Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Pktu.Rujang.book_210

Pktu.Rujang.book_210

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-04-05 07:17:57

Description: Pktu.Rujang.book_210

Search

Read the Text Version

ชมรมกลั ยาณธรรม www.kanlayanatam.com หนงั สอื ดอี ันดับท่ี : ๒๑๐ พระกัมมัฏฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ พิมพค ร้งั ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ จำนวนพิมพ ๔,๐๐๐ เลม จดั พิมพโ ดย ชมรมกลั ยาณธรรม ๑๐๐ ถ.ประโคนชัย ต.ปากน้ำ อ.เมอื ง ปกและรูปเลม จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ พสิ ูจนอักษร โทรศัพท ๐๒ ๗๐๒ ๗๓๕๓ และ ๐๒ ๗๐๒ ๙๖๒๔ พิมพที่ ปา แชม และ ลงุ ชม อ. จันทรา ทองเคยี น และคณะ สำนกั พมิ พกอ นเมฆ โทรศัพท ๐๘๙ ๗๘๕ ๓๖๕๐ สพั พทานัง ธัมมทานัง ชินาติ การให้ธรรมะเป็นทาน ยอ่ มชนะการใหท้ ้ังปวง www.kanlayanatam.com

โดย....พระกมั มัฏฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑิตาภวิ งั สะ

๔ การ เจริญ วิปสสนา กลาว ได วา เปนการ พัฒนา องคป ระกอบของจติ (เจตสกิ )ฝา ยกศุ ล ใหเ ขม แขง็ จนกระทงั่ สามารถ คมุ ครองจติ ไดอ ยา งตอ เนอื่ ง องคธ รรมเหลา นม้ี ชี อ่ื เรยี กวา “พละ” ซึง่ มี ๕ ประการ ไดแ ก ศรทั ธา วริ ยิ ะ สติ สมาธิ และปญ ญา ในการเขาอบรมวิปสสนากรรมฐาน การปฏิบัติที่ ถูกตองจะชวยพัฒนาศรัทธาใหเขมแข็ง มั่นคง มีความพากเพียร อยางแรงกลา มีสมาธิหยั่งลึก มีสติรูรอบเปนผลใหปญญาสูงข้ึน ตามลำดับ ผลแหงการปฏิบัติ อันไดแก ญาณทัศนะ หรือปญญา จะเปนพลังจิตที่สามารถหย่ังรูความเปนจริงอันสูงสุด จนสามารถ กำจดั อวชิ ชาใหห มดสน้ิ ไป พรอ มๆ กบั ทกุ ข อปุ าทาน และโทมนสั ทงั้ ปวง พัฒนาการดังกลาวจะเกิดขึ้นได ก็ดวยการสรางเหตุที่ เหมาะสม ๙ ประการ ท่ีจะนำไปสคู วามเจริญของพละคอื ๑. การใสใจสังเกตดูความเปนอนิจจังของอารมณ ใน ขณะกระทบอายตนะทั้ง ๖ ๒. การปฏบิ ตั วิ ิปสสนากรรมฐานดวยความเคารพ เอา ใจใสและละเอยี ดออน

๕ พระกัมมฏั ฐานาจริยะ อู บณั ฑิตาภิวงั สะ ๓. การมีสตปิ ฏบิ ตั ิอยา งตอ เนอื่ งไมขาดสาย ๔. อยูในสภาพแวดลอมทีเ่ อ้ืออำนวยตอการปฏบิ ัติ ๕. พยายามจดจำสถานการณหรือพฤติกรรมที่มีสวน ชวยใหการปฏิบัติดำเนินไปดวยดีในอดีต เพื่อท่ีจะรักษา หรือ เสริมสรางปจจัยเหลานี้ใหเกิดขึ้น โดยเฉพาะอยางย่ิงเวลาท่ีเผชิญ กับความยากลำบาก ๖. ปลูกฝงโพชฌงคท้งั ๗ ๗. มีความตง้ั ใจท่ีจะปฏิบตั ิอยางเดด็ เด่ียว ๘. มคี วามอดทนและบากบน่ั เมอื่ เผชญิ กบั ความเจบ็ ปวด หรอื อปุ สรรคอน่ื ใด ๙. มีความมุงมั่นที่จะปฏิบัติ ไปจนกวาจะบรรลุถึงจุด มุงหมายของการปฏบิ ตั ิ อันไดแก ความพนทุกข การปฏิบัติของโยคีนั้น จะสามารถกาวหนาไปไดไกล แมเพียงการเจริญเหตุท่ีเหมาะสมขางตนเพียง ๓ ประการแรก กลาวคือ จิตใจของผูปฏบิ ัติจะเริม่ มี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปญญา หากผูปฏิบัติเฝาดูส่ิงที่ปรากฏทางกายและทางจิต อยางพิถีพิถัน ดวยความเคารพ และอยางตอเน่ืองไมขาดสาย

๖ ในสภาวะเชนน้ี นวิ รณต าง ๆ จะถูกกำจัดไปอยางรวดเรว็ พละ ทัง้ ๕ จะทำใหจ ติ ใจเขาสูความสงบ ปราศจากส่ิงรบกวน โยคีที่ ปฏบิ ตั มิ าถงึ ขน้ั น้ี จะพบกบั ความสงบเยอื กเยน็ อยา งทไี่ มเ คยพบมา กอ น จนบางคนอาจรสู กึ อศั จรรยใ จวา “สง่ิ ทค่ี รบู าอาจารยก ลา วถงึ ท้ังความสันติสุขและสงบเยือกเย็นน้ัน เราสามารถประสบไดดวย ตัวเองจริงๆ” การปฏิบัติดังกลาวน้ีก็จะชวยสนับสนุนใหศรัทธา ซ่งึ เปนพละประการแรกเริ่มเกดิ ขึน้ ศรัทธาชนิดนี้เรียกวา “ศรัทธาเบื้องตนท่ีเกิดจากการ ประจักษแจงความจริงดวยตนเอง” กลาวคือ ประสบการณ ดังกลาวจะชวยใหผูปฏิบัติเกิดความรูสึกวา ผลการปฏิบัติขั้นสูง ไปท่ีพระอาจารยกลาวถึงน้ัน อาจปรากฏแกต นเองไดจ ริง เมอื่ มีศรัทธา กท็ ำใหเ กดิ แรงบันดาลใจ และทำใหจ ิตมี พลงั มากขนึ้ เม่ือมพี ลังใจ ก็มคี วามพากเพียร บากบน่ั ตามมา ผู ปฏบิ ตั จิ ะกลา วกับตวั เองวา “นเ่ี ปนเพียงการเรมิ่ ตน และหากเรา พยายามมากกวานี้ ก็จะไดผลดีย่ิงขึ้นไปอีก” ความพยายามที่ ไดรับการเสริมสรางขึ้นอีกเชนน้ี จะชวยทำใหจิตสามารถกำหนด อารมณอันเปนเปาหมายในการกำหนดไดทุกขณะ สติก็จะแนบ แนน ขนึ้ และหยัง่ ลึกลงยงิ่ ข้ึนตามลำดบั

๗ พระกัมมัฏฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑติ าภวิ งั สะ สติเปน ปจจัยใหเกิดสมาธิ กลาวคอื จิตที่รวมเปน หน่ึงได เม่อื สตกิ ำหนดรอู ารมณใ นแตล ะขณะ จิตกจ็ ะมีความมนั่ คง ไม วอกแวก และมปี ติอยูในการกำหนดน้นั ๆ ในสภาพธรรมชาติเชน นี้ สมาธกิ ็จะรวมลงและตง้ั มั่นข้ึน ดังนนั้ ยง่ิ สติมีกำลงั มากขน้ึ เทาใด สมาธกิ ็มคี วามมน่ั คงมากข้ึนเทานน้ั เมอ่ื ศรทั ธา วิรยิ ะ สติ และสมาธิมอี ยพู รอ มกัน ปญญา ซง่ึ เปน พละประการท่ี ๕ ยอ มจะเกดิ ขนึ้ เอง ตราบเทา ทพ่ี ละทงั้ ๔ ประการแรกปรากฏอยู ปญ ญาหรือญาณกจ็ ะเกดิ ข้นึ เอง ผูปฏิบตั ิ จะเริ่มตระหนักแกใจตนเองอยางชัดแจงวา รูปกับนามเปนคนละ สิ่งกัน และเร่ิมเห็นวารูปกับนามเปนปจจัยในการเกิดข้ึนของกัน และกนั อยา งไร เมอ่ื ญาณปญ ญากา วหนา ขน้ึ ความศรทั ธาอนั เกดิ จากการเขาไปประจกั ษค วามจริงดวยตนเองกจ็ ะเขมแขง็ ขน้ึ ผู ปฏิบัติ ที่ หยั่ง รู การ เกิด ดับ ของ อารมณ ใน ทุก ขณะ จะพบปติอยางสูง “เปนประสบการณที่ประเสริฐย่ิงนัก ที่เห็น ปรากฏการณเ หลา นผี้ านไปเปน ขณะๆ โดยปราศจากตวั ตน ไมมี ใคร ไมมีอะไรเลย” การคนพบนี้จะกอใหเกิดความโลงอกและ สบายใจอยา งมาก ญาณทศั นะตอๆ มาทห่ี ยั่งรู อนิจจงั ทกุ ขงั และ อนัตตา จะยงิ่ เสริมสรางความศรัทธายิ่งข้ึน และจะทำใหผปู ฏบิ ตั ิมี ความเชอ่ื มั่นหนักแนน วา ธรรมะที่ไดยินไดฟ งมานนั้ เปนของจริงแท

๘ การปฏิบัติวิปสสนากรรมฐาน อาจ เปรียบ ได กับ การ ลับ มีด ดวย หินลับมีด ผู ลับ ตอง วาง มีด ใหอยูในมุมที่เหมาะสม ไม สูงเกินไป หรือ ไม ต่ำ เกิน ไป กดลงดวยน้ำหนักท่ีพอดี ผูลับ จะเคล่ือน ใบมีด ไป อยาง สม่ำเสมอ บนหนิ ลับมดี จนกระทง่ั มีดขา งหนงึ่ เรม่ิ เกดิ ขึ้น เสร็จแลวจึงกลับใบมีดไปอีกขางหนึ่ง กดลงดวยน้ำหนักเทาๆ กัน ในมุมเดียวกนั ตวั อยา งน้แี สดงอยูในพระไตรปฎ ก ความเท่ยี ง ตรงของมุมเปรียบไดกับความพิถีพิถันในการปฏิบัติ สวนแรงกด และการเคลื่อนไหว เปรียบเสมือนสติท่ีตอเน่ืองกัน หากความ พิถีพิถันและความตอเนื่องคงอยใู นการปฏิบตั ิ ผปู ฏิบัติก็มั่นใจได วา ในระยะเวลาไมน าน จติ จะมคี วามเฉยี บแหลม เพยี งพอทจ่ี ะหยง่ั ลงสูสัจธรรมของชีวติ ได

๙ ปจ จัยที่ ๑ การใสใ จสังเกต ความเปนอนิจจังของสงิ่ ทง้ั ปวง

๑๐ ปจ จัยสนบั สนุนประการแรกในการพฒั นาพละ ๕ คือ การเฝาสังเกตวา ทกุ ส่งิ ทกุ อยา งทเ่ี กิดขึ้น ลว นแตจะตองเสือ่ ม สลายและดับส้นิ ไป ในระหวางการปฏิบัติวิปส สนา ผูปฏบิ ัตจิ ะ เฝา ดอู ารมณท ีเ่ กิดขนึ้ ตามอายตนะทัง้ ๖ ในการนี้ ผปู ฏบิ ัตคิ วร จะตัง้ เจตนาในการกำหนดวา การกำหนดนี้เพื่อใหเหน็ วา ทกุ ส่ิง ที่เกิดขน้ึ ในที่สดุ กจ็ ะดับไปดงั ท่ีผูป ฏบิ ัติทราบดี ปรากฏการณนี้ จะเหน็ จรงิ ไดก ด็ วยประสบการณจ ากการปฏบิ ัติจริง ๆ เทานนั้ การวางทาทีจิตใจเชนน้ีสำคัญมากในการเตรียมตัวเพ่ือ การปฏบิ ตั ิ การยอมรบั ต้ังแตตนวาสง่ิ ตาง ๆ เปนอนิจจัง และจะ ตองเปลีย่ นแปรไป เปนการปองกนั ปฏกิ ิรยิ า (อันไมพ งึ ปรารถนา) ท่อี าจเกิดข้นึ เมือ่ ผูปฏบิ ตั เิ ผชญิ หนากับความจรงิ ดงั กลา วในภาย หลงั ซึง่ บางครง้ั เปน ความจริงทีเ่ จบ็ ปวด หากปราศจากการ ยอมรบั น้ี ผูปฏิบัตอิ าจจะตอ งเสียเวลาไปมาก จากความเขา ใจ ทต่ี รงขา มวา ส่ิงตา ง ๆ ในโลกน้เี ปน นจิ จัง ซึง่ จะเปนอุปสรรค ตอการพฒั นาของญาณ ทงั้ น้ี ในเบื้องตน ผูปฏบิ ตั อิ าจยอมรบั อนิจจงั ดว ยศรัทธาไปกอน แตเ ม่ือการปฏบิ ัติกาวหนา ไป ความ ศรทั ธานีจ้ ะไดรับการพสิ ูจนดว ยประสบการณของแตละบุคคลเอง

๑๑ ปจจยั ท่ี ๒ ความพิถพี ถิ ัน เอาใจใสด ว ยความเคารพ

๑๒ ปจจัยพื้นฐานประการท่ี ๒ ในการเสริมสรางพละ ไดแกการปฏิบัติวิปสสนากรรมฐานดวยทาทีจิตใจที่ระมัดระวัง มีความเคารพและความพิถีพิถันยิ่ง การจะสรางทัศนคติเชนนี้ ผูปฏิบัติอาจจะคิดถึงประโยชนท่ีตนจะไดรับจากการปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติไดถ กู ตองแลว การระลกึ รูกาย ความรสู ึก จติ และ อารมณ จะทำใหจิตมีความบริสุทธิ์ เอาชนะความทุกขและ ความโศกเศราพิไรรำพัน ทำลายความเจ็บปวดและความเครียด โดยสิ้นเชิง และเขาถึงพระนิพพานไดในท่ีสุด พระพุทธองค ทรงเรียกการปฏิบัติน้ีวาสติปฏฐาน ๔ หมายถึงการเจริญสติบน ฐานทัง้ ๔ ซ่งึ เปน ส่งิ หาคา มไิ ดโดยแทจรงิ การระลึกถึงส่ิงเหลานี้ จะทำใหผูปฏิบัติมีกำลังใจใน การกำหนดปรากฏการณตาง ๆ ท่ีเกิดขึ้นทอ่ี ายตนะทั้ง ๖ อยา ง ระมัดระวังและเอาใจใส ในระหวางการเขาปฏิบัติวิปสสนา กรรมฐาน โยคีควรจะเคลื่อนไหวใหชาท่ีสุดเทาที่จะทำได โดย ระลึกวา สติของตนยังออนมาก การทำสิ่งตาง ๆ ชาลง เปด โอกาสใหสติติดตามความเคล่ือนไหวของรางกายไดทัน สามารถ กำหนดการเคลื่อนไหวแตล ะครัง้ ไดอยางละเอยี ด พระไตรปฎกเปรียบเทียบความเอาใจใสระมัดระวังและ พถิ พี ถิ นั นกี้ บั ภาพของคน ๆ หนงึ่ กำลงั ขา มแมน ำ้ บนสะพานแคบๆ ไมมีราวจับ มีแมนำ้ ไหลเชีย่ วอยูเบื้องลา ง แนน อนวา บุคคลผนู ้นั

๑๓ พระกมั มฏั ฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑิตาภิวงั สะ จะไมส ามารถกระโดดเรว็ ๆ หรอื วงิ่ ขา มสะพานได เขาจะตอ งกา ว อยา งระมัดระวงั ไปทีละกา ว นักปฏิบัติยังอาจเปรียบไดกับบุคคลที่กำลังถือบาตรท่ีมี นำ้ มันอยูเตม็ เปย ม เราคงพอคาดเดาไดถ งึ ระดับความระมัดระวงั ทเ่ี ขาใชเ พอ่ื มใิ หน ำ้ มนั หก ระดบั ของสตเิ ชน นเ้ี องทค่ี วรมอี ยใู นการ ปฏิบัติธรรม ตัวอยางทั้งสองนี้มาจากพระโอษฐของพระพุทธองคเอง เน่ืองจากในสมัยหน่ึง มีพระสงฆกลุมหนึ่งดูทีวาจะปฏิบัติธรรมอยู ในปา แตพระสงฆเหลาน้ันปฏิบัติอยางไมสำรวม เชนหลังจาก การนงั่ สมาธิ จะผดุ ลกุ ขน้ึ อยา งขาดสติ เดนิ จากทหี่ นง่ึ ไปอกี ทห่ี นงึ่ โดยไมสำรวม มองนกบนตน ไมแ ละเมฆในทอ งฟาอยา งปราศจาก ความระมดั ระวังสำรวมใจ จงึ ไมต องสงสัยเลยวา การปฏิบัตขิ อง พวกทานจะไมค บื หนา เลย เม่ือพระพุทธองคทรงทราบ ก็ทรงสำรวจดู และ พบวาความบกพรองของพระสงฆเหลาน้ีก็คือ การขาดความ เคารพในความจริงของส่ิงทั้งปวง ในพระธรรมคำสั่งสอนและ การปฏิบัติธรรม พระพุทธองคจึงเสด็จไปหาพระสงฆเหลานั้น และตรัสเทศนถึงภาพของคนถือบาตรน้ำมันขางตน พระธรรม เทศนาดังกลา ว เปนแรงบันดาลใจใหพระสงฆเ หลานน้ั ต้ังปณิธาน วาจะพิถีพิถันและระมัดระวังในทุกอิริยาบถ จนสามารถบรรลุ ธรรมไดในเวลาไมน าน

๑๔ ผูปฏิบัติสามารถพิสูจนส่ิงนี้ไดดวยตนเอง ในการ เขา อบรมพระกรรมฐาน โดยการเคลอื่ นไหวใหช า ลง มคี วามเอาใจใส ระมัดระวังยิ่งและปฏิบัติดวยความเคารพย่ิง ผูปฏิบัติเคลื่อนไหว ชาลงเทา ไร ก็จะมีความกาวหนา ในการปฏิบัติเร็วขึน้ เทา น้ัน อยา งไรกต็ าม เมอ่ื อยใู นโลกน้ี บคุ คลยอ มตอ งปรบั ตวั ให เขา กบั สถานการณท เ่ี ปน อยู บางครงั้ เราตอ งทำอะไรเรว็ ๆ เชน คน ท่ีขับรถชา ๆ บนทางดวนก็อาจประสบอุบัติเหตุ หรือปฏิบัติผิด กฎจราจรได ในทางกลบั กนั การดแู ลผปู ว ยในโรงพยาบาล กต็ อ ง กระทำอยา งทะนถุ นอม ทำอยา งชา ๆ ถา หากแพทยห รอื พยาบาล เรง รบี จนเกนิ ไปเพยี งเพื่อทำงานใหเสรจ็ เรียบรอยแลว ผปู วยอาจ ตองทนทกุ ขทรมานหรอื เสยี ชีวติ ได ผูปฏิบัติตองเขาใจสถานการณของตนเองวาเปนอยางไร และพยายามปรับตัวใหเขากับสถานการณน้ัน ไมวาจะอยูใน ชวงอบรมพระกรรมฐานหรือในภาวะปรกติ การมีความเกรงใจ และการเคลอ่ื นไหวในระดบั ปรกติ ยอ มเปน สงิ่ สมควรหากมผี รู ออยู อยา งไรก็ตาม หากผปู ฏบิ ัติเขาใจวา เปา หมายหลักของการปฏิบตั ิ นนั้ กค็ อื การเจรญิ สติ ดงั นน้ั เมอื่ อยคู นเดยี วกค็ วรกลบั ไปทำอะไรๆ ชา ลง เชน การรับประทานอาหารชา ๆ ลางหนา แปรงฟน และ อาบน้ำดวยสติอยา งถถี่ ว น

๑๕ ปจ จัยที่ ๓ มีสติ อยางตอ เน่อื งไมขาดสาย

๑๖ ปจจัยประการท่ี ๓ ความตอเนื่องไมขาดสายของสติ ในการพัฒนาพละท้ัง ๕ ผูปฏิบัติตองพยายามที่จะอยูกับปจจุบัน ใหมากที่สดุ เทาที่จะทำได ทกุ ๆ ขณะ โดยไมข าดตอน ดวยวิธนี ้ี สติก็จะเร่ิมกอตัวและเจริญข้ึนได การเจริญสติเปนการปองกัน มใิ หก ิเลสทกี่ อ ใหเกิดความทุกข ความเศรา หมอง ไดแ ก ความ โลภ ความโกรธ ความหลง แทรกซมึ เขามาบอนทำลายและนำ เราไปสูความมืดบอดได ตราบใดที่สติยังเขมแข็งอยู กิเลสจะไม สามารถเกดิ ขนึ้ ได และเมอ่ื จติ ใจปราศจากกเิ ลส จติ กจ็ ะเปน อสิ ระ โปรง เบา และเปน สุข ฉะน้ัน จงพยายามทุกวิถีทางท่ีจะรักษาความตอเน่ือง ของสติ เมื่อจะเปล่ียนอิริยาบถ จงแยกความเคลื่อนไหวเปน สวนๆ และกำหนดการเคล่ือนไหวแตละสวนอยางระมัดระวังยิ่ง เชนเม่ือจะลุกจากทาน่ัง ใหกำหนดความตั้งใจท่ีจะลืมตา แลวกำหนดความรูสึกที่เกิดขึ้นเมื่อเปลือกตาเริ่มเคลื่อนไหว กำหนดการยกมือออกจากหนาตัก การขยับขา และอ่ืนๆ ตลอด ท้ังวัน จงมีสติระลึกแมในอิริยาบถยอยที่ละเอียดที่สุด นอกเหนือ จากการยืน เดิน น่ัง และนอน เชน การหลับตา การหันหนา การหมนุ ลูกบิดประตู ฯลฯ

๑๗ พระกมั มฏั ฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑติ าภิวงั สะ นอกจากในเวลาท่ีหลับไปแลว โยคีควรจะรักษาสติ ไวตลอดระยะเวลาการปฏิบัติ ความตอเน่ืองควรจะมีความถ่ี ถึงขนาดที่ผูปฏิบัติไมมีเวลาในการคิดทบทวนลังเล วิเคราะห หาเหตผุ ลเปรยี บเทยี บประสบการณก บั ตำราทเ่ี คยอา นใด ๆ ทง้ั สน้ิ จะมีเวลาพอสำหรับการมีสตติ ามรูปจ จบุ ันอารมณเทาน้นั พระไตรปฎกเปรียบเทียบการปฏิบัติธรรมเหมือนกับ การจุดไฟ ในสมัยกอนเมื่อยังไมมีไมขีดไฟหรือแวนขยายนั้น การจุดไฟตองอาศัยวิธีโบราณท่ีนำวัตถุมาเสียดสีกัน อุปกรณ ประกอบดวยคันธนู ท่ีเอาสายธนูไปพันกับไมอีกทอนหน่ึง โดยปลายไมนี้นำไปเสียบไวในหลุมเล็ก ๆ บนแผนกระดานท่ีมี เศษไมและใบไมกองอยู เม่ือคนไสคันธนูไปมา ทอนไมก็จะหมุน ขัดสีกับแผนกระดาน กอใหเกิดความรอน พอที่จะทำใหใบไม และก่ิงไมลุกไหมได อีกวิธีหน่ึงก็คือ ใชมือหมุนทอนไมโดยตรง ท้ังสองวิธีน้ีคนจะตองถูทอนไมน้ันกลับไปกลับมา จนกวาจะเกิด แรงเสียดทานท่ีเพียงพอจะทำใหไฟลุกขึ้นได คราวนี้ลองสมมุติดู วาจะเกิดอะไรข้ึน หากบุคคลผูน้ันเสียดสีไมเปนเวลา ๑๐ วินาที แลวพัก ๕ วินาที เพ่ือพิจารณาดู ไฟจะติดข้ึนไดอยางไร ใน ทำนองเดียวกัน ความพยายามที่ตอเนื่องเปนสิ่งจำเปนในการ จดุ ไฟแหง ปญ ญาใหเกดิ ข้นึ

๑๘ พฤติกรรมของกิ้งกาก็เปนตัวอยางที่ (ไม) ดีอีกอยาง หน่ึงของการปฏิบัติธรรม พระไตรปฎกใชกิ้งกาเปนอุทาหรณ สำหรับการปฏิบัติท่ีขาดความตอเน่ือง กลาวคือ เวลาก้ิงกามอง เห็นอาหารหรือกิ้งกาตัวเมีย มันจะว่ิงไปขางหนาอยางรวดเร็ว แตจะไมจูโจมเขาสูเปาหมายในทันที มันจะโผไปส้ัน ๆ แลวหยุด มองดูทองฟา เอียงคอไปมา เสร็จแลวก็ทะยานไปอีกหนอยหนึ่ง กอนจะหยุดลงอีกเพ่ือมองโนนมองนี่ตอไป มันจะไมเคยถึงเปา หมายในคราวเดียวเลย โยคที ปี่ ฏบิ ตั แิ บบลกั ปด ลกั เปด มสี ตชิ วั่ ครชู ว่ั ยามแลว หยดุ เพ่อื คดิ โนน คิดน่ี เปนโยคกี ้งิ กา ถึงแมว ากิง้ กา จะเอาชวี ติ รอดได ดว ยพฤติกรรมแบบนี้ แตก ารปฏบิ ัติของโยคีอาจไมร อด ผูปฏิบัติ บางคนรูสึกวาจำเปนตองหยุดคิดทุกครั้งท่ีมีประสบการณใหม ๆ เฝาสงสัยวา เขาถงึ ญาณข้นั ไหนแลว ในขณะท่บี างคนอาจไมนึกถึง สงิ่ ใหม แตคอยคิดกงั วลถงึ เรือ่ งเดมิ ๆ ทีค่ นุ เคย บางคนอาจบน วา “เหน่ือยเหลือเกินวนั น้ี สงสยั เมอ่ื คนื จะนอนไมพอ หรอื ทานมากไป นา จะงีบสักพักหนง่ึ ” หรอื “เทา เจบ็ เหลอื เกนิ ไมร เู ปน แผลหรอื เปลา ถา เปน เดย๋ี วการปฏบิ ตั จิ ะแย ขอลมื ตาดหู นอยดกี วา ” เหลา น้ีคอื ความลงั เลของก้ิงกา

๑๙ ปจ จัยที่ ๔ สภาพแวดลอ มทีเ่ หมาะสม

๒๐ ปจ จยั ประการที่ ๔ ในการพัฒนาพละ ๕ ไดแ กก ารมี องคป ระกอบทเ่ี กอ้ื กลู ตอ การเจริญสติและปญญา ๗ ประการ คอื ๔.๑. สถานที่ท่ีเหมาะสม บริเวณสถานที่ปฏิบัติ วิปสสนาควรจะมีเคร่ืองอำนวยความสะดวกพอสมควร และเอื้อ อำนวยตอ การปฏบิ ตั ิธรรม ๔.๒. อยูในถิ่นท่ีเหมาะสม หมายถึงการออก บิณฑบาตเปนประจำวันของพระสงฆ สถานที่ปฏิบัติธรรมควร อยูไกลพอควรจากหมบู านเพอื่ หลกี เล่ยี งการรบกวน แตตอ งใกล ชุมชนพอที่จะออกบิณฑบาตได สำหรับฆราวาสผูปฏิบัติธรรม ตองมีความสะดวกในเรื่องอาหารพอควรแตไมถึงกับเปนเครื่องลอ ใจหรอื รบกวนตอ การปฏบิ ตั ธิ รรม และผปู ฏบิ ตั พิ งึ หลกี เลย่ี งสถาน ที่ทท่ี ำลายสมาธิ เชน บรเิ วณทม่ี ีคนพลกุ พลา น โดยยอ ความ สงบระดับหนึ่งเปน สิ่งจำเปน แตก็ตองไมห นีจากความเจรญิ จน ไมสามารถแสวงหาปจจัยทีจ่ ำเปน ในการประทังชวี ิตได ๔.๓. วาจาที่เหมาะสม ในระหวางการปฏิบัติธรรม ความจำเปนในการพูดจามีนอยมาก อรรถกถากำหนดใหเพียง การฟงธรรมเทศนาเทานั้น แตเราอาจจะเพิ่มการสนทนาธรรม

๒๑ พระกมั มัฏฐานาจรยิ ะ อู บัณฑติ าภวิ งั สะ กับพระอาจารย (การสอบอารมณ) เขาไวดวยได บางครั้งการ สนทนาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเปนสิ่งจำเปน โดยเฉพาะเมื่อ ผปู ฏิบตั ิเกิดความสับสน หรอื ไมแนใจวาจะตองทำอยางไรตอ ไป แตโปรดจำไววา อะไรก็ตามท่ีมากเกินไปยอมเปนโทษ อาตมาเคยสอนในสถานท่ีแหงหน่ึง ซ่ึงมีกระถางตนไมท่ีกัปปยะ ของอาตมาเอาใจใสรดน้ำมากเกินไป ผลก็คือใบไมกลับรวงหลุด ไปหมด สิ่งเดียวกันนี้อาจเกิดขึ้นไดกับสมาธิของผูปฏิบัติ หาก ผูปฏิบัติสนทนาธรรมมากเกินไป หรือแมแตการบรรยาย ธรรมของพระอาจารยเอง โยคีตองประเมินดูอยางระมัดระวัง หลักการงาย ๆ ก็คอื ใหด ูวาสิ่งทีไ่ ดย ินไดฟ งมานัน้ ชว ยใหสมาธิ ดีขนึ้ หรือไม หรอื ทำใหเ กดิ สมาธหิ รอื ไม หาไมแลว ผปู ฏบิ ตั ิกค็ วร หลกี เลยี่ ง เชน ไมเ ขา ฟง ธรรม หรอื งดสอบอารมณ เปนตน โยคีท่ีเขาอบรมแบบเขมงวด ควรหลีกเล่ียงการพูดจา ทกุ ชนิดใหมากที่สดุ โดยเฉพาะการพดู เร่ืองทางโลก แมแตการ สนทนาธรรมอยา งลกึ ซง้ึ กอ็ าจไมเหมาะสม ในระหวางการปฏิบตั ิ ท่ีเขม งวด ผูป ฏิบัตคิ วรหลกี เลยี่ งการโตเ ถยี งประเด็นความเชอื่ กับ เพอ่ื นโยคใี นระหวางการปฏบิ ตั ิ นอกจากนน้ั ส่งิ ทไ่ี มส มควรที่สดุ ไดแกสนทนาเกย่ี วกับอาหาร สถานท่ตี า ง ๆ ธรุ กิจ เศรษฐกจิ การเมอื ง ฯลฯ เหลาน้ีเปน “คำพดู ทางโลก”

๒๒ เปาหมายของขอหามเหลาน้ี ก็เพ่ือปองกันส่ิงท่ีอาจ รบกวนจิตใจโยคี พระพทุ ธองคต รัสแกโยคีดว ยความเมตตายิ่งวา “นักปฏบิ ตั ทิ เ่ี อาจริง ไมค วรพดู เพราะการพูดบอย ๆ จะทำให โยคมี สี ิง่ รบกวนจิตใจมาก” อยา งไรกต็ าม การพูดจาอาจเปนส่ิงจำเปนในบางคร้งั ระหวางการปฏบิ ัตธิ รรม ในกรณีเชน นี้ ผูปฏบิ ตั ิตองระมดั ระวังท่ี จะไมพ ูดอะไรนอกเหนอื จากส่ิงทจี่ ำเปน จะตอ งสอ่ื สารจรงิ ๆ และ ควรมีสตติ ลอดกระบวนการของการพดู ในเบื้องตน จะเกดิ ความ ตองการพูดกอน แลว ตามดว ยความคิดวา จะพดู อะไรและอยา งไร ผูปฏิบัตคิ วรกำหนดความคดิ ดงั กลาวท้งั หมด ตั้งแตก ารเตรยี ม ความคิดที่จะพูด และอาการพดู จริง ๆ ความเคลือ่ นไหวตา ง ๆ ขณะพดู เชน ริมฝป าก ใบหนา ตลอดจนทาทางประกอบ ลว น ตอ งกำหนดท้ังสน้ิ หลายปม าแลวในประเทศพมา มขี าราชการระดับสงู ผหู นึง่ เพง่ิ เกษียณอายุ เขาเปนชาวพุทธทเ่ี ครง ครดั มาก ไดอ าน พระไตรปฎกและหนังสือเก่ียวกับพุทธศาสนาที่แปลเปนภาษา พมา ดี ๆ จำนวนมาก และไดผ า นการปฏิบตั ิกรรมฐานมาบา ง ถึง แมวา การปฏิบตั ิของเขายงั ไมลึกซง้ึ นัก แตเ ขากม็ ีความรูพืน้ ฐาน

๒๓ พระกัมมฏั ฐานาจรยิ ะ อู บัณฑิตาภวิ งั สะ คอ นขา งมาก และประสงคทจ่ี ะสอนสง่ิ ทเ่ี ขารู เขาจงึ ไดห ันไปเปน อาจารย วันหน่ึงเขาเขามาปฏิบัติท่ีศูนยปฏิบัติกรรมฐานในเมือง ยางกงุ และเมื่ออาตมาสอนโยคี อาตมาก็จะอธบิ ายหลกั การ ปฏิบัติแลวถึงเปรียบเทียบคำสอนของอาตมากับพระไตรปฎก โดยพยายามประสานแนวคิดที่อาจดเู หมอื นไมตรงกัน ชายคนน้ี จะเรม่ิ ต้งั คำถามทนั ทีวา “คำกลา วนมี้ าจากไหน มีเอกสารอา งองิ หรอื เปลา ” อาตมาพยายามแนะนำเขาอยา งสุภาพใหเ ลกิ วติ กใน ประเด็นเหลา น้ัน แลวต้ังหนา ปฏิบัติตอ ไป แตเ ขาอดไมไ ด เปน เวลาติดตอกัน ๓ วันทีเ่ ขาทำอยา งนีใ้ นระหวา งการสอบอารมณ ในทสี่ ดุ อาตมาถามเขาวา “ทา นมาที่นี่ทำไม ทา นมา เพ่ือที่จะเรียน หรือมาสอนอาตมากันแน” ในสายตาของอาตมา เขามาเพ่ืออวดความรู มิใชมาปฏิบัติธรรม ชายคนนั้นตอบอยาง ราเริงวา “เออ ! ผมมาเปนนักเรียนสิครับ ทานสิเปนอาจารย” อาตมากลาววา “อาตมาไดพยายามบอกทานออ ม ๆ ตลอด ๓ วนั ทผ่ี า นมา แตถ งึ ตอนนี้ อาตมาจำตอ งบอกทา นตามตรง ทา นทำตวั เหมือนบาทหลวง ซ่ึงตามปรกติจะทำหนาที่ประกอบพิธีแตงงาน ใหช าวบา น จนกระทง่ั ถงึ คราวทบี่ าทหลวงจะแตง งาน แทนที่จะ

๒๔ ไปยนื ในตำแหนง เจาบาว กลับขนึ้ ไปบนแทนพิธี แลว ประกอบพิธี แตงงานเสียเอง ซ่ึงสรางความประหลาดใจใหแกผูมารวมงานเปน อนั มาก “ชายคนนน้ั เขา ใจประเดน็ ในทสี่ ดุ เขายอมรบั ขอ ผดิ พลาด แลว กลายเปน นกั เรยี นท่ีวา งายหลงั จากนน้ั โยคที ่ปี ระสงคจะเขา ใจธรรมจริง ๆ จะตองไมเ ลยี นแบบ ชายคนน้ี ความจริง พระอรรถกถากลาวไววา ไมวาผูปฏิบัติจะมี ความรูความสามารถมากเพยี งใด ในระหวา งการปฏิบตั ิกรรมฐาน ตอ งทำตวั ราวกบั คนไรค วามสามารถและเปน คนสงบเสงย่ี มวา งา ย อยางยงิ่ ในกรณีนี้ อาตมาจะขอเลา ทัศนคตอิ ยา งหนงึ่ ท่ีอาตมามี มาต้ังแตยังเปนเด็ก เมื่ออาตมายังไมมีความชำนาญ เช่ียวชาญ หรอื ประสบการณใ นเรอื่ งใดเรอื่ งหนงึ่ อาตมากจ็ ะไมเ ขา ไปกา วกา ย ในเร่ืองนั้น ๆ และถึงแมวาอาตมาจะมีความชำนาญเช่ียวชาญ และประสบการณในเรื่องใดเร่ืองหนึ่งก็ตาม อาตมาก็จะไมเขาไป แสดงความเห็นหรือแทรกแซงในเรื่องใด หากไมไดรับการ ขอรองกอน ๔.๔ บุคคล ที่ เหมาะ สม โดยเฉพาะอยางยิ่ง วิปสสนาจารย หากคำสอนของทานชวยใหผูปฏิบัติกาวหนา มี สมาธิตั้งม่ันมากข้ึน หรือทำสมาธิที่ยังไมเกิดใหเกิดข้ึน ก็อาจ กลาวไดวา วปิ สสนาจารยทา นนัน้ เหมาะสม

๒๕ พระกมั มัฏฐานาจรยิ ะ อู บัณฑติ าภิวังสะ นอกจากนี้ บุคคลท่ีเหมาะสมยังมีอีก ๒ ลักษณะ คือ (๑) ชุมชนท่ีเอ้ือตอการปฏิบัติธรรม และ (๒) ความสัมพันธ ระหวางผูปฏิบัติกับผูคนในชุมชนนั้นๆ ในระหวางการอบรม เขม งวด โยคจี ำเปน ตอ งไดร บั การสนบั สนนุ เปน อยา งมากในหลายๆ ดาน ในการพัฒนาสติและสมาธิ ผูปฏิบัติตองละทิ้งกิจกรรม ทางโลก โยคีจึงตองพึ่งพาอุปฏฐาก ท่ีสามารถทำงานบางอยาง แทนโยคี เชน การจายตลาด และทำอาหาร ซอมแซมทีพ่ กั และ อื่นๆ สำหรับผูที่ปฏิบัติเปนกลุมก็คงตองคำนึงถึงผลกระทบของ โยคีตอสังคมดวย ความเกรงอกเกรงใจเพ่ือนโยคีเปนส่ิงสำคัญ การกระทำอะไรเร็ว ๆ หรือเสียงดัง ก็อาจกระทบกระเทือนตอ ผอู น่ื ไดม าก ดวยการพจิ ารณาเชน น้ี ผปู ฏบิ ตั กิ จ็ ะกลายเปน บคุ คล ทเ่ี หมาะสมสำหรับโยคีทา นอนื่ ๆ ๔.๕ อาหารที่เหมาะสมกับโยคี ก็มีสวนชวยใหการ ปฏิบัติกาวหนาได อยางไรก็ตาม ผูปฏิบัติตองระลึกอยูเสมอวา จะใหไดอยางใจทุกประการคงเปนไปไมได การปฏิบัติเปนกลุม อาจมคี นจำนวนมากและอาหารกต็ อ งทำทลี ะมาก ๆ สำหรบั ทกุ คน ในกรณีเชนน้ี ยอ มดที ี่สุดท่ีจะทำใจใหย อมรับอาหารใด ๆ กต็ ามที่ ผูจัดหามาให แตหากการปฏิบัติถูกกระทบเพราะเกิดความรูสึก อดอยาก หรอื รังเกียจอาหารแลว กค็ วรแกไขเทา ทจี่ ะทำได

๒๖ เร่ืองของนางมาติกมาตา คร้ังหนึ่งมีพระสงฆ ๖๐ รูป ปฏิบัติธรรมอยูในปา โดย มีนางมาติกมาตาเปนโยมอุปฏฐาก นางมีความศรัทธามาก พยายามเลือกสรรอาหารที่คิดวาพระสงฆจะชอบและปรุงอาหาร ใหมีปริมาณเพียงพอสำหรับพระทุกรูปทุก ๆ วัน วันหน่ึง นาง มาติกมาตาเขาไปกราบเรียนถามพระสงฆวา ฆราวาสจะปฏิบัติ ธรรมอยางพวกทานบางไดหรือไม “ไดสิ” พระสงฆตอบ แลว สอนวธิ กี ารใหน าง นางเพยี รพยายามปฏบิ ตั แิ มใ นขณะปรงุ อาหาร และทำงานบา นอน่ื ๆ จนในทสี่ ดุ นางกบ็ รรลเุ ปน พระอนาคามแี ละ ดวยบญุ ทส่ี ั่งสมมาในอดตี นางจึงมีอภญิ ญา เชน ตาทพิ ย หทู ิพย กลา วคอื สามารถมองเหน็ และไดย นิ ในทไ่ี กล ๆ และมเี จโตปรยิ ญาณ คือสามารถหยง่ั รใู จคนอ่ืน นางมีความยินดีเปนอยางย่ิงที่รูวาตนไดบรรลุธรรมวิเศษ และคดิ วา เนอ่ื งจากตนมงี านมาก ตอ งดแู ลครวั เรอื นและทำอาหาร ถวายพระสงฆทุกวัน เหลาพระสงฆจึงนาจะมีความกาวหนาใน การปฏิบัติกวานางมาก ดว ยญาณวิเศษ นางจงึ ตรวจดคู วามคืบ

๒๗ พระกมั มฏั ฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑิตาภวิ ังสะ หนาของพระสงฆทั้ง ๖๐ รูป และตองตกใจเมื่อพบวายังไมมี พระสงฆรูปใดเลยท่ีไดบ รรลุ แมเพียงวิปสสนาญาณขั้นตน “เกิดอะไรข้ึน” นางสงสัย แลวตรวจดูสภาวะของ พระแตละรูปดวยอภิญญา เพ่ือหาสาเหตุของอุปสรรคในการ ปฏิบัติ สถานที่ก็ไมมีปญหา การอยูรวมกันก็มิใชปญหา อาหาร นี้แหละที่เปนอุปสรรค เน่ืองจากพระบางรูปชอบเปรี้ยว บางรูป ชอบเคม็ บางรูปชอบเผด็ บางรปู ชอบขนมหวาน และบางรปู ชอบ ผกั ดว ยความสำนึกในพระคุณทีพ่ ระสงฆส ง่ั สอนกรรมฐานให จน นางไดบรรลุธรรมอันย่ิงใหญ นางมาติกมาตาเริ่มทำอาหารแบบที่ พระแตละรปู ชอบ ในไมช า พระทกุ รูปก็สำเร็จเปนพระอรหันต การบรรลุธรรมอยางรวดเร็วและลึกซ้ึงของนางประกอบ กับความเฉลียวฉลาดและความเสียสละเพ่ือผูอ่ืน เปนตัวอยางที่ดี สำหรับพอแมและผูทด่ี แู ลผูอ ืน่ ซงึ่ แมจ ะชวยผูอ ่นื อยู ก็มใิ ชว าจะ สนิ้ ความหวงั ในการบรรลสุ ัจธรรมอันลกึ ซึ้ง ในโอกาสนี้ อาตมาขอกลา วถงึ ประเดน็ เกยี่ วกบั มงั สวริ ตั ไิ ว ดว ย บางคนคดิ วา การกนิ ผกั แตอ ยา งเดยี วเปน คณุ ธรรมอยา งหนง่ึ แตในศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ไมปรากฏแนวคิดวา มังสวิรัติ ชวยใหส ามารถเขา ถึงธรรมไดเ ปนพเิ ศษแตอยา งใด

๒๘ พระพุทธองคเอง มิไดทรงหามการรับประทานเน้ือโดย สิ้นเชิง เพียงแตวางเง่ือนไขไวบางอยาง เชน สัตวน้ันตองมิได ถูกฆาเพื่อการบริโภคคร้ังนั้นโดยเฉพาะ พระเทวทัตไดทูลขอให พระพุทธองคบญั ญัติพระวินยั หา มการฉันเนอื้ โดยเดด็ ขาด แต หลังจากที่ไดทรงไตรตรองอยางถี่ถวน พระพุทธองคทรงปฏิเสธ ท่จี ะทำเชนน้นั ในสมัยนั้นก็เชนเดียวกันกับสมัยปจจุบัน คือผูคนสวน ใหญจะรับประทานเนื้อและผัก มีเพียงพวกพราหมณหรือชนช้ัน สูงท่ีเปน มังสวิรตั ิ เมื่อพระสงฆอ อกบิณฑบาต ทานตอ งรบั อาหาร ทกุ ชนิดที่คนถวาย ไมวาจะเปน ชนช้ันใด การแบง แยกระหวางผู ถวายที่เปน มงั สวิรตั ิ หรอื ท่ีรับประทานเนือ้ สตั ว ยอมขดั แยงตอ เจตนารมณข องการบณิ ฑบาต นอกจากนี้ ทงั้ พราหมณแ ละชนชน้ั อ่นื ๆ กอ็ าจมาบวชเปนพระภกิ ษุ ภิกษณุ ไี ด ซ่ึงพระพทุ ธองคไ ด ทรงพิจารณาเร่อื งนี้ตลอดจนประเด็นตา ง ๆ ท่ีตามมาทง้ั หมดแลว เชนกัน ดังนั้น เราจึงไมจำเปนตองรับประทานมังสวิรัติเพื่อท่ี จะปฏิบัติธรรม แนนอนวาการรับประทานมังสวิรัติที่สรางความ สมดุลใหแกรางกาย ยอมเปนประโยชนกับสุขภาพ และหากผู ปฏิบัติไมรับประทานเนื้อสัตวเพราะเมตตาสงสารสัตว ก็นับเปน

๒๙ พระกมั มัฏฐานาจริยะ อู บณั ฑติ าภวิ ังสะ กุศลเจตนาอยางแนนอน แตหากรางกายของผูปฏิบัติคุนเคยกับ การรับประทานเนื้อสัตว หรือมีปญหาสุขภาพอันใด ท่ีทำใหตอง รบั ประทานเนอ้ื สตั ว การปฏบิ ตั ดิ งั กลา วไมค วรถอื วา เปน บาป หรอื เปน อปุ สรรคในการปฏบิ ตั ธิ รรม การวางกฎระเบยี บทคี่ นสว นใหญ ไมสามารถปฏิบัติตามได กย็ อ มจะไรประสทิ ธผิ ล ๔.๖ ภูมิอากาศเหมาะสม มนุษยน้ันมีความสามารถ ในการปรับตัวในสภาพอากาศตาง ๆ ไดอยางยอดเยี่ยม ไมวา อากาศจะรอนหรือหนาวเพียงไร มนุษยจะหาทางปรับตัวให สามารถอยอู ยา งสขุ สบายได แตห ากวธิ กี ารเหลา นม้ี ขี อ จำกดั หรอื ไมมีหนทางที่จะปรับตัวได ก็อาจเปนผลเสียตอการปฏิบัติ ใน กรณดี งั กลาว หากกระทำได ก็ควรยายไปปฏบิ ัตธิ รรมในสถานท่ี ท่มี ีภมู ิอากาศเหมาะสม ๔. ๗ อิริยาบถท่ีเหมาะสม ซึ่งเปนขอสุดทาย อริ ยิ าบถในทีน่ ี้ หมายถึง การยืน เดนิ นั่ง และนอน การน่ัง เปนอิริยาบถที่เหมาะสำหรับสมถภาวนาที่เนนความสงบ ในการ ปฏบิ ตั ใิ นสายของพระอาจารยม หาสสี ยาดอนนั้ วปิ ส สนากรรมฐาน จะใชอ ริ ยิ าบถน่ังและเดนิ เปนพ้นื ฐาน แตไมว า การปฏิบตั แิ บบใด เม่ือสติมีความตอเนื่องตั้งมั่นดีแลว อิริยาบถใดก็นับวาเหมาะสม ท้งั สิ้น

๓๐ โยคีที่เพิ่งเร่ิมปฏิบัติ ควรหลกี เลี่ยงอิรยิ าบถนอนและยนื เพราะการยนื กอ ใหเ กดิ ความเจบ็ ปวดไดใ นระยะเวลาอนั สน้ั ความ ตึงและน้ำหนักท่ีกดลงสูขา อาจรบกวนการปฏิบัติได ทานอนมี ปญ หาเพราะทำใหเ กดิ ความงว ง เนอ่ื งจากความเพยี รตำ่ และเปน ทาทส่ี บายเกนิ ไป จงตรวจสอบสถานการณของตนเองเพ่ือดูวา องค ประกอบสนับสนุนทั้ง ๗ มีครบหรือไม หากไมครบ ก็ควรหา ทางทำใหองคประกอบดังกลาวเกิดข้ึน เพื่อชวยใหการปฏิบัติ ของตนเองมีความกาวหนาตอไป และหากการกระทำนั้นมุง สงเสริมความเจริญในธรรมปฏิบัติอยางแทจริงแลว ก็ยอมมิใช การกระทำท่เี หน็ แกตวั

๓๑ ปจ จยั ที่ ๕ จดจำสภาวะ ที่เอ้อื อำนวยในอดีต

๓๒ ปจจัยประการท่ี ๕ ในการเจริญพละ ๕ คือการ อาศัยส่ิงท่ีเปนปจจัยใหเกิดสมาธิในอดีต ซึ่งหมายถึง จดจำ สถานการณที่ชวยใหการปฏิบัติเปนไปดวยดีในอดีต ท้ังทางดาน สติและสมาธิ ดังที่ผูปฏิบัติทุกคนรูดี หากปฏิบัติมีข้ึนมีลง บาง คร้ังเรารูสึกเบิกบานสุขสงบในดินแดนแหงสมาธิ แตบางครั้งเรา อาจรูสึกหดหู ถูกกิเลสเลนงาน ไมสามารถกำหนดอะไรไดเลย การใช “สมาธิปญญา” ก็คือ เวลาท่ีผูปฏิบัติกำลังมีสมาธิแนบ แนน สติตั้งม่ัน ใหผูปฏิบัติสังเกตวา สถานการณแบบไหนท่ีมี สว นชว ยทำใหก ารปฏบิ ตั ขิ องตนเปน ไปเชน นน้ั เราจดั การกบั จติ ใจ ของตนเองอยางไร มีสภาวะอะไรเกิดอยูในขณะท่ีการปฏิบัติที่ดี นั้นกำลังดำเนินอยู เมื่อประสบกบั ปญ หาในการปฏิบตั ิ ผปู ฏิบัติ จะไดระลึกถึงปจจัยที่ดีเหลานั้น และสามารถสรางใหเกิดข้ึน อีกได

๓๓ ปจจัยท่ี ๖ ปลกู ฝงโพชฌงคเจ็ด

๓๔ ปจจัยประการที่ ๖ ในการพัฒนาพละใหคมกลา คือการปลูกฝงโพชฌงค ๗ หรือองคธรรมแหงการตรัสรูให เกดิ ข้ึน ไดแก สติ ธัมมวจิ ยะ วิริยะ ปต ิ ปสสัทธิ สมาธิ และ อุเบกขา คุณสมบัติของจิตเหลาน้ีคือเหตุท่ีมาของการตรัสรู ธรรม เม่ือมีโพชฌงคในใจก็เทากับผูปฏิบัติสรางเหตุแหงการ ตรัสรูธรรม และกำลังกาวเขาใกลพระนิพพานมากข้ึนทุกขณะ นอกจากน้ี โพชฌงค ๗ กย็ ังเปน สว นหน่ึงของการระลึกรมู รรคผล (มัคคญาณผลญาณ) ในทางพุทธศาสนา เมื่อกลาวถึงการระลึกรู ตา ง ๆ หมายถงึ ความระลกึ รทู เี่ จาะจงชวั่ ขณะ อนั เปน ปรากฏการณ ทางจิตท่ีมีลักษณะพิเศษท่ีสามารถระลึกรูได มัคคญาณผลญาณ คือสภาวะจิตที่เกิดข้ึนตอเน่ืองและประกอบกันเปนประสบการณ แหง การตรัสรูธรรม มคั คญาณผลญาณ คือสง่ิ ที่เกดิ ขึ้นเม่อื สภาวะ จิตเปล่ียนจากการระลึกรูอยูในสมมติบัญญัติ เขาสูพระนิพพาน ผลของการเปลย่ี นแปลงนจ้ี ะทำใหกิเลสถกู กำจดั ออกไป ทำใหจ ิต เปล่ียนแปลงไปอยา งสิน้ เชงิ ในระหวางการพัฒนาจติ เพอื่ ใหเกิดมรรคผลนี้ ผปู ฏิบัติ ท่ีเขา ใจโพชฌงค ๗ กอ็ าจใชอ งคธรรมเหลา น้ใี นการรักษาสมดุล ในการปฏิบตั ขิ องตนได วริ ยิ ะ ปต ิ และธัมมวิจยะสมั โพชฌงค ชว ยยกระดับจิตเมือ่ จติ หดหเู ศรา หมอง ในขณะที่ ปส สัทธิ สมาธิ

๓๕ พระกมั มฏั ฐานาจรยิ ะ อู บัณฑิตาภิวังสะ และอเุ บกขา ทำจิตใหสงบลง เมือ่ จิตโลดโผนโจนทะยานเกนิ ไป หลายครงั้ โยคอี าจรสู ึกหดหู ทอถอย ขาดสติ และคิดวาการ ปฏบิ ตั ขิ องตนแยล ง ไมก าวหนา สติไมสามารถกำหนดส่งิ ตาง ๆ ไดอ ยา งเคย ในเวลาเชน น้ี โยคีตอ งพยายามกระตนุ จติ ใจของตน ใหห ลุดพน จากภาวะดังกลา ว ทำใหจติ ใจสดใสข้นึ โยคีควรหา วธิ สี รา งกำลังใจ หรือแรงบันดาลใจ เชน การฟงธรรมเทศนาท่ี จับใจ ท่ีจะทำใหเกิดปต ิ บนั ดาลใจใหเ กิดความพากเพยี รย่ิงขึ้น หรอื ทำใหธัมมวจิ ยะสมั โพชฌงคเจรญิ ข้นึ โดยการใหความรูเกยี่ ว กับการปฏิบัติ องคธรรมท้ังสามน้ี กลาวคอื ปต ิ วริ ยิ ะ และ ธมั มวิจยะ มีประโยชนมากเมื่อเผชิญกบั ความหดหแู ละทอ ถอย เมอื่ ธรรมบรรยายกอใหเ กดิ ปต ิ วิรยิ ะ หรอื ธัมมวิจยะ แลว ผปู ฏบิ ตั คิ วรใชป ระโยชนจ ากสภาวะเชน น้ี ในการพยายาม ปรบั จิตของตนใหกำหนดสิง่ ตาง ๆ ใหไดแ มน ยำ และชัดเจนมาก ขึ้น จนกระท่ังสามารถระลกึ รูอารมณต า ง ๆ ไดอ ยางแจมแจง ในบางขณะ โยคีอาจมปี ระสบการณแปลก ๆ หรอื ดว ยเหตุผลบางอยา ง ผปู ฏบิ ัติอาจพบวา ตนเองกำลงั มจี ิตใจท่ี ชนื่ บาน มีปติ และความสขุ อยา งทวมทน พลงุ พลา น ในระหวาง การปฏบิ ตั ิ จะเห็นโยคีเหลา นมี้ ีใบหนา ท่ีเบกิ บาน มอี าการเดินตัว

๓๖ ลอย เนอื่ งจากจิตมพี ลังมากเกนิ ไป สตจิ งึ พลาดพล้งั ไมสามารถ อยกู ับปจ จบุ ันขณะได และแมผปู ฏบิ ัติเหลาน้ีจะกำหนดอารมณ กรรมฐานไดบ าง ก็จะเปนการกำหนดแบบเฉยี ด ๆ ผา นเลยไป ไมตรงปจจบุ ัน หากผูปฏบิ ัติพบวาตวั เองมจี ติ ใจฟฟู อ งเกนิ ไป กอ็ าจปรบั ใหสมดุลไดโดยโพชฌงค ปสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา โดย อาจเริ่มจากการยอมรับวา จิตตนเองมีพลังมากเกินไปจริง ๆ แลวระลึกวา “ไมจำเปนตองรีบรอน พระธรรมจะปรากฏใหเห็น เอง เราควรท่ีจะนั่งดูอยางสงบเยือกเย็น และรับรูอารมณตาง ๆ ดวยสติอันสุขุมออนโยน” ความคิดเชนน้ี จะชวยใหความสงบ เกิดข้ึน และเมื่อพลังจิตสวนเกินออนตัวลง ผูปฏิบัติจะสามารถ เร่ิมต้ังสมาธิไดอีก วิธีการนี้เปนการทำใหการปฏิบัติแคบเขามา แทนท่ีจะพยายามกำหนดหลายๆส่ิง ก็ใหลดสิ่งท่ีใชเปนอารมณ ใหนอยลง และตั้งใจกำหนดอยางเต็มท่ีมากขึ้น จิตจะเร่ิมชาลง และกลับสูสภาวะปรกติในไมชา ประการสุดทาย ผูปฏิบัติอาจ เลอื กใชอ เุ บกขาตะลอ มจติ ดว ยความคดิ ทวี่ า “โยคไี มค วรเลอื กทร่ี กั มักที่ชงั ไมจ ำเปน ตอ งรบี รอน สิง่ ทส่ี ำคัญทีส่ ดุ เพยี งประการเดียว กค็ ือ ตอ งเฝา ดทู กุ ส่ิงทุกอยา งท่เี กิดขน้ึ ไมวา ดหี รอื เลว”

๓๗ พระกัมมัฏฐานาจรยิ ะ อู บัณฑิตาภิวังสะ หากผูปฏิบัติสามารถรักษาความสมดุลในจิตเอาไวได ลดความตื่นเตน และทำจิตที่หดหใู หผ องใส ก็แนใจไดว า ปญ ญา ญาณจะเกดิ ข้ึนในไมชา ความจริง ผทู ีจ่ ะทำหนา ที่ปรบั ความสมดลุ ในการปฏบิ ัติ ไดด ที ส่ี ดุ คือ วิปสสนาจารยท ีม่ ีความสามารถ หากวปิ ส สนาจารย ตดิ ตามการปฏบิ ัติของลูกศษิ ยอยางตอเน่อื ง โดยการสอบอารมณ วิปสสนาจารยจ ะสามารถเห็น และแกไขปญหาความไมส มดลุ ใน การปฏิบัตติ า ง ๆ เหลานใี้ หแกโ ยคีได อาตมาอยากเตอื น มใิ หโ ยคที อ ถอย เมอ่ื คดิ วา ตนประสบ กับปญหาในการปฏิบัติ โยคีเปรียบเหมือนเด็กทารก ซ่ึงตองผาน การพัฒนาหลายขั้นตอน ในระหวางข้ันตอนเหลาน้ี ทารกอาจ ตอ งเผชญิ กบั การเปลยี่ นแปลงทางจติ ใจและรา งกายอยา งมากมาย บางครงั้ อาจรสู กึ หงดุ หงิดงา ย ๆ เอาใจไมถ ูก ทารกอาจรองไหโ ยเย โดยไมเลือกเวลา มารดาท่ีขาดประสบการณ อาจวิตกมากในชว ง ดังกลาว ขอเท็จจริงก็คือ หากทารกไมเผชิญกับความทุกขเหลา น้ี ทารกก็ไมอาจเติบโตเปนผูใหญได ความคับของใจของทารก สวนใหญ จะเปนสัญญาณของการพัฒนา ดังน้ันหากผูปฏิบัติคิด วาการปฏิบัติของตนกำลังจะลมเหลวอยางสิ้นเชิง จงอยาวิตก ผูปฏบิ ตั ิอาจเปน เหมอื นเด็กทารก ซง่ึ กำลังพัฒนาเปน ขั้น ๆ ก็ได

๓๘ ปจ จัยท่ี ๗ พยายาม อยา งกลา หาญ

๓๙ พระกัมมัฏฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑติ าภวิ งั สะ ปจ จัยประการท่ี ๗ ในการสรางเสรมิ พละทงั้ ๕ คือ การปฏิบัติธรรมดวยความกลาหาญ ถึงขนาดท่ีผูปฏิบัติพรอม ที่จะสละรางกายและชีวิต เพ่ือการปฏิบัติธรรมอยางตอเนื่องได หมายถึง การใหความสำคัญแกรางกายนอยลงกวาปรกติ แทนที่ จะเสยี เวลาในการตกแตง รา งกาย หรอื ดแู ลความสะดวกสบายของ ตนเอง ผปู ฏิบัติจะทุมเทพลงั ใหมากทสี่ ดุ ใหแ กก ารเจรญิ กรรมฐาน ถึงแมวารางกายเราอาจจะยังแข็งแรงในขณะนี้ แต รางกายจะเปนสิ่งไรประโยชนอยางสิ้นเชิงเม่ือเราตาย เราจะใช ประโยชนอะไรไดจากซากศพ รางกายเปรียบเหมือนภาชนะที่ บอบบาง มันจะยังใชงานไดตราบเทาท่ียังไมแตกสลาย ทันทีท่ี มนั หมดลมลม ลง มนั จะไมม ีประโยชนก บั เราอีกตอ ไป เม่ือเรายังมีชีวิต และมีสุขภาพดีพอควร นับวาเรายัง โชคดที ม่ี ีโอกาสที่จะปฏบิ ตั ิธรรมได เราควรท่ีจะเรง ดงึ เอาสาระอัน ประเสรฐิ ออกมาจากรา งกายของเรา กอนท่ีจะสายเกินไป กอน ท่ีรางกายเราจะกลายเปนซากศพ แนนอนวาเราจะไมจงใจทำให เราอายุสนั้ ลง แตจ ะปฏิบตั อิ ยางสมเหตสุ มผล โดยรกั ษาสุขภาพ เพยี งเพื่อใหมโี อกาสปฏบิ ตั ธิ รรมตอ ไปไดเ ทา นนั้

๔๐ อาจมีผูถามวา เราจะเอาสาระอะไรจากรางกายน้ี ครั้ง หน่ึงมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร เพ่ือประเมินราคาของธาตุที่ ประกอบกันเปนรางกายมนุษย เชน ธาตุเหลก็ แคลเซียม เปนตน อาตมาคิดวา รางกายของคนเรา คงมีราคาไมถึงหนึ่งดอลลาร สหรัฐฯ คาใชจายในการแยกสวนประกอบเหลาน้ีคงสูงกวาราคา ของรางกายท้ังหมดหลายเทา หากปราศจากวิธีแยกสารดังกลาว แลว ซากศพกเ็ ปนสิ่งไรค า นอกเสยี จากเอาไปทำปุย ยกเวนกรณี ที่เอาอวัยวะของผูตายไปผาตัดใหกับผูปวยอีกผูหนึ่ง ในกรณีน้ี กเ็ ปน เพียงการยืดระยะเวลากลายเปนซากศพเทานั้น รางกายอาจเปรียบไดก บั กองขยะ นา ขยะแขยงเต็มไป ดวยสงิ่ สกปรกโสโครก คนทั่ว ๆ ไป ไมเห็นประโยชนอะไรจาก กองขยะ แตค นท่ีฉลาดก็อาจนำเอาสง่ิ ของบางอยา งกลับมาใช ประโยชนได โดยเอาของสกปรกบางช้ิน นำมาลางแลว นำกลับ มาใชป ระโยชนไดอีก มีคนจำนวนมากรำ่ รวยจากการทำธุรกิจนำ ของเกามาใชใ หมเ ชนน้ี จากกองขยะท่ีเรยี กวารางกายของเรานี้ เราก็อาจสกัด เอาทองคำออกมาไดด วยการปฏบิ ตั ิธรรม ทองคำแทงหนง่ึ ก็คือ ศีล ความบริสทุ ธ์ทิ างความประพฤติ เปน ความสามารถในการ ฝกฝนและพัฒนาพฤติกรรมของมนุษยใหถึงความเปนอารยชน

๔๑ พระกัมมฏั ฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภวิ งั สะ เม่อื สกัดคุณลักษณะทีด่ ีงามตอไปอีก กจ็ ะได ศรทั ธา วิริยะ สติ สมาธิ และปญ ญา เหลาน้ีคืออญั มณที หี่ าคามิได ท่ีเราสามารถ สกดั จากรา งกายไดดว ยการเจริญกรรมฐาน เม่อื พละเจรญิ เต็มท่ี แลว จิตจะสามารถเอาชนะความโลภ ความโกรธและความหลง ได เมื่อจติ ปราศจากกเิ ลสเหลา นี้ ก็จะพบกับความสนั ติสขุ ที่มอิ าจ ซอ้ื หาได บุคคลผูนั้นจะมแี ตความสงบเยือกเย็นและออนหวาน จนทำใหผูพบเห็นมจี ิตใจสงู ขน้ึ ไปดวย ความเปนอิสระภายในนี้ ไมข น้ึ กับสถานการณหรอื เงือ่ นไขใด ๆ ท้งั ส้ิน และจะเกดิ ไดจาก การปฏิบัติธรรมอยางจรงิ จงั เทา นนั้ ใคร ๆ กร็ วู า ความทกุ ขใจไมอ าจถูกทำลายไดด ว ยความ ปรารถนาจะพนทุกขแตเพียงอยา งเดยี ว ใครบา งไมเคยตอสกู ับ ความตอ งการท่ีจะทำอะไรบางอยาง ซงึ่ ตนเองรวู า หากทำไปแลว จะสะเทือนใจผูอื่น มีใครบา งท่ไี มเคยหงดุ หงิดหวั เสยี ท้งั ทใี่ จจริง อยากจะรสู กึ พอใจและเปนสุขมากกวา ใครบางท่ีไมเ คยรจู กั วา ความสับสน เปนความทรมานเพยี งใด เราสามารถกำจดั ความ เจ็บปวดและความไมน าพอใจเหลาน้ไี ด แมจะไมงายนกั สำหรบั คนสว นใหญ การฝก จิตน้นั อาศยั ความทุม เทมาก พอ ๆ กับรางวลั ทีจ่ ะไดร ับ แตเรากไ็ มค วรทอถอย เปาหมายและผลของวปิ ส สนาก็ คอื ความหลดุ พนทกุ ประเภท ทุกรูปแบบ และทกุ ระดบั จากความ

๔๒ ทุกขท างกายและจติ ใจ หากปรารถนาความหลุดพน เชน น้ี โยคีก็ ควรจะยินดกี ับโอกาสท่ีจะไดป ฏิบัตธิ รรม เวลาทเ่ี หมาะสมทส่ี ดุ กค็ อื เดย๋ี วนี้ เมอื่ รา งกายยงั แขง็ แรง ก็นับเปนโชคที่เรายังมีพละกำลังในการปฏิบัติ เม่ืออายุมากขึ้น กำลังกายก็จะถดถอยลง อยางไรก็ตามบางครั้งอายุก็ชวยใหมี ปญญามากขึ้น เชนอาจชวยใหเขาใจความแปรปรวนของชีวิตได ดขี ้ึน ความจำเปนเรง ดว นทำใหต อ งปฏิบัติธรรม ในสมยั พทุ ธกาล มีพระภิกษหุ นมุ รูปหนึ่งมีชอื่ วา รฐั บาล มาจากครอบครวั ทรี่ ำ่ รวย เนอ่ื งจากยงั หนมุ แนน และแขง็ แรง จงึ ได ใชช วี ติ หาความสำราญมาเกอื บทกุ ประเภทกอ นบวช แมจ ะรำ่ รวย มเี พ่ือนฝูง ญาติพีน่ อ งมาก และสามารถใชทรัพยส มบตั แิ สวงหา ความสุขในรูปแบบตาง ๆ จนนับไมถ วน แตในทสี่ ดุ ทา นก็สละสิ่ง เหลา นีอ้ อกแสวงหาความหลุดพน

๔๓ พระกมั มฏั ฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑิตาภิวังสะ วันหนึ่ง เมื่อพระเจาโกรัพยะราชเสด็จประพาสปา ก็ มาพบพระภิกษุรูปน้ีเขาโดยบังเอิญ พระราชาจึงตรัสถามวา “ขาแตทานผูเ จริญ ทา นยงั หนมุ และแข็งแรงกำลังอยใู นวัยฉกรรจ ทานทิ้งครอบครัวที่ร่ำรวย และโอกาสแสวงหาความสุขตางๆ ละญาติพี่นอง มานุงหมผากาสาวพัสตร อยูอยางโดดเด่ียวเพื่อ อะไร ไมรูสกึ เหงาบา งหรอื ไมเ บือ่ บางหรือ” พระรัฐบาลจงึ ตอบวา “มหาบพิตร เมือ่ อาตมาไดส ดบั พระธรรมเทศนาของพระพุทธองค ก็ทำใหอาตมารูสึกถึงความ จำเปนเรงดวนย่ิงนักท่ีจะตองปฏิบัติธรรม อาตมาประสงคจะ แสวงหาประโยชนสูงสุดจากรางกายน้ีกอนท่ีจะตายไป ดังนั้น อาตมาจงึ ละทิง้ ชวี ิตทางโลก และเขา สรู มกาสาวพสั ตรน”ี้ หากผปู ฏบิ ตั ยิ งั ไมต ระหนกั ถงึ ความจำเปน ทจ่ี ะตอ งเรง รบี ปฏิบตั ิ โดยไมผ กู พนั กับรา งกายหรือชีวิต บางทีพระพทุ ธพจนต อ ไปน้อี าจชว ยได พระพุทธองคตรัสวา เราควรท่ีจะระลึกวา โลกนี้มิได ประกอบดวยอะไรเลย นอกจากรูปกับนาม ที่เกิดข้ึนแลวก็ดับ ไป รูปกับนามมิไดหยุดน่ิงอยูกับที่แมขณะเดียว แตแปรปรวน เปล่ียนแปลงอยูตลอดเวลา เมื่อเรามาอาศัยรางกายและจิตใจน้ี เรากไ็ มอ าจหยุดยัง้ ความชราได

๔๔ เมอื่ เรายงั เดก็ เรากย็ นิ ดที ีจ่ ะเติบโต แตเ มือ่ เราแกตัวลง เรากพ็ บวา เราตกอยใู นวงั วนของความเสื่อมอยา งไมมวี ันกลับคนื เราพอใจท่ีจะมีสุขภาพดี แตก็ไมมีใครรับประกันไดวา เราจะสมปรารถนา เราถูกรบกวนดวยความเจ็บปวยไมสบายอยู เนือง ๆ ตลอดช่วั ชวี ิต ความเปน อมตะไมมี ทกุ คนตอ งตาย ไมมี ใครอยากตาย แตก ไ็ มมใี ครเลีย่ งได คำถามอยูท่ีชาหรอื เร็วเทา นั้น ไมมีใครเลยในโลก ท่ีจะรับประกันไดวาความปรารถนา ของเราท่ีจะเจริญเติบโต มีสุขภาพดี และไมตาย จะเปนจริงได แตค นกป็ ฏเิ สธทจี่ ะยอมรบั ความจรงิ ขอ น้ี คนแกก พ็ ยายามแตง ตวั ใหดูหนุมสาว นักวิทยาศาสตรคิดหาวิธีรักษา และวิธีการตาง ๆ ท่ีจะชะลอความชรา และพยายามแมแตจะใหคนตายฟนข้ึนมา เม่ือเราปวย เราก็ทานยาเพ่ือใหรูสึกดีขึ้น แตเราก็จะตองปวยอีก ที่สุดแลวเราไมสามารถเอาชนะธรรมชาติได เราไมอาจหลีกเลี่ยง ความแกและความตายได นี่คือจุดออนของชีวิต ชีวิตนี้ไรความมั่นคง ไมมีท่ี ปลอดภัยใหหลบซอนจากความแก ความเจ็บ และความตาย ไมวาสิ่งมีชีวิตใด ๆ ทั้งสัตว มนุษย และที่สำคัญที่สุด คือ ตัวผปู ฏิบตั เิ อง

๔๕ พระกมั มัฏฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑติ าภิวังสะ หากโยคปี ฏิบัตอิ ยางลึกซ้งึ ขอเท็จจริงเหลาน้จี ะไมใชส ่ิง แปลกใหม หากผูปฏิบัตมิ ญี าณ เหน็ ปรากฏการณทางกายทาง จิต เกิดขน้ึ และดบั ไปทกุ ๆ ขณะ ผูป ฏบิ ัติจะสามารถรูไดเองวา ไมม ีท่หี ลบภัยใด ๆ ไมมสี ิ่งใดท่มี นั่ คง แตหากปญญาญาณยังไมถ ึง ขั้นนี้ การคิดคำนงึ ถึงความเปราะบางไรสาระของชวี ิต กอ็ าจชว ย กระตนุ ใหเรารูสกึ ถึงความจำเปน เรงดว น ทีจ่ ะตอ งปฏิบัติธรรม ขนึ้ มาได การเจริญวิปส สนากรรมฐานจะชว ยใหรอดพนจากสิ่งนา กลวั เหลา นีไ้ ด สงิ่ มีชวี ิตยงั มจี ุดออนอีกอยา งหน่งึ คอื การไรสมบตั ิทแี่ ท จรงิ การกลา วดังน้ีอาจฟงดูแปลก เม่อื เราเกดิ มา เราก็เร่มิ สะสม ความรใู นทนั ที เราไดร ับ ลาภ ยศ ตามควรแกฐานะ สวนใหญก็ ทำงานนำเงินเดือนท่ไี ดม าซื้อสิง่ ตา ง ๆ เราเรยี กสิง่ เหลานว้ี า ทรัพย สมบัติ และในทางหน่ึงมันก็เปน ทรัพยสมบัตจิ ริง ๆ แตหากทรพั ย สมบตั นิ ้ีเปนของเราจรงิ ๆ เราจะตองไมมวี นั พรากจากมนั แตเม่อื มันแตกหัก หรือสูญหาย หรอื ถูกขโมยไป จะกลา ววาเรายังเปน เจาของมันอยางแทจ ริงไดอ ยูหรือ เมอ่ื เราตาย ไมม ีอะไรเลยทเี่ รา เอาไปดวยได ทกุ อยา งไดมา สะสมแลว กท็ ้ิงไวเ บือ้ งหลงั จึงอาจ กลา วไดวา ชวี ิตไรสมบตั ิท่ีแทจริง

๔๖ สมบัติของเราทุกช้ิน ตองท้ิงไวเบื้องหลังทันทีท่ีเราตาย ทงั้ น้ี สมบตั อิ าจแบง ออกเปน ๓ ประเภท คอื (๑.) อสงั หารมิ ทรพั ย เชน อาคาร ที่ดิน ฯลฯ โดยปรกติสิ่งเหลานี้เปนของเรา แตก็ ตองทงิ้ ไวเ มอื่ เสยี ชวี ติ (๒.) สงั หาริมทรัพย เชน เกาอ้ี แปรงสฟี น เสอื้ ผา และอน่ื ๆ ทเ่ี รานำตดิ ตวั ไปเวลาเดนิ ทางไปในทตี่ า ง ๆ บนโลก ในช่ัวชวี ติ หนง่ึ (๓.) ความรู ศิลปะ และวทิ ยาการ ความชำนาญ ทเี่ ราใชเ ล้ยี งชีวิตของเราและคนอ่ืนๆ ตราบเทา ท่เี รายงั มีรางกายที่ ทำงานเปน ปรกติ วทิ ยสมบตั นิ เ้ี ปน สง่ิ สำคญั แตก ไ็ มม หี ลกั ประกนั วา เราจะไมสูญเสียสมบัติน้ีเชนเดียวกัน เราอาจลืม หรือถูกหามมิให ใชความรูน้ัน โดยรัฐบาลหรือโดยความโชครายอื่น ๆ เชน หาก ศัลยแพทยตองสูญเสียแขน หรือประสบกับส่ิงท่ีทำลายชีวิตอัน เปนปรกติสุข ศัลยแพทยผูน้ันอาจไดรับความสะเทือนใจ จนไม สามารถประกอบอาชีพได ไมมีสมบัติใดเลยที่จะสรางความม่ันคงใหแกชีวิตในโลก นี้ได อยา วา แตโลกหนา หากเราสามารถมองเหน็ ไดวา เราไมม ี อะไรเลย และชีวิตน้ีเปนสง่ิ ชวั่ คราวยิ่งนกั เรากจ็ ะมคี วามสงบมาก ข้นึ เมือ่ พบกับสงิ่ ท่ีหลีกเล่ยี งไมไ ดท ัง้ หลายขา งตน

๔๗ พระกมั มัฏฐานาจรยิ ะ อู บณั ฑิตาภวิ ังสะ เอกสมบัตทิ ี่แทจริงของมนษุ ย อยางไรก็ตาม มีสมบัติบางอยางที่ติดตามเราไปหลัง ความตายได ส่ิงนี้ก็คือ กรรม หรือผลของการกระทำของเราเอง กรรมดีและกรรมชั่วจะติดตามเราไป และเราก็จะไมอาจหลีกหนี มันไดดว ย ความเชื่อวากรรมเปนเอกสมบัติที่แทจริง กอใหเกิด ความปรารถนาอยางแรงกลาท่ีจะปฏิบัติธรรมอยางบากบ่ัน และถ่ีถวน ความเขาใจวา กรรมดี เปนการลงทุนใหเกิดความ สุขในอนาคต กรรมช่ัวจะตามกลับมาสนองผูกระทำนั้น จะ ทำใหเรากระทำส่ิงตางๆ ดวยการระลึกถึงความดี มีความ เผ่ือแผ ใจกวาง และเมตตา เราจะพยายามบริจาคเงินใหแก โรงพยาบาล และผูประสบภัยตาง ๆ เราจะชวยเหลือสมาชิก ในครอบครัว ผูสูงอายุ คนพิการ และผูดอยโอกาส เพ่ือนฝูง และคนอ่ืนๆ ที่ตองการความชวยเหลือ เราอาจจะปรารถนาที่จะ สรา งสงั คมใหด ขี นึ้ โดยการระวงั รกั ษา กริ ยิ า วาจา และการกระทำ ตางๆ ของตัวเราเอง เราจะชวยสรางสภาพแวดลอมที่สงบสุข เมื่อเราพยายามที่จะปฏิบัติธรรม และเอาชนะกิเลสที่เกิดขึ้น และหมักหมมอยูในจิตใจ การกระทำดังกลาวจะนำพาใหเรามี

๔๘ ปญญาญาณท่ีสูงข้ึน จนถึงเปาหมายสูงสุด ผลของกุศลกรรม จาก ทาน ศีล และภาวนา โดยการพัฒนาจิตหรอื เจริญกรรมฐาน จะติดตามเราไปในภพหนา ราวกับเงาตามตัว ฉะนั้น จงอยา ไดหยดุ ยง้ั ในการสรา งกุศลกรรมเหลานี้ เราทุกคนลวนเปนทาสของตัณหา แมจะเปนเรื่องนา ละอายแตก็เปนเรื่องจริง ตัณหาน้ันไมมีท่ีสิ้นสุด ทันทีที่เราไดรับ อะไรบางอยาง เราจะพบวามันไมดีอยางที่คาดหวังไว และเราก็ จะพยายามหาอยางอื่นตอไป น้ีคือธรรมชาติของชีวิต คลายกับ การพยายามตักน้ำดวยตะขายจับแมลง ชีวิตไมมีวันเต็ม ดวย การตามใจตนเองหรือไลตะครุบสิ่งตาง ๆ มาเปนของตน ตัณหา ไมอาจสนองตัณหาได หากเราเขาใจความจริงขอนี้ เราก็จะ หยดุ มงุ แสวงหาความพอใจในลกั ษณะเชน น้ี ดงั น้นั พระพุทธองค จงึ ตรัสไววา ความสันโดษเปนทรัพยท ่ยี ิง่ ใหญ มีเร่ืองเกี่ยวกับชายคนหนึ่ง มีอาชีพสานตะกราขาย เขาเปน คนงาย ๆ มีความสขุ อยกู ับการสานตะกรา เขาจะผวิ ปาก รอ งเพลง และใชเ วลาอยา งมคี วามสขุ ในเวลากลางคนื เขากจ็ ะ นอนในกระทอ มเลก็ ๆ และหลบั อยา งมคี วามสขุ วนั หนง่ึ มเี ศรษฐี ผานมา และเหน็ ชายสานตะกราท่ยี ากจนผูนี้ แลวเกดิ ความสงสาร จงึ ใหเ งนิ แกช ายคนนี้ ๑,๐๐๐ เหรยี ญ “โปรดรบั เงนิ ไว” เขากลา ว “และนำไปหาความสุข”


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook