Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ubaitamjit

ubaitamjit

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-03-29 15:20:41

Description: ubaitamjit

Search

Read the Text Version

อุบายทำ�จิตให้สงบ อาจารย์ ดร.สนอง วรอไุ ร

ดร.สนอง วรอไุ ร ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถ.ประโคนชยั ต.ปากนำ้� อ.เมอื ง จ.สมทุ รปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศพั ท ์ ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓, ๐๒-๗๐๒-๙๖๒๔ โทรสาร ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓ หนังสอื ดลี ำ� ดบั ท ่ี : ๒๓๘ พมิ พค์ รงั้ ที่ ๑ : ธันวาคม ๒๕๕๖ จำ� นวน : ๕,๐๐๐ เลม่ ด�ำเนนิ การผลติ โดย : ชมรมกลั ยาณธรรม ออกแบบและศลิ ปกรรม : ชฎาบญุ บุญสิริวรรณ เพลตและจดั พิมพ ์ : Canna Graphic : โทรศพั ท์ ๐๘๖-๓๑๔-๓๖๕๑ สพั พทานงั ธมั มทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเปน็ ทาน ยอ่ มชนะการใหท้ ั้งปวง www.kanlayanatam.com

ค �ำ อ นุ โ ม ท น า เรอื่ ง “อบุ ายท�ำ จติ ใหส้ งบ” เปน็ แนวปฏบิ ตั เิ รอื่ ง การพูดคุย ๑๐ ประการ (กถาวัตถุ ๑๐) ท่ีคนโบราณ ในคร้ังพุทธกาลได้วางไว้เพื่อให้จิตเข้าถึงความตั้งมั่น แลว้ ใชป้ ญั ญาพจิ ารณาหลกั ธรรมโดยแยบคายจนกระทง่ั สามารถปลดปลอ่ ยจติ วญิ ญาณใหเ้ ปน็ อสิ ระ เขา้ ถงึ พระ นพิ พานได้ หนังสือเล่มน้ีจึงเหมาะกับผู้มีทักษะในการอ่าน และรกั ทจี่ ะพฒั นาจติ วญิ ญาณของตวั เองดว้ ยการปฏบิ ตั ิ ธรรมเพอ่ื น�ำ ชวี ติ สคู่ วามสงบ เปน็ อสิ ระ และพน้ ไปจาก ทกุ ขท์ ั้งปวง

ข้าพเจ้าขอบคุณและอนุโมทนากับทุกท่านผู้มี สว่ นร่วมในการจดั พิมพห์ นังสอื น้ี ขออานสิ งสแ์ ห่งการ กระท�ำ นจี้ งเปน็ เหตปุ จั จยั สนบั สนนุ ใหท้ กุ ทา่ นไดด้ วงตา เห็นธรรม เข้าสู่ความหลุดพ้นจากอาสวะท้ังปวง ใน อนาคตกาลอนั ใกลน้ เี้ ทอญ ดร.สนอง วรอไุ ร

ค ำ� น ำ� คำ�บรรยายเรื่อง “อบุ ายทำ�จติ ใหส้ งบ” ของทา่ น อาจารย์ ดร. สนอง วรอไุ ร ซงึ่ แสดงแกผ่ เู้ ขา้ ฝกึ วปิ สั สนา กรรมฐาน ณ คณะมนษุ ยศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เชยี งใหม่ เมอื่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ น้ี เมอ่ื ไดฟ้ งั คราวใด กน็ ้อมน�ำ ใจ ใหเ้ กดิ ศรทั ธาและแรงบนั ดาลใจทจี่ ะพาตนใหพ้ น้ ไปจาก กองทุกข์ทงั้ ปวง ความหลุดพน้ นน้ั จะเกดิ ไดด้ ้วยการ ลงมือปฏิบัติตามอย่างมีสติ มีปัญญา และพากเพียร สมดงั พทุ ธพจน์ท่ีวา่ อาตาปี สัมปชาโน สตมิ า ค�ำบรรยายอมตะเรอื่ งน้ี แมอ้ าจยงั ไมช่ ว่ ยใหใ้ คร ถงึ ทสี่ ดุ แหง่ ทกุ ข์ แตเ่ ชอ่ื วา่ จะเปน็ แนวทาง เปน็ พลงั ใจ

ใหท้ กุ ทา่ นทมี่ ีใจใฝธ่ รรม ไดล้ งมอื ปฏบิ ตั ิ เจรญิ สติ เจรญิ ปัญญากันอย่างจริงจัง ไม่มัวแต่เพียงพร�่ำเพ้อถึงคุณ วเิ ศษแหง่ พระธรรมเทา่ นน้ั เพราะพระพทุ ธองคต์ รสั ไวว้ า่ “ธรรมท้ังหลาย เธอต้องท�ำเอง ตถาคตเป็นเพียงผู้ช้ี ทางเทา่ น้นั ” ชมรมกัลยาณธรรม หวังอย่างย่ิงว่าทุกท่านจะ ไดร้ บั สาระแหง่ ธรรม และเปน็ พลงั ใจใหท้ กุ ทา่ นกา้ วพน้ จากภพชาติ และสนิ้ อาสวกเิ ลสไดใ้ นทีส่ ดุ ด้วยความปราถนาดแี ด่ทกุ ท่าน ทพญ.อจั ฉรา กลน่ิ สวุ รรณ์ ประธานชมรมกลั ยาณธรรม

สารบัญ ๑๑ ๑๕ ของดี...ของวิเศษ ๒๗ รอ่ แร่...แกท้ ่ีไหน ๓๐ อย่าให้อายลงิ ๕๖ สิบคาถาพาจติ สงบ ๕๙ ราคะจรติ เกดิ ข้นึ ไดอ้ ย่างไร ? ๖๑ หลุดพน้ จากโทสะได้อย่างไร ๖๕ โมหะ...ตอ้ งแก้ดว้ ยการเจรญิ ปญั ญา ๗๔ ศรทั ธาวิมตุ ติ ๘๗ เมือ่ สองปราชญ์สนทนา ประวัตผิ ู้บรรยาย



พุทธวจนะ จติ เต สงั กลิ ิฏเฐ ทุคติ ปาฏิกังขา จติ เศรา้ หมอง ทคุ ตเิ ปน็ ท่ีหมาย จติ เต อสงั กลิ ฏิ เฐ สคุ ติ ปาฏกิ ังขา จิตไม่เศร้าหมอง สุคติเปน็ ท่หี มาย 9

ของด.ี ..ของวเิ ศษ สวัสดีครับ วันน้ีจะมาบรรยายให้เกิดประโยชน์ ในฐานะที่เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาจิตใจ ของตนเองให้งอกงาม การปฏิบัติธรรมนั้น จะว่ายาก กย็ าก จะวา่ งา่ ยกง็ า่ ย แตท่ งั้ น้ี ผทู้ เ่ี ขา้ มาปฏบิ ตั ิในทน่ี เี้ คย มพี น้ื ฐานมากอ่ นแลว้ จงึ ไดน้ �ำ ตวั เขา้ มาฝกึ มาปฏบิ ตั ิ คน ที่ไมม่ พี ืน้ ฐานทางนี้มาเลย แมจ้ ะชกั ชวนอย่างไร เขาก็ ไมเ่ ขา้ มาปฏบิ ตั ิ ผทู้ ปี่ ฏบิ ตั แิ ลว้ จติ สงบไดง้ า่ ย เปน็ ผทู้ ี่ได้ สง่ั สมประสบการณม์ ายาวนาน ท�ำ ไมจงึ พดู เชน่ นเี้ พราะ ตัวผบู้ รรยายเองได้ประสบ รเู้ หน็ เข้าใจ ภาษาธรรมะ เรยี กวา่ สนั ทฏิ ฐิโก เหน็ ดว้ ยตนเอง การรกู้ ารเหน็ ตา่ งๆ 10

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร เหลา่ นนั้ ใชป้ ญั ญาวปิ สั สนาญาณจงึ จะรู้ ปญั ญาทางโลก คอื ปญั ญาสญั ญาหรอื ปญั ญาเหน็ ผดิ ๒ ตวั นี้ไมส่ ามารถ จะรูเ้ ห็นสงิ่ ตา่ งๆ เหล่าน้ีได้ ต้องใชป้ ัญญาญาณ หรือ เรยี กงา่ ยๆ วา่ ตาใน ตาทพิ ย์ ตาญาณ ท�ำ ใหไ้ ดร้ ไู้ ดเ้ หน็ วา่ ท่านท้ังหลายเคยฝึกกันมาก่อนแล้ว จึงได้น้อมนำ�ตัว เขา้ มาสทู่ ี่แห่งนี้ คนท่ฝี ึกแลว้ จิตสงบได้งา่ ย ท่านม่นั ใจได้เลยว่า ตนเองไดเ้ คยสงั่ สมไวก้ อ่ นแลว้ ผลจงึ เกดิ ขน้ึ ไดง้ า่ ย เชน่ เดยี วกับผู้บรรยาย เมอ่ื ครง้ั ไปประพฤตปิ ฏบิ ัติธรรมอยู่ กับทา่ นเจ้าคุณอาจารย์ (สมยั นัน้ ท่านเปน็ เจ้าคุณพระ เทพสิทธิมุนี) ทำ�ได้ง่ายๆ ภายในเดือนเดยี วก็ได้รเู้ หน็ อะไรมากมาย วนั สดุ ทา้ ยท่ีไปลาสกิ ขาจากทา่ น ทา่ นเจา้ คุณฯ ทา่ นบอกว่า 11

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ “สง่ิ ท่ีไดไ้ ปนน้ั เป็นของดี ของวิเศษ ใหเ้ กบ็ ไว้กับตวั ตลอดชวี ติ ” เก็บมา ๒๐ กว่าปีแล้ว (บรรยายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐) ก็ยังไม่มีพร่องลงไปเลย มีแต่งอกงามขึ้น เพราะผบู้ รรยายยงั จ�ำ ค�ำ ของทา่ นเจา้ คณุ อาจารยช์ ดั แจง้ ไมค่ ลาดเคลอื่ นเลยแมแ้ ตค่ ำ�เดยี ว “สงิ่ ที่ไดไ้ ปนน้ั เปน็ ของดี ของวิเศษ ใหเ้ กบ็ ไว้กบั ตวั ตลอดชีวิต” ท่าน เจ้าคุณพระเทพสิทธมิ ุนี (ในสมัยน้นั ) ทา่ นพูดอย่างนี้ 12

13

รอ่ แร่...แก้ท่ไี หน ในการประพฤติปฏิบัติธรรม คนส่วนใหญ่ไม่ ประสบความส�ำ เรจ็ หรอื ไมป่ ระสบความส�ำ เรจ็ เทา่ ทค่ี วร หรือประสบความส�ำ เร็จช้า สาเหตนุ ั้นขึ้นอยู่กบั เง่ือนไข หรือองคป์ ระกอบ ๔ ขอ้ ต่อไปน้ี คือ ๑. ศลี อย่างน้อย ศีล ๕ ต้องมีอยู่ในใจ ไม่ใชแ่ คร่ ูศ้ ีล ๕ แต่ต้องมศี ลี ๕ อยู่ในใจ ใครท่ปี ระพฤติปฏบิ ัตมิ า ยาวนาน แต่ยังไม่ค่อยได้ผลก้าวหน้า ลองถามตัวเอง วา่ ศลี ๕ มอี ยู่ในใจของเราหรอื เปลา่ ถา้ มศี ลี ๕ อยู่ในใจ 14

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ก็ไม่ต้องรักษาให้มันเหน่ือยยาก ศีลท่ีมีอยู่ในใจย่อม เป็นพ้ืนฐานทำ�ให้จิตน่ิง ทำ�ให้สามารถประพฤติปฏิบัติ ธรรมได้งา่ ย แตถ่ า้ ไมม่ ีศีล ๕ ปฏบิ ัติอยา่ งไรก็ไม่ส�ำ เร็จ ไตรสิกขา ประกอบดว้ ยศลี สมาธิ ปัญญา นา่ คิดว่า เหตุใดพระพุทธเจ้าท่านไม่ทรงบัญญัติแค่สมาธิ กบั ปญั ญา สมถกรรมฐาน คอื สมาธิ วปิ สั สนากรรมฐาน คอื ปญั ญา ท�ำ ไมพระองค์ไมบ่ ญั ญตั ิ ๒ ตวั ท�ำ ไมตอ้ งมี ศีลนำ�มาก่อน น่ันเพราะพระองค์เห็นแล้วว่า ศีลเป็น พนื้ ฐานทจี่ ะท�ำ ใหใ้ จของเราสงบ ท�ำ ใหใ้ จของเรานงิ่ ฉะน้ัน คนท่ีปฏิบัติแล้วมีปัญหาว่า ทำ�ไมมรรคผลไม่ ก้าวหน้า จงพิจารณาตัวเอง ถามตัวเองดูว่า เรามีศีล ครบไหม ถา้ ศลี ไมค่ รบ ตอ้ งรกั ษาศลี เปน็ อนั ดบั แรก เม่ือใจมีศีลอยู่ จะปฏิบัติก้าวหน้าได้ง่าย คนท่ีได้ 15

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ ผลช้าน้ันเหตุประการหนึ่งคือ ศีลยังพร่อง ยังไม่ ครบ ๒. อทิ ธิบาท ๔ จะเรยี นหนงั สอื หรือทำ�กิจการใดๆ กต็ าม หรอื แม้จะมาประพฤติปฏิบัติธรรม อิทธิบาท ๔ นี้คือ หลกั ธรรมทจ่ี ะน�ำ ไปส่คู วามสำ�เร็จในทุกกรณี ธรรม ๔ ข้อนี้ ได้แก่ ๑. ปฏิบัตธิ รรมดว้ ยใจรกั (ฉันทะ) ๒. ปฏิบตั ิธรรมด้วยความพากเพียร (วริ ิยะ) ๓. ปฏบิ ัติธรรมดว้ ยใจจดจอ่ (จติ ตะ) ๔. ใชป้ ญั ญาไตส่ วนธรรมท่ปี ฏิบตั ิ (วมิ ังสา) 16

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร เม่ือท่านท้ังหลายมาฝึกสมถกรรมฐานและ วิปสั สนากรรมฐาน ท่านลองใชห้ ลัก ๔ ข้อนีเ้ ปน็ ตวั จบั อนั ดบั แรก...เราตอ้ งรกั ทจ่ี ะฝกึ กรรมฐาน รกั ทจ่ี ะฝกึ วิปัสสนากรรมฐาน จึงจะสำ�เร็จได้ง่าย การฝึกปฏิบัติ ต้องทำ�ดว้ ยความพากเพยี ร ๑ วนั มี ๒๔ ชัว่ โมง ถามวา่ เราประพฤติปฏบิ ตั ิ กรรมฐานสักก่ีช่ัวโมง ผู้บรรยายในสมัยท่ีไปพิสูจน์ สัจธรรม นอนน้อย เพียง ๔-๕ ชั่วโมงเท่านั้นพอ เวลานอกเหนือจากน้ันปฏิบัติเต็มท่ี เพราะฉะน้ัน เรื่องความเพียรสำ�คัญมาก ความเพียรนำ�ไปสู่ความ สำ�เร็จ คนท่ชี อบนอน ปฏบิ ตั สิ ำ�เรจ็ ยาก เมื่อเราอยู่ ในทางโลก มสี งิ่ นน้ั สงิ่ นเ้ี ขา้ มา อารมณจ์ ะฟงุ้ การปรงุ แตง่ อารมณ์ทำ�ให้สูญเสียพลังงาน เม่ือพลังงานพร่องไป 17

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ จากจิตใจมากๆ เราต้องใช้เวลานอนยาวนานเพ่ือเติม พลงั งานใหเ้ ตม็ แตเ่ มอ่ื เราฝกึ สมถกรรมฐาน เมอื่ จติ นงิ่ แลว้ จติ ไม่ปรงุ แต่งอารมณ์ใหฟ้ ุ้งเหมือนเวลาเราอยู่ใน ทางโลกจะมีอารมณ์เกิดขึ้นนอ้ ย พลงั งานจะไม่สญู เสีย ไปกับการปรงุ แต่งอารมณต์ ่างๆ ฉะนัน้ ใน ๒๔ ชว่ั โมง ถ้าเราเรง่ ความเพียร เราต้องนอนนอ้ ยลง...น้อยลง ในการปฏบิ ตั กิ รรมฐาน ทา่ นใหก้ �ำ หนดอารมณท์ ี่ เปน็ ปจั จบุ นั ใชอ้ งคบ์ รกิ รรมวา่ “พองหนอ...ยบุ หนอ” หรอื อย่างอ่ืน ถา้ จติ น่ิงได้ จะอย่กู บั พองหนอ-ยบุ หนอ ไม่ไปคิดเรื่องอื่นใดท้ังส้ิน อารมณ์จะน้อย จะมีอยู่ อารมณเ์ ดยี วทเี่ ปน็ ปจั จบุ นั ขณะ พลงั งานจะถกู อนรุ กั ษ์ ไวใ้ นรา่ งกาย เมอื่ พลงั งานพรอ่ งไปนอ้ ย เรานอนนดิ เดยี ว ก็เพียงพอ 18

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร เครื่องวัดว่าเรามีความเพียรมาก ให้ดูว่าจิตนิ่ง มากหรือไม่ หรือดูท่ีความขยันก็ได้ ถ้ามีความขยัน เพิ่มข้ึน ความข้ีเกียจลดลง แสดงว่าจิตของท่านเป็น สมาธิมากขึ้น เหล่านี้เป็นเคร่ืองวัดท่ีเป็นวิทยาศาสตร์ ท้ังหมด เพราะฉะน้ัน ขอให้ใช้ หลักอิทธิบาท ๔ อนั ไดแ้ ก่ ท�ำ ดว้ ยใจรกั ท�ำ ด้วยความพากเพียร ทำ�ด้วย ใจจดจ่อ (คือ สติกำ�หนดอยู่กับองค์กรรมฐาน) แล้ว ใช้ปัญญาไต่สวนพิจารณา เช่นว่า ทำ�ไมวันน้ีน่ังแล้ว เข้าสมาธิยาก ทำ�ไมเม่ือวานทำ�ได้ดีกว่าน้ี ต้องหา ข้อบกพร่อง เมื่อแก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว การฝึก ของเราจะกา้ วหน้า นีค่ ืออทิ ธิบาท ๔ ถ้าท่านอยากจะ ประสบผลสำ�เร็จในการประพฤติปฏิบัติธรรม ต้อง เจริญอิทธิบาท ๔ ให้มาก ฝึกกรรมฐานด้วยใจรัก ฝึกด้วยความพากเพียร ฝึกด้วยใจจดจ่อ และใช้ 19

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ ปัญญาไต่สวน ไม่ใช่น่ังพองหนอ-ยุบหนอไปเร่ือยๆ ต้องคิดถึงเหตุผลว่าทำ�ไมมันเร็ว ทำ�ไมมันช้า ทำ�ไม วันน้ีฝึกแล้วไม่ได้ดีเหมือนเม่ือวานน้ี ต้องใช้ปัญญา ไตส่ วนหาเหตุ แล้วแกท้ ่เี หตนุ ั้น น่ีคือหลกั ธรรมท่ีนำ�สคู่ วามส�ำ เรจ็ นกั เรยี นทนี่ ำ� อทิ ธิบาท ๔ ไปใชก้ บั การเรียนจะเรยี นไดด้ ี และเรยี น ได้ง่าย ๓. ยอมตาย สมัยท่ีผู้บรรยายไปฝึกกรรมฐานกับท่านเจ้าคุณ พระเทพสทิ ธมิ นุ ี ทา่ นสอนวา่ “ถา้ อยากไดธ้ รรมะของ พระพุทธเจ้า ต้องเอาชีวิตเข้าแลก” มีใครเคยคิด บ้างไหมวา่ นงั่ สมาธินจ่ี ะยอมตายเลย จะปวดจะเมอื่ ย 20

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร จะเหน็บชาอย่างไร เราจะไม่ขยับเขย้ือน จะบริกรรม “พองหนอ ยุบหนอๆๆๆ...” โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ มีใครเคยคิดยอมตายบ้าง ผู้บรรยายทำ�มาแล้วเพราะ เชอ่ื ในครบู าอาจารย์ ทา่ นบอกอยา่ งไร เราจะท�ำ อยา่ งนน้ั ทำ�ให้ถูกตรงกับสิ่งท่ีท่านบอก เมื่อไปปฏิบัติวันแรกๆ นง่ั ได้ยาวนาน สบาย วันหลังๆ น่งั ไปไมน่ านเทา่ ไรก็ ปวดเม่ือยจึงเปลี่ยนอิริยาบถจากน่ังเป็นยืน เป็นเดิน จงกรม จากเดินจงกรมมาน่ัง สลบั ไปมา สมาธิไมค่ อ่ ย ก้าวหนา้ ในท่สี ดุ ...ยอมตาย เมื่ออธิษฐานยอมตายแล้ว ภายใน ๗ วัน เท่าน้ันเอง จิตเข้าอัปปนาสมาธิไปเลย ตอนนั้นมี ความสขุ มาก นกึ วา่ นพิ พานแลว้ เหน็ ไหมครบั ยอมตาย เพ่ือธรรมะของพระพุทธองค์ เราจึงได้สจั ธรรม จงึ ได้ 21

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ ความรู้ตัวน้ีมา เพราะฉะน้ัน ใครที่อยากได้กรรมฐาน ให้ใช้หลักน้ี พระธุดงค์ท่านออกป่ารูปเดียว ท่านก็ ยอมตายเชน่ กนั พระทเ่ี ป็นหลักของพระศาสนา ใหค้ น ได้กราบไหว้บูชา ท่านล้วนแต่ยอมตายมาแล้วท้ังน้ัน ฉะนั้นเราเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า เราต้องสู้ตาย! ในการประพฤติปฏบิ ตั ิธรรม เพียงปวดนิดๆ หนอ่ ยๆ เรากค็ ดิ จะเปลยี่ นอริ ยิ าบถเสยี แลว้ มีใครบา้ งทย่ี อมตาย ถ้ายอมตาย กจ็ ะได้มรรคผลกา้ วหนา้ เรว็ อนุโมทนากับ ท่านดว้ ย คนใจเด็ดเท่านน้ั ท่ีจะท�ำ ได้ เม่อื ใดทีพ่ ลงั สติในดวงจติ สะสมมากพอ ทกุ คน มีสิทธ์ิทำ�ได้ เราฝึกพองหนอ-ยุบหนอไปเพื่อเพิ่ม พลังสติ เม่ือสติเกิดข้ึน สมาธิก็เกิดขึ้น เป็นพลัง สมาธิ เอาพลังสมาธิมาพัฒนาปัญญาเห็นแจ้งที่เรียก 22

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร วา่ วิปสั สนาภาวนา พลังปัญญากเ็ กิดข้นึ เพราะฉะน้ัน พลงั จติ ทเ่ี ปน็ ผลจากการฝกึ มอี ยู่ ๓ ตวั คอื พลงั สต ิ พลงั สมาธิ และพลังปญั ญา (เหน็ แจง้ ) ๔. สงิ่ ท่สี ่ังสมไว้ คือ ส่ิงท่ีเราได้ทำ�ไว้แล้วแต่ปางก่อน ได้สะสม ไว้แต่อดีตชาติ เพราะจิตมนุษย์ทุกคน และจิตของ สัตว์โลกทั้งหลาย ทำ�ส่ิงใดด้วยการคิด พูด ทำ� ล้วน สง่ั สมไว้ในจติ ทเ่ี รามานัง่ ฝึกกรรมฐาน มาฝึกกัน ๗ วนั ๘ วัน ไม่ได้สูญหาย ไม่ได้เสียเปล่า ทุกวันท่ีเรา นั่งฝึกพองหนอ-ยุบหนอ ไม่เป็นโมฆะ แต่มีพลัง สงั่ สมในดวงจติ เร่อื ยๆ ไป ผบู้ รรยายพดู ได้เตม็ ปาก เพราะว่า ภายในเดือนเดียวที่ไปฝึกปฏิบัติธรรมที่ วัดมหาธาตุฯ ได้ไปรู้ไปเห็นสิ่งต่างๆ หลายอย่าง 23

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ อภิญญาหลายๆ ตัวได้เกิดข้ึนภายในเดือนเดียว แปลกใจว่าท�ำ ไมจงึ ได้เร็วกวา่ คนอ่นื จนกระทงั่ ในวนั หน่งึ อภิญญาท่เี รียกวา่ ปพุ เพ นวิ าสานสุ ตญิ าณ เกดิ ขนึ้ กบั ตวั เอง จงึ ไดร้ วู้ า่ เราไดท้ �ำ ไว้ แตป่ างก่อนยาวนานมาแลว้ เคยเกิดเปน็ ฤาษปี ฏิบัติมา หลายชาติ เพราะฉะนั้นที่ท่านทำ�ในวันนี้ไม่สูญเปล่า แต่จะสั่งสมไปเรื่อยๆ ทีละหน่ึง ทีละหน่ึง มากข้ึนๆ ทำ�เถิด อย่าหยดุ จะเป็นตายอยา่ งไร ทำ�ไปเถิด จะได้ ดีเอง นี่คือเหตุปัจจัยหนึ่งว่าเราจะได้มรรคผลช้าหรือ เร็ว ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งท่ีเราส่ังสมไว้แต่อดีตมีมากหรือมี นอ้ ยแค่ไหน 24

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร 25

อยา่ ใหอ้ ายลงิ ปจั จบุ นั โลกมสี ง่ิ ลวงตาลวงใจมากมาย โดยเฉพาะ ยุคน้ีเป็นยุคที่บริบูรณ์ด้วยวัตถุ ปรนเปรอพร่ังพร้อม เทคโนโลยีใหม่ๆ ท�ำ ใหเ้ ราหลง ทำ�ให้เราติดยึดกันมาก จิตของสัตว์โลกจึงแกวง่ อะไรเข้ามากระทบ จติ จะจบั จะยึด จะปรุงแตง่ เกิดจติ สังขารขน้ึ เราปล่อยตัวให้ เคยชินกับการปรุงแต่งของจิตมายาวนาน เมื่อเรา มาบงั คับใหจ้ ิตอยูน่ ่งิ ๆ บางครั้งจึงมีปญั หา บางคน อึดอัด บางคนดิ้นรนเหมือนสัตว์ป่าท่ีถูกจับมาขังกรง ใจไม่เคยอยู่กับท่ีเลย คิดจะไปโน่นจะไปน่ี หงุดหงิด งุ่นง่าน อันน้ีเป็นธรรมชาติของจิต มันเคยมีอิสระมา 26

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ยาวนาน เคยปรงุ แตง่ อารมณต์ า่ งๆ มายาวนาน เมอื่ เรา มาจับบงั คับให้นงิ่ จากอารมณป์ รงุ แต่งจงึ มีปญั หา แต่อย่างไรกต็ าม หากเราบงั คบั ให้จติ นงิ่ ได้ จะ เกิดประโยชน์ ไม่ตอ้ งดูอะไรไกล ดูลิงทเ่ี ขาจบั มาฝกึ ให้ เกบ็ มะพรา้ ว กวา่ จะฝกึ ได้ เจา้ ของกเ็ หนอ่ื ย ลงิ กเ็ หนอื่ ย แต่ในทสี่ ดุ เมอ่ื ฝกึ ไดแ้ ลว้ มปี ระโยชนม์ าก เชน่ เดยี วกนั ในเม่ือสัตว์เดรัจฉานยังฝึกได้ ประสาอะไรเราเกิดเป็น มนษุ ย์ ประเสรฐิ กวา่ สตั ว์เดรจั ฉาน ภพภูมกิ เ็ หนอื กวา่ สตั วเ์ ดรจั ฉาน ท�ำ ไมจะฝกึ ไม่ได้ อยา่ ใหอ้ ายสตั วเ์ ดรจั ฉาน จริงอยู่...ใจของเราเคยแกว่ง เคยรับส่ิงกระทบต่างๆ มาปรุงเปน็ อารมณห์ ลากหลาย เมือ่ จะมาฝึกใหน้ ่ิง มัน จึงยากเหลือเกิน แต่ทำ�ไปเถิด ในท่ีสุดจิตจะสงบนิ่ง ได้จริง 27

สิบคาถาพาจิตสงบ หลกั ธรรมทจี่ ะท�ำ ใหจ้ ติ สงบ ท�ำ ใหจ้ ติ นงิ่ ได้ คอื กถาวัตถุ ๑๐ (เร่อื ง ๑๐ อยา่ งทคี่ วรพดู ควรสนทนา กนั ) เราควรจะพดู คยุ กนั เกย่ี วกบั สง่ิ ตา่ งๆ เหลา่ นี้ และ นำ�ไปประพฤติปฏิบัติเพ่ือทำ�ให้จิตนิ่ง หลักธรรม ๑๐ อยา่ งน้ี คือ ๑. ความมักน้อย ความมักน้อย ปรารถนาน้อย ดูพระสงฆ์เป็น ตัวอยา่ ง ทา่ นมเี พยี งอฐั บริขาร คอื เครอ่ื งใช้ ๘ อย่าง ท่านเป็นผู้มกั นอ้ ย ในฐานะที่เราอยากได้ดี อยากทำ�จติ 28

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ของเราให้ประเสริฐเหมือนพระ เราต้องทำ�จิตของเรา ให้น่ิง จิตจะน่ิงได้ เราต้องมีความมักน้อย ถ้าเรามี ความมกั มาก จะเกิดเป็นความโลภ ฉะนนั้ เม่ือเราจะ กินอาหาร ถึงจะอร่อยหรือไม่อร่อย เราก็กินแต่พอดี ไม่ใชว่ า่ อรอ่ ย...เรากก็ นิ เสยี พงุ กาง จนไม่ไดป้ ฏบิ ตั ธิ รรม ต้องไปนอนเลย อย่างน้ันก็เป็นความโลภหรือมักมาก ซ่ึงขัดต่อการปฏิบัติและทำ�ให้จิตไม่น่ิง ในฐานะที่เรา เปน็ นกั ปฏบิ ตั ธิ รรม อาหารจะอรอ่ ยหรอื ไมอ่ รอ่ ย ตอ้ งกนิ แค่พอให้ร่างกายนี้ทรงอยู่ได้ นั่นคือความมักน้อย กินพอดี แลว้ จิตจะน่ิงได้ การบริโภคปัจจยั ๔ อน่ื ๆ หรอื เครอ่ื งใช้ตา่ งๆ เราก็ใชแ้ ตพ่ อดี พระสงฆท์ ่านมเี ครอื่ งใช้อยู่ ๘ อย่าง ในฐานะทเี่ ราเปน็ ฆราวาส เสอื้ ผา้ ตา่ งๆ เรากม็ แี คพ่ อใช้ 29

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ อยา่ ให้มากเกนิ บางคนมถี งึ ๒-๓ ตู้ พอหยิบชุดน้นั มาใส่...ไม่ชอบ เกิดโทสะ เปล่ียนหยิบตัวใหม่มาใส่ ตวั นีก้ ็ไมช่ อบ เกดิ โทสะครัง้ ทส่ี อง เปลีย่ นไปเปล่ียนมา แต่งตวั วันหนง่ึ ๆ เกดิ โทสะหลายคร้งั เพราะไมม่ ักนอ้ ย จะอยู่ จะกิน จะนอน จะอะไรต่างๆ ขอให้มักน้อย เรอื่ งการนอนกแ็ คน่ ดิ เดยี ว ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งมเี ครอ่ื งเคยี ง หมอนขา้ ง หรอื อะไรใหม้ ากมาย กเิ ลสมนั จะเขา้ รบกวน จิตจะไม่สงบ ดงั นนั้ หากประสงค์จะให้จิตสงบ เราต้องพูดคยุ กนั ในเร่อื งความมกั นอ้ ย คอื บริโภคใชส้ อยเทา่ ทจ่ี ำ�เปน็ กบั ชวี ิต ไม่จำ�เป็นต้องบริโภคใชส้ อยใหเ้ กินพอกบั การ คงอยู่ของชีวิต ไม่จำ�เป็นต้องบริโภคอาหารที่มีราคา แพงเกนิ ความเปน็ จรงิ ไมจ่ ำ�เปน็ ตอ้ งใชส้ อยสนิ คา้ เชน่ 30

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร รองเท้า กระเปา๋ ถอื เสอ้ื ผา้ ทม่ี ีชอ่ื เสยี ง และมรี าคาแพง (brand name) ๒. ความสนั โดษ คนท่วั ไปมักเขา้ ใจผดิ คดิ วา่ “สนั โดษ” คือ ไม่ ต้องทำ�อะไรเลย บางคนชอบพูดว่า ถ้าสันโดษแล้วไม่ ต้องทำ�อะไรเลย โลกก็ไม่เจริญน่ะสิ นั่นเขาเข้าใจผิด ค�ำ วา่ “สนั โดษ” คอื พอใจในสงิ่ ทตี่ นเองเปน็ ตนเองม ี ตนเองไดร้ บั แตท่ �ำ เตม็ ที่ ผบู้ รรยายเปน็ คนสนั โดษแต่ ทำ�เต็มท่ี ทำ�มากกว่าคนไม่สันโดษเสียอีก ใน ๑ วัน มี ๒๔ ช่วั โมง ผูบ้ รรยายนอนแค่ ๔ ชว่ั โมง บวกลบ นิดหนอ่ ย นอกน้ันฝึกตนตลอด ท�ำ งานมาก แตพ่ อใจ ผลทเ่ี กดิ ขน้ึ ไดแ้ ค่ไหน พอใจแคน่ น้ั นค่ี อื ความสนั โดษ ถ้าเรามีความสันโดษ จิตจะสงบ มีความสุข คนที่ไม่ 31

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ สนั โดษ จติ จะว้าวนุ่ ไดแ้ คน่ ี้ไม่พอ คิดว่า “เราอตุ สา่ ห์ ทำ�เต็มทแี่ ลว้ ทำ�ไมไดแ้ ค่น้ี ?” ไมร่ จู้ กั พอ จิตเปน็ ทกุ ข์ เป็นทุกข์แล้วไม่สงบ การประพฤติปฏิบัติธรรมจึงมี อปุ สรรคปญั หา ฉะนนั้ เรอื่ งความสนั โดษนต้ี อ้ งนอ้ มน�ำ มาใส่ตัวเรา อย่าลืมว่า ความสันโดษคือความพอใจใน สิ่งที่ตนเองเป็น ส่ิงท่ีตนเองมีและส่ิงที่ตนเองได้รับ เมื่อทำ�เต็มท่แี ลว้ ได้แค่ไหน ก็พอใจแค่น้นั ๓. ความสงัด ความสงัด คือ ความเงียบ สงัดกาย...สงัดใจ ความสงดั กาย คือ การทเ่ี ราพยายามอยู่ในทป่ี ราศจาก สิ่งรบกวน อยู่ในสถานท่ีสงบเงียบ เช่น ห้องปฏิบัติ กรรมฐานนกี้ เ็ ปน็ ทส่ี งบ ทกุ คนไมส่ ง่ เสยี งเอะอะวนุ่ วาย ทกุ คนเดินจงกรมกันอยา่ งเรยี บร้อย ความสงัดเปน็ ส่ิง 32

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร จำ�เปน็ ที่จะท�ำ ใหจ้ ิตสงบได้ พระธุดงค์มักออกปา่ ไปหา ที่สงัดตามโคนต้นไม้ เราเป็นฆราวาส เป็นนักปฏิบัติ ธรรม ไม่ใชพ่ ระธดุ งค์ ไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งไปออกปา่ เพยี งแต่ ไม่พูดคุยกัน หรือเข้าห้องพระ หรือหันหน้าเข้ามุมใด มุมหน่งึ ของห้อง ก็ทำ�ใหจ้ ิตสงัดได้เหมอื นกนั ในการประพฤติปฏิบัติธรรมของผู้บรรยาย ครั้งแรกท่ีไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดมหาธาตุฯ อาศัยการ หันหน้าเข้ามุมห้องไม่พูดคุยกับใครก็ทำ�ให้จิตสงัดได้ เพราะฉะน้ัน เรอื่ งความสงดั นส้ี �ำ คญั มาก ๔. การปลกี ตนออกจากหม่คู ณะ บางคนเรียกวา่ “ปลกี วเิ วก” คือ แยกตวั ออก จากหมู่จากพวก เพราะถ้าเข้าพวกเข้าหมู่แล้ว ก็มัก 33

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ คยุ เรอื่ งไรส้ าระ คยุ เรอ่ื งกเิ ลสตา่ งๆ จติ จะวา้ วนุ่ ไปหมด เคยสงั เกตไหมวา่ คนทช่ี อบเขา้ หมเู่ ขา้ พวก แยกจาก พวกไม่ได้ จติ มักมคี วามวนุ่ จติ มีสตอิ อ่ น อารมณ์ ที่เกิดขึ้นโดยมากจะเป็นอารมณ์ติดลบ ย่ิงในยุค เศรษฐกิจไม่ดีเช่นน้ี คนท่ีเข้าพวกเข้าหมู่จะมีอารมณ์ ติดลบแทบทั้งนั้น คนพวกนี้มีอารมณ์มาก เหตุเป็น เพราะจิตมีพลังสติอ่อน แล้วเลยพาลเจ็บป่วยด้วยโรค อะไรต่อมิอะไร...อยา่ งท่เี ราเห็น นี่เปน็ โทษของการไม่ ปลกี ตวั ออกจากหมจู่ ากพวก ผทู้ มี่ งุ่ ประพฤตปิ ฏบิ ตั ธิ รรม ควรปลกี ตวั ออกจากหมจู่ ากพวก จะท�ำ ใหจ้ ติ สงบไดง้ า่ ย แต่ในทางโลก คนทป่ี ลกี ตวั ออกจากหมู่ อาจถกู คนพวก อื่นตำ�หนินินทาว่าเป็นคนไม่เอาไหน ในเม่ือเรายังอยู่ ในสังคม จะมวี ิธีปลีกตวั ออกได้อยา่ งไร 34

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ผู้บรรยายเองก็ปลีกตัวออกจากหมู่คณะ ไม่ได้ ปลกี ตวั ไปถาวร แค่ไปชวั่ คราว ปรกตจิ ะอยู่ในหอ้ งท�ำ งาน เงียบๆ เม่ืออยู่ในความเงียบได้ สติปัญญาอันสุขุม รอบคอบจะเกิดข้ึน ฉะนั้น เราปลีกตัวออกจากหมู่ จากพวกเพอื่ ไปเพมิ่ ก�ำ ลงั สติ ก�ำ ลงั สมาธิ และก�ำ ลงั ปญั ญา จติ ของเราจะมกี �ำ ลงั มาก หรอื คอื มพี ลงั มาก เรา ก็ใชพ้ ลงั สติ พลงั สมาธิ พลงั ปญั ญาของเรา ไปชว่ ยคนอน่ื ไดม้ าก การปลกี ตวั ออกจากหมจู่ ากพวก จงึ ท�ำ ใหจ้ ติ ของ เรามกี �ำ ลงั ท�ำ ใหจ้ ติ ของเรานง่ิ ฉะนน้ั ถา้ อยากประพฤต ิ ปฏิบัติธรรมให้ได้มรรคผลก้าวหน้า ต้องพยายาม ปลีกตัวไปหาที่สงบที่สงัด เม่ือถึงเวลาอันสมควรจึง กลบั เขา้ หมู่เข้าพวกใหม่ 35

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ ที่บ้าน ให้จัดสักห้องหนึ่งเป็นห้องพระ แต่ กอ่ นอ่นื ...ต้องไมล่ มื วา่ หน้าท่ีของตวั เองที่บา้ นต้องท�ำ ให้สมบูรณ์แบบ เป็นภรรยา...ก็ท�ำหน้าที่ภรรยาให้ สมบรู ณแ์ บบ เปน็ สาม.ี ..กท็ �ำหนา้ ทสี่ ามีใหส้ มบรู ณแ์ บบ เปน็ นกั เรยี น...กท็ �ำหนา้ ทขี่ องนกั เรยี นใหส้ มบรู ณแ์ บบ เมอ่ื หนา้ ท่ที างสงั คมโลกเรยี บรอ้ ยบรบิ รู ณ์ ไมบ่ กพร่อง แลว้ ใน ๒๔ ช่ัวโมง เวลาก่อนนอนเปน็ เวลาของเรา เราสามารถปลีกตัวออกจากหมู่จากพวก ไปหาท่ีสงบ ที่สงัด จะเข้าห้องพระก็ได้ หรือยิ่งมาฝึกกรรมฐาน อย่างนี้ก็เปน็ โอกาสทด่ี ี ผบู้ รรยายนอนสงบเงียบ ใครเหน็ ไมร่ ูว้ า่ ท�ำ อะไร ท่ีแท้คือไม่ได้นอนเปล่า แต่ใช้สติปัญญาพิจารณาข้อ ธรรมะ สตปิ ญั ญากเ็ กดิ ขน้ึ ตลอดเวลา ฉะนนั้ การปลกี ตวั 36

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ออกจากหมู่จากพวก จะทำ�ให้จิตมีพลังมาก ออกไป ช่วยคนได้กว้างไกล สิ่งนี้ผู้บรรยายพิสูจน์แล้ว เป็น เช่นนั้นจริง คนที่อยู่รวมหมู่รวมพวกจะมีพลังสติอ่อน จึงไมส่ ามารถเอาไปชว่ ยใครได้ ๕. ความเพียร เรง่ ความเพยี รให้มากจะไดด้ ี ความเพียรเปน็ สิ่งสำ�คัญ หลักธรรมท่ีเก่ียวกับความเพียรมีมาก เช่น ในอิทธิบาท ๔ ก็มีความเพียร (คือ ข้อ ๒ วิริยะ), ในพละ ๕ อนั ไดแ้ ก่ ศรทั ธา วริ ยิ ะ สติ สมาธิ ปญั ญานน้ั “วริ ิยะ” ก็คือ ความเพียร, ในสมั มัปปธาน ๔ พระพทุ ธองคต์ รสั ไวว้ า่ ๑. เพียรไม่ให้อกศุ ลเกิดข้นึ ในใจ ๒. เพยี รละอกศุ ลท่ีเกิดแลว้ ให้หมดไป 37

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ ๓. เพยี รสรา้ งกศุ ลหรอื ความดีใหเ้ กดิ ขน้ึ ในจติ ใจ ๔. เพียรรักษากุศลทีเ่ กิดขึ้นแล้วใหค้ งอยู่ ดังน้ัน ถ้าอยากก้าวหน้าในมรรคผลแห่งการ ประพฤติปฏิบัติธรรม ต้องเจริญความเพียรให้มาก ความเพียรเป็นบารมีชนิดหนึ่ง เรียกว่า วิริยะบารมี ดังน้ัน จึงเป็นหลักธรรมที่นักปฏิบัติธรรมท้ิงไม่ได้เลย ต้องเร่งความเพียรให้สุดความสามารถของเรา เพราะ ความเพยี รนำ�ไปสคู่ วามสำ�เร็จ ๖. ศีล เราควรจะพูดคุยและปฏิบัติกันในเรื่องศีล ศีล เป็นเหมือนเกราะป้องกันจิตไม่ให้หว่ันไหว สีเลนะ สุคะติง ยันติ ถ้าเรามีศีล เราย่อมเข้าถึงสุคติได้, 38

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร สเี ลนะ นพิ พตุ ิง ยันติ จะไปนิพพานได้ ต้องมีศีลเปน็ พ้ืนฐาน ในการประพฤติปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา กรรมฐานนนั้ ศีลส�ำ คญั มาก อยา่ งน้อยต้องรักษาศลี ๕ ให้คงอยใู นจติ ใจให้ได้ การจะเกดิ เปน็ มนษุ ย์ได้ ตอ้ งมศี ลี ๕ บรบิ รู ณ ์ เมอื่ เกดิ มาเป็นมนุษยแ์ ลว้ ลองถามตวั เองว่า ศลี ๕ ขอ้ ยังมอี ย่คู รบไหม ? ถ้าศลี ไมค่ รบ โอกาสจะกลับมาเกิด เปน็ มนษุ ยห์ ลงั จากทง้ิ ขนั ธน์ ี้ คงไมม่ แี ลว้ ตอ้ งลงไปเกดิ เป็นสตั วอ์ ยู่ในอบายภูมิ มองไปรอบๆ ในสงั คม มนุษย์ ที่มีศีลครบ ๕ ข้อจริงๆ มีน้อย คนท่ีมีศีลไม่ครบ... เมื่อสร้างเหตุไม่ดีไว้แล้ว เขาจะไปไหน เรารู้ที่ไปของ คนเหล่านี้ได้ทันที น่ีเป็นเรื่องธรรมดาที่เราเห็นชัด ดังน้ันถ้าศีลไม่ครบ ย่อมไม่มีสิทธิ์กลับมาเกิดเป็น 39

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ มนษุ ย์อีก ในคร้ังพทุ ธกาล พระพทุ ธโคดมจึงตรสั สอน สตั ว์(รปู นาม) ทม่ี ศี ลี คมุ ใจ ซง่ึ ไดแ้ ก่ มนษุ ย์ เทวดาและ พรหมเทา่ นน้ั ทม่ี ีโอกาสน�ำ พาชวี ติ ไปสคู่ วามพน้ ทกุ ข์ได้ ๗. สมาธิ เม่ือเรามาขวนขวายฝึกสมาธิกันเช่นน้ี ทุกคน ก็คงเคยมีประสบการณ์ขณิกสมาธิกันมาบ้างแล้ว พอ เกิดแลว้ จติ น่ิง (ต้งั มั่น) ประเด๋ยี วประดา๋ ว สมาธิแบบนี้ มีประโยชน์สำ�หรับใช้เรียนหนังสือ ใช้ทำ�งานได้ดี ผู้ บรรยายไปเรียนถึงปริญญาเอก ได้อาศัยสมาธิช่วยใน การเรยี น ตอนอยอู่ งั กฤษไดฝ้ กึ สมาธติ ลอด ๔ ปี ฝกึ จน ถึงข้ันท่ีลืมตาอยู่แล้วเห็นอุคคหนิมิต (นิมิตติดตา) เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ สมาธิทำ�ให้สุขภาพดี ร่างกาย แข็งแรงมพี ลังมาก ฉะนัน้ ฝึกไว้เถดิ จะดีเอง 40

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ขณกิ สมาธิท�ำ ให้เรยี นสำ�เร็จไดง้ ่าย พอสูงขน้ึ ไป เปน็ อปุ จารสมาธิ เอามาใชฝ้ กึ วปิ สั สนากรรมฐาน เชน่ ท่ี หลวงพอ่ สอนไวว้ ่า พอได้อปุ จารสมาธิ ให้น�ำ มาก�ำ หนด รปู -นาม ว่าเป็นอนิจจงั ทกุ ขัง อนัตตา ก็ไดว้ ิปัสสนา ญาณ ผสั สะใดทเี่ ขา้ มาในขา่ ยของอปุ จารสมาธิ ใหใ้ ชจ้ ติ พิจารณาว่าเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนตั ตา เมอ่ื ผสั สะดบั ปญั ญาเหน็ แจง้ กเ็ กดิ ทกุ ผสั สะที่ เข้ามาในข่ายของอปุ จารสมาธิ ตอ้ งพจิ ารณาไตรลักษณ์ เมื่อผัสสะเข้าสู่อนัตตาจริง ไม่กลับมาเกิดอีก ปัญญา เหน็ แจง้ จะเกดิ ขน้ึ ทลี ะหนง่ึ ทลี ะหนงึ่ ปญั ญาเหน็ แจง้ เกดิ ขน้ึ เรอ่ื ยๆ เม่อื ผัสสะดบั 41

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ นี่คือประโยชน์ของสมาธิ ฝึกแล้วเอาไปใช้ ประโยชน์ตรงน้ัน เมื่อฝึกจิตลึกถึงระดับอัปปนาสมาธิ ก็เริ่มเกิด ฌาน จติ เร่ิมเป็นเอกคั คตา คอื จิตมอี ารมณ์ หนึง่ เดยี ว พอเข้าอปั ปนาสมาธิ จะเขา้ สู่ฌาน รูปฌานท่ี ๑ - อารมณ์ท่ีเป็นองค์ประกอบของ ฌาน ได้แก่ วิตก วจิ าร ปตี ิ สุข เอกคั คตา (เมอื่ ฝึกไปแลว้ จะรู้เองวา่ ทง้ั ๕ อย่างมอี ยู่ ในใจเราแล้ว) รูปฌานท่ี ๒ - อารมณท์ ่ีเปน็ องคป์ ระกอบของ ฌาน ได้แก่ ปีติ สุข เอกคั คตา รูปฌานที่ ๓ - อารมณท์ เ่ี ป็นองคป์ ระกอบของ ฌาน ไดแ้ ก่ สขุ เอกคั คตา รปู ฌานที่ ๔ - อารมณท์ ่ีเป็นองคป์ ระกอบของ ฌาน ไดแ้ ก่ อุเบกขา เอกคั คตา 42

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร หลังจากน้ัน ใช้ปัญญาพิจารณาอรูปฌาน อกี ๔ ตัว ลึกลงไปตามลำ�ดบั คือ อรูปฌานที่ ๑ - ฌานก�ำ หนดอากาศ คอื ชอ่ งวา่ ง ไมม่ ที สี่ น้ิ สดุ ไมม่ ปี ระมาณ เปน็ อารมณ์ อรปู ฌานท่ี ๒ - ฌานก�ำ หนดวญิ ญาณไม่มีท่ี สนิ้ สุดเปน็ อารมณ์ อรปู ฌานที่ ๓ - ฌานก�ำ หนดความไมม่ อี ะไรเลย เป็นอารมณ์ อรูปฌานที่ ๔ - ฌานก�ำ หนดสภาพมีสญั ญาก็ ไม่ใช่ ไมม่ ีสญั ญาก็ไม่ใช่ เป็นอารมณ์ รปู ฌาน ๔ กบั อรปู ฌาน ๔ รวมเรยี กวา่ สมาบตั ิ ๘ 43

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ เม่ือเราฝึกไปๆ มากเข้าๆ มันดีตรงไหนรู้ไหม เมอ่ื เราฝกึ ไปๆ จนจิตมกี ำ�ลงั มาก จะเกิดอภญิ ญา ๕ ตัวดว้ ยอำ�นาจของสมถภาวนา คอื ปัญญาสูงสดุ ที่เป็น โลกยิ ญาณ ซงึ่ ใช้ • แสดงฤทธิ์ได้ (อทิ ธิวิธ)ิ • หูทพิ ย์ (ทิพพโสต) • รู้ใจคนอ่นื (เจโตปริยญาณ) • ระลึกชาติได้ (ปพุ เพนวิ าสานสุ ตญิ าณ) • ตาทิพย์ (ทิพพจกั ขุ หรอื จุตปู ปาตญาณ) ญาณเหล่าน้ีเป็นโลกียญาณ คือ ยังเป็นระดับ ปถุ ชุ น ไม่ใชร่ ะดบั อรยิ บคุ คล ปถุ ชุ นฝกึ ไดไ้ มย่ าก ทกุ คน มีสิทธิ์ทำ�ได้ มีร่างกายเป็นเครื่องมือท่ีใช้ในการฝึกสติ เหมอื นกนั หมด เพยี งแตต่ งั้ หลกั ใหถ้ กู ท�ำ ตามอยา่ งเดยี ว โดยไม่สงสัย เดยี๋ วเขา้ ถึงได้เอง 44

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร ครูบาอาจารย์สอนอย่างไร อย่าไปลังเลสงสัย ท�ำ ตามอยา่ งเดยี ว ไมต่ ้องสงสยั เมอื่ ใดก็ตามทีป่ ัญญา เกดิ ขน้ึ กบั ดวงจติ เอาปัญญาน้นั มาพิจารณาดวู ่า สงิ่ ท่ี ครบู าอาจารย์ไดบ้ อกไดพ้ ดู ไว้ เปน็ จรงิ ไหม คนสว่ นใหญ่ โดยเฉพาะคนท่ีเรียนมาสูง มักจะปฏิบัติธรรมยาก คนที่เรียนปริยัติธรรมมาก่อนมักจะปฏิบัติธรรมได้ยาก เพราะเกิดวิจิกจิ ฉา (ความสงสยั ) เหตุท่สี งสยั เพราะใน สมองตัวเองมีบันทึกความจำ�พวกน้ันอยู่ ไม่ถอดออก กอ่ น คนที่ปฏบิ ัตธิ รรมแลว้ ได้มรรคผลชา้ สาเหตหุ นึ่ง อาจเปน็ เพราะขส้ี งสยั “จะเปน็ อยา่ งนน้ั ไหม ” “จะเปน็ อย่างนี้ไหม ” “ในหนังสอื บอกอย่างนนั้ น”่ี พวกน้ีไป ไม่รอด ดังนั้น ถ้าใครอยากประพฤตปิ ฏบิ ัตธิ รรมได้ ผลเร็ว ครูบาอาจารย์สอนอย่างไร ขอให้เช่ือและ ทำ�ตาม อย่าได้สงสัย สมาธิเป็นเร่ืองที่ต้องปฏิบัติ 45

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ จึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง ฝึกไปเถิด จะได้ดี เม่ือใดท่ี วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาตัวนั้นจะเป็นเคร่ือง พิสจู น์วา่ สงิ่ ทีค่ รูบาอาจารยพ์ ูดบอกไว้ ถูกหรอื ผดิ ๘. ปญั ญา ปัญญาท่ีจัดเป็นวิปัสสนาญาณจะเกิดตอนที่จิต ตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ เม่ือผัสสะเข้ากระทบจิตให้ ใช้ปัญญาในดวงจิตพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พิจารณาแล้ว ปัญญาญาณซ่ึงเป็นปัญญาเห็นแจ้ง จะเกิดขึ้น ผู้บรรยายได้ทำ�เช่นนี้ ปัจจุบันน้ีก็ยังทำ�อยู่ อย่างต่อเนื่อง เมอ่ื เห็นแจ้งในเร่ืองใดแล้ว เหน็ อนัตตา ดับไปแล้ว ก็ไม่ไปยึดถือสิ่งที่ถูกเห็นไว้ ไร้สาระท่ีจะ ไปยดึ ไปจบั ถา้ เราจบั เรายดึ ไวว้ า่ เปน็ ของเรา กส็ ญู เปลา่ ยดึ อะไรไม่ได้ เพราะมนั ลว้ นเปน็ อนตั ตา ไมม่ ตี วั ตน 46

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร จึงเกิดเป็นอุเบกขา ปล่อยวางผัสสะทีละหนึ่งๆ จิต เปน็ อิสระข้ึนๆ นคี่ ือแนวทางของพระพุทธศาสนา ถ้า ประพฤตปิ ฏบิ ตั ธิ รรมไปแลว้ ยงิ่ ไปยดึ ไปตดิ แสดงวา่ เดนิ ผดิ ทางถา้ ปฏบิ ตั ถิ กู ทาง จติ จะเปน็ อสิ ระมากขน้ึ ๆ เบามากขนึ้ สบายมากขน้ึ ปลอ่ ยวางมากขน้ึ จติ จะม ี ความสขุ มากขนึ้ พระพทุ ธเจา้ ทรงสอนอยา่ งนท้ี รงสอน ใหป้ ระพฤตปิ ฏบิ ตั สิ งิ่ ทนี่ �ำ ไปสคู่ วามสขุ ความเปน็ อสิ ระ ของจติ ไม่ยดึ ไมต่ ิดในส่ิงตา่ งๆ ๙. ความหลุดพน้ เราควรพูดคุยและปฏิบัติกันเร่ืองความหลุดพ้น คนส่วนใหญ่ติดอยู่ในบ่วงของกิเลส ๓ ตัวใหญ่ คือ พอจิตสัมผัสอะไรแล้วชอบใจ ก็เกิดเป็นราคะ, ถ้า ไมช่ อบใจ กเ็ กดิ เป็นโทสะ มนั เข้ามายึดพน้ื ที่ในจิตใจ 47

อุ บ า ย ทํ า จิ ต ใ ห้ ส ง บ ของปุถุชนทั่วไป ความไม่รู้เทา่ ทันราคะและโทสะ ก็คอื โมหะ กิเลสใหญ่ทั้ง ๓ ตัวนีเ้ ปรียบเหมอื นไฟ เผาใจ ของเราให้เร่าร้อน แล้วลามมาเผากายของเราได้ เช่น นกั ธรุ กจิ ยงิ ตวั ตาย นนั่ เพราะไฟโลภะโหมเขา้ โทสะเกดิ เขาจึงไปยดึ ไปจับในส่ิงทีเ่ ปน็ อนตั ตา ไม่มตี ัวตน จงึ ผดิ หวัง ทกุ วันน้.ี ..คนเป็นทุกข์ หงุดหงดิ ไม่สบายใจ เป็นโรคจติ โรคประสาทกนั มาก เปน็ เพราะไปยดึ ไปตดิ ในสง่ิ ที่ไม่มีตวั ตน สิ่งทเ่ี ป็นอนตั ตา บางคนเลน่ หนุ้ พอ หุน้ ตกจติ ก็ตกตามไปดว้ ย หลกั ธรรมของพระพุทธเจ้า เรอ่ื งความหลดุ พน้ สอนวา่ เราตอ้ งหลบหลกี กเิ ลส ๓ ตวั น้ี ให้ได้ อยา่ นำ�จติ เข้าไปผกู ติดเปน็ ทาส 48

ด ร . ส น อ ง ว ร อุ ไ ร เรอื่ งของราคะ จะขอยกตวั อยา่ งในครง้ั พทุ ธกาล เกยี่ วกบั นอ้ งสาวของเจา้ ชายสทิ ธตั ถะ เจา้ ชายสทิ ธตั ถะ มีน้องร่วมบิดา ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายนันทะและ เจ้าหญงิ นนั ทา ซง่ึ เปน็ นอ้ งชายและน้องสาวทเ่ี กดิ จาก พระนางมหาปชาบดีโคตมี เม่ือพระองค์ตรัสรู้เป็น พระพทุ ธเจา้ แลว้ ไดเ้ สดจ็ กลบั ไปโปรดพระญาตทิ เี่ มอื ง กบิลพัสด์ุ เจ้าชายนันทะมาบวช ได้สำ�เร็จเป็นพระ อรหันต์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีออกบวชหลังจาก พระเจ้าสุทโธทนะส้ินพระชนม์ เหลือแต่ลูกสาวท่ียัง ไม่ได้ออกบวช พระนางโคตมถี ามว่า “นนั ทาเอ๋ย เจา้ ชายสิทธัตถะก็บวชแลว้ เจ้าชายนันทะพช่ี ายเจา้ กบ็ วช แลว้ แมก่ บ็ วชแลว้ ลกู จะอยคู่ นเดยี วไดอ้ ยา่ งไร” ในทสี่ ดุ เจา้ หญงิ นนั ทาออกบวชตาม ไดช้ อ่ื ว่า พระสุนทรนี นั ทา เพราะรปู งามมาก ทรงมรี าคจริตมาก เม่อื เปน็ ภิกษุณี 49