Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore A6การบูรณาการและการนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ

A6การบูรณาการและการนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ

Published by Meng Krub, 2021-03-04 07:35:47

Description: A6การบูรณาการและการนำแนวคิดไปสู่การปฏิบัติ

Search

Read the Text Version

เอกสารการเรยี นร้ ู การให้บรกิ ารสาธารณะโดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน People’s Audit ประกอบด้วย หนว่ ยท่ี 1 การให้บริการสาธารณะโดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน เรื่องท่ี 1. ประชาธปิ ไตยแบบมสี ่วนร่วม (Participatory Democracy) เรื่องที่ 2. การบรหิ ารจัดการบ้านเมืองท่ีด ี เรื่องที่ 3. การยกระดับการใหบ้ รกิ ารสาธารณะโดยการมสี ่วนรว่ มของประชาชน : People’s Audit for Thailand หน่วยท่ี 2 กระบวนทัศน์ใหม่ในการให้บริการสาธารณะ เรื่องท่ี 4. ประชาธิปไตยพหนุ ิยม เรอื่ งท่ี 5. สำนึกพลเมือง เรอ่ื งท่ี 6. การเมอื งภาคพลเมอื ง เรือ่ งท่ี 7. วิสยั ทศั น์ขา้ ราชการ เรือ่ งท่ี 8. การบรหิ ารงานจงั หวัดแบบบูรณาการ เรอ่ื งที่ 9. ผู้ว่าซอี โี อ :กลไกสูค่ วามสำเร็จในการพฒั นาประเทศ หนว่ ยที่ 3 การคน้ หาความตอ้ งการในการยกระดับการให้บรกิ ารสาธารณะ เรอื่ งท่ี 10. การเตรยี มการสำรวจความพงึ พอใจและการเลือกตัวอยา่ ง เรอื่ งที่ 11. การเขา้ ถงึ ชุมชนเชิงบวก เครือ่ งมือการทำงานแนววัฒนธรรมชมุ ชน เรื่องท่ี 12. เทคนิคการทำงานอย่างมสี ว่ นร่วมกับชุมชน...การศกึ ษาวิเคราะหช์ มุ ชนอย่างมีส่วนร่วม เรอ่ื งที่ 13. พลงั ชมุ ชน: ต้องเสรมิ สร้างจากข้างใน เรอ่ื งที่ 14. เทคนคิ การวเิ คราะห์ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล หนว่ ยที่ 4 แนวทางการสรา้ งการมีสว่ นรว่ ม เรอ่ื งที่ 15. การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาชุมชน เรื่องท่ี 16. การเปน็ หนุ้ สว่ นระหว่างรัฐ ภาคเอกชนและประชาชน (Partnership) เรอ่ื งที่ 17. ธรรมนูญพลเมอื ง (Citizen’s charter) เรอ่ื งท่ี 18. เทคโนโลยีเพอ่ื การมสี ่วนรว่ ม วิธีการเอ้อื อำนวยการใช้กระบวนการกล่มุ ข้ันพืน้ ฐาน หนว่ ยท่ี 5 กระบวนการพฒั นาและเทคนคิ การให้บริการสูค่ วามเป็นเลศิ สำหรบั ประเทศไทย เร่ืองท่ี 19. คู่มอื การสร้างความเป็นเลิศในการให้บรกิ ารสาธารณะสำหรับประเทศไทย หน่วยท่ี 6 การบรู ณาการนำแนวคดิ ไปสกู่ ารปฏิบัต ิ เร่ืองท่ี 20. การจัดทำแผนงานและแผนปฏบิ ตั กิ าร เรื่องท่ี 21. การบรู ณาการจากแนวคดิ ส่กู ารปฏบิ ตั ิ โดยใชเ้ ทคนิคการวเิ คราะห์ศักยภาพองคก์ ร (SWOT) หน่วยท่ี 7 การประเมนิ ผลแบบมีส่วนร่วม เรอ่ื งที่ 22. แนวทางการประเมนิ ผล เรื่องที่ 23. การประเมินผลอย่างมีส่วนรว่ มเพอ่ื เสริมสร้างพลังชุมชน : คมู่ ือสำหรับผู้ประสานใหเ้ กดิ กระบวนการเรยี นรู้ หรอื ผ้ชู ว่ ยกระบวนการกลุ่ม เรอ่ื งท่ี 24. เทคนิคการถอดบทเรยี น เรื่องที่ 25. การประเมินผลการฝึกอบรม เรอ่ื งที่ 26. ตวั แบบของการร่วมยกระดับการใหบ้ ริการสาธารณะ 1, 2, 3



การให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน People’s Audit เอกสารการเรียนรู้ หนว่ ยที่ 6 การบรู ณาการและการนำแนวคิด ไปสู่การปฏบิ ัต ิ สถาบันพระปกเกลา้

การบูรณาการและการนำแนวคิดไปสกู่ ารปฏบิ ัต ิ สงวนลขิ สทิ ธิ์ © 2552 ISBN : 978-974-449-416-0 พิมพ์ครง้ั ที่ 1 กมุ ภาพนั ธ์ 2552 จำนวนพมิ พ์ 1,000 เล่ม บรรณาธกิ าร ดร.ถวลิ วดี บรุ กี ลุ และนายวศิ ิษฎ ชชั วาลทิพากร ออกแบบและ นายสชุ าติ ววิ ฒั นต์ ระกลู จัดประกอบหน้า ภาพประกอบ บุษปรัศว ์ ปานทอง จดั พิมพ์โดย สำนกั วิจยั และพฒั นา สถาบนั พระปกเกลา้ อาคารศนู ยส์ ัมมนา ชั้น 5 สถาบนั พัฒนาข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) 47/101 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวญั อำเภอเมือง จงั หวดั นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66 – 2) 5277830 – 9 โทรสาร (66 – 2) 5277824 http://www.kpi.ac.th พมิ พ์ท่ี

คเํ า นํ า อกสารนี้จัดทำขึ้นจากผลการวิจัยเรื่องการวัดระดับการให้บริการของหน่วยงานของ รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ซึ่งได้พัฒนามาเป็นหลักสูตรการให้บริการสาธารณะโดยการมี ส่วนร่วมของประชาชน โครงการวิจัยนี้จัดทำโดยสถาบันพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสถาบัน วิชาการในกำกับของประธานรัฐสภาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยการสนับสนุนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP ) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ ประชาชนมีความพึงพอใจ เพราะได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการ โดยในการดำเนิน โครงการร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายราชการ สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนา เอกชนหรือสื่อมวลชน วัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงการให้บริการที่มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้ประชาชนเกิดความพึงพอใจในการรับบริการอันเป็น

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) เป้าหมายสูงสุดการให้บริการสาธารณะของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมี ประสิทธิภาพหรือไม่เพียงไร ผู้ที่ให้คำตอบได้ดีที่สุดคือ ประชาชนผู้รับบริการ ดังนั้นการ ยกระดับการให้บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) อย่าง เป็นระบบจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการให้บริการ สาธารณะเพื่อให้บริการดังกล่าวมีคณุ ภาพตรงตามความต้องการของประชาชนและสามารถ แก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างตรงจุด นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างกระบวนการให้ประชาชนเข้า มามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะอย่างเป็นระบบและเป็นรปู ธรรม นอกจากนี้ เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะมีคุณภาพ และสนองตอบต่อความ ต้องการของประชาชนทุกกลุ่มในสังคมไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกระบวนการพัฒนา มีเครื่องมือและวิธีการในการกระทำนี้โดยจัดทำเป็นกระบวนการอบรมให้ความรู้และ หนังสือเล่มนี้ถือเป็นข้อมูลอ้างอิงด้านเครื่องมือและวิธีการต่างๆ โดยได้รวบรวมเนื้อหา ความรู้ที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าร่วมกับการเข้าอบรมให้ความรู้ด้านการยกระดับการให้ บริการสาธารณะโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อจบการรับการ ถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรแล้วจะสามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้ต่อไปในอนาคต สถาบันขอขอบคุณคณะทำงาน คณะที่ปรึกษาและผู้เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชน ทุกๆ คน ที่มีส่วนช่วยให้โครงการ (People’s Audit) นี้ดำเนินการไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลและขอขอบคุณโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำ ประเทศไทย (UNDP) และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ตลอดจน หน่วยงานเครือข่ายที่ให้การสนับสนุนโครงการด้วยดีตลอดมา และขอขอบคุณผู้ที่ช่วย เขียนเอกสารนี้ทกุ ท่านมา ณ ที่นี้ สถาบันพระปกเกล้า กมุ ภาพันธ์ 2552 IV สถาบันพระปกเกลา้

ส า ร บั ญ หน้า เร่อื ง 1 1 เรอ่ื งที่ 20 การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ตั ิการ 3 6 ความรูเ้ ก่ยี วกบั การวางแผน 8 ความหมายของแผนและการวางแผน 11 ประเภทของแผน 11 กระบวนการวางแผน 12 ขั้นตอนสำคัญของการวางแผน 13 แผนปฏิบัตกิ าร องค์ประกอบของแผนปฏิบตั ิการ กระบวนการจดั ทำแผนปฏบิ ตั กิ าร ลกั ษณะของแผนปฏบิ ัตกิ ารท่ีดี

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) เรื่อง หนา้ การใช้แนวทางเชงิ ยทุ ธศาสตร์ในการบูรณาการแนวคดิ สกู่ ารปฏิบัติ 15 วิธกี ารจัดทำแผนปฏบิ ตั ิการควรมีข้นั ตอน 16 การใชแ้ นวทางเชิงยุทธศาสตร์เพอ่ื การวางแผนปฏิบตั ิการ 17 การกำหนดวัตถปุ ระสงค ์ 19 หลกั การสำคัญในการกำหนดวัตถุประสงค์ 19 การกำหนดนโยบาย 21 ข้ันตอนในการกำหนดนโยบาย 22 การกำหนดเปา้ หมาย (Target Setting) 24 ตวั อย่างเป้าหมาย 24 การกำหนดเครื่องชว้ี ดั (Indicator Setting) 25 การกำหนดแผนงาน/โครงการ 25 เรอ่ื งที่ 21 การบรู ณาการจากแนวคดิ ส่กู ารปฏบิ ตั ิ โดยใชเ้ ทคนคิ การวิเคราะห์ศกั ยภาพองคก์ ร (SWOT) 32 32 การจดั ทำแผนปฏบิ ัตกิ าร 36 36 ข้นั ตอนท่ี 1 : การเตรยี มการ 41 43 ขัน้ ตอนท่ี 2 : การจัดตั้งองคก์ รจัดทำแผนหรือคณะทำงานประชาคม ขน้ั ตอนที่ 3 : การจดั ทำแผนปฏบิ ตั เิ พอ่ื พฒั นา ขน้ั ตอนที่ 4 : การนำแผนไปสู่การปฏบิ ัต ิ การใช้เทคนิด SWOT เพอ่ื ประกอบการวางแผน VI สถาบนั พระปกเกล้า

เรือ่ งที่ 20 การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ัติการ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรตั ิ ปานศิลา ความรู้เกย่ี วกบั การวางแผน ความหมายของแผนและการวางแผน มีผู้ให้ความหมายของแผนและการวางแผนไว้อย่างหลากหลายแต่จะนำมา กล่าวเฉพาะที่สำคัญ คือ

การให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ่วนรว่ มของประชาชน (People’s Audit) แผน หมายถึง เครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการพิจารณาสิ่งที่ต้องปฏิบัติในอนาคต ซึ่งแต่ละประเภทของแผนมักจะ เกี่ยวกับขอบเขต พื้นที่ลักษณะของงานตามระดับขั้นของโครงการ สาขา ขององค์กร หรือระดับขั้นตามโครงสร้างของระบบแผน/ โครงการ แผน หมายถึง ผลรวมของแนวทางหรือวิธีการต่างๆ ที่กำหนดไว้เพื่อ ใช้ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งแผนจะประกอบด้วยการเสนอข้อมูลที่เป็นหลักการและเหตุผล สภาพ ปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการ พร้อมกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการดำเนินการ และโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องสัมพันธ์ใน ระดับนั้นๆ การวางแผน หมายถึง การศึกษารายละเอียดข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว กำหนดสภาพของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มองการณ์ไปข้างหน้าอย่างเป็น ระบบโดยอาศัยสมมุติฐานหรือคาดคะเนโดยอาศัยหลักเหตุผล แล้วกำหนด สิ่งที่ต้องปฏิบัติว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ กำหนด การวางแผน หมายถึง การตัดสินใจไว้เป็นการล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร ทำทำไม ทำที่ไหน เมื่อไหร่ ทำอย่างไร และให้ใครทำ กล่าวโดยสรุปแล้ว หมายถึง เครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานให้มี ประสิทธิภาพ ส่วนการวางแผน หมายถึง การคิดหาทางเลือกล่วงหน้าใน การปฏิบัติงานที่ดีที่สุดโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างประหยัดให้ได้ผลคุ้มค่า มากที่สุด โดยการดำเนินงานตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบเพื่อให้การปฏิบัติ งานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้  สถาบนั พระปกเกล้า

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ตั ิการ ประเภทของแผน การแบ่งหรือจำแนกประเภทของแผน สามารถทำได้หลายลักษณะ เช่น จำแนกตาม ระยะเวลา จำแนกตามขอบเขตของพื้นที่ จำแนกตามระดับชั้นโครงสร้าง ของระบบแผน – แผนงาน – โครงการเป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงในบางประการ กล่าวคือ 1) จำแนกตามระยะเวลา ได้แก่ - แผนระยะสั้น (1 - 2 ปี) - แผนระยะกลาง (3 – 7 ปี) - แผนระยะยาว (8 – 10 ปี) 2) จำแนกตามระดับองค์การ ได้แก่ - แผนระดับชาติ - แผนระดับกระทรวง ทบวง - แผนระดับกรม/ สำนักงาน / จังหวัด - แผนระดับกอง - แผนระดับฝ่าย / ระดับอำเภอ / ระดับโรงเรียน สถาบนั พระปกเกลา้

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) 3) จำแนกตามระดับชั้นโครงสร้างของระบบแผน – แผนงาน – โครงการ ได้แก่ แผน (Plan) แผนงาน (Program) โครงการ (Project) กิจกรรม (Activity)  สถาบนั พระปกเกลา้

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏิบตั ิการ โดยปกติแล้ว ส่วนราชการหรือหน่วยงานระดับชาติ ระดับกระทรวง ทบวง ระดับกรมและระดับจังหวัด มีความจำเป็นต้องทำแผนอยู่หลายรายการ คือ 1) แผนพัฒนาระยะ 5 ปี เป็นแผนที่กำหนดกรอบและแนวทางการ ดำเนินงานไว้อย่างกว้างๆ ว่าในช่วงระยะ 5 ปี จะทำอะไรบ้าง กำหนดวงเงินงบประมาณไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งโดยปกติจะใช้แผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในแต่ละระยะเป็นแม่บท 2) แผนพัฒนาประจำปี เป็นแผนที่หน่วยงานหรือส่วนราชการจัดทำขึ้น เพื่อของบประมาณดำเนินงานในแต่ละปีตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ที่กำหนดไว้แล้วว่าในปีต่อไปจะทำอะไรบ้างใช้งบประมาณมากน้อย เพียงใด 3) แผนปฏิบัติการประจำปี เป็นแผนระยะสั้นที่ต้องจัดทำขึ้น เพื่อเป็น กรอบและแนวทางปฏิบัติงานในแต่ละปีและถือว่าเป็นเครื่องมือใน การบริหารงาน เป็นการสรุปรวมข้อมูลพื้นฐานต่างๆ และรายละเอียด การปฏิบัติงาน รวมทั้งงบประมาณที่จะดำเนินงานให้บังเกิดผลตาม วัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด ในการจัดทำแผนทั้ง 3 รายการดังกล่าว โดยปกติหน่วยงานระดับชาติ ระดับกระทรวงและจังหวัดจะต้องทำ ส่วนระดับหน่วยงานก็จะจัดเฉพาะแผนพัฒนา ระยะที่ 5 ปี และแผนปฏิบัติตามปีงบประมาณ ซึ่งต้องจัดทำหลังจากที่ได้รับจัดสรร งบประมาณแล้ว สถาบันพระปกเกลา้

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) กระบวนการวางแผน ขน้ั ที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาปัจจบุ ัน ปัญหา และความตอ้ งการ สภาพปัญหาปัจจุบัน หมายถึง สภาพที่เป็นจริง กำลังเป็นอยู่ หรือดำเนินการอยู่ในขณะนั้น ปัญหา หมายถึง ผลที่ปรากฏซึ่งไม่เป็นไปตามที่ คาดหวัง หรือจุดสุดท้ายของงานที่แสดงระดับของ ผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์ กล่าวโดยสรุปแล้ว การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการของหน่วยงานหรือองค์กร จึงหมายถึงข้อมูลที่แสดงถึงสภาพที่เป็นอยู่จริงของ หน่วยงานหรือองค์กรในปัจจุบัน สภาพการปฏิบัติงาน แสดงให้เห็นถึงปัญหาสำคัญ ของระบบงาน และการปฏิบัติงานแสดงให้เห็นถึงความพร้อม ความสามารถของ หน่วยงานหรือองค์กร เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐาน เปรียบเทียบกับสิ่งที่ควร จะเป็น เปรียบเทียบกับความหวัง นั่นคือ แสดงถึงความต้องการในอนาคตของ หน่วยงานหรือองค์กรนั่นเอง ขน้ั ที่ 2 การวางแผน การวางแผน เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ การวางแผน คือการพิจารณาและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล โดย อาศัยข้อมูลจากการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการกำหนด สิ่งที่จะต้องปฏิบัติในอนาคตเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายและ  สถาบนั พระปกเกลา้

การจัดทำแผนงานและแผนปฏิบตั กิ าร วัตถุประสงค์การวางแผนเป็นการคิดกำหนดสิ่งที่ต้องการปฏิบัติ เป็นการ ตัดสินใจไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไมจึงทำ จะทำอย่างไร จะให้ใครทำ จะทำ ที่ไหน และทำเมื่อใด ขนั้ ที่ 3 การดำเนินการตามแผน การดำเนินการตามแผนเป็นขั้นตอนที่สำคัญ มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องจาก ขั้นตอนการวางแผน การดำเนินการตามแผน เป็นขั้นตอนที่จะทำให้ผู้บริหารทราบว่า ได้มีการปฏิบัติจริงตามแผนการควบคุม กำกับ ติดตาม หรือมีการเก็บรวบรวม ข้อมูล การปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว ้ มีการนิเทศแนะนำ และมีการแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติแผน ข้นั ที่ 4 การประเมินผล การประเมินผลเป็นกระบวนการสุดท้ายของกระบวนการบริหารที่สัมพันธ์ต่อ เนื่องจากขั้นตอนการดำเนินการตามแผน การประเมินผลเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้ผู้บริหาร ทราบว่า ผลการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ ต้องการมากน้อยเพียงใด ทำได้ตามที่ต้องการหรือไม่ การดำเนิน งานประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพหรืไม่ พึงเป็นการ เปรียบเทียบผลงานกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ สถาบนั พระปกเกลา้

การให้บริการสาธารณะ โดยการมีสว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) การประเมินผล เป็นขั้นตอนที่จะให้ข้อมูลต่างๆ ดังนี้ แสดงให้เห็นความสำเร็จในการดำเนินงาน แสดงให้เห็นข้อดีในการดำเนินงาน แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องและจุดอ่อนในการดำเนินงาน แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน ชี้ให้เห็นแนวทางในการแก้ปัญหา เพื่อการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน ครั้งต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขั้นตอนสำคญั ของการวางแผน การวางแผนเป็นกระบวนการที่มีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และวิธีการที่เชื่อถือได้ มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน โดยทั่วไปแล้วการวางแผนจะ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วย การแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน การเตรียมข้อมูลและรายละเอียดที่จำเป็น การพิจารณากำหนดเกณฑ์ในการตัดสินปัญหา ตัดสินใจ  สถาบันพระปกเกล้า

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ัตกิ าร 2) ขั้นการวางแผน ประกอบด้วย การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย เป้าหมาย การจัดทำแผนงาน โครงการ และส่วนประกอบอื่นๆ การกำหนดแผน ควบคุม ติดตาม และประเมินผลให้ชัดเจน 3) ขั้นการดำเนินการตามแผน ประกอบด้วย การมอบหมายงาน การอำนวยบริการ การนิเทศ ติดตาม ควบคุม กำกับการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ 4) ขั้นการติดตามและประเมินผล ประกอบด้วย การติดตามและตรวจสอบ ในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่กำหนด รายงานผลการปฏิบัติงาน สถาบนั พระปกเกล้า

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) ประโยชนข์ องการวางแผนและการบริหารโดยอาศัยแผน มีดังนี้ 1. เป็นการคิดเตรียมการและแก้ปัญหาล่วงหน้า เพื่อให้การทำงานมีจุด มุ่งหมายในอนาคตการพัฒนาก้าวไปข้างหน้าอยู่ตลอดเวลาไม่หยุด อยู่กับที่ 2. เป็นการปฏิบัติที่มีแผน มีระเบียบ ขั้นตอนและระยะเวลา สถานที่ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ค่อนข้างชัดเจน นอกจากจะสะดวกในการ ดำเนินงานอย่างมากแล้ว ยังสามารถวัดความสำเร็จตรวจสอบและ ตรวจ และประเมินผลได้อีก 3. ในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น หรือมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในเรื่อง แผนงานของหน่วยงานเองหรือได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทาง เศรษฐกิจและสังคม ฯลฯ ถ้ากำหนดแผนไว้แล้วก็สามารถที่จะ ปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที 4. สามารถใช้เป็นเครื่องมือให้ผู้บริหาร ผู้คุมนโยบายระดับต่างๆ สามารถ วินิจฉัยตัดสินใจได้อย่างมีหลักเกณฑ์และถูกต้อง 5. ช่วยให้ทราบข้อมูล ความเป็นมาในอดีต สถานการณ์ปัจจุบัน การประมาณในอนาคต อันเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงการบริหาร การจัดการ และอื่นๆ 6. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและได้ผลคุ้มค่า ทั้งนี้เพราะ โดยหลักการแล้วการวางแผนจะต้องคำนึงถึงการระดมทรัพยากรทุก อย่างที่มีอยู่มาดำเนินการตามความจำเป็นก่อนหลังได้อย่างเหมาะสม 10 สถาบนั พระปกเกลา้

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏิบตั กิ าร กับภาวการณ์ต่างๆ โดยเลือกวิธีที่ดีที่สุด ทำให้เกิดการประหยัดในการ ใช้ทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ การบริหาร และการจัดการ) และระยะ เวลา 7. การวางแผนทำให้เกิดการร่วมมือประสานงาน และการประสานงาน แผนและโครงการทั้งหน่วยงานเดียว และต่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิด การดำเนินงานที่สอดคล้องกัน ไม่เกิดการซับซ้อนและเป็นการระดม ทรัพยากร เพื่อประหยัดและผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น แผนปฏิบัติการ คือการพยายามตอบคำถามว่า เรากำลังจะทำอะไร ทำเพื่ออะไร จะทำที่ไหน ทำเมื่อไร ใครจะทำ ทำอย่างไร โดยการเขียนเป็นลำดับตามองค์ประกอบและขั้นตอน ของการวางแผนปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบของแผนปฏิบัตกิ าร แผนปฏิบัติการควรมีองค์ประกอบที่สำคัญอย่างไรบ้างนั้น ก็จะเป็นไปตามการ ตอบคำถามตามความหมายของแผนปฏิบัติการกล่าวคือ แผนปฏิบัติการต้องมีส่วนที่ สำคัญๆ ที่บอกให้รู้ว่ามีสภาพการณ์อย่างไรในองค์กรหรือหน่วยงาน แผนนี้ต้องการให้ เกิดอะไรขึ้นเพื่ออะไร จะต้องทำอะไรบ้าง โดยมีเป้าหมายที่ใครหรือส่วนใดขององค์กร ซึ่งจะต้องมีกิจกรรมอะไรบ้าง ทำอย่างไร ใครจะเป็นคนทำ ใครจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม บ้าง รวมไปถึงวันเวลาและจุดที่จะต้องดำเนินการโดยลำดับ ภายใต้ทรัพยากรและ งบประมาณจากส่วนใดบ้าง เมื่อทำตามแผนกิจกรรมแล้วผลที่จะเกิดขึ้นเหมาะสมหรือ คุ้มค่าหรือไม่ สถาบันพระปกเกลา้ 11

การให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) กระบวนการจดั ทำแผนปฏิบตั ิการ 1. ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วยการจัดตั้งคณะทำงานหรือกรรมการซึ่งมาจาก การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริการสาธารณะของหน่วยงาน การ ประสานเพื่อเตรียมการและมอบหมายความรับผิดชอบแก่คณะทำงาน เป็นการเตรียมการเพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติ นอกจากนี้ยังต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุป การระดมความคิดเห็นและกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี 2. ขั้นการจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรเพื่อการจัดทำแผนและคณะทำงานแต่ละ ด้าน จะเป็นขั้นตอนของการตั้งบุคคลและองค์กรที่สนใจ หรือมีส่วนได้ ส่วนเสียในการรับบริการสาธารณะของหน่วยงาน โดยที่คณะทำงานแต่ละ ด้านจะเป็นผู้เก็บรวบรวมหรือให้ข้อมูลในส่วนที่ตนรับรู้สัมผัส ร่วมทำการ วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา กำหนดแนวทางหรือยุทธวิธี ในการดำเนินการให้เกิดการแก้ไขปัญหาหรือเกิดการพัฒนาบริการที่ดีมาก ยิ่งขึ้น 3. ขั้นการลงมือจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยการจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม เพื่อระดมความคิด จัดลำดับความ สำคัญของแผน ระดมทรัพยากร แบ่งความรับผิดชอบ และจัดเครือข่าย ความร่วมมือในการนำแผนลงสู่การปฏิบัติ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการมีการกำหนดรายละเอียดของแผนปฏิบัติ โดย ระบุสถานการณ์และความสำคัญของแผน วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผน เป้าหมายและปัจจัยชี้วัดความสำเร็จ แผนกิจกรรมต่างๆ ที่แสดงให้เห็น 12 สถาบนั พระปกเกลา้

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ตั กิ าร อย่างชัดเจนว่าจะทำอะไร กับใคร ทำอย่างไร ทำที่ไหน เมื่อไร ใช้ทรัพยากร อะไรบ้าง ใช้งบประมาณจากส่วนไหน ใครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ และ ควรบอกได้ว่าเมื่อทำกิจกรรมนี้แล้วจะเกิดผลได้อะไรขึ้น ลำดับขั้นต่อไปต้องมีการขออนุมัติแผนจากผู้บริหารขององค์กร หน่วยงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้เกิดความร่วมมือ มีการ ประสานงานที่คล่องตัว ได้รับการสนับสนุนและการตอบสนองอย่างรวดเร็ว จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 4. ขั้นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ เป็นการจัดระบบการบริหารแผน การ ประสานงาน การติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนการติดตามประเมินผลที่ มีการกำหนดการฝึกอบรม สัมมนาในส่วนที่จะต้องมีการปรับปรุงหรือ พัฒนาให้แผนสามารถปฏิบัติได้จริง ลกั ษณะของแผนปฏบิ ตั ิการทด่ี ี 1) จัดทำแผนโดยในรูปคณะกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อให้บุคลากรที่ เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) มีนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน แน่นอน และเข้าใจง่าย 3) สนองนโยบายของหน่วยงาน 4) มีความสอดคล้องกับแผนในระดับอื่นๆ 5) มีการพิจารณานำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สถาบนั พระปกเกลา้ 13

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีส่วนรว่ มของประชาชน (People’s Audit) 6) มีความยืดหยุ่น สามารถจะปรับแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพและ สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 7) มีการกำหนดวัตถุประสงค์นโยบาย วิธีการดำเนินการ และควรประกอบ ด้วยผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งระดับนโยบาย ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบ ผู้ปฏิบัติ และผู้ได้รับผลจากจากแผน เพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับ 8) มีการกำหนดขั้นตอนและบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้ เกิดความสับสนในการดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ของแผน 9) มีการใช้ข้อมูล (จำเป็น) เป็นพื้นฐาน ในการตัดสินใจทุกๆ ขั้นตอน 10) เน้นมุ่งพัฒนาคุณภาพของการให้ บริการ 11) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการ ควบคุม กำกับ ติดตามงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 12) ม ี ร ะ บ บ ก า ร บ ั ง ค ั บ ค ว บ คุ ม ติดตามและประเมินผลของแผน เ พ ื ่ อ ก า ร ป ร ั บ ป รุ ง แ ล ะ ค ว บ คุ ม คุณภาพ 14 สถาบันพระปกเกล้า

การจัดทำแผนงานและแผนปฏิบตั กิ าร การใช้แนวทางเชิงยทุ ธศาสตร ์ ในการบูรณาการแนวคิดสู่การปฏบิ ัต ิ การใช้แนวทางเชิงยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ ในการบูรณาการแนวคิดสู่การ ปฏิบัติ ต้องเริ่มด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ การร่างจุดมุ่งหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน การ วิเคราะห์สภาพการณ์ การกำหนดและจัดลำดับประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญ ลำดับต้น และอาจต้องใช้ SWOT วิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกซึ่งมีอิทธิพลต่อ หน่วยงานหรือองค์กร ในขั้นตอนการจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับประเด็นปัญหาหรือการพัฒนาที่มี ความสำคัญลำดับต้นแต่ละประเด็น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจุดแข็ง เอาชนะจุดอ่อน อาศัยโอกาส และลดอุปสรรค แผนปฏิบัติการแต่ละแผนควรประกอบด้วย 1. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเฉพาะเรื่อง 2. นโยบายการพัฒนา 3. ตัวชี้วัด และเป้าหมาย 4. กิจกรรมตามเป้าหมาย 5. วิธีดำเนินกิจกรรม 6. ทรัพยากรที่ต้องใช้ 7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ นอกจากนี้แผนปฏิบัติการต้องมีรายละเอียดเพียงพอ ที่จะมอบหมายความ รับผิดชอบให้แก่บุคลากร หรือหน่วยงานไปปฏิบัติตามแผนได้ สถาบันพระปกเกล้า 15

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) วธิ ีการจดั ทำแผนปฏิบัตกิ ารควรมีข้ันตอน ดังนี้ 1. การวิเคราะห์สภาพการณ์ต่างๆ ในบริบทความรับผิดชอบของหน่วยงาน 2. การกำหนดและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการพัฒนาการให้บริการ สาธารณะ 3. การวิเคราะห์โดยวิธีการหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรค - SWOT 4. การร่างวิสัยทัศน์ซึ่งกำหนดทิศทางในอนาคตสำหรับการให้บริการ สาธารณะที่เป็นเลิศ 5. การร่างจุดมุ่งหมายของการพัฒนาการให้บริการสาธารณะที่ยั่งยืน 6. ร่างแผนปฏิบัติการซึ่งระบุวัตถุประสงค์ นโยบาย และเป้าหมาย 7. นำกิจกรรมประเภทต่างๆ มาช่วยให้การปฏิบัติเป็น จริงได้ง่ายขึ้น 8. สร้างระบบการติดตามผล 9. ประเมินผลที่ท่านได้รับมา จากการติดตามผล 16 สถาบนั พระปกเกลา้

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏิบัตกิ าร การใชแ้ นวทางเชงิ ยทุ ธศาสตรเ์ พ่อื การวางแผนปฏบิ ตั ิการ การวางแผนปฏิบัติการซึ่งต้องการวิธี การซึ่งสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ของสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ เป็นวิธีการซึ่งมีลักษณะที่ไม่มีรูปแบบ ตายตัว และไม่ต้องเป็นไปตามกระบวนการที่ กำหนดไว้ล่วงหน้ามีความยืดหยุ่น และ สามารถจัดทำและปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว มีความต่อเนื่อง คือ เป็นกระบวนการที่ต่อ เนื่องไปเรื่อยๆ สามารถเลือกนำมาใช้ได้และ สามารถเจาะจงไปที่ประเด็นปัญหาที่มีความ สำคัญลำดับต้นๆ แทนที่จะพยายาม ครอบคลุมไปทุกๆ เรื่อง มีเอกภาพและ ประสานแผนพัฒนาของหน่วยงาน มีส่วนร่วม คือ มีรูปแบบที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วน ร่วมมากขึ้น ยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือซึ่งทำให้หน่วยงานสามารถจัดการให้บริการสาธารณะ ซึ่งตามแนวทางเชิงยุทธศาสตร์แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานต้องการให้บริการสาธารณะ ในเขตพื้นที่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างไรในอนาคต และต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายนี้ สถาบนั พระปกเกล้า 17

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีสว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) ส่วนต่างๆ ของแนวทางเชิงยุทธศาสตร์กำหนดให้หน่วยงานต้อง ดำเนินการต่อไปน้ี 1. การเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน 2. กำหนดทิศทางในอนาคตสำหรับการให้บริการสาธารณะที่เป็นเลิศ 3. วิเคราะห์สภาพการณ์ในบริบทความรับผิดชอบของหน่วยงาน 4. กำหนดและจัดลำดับประเด็นการพัฒนาการให้บริการสาธารณะที่เป็นเลิศ 5. จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญลำดับต้น 6. การนำแผนปฏิบัติการมาปฏิบัติจริง 7. การประเมินผลกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการ 8. ติดตามผล ประเมินผล และรายงาน ข้อสังเกตที่ต้องนำมาพิจารณา กล่าวคือ หลังจากการใช้แนวทางเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อการจัดบริการสาธารณะที่เป็นเลิศ ได้ดำเนินมาระยะหนึ่ง ข้อมูล ข้อเท็จจริง และความคิดเห็นจะมีมากขึ้นตามลำดับ เราควรนำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาเพื่อใช้ในการ ทบทวนข้อสรุปเบื้องต้นที่ได้ทำไว้ในขั้นตอนกิจกรรมเป็นระยะๆ 18 สถาบนั พระปกเกลา้

การจัดทำแผนงานและแผนปฏิบัติการ การกำหนดวตั ถุประสงค ์ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผน หรือ การดำเนินงานใดๆ ควรจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน โดยคำนึงถึงผู้ปฏิบัติ งานให้สามารถยึดถือปฏิบัติได้ ส่วนผู้บริหารหรือผู้คุมนโยบายก็สามารถใช้เป็นเครื่อง มือในการวัดความก้าวหน้าของงาน การควบคุมและกำกับการบริหารงานตลอดจน การพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพด้วย โดยทั่วไปแล้ววัตถุประสงค์จะหมายถึง ความต้องการที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต หรือจุดสุดท้ายของการปฏิบัติตามแผน โครงการ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงชิ้นงาน ผลงานสิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่จะต้องจัดการให้เกิดขึ้น หรือเป็นการตอบคำถามว่า “ทำเพื่อ อะไร” หลักการสำคัญในการกำหนดวตั ถปุ ระสงค์ 1) ข้อความกะทัดรัด เข้าใจง่าย 2) จัดลำดับก่อนหลัง ความสำคัญของปัญหา 3) ระบุงานหรือกิจกรรมที่จะต้องทำเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานอย่าง เคร่งครัด โดยกำหนดเป็นจำนวนหรือปริมาณที่วัดได้ 4) สอดคล้องกับปัญหาที่ปรากฏ 5) ไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ หรือขนบธรรมเนียม ประเพณี ฯลฯ สถาบนั พระปกเกลา้ 19

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) ตวั อยา่ งการเขียนวตั ถปุ ระสงค ์ 1) เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับบริการที่ดีอย่างเท่าเทียมกันทุกคน 2) เพื่อขยายห้องบริการเสียภาษีที่ดินและโรงเรือน ให้มีพื้นที่บริการ มากขึ้น 3) เพื่อยกระดับการให้บริการน้ำประปาให้ได้มาตรฐานสูงขึ้นจนดื่มได้ ตวั อย่าง วิธีการกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาเฉพาะเรอื่ ง วัตถุประสงค์การพัฒนาเฉพาะเรื่อง แสดงถึงสิ่งที่ต้องการจะบรรลุ เพื่อจะได้แก้ไขประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญลำดับต้น ตัวอย่าง ต่อไปนี้จะเป็นการแสดงขั้นตอนสำหรับการกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนา เฉพาะเรื่อง ข้ันตอนสำหรับกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาเฉพาะเรื่อง 1) ให้กลุ่มทำงานย่อยของคณะทำงานจัดทำแผนพิจารณาประเด็นการพัฒนา ที่มี่ความสำคัญลำดับต้นแต่ละประเด็นโดยแยกตามเรื่อง (เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ) 20 สถาบนั พระปกเกล้า

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏิบตั กิ าร 2) ให้กลุ่มทำงานย่อยทราบถึงวัตถุประสงค์การพัฒนาเฉพาะเรื่องว่า หมายถึงสิ่งที่ต้องการจะบรรลุเพื่อแก้ไขประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญ ลำดับต้น 3) อธิบายให้กลุ่มทำงานย่อยฟังว่า ความคิดอาจเกิดจากการคิดขึ้นมาตรงๆ อภิปรายกันในกลุ่ม หรือใช้เทคนิคระดมความคิด 4) บันทึก ความคิดเห็นที่แสดงออกมา เพื่อไม่ให้สูญหายไประหว่างการ อภิปราย 5) ร่างวัตถุประสงค์การพัฒนาเฉพาะเรื่อง ซึ่งตกลงกันได้ช่วงๆ ไป กล่าวคือ ก่อนที่จะอภิปรายกันในประเด็นต่อไป การกำหนดนโยบาย นโยบาย หมายถึง ข้อความหรือสิ่งที่ได้กำหนดไว้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ดำเนินงาน ซึ่งผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติจะต้องนำไปใช้เป็นกรอบ หรือแนวคิดในการ พิจารณาตัดสินใจจัดทำแผน จัดทำโครงการหรือปฏิบัติงานในความรับผิดชอบ นโยบาย มี 2 แบบ คือ 1) ระบุเป็นหลักการกว้างๆ (Blessing) เช่น ปรับปรุงระบบการให้บริการเสีย ภาษีให้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง และให้การต้อนรับเป็นไปอย่างทั่วถึง 2) แบบจำเพาะเจาะจง (Indicative) เช่น (ลด)อัตราการซ้ำชั้น (ลด) ภาวะการ ขาดสารอาหารในเด็ก (เพิ่ม)อัตราการมาเสียภาษี ฯลฯ สถาบนั พระปกเกลา้ 21

การให้บริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ขนั้ ตอนในการกำหนดนโยบาย เนื่องจากนโยบายเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากต่อการวางแผน ฉะนั้นการ กำหนดนโยบายควรชัดเจน เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขั้นตอน ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ภารกิจ 2. การวิเคราะห์ความต้องการ/เกณฑ์มาตรฐาน 3. สภาพปัจจุบัน ปัญหา 4. สาเหตุของแต่ละปัญหา 5. แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา 6. (ร่าง) นโยบายซึ่งส่วนใหญ่จะวิเคราะห์ในลักษณะที่เป็นตารางวิเคราะห ์ ดังนี้ 22 สถาบนั พระปกเกล้า

ภารกิจ ความต้องการหรือ ปัญหา สาเหตุ ทางเลือก (ร่าง)นโยบาย เกณฑ์มาตรฐาน เกณฑ์เด็กอายุ 8 – 15 ปี สามารถเกณฑ์เด็ก เกณฑ์เด็กเข้าเรียน - ผู้ปกครองยากจน - ประชุมผู้ปกครอง เร่งรัดการเกณฑ์เด็ก เข้าเรียนทุกคน เข้าเรียนได้ทุกคน ได้ไม่ครบทุกคน - ผู้ปกครองไม่ให้ - ประชาสัมพันธ์ให้ เข้าเรียนให้ได้ครบ คือเกณฑ์ได้เพียง ความสำคัญ ผู้ปกครองได้มีความ ทุกคน โดยประชุม ร้อยละ 97.5 - ร.ร ขาดการ เข้าใจและให้เห็น ผู้ปกครอง ประชาสัมพันธ์ ความสำคัญของ ประชาสัมพันธ์ - ประชาชนอยู่ การศึกษา กิจกรรม ร.ร.และ กระจัดกระจาย จัดทำเขตบริการของ ไม่ทราบว่ากลุ่มใด โรงเรียนให้ชัดเจน การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ัตกิ าร สถาบนั พระปกเกล้า 23 ต้องการเข้า ร.ร. ใด

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีส่วนรว่ มของประชาชน (People’s Audit) การกำหนดเปา้ หมาย (Target Setting) การกำหนดเป้าหมายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการจัดทำแผน เพราะถ้าไม่มีการ กำหนดเป้าหมายแล้ว จะไม่ทราบเลยว่า การปฏิบัติงานของเรานี้ต้องการอะไรเป็น จำนวนเท่าใดหรือที่ใดบ้าง เป้าหมาย หมายถึง จุดเฉพาะที่แสดงความสำเร็จของการดำเนินงานในช่วง ระยะต่างๆ หรือขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินงาน โดยปกติแล้วเป้าหมายจะแสดงให้ เห็นถึงจำนวนในเชิงปริมาณ แสดงคุณภาพของผลงานที่ต้องการและมักจะถูกกำกับ ด้วยเวลา หลักในการกำหนดเป้าหมาย ควรจะมีลักษณะดังนี้ 1. สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกับวัตถุประสงค์ 2. ครอบคลุมปัญหาที่กำหนด 3. เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่และคาดว่าจะได้รับจัดสรร ตัวอย่างเปา้ หมาย 1. ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จำนวน 20 คน ภายในเดือนสิงหาคม 2547 2. เพิ่มอัตราการมาเสียภาษีให้สูงขึ้น เป็นร้อยละ 90 ในปีงบประมาณ 2547 3. ลดอัตราการร้องเรียนในบริการด้านน้ำประปาให้เหลือเพียงร้อยละ 8 ภายในงบประมาณ 2547 24 สถาบนั พระปกเกลา้

การจดั ทำแผนงานและแผนปฏิบตั ิการ การกำหนดเครอ่ื งชีว้ ดั (Indicator Setting) เครื่องชี้วัด เป็นตัวประกอบสำคัญในกระบวนการวางแผน เพราะหากไม่มี เครื่องชี้วัดก็จะไม่สามารถแสดงผลสำเร็จที่คาดว่าจะได้รับจากการปฏิบัติงานตามแผน งาน/โครงการ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผู้วางแผนจึงจำเป็นที่จะต้องพยายามคิดหา เครื่องชี้วัดให้ได้ กำหนดเครื่องชี้วัด หมายถึง การกำหนดเกณฑ์หรือมาตรฐาน หรือลักษณะ เฉพาะที่จะเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นผลสำเร็จของงานตามจุดประสงค์ที่ต้องการใช้วัดได ้ ประเมินได้ หรือตรวจสอบได้ การพิจารณากำหนดเครื่องมือชี้วัด ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. พิจารณาผลสำเร็จของงานตามที่คาดหวังไว้เป็นหลัก 2. ต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า จะวัดอะไร หรือวัดได้อย่างไร การกำหนดแผนงาน/โครงการ การกำหนดแผนงาน/โครงการ เพื่อสนองตอบนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ กำหนด รวมทั้งที่จะแก้ปัญหาที่กำหนดและวิเคราะห์ไว้ได้อย่างแท้จริงเป็นสิ่งที่จำเป็น มาก เพราะสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดในกระบวนการวางแผน ไม่ว่าจะเป็นการ วิเคราะห์ปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์ นโยบาย เป้าหมาย เป็นเพียงแนวทางที่ กำหนดไว้เพื่อดำเนินงานเท่านั้น ส่วนที่จะก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างแท้จริง นั้น ก็คือ แผนงาน/โครงการ นั่นเอง การดำเนินงานตามระบบกระบวนการ ในการวางแผนดังกล่าว ส่วนใหญ่ วิเคราะห์โดยการใช้ตาราง ดังตัวอย่าง สถาบันพระปกเกล้า 25

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีสว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) 26 สถาบันพระปกเกล้า ตวั อย่าง การวเิ คราะห์สภาพปจั จุบนั ปัญหา เพือ่ กำหนดนโยบาย/แผนงาน/โครงการ สภาพปัจจุบัน ความต้องการ วิเคราะห์สาเหตุ วิเคราะห์ทางเลือก กำหนดนโยบาย กำหนด และปัญหา หรือมาตรฐาน ของปัญหา โครงการ ผลสัมฤทธิ์ทางการ ให้ผลการสอบปลาย - ครูไม่มีความรู้ - จัดอบรมครูสอน - เร่งรัดคุณภาพการ - โครงการอบรมและ เรียนต่ำโดยเฉพาะ ปีชั้น ป.6 ปีการ ความสามารถใน กลุ่มทักษะภาษาไทย ศึกษาและยกระดับ ประชุมปฏิบัติการครู กลุ่มทักษะภาษาไทย ศึกษา 2545 ได้ การสอนเพียงพอ และคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการ ผู้สอนกลุ่มทักษะ คณิตศาสตร์ จากการ คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ - ครูขาดการเตรียม - จัดประชุมปฏิบัติ เรียนกลุ่มทักษะให้ ภาษาไทย สอบปลายปี ชั้น ป.6 60 ทุกกลุ่ม การสอน การผลิตและการใช้ สูงขึ้นโดยการจัด - โครงการนิเทศ ปีการศึกษา 2545 ประสบการณ์หรือ - ครูไม่จัดกิจกรรม สื่อการเรียนการสอน อบรมประชุมปฏิบัติ ภายใน คะแนนเฉลี่ยกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ตามที่กำหนดไว้ใน กลุ่มทักษะ การครูผู้สอนจัด - โครงการสอนเสริม ทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มทักษะภาษาไทย คู่มือครู - จัดให้มีการนิเทศ กระบวนการนิเทศ คิดเป็นร้อยละ 54 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 - ครูไม่ค่อยใช้สื่อ ภายในอย่างเป็น ภายในการสอน กลุ่มทักษะ และคณิตศาสตร์ ประกอบการสอน ระบบและมี ซ่อมเสริมและให้ครู คณิตศาสตร์คิดเป็น ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 - ครูขาดการนิเทศ ประสิทธิภาพ ประจำชั้นติดตามผล ร้อยละ 49 ติดตามผล - จัดกิจกรรมสอน และความสนใจ ซ่อมเสริม นักเรียนที่ขาดเรียน

สภาพปัจจุบัน ความต้องการ วิเคราะห์สาเหตุ วิเคราะห์ทางเลือก กำหนดนโยบาย กำหนด และปัญหา หรือมาตรฐาน ของปัญหา โครงการ - ครูขาดแคลนสื่อ - ให้ครูประจำชั้น ที่จำเป็นต้องใช้ ติดตามผลและให้ ประกอบการสอน ความสนใจนักเรียน - เด็กบางส่วน ที่ขาดเรียน ขาดแคลนอาหาร กลางวัน การจดั ทำแผนงานและแผนปฏบิ ัตกิ าร สถาบนั พระปกเกล้า 27



เรอ่ื งที่ 21 การบูรณาการจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ โดยใช้เทคนิคการวเิ คราะหศ์ กั ยภาพองค์กร (SWOT) ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ ดร.วริ ตั ิ ปานศลิ า ก ารบูรณาการจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ จะเริ่มที่การวิเคราะห์องค์กร เพื่อที่จะ กำหนดกลยุทธ์ที่จะดำเนินงานให้ตอบสนองเป้าหมายขององค์กร เทคนิคที่ สำคัญที่นิยมนำมาใช้ในวงการพัฒนาปัจจุบัน คือ เทคนิคการวิเคราะห์ ศักยภาพองค์กร (SWOT Analysis) เพราะ SWOT จะมีส่วนในการ ตัดสินใจใน เชิงกลยุทธ์ในการปรับปรุงภารกิจขององค์กร และลงในรายละเอียดของวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ที่ใช้ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ในเชิง องค์ประกอบในการวางแผนดังนี้

การใหบ้ ริการสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) 1. การประเมินภายใน หรือศักยภาพขององค์กร (Internal Assessment of the organization) โดยศึกษาวิเคราะห์ 1.1 จุดแข็งขององค์กร (Strength) : ศึกษาพัฒนาการเชิงแนวคิดและ กระบวนทัศน์คนในองค์กร รวมทั้งวิวัฒนาการในการบริหารจัดการ ระบบการบริหารจัดการทีมงาน ศักยภาพของทรัพยากรที่มีอยู่ เงิน คน เทคโนโลยี วัสดุ อุปกรณ์ เป็นต้น 1.2 จุดอ่อนขององค์กร (Weakness) : ศึกษากระบวนการพัฒนาที่ผ่าน มา เปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนา รวมทั้งสภาพ ของข้อจำกัดเชิงแนวคิด การบริหารจัดการ ข้อจำกัดที่ทำให้องค์กร ไม่บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ โดยวิเคราะห์จุดที่เป็นอุปสรรค และถือเป็นจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการ พัฒนา 2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก (External Assessment of the Environment) 2.1 โอกาส (Opportunities) : วิเคราะห์ความต้องการหรือทิศทางใน การพัฒนา โอกาสในความเปลี่ยนแปลงและแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ความต้องการใหม่ๆ อีกทั้งศึกษาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีที่ จะนำมาใช้ 2.2 ภาวะคุกคาม (Threats) : ศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงและ กระบวนการพัฒนาที่เป็นปัจจัยขัดขวาง หรือปัญหาอุปสรรคใน ความสำเร็จของพัฒนาองค์กรหรือเป้าหมายงาน อีกทั้งวิเคราะห์ถึง 30 สถาบนั พระปกเกลา้

การบูรณาการจากแนวคดิ สกู่ ารปฏิบตั ิ นโยบาย และการเปลี่ยนแปลงในระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ อันเป็น ปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อองค์กร หากองค์กรมีจุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunities) ที่เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนามากกว่าจุดอ่อน (Weakness) และ ภาวะคุกคาม (Treats) โอกาสของ ความสำเร็จและความง่ายในการพัฒนาก็จะมีมากขึ้นด้วย แต่ถ้ามีจุดอ่อนหรือภาวะ คุกคามมากกว่าการพัฒนาก็ก่อให้เกิดความสำเร็จได้ยาก การพิจารณาถึงจุดแข็งช่วยให้เห็น ศักยภาพที่แท้จริงขององค์กร และ วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ เมื่อเทียบ กับจุดอ่อน “ซึ่งจะทำให้เห็นช่องว่าง (Gap) ที่จะแก้ไขหรือภารกิจที่แท้จริง” เมื่อมองไปถึงโอกาสในการลุยหรือพัฒนา มากน้อยเพียงไหน มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไรที่จะใช้ มีทรัพยากรใหม่ๆ หรือความ ต้องการใหม่ๆ ของคนในองค์กร ผู้เกี่ยวข้องหรือลูกค้าหรือชุมชนอย่างไร และหากมองถึงภาวะคุกคามก็จะช่วยให้ พิจารณาเพื่อควบคุ้มป้องกันปัญหาหรือ ภาวะคุกคามดังกล่าวที่จะมีต่อองค์กรหรือ การพัฒนาได้ สิ่งเหล่านี้คือ ที่มาสำคัญใน การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ทางการพัฒนาซึ่งจะช่วยให้มีการนำข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงมา ประกอบใช้ และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมกันวิเคราะห์เพื่อสร้างความพันธกิจ และสร้างกลยุทธ์ที่แท้จริงนำไปสู่การปฏิบัติได้ สถาบนั พระปกเกลา้ 31

การใหบ้ รกิ ารสาธารณะ โดยการมีสว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) การจัดทำแผนปฏิบัตกิ าร ขั้นตอนในการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา สามารถแบ่งได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : การเตรียมการ ขั้นตอนที่ 2 : การจัดตั้งองค์กรเพื่อการจัดทำแผนและคณะทำงานแต่ละด้าน ขั้นตอนที่ 3 : การจัดทำแผนปฏิบัติเพื่อพัฒนา ขั้นตอนที่ 4 : การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ข้ันตอนท่ี 1 : การเตรยี มการ 1. เตรียมทีมงานในขั้นแรกของการวางแผน หน่วยงานเจ้าของโครงการจำเป็น ต้องเตรียมทีมงาน ลักษณะและขนาดของทีมงานขึ้นอยู่กับประเด็นที่ต้อง ตัดสินใจ ซึ่งทีมงานนี้ควรประกอบด้วย เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว โดยตรง เจ้าหน้าที่ที่ทราบขั้นตอนการตัดสินใจ ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ ทั้งด้านเทคนิคการมีส่วนร่วมและการสื่อสารโดยเฉพาะ และเจ้าหน้าที่ควร เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนเฉพาะไม่ใช่เป็นเพียงนักประชาสัมพันธ์ 1.1 จัดตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการของสภาท้องถิ่น เช่น ใน เทศบาล อบต. เป็นต้น เพื่อการส่งเสริมประชาคมตำบล หรือจัดให้ มีคณะกรรมการพัฒนาตำบล โดยคณะกรรมการดังกล่าวมาจาก 32 สถาบันพระปกเกลา้

การบูรณาการจากแนวคดิ สู่การปฏบิ ตั ิ บุคคลและองค์กรที่น่าสนใจ ตลอดจนผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง ในหน่วยงานปกครองท้องถิ่น 1.2 ประสานเพื่อเตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนรวมทั้ง ประชาคมต่างๆ ในระดับตำบล และมอบหมายความรับผิดชอบแก่ คณะทำงานแต่ละด้าน และเตรียมการเพื่อสร้างความเข้าใจใน กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติ 2. ตรวจสอบสถานการณ์ในหน่วยงานหลังจากได้ทีมงานแล้ว แผนการมีส่วน ร่วมที่ดีต้องปฏิบัติได้จริง ดังนั้นต้องมีการตรวจสอบสถานการณ์ภายใน ของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ตรวจสอบว่าประเด็นหรือโครงการที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวข้องกับ กฎหมายหรือระเบียบที่กำหนดวิธีการเฉพาะหรือไม่ ตรวจสอบข้อมูลว่าขั้นตอนการตัดสินใจในเรื่องนั้นเป็นอย่างไร มีกำหนดการหรือยังตรวจสอบรายชื่อของผู้รับผิดชอบในการใช้ ข้อมูลจากสาธารณะเหล่านั้น และผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ โครงการแก่สาธารณะ รวมทั้งผู้ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ ระยะเวลาในการจัดทำกิจกรรมมีส่วนร่วมมากน้อยเพียงใด อาทิเช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับที่ทิ้งขยะอาจใช้เวลา 1 – 2 ปี ในขณะที่การ ตัดสินใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนเส้นทางจราจรใช้เวลา 1 – 2 เดือน ตรวจสอบงบประมาณที่มีเพื่อการดำเนินงาน ซึ่งทุกข้อมูลเป็นเรื่องท ี่ ทีมงานต้องนำมาพิจารณาในการเลือกรูปแบบการมีส่วนร่วม สถาบันพระปกเกลา้ 33

การให้บริการสาธารณะ โดยการมสี ว่ นร่วมของประชาชน (People’s Audit) 3. การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน คณะทำงาน ดำเนินการสำรวจและ เก็บข้อมูลพื้นฐาน เช่น ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) สถานะสุขภาพ ผลการศึกษาวิเคราะห์ด้านต่างๆ รวมทั้งศึกษานโยบายของตำบล ของ จังหวัด ประเทศ เพื่อประกอบใช้ในการวิเคราะห์และสรุปผล 4. ระดมความคิดเห็นเพื่อสร้างจิตสำนึกและ แนวร่วม เพื่อเป็นการสนับสนุนการมีส่วน ร่วมของประชาชนและชุมชน ตลอดจน ประชาคมต่างๆ อีกทั้งสร้างความตระหนัก ในความรับผิดชอบการพัฒนาตำบลร่วมกัน การระดมความคิดเห็นอาจจะใช้วิธีการ ส่งเสริมให้มีการเสวนา หรือประชุมเพื่อ ระดมความคิดเห็นในการพัฒนาตำบลอย่าง กว้างขวาง เช่น มีการจัดประชุมโดยใช้ เทคนิคเพื่อวางแผนอนาคตร่วมกัน (Future Search Conference: FSC) นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาคมต่างๆ เข้ามามี บทบาทในการสำรวจข้อมูล การจัดทำแผนและประสานการปฏิบัติซึ่งใน ส่วนนี้จะช่วยประสาน แนวคิดจัดระบบการทำงานและแนวทางในการ พัฒนาองค์กรอย่างกว้างขวาง ตลอดจนทราบขบวนการ และสามารถจัด เครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประชาคมชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1 ประเมินสถานการณ์ นอกจากการประเมินสถานการณ์ภายในของ หน่วยงานเจ้าของโครงการ สิ่งที่จำเป็นมากในขั้นของการเตรียมการ คือ การประเมินสถานการณ์ภายนอกซึ่งหมายถึงสาธารณชนหรือ ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากประเด็นการตัดสินใจ การประเมิน 34 สถาบันพระปกเกลา้

การบรู ณาการจากแนวคดิ สู่การปฏิบัต ิ สถานการณ์นี้ช่วยทำให้การออกแบบหรือกำหนดรูปแบบการมีส่วน ร่วมเหมาะกับชุมชน เพราะชุมชนแต่ละชุมชนแตกต่างกันและอาจมี เอกลักษณ์เป็นของตนเอง การเก็บข้อมูลในขั้นนี้อาจเป็นการพูดคุย กับหน่วยงานในพื้นที่ ข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ การสัมภาษณ์ผู้นำ ชุมชน ซึ่งการประเมินสถานการณ์นี้เกี่ยวข้องกัน 4.2 กำหนดระดับความสนใจของสาธารณะหรือชุมชนในประเด็นหรือ โครงการที่ต้องตัดสินใจข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการเตรียมรองรับโดย พิจารณาจาก (1) ประเด็นหรือโครงการนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความเห็นไม่ลงรอยกัน หรือไม่ (2) ชุมชนนั้นเคยมีประวัติหรือประสบการณ์การมีส่วนร่วม หรือ แสดงความสนใจต่อประเด็นหรือโครงการอื่นๆ หรือไม่ อย่างไร (3) ปริมาณและขนาดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจ (4) มีการสอบถามจากประชาชนมากหรือไม่ และเป็นความห่วงกังวล ในเรื่องใดบ้าง (5) มีการรวมตัวเป็นกลุ่มในพื้นที่หรือไม่ โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง กับประเด็นการตัดสินใจ 5. กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ ปรับนโยบายและยุทธวิธี เพื่อการพัฒนาหรือ แก้ไขปัญหา สถาบนั พระปกเกล้า 35

การให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมสี ่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) ข้ันตอนท่ี 2 : การจัดตง้ั องค์กรจัดทำแผน หรอื คณะทำงานประชาคม 2.1 จัดตั้งบุคคลและองค์กรที่สนใจในการจำทำแผนพัฒนา และคณะทำงาน ที่สนใจในการจัดทำแผนแต่ละด้าน เช่น คณะทำงานสิ่งแวดล้อม คณะทำงานด้านสุขภาพ คณะทำงานด้านอาชีพ คณะทำงานการส่งเสริม สวัสดิการ เป็นต้น 2.2 คณะทำงานแต่ละด้านเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะด้านที่ตนสนใจหรือดำเนิน การอยู่แล้วและระดมแนวคิดในรายละเอียดและจัดลำดับความสำคัญของ ปัญหาในแต่ละด้าน กำหนดแนวทางหรือยุทธวิธีของการดำเนินการใน แต่ละปัญหาหรือการพัฒนา จัดทำกิจกรรมโครงการของแต่ละกลุ่ม ขั้นตอนนี้ควรนำเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal: PRA) มาใช้จะเกิดประโยชน์อย่างมาก ขนั้ ตอนท่ี 3 : การจดั ทำแผนปฏบิ ตั เิ พอ่ื พฒั นา จากข้อมูลต่างๆ ทีมงานต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนการมีส่วนร่วมของ ประชาชน 3.1 จัดประชุมเพื่อการวางแผนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบ มีส่วนร่วม (AIC) เพื่อระดมแนวคิดจัดทำและประสานแผนปฏิบัติ จัดลำดับความสำคัญของแผน ระดมทรัพยากรแบ่งความรับผิดชอบและ จัดเครือข่ายความร่วมมือในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ 36 สถาบนั พระปกเกลา้

การบรู ณาการจากแนวคดิ ส่กู ารปฏบิ ตั ิ 3.1.1 ระบุและวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละประเด็นการตัดสินใจ มีผู้สนใจหรือได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน บางประเด็นมี 20 คน บางประเด็นอาจมีเป็นจำนวนพัน นอกจากนี้คำว่าสาธารณะหรือ ประชาชนแตกต่างกันไปตามประเด็นการตัดสินใจ ในขั้นนี้ทีมงาน ต้องดำเนินการ 2 ขั้นตอนคือ (1) ระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholders ซึ่งหมายถึงบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการ ตัดสินใจนั้น (2) วิเคราะห์ความสำคัญและอิทธิพลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่ ทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีรูปแบบการมีส่วนร่วมเดียวกัน และ แต่ละกลุ่มมีประเด็นกังวลใจที่แตกต่างกันบางกลุ่มอาจมอง ประเด็นการตัดสินใจเป็นเรื่องสำคัญมาก บางกลุ่มอาจต้องการ เพียงแสดงความคิดเห็น ฉะนั้นทีมงานต้องวิเคราะห์ประเภทของ กลุ่มตามระดับความสนใจ ซึ่งช่วยกำหนดรูปแบบการมีส่วนร่วม ได้สอดคล้องต้องกัน 3.1.2 คาดการณ์ระดับการโต้เถียง ขั้นตอนนี้ทีมงานต้องประเมินหรือคาด การณ์จากข้อมูลขั้นเตรียมการว่าระดับของการถกเถียงหรือการโต้ แย้งจะเป็นอย่างไร ซึ่งการประเมินเป็นเรื่องยาก แต่อาจพิจารณาจาก ตัวชี้วัดเช่น เคยมีการถกเถียงหรือมีการโต้แย้งในประเด็นนี้มาก่อนหรือไม่ มีประเด็นทางการเมืองเกี่ยวข้องหรือไม่ สถาบันพระปกเกลา้ 37

ก ารให้บรกิ ารสาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน (People’s Audit) เป็นเหตุผลของการรวมกลุ่มใดบ้างหรือไม่ ถ้ามีทั้ง 3 ตัววัด อาจคาดการณ์ว่าประเด็นนั้นมีระดับของการถกเถียงโต้แย้งกัน สูง ซึ่งทีมงานต้องวางแผนการมีส่วนร่วมอย่างระมัดระวัง และ รอบคอบมากขึ้น 3.1.3 ระบุเป้าหมายของการมีส่วนร่วมขั้นตอนนี้เป็นการระบุว่าอะไรคือ วัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นของการตัดสินใจการ ตัดสินใจในแต่ละประเด็น อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไป มีอยู่ 4 ขั้นคือ ขั้นการระบุปัญหา/การตั้งสมมติฐาน/การวิเคราะห์ ทางเลือก/การเลือกทางเลือก สำหรับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของ การมีส่วนร่วมนั้นคือ สิ่งที่ต้องการจากการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น เพื่อให้สาธารณชนทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและทางเลือกใน ข ั ้ น น ี ้ ย ั ง ร ว ม ถ ึ ง ก า ร ร ะ บุ ถ ึ ง ก า ร แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อที่จะทำให้แต่ละ ขั้นตอนของการตัดสินใจมีความ สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องของการพิจารณา ว่ามีข้อมูลอะไรที่หน่วยงานต้องให้กับ สาธารณะและข้อมูลอะไรที่หน่วยงาน ต้องการจากสาธารณะเพื่อทำให้ วัตถุประสงค์ในแต่ละขั้นบรรลุผล 38 สถาบนั พระปกเกล้า

การบูรณาการจากแนวคิดสู่การปฏบิ ตั ิ 3.1.4 ระบุเงื่อนไขของชุมชนในขั้นนี้พิจารณาว่าชุมชน หรือพื้นที่ที่ได้รับ ผลกระทบหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือประเด็นตัดสินใจมี ลักษณะเหรือเงื่อนไขพิเศษที่อาจกระทบต่อรูปแบบการมีส่วนร่วม ตัวอย่างเช่น ชุมชนที่มีลักษณะพิเศษทางวัฒนธรรมประเด็น เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หลากหลายอยู่กระจัดกระจายหรือประเด็นเป็นที่สนใจขององค์กร พัฒนาเอกชนระดับชาติ 3.1.5 การเลือกเทคนิคและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชน เป้า หมายของการวิเคราะห์ที่ผ่านมาเพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ เกี่ยวกับเทคนิคหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม ดังนั้นเมื่อมา ถึงขั้นนี้ ทีมงานมีข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ของการมีส่วนร่วม ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่ความสำคัญและระดับความสนใจ ข้อมูลที่ต้องให้กับสาธารณะและข้อมูลต้องได้รับจากประชาชน ลักษณะหรือเงื่อนไขพิเศษ 3.2 การเขียนแผนการมีส่วนร่วม การเขียนแผนการมีส่วนร่วมจะช่วยทำให้ ความคิดชัดเจนและก่อให้เกิดความร่วมมือช่วยในการประสานงาน และ สามารถสื่อสารกับประชาชนได้ง่ายขึ้น ข้อมูลที่อยู่ในแผนควรประกอบด้วย วัตถุประสงค์ สถาบนั พระปกเกลา้ 39

การให้บริการสาธารณะ โดยการมีสว่ นรว่ มของประชาชน (People’s Audit) ภูมิหลังและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชน ประเด็นสำคัญที่ต้องมีการปรึกษาหารือ ระดับความสนใจ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กระบวนการตัดสินใจ กิจกรรมการมีส่วนร่วม 3.3 โครงการและกิจกรรมในงานแต่ละด้าน หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ วิธีการใช้ปฏิบัติ เป้าหมาย หน่วยงานปฏิบัติ ระยะเวลาดำเนิน งบประมาณ แหล่งเงินทุน ผลที่คาดว่าจะได้รับ การควบคุมกำกับและประเมินผล 40 สถาบนั พระปกเกลา้

การบูรณาการจากแนวคดิ สกู่ ารปฏบิ ัต ิ 3.4 การขออนุมัติแผน นอกจากแผนปฏิบัติหรือโครงการ/กิจกรรมที่องค์กร หรือประชาคมต่างๆ ดำเนินการอยู่แล้ว บางโครงการ/กิจกรรที่ต้องผ่าน การอนุมัติจากผู้เกี่ยวข้อง เช่น แผนปฏิบัติของ อบต. หรือเทศบาล หรือ หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ฯลฯ ร่วมกันจัดกลุ่มและแยกใน รายละเอียด ทั้งเรื่องแผนและการประสานงานเพื่อการอนุมัติหรือการขอรับ การสนับสนุนให้เป็นโดยสะดวกและรวดเร็ว 3.5 การประสานแผนมีการมอบหมายความรับผิดชอบและประสานแผนปฏิบัติ ในแต่ละกิจกรรม แต่ละองค์กร เพื่อให้สามารถวางแผนในการประสานงาน และเพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติได้ (Net – working) ข้นั ตอนที่ 4 : การนำแผนไปสู่การปฏบิ ัติ หลังจากมีแผนการมีส่วนร่วม ใน ระดับต่อไปคือการดำเนินการตามแผนซึ่ง ต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละ กิจกรรมการมีส่วนร่วม เช่น การจัดเวที สาธารณะต้องมีการตัดสินใจว่าจะจัดที่ใด เมื่อไร ใครเป็นวิทยากร สิ่งที่สำคัญที่ควร ตระหนักคือความยืดหยุ่นในการนำสู่การ ปฏิบัติและการตรวจสอบและปรับปรุง แผนการมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ หากมีการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องอาจรวมถึงประชาชน ด้วย สถาบันพระปกเกลา้ 41


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook