Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore putatadkonkai.book_198

putatadkonkai.book_198

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-04-03 07:26:49

Description: putatadkonkai.book_198

Search

Read the Text Version

99 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล ดงั นั้นจึงไดม้ กี ารนัดหมายว่าอาจารยป์ ราโมทย ์ จะมาถวายการผ่าตัดท่ีโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ใน  วันเสารท์ ี่ ๑๒ มถิ นุ ายน ๒๕๓๖ ผมได้เรียนกับท่าน  พรเทพไว้ว่าหากทราบวันผ่าตัดตาที่แน่นอนแล้ว ให ้ กรณุ าแจง้ ผมดว้ ย ไมม่ ใี ครในเวลานนั้ ทจี่ ะคาดเดาหรอื   คิดไปว่าอีกเพียง ๒ วันต่อจากน้ัน ท่านอาจารย์จะ  อาพาธหนักอีกครั้ง และอีก ๔๐ กว่าวันต่อจากวัน  อาพาธ ท่านอาจารย์ก็ละจากไปด้วยปัจฉิมอาพาธ  คร้ังนี้นนั่ เอง



๗ วาระวกิ ฤต วนั องั คารท ่ี ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๖  ผมทราบข่าวจากโทรทัศน์ช่อง ๙ ว่า  ท่านอาจารย์พุทธทาสอาพาธด้วยโรค  เส้นโลหิตในสมองแตก ตอนแรกผม  ยงั ไมค่ อ่ ยเชอื่ ขา่ วนนี้ กั  เนอื่ งจากไมเ่ หน็   การเสนอข่าวของโทรทัศน์ช่องอ่ืนๆ  และขา่ วจากหนงั สอื พมิ พฉ์ บบั ใดๆ แต ่ เมอื่ เชก็ ขา่ วจนแนใ่ จแลว้ วา่  ทา่ นอาจารย ์ อาพาธหนักมากจริง ผมก็โทรศัพท ์ เรยี นหาทา่ นอธกิ ารบดเี พอื่ จะขออนมุ ตั ิ 

102 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ี่ ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก เดินทางไปสวนโมกข ์ เน่อื งจากช่วงนั้นเปน็ วันทำ� งาน  ตอนที่โทรศัพท์ไปเรียนท่านน้ัน อาจารย์ประดิษฐ ์ ไม่อยู่ ผมจึงเรียนผ่านเลขานุการของท่านว่าผมขอ  อนุมัติเดินทางไปสวนโมกข์โดยมิได้แจ้งก�ำหนดวัน  กลับ ความรู้สึกตอนนั้นคืออยากจะลงไปช่วยถวาย  การดแู ลท่านอาจารย์ ผมเตรียมท่ีจะเดินทางทันทีในวันรุ่งข้ึนคือ วัน  พุธท่ี ๒๖ พฤษภาคม แต่มาทราบก่อนว่าอาจารย ์ นพิ นธไ์ ดเ้ ดนิ ทางลงไปสวนโมกขแ์ ลว้  ผมจงึ วางใจและ  ชะลอการเดินทางไว้กอ่ น จนกระทั่งทราบวา่ อาจารย์  นิพนธ์กลับกรุงเทพฯ ในวันเดียวกัน ผมจึงเตรียม  เดินทางไปสวนโมกข์ เนื่องจากอยากจะให้มีแพทย์  อยู่กับท่านอาจารย์ตลอดเวลา นอกจากน้ีเป็นเพราะ  อาจารย์นิพนธ์ได้โทรศัพท์หาผมด้วยในเช้าวันที่ ๒๗  เล่าอาการของท่านอาจารย์ และบอกว่าการถวาย  การรักษาคร้ังน้ีจ�ำเป็นจะต้องมีแพทย์ผู้เช่ียวชาญ  ดา้ นระบบหายใจดว้ ย ผมจงึ เดนิ ทางในเยน็ วนั นน้ั  กอ่ น  ขนึ้ เครอื่ งบนิ กท็ ราบขา่ ววา่ ไดม้ กี ารนำ� ทา่ นอาจารยจ์ าก 

103 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล โรงพยาบาลสุราษฎรฯ์  กลับสวนโมกข์แลว้  โดยทผี่ ม  ยงั ไมท่ ราบเหตุผลที่แน่นอน ผมถึงสวนโมกข์ประมาณ ๓ ทุ่ม เช่นเดียวกับ  การมาถวายการรกั ษาคราวแรก เมอื่ ป ี พ.ศ. ๒๕๓๔  แต่คร้ังน้ีมีผู้คนมากมายพลุกพล่าน ทั้งส่ือมวลชน  ศษิ ยานศุ ษิ ย ์ ฯลฯ ผมเขา้ ไปถวายการดแู ลทา่ นในกฏุ  ิ ทันที เนื่องจากขณะนั้นท่านอาจารย์ใส่เคร่ืองช่วย  หายใจอยู่ โดยใสม่ าจากโรงพยาบาลสุราษฎรฯ์  ตาม  หลักการแพทย์แล้ว คืนน้ันจะเป็นช่วงที่อาการของ  ท่านหนักมากท่ีสุด เพราะเป็นวันท่ี ๓ ที่เส้นโลหิต  แตก สมองจะบวมเตม็ ท ่ี โอกาสทจี่ ะเกดิ วกิ ฤตจงึ มสี งู   มาก คนื นน้ั ผมอยใู่ นกฏุ ติ ลอดทง้ั คนื ดว้ ยความเปน็ หว่ ง  ระหวา่ งนนั้ จะตอ้ งคอยตรวจอาการตา่ งๆ ของทา่ นเปน็   ระยะๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท  การหายใจการท�ำงานของหัวใจ ฯลฯ รวมไปถึงการ  ดูดเสมหะเปน็ ช่วงๆ เพอื่ ให้การหายใจสะดวก

104 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ่ี ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก ช่วงระหว่างตี ๒-๕ ผมอยู่กับท่านอาจารย์โดย  ลำ� พงั  เพราะพระอปุ ฏั ฐากและอกี หลายๆ คนอดนอน  มาหลายคนื จงึ กลบั ไปพกั ผอ่ นเอาแรง อาศยั มพี ยาบาล  และบรุ ษุ พยาบาลเวรคอยเขา้ มาชว่ ยการปฏบิ ตั ริ กั ษา  เปน็ ชว่ งๆ ท�ำให้ผ่อนภาระไปได้บ้าง ความรสู้ กึ ของผมในชว่ งขณะนน้ั คอื  “กลวั ทา่ น จะตาย และรสู้ กึ วา่ ไมอ่ ยากใหท้ า่ นตาย” แตค่ ราวนี้  เกิดจากความรู้สึกเป็นห่วงและผูกพันกับท่าน มิใช ่ เกดิ จากความกลวั วา่  ทา่ นจะมรณภาพในขณะทเ่ี ราเปน็   แพทย์ผู้รับผิดชอบ เหมือนความรู้สึกตอนท่ีมาถวาย  การรกั ษาครง้ั แรกในป ี พ.ศ. ๒๕๓๔ แตถ่ า้ ไมอ่ าจฝนื   สภาพแห่งสังขารได้ และท่านอาจารย์จะต้องจากไป  จริงๆ แล้วผมก็อยากจะอยู่กับท่านด้วยในช่วงเวลา  สุดท้ายน้นั  ซง่ึ จะเปน็ เมอ่ื ไรกย็ ังไม่มใี ครตอบไดแ้ น่? ประมาณต ี ๕ ผมรสู้ กึ งว่ งจนไมไ่ หวจงึ กลบั ทพ่ี กั   ไปนอนงีบหน่ึง โดยมอบหมายให้บุรุษพยาบาลเป็น  ผรู้ บั ผดิ ชอบดแู ลชวั่ คราว ผมตน่ื ขน้ึ มาประมาณ ๖ โมง- 

105 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล เช้าเศษ กลับไปดูท่านอาจารย์อีกครั้ง อาการท่าน  ยังไม่ดีข้ึน อาการของท่านมากระเต้ืองข้ึนเล็กน้อย  ในชว่ งสายวนั นน้ั  (๒๘ พฤษภาคม) ซงึ่ เปน็ ชว่ งเวลา  ไล่เล่ียกับที่อาจารย์นิพนธ์เดินทางมาถึงสวนโมกข ์ อีกคร้ัง หลังจากผมและอาจารย์นิพนธ์วางแผนการ  รักษาเฉพาะหน้ากันเรียบร้อยแล้ว ในตอนบ่ายได้ม ี การประชุมตกลงกันว่าจะน�ำท่านอาจารย์เข้ารับการ  รักษาในโรงพยาบาลศิริราช ผมไม่ได้เข้าประชุมด้วย  เพราะอยู่เฝ้าอาการของท่านอาจารย์ในกุฏิ และใน  ระหวา่ งการประชมุ กเ็ ปน็ ชว่ งทมี่ ปี ญั หาการปรบั เครอ่ื ง  ช่วยหายใจ ดังน้ันผมจึงไม่ทราบเร่ืองดังกล่าว จน  กระทั่งอาจารย์นิพนธ์เดินเข้ามาบอกว่า “เตรียมตัว ไปกรงุ เทพฯ” ผมฟงั แลว้ กย็ งั งงๆ นกึ วา่ อาจารยน์ พิ นธ์  พดู อะไรกนั ? เกดิ ความสงสยั วา่ มนั เกดิ ขน้ึ ไดอ้ ยา่ งไร  และเปน็ ไปได้อย่างไร? อาจารยน์ พิ นธบ์ อกผม แลว้ กไ็ ปโทรศพั ทต์ ดิ ตอ่   เร่ืองการเดินทางขึ้นกรุงเทพฯ ท่านพรเทพมาเล่า  รายละเอียดให้ผมฟังอีกทีในภายหลัง ความคิดของ 

106 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ่ี ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก ผมตอนนนั้ คอื  จะเอายงั ไงกไ็ ด้ จะใหไ้ ปกไ็ ป หรอื จะ  ให้อยู่ก็อยู่ แต่ถ้าถามความรู้สึกส่วนตัวของผม หรือ  ถ้าผมเป็นผู้ก�ำหนดการตัดสินใจ ผมคิดว่าตนเอง  คงอยากจะใหท้ า่ นอาจารยอ์ ยสู่ วนโมกขต์ อ่ ไป เพราะ  ผมรู้สึกว่า การอาพาธคร้ังน้ีรุนแรงมาก จนสังขาร  ของทา่ นไมน่ า่ จะฝนื ไหว การทไี่ ดต้ ดิ ตามดแู ลสขุ ภาพ  ของท่านมาโดยตลอด ผมจึงคิดว่าพอท่ีจะรู้สภาพ พ้ืนฐานของผู้ป่วย โดยเฉพาะในช่วง ๒ เดือนหลัง  ก่อนจะอาพาธน้ัน ถ้าพูดกันอย่างตรงๆ แล้ว ท่าน  อาจารย์เหมือนคนที่ไม่มีความสนใจจะมีชีวิตอยู่นัก  แต่น่ีก็เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว ซึ่งอาจจะถูก  หรอื ผดิ กไ็ ด ้ ดงั นน้ั เมอ่ื มกี ารตดั สนิ ใจแลว้ วา่ จะนำ� ทา่ น  ขน้ึ กรงุ เทพฯ เพอื่ เขา้ รกั ษาทศ่ี ริ ริ าช ผมกเ็ ตรยี มพรอ้ ม  ที่จะปฏิบัติหน้าท่ีอย่างดีที่สุด โดยคิดว่าในเมื่อเป็น  ช่วงสุดท้ายของท่านอาจารย์แล้ว ก็อยากจะท�ำอะไร  ใหท้ ่านอยา่ งดีทสี่ ดุ เทา่ ทผี่ มจะทำ� ได้ คืนวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๖ เราเดินทาง  ขนึ้ กรงุ เทพฯ ถงึ ศริ ริ าชเมอ่ื  ๐๑.๐๕ น. ของวนั เสารท์ ี ่

107 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล ๒๙ พฤษภาคม เรานำ� ทา่ นเขา้ รบั การดแู ลในหออภบิ าล  ระบบทางเดนิ หายใจ หรอื  อารซ์ ยี  ู (RCU) ตกึ อษั ฎางค ์ ชนั้  ๒ โดยมพี ระอปุ ฏั ฐากคอื  ทา่ นพรเทพ ทา่ นสงิ ห-์   ทอง และพระรอเบริ ต์  สนั ตกิ โร คอยผลดั เปลยี่ นกนั   เฝา้ ดอู าการอยา่ งใกลช้ ดิ  สว่ นผมกอ็ ยกู่ บั ทา่ นอาจารย ์ ตลอด ตง้ั แตค่ นื วนั นนั้ และตอ่ เนอื่ งมาอกี  ๑๔ วนั  ๑๔  คืนในห้องอาร์ซียู ความคิดของผมตอนน้ันคือ หาก  ทา่ นอาจารยร์ สู้ กึ ตวั ขน้ึ มา คงจะมอี ะไรทไ่ี มถ่ กู ใจทา่ น  เยอะ และท่านก็คงจะงงด้วย ผมจึงคิดว่าหากเราอยู่  กับท่านก็คงจะเป็นประโยชน์บ้างหากท่านอาจารย ์ มีโอกาสจะฟ้นื ขน้ึ มาได้ ช่วง ๗ วันแรกในอาร์ซียู ผมรู้สึก “สนุก” คือ  พอใจกับการท�ำหน้าที่ตรงน้ี ท้ังๆ ที่ไม่เคยอยู่เวร กลางคนื ชนดิ ตอ้ งอดนอนแบบนม้ี านานแลว้  มหิ นำ� ซำ�้   ยงั ตดิ ตอ่ กนั หลายๆ คนื อกี ดว้ ย ทผี่ มรสู้ กึ สนกุ กเ็ พราะ  มคี วามหวงั ขน้ึ มาในชว่ งนน้ั วา่  อาการของทา่ นจะดขี น้ึ   และในเวลา ๗ วนั  ถา้ อาการของทา่ นอาจารยไ์ มด่ ขี น้ึ   กจ็ ะมกี ารพาทา่ นกลบั สวนโมกข์ แตเ่ มอ่ื สปั ดาหแ์ รก 



109 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล ผา่ นไป ผมพบวา่ แนวโนม้ ไมไ่ ดอ้ อกมาในทางดงั กลา่ ว  นกั  ตอนนน้ั ความสนกุ หรอื ความพอใจ จงึ เรมิ่ ลดนอ้ ย  ลง แตด่ ว้ ยความเปน็ หว่ งทา่ นอาจารย์ ผมจงึ อยถู่ วาย  การดแู ลอย่างใกล้ชิดต่อมาอกี  ๑ สัปดาห์ แลว้ ความไมส่ นกุ กไ็ ดเ้ ปลย่ี นไปสคู่ วามรสู้ กึ เรมิ่   ไมส่ บายใจ เมอ่ื เหน็ วา่ อาการของทา่ นอาจารยม์ แี นวโนม้   จะยดื เยอื้  และจำ� เปน็ จะตอ้ งใชเ้ ครอ่ื งมอื ทางการแพทย ์ ต่างๆ เข้ามาช่วยการทำ� งานของร่างกายท่านมากขึ้น  ทกุ ท ี แม้ผมจะทราบวา่ นน่ั คอื แนวทางการรกั ษาตาม  ปกตธิ รรมดาในโรงพยาบาลทว่ั ๆ ไป แตม่ นั กเ็ รม่ิ เบยี่ ง  เบนมากขึ้นเรื่อยๆ ไปจากทัศนะที่ตนเองได้รับทราบ  และเห็นการปฏิบัติของท่านอาจารย์ในระหว่างการ  อาพาธมากอ่ น เมอ่ื  ๒ อาทติ ยผ์ า่ นไป ผมจงึ ทำ� จดหมาย  ถงึ ทา่ นคณบด ี ศ. นพ. อรณุ  เผา่ สวสั ด ิ์ และทา่ นหวั หนา้   หน่วยของผมคือ ศ. นพ. รังสรรค์ ปุษปาคม ว่าผม  ขอหยุดพักการดูแลท่านอาจารย์อย่างใกล้ชิดเหมือน  ที่ปฏิบัติในช่วง ๒ สัปดาห์แรก โดยเรียนเหตุผลว่า  การอาพาธของท่านอาจารย์น้ันไม่มีการเปล่ียนแปลง 

110 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ่ี ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก ทดี่ ขี น้ึ อยา่ งชดั เจน นอกจากนย้ี งั มแี นวโนม้ วา่ อาการ  คงจะยดื เยอื้ ไปอกี นาน ผมจงึ ขอกลบั ไปปฏบิ ตั ภิ ารกจิ   ตามปกติ คือกลับไปสอนนักศึกษาและตรวจผู้ป่วย  อ่ืนๆ ซ่ึงกไ็ ดร้ บั อนุญาตและไดม้ ีการจัดเตรยี มแพทย์  หลายคนมาผลัดเปล่ียนกันดูแลท่านอาจารย์เป็นการ  ต่อเน่ืองตลอด ๒๔ ช่ัวโมง โดยที่ผมก็ยังติดตามด ู อาการของท่านอาจารย์อยู่ตลอดในช่วงเช้า และช่วง  ท่ีว่างจากภารกิจประจ�ำวัน และในช่วงเย็นก่อนท ่ี ผมจะกลบั ทพี่ กั  ขณะเดยี วกนั ผมไดเ้ รยี นใหพ้ ระอปุ ฏั -  ฐากทราบว่า ผมจะขอปลีกตัวไปท�ำงานอื่นคงจะม ี เวลาช่วยดูแลท่านอาจารย์น้อยลงกว่าเดิม แต่ถ้า  กลบั สวนโมกข์เม่ือไร ผมจะไปดว้ ยทันที สัปดาห์ต่อๆ มาหลังจากนั้น อาการของท่าน  ก็ทรงๆ ทรุดๆ แต่คณะแพทย์ท่ีถวายการรักษาก็ยัง  มคี วามหวงั อยวู่ า่ จะถวายการรกั ษาทา่ นได ้ เพราะเชอ่ื วา่   การฟื้นตัวทางระบบประสาทในระยะยาวจะดีขึ้น  โดยตั้งความหวังท่ีจะถวายการรักษาต่อไป จนสุด  ความสามารถ หรอื จนกวา่ จะมขี อ้ ชบี้ ง่ ถงึ การลม้ เหลว 

111 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล ของอวยั วะตา่ งๆ ทช่ี ดั เจน จงึ จะใหน้ �ำทา่ นกลบั สสู่ วน  โมกข์ แล้วในวันพุธท่ี ๗ กรกฎาคม ๒๕๓๖ น้ันเอง  สังขารของท่านอาจารย์ก็เริ่มแสดงอาการดังกล่าว  ออกมาเพ่ือบอกให้ทราบว่าเวลาแห่งการแตกดับของ  ท่านไดม้ าถงึ แล้ว...



๘ สบิ สามชัว่ โมงสุดทา้ ย ก่อนท่ีผมจะกลับท่ีพักในคืนน้ันช่วง  ประมาณทมุ่ เศษ ทา่ นอาจารยม์ อี าการ  หายใจหอบมากข้ึนกว่าเม่ือตอนบ่าย  อย่างชัดเจน โดยท่ีขณะน้ันเราไม่รู้ว่า  เกดิ จากสาเหตอุ ะไรแนน่ อน แตอ่ าการ  ดังกล่าวก็เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบ  ล่วงหน้าว่ามีส่ิงที่ผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว  และอาจน�ำไปสู่จุดแห่งการส้ินสุดของ  ท่านอาจารยไ์ ด้?

114 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ี่ ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก เวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น. เศษ นพ. พนู ทรพั ย ์ วงศส์ รุ เกยี รต ์ิ ซงึ่ รบั ผดิ ชอบเวรการดแู ลทา่ นอาจารย ์ ในคืนนั้น ได้โทรศัพท์มาหาผมยังที่พักรายงานว่า  อาการของท่านอาจารย์ทรุดลงเร่ือยๆ สันนิษฐานว่า  คงมีการติดเช้ือในกระแสโลหิตขั้นรุนแรง โดยที่ยัง  ไมท่ ราบอวยั วะเรมิ่ ตน้ ของการตดิ เชอื้ ทแ่ี นน่ อน ผมบอก  ให ้ นพ. พนู ทรพั ยร์ บี ตดิ ตอ่ เรยี นใหอ้ าจารยน์ พิ นธแ์ ละ  อาจารยท์ า่ นอน่ื ทเ่ี กยี่ วขอ้ งทราบ แลว้ ดำ� เนนิ การรกั ษา  ไปตามขั้นตอนที่คิดว่าเหมาะสม นพ. พูนทรัพย์โทร  มารายงานความคืบหน้าของอาการให้ผมทราบเป็น  ระยะๆ ทกุ ชัว่ โมง จนประมาณต ี ๒ ของวนั ท ่ี ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖  ผมรับฟังรายงานแล้วเหน็ วา่  อาการของทา่ นอาจารย ์ คงจะไปไม่ไหวอีกแล้ว เนื่องจากความดันโลหิตของ  ทา่ นตำ�่ ลงเปน็ ลำ� ดบั  และตอ้ งใชย้ าเพมิ่ ความดนั ขนาด  สงู ขนึ้ เรอื่ ยๆ ผมตดั สนิ ใจออกจากทพ่ี กั  เดนิ ไปศริ ริ าช  กลางดกึ  ถงึ ทนี่ นั่ สกั พกั  อาจารยน์ พิ นธก์ ม็ าถงึ และได้  ตดั สนิ ใจทจ่ี ะใหน้ ำ� ทา่ นอาจารยก์ ลบั สวนโมกข ์ ผมไป 

115 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล ปลกุ พระอปุ ฏั ฐาก เพอ่ื แจง้ ขา่ วกบั ทา่ นตอนประมาณ  ตี ๓ พร้อมกับติดต่อไปที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ฯ ให ้ เตรยี มพรอ้ มและคอยตดิ ตามความคบื หนา้ ตอ่ ไปดว้ ย  แล้วผมก็กลับท่ีพัก เพ่ือเอาเสื้อผ้าเตรียมตัวไปสวน  โมกข์ เพราะตอนแรกนั้นผมยังไม่ทราบว่าจะมีการ  ตดั สนิ ใจใหท้ า่ นกลบั  เพยี งแตค่ ดิ วา่ อยากจะไปอยกู่ บั   ท่านอาจารย์ในช่วงทา้ ยๆ ของท่านเทา่ นั้น เวลา ๗.๑๕ น. เราเคลื่อนย้ายท่านอาจารย ์ ออกจากห้องอาร์ซียูไปข้ึนรถพยาบาล แพทย์ที่ร่วม  เดินทางกลับสวนโมกข์กับท่านก็คือ อาจารย์นิพนธ ์ และผม โดยผมท�ำหน้าท่ีดูแลเร่ืองการหายใจและ  ระบบไหลเวียนโลหิตของท่าน เราออกจากสนามบิน  กองทัพอากาศ เมื่อเวลาประมาณ ๘.๔๕ น. ขณะท ่ี เริ่มเดินทางนั้น อาการของท่านยังไม่มีการเปลี่ยน  แปลงระหว่างที่อยู่ในเคร่ืองบิน ยังคงถวายยาต่างๆ  ในขนาดเท่าเดิม แต่ใช้เคร่ืองช่วยหายใจอัตโนมัต ิ ส�ำหรับการขนส่งผู้ป่วยชนิดเคล่ือนย้ายง่ายของ  โรงพยาบาลภมู พิ ล แทนการใชเ้ ครอ่ื งแบบบบี ดว้ ยมอื  

116 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ่ี ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก ชีพจรของท่านในช่วงนั้นแรงสม่�ำเสมอดี และระบบ  ไหลเวียนของโลหิตไปยังเน้ือเยื่อส่วนปลายอยู่ใน  เกณฑ์เพียงพอ ผมพยายามปรับขนาดของยาคลาย  กลา้ มเนอ้ื เพอ่ื ใหท้ า่ นหายใจสงบ และไมม่ กี ารเคลอ่ื น  ไหวในสว่ นตา่ งๆ ของรา่ งกาย ทา่ นอาจารยใ์ นสายตา  ของผม รวมทั้งพระอุปัฏฐาก และเจ้าหน้าท่ีกองทัพ  อากาศที่ร่วมเดินทาง จึงดูเหมือนกับก�ำลังนอนหลับ  สนทิ แตผ่ มกร็ แู้ ละแนใ่ จแลว้ วา่ เวลาของทา่ นอาจารย์  ใกล้จะสิ้นสุดอย่างแน่นอนแล้ว เมื่อไปถึงสวนโมกข์  ทา่ นคงจะอยู่นนั่ ไดอ้ กี ไม่นานนัก… เคร่ืองบินใช้เวลาประมาณ ๑ ช่ัวโมง ๑๐ นาที  กถ็ งึ สนามบนิ สรุ าษฎรธ์ าน ี คณะแพทยพ์ ยาบาลพรอ้ ม  รถพยาบาลจากโรงพยาบาลสุราษฎร์ฯ มารอรับท่าน  อาจารยอ์ ยแู่ ลว้  เราใชเ้ วลาประมาณ ๑๐ นาท ี เคลอื่ น  ยา้ ยทา่ นขนึ้ รถพยาบาล แลว้ มงุ่ หนา้ สสู่ วนโมกข ์ กอ่ น  ที่จะถึงสวนโมกข์เล็กน้อย ชีพจรของท่านเต้นเบาลง 

117 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล และปลายมือปลายเท้าเย็นลงด้วย จึงต้องเพ่ิมขนาด  ยาทางหลอดเลือดจนสูงสุด ชีพจรจึงแรงขึ้นมาอีก  เล็กนอ้ ย เราเดินทางถึงสวนโมกข์ประมาณ ๑๐.๓๐ น.  ข่าวการนมิ นต์ท่านกลบั  และอาการท่เี พยี บหนกั ของ  ท่านอาจารย์ ท�ำใหม้ ผี ู้คนมากมาย ทง้ั พระ ฆราวาส  โดยเฉพาะสื่อมวลชนมารอท�ำข่าวกันเนืองแน่น เรา  นำ� ทา่ นเขา้ สกู่ ฏุ ปิ ระจำ�  ซงึ่ ทา่ นอาจารยถ์ อื วา่ เปน็  “โรง พยาบาล” ตามแบบของท่านอีกครั้ง หลังจากที่ท่าน  จากไปอยทู่ ศี่ ริ ริ าชเสยี  ๔๑ วนั  ตงั้ แตว่ นั ท ี่ ๒๙ พฤษ-  ภาคม ๒๕๓๖ เรายงั คงถวายยาตา่ งๆ ทางหลอดเลอื ด  เชน่ เดมิ  รว่ มกบั การใชเ้ ครอื่ งชว่ ยหายใจทโ่ี รงพยาบาล  สรุ าษฎรฯ์  จดั เตรยี มไว ้ ผมสงั เกตจากสหี นา้ ของทา่ น  ท่ีเร่ิมซีดลง ท�ำให้รู้ว่าอีกอึดใจ ท้ังยาและเคร่ืองช่วย  หายใจเหล่านี้ก็มิอาจจะประวิงเวลาการจากไปแห่ง  สงั ขารของทา่ นไดอ้ กี ตอ่ ไป ตอนนนั้ ผมและ นพ. วโิ รจน์  ถวายการดูแลอยู่ทางด้านขวามือของท่าน และ นพ.  ทรงศกั ดอ์ิ ยทู่ างดา้ นซา้ ยมอื  แลว้ ชพี จรของทา่ นอาจารย์ 

118 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ่ี ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก และการไหลเวียนของโลหิตไปสู่เน้ือเยื่อส่วนปลาย  ก็ค่อยๆ ทรุดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดเราก็พบว่าชีพจร  ของท่านได้หยุดเต้น และท่านอาจารย์ได้มรณภาพ  ไปโดยสงบ เมอ่ื เวลา ๑๑.๒๐ น. ของวนั พฤหสั บดที ี่  ๘ กรกฎาคม ๒๕๓๖ ผมจ�ำได้ว่าคืนวันท่ี ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๓๖  คืนแรกท่ีผมมาถวายการรักษาการปัจฉิมอาพาธนั้น  ผมรสู้ กึ วา่ ไมอ่ ยากใหท้ า่ นตาย และกลวั ทที่ า่ นจะตาย  แต่ในนาทีที่ท่านจากไปจริงๆ นั้น ผมกลับไม่ได้รู้สึก  เสียใจ ทั้งน้ีเป็นเพราะผมรู้และเตรียมใจกับช่วงเวลา  แบบนมี้ ากอ่ นแลว้  อกี ประการคอื  ขณะทท่ี า่ นจากไป  นั้น ผมก็อยู่ถวายการดูแลที่ข้างองค์ของท่านตามที่  ตนเองไดต้ ง้ั ใจไวด้ ว้ ย โดยเฉพาะเมอ่ื ผมระลกึ ถงึ สงิ่ ที่  ทา่ นเคยพดู และเคยปฏบิ ตั ใิ หผ้ มเหน็ มาตลอดวา่  ความ  เจบ็ และความตายสำ� หรบั  “พทุ ธทาสภกิ ข”ุ  นน้ั มนั เปน็   “เชน่ นนั้ เอง” หาใชส่ ง่ิ ทจ่ี ะตอ้ งหวาดหวน่ั ทกุ ขท์ รมาน  หรอื ตอ้ งดน้ิ รน “หอบสงั ขาร หนคี วามตาย” แตอ่ ยา่ งไร  ไม ่ ผมจงึ รวู้ า่ ไมม่ อี ะไรทจี่ ะตอ้ งเศรา้ โศกเสยี ใจในการ 

119 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล จากไปของท่าน นี่คือส่ิงที่ผมเรียนรู้จากท่านอาจารย์พุทธทาส  เป็นคร้ังแรกในกุฏิหลังน้ีและได้เรียนรู้ต่อเนื่องมา  จนถงึ ครง้ั สดุ ทา้ ยในกฏุ หิ ลังนีเ้ ชน่ กนั …



บทส่งท้าย เดมิ นนั้ ผมตงั้ ใจไวว้ า่ ชว่ งเวลาประมาณตน้ สงิ หาคม  ๒๕๓๖ จะไปกราบนมสั การลาท่านอาจารย์พุทธทาส  ก่อนท่ีจะไปศึกษาและท�ำวิจัยที่ประเทศแคนาดาเป็น  ระยะเวลาหนึ่ง โดยมีก�ำหนดเดินทางในปลายเดือน  เดียวกัน ผมไม่ได้คิดว่าในวันท่ีผมจะเดินทางจาก  ประเทศไทยไปน้ัน ท่านอาจารย์ก็ได้นอนสงบนิ่งอยู ่ ในศาลาฝังศพหลังศาลาธรรมโฆษณ์แล้ว และวันนั้น  ท่ีผมกราบนมัสการลาท่านเป็นครั้งสุดท้ายก่อนไป  ตา่ งประเทศนนั้  จะเรว็ กวา่ ทผี่ มคาดไว ้ คอื เปน็ วนั ท ่ี ๙  กรกฎาคม ๒๕๓๖ ซงึ่ เปน็ วนั ทผี่ มเดนิ ทางจากสวนโมกข์  กลบั กรงุ เทพฯ ภายหลงั พธิ บี รรจศุ พเสรจ็ เรยี บรอ้ ยแลว้

122 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ี่ ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก ผมตั้งใจว่าเม่ือกลับจากต่างประเทศ ผมคงจะ  ไปสวนโมกข์อีกเม่ือมีโอกาส แต่โอกาสท่ีผมจะได ้ เรยี นรเู้ รอ่ื งตา่ งๆ จากทา่ นอาจารยโ์ ดยตรงเหมอื นเดมิ   คงจะหมดไปแล้วก่อนไปต่างประเทศ ผมได้มีโอกาส  น่ังทบทวนและท�ำบันทึกเก่ียวกับส่ิงท่ีผมเรียนรู้จาก  ทา่ นอาจารยพ์ ทุ ธทาสในชว่ ง ๒๐ เดอื นทไ่ี ดถ้ วายการ  รกั ษา ผมสรปุ กบั ตนเองวา่ สงิ่ ทผี่ มไดเ้ รยี นรจู้ ากทา่ น  อาจารย ์ คอื เรอื่ งสำ� คญั  ๒ เรอ่ื งทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั วชิ าชพี   ของผมผู้เป็นแพทย์ ประการแรก ได้แก่ ข้อขบคิด  เกย่ี วกับความสมั พันธร์ ะหวา่ งแพทย์และผปู้ ว่ ย ความสัมพันธ์ระหว่างการแพทย์กับผู้ป่วยเป็น  ไปได้หลายรูปแบบ ระหว่างผูใ้ หก้ ับผ้รู บั แบบอปุ ถมั ภ ์ ระหว่างบิดากับบุตรในระบบครอบครัว หรือระหว่าง  เพอ่ื นมนษุ ยท์ ปี่ รารถนาจะใหส้ งิ่ ทดี่ ที ส่ี ดุ แกก่ นั และกนั   สิ่งท่ีผมได้เรียนรู้ในระหว่างการรักษาอาการอาพาธ  ของทา่ นอาจารยพ์ ทุ ธทาสนนั้  ไดท้ ำ� ใหผ้ มเกดิ ค�ำถาม  ขึ้นในเรื่องน้ีอย่างมาก และหันมามองทบทวนว่า  ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งแพทยก์ บั ผปู้ ว่ ยของเราในปจั จบุ นั   น้ันอยู่ในแบบไหน และความสัมพันธ์แบบใดจึงจะ 

123 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล เป็นประโยชน์ต่อการรักษามากท่ีสุด ผู้ป่วยควรม ี บทบาทกำ� หนดรปู แบบการรกั ษาหรอื ไมอ่ ยา่ งไร และ  แพทย์ควรมบี ทบาทกำ� หนดการรกั ษาแคไ่ หนอยา่ งไร  ฯลฯ รายละเอยี ดเหลา่ นเี้ ปน็ สง่ิ ทข่ี น้ึ กบั วา่ เรามที ศั นะ  ในเรอื่ งความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งแพทยก์ บั ผปู้ ว่ ยแบบไหน การไดม้ โี อกาสถวายการรกั ษาทา่ นอาจารยพ์ ทุ ธ-  ทาส ทำ� ใหผ้ มไดม้ โี อกาสเรยี นรคู้ วามสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง  แพทย์และผู้ป่วยในแบบท่ีนอกเหนือไปจากระบบ  อปุ ถมั ภอ์ ยา่ งทผี่ มเคยชนิ อย ู่ ซง่ึ เปน็ ระบบทแี่ พทยจ์ ะ  เป็นผู้ก�ำหนดแนวทาง และวิธีการรักษาท้ังหมดตาม  ทต่ี นเองเหน็ ชอบ โดยทผ่ี ปู้ ว่ ยสว่ นใหญเ่ องกม็ อบการ  ตัดสินใจทั้งหมดให้ขึ้นกับความรู้และการวินิจฉัยของ  แพทย์ เพราะความเช่ือม่ันในความรู้และวิทยาการ  สมยั ใหม่ ทา่ นอาจารยพ์ ทุ ธทาสเปน็ ผปู้ ว่ ยทที่ ำ� ใหผ้ มรบั รวู้ า่   แพทยม์ ใิ ชผ่ กู้ ำ� หนดกระบวนการรกั ษาทงั้ หมด สำ� หรบั   ทา่ นแลว้  แพทยแ์ ละวทิ ยาการสมยั ใหมเ่ ปน็ เพยี งสว่ น  หนงึ่ ในกระบวนการรกั ษาการอาพาธของทา่ นอาจารย ์

124 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ี่ ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก เทา่ นนั้  ความสมั พนั ธข์ องทา่ นกบั การแพทยส์ มยั ใหม ่ จึงมิใช่อยู่ในรูปแบบของการพึ่งพิงอย่างส้ินเชิง หรือ  อยา่ งทง้ั หมดดงั เชน่ ทวั่ ๆ ไป ในเวลาทท่ี า่ นอาพาธ ทา่ น  อาจารยจ์ ะพยายามทำ� ความเขา้ ใจกบั สง่ิ ทเ่ี กดิ ขนึ้  และ  พยายามท่ีจะควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นน้ันให้อยู่ในขอบเขต  ทท่ี า่ นเองยอมรบั ได ้ และเหน็ วา่ เหมาะสมกบั ทา่ น ทา่ น  อาจารย์จึงมที ง้ั ด้านท่ีตอบรบั การแพทยส์ มัยใหม่และ  ดา้ นทป่ี ฏเิ สธ แตก่ อ่ นทท่ี า่ นจะตอบรบั หรอื ปฏเิ สธนน้ั   ท่านจะต้องซักถามและพินิจพิเคราะห์ข้อมูลที่เรา  กราบเรียนทา่ นกอ่ นดว้ ยทกุ ครั้งเสมอ ดังน้ันในกระบวนการถวายการรักษาจึงมีการ  ส่ือสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา ซ่ึงผม  เห็นว่าประเด็นนี้เป็นประโยชน์ต่อการรักษามาก  เพราะทำ� ใหเ้ กิดความร่วมมอื และความเข้าใจระหว่าง  แพทยแ์ ละผปู้ ว่ ย ในหลายกรณที ที่ า่ นอาจารยป์ ฏเิ สธ  วิธีการรักษาของแพทย์ แต่ก็เป็นการปฏิเสธด้วย  ความนุ่มนวล มิใช่ท่าทีของปฏิปักษ์ และมิใช่ด้วย  ความด้ือรั้นดึงดันไม่ยอมฟังเหตุผล หรือไม่ยอมท�ำ  ความเขา้ ใจสง่ิ ทแี่ พทยเ์ สนอ แตผ่ มเหน็ วา่ ทา่ นเขา้ ใจด ี

125 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล เพยี งแตว่ า่ ทา่ นมวี ธิ อี น่ื ทที่ า่ นตอ้ งการจะเลอื กมากกวา่   เพราะวิธีดังกล่าวสอดคล้องได้มากกว่ากับหลักการ  ของทา่ นอาจารยเ์ อง แมใ้ นสว่ นของแพทยเ์ อง การได้  ส่ือสารกับผู้ป่วยก็จะช่วยให้แพทย์ได้เรียนรู้ผู้ป่วย  ของตนเองมากขน้ึ กวา่ แคก่ ารตรวจ-วเิ คราะหโ์ รค-สง่ั ยา  หรือวิธีบำ� บัดต่างๆ ไปอย่างอัตโนมัติแบบกลไก และ  ส่ิงท่ีแพทย์ได้เรียนรู้จากผู้ป่วยน้ีจะเป็นประสบการณ์  ทพ่ี ฒั นาองคค์ วามรตู้ นเองใหแ้ ตกฉานออกไปอกี ดว้ ย  แม้ว่าช่วงเวลาในการถวายการรักษาท่านอาจารย์จะ  ยังน้อยเกินกว่าท่ีผมจะก้าวไปสู่ความแจ่มแจ้งตรงน ้ี ได้ แต่ผมก็ได้แนวคิดท่ีจะไปคิดต่อว่าจะนำ� กรณีของ  ท่านอาจารย์ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในการดูแลรักษา  คนไข้ เพ่ือจะท�ำให้มีการสื่อสารระหว่างแพทย์และ  ผู้ป่วยด้วยความเข้าใจกันมากขึ้น และเกิดความคิด  ว่าเราควรจะต้องพยายามปฏิบัติกับผู้ป่วยอื่นๆ ด้วย  หลักที่ไม่แตกต่างจากกรณีของท่านอาจารย์ แม้ว่า  เวลานผ้ี มอาจจะยงั ไม่สามารถทำ� ไดท้ ้ังหมดก็ตาม ส่ิงที่ผมได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์อีกประการ  หน่ึงคือ ทัศนะและการปฏิบัติของท่านในเรื่องความ 

126 ท่ า น อ า จ า ร ย ์ พุ ท ธ ท า ส  :  ค น ไ ข้ ท ี่ ผ ม ไ ด้ ร ู้ จ ั ก เจบ็ ปว่ ย การรกั ษา และการตาย ทำ� ใหเ้ หน็ วา่ ในระบบ  วิทยาการของการแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมุ่งจะค้นหา  และวิเคราะห์ส่วนย่อยของร่างกายท่ีผิดปกติ เพื่อ  ความเข้าใจปรากฏการณ์แล้ววางแผนการรักษาไป  โดยไม่ได้มองว่า การเจ็บป่วยของมนุษย์น้ันไม่ได้ม ี เพยี งมติ ทิ างรา่ งกายเทา่ นน้ั  สงิ่ ทเ่ี รายงั ละเลยกนั มาก  ก็คือ มิติทางจิต (Mental) และวิญญาณ (Spiritual)  ของผู้ป่วย ท�ำอย่างไรที่จะก่อให้เกิดการประสาน  กลมกลืนทั้ง ๒ มิตินี้ให้เป็นไปอย่างธรรมชาติ เพื่อ  ประโยชน์ในการเยียวยารักษาผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง  น่ีเป็นปัญหาท่ีผมคงต้องขบคิดและมุ่งหวังให้แพทย ์ ในระบบปัจจุบันได้ตระหนักในเร่ืองน้ีด้วยเช่นกัน  เพราะความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้จะช่วยให้เราปฏิบัติ  หนา้ ทใ่ี นฐานะแพทยไ์ ดอ้ ยา่ ง “ถกู ตอ้ งมาก” ขนึ้  และ  เมื่อใดท่ีเราท�ำหน้าที่ด้วยความถูกต้อง เม่ือน้ันเรา  ย่อมปฏบิ ตั ธิ รรมไปในตวั  ดงั ทท่ี า่ นอาจารยม์ กั จะพดู   อยเู่ สมอว่า “การท�ำงานคือการปฏิบัติธรรม” หรือ  “ธรรมะคอื หน้าท”่ี  นั่นเอง

127 น พ .  นิ ธ ิ พั ฒ น์  เ จ ี ย ร ก ุ ล ตลอดเวลาของการถวายการรกั ษา ผมประทบั ใจ  ในระบบความคิด ระบบการเรียนรู้ของท่านอาจารย์  พุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก รู้สึกว่าท่านเป็นนักคิด  ที่หาได้ยาก และท่านอาจารย์ยังเป็นผู้ท่ีพอใจกับการ  เผยแผค่ วามคดิ ทถ่ี กู ตอ้ งตลอดชวี ติ การทำ� งานของทา่ น  ท้ังโดยวิธีการสอนและการปฏิบัติให้ดู แม้ในยาม  อาพาธและมรณภาพ ท่านอาจารย์ก็สามารถก่อให้  เกิดกรณีศึกษาท่ีเป็นประโยชน์ทั้งทางโลกและทาง  ธรรมได้อยา่ งกวา้ งขวางและลุ่มลกึ ดว้ ย ผมคิดว่าหน้าที่ต่อไปของพวกเราก็คือ จะท�ำ  อย่างไรให้ส่ิงท่ีท่านคิดและต้ังปณิธานไว้น้ี ปรากฏ  เป็นจริงในสังคมไทยให้เร็วที่สุด และถูกต้องงดงาม  ทส่ี ุดด้วย นธิ พิ ัฒน ์ เจยี รกุล คณะแพทยศาสตร์ศริ ริ าชพยาบาล ๒๒ สงิ หาคม ๒๕๓๖





บนั ทึกของนายแพทย์ผู้ถวายการรักษาเล่มน้ี เกดิ จากธรรมทีท่ ่านแสดงในวาระสุดท้าย โดยอาศัยสจั ธรรม จากชีวิตที่ก�ำลงั จากพรากเปน็ องค์แสดง เราทกุ คนตา่ งมชี ีวิตอยู่เพื่อตายใหเ้ ป็น วนั สดุ ท้าย คือบทสรุปของชีวติ ทกุ ชีวิต ท่านสอนให้ ต า ย เ ส ี ย ก ่ อ น ต า ย และทา่ นได้ทำ� ใหด้ ูเป็นตัวอย่าง น่ีคอื วถิ ีแห่งปราชญ์โดยแท้ www.kanlayanatam.com


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook