Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นางในวรรณคดี

นางในวรรณคดี

Published by Maetira Aungkumprasert, 2021-03-06 02:05:22

Description: นางในวรรณคดี

Search

Read the Text Version

๑ นางในวรรณคดี จัดทำโดย นายภคั พล สุวรรณชาติ เลขที่ 3 นางสาวพยิ ะฎา นักฟอ้ น เลขที่ 27 นางสาวเมธริ า เออ้ื งคำประเสรฐิ เลขที่ 28 นกั เรียนชัน้ มัธยมศกึ ษาปที ี่ 5/2 เสนอ อาจารย์สภุ ลกั ษณ์ พลเรือง รายงานนีเ้ ปน็ สว่ นหน่งึ ของรายวิชา ภาษาไทย 4 ท32102 ภาคเรยี นที่ 2 ปกี ารศึกษา 2563 โรงเรียนราชสมี าวทิ ยาลยั สำนกั งานเขตพน้ื ท่กี ารศึกษามธั ยมศึกษานครราชสมี า

๒ก คำนำ รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย 4 ท32102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพ่ือใหไ้ ด้ศึกษาความรเู้ รอ่ื ง นางในวรรณคดี และได้ศึกษาอยา่ งเข้าใจเพอ่ื ใชเ้ ปน็ ประโยชน์ต่อการศกึ ษา คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่ กำลังหาข้อมูลในเรื่องนี้ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากมีข้อเสนอแนะ หรือข้อผิดพลาดประการใด คณะผจู้ ัดทำขอนอ้ มรับไว้ และขออภยั มา ณ ที่นีด้ ้วย คณะผู้จดั ทำ

สารบญั ข๓ คำนำ หน้า สารบญั ก นางในวรรณคดี ข 1 กากี 1 มโนราห์ 2 พระเพ่ือน พระแพง 3 สวุ รรณเกสร 4 รจนา 5 จนิ ตะหราวดี 5 บุษบา 6 สุวรรณมาลี 6 ละเวงวณั ฬา 7 เมรี 7 วันทอง 8 ศรีมาลา 8 มัทนา 9 พินทมุ ดี 10 เทราปตี 10 ศกนุ ตลา 10 ทมยนั ตี 11 สาวิตรี 11 จิตรางคทา 12 สดี า 13 เบญจกาย 13 สพุ รรณมจั ฉา 14 ทพิ เกสร 14 กนกเรขา 15 อษุ า 15

สารบญั (ต่อ) ค๑ นางในวรรณคดี (ต่อ) หน้า เออื้ ย ก นางไอ่ 16 โมรา 16 แกว้ 17 โสนน้อย 18 แตงอ่อนอรดี 18 จนั ทส์ ดุ า 19 20 คุณสมบัตทิ ว่ั ไปของนางในวรรณคดี 21 คติทไ่ี ดร้ บั จากนางในวรรณคดี 22 บรรณานุกรม 28

1 นางในวรรณคดี วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรอื งานเขยี นท่ยี กยอ่ งกนั วา่ ดี มสี าระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การ ใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมยั รัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจา้ อยู่หัว) นอกจากวรรณคดีจะถือเป็นวรรณกรรมหรืองานเขียนที่ได้รับการยกย่องว่า มีเนื้อหาสาระในเชิง สรา้ งสรรค์แล้ว ยงั มคี ุณคา่ ทางวรรณศิลป์ สามารถทำใหผ้ ูอ้ ่านคล้อยตามเนื้อเร่ืองได้เป็นอยา่ งดี ทั้งน้ี วรรณคดี ส่วนใหญ่ มักให้ความสำคัญที่ตัวละคร รวมถึงการดำเนินเรื่อง และสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากไม่แพ้ เนื้อหา คือ นางในวรรณคดี ที่แต่ละเรื่องที่มีอุปนิสัยแตกต่างกัน ซึ่งนางในวรรณคดีเหล่านี้บ้างก็พบกับ โชคชะตาทย่ี ากลำบาก หรืออปุ สรรคตา่ ง ๆ กระท่ังนำไปสู่บทสรุปทีแ่ ตกตา่ งกนั ไป ท้ังนี้ก็เพ่ือให้ผู้อ่านได้นำไป เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต หรือสามารถนำไปประยุกตใ์ ชใ้ นชีวติ ประจำวันได้ ตัวอยา่ งนางในวรรณคดี 1. กากี จากเรอ่ื ง กากาติชาด นางกากี นอกจากจะมีรูปกายงดงามราวกับเทพธิดาแล้ว ยังมีกลิ่นกายหอมชวนหลงใหล เมื่อชายใด แตะต้องหรอื สมั ผัสนาง กล่นิ กายนางกจ็ ะหอมตดิ ชายคนนน้ั ไปถงึ เจ็ดวัน เดิมทนี างกากีเป็นพระมเหสีของท้าว บรมพรหมทัต ซึ่งโปรดการเลน่ สกามาก และมีพระยาครุฑเวนไตยซึ่งแปลงร่างเปน็ มานพรูปงามมาเลน่ สกาอยู่ ด้วยเนือง ๆ จนวันหนึ่งท้าวบรมพรหมทัตเล่นสกาเพลิน มิได้ไปหานางกากี นางจึงมาแอบดูและสบตาเข้ากับ พระยาครุฑแปลง จากนั้นทั้งสองต่างเกดิ อาการหว่ันไหว จนพระยาครุฑได้ตัดสินใจลักพาตัวนางไปอยู่ท่ีวิมาน ฉิมพลี ทำให้ท้าวพรหมทัตกลัดกลุ้มพระทัยมาก ดังนั้น คนธรรพ์นาฏกุเวร (คนธรรพ์คือเทวดาชั้นผู้น้อยที่มี ความชำนาญดา้ นดนตร)ี ซึ่งเปน็ พ่ีเลี้ยงของท่านท้าวท้าวบรมพรหมทัตจึงอาสาพานางกลับมา โดยการแปลงตัว เปน็ ไรแทรกอยู่ในขนครฑุ เพอื่ ตามไปท่วี มิ านของครุฑ

2 จากนั้นเมื่อพระยาครุฑบินออกไปหาอาหารคนธรรพ์นาฏกุเวรก็ปรากฏกายออกมา แต่แทนที่จะพา นางกากีกลับเมือง กลับเกี้ยวพาราสีและเล้าโลมนางจนได้เสียกัน ต่อมาคนธรรพ์นาฏกุเวรกลับมารายงานทา้ ว บรมพรหมทัตวา่ นางกากีจะอยู่กับครุฑและตนได้เสียกับนางแล้วเพื่อให้ทา้ วบรมพรหมทัตรังเกียจนาง ซึ่งท้าว บรมพรหมทัตก็โกรธแต่ทำอะไรไม่ได้ เมื่อพระยาครุฑแปลงกายมาเล่นสกาอีกก็ถูกคนธรรพ์นาฏกุเวรเยาะเยย้ เมื่อพญาครุฑทราบเรื่องท้ังหมดก็โกรธนางกากีมาก ถึงขั้นนำนางมาปลอ่ ยไวใ้ นเมือง สว่ นท้าวบรมพรหมทัตเอง เมอ่ื เห็นนางก็ต่อวา่ ถากถางก่อนนำนางไปลอยแพกลางทะเล ระหว่างน้ันนางกากีไดร้ ับความช่วยเหลือจากนาย สำเภา กอ่ นตกเปน็ ภรรยาของชายผ้นู ี้ แต่เคราะห์กรรมนางกย็ ังไม่หมด เมื่อถูกโจรลักพาตัวไปเพราะหลงใหลรูปโฉม แต่ปรากฏว่า ในหมู่โจร ก็เกดิ การแยง่ ชงิ นางเกดิ ขน้ึ เมื่อนางหนไี ปได้ก็ไดไ้ ปเปน็ มเหสขี องทา้ วทศวงศ์ กษตั ริยอ์ กี เมืองหนึง่ เม่ือคนธรรพ์ นาฏกุเวรได้ครองเมืองแทนท้าวบรมพรหมทัตทสี่ วรรคตลง กไ็ ด้ตามไปชงิ นางกลบั คืนมาโดยการฆ่าท้าวทศวงศ์ เรื่องจึงจบลง ซึ่งนับดูแล้วพบว่า นางกากีมีสามีถึง 5 คน และต้องตกระกำลำบาก รวมถึงถูกสังคมประณาม เน่ืองจากมเี สนห่ ม์ ากเกินไป 2. มโนราห์ จากเรอ่ื ง พระสธุ น-มโนหร์ า นางมโนราห์ เป็นธดิ าองคเ์ ล็กของท้างทุมราชผู้เป็นพระยากินนร นางมีพระพีน่ างอีกหกองค์ล้วนมีหน้าตา เหมือน กันและงดงามยิ่งกว่านางมนุษย์ โดยทุกองค์มีปีกและหางที่ถอดออกได้ เมื่อใส่ปีกใส่หางแล้วกนิ นรก็ สามารถบินไปยังที่ต่าง ๆ ได้ นางมโนราห์และพี่น้องทั้งหกได้ไปเล่นน้ำที่สระน้ำอโนดาต เจอพรานบุญที่ ต้องการจับตัวนางกินรีเพราะเห็นว่านางงดงามคู่ควรแก่พระสุธน โอรสแห่งเมืองปัญจาลนคร พรานบุญจึงไป ยืมบ่วงนาคบาศจากท้าวชมพจู ิต พญานาคราช ทำให้สามารถจับนางมโนราห์ไปถวายแค่พระสธุ นได้ พระสุธน เมอ่ื เห็นนางเข้ากเ็ กดิ หลงรักและพานางกลับเมืองจนได้อภิเษกกัน ต่อมาปุโรหิตคนหนึ่งได้เกิดจิตอาฆาตแค้นแก่พระสุธน เพราะพระสุธนไม่ให้ตำแหน่งแก่บุตรของตน เมื่อถึงคราวเกิดสงคราม พระสุธนออกไปรบ เมื่อพระบิดาพระสุธนได้ทรงพระสุบิน ปุโรหิตจงึ ทำนายว่าจะเกดิ ภัยพิบัติครั้งใหญ่ โดยให้นำนางมโนราห์ไปบูชายัญเพื่อแก้เคล็ด เมื่อท้าวอาทิตยวงศ์ยินยอมตามนั้น นาง มโนราห์ที่รู้เข้าก็เกิดตกใจ จึงออกอุบาย ของปีกกับหางขอนางคืน เพื่อร่ายรำหน้ากองไฟก่อนจะตาย เมื่อนาง ไดป้ ีกกบั หางแลว้ นางจึงร่ายรำสักพกั ก่อนบินหนีไป ไปเจอฤาษี จากนั้นนางได้กล่าวกับฤาษีว่า หากพระสุธนตามมาให้บอกว่าไม่ต้องตามนางไป เพราะมีภยันอันตราย มากมาย และได้ฝากภษู าและธำมรงค์ให้พระสุธน เมือ่ นางมโนราห์ได้กลับไปท่เี มืองก็ได้มีพธิ ชี ำระล้างกลิ่นอาย มนษุ ย์ ฝา่ ยพระสธุ นทก่ี ลับจากสงครามไดล้ งโทษปโุ รหิต และตดิ ตามหานางมโนราห์ เมอ่ื เจอพระฤาษี พระสุธน จึงติดตามนางมโนราห์ต่อไป โดยมีพระฤาษีค่อยช่วยเหลือ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเวรกรรมจากชาติปางก่อน เนื่องจาก นางมโนราห์ คือ พระนางเมรี และพระสธุ นคอื พระรถเสน ทำใหพ้ ระสธุ นได้รับความลำบากมาก

3 เมื่อพระสุธนมาถึงสระน้ำอโนดาต ได้แอบเอาพระธำมรงค์ใส่ลงในคณโฑของนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งนาง กินรีได้นำน้ำนั้นไปสรงใหน้ างมโนราห์ พระธำมรงค์ได้ตกลงมาที่แหวนของนางพอดี ทำให้นางรู้ว่าพระสุธนมา หานาง นางจึงแจ้งให้พระบิดาและพระมารดาทราบ ดงั นัน้ เมอ่ื พระบิดาของนางมโนราห์ต้องการทราบว่าพระสุ ธนมีความรักต่อนางมโนราห์จริงหรือไม่ จึงได้ทำการทดสอบพระสุธน โดยให้บอกว่า นางไหนคือนางมโนราห์ ซึ่งนางมโนราห์และพี่ ๆ ต่างมีหน้าตาเหมือนกัน ด้านพระอินทร์เกิดเห็นใจจึงให้ความช่วยเหลือจนทำ ให้นาง มโนราห์และพระสธุ นไดเ้ คียงคูก่ ันอยา่ งมคี วามสขุ 3. พระเพื่อน พระแพง จากเรอื่ ง ลิลติ พระลอ เจ้าราชวงศแ์ มนสรวงกับเจ้าราชวงศ์สรองเป็นปรปักษ์ต่อกัน แต่โอรสและธดิ าของ 2 เมืองน้ีเกิดรักกันและ ยอมตายด้วยกัน ฝ่ายชายคือ พระลอ เป็นกษัตริย์แห่งเมืองแมนสรวง มีพระชายาชื่อ นางลักษณวดี สำหรับ พระลอ นั้น เปน็ หนุ่มรปู งามเป็นทเ่ี ลือ่ งลอื ไปทวั่ จนทำให้พระเพื่อน พระแพง เกิดความรักและปรารถนาท่ีจะได้ พระลอมาเป็นสวามี พี่เลี้ยงของพระเพื่อน พระแพง ชื่อนางรื่น นางโรย จึงได้ออกอุบายส่งคนไปขับซอยอโฉม พระเพอ่ื น พระแพง ใหพ้ ระลอฟัง และให้ปเู่ จา้ สมิงพรายทำเสน่ห์ให้พระลอเกิดความรักหลงใหลคิดเสด็จไปหา นาง แตเ่ มือ่ พระนางบุญเหลือชนนีของพระลอทราบเรื่องเข้าจึงได้หาหมอแกเ้ สนห่ ์ แตป่ ่เู จ้าสมงิ พรายได้เสก สลาเหิน(หมากเหิน) มาให้พระลอเสวยในตอนหลังอีก ทำให้พระลอถึงกับหลงใหลธิดาทั้งสองมากขึ้น พระ ลอจึงทูลลาชนนีและพระนางลักษณวดีไปยังเมืองสรอง พร้อมกับนายแก้ว นายขวัญ ที่เป็นพี่เลี้ยง จนกระท่ัง พระลอได้พบกับพระธิดาทั้งสอง และได้พวกนางเป็นชายา รวมทั้งนายแก้ว นายขวัญ ก็ได้กับนางรื่น กับนาง โรย พ่เี ลี้ยงเปน็ ภรรยาดว้ ยเช่นกัน ต่อมา เมื่อพระพิชัยพิษณุกร พระบิดาของพระเพื่อน พระแพง ทราบเรื่องก็ทรงกริ้ว แต่พอทรง พิจารณาเห็นว่าพระลอมีศักดิ์เสมอกันก็หายกริ้ว แต่พระเจ้าย่า (ย่าเลี้ยง) ของพระเพื่อน พระแพง โกรธมาก เพราะแค้นที่พระบิดาของพระลอได้ประหารท้าวพิมพิสาครสวามีในที่รบ พระเจ้าย่าจึงถือว่าพระลอเป็นศัตรู และได้สั่งทหารให้ไปล้อมพระลอที่ตำหนักกลางสวน พร้อมทั้งสั่งประหารด้วยธนู ทำให้ พระลอ พระเพื่อน พระแพง ท่รี ่วมกนั ต่อสกู้ ับทหารของพระเจ้ายา่ สิ้นชพี เคียงขา้ งกันทงั้ 3 พระองค์ ด้านท้าวพิชัยพิษณุกร ทรงทราบว่าพระเจ้าย่าสั่งให้ทหารฆ่าพระลอพร้อมพระธิดาทั้งสององค์ ก็ทรง กริว้ และสงั่ ประหารพระเจา้ ยา่ เสยี เนื่องจากมใิ ช่พระชนนี แลว้ โปรดให้จดั การพิธีศพพระลอกบั พระธิดาร่วมกัน อย่างสมเกียรติ โดยส่งทูตนำสาส์นไปถวายพระนางบุญเหลือ ชนนีของพระลอ ที่เมืองแมนสรวง สุดท้ายเมือง สรองกบั เมืองแมนสรวงจึงกลับมามีสมั พนั ธไมตรีที่ดีตอ่ กนั

4 4. สุวรรณเกสร จากเรอื่ ง เจ้าหญงิ นกกระจาบ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ ชายปา่ แห่งหนงึ่ มีนกกระจาบสองผัวเมียพร้อมด้วยลูกเล็ก ๆ อกี 4 ตัวทำ รังอาศัยอยู่บนต้นไม้ใหญ่ แม่นกนั้นคอยอยู่ดูแลลูกอ่อน ส่วนพ่อนกมีหน้าที่บินออกไปหาเหยื่อมาเลี้ยงลูกเมีย วันหนึ่งพ่อนกบนิ หาอาหารออกไปไกลถึงกลางบึงใหญ่ ซึง่ มดี อกบวั ขึน้ อยมู่ ากมายทำให้พ่อนกเพลิดเพลินจนลืม เวลา ครั้นถึงตอนเย็นดอกบัวก็หุบกลีบเข้าหากันและได้ขังพ่อนกเอาไว้ข้างใน แม้ว่าพ่อนกจะพยายามดิ้นรน อย่างไรก็ไม่สามารถหลุดออกมาได้ ฝา่ ยแมน่ กและลูก ๆ รออาหารอยู่ดว้ ยความหิวโหย บงั เอญิ คนื นั้นเกดิ ไฟไหม้ปา่ แม่นกไม่สามารถช่วย ลกู ๆ หนภี ยั ได้ จึงทิง้ รังไว้จนลกู นกโดนไฟคลอกตายท้ังหมด ส่วนแม่นกนนั้ เกาะกิ่งไม้ร้องไห้ด้วยความอาลัยรัก ลูก ๆ ของตน พอถึงเวลาเช้าดอกบัวสยายกลีบพ่อนกก็รีบบินกลับรัง ครั้นพบแต่รังที่กลายเป็นเถ้าถ่านรู้สึก เสียใจมากจึงรบี เข้าไปหาแม่นก แตน่ างนกกระจาบไดต้ ัดพ้อต่อว่าหาว่าพ่อนกมวั ไปติดพันนางนกอ่ืนอยู่ไม่ยอม กลับรัง แม้พ่อนกจะพยายามอธิบายอยา่ งไรนางนกกระจาบก็ไม่ยอมฟัง นางจึงอธิษฐานว่าชาติของใหเ้ กิดเปน็ หญงิ และจะไม่ยอมพดู กับผู้ชายคนไหนอีกเลย แล้วนางนกกระจาบกบ็ ินเขา้ สู่กองไฟตายตามลูก ๆ ไป พ่อนกเมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนี้ก็ยิ่งเสียใจมากขึ้นเป็นทวีคูณ อธิษฐานว่าด้วยความสัตย์จริงในสิ่งที่ตน กระทำลงไปโดยมิได้มีเจตนานอกใจนางนกกระจาบ ขอให้ตนเปน็ ผูเ้ ดยี วเทา่ นั้นท่นี างนกกระจาบซึ่งไปเกิดใหม่ ยอมพูดดว้ ย แล้วพอ่ นกก็โผเข้ากองไฟสน้ิ ใจตามไปอีกตัว ต่อมานางนกกระจาบได้เกิดใหม่เปน็ เจ้าหญงิ สุวรรณ เกษร ราชธิดาของท้าวพรหมทัต และพระมเหสี ซึ่งมีนามว่า พระนางโกสุมา แห่งเมืองโกสัมพี (บางตำนานว่า มาเกิดเป็นเจ้าหญิงสุวรรณโสภา ราชธิดาของพระเจ้าอุสภราช และพระนางกุสุมพา กษัตริย์ผู้ครองเมือง ศิริ ราชนคร) พระธิดาสุวรรณเกสรนนั้ เป็นผู้ท่มี ีรูปลกั ษณ์สิรโิ ฉมโสภาเกนิ กว่าหญงิ ใดในหล้า แต่เมอ่ื เกดิ มาจวบจนถึง วยั ครองเรอื งนางกลับไมย่ อมเอ่ยปากพูดกับผู้ชายคนไหนท้ังส้ิน แมแ้ ตผ่ ้เู ป็นพระบิดาของตนเอง ท้าวพรหมทัต รู้สึกทุกข์ในพระทัยยิ่งนัก ถึงกับให้มีประกาศไปทั่วทุกแคว้นแดนดินว่า หากชายใดสามารถทำให้พระธิดายอม พดู ด้วยกจ็ ะให้อภเิ ษกสมรสกบั เจา้ หญงิ สวุ รรณเกสรทันที บรรดากษตั ริยร์ วมทั้งเศรษฐจี ากเมืองต่าง ๆ ไดส้ ง่ พระโอรสและทายาทของตนมาขอทดสอบ แต่ไม่ว่า จะใชว้ ธิ ีไหนเจา้ หญิงสวุ รรณเกสรก็ไม่ยอมเอ่ยปากเจรจากบั เจ้าชายหรือทายาทหนุ่มของเศรษฐีคนใดเลยแม้แต่ เพียงคำเดียว กล่าวถึงพ่อนกกระจาบซึ่งได้มาเกิดใหม่เป็น เจ้าชายสรรพสิทธ์ิ พระโอรสของ พระเจ้าวิชัยราช กับพระนางอุบลเทวี แห่งอลิกนคร เมื่อทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ พระธิดาสุวรรณเกษร ทำให้เจ้าชายสรรพสิทธ์ิ สนใจนกึ อยากจะไปทดสอบดู เพราะพระองค์และชานุ ผเู้ ป็นพีเ่ ลี้ยง เคยไปเรยี นวชิ าเกย่ี วกับการถอดจิต จึงใช้ กลอุบายดังกล่าวจนสามารถทำให้พระธิดาสุวรรณเกษรเอ่ยปากพูดได้ เจ้าชายสรรพสิทธิ์และสุวรรณเกสร จึง ไดอ้ ภิเษกสมรสกันและครองเมอื งอลกิ นครอย่างมีความสุข

5 5. รจนา จากเร่อื ง สงั ข์ทอง พระสงั ข์ เปน็ โอรสของ ท้าวยศวิมลกับมเหสชี ื่อนางจันท์เทวี แตพ่ ระองค์และพระมารดาได้ถูกเนรเทศ ออกจากวัง เนื่องจากสนมเอกของท้าวยศวิมลที่ชื่อนางจันทาเทวี เกิดความริษยาจึงติดสินบนโหรหลวงให้ ทำนายว่าหอยสังข์จะทำให้บ้านเมืองเกิดความหายนะ ท้าวยศวิมลหลงเชื่อจึงจำใจต้องเนรเทศนางจันท์เทวี และหอยสงั ข์ไปจากเมือง นางจันท์เทวีพาหอยสังข์ไปอาศัยอยู่กับตายายชาวไร่ เป็นเวลาถึง 5 ปี ระหว่างนั้นพระโอรสในหอย สังข์กแ็ อบออกมาชว่ ยทำงานบ้านตอนทีไ่ มม่ ีใครอยู่ เมอ่ื นางจันทเ์ ทวีทราบก็ทบุ หอยสังขเ์ สยี เพอื่ ให้พระสังข์ได้ ออกมาอยู่ตน ทว่า ในเวลาต่อมาพระนางจันทาเทวีได้ไปวา่ จ้างแม่เฒ่าสุเมธาให้ชว่ ยทำเสน่หเ์ พือ่ ที่ท้าวยศวมิ ล จะได้หลงอยใู่ นมนตส์ ะกด และได้ยยุ งให้ท้าวยศวิมลไปจับตวั พระสังขม์ าประหาร แต่ท้าวภชุ งค์ที่เป็นพญานาค ได้มาช่วยไว้ และนำไปเลีย้ งเป็นบุตรบญุ ธรรม ก่อนจะส่งให้นางพนั ธุรตั เลี้ยงดตู อ่ จนพระสังข์มีอายุได้ 15 ปี วันหนึ่งพระสังข์ได้แอบไปเที่ยวเล่นที่หลังวัง จนได้พบกับบ่อเงิน บ่อทอง รูปเงาะ เกือกทอง และไม้ พลอง รวมถึงกับซากโครงกระดูก ทำให้พระสังข์ทราบว่านางพันธุรัตเป็นยักษ์ จึงเตรียมแผนการหนีด้วยการ กระโดดลงไปชบุ ตัวในบ่อทอง ก่อนสวมรูปเงาะ กบั เกอื กทอง และขโมยไมพ้ ลองเหาะหนไี ป จากนั้นพระสังข์ได้เดินทางมาถึงเมืองสามล ซึ่งมีท้าวสามลและพระนางมณฑาปกครองเมือง ซึ่งท้าว สามลและพระนางมณฑามีธิดาล้วนถึง 7 พระองค์ โดยเฉพาะพระธิดาองค์สุดท้องที่ชื่อ รจนา มีสิริโฉมเลิศล้ำ กว่าธิดาทุกองค์ จนวันหนึ่งท้าวสามลได้จัดให้มีพิธีเสี่ยงมาลัยเลือกคู่ นางรจนาที่เห็นรูปทองก็ได้เลือกเจ้าเงาะ เป็นสวามี ด้านท้าวสามลที่โกรธจัด เนื่องจากนางรจนาเลือกเจ้าเงาะที่มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ดังนั้นจึงสั่ง เนรเทศนางไปอย่ทู กี่ ระท่อมปลายนากบั เจ้าเงาะ แม้รจนาต้องปลูกผักกินเอง และต้องหุงหาอาหารต่าง ๆ โดยที่นางไม่เคยได้ทำ แต่เจ้าเงาะก็ได้สอน การเป็นแมบ่ ้านแมเ่ รอื นใหก้ บั นาง จนนางทำไดท้ ุกอยา่ งและอย่ดู ้วยกันอย่างเป็นสุข แต่บรรดาพอ่ แม่และพี่ ๆ ก็ยังคอยกลั่นแกล้งนางรจนากับเจ้าเงาะตลอด จนพระอินทร์เกิดสงสารจึงคิดอุบายตีเมืองของท้าวสามนต์ เพื่อให้เจ้าเงาะถอดรูปออกมารบจนชนะ เมื่อท้าวสามลทราบความจริงก็พอใจเป็นอย่างมาก จึงให้ทั้งสองเข้า มาอยใู่ นวงั ด้วยกนั ดงั เดมิ 6. จินตะหราวาตี จากเร่ือง อิเหนา นางจินตะหรา เป็นพระธิดาท้าวหมันหยากับนางจินดาส่าหรปี ระไหมสุหรี เกิดในปีเดียวกับอิเหนาแต่ อ่อนเดอื นกว่า จงึ มฐี านะเปน็ นอ้ ง แต่ความงามของนางเป็นท่ีเล่ืองลอื และทำให้อิเหนาหลงใหลจนไม่อยากกลับ บ้าน แต่ขณะนั้นอิเหนามีคู่หมัน้ แล้ว คือ นางบุษบา ขณะที่จะอภิเษกสมรสกับนางบุษบา อิเหนาได้หนีออกไป ประพาสป่า และได้ปลอมตัวเปน็ โจรชื่อ ปันหยี โดยตั้งใจเดนิ ทางไปเมืองหมันหยา ระหว่างทางได้พบเจ้าเมอื ง รายทางรวมทั้งได้รับการถวายพระธิดา คือ นางสการะวาตีกับนางมาหยารัศมี ให้เป็นข้ารับใช้ อิเหนาได้สู่ขอ

6 นางจนิ ตะหรา แตท่ า้ วหมนั หยาไม่กล้ายกให้ บอกให้อเิ หนาไปคุยกับนางจนิ ตะหราเอง อเิ หนาจงึ ไมย่ อมอภิเษก กับบุษบา ท้าวดาหาโกรธมากจึงรับสั่งว่า ใครมาสู่ขอจะยกให้ แต่เมื่อจรกามาสู่ขอและได้เกิดศึกชิงนางบุษบา ข้นึ อิเหนาจึงจำใจยกทัพไปช่วย แตเ่ มอ่ื ไดพ้ บนางบุษบา อิเหนาเกดิ หลงรกั นางขน้ึ มา จงึ ไมย่ อมกลับไปที่เมือง หมนั หยาตามทต่ี ัง้ ใจไว้ ดา้ นนางจินตะหรานอ้ ยใจมากท่ีอเิ หนาลืมนาง ต่อมานางไดพ้ บกับอเิ หนาอกี คร้ัง เมอื่ ทา้ วกเุ รปันส่งสาร มาให้นางไปเข้าพิธีอภิเษกพร้อมกับนางบุษบา แม้นางจินตะหราไม่อยากไปร่วมพิธี แต่ขัดไม่ได้ จึงพานางสกา ระวาตีและนางมาหยารัศมีไปด้วย ในพิธีอภิเษก นางบุษบาได้อยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย ขณะที่จิน ตะหราวาตีอยู่ในตำแหน่งประไหมสุหรีฝ่ายขวา ด้วยความเห็นชอบของท้าวดาหา แต่นางจินตะหราไม่มี ความสุขกบั ตำแหน่งน้นั เพราะอเิ หนาไม่ได้รักนางเหมอื นเมื่อก่อน ดงั น้นั เมอ่ื อเิ หนามาหา นางกไ็ ดท้ วงสัญญาเม่ือคร้ังเก่า ทำใหอ้ เิ หนาเสอ่ื มรักนางมากขนึ้ แต่ไม่สามารถ ขดั คำสั่งของประไหมสุหรีของท้าวดาหาได้ ดังน้นั อิเหนาจงึ จำใจตอ้ งไปง้อนาง แต่เมอ่ื ทา้ วหมันหยากับประไหม สุหรีได้ทราบเรื่องนี้ จึงเรียกนางจินตะหราไปตักเตือน ทำให้นางจินตะหราทราบว่า แท้จริงแล้วตัวนาง เสียเปรียบนางบุษบามาก หากนางทำตัวเช่นนี้มีแต่จะทำให้เรื่องแย่ลง นางจินตะหราจึงยอมคืนดีกับอิเหนา และเป็นฝา่ ยเขา้ หานางบุษบาแต่โดยดี 7. บุษบา จากเรอ่ื ง อิเหนา นางบุษบา เป็นธิดาของท้าวดาหาและประไหมสุหรีดาหราวาตี แห่งกรุงดาหา เมื่อตอนประสูติมีเหตุ อัศจรรย์คอื มีกลน่ิ หอมตลบอบอวลไปทั่วทั้งวัง ดนตรี แตรสงั ขก์ ็ดงั ขึน้ เองโดยไม่มผี ู้บรรเลง และเม่ือประสูติได้ ไม่นาน ท้าวกุเรปันก็ขอตุนาหงันให้กับอิเหนา ทั้งนี้ นางบุษบาเป็นหญิงที่งามล้ำเลิศกว่านางใดในแผ่นดินชวา กิริยามารยาทเรียบร้อย คารมคมคาย เฉลียวฉลาดทนั คน ใจกว้างและมีเหตผุ ล จึงทำให้อิเหนารกั ใครห่ ลงใหล นางย่ิงกวา่ หญงิ ใด ทว่า นางถูกเทวดาบรรพบุรุษของวงค์อสัญแดหวา คือ องค์ปะตาระกาหลาบันดาลให้ลมพายุหอบไป ทำให้นางต้องพลัดพรากจากอิเหนาเป็นเวลาหลายปีกว่าจะได้พบอิเหนาและววิ าห์กนั โดยนางได้ตำแหน่งเป็น ประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย ทั้งนี้ การที่นางยอมให้อิเหนายกนางจินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวาแต่โดยดี ด้วย เห็นว่านางจินตะหราเป็นผู้มาก่อน แม้ว่าจินตะหราจะไม่ใช่วงศ์เทวัญ ซึ่งข้อนี้ยากที่จะหาหญิงใดเสมอเหมือน และนับวา่ นางบษุ บาเปน็ หญิงไทยในวรรณคดที ส่ี มบูรณด์ ว้ ยคุณสมบัติคนหนง่ึ 8. สุวรรณมาลี จากเร่ือง พระอภยั มณี นางสุวรรณมาลี เปน็ ธิดาของท้าวสลิ ราช กษัตริย์เมืองผลึก กับนางมณฑา นางมีรปู โฉมงดงามมาก แต่ มีนิสัยขี้หึง ซึ่งพระบิดาได้หมั้นหมายนางสุวรรณมาลีไว้กับอุศเรนโอรสกษัตริย์เมืองลังกา นางลงเรือไปเที่ยว

7 ทะเลกับท้าวสิลราชแล้วได้ไปพบกับพระอภัยมณีที่เกาะแก้วพิสดาร สินสมุทรบุตรของพระอภัยมณีพยายาม เปน็ ส่ือใหน้ างรักใครก่ บั พระอภัยมณี ครัน้ ได้กลับไปถงึ เมอื งผลึกนางก็ได้เขา้ พิธีแตง่ งานกับพระอภัยมณี ทั้งสอง มธี ดิ าฝาแฝดชอ่ื สร้อยสวุ รรณและจนั ทร์สุดา ต่อมาพระอภยั มณีตดั สินใจบวชเปน็ ฤาษบี ำเพ็ญศีลอยู่ที่เขาสิงคุตร์ นางสวุ รรณมาลีก็บวชตามไปปรนนิบัติด้วยความจงรกั ภักดี นอกจากนางจะเปน็ หญิงท่ีมีความงามแล้ว นางยังมีความสามารถมสี ติปัญญาเทียบเทา่ ผู้ชาย มีความรู้ ในการรบ รู้ตำราพิชัยสงคราม และยังมีความเฉลียวฉลาดสามารถเอาตัวรอดและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งทั้งหมด เป็นลักษณะท่ีโดดเดน่ ของนางในวรรณคดีตวั นที้ เ่ี ห็นไดช้ ัดเจนทีเดียว 9. ละเวงวัณฬา จากเร่อื ง พระอภยั มณี นางละเวงวัณฬา เป็นธดิ าของของกษัตริยเ์ มืองลงั กา และเป็นน้องสาวของอุษเรนผู้เป็นคู่หม้ันของนาง สุวรรณมาลี เมื่อนางอายุได้ 16 ปี นางต้องสูญเสียบิดาและพี่ชายในสงครามสู้รบระหว่างเมืองลังกาและเมือง ผลึกเพ่อื แยง่ ชิงนางสุวรรณมาลีกลับคืนจากพระอภยั มณี แมจ้ ะเสยี ใจจนคิดทีจ่ ะฆ่าตวั ตายตามพ่อและพ่ีชายไป แต่ด้วยความแค้นและภาวะที่บ้านเมืองกำลังขาดผู้นำ นางจึงขึ้นครองเมืองลังกาแทนบิดา และตั้งใจแน่วแน่ท่ี จะแก้แค้นแทนบิดาและพชี่ ายใหจ้ งได้ ในตอนต้นนางทำศึกด้วยการใช้เล่ห์กลอุบายตามคำแนะนำของบาทหลวง ทั้งนี้ ด้วยความแค้นที่พ่อ และพี่ชายถูกฆ่าตายด้วยฝีมือชาวเมืองผลึก แม้ว่าความพยายามของนางในตอนต้น ๆ จะไม่ได้ผล นางก็ไม่ละ ความพยายาม จนกระทั่งพระอภัยมณียกทัพไปราวีกรุงลังกาเสียเอง ทั้ง ๆ ท่ีมีความเกลียด ความโกรธ ความ อาฆาตแค้นอยู่เต็มอก แต่พอนางได้พบหน้าและได้ต่อปากต่อคำกับพระอภัยมณีศัตรูคนสำคัญเพียงครั้งเดียว นางก็เกิดรู้สึกเสน่หาในตัวพระอภัยมณี แต่ด้วยความที่เป็นเจ้าเมืองลังกา นางละเวงวัณฬาจึงต้องยอมตัดใจ เป็นเดด็ ขาดและคิดทจ่ี ะยกกองทัพกลบั มาต่อสู้ใหช้ นะจงได้ 10. เมรี จากเรอื่ ง นางสิบสอง นางเมรี เป็นธิดาของ นางยักษ์สนธมาร เมื่อนางยักษ์สนธมารได้ออกอุบายให้พระรถเสน ซึ่งเป็นลูก ของนางสิบสอง กับ พระรถสิทธ์ราช ผู้ครองเมืองกุตารนคร ไปตามหา “มะม่วงหาว มะนาวโห่” มีอยู่ที่ เมืองคชปรุ นคร เพ่อื รักษาอาการป่วยของนาง โดยนางสนธมารได้เขียนสารให้พระรถเสนนำไปยื่นที่เมืองคชปุร นครด้วย จากน้นั เมือ่ พระรถเสนไดข้ มี่ ้าไปจนถึงอาศรมพระฤาษี ดว้ ยความเหน็ดเหน่อื ยจึงหลับลงทีน่ ่นั เมอื่ พระ ฤาษีได้ทราบถึงอุบายของนางยักษ์สนธมารที่เขียนสารให้นางเมรีกินพระรถเสนผู้ถือสารทัน ทีที่ไปถึงเมือง ดังกลา่ ว พระฤาษจี ึงทำการแปลงสารวา่ ใหน้ างเมรีรับพระรถเสนเปน็ สวามี ดงั นนั้ ถงึ พระรถเสนเมืองคชปุรนคร นางเมรีจึงได้จัดการอภิเษกพระรถเสนกุมารให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน และอภิเษกสมรสนางเป็นมเหสี ครอบ ครองราชสมบตั ใิ นคชปุรนคร

8 ต่อมาพระรถเสนเกิดคิดถงึ มารดาอยากกลบั พระนคร จงึ ไดอ้ อกอุบายโดยทรงแสร้งทำเป็นว่าเสวยสุรา กับนางเมรี จนนางเมรีมีอาการเมามาย ขณะที่พระรถเสนทอดพระเนตรดูสิ่งของต่าง ๆ ในปราสาทนั้น ทรง พบห่อของห่อหนึ่งจึงสอบถามนางเมรีที่ไม่ได้สติ จนทราบว่าเป็นห่อลูกตาของนางสิบสอง และยังได้ทราบ สรรพคุณของห่อยาวิเศษต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นเป็นยาทิพย์ที่สามารถรักษาตาของนางสิบสองได้ พอนางเมรี หลบั พระรถเสนจงึ นำหอ่ ลกู ตาและหอ่ ยาเหล่านั้นรีบข้นึ มา้ หนอี อกไปในเวลากลางคืน เมื่อนางเมรีไม่เห็นพระรถเสนก็ตกใจเที่ยวค้นหาจนทั่วปราสาท เมื่อรู้ว่าพระรถเสนหนีไป นางจึงออก ตดิ ตามพระรถเสนทันที แตพ่ ระรถเสนไดบ้ อกลานางโดยกล่าววา่ แมต้ นจะรกั นางเพยี งใด แต่ตนต้องกตัญญูต่อ มารดา จงึ จำต้องลากจากนางไป เม่ือนางเมรีเห็นพระรถเสนทิ้งนางไปเช่นนั้น นางเมรกี ท็ รงกันแสงเสียพระทัย จนสิ้นชีพในที่สุด โดยในท้ายเรื่องพระรถเสนสามารถช่วยมารดาและบรรดาป้า ๆ ของตนได้ ส่วนนางยักษ์สน ธมารเมือ่ เห็นพระรถเสนกลบั มาอยา่ งปลอดภยั ก็มีความเสียใจจนสิ้นชีวติ อยบู่ นปราสาทของนางน้ันเอง 11. วนั ทอง จากเร่ือง ขนุ ช้าง-ขุนแผน นางวันทอง เป็นธิดาคนเดียวของพันศรโยธาและนางศรปี ระจัน ครอบครัวของนางวันทองเปน็ ตระกูล พ่อคา้ ทีม่ ฐี านะดพี อสมควร นางจึงได้รบั การเลย้ี งดเู ปน็ อยา่ งดี ความสวยของนางวันทองปรากฏให้เห็นชัดต้ังแต่ ยังเป็นเด็ก เมื่อนางเติบโตขึ้นก็ยิ่งมีความงามมากขึ้น เป็นชนวนเหตใุ ห้ขุนแผนและขุนช้างมีจิตใจผูกพันรักใคร่ สง่ ผลใหเ้ กดิ เร่ืองราววุน่ วายตามมา นางวันทองมีลักษณะสาวชาวบ้านจึงเป็นคนซื่อ ไม่ค่อยฉลาดเท่าใดนัก ทำอะไรก็ทำตามประสาหญิง ชาวบ้าน เมื่อโตเป็นสาวก็เริม่ คิดเรื่องคู่ครอง อันเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติ แต่สังคมไทยมีความจำกัดให้ ผู้หญงิ อยู่ในกรอบของประเพณี จึงทำให้ดเู หมอื นวา่ นางวันทองไมร่ ักนวลสงวนตวั อย่างไรก็ตาม นางวันทองก็ยังมีภาพลักษณ์ด้านดีที่เห็นได้ชัด คือ ความละเอียดอ่อน ไม่ว่าจะเป็นใน เรอ่ื งการรับร้ถู ึงความดีของผู้อน่ื ทปี่ ฏิบัตติ ่อนาง ดังจะเห็นได้จากการที่แม้นางจะไม่ไดร้ ักขนุ ช้าง แต่ด้วยความดี ของขุนช้างและความผูกพันที่อยู่กันมา 15 ปี ทำให้นางเป็นห่วงเป็นใยความทุกข์สุขและความรู้สึกของขุนช้าง ไมน่ อ้ ย หรือ อารมณท์ ล่ี ะเอยี ดอ่อนในการเปน็ แม่ศรีเรือนทีด่ ี เชน่ ความประณตี ในการปกั มา่ น นอกจากน้ี นาง วนั ทองยงั เป็นคนกลา้ ท่ีจะยอมรบั ชะตากรรมของตัวเอง มนี ้ำใจเมตตา และให้อภัยโดยไมเ่ คยี ดแค้น 12. ศรีมาลา จากเรื่อง ขุนช้าง-ขนุ แผน นางศรีมาลา เป็นลกู ของพระพจิ ติ รกบั นางบุษบา นางเป็นหญิงทงี่ ดงามทง้ั รปู รา่ งหน้าตา กริ ิยามารยาท และงามนำ้ ใจ นางได้พบและรักกับพลายงาม ลูกของขนุ แผนกับนางวนั ทอง ตอนที่พลายงามกบั ขุนแผนยกทัพ ไปทำสงครามกบั เชยี งใหม่แลว้ ได้แวะเยี่ยมพอ่ แมข่ องนาง

9 หลังจากเสร็จสงคราม นางศรีมาลาได้แต่งงานกับพลายงามพร้อมกับนางสร้อยฟ้า นางได้รับความรัก จากพลายงามและนางทองประศรีมากกว่าจึงทำให้นางสร้อยฟ้าอิจฉา นางสร้อยฟ้าจึงทำเสน่ห์ให้พลายงาม หลงใหลและเกลียดชังนางศรีมาลา ทำให้นางศรีมาลาปวดร้าวและขมขื่นใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากบางคร้ัง นางไดถ้ กู พลายงามทุบตี เพราะเช่อื ทน่ี างสร้อยฟา้ ใสค่ วาม ครน้ั นางสร้อยฟ้าต้องโทษประหารชีวิต เนอ่ื งจากถูก จับได้เรื่องทำเสน่ห์ใส่พลายงาม นางจึงอ้อนวอนให้นางศรีมาลาช่วยขออภัยโทษให้ โดยอ้างถึงลูกในท้องท่ี จะต้องตายไปกับนางด้วย เมื่อนางศรีมาลาใจอ่อนยอมขออภัยโทษให้ นางสร้อยฟา้ จึงเพียงแค่ถูกเนรเทศไปอยู่ ที่เชยี งใหม่ตามเดิม โดยในเวลาตอ่ มา นางกค็ ลอดบุตรชายมีชือ่ ว่า พลายยง 13. มทั นา จากเรื่อง ตำนานรักดอกกหุ ลาบ นางมัทนา เป็นนางฟ้าที่มีรูปโฉมงดงาม จนจอมเทพสุเทษณ์ติดตาตรึงใจและใคร่จะได้นางเป็นชายา แต่นางมัทนาไม่เคยสนใจจอมเทพสุเทษณ์ เพราะได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะครองคู่กับชายท่ีตนรักเท่านัน้ ด้านจอม เทพสุเทษณ์เป็นเทพผู้ใหญ่บนสรวงสวรรค์ แต่กลับเป็นทุกข์อยู่ด้วยความลุ่มหลงเทพธิดามัทนา แม้จิตระรถ สารถีคู่บารมีจะนำรูปของเทพเทวีผู้เลอโฉมหลายต่อหลายองค์มาถวายให้เลือกชม จอมเทพสุเทษณ์ก็มิสนใจ ไยดี และไม่ว่าเกี้ยวพาหรือรำพันรักอย่างไร นางมัทนาก็ได้แต่ปฏิเสธว่า ไม่มีจิตเสน่หาตอบ ดังนั้นจอมเทพสุ เทษณ์จงึ โกรธมาก กระทั่งจะสาปนางมัทนาใหไ้ ปเกดิ ในโลกมนุษย์ แต่นางมัทนาขอให้ตนเองได้ไปเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่นหอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง จอมเทพสุเทษณ์จึง สาปนางมัทนาให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบที่งามทั้งกลิ่น ทั้งรูป และมีแต่เฉพาะบนสวรรค์ ยังไม่เคยมีบนโลก มนุษย์ โดยทุก ๆ วันเพ็ญของแต่ละเดือน นางมัทนาจะกลายร่างเป็นคนได้เพียงหนึ่งวัน หนึ่งคืน เท่านั้น หาก นางมีความรักเมื่อใด นางก็จะไม่ต้องคืนรูปเป็นกุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทกุ ข์ทรมานเพราะความรกั จน มอิ าจทนอยู่ได้ และเมือ่ นนั้ ถา้ นางอ้อนวอนขอความชว่ ยเหลอื จอมเทพสุเทษณจ์ ึงจะงดโทษทัณฑน์ ้ใี ห้แกน่ าง ต่อมานางมัทนาไปจุติเป็นกุหลาบงามอยู่ในป่าหิมะวันแลได้พบรักกับพระรถเสน แต่นางต้องพบกับ อุปสรรคนานัปการ จนนางต้องอ้อนวอนขอร้องให้จอมเทพสุเทษณ์ช่วยนาง ด้านจอมเทพสุเทษณ์ยินดีแก้คำ สาปให้แต่ยังคงต้องการรับนางเป็นมเหสีอยู่เช่นเดิม แต่นางมัทนาได้ปฏิเสธอีกครั้ง ดังนั้นจอมเทพสุเทษณ์จึง สาปสง่ ใหน้ างมัทนาเปน็ ดอกกหุ ลาบไปตลอดกาล มิอาจกลายร่างเป็นมนุษย์ได้อีก เมื่อท้าวชัยเสนตามมาถึงในป่าและทราบเรื่องทั้งหมด พระองค์จึงร่ำไห้ด้วยความอาลัยก่อนรำพันถึง ความหลงผิดและรำพันความรักที่มีต่อนางมัทนาให้ต้นกุหลาบได้รับรู้ จากนั้นจึงขุดต้นกุหลาบเพื่อนำกลับไป ปลูกในอุทยาน และขอให้พระฤาษีช่วยให้พรวิเศษเพื่อทำให้ต้นกุหลาบงดงามมิโรยราตราบจนกว่าพระองค์จะ สนิ้ อายขุ ัย ซ่งึ พระฤาษกี ็ประสทิ ธิประสาทพรใหก้ หุ ลาบนน้ั ดำรงอยู่คู่โลกนมี้ ิมีสญู พันธ์ตลอดมา

10 14. พนิ ทุมดี จากเร่ือง สมทุ รโฆษคำฉันท์ พระสมุทรโฆษเป็นโอรสของพระเจ้าพินทุทัตและนางเทพธิดาแห่งเมืองพรหมบุรี มีชายาชื่อนางสุร สุดา ทางทิศใต้ของเมืองพรหมบุรีมีเมืองรมยนคร เจ้าเมืองชือ่ พระเจ้าสีหนรคุปต์ มเหสีชื่อนางกนกพดี และมี พระธิดาชื่อนางพินทุมดี ต่อมาพระสมุทรโฆษออกประพาสป่าเพื่อจับช้างป่า คืนวันนั้นเทพารักษ์ได้อุ้มพระ สมุทรโฆษไปยังปราสาทนางพินทุมดี พอจวนรุ่งเทพารักษ์ก็อุ้มคืนยังพลับพลาในป่า พระสมุทรโฆษจึงเที่ยว ตดิ ตามคน้ หานางพนิ ทุมดี แต่เมื่อไมพ่ บก็กลบั ไปบ้านเมอื งไป ด้านนางพนิ ทุมดีซ่ึงโศกเศร้าถึงบุรุษผูม้ าเป็นคู่ในคนื น้ัน พระเจา้ สีหนรคุปตจ์ ึงจัดให้มีพิธียกโลหธนูเพ่ือ เสี่ยงหาคู่ให้นางพินทุมดี ด้วยความช่วยเหลือของพระอินทร์ทำให้พระสมุทรโฆษสามารถยกโลหธนูได้จึงได้ อภิเษกกบั นางพนิ ทุมดี วนั หนง่ึ ขณะเสดจ็ อุทยานได้พบพิทยาธรตนหน่ึงช่ือรณาภิมขุ ซึง่ ได้รบั บาดเจ็บจากการ ตอ่ สู้กบั พิทยาธรช่ือรณบุตร ซงึ่ จะแยง่ ชิงนางนารีผลผเู้ ปน็ ชายา พระสมทุ รโฆษช่วยพยาบาลรณาภิมุข รณาภิ มุขจึงถวายพระขรรค์อันมีฤทธิ์ทำให้เหาะได้แก่พระสมุทรโฆษ พระสมุทรโฆษจึงพานางพินทุมดีเหาะไป ประพาสปา่ หิมพานต์ ขณะท่พี ระสมุทรโฆษบรรทมหลบั ได้ถกู พิทยาธรตนหน่ึงลักพระขรรค์ไป ทงั้ สองพระองค์จงึ เสด็จมาถึง ฝง่ั น้ำทม่ี กี ระแสน้ำไหลเชย่ี วและเกาะขอนไมข้ ้ามฟาก แต่เกิดพายพุ ดั ขอนไมข้ าดเป็นสองท่อน ทำใหพ้ ระสมุทร โฆษต้องพลัดพรากจากนางพินทุมดี แต่ในเวลาต่อมาพระอินทร์ได้ให้นางเมขลามาช่วยเหลือ จึงได้ทั้งสองพบ กันและกลบั คนื สรู่ มยนครอีกครั้ง กอ่ นจะครองเมืองดว้ ยความผาสกุ จนส้ินพระชนมแ์ ล้วไปบังเกิดในสวรรค์ 15. เทราปตี จากเรื่อง ภควัทคีตา นางเทราปที มีนามจรงิ คอื กฤษณา แปลวา่ ดำ เพราะนางมีผิวคลำ้ แตม่ คี วามงามยอดย่ิง นางเทราปตี เปน็ ธิดาของท้าวทรุ บท เจา้ เมอื งแห่งแคว้นปัญจา เม่อื นางเจรญิ วัยถึงคราวควรจะมีคู่ ท้าวทุรบทได้ประกาศพิธี สยุมพรให้แก่นาง โดยเชิญหน่อกษัตริย์ทั้งหลายมาประชุมแข่งขันแสดงฝีมือยิงธนู ปรากฏว่า เจ้าชายอรชุนผู้ เปน็ เจา้ องค์หนงึ่ ในหมู่เจ้าชายปาณฑพห้าองค์ได้ชยั ชนะ จึงไดร้ บั เลอื กให้เป็นสามีของนางเทราปที เมื่อเจ้าชาย อรชนุ พานางกลับมายังตำหนักในป่า ดว้ ยความดีใจเจา้ ชายอรชุนได้ทลู พระนางกุนดผี ู้เป็นพระมารดาว่า ตนได้ ลาภมา พระนางกุนดีจึงตรัสว่า จงแบ่งกันระหว่างพี่น้องเถิด เนื่องจากไม่ทราบว่าลาภดงั กล่าวคือนางเทราปตี ดงั นน้ั นางเทราปตจี งึ จำต้องมีสามที ้ังห้าคน นับแต่นนั้ เป็นตน้ มา 16. ศกนุ ตลา จากเร่ือง ศกนุ ตลา นางศกุนตลา เป็นธิดาของ พระวิศวามิตรกับนางฟ้าเมนกา แต่นางได้ถูกทิ้งไว้ในป่าตามลำพัง ต่อมา นางนกมาพบเข้าจึงนึกสงสารและและนำตัวนางกลับไปเลี้ยงดูเหมือนลูกแท้ ๆ ที่อาศรมของตน ต่อมานาง ศกุนตลาเติบโตเป็นสาวรุ่นที่งดงามอย่างหาที่ติไม่ได้ นางได้พบกับท้าวทุษยันต์ กษัตริย์จันทรวงศ์ แห่งนคร

11 หัสดิน จนทั้งคู่ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งต่อกัน แต่เมื่อท้าวทุษยันต์ตอ้ งเดินทางกลับเมือง จึงทำการมอบแหวนวงหน่ึง ไว้ให้แก่นาง จนกระทั่งเช้าวันหนึ่งพระฤาษีทุรวาสผู้มีปากร้าย ได้มาเรียกนางที่หน้าประตู แต่นางไม่ได้ออกไป ตอ้ นรับ ทำใหพ้ ระฤาษีทรุ วาสโกรธสาปใหน้ างถกู คนรักจำไม่ได้ ต่อมาเม่ือพระฤาษีทรุ วาสหายโมโหแลว้ เพราะรู้ วา่ นางไมไ่ ด้ตั้งใจแสดงอาการไม่เคารพกบั ตนจึงให้พรกำกับว่า หากคนรกั ของนางได้เหน็ ของท่ีให้ไว้เป็นที่ระลึก กจ็ ะจำนางได้ ทว่า ระหว่างเดินทางแหวนที่ท้าวทุษยันต์ประทานให้นางไว้เกิดตกหายไปในแม่น้ำ เมื่อไปถึงที่หมาย ทา้ วทุษยนั ต์ทรงจำนางไม่ได้ จนกระท่ังชาวประมงจับได้ปลาที่กลืนแหวนซ่งึ นางศกุนตลาทำหาย พอเห็นแหวน ทา้ วทุษยนั ตก์ ็ได้สตจิ ำเร่อื งราวตา่ ง ๆ ได้ ทั้งสองจงึ ครองค่กู นั อย่างมคี วามสุขอีกครัง้ 17. ทมยนั ตี จากเร่ือง พระนลคำหลวง นางทมยันตี เป็นธิดาของพระเจ้าภีมราชแห่งเมืองคันธปุระ เมื่อโตเป็นสาวก็มีพระสิริโฉมงดงามและ เป็นกุลสตรีที่ดี ต่างก็ร่ำลือกันไปไกลจนถึงสวรรค์ ส่วนพระนลเป็นเจ้าชายเมืองนีษระ เป็นคนเก่ง ฉลาด และ รปู ลักษณ์งดงามมาก ต่างกย็ กย่องและรำ่ ลือกนั ไปไกล เมอื่ ท้ังคู่เติบโตอยู่ในวัยหนุ่มสาวต่างก็ใฝ่ฝันและถวิลหา ซ่ึงกันและกัน ต่อมาพระเจ้าภีมราชได้ประกาศพิธีสยุมพรของพระนางทมยันตีขึ้น โดยเชิญเจ้าชายและกษัตริย์ทุก เมืองมาร่วมพิธี โดยการทำให้นางพึงพอใจและเลือกคู่เอง นางทมยันตีจึงได้เลือกพระนลเป็นสวามี ทว่า กลี และ ทวารบร ซงึ่ จะมางานนแี้ ตท่ ราบว่านางไดเ้ ลือกพระนลไปแลว้ กโ็ กรธเคืองสัญญาว่าจะทำลายความรักของ ทั้งคู่และจะทำให้แตกแยกและพลัดพรากจากกันให้ได้ หากตัวเองไม่ได้นางมาครอง ซึ่งเป็นเหตุให้พระนลกับ นางทมยนั ตีต้องพบพานกับอุปสรรคนานัปการ รวมถึงต้องพัดพรากจากกันเป็นเวลานาน แต่ในท้ายท่ีสุดทั้งคู่ก็ สามารถฟนั ฝา่ อปุ สรรคจนสามารถกลบั มาครองคกู่ ันดว้ ยความสขุ ได้ดังเดมิ 18. สาวติ รี จากเรือ่ ง ภควทั คีตา นางสาวิตรี เป็นบุตรของมหาราชอัชวาปตีกับมหารานีมัลวี ซึ่งมหาราชอัชวาปตีนั้น ไม่มีบุตรชายเลย จึงได้ทำพิธีภาวนาต่อพระแม่มาเตสวาตี (พระแม่กายาตรี) ถึง 16 ปี จนพระแม่มาประทานพรให้ แต่เนื่องจาก ในโชคชะตาของมหาราชนั้น ไม่ได้มีพรของบุตรชายเลย พระแม่จึงได้มอบบุตรสาวที่เก่งกาจสามารถ มี สติปัญญา และรูปโฉมอันงดงามให้ เทวฤาษีนารัทมุนีได้ตังชื่อให้เด็กน้อยว่า สาวิตรี นางเป็นหญิงที่ฉลาดและ งดงามมาก จนไมม่ ชี ายใดกลา้ มาส่ขู อ มหาราชอชั วาปตีจึงไดม้ อบหมายให้นางออกหาสามีเอง จนกระทัง่ นางได้ พบกบั พระสตั ยวาน บตุ รของอดีตมหาราชจนั ทราเซนซึ่งตาบอด ต่อเมื่อในงานอภิสมรส เมื่อพระยมราชที่มาร่วมงานด้วยได้แจ้งว่า พระสัตยวาน เหลือเวลาบนโลก มนษุ ยอ์ กี เพยี ง หนึง่ ปีเท่านน้ั เมื่อนางสาวิตรีร้ขู า่ วก็ได้เข้าไปภาวนาต่อพระแม่มาเตสวตี ซึง่ พระแม่มาเตสวตีได้

12 แนะนำหนทาง โดยใหน้ างถอื ศีลอดอาหารอย่างเคร่งครัด เพ่อื ขอพรให้กับพระสัตยวาน ซึ่งในขณะท่ีนางถือศีล อยูน่ ั้น ยมราชได้พยายามมาก่อกวนนางทุกทาง เมอ่ื พระสตั ยวานส้ินพระชนม์ลง นางสาวติ รที ีม่ ีใจรักสวามีมาก จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อลงไปยมโลก ก่อนใช้กลอุบายในการต่อรองกับยมราช จนสุดท้ายยมราชจึงยอมคืน วิญญาณพระยาสัตยวาน ทำใหท้ ัง้ คู่ไดค้ รองคู่กันอยา่ งมคี วามสุข 19. จติ รางคทา จากเรือ่ ง มหาภารตะ พระราชาแห่งแคว้นมณปี ุระเป็นผู้ไร้ราชโอรส มแี ต่พระราชธิดาองค์เดียวชื่อ จิตรางคทา (จิด-ตะ-ราง- คะ-ทา) นางมีเรือนร่างแข็งแกร่งบึกบึน มีใบหน้าแสนจะขี้ริ้วขี้เหร่และมีน้ำเสียงแหบหา้ วเหมือนผู้ชายอกสาม ศอกคนหนึ่ง แถมพระบิดายังทรงเลี้ยงดู จิตรางคทา ในแบบของผู้ชายแท้ ท้ังสอนให้ฝึกหัดขี่ม้า ฝึกปรือเพลง อาวุธทุกชนดิ อยา่ งแคลว่ คล่อง จนไมม่ ีชายใดอยากได้นางเป็นคู่ครอง กระทงั่ วันหนง่ึ พรานปา่ ได้ดถู ูกว่านางว่าเป็นเพียงหญงิ สาวธรรมดา จึงไม่คิดจะต่อส้ดู ว้ ยใหเ้ สียศักด์ิศรี พร้อมกล่าวว่านางลำพองใจในฝีมือของตนเองมากเกินไป ทำให้จิตรางคทาโกรธมาก และเมื่อนางทราบว่า พรานป่าคนดังกล่าว คือ เจ้าชายอรชุน ยอดวีรกษัตริย์ ที่นางเคารพบูชามาตลอด ยิ่งทำให้นางรู้สึกว่าตัวเอง ดอ้ ยค่านา่ อดสู เพราะเกิดมาเหมือนชายแม้ไม่ใชช่ าย และไมเ่ ปน็ หญงิ ในทรรศนะของผ้ชู าย เมื่อนางได้รับคำแนะนำให้ไปหาพระกามเทพ นางจึงอธิษฐานขอเทวานุเคราะห์ พระกามเทพจึงหา หนทางช่วยโดยใช้เทวมายาทำให้นางกลายเป็นหญิงงามเพื่อให้อรชุนหลงรัก แต่พระกามเทพได้เตือนว่า เทว มายาน้มี ผี ลแค่หนึ่งปีเต็มเท่าน้ัน และการจะประคับประคองให้ความรักเป็นไปไดต้ ลอดรอดฝั่งนั้นก็เป็นหน้าที่ ของนางเอง ต่อมา เมื่อจิตรางคทาอยู่ในร่างของหญิงงาม นางจึงเดินทางไปหาเจ้าชายอรชุน โดยใช้ชื่อ ชยา ฝ่ายเจ้าชายอรชุนเมอื่ พบหญิงงามดัง่ นางฟ้าอยูต่ รงหน้า พระองค์จงึ ยอมรับนางเปน็ ชายาดว้ ยความเตม็ ใจ ทว่า ในระหว่างหนึ่งปที ี่จิตรางคทาเสวยสขุ อยู่กับเจ้าชายอรชุนในบรรณาศรมกลางป่า นางไม่รู้เลยวา่ แควน้ มณีปุระของตนถูกขา้ ศึกจากปจั จตั ประเทศรุกรานครั้งแลว้ ครั้งเล่า สว่ นภายในราชอาณาเขตก็ชุกชุมด้วย โจรผู้ร้าย และเมื่อนางได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากเหล่าชาวบ้าน นางก็ยอมกลับสู่ร่างที่แท้จริงทันที โดยได้เล่าความจริงทั้งหมดให้เจ้าชายอรชุนทราบและขอให้เจ้าชายอรชุนยกโทษให้ เนื่องจากนางทำไปเพราะ ความรัก แตน่ างมหี นา้ ทีส่ ำคญั คือตอ้ งไปปราบศัตรูแผ่นดนิ แมอ้ าจไม่มีชีวิตรอดจากศกึ ครั้งน้ี ด้านเจ้าชายอรชุนเมื่อได้ฟังดังนั้นก็เกิดเลื่อมใสนางยิ่งนัก เนื่องจากนางเป็นผู้มีน้ำใจงามประเสริฐ มี ความกล้าหาญ เสียสละ ดังนั้นพระองค์ก็พร้อมที่เคียงข้างนางในสนามรบเช่นกัน ด้านจิตรางคทาได้ย้ำว่า ตนเองอัปลักษณ์ไม่คู่ควรกับเจ้าชายอรชุน แต่เจ้าชายอรชุนได้กล่าววา่ เมื่อพระองค์รักนางด้วยพระทัย ทุกสิ่ง ในโลกนีก้ ส็ วยงามไปหมด และยนื ยันวา่ ความรกั ของพระองค์ที่มีต่อนางจะยั่งยืนตลอดไป มใิ ชค่ วามรกั ฉาบฉวย เพียงช่ังหนง่ึ ปีอันเกิดจากเทวานภุ าพของพระกามเทพเชน่ ทผี่ า่ นมา

13 20. สีดา จากเรือ่ ง รามเกียรต์ิ นางสีดาคือพระลกั ษมีจุตลิ งมาตามบัญชาของพระอิศวรเพื่ออัญเชญิ พระนารายณ์อวตาร นางสีดาเกิด จากนางมณโฑและทศกัณฐ์ พิเภกไดท้ ำนายดวงชะตานางสีดาว่าจะเกิดมาทำลายเผา่ ยักษ์ นางจึงถูกทิ้งให้ลอย น้ำมาในผอบทอง ดังนั้นพระฤาษีชนกก็รับเลี้ยงนางสีดาเป็นธิดา ต่อมาเมื่อนางได้อภิเษกกับพระราม และเกิด เหตุการณ์วุ่นวายขึ้นเมื่อนางถูกทศกัณฐ์จับตัวไปเพื่อให้เป็นมเหสีเนื่องจากความงามเป็นเลิศของนาง จึงเกิด การรบกนั ระหวา่ งฝ่ายพระรามและทศกณั ฐ์ ซ่ึงเปน็ สาเหตุที่ทำให้เกิดเรือ่ งรามเกียรต์ิข้นึ ทั้งนี้ ลักษณะนิสัยนางสีดาเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อสามีอย่างเป็นเลิศ เช่น ในตอนที่พระรามต้อง ออกดินป่า นางก็ขอตามเสด็จไปดว้ ยโดยไปเกรงกลวั ต่อความยากลำบากทีจ่ ะต้องพบ นางสีดานนั้ รักนวลสงวน ตัว รกั ในเกียรติของตนเอง เชน่ ในตอนทห่ี นุมานอาสาจะพานางกลับไปหาพระรามโดยใหน้ ่งั บนมอื ของหนุมาน นางก็ปฏิเสธทง้ั ทม่ี โี อกาสหนี แต่ด้วยเหตทุ ่ีไม่อยากใหใ้ ครมาถูกเนื้อต้องตวั จงึ ยอมทนทุกข์อยเู่ มืองลงกาต่อ สว่ นการมคี วามกล้าหาญเด็ดเด่ยี ว เชน่ ตอนทีน่ างสีดายอมลุยไฟเพื่อแสดงความบรสิ ุทธ์ิของตน นางสี ดามีความรู้คุณ กตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เช่น ในตอนที่นางสีดากล่าวขอบคุณพระลักษมณ์ที่ช่วยเหลือนางมา ตลอด เมื่อรู้ว่าตนทำผิดก็รู้จักขอโทษ เช่น ในตอนที่รู้ว่าตนทำผิดที่ไม่เชื่อคำของพระรามว่าเป็นกลลวงของ ยักษาท่ีแปลงกายเปน็ กวางเพื่อหลอกล่อนาง แตน่ างก็ไม่ฟงั จึงได้กลา่ วขอพระราชทานอภัยโทษจากพระรามที่ ได้กระทำผิดไป นางเป็นคนใจแข็ง ไม่ยอมเชื่อใครโดยง่าย ทั้งยังรักศักดิ์ศรีของตน เช่น ในตอนที่พระรามตาม งอ้ ขอคืนดี นางกป็ ฏิเสธไปเพราะยงั มีทฐิ ิ 21. เบญจกาย จากเร่ือง รามเกยี รต์ิ นางเบญกาย เป็นธิดาของพิเภกและนางตรีชฎา ในคราวที่ทศกัณฐ์ทราบว่า พระรามยกทัพข้ามมาถึง กรงุ ลงกา ทศกณั ฐ์ได้สงั่ ให้นางเบญกายแปลงกายเป็นนางสดี าแกล้งทำเป็นตายลอยน้ำไปทค่ี ่ายพระราม เพื่อให้ พระรามหมดกำลังใจรบ จะไดย้ กทัพกลบั ไป ด้านนางเบญกายทำตามบัญชาของทศกัณฐ์ เมื่อพระรามเห็นศพนางสีดาลอยน้ำมาก็เสียใจมากที่ต้อง มาสญู เสยี นางอนั เป็นทรี่ ักไป พาลตอ่ วา่ หนุมานทห่ี นุมานเข้าไปเผากรุงลงกาในคราวนนั้ ทศกัณฐ์คงเจ็บใจและ สังหารนางสีดา แต่หนุมานรู้สึกถึงความผิดปกติ จึงทูลขอศพนางสีดานั้นไปเผาไฟ ทำให้นางเบญกายทนไม่ได้ ตอ้ งกลับคืนรา่ งเดมิ กอ่ นเหาะขนึ้ ฟา้ ไป แต่ก็ถกู หนุมานตามไปจบั ตวั กลับมาได้ แม้โทษของนางเบญกายจะถึงประหารชีวิต แต่เนื่องจากพระรามเหน็ ว่านางเบญกายเปน็ บุตรสาวของ พิเภกผมู้ คี วามยตุ ธิ รรม จงึ ไดป้ ลอ่ ยนางเบญกายไป โดยให้หนุมานไปสง่ นางเบญกายที่กรุงลงกา แตร่ ะหว่างทาง หนมุ านซง่ึ มีจิตปฏิพัทธ์นางเบญกายจงึ ได้เกีย้ วพาราสีจนไดน้ างเบญกายเปน็ ภรรยา

14 22. สพุ รรณมจั ฉา จากเรื่อง รามเกียรต์ิ นางสพุ รรณมัจฉา เป็นธิดาของทศกณั ฐก์ ับนางปลา เปน็ พน่ี ้องร่วมบดิ ากบั นางสีดา ถงึ แม้นางจะเป็นถึง ธิดาของเจ้าผู้ครองกรุงลงกา แต่เจ้าหญิงองค์นี้ ก็ไม่มีโอกาสจะอยู่ในเวียงวังดงั ผู้อืน่ เพราะนางอยู่ได้เฉพาะแต่ ในน้ำ ดังนน้ั ท่อี ยขู่ องนางจงึ อยกู่ ลางทะเลใหญ่ ครั้งเมื่อพระรามจะยกทัพข้ามมหาสมุทรมาตีเมืองลงกา และได้ให้หนุมานกับนิลพัท พาพลวานรเอา หินมากองทำถนนข้ามมหาสมุทร ฝ่ายทศกัณฐ์รู้ข่าวจึงขอให้นางสุพรรณมัจฉาพาบริวารปลาไปคาบก้อนหิน ของฝา่ ยพระรามไปท้งิ ซึ่งนางสพุ รรณมจั ฉาก็ทำตาม จนทำให้การทำถนนไม่สำเร็จ เม่ือหนมุ านมีความสงสัยจึง ไดด้ ำน้ำลงไปใต้สมุทรพบฝงู ปลากำลงั ขนหิน โดยมีนางสุพรรณมัจฉาเป็นหัวหน้า หนมุ านจงึ ชกั ตรีออกมาไล่ฆ่า นางสพุ รรณมัจฉา แต่ในท่สี ุดหนุมานกลบั เกิดความรักต่อนางและไดน้ างสุพรรณมจั ฉาเปน็ ภรรยา 23. ทิพเกสร จากเรอ่ื ง ลักษณวงศ์ ทา้ วพรหมทตั มมี เหสี ชือ่ สุวรรณอำภา และมพี ระราชโอรส ชือ่ ลกั ษณวงศ์ วันหนึ่งท้าวพรหมทัตทรง พามเหสีพร้อมพระราชโอรสเสด็จประพาสปา่ จนพบนางยักษ์แปลงเป็นสาวสวยทำเล่ห์กลจนท้าวพรหมทัตลุ่ม หลง ต่อมาท้าวพรหมทัต ได้จงึ สง่ั ประหารมเหสแี ละพระโอรส แตเ่ พชฌฆาตสงสารจงึ ปลอ่ ยไป ต่อมานางสุวรรณอำภาถูกพระยายักษ์พาตัวไป ขณะที่ฤาษีนำพระลักษณวงศ์ไปเลี้ยงคู่กับนางทิพย์ เกสร เมอื่ โตขึน้ เรียนวิชาจนสำเรจ็ และได้นางทิพย์เกสรเป็นชายา พระลกั ษณวงศ์ไดฝ้ ากนางทิพเกสรไว้กับฤาษี เพอ่ื ออกตามหามารดาจนพบและ ก้บู า้ นเมืองได้ แต่ตอนนน้ั พระลักษณวงศ์ไดน้ างยี่สนุ่ เป็นชายา เมื่อนางทิพย์ เกสรปลอมเปน็ พราหมณห์ นุ่มติดตามมาจนพบพระลักษณวงศแ์ ละทราบเร่ืองของนางย่ีสุ่นดว้ ยความน้อยใจ จึง ไมแ่ สดงตนให้พระลกั ษณวงศร์ ู้ ด้านนางยี่สุน่ ริษยาทีเ่ ห็นสวามโี ปรดพราหมณ์หนุ่มมากถึงขั้นอนญุ าตให้เข้ามานอนในห้องเดียวกัน ทำ ให้นางย่ีสุ่นเกิดริษยา จึงออกอุบายเพื่อกำจัด จนกระทั่งพราหมณ์เกสรถูกสัง่ ประหารชีวิต และเมื่อพระลกั ษณ วงศ์ได้รคู้ วามจรงิ กโ็ ศกเศร้าเสยี ใจมาก เพราะไดส้ ง่ั ประหารมเหสีอนั เป็นทร่ี กั โดยไม่รู้ตวั จนถึงวันเผาศพนางทิพเกสร วิญญาณของฤาษีมหาเมฆ พระอาจารย์ของพระลักษณวงศ์และนางทิพ เกสรได้ลงมาเปิดโกศเพื่อนำศพของนางทิพเกสรไปทำพิธีชุบชีวิตขึ้นมาใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น นางจันทรังสี เมื่อพระลักษณวงศ์พบว่า ศพของนางทิพเกสรหายไป ก็ให้โหราจารย์ทำนายดู จนทราบว่า มีผู้นำศพของนาง ทิพเกสรไปทำพิธีชุบชีวิต พระลักษณวงศ์ดีจึงออกตามหานางทิพเกสร ซึ่งกว่าจะตามหานางทิพเกสรพบก็ผ่าน เรื่องราวอีกมากมาย แตส่ ดุ ทา้ ยจบลงอยา่ งมีความสุข

15 24. กนกเรขา จากเรอื่ ง กนกนคร พญากมลมิตร ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ในหมู่คนธรรพ์ได้นางอนุศยินีนางฟ้ารูปงามเป็นคู่ครองตามพรของพระ อิศวร กมลมิตรคุยโอ้อวดกับเพื่อนคนธรรพ์ถึงความงามของภรรยาของตนว่า อาจยั่วตบะของฤาษีตนหนึ่งได้ ดังนั้น จึงถูกฤาษสี าปลงมาเกิดในโลกมนษุ ย์ นางอนุศยินี เป็นธิดากษัตรยิ ์เมืองอินทิราลัย ได้นามว่า กนกเรขา เมื่อเจริญวัยนางไม่พอใจชายใด แต่ พระบิดารบเร้าจะให้มีคู่ครอง ในที่สุดนางรับจะอภิเษกกับชายที่มาจากกนกนครตามนิมิตฝัน พระบิดาจึงป่าว ประกาศว่า ชายใดที่เคยเห็นกนกนครจะยกพระราชธดิ าให้ ขณะท่พี ญากมลมิตรถูกสาปไปเกดิ เป็นโอรสกษัตริย์ ทรงพระนามว่า อมรสิงห์ และไมค่ ดิ มคี เู่ ช่นเดยี วกับนางกนกเรขา เมอ่ื พระบิดาเรง่ รัดให้อภเิ ษกกับเจ้าหญิงองค์ ใดองค์หนึ่ง อมรสิงห์ก็แย้งว่าเป็นหญิงอย่างในนิมิตฝันเท่านั้น ทำให้พระบิดาทรงกริ้วจึงให้นำไปจองจำไว้ แต่ เมื่ออมรสิงห์หนีไปได้ พระองค์ก็ได้จึงเดินทางไปถึงเมืองของนางกนกเรขาและเข้าไปลวงนางว่าเคยเห็นกนก นคร เม่ือนางจับพริ ุธกข็ ับไลไ่ ป หลังจากนั้นอมรสิงห์จึงออกค้นหากนกนครจนกระทั่งพบศพนางกนกเรขาที่เมืองนั้น พอตื่นขึ้นอมร สิงห์รู้สึกตัวว่ากลับมาอยู่เมืองอินทิราลัย จึงขออนุญาตเข้าไปเล่าเรื่องกนกนครให้นางกนกเรขาฟัง เมื่อนาง ระลกึ ความหลังไดว้ ่า อมรสิงหเ์ คยเปน็ พระสวามี แตจ่ ะตอ้ งพรากกันอกี เม่ือครบสองคร้ังแลว้ จึงจะได้อยู่ร่วมกัน อย่างสุขสบายเช่นเดิม หลังจากนั้นไม่นานนางก็สิ้นชีพลง ฝ่ายอมรสิงหเ์ มือ่ เหน็ นางกนกเรขาส้ินใจไปต่อหน้าก็ เสยี ใจซดั เซพเนจรไปส่ปู า่ โดยไม่รวู้ า่ วิญญาณของนางกนกเรขาได้กลบั ไปส่รู ่างที่กนกนคร ซง่ึ ภายหลงั ทง้ั สองได้ รอนแรมผจญอปุ สรรคตา่ ง ๆ จนกระท่งั พน้ จากคำสาปและได้กลับขึน้ ไปอยู่บนเมอื งสวรรค์ด้วยกนั ในทส่ี ุด 25. อษุ า จากเรือ่ ง อณุ รทุ พระยายักษ์ชอ่ื ท้าวกรงุ พาณ ครองรตั นานคร ประพฤตเิ ป็นพาล กอ่ ความเดือดรอ้ นแกเ่ หล่าเทวดาและ นางฟ้า ครั้งหนึ่งทำอุบายลอบเข้าชมนางสุจิตรามเหสีของพระอินทร์ พระอิศวรจึงต้องทูลเชิญพระนารายณ์ อวตารลงมาเกิดในเมืองณรงกา ทรงพระนามว่าพระบรมจักรกฤษณ์ มีมเหสีชื่อจันทมาลีและพระโอรสชื่อไกร สุท ต่อมาพระไกรสุทได้อภิเษกกบั นางรัตนา มีโอรสช่อื อณุ รุท ซ่งึ ไดอ้ ภิเษกกบั นางศรสี ุดา นางสุจิตรามีความแค้นเคืองท้าวกรุงพาณและปรารถนาจะจุติไปเกิดในโลกมนุษย์เพื่อแก้แค้น พระ อินทร์จึงพานางไปเฝ้าขอพรจากพระอิศวร นางได้รับเทวบญั ชาให้ไปเกิดในดอกบัว ซึ่งฤาษีสุธาวาสเก็บไปเลีย้ ง และตั้งชื่อว่า นางอุษา ต่อมาท้าวกรุงพาณก็ขอนางไปเลี้ยงดูเป็นธิดาบุญธรรม วันหนึ่งพระอุณรุทได้พานางศรี สุดาประพาสปา่ ล่าสัตว์ พระอินทรใ์ ห้มาตลุ ีแปลงเป็นกวางทองมาล่อ นางศรสี ุดาใคร่ได้กวางทองจึงของให้พระ อุณรุทไล่จับ กวางทองจึงแสร้งหนีไปทางด้านที่พระอุณรุทสกัดอยู่ พระอุณรุทให้นางศรีสุดากลับเข้าเมืองไป กอ่ น สว่ นพระองค์จะไลจ่ บั กวางต่อไป โดยมีราชบริพารสว่ นหนึ่งตามเสดจ็ จนไดพ้ ักแรมท่ีรม่ ไทรใหญ่

16 ก่อนบรรทมพระอุณรุทบวงสรวงขอพรพระไทรเทพารักษ์ ด้านพระไทรทรงเมตตาอุ้มไปสมนางอุษา และสะกดไม่ให้ท้ังสองพูดจากนั พอใกลร้ ุ่งก็อุ้มพระอุณรุทกลบั มาท่เี ดิม พระอุณรุทกค็ รำ่ ครวญถึงนางอุษา จน พระพี่เลี้ยงต้องพากลบั เมือง ฝ่ายนางอุษาก็เศร้าโศกถึงพระอุณรุท นางศุภลักษณ์พรพี่เลี้ยงใคร่ทราบว่าชายใด ที่นางอุษาหลงรัก จึงวาดรูปเทวดาและกษัตริย์ให้นางชี้ตัว ครั้นทราบว่าเป็นพระอุณรุทจึงเหาะมาสะกดไว้ที่ พระตำหนกั ด้านทศมุขอนุชาของนางอุษาทราบความจึงไปบอกท้าวกรุงพาณบิดา ท้าวกรุงพาณขอให้ท้าวกำพล นาค ซึ่งเป็นสหายมาร่วมรบกับพระอุณรุท ท้าวกำพลนาคจับพระอุณรุทมดั ตอนหลบั แล้วนำไปประจานท่ียอด ปราสาท เทวดาทั้งหลายทราบข่าวก็พากันไปกราบทูลพระบรมจักรกฤษณ์ พระองค์ทรงครุฑมาช่วยพร้อมกับ มอบธำมรงคว์ เิ ศษไว้ให้ เมอื่ พระอุณรุทปราบทา้ วกรุงพาณได้ก็อภิเษกทศมุขขึ้นครองเมืองแทน โดยพระอุณรุท กับนางอษุ ากลบั ไปครองเมืองณรงกา แมน้ างศรีสุดาแมเ้ กดิ ความหึงหวงแตก่ ส็ ามารถประนีประนอมในภายหลัง ได้ 26. เอ้ือย จากเร่ือง ปลาบู่ทอง เศรษฐที ารก (อา่ นวา่ ทา-ระ-กะ) มีภรรยา 2 คน คนแรกชอื่ ขนษิ ฐา มลี ูกสาวชือ่ เอ้ือย ส่วนคนท่ีสอง ชือ่ ขนิษฐี มลี ูกสาวช่อื อา้ ย และ อ่ี วันหนึง่ เศรษฐที ารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง แตไ่ ม่วา่ จะเหว่ียงแหไปกี่ ครงั้ ก็ไดเ้ พยี งปลาบูท่ องท่ตี งั้ ทอ้ งตวั เดยี ว จนกระท่ังพลบค่ำเศรษฐีจงึ ตดั สนิ ใจทจ่ี ะนำปลาบู่ทองตวั นนั้ กลบั บ้าน ทว่า ขนิษฐา สงสารปลาบู่ จึงขอให้สามีปล่อยปลาไป ด้านเศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนาง ขนิษฐาจนตายก่อนโยนร่างทิ้งลงคลอง จากนั้นนางขนิษฐาจึงกลายเป็นปลาบู่ทองมาคอยฟังเอื้อยปรับทุกข์ เนอ่ื งจากถกู นางขนิษฐแี ละลกู ๆ กลน่ั แกลง้ ตลอดเวลา โดยเศรษฐที ารกไม่รับรู้และไมส่ นใจ เมื่อนางขนิษฐีและลูก ๆ ทราบเรื่องปลาบู่ทอง จึงได้หาหนทางกำจัด และยังคงหาวิธีกลั่นแกล้งเอื้อย อย่ตู ลอดเวลา จนกระทง่ั พระเจ้าพรหมทัตไดม้ าพบกับเอ้ือย เมอ่ื ทั้งสองเกดิ ต้องตาต้องใจกัน พระเจ้าพรหมทัต จงึ ชวนเอ้อื ยเข้าไปอยู่ในวังและแตง่ ตง้ั ให้เป็นพระมเหสี ดา้ นนางขนษิ ฐแี ละลกู สาวท่ีนึกอิจฉาก็ได้ออกอุบายเพ่ือ ลวงเอื้อยไปฆา่ กอ่ นทจ่ี ะให้ลกู ตนสวมรอยเปน็ พระมเหสีแทน ในตอนท้ายเมื่อพระเจ้าพรหมทัตทราบความจริง ทั้งหมด พระองค์จึงสั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และนางขนิษฐี ก่อนไปรับเอื้อยที่พระฤาษีช่วยชีวิตไว้ เพื่อกลับมา ครองบลั ลังก์ร่วมกันอกี คร้ัง 27. นางไอ่ จากเร่อื ง ผาแดง-นางไอ่ เร่อื งท้าวผาแดงกับนางไอ่ เป็นตำนานที่ผูกพนั กับ ทะเลสาบหนองหาร จ. สกลนคร ตามตำนานเล่าว่า เดิมบริเวณท่ีหนองหารนั้น เคยเปน็ เมืองใหญ่ช่ือว่า เอกชะทีตา มพี ระยาขอมองคห์ น่งึ ปกครองอยู่ พร้อมมเหสี นามวา่ นางจันทร์เทยี ม ซ่ึงพระยาขอมมธี ดิ าซงึ่ มรี ูปโฉมงดงามชื่อ นางไอค่ ำ หรอื บางทกี เ็ รยี กว่า นางไอ่

17 เมอื่ นางไอม่ อี ายุได้ 15 ปี ความงามของนางเป็นท่ีเลอื่ งลอื มาก จน ทา้ วผาแดง กษัตริย์แหง่ เมอื งผาโพง ต้องเสด็จมายังเมืองเอกชะทีตาเพื่อชมความงามของนาง จากนั้นทั้งสองได้ผูกพันกันทั้งกายและใจ แต่ท้าวผา แดงตอ้ งลานางไอ่เพื่อกลับไปยงั เมอื งผาโพง โดยสญั ญาว่าจะรบี กลบั มาสขู่ อตามประเพณีโดยเรว็ ทวา่ ฝ่ายพระยาขอมทีไ่ ม่ทราบเรื่องดังกลา่ ว เมื่อเห็นว่าธิดาเจรญิ วยั ควรมีคูค่ รองได้แลว้ จึงไดป้ ระกาศ วา่ หากผูใ้ ดปรารถนาไดน้ างไอไ่ ปเป็นคู่ ใหท้ ำบอ้ งไฟมาประกวดกนั ใครสามารถจุดบอ้ งไฟใหข้ ึ้นไปสงู ที่สุดผู้นั้น จะไดเ้ ป็นสวามีของนางไอ่ แตท่ า้ วผาแดงกลบั พ่ายแพใ้ นการแขง่ คร้ังนนั้ ขณะเดียวกัน บุตรชายของพญานาค ชื่อ สุวรรณภังคี ที่ได้ยินคำร่ำลือถึงความงามของนางไอ่ ก็ได้ แปลงรา่ งเป็นกระรอกเผือกท่ีมีแหวนศักด์ิสิทธิห์ ้อยไว้ท่ีคอ เพอ่ื มาชมความงามของนาง ทว่า สุวรรณภังคีได้ถูก ทหารยิงตาย เพราะนางไอ่ตอ้ งการแหวนศักดสิ์ ิทธว์ิ งดงั กล่าว เมอ่ื ข่าวการตายของสุวรรณภังครี ู้ถึงพญานาคผเู้ ป็นบิดา พญานาคจงึ พาบริวารมาถล่มเมืองเอกชะทีตา จนกลายเปน็ ทะเลสาบกวา้ งใหญ่ คือ ทะเลสาบหนองหาร สว่ นทา้ วผาแดงที่พานางไอ่ข้นึ หลังม้าหนีการทำล้าย ล้างเมอื งของพญานาค เกดิ พบกับแผน่ ดินถลม่ ระหว่างทาง จนทำให้นางไอ่พลดั ตกลงจากหลงั ม้าเสียชีวิต ทำให้ ทา้ วผาแดงตอ้ งเดินทางกลบั เมอื งผาโพงตามลำพัง ดังนั้น จึงเชื่อกันว่างานเซิ้งบั้งไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องมาจากการจุดบ้อง ไฟเพอ่ื ชว่ งชิงนางไอไ่ ปเปน็ ค่คู รอง จนตอ่ มาไดม้ ีการปฏิบัติกนั เปน็ ประเพณปี ระจำปี และรักษากันไวจ้ นทกุ วันน้ี 28. โมรา จากเรอ่ื ง จันทโครพ เจ้าชายจนั ทโครพได้ไปศึกษาเลา่ เรียนอยู่กับพระฤาษีอัศโมพระโคดมจนกระทง่ั สำเร็จวิชา วันหน่ึงพระ ฤาษไี ดม้ อบผอบทองให้ โดยกำชับกบั เจ้าชายจันทโครพว่า อยา่ เพิ่งเปิดผอบระหวา่ งทาง แต่ความท่ีอยากรู้ว่ามี อะไรอยู่ในน้ัน ทำใหจ้ นั ทโครพตดั สินใจเปดิ ผอบออกดู จนไดพ้ บกับนางโมราซึ่งเป็นหญิงทีเ่ กดิ จากการปลุกเสก จากขนนกยูง ดังนั้นจึงมีรูปร่าง หน้าตา งดงามมาก และเมื่อเจ้าชายจันทโครพได้เห็นนางโมราก็เกิดหลงรัก ทันที และไดน้ างเป็นชายาทก่ี ลางป่านนั่ เอง ขณะท่ีทั้งคู่เดินทางกลับเมืองได้ถกู โจรปา่ ปล้น โดยโจรหวงั จะชิงนางโมราไปจงึ เกิดการต่อสู้กัน แต่นาง กลับหนั ไปช่วยโจรป่าแทน จนทำใหเ้ จ้าชายจันทโครพถูกตาย เมือ่ โจรได้นางโมราไปแลว้ ก็เกดิ ไม่แน่ใจ กลัวถูก ทรยศเหมอื นเจ้าชายจนั ทโครพ โจรปา่ จึงแอบหนีนางไป ทำใหโ้ มราตอ้ งระหกระเหนิ หิวโหยอยใู่ นป่า จากนั้นเมื่อพระอินทร์มาเห็นเข้าก็นึกเวทนา จึงแปลงร่างเป็นเหยี่ยวคาบชิ้นเนื้อมาลองใจนาง โดยมี เง่อื นไขว่าเมื่อใหช้ ้ินเนื้อแลว้ นางตอ้ งยอมมาเป็นภรรยาของตน ซึง่ นางโมราก็มไิ ด้ขดั ขืนแต่อย่างใด พระอินทร์ เห็นเช่นนั้นจึงโกรธและหาว่านางเป็นหญิงมักมากในกาม โดยไม่เลือกว่าเป็นโจรหรือสัตว์ จึงสาปนางให้ กลายเปน็ ชะนี ส่งเสียงรอ้ งโหยหวนเรียกหาสามีของตนตลอดไป

18 29. แกว้ จากเรอื่ ง แกว้ หน้าม้า นางแก้ว เป็นธิดาสามัญชนชาวเมืองมิถิลา เหตุที่นางมีชื่อเชน่ นี้เพราะก่อนตั้งครรภ์ผู้เป็นมารดาได้ฝัน ว่าเทวดานำแก้วมาให้ แต่เนื่องจากใบหน้าเหมือนมา้ ชาวบ้านจงึ เรียกว่า นางแก้วหน้าม้า วันหนึ่งนางแก้วเกบ็ ว่าวจุฬาของพระปิ่นทองได้ เมื่อพระปิ่นตามมาขอวา่ วคืน นางแก้วจึงขอคำสัญญาว่า ถ้าคืนว่าวต้องกลับมารับ นางเข้าวังไปเป็นมเหสี ซงึ่ พระปิน่ ทองก็ยอมรับปากเพยี งเพราะหวงั อยากไดว้ ่าวคืน เม่ือนางแก้วรออยู่หลายวัน กไ็ มเ่ ห็นพระปิ่นทองมารบั นางจงึ เลา่ เร่อื งให้พอ่ กับแม่ฟังและขอให้ช่วยไปทวงสัญญา เมื่อพ่อแม่นางไปทวงสัญญา ท้าวภูวดลทรงกริ้วมากนึกว่าทั้งสองปั้นเรื่องจึงตรัสให้นำตัวไปประหาร แตพ่ ระนางนันทาได้เรยี กพระโอรสมาสอบถามจนทราบเร่ือง ดังนั้นพระนางนันทาจึงสั่งให้ไปรับตัวนางแก้วมา อยู่ในวัง ด้านท้าวภูวดลกับพระป่ินทองท่ีต่างรังเกียจรูปร่าง หน้าตา รวมถึงกริยามารยาทกระโดกกระเดกของ นางแกว้ เหมอื นกัน ท้ังสองจึงคดิ หาทางกำจดั นางแก้ว แมว้ ่าพระนางนนั ทาจะเอ็นดนู างแกว้ ก็ตาม ต่อมาท้าวภูวดลกับพระปิ่นทองได้ออกอุบายให้นางแก้วไปยกเขาพระสุเมรุมาไว้ในเมืองภายใน 7 วัน หากทำไม่สำเร็จจะต้องได้รับโทษประหาร แต่ถ้าทำได้จะจัดพิธีอภิเษกสมรสกับพระปิ่นทอง ซึ่งนางแก้วได้รับ ความช่วยเหลือจากเหล่าทวยเทพ และพระฤาษี ช่วยถอดหน้าม้าให้ จนนางแก้วกลายเป็นหญิงงาม ทั้งยังช่วย ใหน้ างสามารถยกเขาพระสุเมรมุ าไว้ในเมืองได้สำเร็จ ทว่า ชวี ติ นางกไ็ ม่ราบรนื่ นัก เนือ่ งจากท้าวภวู ดลและพระป่นิ ทองไม่ชอบในรปู ลักษณภ์ ายนอกของนาง เพราะยังเห็นว่านางเป็นแก้วหน้าม้า แต่ด้วยความดี และความสามารถของนาง สุดท้ายนางแก้วจึงสามารถ เอาชนะใจทั้งคู่ได้ โดยในภายหลังนางแก้วได้ยอมถอดหน้าม้าออก เมื่อท้าวภูวดลและนางนันทาทราบเรือ่ งก็ดี พระทยั นกั ก่อนจัดพธิ อี ภเิ ษกสมรสใหน้ างแก้วเปน็ มเหสีของปิ่นทองอย่างเอิกเกริก พร้อมตง้ั ชอ่ื ใหม่ให้นางแก้ว วา่ มณรี ัตนา จากนัน้ นางแก้วจงึ ใหค้ นไปรับพ่อกับแม่มาลย้ี งดใู นวังอย่างมีความสขุ 30. โสนนอ้ ย จากเร่ือง โสนนอ้ ยเรือนงาม เมอื่ ครั้งพระราชธิดาของกษัตริย์นครโรมวสิ ยั ประสตู ิได้มีเรือนไม้เล็ก ๆ ติดมือออกมาด้วย เม่ือพระธิดา เจรญิ วยั ขน้ึ เรอื นไมน้ ้ีกโ็ ตขน้ึ ตาม ดังนนั้ พระบดิ าจงึ ต้งั ชือ่ พระธิดาว่า โสนนอ้ ยเรอื นงาม เม่ือโสนน้อยเรือนงาม มอี ายุ 15 ปี โหรทลู ว่านางกำลังมีเคราะห์ ควรใหอ้ อกไปจากเมือง พระบิดาและพระมารดาจึงจำใจต้องให้โสน นอ้ ยเรือนงามออกจากเมืองไปโดยลำพัง ด้านพระอินทร์มีความสงสารนาง จงึ แปลงร่างเป็นชีปะขาวมามอบยา วิเศษสำหรับรักษาคนตายให้ฟื้นได้ เมื่อโสนน้อยเรือนงามพบนางกุลาถูกงูกัดตายในป่า นางจึงนำยาของ ชีปะขาวมารกั ษานางกลุ า ดังนัน้ นางกุลาจงึ ขอเปน็ ทาสตดิ ตามโสนน้อยเรอื นงามไปดว้ ย ด้านกษัตริย์นครนพรัตน์เมืองใกล้เคียงโรมวิสัยมีพระราชโอรสนามว่า พระวิจิตรจินดา แต่พระวิจิตร จินดาถูกงูพิษกดั จนส้ินพระชนม์ พระบิดาและพระมารดาเศร้าโศกเสยี ใจมาก แตโ่ หรทลู ว่า พระวิจิตรจินดาจะ

19 สิ้นพระชนม์เพียง 7 ปี แล้วจะมีพระราชธิดาของเมืองอืน่ มารักษา พระบิดาและพระมารดาจงึ เก็บพระศพของ พระวจิ ิตรจินดาไว้ และประกาศหาคนมารักษา เมื่อโสนน้อยเรือนงามและนางกุลาเดินทางมาถึงเมืองนพรัตน์และได้ทราบจากประกาศ นางจึงเข้าไป ในวงั และอาสาทำการรกั ษาพระวจิ ิตรจินดา โดยขอใหก้ น้ั ม่านเจด็ ช้ันไมใ่ หใ้ ครเห็นเวลารักษา เมือ่ โสนน้อยเรอื น งามทายาให้พระวิจิตรจินดา พิษของนาคราชทำให้นางรู้สึกร้อนมาก นางจึงถอดเครื่องทรงพระราชธิดาออก แล้วเสด็จไปสรงน้ำ ระหว่างนั้นนางกุลาได้นำเครื่องทรงของโสนน้อยเรอื นงามมาใส่ พอดีกับที่พระวิจิตรจนิ ดา ฟ้นื ข้ึนมา ทกุ คนจึงคิดวา่ นางกลุ าเป็นพระราชธดิ าทรี่ กั ษาพระวจิ ติ รจนิ ดา แต่ในท้ายที่สุดเมื่อพระวิจิตรจินดาทราบว่า โสนน้อยเรือนงามเป็นพระราชธิดาที่รักษาตน จึงได้สั่งให้ ประหารนางกุลาที่โกหกหลอกลวง แต่โสนน้อยเรือนงามได้ขอชีวิตนางกุลาไว้ จากนั้นพระวิจิตรจินดาจึงได้ อภิเษกกบั โสนน้อยเรอื นงามและอยู่ดว้ ยกนั มีความสุข 31. แตงอ่อนอรดี จากเร่ือง เจ้าหญงิ แตงออ่ น เจ้าหญิงแตงอ่อนอรดี เปน็ ธดิ าของกษตั รยิ เ์ มืองตะนวู ดี มพี ่ชี ายชอ่ื เจา้ ชายสุดชฎา และมีพี่ชายต่างมารดาชื่อ พระไวยราช ทั้งนี้ พระไวยราชถูกมนต์สะกดของอสูรร้ายให้กระทำการชั่วต่าง ๆ นานา ทง้ั ยึดเมืองและต้องการได้นางแตงอ่อน นอ้ งสาวตา่ งมารดามาเป็นมเหสี เมื่อนางแตงอ่อนไม่ยินยอมจึงถูกฆ่าตาย ด้านพระสุดชฎาที่เสียใจมากได้อุ้มศพนางแตงอ่อนหนีไปถึง หน้าผาในป่า และตั้งใจจะกระโดดหน้าผาฆ่าตัวตายตามน้องสาว พระอินทร์จึงแปลงร่างลงมาขัดขวางและ เกลี้ยกล่อมให้พระสุดชฎายอมรับอาหารที่ตนมอบให้ พระสุดชฎาจึงป้อนอาหารให้ศพเจ้าหญิงแตงอ่อน จนกระทง่ั นางจงึ ฟ้ืนขึ้นมา จากนั้นทัง้ สองจงึ ไดซ้ ดั เซพเนจรไปอาศัยอยู่ในกระท่อมเลก็ ๆ ที่ชายเขตแดนเมืองโกสี ซึ่งใต้ดินทีป่ ลูก กระท่อมนั้นมีถ้ำพญาจระเข้จำศีลอยู่ นางแตงอ่อนเผลอเทน้ำข้าวเดือดลงไปบนพื้นดิน พญาจระเข้ที่จำศีลอยู่ เมื่อถูกน้ำข้าวเดือดลวกจงึ ออกจากถำ้ ขึน้ มาบนบึงน้ำ เมื่อเกล็ดจระเข้กระเดน็ ตกลงไปในหมอ้ ข้าว ทันทีที่พระ สดุ ชฎาเสวยข้าวปนเกล็ดจระเขล้ งไป ทำใหพ้ ระสดุ ชฎากลายเป็นจระเข้ พระสดุ ชฎาจึงบอกให้นางแตงอ่อนปัก ปน่ิ ลงบนศีรษะตน เพ่ือจะไดเ้ ป็นท่ีสงั เกตและแยกออกวา่ จระเข้ตวั ไหนเปน็ พช่ี ายของนาง ขณะเดียวกันเจ้าชายไพรงามแห่งเมืองโกสีออกประพาสป่ามาพบนางแตงอ่อนก็เกิดหลงรักจึงรับนาง ไปเป็นชายา และพาจระเข้พระสุดชฎาเข้าไปเลี้ยงในวังด้วย แต่พวกนางสนมของพระไพรงามอิจฉาริษยานาง แตงอ่อน จึงออกอุบายสับเปลี่ยนโอรสของนางแตงอ่อนและใส่ร้ายว่านางคบชู้ พระไพรงามโกรธจึงขับไล่นาง แตงอ่อนและจระเข้พระสดุ ชฎาออกจากเมอื ง พระอินทร์นึกสงสารจึงให้นางแตงอ่อนบำเพ็ญพรตเพื่อช่วยให้พระสุดชฎากลับคืนร่างเป็นมนุษย์ ฝ่าย โอรสของนางแตงอ่อนท่ีถกู นำไปฝังไดน้ างไม้พฤกษาช่วยไว้ และตงั้ ชื่อว่า เกตทุ พิ ย์บดี เมือ่ เกตุทิพย์บดีเจริญวัย

20 จงึ กลับเขา้ เมอื งโกสแี ละบอกความจริงทัง้ หมด นางสนมจงึ ถูกเนรเทศ พระไพรงามและเกตทุ ิพยบ์ ดีออกตามหา นางแตงอ่อนและพยายามคนื ดี แตร่ ะหวา่ งเดินทางกลบั เมือง นางแตงอ่อนถูกพญายกั ษล์ กั พาตวั ไป ท่เี มืองของพญายกั ษ์มีกุมารีเกิดข้ึนในดอกบัว พญายกั ษ์ต้งั ชอ่ื ใหว้ า่ ปทุมวดี เจ้าหญงิ ปทุมวดีสนิทสนม กับนางแตงอ่อนจนเรียกว่าแม่ ทำให้มเหสียักษ์ไม่พอใจคิดจะทำร้ายนาง พระไพรงามกับเกตุทิพย์บดีตามมา ช่วยและพานางแตงอ่อนกับปทุมวดีกลับเมืองโกสี ระหว่างทางได้พบพระไวยราชที่คลายจากมนต์สะกดของ อสรู ร้าย โดยพระไวยราชต้ังใจจะคืนราชสมบัติให้พระสุดชฎา แต่พระสุดชฎาละจากโลกยี ว์ ิสัยแล้วจึงออกบวช แสวงหาธรรมะ ในขณะท่ีเจ้าหญิงแตงอ่อนได้อยู่พร้อมหน้าโอรสและพระสวามีอยา่ งมีความสขุ 32. จันท์สุดา จากเร่ือง นางผมหอม นางจันท์สุดา เป็นราชธิดาท้าวพรหมจักรแห่งจันทรนคร นอกจากรูปงามแลว้ ยังผมหอมอีกด้วย นางมี ชีวิตอยู่เป็นสขุ จนกระทั่งวันหนึ่งบา้ นเมืองก็เกิดอาเพศ มีนกอินทรียักษ์บินมาโฉบเอาผู้คนไปกินจนเกือบหมด เมือง ด้านท้าวพรหมจักรที่ทรงอับจนหนทาง ด้วยความเป็นห่วงธิดา จึงสั่งให้สร้างกลองใหญ่ขึ้นใบหนึ่ง แล้ว ซอ่ นนางจนั ทส์ ุดาไว้ในนนั้ วันหนึ่ง คาวีชายหนุ่มรูปงามเดิมเป็นลูกโค แต่พระฤาษีชุบชีวิตให้เป็นมนุษย์เดินทางมาถึงจันทรนคร เหน็ ปราสาทราชวังรกร้างกส็ งสัย จึงเข้าไปตรวจตราภายใน จนพบซากโครงกระดูกมนษุ ย์กระจายเกลื่อน และ พบกลองใบใหญผ่ ิดปรกติอยใู่ บหนงึ่ แต่เมือ่ ลองตกี ลองดงั กลา่ วดูกลับไม่มเี สยี งดังออกมา คาวที ี่สงสัยจึงใช้พระ ขรรค์ประจำตัวซงึ่ พระฤาษถี อดดวงใจคาวซี ่อนไว้ในนัน้ แหวกหน้ากลองออกจนพบนางจันทร์สุดา จากนั้นคาวีที่ร่ำเรียนวิชาอาคมมาจากพระฤาษี จึงอาสาให้ความช่วยเหลือ และเมื่อคาวีฆ่านกอินทรี ยักษ์ได้ เขาจึงได้อภิเษกสมรสกับนางจันทร์สุดา แต่วันหนึ่งขณะที่นางจันทร์สุดาอาบน้ำ เมื่อนางสระผมแล้ว เห็นผมร่วงหลายเส้นก็นึกเสียดาย เพราะผมของนางมีกลิ่นหอมจึงเก็บใส่ผอบลอยน้ำไป จนกระทั่ง ท้าวสันนุ ราช กษัตริย์เฒ่าแห่งเมืองพัทธพิสัยทรงเก็บผอบดังกล่าวได้ จึงได้บังเกิดความลุ่มหลงในผมของนางจันทร์สุดา กอ่ นใช้อุบายให้คนนำพระขรรค์ของคาวีไปเผาไฟจนคาวีเสียชีวติ และชงิ นางจันทรส์ ุดามาไดส้ ำเร็จ แต่ท้าวสันนุ ราชไม่อาจเขา้ ใกลน้ างจันทรส์ ดุ าได้ อนั เนื่องมาจากอำนาจความซอ่ื สตั ยท์ น่ี างจันทร์สุดามตี ่อสามี ด้านพหลวิชัยซึ่งแต่เดิมเป็นลูกเสือ ที่พระฤาษีชุบชีวิตให้เป็นมนุษย์พร้อมกับคาวี และเป็นพี่น้องร่วม สาบานกัน รู้สึกสังหรณ์ใจว่าจะเกิดเหตุร้ายกับน้องชาย พหลวิชัยจึงตามหาร่างคาวีจนพบ ก่อนชุบชีวิตให้คืน ชีพ และช่วยเหลือคาวีกำจัดท้าวสันนุราช โดยการเที่ยวประกาศว่าตนเป็นฤาษีมีฤทธิ์สามารถชุบคนแก่ให้ กลับคืนเป็นหนุ่มได้ ท้าวสันนรุ าชท่ีเกิดหลงกล และอยากเป็นหนุ่มรูปงามเพื่อหวังว่านางจันทส์ ุดาจะรับรัก จึง ให้ฤาษีปลอมทำพิธีชุบตัวให้ เมื่อเข้าพิธี พหลวิชัยได้ผลักท้าวสันนุราชตกลงไปตายในหลุมไฟ จากนั้นก็ให้คาวี ปลอมตัวเป็นท้าวสันนุราชองค์หนุ่มออกมาแทน ดังนั้นคาวีกับนางจันทร์ผมหอมจึงได้ครองเมืองพัทธพิสัยนับ แตน่ ั้นเปน็ ต้นมา

21 สำหรับประวัตินางในวรรณคดีทั้ง 32 นางที่ได้กล่าวมานี้ อาจเป็นเพียงแค่เรื่องย่อสัน้ ๆทีท่ ำให้ไดร้ ้จู ัก กับตัวละครเหล่านี้มากขึ้น แต่หากมองในภาพรวมแล้วจะพบว่า ผู้เขียนได้มีการถ่ายทอดคติธรรมหรือได้ สอดแทรกแนวคดิ เก่ยี วกบั การดำเนนิ ชวี ติ ที่เป็นประโยชน์ผา่ นตวั ละครหญงิ เหลา่ นไี้ ว้อยา่ งแนบเนียน คุณสมบตั ิท่ัวไปของนางในวรรณคดี 1. มีกริยามารยาทเรียบร้อย ผ้หู ญิงไทยในสมัยก่อนสว่ นมากมักจะมีกริ ิยามารยาทเรยี บร้อยสมกับเป็น กุลสตรีไทย ซึ่งเหมือนกับนางในวรรณคดีต่างๆหลายคน เช่น นางบุษบา เป็นผู้หญิงที่มีคุณสมบัตินี้อยู่ในตัว เพราะนางเปน็ ผู้มคี วามนอบน้อม มสี มั มาคารวะต่อผ้ใู หญ่ รู้กาลเทศะ พดู จาอ่อนหวาน 2. มีความรกั นวลสงวนตัว ตามขนบธรรมเนียมไทยแตโ่ บราณ การรักษาความบรสิ ทุ ธ์การรกั นวลสงวน ตัวเปน็ เรอ่ื งทส่ี ำคัญยิง่ ซงึ่ ตัวอยา่ งของนางในวรรณคดีน้ีมีความรักนวลสงวนตวั คือ นางวันทอง และนางบุษบา บางคนอาจเห็นว่านางวันทองนั้นหาได้รักนวลสงวนตัวไม่แต่ความจรงิ แล้วนางเป็นคนที่รกั นวลสงวนตวั ดังจะ เหน็ ได้จากคำพูดขอนางกบั พรายแกท้ ี่ไร่ฝ้าย “อันตวั นอ้ งมิใชข่ องอนั เลขขาย จะเรยี งรายกลางหนหาควรไม่” สว่ นความรักนวลสงวนตวั ของนางบษุ บาจะเห็นได้จากการท่ีนางไมย่ อมอเิ หนา ไม่วา่ จะถูกเล้าโลมแค่ ไหนก็ตาม ซง่ึ แสดงใหเ้ ห็นถงึ คุณสมบัติขอ้ น้อี ย่างชัดเจน 3. มีความกล้าหาญ นอกจากผู้หญิงไทยจะมีกริยามารยาทที่อ่อนหวาน รูปร่างหน้าตางดงามแล้ว ผู้ หญิงไทยก็มีความกล้าหาญในตัวมาเป็นเวลานานแล้ว ถ้าดูผ่านทางในวรรณคดีแล้วนั้น นางสุวรรณมาลีและ นางละเวง น่าจะเปน็ ตัวอย่างที่ดีและเห็นไดช้ ดั เพราะนางทงั้ สองสามารถดูแลบ้านเมืองและออกรบโดยไม่กลัว ภัยอันตราย หรือแม้ห่วงชีวิตของตน ซึ่งตัวอย่างความกล้าหาญของสุวรรณมาลี เห็นได้จากตอนที่มีศึกเก้าทัพ มาตีเมืองผลึก “น้องจะขอต่อยุทธ์จนสดุ ฤทธิ์ เอาชีวิตแทนทดบทศรี” 4. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ นางในวรรณคดีซึ่งเป็นตัวแทนของผู้หญิงในสมัยก่อนนั้น ต้องมีหน้าที่ รับผิดชอบในหลายด้าน ไม่ว่าในฐานะลูก ซึ่งเห็นไดชัดในตัวนางบุษบา และนางสุวรรณมาลี โดยที่ทั้งสองมี ความรกั กตัญญูต่อบุพการีของตน ในฐานะภรรยาซ่ึงมีหน้าทีต่ ้องดูแลครอบครวั และเปน็ ภรรยาท่ีดีอาจกล่าวได้ ว่า นางวนั ทองเปน็ ตัวอย่างทดี่ ีในด้านน้ี ส่วนในฐานะแมน่ นั้ นางสุวรรณมาลีและนางวันทองก็มีความรักเป็นห่วง ลกู ของตนอย่างดี 5. ความดี เรื่องความดีของมนุษย์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่คนไทยให้ความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ นางใน วรรณคดีไทยโดยสว่ นใหญ่ จะถกู กำหนดใหม้ ีความดี ดา้ นใดดา้ นหน่ึงหรือหลายๆ ดา้ น แตกต่างกนั ออกไป หาก จะมองความดีในแง่ของความซื่อสัตย์ จะเห็นได้ว่า นางสุวรรณมาลี นางละเวง และนางวันทอง ต่างก็เป็น

22 ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสามี เช่น ตอนที่นางสุวรรณมาลีและนางละเวง ออกบวช ตามพระอภัยมณี '\" ขอตามติดคิดคณุ พระมนุ ี เป็นหลวงชีปรนนบิ ัตดิ ว้ ยศรทั ธา ขา้ นอนกบั ขนุ ช้างก็จรงิ อยู่ แตไ่ ด้ส้รู บกันเปน็ หนกั หนา เสยี ตวั ช่วั ใช่จะตน่ื ตา เพราะพรายเขาเข้ามาสะกดไว้ \" เม่ือเปรียบเทยี บผู้หญงิ ไทยในปัจจุบันกบั นางในวรรณคดีซึ่งเปน็ ตัวแทนของหญงิ ไทยในอดีต จะเห็นได้ วา่ ความคดิ น้ียงั คงเปน็ ที่เชื่อถือและปฏิบัติกนั อยู่ในปจั จุบัน อยา่ งไรกต็ าม เนอ่ื งจากสภาพสงั คมในปัจจุบัน การ อบรมที่ต่างกนั คา่ นิยมทเ่ี ปลี่ยนไป ผู้หญิงในปจั จุบันจึงปฎิบัติแตกต่างกันไป คือ มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อ สามีลดนอ้ ยลงไป 6. ความฉลาดและการรูจ้ ักเข้าสังคม นางในวรรณคดีจำนวนไม่น้อยแสดงให้เห็นความฉลาด และการ รู้จักเข้าสังคมออกมาอย่างเด่นชัด ในเรื่องความฉลาดจะขอยกกรณีของนางวาสิฏฐีเป็นตัวอย่าง นางได้คิดหา อุบายช่วยให้สาตาเคียร สามีของนาง รอดพ้นจากโทษทัณฑ์ ซึ่งจะได้รับหากไม่สามารถจับตัวองคุลีมาลมาได้ โดยนางเสนอให้ทูลเชิญพระเจ้าอุเทนไปพบองคุลีมาล ที่ขณะนี้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว เมื่อได้พบกับองคุลีมาล พระเจ้าอุเทนก็อภัยโทษให้แก่ สาตาเคียร ด้วยความฉลาดของวาสิฏฐี นางได้ถือโอกาสนี้ขอบวชเปน็ ภิกษุณีซง่ึ สาตาเคียรก็ไม่อาจปฏิเสธได้ ส่วนเรื่องการรู้จักเข้าสังคม ก็สามารถเห็นได้จากการประพฤติปฏิบัติของนางใน วรรณคดี เช่น นางละเวง จะปฏิบตั ติ ่อบุคคลต่างๆ ไปตามฐานะ และกาลเทศะ จากตอนท่ีนางพดู คยุ กับกษัตริย์ เมอื งต่างๆ ท่มี าชว่ ยรบนางก็ทำตวั ให้เป็นทร่ี ักใครไ่ ดอ้ ย่างน่าเอ็นดู ดังคำกลอนว่า \" ประภาษพลางทางชม้อยคอยสังเกต ให้สบเนตรหน่อนาถเหมือนมาดหมาย พอแลสบหลบเลย่ี งเมยี งชม้าย แกล้งประปรายให้แตน่ ัยนาฯ \" และเมอ่ื เข้าพบสมเดจ็ พระสงั ฆราช นางกป็ ฏิบัตติ ัวด้วยความอ่อนนอ้ ม ดงั คำกลอนว่า \" นางโฉมยงทรงรนิ สุราถวาย เสนานายหลายคนปรนนบิ ตั ิ \" คติทีไ่ ด้รบั จากนางในวรรณคดี 1. ความฉลาดและมไี หวพริบในการแกป้ ัญหา ความฉลาดเป็นหน่ึงในคุณสมบัติเด่นของนางในวรรณคดสี ว่ นมาก แต่ละนางนนั้ สามารถแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึน้ อย่างชาญฉลาด ไมแ่ พผ้ ู้ชายเลยทเี ดียว อีกทั้งนางยังรจู้ ักวางแผนเลห่ ก์ ลอุบายตา่ ง ๆ เพือ่ ลวงล่อคู่ต่อสู้ ใหต้ กหลุมพรางได้ และนางก็จะได้รับชัยชนะในทส่ี ุด ตัวอย่างเช่น นางละเวง เป็นผ้ทู มี่ ีความฉลาดและมมี านะในการเรยี นรู้ นางละเวงไดค้ รองเมืองลงั กาขณะมีอายุเพียง 16ปี แต่นางก็มีขัตติยะมานะที่จะเป็นกษัตริย์ อีกทั้งนางก็มีความเฉลียวฉลาดในการทำศึกสงคราม โดยการใช้

23 กลวธิ ตี า่ ง ๆ และทา้ ยท่สี ดุ ก็ประสบความสำเร็จ เพราะไดท้ ั้งคนรักและบ้านเมืองก็ไมต่ ้องตกเป็นเมืองข้ึน จึงจะ เหน็ ได้วา่ ผูท้ ีม่ คี วามฉลาดและมมี านะในการเรียนรูน้ น้ั จะทำอะไรก็ย่อมประสบความสำเรจ็ เสมอ นางสุวรรณมาลี เปน็ ผู้มีความฉลาดและมีไหวพริบในการแกป้ ัญหา เชน่ ตอนท่นี างต้องการอยู่ห่างจาก พระอภยั นางจึงใช้วิธีออกบวชเพอ่ื พ่อของนาง ซึง่ วธิ นี พ้ี ระอภยั กข็ ัดขวางไม่ได้ \" ฝา่ ยพระนุชบตุ รีศรสี วสั ด์ิ คิดจะผัดผ่อนหาอัชฌาสยั อยู่อย่างน้ีมไิ ดพ้ ้นพระอภัย จะแกไ้ ขขัดขวางให้ห่างกนั เอาการบญุ ทูลลารักษากจิ โปรดพระบิดาให้ไปสวรรค์ นางนิง่ นึกตรึกความเหน็ งามครนั อภวิ นั ท์ชนนชี ลลี า \" นางวาสิฏฐีใช้ปัญญาและความฉลาดของตน นำมาซึ่งสิ่งที่ตนต้องการ เช่น ให้สาตาเคียรพาพระเจ้าอุ เทนไปพบองคลุ ิมาลซ่ึงบวชเป็นพระภกิ ษุ แลว้ กษัตริย์กท็ รงอภัยโทษใหส้ าตาเคียร และนางกใ็ ช้ปัญญาขอให้สา ตาเคียรยอมใหน้ างออกบวชตามทน่ี างต้องการ 2. ความกตญั ญู ทุกยุคทกุ สมัยทุกครอบครวั มกั จะส่ังสอนบุตรหลานให้รูจ้ ักสำนึกและตอบแทนบุญคณุ ใหม้ คี วามกตัญญูต่อ ผู้มีพระคุณ ส่วนมากก็คือบุพการีนั่นเอง และสังคมก็มักจะยกย่องผู้ที่รู้จักบุญคุณคน ดังนั้นความกตัญญูของ นางในวรรณคดี จึงเปน็ สงิ่ ท่ีสะท้อนใหเ้ ห็นความสำคญั ของความคิดน้ีให้ชัดเจนยงิ่ ขึ้น ตัวอย่างเช่น นางวันทอง เป็นผู้ที่มีความกตัญญู นางมักจะกล่าวอ้างเสมอว่า ขุนช้างมีบุญคุณต่อตน แม้ว่าวันทองไม่ได้ รักขุนช้างเลยแต่เมื่อตกเป็นเมียของขุนช้างนางก็ประพฤติตนเป็นเมียที่ดี นางวันทองเป็นหญิงที่มีใจ ละเอยี ดอ่อน เมอื่ ได้รับการดูแลที่ดีจากขุนชา้ งนางก็มีความสำนึกท่จี ะทดแทนบุญคุณ เช่น ตอนท่ีขุนช้างมีเร่ือง กบั จมื่นไวยจนขุนชา้ งต้องตดิ คุก นางก็จดั หาข้าวปลาอาหารไปส่งให้ในคุกดว้ ยตนเอง และยงั รับปากจะเอาเงิน ทองไปชว่ ยตดิ สินบนคนขา้ งในใหช้ ว่ ยทูลผอ่ นปรนโทษ นางบษุ บา เปน็ ลกู ที่มคี วามกตญั ญู จากชวี ิตของนางสะท้อนให้เห็นภาพชีวติ ของสตรีสมัยก่อนว่า ผู้หญิงไม่ มีสิทธิ์เมื่ออยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่มีสิทธิ์ขาดที่จะยกให้ใครก็ได้ เช่น กรณีของนาง เมื่ออิเหนาตัดรอนไม่ยอมมา แต่งงานด้วย ทำให้ท้าวดาหากริ้วมากถึงกับประกาศวา่ ใครมาขอก็ให้ท้ังนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนต่ำศกั ดิ์เพียงใด ซ่ึง นางบุษบาก็ยอมแต่งงานด้วยแมใ้ นใจจะไม่ชอบก็ตาม นางบษุ บาจงึ ถอื ว่าเปน็ ลกู ท่ีดี เช่อื ฟังพอ่ แม่ 3. ความกลา้ หาญ ความกลา้ หาญ โดยธรรมชาติของผ้หู ญิงนั้น มกั จะเป็นเพศท่อี ่อนแอ หวาดระแวง ไมเ่ ดด็ ขาด ไมค่ อ่ ยกล้าที่ จะตดั สินใจตามลำพงั อย่างไรกต็ ามหากมีการกล่าวกันวา่ “อยุธยาไม่ส้นิ คนด”ี แล้ว ในงานวรรณคดยี ่อมต้องไม่ ขาดสตรีผู้กลา้ หาญ ซึ่งนางในวรรณคดีส่วนใหญ่แล้วแต่ละนางก็มีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว พร้อมที่จะเผชิญกับ เหตุการณ์ที่จะเกิดข้ึน ตัวอยา่ งเชน่

24 นางสวุ รรณมาลี เป็นผู้ทม่ี คี วามกลา้ หาญไม่เกรงกลวั ทีจ่ ะต้องออกไปทำศึก ความกลา้ หาญของนางเห็น ได้ชัดเจนมากในตอนที่มีศึกเก้าทัพมาตีเมืองผลึก ซึ่งขณะนั้นพระอภัยมณีก็หลงรูปนางละเวงอยู่ นางก็ไม่เกรง กลัวที่จะออกไปสู้รบเพื่อปกป้องบ้านเมืองของนาง แม้กระทั่งนางถูกธนูบาดเจ็บ นางก็ยังคงต้องการช่วยต้าน ทัพโดยทไี่ ม่ได้คดิ ถงึ ชวี ิตตนแม้แตน่ อ้ ย ซง่ึ ความกล้าหาญของนางสุวรรณมาลนี น้ั ทำให้เหน็ ไดว้ า่ ผู้หญิงไม่ใชเ่ ปน็ เพียงเพศทีอ่ ่อนแอ แต่ผู้หญงิ เขม็ แข็งกล้าหาญไมแ่ พช้ ายเชน่ กัน นางละเวง ก็มีลักษณะคล้ายกับนางสุวรรณมาลี คือมีความกล้าหาญในการยกทัพต่อสู้ศัตรู นางสู้รบ อย่างองอาจกล้าหาญไม่แพ้ชาย เช่น ครั้งหนึ่งนางละเวงพบโจรป่ากลุ่มใหญ่ถึงสามพันกว่าคน นางก็สู้กับโจร ด้วยตวั คนเดยี วอย่างกล้าหาญ โดยใช้เกาทัณฑ์ยิงไดแ้ มน่ มากเพราะฆา่ โจรได้ทุกดอก \" นางกษัตรยิ ์กวดั แกว่งพระแสงสู้ ถูกต้องหมู่โจรปา่ แทบอาสัญ ลงรวนเรเหหนั พัลวนั นางซำ้ ฟนั ฟาดตายกระจายไป \" ความกล้าหาญของนางละเวงก็เป็นประการหนึ่งที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่าง เพราะบุคคลที่กล้าหาญ ย่อมเป็นทยี่ กย่องชืน่ ชมของคนทว่ั ไป และยังประสบความสำเรจ็ ในชวี ิต นางสีดา เป็นผู้ที่มีความกล้าหาญแตกต่างจากนางสุวรรณมาลีและนางละเวง กล่างคือนางสีดายอมลุย ไฟ เพอื่ พิสูจน์ความบรสิ ุทธขิ์ องตนว่าไม่ไดน้ อกใจพระราม ท้ังนี้เพราะนางเชื่อมน่ั ในความถูกต้อง กล้าหาญเด็ด เด่ยี วท่จี ะพสิ ูจน์ความจรงิ เพอื่ รักษาไว้ซึง่ ศักด์ิศรขี องตน 4. ความรักนวลสงวนตัว ความรักนวลสงวนตัว ลักษณะของหญิงไทยที่แตกต่างจากชนชาติอื่นซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ ความรัก สงวนตัว ความเป็นกุลสตรีที่มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้หญิงมักจะเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่ค่อยได้พบปะพูดคุยกับผู้ชาย แม้ว่าระยะหลังสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ซึ่งผู้หญิงนั้นจะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน แต่ความเป็นกุลสตรี และรกั นวลสงวนตัวก็ยงั คงอยู่ นางในวรรณคดเี ปน็ ตวั อย่างท่สี ะทอ้ นใหเ้ ห็นได้อย่างชัดเจน ตวั อย่างเช่น นางบุษบา แม้ว่านางจะมีใจให้อิเหนาอยู่แล้วแต่เมื่อถูกลักพามาอยู่ในถ้ำ นางก็หาได้แสดงความยินดีไม่ เพราะนางตอ้ งการให้อิเหนาทำตามประเพณีให้ถูกต้อง จงึ พยายามบอกอิเหนาใหพ้ านางกลับเมอื งแล้วค่อยมาสู่ ขอตามประเพณีเสียกอ่ น แสดงถงึ ความเป็นคนรกั นวลสงวนตวั และรกั ศักดศ์ิ รีของตนเอง นางสุวรรณมาลี เป็นหญิงที่มีความรักนวลสงวนตัว นางไม่ยอมตกเป็นชายาของพระอภัยมณีโดยง่าย นาง จะไม่ปลอ่ ยตัวปลอ่ ยใจ ซึ่งเปน็ คุณสมบตั ทิ สี่ ำคัญทีส่ ตรีทุกคนพึงมี เพ่อื เปน็ การรักษาไวซ้ งึ่ ศักดิ์ศรีของลูกผู้หญิง ดังจะเหน็ ไดจ้ ากทีน่ างใช้อบุ ายตา่ ง ๆหลอกพระอภยั มณี 5. ความรัก ความรักนนั้ มหี ลายแบบ อาจเป็นความรกั ท่ีมตี อ่ สามี พ่นี ้อง หรือลกู ซ่งึ มคี วามแตกตา่ งกนั ไป ภาพรวมของ ความรักนั้นโดยมากแล้วเป็นความรักที่เกิดจากความผูกพัน ความห่วงใย และมีความปรารถนาดีต่อกัน และ

25 ความรักเหล่านี้เองก็ตราตรึงอยู่ในจิตใจของคนที่มีความรู้สึกรักตราบนานเท่านาน ซึ่งเราสามารถพบได้จาก นางในวรรณคดี โดยแตล่ ะคนล้วนมจี ิตใจทเี่ ต็มเป่ยี มไปดว้ ยความรัก ความรู้สกึ ทล่ี ึกซึ้งท่มี ีตอ่ คนทนี่ างรกั น่นั เอง ความรักและความซอื่ สัตยท์ ีม่ ีตอ่ สามหี รือต่อคนรัก นางวันทอง เป็นคนที่มีความรักและความซื่อสัตย์ต่อสามี เห็นได้จากเมื่อนางทราบข่าวว่าขุนแผนเสียชีวติ ในสนามรบ แม่ของนางบงั คบั ให้แต่งงานกบั ขุนช้างแต่นางวันทองไมย่ นิ ยอมเพราะยดึ มัน่ ในความซื่อตรงต่อสามี แต่เมื่อนางต้องตกเป็นภรรยาของขนุ ชา้ ง นางกท็ ำหนา้ ทภ่ี รรยาท่ดี ไี ด้อย่างสมบูรณ์แบบ เข่น การดูแลสามี ดูแล ความเรยี บร้อยต่างๆในบ้าน ความรักของนางบุษบาท่ีมีต่ออิเหนา เปน็ ความรกั ที่ซ่ือสัตย์และจงรักภักดี ดงั ท่นี างได้พยายามจะสงวนตัว ไวเ้ พือ่ อิเหนาหลังจากทต่ี กเป็นภรรยาของอิเหนาแล้ว ซ่ึงเปน็ คุณสมบัติทด่ี ขี องภรรยา และแสดงใหเ้ หน็ ถึงความ เป็นคนรักเดยี วใจเดยี วของนางบุษบา การรักและเคารพสามี เป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้หญิง เพราะสามีจะเป็นคนช่วยปกป้องดูแลและเลี้ยงดู ภรรยา นางสุวรรณมาลีก็เปน็ ตัวละครอีกตัวหน่งึ ดงั เห็นไดจ้ ากการทน่ี างขอออกบวชตามพระอภัยมณี “ขอตามติดคดิ คณุ พระมนุ ี เปน็ หลวงชปี รนนิบัตดิ ้วยศรทั ธา พอประโยชนโ์ พธคิ ณุ ประการใด จะตามใตบ้ าทาสารพนั ” นางสีดารักพระรามเป็นอย่างมาก นางซื่อสัตย์และมั่นคงต่อสามี ไม่คิดเป็นอื่น เนื่องจากนางสีดาเปน็ หญงิ รูปงาม กรยิ างาม ย่อมเปน็ ทม่ี ายปองของผู้ชายมากมาย ถึงแมว้ า่ นางจะเป็นพระมเหสีของพระราม นางก้ ยงั มีชายอนื่ มาแยง่ ชิงแตน่ างก็ไม่สนใจชายเหล่าน้ี แมว้ ่านางจะตกไปอย่ใู นมือของทศกณั ฐ์ นางกไ็ ม่เคยยอมเป็น ของทศกณั ฐ์ ยามท่ีพระรามตกที่น่งั ลำบากนางก็ขอให้พระลกั ษณ์ไปช่วย กลอนที่เหน็ ถงึ ความรักของนางที่มีต่อ พระราม “แม้นตายเสียดกี วา่ จากพราก พระภสั ดาธริ าชรงั สรรค์ จะตามไปทใ่ี นอารัญ กวา่ ชีวนั จะม้วยมรณา” ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ นับตั้งแต่วินาทีแรกที่นางได้ตกหลุมรักกามนิต นางวาสิฏฐีก็ต้องเผชิญกับความ ทุกข์ใจตลอดมา ตั้งแต่ทุกข์ใจท่ีไม่ทราบว่ากามนติ เป็นใคร เศร้าโศกเมือ่ กามนิตจากไป และทุกข์หนักที่สุดเมอ่ื ทราบว่ากามนิตได้ตายเสียแล้ว แค้นใจที่ถูกสาตาเคียรหลอก และจนถึงกับป่วยเป็นไข้ด้วยพิษรักนั้น จนเมื่อ นางสลดั ความรักได้ นางจงึ กา้ วเข้าไปส่นู พิ พานในที่สดุ ความรักระหวา่ งพีน่ ้อง ความรักและความผูกพันระหว่างนางบุษบากับวิยะดา ที่แม้จะไม่ได้เป็นพี่น้องกันจริงๆแต่ก็รักสนิท สนมกัน เมื่อนางต้องไปอยู่ในถ้ำที่อิเหนาจัดไว้ ก็ยังคงคิดถึงวิยะดาและใหพ้ าวยิ ะดามาอยู่ด้วย แสดงให้เห็นถงึ ความรกั ท่แี น่นแฟน้ ซาบซง้ึ ไม่แพค้ วามรักระหวา่ งหญิงชาย ความรกั และความหว่ งใยทม่ี ีตอ่ ลูก

26 นางสีดารกั พระมงกุฏและพระลบซงึ่ เป็นลกู ของนางสีดา ในเวลานั้นแม้นางจะประสบความยากลำบาก นางไม่เคยทอดท้งิ ลูก คอยดูแล เอาใจใส่และเป็นหว่ งอย่ตู ลอดเวลา ดงั คำกลอนทวี่ ่า “ ครั้นถงึ จ่งึ ให้เสวยนม เชยชมดว้ ยความพสิ มยั แสนรักสุดรกั ดั่งดวงใจ ในสองโอรสย่ิงนัก ” 6. ความอดทนอดกล้นั โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะมีเพศที่อดทนได้มากกว่าผู้ชาย และถือว่าเป็นเพศที่มีความอดทนเป็นเลิศ คุณสมบัตินี้เป็นลักษณะที่ทำให้สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆไปได้อย่างราบรื่น นางในวรรณคดีไทยก็เช่นกัน ทกุ คนจะมีความอดทนอดกลั้นในดา้ นตา่ งๆท่แี ตกตา่ งกันไป ซ่ึงส่งผลใหไ้ ดร้ ับความสำเร็จในที่สดุ นางสดี าเป็นนางในวรรณคดีที่มีความอดทนเป็นเลศิ โดยดไู ด้จากการทีน่ างออกติดตามพระรามไปอยู่ในป่า และนางตอ้ งอดทนต่อการใชช้ ีวิตอยา่ งลำบากและแรน้ แคน้ ดงั คำกลอนทวี่ ่า \"ข้าขอพสิ จู น์เพลงิ ถวาย เบือ้ งบาทพระนารายณ์ ตอ่ หน้าฝงู เทพเทวัญ กบั พวกพลขันธว์ านรรังสรรค์\" อีกทัง้ ตอนที่นางสดี าถกู ขับไลอ่ อกจากเมืองในขณะท่ีตงั้ ครรภ์ นางต้องอดทนต่อความทุกข์ยากลำบาก มากมาย ความอดทนของนางวันทอง เห็นได้จากการที่นางยอมไปทนทุกข์ยากลำบากกับขุนแผนในป่า นางก็ ยอมทงิ้ ความสะดวกสบายในการอยู่กบั ขุนชา้ ง เพราะคิดว่า ขุนแผนพามาด้วยความรัก ถึงแม้ว่านางวันทองจะ อาลัยอาวรณใ์ นความสุขสำราญซึ่งความสุขอันน้ีย่อมมีอยใู่ นปถุ ชุ นทุกผทู้ ุกนามแต่ก็สามารถเอาอำนาจความรัก มาข่มความอาลัยในความสขุ อันนี้เสยี เพื่อความสขุ ทางใจอันเป็นสง่ิ ท่นี างปรารถนามากกวา่ นางวาสฏิ ฐี มีความพยายามอย่างไมล่ ดละท่จี ะตามเสดจ็ พระพทุ ธองค์ไป โดยไมย่ ่อทอ้ ต่อความลำบาก และไม่แยแสตอ่ อาการเจ็บป่วยของตน เปน็ ที่น่าสรรเสรญิ ยงิ่ 7. คติสอนใจในด้านอืน่ ๆ นางในวรรณคดีไทยบางคน มีลักษณะนิสัยและการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ซึ่งผู้อ่าน สามารถนำมาดดั แปลงเป็นแงค่ ิดและแบบอย่าง เพ่อื ใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ต่อไปได้ เชน่ 7.1 คติทไ่ี ด้จากความมที ฐิ มิ านะและใจแขง็ ของนางละเวง จะเหน็ ไดว้ ่า นางละเวงเป็นผู้มีทิฐิมานะและใจแข็ง ซึง่ ลักษณะน้ีก่อให้เกิดความขัดแย้งภายใน จิตใจของนาง คือนางหลงรักพระอภัยมณี ซึ่งถือเป็นศัตรูของนาง จนเกือบที่จะทำให้นางต้องทุกข์ใจและ สูญเสียคนรักไป เพราะความมีทิฐิของนาง แต่ในที่สุดนางก็ผ่ายแพ้ต่อความรัก ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจทำตาม ความปรารถนาของตนท่ีถูกต้อง หากนางไม่ทำเช่นนี้แล้ว นางละเวงก็จะสญู เสียคนรักและไม่มีความสขุ ในชีวติ ดงั น้นั จะเหน็ วา่ การมที ิฐิมานะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นและไม่ใช่หนทางในการแกป้ ัญหา หากแต่การแก้ปัญหาท่ีดี ตอ้ งตดั สนิ ใจโดยใชค้ วามคิดทีร่ อบคอบ

27 แต่ใช่ว่า ความใจแข็งของนาง จะก่อให้เกิดผลเสียเพียงอย่างเดียว ความใจแข็งก็มีส่วนให้นาง สามารถควบคมุ ความรสู้ ึกตนเองได้ โดยจะเห็นไดว้ า่ นางละเวงเปน็ ตัวละครหญงิ เพยี งคนเดียวในวรรณคดีไทยท่ี ร่วมหลับนอนกับตัวละครชาย โดยที่ไม่สูญเสียพรหมจรรย์ “…นับว่านางเป็นผู้หญิงที่รู้จักธรรมชาติวิสัยของ มนุษย์เป็นอย่างดีและสามารถควบคุมธรรมชาติวิสัยได้ทั้งของตนเองและผู้อื่น” (รื่นฤทัย สัจจพัจน์) ซึ่งเป็น ขอ้ คดิ และบทเรียนใหผ้ ู้หญิงได้ว่า หากเรารจู้ ักระงับและควบคุมอารมณ์ รวมทง้ั ใจแข็งในเร่ืองนี้แล้วน้ัน ปัญหา การชงิ สกุ กอ่ นหา่ มก็จะลดลง 7.2 การมีความรบั ผิดชอบต่อหน้าทแี่ ละความพากเพียรพยายามของนางละเวง ผู้อ่านจะเห็นได้วา่ แม้นางละเวงจะเป็นเพยี งผูห้ ญงิ ธรรมดาคนหน่ึง ที่เมื่อแรกนั้น ไม่มีความรู้ ในด้านการปกครองประเทศและการศึกสงครามเลย นางต้องทำหน้าที่เป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ ซึ่งเป็น ภาระอันใหญ่หลวง แต่นางก็ทำหน้าที่นี้ได้อย่างเตม็ ภาคภูมิ โดยนางต้องมีความเพียรพยายามเริ่มต้นศึกษากล ศึกตั้งแต่เริ่มต้น นางต้องเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความผาสุกของประชาราษฎร์ แต่ทั้งนี้นั้น นางก็ไม่เคย ย่อท้อที่จะละทิง้ตำแหน่งและหันกลับไปใช้ชีวิตสุขสบายเยี่ยงหญิงสาวทั่วไป นางตระหนักอยู่เสมอว่า นางมี หน้าที่ต้องปกป้องชาติและศาสนาของตน ดังนั้น เราควรดูนางเป็นแบบอย่างในการรับผดิ ชอบต่อหน้าที่และมี ความพยายาม เพื่อจะไดป้ ระสบความสำเรจ็ ในด้านตา่ งๆ 7.3 การยดึ มั่นในศาสนาของนางวาสิฐแี ละเชือ่ ในเรอ่ื งกฎแห่งกรรมของนางวนั ทอง นางวาสิฏฐี โดยเนื้อแท้แล้วนั้นเป็นคนที่มีจิตใจดีงาม แม้บางครั้งจะมีปัจจัยภายนอกทำให้ จิตใจไขว้เขวไปในทางช่ัวบา้ ง นางก็ยังรูส้ ึกได้วา่ สิ่งท่ีนางกำลงั จะทำนัน้ เป็นความชั่ว นางก็มักจะละอายใจท่จี ะ กระทำการนั้นหรือขยะแขยงเกินกว่าที่จะฝืนใจทำลงได้ เช่น ตอนที่องคุลิมาลบอกให้นางใช้มายายั่วยวนล้วง เอาความลับจากสาตาเคียรนางก็ทำไม่ลง หรือตอนทีน่ างเป็นพระภกิ ษุณีแลว้ แต่กลับมีจิตใจหมกม่นุ อยู่กับชาย หนุ่ม(กามนติ ) นางก็รู้สึกอบั อายมาก และไม่อยากใหใ้ ครเหน็ นางในสภาพนน้ั จากเรื่องขุนช้างขุนแผน จะเห็นได้ว่า นางวันทองยอมรับความทุกข์ยากที่ตนได้รับโดยไม่ปริ ปาก และไมโ่ ทษวา่ เปน็ ความผิดของผอู้ ื่น เพราะนางเชื่อว่า ความทุกข์ทงั้ หมดเป็นผลมาจากกรรมทนี่ างเคยทำ ไว้ เมอ่ื ขุนแผนพานางหนีเขา้ ป่า และต้องตกระกำลำบาก นางก็ไมโ่ ทษขนุ แผนแตอ่ ย่างใด แต่นางคิดว่า ขนุ แผน พามาด้วยความรัก ในเร่ืองน้ีนน้ั ผอู้ า่ นสามารถนำมาใชใ้ นเวลาที่มีความทุกข์ โดยอาจคิดว่าเปน็ ผลมาจากกรรม ที่เคยทำไว้ จะได้ไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกินไป รู้จักปลง แต่ก็ไม่ใช่งอมืองอเท้ารอรับผลกรรม โดยไม่คิดที่จะทำ ความดีเพ่ิมข้นึ

28 บรรณานุกรม นางในวรรณคดี. (2558). [ออนไลน์]. เขา้ ถึงได้จาก https://sites.google.com/site/siteeduthai55079/baeb-fukhad. (สบื คน้ เมอื่ วันที่ 2 มนี าคม 2564). นางสาววาสินี เที่ยงนว่ ม และ ครูศรีสวาสดิ์ บุนนาค (2554). นางในวรรณคดี. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaigoodview.com/node/85529?fbclid=IwAR327Q6Iu-- 0CfjFHHX5Ts4mKQrLNpG2bYErzud2150-rn1CpN45mRYvrq8. (สบื ค้นเมื่อวนั ท่ี 2 มีนาคม 2564). ประวตั นิ างในวรรณคดี หญิงงามในบทประพนั ธ์. (2558). [ออนไลน์]. เขา้ ถึงได้จาก https://sites.google.com/site/siteeduthai55079/baeb-fukhad. (สบื คน้ เมอ่ื วนั ที่ 2 มนี าคม 2564). มาลยั จฑุ ารตั น์. (2561). นางในวรรณคดี. กรงุ เทพฯ : สถาพรบคุ๊ ส์.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook