Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือการจัดการความรู้ของกองทัพบก (ฉบับปรับปรุง 2563)

คู่มือการจัดการความรู้ของกองทัพบก (ฉบับปรับปรุง 2563)

Published by jnong34, 2020-09-03 01:55:21

Description: คู่มือการจัดการความรู้ของกองทัพบก ปรับปรุงปี 2563

Keywords: KM

Search

Read the Text Version

ค่มู ือ กองทพั บก กบั การจดั การความรแู้ บบยง่ั ยนื

คำปรารภจาก ........... ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี พุทธศักราช ๒๕๔๖ มาตรา ๑๑ กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าท่ี พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่าง สมำ่ เสมอ โดยตอ้ งรบั รขู้ ้อมูลขา่ วสาร และสามารถประมวลผลความร้ใู นด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยกุ ตใ์ ช้ในการปฏิบัติราชการไดอ้ ย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสม ต่อสถานการณ์ รวมทั้งต้อง ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ความสามารถ สร้าง วิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัให้เป็นบุคลากรที่มี ประสิทธิภาพและมีการเรยี นรู้ร่วมกนั ตลอดจนสร้างวฒั นธรรมการมีส่วนรว่ มใน หมู่ ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อนำมาพัฒนาการ ปฏบิ ัตริ าชการรว่ มกนั อยา่ งมี ประสทิ ธภิ าพ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ(ก.พ.ร.) จึงได้กำหนดแนวทางให้หน่วยงาน ภาครัฐด าเนินการจัดการ ความรู้ โดยให้การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดการประเมินผลการ ปฏิบัติ ราชการ ในมติ ทิ ่ี ๔ มติ ดิ า้ นการพัฒนาองคก์ าร

คำนาํ คู่มือการจัดการความรู้กองทัพบก ฉบับนี้ จัดทําขึ้นโดยกรมกำลังพล ทหารบก โดยการรวบรวม วิเคราะห์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกองทัพบก กําหนดเป็นองคค์ วามรู้ ในการสรา้ งความรู้ ความเขา้ ใจเก่ยี วกับการจัดการความรู้ และใหแ้ นวทางในขน้ั ตอนกระบวนการจัดการความรู้ ในองคก์ รใหช้ ัดเจนและเป็น รูปธรรมมากขึ้น กรมกำลังพลทหารบก หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า คู่มือ ฉบับนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อหนว่ ยงานในกองทพั บก และผทู้ ่ีเกยี่ วขอ้ ง เก่ยี วกบั การจัดการความรู้ และขั้นตอน กระบวนการจัดการความรู้ในกองทัพบก เพื่อนําไปสู่สัมฤทธิผลใน การดําเนนิ งานของหนว่ ยงานให้เกิดประสทิ ธภิ าพ สงู สุด

สารบญั บทนำ การจัดการความรคู้ อื อะไร ? หัวใจของการจดั การความรู้อยทู่ ไี่ หน องคป์ ระกอบสำคัญของการจดั การความรู้ (Knowledge Process) กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เครอ่ื งมือในการจดั การความรู้ - ชมุ ชนแหง่ การเรยี นรขู้ องอกงทัพบกมีความสำคัญอย่างไร - การทบทวนการทำงาน AAR (After Action Review) บทสรุป ภาคผนวก คูม่ อื การจดั ทําแผนการจดั การความรู้ ฉบับน้ีประกอบด้วย บทที่ 1 การจัดการความรเู้ บอ้ื งตน้ บทท่ี 2 การกําหนดขอบเขต KM (KM Focus Area) บทท่ี 3 การกําหนดเปา้ หมาย KM (Desired State) บทที่ 4 การจดั ทาํ แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) บทท่ี 5 การกําหนดโครงสร้างทมี งาน KM ภาคผนวก ก กําหนดการและเอกสารที่ต้องส่งมอบให้สํานักงาน กพร. ภาคผนวก ข แบบฟอร์ม ภาคผนวก ค ตัวอย่าง

บทนำ การจัดการความรู้ หรือ Knowledge Management เป็นเรื่องที่เร่ิมดำเนินการมาระยะ หนึ่งแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นจากการท่ีกองทัพบก ต้องสูญเสียความรู้ไปพร้อมๆ กับการที่บุคลากรลาออก หรือเกษียณ อายุราชการ อันส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของกองทัพบกเป็นอย่างยิ่ง จาก แนวความคดิ ท่มี ุ่งพฒั นาบุคลากรให้มีความรู้แต่เพยี งอยา่ งเดียว จงึ เปลย่ี นไป และมีคำถามต่อไปว่า จะทำอย่างไรให้กองทัพบกได้เรียนรู้ด้วย ดังนั้น การบริหารจัดการความรู้จึงสัมพันธ์กับเรื่อง กองทพั บกแห่งการเรยี นรู้ (Learning Organization) เปน็ อยา่ งยงิ่ ดังนั้น ถ้ากองทัพบกจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ก็จำเป็นจะต้อง บริหารจัดการความรู้ภายในกองทัพบกให้เป็นระบบ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและ ตอ่ เน่ือง และหากไมม่ กี ารสร้างบรรยากาศแหง่ การเรยี นรู้ใหเ้ กิดข้ึนภายในหน่วยงาน ก็นับเป็นการ ลงทนุ ที่สูญเปล่าได้เช่นกัน อยา่ งไรกต็ าม การบรหิ ารจดั การความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วย การฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความ ชำนาญแลว้ บคุ ลากรเหล่าน้นั ยนิ ดถี า่ ยทอด และแลกเปล่ียนความรู้กับผู้อื่น และในข้ันตอนสุดท้าย นั่นกค็ อื กองทพั บกจะต้องหาเทคนิคการจัดเกบ็ ความรู้เฉพาะไว้กบั กองทัพบกอย่างมีระบบเพอื่ ท่ีจะ นำออกมาใช้ไดอ้ ยา่ งมีประสิทธิภาพ บรษิ ัทยกั ษ์ใหญห่ ลายแหง่ ในสหรัฐอเมริกายังคงแข่งขันกันหา วิธีบรหิ ารจัดการความรทู้ ี่เหมาะสมกบั ตนเอง เพ่อื ให้อยู่ในโลกของการแข่งขันไดส้ ำหรับประเทศไทย นน้ั คงเปน็ เร่ืองทา้ ทายสำหรบั ผบู้ ริหารทีจ่ ะหายทุ ธวิธใี นการดงึ ความรูอ้ อกมาจากตัวบคุ คล และการ กระตุ้นให้บุคลากรถ่ายทอดความรู้ให้เพื่อนร่วมงาน ซึ่งการถ่ายทอดความรู้บางประเภทนั้น การ ฝึกอบรมอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด อุปสรรคที่มักพบอยู่เสมอของการบริหารจัดการความรู้คือ พฤติกรรม \"การหวงความรู้\" และวัฒนธรรม \"การไม่ยอมรับในตัวบุคคล\" หากกองทัพบกสามารถ กำจัดจุดอ่อนทัง้ สองอย่างนี้ได้การบริหารจดั การความรู้กม็ ิใช่เรื่องยากจนเกินไป สืบเนื่องจากการ

ปฏิรูประบบราชการครั้งสำคัญที่ผ่านมาเมื่อเดือนตุลาคม 2545 ได้มีการวางกรอบแนวทางการ บรหิ ารราชการแผ่นดนิ ไว้อย่างชัดเจน ซง่ึ รวมถงึ การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกจิ การบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เป็นเรื่องของการกำหนดขอบเขต แบบแผน วิธี ปฏิบัติ โดยเฉพาะมาตรา 11 ได้กำหนดเป็นหลักการว่าส่วนราชการต้องมีหน้าที่ในการพัฒนา ความรู้เพอื่ ให้มลี ักษณะเป็นองค์การแหง่ การเรยี นรอู้ ยา่ งสม่ำเสมอ พรอ้ มทง้ั สร้างความมีส่วนร่วมใน หม่รู าชการให้เกดิ การแลกเปล่ยี นความร้ซู ึง่ กันและกัน



บทที่ ๑ การจัดการความรู้เบ้อื งต้น การจัดการความรู้ หรือ KM : Knowledge Management คือ การ รวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในกองทัพบก ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในกองทัพบกสามารถเข้าถึงความรู้ และพฒั นาตนเองให้เป็นผ้รู ู้ รวมทัง้ ปฏบิ ตั ิงานได้อย่างมีประสทิ ธภิ าพ อนั จะส่งผล ใหก้ องทัพบกมคี วามสามารถในเชงิ แขง่ ขนั สงู สุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คอื 1) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) : ความรู้ที่ได้จาก ประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจ ในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์ อักษรไดโ้ ดยงา่ ย 2) ความรู้ท่ีชดั แจ้ง (Explicit Knowledge) : ความรทู้ ีส่ ามารถรวบรวม ถา่ ยทอดไดโ้ ดยผา่ นวธิ ีต่าง ๆ ประกอบดว้ ยเปา้ หมาย 4 ประเภท ดังน้ี ➢ บรรลเุ ป้าหมายของงาน ➢ บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน ➢ บรรลุเปา้ หมายการพฒั นาไปเปน็ องคก์ รแหง่ การเรยี นรู้ ➢ บรรลคุ วามเปน็ ชุมชน ท่มี คี วามเออื้ อาทรระหว่างกนั ในที่ทำงาน

การจดั การความรเู้ ป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการ 1. 6. 2. ส 5. ่ โ 3. ุ 4. ุ 1) การกำหนดความร้หู ลกั ทจ่ี ำเปน็ ตอ่ งาน 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรบั ปรงุ ดัดแปลง หรือสร้างความรู้ให้เหมาะตอ่ การทำงาน 4) การประยุกต์ใช้ความรูใ้ นการปฎบิ ัติงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มา แลกเปลย่ี นเรยี นรู้มาบนั ทึกไว้ 6) การจดบันทึกสำรหับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ท่ีครบถ้วน เชื่อมโยงมากข้ึน เหมาะสมตอ่ การปฏบิ ัตงิ าน ปัจจุบันมีคนเข้าใจผิด เริ่มดำเนินการโดยมุ่งเน้นไปที่ความรู้ คือ เริ่มที่ความรู้ เป็นข้อผิดพลาดทีพ่ บบอ่ ยมาก การจัดการความรทู้ ีถ่ กู ต้องจะต้องเร่ิมทง่ี านหรอื เป้าหมายของงาน 

เป้าหมายของงานที่สำคัญ คือ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการตามที่ กำหนดไว้แบง่ ออกเปน็ 4 ส่วน คอื •ส • ผญ ผ ภฑ ถุ ส พ ส (Responsiveness) (Innovation) สส ผ พ ส ภพ ข สถ ุ ่ไ ่ ส ภ พส (Efficiency) (Competency) •ภ พ พฒ ข ุ เป้าหมายสดุ ทา้ ยของการจดั การความรู้ การท่กี ลมุ่ คนที่ดำเนินการจัดการความรู้รว่ มกนั มีชดุ ความรูข้ องตนเอง ท่ีร่วมกัน สร้างเอง สำหรับใช้งานของตน คนเหล่านี้จะสร้างความรู้ขึน้ ใช้เองอยู่ตลอดเวลา โดยที่การสร้างนั้นเป็นการสร้างเพียงบางส่วน เป็นการสร้างผ่านการทดลองเอา ความรจู้ ากภายนอกมาปรับปรุงให้เหมาะต่อสภาพของตน และทดลองใช้งาน การจัดการความรู้ไม่ใช่กิจกรรมที่ดำเนินการเฉพาะหรือเกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ แต่เปน็ กจิ กรรมที่แทรก/แฝง หรือในภาษาวชิ าการเรียกว่า บูรณาการอยู่ กับทุกกิจกรรมของการทำงาน และที่สำคัญตัวการจัดการความรู้เองก็ต้องการ การจัดการด้วย ตัง้ เปา้ หมายการจัดกาความรเู้ พือ่ พัฒนา 3 ประเด็น - งานพฒั นางาน - คนพัฒนาคน - กองทพั บก เป็นกองทัพบกแหง่ การเรียนรู้

หัวใจของการจัดการความรู้ (KM) อยูท่ ีไ่ หน? 1. ความรู้คอื พลัง 2. ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรไู้ ม่ใช่อยู่ท่ีคอมพวิ เตอร์หรอื เอกสาร แตอ่ ยู่ที่ การมปี ฏิสมั พันธ์ ระหวา่ งคนด้วยกัน 3. จุดหมายปลายทางสำคญั ของความรู้มิใช่ท่ีตวั ความรแู้ ตอ่ ยทู่ ก่ี ารนำไปปฏิบตั ิ 4. นยิ ามใหม่ของผูบ้ รหิ ารจัดการ คอื ผซู้ ่ึงทำให้ความรู้ผลติ ดอกออกผล จะเหน็ วา่ จากขอ้ ความท่กี ล่าวถงึ ความรู้ดังกล่าวพอทำให้มองเหน็ หัวใจของ การจดั การความรู้ เป็นลำดับช้นั มาเรมิ่ แต่ข้อความแรกทวี่ ่า ความรูค้ ือพลังหรือความรู้ คืออำนาจ ซึง่ เป็นข้อความเป็นท่ยี อมรับทเ่ี ป็นสากล ท้งั ภาคธุรกิจ เอกชน และภาค ราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเนน้ ทป่ี ฏิสัมพนั ธ์ของคนวา่ มคี วามสำคัญใน การถ่ายทอดความรูก้ วา่ เคร่อื งมอื หรือเอกสารใด สรุปได้วา่ หัวใจของ KM อยู่ที่การนำ ความรไู้ ปใช้ให้เกดิ ประโยชนต์ ่อสังคม การพฒั นาองค์กร ตอ้ งมี 4 องคป์ ระกอบ 1.หน่วยงาน หมายถึง การอยู่ร่วมกันในองค์กรใดองค์กรหนึ่งที่มี เปา้ หมายทีก่ ารอยูร่ ว่ มกัน 2.ความเป็นสุข หมายถึง ความเป็นทั้งหมด ความเป็นปรกติ สมดุล บูรณาการของปัจจัยต่าง ๆ อย่างน้อย 8 ด้าน ได้แก่ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจ สงิ่ แวดล้อม วัฒนธรรม ศาสนธรรม ครอบครวั และชุมชน

3.การเรียนรู้ หมายถึง การเรยี นร้รู ่วมกันของกำลงั พล ผ่านการปฏบิ ัติ 4.การสร้างเสริม หมายถึง การเข้าไปเอื้ออำนวย ส่งเสริม เสริมพลัง (empower) ไมใ่ ช่เข้าไปสอนหรือถ่ายทอดความรู้ ทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ หัวใจของการจัดการความรู้ในทุกบริบท การ เรียนรู้สำคัญกว่าตัวความรู้ เพราะถ้าไม่ระวัง ตัวความรู้จะเป็นความรู้ที่หยุดนิ่ง ตายตวั การเรียนร้จู ะมลี กั ษณะ “ดิน้ ได้” คือมีชวี ิต เปน็ พลวตั การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คอื การเรียนรู้รว่ มกัน และเป็นการเรยี นรู้รว่ มกนั ผา่ นการปฏบิ ัติ หรอื สามารถสรุป ได้ว่า การจัดการความรู้ (KM) สิ่งสำคัญมันอยู่ที่การลงมือปฏิบัติให้ได้ ใช้ภาษา เดียวกัน สื่อความหมายกันให้ได้ การเรียนรู้ของบุคคลหัวใจสำคัญอยู่ที่เราจะได้ เรียนรู้จากการสอนคนอ่ืน (Learning from Teaching) และ สิ่งที่สำคัญของการ จัดการความรู้ ก็คือ เรื่องของคน การพัฒนาคน คนพัฒนาตนเอง การวางแผน ทำงาน การจัดลำดับความสำคัญของงาน ในปัจจุบันมีการเข้าใจผิด เอาการจัดการความรู้ เป็นเป้าหมาย ความ ผิดพลาดก็เริม่ เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาทีจ่ ะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรอื ปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้ การริเริ่ม ดำเนินการจัดการความรู้ แรงจงู ใจ การริเริม่ ดำเนนิ การจดั การความรู้เป็นกา้ วแรก ถ้าก้าวถูกทิศทาง ถูกวิธี ก็มีโอกาสสำเร็จสูง แต่ถ้าก้าวผิด ก็จะเดินไปสู่ความ ลม้ เหลว ตัวกำหนดทส่ี ำคญั คือ “แรงจงู ใจในการรเิ รมิ่ ดำเนินการจัดการความรู้” การจดั การความรู้ทดี่ เี รม่ิ ดว้ ย การจัดการความรเู้ ปน็ เครอ่ื งมอื เพื่อบรรลุความสำเร็จและความมัน่ คงในระยะ ยาว การจัดทีมริเริม่ ดำเนินการ การฝกึ อบรมโดยการปฏิบตั จิ ริงและดำเนนิ การตอ่ เน่ือง การจดั การระบบการจัดการความรู้

องค์ประกอบสำคญั ของการจัดการความรู้ (Knowledge Process) 1.“คน” เปน็ องคป์ ระกอบทส่ี ำคัญท่สี ุด เพราะเปน็ แหลง่ ความรู้ และเปน็ ผู้นำ ความรู้ไปใชใ้ ห้เกิดประโยชน์ 2.“เทคโนโลยี” เป็นเครื่องมือเพื่อให้คน สามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำ ความรไู้ ปใชอ้ ย่างงา่ ย และรวดเร็วขึน้ 3.“กระบวนการความร้”ู เปน็ การบริหารจดั การ เพือ่ นำความร้จู ากแหลง่ ความรู้ ไปให้ผู้ใช้ เพือ่ ทำให้เกิดการปรบั ปรงุ และนวัตกรรม กระบวนการจดั การความรู้ (Knowledge Management) 7. PDCA ACT / 1. - / / CHECK / DO 2. -/ FK, TK -/ 6. ( ) 3. ( ,,) 5. Plan ( ) 4. ()

ขัน้ ที่ 1 การบ่งช้ีความรู้ (Knowledge Identification : พิจารณาว่ากองทัพบกมีวสิ ัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายคืออะไร เพื่อให้ บรรลุเป้าหมาย ตอ้ งใช้อะไร ปจั จบุ นั มีความรู้อะไร อยู่ในรปู แบบใด และอยู่ทใ่ี คร ขั้นที่ 2 การสร้างและแสวงหาความรู้ ( Knowledge Creation and Acquisition) : สร้าง แสวงหา รวบรวมความรูท้ ง้ั ภายใน/ภายนอก รักษาความรเู้ ดมิ แยกความรู้ท่ี ใช้ไม่ได้แลว้ ออกไป ข้นั ท่ี 3 การจดั ความรใู้ หเ้ ป็นระบบ (Knowledge Organization) : กำหนดโครงสรา้ งความรู้ แบ่งชนิด ประเภท ให้สืบค้น เรียกคืน และใช้งานได้ง่าย ขน้ั ที่ 4 การประมวลและกลน่ั กรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) : การปรบั ปรุงรูปแบบเอกสารให้เปน็ มาตรฐาน ใช้ภาษาเดยี วกัน ปรบั ปรุงเน้อื หาให้ ครบถ้วน สมบรู ณ์ ขัน้ ที่ 5 การเขา้ ถงึ ความรู้ (Knowledge Access) : การทำให้ผู้ใชค้ วามรู้เข้าถึงความรทู้ ี่ต้องการได้งา่ ยและสะดวก เชน่ เทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) Web board บอรด์ ประชาสมั พนั ธ์ เปน็ ต้น ข้นั ท่ี 6 การแบ่งปันแลกเปล่ียนความรู้ (Knowledge Sharing) : การแบ่งปัน สามารถทำได้หลายวธิ ีการ โดยกรณีทีเ่ ปน็ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) อาจจดั ทำเปน็ เอกสา ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีที่ เปน็ ความรู้ฝงั ลกึ (Tacit Knowledge) จดั ทำเป็นระบบทมี ขา้ มสายงาน กจิ กรรม กลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแหง่ การเรยี นรู้ ระบบพี่เล้ยี ง การสบั เปล่ยี นงาน การยมื ตัว เวทแี ลกเปล่ียนความรู้ เปน็ ต้น ข้ันท่ี 7 การเรียนรู้ (Learning) : การนำความรูม้ าใชป้ ระโยชนใ์ นการตัดสินใจ แกป้ ัญหา และทำใหเ้ ปน็ สว่ นหน่ึงของ งาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ในไปใช้ เกิดการ เรียนรู้ และประสบการณใ์ หม่ และหมนุ เวียนตอ่ ไปอยา่ งต่อเนื่อง

จากกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นที่กล่าวมาแล้วน้ัน ถ้ากำลังพลใน หน่วยงานมีทัศนคติที่ดี ก็ส่งผลใหเ้ กิดกระบวนการจดั การความรู้ ซึ่งสิ่งที่จะสร้าง ใหเ้ กิดทศั นคตทิ ีด่ นี ัน้ คอื แรงจูงใจ แรงจูงใจแทใ้ นการรเิ ริม่ ดำเนินการจดั การความรู้ สามารถแบ่งได้ตามเปา้ หมาย ประกอบดว้ ย 1. แรงจูงใจในการทำงาน ไดแ้ ก่ 2. แรงจูงใจสำหรับกำลังพล ได้แก่ การให้การยอมรับ การให้รางวัล เปน็ ตน้ 3. แรงจูงใจให้กบั หน่วยงานของกองทัพบก แรงจูงใจดงั กลา่ วเป็นเง่ือนไขสำคญั ในระดบั ที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จใน การจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมตอ่ การดำเนินการจดั การความรู้ในสงั คมไทยทีพ่ บบอ่ ย

ที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตาม แฟชัน่ แตไ่ มเ่ ข้าใจความหมาย และวธิ ีการดำเนินการ จัดการความร้อู ย่างแท้จริง แนวคิดเร่ืองกระบวนการบริหารการเปล่ียนแปลง เป็นกรอบแนวคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภายใน องคก์ ร ไดม้ ุ่งเน้นถงึ ปจั จัยแวดล้อมภายในองคก์ ร ท่จี ะมผี ลกระทบต่อการจัดการ ความรู้ ประกอบดว้ ย 6 องค์ประกอบ ดังน้ี 1. การเตรียมความพร้อมและการปรับเปล่ียนพฤติกรรม เพื่อแกไ้ ข ปัญหาและอุปสรรคในการแลกเปล่ียนเรียนรู้ของคนในองค์กร คือ การเน้นให้ ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการความรู้ การแก้ไขกฎระเบียบให้มีความ ยืดหยุ่น การสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น และการส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น การประกาศนโยบายการจัดการ ความรูใ้ ห้ทุกคนทราบ เป็นตน้ 2. การส่ือสาร เพื่อทำใหท้ ุกคนในองค์กรอยากใหค้ วามร่วมมือในการ

จดั การความรู้ใ นองค์กร โดยการเนน้ ทกุ คนเข้าใจถึงสงิ่ ทอี่ งคก์ รจะทำ ประโยชน์ท่ี จะเกิดขน้ึ กับทุกคน และแต่ละคนจะมีส่วนรว่ มได้อย่างไร ผา่ นชอ่ งทางการส่ือสาร ในรปู แบบต่าง เช่น จดหมายเวยี น E-Mail Intranet เปน็ ตน้ 3. กระบวนการและเครอื่ งมือ เพอื่ ทำใหเ้ กิดการเชอื่ มโยงขอ้ มูลความรใู้ น องค์กรและสามารถเข้าถึง ค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มากขึ้น โดยเน้นการพิจารณาความเหมาะสมกับชนิดของความรู้ ลักษณะขนาด สถานที่ตั้งองค์กร ลักษณะการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และทรัพยากรที่มีอยู่ เชน่ หากเป็นความรู้ทีเ่ ป็นเอกสาร จบั ตอ้ งได้ อาจใช้หนังสอื เวียน หรอื เทคโนโลยี สารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ แต่ถ้าหากเป็นความรู้ที่ต้องใช้ ประสบการณ์ หรือใช้ประสาทสัมผัส อาจใช้การสอนงานระหว่างทำงาน หรือ ประสบการณโ์ ดยตรงเปน็ เคร่อื งมือในการเข้าถงึ ความรู้ เป็นตน้ 4. การฝกึ อบรมและการเรียนรู้ เพอื่ สรา้ งความเข้าใจและตระหนกั ถึง ความสำคัญและหลักการของการจัดการความรู้ โดยคำนึงถึงความสอดคล้อง เกี่ยวกับการกำหนดเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ และการประเมินผลและการ ปรับปรุงการฝึกอบรม / การเรียนรู้ ซึ่งตัวอย่างหลักสูตร ได้แก่ KM Implementation ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (COP) การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม การ ใช้ IT เปน็ ต้น 5. การวัดผล เพ่ือให้ทราบว่าการดำเนนิ การไดบ้ รรลเุ ปา้ หมายท่ตี ั้งไว้ หรือไม่ และนำผลของการวดั มาปรบั ปรงุ แผนและการดำเนินการให้ดีข้ึน ตลอดจน นำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดบั ให้เหน็ ประโยชนข์ องการ จัดการความรู้ 6. การยกยอ่ งชมเชยและให้รางวัล เพ่ือสรา้ งแรงจงู ใจใหเ้ กิดการปรบั เปล่ียนพฤตกิ รรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดบั โดยพจิ ารณาถึงความ สอดคลอ้ งดา้ นความต้องการของบุคลากร แรงจงู ใจระยะสนั้ และระยะยาว การบูร ณาการกับระบบที่มอี ยู่ การปรับเปล่ียนให้เข้ากับกิจกรรมทีท่ ำในแต่ละช่วงเวลา

เคร่ืองมือในการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ประกอบด้วย กระบวนการหลัก ๆ ได้แก่ การค้นหา ความรู้ การสร้างและแสวงหา ความรู้ใหม่ การจัดความรู้ให้เป็นระบบ การ ประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ การแบง่ ปนั แลกเปลีย่ นความรู้ สุดท้ายคือ การ เรียนรู้ และเพื่อให้มีการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกองทัพบก เครื่องมือหลากหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ในการถ่ายทอดแล .ะ แลกเปลีย่ นความรู้ ซง่ึ อาจแบง่ เป็น 2 กลมุ่ ใหญ่ ๆ คอื 1.เครื่องมือที่ช่วยในการ “เข้าถึง” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ที่ เป็นรูปธรรม เป็นลายลักษณ์อักษรและสามารถจัดต้องได้มักเป็นแบบทางเดียว 2.เครื่องมือที่ช่วยในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ ซึ่งเหมาะสำหรับความรู้ นามธรรม จำเปน็ ต้องอาศัยการปฏิสมั พันธ์ระหว่างบุคคลเป็นหลกั เครื่องมือทีม่ ีผู้นิยมใช้กนั มาก นั่นก็คือ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP = Community of Practice)” คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่าง ไมเ่ ป็นทางการ โดยมลี กั ษณะดังน้ี ✓ มคี วามสนใจในเรอ่ื งเดียวกนั ต้องการแลกเปลยี่ นประสบการณ์จากกนั และกนั ✓ มีเป้าหมายร่วมกนั มคี วามมุ่งมนั่ ร่วมกนั ที่จะพฒั นาวิธีการทางานไดด้ ขี ึ้น ✓ วิธีปฏิบตั ิคล้ายกนั ใช้เคร่อื งมือ และภาษาเดียวกนั ✓ มีความเชอื่ และยดึ ถอื คุณค่าเดยี วกนั ✓ มบี ทบาทในการสร้าง และใชค้ วามรู้ ✓ มีการแลกเปลี่ยนเรียนร้จู ากกนั และกนั อาจจะพบกนั ดว้ ยตวั จริง หรือผา่ นเทคโนโลยี ✓ มชี อ่ งทางเพอื่ การสง่ ต่อของความรู้ ทาให้ความรเู้ ข้าไปถึงผทู้ ่ีต้องการใช้ได้ง่าย ✓ มีความรว่ มมือช่วยเหลอื เพ่อื พฒั นาและเรยี นร้จู ากสมาชิกด้วยกนั เอง ✓ มีปฏิสมั พนั ธ์ต่อเน่ือง

ชมุ ชนแหง่ การเรียนร้ขู องอกงทพั บกมีความสำคัญอย่างไร เครอื ขา่ ยความสัมพนั ธ์ท่ีไม่เปน็ ทางการ เกดิ จากความใกลช้ ดิ ความพอใจ และพน้ื ฐานท่ีใกลเ้ คียงกนั ลักษณะที่ไมเ่ ป็นทางการจะเอ้ือต่อการเรยี นรู้ และการ สร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ซึ่งได้รับจาก การทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบคุ คล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และ ความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้กองทัพบก ประสบความสำเร็จได้ดีกวา่ การส่อื สารตามโครงสร้างทเ่ี ป็นทางการ แนวคิดนีเ้ ป็น การไขวค่ วา้ หาความรเู้ ข้าหาตวั มากกว่าการรวบรวมความรู้ เพอ่ื ส่งมอบใหผ้ ูอ้ ่ืน ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของอกงทัพบกเป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อเป็น คนทำงานที่เก่งขึ้น มิใช่แค่เรียนรู้ว่า จะทำงานอย่างไร หรือเรียนรู้แต่เรื่องทีเ่ ป็น นามธรรม ควรทำงานแบบเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลัก ประเด็นยุทธศาสตร์ของ กองทัพบก โดยการกระทำเฉพาะสิ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติ และเป็นผลจากการ เรียนรู้ ไดแ้ ก่

1 2 การสนับสนนุ ให้เกิดชมุ ชนแหง่ การเรียนรู้ของกองทพั บก 1.ด้านการปฏิบัตติ ่อเครอื ขา่ ยชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ของกองทพั บกเสมือน ทรัพย์สินของกองทัพบก ให้การสนับสนุนทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร ดูแล เป้าหมายใหส้ อดคลอ้ งกับกองทัพบก 2.ด้านการสง่ เสริมการสรา้ งชุมชนแห่งการเรยี นรู้ของกองทัพบก ดว้ ยการ ยอมรับผลงานที่เกิดขึ้น จากกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ และดึงชุมชนเข้ามาร่วมกัน ทำงาน ให้เกิดการบรู ณาการในงานมากยิ่งขนึ้ ส่งเสรมิ ให้มจี ดุ ยนื ท่เี หมาะสม และ มสี ่วนตอ่ ความสำเรจ็ ของกองทพั บก มุมมองตอ่ การเรียนรู้ 1. การเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ แต่เรามักจะมองไม่เห็นว่า เกิดการ เรยี นรู้ทดี่ ีข้ึน 2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการดูเอกสารของคนอ่ืน แต่เกิดจากการทำ ความเขา้ ใจ ในตรรกะ หรอื วิธคี ดิ ของคนอื่น

เทคโนโลยสี ารสนเทศ 1. ชว่ ยใหเ้ ราแลกเปล่ยี นความเข้าใจ และความคิดกันได้กว้างขวางข้ึน 2. หัวใจของการแลกเปลี่ยน คือ ความสนใจร่วมกัน ใส่ใจความคิดของกัน และกัน การหาโอกาสเรยี นรู้ 1. ถา้ มปี ัญหาเกย่ี วกบั การเรียนรู้ ใหม้ องหาแบบแผน / สาเหตขุ องการมีส่วน ร่วม และการแยกตัวของสมาชิก 2. เม่ือมกี ารนำความรูไ้ ปใช้ในบรบิ ทอืน่ หรือมกี ารสง่ ผา่ นข้อมลู ขา่ วสารไปยัง อีกหน้วยงานหนึ่ง ให้ติดตามเรียนรู้การปรับเปลี่ยน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และการแผลความหมายใหม่ 3. รบั รู้การเกิดขึน้ ของวธิ ปี ฏิบตั ใิ หมๆ่ ในท่ไี กลหูไกลตา 4. การเรียนรู้ท่ีเกดิ จากชุมชนแห่งการเรียนรู้กม็ ีความสำคัญ ไดแ้ ก่ การดึงดูด สมาชิกใหม่ การตอบสนองสิ่งกระตุ้นจากภายนอก การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชน อื่นๆ

ข้อควรระวัง 1.ความพยายามที่จะเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก มาเข้าไว้ในลักษณะของเอกสาร อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดเป็นขยะของข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่ใช่ผู้ ปฏิบัติจริง สุดท้ายกำลังพลก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ในเรื่องประสบการณ์ จากเพื่อนร่วมงาน 2. ให้มีการเรียนรู้ใกล้ชิดกับการปฏิบัติให้มากที่สุด อย่าด่วนหลวมตัวที่จะ สกัดความรู้ความรู้จาก ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกองทัพบกหรือเปลี่ยนความรู้ จากชุมชนแหง่ การเรยี นรู้ของกองทัพบกไปเปน็ หลักสตู รเพ่ือการฝกึ อบรม แนวคิดปัจจุบัน เปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวความรู้ ไปสู่การเชื่อมต่อระหว่าง บุคคล อย่าสร้างห้องสมุดที่เต็มไปด้วยเอกสาร ให้สร้างบัตรรายชื่อบุคคล (card catalog) เพ่อื ช่วยในการเช่อื มต่อระหวา่ งบุคคลต่อบุคคล ความท้าทายสำหรบั ชุมชนแหง่ การเรียนรขู้ องกองทพั บก ปัญหาสำคัญของชุมชนที่กำลังเติบโต คือ การที่สมาชิกสูญเสียความ สนใจ และปล่อยใหผ้ ูป้ ระสานงานรับผิดชอบไปคนเเดียว เมื่อผปู้ ระสานงานหันไป ทำงานอ่ืน ชมุ ชนกล็ ม่ สลาย ปัญหาสำคัญของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่สนใจอยู่แต่ ความสำเรจ็ ของตนเอง ข้อเสนอแนะ การจัดการความรู้จะสัมฤทธิ์ผลได้ จำเป็นต้องใช้ตัวช่วยอันได้แก่ การ สรา้ งชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ เพอื่ ให้เกดิ ความตอ่ เน่ือง ในการแลกเปลย่ี นเรียนรู้ คือ จดั ให้มีเวทีพบปะกัน เพือ่ แลกเปล่ียนความคิด เพอ่ื สรา้ งความต่นื ตัว ความไว้เนื้อ เชื่อใจ ความรู้สึกร่วม ส่งเสริมการติดต่อระหว่างสมาชิกของชุมชน จัดตั้งกลุ่มผู้ ประสานงานการจัดการความรู้ที่แข็งขัน ไม่จำเป็นว่าสมาชิกทุกคนจะมีส่วนรว่ ม อย่างเท่าเทียมกัน สนับสนุนกลุ่มแกนด้วยการให้เป็นที่รับรู้ของชุมชน และไม่ รบกวนเวลาเพ่ิมมากเป็นพิเศษจากงานประจำ

ความท้าทายด้านเทคนิคทำให้การติดต่อ การให้ข้อมูล และการเข้าถึง ชุมชนเปน็ เรอื่ งง่าย เชน่ การใช้ Software computer ทีใ่ ช้ง่าย และคุ้นเคย ความท้าทายสำหรบั สมาชิก คอื การรว่ มกนั แก้ปญั หา การพดู ถงึ ปัญหา ของตนเอง ตอ่ หนา้ ผูค้ นจำนวนมากทเี่ ราไม่รูจ้ ัก ให้สมาชกิ ท่มี วี ัยวฒุ ิซ่ึงคนยอมรับ เป็นผู้ขอความช่วยเหลือ และหาผู้ที่มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ไปร่วมอยู่ใน เวที ผู้ประสานงานช่วยกระตุ้นให้อธิบายหลักคิดของข้อเสนอ เพื่อให้สมาชิก อภิปรายไปที่สมมติฐาน ที่ใช้และเลือกการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มขนาด เล็ก 2-3 คน อาจใชเ้ ป็นจุดเร่ิมตน้ สำหรบั การสรา้ งชุมชนได้ การทบทวนการทำงาน AAR (After Action Review) อีกหนึ่งกิจกรรมที่ควรนำมาประกอบการจัดการความรู้ เพื่อสร้างชุมชน แหง่ การเรยี นรูใ้ ห้เกิดความตอ่ เน่ืองและเป็นรูปธรรม ซง่ี ในการปฏิบ้ติงานทุกๆวัน เราใชก้ ิจกรรมพวกนใ้ี นการบรหิ ารจัดการกับปญั หาการปฏิบัตงิ านที่เกิดขึน้ อยู่แล้ว แต่ไม่มีรูปแบบตายตัว เช่น การทบทวนการทำงาน AAR (After Action Review) เป็นการนำงานที่ปฏิบัติมาประเมินว่า “ทำอะไรได้ดี “ และมีปัญหา

อะไรเกิดขึ้นระหว่างทำงาน ซึ่งปัญหาในการทำงาน คือ โอกาสในการพัฒนางาน การทำ AAR ท่ดี ี ควรทำเปน็ กลุม่ จะทำให้ได้ความคดิ ที่หลากหลาย โดยถา้ ทำเป็น ประจำ จะทำให้ร้วู ่าทุกปญั หามแี นวทางแกไ้ ข After Action Review (AAR) 12 ปัจจุบันกองทัพบกมีการประชุมภายในหน่วยงานแต่ละหน่วยประจำวนั อยแู่ ลว้ ถ้าเราสร้างนิสยั ในการทบทวนการทำงาน AAR อยเู่ ป็นประจำ ทำให้เกิด พฤติกรรมการเรียนรู้ และปฏิบตั บิ ัตจิ ริง สง่ ผลใหเ้ กิดประโยชน์สงู สุดในการทำงาน ซึ่งในการทำ AAR จะทำหลังจากทำงานเสร็จทันที จะทำให้ได้ AAR ที่ดี และมี คณุ ภาพ โดยมวี ธิ ีทำดงั น้ี 1. เขียนส่งิ ทห่ี วังว่าจะไดร้ บั จากการทำงานนน้ั 2. งาน /ขั้นตอนทีท่ ำได้ดี 3. งาน/ขนั้ ตอนทที่ ำได้ไม่ดี 4. อุปสรรคทพ่ี บ 5. งาน / ขัน้ ตอนทต่ี ้องการปรับปรงุ 6. ส่งิ ที่ชอบในงาน / กจิ กรรม

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า กิจกรรมการทบทวนการทำงาน / การ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับแบบประเมินในแต่ละสว่ นงานที่ได้สร้าง ขนึ้ มาเพ่อื ประเมนิ ในด้านต่างๆ กองทัพบก จึงควรสร้าง “โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกองทัพบก (RTA CoP)” ใหเ้ กดิ ขนึ้ เพอ่ื ให้เกดิ ความตอ่ เน่อื ง ยงั่ ยนื ในการพฒั นากระบวนการ ทำงานอย่างมีแบบแผน และมีตัวชี้วัดในการปฏิบัติในแต่ละส่วนงาน ซ่ึง ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 3 ประการ คอื (1) นำทฤษฎีการจัดการองคค์ วามรู้ (KM) มาสู่การปฏบิ ตั ใิ ห้เกิดประโยชน์แก่ การปฏบิ ตั ิงานจรงิ (2) เพ่อื กระตนุ้ ใหเ้ กิดการสื่อสารทั่วกองทพั บกดา้ นการจัดการองค์ความรู้ (3) เพ่ือเพม่ิ พูนประสบการณ์ การใช้เครอื่ งมือ ชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ของ กองทพั บกในกระบวนการ การจดั การความรู้ แนวทางดำเนินการในการสรา้ งชุมชนแหง่ การเรียนรู้ ได้กำหนดไว้เป็นแนวทางเบ้อื งต้น ดงั นี้ ➢ การประชาสัมพันธภ์ ายในกองทพั บก และ นขต.ทบ. (ใหห้ น่วยต่างๆ สร้างชมุ ชนแห่งการเรียนรใู้ นส่วนของหน่วยตนเองใหเ้ กิดอยา่ งเปน็ รปู ธรรม) ➢ ทำหนงั สือเวียน เชญิ ชวน ขา้ ราชการ ลกู จา้ ง รว่ มเป็นสมาชกิ ชุมชน แหง่ การเรียนรู้ ➢ เชิญสมาชกิ ประชุมปรึกษาหารือ รว่ มคิด ร่วมทำกจิ กรรมการ แลกเปล่ียนเรียนรคู้ วามรู้ตามหัวขอ้ ทอี่ ยู่ในความสนใจของสมาชกิ ➢ ประสานงานเร่ืองสถานทีป่ ระสานงานบุคคลและงานธรุ การอนื่ ➢ จัดให้มีการแลกเปลยี่ นเรยี นรูใ้ นบรรยากาศท่ีไมเ่ ป็นทางการ ➢ จดั ทำสรปุ การเสวนาของ ชุมชนแหง่ การเรยี นร้ขู องกองทัพบกเพอ่ื เผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น สง่ เสริม เป็นระยะ ๆ ➢ ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน โดยผ้ปู ระสานงานการจัดการความรู้ ต้องทำหน้าท่ีเปน็ ผ้ปู ระสานงาน ให้กับโครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลา รวมถึงการกระตุ้นสง่ เสรมิ และให้กำลังใจจากผูบ้ ังคับบญั ชา โดยเฉพาะอย่างย่ิงใน

ระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้วติดตาม ประเมินผลเพ่อื ทำการศึกษาผลท่ีเกิดขึ้นตอ่ ไป แนวทางในการกำหนดขอบเขตและเปา้ หมายการจดั การความรู้ Work Process ญ KM KM - - - - - ผ องค์กรสามารถใช้แนวทางการกําหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM เพื่อจะช่วยรวบรวมขอบเขต KM และนําไปกําหนดเป้าหมาย KM และ แผนการจดั การความรู้ ดงั น้ี แนวทางท่ี ๑ เป็นความรู้ทจ่ี าํ เปน็ สนับสนุนพนั ธกจิ / วิสยั ทศั น์/ ประเดน็ ยทุ ธศาสตร์ ในระดับของหนว่ ยงานตนเอง แนวทางที่ 2 เปน็ ความรู้ที่สําคญั ต่อองค์กร แนวทางท่ี 3 เป็น ปญั หาทีป่ ระสบอยู่ และสามารถนํา KM มาช่วยได้ หรือ แนวทางอ่ืนนอกเหนอื จากแนวทางที่ 1,2,3 ก็ได้ ทีห่ น่วยงานเห็น วา่ เหมาะสมื โดยใช้ หลกั การ PDCA เข้ามาพิจารณาประยุกต์กบั KM ดงั น้ี





เคร่อื งมือในการสรา้ งความสมั พนั ธร์ หวา่ งปัญหากบั สาเหตุ แผนผงั กา้ งปลา (Fish Bone Diagram) เรียกเป็นทางการว่า แผนผังสาเหตุและผล ( Cause and Effect Diagram) แผนผังสาเหตุและผลเป็นแผนผังที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ปัญหา (Problem) กับสาเหตุทั้งหมดที่เป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาน้ัน (Possible Cause) โดยแผนผังนี้มีลักษณะเหมือนก้างปลาที่เหลือแต่ก้าง ความหมายของผังก้างปลา คือ \"เป็นแผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็น ระบบระหว่างสาเหตุหลายสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาหน่ึ ง ปัญหา\" การกำหนดปัจจัยบนกา้ งปลา หลกั การ 4M 1E เปน็ กลมุ่ ปจั จยั (Factors) เพ่ือจะนำไปสู่การแยกแยะสาเหตุตา่ ง ๆ 1.Man กำลังพลทกุ ระดับของกองทัพบก 2.Machine อุปกรณอ์ ำนวยความสะดวกภายในหน่วยงาน 3.Material วัตถุดบิ หรอื อปุ กรณอ์ น่ื ๆ ที่ใช้ในกระบวนการ 4.Method กระบวนการทำงาน 5.Environment อากาศ สถานที่ ความสว่าง และบรรยากาศการทำงาน

บุคคลสำคัญทดี่ ำเนนิ การจดั การความรู้ของกองทพั บก การจัดทำ KM จำเป็นต้องมีคณะทำงาน มีการแบ่งบทบาทการทำงาน เพ่ือให้ดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรืน่ และตอ่ เน่ือง ดงั น้ี ➢ ผู้บงั คับบัญชาระดับสงู สุด (CEO) ถ้าผู้บริหารสูงสุด เห็นคุณค่าและ ดำเนินการผลกั ดัน KM ผบู้ ริหารสูงสุดควรเปน็ ผรู้ ิเรม่ิ กิจกรรมจัดการความรู้ โดย กำหนดตัวบุคคลที่จะทำหน้าที่ ในการบริหารและกำกับดูแลกิจกรรมของการ จดั การความรู้ ซ่ึงควรเป็นผบู้ งั คับบัญชาระดับสงู ➢ ประธานคณะขบั เคลอื่ นการจัดการความรู้ ทบ. : จก.กพ.ทบ. (คณุ เอื้อ : CKO) คือ ผูบ้ รหิ ารทีท่ ำให้เกิดผลงาน KM ➢ เลขานุการ (คณุ อำนวย) คอื ผ้อู ำนวยความสะดวกในการจดั การ ความรู้ โดยเชอ่ื มโยงระหว่างผู้ปฏิบัตกิ ับผบู้ ริหาร รวมถงึ เชอ่ื มโยงระหว่างภายใน องค์กรและภายนอกองค์กร ➢ กำลังพลทุกนายของ ทบ. (คณุ กิจ) คือ ผปู้ ฏบิ ัติงานตัวจริงของการ จดั การความรู้ ➢ กำลังพลทุกนายของหนว่ ยงาน (คุณลขิ ติ ) คือ ผู้ทำหน้าท่บี ันทกึ ความรใู้ นระหวา่ งการประชมุ กลมุ่ โดยจบั ประเด็นและบันทกึ ความรู้ (ปรับมาใชใ้ น การจดบันทึกประชุมประจำวัน / หรือการประชุมปรึกษาปัญหาในการทำงาน แล้วสรา้ งแนวทางการแกไ้ ขไปพร้อมกันเลยก็ได้ ➢ ผปู้ ระสานงานการจดั การความรู้ (คณุ ประสาน) คือ ผ้ทู คี่ อย ประสานเชอื่ มโยงเครอื ขา่ ยการจดั การความรรู้ ะหว่างสว่ นงาน ➢ สารสนเทศหน่วยงาน (คุณวศิ าสตร์) คือ นกั IT ทีเ่ ข้ามาช่วยเป็น ทีมงาน KM

บทสรุป การจัดการความรู้ของกองทัพบก ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการ ผลักดันให้กองทัพบกนั้น ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามแผนแม่บทการจัดการความรู้ของ ทบ. เนื่องจากการจัดการ ความรู้จะช่วยให้กองทัพบกสามารถเก็บ รวบรวมความรู้ซึ่งอยู่ที่ตัวบุคลากรมา เป็นความรู้ของกองทัพบกได้ แต่อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ของกองทัพบก นั้น ก็มีความยุ่งยากและความซับซ้อนในการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน ขั้นตอนการเผยแพร่ความรู้สำหรับกองทัพบกทีมีกำลังพลหลายระดับ โดยมีทั้ง งานนโยบาย งานตามวงรอบ และงานที่ได้รับมอบหมาย ทำให้เกิดปัญหาในการ ปฏบิ ตั ิ เมอ่ื เกดิ การหมุนเวียนปรับเปล่ยี นตำแหนง่ ตามแนวทางการรบั ราชการ ทำ ให้การปฏิบัตงิ านในส่วนงานน้ันๆ อาจเกดิ ความไม่ต่อเน่อื งได้ อีกทั้ง การนำความรู้จากความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงานหลักมาใช้ก็ สามารถทำไดย้ ากเน่อื งจากขาดความเขา้ ใจและความตระหนกั ถงึ ความสำคัญและ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำการจัดการความรู้มาใช้ ส่วนใหญ่กำลังพลของ กองทัพบก จะได้รับการถ่ายทอด หรือให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้ใน รูปแบบของเนือ้ หาทางวิชาการที่ยงั ไมส่ ามารถเขา้ ถงึ กำลงั พลทกุ ระดบั ได้ ส่งผลให้ การจดั การความรู้ในข้นั ตอนการนำความรไู้ ปใช้ทำได้ ไมเ่ ต็มท่ี เน่อื งจากกำลังพล เหล่านั้นไมอ่ ยูใ่ นสภาพแวดล้อมท่ีสามารถเขา้ ถึงข้อมลู ความรู้หรือนำความรูท้ ี่ถกู รวบรวมไวม้ าเพ่ือแก้ปัญหาในการทำงานได้ และสง่ ผลให้การจัดการความรู้ทำได้ อยา่ ง ไม่เต็มประสทิ ธภิ าพ ดังนั้น แนวทางในการแก้ปัญหาข้างต้น คือ การสื่อให้กำลังพลของ กองทพั บกในทกุ ระดับตระหนกั ถึงความสำคญั ของการนำการจัดการความรู้มาใช้ ให้เกิดประโยชน์กบั งานท่ีได้รับมอบหมาย ซึ่งในความเปน็ จริง การจัดการความรู้ สอดแทรกอยู่ในทุกๆ กิจกรรมของการปฏิบัติงานท้ังสิ้น ยกตัวอย่างเช่นแนวทาง ในการทำงานก็เปลย่ี นแปลงไป เชน่ ➢ งานท่ใี ช้แรงงานกลายเปน็ งานทีต่ อ้ งใช้ความรู้ ➢ งานท่ีทำซำ้ เหมือนเดิมทกุ วนั กลายเป็นงานสรา้ งสรรค์ ➢ งานท่ใี ชท้ กั ษะเพียงด้านเดยี ว เป็นงานท่ีจำเป็นต้องใชท้ กั ษะหลายๆ ดา้ น

➢ งานตายตัวตามหนา้ ท่กี ลายเปน็ งานยดื หย่นุ ตามโครงการ ➢ งานใครงานมันเปลี่ยนเปน็ งานของทีม ➢ ในปัจจบุ ันการทำงานก็มีปัญหาเกยี่ วกบั ความรู้ เช่น ➢ เวลามปี ัญหาในการทำงานไมท่ ราบวา่ จะไปถามผทู้ ี่เกง่ ในเรื่องน้ันๆ ได้ท่ีไหน ➢ การแบ่งปัน แลกเปล่ยี นความร้ทู ำในวงแคบ เฉพาะคนทสี่ นทิ สนมกนั เท่านนั้ ➢ ไม่ได้ถือว่าการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน จึงต้องให้มี ปัญหาเสียก่อนถงึ จะมีการแลกปัน ➢ และจะแลกปันกันเฉพาะเรอื่ งที่เปน็ ปญั หาเท่านั้น ➢ ไม่มีการเผยแพร่แบ่งปันความรู้ที่ได้จากการไปร่วมประชุม อบรม สัมมนา ใหแ้ ก่คนอื่นๆ ท่ีไม่ไดไ้ ป ➢ การค้นหาขอ้ มูลท่ีต้องการสว่ นใหญ่ใชเ้ วลานาน หาไมค่ อ่ ยพบ ➢ ข้อมูลทห่ี าได้มักจะไม่ทันสมยั ไมส่ มบรู ณ์หรอื ไม่ตรงตามความต้องการ ➢ การทำงานไมเ่ กดิ การตอ่ ยอดงาน ตอ้ งเร่มิ ท่ศี ูนย์อยูเ่ รอื่ ยไป ➢ มกั มกี ารทำงานผดิ พลาดซา้ ๆ ในเรือ่ งเดมิ ๆ เพราะขาดความรูท้ ่ีถกู ตอ้ ง ➢ ไมค่ อ่ ยมคี วามคิดสร้างสรรคใ์ หมๆ่ ส่วนมากจะซา้ ๆ กัน ➢ การฝึกอบรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะจะมีการนำไปใช้ประโยชน์แค่ 10 % และภายใน 2 สัปดาห์หากไม่ได้นำกลับมาใช้อีก ทักษะหรือความรู้ ตา่ งๆ จะหายไปรว่ ม 87 % ➢ ความรู้อยู่ที่ตัวบุคลากร เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกษียณอายุ ลาออก ย้าย เปลีย่ นหนา้ ที่ ก็เกิดผลกระทบกับงานและกองทัพบก จากทกี่ ล่าวมาขา้ งตน้ เป็นการเปลย่ี นแปลงที่เกดิ ขนึ้ ทั้งส้ิน ต้องมี กระบวนการบริหารจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลง นั้นก็คือ กระบวนการ จัดการความรู้ ของกองทัพบกที่เป็นรูปธรรม และควรสร้างความต่อเนื่องของ กระบวนการใหเ้ กดิ ประโยชนต์ ่อการพฒั นาระบบงานของกองทพั บกให้มแี บบแผน มาตรฐาน เป็นไปตามท่ีกองทพั บกต้ังเป้าหมายไวใ้ หบ้ รรลุผลตอ่ ไป

ภาคผนวก ตัวอย่างงานทส่ี ามารถนำการจัดการความรู้มาใช้ไดใ้ นประจำวัน งานธุรการ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับงานเอกสาร หลักฐาน ระเบียบ คำส่ัง ต่างๆ ปัญหาทีพ่ บในการปฏบิ ัติงานสว่ นใหญ่ไปที่ การสบื ค้นเอกสาร การสูญหาย การปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบสารบัญ และอีกมากมาย ถ้าเรามองในมุมของ การนำการจดั การความรมู้ าใช้ในส่วนงานน้ี คือ ปญั หาคอื อะไร เราใช้วิธีไหนแก้ไข แลว้ ปญั หาเกดิ ขึน้ อกี หรือไม่ อันน้ีก็ถอื ว่าเป็นการจดั การความรู้เกี่ยวกับงานธรุ การ แล้ว เปน็ ตน้ งานพัฒนาระบบงาน ท่นี ำเทคโนโลยมี าช่วยลดภาระงาน งานประจำ เช่น คู่มือการจัดสัมมนาที่ต้องทำทุกปี แผนผังการ ประสานงานในส่วนงานที่รับผิดชอบ แผนประจำปีในแต่ละงานที่รับผิดชอบ แผนงานประจำสปั ดาห์ เป็นตน้ แนวทางการพฒั นากระบวนการปฏบิ ัตงิ าน ส ส ส ผพ ไ สรปุ ข้นั ตอนกระบวนการจดั การความรู้ 1. แต่งต้งั คณะทำงาน KM ของสว่ นงาน 2. รายงานผล/ปญั หา/อปุ สรรค 3. ทบทวนความรูท้ ีจ่ ำเป็นของสว่ นงาน 4. ปรับปรุง 5. พจิ ารณากำหนดประเด็นความรูท้ ต่ี รงกบั ความตอ้ งการของสว่ นงาน 6. เรียนรูท้ ำใหเ้ ปน็ ส่วนหนึง่ ของงาน 7. แบง่ ปนั แลกเปลี่ยนความรู้ 8. จัดทำแผนจัดการความรู้ (KM)ของส่วนงาน 9. ทำความร้ใู ห้เข้าถึงไดง้ า่ ย 10. สรา้ งและแสวงหาความรู้ตามแผนจัดการความร(ู้ KM)ของสว่ นงาน 11. ประมวลและกลั่นกรองความรู้ 12. จัดความรูท้ ี่ไดใ้ ห้เปน็ ระบบ

การกำหนดโครงสรา้ งทมี งานการจดั การความรู้กองทัพบก (CKO) ้ ้ ่ๆ ้ ้ ่ ่ณ ้- - ้ - ่ๆ - ้์ ้่ ้้ ณณ ณ ้ ้ ้

ตวั อยา่ งกิจกรรมการจดั การความรู้ทน่ี ำมาใชใ้ นงาน 1. สร้างตารางสรปุ กระบวนการบรหิ ารจดั การในงานส่วนท่รี บั ผดิ ชอบ 2. จัดทำคู่มือปฏิบตั ิงาน ประกอบการทำงานในสว่ นที่รบั ผิดชอบ (สามารถทำได้ระดบั บคุ คล ไปจนถงึ ระดบั หน่วยงาน) เพ่อื ให้เกิดความตอ่ เน่ือง ในงานเมอื่ มกี ารปรับเปลย่ี นตำแหน่งงานของบคุ ลากรในหนว่ ย

3. การทำตารางแผนการปฏิบตั งิ าน รายบุคคล (Gantt Chart) 4. การนำระบบสารสนเทศมาช่วยในการแก้ปัญหาความซ้ำซ้อน หรือ ความยงุ่ ยากในการสบื ค้นขอ้ มลู ของหนว่ ยงาน

การติดตามขอ้ มลู ขา่ วสารของการจัดการความรู้กองทัพบก ผ พฒ พ ศพ ๑ญ พ โ .๐๒-๒๙๗-๗๐๑๑ โ . . ๙๗๐๑๑

กองทัพบก เพ่อื ชาติ ศาสน์ กษตั รยิ ์ และประชาชน ๒๕๖๓


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook