Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สุขจากความไม่เห็นแก่ตัว

สุขจากความไม่เห็นแก่ตัว

Published by ชมรมกัลยาณธรรม, 2021-05-20 06:30:29

Description: สุขจากความไม่เห็นแก่ตัว

Search

Read the Text Version

อาจรยิ บูชา ๗๙ ปี เพชรแหง่ การเผยแผธ่ รรม ท่านอาจารยว์ ศนิ อินทสระ ๑๗ กนั ยายน ๒๕๕๖ AWText-KarmSuk-new.indd 1 8/25/13 10:24 AM

ชมรมกัลยาณธรรม ๑๐๐ ถ.ประโคนชัย ต.ปากนำ้� อ.เมือง จ.สมทุ รปราการ ๑๐๒๗๐ โทรศพั ท ์ ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓, ๐๒-๗๐๒-๙๖๒๔ โทรสาร ๐๒-๗๐๒-๗๓๕๓ อ.วศิน อินทสระ หนังสอื ดลี �ำดับท ่ี : ๒๓๓ พิมพค์ รง้ั ที่ ๑ : สิงหาคม ๒๕๕๖ จ�ำนวนพิมพ์ : ๔,๐๐๐ เลม่ ออกแบบและศิลปกรรม : ชฎาบญุ บุญสิริวรรณ ดำ� เนินการผลิตโดย : ชมรมกัลยาณธรรม เพลตและจัดพมิ พ ์ : Canna Graphic : โทรศพั ท์ ๐๘๖-๓๑๔-๓๖๕๑ สพั พทานงั ธัมมทานัง ชนิ าติ การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการใหท้ ง้ั ปวง www.kanlayanatam.com Dhammaintrend รว่ มเผยแพรแ่ ละแบง่ ปันเป็ นธรรมทาน AWText-KarmSuk-new.indd 2 8/25/13 10:24 AM

คำ�อนุโมทนา ชมรมกัลยาณธรรมโดยทันตแพทย์หญิงอัจฉรา  กลิ่นสุวรรณ์ ผเู้ ปน็ ประธานชมรม ไดข้ ออนญุ าตพมิ พห์ นงั สอื เรอื่ ง “ความสขุ จากความ ไม่เห็นแก่ตัว และความสุขจากความไม่ยึดม่ันถือม่ัน” ข้าพเจ้าอนุญาต ดว้ ยความยินดียง่ิ ความเห็นแก่ตัวเป็นกิเลสอย่างหน่ึงของมนุษย์ เป็นสาเหตุ ให้คนทำ�ความชั่วได้นานาประการ ถ้าได้ความสุขมาก็เป็นความสุขท่ี ไม่สะอาด บุคคลผู้น้ันก็เป็นมนุษย์ท่ีไม่สะอาด สมดังพุทธศาสนสุภาษิต ทว่ี ่า “อตฺตตฺถปญญฺ า อสจุ ี มนุสฺสา” แปลว่า มนษุ ยผ์ เู้ ห็นแกต่ ัวเป็นคน ไมส่ ะอาด ส่วนผู้ไมเ่ ห็นแกต่ ัวมีการกระทำ�ตา่ งๆ เพอ่ื ความสขุ ของผอู้ ืน่ ยอมเหน็ดเหน่ือยลำ�บากเพ่ือความสุขของผู้อ่ืนหรือเพ่ือประโยชน์สุขของ คนส่วนมาก ตนเองก็จะได้รับความสุขเป็นส่ิงตอบแทน และเป็นความ สุขทบี่ ริสุทธิ์ AWText-KarmSuk-new.indd 3 8/25/13 10:24 AM

เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา คร้ังแรก ไดท้ รงประทานพระพทุ ธโอวาทวา่ “ขอใหเ้ ธอท้งั หลายจงจารกิ ไปแสดงธรรมเพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก” ตลอดพระชนมชีพของพระพุทธองค์ ได้ทรงประกาศธรรมสั่งสอน ประชาชนเพ่ือประโยชน์สุขของคนท้ังหลาย ประโยชน์น้ันได้สืบเนื่องมา จนถึงทุกวนั นี้ ผู้ท่ีท�ำงานเพ่ือประโยชน์ส่วนรวมจะต้องอุทิศตน สละตน (อัตตจาคะ) เพือ่ ประโยชน์สขุ ของคนหม่มู าก ไมเ่ ห็นแต่ความสุขของตัว ฝ่ายเดียว อะไรที่เป็นความสุขของตนก็ต้องเป็นความสุขของผู้อื่นด้วย ผปู้ ฏบิ ตั เิ พอื่ ประโยชนต์ นและประโยชนผ์ อู้ นื่ อยา่ งสม�่ำเสมอจะไดร้ บั ความ สขุ ความส�ำเร็จในชีวติ ความสุขน้นั บริสุทธผ์ิ ่องแผว้ เปน็ ประโยชนเ์ ก้ือกูล ทงั้ โลกนี้และโลกหนา้ จนถงึ ประโยชนส์ งู สดุ คือมรรค ผล นพิ พาน AWText-KarmSuk-new.indd 4 8/25/13 10:24 AM

มปี ฏปิ ทาอกี อยา่ งหนง่ึ เพอ่ื ประโยชนด์ งั กลา่ วน้ี คอื ความไมย่ ดึ มน่ั ถือม่ัน เป็นความสุขที่ปลอดโปร่งและเป็นที่พ่ึงในชีวิตได้จริงสมพุทธ- ศาสนสุภาษิตทีว่ ่า “อกญิ จฺ นํ อนาทานํ เอตํ ทปี ํ อนาปร”ํ แปลว่า ความไม่ กงั วล ความไมย่ ึดมน่ั ถอื มน่ั นนั่ แหละเป็นที่พง่ึ ทีแ่ ทจ้ ริงหาใชอ่ ยา่ งอ่ืนไม่ เพ่ือบรรลุจุดมุ่งหมายนี้ ผู้ปฏิบัติจะต้องพยายามละอุปาทาน ทั้ง ๔ มี กามุปาทาน เปน็ ต้น ซึ่งได้พรรณนาไวล้ ะเอยี ดแลว้ ในหนังสือ เรอ่ื งนี้ ขอต้ังจิตอธิษฐาน ขอให้ชมรมกัลยาณธรรมและท่านผู้อ่านพึง ประสบความสำ�เร็จ และได้รับความสุขจากความไม่เห็นแก่ตัวและความ ไมย่ ึดมน่ั ถอื มัน่ ทวั่ หนา้ กัน ดว้ ยความปรารถนาดอี ยา่ งย่งิ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๖ AWText-KarmSuk-new.indd 5 8/25/13 10:24 AM

ค�ำ น�ำ ของชมรมกลั ยาณธรรม หนงั สอื ความสขุ จากความไมเ่ หน็ แกต่ วั เลม่ น้ี ไดร้ บั ความเมตตา จากทา่ นอาจารยว์ ศิน อินทสระ ใหร้ วบรวมมาจาก ๒ ส่วนคือ สว่ นแรก จากเสยี งบรรยายทางวทิ ยเุ รอ่ื ง “ความสขุ จากการไมเ่ หน็ แกต่ วั ” ในรายการ ธรรมโอสถ ทางสถานวี ทิ ยยุ านเกราะ AM 963 KHz ซ่งึ ทา่ นบรรยายไว้ เม่ือวนั เสาร์ท่ี ๕ มถิ นุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขา้ พเจา้ เห็นวา่ เป็นประโยชน์ แกก่ ารศกึ ษาพฒั นาจติ ใจ จงึ กราบขออนญุ าตเรยี บเรยี งเปน็ ตน้ ฉบบั ซงึ่ ทา่ น มเี มตตาตรวจทานให้ ในสว่ นหลงั “เรอ่ื งความสขุ จากการไมย่ ดึ มน่ั ถอื มนั่ ” ซึ่งเดิมช่ือเร่ืองอุปาทานน้ันมาจากแนวคำ�บรรยายในการแสดงปาฐกถา ทต่ี กึ สรรี วทิ ยา แกน่ ายแพทยแ์ ละพยาบาล โรงพยาบาลศริ ริ าช เม่อื วนั ท่ี ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ซ่ึงเรื่องนี้เคยตีพิมพ์เป็นบทความหนึ่งที่ รวมลงในหนังสือช่ือ “ปัญญารัตนะ” ท่านอาจารย์พิจารณาเลือกสรรให้ นำ�มารวมเล่มกับเร่ืองแรก เพราะมีเน้ือธรรมท่ีเป็นเหตุเป็นผลสืบเน่ือง เก่ียวโยงกัน โดยใหช้ อ่ื หนังสือว่า ความสขุ จากความไมเ่ หน็ แก่ตัว AWText-KarmSuk-new.indd 6 8/25/13 10:24 AM

โดยธรรมชาติแล้วทุกคนมีความเหน็ แกต่ วั แต่ความมมี โนธรรม เปน็ เนือ้ ใจช้นั ในอกี ช้นั หนง่ึ ทที่ ำ�ใหเ้ รารู้จกั เหน็ แก่ผู้อนื่ มเี มตตาอาทรต่อ สขุ ทกุ ข์ของเพือ่ นมนุษย์และสรรพสตั ว์ เรารักเราตอ้ งการสิง่ ใด เราก็รวู้ า่ ผอู้ นื่ กป็ รารถนาในสง่ิ นน้ั ไมต่ า่ งกนั ผรู้ กั ตนจงึ ไมค่ วรเบยี ดเบยี นผอู้ น่ื ไมม่ ี ความสขุ บนความทกุ ขข์ องผอู้ น่ื และไมเ่ หน็ แกต่ วั ในจติ ใจระดบั สงู กวา่ นนั้ ลกึ กวา่ นนั้ เขา้ ไปอกี คอื การมปี ญั ญารเู้ ทา่ ทนั ความเปน็ จรงิ วา่ แทจ้ รงิ แลว้ ตัวตนไม่มีจริง ทุกส่ิงไม่ควรยึดม่ันถือม่ัน ซึ่งวิถีแห่งปัญญาเหล่านั้นได้ อธบิ ายไวใ้ นสว่ นหลงั ในเรอ่ื งความสขุ จากการไมย่ ดึ มนั่ ถอื มนั่ (อปุ าทาน) โดยเม่ือเรามีปัญญาเข้าถึงสัจจธรรมของสรรพส่ิง ในความไม่มีอะไรให้ ยึดถือได้ ละอุปาทานต่างๆ ได้แล้ว ย่อมเข้าสู่สภาวะแห่งจิตที่โปร่งเบา เปน็ อสิ ระจากทุกข์และกิเลสอย่างแทจ้ รงิ กราบขอบพระคณุ ท่านอาจารย์วศิน อนิ ทสระ ครูแหง่ ธรรมซง่ึ มี อัจฉริยภาพในการขยายความธรรมแท้ได้อย่างแจ่มกระจ่างและงดงาม นมุ่ นวล ดว้ ยทกุ สงิ่ ถา่ ยทอดมาจากดวงจติ ทเ่ี มตตาและความเปน็ ผรู้ แู้ ทจ้ รงิ AWText-KarmSuk-new.indd 7 8/25/13 10:24 AM

ของทา่ น ข้าพเจ้ารสู้ กึ ถึงความโชคดที มี่ ีโอกาสได้ศึกษางานอนั ทรงคุณค่า ของท่าน ทั้งได้รับความไว้วางใจให้ถ่ายทอดสิ่งประเสริฐนี้เพ่ือเป็นดวง ประทีปสอ่ งจติ ใจเพอ่ื นมนุษย์ ด้วยมงคลสมัยแห่งวันคล้ายวันเกิดของท่านอาจารย์จะเวียนมา บรรจบอกี ครง้ั ในวนั ท่ี ๑๗ กันยายน ศกนี้ ในนามชมรมกัลยาณธรรม ขอนอ้ มนำ�อานสิ งสแ์ หง่ ธรรมทานน้ี ตา่ งพานธปู เทยี นแพและพมุ่ ดอกไม้ บูชาพระคุณท่านอาจารย์ ขออานุภาพแห่งคุณพระรัตนตรัย และสิ่ง ศกั ดส์ิ ทิ ธใ์ิ นพระศาสนานี้ จงมาอภบิ าลรกั ษาทา่ นอาจารยใ์ หเ้ จรญิ ดว้ ย อายุ วรรณะ สขุ ะ พละ มีความสงบเยน็ ทุกวันคืน และได้ทำ�หน้าทพ่ี ทุ ธสาวก แมท่ ัพธรรมท่ีอาจหาญ สมตามธรรมปณิธานของท่านตราบนานแสนนาน กราบท่านอาจารยด์ ้วยความเคารพอย่างสงู ยง่ิ ทพญ.อจั ฉรา กลน่ิ สวุ รรณ์ ประธานชมรมกลั ยาณธรรม AWText-KarmSuk-new.indd 8 8/25/13 10:24 AM

สารบญั ๑๐ ๓๙ ความสุขจากความไม่เหน็ แกต่ ัว ๔๓ • อาวาสมัจฉรยิ ะ (ตระหนที่ ่ีอยูอ่ าศยั ) ๔๖ • กุลมัจฉริยะ (ตระหนต่ี ระกูลหรอื สกลุ ) ๔๘ • ลาภมัจฉริยะ (ตระหนีล่ าภผล) ๔๙ • วณั ณมจั ฉริยะ (ตระหน่ีความด)ี ๗๕ • ธัมมมัจฉรยิ ะ (ตระหน่คี วามร)ู้ ๗๗ ๘๗ ความสขุ จากการไม่ยดึ มั่น ๙๖ • กามุปาทาน (ความยดึ มนั่ ในกาม) ๑๐๘ • ทฏิ ฐุปาทาน (ความยึดม่ันทฏิ ฐิ) ๑๑๙ • สลี ัพพตุปาทาน (ความยึดมนั่ ในศีลและพรต) ๑๒๐ • อตั ตวาทุปาทาน (ความยึดม่ันตัวตน) ๑๒๔ อปุ าทาน 8/25/13 10:24 AM วธิ ลี ะอปุ าทาน ประวตั ผิ ู้เขยี น AWText-KarmSuk-new.indd 9

สุขค ว า ม จากความไม่เห็นแกต่ ัว AWText-KarmSuk-new.indd 10 8/25/13 10:24 AM

11 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ความสขุ จากความไมเ่ ห็นแกต่ วั ธรรมบรรยายในคร้ังน้ีมีหัวข้อเก่ียวกับความสุขและความทุกข์ ความทุกข์หรือความเจ็บป่วยท่ีสืบเนื่องมาจากจิตใจเป็นปัญหาใหญ่ ประการหนง่ึ มีนกั จิตวิทยาท่านหน่ึงชื่อ William James ไดใ้ ห้ทัศนะ ไวว้ ่าอารมณ์ทกุ ชนิด ไมว่ า่ จะเป็นอารมณด์ หี รอื อารมณร์ า้ ย หนกั หรือเบา แค่ไหน ย่อมจะเป็นสาเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายได้ท้ังนั้น โรคท่ีเก่ียวกับจิตใจเป็นโรคท่ีน่ากลัวและฆ่าคนให้ตายไปทีละน้อยอย่าง ช้าๆ อย่างเลือดเย็น ดังนั้นนักจิตวิทยาจึงได้ให้ทัศนะในการปฏิบัติตน เพ่ือป้องกันและบำ�บัดโรคทางจิตเอาไว้หลายอย่าง ซึ่งผมจะได้กล่าว ดงั ต่อไปนี้ AWText-KarmSuk-new.indd 11 8/25/13 10:24 AM

12 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ประการที่ ๑ ทา่ นบอกวา่ พยายามทำ�งาน อยา่ ใหม้ เี วลาวา่ งมาก มเี วลาวา่ งมาก สำ�หรบั พกั ผอ่ น ไมเ่ ปน็ ไร แตอ่ ยา่ ใหว้ า่ งมาก คนทมี่ ชี วี ติ อยอู่ ยา่ งเกยี จครา้ น มโี อกาสเปน็ โรคไดง้ า่ ยกวา่ ผทู้ ที่ ำ�งานยงุ่ อยเู่ สมอ มธี รุ ะอยเู่ สมอ แตต่ อ้ งยงุ่ ด้วยความเต็มใจนะครับ ยุ่งด้วยความสมัครใจ ไม่ใช่ยุ่งโดยรู้สึกว่าเป็น ทกุ ข์ ยงุ่ จงั เลย ทกุ ขจ์ งั เลย ถา้ อยา่ งนน้ั จะเปน็ โรคจติ มากขน้ึ ตอ้ งยงุ่ ดว้ ย ความพอใจ พอใจท่จี ะทำ�งาน คนทเ่ี ปน็ โรคอะไรๆ ถา้ ไมฉ่ กาจฉกรรจ์นกั ท่านก็ให้เยียวยาด้วยการทำ�งาน อย่าให้ว่าง เรียกว่า Occupational Therapy งานมเี ยอะแยะไปนะครบั สำ�หรบั คนทไ่ี มเ่ กยี จครา้ น การเยยี วยา โดยการใหท้ ำ�งาน จะตอ้ งสร้างความพอใจในการทำ�งาน ใหม้ คี วามสุขจาก การทำ�งาน คนทำ�งาน งานสร้างคนใหเ้ ปน็ คนดี แลว้ คนกส็ รา้ งสงั คมใหด้ ี ในมงคล ๓๘ ประการ มีอยู่ข้อหน่ึงเรียกว่า “อนวัชชานิ กัมมานิ” การงานที่ไม่มีโทษเป็นมงคลอันสูงสุด เพราะฉะน้ัน ให้พยายามทำ�งาน ทีไ่ มม่ ีโทษ ไมว่ า่ งานหนัก งานเบา งานน้อย งานมาก หากไมม่ ีโทษแลว้ AWText-KarmSuk-new.indd 12 8/25/13 10:24 AM

13 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ทำ�ได้ทั้งนั้น ให้ใช้ชีวิตไปแต่ละวันด้วยการทำ�งาน งานทางจิตบ้าง งาน ทางกายบ้าง งานทางวาจาบ้าง งานค้นคว้าบ้าง งานช่วยเหลือผู้อื่นบ้าง งานมเี ยอะแยะไปหมดครบั ทำ�งานไมห่ วาดไมไ่ หว สำ�หรบั คนทร่ี จู้ กั ทำ�รจู้ กั ใชเ้ วลาทำ� แลว้ ก็ได้ประโยชนเ์ ยอะ ในบรรดาความสขุ ๔ อย่างของคฤหสั ถ์ อนั ไดแ้ ก่ สุขเกิดจาก การมที รพั ย์ สขุ เกดิ จากการจา่ ยทรพั ยบ์ รโิ ภค สขุ เกดิ จากความไมเ่ ปน็ หน้ี สุขเกิดจากการประกอบการงานท่ีปราศจากโทษ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ตอ่ ท่านอนาถบณิ ฑิกเศรษฐีว่า สขุ ประการสุดทา้ ย คอื สขุ ที่เกดิ จากการ ทำ�งานท่ปี ราศจากโทษ มคี ณุ คา่ มากกว่า ๓ อย่างแรกหลายเท่าตวั อย่าง น้อยก็ถึง ๑๖ เท่าตัว ท่านว่าอย่างน้ันซึ่งไม่น้อยเลย คนเราส่วนมาก แสวงหาความสุขจากการมีทรัพย์ จ่ายทรัพย์บริโภคใช้สอย เที่ยวเตร่ เทยี่ วกนิ เทยี่ วสนกุ กถ็ อื วา่ มคี วามสขุ แลว้ แตท่ า่ นบอกวา่ ความสขุ อยา่ งนน้ั สู้ความสุขจากการประกอบการงานท่ีปราศจากโทษไม่ได้ การทำ�งานท่ี ปราศจากโทษให้ความสขุ มากกว่าตงั้ ๑๖ เท่าตัว ท่านลองนกึ ดทู ำ�ไมจงึ AWText-KarmSuk-new.indd 13 8/25/13 10:24 AM

14 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว เป็นอย่างน้ัน เป็นเพราะมีผลงานเหลืออยู่ แต่การเท่ียวเตร่เท่ียวกิน เทยี่ วสนกุ ใชท้ รพั ยไ์ ปตามความพอใจ มกั โนม้ เอยี งไปในทางเสยี สว่ นมาก จะทำ�ให้เสยี มากกวา่ ทำ�ให้ดี ถ้าเดก็ คนไหนเป็นอยา่ งนัน้ อนาคตกจ็ ะแย่ ถ้าเด็กคนไหนหาความสุขจากการเรียน จากการทำ�งาน เด็กคนน้ันก็ ไว้ใจได้ว่าต่อไปจะไม่เสียเด็ก เป็นผู้ใหญ่ก็จะไม่เสียผู้ใหญ่ บางท่านมี ผลงานอยยู่ นื ยงมาตงั้ ๑๐๐ ปี ๒๐๐ ปี ๓๐๐ ปี บางท่านมอี ยู่เปน็ พันปี ก็มี เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติเป็นพันๆ ปี ผลงานของพระพุทธเจ้า เป็นอย่างไรครับ ๒,๕๐๐ ปีล่วงแล้วย่ิงแพร่ไปทั่วโลกเลย น่ันคือผล จากงาน ท่านจึงแนะนำ�ให้หาความสุขจากการทำ�งาน อาจารย์พุทธทาส ทา่ นกพ็ ูดเรอ่ื งนีบ้ ่อยๆ ใหห้ าความสขุ จากการทำ�งาน “ทำ�งานใหเ้ ปน็ สขุ สนกุ เมอ่ื ทำ�งาน” จะลำ�บากบ้าง เหน็ดเหนื่อยบา้ ง อะไรบา้ งก็ชา่ งมันเถิด รา่ งกายของเรา เมอ่ื เกดิ มาแลว้ ถา้ ไมใ่ ชใ้ หเ้ ปน็ ประโยชนม์ นั กจ็ ะพาลไปใช้ ในทางทไ่ี มเ่ ปน็ ประโยชน์ AWText-KarmSuk-new.indd 14 8/25/13 10:24 AM

15 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ประการท่ี ๒ ฝึกทำ�ใจให้ชอบผู้อื่นและให้อภัยแก่ผู้อ่ืนอยู่เสมอ พยายาม คิดว่าไม่มีใครในโลกที่สมบูรณ์พร้อมทุกอย่าง แม้แต่ตัวเราเองก็ยัง บกพรอ่ งอยู่ “จะมใี ครถกู ใจทไ่ี หนเล่า ตวั เราเองยงั ไมถ่ กู ใจเราหนา อนิจจัง ทุกขงั อนัตตา รูล้ ว่ งหน้าไวก้ อ่ น ไมร่ ้อนใจ” คำ�กลอนนี้เป็นของท่านเจ้าคุณศาสนโสภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม นานแล้วครับ ท่านเขียนกลอนไว้ เปน็ อมตะ แตล่ ะตอนๆ ลว้ นไพเราะทง้ั นนั้ เปน็ อทุ านธรรม นกึ อะไรขนึ้ ได้ ทา่ นก็เขียนเอาไว้ “จะมีใครถกู ใจทไี่ หนเลา่ ตวั เราเองยังไม่ถูกใจเราหนา...” AWText-KarmSuk-new.indd 15 8/25/13 10:24 AM

16 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว บางทเี ราก็เบอ่ื ตวั เอง ไม่ถูกใจตวั เอง ตำ�หนติ วั เอง หรอื วา่ ระอิด ระอากบั ตวั เอง แลว้ คนอน่ื จะถกู ใจเราทงั้ หมดไดอ้ ยา่ งไร บางคราวกถ็ กู ใจ บางคราวกไ็ ม่ถกู ใจ มนั ไมเ่ ทย่ี ง ดังท่ีทา่ นบอกไวใ้ นวรรคต่อมาวา่ “...อนิจจงั ทกุ ขงั อนตั ตา รู้ลว่ งหน้าไว้กอ่ น ไม่ร้อนใจ” ใหร้ ลู้ ว่ งหนา้ ไวก้ อ่ นวา่ มนั เปน็ อยา่ งนนั้ อนตั ตา มนั เปน็ เชน่ นน้ั เอง ตอ้ งหดั ทำ�ใจใหอ้ ภยั แกผ่ อู้ นื่ การเขา้ ใจเปน็ เหตใุ หอ้ ภยั ได้ เมอื่ เขา้ ใจทกุ อยา่ ง จะสามารถให้อภยั ทกุ อยา่ ง เราไมเ่ ข้าใจ เราจึงไมย่ อมใหอ้ ภยั เราเข้าใจ เรากใ็ หอ้ ภยั ได้ แลว้ เรอื่ งอนื่ ๆ คอ่ ยวา่ กนั ตอ่ ไป จะทำ�โทษ ลงโทษ จะปรบั หรืออะไรก็แล้วแต่ สามารถทำ�ได้เพ่ือเป็นการสั่งสอน แต่ในใจของเรา ไมม่ ภี ยั เพราะใหอ้ ภยั เขาแลว้ เขาไมม่ ภี ยั จากเรา ใครเขา้ ใกลค้ บหาสมาคม กับเรา ขอให้แน่ใจว่าเราไม่มีภัยต่อเขา อันนี้ทำ�ให้เราสบายใจอยู่เสมอ ว่าเราเป็นคนไม่มีภัยต่อใคร คนที่เป็นภัยต่อผู้อื่น ก็คอยหวาดระแวงว่า คนอน่ื จะเปน็ ภยั กบั ตน แตอ่ นั นไ้ี มใ่ ชว่ า่ จะเปน็ ของตายตวั อยา่ งนเี้ สมอไป AWText-KarmSuk-new.indd 16 8/25/13 10:24 AM

17 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เราไมเ่ ป็นภัยกบั ใคร อย่านึกวา่ คนอืน่ จะไม่เป็นภยั กับเรา อนั น้ตี ้องระวงั ไวบ้ า้ ง โดยเฉพาะหากคนทเี่ ราคบหาสมาคมดว้ ย เปน็ คนประเภททยี่ งั ไมไ่ ด้ อบรมจิตใหด้ ี เราก็อาจได้รับภัยได้ เพราะฉะนน้ั ก็ต้องระวังเหมือนกัน ประการที่ ๓ ฝกึ ตนใหพ้ อใจในสง่ิ ท่หี ลีกเล่ียงไม่ได้ ยอมรบั มันไว้ในฐานะ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ สมมติว่าร่างกายของเราเกิดพิการขาขาดไปเสีย ขา้ งหนง่ึ จะทำ�อย่างไร ถ้าใส่ขาเทยี มไดก้ ็ใส่ ถ้าใสข่ าเทยี มไมไ่ ด้ ก็ต้อง ยอมรบั มนั ในฐานะทหี่ ลกี เลย่ี งไมไ่ ด้ ไมเ่ ปน็ ทกุ ขก์ บั มนั ชา่ งมนั สมมตวิ า่ มอื ขาดไปขา้ งหนงึ่ ตาบอดไปขา้ งหนงึ่ ถา้ เราพยายามแกไ้ ขแลว้ แตม่ นั แกไ้ ข ไมไ่ ด้ หลกี เลยี่ งไมไ่ ดห้ รอื เปน็ โรคบางอยา่ งทรี่ กั ษาไมห่ าย พอบรรเทาไปได้ แตไ่ มห่ ายขาดกช็ า่ งมนั ในทสี่ ดุ มนั กต็ อ้ งหายอยดู่ ี คอื หายไปพรอ้ มกบั ชวี ติ ของเรา พรอ้ มกบั ความตายของเรา อยา่ ไปเปน็ ทกุ ขก์ บั มนั ถา้ นอนไมห่ ลบั กไ็ มเ่ ป็นไร ก็ทำ�อยา่ งอื่นไป คนท่ีแบกป้งุ กีข๋ นดนิ ขนหิน พอว่างนิดเดียว กใ็ ชป้ งุ้ ก๋ีนนั่ แหละเป็นหมอนหนุนนอนหลับไปเลย นนั่ เพราะเหนอ่ื ยด้วย AWText-KarmSuk-new.indd 17 8/25/13 10:24 AM

18 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว และเพราะเขาไมไ่ ดค้ ดิ อะไรมากดว้ ย ฉะนนั้ ตอ้ งหดั พอใจในสง่ิ ทห่ี ลกี เลย่ี ง ไม่ได้ ยอมรับมันไว้ในฐานะท่ีหลีกเล่ียงไม่ได้จริงๆ ยอมรับว่ามันเป็น อยา่ งนน้ั อยา่ ไปกงั วลกบั มนั อยา่ ไปเปน็ ทกุ ขก์ บั มนั เรากจ็ ะไมเ่ ปน็ โรคจติ นึกถงึ คนอ่นื ใหม้ าก อย่านกึ ถึงแต่ตวั เอง ประการที่ ๔ ลองหัดถือประโยชน์จากสิ่งที่เราเข้าใจว่าเป็นโชคร้ายดูบ้าง เป็นการเปลย่ี นขยะมูลฝอยใหก้ ลายเปน็ ปยุ๋ อนั น้เี ปน็ เรอื่ งดี เรานึกวา่ มัน เป็นโชคร้ายในเบื้องต้น แต่บางทสี งิ่ นั้นกลบั เปน็ โชคดใี นเบอื้ งปลาย บาง อยา่ งเราตโี พยตพี ายเดอื ดรอ้ นวา่ เปน็ โชครา้ ยของเรา เราควรฝกึ ทำ�ใจใหส้ งบ และมองหาประโยชน์จากมนั คิดดูวา่ มันมีประโยชน์อะไรบ้าง คนเราส่วน มากมกั มองไมร่ อบดา้ น มองอะไรมกั มองดา้ นเดยี ว และมองไปอยา่ งเดยี ว หรือไม่มองส่วนที่เหลืออยู่ว่ามีประโยชน์อะไรอยู่บ้าง และไม่สามารถ เปลย่ี นขยะมูลฝอยใหเ้ ป็นป๋ยุ ได้ ทัง้ ๆ ทม่ี ันกลายเปน็ ปุ๋ยได้ ซากสนุ ัขฝงั ไวใ้ ตต้ น้ ไม้ กลายเปน็ ปยุ๋ อยา่ งดแี กต่ น้ ไมน้ น้ั ทำ�ใหต้ น้ ไมง้ อกงาม เหน็ ไหม AWText-KarmSuk-new.indd 18 8/25/13 10:24 AM

19 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ครบั วา่ ของเสยี ๆ ถา้ เราทำ�ใหถ้ กู วธิ ี กลบั กลายเปน็ ของมปี ระโยชน์ ลองถอื ประโยชนจ์ ากสิ่งทเี่ ราคิดว่าเปน็ โชคร้ายดบู ้าง และในทางกลบั กนั สงิ่ ทเ่ี ราคดิ วา่ เปน็ โชคดี บางทถี า้ เราไมเ่ ขา้ ใจ ไม่ระวังให้ดี มันอาจจะเป็นโชคร้ายในบั้นปลายก็ได้ ฉะนั้น มันเป็นได้ ทง้ั สองหนา้ สองดา้ น แลว้ แตเ่ ราจะมอง แตค่ นสว่ นมากมกั มองในแงร่ า้ ย มากกว่าในแงด่ ี บางทกี ็คดิ ไปเอง ทัง้ ๆ ทีค่ วามจรงิ มันไม่มอี ะไรหนกั หนา สร้างอะไรต่างๆ ข้ึนมามากมายดว้ ยความคิด การสร้างของจิต (Mental creation) เราคิดไปเอง ทำ�ให้เปน็ ทกุ ข์ AWText-KarmSuk-new.indd 19 8/25/13 10:24 AM

20 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ประการที่ ๕ ถ้าเป็นปัญหายากลำ�บากสุดที่จะแก้ไขได้จริงๆ ก็จงลองเผชิญ มนั ดอู ยา่ งกลา้ หาญ ในเมอื่ เราพยายามทำ�ดแี ลว้ ทกุ อยา่ งแตย่ งั ลม้ เหลวอกี กไ็ มต่ อ้ งเสยี ใจ บางทคี วามลม้ เหลวในเรอ่ื งเลก็ ๆ นอ้ ยๆ อาจเปน็ ชอ่ งทาง ให้เราก้าวไปสู่ความสำ�เร็จอันย่ิงใหญ่ในภายหน้าก็เป็นได้ คนที่คิดเป็น แบบนี้ อะไรจะไปทำ�ร้ายเขาได้ เขาอยู่อย่างคนอยู่เหนือโลก อยู่ในโลก อยา่ งคนอยูเ่ หนอื โลก ไมว่ า่ อะไรจะเขา้ มา ความล้มเหลวกด็ ี ความสำ�เร็จ กด็ ี เขาคดิ เปน็ ประโยชนไ์ ปหมด แลว้ อะไรจะไปทำ�รา้ ยเขาได้ บางคนสอบ ไม่ได้คณะท่ีต้องการ ไปได้อีกคณะหนึ่งท่ีไม่ต้องการ ทีแรกเสียใจมาก แต่พอเรียนไปๆ เกิดรู้สึกว่าดี ดีกว่าที่คิดไว้ และดีกว่าคณะที่ต้องการ เสยี อกี ดว้ ย เรยี นไปๆ จนจบ ไดข้ องดเี ยอะเลย และสามารถไปดำ�เนนิ ชวี ติ ไดอ้ ยา่ งดแี หม...ถา้ เราไมพ่ ลาดจากคณะนนั้ มาไดค้ ณะนี้ เราคงไมไ่ ดข้ องดี แบบนีแ้ นเ่ ลย เพราะฉะนัน้ เดก็ ๆ ที่ประสบเหตุการณ์ทำ�นองเดียวกันน้ี ให้ทำ�ใจให้พอใจเถอะ แล้วพยายามกอบโกยเก็บเอาสิ่งดีๆ ของคณะที่ ตวั ไดม้ าและตอ่ ไปกจ็ ะดี จะได้ส่งิ ดๆี อกี เยอะเลย คนเราไมใ่ ชว่ า่ จะไดด้ ี AWText-KarmSuk-new.indd 20 8/25/13 10:24 AM

21 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ เพราะเหตุว่าสอบได้คณะท่ีต้องการเสมอไป เพราะถ้ามันเป็นอย่างนั้น ไม่ว่าใครต่อใครท่ีได้คณะที่ชอบก็คงต้องได้ดีกันหมดทุกคน แต่ในความ เป็นจริง มีทั้งคนได้ดี คนไม่ได้ดี คนท่ีประสบความสำ�เร็จและคนที่ไม่ ประสบความสำ�เรจ็ มนั อยทู่ ตี่ วั คน เพราะสงั คมยงั คงตอ้ งการคนดี คนเกง่ คนมปี ระโยชน์ในทกุ สาขาวชิ า ขอใหเ้ ราทำ�สง่ิ น้ันใหด้ ที ส่ี ดุ เถอะ แล้วมัน กจ็ ะดี ไมต่ อ้ งไปคิดอะไรใหม้ าก แตต่ ้องคดิ ให้เป็น ถ้าคิดไม่เปน็ อะไรๆ ก็เสยี ไปหมด อันน้ีคือวิธีสร้างแนวจิต เพื่อให้เรามีความทุกข์น้อยที่สุดและ เปน็ การแกป้ ญั หาความเจบ็ ปว่ ยทส่ี บื เนอื่ งมาจากการทจ่ี ติ ของเราเทย่ี วคดิ ไป (Psychosomatic illness) คำ�พดู “ไม่เป็นไร” หรอื “ช่างมนั เถอะ” ๒-๓ คำ�เหลา่ นี้ มนั ชว่ ยทำ�ใหค้ วามทกุ ขห์ ลน่ ลงไปอยทู่ ต่ี าตมุ่ ได้ เรอื่ งราว ทั้งหลายบางทีมันอยู่ท่ีใจของเราเอง คิดได้อย่างนี้เม่ือไร ความทุกข์มัน หลน่ ลงไปทนั ทแี ละเรากก็ า้ วขนึ้ สภู่ าวะใหม่ เปน็ คนใหมอ่ กี คนหนง่ึ ของโลก เป็นคนใหมท่ ีเ่ รารู้สึกภาคภมู ใิ จวา่ เราสามารถเอาชนะอะไรๆ ได้ AWText-KarmSuk-new.indd 21 8/25/13 10:24 AM

22 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ทนี เี้ ราจะมาคยุ กนั วา่ พระพทุ ธศาสนามวี ธิ แี กท้ กุ ขอ์ ยา่ งไรเกยี่ วกบั อาพาธทางจิตนี้ พุทธศาสนามีหลักท่ีงดงามมาก และทันสมัยอยู่เสมอ เท่าทีผ่ มได้ทราบและประสบมาด้วยตนเอง ก็ขอยืนยันในท่ีน้ีว่า ไม่มใี คร สอนเร่ืองเก่ียวกับจิตใจได้อย่างสมบูรณ์เท่ากับพระพุทธเจ้า แม้ว่านัก ปราชญ์บางท่านจะสอนตรงกัน โดยจะได้รับมาจากพุทธศาสนาหรือไม่ ก็ไม่ติดใจในเร่ืองน้ัน แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้อย่างดีมากเกี่ยวกับ เรื่องจิตใจ มีจิตแพทยช์ าวอเมรกิ ันทา่ นหนึง่ ชอ่ื Douglas M. Burns ได้ เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งชื่อ “Buddhism Science and Atheism” ท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มน้ี ซึ่งผมยกมาอ้างอิงถึงไว้ตอนหนึ่งใน คำ�นำ�หนังสอื “แนวทางพฒั นาทรพั ยากรมนุษย์” ดงั นี้นะครับ AWText-KarmSuk-new.indd 22 8/25/13 10:24 AM

23 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ “พระพทุ ธศาสนามลี กั ษณะเปน็ ระบบจติ วทิ ยามาแตเ่ ดมิ แต่ เป็นระบบท่ีศึกษาสภาพของจิตโดยเน้นหนักในการปฏิบัติทดลอง ดว้ ยตนเอง และทส่ี �ำ คญั ทส่ี ดุ กค็ อื วธิ กี ารของพระพทุ ธศาสนานน้ั เปน็ หลกั ปฏบิ ตั ทิ ม่ี รี ะเบยี บแบบแผน มศี ลิ ปะ เปน็ วถิ แี หง่ การครองชวี ติ ซง่ึ มงุ่ หวงั ใหผ้ ปู้ ฏบิ ตั มิ คี วามผาสกุ และมอี ารมณน์ สิ ยั ทค่ี มุ้ ครองตนเองได้ ในแงน่ ้ี ไมม่ สี ถาบนั ใดท�ำ ไดส้ �ำ เรจ็ เทา่ พระพทุ ธศาสนาเลย...” น่จี ติ แพทย์ Burns กล่าวรับรองไวค้ นหนึ่งนะครับ “...ความสามารถของพระพทุ ธศาสนาเชน่ นี้ เปน็ สง่ิ ทพี่ งึ ประสงค์ อยา่ งยงิ่ และเปน็ สง่ิ ทจ่ี ะอำ�นวยประโยชนส์ ขุ แกโ่ ลกอยา่ งมหาศาลทเี ดยี ว” นผ่ี มยกมาเปน็ ตวั อยา่ งวา่ ในเรอื่ งเกย่ี วกบั จติ และปญั หาเกย่ี วกบั ความทกุ ข์ อะไรเหล่าน้ี พระพทุ ธศาสนามีระบบระเบียบทำ�ไดอ้ ยา่ งดีมาก พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนไว้อย่างดี แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้ถ่ายทอดว่าทำ�ได้ แคไ่ หน เพียงไร AWText-KarmSuk-new.indd 23 8/25/13 10:24 AM

24 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ในการบรรยายถวายความรู้แก่พระธรรมทูตเม่ือประมาณเดือน มนี าคมทผ่ี า่ นมานี้ ผมไดแ้ สดงความคดิ เหน็ วา่ มสี ง่ิ หนงึ่ ทถี่ า้ ทำ�ไดก้ จ็ ะเปน็ ประโยชนม์ าก คอื ท�ำ ใหว้ ดั ทกุ วดั เปน็ สถานบ�ำ บดั ทางจติ หมายความวา่ พระเปน็ จติ แพทยไ์ ปในตวั วดั เปน็ สถานจติ เวช กจ็ ะเปน็ ทพ่ี งึ่ ของชาวบา้ น ไดม้ าก ถา้ เราสามารถจดั ระบบได้ ใหว้ ดั และพระเปน็ ทปี่ รกึ ษาทกุ ข์ เปน็ ที่ แกป้ ญั หาเรอื่ งทกุ ขข์ องชาวบา้ นและผคู้ นเปน็ อนั มาก แตต่ อ้ งทำ�อยา่ งเปน็ ระเบยี บ มโี ครงการ มอี งคก์ ร มผี รู้ บั ผดิ ชอบ และอะไรตอ่ อะไรอกี เยอะ ผมนกึ เสยี ดายทว่ี า่ เรามวี ดั เปน็ จำ�นวนมากมายอยแู่ ลว้ มสี ถานท่ี มบี คุ คล พอสมควร แตว่ า่ ไมไ่ ดท้ ำ�ตรงนเ้ี ทา่ ทค่ี วร ผมจงึ เสนอกบั พระธรรมทตู และ ไดเ้ สนออยบู่ อ่ ยๆ เวลาทีไ่ ปบรรยายถวายความรแู้ ก่พระสงฆ์ในท่ีประชุม ตา่ งๆ สว่ นมากทา่ นจะเปน็ ระดบั เจา้ อาวาสเจา้ คณะตำ�บล เจา้ คณะอำ�เภอ ท่ีมาประชุมกัน ผมก็เสนอว่าทำ�อย่างไรให้วัดเป็นสถานบำ�บัดโรคทางจิต หรือเป็นสถานแก้ทุกข์ให้แก่คน ไม่ใช่เพิ่มทุกข์ให้แก่คน ใครมีความ ทกุ ขร์ อ้ นอะไร กไ็ ปทวี่ ดั มสี ถานทจ่ี ดั ไวโ้ ดยเฉพาะ ไมใ่ ชเ่ ขา้ ไปแลว้ ไมร่ จู้ ะไป ทไ่ี หน ไมร่ จู้ ะไปหาใคร แตใ่ หจ้ ดั สถานทไี่ วเ้ ปน็ เฉพาะใหร้ วู้ า่ ถา้ มคี วามทกุ ข์ AWText-KarmSuk-new.indd 24 8/25/13 10:24 AM

25 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ จะเข้ามาที่วัดนี้ ก็ให้ไปตรงนี้ตรงน้ัน และมีพระอยู่เป็นประจำ�เปลี่ยน เวรกันเข้ามา เป็นพระที่ได้รับการศึกษาและฝึกอบรมในด้านน้ีมาอย่างดี ถ้าทำ�ได้อย่างน้ี ด้วยจำ�นวนวัดเท่าที่เรามีอยู่ในเวลาน้ีผมเชื่อว่าจะช่วย ชาวบา้ นไดเ้ ยอะเลย โดยเฉพาะชาวบา้ นทอ่ี ยใู่ กลๆ้ วดั นน่ั แหละ จะไดร้ บั สงิ่ ท่จี ะนำ�ไปแกป้ ัญหาชวี ติ ของเขาได้ ก็เลยนำ�มาเล่าไวต้ รงน้ดี ้วยนะครบั ย้อนกลับมาเร่ืองท่ีพระพุทธเจ้าสอน ใครจะสอนตรงกับ พระพทุ ธเจา้ กไ็ มต่ ดิ ใจนะครบั สมมตวิ า่ ใหป้ ระโยชนแ์ กน่ กั ปราชญบ์ างทา่ น ในรนุ่ หลงั ทไี่ มเ่ คยไดย้ นิ ไดฟ้ งั แนวคดิ ทางพทุ ธศาสนามากอ่ นเลย แตท่ า่ น เหล่าน้ันพูดทีหลังพระพุทธเจ้านานมาก เช่น ท่านเซโน เป็นปราชญ์ ชาวกรกี สมยั พ.ศ. ๓๓๐ ไดต้ งั้ สำ�นกั สอนปรัชญาเก่ียวกบั เร่อื งอุเบกขา หรอื ลทั ธสิ โตอคิ (Stoicism) มหี ลกั คำ�สอนเหมอื นอเุ บกขาในพทุ ธศาสนา เป็นการฝึกใจไม่ให้พอใจหรือเสียใจ แต่เราก็เห็นแล้วว่า พระพุทธเจ้า ได้ทรงสอนเร่อื งน้ไี วก้ ่อนทา่ นเซโนถงึ เกือบ ๔๐๐ ปี ท้งั ยังมีรายละเอยี ด และหลักปฏบิ ัติอยา่ งครบถ้วนอกี ดว้ ย AWText-KarmSuk-new.indd 25 8/25/13 10:24 AM

26 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว แตอ่ ุเบกขานต้ี ้องดูใหด้ ี เพราะว่ามี ๒ แบบ คือ แบบอญั ญาณ ซึ่งเปน็ ขา้ ศึกใกล้ของอเุ บกขา อญั ญาณ คอื ความไมร่ ู้ ไมร่ ไู้ ม่ช้ี ไมร่ ้เู รอื่ ง โมหะ ซึ่งไมด่ ี อเุ บกขาท่ีดีตอ้ งประกอบดว้ ย ญาณ คือความรู้ ความเข้าใจ วางเฉยดว้ ยความรดู้ ว้ ยความเขา้ ใจ และพรอ้ มทจี่ ะแกป้ ญั หา ไมใ่ ชเ่ ฉยแลว้ ไมแ่ กป้ ญั หา เฉยแลว้ ตอ้ งพรอ้ มจะแกป้ ญั หา หรอื กำ�ลงั หาวธิ แี กอ้ ยู่ แมว้ า่ ตอนน้ียังเฉยไว้ก่อนเพราะยังมองไม่เห็นวิธีแก้ก็ตาม ตอนน้ีไม่อยากไป ทุกข์กับมัน ขอมีความสุขไปก่อน อย่างท่ีเคยยกตัวอย่างว่าถ้าจะมีเร่ือง ทนี่ า่ จะทำ�ใหเ้ ราทกุ ขใ์ นอกี ๒ เดอื นขา้ งหนา้ ทำ�ไมจะตอ้ งไปทกุ ขล์ ว่ งหนา้ ต้งั ๒ เดอื น ตอนน้ีควรทำ�ใจใหส้ บายไวก้ อ่ น พอมันใกลเ้ ขา้ มาเหลืออีก ๗ วัน กท็ ำ�ไมตอ้ งไปทกุ ข์ลว่ งหน้าตัง้ ๗ วัน พอมันมาถงึ วันท่ี ๗ นัน้ ค่อยทุกข์ตอนนั้นก็ได้ พอมาถึงวันท่ี ๗ แล้วเร่ืองมันจะเกิดตอน ๕ โมงเยน็ กค็ อ่ ยทกุ ขต์ อน ๕ โมงเยน็ นน่ั แหละ ไมต่ อ้ งไปทกุ ขร์ อไวต้ ง้ั แตเ่ ชา้ มันจะได้มีความทุกข์น้อยลงหน่อย เพราะช่วงเวลาท่ีจะทุกข์มันสั้นลง ไมต่ อ้ งทกุ ขล์ ว่ งหนา้ ยาว ทกุ ขล์ ว่ งหนา้ แคส่ นั้ ๆ ชว่ งทเี่ ราสบายใจมนั จะได้ ยาวหน่อย มคี วามสขุ เยอะหนอ่ ย และพอถงึ เวลา ๕ โมงเย็นเข้าจรงิ ๆ AWText-KarmSuk-new.indd 26 8/25/13 10:24 AM

27 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ มันก็อาจจะผ่านพ้นไปได้โดยเรียบร้อยไม่มีอะไร ถ้าใครไปทุกข์ไว้ตั้งแต่ ๒ เดือนท่ีแล้ว ก็กลายเป็นทุกข์กินเปล่า เป็นทุกข์โดยไม่จำ�เป็นท่ีจะ ต้องทกุ ข์ ทนี เี้ มอื่ คำ�นงึ ถงึ ความสขุ ทมี่ นษุ ยเ์ ราไดร้ บั อยู่ เมอื่ พจิ ารณาดแู ลว้ กต็ อ้ งยอมรบั ตามพระพทุ ธพจนท์ วี่ า่ “ไมม่ คี วามสขุ ใดจะยง่ิ กวา่ ความสงบ” พระพุทธภาษิตน้ีมีการแปลอยู่ ๒ นัย แปลว่า ไม่มีความสุขใดย่ิงกว่า ความสงบ น้ีนัยหน่ึง และอีกนัยหนึ่งแปลว่า ไม่มีความสุขอ่ืนนอกจาก ความสงบ การแปลนยั แรก “ไม่มีความสุขใดยิง่ กว่าความสงบ” แสดงวา่ ยอมรบั ความสขุ อยา่ งอน่ื ดว้ ย เชน่ กามสขุ และความสขุ จากอะไรอนื่ กแ็ ลว้ แตท่ ท่ี ำ�ใหเ้ กดิ สขุ ได้ แตก่ ไ็ มเ่ หน็ ความสขุ อน่ื ใดทจ่ี ะยงิ่ ไปกวา่ ความสงบได้ นน่ั คอื ยอมรบั วา่ ความสงบดที สี่ ดุ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ โดยความหมายเตม็ ตวั เตม็ รปู ทา่ นหมายถงึ นพิ พาน “นตั ถิ สนั ตปิ รงั สขุ งั ” โดยความหมายเตม็ รปู ความสงบคือนพิ พาน คือการดบั กเิ ลส AWText-KarmSuk-new.indd 27 8/25/13 10:24 AM

28 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว การแปลนัยท่ีสอง ต้องพิจารณาในแนวปรัชญามากหน่อย จึงจะเขา้ ใจและมองเห็นได้ง่ายข้นึ ว่าความสุขอะไรๆ ท่เี ราไดร้ บั อยู่ มนั ก็ ไปจากความสงบทง้ั นนั้ คอื ตอ้ งสงบเสยี ก่อน แล้วจงึ จะมคี วามสุข เช่น ถา้ หวิ ขา้ ว มคี วามทกุ ขเ์ พราะความหวิ กต็ อ้ งท�ำใหค้ วามหวิ สงบลงเสยี กอ่ น แล้วจึงจะได้รับความสุข ถ้าร้อนและเป็นทุกข์กาย ก็ต้องท�ำให้ความ รอ้ นกายมนั สงบเสยี กอ่ นดว้ ยวธิ ใี ดวธิ หี นงึ่ เชน่ อาบนำ�้ หรอื ทำ� ใหห้ อ้ งเยน็ ขน้ึ หรอื ไปยนื ตากลม ใหค้ วามรอ้ นมนั สงบเสยี กอ่ น แลว้ จงึ จะเปน็ สขุ ไลเ่ รยี ง ไปทกุ อยา่ งไมว่ า่ อะไร เราตอ้ งสงบเสยี กอ่ น แลว้ จงึ จะไดค้ วามสขุ หรอื วา่ เกิดความอยากอะไรขึ้นมา ใจเป็นทุกขเ์ พราะความอยาก ตอ้ งสงบความ อยากเสียก่อน แล้วจึงจะสุข หรือต้องสนองให้เป็นไปตามความอยาก ความตอ้ งการเสยี ก่อน แลว้ ความอยากอนั นน้ั ก็สงบลงชัว่ คราว กเ็ ป็นสขุ ไปชวั่ คราว ถา้ ความอยากมาอกี มนั กเ็ ปน็ ทกุ ขอ์ กี นเี่ ปน็ การแปลนยั ที่ ๒ “ไมม่ ีความสุขอ่นื ใดนอกจากความสงบ” AWText-KarmSuk-new.indd 28 8/25/13 10:24 AM

29 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ปัญหาต่อไปก็คือ อะไรเป็นเครื่องท�ำลายความสงบทางจิตใจ ของมนษุ ย์ โดยปกตธิ รรมดาหรอื โดยธรรมชาติ มนษุ ยเ์ ราตอ้ งการความสงบ หรือโน้มเอียงไปในความสงบ ถึงจะวุ่นวายอะไร ก็เพียงช่ัวคร้ังชั่วคราว ถงึ อยากจะวนุ่ วายกับเขาบ้าง อยากจะไปเท่ียวเตร่ ไปสนุกสนาน ไปกนิ ไปเล่นบา้ ง แต่ถ้าใหก้ นิ ให้เล่นไปตลอด กไ็ ม่เอาหรอก เพยี งช่ัวครู่ชว่ั ยาม เทา่ นน้ั แลว้ ในทส่ี ดุ มนั ตอ้ งการจะมาอยอู่ ยา่ งสงบโดยลำ� พงั นน่ั คอื แนวโนม้ ตามธรรมชาตขิ องมนษุ ย์ มนษุ ยต์ อ้ งการความสงบอยแู่ ลว้ สงิ่ ทไี่ ปท�ำลาย ความสงบทางจิตใจของมนุษย์ และสิ่งที่ท�ำให้เกิดความตึงเครียดทาง อารมณ์ทุกครัง้ ท่ีเกดิ ขนึ้ ก็มีสาเหตจุ ากอนั ใดอันหนง่ึ ในเรือ่ งกามคณุ บา้ ง ในเรื่องโลกธรรม ๘ บา้ ง โดยเฉพาะฝ่ายทไี่ มน่ า่ ปรารถนา คือ เส่ือมลาภ หรอื ไมไ่ ดล้ าภ ถกู นนิ ทา เสอื่ มยศ และไดร้ บั ความทกุ ขโ์ ดยตรง เชน่ ทกุ ข์ ทางกาย เบ้ืองหลังความเดือดร้อนก็คือ โลกธรรม และเบื้องหลังของ โลกธรรมก็คอื ความโลภ โกรธ หลง เวลาเราเส่อื มลาภแลว้ เราเดอื ดร้อน นั่นก็เพราะเราอยากได้ลาภน้ัน ถ้าเราไม่อยากได้ลาภอันนั้นเราก็ไม่ เดือดรอ้ น เช่นวา่ มีคนบอกจะใหเ้ งินจำ� นวนหน่ึงซง่ึ ไม่น้อย แต่ท�ำโอ้เอ้ AWText-KarmSuk-new.indd 29 8/25/13 10:24 AM

30 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ไมใ่ หม้ าเสยี ที พอเราตดั ใจฉบั ลงไปวา่ ไมเ่ อาแลว้ เงนิ นี่ เทา่ นน้ั ความทกุ ข์ มันก็หล่นไปเลย หล่นลงไปจากใจ และไม่ทุกข์ถึงมันอีก แต่ถ้าเรายัง ลงั เลๆ ยังคอย เมือ่ ไรจะได้ๆ ถ้าคดิ อยูอ่ ยา่ งนนั้ ก็จะเป็นทุกข์อย่างน้ัน ความทุกข์มันมารำ�่ ร้องอยู่ใกล้ๆ จิตใจ เพราะเราอยากได้มัน ถ้าเราคิด ได้ว่าความต้องการน้ีมันรบกวนเราหนักหนา เราก็ตัดใจฉับลงไปเลยว่า ไมเ่ อาแลว้ ไมไ่ ดก้ ไ็ มเ่ หน็ เปน็ ไรนี่ ไมม่ กี อ็ ยไู่ ด้ พอตดั ฉบั ได้ จติ ใจกส็ บาย อยเู่ ป็นสขุ หรอื ความโกรธ บางทกี ย็ งั โกรธอยู่ ยงั ขนุ่ อยู่ ยงั เคอื งอยู่ มนั กย็ งั เป็นทุกข์อยู่ แต่ถ้าเราตัดใจลงได้ ไม่โกรธ คิดเสียว่า โกรธไปก็เท่านั้น แถมยงั ทำ�ลายตัวเราเอง เลกิ โกรธละ กจ็ บแค่นนั้ ไม่มีอะไร หรอื วา่ ความหลง ซงึ่ หมายถงึ ความไมร่ จู้ รงิ ความรเู้ ทา่ ไมถ่ งึ การณ์ ความไม่รู้ตามท่ีเป็นจริง รู้ตามท่ีเราคิดว่าเรารู้ แต่ไม่รู้จริงตามท่ีมันเป็น จรงิ เราวนเวยี นอยใู่ นทะเลของความลงั เลสงสยั ความไมแ่ นใ่ จ และความ AWText-KarmSuk-new.indd 30 8/25/13 10:24 AM

31 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ไม่รู้จริงเป็นสิ่งที่มารบกวนจิตใจ เม่ือส่ิงเหล่าน้ันมันหนุนอยู่ เฟืองของ โลกธรรม ได้แก่ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สขุ ทกุ ข์ วนเวยี นเข้ามาสูช่ วี ติ อยู่ตลอดเวลา กท็ ำ�ใหเ้ ราป่นั ป่วน มจี ติ ใจ เปน็ ระลอกอยเู่ สมอ ไมไ่ ดห้ ยดุ หยอ่ น เหมอื นเรอื ทถ่ี กู คลน่ื ซดั โคลงเคลง อยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเรือของเราลำ�ใหญพ่ อสมควร ถกู คลืน่ เล็กๆ น้อยๆ เราก็จะไม่โคลงเคลงมากหรอก หรือแม้คล่ืนจะมาก แต่ถ้าเรือแข็งแรง ก็ไม่เป็นอะไร สามารถโต้คล่นื ไปจนถึงจุดหมายปลายทางได้ ตอ่ ไปผมจะพดู ถงึ ความสขุ ตามแนวของพทุ ธศาสนา คนสว่ นมาก เข้าใจว่า ความสขุ ตอ้ งเกดิ จากการได้รับสง่ิ ท่ีพงึ พอใจ มีลาภ มยี ศ ไดร้ บั คำ�สรรเสรญิ หรอื มคี วามสขุ จากการไดส้ งิ่ ทเี่ ราตอ้ งการ หมายความวา่ ตอ้ ง มีเหย่ือและต้องกินเหย่ือเสียก่อน จึงจะมีความสุข มีลาภ ยศ เป็นต้น พระพทุ ธองคท์ รงแสดงวา่ สงิ่ เหลา่ นเ้ี ปน็ เหยอ่ื ของโลก เปน็ โลกามสิ ทค่ี อย หยอ่ นลงไปดกั สตั วท์ งั้ หลายใหต้ ดิ อยกู่ บั เบด็ คอื ความทกุ ข์ ถา้ เผอ่ื วา่ เรายงั จำ�เปน็ ตอ้ งกนิ เหยอื่ กต็ อ้ งมสี ติ แปลวา่ อยา่ ใหต้ ดิ เบด็ มสี ตคิ อื แปรสภาพให้ AWText-KarmSuk-new.indd 31 8/25/13 10:24 AM

32 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว เปน็ ความงาม เหยอ่ื ทไี่ มม่ เี บด็ กพ็ อมี หรอื วา่ ถา้ จำ�เปน็ ตอ้ งกนิ ปลา กต็ อ้ ง ระวงั ก้างของมนั ก้างใหญ่ก็มี กา้ งเลก็ ก็มี ก้างละเอียดก็มี ต้องเคีย้ วให้ ละเอียดหนอ่ ย หรือดึงเอากา้ งออกเสียกอ่ น อยา่ งนี้กก็ ินได้ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แนวทางให้ได้รับความสุขชนิดท่ีไม่ต้อง กนิ เหยื่อ เปน็ ความสขุ ทเี่ ปน็ อิสระ น่นั คอื การทำ�ใจใหม้ น่ั คง ไม่หวั่นไหว ดว้ ยโลกธรรมและสง่ิ ตา่ งๆ โลกธรรมนนั้ เปน็ ของธรรมดาอยแู่ ลว้ ชอ่ื กบ็ อก อยใู่ นตวั แลว้ วา่ เปน็ สงิ่ ประจำ�โลก มอี ยอู่ ยา่ งนน้ั ไปๆ มาๆ “ลาภยศเหมอื น บทละครเลน่ ธรรมตา่ งหากทเี่ ปน็ แกน่ สาร” กค็ วรตงั้ ใจวา่ อยา่ ไปยงุ่ กบั มนั เลย ถ้ามันจะมา ก็มาเอง ถ้ามันไม่มามันก็ไม่มา อย่างที่พระพุทธเจ้า ตรัสกบั พระนาคิตะ “นาคิตะ ขอยศอยา่ มาเก่ยี วข้องกับเรา ขอเราอย่าได้ ไปเกย่ี วขอ้ งกบั ยศ” พระพทุ ธเจา้ ทา่ นมสี ทิ ธจ์ิ ะไดล้ าภยศมากมาย แตท่ า่ น ยงั ตรสั กบั พระนาคติ ะอยา่ งนนั้ ใหเ้ ปน็ ขอ้ คดิ สำ�หรบั พระสาวกและกระทำ� พระองค์เป็นตวั อย่าง ถา้ มันมามันกม็ าเอง ถา้ มันไมม่ า มนั ก็ไม่มา อยา่ ไปยงุ่ กบั มนั เราก็จะสบาย เป็นอิสระ AWText-KarmSuk-new.indd 32 8/25/13 10:24 AM

33 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ถ้าเราใช้ชีวิตแบบลดความโลภ ลดความโกรธ หรือลดความหลง มีแนวชีวิตอย่างน้ัน เรารักษาจิตใจให้อยู่ในภาวะปกติอยู่เสมอ ก็จะได้ สมั ผสั ความสขุ อกี แบบหนง่ึ ทส่ี งู กวา่ และประณตี กวา่ ความสขุ ชนดิ ทต่ี อ้ งมี สิง่ พอใจเอาไวเ้ กาะ เปน็ ความสขุ คนละขนั้ คนละชั้นเลยทีเดียว และเราก็ มสี ิทธ์ิเลือก เรามีทางเลอื ก ความสุขชนิดท่ีวางเฉยหรอื ว่าร้เู ทา่ ทนั แบบนี้ ทา่ นเรยี กวา่ สนั ตสิ ขุ คนทว่ั ไป โลกยี ชนทว่ั ไปไมม่ ที างเลอื กหรอื ไมอ่ ยาก จะเลือก คือมุ่งหน้าเข้าหาโลกียสุขอย่างเดียว เพราะในชีวิตไม่เคยพบ สันตสิ ุข จงึ ไม่มีตัวเลอื กจงึ ตอ้ งยุ่งอยกู่ ับเรอื่ งน้นั เร่ืองเดยี ว แต่ถา้ คนร้จู กั ตัวเลือกหลายๆ ตัวเขาก็เลือกได้ จะหาความสุขแบบนี้ก็ได้ จะหา ความสุขแบบนั้นก็ได้ ก็เป็นชีวิตท่ีดีกว่า อย่างพระโสดาบันท่านได้ท้ัง โลกุตตรสุขและโลกียสุข ท่านก็อยู่ได้ ท่านจะอยู่กับโลกุตตรสุข ท่านก็ อย่ไู ด้ อยูไ่ ดท้ ้ังสองอยา่ ง เพราะมีตวั เลอื ก AWText-KarmSuk-new.indd 33 8/25/13 10:24 AM

34 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว การปล่อยวางไม่ยึดถือ เป็นแนวทางให้ถึงความสุขชนิดท่ีเป็น สันตสิ ุข เหมอื นคนท่ีปลงภาระลงเสยี ได้ ก็ยอ่ มจะเบากายเบาใจ คำ� ด่าวา่ เสียดสีต่างๆ เมื่อมากระทบ พระพุทธเจ้าท่านก็ทรงสอนให้ท�ำใจไม่ให้ กระเพ่ือม ใหถ้ ือเปน็ เพียงเรอื่ งผ่าน มีข้อความในกกจูปมสูตร (อา่ นวา่ กะ-กะ-จู-ปะ-มะ-สดู ) คมั ภีรม์ ชั ฌิมนกิ าย มลู ปณั ณาสก์ พระไตรปิฎก เลม่ ๑๒ “กกจะ” แปลว่า เลือ่ ย เลือ่ ยทเ่ี ขาใชเ้ ล่ือยไม้ พระสูตรนี้เปน็ สูตรที่เปรยี บกับเล่ือย พระพุทธเจ้าไดท้ รงใหโ้ อวาทแกผ่ ปู้ ฏิบตั ิ ให้ทำ� ใจ ไวใ้ ห้เหมือนแผน่ ดนิ ซึง่ ใครๆ จะขดุ ใหห้ มดไมไ่ ด้ และหนาแน่นม่นั คง ไมร่ สู้ กึ เสยี ใจเพราะถกู สาดดว้ ยสง่ิ โสโครก คอื ค�ำดา่ วา่ เสยี ดสตี า่ งๆ ไมร่ สู้ กึ พอใจเมื่อคนน�ำเอาดอกไม้ของหอมทิ้งลงไป ไม่ว่าจะถูกสาดด้วยสิ่ง โสโครก หรือโปรยดว้ ยดอกไมข้ องหอม แผ่นดินก็ไม่รสู้ ึกดใี จหรอื เสียใจ หรอื วา่ ทำ� ใจใหเ้ หมอื นอากาศทใี่ ครๆ จะเขยี นรปู ใหป้ รากฏไมไ่ ด้ ไมม่ รี อย ในอากาศ ท�ำใจให้เหมือนแม่น�้ำ ซึ่งใครๆ จะน�ำคบเพลิงไปเผาให้ร้อน ไม่ได้หรือท�ำใจให้เหมือนถุงหนังแมวท่ีฟอกดีแล้ว ใครจะตีให้ดังไม่ได้ ไมม่ ีเสยี งดงั และในตอนปลายของพระสตู รน้ี พระพทุ ธเจ้าทรงยำ้� ว่า AWText-KarmSuk-new.indd 34 8/25/13 10:24 AM

35 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ “ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีโจรใจเห้ียมเอาเลื่อยซ่ึงมีด้ามทั้งสองข้าง มาเล่ือยเธอทั้งหลายให้ขาดเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ถ้าเธอยังมีใจคิด ประทุษรา้ ยตอ่ โจรน้นั อยู่ ก็ชอ่ื ว่ามิได้ปฏบิ ตั ติ ามคำ�สอนของศาสดา” และมีข้อความตอ่ ไปในสงั ยตุ ตนิกาย สคาถวรรค พระไตรปิฎก เล่ม ๑๕ หนา้ ๘๗๕ ว่า “ผูโ้ กรธตอบ ชื่อวา่ เปน็ ผ้เู ลวกว่าผโู้ กรธกอ่ น ผู้ไม่โกรธตอบชื่อว่าชนะสงครามที่ชนะได้โดยยาก ผู้ท่ีรู้พิษสงของความ โกรธแลว้ มสี ตริ ะงบั เสยี ได้ ชอื่ วา่ ประพฤตปิ ระโยชนแ์ กค่ นทงั้ สอง” คอื ทง้ั แก่ ผอู้ นื่ และแก่ตนเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ต่อไปในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๑ หน้า ๑๒๔ ว่า “ภิกษทุ ง้ั หลาย ไมเ้ ผาผีทไี่ ฟติดโพลงแดงทง้ั สองข้าง และตรงกลางก็เป้ือนคูถ ย่อมไม่สำ�เร็จประโยชน์ท้ังในป่าและในบ้าน เรากลา่ วบคุ คลผมู้ กั โกรธวา่ เป็นเหมือนไมเ้ ผาผีน้ัน” (คำ�ว่า “ผูม้ ักโกรธ” ในทน่ี ้ี ถือเอาตามความในคัมภรี ว์ ิสทุ ธิมรรค) AWText-KarmSuk-new.indd 35 8/25/13 10:24 AM

36 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว และตรสั ไวอ้ ีกในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๓ หนา้ ๙๘ ว่า “บุคคล ผู้มักโกรธอันความโกรธครอบงำ�แล้ว ย่อมประพฤติทุจริตทางกายบ้าง ทุจริตทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง เมื่อประพฤติอยู่เช่นนี้แล้ว หลังจาก มรณสมยั (เม่ือตายลง) กย็ อ่ มจะเข้าถึงทุคติ วนิ บิ าต นรก เป็นแน่แท้” ตามข้อความท่ีกล่าวมาน้ี จะเห็นว่า พุทธศาสนานิยมคุณธรรม คอื ความมน่ั คง ความไมห่ ว่ันไหว ไมโ่ กรธ รูจ้ ักให้อภยั ไมข่ ึน้ ไมล่ ง ร้จู ัก ปลอ่ ยวาง และทำ�จติ ใจใหถ้ า่ ยถอนอปุ าทานตา่ งๆ กแ็ ปลวา่ ใหเ้ ปน็ มนษุ ย์ ทพี่ ิเศษสักหนอ่ ย เป็นมนุษยท์ ่ดี ี ต้องการใหเ้ ปน็ สงั คมมนษุ ย์ท่ดี ี ทีนี้ ถ้าจะตั้งปัญหาวา่ บคุ คลประเภทดังกล่าวน้ี อยู่ในสังคมได้ อยา่ งไร คำ�ตอบกค็ อื วา่ เขาอยใู่ นสงั คมไดอ้ ยา่ งสบายทส่ี ดุ คนผอู้ น่ื ทด่ี ใี จบา้ ง เสียใจบ้าง ตอ้ งประสบความทกุ ข์อนั ใดเขาไม่ตอ้ งประสบทกุ ขอ์ นั นนั้ แต่ ไดป้ ระสบสขุ ทเี่ หนอื กวา่ ประณตี กวา่ เยอื กเยน็ กวา่ บคุ คลตอ้ งทำ�ความชวั่ เพราะความโลภบ้าง โกรธบา้ ง หลงบา้ ง เข้าครอบงำ� เมอ่ื โลภ โกรธ หลง AWText-KarmSuk-new.indd 36 8/25/13 10:24 AM

37 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ไม่สามารถครอบงำ�จิตใจของบุคคลใดได้ บุคคลน้ันก็ไม่ต้องทำ�ความช่ัว เพราะโลภ โกรธ หลง แล้วเขาจะประสบความทุกข์ทางใจได้อย่างไร และความสุขที่เขาได้เป็นความสุขอีกแบบหนึ่ง ผิดจากความสุขท่ีคน สว่ นมากไดร้ บั ซง่ึ เกดิ จากการตามใจตนเอง ความสขุ ชนดิ ทปี่ ระณตี กวา่ น้ี เป็นความสุขท่ีชาวพุทธควรจะพัฒนาข้ึนมา ควรจะปรารถนาความสุข ชนิดนี้บ้างเมื่อทดลองลิ้มรสดูสักนิด ก็จะซาบซ้ึงในพระพุทธคุณที่ว่า “สนั โต โส ภะคะวา สมถายะ ธมั มงั เทเสต”ิ พระผมู้ พี ระภาคพระองคน์ น้ั ทรงสงบแลว้ ทรงสอน (ทรงแสดงธรรม) เพอื่ ความสงบ อนั นเี้ ปน็ ความสขุ อกี แบบหนึ่ง ทีน้ีลองมาดูความสุขท่ีประณีตยิ่งขึ้นไป น่ันคือความสุขที่เกิด จากความไมเ่ หน็ แกต่ วั เราไดส้ นทนากนั ในเรอื่ งความสขุ ทไ่ี มต่ ามใจตวั เอง หรอื ไมเ่ หน็ แกล่ าภ ยศ สรรเสรญิ ความสขุ อยา่ งโลกๆ อยา่ งทช่ี าวโลกเขา มุ่งหมายกันอยู่นั้นเป็นแบบหน่ึง คราวนี้ลองมาดูความสุขอีกแบบหนึ่ง คือความสุขจากความไม่เห็นแก่ตัว วา่ เปน็ ความสขุ อยา่ งไร AWText-KarmSuk-new.indd 37 8/25/13 10:24 AM

38 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว กอ่ นอ่นื ต้องดูเสยี กอ่ นว่า ความเห็นแกต่ วั คอื อะไร ความเหน็ แก่ตัวคือภาวะจิตที่คิดคำ�นึงแต่ประโยชน์ของตัว โดยไม่คำ�นึงถึงความ เสยี หายของใครๆ ความไมเ่ หน็ แกต่ วั กเ็ ปน็ ภาวะจติ ทตี่ รงกนั ขา้ มกบั ความ เหน็ แกต่ ัวนนั้ คอื ความโอบอ้อมอารี ความเหน็ อกเห็นใจคนอ่นื สตั วอ์ ืน่ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ความเห็นแก่ตัวแสดงออกทางไหน ก็ลองดู มจั ฉริยะ หรือความตระหน่ี ๕ อยา่ งทีพ่ ระพุทธเจา้ ทรงแสดงไว้ ความ เห็นแก่ตัวจะแสดงออกทางมัจฉริยะ ถ้าพิจารณาลักษณะของมัจฉริยะ ๕ ประการ ก็จะเห็นความเห็นแก่ตัวปรากฏอย่างชัดเจน ใครมีความ เห็นแก่ตัวมากน้อยเพียงใด ก็ลองเอาความตระหนี่เหล่านี้ไปจับดู ถ้ามี มากก็แสดงว่ามีความเห็นแก่ตัวมาก ถ้ามีน้อยก็มีความเห็นแก่ตัวน้อย เราลองมาดูกันเป็นข้อๆ ได้แก่ AWText-KarmSuk-new.indd 38 8/25/13 10:24 AM

39 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ประการที่ ๑ อาวาสมจั ฉริยะ “อาวาสะ” คอื อาวาสหรอื ท่ีอย่อู าศัย ตระหน่ี ที่อยู่อาศัย คือท่ีซ่ึงเป็นท่ีอาศัยของตนหรือบริเวณใกล้เคียงหรือว่าไม่ ปรารถนาให้ใครมาอยู่อาศัย เพราะกลัวเขาจะมาแย่งลาภแย่งผลที่ตน เคยได้เคยมี หวงแหนที่อยู่ในลักษณะใจแคบ ถ้าเป็นสมณะก็เรียกว่า ตระหนอ่ี าวาส ตระหน่วี ัด ด้วยความเขา้ ใจผิดคิดไปวา่ ของสว่ นรวมเป็น ของของตน อันที่จริงจุดประสงค์ของผู้สร้างเสนาสนะและปัจจัยอื่นๆ ในวดั ก็เพ่อื ถวายเปน็ ของสงฆ์ เพ่อื ความสะดวกแก่ภกิ ษุสามเณร ทา่ น เรียกวา่ อทุ ศิ แด่สงฆ์ทจี่ รมาจากจตุรทิศ คือทิศทง้ั ส่ี ถ้าเผื่อว่าเจ้าอาวาส ตระหนที่ อี่ ยเู่ สยี แลว้ จดุ ประสงคอ์ นั นนั้ กเ็ กอื บจะเปน็ หมนั ไป ดว้ ยเหตวุ า่ ผู้มีอำ�นาจคอยหวงแหนและกีดกันไว้เพื่อประโยชน์และความฟุ่มเฟือย ของตน เป็นการสร้างบารมบี นความลำ�บากยากเข็ญของผอู้ ่นื ถ้าในที่ใด ผู้มีอำ�นาจประกอบด้วยธรรม และมีเมตตากรุณาเห็นแก่ผู้อ่ืน จะมุ่ง บำ�บัดทุกข์บำ�รุงสุขของผู้น้อยด้วยความจริงใจ ขัดเกลาความเห็นแก่ตัว AWText-KarmSuk-new.indd 39 8/25/13 10:24 AM

40 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ใหล้ ดนอ้ ยลงไปเรอ่ื ยๆ ผนู้ อ้ ยกม็ คี วามสขุ ความรม่ เยน็ มองกนั ดว้ ยสายตา ที่เป่ียมด้วยความรักความเห็นใจ ไม่ใช่เหมือนหนามท่ีคอยทิ่มแทงหรือ ตำ�ตาให้เคืองตาอยู่เสมอ เม่ือผู้มีอำ�นาจมอบสิทธิอันผู้น้อยควรจะได้รับ ให้เขาไดร้ ับตามสมควร ผูน้ ้อยก็ยนิ ดมี อบความเคารพรักให้ และมคี วาม ยำ�เกรงตอ่ ผใู้ หญ่ อนั เปน็ สทิ ธทิ ท่ี า่ นพงึ จะไดร้ บั โดยชอบธรรมเชน่ เดยี วกนั อนั นม้ี องเขา้ ไปในวดั กอ่ นนะครบั การตระหนอี่ าวาส หรอื ตระหนี่ ที่อยู่ โดยเขา้ ใจผิดคิดว่าวัดนั้นเปน็ ของตนแต่เพียงผู้เดยี ว ทั้งๆ ทค่ี วาม จริงเขาสร้างไว้สำ�หรับสงฆ์ท่ีจรมาจากจตุรทิศ แต่พระราชบัญญัติหรือ สงั ฆาณตั อิ ะไรต่างๆ กใ็ ห้อำ�นาจแกเ่ จ้าอาวาสมาก ตอ่ ไปจะพูดถงึ ความตระหน่ีท่ีอย่ใู นฝา่ ยของคฤหสั ถ์บา้ ง อนั นก้ี ็ เห็นชัดมากขึ้นเหมือนกัน เช่นว่า มีที่มีทางพอจะให้คนอื่นพ่ึงพาอาศัย ได้บ้าง เช่น เข้าพักอาศัยหรือจอดรถ แต่ก็ไม่ให้ กลับหวงห้ามกีดกัน พอจะทำ�ประโยชนส์ ว่ นรวมอะไรไดบ้ า้ ง กก็ ลบั เวน้ เสยี ไปมงุ่ แสวงหาแตส่ งิ่ AWText-KarmSuk-new.indd 40 8/25/13 10:24 AM

41 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ท่ีเป็นประโยชน์ส่วนตัวหรือว่าไม่คำ�นึงถึงประโยชน์ของผู้อ่ืนบ้าง นี่ก็ เป็นอาวาสมจั ฉริยะ หรอื ว่ามที ี่ มตี ึก มหี ้องใหเ้ ขาเชา่ กค็ ิดค่าเชา่ แพง เกนิ ไป อยา่ วา่ แตจ่ ะใหเ้ ขาอาศยั อยบู่ า้ งตามสมควรเลย แมเ้ พยี งเขาเชา่ อยู่ จะคดิ ค่าเชา่ แต่พอประมาณใหเ้ ขาพออยู่ได้ ก็ไมท่ ำ� ตวั เจ้าของน้ันอยูไ่ ด้ อยแู่ ลว้ มงั่ คง่ั อยแู่ ลว้ แตก่ ลบั คดิ สตางคแ์ พงเกนิ ไปโดยนกึ ถงึ แตป่ ระโยชน์ ของตัว ไม่นกึ ถงึ ประโยชน์ท่ีเพอื่ นรว่ มทุกข์ เกดิ แก่ เจ็บ ตายดว้ ยกัน จะพงึ ไดบ้ า้ ง อยา่ งนกี้ เ็ รยี กวา่ อาวาสมัจฉรยิ ะ เหมือนกัน ขอยอ้ นกลบั ไปทางฝา่ ยวดั อกี เราพดู กันอยูเ่ สมอในวงวดั วา่ วัด มีท่ีอย่คู ่อนขา้ งมาก แตท่ ่ีอยสู่ ำ�หรับพระเณรที่มาศึกษาเลา่ เรียน สบื อายุ พระพทุ ธศาสนา ไมค่ อ่ ยจะมใี ห้ พระเณรมาจากตา่ งจงั หวดั เพอื่ จะมาศกึ ษา เลา่ เรยี น หาทอี่ ยกู่ นั ไมค่ อ่ ยได้ แตพ่ อถงึ ฤดเู ขา้ พรรษา มคี นมาบวชเปน็ รอ้ ย กม็ ีที่อยใู่ ห้ อันน้ีไมเ่ ขา้ ใจว่าเป็นอยา่ งไร หรือหมายความว่าอย่างไร พระ บางรปู ตอ้ งการจะเรยี นปรญิ ญาโททางศาสนา แตห่ าทอี่ ยไู่ มไ่ ดจ้ งึ ตอ้ งสกึ ไป เรอ่ื งนท้ี จี่ รงิ ทางการศาสนานา่ จะพจิ ารณาทบทวนนโยบายใหม่ วา่ ควรจะทำ� AWText-KarmSuk-new.indd 41 8/25/13 10:24 AM

42 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว อยา่ งไรจงึ จะดที สี่ ดุ หรอื มปี ญั หาอปุ สรรคขอ้ ขดั ขอ้ งอยา่ งไรเพราะพระเณร ท่ีมาหาทอี่ ยู่ ท่านไมเ่ ขา้ ใจวา่ ทำ�ไมทา่ นจึงอยเู่ พือ่ ศกึ ษาเลา่ เรยี นไมไ่ ด้ แต่ พอถึงฤดูเขา้ พรรษา มีผู้มาบวชใหมเ่ ป็นจำ�นวน ๕๐ ก็มี ๑๐๐ กม็ ี แต่กม็ ี ทอ่ี ยใู่ ห้ พระเณรทจ่ี ะสบื อายพุ ทุ ธศาสนา ทา่ นก็ตอ้ งเรยี นหนังสือ ทบี่ วช มาก็เพื่อจะเรยี นหนังสือ แล้วก็สืบต่อกันต่อๆ ไป อนั น้ีผมขอฝากคำ�ถาม ไว้สำ�หรับท่านเจ้าอาวาสทุกท่านนะครับ ผมเองก็ไม่รู้อะไรลึกเก่ียวกับ เรอ่ื งนี้ กเ็ ลยต้ังคำ�ถามเอาไว้ ไม่กล้าวินจิ ฉัยเดด็ ขาดลงไปว่าเป็นอย่างไร สำ�หรบั ชาวบ้านโดยทั่วไป ทต่ี ระหนที่ อ่ี ยู่ โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ เขต หวงห้ามของตน ก็มีมาก แม้ตัวจะไม่ใช้อะไรในสถานที่น้ันแต่ท่ีจะคิด เออ้ื เฟอ้ื ใหเ้ ปน็ ประโยชนแ์ กผ่ อู้ น่ื นนั้ มนี อ้ ยทจ่ี ะทำ� เกบ็ ใหร้ กรา้ งวา่ งเปลา่ ไว้เฉยๆ หรือว่าสงวนมากเกินไป ตนไม่ได้นึกถึงจิตใจของผู้อื่นก็เป็น อาวาสมจั ฉรยิ ะ อันทจี่ รงิ ทดี่ นิ เรากไ็ ม่ได้เปน็ ผูท้ ำ�ขน้ึ ทุกคนกม็ าอาศัยอยู่ ทัง้ น้นั มันเปน็ ของทเ่ี กิดอยู่ตามธรรมชาติ เป็นมรดกของโลก แล้วคนก็ ไปจบั จองกนั ตรงนั้นของฉัน ตรงน้ขี องฉัน ทำ�นองน้ัน AWText-KarmSuk-new.indd 42 8/25/13 10:24 AM

43 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ประการท่ี ๒ กุลมจั ฉรยิ ะ ตระหน่ตี ระกูลหรือสกุล ในฝ่ายคฤหัสถ์หมายถึง การหวงแหนตระกูล มิตรสหาย คือตนเองรู้จักคุ้นเคยกับบ้านใดคนใด ก็ไม่ปรารถนาจะให้บ้านนั้นตระกูลน้ันไปคุ้นเคยกับใครอ่ืนอีก หวงแหน ความสนทิ สนมไวเ้ พอื่ ตนเทา่ นน้ั อนั แสดงถงึ ลกั ษณะใจแคบประการหนงึ่ ในฝา่ ยบรรพชติ ยง่ิ เหน็ ชดั ขน้ึ คอื ตระหนอี่ บุ าสกอบุ าสกิ า หวงแหนตระกลู อุปัฏฐาก ว่าเคยเป็นอุบาสกอุบาสิกาของตน อุปัฏฐากของตน หรือว่า เคยเป็นอุบาสกอุบาสิกาวัดนี้ แล้วจะไปฟังเทศน์ฟังธรรมท่ีวัดอ่ืน เพื่อ เปลี่ยนรสเสียบ้างเพราะรสเดิมจืดชืดเต็มทีแล้วก็ไม่ได้ ไม่ยอมคิดตีวง ให้กว้างออกไปว่า พุทธบริษัทก็คือกลุ่มชาวพุทธทั้งหมด ไปวัดไหนก็ได้ ฟงั เทศน์วดั ไหนก็ได้ ไมจ่ ำ�เปน็ ต้องมาวดั เราหรอก ใหส้ ำ�เรจ็ ประโยชน์ก็ ใชไ้ ดท้ ้ังนน้ั อยา่ ไปถือวัดเราวัดเขากนั เลย ขยายจิตใจให้กวา้ งก็วัดพุทธ ทั้งน้ัน ท่ีจริงมันวัดเราทั้งน้ัน ถ้าใช่ก็ใช่ท้ังหมด หรือถ้าไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ทง้ั หมดเลย มเิ ชน่ นนั้ จะเกดิ การแขง่ ขนั กนั พระแขง่ ดกี นั วดั เขาอยา่ งนน้ั AWText-KarmSuk-new.indd 43 8/25/13 10:24 AM

44 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว วัดเราอย่างนี้ ตามต่างจังหวัดบางทีก็สร้างโบสถ์แข่งกัน วัดเหนือเขา สร้างโบสถใ์ หญโ่ ตมโหฬาร วัดใต้ของเราโบสถ์ยังเล็กเหมือนเดมิ เอ้า... ชว่ ยกนั เรีย่ ไรเงินสร้างแข่งกับวดั เหนือ คนท่เี ดอื ดร้อนคอื ใคร กช็ าวบา้ น แถววดั ใต้น่ันแหละ เอา้ ...เจ้าอาวาสวดั เหนือเขาเป็นพระครแู ล้ว วัดเรา ยงั ไมไ่ ดเ้ ปน็ เลย กล็ นุ้ กนั เขา้ หาผหู้ ลกั ผใู้ หญเ่ พอื่ ใหไ้ ดเ้ ปน็ พระครกู บั เขา บา้ ง แขง่ กนั วดั เหนอื เขาเลอ่ื นเปน็ พระครชู น้ั เอกแลว้ วดั เรายงั เปน็ ชน้ั ตรี อยู่เลย ต้องลุ้นให้เลื่อนช้ัน จะได้ทันกัน ต่อมาไม่กี่ปี วัดเหนือได้เป็น เจ้าคุณแล้ว ฯลฯ แข่งกันตอ่ ไป นอ่ี ะไรกัน ไมเ่ หน็ มีประโยชนเ์ ลย มันไม่ เป็นไปเพ่ือมักน้อยสันโดษ เพื่อถากกิเลส เพื่ออุบาสกอุบาสิกาผู้เข้าไป นั่งใกล้พระรัตนตรัย ใจเป็นอย่างไร ใจได้ใกล้หรือว่าใจห่างพระธรรม พระรตั นตรยั ทส่ี ำ�คญั ทส่ี ดุ และเปน็ ประโยชนท์ ส่ี ดุ ตอ่ อบุ าสกอบุ าสกิ า กค็ อื พระธรรม ถา้ ห่างเหินพระธรรมกไ็ ด้ประโยชน์นอ้ ย AWText-KarmSuk-new.indd 44 8/25/13 10:24 AM

45 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ย้อนกลับมาที่กุลมัจฉริยะ พระภิกษุสามเณรผู้มีอุปัฏฐากแล้ว ไม่ปรารถนาให้เขาไปช่วยเหลือเอ้ือเฟ้ือภิกษุสามเณรรูปอื่นต้องการให้ อปุ ถมั ภ์บำ�รงุ เฉพาะตนเทา่ นัน้ เปน็ การผกู ขาดกันทีเดยี ว อันนี้กนิ ความ ไปถึงอุบาสกอุบาสิกาผู้อุปถัมภ์บำ�รุงพระ แล้วไม่ต้องการให้ใครอื่นไป เก่ียวข้องกับพระท่ีตนยึดว่าเป็นของตน ก็จัดรวมอยู่ในข้อนี้ด้วย ความ จริงพระหรือสมณะเป็นคนของประชาชน ไมใ่ ช่คนของผใู้ ดผ้หู นึง่ ถา้ ทำ� ตนเป็นคนมเี จ้าของ เปน็ คนของผ้ใู ดผ้หู นึง่ เสียแลว้ ก็ทำ�ใหเ้ สยี อิสรภาพ บางทีอาจจะตกอยู่ใต้อำ�นาจของเขาเสียอีกด้วย คราวน้ีก็ยุ่งกันใหญ่ ถ้าไปตกอยู่ใต้อำ�นาจของโยมอุปัฏฐาก แล้วแต่โยมอุปัฏฐากจะช้ีเป็น อย่างไร ช้ีนกเป็นนก ช้ีไม้เป็นไม้ ก็แย่ เสียอิสรภาพ ซ่ึงสวนทางกับ ความเปน็ สมณะหรือความเป็นนักบวช อนั นผี้ มตอ้ งขออภัย ผมไม่ตงั้ ใจ สอนใครหรอื พดู ถึงใคร เพียงแต่พดู ตามเนอ้ื หาของธรรมะ AWText-KarmSuk-new.indd 45 8/25/13 10:24 AM

46 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ประการท่ี ๓ ลาภมจั ฉรยิ ะ ตระหนลี่ าภผล ข้อน้ีเหน็ ได้ง่าย คอื ความไมย่ อม เสียสละอะไรให้แก่ใครนั่นเอง ทรัพย์สมบัติท้ังที่ใช้ได้ ทั้งท่ีใช้ไม่ได้ เอาเก็บไวด้ ูเล่นพอรกหรู กตา กล้วยกเ็ กบ็ ไว้จนเนา่ แลว้ ค่อยกิน จะแบง่ ไปให้ใครก็ไม่แบง่ เสยี ดาย จะกนิ เองก็เสยี ดายอีก จะขอโยงไปถงึ ฝา่ ยวดั อกี หนอ่ ย พระภกิ ษบุ างรปู ทา่ นมลี าภเยอะ จากการไปกิจนิมนต์บ้างอะไรต่ออะไรบ้าง ร่มก็เก็บไว้จนกรอบหมด หลายเลม่ เยอะแยะ ขา้ วของอะไรตอ่ อะไร เตม็ กฏุ แิ ตใ่ ชไ้ มไ่ ดเ้ พราะมนั เกา่ หมดอายแุ ลว้ และไมไ่ ดใ้ หใ้ คร นกี่ เ็ ขา้ ขา่ ยลาภมจั ฉรยิ ะ แตเ่ จา้ อาวาสบางรปู กุฏิเกล้ียงเกลา มีแต่เส่ือผืนหมอนใบ ได้อะไรมาพระเณรเอาไปหมด ท่านเป็นเจ้าอาวาสจริงๆ คือมีแต่อาวาส กุฏิเปล่าๆ ไม่มีสมบัติอะไร พระเถระแบบนผ้ี มกเ็ คยเหน็ มกั นอ้ ย สนั โดษ ไมเ่ กบ็ ไมส่ ะสมอะไรเลย เบากายสบายใจ ไปเทศน์แต่ละคร้ัง เครื่องกัณฑ์ท่ีได้มาไม่รู้อยู่ท่ีไหน AWText-KarmSuk-new.indd 46 8/25/13 10:24 AM

47 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ลูกศิษยค์ นไหนเอาไปก็ไมร่ ู้ นกึ ถงึ ทา่ นแล้วก็ร้สู กึ ปีติปราโมทย์ เพราะวา่ ท่านปฏิบัติตนอย่างมักน้อยสันโดษ ไม่ตระหน่ีลาภ ผิดกับบางท่านมี ของท่ไี มเ่ ปน็ ประโยชนแ์ ก่ตัว แตก่ ไ็ มย่ อมเสียสละใหใ้ คร เก็บไวป้ ระดบั บารมีท่ีชอบพูดกันว่า “มันเป็นบุญของข้า” เป็นคำ�พูดท่ีคนชอบพูด ล้อเลียนคนตระหน่ีเหนียวแน่น คนประเภทน้ีมีลักษณะคล้ายมดแดง เฝา้ มะมว่ ง แมม้ นั จะกนิ ไมไ่ ด้ มนั กไ็ มอ่ ยากใหใ้ ครไดก้ นิ ไมเ่ ปน็ ประโยชน์ ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น ความจริงแล้ว ลาภสักการะควรถือเป็นเพียงส่ิง อาศยั เท่านนั้ ไมใ่ ช่เอามนั มาไว้เปน็ นาย มนั เป็นทาสทซ่ี อ่ื สตั ยก์ ็จรงิ แต่ ถ้าเราปล่อยให้มันเป็นนาย มันจะเป็นนายท่ีโหดร้าย ลาภสักการะเป็น นายท่ีโหดร้าย พระพุทธเจ้าท่านตรัสเตือนไว้ ลองอ่านดูในลาภสักการ สังยุตต์ พระไตรปิฎก สังยุตตนิกาย เล่ม ๑๖ พระพุทธเจ้าทรงตำ�หนิ การตดิ ในลาภสักการะ ตรสั เอาไวม้ าก เชน่ “ภกิ ษทุ ัง้ หลาย ลาภสกั การะ ชอื่ เสยี งเปน็ สง่ิ ทารณุ เผด็ รอ้ น เธอทง้ั หลายไมค่ วรแสวงหา ลาภทไี่ ดม้ าแลว้ ควรละเสยี ” ทำ�นองนคี้ รบั มมี ากทง้ั สงั ยตุ ตเ์ ลย พดู ถงึ ความทารณุ โหดรา้ ย ของส่งิ น้ที ั้งนนั้ AWText-KarmSuk-new.indd 47 8/25/13 10:24 AM

48 ค ว า ม สุ ข จ า ก ค ว า ม ไ ม่ เ ห็ น แ ก่ ตั ว ประการที่ ๔ วณั ณมจั ฉรยิ ะ ตระหนค่ี วามดี ตระหนว่ี รรณะ ขอ้ นถ้ี า้ พจิ ารณา ถึงการถือชน้ั วรรณะในอินเดยี และการที่วรรณะสงู เหยยี ดวรรณะตำ่� กน็ ่า จะหมายถงึ การถอื ชนั้ วรรณะนน่ั เอง ตรงตวั เชน่ การทกี่ ษตั รยิ ์ พราหมณ์ ไม่อยากให้คนในวรรณะอื่นมาปะปนผสมกับวรรณะของตน ต่างพวก ตา่ งอยู่ สมเดจ็ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส นกั ปราชญ์ ใหญ่ของเรา ทรงมีมติว่าวัณณมัจฉริยะ น่าจะหมายถึง การหวงแหน ความดี ไม่อยากใหใ้ ครไดด้ ีเทา่ ตนหรอื ยิ่งกว่าตน อกี นยั หนึ่ง “วรรณะ” แปลว่า ผิวพรรณ หมายถึงความสวยงาม การหวงแหนความสวยงาม เชน่ หญิงสาวไมอ่ ยากใหใ้ ครงามกว่าตวั ก็รวมอยใู่ นคำ� ว่า วัณณมัจฉรยิ ะ ดว้ ยเหมือนกนั AWText-KarmSuk-new.indd 48 8/25/13 10:24 AM

49 อ . ว ศิ น อิ น ท ส ร ะ ประการที่ ๕ ธัมมมัจฉรยิ ะ ตระหนค่ี วามรู้ หมายถึง การหวงแหนความรูไ้ ว้ ไม่ยอมบอกแก่ใคร กลัวผู้อื่นจะมีความรู้เท่าตัว ในหมู่นักเรียนยิ่งเห็น ได้ชัด นักเรียนบางคนจะไม่ยอมบอกวิชาท่ีตัวเก่งให้แก่เพื่อนนักเรียน ด้วยกัน เกรงไปว่าเพื่อนจะทำ�คะแนนได้เท่ากับตัวหรือย่ิงกว่าตัว แม้ ครบู าอาจารยใ์ นวชิ าการตา่ งๆ สมยั โบราณกไ็ มย่ อมบอกวชิ าความรใู้ หศ้ ษิ ย์ โดยส้ินเชิง จะต้องเหลือบทเคล็ดวิชาสำ�คัญเอาไว้ ทั้งน้ี เพื่อเอาไว้ใช้ ปราบศิษยห์ วั แข็งท่ีเขา้ ใจวา่ อาจารย์ไดบ้ อกวชิ าความรูใ้ หห้ มดแล้ว ก็เป็นที่น่าภูมิใจนะครับว่า พระพุทธเจ้าของเราไม่รวมอยู่ใน ลักษณะนี้ดว้ ยเลย จะเห็นไดจ้ ากพระพทุ ธภาษติ ท่ตี รสั ในมหาปรนิ ิพพาน สูตรว่า “ดูก่อน อานนท์ กำ�มือของอาจารยใ์ นธรรมทั้งหลายไม่มแี กเ่ รา” หมายความวา่ พระองคไ์ ดท้ รงแสดงธรรมหมดสนิ้ ไมไ่ ดป้ ดิ บงั อะไรไวเ้ ลย AWText-KarmSuk-new.indd 49 8/25/13 10:24 AM


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook