คูม่ ืออบรมแกนนำหมู่บำ้ น เศรษฐกิจพอเพยี งจงั หวดั จนั ทบุรี นางรสนา หลีนอ้ ย นวช.ชานาญการ กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน จังหวดั จันทบรุ ี
คำนำ กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ในวโรกาสต่าง ๆ มาเป็น หลกั ในการพฒั นาหมบู่ า้ นและชมุ ชน ตัง้ แต่ปี 2549 ซ่งึ สอดคล้องกับภารกจิ หลักของกรมการพัฒนาชุมชน คือ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เกณฑ์การการประเมิน กระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด และการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือ ความสุข มวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) มีเป็นตัวชี้วัดและแนวทางในการ พัฒนาหมูบ่ ้าน ซ่งึ จังหวัดจันทบรุ ี มพี ้นื ทีห่ ม่บู ้านที่ดำเนินงานตามโครงการดงั กล่าวแล้ว จำนวน 205 หมู่บ้าน และในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการพัฒนาหมู่บ้าน เศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 หมบู่ า้ น ดำเนินการในพื้นที่ 10 อำเภอ เอกสารอบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงฉบับน้ี จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่หลักการ สาระสำคัญของการดำเนินงานตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาหมู่บ้านตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่แกนนำ พัฒนาหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียง ในการเรยี นรู้ และนำหลักปรชั ญาชองเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้ ในการพัฒนาหมู่บา้ นใหเ้ ป็นหมบู่ ้านเศรษฐกิจพอเพียง ทีม่ เี ป้าหมายใหป้ ระชาชนในหมู่บ้านมีวิถีชีวิต แบบพอเพียง มีความสุข สามารถเชื่อมโยงสู่การพัฒนา ในมิติต่าง ๆ ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล และการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้าน ไปสู่วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือ “ประเทศไทยมคี วามมนั่ คง ม่งั คงั่ ย่ังยนื เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพฒั นาตามหลกั ปรชั ญา ของเศรษฐกิจพอเพียง” ไดอ้ ยา่ งเป็นรปู ธรรม กลุ่มงานสง่ เสริมการพฒั นาชุมชน สำนกั งานพัฒนาชมุ ชนจงั หวดั จนั ทบุรี กุมภาพนั ธ์ 2563
สารบญั หนา้ คำนำ สารบญั ส่วนที่ 1 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง หลกั การทรงงาน 1 และการประยกุ ตใ์ ช้ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง - ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง 1 - หลกั การทรงงาน 4 - การประยกุ ตใ์ ช้ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง 7 สว่ นที่ 2 การพฒั นาหมู่บา้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง 10 - ความเปน็ มาของการพฒั นาหม่บู า้ นเศรษฐกิจพอเพียง 10 - กระบวนการพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง 11 - กระบวนการพฒั นาหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพียง ปงี บประมาณ พ.ศ. 2563 11 กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำพัฒนาหมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพยี ง 13 กิจกรรมท่ี 2 สมั มนาการเรียนรู้วิถีชีวติ เศรษฐกจิ พอเพียง 15 กจิ กรรมที่ 3 การจัดทำแผนพัฒนาวิถชี ีวติ เศรษฐกจิ พอเพียง 16 กจิ กรรมที่ 4 การขบั เคล่ือนกิจกรรมพัฒนาวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพยี ง 18 กิจกรรมท่ี 5 ประชุมเชิงปฏิบตั ิการถอดบทเรยี นและประเมินผล 20 การพฒั นาหมบู่ ้านเศรษฐกิจพอเพียง สว่ นที่ 3 แกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและครอบครัวพัฒนา 22 - แกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง 22 - ครอบครวั พฒั นา 23 - แผนชวี ิตครวั เรือนพัฒนา 24 สว่ นท่ี 4 เครือ่ งมือในการพัฒนาหมูบ่ ้านเศรษฐกจิ พอเพียง 31 - ตวั ช้ีวัดหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียง 6 X 2 (6 ด้าน 12 ตวั ชวี้ ัด) 31 - ตัวชวี้ ัดหมูบ่ ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย (4 ดา้ น 23 ตัวชว้ี ดั ) 35 - การประเมินความ “อยู่เยน็ เป็นสุข” หรอื ความสุขมวลรวม 48 ของหมบู่ า้ น/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) - การจัดทำแผนพฒั นาหมูบ่ ้าน 60 - ศนู ย์เรียนร้แู ละขับเคลื่อนปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียง 75 - ตวั อย่างป้ายประชาสัมพนั ธห์ ม่บู า้ นเศรษฐกจิ พอเพียง 75 ส่วนท่ี 5 โครงการพัฒนาหมู่บา้ นและชมุ ชนทอ้ งถน่ิ ตามหลักปรชั ญา 76 ของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
1 ส่วนที่ 1 ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง หลกั การทรงงาน และการประยกุ ตใ์ ชป้ รชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดํารัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ผสกนิกรชาวไทย มานับตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำรงชีวิตโดยยึดหลักความพอเหมาะพอดี ความมีเหตุผล และความไม่ประมาท ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรงถือปฏิบัติด้วยพระองค์เอง มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และได้ทรงเตือนล่วงหน้าให้มีความระมัดระวังในการพัฒนาประเทศให้มีความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น โดยได้ทรงมี ปฐมพระราชดาํ รัสวา่ ดว้ ยเศรษฐกจิ พอเพียง ความว่า การตระหนักอย่างจริงจังถึงความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้เริ่มขึ้นภายหลังวิกฤติ เศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรง ย้ำใหเ้ ห็นความสำคญั ท่ีมเี ศรษฐกิจแบบ “พอมพี อกนิ ” พฒั นาคนให้สามารถ “อุม้ ชูตวั เองได”้ และไดท้ รงอธิบาย ความหมายของเศรษฐกจิ พอเพยี ง
2 การน้อมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้จะช่วยแก้ไขวิกฤติทางเศรษฐกิจ และปัญหาของ สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน เนื่องจาก 1) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นหลักการที่วา่ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ด้วยการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนอย่างพอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย และใช้อย่างคุ้มค่า หรือหากมีการปลูกพืชผลก็ให้ เพียงพอกับความต้องการ ริโภคครัวเรือนเป็นอันดับแรก เมื่อเหลือจากการบริโภคจึงมาเป็นการผลิตเพื่อการค้า 2) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้มีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความถนัด ทั้งในและนอก ภาคการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์หัตถกรรม การแปรรูปอาหาร การค้าขาย และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เพ่ือเป็น การสร้างงาน สร้างรายได้ และช่วยใหเ้ กิดการกระจายรายไดอ้ ย่างทั่วถึง 3) ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้ังอยู่ บนพื้นฐานของความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของคนในชุมชน ในการร่วมแรงร่วมใจเพื่อสร้าง ความมั่นคง ให้กับสถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน และสังคมโดยรวม ตลอดจนการธํารงรักษาไว้ซ่ึงขนบธรรมเนียม ประเพณที ่ีดีงามของไทยให้คงอย่สู ืบไป เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกจิ เพอ่ื ใหก้ า้ วทันตอ่ โลกยุคโลกาภิวตั น์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตผุ ล รวมถงึ ความจำเปน็ ทจี่ ะต้องมีระบบภมู ิคุ้มกันในตวั ท่ีดพี อสมควรต่อการมผี ลกระทบใด ๆ อันเกิด จากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความ ระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และ ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจ ในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวติ ดว้ ยความอดทน ความเพยี ร มีสติ ปญั ญา และความรอบคอบ เพ่อื ใหส้ มดุลและพร้อมต่อการรองรบั การเปล่ียนแปลงอย่างรวดเร็ว และกวา้ งขวาง ท้ังดา้ นวัตถุ สงั คม สง่ิ แวดลอ้ ม และวฒั นธรรม จากโลกภายนอก ไดเ้ ป็นอย่างดี
3 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักคิดและแนวทางการปฏิบัติตน ในการดำเนินชีวิต โดยเน้น การปฏิบัติตนบนทางสายกลาง เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ และรอดพ้นจากวิกฤติต่าง ๆ ที่อาจเกิดข้ึน โดยคุณลักษณะทีส่ ำคัญของความพอเพยี ง มี ๓ ประการ คือ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจําเป็นและเหมาะสมกับฐานะตนเอง ไม่น้อย เกินไป ไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบยี นตนเองและผู้อื่น ซึง่ เมอ่ื พิจารณาจากสภาพสังคมและวฒั นธรรมไทย จะพบว่า ความพอประมาณนั้น นับเป็นแนวปฏิบัติที่มีมายาวนานแล้ว สังเกตได้จากการดำเนินชีวิตของคนไทย “พออยู่ พอกิน” “พึ่งตนเอง” “ประหยัด เรียบงา่ ย และได้ประโยชน์สูงสดุ ” โดยมุง่ เน้นใหม้ ีการใชท้ รพั ยากรทต่ี นเองมีอยู่ หรือที่ชุมชนท้องถิ่นของตนมีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ก่อนที่จะแสวงหาแหล่งทุน วัตถุดิบ หรือสิ่งของจาก ภายนอก มีการวางแผนการใช้ให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นการใช้อย่างรู้คุณค่า ดแู ลรักษาสิ่งท่มี ีและพฒั นาตอ่ ยอดให้ดยี ง่ิ ข้นึ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง และการดำเนินการอย่าง พอเพียงนั้นต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักคุณธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยคำนึงถงึ ปจั จัยท่ีเกย่ี วข้อง ตลอดจน คำนึงถึงผลทคี่ าดวา่ จะเกดิ ขึน้ จากการกระทำน้ัน ๆ อย่างรอบคอบ ถ้วนถี่ “รูจ้ ุดออ่ น จดุ แขง็ โอกาส อุปสรรค” และคาดการณ์ผลท่ีจะเกิดข้ึนอยา่ งรอบคอบ “รูเ้ ขา ร้เู รา รู้จักเลือกนําส่ิงที่ดี และเหมาะสมมาประยุกต์ใช้” ทั้งนี้ ความมีเหตุผลในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายที่สะท้อนถึง ความเข้าใจผลที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำ ณ สถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่ง โดยความมีเหตุผลจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยการสั่งสมความรู้ และประสบการณ์มาอย่างตอ่ เน่ือง มีการศึกษาขอ้ มลู อย่างเป็นระบบและรวู้ ิธปี ระมวล ปัจจัยที่ซับซ้อนมาประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจ เพื่อให้ความคิดและการกระทำอยู่ในกรอบ ที่ถูกต้องตามหลัก เหตุผล ดังนั้น ความมีเหตุผลในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการตัดสินใจและการปฏิบัติบนพื้นฐาน ของความรู้และประสบการณ์ 3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต มีการเตรียมตัวให้พร้อม รับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ เพื่อให้สามารถบริหาร ความเสี่ยง ปรับตัว และรับมือได้อย่างทันท่วงที โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้
4 ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี อาจเกิดขึน้ เองตามธรรมชาติหรอื เกดิ จากความไมป่ ระมาท ซง่ึ ตอ้ งดำเนนิ ไปพร้อม ๆ กับความมีเหตผุ ล และความ พอประมาณ หลีกเลี่ยงความต้องการ ที่เกินพอดีของแต่ละบุคคล เป็นการสร้างวินยั ในตัวเองให้เกิดขึ้นในระดับ บุคคลเพื่อปกป้องตัวเองจากกระแสบริโภคนิยม หรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากกระแส โลกาภิวัตน์ต่าง ๆ เป็นกลไกการรองรบั ผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ โดยดำเนินการ อยา่ งเป็นข้นั เป็นตอน เรม่ิ จากการ “แก้ไข ปญั หาทจี่ ดุ เล็ก” หรือ คิด Macro ทำ Micro ในการดำเนินชีวติ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยท้ังเงื่อนไขความรู้ และคณุ ธรรมเปน็ พน้ื ฐาน ดงั นี้ - ความรู้ คือ ความรเู้ ก่ียวกับวิชาการตา่ ง ๆ อยา่ งรอบด้าน ซึ่งจะช่วย พัฒนาทกั ษะการประกอบอาชีพ และการดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ โดยจำเป็นต้องมีความรอบคอบในการนําความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา ให้เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน เพื่อการวางแผน และความระมัดระวังในการนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ทุกขั้นตอน โดยนําหลักวิชาและความรู้เทคโนโลยที ี่เหมาะสมมาใช้ ทั้งในขั้นการวางแผน และปฏิบัติอย่างรอบรู้ รอบคอบ ระมดั ระวัง กล่าวคือ นาํ วชิ าการต่าง ๆ ที่เก่ยี วข้องมาศกึ ษาอย่างรอบดา้ น และมีความรอบคอบที่จะนํา ความรเู้ หลา่ นั้นมาพจิ ารณาให้เช่ือมโยง กนั เพอ่ื ประกอบการวางแผน ตลอดจนมคี วามระมัดระวังในขนั้ ของการปฏบิ ัติ - คุณธรรม คือ ความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียร และใช้สติปัญญา ในการดำเนินชีวิต ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ของบุคคล สังคม และประเทศชาติ เมื่อมีการน้อมนําปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน/หมู่บ้าน องค์กร และสังคมไทย จะนําไปสู่การพัฒนาที่สมดุลพร้อมรับ การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น และมีความยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สง่ิ แวดลอ้ ม และวัฒนธรรม หลักการทรงงาน ในการดำเนินการขับเคลื่อนการน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถี ชีวิตต้องมีการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดอื ดร้อนให้แก่พสกนิกรในทุกพื้นที่ได้อย่าง สอดคล้องกับภูมิสังคม ด้วยการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และยึดหลักการทรงงาน 23 ประการ ดังนั้น จึงควร น้อมนํามาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน/หมู่บ้าน และพัฒนาสังคมโดยรวมตอ่ ไป ซึ่งหลักการ ทรงงาน 23 ประการ ประกอบด้วย 1. ศึกษาข้อมูลอย่างเปน็ ระบบ การที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง เพื่อที่จะพระราชทานความช่วยเหลือได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตามความต้องการ ของประชาชน 2. ระเบดิ จากข้างใน หมายความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อม ที่จะรับการพัฒนาเสียก่อน มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้า ไปหาชุมชน หมู่บ้านท่ยี งั ไมท่ นั ไดม้ โี อกาสเตรยี มตวั หรือตง้ั ตัว 3. แกป้ ัญหาทจี่ ดุ เล็ก ทรงมองปัญหาในภาพรวม (Macro) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาจะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ (Micro) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่คนมักจะมองข้าม “...ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก…ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน เพอื่ ใหอ้ ยู่ในสภาพทคี่ ิดได้...”
5 4. ทำตามลำดับข้ัน ทรงเริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข ต่อไปจึงเป็นเรื่อง สาธารณปู โภคขนั้ พ้ืนฐาน และสิง่ จำเป็นสำหรบั ประกอบอาชีพ การพฒั นาประเทศตอ้ งสรา้ งพ้นื ฐาน คือ ความ พอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่ก่อน จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และเศรษฐกิจขั้นสูงโดย ลำดับต่อไป 5. ภูมสิ งั คม การพัฒนาใด ๆ ต้องคำนงึ ถงึ (1) ภูมปิ ระเทศของบรเิ วณน้ัน (ดนิ , นำ้ , ป่า, เขา ฯลฯ) (2) สังคมวทิ ยา (นิสยั ใจคอของผู้คน ตลอดจนวฒั นธรรมประเพณขี องท้องถ่ิน) 6. องค์รวม ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (Holistic) หรือมองอย่างครบวงจร ทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแกไ้ ขอย่างเช่ือมโยง 7. ไม่ติดตำรา การพัฒนาตามแนวพระราชดำริมีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลมและรอมชอมกับสภาพธรรมชาติ และส่งิ แวดล้อม และสภาพของสงั คมจติ วิทยาแหง่ ชุมชน 8. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชนส์ งู สดุ ทรงใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้ส่ิงที่มีอยู่ในภูมิภาคน้ัน ๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูง หรือใช้เทคโนโลยีที่ ไม่ยุ่งยากนัก “ใหป้ ลกู ปา่ โดยไมต่ ้องปลูกป่า โดยปล่อยใหข้ ึน้ เองตามธรรมชาติ จะไดป้ ระหยัดงบประมาณ” 9. ทำใหง้ ่าย (Simplicity) ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริโดยง่าย ไมย่ ุง่ ยากซับซ้อน ทรงโปรดทจ่ี ะทำสิ่งยากใหก้ ลายเปน็ ง่าย ทำสิ่งที่สลบั ซับซ้อนใหเ้ ข้าใจงา่ ย 10. การมสี ว่ นรว่ ม ทรงเป็นนักประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการ ของสาธารณชน “...ตอ้ งหัดทำใจให้กว้างขวางหนกั แน่น รู้จักรบั ฟงั ความคดิ เหน็ แมก้ ระท่ังความวพิ ากษ์วจิ ารณ์จาก ผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริง คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อัน หลากหลายมาอำนวยการปฏบิ ัตบิ รหิ ารงานใหป้ ระสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นน่ั เอง...” 11. ประโยชนส์ ว่ นรวม “..ใครต่อใครก็มาบอกว่า ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่าให้ ๆ อยู่เรื่อย แล้วส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่า คนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้น มิได้ให้แต่ส่วนรวมอย่างเดียว เป็นการให้ เพื่อตัวเองสามารถท่ีมีส่วนรวมที่จะอาศัยได้.”พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช มหาราช รชั กาลท่ี 9 ทรงระลกึ ถงึ ประโยชนข์ องส่วนรวมเปน็ สำคญั เสมอ 12. บรกิ ารทจี่ ดุ เดยี ว ทรงให้ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เป็นต้นแบบในการบริหาร รวมที่จุดเดียวเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงาน ราชการต่าง ๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว “...เป็นสองด้านก็หมายถึงว่า ทีส่ ำคญั ปลายทาง คือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของเจา้ หน้าทจี่ ะใหป้ ระโยชน์”
6 13. ใชธ้ รรมชาตชิ ่วยธรรมชาติ การเข้าใจถึงธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียด ถึงปัญหาของธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไข ปัญหาป่าเสื่อมโทรม โดยพระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก (ต้นไม้) ปล่อยให้ธรรมชาติ ช่วยในการฟ้ืนฟูธรรมชาติ 14. ใช้อธรรมปราบอธรรม ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติ และกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลักการ และแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ เช่น การนำน้ำดี ขับไล่น้ำเสยี การใช้ผกั ตบชวาบำบัดนำ้ เสีย โดยดดู ซมึ สิง่ สกปรกปนเปื้อนในนำ้ 15. ปลูกป่าในใจคน “...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง...”การที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมาจะต้อง ปลกู จติ สำนกึ ใหค้ นรกั ป่าเสียกอ่ น 16. ขาดทุนคอื กำไร “...ขาดทุนคือกำไร Our loss is our gain… การเสียคือการได้ ประเทศก็จะก้าวหน้า และการที่คนจะอยู่ดีมีสุขนั้น เป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้...” หลักการ คือ “การให้”และ “การเสียสละ” เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร “...ถ้าเราทำอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุด ที่เราเสียนั้นเป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาลหรืออีกนัยหนึ่ง คือ เงนิ ของประชาชน ถา้ อยากใหป้ ระชาชนอยดู่ กี นิ ดีก็ต้องลงทุน...” 17. การพึ่งตนเอง การพัฒนาตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้เขาแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้เขาสามารถอยู่ในสังคม ได้ ตามสภาพแวดล้อม และสามารถ “พึง่ ตนเองได”้ ในที่สุด 18. พออยู่พอกิน สำหรับประชาชนที่ตกอยู่ในวงจรแห่งความทุกข์เข็ญนั้นได้พระราชทานความช่วยเหลือให้เขา ได้สามารถอยู่ในขั้น “พออยู่พอกิน” เสียก่อนแล้ว จึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะที่ก้าวหน้าต่อไป “...ถ้าโครงการดี ในไม่ชา้ ประชาชนจะไดก้ ำไร จะไดผ้ ล ราษฎรจะอย่ดู ีกินดีขึน้ จะได้ประโยชน์ต่อไป...” 19. เศรษฐกจิ พอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้าน ซึ่งจะสามารถ ทำให้อยู่ได้อย่างสมดุลในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ปรัชญานี้สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน องคก์ ร และทุกภาคสว่ น 20. ความซอ่ื สตั ย์ สจุ ริต จริงใจต่อกนั “...ผู้ท่ีมีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ได้ มากกว่าผู้ทีม่ คี วามรมู้ าก แตไ่ มม่ ีความสจุ ริต ไม่มีความบรสิ ทุ ธ์ใิ จ...” 21. ทำงานอย่างมคี วามสขุ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราช รชั กาลที่ 9 ทรงพระเกษม สำราญและทรงมีความสุขทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน “...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกัน ในการทำประโยชน์ให้กบั ผอู้ ่ืน...”
7 22. ความเพยี ร : พระมหาชนก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ทรงริเริ่มทำ โครงการต่าง ๆ ในระยะแรกที่ไม่มีความพร้อมมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่ พระองคก์ ม็ ิได้ท้อพระราชหฤทัย ม่งุ มัน่ พฒั นาบ้านเมืองใหบ้ งั เกิดความร่มเย็น เปน็ สุข 23. รู้ - รกั - สามัคคี รู้ : การทเี่ ราจะลงมอื ทำสิ่งใดนนั้ จะต้องรู้เสียกอ่ น รถู้ งึ ปจั จยั ทง้ั หมด รถู้ งึ ปัญหา และรถู้ ึงวิธแี กป้ ัญหา รัก : เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนความแล้วจะต้องเห็นคุณคา่ เกิดศรัทธา เกิดความรักท่ีจะเข้าไป ลงมือปฏิบตั แิ กป้ ญั หานน้ั ๆ สามัคคี : เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามคั คกี ันเป็นหมู่คณะ จงึ จะเกิดพลงั ในการแกป้ ญั หาให้ลลุ ว่ งดว้ ยดี การประยุกต์ใช้ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเปน็ ทั้งวิธีการประกอบอาชีพและวิถีการดำรงชีวติ ทน่ี าํ ไปสู่ชวี ติ ท่ีมีความ ทุกข์น้อยลง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ชีวิตที่มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยมีจุดเน้นอยู่ที่การมีภูมิคุ้มกันที่ดีเพื่อให้ไม่ได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจคาดเดาล่วงหน้าได้ หรือหากได้รับผลกระทบก็สามารถฟื้นตัวได้ในเวลา รวดเร็ว พอสมควร การจะมีภูมิคุ้มกันที่ดีได้น้ันตอ้ งมาจากการพึ่งตนเองเป็นส่วนใหญ่ หมายถึง ใช้ทรัพยากรที่มี อยู่เองหรือหาได้งา่ ยในท้องถิ่นให้มากที่สุด ถ้าสามารถพึ่งตนเอง ได้มากเท่าไหร่ ภูมิคุ้มกันก็จะมีสูงมากข้ึน ไม่ว่า การเปล่ียนแปลงท่ีเกิดขึน้ จะมีความรุนแรง มากเพยี งใดกส็ ามารถจัดการได้ แต่การจะพึ่งตนเองได้น้ันจำเป็นต้อง เปน็ ผทู้ ม่ี คี วามพอประมาณ คือ ทำทกุ อยา่ งเท่าที่จะสามารถทำได้เอง ไม่ทำเกินกาํ ลัง ความสามารถหรือโลภมาก แต่ในขณะเดียวกนั กต็ อ้ งไม่ยืดยาด หรือเฉื่อยเนือย ดังนั้น ความพอประมาณจึงเปน็ วธิ ีการท่ีสำคัญท่ีจะหนุนช่วย ความสามารถในการพึ่งตนเอง ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและสัมฤทธิ์ผลได้จริง และเมื่อมีความพอประมาณแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องไปเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น สามารถดำเนินการทุกอย่างได้อย่างซื่อสัตย์สุจริต มีความเพียร มีความอดทน ตลอดจนมีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น นั้นก็คือ ความมีเหตุมีผลตามความหมาย ของเศรษฐกิจ พอเพยี ง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดํารัส เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินชีวิตด้วยความพอเพียง ซึ่งประกอบด้วย การรู้จักประมาณตน มีสติ มีความรู้ตัว รอบคอบ รู้จักผิดชอบชั่วดี มีความละอายชั่วกลัวบาป ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอา เปรยี บผอู้ ่นื “ทกุ คนต้องหม่ันใชป้ ัญญาพิจารณาการกระทำของตนใหร้ อบคอบอยู่เสมอ ระมัดระวงั ทำการทุกอย่าง ด้วยเหตุผล ด้วยความมีสติ และด้วยความรตู้ ัว” “...การรู้จักประมาณตน ได้แก่ การรู้จักและยอมรับว่าตนเองมีภูมิปัญญา และความสามารถในด้านไหน เพียงใด และควรจะทำงานด้านไหนอย่างไร...จะทำให้ คนเรารู้จักใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกบั งาน… สว่ นการรจู้ กั ประมาณสถานการณ์นน้ั ได้แก่ การรจู้ ักพิจารณาสถานการณ์ตา่ ง ๆ ท่ีเกิดขึ้นให้ ทราบชัดถึงความเป็นมาและที่เป็นอยู่ รวมทั้งที่คาดว่าจะเป็นไปในอนาคต... การรู้จักประมาณตนและรู้จัก ประมาณสถานการณ์ จึงเป็นอุปการะอย่างสำคัญที่จะ เกื้อกูลให้บุคคลดำเนินชีวิตและกิจการงานไปได้อย่าง ราบร่ืนและก้าวหน้า...” “คุณสมบัติที่จําเป็นสำหรับทุกคนนั้นที่สำคัญ ได้แก่ ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่มักง่าย หยาบคาย กบั อีกอยา่ งหนึ่งทีส่ ำคญั เป็นพิเศษ คอื ความขยนั หมัน่ เพยี ร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทุกอย่าง ด้วยตนเอง...”
8
9 เศรษฐกิจพอเพียงมิได้หมายความเพียงแต่บุคคลพึ่งพาตนเองได้ (Self - Sufficiency) แตส่ ามารถใช้ได้ ทงั้ กับ บคุ คล กลุ่มบคุ คล ชุมชน องคก์ รทงั้ ภาครฐั และภาคเอกชน โดยมีลำดบั ข้นั การดำเนนิ การ ดงั นี้ เศรษฐกจิ พอเพยี งระดับที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียงแบบพนื้ ฐาน ท่ีเนน้ ความพอเพียงในระดบั บุคคล แสะครอบครัว คือ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความเป็นอยู่ ในลักษณะที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีปัจจัยในการดำเนินชีวิต มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีความสามัคคีกลมเกลียว และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิตด้วยการ ประหยดั และการลดคา่ ใชจ้ ่ายทไี่ มจ่ าํ เปน็ ดำรงชีวิตไดอ้ ย่างมีความสขุ ทั้งกายและใจ เศรษฐกิจพอเพียงระดับท่ี 2 เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ที่เน้นความพอเพียงระดับกลุ่มหรือองค์กร คือ เมื่อบุคคล ครอบครัวมีความพอเพียงในระดับที่หนึ่งแล้ว ก็จะรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ เพื่อร่วมกัน ดําเนินงานในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษาสังคมและศาสนา โดยไดร้ ับความรว่ มมือ จากหนว่ ยงานท่ีเกีย่ วข้อง ทั้งหน่วยราชการ มูลนิธิ และเอกชน เศรษฐกิจพอเพยี งระดับท่ี 3 เศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวไกล ท่ีเน้นความพอเพียงในระดับเครือข่าย คือ เมื่อมี กลุ่มหรือองค์กร มีความพอเพียงระดับที่สองแล้วก็จะร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อการสร้างเครือข่าย มีการติดต่อ ร่วมมือกับธนาคาร และบริษัทต่าง ๆ ทั้งในด้านการลงทุน การผลิต การตลาด การจําหน่าย และ การบริหาร จัดการ เพือ่ การขยายกจิ กรรมทางเศรษฐกิจทห่ี ลากหลาย ให้สมประโยชน์ด้วยกันทุกฝา่ ย ดังนั้น การน้อมนําปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัตจิ งึ เป็นการสร้างภูมคิ ุม้ กันให้ชีวิต ครอบครวั ชุมชน สังคม และประเทศชาติให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ทั้งจากภายนอกและภายใน ที่เกิดขึ้นอยา่ งรวดเร็ว และหากได้ปฏิบตั ติ ามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่องจะนาํ ไปสู่การดำรงชีวติ อย่างมีความสุขในที่สดุ
10 ส่วนท่ี 2 การพัฒนาหมูบ่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง ความเปน็ มาของการพฒั นาหมบู่ ้านเศรษฐกิจพอเพียง กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ท่ีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ในวโรกาสต่าง ๆ มาเป็นหลักในการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจหลักของกรมการพัฒนาชุมชน คือ การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วน ร่วมของประชาชน ดงั นี้ ปี 2549 - 2551 ดำเนินงานหมูบ่ ้านเศรษฐกิจพอเพยี ง ด้วยเกณฑ์ประเมนิ 6 ด้าน คือ ลดรายจ่าย (ทำสวนครัว ปลอดอบายมุข) เพิ่มรายได้ (มีอาชีพ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม) ประหยัด (มีการออม มีกลุ่มออมทรัพย์ฯ) การเรียนรู้(สืบทอดภูมิปัญญา มีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ใช้วัตถุดิบในชุมชน ประกอบอาชีพ ปลูกต้นไม)้ เออื้ อารีต่อกนั (ชว่ ยเหลือคนจน รรู้ ัก สามคั ค)ี ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปัจจุบัน กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เกณฑ์การการประเมนิ กระทรวงมหาดไทย 4 ด้าน 23 ตวั ช้วี ัด คอื ด้านจิตใจและสังคม (สามัคคี มีข้อตกลงข้อมูลหมู่บ้าน มีกองทุน ยึดหลักประชาธิปไตย มีคุณธรรม/ จริยธรรม ชุมชนปลอดอบายมขุ ) ด้านเศรษฐกิจ (จดทำบัญชีครัวเรือน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ รวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ การออม มีกลุ่ม ในรูปแบบวิสาหกิจชมุ ชน) ด้านการเรียนรู้ (มีและใช้ข้อมูลชุมชน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างคุณค่า มีศูนย์เรียนรู้ ใช้เทคโนโลยี ทเ่ี หมาะสมกบั หมู่บ้าน สร้างเครอื ข่ายการพฒั นา ) ด้านทรัพยากรธรรมชาติแลสิ่งแวดล้อม (มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฯ มีกลุ่ม/องค์กรด้านสิ่งแวดล้อม มกี ารใช้พลังงานทดแทนและ มกี ารสร้างมูลค่าเพ่ิมจากทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสงิ่ แวดล้อม) แบง่ ศักยภาพการพฒั นาหมู่บ้าน เปน็ 3 ระดบั คือ ระดับ “พออยู่ พอกิน” เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพอ่ื ลดรายจา่ ย เพม่ิ รายไดแ้ ละมกี ารออม ระดับ “อยู่ดี กินดี” เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบ กลมุ่ เพอื่ เพมิ่ รายได้และขยายโอกาสคนในชมุ ชน ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่าย เพื่อใช้ศักยภาพ ในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอบอาชีพและส่งเสริมการ จัดสวสั ดิการให้กบั คนในหมูบ่ ้านชุมชน *** การจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็น 3 ระดับนี้ สามารถเป็นต้นแบบให้หมู่บา้ นอื่น ๆ ที่มีบริบท ใกลเ้ คียงกนั นำไปเรียนรู้ และขยายผล พฒั นาไปตามศักยภาพและเกณฑ์ชี้วดั และการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) ประกอบด้วย ๖ องค์ประกอบ ๒๒ ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ ๑ การมีสุขภาวะ องคป์ ระกอบที่ ๒ เศรษฐกิจชมุ ชนเขม้ แข็งเปน็ ธรรม องคป์ ระกอบท่ี ๓ ครอบครวั อบอนุ่ องค์ประกอบที่ ๔ ชมุ ชน มีการบริหารจัดการชุมชนดี องค์ประกอบที่ ๕ การมีสภาพแวดล้อมดีมีระบบนิเวศที่ สมดุล และองค์ประกอบ ท่ี 6 เปน็ ชุมชนประชาธิปไตยมธี รรมาภบิ าล จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่หมู่บ้านที่ดำเนินงานตามโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตั้งแต่ ปี 2552 - 2562 จำนวน 205 หมู่บ้าน และในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่เป้าหมาย ในการดำเนนิ การพัฒนาหมูบ่ ้านเศรษฐกจิ พอเพียง จำนวน 100 หมบู่ ้าน ดำเนนิ การในพ้ืนที่ 10 อำเภอ
11 กระบวนการพฒั นาหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพียง การจัดกิจกรรมในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีขั้นตอนที่เริ่มจากการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน บทบาทของผู้นำให้เป็นแกนนำหรือหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ในการนำประชาชนในหมู่บ้านให้ลุกขึ้นทำกิจกรรม เพื่อจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่งเสริมให้ผู้นำจัดกระบวนการทำแผนชุมชน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคิด ตัดสินใจ กำหนดเป้าหมายการทำงานโดยคนในชุมชนเอง ผลักดัน สร้างความรับผิดชอบให้เกิดกับบุคคลในชุมชนในการดำเนินการ บริหารจัดการกิจกรรมตามแผนงาน การพัฒนา ซึ่งสามารถบูรณาการกิจกรรมต่าง ๆ จากทุกหน่วยงาน โดยมี แผนพัฒนาหมู่บ้าน/แผนชุมชน เป็นเครื่องกำกับการพัฒนา เมื่อได้ดำเนินการมปี ระสบการณ์ มคี วามรู้ จดั ทำเป็นชดุ ความรู้ มีหลักสูตรสำหรับ การถ่ายทอดความรู้ จัดเป็นแหลง่ เรียนรู้ หรือศูนย์เรียนรู้ชุมชน เพื่อการขยายผลในฐานะหมู่บ้านตน้ แบบต่อไป ซึ่งผลการจัดโครงการต่าง ๆ นอกจากจะจัดขึ้นเพื่อป้องกัน แก้ปัญหา อนุรักษ์ หรือเพ่ิมมูลค่าให้กับชุมชนแล้ว ยังสามารถสร้างภาวะผู้นำ เสริมทักษะการจัดการและพัฒนากลุ่มต่าง ๆ ในชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เสริมสร้าง เครือข่ายของภาคประชาชน มีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรจากภายนอก ซึ่งสามารถสร้างความสัมพันธ์เป็น เครือข่ายระหว่างกัน ทั้งกับหน่วยงาน กับองค์กร กับหมู่บ้านอื่น ๆ ในลักษณะพี่สอนน้อง รวมทั้งใช้การถอดบทเรียน การพฒั นาและการประเมินตามเกณฑเ์ ครื่องมือ เพอื่ วางแผนและหมุนวนการพัฒนาไปอย่างไมส่ ้ินสุด กระบวนการพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กรมการพัฒนาชุมชนกำหนดดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 8,780 หมู่บ้าน ในพื้นที่ 76 จังหวัด ภายใต้แนวคิดสร้างกระบวนการพัฒนาชุมชนใน หมู่บ้านด้วยหลัก “การพึ่งตนเอง” เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพยี ง ด้วยการจดั ระบบการบริหารจดั การชมุ ชนและการพฒั นาเศรษฐกิจชุมชน จังหวัดจันทบุรี กำหนดดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 100 หม่บู า้ น ในพ้นื ที่ 10 อำเภอ ซ่ึงการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว มีโครงการย่อยจำนวน 5 โครงการ ดำเนินการในระดับจังหวัด จำนวน 1 โครงการ คือ การอบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และดำเนินการในระดับอำเภอในพื้นที่หมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 4 โครงการ คือ 1) สัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิต เศรษฐกจิ พอเพียง 2) การจดั ทำแผนพฒั นาวิถชี วี ิตเศรษฐกจิ พอเพยี ง 3) ขับเคลื่อนกจิ กรรมพัฒนาวถิ ีชวี ิตเศรษฐกิจพอเพียง 4) ประชมุ เชิงปฏบิ ตั ิการถอดบทเรยี นและประเมินผลการพัฒนาหมู่บา้ นเศรษฐกจิ พอเพียง
12
13 กจิ กรรมที่ 1 อบรมแกนนำพฒั นาหมู่บา้ นเศรษฐกจิ พอเพียง วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแกนนำในการส่งเสริม สร้างการมีส่วนรว่ มในการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างการเรียนรู้ และจดั กจิ กรรมในระดบั ครัวเรือน กลุ่มอาชพี การบริหารชุมชน กลุม่ เป้าหมาย ประกอบด้วย ผูน้ ำชุมชนจากหมู่บ้านเปา้ หมาย หมลู่ ะ ๒ คน และประธานชมรม สมาคม ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) อำเภอ ละ ๑ คน จำนวนแต่ละจังหวัด เป็นไปตามจำนวนของหมู่บ้าน เปา้ หมายในแต่ละจังหวดั สถานทด่ี ำเนินการ การคัดเลือกสถานที่การฝึกอบรมบ่มเพาะให้กับกลุ่มเป้าหมายสามารถพิจารณาเลือกดำเนินการ ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้การขับเคลื่อนการพั ฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นทที่ ่ีมีศักยภาพในการถา่ ยทอดความรู้ได้ ใชส้ ถานทใี่ นจังหวัดและใช้ทมี วทิ ยากรท่มี ีศักยภาพในการพัฒนา ระยะเวลาในการดำเนนิ การ รนุ่ ละ ๒ วัน วิธปี ฏบิ ัติ ๑. การคน้ หา สร้างผูน้ ำการพัฒนา ๑) ผู้นำการพัฒนา คือ ผู้ที่มีบทบาทในการทำงานเพื่อส่วนรวมเป็นที่ยอมรับของชุมชน เช่น กม. อช./ผู้นำอช. กพสม. หรือกรรมการกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ ในหมู่บ้าน ได้แก่ กรรมการ ศอช.ต กรรมการ ศรช. ผทู้ รงคุณวุฒิหรือผ้นู ำอื่น ๆ ฯลฯ ๒) คุณสมบตั ิของผูน้ ำ เชน่ • ความเสียสละ มภี าวะผู้นำ มีจิตใจอยากทำ • เป็นนักประสานงาน เป็นทยี่ อมรบั ของสว่ นรวม • มใี จรักในการทำงานหรือรกั การเรยี นรู้ตลอดเวลา • มปี ระสบการณ์ท่สี รา้ งความสำเรจ็ เปน็ ทีป่ ระจกั ษ์มาแล้ว • เป็นเจา้ ของปจั จัยการผลติ ที่สามารถการดำเนินงานไดท้ นั ที • ท่ีสำคัญมีความพร้อมและตั้งใจจะทำงานพัฒนาชุมชน สามารถนำความรู้ ความสามารถ ทักษะการจัดกระบวนการพัฒนาหมู่บ้าน การพัฒนาผู้ด้อยโอกาส การพัฒนากลุ่ม/ องค์กร นำไปสู่การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชน ในหม่บู ้านได้ ๒. วิธกี ารค้นหา การคดั เลอื ก สามารถดำเนนิ การไดห้ ลายวธิ ี ดงั น้ี (อย่างใดอยา่ งหน่ึง) 1) การจดั เวทีประชาคม โดยประสานนัดหมายผนู้ ำชมุ ชน (ผู้ใหญ่บ้าน) เพื่อนดั หมายประชาชน ในหมู่บ้าน ในการเปิดรบั การรับสมัครผู้นำการพฒั นา ตามคุณสมบตั ขิ อ้ 1 การจดั เวทปี ระชาคม โดยประสานนดั หมายผู้นำชมุ ชน (ผ้ใู หญบ่ ้าน) เพื่อนัดหมายประชาชน ในหมู่บ้าน เสนอชื่อผู้นำการพัฒนาที่ผ่านการรับรองของคนในชุมชน โดยสมัครใจเพื่อเป็นตัวแทน เข้ารับการ อบรมผนู้ ำการพฒั นา และให้ท่ีประชมุ ประชาคมพจิ ารณาใหก้ ารเหน็ ชอบ หรือคัดเลือก เพ่ือสร้างการยอมรบั ๒) ใช้คณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ) ร่วมกันพิจารณาผทู้ ีม่ คี ุณสมบตั แิ ละสมัครใจเข้าร่วมกจิ กรรมการพฒั นาหมู่บ้าน ๓. การพัฒนาศักยภาพ 3.1 การดำเนินงานเพื่อจดั ฝึกอบรม สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด พิจารณาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน ระยะเวลา 2 วัน/รุ่น และสำหรับจังหวัดที่มีปริมาณกลุ่มเป้าหมายจำนวนมาก สามารถบริหารจัดการฝึกอบรม เป็นรุ่น ๆ ละ 2 วัน โดยจำนวนกลุ่มเป้าหมายต่อรุ่นให้พิจารณาถึงความเหมาะสมต่อการเรียนรู้และการบรรลุ วตั ถปุ ระสงค์ของกจิ กรรมทีก่ ำหนดเป็นสำคญั
14 การคัดเลือกสถานที่การฝึกอบรมบ่มเพาะให้กับกลุ่มเป้าหมายสามารถพิจารณาเลือก ดำเนินการในพื้นที่ที่เป็นศูนย์เรียนรู้หรือแหล่งเรียนรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในพืน้ ทีท่ ม่ี ศี กั ยภาพในการถ่ายทอดความรู้ได้ กรณีแบ่งฝึกอบรมเป็นรุ่น ๆ และจัดพร้อมกัน ขอให้สำนักงานพัฒนาชมุ ชนจงั หวดั ประชุม ซกั ซ้อมทีมวิทยากรที่ทำหน้าที่ตามกรอบการเรียนรู้รว่ มกนั ก่อนปฏิบตั งิ าน 3.2 รูปแบบ วิธีการจัดฝึกอบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงการกำหนดรูปแบบ วิธีการจดั ฝกึ อบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ข้นั ตอนนเ้ี ป็นขั้นตอนท่ีต้องให้ความสำคญั เป็นอย่างมากเพื่อให้แกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียงมีศักยภาพและสามารถ สร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน สร้างการเรียนรู้และจัดกิจกรรมใน ระดับครัวเรือน กลุ่มอาชีพ การบริหารชุมชน โดยให้พิจารณาจากกรอบการเรียนรู้ (สามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม ความเหมาะสมและสอดคลอ้ งกับบรบิ ทในพน้ื ที่) ดังนี้ 3.2.1 การสร้างความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ (มุ่งเน้นการปรับกรอบความคิด/กระบวนการทางความคิด หรือ Mindset) ซึ่งอาจเชิญวทิ ยากรทีม่ ปี ระสบการณร์ ว่ มใหค้ วามรู้ 3.2.2 การประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับบุคคล ครวั เรอื น และชุมชน ซึ่งอาจเชญิ วิทยากรทีม่ ปี ระสบการณร์ ว่ มใหค้ วามรู้ 3.2.3 เสริมสร้างความเข้าใจการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในแต่ละขั้นตอน ตามที่กรมการพัฒนาชุมชนกำหนด (ขั้นตอนนี้เป็นกิจกรรมที่สำคัญขอให้พิจารณากำหนดรูปแบบ วิ ธีการ ถา่ ยทอดที่ทำให้กลุ่มเปา้ หมายเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปปรบั ใชใ้ นพน้ื ที่ได้) 3.2.4 กำหนดแนวทางในการบริหารจัดการชุมชน การจัดการศูนย์เรียนรู้ชุมชน เพ่อื การพัฒนาตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง และแนวทางการพฒั นาอันเนอ่ื งมาจากพระราชดำริ 3.2.5 วิธีการประเมิน 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด ซึ่งวิธีการนี้เป็นเครื่องมือหรือเกณฑ์การ ประเมินเพื่อจัดระดับการพัฒนาของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาให้ตรงตาม ศกั ยภาพของหม่บู ้าน แยกเปน็ 3 ระดับ คอื ระดับ 1: “พออยู่ พอกิน” เน้นที่ระดับครัวเรือน มีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนา กิจกรรมการพ่ึงตนเอง ทำกนิ ทำใช้ ลดรายจา่ ยเพ่ิมรายได้และมกี ารออม ผ่านเกณฑ์ประเมิน 10 - 16 ตัวชวี้ ดั ระดับ 2: “อยู่ดี กินดี” เน้นที่ระบบการรวมกลุ่ม มีเป้าประสงค์เพื่อส่งเสริม การบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน ผา่ นเกณฑ์ประเมิน 17 - 22 ตัวชว้ี ดั ระดับ 3: “มั่งมี ศรีสุข” เน้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชนและเครือข่าย มีเป้าประสงค์ เพ่ือให้เป็นตน้ แบบหมูบ่ ้านการบริหารการพัฒนาดว้ ยองค์กรเครือข่ายในการยกระดบั คุณภาพชีวิตเพ่ิมโอกาสการ ประกอบอาชีพ จัดสวัสดิการชมุ ชน ผา่ นเกณฑป์ ระเมนิ 23 ตัวชีวดั 3.๒.๖ การประเมินความ “อยู่เย็น เปน็ สุข” หรือ ความสขุ มวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness: GVH) พร้อมทั้งการสาธิตตัวอย่างการประเมินความสุขมวลรวมที่ถูกต้อง ซึ่งการ ประเมินนี้เป็นเครื่องมือใช้ในการประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนา โดยการจัดเวทีประชาคมหมู่บ้านแลกเปลี่ยน ข้อมูลความเป็นจริงในชุมชน แล้วให้ลงคะแนนความเห็นระดับความสุขร่วมกัน โดยใหด้ ำเนนิ การทงั้ หมด 2 รอบ ดงั น้ี 1) รอบที่ 1 : ประเมินก่อนลงมือพัฒนา เพื่อให้หมู่บ้านได้รับรู้องค์ประกอบ ความสขุ ใดบา้ งทตี่ อ้ งทำกิจกรรมหรอื วางแผนในการพัฒนา 2) รอบท่ี 2 : ประเมนิ เมื่อผ่านการพฒั นาในรอบ 1 ปี (ไตรมาส 4) เพอื่ นำผล รอบที่ 2 ไปเปรียบเทียบกับ ผลรอบที่ 1 ซึ่งจะทำให้เห็นถึงผลความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน ( Gross Village Happiness : GVH) หลังจากการดำเนินการตามกิจกรรมหรือแผนทวี่ ่างไว้
15 3.3 จัดฝึกอบรมแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามรูปแบบ และวิธีการที่กำหนด โดยมุ่งเน้นการปรับกรอบความคิด/กระบวนการทางความคิด (Mindset) ให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึง ความสำคัญของการทำหนา้ ทีเ่ ปน็ แกนนำพฒั นาหมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพียง 3.๔ มอบหมายภารกิจให้แกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ไปขับเคลื่อนการพัฒนา หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือน โดยวิธีการขับเคลื่อนการพัฒนาครัวเรือน ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพยี ง ดังน้ี 3.๔.๑ เข้าใจ ทีมงานวางแผนการปฏิบัติ เพื่อสร้างเครือข่ายผู้รอบรู้ มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญ กำหนดแนวทางการสร้างความรู้ วิธีเปลี่ยนลักษณะนิสัยการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกครัวเรือน ศึกษา วิเคราะห์สภาพพื้นที่ สภาพของชุมชนท้องถิ่น ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่ามีสถานการณ์เป็นอย่างไร มีเหตุการณ์ใดบ้าง ท่มี ีแนวโนม้ ว่าจะส่งผลกระทบตอ่ ความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไร เพอื่ เตรยี มสรา้ งกิจกรรม รณรงค์สร้างการรับรู้ และความตระหนักในการปรับเปลีย่ นวิถชี ีวติ ของครวั เรือน 3.๔.๒ เข้าถึง สร้างความตระหนักในสถานการณท์ ี่เปน็ อยู่ นำเสนอแนวคิดการดำเนนิ ชีวติ ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอพียง รวมถงึ การปรับปรุงและพัฒนาชีวิตด้วยศาสตร์พระราชา ผ่านสื่อการ เรียนรู้หลากหลายรูปแบบ การสร้างความรู้ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น แนะนำรายบุคคล ครัวเรือน การประชุม การอบรม กระบวนการกล่มุ การสาธติ การเรียนรูผ้ ่านการทำจริง และวางแผนการพัฒนาครวั เรือนตัวเองต่อไป 3.๔.3 พัฒนา สนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละครัวเรือน ในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการ พึ่งตนเอง โดยต้องการ ยอมรับ น้อมนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง มีเป้าหมายชัดเจน มั่นใจในวิธีการปฏิบัติ ทบทวน การปฏิบัติ พรอ้ มปรับปรุงยกระดับให้ก้าวหนา้ ยง่ิ ขนึ้ 3.๔.4 เสริมแรง สร้างกิจกรรมเชิดชูเกียรติผู้ประสบความสำเร็จ ตามระดับความ ต้องการ เช่น การให้รางวัล การสร้างความยอมรับ การประกาศเป็นต้นแบบเป็นครู เป็นจุดเรียนรู้เพื่อขยายผล ตอ่ เนอ่ื ง 3.๔.5 การตรวจติดตาม เพื่อการกำกับ ให้การปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนาครัวเรือน เป็นไปตามแนวทางและช่วงเวลาที่กำหนด ปรับปรุงวิธีการและสนับสนุนครัวเรือนเพ่ือให้ประความสำเร็จ ตามวตั ถุประสงค์ 3.๓ การประเมินผล ติดตามการการปฏิบตั ิงาน 3.3.1 จัดให้มีการประเมินผลความรู้ ความเข้าใจของผู้นำชุมชนที่เข้าร่วมการอบรม พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามกรอบหลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งต้องดำเนินการประเมินผลก่อนและ หลังการฝึกอบรมเพื่อเป็นการวัดประสิทธิผลของการฝึกอบรม ตลอดจนเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุง รปู แบบหลกั สตู รการฝกึ อบรม 3.3.2 ประสานสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการ ขับเคลอ่ื นกจิ กรรมการพฒั นาหมบู่ ้านเศรษฐกิจพอเพยี งของแกนนำที่ผ่านการฝกึ อบรมอย่างต่อเน่อื ง 3.3.3 ติดตามการปฏิบัติงาน พัฒนากรประจำตำบลจัดทำแผนการติดตาม การดำเนินงานของผู้นำชุมชนที่ผา่ นการฝกึ อบรมโดยกำหนดความถี่ของแผนตามความเหมาะสมของพ้ืนท่ี 3.3.4 สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงาน ในระบบ BPM ภายใน 7 วนั หลังดำเนนิ การแลว้ เสรจ็ กจิ กรรมที่ 2 สมั มนาการเรียนรวู้ ิถชี ีวติ เศรษฐกิจพอเพียง วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต และการพัฒนา หม่บู ้านที่สมดุล สอดคลอ้ งกบั หลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง กลุ่มเปา้ หมาย ผแู้ ทนครอบครัวพัฒนาอยา่ งน้อย 30 ครัวเรอื น
16 วิธคี ัดเลือกครวั เรือนเปา้ หมาย ๑. โดยคัดเลือกจากครอบครัวที่สมาชิก ในครอบครัวที่มีคุณสมบัติ มีความตั้งใจจะเปลี่ยนการ ดำเนนิ ชีวติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพยี ง มพี ้ืนทใ่ี นการดำเนนิ การหากต้องการทำการเกษตรหรือพื้นทีเ่ หมาะสม กับการประกอบอาชีพ ปฏบิ ัติตัวสมควรเปน็ แบบอยา่ ง ๒. สมัครใจเข้าร่วมโครงการ และพร้อมที่จะใช้สามารถขยายผลสู่ครอบครัวอื่น ๆ ได้ ด้วยการ เป็นจุดเรียนรู้ของชมุ ชนไดต้ อ่ ไป วธิ กี ารปฏบิ ตั ิ 1. ประชุมวางแผนเตรยี มการดำเนนิ งาน 2. แต่งตั้งคณะทำงาน หรือมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบดำเนินการกำหนดรูปแบบ วิธีการ และ หลักสูตรในการจัดสัมมนาการเรียนรู้วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง โดยในหลักสูตรต้องประกอบไปด้วยกรอบการ เรียนรูอ้ ย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 2.1 การสร้างความเข้าใจ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการน้อมนำ หลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏบิ ัติ 2.2 วิธกี ารพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียงในแตล่ ะขัน้ ตอนทีก่ ำหนด 2.3 แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในระดับบุคคล ครัวเรือน และชุมชน อาทิเช่น การสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวพัฒนา การบริหารจัดการชุมชน และการ จัดการศูนยเ์ รียนรู้ชมุ ชน เพอ่ื การพัฒนาตามแนวปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง 2.4 เป้าหมายการพัฒนาตามแนวทาง 4 ด้าน 23 ตัวชี้วัด และการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือ ความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (Gross Village Happiness : GVH) มุ่งเน้นการ อธิบายเพ่ือสรา้ งความเข้าใจถงึ ความสำคัญท่ตี ้องประเมินผล วิธีการประเมนิ และกำหนดวนั ประเมินรว่ มกนั 3. จดั สัมมนาการเรียนรวู้ ิถชี วี ติ เศรษฐกจิ พอเพยี ง อย่างนอ้ ยหมูบ่ า้ นละ 1 วัน ตามรปู แบบ และ วิธกี ารทกี่ ำหนด โดยมงุ่ เนน้ การปรบั กรอบความคิด/กระบวนการทางความคิด (Mindset) ให้กลุ่มเปา้ หมายตระหนัก ถงึ ความสำคัญของการน้อมนำหลักปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งไปสู่การปฏิบตั ิในระดบั ครวั เรือน กิจกรรมท่ี 3 การจัดทำแผนพฒั นาวถิ ชี วี ติ เศรษฐกิจพอเพยี ง วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนายกระดับครัวเรือนและหมู่บ้าน ให้สามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้ เกิดการมี ส่วนรว่ มในหมู่บา้ น นำไปสคู่ วามสามคั คี ทำใหช้ ุมชนเข้มแขง็ วิธปี ฏบิ ตั ิ 1. กอ่ นจดั ทำแผนพฒั นาครัวเรอื น แผนพฒั นาหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง 1.1 พฒั นากร - รวบรวมขอ้ มูล จปฐ. / กชช. 2ค และข้อมลู ทีเ่ กีย่ วขอ้ ง - ประสานข้อมลู หน่วยงานท่เี ก่ียวขอ้ ง เช่น ข้อมลู ดา้ นสาธารณสุข เกษตร ปศสุ ัตว์ ทดี่ นิ เป็นตน้ - ประสานผู้นำและกำหนดวันจัดทำแผนพัฒนาครัวเรือนและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจ พอเพียง พรอ้ มทัง้ ประสานหนว่ ยงานและผู้ท่ีเก่ียวข้องร่วมจัดทำแผนดังกล่าว 1.2 แกนนำการพัฒนาและครัวเรือนเป้าหมาย รวบรวมข้อมูลของครัวเรือนและหมู่บ้าน (ทั้งขอ้ ดีหรอื จดุ เด่น/ขอ้ ดอ้ ยหรืออปุ สรรคของหมู่บ้านหรือปจั จัยทีม่ ีผลต่อการพฒั นาหมูบ่ ้าน) 1.3 ผนู้ ำอาสาพฒั นาชุมชน รวบรวมและจัดเตรยี มขอ้ มลู เชงิ ลกึ ของหมู่บ้านและครัวเรือนเปา้ หมาย 1.4 พัฒนากรร่วมกับแกนนำการพัฒนาและผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล เบ้อื งต้น ในประเดน็ ขอ้ เท็จจริงในการจัดทำแผนพัฒนาครัวเรือนและพฒั นาหม่บู ้าน กำหนดทิศทางในการพัฒนา เบ้อื งต้น จากขอ้ มูลข้อเท็จจริง และโอกาสความเป็นไปได้ในการพฒั นา
17 2. ระหวา่ งการจดั ทำแผนการพัฒนา 2.1 ผู้นำการพัฒนาร่วมกับ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ครัวเรือนเป้าหมาย พัฒนากร และ หนว่ ยงานที่เก่ียวขอ้ ง ในพ้ืนท่ีรว่ มเวทีจดั ทำแผน โดยดำเนินการ ดังนี้ 2.2 นำเสนอข้อมลู ขอ้ ดี ขอ้ ด้อย ปัญหา อปุ สรรค และโอกาสในการพัฒนาของครวั เรือนและหมู่บ้าน 2.3 ประเมินสถานการณ์ของชุมชน ด้วยกระบวนการประเมินความอยู่เย็น เป็นสุข หรือ ความสุขมวลรวมของชุมชน (Gross Village Happiness: GVH) อาศัยตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายในการสร้างความสุข ประชาชนในทป่ี ระชุมกำหนดเกณฑช์ ี้วัด และใหค้ ะแนนการประเมิน สรปุ ผลเพอื่ พิจารณาถึงจุดด้อย และจุดแข็ง ทท่ี ำให้ชมุ ชนยงั ต้องจดั กจิ กรรม หรือโครงการเพ่ือยกระดับ เพม่ิ ความสามารถ อนุรกั ษ์ ปอ้ งกนั และแก้ปัญหา ใน ระดบั บคุ คล ครวั เรือน ชุมชน ๒.๔ นำข้อมูลทั้งหมดใช้วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนา ยกระดับครัวเรือนและหมู่บ้าน ให้สามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถชี ีวติ สามารถพึ่งตนเองได้ (เช่น ใช้จุดเด่นและโอกาสในการพัฒนาหมู่บ้านกำหนดเป็นเป้าหมายการพัฒนา กล่าวคือ หมู่บ้านมีแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โอกาส คือ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในหมู่บ้านจำนวนมาก ก็กำหนด เป้าหมายในการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยว ด้วยการส่งเสริมหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว จัดกิจกรรม เพอ่ื สนบั สนุนการท่องเท่ียว สนับสนุนกลุม่ อาชีพผลติ สนิ คา้ และบริการ เชน่ ของกิน ของฝาก ของทีร่ ะลึก เป็นตน้ 2.๕ กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้านแล้ว จัดทำแผนงานโครงการที่สามารถสนับสนุน ส่งเสริมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายนั้น เช่น เป้าหมายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านผลิต สินค้าหรือบริการที่มีวัตถุดิบภายในพื้นที่เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของหมู่บ้าน การจัดทำโปรแกรมหรือปฏิทิน ท่องเที่ยวชุมชนในรอบปี เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่องและยั่งยืน จะต้องมีการจัดตั้งกลุ่มและระเบียบการ บรหิ ารจัดการกลมุ่ อาชีพน้นั ๆ ด้วย 2.๖ จัดทำแผนพัฒนาครัวเรือน ที่สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนาหมู่บ้าน แต่ต้องยึดหลักพึ่งพาตนเองได้ในระดับครัวเรือน เช่น ครัวเรือนต้องรู้จักตนเอง ให้ครัวเรือนกำหนดเป้าหมาย พิจารณาถึงทรัพยากรในครัวเรือน ความรู้ ความชำนาญของคนในบ้าน กำหนดแนวทางการใช้ชีวิต เลือกทำ อาชีพและการปฏิบัติตน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ครัวเรือนมีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นมาก ก็ต้องแก้ไข ปัญหาในรายจ่ายนั้น (ปลูกพืชผักสวนครัว ลดรายง่ายรายวัน/ลด ละ เลิกอบายมุข ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย/ ทำผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ลดรายจ่ายซึ่งเป็นรายจ่ายประจำ) เมื่อลดรายจ่ายได้ก็จะมี เงนิ ออมนั่นเอง ***ทั้งน้ีการจัดทำแผนพัฒนาครัวเรือน ครัวเรือนต้องมีความพร้อมและสมัครใจในการ เปลีย่ นแปลงพฤติกรรม เพอ่ื นำไปสกู่ ารพฒั นาอย่างแทจ้ ริง ไม่เชน่ นนั้ ผลทไี่ ดจ้ ะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้ังไว้ การจดั ทำแผนการขับเคล่ือนการพัฒนาวิถชี ีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับครวั เรือน กลุ่ม ชมุ ชน ทสี่ อดคล้องกับอาชพี สภาพการณ์ และสภาวะของชมุ ชน ดงั นี้ 1. ในระดับครัวเรือนต้องครอบคลุมในสามเรื่อง ได้แก่ 1) อาหารมั่นคง (การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการแปรรูป) 2) สิ่งแวดล้อมยั่งยืน (การบริหารจัดการขยะ การจัดสุขลักษณะในบ้าน และการใช้ทรัพยากร อย่างค้มุ คา่ ) 3) มีภมู คิ ุ้มกนั (การปฏิบตั ศิ าสนกิจ การบำเพ็ญประโยชน์ และออกกำลังกายเสรมิ สขุ ภาพ) 2. ระดับกลุ่ม เช่น การรวมกลุ่มเพื่อการผลิต การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สวัสดิการ การตลาด ฯลฯ 3 ระดับชุมชน เน้นสร้างเครือข่ายการร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยน เรยี นรู้ เครือข่ายการตลาด ฯลฯ 2.๗ มอบหมายภารกิจให้ครัวเรือนเป้าหมายดำเนินการตามแผนการพัฒนาครัวเรือน โดยมี กรอบหรือห้วงระยะเวลาการติดตามการพัฒนาครัวเรือนว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่ (ติดตามโดยผู้นำการพัฒน า และผ้นู ำอาสาพฒั นาชมุ ชนเป็นหลัก)
18 2.๘ มอบหมายภารกิจผู้นำการพัฒนา ผู้นำชุมชน และครัวเรือนเป้าหมาย ให้ดำเนินการตาม แผนการพัฒนาหมูบ่ ้านเศรษฐกจิ พอเพียง (ติดตามโดยพัฒนากรและผนู้ ำอาสาพัฒนาชุมชน) 2.๙ กำหนดวันดำเนินกิจกรรมการพัฒนาตามแผนการพัฒนา ซึ่งได้รับสนับสนุนงบประมาณ ท้งั จากกรมการพฒั นาชมุ ชน และหน่วยงานภาคี 3. สรุปและประเมนิ ผลการดำเนนิ งาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในระบบ BPM ภายใน 7 วัน หลังดำเนินการแลว้ เสร็จ กจิ กรรมที่ 4 การขบั เคลอื่ นกิจกรรมพัฒนาวิถชี ีวติ เศรษฐกจิ พอเพยี ง วัตถุประสงค์ เพ่ือเป็นการส่งเสริม สนับสนุนหมู่บา้ นเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดการพัฒนาสามารถพึ่งพา ตนเองได้ และสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏบิ ตั ิจนเป็นวถิ ีชีวิต วิธปี ฏิบัติ • กิจกรรมท่ีไม่ใช้งบประมาณ 1. แกนนำการพัฒนา ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน พัฒนากร สร้างความรู้ ความเข้าใจ และ ความม่นั ใจในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพยี ง ๒. แกนนำและผู้นำหมู่บ้าน ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามให้ครัวเรือนดำเนินกิจกรรมพัฒนาตาม แผนพัฒนาครัวเรือน กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ หรือกิจกรรมที่ครัวเรือนสามารถดำเนินการเองได้ เ ช่น การจัดทำบัญชีครัวเรือน การทำความสะอาด การปรับภูมิทัศน์บ้านเรือน การคัดแยกขยะ การปลูกพืชผักสวนครัว เล้ียงสตั ว์ แปรรปู ผลผลติ ท่ีดำเนินในบ้าน การลด ละ เลิกอบายมุข การรว่ มกจิ กรรมสาธารณประโยชน์ เปน็ ต้น ๓. ผู้นำการพัฒนา ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน พัฒนากร ส่งเสริม สนับสนุนและร่วม ขับเคลื่อนกิจกรรมการพัฒนาตามแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะ กิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ หรือกิจกรรมที่หมู่บ้านสามารถดำเนินการเองได้ เช่น การออกกำลังกาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการประกอบ อาชพี การจดั กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ จิตอาสา การรว่ มแรงช่วยกนั ทำงาน การออมเพ่ือการสะสมทุน สำหรับการจัดสวสั ดกิ ารในอนาคต เปน็ ตน้ • กิจกรรมทใี่ ชง้ บประมาณกรมการพัฒนาชุมชน 1. ก่อนดำเนินการตามแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประชุมมอบหมายภารกิจในการ ขับเคลื่อนแผนพฒั นา และดำเนินกิจกรรม โครงการตามแผน ตามลำดับความสำคัญของปัญหาและความตอ้ งการ ทีมผู้นำ ผู้ส่งเสริมและผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการโครงการตามแผน เตรียมการ เช่น - จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ตามโครงการฯ - ประสานหน่วยงานทเี่ กี่ยวข้องร่วมกจิ กรรม (รวมท้ังผู้นำอาสาพัฒนาชมุ ชน) - ประสานผู้นำและกำหนดวันดำเนนิ การตามแผนพัฒนาหมบู่ ้านเศรษฐกิจพอเพยี ง ประสานวทิ ยากร (ถ้ามี) *** ทั้งนี้ การคัดเลือกกิจกรรมเพื่อใช้งบประมาณดำเนินการตามแผน ต้องคำนึงถึงโอกาสและ ความเป็นไปได้ที่สามารถจะตั้งกลุ่ม มีผลิตภัณฑ์หรือมีรายได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการดำเนินโครงการ มีประสิทธภิ าพ และเปน็ จดุ เริ่มตน้ ของการพัฒนาหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง 2. ระหวา่ งการดำเนนิ การ 2.1 ผู้นำการพฒั นาและครวั เรอื นเปา้ หมายดำเนนิ กจิ กรรมตามทไี่ ดร้ ับสนับสนนุ งบประมาณ 2.2 ผู้นำการพัฒนาร่วมกับครัวเรือนเป้าหมาย กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่ม ท่ี ได้รับสนับสนุนงบประมาณ โดยพัฒนากร (หรือวิทยากร) ให้ความรู้ความเข้าใจกระบวนการ จัดตั้งกลุ่มและ วธิ ีการพฒั นา การบรหิ ารจัดการกลุ่ม 2.4 ผู้นำการพัฒนาและครัวเรือนเป้าหมายดำเนินการจัดทำข้อมูลคณะกรรมการบริหารกลุ่ม ระเบียบการบริหารจัดการกลมุ่ สวสั ดิการกลุม่ แผนการขับเคล่ือนการดำเนินงานกลุ่ม เปน็ ตน้
19 ตัวอย่างกิจกรรม โครงการสำหรับใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปสู่การปฏิบัติของครอบครัวพัฒนาเป้าหมาย และขยายผลไปทุกครัวเรือนเต็มพ้ืนที่ ให้มีทัศนคติ และสร้างลักษณะนิสยั พง่ึ ตนเอง ตามบรบิ ทและภมู สิ งั คมทกุ ครัวเรอื นจะต้องปฏิบตั กิ จิ กรรมในครวั เรอื น ประกอบดว้ ย 1) สร้างความมนั่ คงทางอาหาร โดยการ (1) มีการปลูกผัก พืชสวนครัว เพื่อใช้เป็นประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน เพื่อลด ค่าใช้จ่ายประจำวนั ตามสภาพพนื้ ท่ีของครวั เรอื น (2) มกี ารเล้ยี งสัตวท์ ่เี ปน็ อาหารของครัวเรือน เช่น ไก่ เปด็ ปลา กบ หรอื อืน่ ๆ ตามที่ สภาพของพน้ื ท่ีแต่ละครัวเรอื นจะทำได้ (3) มีการแปรรูป ผลิตผลในบ้านเพื่อเป็นการถนอมอาหาร และใช้ประโยชน์ของ ในครวั เรือนรูปแบบต่าง ๆ 2) สร้างสงิ่ แวดลอ้ มใหย้ ่งั ยนื โดยการ (1) มีการบริหารจัดการขยะ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์สร้างขยะ คัดแยกขยะ นำกลับมาใช้ซ้ำ หมักขยะเปียกเพอ่ื เปน็ ปุ๋ย หรือถังขยะเปยี กลดโลกรอ้ น (2) มีการจัดสุขลักษณะในบ้าน โดยการจัดบริเวณบ้าน สะอาดเป็นระเบียบไม่เป็น แหล่งเพาะเช้อื โรค และพาหะนำโรค เชน่ ร้วั กินได้ ไม้ดอกไม้ประดับ สะดวกปลอดภัยในการใชอ้ ุปกรณป์ ระกอบอาชีพ (3) มีการใช้ทรัพยากรในบ้านอย่างคุ้มค่า ประหยัดและเกื้อกูลกัน เช่น น้ำจากการซัก ผ้านำไปรดตน้ ไม้ เปน็ ตน้ 3) สร้างภูมิคมุ้ กันทางสงั คม โดยการ (1) มกี ารปฏบิ ัติศาสนากจิ ตามพธิ ตี ามความเชื่อเปน็ ประจำมกี ารแบง่ ปันเอื้อเฟ้ือเจือจานระหวา่ งกนั (2) มีการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะด้วยจิตอาสาอาสาสมัครเข้าร่วม กิจกรรมเพื่อสาธารณะ ของหม่บู า้ นการปรบั ปรงุ ถนน คู คลองหรอื การร่วมกิจกรรมการพัฒนาหมบู่ า้ นอืน่ ๆ (3) มกี ารออกกำลังกายเสริมสุขภาพ เพอื่ สุขภาพรา่ งกายท่เี ข็งแรง ครวั เรือนต้องมีการ ออกกำลังกายในรูปแบบตา่ ง ๆ เปน็ ประจำ 4) ในระดับกลุ่มและชุมชน ให้พิจารณาดำเนินการ ตามศักยภาพ และความต้องการของ ครัวเรือน โดยส่งเสริมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าส่วนราชการ องค์กรเอกชน ตลอดจนสมาชิก ในชมุ ชนนั้นเป็นสำคญั หากมีความพร้อมในการดำเนนิ การ เนือ่ งจากผลติ ผลทีไ่ ด้จากครัวเรือนมีมากเพียงพอที่จะ ยกระดบั การพัฒนาเปน็ ระดับกา้ วหนา้ คือ การรวมพลังกนั ในรปู กลุ่ม เพ่ือรว่ มกันดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ดงั นี้ (1) การผลิต ประชาชนควรร่วมมือกันในการผลิต โดยมีเป้าหมายร่วมกัน เช่น การแบ่ง หน้าที่การผลิต วัตถุดิบสำหรับกลุ่มเพื่อแปรรูป เช่น กลุ่มน้ำพริก ต้องใช้วัตถุดิบหลายชนิด ซ่ึงชุมชนปลูกได้เอง ให้สมาชิกปลูกเอง ในคุณภาพและปริมาณที่ควบคุมได้ กลุ่มผักปลอดสาร ทุกครัวเรือนปลูกผักต่าง ๆ กัน มีระบบตรวจสอบแปลงปลูก ทำการตลาดด้วยการต้นรับพ่อค้าเข้ามารับซื้อในหมู่บ้าน โดยเฉพาะพ่อค้ารายย่อย ทซี่ อื้ ไม่มากแต่กลมุ่ มี ชนิดของผกั หลากหลาย สามารถนำไปขายปลีกได้ ในทนั ท่ี กลุ่มจัดเตรยี มบรรจุถงุ เตรียมไว้ (2) การตลาด เมื่อมีผลผลิตแล้ว จะต้องเตรียมการต่าง ๆ เพื่อการขายผลผลิตให้ได้ ประโยชน์สูงสุด เชน่ สง่ เสรมิ การจดั การตลาดเพื่อสงั คม (Green Marketing) สนบั สนุนการผลิต จำหน่ายอาหาร ปลอดภัย ส่งเสริมการตลาด เช่น OTOP Trader, OUTLEL ชมุ ชน E-commerce, Online ฯลฯ หรือร่วมมือจัดซื้อข้าวเปลือกตรงจากเกษตรกรและมาสีเอง หรือร่วมมือกับ บริษัทเอกชน จัดกิจกรรมส่งเสริม สังคม (CSR) สามารถซื้อผลผลิต หรือผลิตภัณฑ์จากชุมชน ไปใช้ในโครงการ ของบริษัท หรือจัดทำเป็นร้านสหกรณ์ราคาขายส่ง ประชาชนในชุมชน สามารถซื้อเครื่องอุปโภคบริโภคได้ใน ราคาตำ่ เพราะรวมกนั ซื้อเปน็ จำนวนมาก
20 (3) การเป็นอยู่ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่มีความเป็นอยู่ท่ีดีพอสมควรการแบ่งปัน แลกเปลี่ยน สิ่งที่เหลือกิน เหลือใช้ เช่น จัดกิจกรรมในการสร้างส่ิงแวดล้อมของชุมชน (Save the earth) เช่น ธนาคารอาหาร ครัวชมุ ชน ธนาคารพันธ์ุพืช แปลงปลูกรวม ฯลฯ อาหารการกินต่าง ๆ กะปิ น้ำปลา เสอ้ื ผ้า อื่น ๆ (๔) สวัสดิการ สง่ เสริมกจิ กรรมเพื่อสร้างสวัสดิการของชุมชน จากการสะสม ระดมทุน ในทุกรปู แบบ เชน่ รายได้จากการบรหิ ารจัดการขยะ การสะสมทุนจากการออม เพ่อื ใชส้ ำหรบั ช่วยเหลือ สมาชิก ผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก การศึกษา รักษาพยาบาล ดูแลคน ป่วย คนชรา เป็นต้น หรือจากการทำธุรกรรมอื่น ๆ เช่น ป่าชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอาหารและเพิ่มความอุดม สมบรู ณ์ การปลกู ไมใ่ นวนั ท่ีลูกคลอดใชเ้ ปน็ สวสั ดกิ ารสำหรบั ปลกู บา้ นในวนั ที่แตง่ งาน เปน็ ตน้ (5) การศึกษา ชุมชนควรมีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษา เช่น มีกองทุนเพื่อการศึกษา เล่าเรยี นให้แก่เยาวชนของชมชนเอง (6) สังคมและศาสนา ชุมชนควรเป็นที่รวมในการพัฒนาสังคมและจิตใจ โดยมีศาสนา เป็นที่ยึดเหนี่ยว ส่งเสริมการจัดกิจกรรมฟื้นฟู อนุรักษ์วัฒนธรรม เพื่ออาศัยเป็นศูนย์รวมสร้างความร่วมมือใน การพัฒนา เช่น โครงการงดเหล้าในงานบุญ ลด ละ เลิก อบายมุข การอนุรักษ์ทรัพยากร ซึ่งต่อยอดถึงการจัด กจิ กรรมหมบู่ า้ นทอ่ งเท่ยี วในเชงิ ประเด็นต่าง ๆ 5. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในระบบ BPM ภายใน 7 วัน หลงั ดำเนนิ การแลว้ เสร็จ กจิ กรรมที่ 5 ประชุมเชิงปฏบิ ัติการถอดบทเรียนและประเมนิ ผลการพฒั นาหมู่บ้านเศรษฐกจิ พอเพียง วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการพัฒนา สรุปบทเรียนและค้นหาแนวทาง วิธีพัฒนาต่อยอดการส่งเสริม การพฒั นาหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียงท่ีมีประสทิ ธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย ผู้แทนครอบครัวพัฒนา แกนนำหมู่บ้าน ผู้แทนกลุ่ม/องค์กร/คุ้มบ้าน ผู้แทนครัวเรือนอื่น ๆ และผู้ท่ีมสี ว่ นเกี่ยวขอ้ งอย่างน้อย 30 คน วธิ ีการดำเนินงาน 1. สำนกั งานพัฒนาชุมชนอำเภอ ๑.๑ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ เตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เตรียมความพร้อมผู้นำการประชุม ข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการประชุม เช่น ข้อมูลการดำเนินกิจกรรมในหมู่บ้าน วัสดุอุปกรณ์ ผู้ร่วมกิจกรรม กำหนดเวลาในการดำเนินการ สถานที่ พิจารณากลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องนำมาเพื่อเข้าร่วมประชุม เช่น ข้อมูล สถานการณ์ในปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงและ ผลกระทบท่ีเกิดขึ้นในชมุ ชน ๑.๒ ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง แจ้งกลุ่มเป้าหมายเพื่อทราบ เข้าร่วมการประชุมฯ ตามเวลานัดหมาย ผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำหนังสือจากอำเภอ ส่งถึงมือผู้รับพร้อมอธิบายให้เห็นความจำเป็นและความสำคัญ ในการร่วมประชมุ ฯ ครัง้ น้ี ๑.๓ จดั ประชมุ เชงิ ปฏบิ ัตกิ ารถอดบทเรยี นและประเมินผล การพฒั นาหม่บู ้านเศรษฐกิจพอเพยี ง ๑.๔ ประเมินผลการพัฒนา แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน/ชุมชน (GVH) เป็นครั้งที่ ๒ โดยใช้ ข้อมูลเกณฑ์การประเมินในครั้งที่ ๑ ที่ได้ ดำเนินการประเมินไว้ก่อนการพัฒนา เปรียบเทียบผลการพัฒนา ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร (ตามเกณฑ์ของ กพร. ต้องเพิ่มขึ้น) บรรลุเป้าหมาย หรือไม่ วิธีการดำเนินการเหมาะสม คุ้มค่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ รวมทั้ง อาจประเมินผลระดับการพฒั นาของหมบู่ า้ น ตามเกณฑ์ของกระทรวงมหาดไทย (4 ดา้ น 23 ตัวชีว้ ัด) โดยระบุผล การดำเนนิ งานแยกรายตวั ช้วี ัดตามแบบประเมนิ ผลที่ กำหนดเพื่อเปรียบเทียบผลกับก่อนการพฒั นา (คร้งั ที่ 1) ประเมนิ ผลสำเรจ็ การขบั เคลื่อนการพฒั นาหมู่บ้านและชุมชนท้องถนิ่ ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงครัวเรือน ในแต่ละหมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือนที่ปฏิบัติกิจกรรมในครัวเรือนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ ๗๐ (ระดับด)ี ร้อยละ ๘๐ (ระดับดีมาก) ร้อยละ ๙๐ (ระดับดเี ด่น) โดยใช้เกณฑค์ วามสำเรจ็ ดังนี้
21 แต่ละดา้ นดำเนนิ กจิ กรรมอยา่ งน้อย 2 กจิ กรรม ประกอบดว้ ย ๑. สร้างความม่นั คงทางอาหาร ประกอบด้วย 1) มีการปลูกผัก พืชสวนครัว เพื่อใช้เป็นประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน เพื่อลด ค่าใช้จ่ายประจำวันตามสภาพพนื้ ท่ขี องครัวเรือน 2) มีการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหารของครัวเรือน เช่น ไก่ เป็ด ปลา กบ หรืออื่น ๆ ตามท่ี สภาพของพื้นท่ีแตล่ ะครัวเรอื นจะทำได้ 3) มีการแปรรูป ผลิตผลในบ้านเพื่อเป็นการถนอมอาหาร และใช้ประโยชน์ของใน ครัวเรือนรูปแบบตา่ ง ๆ ๒. สรา้ งสงิ่ แวดล้อมใหย้ ั่งยนื ประกอบดว้ ย 1) มีการบริหารจัดการขยะ ลดการใช้ผลิตภัณฑ์สร้างขยะ คัดแยกขยะ นำกลับมาใช้ซ้ำ หมักขยะเปยี กเพอื่ เปน็ ปุ๋ย หรือถงั ขยะเปียกลดโลกร้อน 2) มีการจดั สุขลกั ษณะในบา้ น โดยการจดั บรเิ วณบ้าน สะอาดเปน็ ระเบยี บไมเ่ ป็นแหล่ง เพาะเชอ้ื โรค และพาหะนำโรค เชน่ รั้วกินได้ ไมด้ อกไมป้ ระดบั สะดวกปลอดภัยในการใชอ้ ปุ กรณป์ ระกอบอาชีพ 3) มีการใช้ทรัพยากรในบ้านอย่างคุ้มค่า ประหยัดและเกื้อกูลกัน เช่น น้ำจากการซักผ้า นำไปรดตน้ ไม้ เปน็ ต้น 3. สร้างภูมคิ ุ้มกันทางสังคม ประกอบด้วย 1) มกี ารปฏิบัติศาสนากิจตามพิธี ตามความเช่ือเปน็ ประจำ มกี ารแบง่ ปนั เอ้ือเฟื้อระหวา่ งกนั 2) มีการเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะด้วยจิตอาสาอาสาสมัครเข้าร่วม กจิ กรรมเพ่ือสาธารณะของหม่บู ้านการปรบั ปรงุ ถนน คู คลองหรือการรว่ มกจิ กรรมการพัฒนาหมบู่ า้ นอืน่ ๆ 3) มีการออกกำลังกายเสริมสุขภาพ เพื่อสุขภาพร่างกายที่เข็งแรง ครัวเรือนต้องมีการ ออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ เป็นประจำ ๑.๕ ผู้นำการประชุม นำพิจารณาผลการประเมินจากคะแนนประเมินแต่ละด้าน ถึงสาเหตุที่ทำให้ บรรลุผล ทำอย่างไร ถอื เป็นวิธีการปฏิบัตทิ ีม่ ปี ระสิทธิภาพที่สดุ หรือไม่ ตอ้ งปรบั ปรงุ ส่งิ ใดเพ่ือหรือไม่ ตอ้ งทำกิจกรรม หรอื วธิ กี ารอยา่ งไรต่อไป ๑.๖ สรุปบทเรียนและค้นหาแนวทาง วิธีพัฒนาต่อยอดการส่งเสริมการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีประสทิ ธภิ าพ 2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้หมู่บ้านเป้าหมาย จัดทำเอกสารบทเรียน วิธีการปฏิบัติท่ีประสบความสำเร็จ ไว้เป็นความรู้ แนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป และการถ่ายทอดความรู้ เป็นแบบอย่างแก่หมู่บ้านอื่นเพื่อขยายผลลต่อไป พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาหมู่บ้านในภาพรวม จดั ทำเปน็ เอกสารความรู้ อยา่ งน้อย 1 ฉบับ ตามรปู แบบทก่ี รมฯ กำหนด 3. สง่ เสริมและสนับสนนุ ให้หมบู่ า้ นเป้าหมาย จัดทำปา้ ยหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพยี งตามแบบท่ีกรมฯ กำหนด 4. มอบหมายภารกิจ ผู้แทนหมู่บ้าน ใช้แผนพัฒนา ประสานการบูรณาการเพื่อต่อยอดขยายผล การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยผ่านกลไกของคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชน ทอ้ งถิ่นตามหลักปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียงจังหวดั /อำเภอ/ตำบล 5. สรปุ และประเมนิ ผลการดำเนินงาน พรอ้ มทง้ั รายงานผลการดำเนนิ งานในระบบ BPM ภายใน 7 วนั ตัวชี้วัดกิจกรรม ร้อยละ 90 ของหมู่บ้านที่ได้รับการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มคี วามสุขมวลรวมเพิม่ ข้ึน
22 ส่วนที่ 3 แกนนำพฒั นาหม่บู า้ นเศรษฐกจิ พอเพียงและครอบครัวพัฒนา แกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกจิ พอเพียง แกนนำ คอื ผทู้ เี่ ป็นหวั เรยี่ วหวั แรงหลักในการชดั ชวนให้คนใน หม่บู า้ นลกุ ขึ้นมารว่ มคิด รว่ มหาทางแก้ปญั หาและลงมอื ทำกิจกรรมตา่ ง ๆ เพือ่ พัฒนาชวี ิตตนเอง ครอบครวั และชมุ ชนให้ดขี ้ึน และเป็นแบบอย่างท่ดี ใี น การใชช้ ีวิตท่เี รยี บง่าย โดยคัดเลอื กผูท้ ส่ี มัครใจ หวั ไวใจสชู้ าวบา้ นยอมรับ สง่ิ ท่ีแกนนำต้องรแู้ ละทำได้ - แกนนำจะต้องเรยี นรู้และเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง - กระบวนการพัฒนาหมู่บา้ นเศรษฐกจิ พอเพียง - การจัดกิจกรรมเพื่อสรา้ งความรู้ ความเข้าใจ ในการถา่ ยทอดองค์ความรู้ - วิธีการส่อื สารเพือ่ กระตนุ้ และสร้างความตระหนักแก่ครวั เรอื นต้นแบบ และประชาชนในการนำหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกจิ พอเพียงมาปรบั ใช้ในการดำเนินชวี ติ แกนนำ ต้องไปสง่ เสริมให้ครวั เรือนตน้ แบบรูจ้ กั วิเคราะห์ตนเอง มองเห็นปัญหา เหน็ จดุ อ่อน จุดแข็ง ของตนเอง และเรยี นร้วู ธิ คี ิด วิธกี ารแกไ้ ขปัญหาโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ในการพฒั นา คณุ ภาพชวี ิตของตนเอง ครอบครัว และชมุ ชน ภารกจิ ใหแ้ กนนำพัฒนาหม่บู า้ นเศรษฐกจิ พอเพียง ภารกิจแกนนำพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในการขับเคล่ือนการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับครัวเรือน โดยวิธกี ารขบั เคล่ือนการพัฒนาครัวเรอื น ตามหลกั ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพยี ง ดังน้ี 1. เข้าใจ แกนนำและคณะกรรมการฯ ดำเนินการ ๑) ประชุมวางแผนการปฏิบัติเพื่อสร้างเครือข่ายผู้รอบรู้มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเชิญ ชวนเข้า รว่ มงานการพฒั นาประชาชน ๒) สร้างและพัฒนาผู้นำการเปลีย่ นแปลงเป็นแกนนำในการสรา้ งความรูว้ ิธีปฏิบตั ิด้านเศรษฐกิจพอเพียง แก่ครัวเรอื น สง่ เสริมการบริหารจัดการแก่กลมุ่ สร้างกระบวนการบริหารจดั การชุมชนเพ่ือการพึ่งตนเองในทุกระดับ ๓) กำหนดแนวทางการสรา้ งความรู้วิธีเปล่ยี นลกั ษณะนสิ ัยการดำเนนิ ชีวิตของประชาชนทุกครวั เรือน ๔) วิเคราะห์สภาพพืน้ ท่ี สภาพของชมุ ชนทอ้ งถิ่นใหเ้ ข้าใจอยา่ งถ่องแทว้ ่ามีสถานการณ์เป็นอย่างไร มีเหตุการณ์ใดบ้างที่มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อความเปน็ อยู่ของประชาชนอย่างไรเพื่อเตรยี มสร้างกิจกรรม รณรงคส์ รา้ งการรบั รู้และความตระหนกั ในการปรับเปล่ียนวิถีชีวติ ของครวั เรือน 2. เขา้ ถงึ แกนนำและคณะกรรมการฯ ดำเนนิ การ ๑) สรา้ งความตระหนกั ในสถานการณท์ เี่ ปน็ อยู่ ช้ีแจงขอ้ มลู สถานการณข์ องชุมชนความสำคัญความ จำเปน็ ต่อการปรบั เปล่ยี นพฤตกิ รรมการดำเนนิ ชีวิต ๒) นำเสนอแนวคดิ การดำเนนิ ชวี ติ ตามหลกั ปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี ง ๓) จดั ทำแผนการพัฒนาชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพยี งท้ังในภาพรวมชมุ ชน กลุ่มและครัวเรือน 4) ปรับปรุงและพัฒนาชีวิตด้วยศาสตร์พระราชา ทฤษฎีใหม่ ตัวอย่างจากโครงการพระราชดำริ ท่ปี ระสบผลสำเร็จ ๕) ส่งเสริมยกระดับความรู้ ความเข้าใจและปรับจิตสำนึกผ่านสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ จัดกิจกรรมสร้างความรู้ในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น แนะนำรายบุคคลครัวเรือนการประชุม การอบรม กระบวนการกลุ่ม การสาธติ การเรียนร้ผู ่านการทำจรงิ ๖) ให้มกี ารวางแผนการพัฒนาครัวเรอื นตวั เองตอ่ ไป
23 3. พฒั นา แกนนำและคณะกรรมการฯ ดำเนนิ การ ๑) สนับสนุนการยอมรับนอ้ มนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและความรูศ้ าสตร์พระราชาไป ปฏบิ ตั กิ จิ กรรมต่าง ๆ เพ่อื การพง่ึ ตนเองในแตค่ รวั เรอื นอย่างจริงจัง ๒) จัดระบบการพัฒนาโดยอาจจัดการขยายผลการทำงานด้วยการแบ่งคุ้มบ้านจัดกลุ่มบ้านเพ่ือ เรยี นรู้รว่ มกัน แบ่งปันทรัพยากรในการพฒั นาครวั เรอื นของสมาชกิ กลุ่ม ๓) สนบั สนุนใหแ้ ต่ละครวั เรือนมีเป้าหมายชัดเจนม่ันใจในวธิ ีการปฏิบตั ิ โดยเริม่ จากการสร้างความ มน่ั คงทางอาหารของแตล่ ะครอบครวั สรา้ งสิ่งแวดลอ้ มภายในพ้นื ท่ีบ้านใหย้ ั่งยนื และสร้างภมู ิค้มุ กันของสังคมให้ ความสมั พันธแ์ ละมจี ติ ใจทีด่ เี กิดข้นึ ๔) จดั กจิ กรรมทบทวนการปฏิบัติพรอ้ มปรับปรงุ ยกระดับให้ก้าวหนา้ ย่ิงข้ึน 4. เสริมแรง แกนนำและคณะกรรมการฯ ดำเนนิ การ ๑) สร้างกิจกรรมเชิดชูเกียรติผู้ประสบความสำเร็จตามระดับความต้องการ เช่น การให้รางวัล การสร้างความยอมรบั การประกาศเปน็ ตน้ แบบ เปน็ ครู ๒) สง่ เสริมครัวเรอื นท่ดี ำเนินการได้ก้าวหนา้ เป็นจุดเรยี นรู้ จุดดงู านเพื่อขยายผลตอ่ เนื่อง 5. การตรวจติดตาม แกนนำและคณะกรรมการฯ ดำเนนิ การ ๑) ดำเนินการ ตดิ ตาม พบปะ เยีย่ มเยียน เพ่ือการกำกบั ให้การปฏิบัติกจิ กรรมการพัฒนาครัวเรือน เปน็ ไปตามแนวทางหรือช่วงเวลาที่กำหนด ๒) เสนอแนะปรับปรุงวิธีการดำเนินงานตอ่ เน่ืองและทำเพ่ือใหเ้ กิดความสำเรจ็ อยา่ งแทจ้ รงิ ๓) คดิ คน้ วิธกี ารทุกวิธีเพ่อื ใชส้ นบั สนนุ ครัวเรอื นปฏิบัตไิ ด้เลยประสบความสำเร็จตามวัตถปุ ระสงค์ ครอบครัวพัฒนา การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงใช้วิธีการพัฒนาผ่านครอบครัวพัฒนาที่เข้าร่วมโครงการ อย่างนอ้ ย 30 ครัวเรือน ครอบครัวพัฒนา หมายถึง ครอบครัวที่สมาชิกทุกคนมีความรัก ความผูกพันเอื้ออาทรต่อกัน มีการ ดแู ลสมาชกิ ใหเ้ ปน็ คนดี มีคณุ ภาพ มอี าชพี สุจรติ มีความเสียสละ มีสว่ นรว่ มในการพฒั นาชมุ ชน พรอ้ มที่จะเรียนรู้ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและถ่ายทอดสู่ครอบครัวอื่นทั้งในหมู่บ้านและนอก หมูบ่ ้านได้ คุณสมบัติของครอบครัวพัฒนา คือ เป็นครอบครัวท่ีมีความสมัครใจ มีจิตอาสา มีความเสียสละ มีความเชื่อมั่นและอยากทำ มีความขยัน มุ่งมั่น มีลักษณะหัวไวใจสู้ มีความรู้ ภูมิปัญญาดี สามารถถ่ายทอดให้ ผู้อื่นได้ ครอบครัวเป็นแบบอย่างความอบอุน่ มีความรัก มีความผูกพันดูแลเอื้ออาทรตอ่ กัน สมาชิกในครอบครัว อยู่ในศีลธรรม ทุกคนในครอบครัวมีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรม มีการวางแผนการพัฒนาครอบครัว และ เม่อื เขา้ รว่ มโครงการแลว้ สามารถขยายผลส่คู รอบครวั อนื่ ๆ ได้ ด้วยการจัดเปน็ จดุ เรียนรู้ของชมุ ชนต่อไป การทำบญั ชี รบั -จ่าย ของครัวเรอื น - ประโยชน์ของการทำบัญชีครัวเรือน ทำให้รู้ว่าแต่ละเดือน ครอบครัวมีรายรับ-รายจ่ายอะไรบ้าง นำมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของครอบครัว แก้ไขปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หรือ อาจตอ้ งหารายไดเ้ สรมิ เพื่อใหค้ รอบครวั มคี วามเปน็ อยู่ที่ดขี น้ึ ได้ - การลงบญั ชีรับ-จ่าย ของครวั เรือน ควรจดไว้ทุกวัน ใหบ้ ุตรหลานเป็นคนจดก็ได้ หรือใหแ้ ต่ละคนลงไว้ ในสมดุ เลม่ เดียวกนั เพื่อใหท้ ราบสถานะรายได้และการใช้จา่ ยของครอบครวั - การวิเคราะห์บัญชีครัวเรือนและปรับการใช้ชีวติ ให้สมดุล ให้นำบัญชีครัวเรือนที่ผ่านมาในระยะเวลา ๑ เดือน มาพิจารณาดูว่ารายรับ-รายจ่าย มีความสมดุลกันหรือไม่ หรือหากมีรายรับเป็นรอบผลผลิต หักต้นทุน การผลิตและรายจ่ายประจำวันแล้ว ในรอบการผลิตนั้นมีรายรับต่างจากรายจ่ายเท่าไร มีเงินเหลือออม ติดลบ มีตน้ ทนุ การผลิตมากน้อยเพยี งไร ลดปริมาณลงได้หรอื ไม่ หรอื หารายได้เสริมต่าง ๆ
24 แผนชวี ิตครวั เรอื นพัฒนา ของ ........................................................................ บ้านเลขท่ี ............ หมูท่ ่ี .............. ตำบล ............................ อำเภอ ....................... จงั หวดั ....................... ------------------------------ สว่ นที่ ๑ การสำรวจทุนของครวั เรอื น ๑. ในครวั เรือนมีคนที่อยอู่ าศัยรว่ มกนั รวมท้งั หมด ......... คน เปน็ หญงิ ........... คน เป็นชาย ........ คน ๒. ความรคู้ วามสามารถทางอาชพี ของสมาชกิ ในครัวเรอื น ๒.๑ ชือ่ ......................................................... เร่อื ง ......................................................................... ๒.๒ ช่ือ ......................................................... เร่อื ง ......................................................................... ๒.๓ ชอ่ื ......................................................... เรอ่ื ง ......................................................................... ๓. ทรพั ยส์ ินที่มี ๓.๑ ทอ่ี ยู่อาศยั ของตนเอง เช่า เชา่ ทีด่ ินปลูกสร้าง อาศยั คนอนื่ ๓.๒ ที่อยูอ่ าศัย ถาวร ช่ัวคราว ๓.๓ ท่ีดนิ ทำกิน จำนวน ............. ไร่ แบ่งเปน็ ที่นา ...........ไร่ สวน .......... ไร่ ท่ีอย่อู าศยั ............ ไร่ อนื่ ๆ (ระบุ) ..................... ไร่ ๔. อาชีพหลักของครวั เรือน คอื .................................. อาชีพเสริมของครวั เรอื น คอื ........................... ๕. รายได้ประจำตอ่ เดือน ................... บาท หรือรายไดร้ วมตอ่ เดอื น (ทุกแหล่งรวมกัน) ............. บาท ๖. หนีส้ ินครัวเรอื น รวมจำนวน ........................ บาท แยกเป็น - ในระบบธนาคาร ......................... บาท - นอกระบบ .......................................... บาท - ในชมุ ชน เช่น กลุม่ ออมทรัพยฯ์ กทบ. กข.คจ. ฯลฯ รวม ....................... บาท ๗. สาเหตขุ องการก้เู งิน เพือ่ การลงทนุ ในอาชพี ................ บาท เพ่ืออปุ โภคบรโิ ภค ................. บาท เพื่อการเล่าเรียน/การศึกษาของคนในครัวเรือน ....................... บาท อน่ื ๆ ระบุ ............................................... บาท ๘. พิจารณาครัวเรอื นของเราในสังคม ๘.๑ คนข้างบา้ นยอมรบั คบเปน็ มติ ร ใช่ ไมใ่ ช่ ไม่ใช่ เพราะ .................... ๘.๒ ทา่ นและคนในครอบครัวช่วยเหลือ ชว่ ยงานในชมุ ชนสมำ่ เสมอ ใช่ ไม่ใช่ ๘.๓ ท่านและคนในครอบครัวเป็นสมาชกิ กลุ่มที่ตงั้ ในหมู่บ้านและเปน็ สมาชิกท่ดี ี ใช่ ไม่ใช่ ๘.๔ ในยามที่เดอื ดร้อน ท่านและครอบครัวมเี พอ่ื นในชุมชนชว่ ยเหลือ มี ไมม่ ี ๘.๕ ท่านหรอื คนในครอบครวั เป็นผู้ท่มี คี นยกย่องนับถือ หรือมาขอความชว่ ยเหลือ ใช่ ไมใ่ ช่ สว่ นที่ ๒ การวิเคราะห์ครัวเรือน (ทบทวนชวี ติ ) ๑. บ้านเรามีดี ทเี่ ราทำเกง่ ร้ชู ดั เจน มีฝมี ือ จดุ เดน่ อะไรบา้ ง (ระบุมา ๕ อันดับ) ๑) ....................................................................................................................................... ๒) ................................................................................................ ....................................... ๓) .......................................................................................................................... ............. ๔) ...................................................................... ................................................................. ๕) .......................................................................................................................... .............
25 ๒. บา้ นเรามจี ุดอ่อน หรือขอ้ ดอ้ ยของครัวเรือน (ระบุมา ๕ อนั ดบั ) ๑) .......................................................................................................................... ............. ๒) ....................................................................................................................................... ๓) ................................................................................................................... .................... ๔) ....................................................................................................................................... ๕) ......................................................................................... .............................................. ๓. สถานการณ์ของหมู่บ้าน ประเทศ หรือโลก รวมท้ังกิจกรรมที่สนับสนุนจากหน่วยงาน กลุ่มต่าง ๆ ชว่ ยเปดิ ช่องทางใหเ้ ราทำอะไร ให้การปรับปรุงคณุ ภาพชีวติ ได้ดีขน้ึ คอื อะไรบ้าง ๑) ....................................................................................................................................... ๒) .......................................................................................................................... ............. ๓) ....................................................................................................................................... ๔) .......................................................................................................................... ............. ๕) ................................................................................. ...................................................... ๔. นา่ จะมเี หตกุ ารณท์ ี่เปน็ ขอ้ จำกัดอะไร ทท่ี ำให้การทำงานพัฒนาครัวเรอื นเรามีอปุ สรรค เชน่ ปัญหายา เสพตดิ การเขา้ สงั คม ฯลฯ ๑) ............................................................................ ........................................................... ๒) ................................................................................................... .................................... ๓) ....................................................................................................................................... ๔) ......................................................................... .............................................................. ๕) ....................................................................................................................................... สว่ นที่ 3 ตัวชี้วดั การพัฒนาหม่บู า้ นเศรษฐกิจพอเพยี ง (ระดบั ครวั เรอื น) ดา้ น สภาพกอ่ นดำเนินโครงการ สภาพหลังดำเนนิ โครงการ มน่ั คงด้านอาหาร 1. มีการปลกู ผัก พืชสวน ครัว เพ่อื ใช้เปน็ อาหาร ลด คา่ ใชจ้ ่ายในชวี ิตประจำวัน 2. มีการเลี้ยงสัตวท์ ี่เป็น อาหารของครวั เรือน เชน่ ไก่ เป็ด ปลา กบ หรืออ่ืน ๆ 3. มีการแปรรูป ผลิตผลใน บ้านเพือ่ เป็นการถนอม อาหาร และใช้ประโยชนข์ อง ในครัวเรือนรูปแบบต่าง ๆ
ด้าน สภาพก่อนดำเนินโครงการ 26 สภาพก่อนดำเนินโครงการ สภาพหลงั ดำเนินโครงการ ส่ิงแวดลอ้ มยง่ั ยนื สภาพหลังดำเนนิ โครงการ 1. มีการบรหิ ารจดั การขยะ ลดการใชค้ ดั แยกขยะ นำ กลับมาใช้ซ้ำ หมักขยะเปียก เพอื่ เป็นปุ๋ย หรือถงั ขยะ เปยี กลดโลกร้อน 2. มีการจัดสุขลักษณะใน บ้าน บรเิ วณบา้ น เปน็ ระเบียบ สวยงาม เช่น ร้ัว กนิ ได้ ไม้ดอกไมป้ ระดับ ไม่ เป็นแหล่งเพาะเชือ้ โรค และ พาหะนำโรค สะดวก ปลอดภัย ในการใชอ้ ุปกรณ์ ประกอบอาชีพ 3. มกี ารใช้ทรพั ยากรใน บา้ นอย่างค้มุ ค่า ประหยดั และเก้ือกลู กนั เช่น นำ้ จาก การซกั ผา้ นำไป รดต้นไม้ ไมฟ้ ืนทำถ่าน เป็นตน้ ดา้ น มีภูมิคุ้มกันทางสังคม 1. มีการปฏบิ ตั ศิ าสนากิจ ตามความเช่ือเปน็ ประจำ มี การแบง่ ปันเออ้ื เฟื้อเจือจาน ระหว่างกนั 2. มีการเขา้ รว่ มกิจกรรม บำเพญ็ ประโยชน์สาธารณะ ด้วยจิตอาสาอาสาสมัครร่วม กจิ กรรมของหมบู่ ้าน กจิ กรรมการพฒั นาที่ หมบู่ า้ นจัด 3. มกี ารออกกำลังกายเสริม สุขภาพ ร่างกายที่เขง็ แรง ครัวเรอื นตอ้ งมกี ารออก กำลังกายในรปู แบบต่าง ๆ เป็นประจำ
27 สว่ นที่ 4 เป้าหมายชีวิต สิ่งที่ท่าน/ครอบครัว มีทั้งสิ่งดี ๆ ทั้งจุดอ่อน เมื่อเห็นช่องทางการทำงานให้สำเร็จและสิ่งที่จะทำให้งาน ไมส่ ำเร็จแล้ว ทา่ นอยากเหน็ ตัวทา่ น ครอบครัวเปน็ อย่างไรในอนาคต (เป้าหมาย) ๑) .......................................................................................................................... ............. ๒) ....................................................................................................................................... ๓) .......................................................................................................................... ............. ๔) ....................................................................................................................................... ๕) .......................................................................................................................... ............. ถา้ อยากใหส้ งิ่ ทอี่ ยากเหน็ (เป้าหมาย) เป็นจริงตอ้ งทำอะไรบา้ ง ๑) ....................................................................................................................................... ๒) ...................................................................................... ................................................. ๓) .......................................................................................................................... ............. ๔) ....................................................................................................................................... ๕) .......................................................................................................................... ............. สว่ นท่ี 5 แผนท่ีชวี ติ ครวั เรือนเราจะเปล่ียนวิธีคิด วิถีชีวติ เรา เพ่อื ชวี ิตความเปน็ อยตู่ ามแนวคดิ ปรชั ญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเป้าหมายชีวติ ท่ีเราตง้ั เป้าหมายไว้ ๑. เรอ่ื งทพ่ี วกเราจะตอ้ งทำ และเปลย่ี นให้ดีกวา่ เดิม ๑) ....................................................................................................................................... ๒) .......................................................................................................................... ............. ๓) ....................................................................................................................................... ๔) .......................................................................................................................... ............. ๕) ....................................................................................................................................... 6) ........................................................................................................................... ............ 7) ....................................................................................................................................... 8) ..................................................................................................... .................................. 9) ........................................................................................................................... ............ 10) .......................................................................... ............................................................. ๒. วธิ ีการทีจ่ ะทำใหเ้ ร่อื งท่ีจะทำสำเร็จ ตอ้ งทำตามขนั้ ตอน ต่อไปน้ี ๑) .......................................................................................................................... ............. ๒) ....................................................................................................................................... ๓) ................................................................................................ ....................................... ๔) ....................................................................................................................................... ๕) ....................................................................................................................................... 6) ................................................................................................................... .................... 7) .......................................................................................................... ............................. 8) ....................................................................................................................................... 9) ................................................................................ ....................................................... 10) ........................................................................................................................... ............
28 สว่ นท่ี 6 การบริหารจัดการชีวิต ๑. เร่อื ง ................................................................................................................................................ ทำเพอ่ื อะไร ทำอยา่ งไร ใช้วสั ดุ งบประมาณเท่าไหร่ งานสำเร็จดจู ากอะไร ใครรบั ผิดชอบ ๒. เรือ่ ง ................................................................................................................................................ ทำเพอ่ื อะไร ทำอยา่ งไร ใช้วสั ดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรบั ผดิ ชอบ ๓. เรื่อง ................................................................................................................................................ ทำเพื่ออะไร ทำอยา่ งไร ใช้วัสดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรบั ผดิ ชอบ ๔. เรอ่ื ง ................................................................................................................................................ ทำเพอื่ อะไร ทำอยา่ งไร ใช้วสั ดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรับผิดชอบ ๕. เรอื่ ง ................................................................................................................................................ ทำเพอ่ื อะไร ทำอย่างไร ใช้วสั ดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรบั ผดิ ชอบ
29 6. เรือ่ ง ................................................................................................................................................ ทำเพือ่ อะไร ทำอยา่ งไร ใช้วัสดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเร็จดจู ากอะไร ใครรับผิดชอบ 7. เรอ่ื ง ................................................................................................................................................ ทำเพื่ออะไร ทำอยา่ งไร ใช้วัสดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรับผิดชอบ 8. เร่ือง ................................................................................................................................................ ทำเพ่ืออะไร ทำอย่างไร ใช้วสั ดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรบั ผดิ ชอบ 9. เรอ่ื ง ................................................................................................................................................ ทำเพื่ออะไร ทำอยา่ งไร ใช้วัสดุ งบประมาณเท่าไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรบั ผดิ ชอบ 10. เรอื่ ง ................................................................................................................................................ ทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร ใช้วัสดุ งบประมาณเทา่ ไหร่ งานสำเรจ็ ดจู ากอะไร ใครรับผดิ ชอบ
30 สว่ นที่ 7 การรกั ษาความดี ข้าพเจ้าขอตั้ง ปณิธานว่า ครอบครัวของข้าพเจ้าจะทำให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เพื่อให้เป็นภูมิคุ้มกัน ของชวี ติ และสังคม อย่างยั่งยืน โดยเป็นแบบอย่างแดค่ นอืน่ ดังนี้ ๑. เรอื่ ง ................................................................................................................................................ ๒. เรอ่ื ง ................................................................................................................... ............................. ๓. เรอ่ื ง ................................................................................................................................................ ๔. เรื่อง ................................................................................................................................................ ๕. เรื่อง .................................................................................................... ............................................ 6. เรื่อง ............................................................................... ................................................................. 7. เร่ือง ................................................................................................................................................ 8. เรอ่ื ง ................................................................................................................................................ 9. เรื่อง .................................................................................................................... ............................ 10. เรอ่ื ง ........................................................................................ .................................................... สว่ นที่ 8 กำลังใจ การก้าวไปสู่เป้าหมายไม่มีความล้มเหลว มีแต่การล้มเลกิ ช่องวา่ งตอ่ ไปน้ี สำหรบั เตอื นตนเอง ว่าอย่าล้มเลกิ ง่าย อาจมเี พ่ือนคูค่ ิด เจ้าหนา้ ท่ี ผ้สู นบั สนนุ ช่วยใหก้ ำลงั ใจ แนะนำช่วยเหลือ ............................................................................................................................. ................................................ .................................................... ............................................................................................................ ............. ...................................................................................................................................... ....................................... ................................................................................................................... .......................................................... ................................................................................................................................................................ ............. ............................................................................................................................ ................................................. ......................................................................................................... ....................................................... ............. (ลงชื่อ) ...................................................... หัวหน้าครวั เรอื น (......................................................) (ลงชือ่ ) ...................................................... หุ้นส่วนชวี ิต (สามี/ภรรยา) (......................................................) (ลงชอื่ ) ...................................................... พยาน (......................................................)
31 สว่ นท่ี 4 เครอ่ื งมือในการพฒั นาหมู่บา้ นเศรษฐกจิ พอเพียง ตวั ชว้ี ดั หมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียง 6 X 2 (6 ด้าน 12 ตวั ช้วี ัด) ตัวชว้ี ดั หมูบ่ ้านเศรษฐกจิ พอเพยี ง 6 X 2 เป็นตัวชี้วัดท่ใี ช้ในการประเมนิ หม่บู า้ นที่ยึดถือปรัชญาของ เศรษฐกจิ พอเพยี งเปน็ รากฐานของชวี ติ ประกอบด้วยจวั ชว้ี ดั 6 ดา้ น ๆ ละ 2 ตัวชว้ี ัด รวม 12 ตัวชวี้ ดั 1. ดา้ นการลดรายจ่าย 1.1 ครัวเรอื นทำสวนครัว 1.2 ครวั เรือนปลอดอบายมุข 2. ด้านการเพม่ิ รายได้ 2.1 ครัวเรือนมอี าชพี เสรมิ 2.2 ครัวเรือนใช้เทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม 3. ด้านการประหยัด 3.1 ครวั เรือนมกี ารออมทรพั ย์ 3.2 ชุมชนมกี ลุ่มออมทรพั ยฯ์ 4. ด้านการเรียนรู้ 4.1 ชุมชนมีการสืบทอดและใช้ภูมิปัญญาท้องถ่ิน 4.2 ครัวเรอื นมกี ารเรยี นรปู้ รัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชวี ิตประจำวนั 5. ดา้ นการอนุรักษส์ ิ่งแวดล้อมและใชท้ รัพยากรธรรมชาติอยา่ งยัง่ ยนื 5.1 ชุมชนใชว้ ตั ถดุ ิบอยา่ งย่ังยืนในการประกอบอาชพี 5.2 ชุมชนปลูกต้นไมใ้ ห้รม่ ร่ืนเป็นหมู่บ้านนา่ อยู่ 6. ด้านการเออ้ื อารีต่อกัน 6.1 ชมุ ชนมกี ารดแู ลช่วยเหลือ คนจนคนดอ้ ยโอกาส และคนประสบปัญหา 6.2 ชมุ ชน\"รู้รักสามัคคี\" หมายเหตุ : ตัวชว้ี ัด 6 ด้าน ๆ ละ 2 ตัวชวี้ ัด รวม 12 ตัวชว้ี ัด ๆ ละ 3 คะแนน รวม 36 คะแนน หมู่บา้ นทีผ่ ่านเกณฑ์ ต้องได้คะแนนไม่นอ้ ยกว่า ร้อยละ ๕๐ (18 คะแนน) และต้องไดค้ ะแนนครบทกุ ดา้ น X2
32 ตวั ชว้ี ัดหมู่บ้านเศรษฐกจิ พอเพียง 6 X 2 (6 ด้าน 12 ตวั ช้ีวัด) หมู่บ้านท่ียึดถือปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพยี งเป็นรากฐานของชวี ิต ตัวช้วี ัด 1 ระดับคะแนน 3 คะแนน 2 ที่ได้ 1.ดา้ นการลดรายจ่าย 50 % ของ คร.ทงั้ หมด 1.1 ครัวเรือนทำสวนครวั 50 % ของคร. ทั้งหมด 51 – 75 % ของคร.ท้งั หมด 75 % ของคร.ท้งั หมด 1.2 ครัวเรือนปลอดอบายมุข 51-75 % ของคร.ท้ังหมด 75 % ของคร.ท้ังหมด 20 % ของคร.ทั้งหมด 2. ดา้ นการเพม่ิ รายได้ 30% ของคร.ทั้งหมด 21-30 % ของคร.ทงั้ หมด 30 % ของคร.ทง้ั หมด 2.1 ครัวเรือนมอี าชีพเสรมิ 31-50 % ของคร.ทง้ั หมด 50 % ของคร.ทั้งหมด 2.2 ครวั เรือนใช้เทคโนโลยี 50 %ของ คร. ท้งั หมด ท่เี หมาะสม มี 1 กล่มุ 51-75 % ของ คร.ท้ังหมด 75 % ของ คร. ทง้ั หมด 3. ด้านการประหยัด มี 1 กล่มุ และมกี จิ กรรม มี 2 กลมุ่ และเชอื่ มโยงเปน็ 3.1 ครัวเรือนมีการออมทรพั ย์ 3.2 ชุมชนมีกลุ่มออมทรพั ย์ ฯ เพื่อหมบู่ ้าน เครือขา่ ย 4. ด้านการเรยี นรู้ 4.1 ชมุ ชนมกี ารสืบทอดและใช้ มภี มู ิปญั ญาท้องถน่ิ มีกจิ กรรมสืบทอดและใช้ภูมิ มีกิจกรรมสืบทอดและใช้ ปญั ญาท้องถิน่ 1 อยา่ ง ภูมิปญั ญาท้องถนิ่ 2 อยา่ ง ภมู ิปัญญาทอ้ งถิ่น อย่างนอ้ ย 1 เรอื่ ง มศี ูนยเ์ รยี นรูแ้ ละการจดั มเี ครอื ข่ายเรยี นรกู้ บั ชุมชนอ่ืน กจิ กรรม 4.2 ครัวเรอื นมกี ารเรยี นรู้ปรชั ญา มีกิจกรรมเรยี นรู้ 1 กิจกรรม เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิต ประจำวัน 5. ดา้ นการอนุรกั ษส์ ่ิงแวดลอ้ มและ ใช้ทรพั ยากรธรรมชาติอยา่ งยง่ั ยืน 5.1 ชุมชนใชว้ ตั ถดุ บิ อยา่ งย่ังยืน 50 % ของคร.ทง้ั หมด 51-75 % ของคร.ท้ังหมด 75 % ของคร.ทัง้ หมด ในการประกอบอาชพี 5.2 ชมุ ชนปลูกตน้ ไม้ใหร้ ม่ ร่นื มีการปลูกตน้ ไม้ ปลี ะ 1 คร้งั มีกจิ กรรมการ ปลูกตน้ ไม้ มีกิจกรรมการปลูกตน้ ไม้ เป็นหมบู่ ้านนา่ อยู่ และดูแลรกั ษา ปลี ะ 2-3 ครงั้ มากกวา่ 3 ครง้ั ขนึ้ ไป 6. ด้านการเอื้ออารีต่อกัน 6.1 ชมุ ชนมกี ารดแู ลช่วยเหลอื 50 % ของคนจน/ 51-75 % ของคนจน/ 75 % ของคนจน/ ด้อยโอกาส /ประสบปญั หา ดอ้ ยโอกาส /ประสบปญั หา คนจน คนด้อยโอกาส และ ดอ้ ยโอกาส /ประสบปญั หา คนประสบปญั หา 6.2 ชุมชน “รู้รักสามัคคี” มกี ิจกรรมการแกป้ ัญหา มีกิจกรรมการแก้ปญั หา มกี ิจกรรมการแกป้ ัญหาร่วมกนั ร่วมกัน 2 กิจกรรม 3 กิจกรรมขน้ึ ไป ร่วมกนั 1 กิจกรรม รวมคะแนน หมายเหตุ : หมู่บ้านทผ่ี ่านเกณฑ์ ต้องไดค้ ะแนนไม่นอ้ ยกว่า รอ้ ยละ ๕๐ (18 คะแนน) และตอ้ งได้คะแนนครบทกุ ดา้ น
33 คำอธิบายตัวชี้วดั 6 ดา้ น 12 ตวั ชว้ี ดั หม่บู า้ นท่ียดึ ถอื ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรากฐานของชีวิต ตวั ชี้วดั คำอธบิ าย 1. ด้านการลดรายจา่ ย 1.1 ครัวเรือนทำสวนครัว 1.1 ครวั เรือนใชพ้ ้ืนทว่ี า่ งบริเวณบ้าน หรือ ใช้กระถาง/ภาชนะท่ีทิ้งแลว้ ในการ ปลกู ผักไว้กินเองในครอบครวั รวมทงั้ การปลูกผักแบบแขวน ในกรณพี น้ื ที่ ที่ไมส่ ามารถปลูกผักได้อาจมีกิจกรรมอนื่ ท่ีทดแทนกนั ได้ เชน่ พ้นื ท่ีชาวเล มกี ารหาปลากนิ เองเป็นต้น 1.2 ครัวเรอื นปลอดอบายมุข 1.2 สมาชกิ ทกุ คนในครัวเรือน ไมเ่ สพส่ิงเสพตดิ ไม่เล่นการ พนนั ประพฤติ ตนอยใู่ นศลี ธรรมอันดี 2. ด้านการเพิม่ รายได้ 2.1 ครวั เรอื นมอี าชพี เสริม 2.1 ครวั เรอื นมอี าชพี อื่นนอกจากอาชีพหลักท่ีทำประจำ ทำใหค้ รัวเรือนมี รายไดเ้ พ่ิมขึ้น 2.2 ครวั เรอื นใชเ้ ทคโนโลยที เี่ หมาะสม 2.2 ครวั เรอื นมกี ารใชอ้ ปุ กรณ์ เคร่อื งมอื ในการประกอบ อาชพี หรอื ส่ิง อำนวยความสะดวกในครัวเรือนที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ทำใหเ้ กิด ความค้มุ คา่ และประหยัด เชน่ การใช้ปุ๋ยชีวภาพในการเพาะปลกู และได้ผล ผลิตค้มุ ค่าการปลูกผักปลอดสารพิษ การใชพ้ ลังงาน ทดแทน ฯลฯ 3. ดา้ นการประหยดั 3.1ครัวเรอื นมกี ารออมทรัพย์ 3.1 สมาชกิ ในครัวเรือนมกี ารฝากเงนิ ไวก้ บั ธนาคาร/สถาบันการเงนิ / กลุ่มออมทรัพย์ฯ/หรือกลุม่ อ่ืน ๆ ท่ีมกี ารรบั ฝากเงินกับสมาชิก 3.2 ชมุ ชนมกี ลุ่มออมทรัพยฯ์ 3.2 กลุ่มออมทรพั ย์เพ่ือการผลติ หรอื กลุม่ ออมทรัพย์อ่ืนทีม่ ี ลักษณะคลา้ ยกนั เช่น กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ /กลุ่มออมทรัพย์สตร/ี กลมุ่ ออมทรัพย์ของกลมุ่ อาชพี ตา่ ง ๆ เปน็ ต้น - มีการเชอ่ื มโยงเครอื ขา่ ย - การเช่อื มโยงกลุม่ /องค์กรตา่ ง ๆ ในพื้นทห่ี รือพ้นื ท่ีอ่นื 4. ดา้ นการเรยี นรู้ 4.1 ชมุ ชนมกี ารสืบทอดและใช้ ภูมิปญั ญาท้องถิน่ 4.1 ชมุ ชนมีการบันทึกภูมปิ ัญญาในรปู แบบต่าง ๆ มกี ารถ่ายทอด และ นำไปใช้ประโยชน์อย่าง กว้างขวาง 4.2 ครวั เรือนมกี ารเรยี นรู้ ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียงใน ชวี ติ ประจำวนั 4.2 คนในครัวเรือนมกี ารพดู คุยแลกเปลี่ยนความคดิ หรือจดั เวทีการเรยี นรหู้ รือ กจิ กรรมท่ีก่อใหเ้ กดิ การเรยี นรู้ นำไปส่คู วามเขา้ ใจในการดำรงชวี ิตตาม ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง 5. ดา้ นการอนรุ ักษส์ ่งิ แวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอยา่ งยง่ั ยืน 5.1 ชุมชนใช้วตั ถดุ บิ อย่างยั่งยนื ในการประกอบอาชพี 5.1 ชมุ ชนมกี ารใชว้ สั ดุหรือทรพั ยากรที่มอี ยู่ในชุมชนอยา่ งคมุ้ คา่ และ ประหยัดในการประกอบอาชีพ โดยมีการวางแผน จัดหาทรพั ยากรทดแทน ควบคูก่ ับการอนรุ กั ษ์ เชน่ การปลูกพชื /เลยี้ งสัตว์ ทดแทน การดแู ลรักษาแหล่งน้ำ ปา่ ไม้ และสง่ิ แวดลอ้ มเป็นต้น
34 5.2 ชุมชนปลูกตน้ ไมใ้ หร้ ่มรื่น 5.2 ชมุ ชนส่งเสรมิ ให้มีการปลกู ต้นไมบ้ ริเวณทสี่ าธารณะ ถนนในหมูบ่ ้าน เปน็ หมบู่ า้ นนา่ อยู่ บริเวณบ้าน หรอื ที่ว่างในหมู่บ้าน ฯลฯ และมกี ารดแู ลรกั ษาอย่างต่อเน่ือง 6.ดา้ นการเอ้อื อารีตอ่ กัน 6.1 ชุมชนมกี ารดูแลช่วยเหลอื 6.1 ชุมชนมกี ารจดั สวสั ดกิ ารสำหรบั คนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบ คนจนคนด้อยโอกาส ปัญหา เช่น การจัดใหม้ ีกองทุนประกอบอาชีพ และคนประสบปัญหา กองทนุ สงเคราะห์ ตา่ ง ๆ การจัดสรรเงนิ กำไรจากกองทนุ ชุมชนเพือ่ เปน็ สวัสดกิ าร การจัดตั้งศูนยส์ งเคราะหร์ าษฎรประจำหมบู่ ้าน ตลอดจนมกี าร 6.2 ชมุ ชน\"รู้รักสามัคคี\" ช่วยเหลอื เก้ือกลู กนั ในรูปแบบอื่น ๆ ท่ีมิใชเ่ กี่ยวกบั การเงนิ เป็นตน้ 6.2 ชุมชนมกี ารมีการจดั ทำแผนชมุ ชนและนำแผนไปสกู่ าร ปฏิบัตเิ พื่อการ แกไ้ ขปัญหาชุมชนรว่ มกัน ค่าคะแนนผา่ นเกณฑก์ ารประเมิน ต้องได้คะแนนไมน่ อ้ ยกว่า รอ้ ยละ 50 และตอ้ งไดค้ ะแนนครบทุกดา้ น
35 ตวั ชีว้ ัดหมบู่ า้ นเศรษฐกจิ พอเพยี ง กระทรวงมหาดไทย (4 ดา้ น 23 ตัวชีว้ ัด) เป็นเกณฑ์การประเมินเพอื่ จัดระดบั การพฒั นาของหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจพอเพยี ง เพื่อส่งเสริมสนบั สนนุ การ พัฒนาให้ตรงตามศักยภาพของหมบู่ า้ น ประกอบดว้ ย 4 ด้าน 23 ตวั ชี้วัด แบ่งระดับการพฒั นาออกเปน็ 3 ระดับ คอื ระดับ “พออยู่ พอกิน” ระดับ “อยูด่ ี กินด”ี และระดบั “มั่งมี ศรสี ขุ ” คำอธิบายตวั ช้ีวดั ด้านท่ี 1 ดา้ นจิตใจและสงั คม จำนวน 7 ตวั ช้ีวัด ประกอบดว้ ย 1. มีความสามัคคีและความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน หมายถึง มีการประชุม/จัดเวทีประชาคม เพื่อแกไ้ ขปัญหาหรอื เพือ่ การพฒั นา และคนในหม่บู ้าน/ชมุ ชนมสี ว่ นรว่ มในกจิ กรรมตา่ ง ๆ ของหมู่บา้ น 2. มขี ้อปฏบิ ัติของหมู่บ้าน หมายถงึ มขี ้อตกลงร่วมกันเพื่อให้คนในหมบู่ ้าน/ชุมชนต้องปฏิบัติควร ปฏิบัติและ/หรือขอ้ ห้ามปฏบิ ัติ ซง่ึ สอดคลอ้ งกับคา่ นิยม วัฒนธรรม ประเพณเี พื่อให้เกิดความสงบสุข 3. มีกองทุนในรูปแบบสวัสดิการแก่สมาชิก หมายถึง หมู่บ้านมีกองทุนสวัสดิการแก่สมาชิกใน ชมุ ชน และมกี ารจัดสวัสดกิ ารภายในหมบู่ ้าน/ชมุ ชนท่ียากจน ดอ้ ยโอกาสและคนที่ประสบปัญหา 4. ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย หมายถึง คนในหมู่บ้าน/ชุมชนมีความตื่นตัวและรู้จักรักษา สทิ ธิหนา้ ที่ และเสรภี าพทางการเมอื งและในฐานะพลเมืองของประเทศ 5 มีคณุ ธรรม/จรยิ ธรรม หมายถึง หมบู่ ้าน/ชมุ ชนยดึ ม่นั ในคณุ ธรรม/จรยิ ธรรมอันดงี าม ซึ่งคนใน หม่บู า้ น/ชมุ ชนประพฤตติ นและปฏิบัตริ ่วมกันในการดำรงชวี ติ 6. คนในหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดอบายมุข หมายถึง คนในหมู่บ้าน/ชุมชนปฏิบัติตนเพื่อลด ละ เลิก อบายมขุ โดยวิธีการตา่ ง ๆ และไมเ่ กีย่ วขอ้ งกับอบายมขุ 7. มีความเชื่อมั่นในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง หมู่บ้าน/ชุมชนเรียนรู้ เข้าใจ และนำ หลักการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพยี งมาปฏิบตั เิ ป็นแนวทางในการดำรงชีวติ ด้านท่ี 2 ดา้ นเศรษฐกจิ จำนวน 5 ตวั ช้วี ดั ประกอบดว้ ย 8. มกี ารจดั ทำบัญชคี รัวเรือน หมายถงึ คนในครวั เรอื นมีการจัดทำบัญชี รายรบั - รายจ่าย ของครัวเรือน เป็นประจำ 9. มีกิจกรรมลดรายจ่ายและสร้างรายได้ หมายถึง คนในหมู่บ้านมีการทำกิจกรรมเพื่อลด รายจา่ ยในชวี ติ ประจำวนั และสามารถสร้างรายได้เพมิ่ จากกิจกรรมดังกล่าวได้
36 10. การรวมกลุ่มเพอ่ื พัฒนาอาชีพของหมบู่ ้าน หมายถึง คนในหมบู่ ้านมกี ารเรียนรู้ ปรับปรุง และ พัฒนาการประกอบอาชีพร่วมกันเป็นกลุ่มทั้งในด้านการผลิต การตลาด การจัดการ และเงินทุน เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขนึ้ และมีคณุ ภาพดขี นึ้ 11. มีกิจกรรมการออมที่หลากหลาย หมายถึง หมู่บ้านมีการส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเป็น สมาชิกกลุ่มออมทรพั ย์ตา่ ง ๆ และ/หรือส่งเสริมกลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ พัฒนารูปแบบการออมเงินให้หลากหลาย (กลมุ่ ออมทรัพยเ์ พอื่ การผลิต กล่มุ ออมทรัพย์สัจจะ กองทนุ หมู่บ้าน เยาวชน) เพอื่ นำไปลงทนุ 12. มีการดำเนินงานในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หรือ กลุ่มที่มีการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับ รูปแบบวิสาหกิจชุมชน หมายถึง หมู่บ้านมีการจัดตั้งและบริหารจัดการกลุ่มในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน หรือ กลมุ่ ท่มี กี ารดำเนนิ งานในลักษณะเดียวกับรูปแบบวสิ าหกิจชุมชน ด้านท่ี 3 ดา้ นการเรียนรู้ จำนวน 7 ตวั ชวี้ ัด ประกอบด้วย 13. มขี ้อมูลของชุมชน หมายถึง มีกระบวนการจดั เกบ็ รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะหข์ ้อมลู ต่าง ๆ ของชมุ ชน 14 มีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุมชนและแผนชุมชน หมายถึง ใช้ข้อมูลของหมู่บ้านใน กระบวนการจัดทำแผนชมุ ชน ซึ่งเป็นแผนท่ีแสดงถึงทศิ ทาง แนวทาง วธิ กี ารแกไ้ ขปัญหาและพฒั นาหมบู่ า้ น 15. มีการค้นหาและใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่า หมายถึง หมู่บ้านมีกระบวนการสืบค้น รวบรวม จัดหมวดหมู่ และเรียนรู้จากความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น และใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่ม คณุ คา่ หรอื มูลค่า 16. มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน หมายถึง หมู่บ้านมีการจัดสถานที่สำหรับเป็นศูนย์ เรียนรู้ให้คนในและนอกหมู่บ้านได้ค้นคว้าหาความรู้ เรียนรู้ องค์ความรู้ และใช้ความรู้ในการดำรงชีวิต 17. มีการใชเ้ ทคโนโลยที ี่เหมาะสมกับศกั ยภาพของหมู่บ้าน/ชมุ ชน หมายถึง มีกจิ กรรมการเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีและวิทยาการใหม่ๆ โดยคนในชุมชนหรือนอกชุมชน และมี การนำไปใช้อย่างเหมาะสม และเกดิ ความคุ้มคา่ 18. มกี ารสรา้ งเครอื ข่ายภาคกี ารพัฒนา หมายถึง หมู่บา้ นมกี ระบวนการเช่ือมโยงเครือข่าย ในระดับ กลมุ่ และ/หรือระดบั หมู่บา้ นเพ่ือแลกเปลย่ี นเรียนรู้ข้อมูลขา่ วสาร ประสานงานและทำกจิ กรรมต่าง ๆ 19. มีการปฏิบตั ติ ามหลักการของการพ่ึงตนเอง หมายถึง คนในหมูบ่ ้าน“คดิ เปน็ ทำเปน็ แกป้ ญั หาเปน็ ” ดา้ นที่ 4 ดา้ นทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดลอ้ ม จำนวน 4 ตัวช้ีวัด ประกอบดว้ ย 20. จิตสำนึกของการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง หมู่บ้านมีการสร้าง จิตสำนึกดูแล รักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในหมู่บ้าน 21. มีกลุ่ม/องค์กรด้านส่ิงแวดล้อม หมายถึง หมู่บ้านมีกลุ่ม/องค์กรที่คนในหมู่บ้านร่วมกันทำ กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย กับกลุ่ม/องค์กรด้าน สงิ่ แวดลอ้ มอื่น ๆ 22. มีการใช้พลังงานทดแทนที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของชุมชน หมายถึง หมู่บ้านมี กระบวนการส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเรียนรู้ ทดลอง และเลือกใช้พลังงานทดแทนต่าง ๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสภาพเศรษฐกิจ 23. มีการสร้างมูลค่าเพ่ิมจากทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม หมายถึง หมู่บ้านมีกระบวนการ เรียนรู้ พัฒนาและจัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพ่ือให้เกิดรายได้อย่างย่ังยืน
37 การจัดระดับหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย ตวั ชี้วัดหมบู่ า้ นเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงมหาดไทย ประกอบดว้ ย 4 ดา้ น 23 ตวั ชี้วดั มีตวั ชวี้ ดั หลกั ที่มี จำนวน 17 ตัวชวี้ ดั ไดแ้ กต่ วั ช้ีวดั ในขอ้ 1,2,3,4,5,8,9,10,11,13,14,16,17,19,20,21,22 ระดับ พออยู่ พอกนิ เน้นที่ระดับครัวเรอื น มีเปา้ ประสงคเ์ พอื่ พัฒนากจิ กรรมการพง่ึ ตนเอง ทำกิน ทำใช้ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และมีการออม ผ่านเกณฑ์ประเมิน 10 - 16 ตัวชี้วัด โดยผ่านตัวชี้วัดหลักที่มี 10 ตัวช้ีวดั ไดแ้ ก่ ตวั ชีว้ ัดในขอ้ 1,2,4,8,10,13,16,17,20,21 ระดับ อยูด่ ี กนิ ดี เนน้ ทร่ี ะบบการรวมกลุ่ม มีเป้าประสงค์เพ่ือส่งเสริมการบรหิ ารจัดการ พัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุม่ เพม่ิ รายได้ และขยายโอกาสคนในชุมชน ผ่านเกณฑ์ประเมิน 17 - 22 ตวั ชว้ี ัด โดยผ่าน ตวั ช้ีวัดหลกั ท่ีมี , 17 ตวั ชวี้ ดั ไดแ้ ก่ ตัวช้วี ดั ในข้อ1,2,3,4,5,8,9,10,11,13,14,16,17,19,20, 21,22 ระดับ มั่งมี ศรีสุข เน้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชนและเครือข่าย มีเป้าประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบหมู่บ้าน การบริหาร การพัฒนาด้วยองค์กรเครือข่าย ในการยกระดับคุณภาพชีวิตเพิ่มโอกาสการประกอบอาชีพ จดั สวสั ดิการชุมชน ผา่ นเกณฑป์ ระเมิน 23 ตวั ช้ีวดั หากหมบู่ า้ นใดไมส่ ามารถจัดระดับได้ จะอยใู่ นระดบั ผา่ นเกณฑ์ 6 x 2
38
39
40
41
42
43
44
45
Search