Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 8-สื่อสร้างสรรค์ธุรกิจดิจิทัล-4atc2021

8-สื่อสร้างสรรค์ธุรกิจดิจิทัล-4atc2021

Published by 08_\_ Patipan Fueangfung _/_ส 1/4, 2021-11-26 05:42:07

Description: ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ องค์ประกอบ และรูปแบบของสื่อดิจิทัล เทคนิคการสร้างสรรค์สื่อข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอตามแนวคิดกลยุทธ์เนื้อหาและการออกแบบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจโดยใช้เครื่องมือดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของธุรกิจที่กำหนด

Search

Read the Text Version

รหัสวิชา 30204-2102 สื่อสร้างสรรค์ธุรกิจ ดิจิทัล

คำอธิบายรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ ทางธุรกิจ องค์ประกอบ และรูปแบบ ของสื่อดิจิทัล เทคนิคการสร้างสรรค์ สื่อข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอตามแนวคิดกลยุทธ์เนื้อหา และการออกแบบให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ผลิตสื่อ สร้างสรรค์ทางธุรกิจโดยใช้เครื่องมือ ดิจิทัลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของ ธุรกิจที่กำหนด 1

จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เข้าใจหลักการ กระบวนการคิดสื่อสร้างสรรค์ทาง ธุรกิจ 2. สามารถผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3. มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการปฏิบัติงานด้วยความ รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ สมรรถนะรายวิชา 1. แสดงความรู้ หลักการ กระบวนการคิดสื่อ สร้างสรรค์ทางธุรกิจ 2. ออกแบบสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 3. ผลิตสื่อสร้างสรรค์ทางธุรกิจ 2

สื่อดิจิทัล สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง มาจัดรูปแบบ โดย อาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้าน คอมพิวเตอร์ สื่อสารทางออนไลน์ สื่อผสม หมายถึง สื่อมัลติมีเดีย ที่ต้องอาศัยการ ใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล เป็นลักษณะการผสมสื่อ หลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การ เปิดโอกาสให้ผู้ ใช้ได้เห็น ได้เลือกก่อนนำมาใช้ 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การออกแบบชิ้นงานนำเสนอด้วย สี่อดิจิทัล หลักการออกแบบการน ำเสนอข้อมูลข้อมูลโดยทั่วไปจะมีหลัก การคล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผ่านสื่อรูปแบบ ต่างๆ เช่น สไลด์ เว็บเพจ สื่อการสอนซึ่งส่วนใหญ่จะมีวิธี การดังนี้ 1.) ความเรียบง่าย : จัดทำสไลด์ให้ดูเรียบง่ายที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ เช่น ใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลังเพื่อไม่รบกวนสายตาในการ อ่าน และสามารถเห็นเนื้อหาได้อย่างชัดเจน หรือใช้พื้นหลัง ตามลักษณะเนื้อหา 2.) มีความคงตัว : เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการนำเสนอสไลด์ซึ่ง เป็นเนื้อหาเนื้อหาในเรื่องเดียวกัน คือ ต้องมีความคงตัวในการ ออกแบบสไลด์ซึ่งหมายถึงต้องใช้รูปแบบสไลด์เดียวกันทุกแผ่น ที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนสี พื้นหลัง หรือ ขนาดและแบบอักษร แต่หากต้องการเน้นจุดสำคัญหรือเป็น เนื้อหาย่อยออกไปจะสามารถเปลี่ยนบางสิ่ง เช่น สีตัวอักษรใน สไลด์ให้ดูแตกต่างไปได้บ้างหรืออาจมีการเปลี่ยนสีพื้นหลังให้ แตกต่างจากเนื้อหาเล็กน้อย

3.) ใช้ความสมดุล : การออกแบบส่วนประกอบของสไลด์ ให้ มีลักษณะสมดุลมีแบบแผน หรือ สมดุลไม่มีแบบแผน ก็ได้แต่ต้องระวังสไลด์ทุกแผ่นให้มีลักษณะของความ สมดุลที่เลือกใช้ให้เหมือนกันเพื่อความคงตัว 4.) มีแนวคิดเดียวในสไลด์แต่ละแผ่น : ข้อความและภาพ ที่บรรจุในสไลด์แผ่นหนึ่งๆ ต้องเป็นเนื้อหาของแต่ละ แนวคิดเท่านั้น หากเนื้อหานั้นมีหลายแนวคิด หรือ เนื้อหาย่อยต้องใช้สไลด์แผ่นใหม่ 5.) สร้างความกลมกลืน : ใช้แบอักษรและภาพกราฟิกให้ เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหาใช้แบบอักษรที่อ่านง่าย และใช่สีที่ดูแล้วสบายตา เลือกกราฟิกที่ไม่ซับซ้อน และ ให้ถูกต้องตรงตามเนื้อหารวมถึงให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่ เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการด้วย 6.) แบบอักษร : ไม่ใช่อักษรมากกว่า 2 แบบ ในสไลด์ เรื่องหนึ่ง โดยใช้แบบหนึ่งเป็นหัวข้อ และอีกแบบหนึ่งเป็น เนื้อหา หากต้องการเน้นข้อความตอนใดให้ใช้ตัวหนา หรือตัวเอน แทนเพื่อการแบ่งแยกให้เป็นความแตกต่าง 5

7.) เนื้อหา และจุดนำข้อความ : ข้อความในสไลด์ควรเป็น เฉพาะหัวข้อ หรือเนื้อหาสำคัญเท่านั้นโดยไม่มีรายละเอียดของ เนื้อหา และควรนำเสนอเป็นแต่ละย่อหน้า โดยอาจมีจุดนำข้อ ความอยุ่ข้างหน้าเพื่อแสดงให้ทราบถึงเนื้อหาแต่ละประเด็น และ ไม่ควรมีจุดนำข้อความมากว่า 4 จุดในสไลด์หนึ่งแผ่น 8.) เลือกใช้กราฟิกอย่างระมัดระวัง : การใช้กราฟิกที่เหมาะ สมจะสามรถเพิ่มการเรียนรุ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากใช้ กราฟิกที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาจะทำให้การเรียนรู้นั้นลดลง และอาจทำให้สื่อความหมายผดไปได้ 9.) ความคมชัดของภาพ : เนื่องจากความคมชัดของจอ มอนิเตอร์มีเพียง 72-96 DPI เท่านั้น ภาพกราฟิกที่นำเสนอ ประกอบในเนื้อหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ภาพที่มีความชัดสูงมาก ควรใช้ภาพในรุปแบบ JPEG ที่มีความคมชัดปานกลาง และ ขนาดใหญ่มากนัก ประมาณ 20-50 KB จึงควรทำการบีบอัด หรือ compress และลดขนาดก่อนเพื่อไม่ให้เปลืองเนื้อที่ในการ เก็บบันทึก 10.) เลือกต้นแบบสไลด์ และแบบอักษรที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ ร่วม : เนื่องจากการนำเสนอต้องมมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้า กับอุปกรณ์ร่วม 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การใช้งานโปรแกรมนำเสนอ ด้วยสื่อดิจิทัล หลักการนำเสนอข ้อมูลและสร้างสื่อนำเสนอ การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบเสมือน สะพานเชื่อมเนื้อหา ของผู้บรรยายไปยังผู้ฟังและผู้ชม ดังนั้น สื่อจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี จะช่วยให้การ ถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ฟังและผู้ชม จะสามารถ จดจำเนื้อหาสาระได้นานและเข้าใจในเนื้อหาได้ ดีมากขึ้น ความหมายการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล หมาย ถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือ ความต้องการไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

จุดมุ่งหมายการนำ เสนอ 1. เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังรับเข้าใจสาระสำคัญของ การนำเสนอข้อมูล 2. ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ ความเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ การนำเสนอผล งานโดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีผลในทาง จิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการ ค้นพบจากการ วิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัส สองอย่าง คือ ตา และหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิด การรับรู้ที่ดีกว่าส่งผลในด้านความสามารถใน การจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตา หรือ หู อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการ พัฒนาสื่อโสตทัศนูปกรณ์รูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมา ใช้งาน โดยเฉพาะสื่อประสม 8

หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน มีจุดเน้น สำคัญดังนี้ 1) การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมี ความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการ เลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของ ตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม 2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่ เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับ ข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มี ประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า\"A picture is worth a thousand words\" หรือ \"ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่า เทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ\" แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริง หากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความ หมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใด ประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้นสามารถ ทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่ 9

3) ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้นต้อง คำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็ก การใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความ เหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และ เนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูน อาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ ของการเอาจริงเอาจังไปหลักการเลือกใช้ ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการนำเสนองาน 10

รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่ นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบ 1. การนำเสนอแบบ Web pageเป็นรูปแบบการนำเสนอที่ ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อม โยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถ สร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาใน การจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความ ชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ 2. การนำเสนอแบบ Slide Presentationเป็นการนำเสนอโดย ใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบ การนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สี ของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ใน ปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, OfficeTLE Impress เทคนิคการ ออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่า สนใจ จะเน้นความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการ สรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการ ออกแบบ ได้แก่ 11

1) สื่อความหมายได้รวดเร็ว สื่อนำเสนอที่ดีต้องสามารถสื่อ ความหมายให้ผู้ฟัง ผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว การออกแบบ สื่อ นำเสนอในประเด็นนี้ผู้ออกแบบจะต้องทราบกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาสาระที่ต้องการนำเสนอ สถานที่ และเวลาที่ต้องการ นำเสนอเพื่อประกอบการออกแบบสื่อ เช่น กลุ่มเป้าหมาย ขนาดเล็ก สื่อควรมีให้ความสำคัญกับผู้ฟังมากกว่าเนื้อหา สามารถนำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้าง สื่อมาใช้ได้อย่างเต็มที่ กลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะโต้ตอบ เช่นการนำเสนอทางวิชาการ การบรรยาย หรือฝึกอบรม สื่อ นำเสนอควรให้ ความสำคัญกับเนื้อหารวมทั้งยังสามารถ นำเทคนิค หรือ Effect ต่าง ๆ ของโปรแกรมสร้างสื่อ มา ใช้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะกิจ เช่นผู้ บริหาร นักวิชาการ สื่อนำเสนอจะต้องให้ความสำคัญกับ เนื้อหาและตัว ผู้นำเสนอเป็นสำคัญเนื้อหาควรมุ่งเฉพาะเป้า หมายของการนำเสนอ ไม่เน้น Effect มากนัก กลุ่มเป้า หมายขนาดใหญ่ การนำเสนอมักใช้ความสำคัญกับผู้ บรรยายมากกว่าเนื้อหาที่นำเสนอ ดังนั้น สื่อนำเสนอไม่ ควรเน้นที่ Effect แต่ควรให้ความสำคัญกับขนาดตัวอักษร สีตัวอักษร และลักษณะของสีพื้นสไลด์ 12

2) เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็น ลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่สับสนสิ่งที่ จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำ เสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบ และดูง่าย คือ 2.1) รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำ เสนอแบบย่อหน้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ เทคนิคการ เน้นแนวคิดหลัก( Main Idea) ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วย สีแดงเป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด ควรสรุป เนื้อหาให้เป็นหัวเรื่อง (Title) และหัวข้อ(Topic) หรือแนวคิดหลัก (Main Idea) 2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ ความสำคัญ กับขนาดตัวอักษร ดังนี้ - หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย - เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม - เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการ เน้น - ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา - ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของ หน้า - พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว - ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด - ใช้สีที่แตกต่างกัน หรือตัวอักษรสีสลับกัน 13

2) เนื้อหาเป็นลำดับ สื่อนำเสนอที่ดีควรมีการจัดลำดับเนื้อหาเป็น ลำดับ มีระเบียบ ดูง่าย ไม่สับสนสิ่งที่ จะช่วยให้การออกแบบสื่อนำ เสนอที่ต้องการจัดลำดับเนื้อหาให้เป็นระเบียบ และดูง่าย คือ 2.1) รูปแบบเนื้อหา สื่อนำเสนอแต่ละสไลด์ ควรหลีกเลี่ยงการนำ เสนอแบบย่อหน้า หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ เทคนิคการ เน้นแนวคิดหลัก( Main Idea) ในแต่ละย่อหน้าด้วยสีที่โดดเด่น เช่น พื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำ ควรเน้นแนวคิดหลัก ( Main Idea)ด้วย สีแดงเป็นต้น แต่ละสไลด์เนื้อหาไม่ควรเกิน 6 – 8 บรรทัด ควรสรุป เนื้อหาให้เป็นหัวเรื่อง (Title) และหัวข้อ(Topic) หรือแนวคิดหลัก (Main Idea) 2.2) แบบอักษร การควบคุมการแสดงข้อความในแต่ละสไลด์ ควรให้ ความสำคัญ กับขนาดตัวอักษร ดังนี้ - หัวข้อใหญ่กำหนดขนาดตัวอักษรใหญ่กว่าหัวข้อย่อย - เลือกใช้แบบอักษรที่เหมาะสม - เปลี่ยนลักษณะของตัวอักษรนั้น ใช้ตัวหนาในข้อความที่ต้องการ เน้น - ใช้ช่องว่างในการจัดกลุ่มของเนื้อหา - ข้อความที่ต้องการให้อ่านก่อน ควรจัดไว้ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของ หน้า - พิมพ์ตัวอักษรลงกรอบที่วางแบบไว้แล้ว - ขึ้นหัวข้อก่อนแล้วจึงอธิบายอย่างละเอียด - ใช้สีที่แตกต่างกัน หรือตัวอักษรสีสลับกัน 14

3) สื่อนำเสนอต้องสะดุดตาและน่าสนใจ สื่อนำเสนอที่ดีนั้นจะต้องมีจุด เด่นน่าสนใจ สามารถดึงดูดสายตาของผู้ดู ผู้ฟังได้ ซึ่งจุดเด่นนี้ได้มาจาก ขนาดของตัวอักษรที่ใหญ่ หรือจากการใช้สีที่แตกต่างออกไป รวมถึง การ เลือกใช้ภาพ การใช้สี และการใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ที่เหมาะสม ประกอบ การนำเสนอ 3.1) การใช้ภาพ เนื่องจากภาพจะช่วยให้ผู้ชม ผู้ฟัง สามารถจดจำได้นาน กว่าตัวอักษร ดังนั้น การแปลงเนื้อหาให้เป็นรูปภาพหรือผังภาพก็เป็น เทคนิคหนึ่งที่สามารถสร้างความน่าสนใจ ให้กับสื่อที่นำเสนอการเลือก ใช้ภาพก็ควรเลือกใช้ภาพที่มีลักษณะที่เหมาะสมกันและกัน คือถ้าในสไลด์ นั้นเลือกใช้ ภาพถ่ายก็ควรใช้ภาพถ่ายกับภาพทุกภาพในสไลด์ แต่ถ้าเลือก ใช้ภาพวาด ก็ควรเลือก ภาพวาดทั้งสไลด์เช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาพ วาดผสมกับภาพถ่าย ใส่เทคนิคที่น่าสนใจให้กับภาพเพื่อสร้างจุดเด่น การ เอียงภาพ การเว้นช่องว่างรอบภาพ การเปลี่ยนสีภาพให้แตกต่างจากปกติ ควรระวังการเลือกใช้ภาพเป็นพื้นหลัง สไลด์ เพราะอาจจะทำให้ผู้ชมสนใจ พื้นสไลด์มากกว่าเนื้อหาที่ต้องการ นำเสนอ หรืออาจทำให้ผู้ชมไม่สนใจมองสไลด์เลยก็ได้ เนื่องจากภาพ ทำให้ตัวอักษรไม่โดดเด่น ไม่น่ามอง หรืออ่านยาก 3.2) การใช้สี การเลือกใช้สี ควรเลือกใช้สีที่ตัดกันระหว่างสีตัวอักษร สีวัตถุ และสีพื้น เช่น เลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ สีตัวอักษรก็ควรจะ เป็นสีดำ สีน้ำเงินเข็มหรือสีแดงเลือดหมู กรณีเลือกใช้พื้นสไลด์เป็นสีเข็ม ควรเลือกใช้สีตัวอักษรที่มองเห็นได้ชัด ในระยะไกลเช่น สีขาว สีฟ้าอ่อน ควรหลีกเลี่ยงการใช้สีในโทนร้อน เช่น สีแดงสด สีเหลือกสด สีเขียวสด สี วัตถุ สีแท่งกราฟหรือสีของตาราง ก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับสีตัวอักษร และ สีพื้นด้วย การเลือกใช้สีใด ๆ ก็ควรเป็นสีในชุดเดียวกันสำหรับสไลด์ ทั้งหมด ไม่ควรใช้หนึ่งสี หนึ่งไลด์ 15

3.3) การใช้ Effect ควบคุมการนำเสนอ ไม่ควรใส่ Effect มากเกิน ไป เพราะจะส่งผลให้ผู้ชม ผู้ฟัง สนใจ Effect มากกว่าเนื้อหาที่นำ เสนอ หรืออาจไม่สนใจการนำเสนอเลยก็ได้ และ Effect ที่มากนี้จะ เป็น การรบกวนการจดจำ การอ่าน หรือการชมอย่างรุนแรง เลือกใช้ Effect ไม่ควรเกิน 3 แบบ ในแต่ละสไลด์ควรเลือกใช้ Effectแสดง ข้อความที่เลื่อนจากขอบ ซ้ายมาขอบขวา ของจอ เนื่องจากธรรมชาติ การอ่านของคนไทยจะอ่านข้อความจากกรอบบนลงมา และอ่านจาก ด้านซ้ายไปด้านขวา อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน 1. โพรเจกเตอร์ (Projector) 2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) 3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) 4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล 5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุด บันทึกหรือโน้ตบุ๊ก 6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) 7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น 16

หน่วยการเรียนรู้ ที่ 3 การใส่เทคนิคให้กับภาพด้วย สี่อดิจิทัล เมื่อคุณต้องนำเสนอ งานที่สำคัญ PowerPoint เป็นหนึ่ง ในเพื่อนที่รู้ใจหลายๆคนมากที่สุดในการแสดงความ สามารถดึงดูดและเรียกความสนใจต่อสายตาของผู้ฟังเป็น อย่างดีในการใส่การเคลื่อนไหว (Animations) ในสไลด์ เป็นเพียงวิธีการง่ายๆ ซึ่งในการบทเรียนนี้คุณจะได้เรียน การใส่ลูกเล่นการเคลื่อนไหวลงใน Microsoft PowerPoint

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การนำเสนอข้อมูลด้วยสี่อดิจิ ทัล หลักการนำเสนอข้อมูล และสร้างสื่อนำเสนอ การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบเสมือน สะพานเชื่อมเนื้อหา ของผู้บรรยายไปยังผู้ฟังและผู้ชม ดังนั้นสื่อ จึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี จะช่วยให้การถ่ายทอด เนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ฟังและผู้ชมจะสามารถ จดจำเนื้อหาสาระได้นานและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีมากขึ้น ความหมายการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การ สื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการ ไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ 1. เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังรับเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูล 2. ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือใน ข้อมูลที่นำเสนอ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook