากน้ี หลักการดังกล่าวยังได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พทุ ธศักราช ๒๔๙๒ เปน็ ครั้งแรกอกี ดว้ ย มาตรา  ๗๓  บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร  ช่วยเหลือ ในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ  เสียภาษีอากร  ช่วยเหลือ ราชการ รับการศกึ ษาอบรม พทิ กั ษ์ ปกปอ้ ง และสืบสานศลิ ปวฒั นธรรม ของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น  และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดลอ้ ม ท้งั นี้ ตามที่กฎหมายบญั ญตั ิ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้  เพ่ือกำ�หนดให้ ประชาชนชาวไทยมีหน้าท่ีเสียสละ  และมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม บทบัญญัติน้ีจึงกำ�หนดให้ประชาชนชาวไทยทุกคนต้องมีหน้าท่ี เสียสละเพ่ือส่วนรวมในการรับราชการทหาร  ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย เสยี ภาษีอากร ช่วยเหลอื ราชการ ตลอดจนมีหน้าท่ีอ่นื ๆ เช่น รับการศึกษาอบรม ปกปอ้ งศิลปวัฒนธรรมอนั ดีงามของชาติและ อนรุ ักษ์ส่ิงแวดลอ้ ม เป็นตน้ สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทขี่ องพลเมอื งในระบอบประชาธปิ ไตย

41 หลักการดังกล่าวเป็นหลักการเดิมตามที่ได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ แตเ่ พม่ิ หน้าท่ี ของประชาชนในการช่วยเหลือป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ นอกจากน้ีหลักการดังกล่าวยังได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๔๗๕ เป็นครั้งแรกอีกด้วย มาตรา ๗๔ บุคคลผ้เู ป็นข้าราชการ พนกั งาน ลกู จา้ งของ หนว่ ยราชการ หนว่ ยงานของรฐั รฐั วสิ าหกิจ หรือเจา้ หนา้ ที่อืน่ ของรัฐ มีหน้าทดี่ ำ�เนนิ การให้เป็นไปตามกฎหมายเพ่อื รักษาประโยชน์สว่ นรวม อ�ำ นวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล ของการบริหารกจิ การบา้ นเมอื งทีด่ ี ในการปฏิบัติหน้าท่ีและในการปฏิบัติการอื่นท่ีเก่ียวข้องกับ ประชาชน บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเปน็ กลางทางการเมอื ง ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหน่ึงละเลยหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไป ตามหน้าที่ตามวรรคหน่ึงหรือวรรคสอง  บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมี สิทธขิ อให้บุคคลตามวรรคหน่ึง หรอื ผ้บู งั คับบญั ชาของบคุ คลดังกลา่ ว ชี้แจง  แสดงเหตุผล  และขอให้ดำ�เนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติ ในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตราน้ี  เพ่ือกำ�หนดให้ ข้าราชการหรือเจ้าหน้าท่ีของหน่วยงานภาครัฐต้องปฏิบัติหน้าท่ี เพ่ือรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  อำ�นวยความสะดวกและบริการแก่ ประชาชนตามหลกั ธรรมาภบิ าล  และตอ้ งวางตนเปน็ กลางทางการเมอื ง

42 ซ่ึงหลักธรรมาภิบาล  ได้แก่  ๑)  เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน ๒)  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  ๓)  มีประสิทธิภาพและมีความ คุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ  ๔)  ไม่มีข้ันตอนในการปฏิบัติงานเกินความ จำ�เป็น  ๕)  ปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ ๖)  ประชาชนได้รับการอำ�นวยความสะดวกและได้รับการตอบสนอง ความตอ้ งการ ๗) มีการประเมินผลการปฏิบัตริ าชการอย่างสม่ำ�เสมอ ท้งั น้ ี เพ่อื ไม่ให้ผ้สู มัครรับการเลือกต้งั หรือพรรคการเมืองไม่ว่าระดับใด มีส่วนได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการเมือง  และเพ่ือกำ�กับตลอดจน ปรับปรุงการดำ�เนินงานของข้าราชการ  และพนักงานของรัฐเป็นไป ตามหลกั ธรรมาภิบาลและเป็นกลางทางการเมอื ง หลักการดังกล่าวเป็นหลักการเดิมตามท่ีได้บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  ๒๕๔๐  และเป็น หลกั การทไ่ี ดบ้ ญั ญตั ไิ วใ้ นรฐั ธรรมนญู แหง่ ราชอาณาจกั รไทย  พทุ ธศกั ราช ๒๕๔๐ เป็นครั้งแรกอีกดว้ ย รัฐธรรมนูญนอกจากจะมีบทบัญญัติในเรื่องการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพไว้อย่างชดั เจนดังที่กล่าวมาแล้วขา้ งต้น ขณะเดยี วกันก็ได้ ก�ำ หนดใหป้ ระชาชนมหี น้าท่ีบางประการควบคู่ไปดว้ ย กลา่ วคือ เมือ่ รัฐได้ให้หลักประกันในสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนแล้ว  ประชาชน ก็มีหน้าท่ีท่ีต้องปฏิบัติต่อรัฐด้วย  ดังน้ัน  การปฏิบัติตามกฎหมาย และประพฤติตนเป็นพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญอย่างเข้มแข็ง  จึงถือ เป็นความรับผิดชอบของประชาชนชาวไทยทุกคนที่ต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้สงั คมเกดิ ความสงบสุขและอยรู่ ่วมกันอย่างสนั ติสุขนน่ั เอง สิทธิ เสรีภาพ และหนา้ ทข่ี องพลเมอื งในระบอบประชาธิปไตย

43 แ น ว ท า ง ก า ร ป ฏิ บั ติ ต น เ ป็ น พ ล เ มื อ ง ดี ต า ม วิ ถี ชี วิ ต ประชาธิปไตย พลเมอื งดตี ามวถิ ชี วี ติ ประชาธปิ ไตยควรมแี นวทางการปฏบิ ตั ติ น ดังน้ี คือ ๑. ดา้ นการเมอื งการปกครอง ไดแ้ ก่ (๑) การเคารพกฎหมาย (๒) การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความ ขดั แยง้ ท่ีเกิดข้ึน (๓) การยอมรบั ในเหตุผลท่ดี ีกวา่ (๔) การซอ่ื สตั ยต์ อ่ หนา้ ทโ่ี ดยไมเ่ หน็ แกป่ ระโยชนส์ ว่ นตน (๕) การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม  กล้าเสนอ ตนเองในการทำ�หน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒสิ ภา (๖) การท�ำ งานอยา่ งเต็มความสามารถ เตม็ เวลา ๒. ด้านเศรษฐกจิ ไดแ้ ก่ (๑) การประหยดั และอดออมในครอบครัว (๒) การซอื่ สัตย์สจุ ริตตอ่ อาชพี ทท่ี ำ� (๓) การพฒั นางานอาชีพใหก้ า้ วหน้า (๔) การใชเ้ วลาว่างใหเ้ ปน็ ประโยชนต์ ่อตนเองและสงั คม (๕) การสร้างงานและสร้างสรรคส์ งิ่ ประดิษฐใ์ หม่ ๆ เพ่อื ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก

44 (๖) การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคท่ีดี  มีความซื่อสัตย์ ยึดม่ันในอดุ มการณท์ ดี่ ีตอ่ ชาตเิ ป็นส�ำ คญั ๓. ด้านสงั คม ได้แก่ (๑) การแสดงความคดิ อย่างมเี หตุผล (๒) การรบั ฟงั ข้อคิดเหน็ ของผอู้ นื่ (๓) การยอมรับเมื่อผ้อู ่นื มีเหตุผลที่ดกี วา่ (๔) การตดั สนิ ใจโดยใช้เหตผุ ลมากกวา่ อารมณ์ (๕) การเคารพระเบยี บของสังคม (๖) การมจี ติ สาธารณะ คอื เหน็ แกป่ ระโยชนข์ องสว่ นรวม และรักษาสาธารณสมบัต ิ นอกจากน ้ี หากตอ้ งการเปลย่ี นแปลงและแกไ้ ขปญั หาตา่ ง  ๆ  ในสังคมให้ดีข้ึนในวงกว้าง  จำ�เป็นอย่างย่ิงท่ีเราควรจะสนับสนุนและ ส่งเสริมให้บุคคลอ่ืนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย  เพ่ือ เป็นแบบอย่างท่ีดีแก่เยาวชนและคนอื่น  ๆ  ในสังคม  โดยมีแนวทาง การปฏบิ ตั ิ ดังนี้ ๑. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมของศาสนา  และนำ�หลักการของ ประชาธปิ ไตยมาใชใ้ นวถิ กี ารดำ�รงชวี ติ ประจำ�วนั   เพอ่ื เปน็ แบบอยา่ งทด่ี ี แกค่ นรอบขา้ ง ๒. เผยแพร่ อบรม หรอื สง่ั สอนบคุ คลในครอบครวั เพอ่ื นบา้ น และคนในสังคม  ให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพ้ืนฐานในการ ดำ�รงชีวติ ประจำ�วัน สทิ ธิ เสรภี าพ และหน้าทขี่ องพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย

45 ๓. สนับสนุนชุมชนในเร่ืองท่ีเก่ียวกับการปฏิบัติตน ใหถ้ กู ตอ้ งตามกฎหมาย  โดยการบอกเล่า  เขียนบทความเผยแพร่ผ่าน ส่อื มวลชน ๔. ชักชวน  หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมี ส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของ ชมุ ชน ๕. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของรัฐในการ สนับสนนุ คนดี และแจง้ เบาะแสคนทเี่ ป็นภยั กับสังคม ท้ังนี้  การสนับสนุนให้ผู้อ่ืนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ในวิถีประชาธิปไตย  ควรเป็นจิตสำ�นึกท่ีบุคคลพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิด ประชาธปิ ไตยอยา่ งแทจ้ ริง

46 บทสรุป การปกครองระบอบประชาธิปไตยจะประสบความสำ�เร็จได้ หรือไม่น้ัน  คำ�ตอบเบ็ดเสร็จคงไม่ได้อยู่ท่ีการมีรัฐธรรมนูญที่ดีและ สมบูรณ์แบบเพียงอย่างเดียวเท่าน้ัน  หากแต่ยังขึ้นอยู่กับประชาชน ในประเทศจะตอ้ งฝกึ ฝนและพฒั นาตนเองเพอ่ื กา้ วขา้ มสคู่ วามเปน็ พลเมอื ง ซ่ึงมีความเข้าใจและตระหนักถึงบทบาทหน้าท่ีของตนในสังคมด้วย ความรับผิดชอบอย่างเต็มที่  รวมทั้งมีความกระตือรือร้นในการรักษา สิทธติ า่ ง ๆ ของตนและชมุ ชนของตนเองอยา่ งเข้มแขง็ ท่ีสำ�คัญคือ  ประชาชนควรให้ความสำ�คัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ด้วยความเต็มใจโดยการแสดงออกซ่ึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นอย่างเสรี  มีเหตุมีผล  เพ่ือสร้างสรรค์และจรรโลงสังคม โดยรวม  ตลอดจนยึดหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยเป็นแนวทางในการดำ�เนินชวี ิตในสังคม มีการปฏบิ ัตติ น ตามกฎหมายอย่างเครง่ ครัด และยึดม่ันในหลักศีลธรรมและคุณธรรม ของศาสนาควบคู่กันไปด้วย  พร้อม  ๆ  กับดำ�รงตนเป็นประโยชน์ ต่อสังคมส่วนรวม  โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างจริงใจ  อันจะ ก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เป็นสังคมและประเทศ ประชาธิปไตยอย่างแทจ้ ริง ddddd สิทธิ เสรีภาพ และหนา้ ทข่ี องพลเมืองในระบอบประชาธปิ ไตย

47 บรรณานุกรม เกรยี งศักด์ิ เจรญิ วงศ์ศักด์.ิ “เรง่ สร้าง “พลเมือง” เพื่อสร้างชาต”ิ , รัฐสภาสาร. ปีท่ี ๖๐ ฉบับท่ี ๘ สงิ หาคม ๒๕๕๕, หนา้ ๒๘-๓๖. คณะกรรมาธิการวสิ ามัญบันทกึ เจตนารมณ์ จดหมายเหตแุ ละ ตรวจรายงานการประชุมสภารา่ งรัฐธรรมนูญ, สำ�นกั กรรมาธิการ ๓. เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแหง่ ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ : สำ�นกั การพิมพ์ สำ�นกั งานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๐. วชั รา ไชยสาร. “ “จิตสาธารณะ” และ “สำ�นึกพลเมือง” ปฐมบท แห่งการเมอื งภาคพลเมอื ง”, รฐั สภาสาร. ปที ี่ ๖๐ ฉบับท่ี ๘ สงิ หาคม ๒๕๕๕, หน้า ๙-๒๗. สำ�นกั งานเลขาธิการสภาผแู้ ทนราษฎร. พลเมอื งในระบอบ ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : ส�ำ นกั การพิมพ์ ส�ำ นกั งานเลขาธิการสภาผูแ้ ทนราษฎร, ๒๕๕๕. ส�ำ นกั งานเลขาธกิ ารสภาผ้แู ทนราษฎร. รัฐธรรมนญู แห่ง ราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : ส�ำ นกั การพมิ พ์ ส�ำ นกั งานเลขาธกิ ารสภาผแู้ ทนราษฎร, ๒๕๕๔.

48 เวบ็ ไซต์ กิตตศิ กั ด์ิ ปรกติ. ความสำ�คญั ของพลเมอื งตอ่ การพัฒนา ประชาธิปไตยไทย. สืบคน้ เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๖, จาก www.kpi.ac.th/.../ความส�ำ คญั ของพลเมอื ง%20_ อ.กติ ตศิ กั ด์ิ.pdf พุทธชาติ ทองเอม. หน้าท่ขี องชนชาวไทย. สืบคน้ เมอื่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖, จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/ %E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0… รัฐธรรมนญู คมุ้ ครองสิทธิมนษุ ยชนดา้ นใดบา้ ง???. สบื คน้ เม่ือ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖, จาก  http://www.learners.in.th/ blogs/posts/367187 สำ�นกั งานเลขาธกิ ารวุฒสิ ภา. หนา้ ที่ของชนชาวไทย. สบื ค้นเมื่อ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖, จาก  http://www.senate.go.th/ web-senate/leftmenu/roles-thai.htm สุเทพ เอ่ียมคง. สทิ ธิและเสรภี าพของชนชาวไทย. สบื คน้ เม่ือ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๖,  จาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index. php/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0… สทิ ธิ เสรีภาพ และหนา้ ทข่ี องพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook