Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Drak toursm

Drak toursm

Published by fern11042004, 2022-08-24 12:56:42

Description: Drak toursm

Search

Read the Text Version

DRAK TOURSM IN SONGKHLA

สารบัญ หน้า อุโมงค์เขาน้ำค้าง 1 หาดสมิหลา เงือกทอง 2 ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ 3 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา 4 เขาคูหา 5

อุโมงค์เขาน้ำค้าง ด่านแรกจะเป็นในส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการ เรื่องราวประวัติศาสตร์ รูปถ่ายของผู้บัญชาการสูงสุด (สั่ง สังหาร) และเหล่าสหายโจรจีนคอมมิวนิสต์ อาวุธจำลอง และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่ยังคงเหลืออยู่ ของโจรจีน คอมมิวนิสต์ หรือคอมมิวนิสต์มลายา ถัดออกมาข้างนอกอาคารนิทรรศการ ด้านซ้ายมือ จะเป็นพิพิธภัณฑ์สงคราม ประวัติศาสตร์อดีตสหาย พ.ค.ม.ผู้ล่วงลับ เดินต่อไปผ่านบ่อเลี้ยงปลาจะผ่านปากทางอุโมงค์ แต่การเข้าชมภายใน อุโมงค์ตามเส้นทางที่กำหนด ต้องขึ้นไปทางบันได 108 ขั้น ทางขึ้นภูเขาเหลียงซาน ได้ครึ่งทางเบี่ยงทางขวามือจะ ผ่านห้องส้วมสหาย จนถึงยอดเขาเหลียงซาน จะพบหลุมระเบิดขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีห้องประชุมใหญ่ ห้องพยาบาล สนามบาส บ้านท่านผู้นำ และห้องวิวาห์ห้าดาว เดินต่อไปลงไปในอุโมงค์ เป็นห้องผ่าตัด ถัดจากห้องผ่าตัดเป็นห้อง ครัวสำรอง หรือห้องครัวฉุกเฉิน ถัดไปอีกแยกเป็นห้องเก็บเสบียง ถัดมาเป็นห้องธุรการ สนามยิงปืน หรือที่ซ้อมยิง ปืน ห้องโทรเลข ห้องประชุม จากห้องประชุม ขึ้นบันไดไปอีก 1 ชั้น เป็นห้องผู้นำ ซึ่งภายในห้องผู้นำจะมีเตียงนอน โต๊ะทำงาน ห้องส้วม ลงมาจากห้องผู้นำตรงบริเวณห้องประชุม จะมีบันไดเดินลงไป 54 ขั้น ก็จะออกสู่นอกอุโมงค์ ทั้งนี้ ทุกชั้นจะมีทางออกทั้งหมด 16 ช่องทาง 1

หาดสมิหลา เงือกทอง นิยายนางเงือกทอง นางเงือกทอง เป็นเรื่องในนิยายปรัมปราของไทยโบราณ ซึ่งขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้เล่าไว้ ในวัน ดีคืนดี นางเงือกจะมานั่งหวีผมบนชายหาดด้วยหวีทองคำ กระทั่งวันหนึ่งมีชายชาวประมง เดินผ่านมาทำให้นางเงือก ตกใจ รีบหนี ลงทะเล ไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ชาวประมงเห็นดังนั้น ก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้น เสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏ กายให้เห็นอีกเลย สำหรับ “นางเงือกทอง” ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 ในท่านั่ง หวีผม หล่อขึ้นด้วยบรอนซ์รมดำ โดยฝีมือการออก แบบ ปั้น และหล่อ โดยอาจารย์จิตร บัวบุศย์ ด้วยเงิน 60,000 บาท(ในสมัยนั้น) โดยใช้เงินจากงบประมาณของเทศบาลสงขลา 2

ประติมากรรมพญานาค พ่นน้ำ คติความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคที่เชื่อว่า “พญานาค” เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ชาวใต้จึงนับถือ พญานาคเป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์และกราบไหว้ขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตนับเป็นแหล่งการเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิด ขึ้นของชาวสงขลา ประติมากรรมพญานาค พ่นน้ำเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ จังหวัดสงขลา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต นับเป็น แหล่งการเรียนรู้ทาง วัฒนธรรมแห่งใหม่ที่เกิดขึ้นของชาวสงขลาประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของ จังหวัด สงขลา มีลักษณะแบบลอยตัวสามารถมองเห็นได้รอบด้าน นาค หรือ พญานาค เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิดน้ำ ความยิ่งใหญ่ แห่งน้ำ เป็นเทพแห่งการให้น้ำ และความอุดมสมบูรณ์แก่สรรพชีวิตทั้งปวง ชาวใต้มีความเชื่อว่า นาค หรือ พญานาค จะพ่น โปรยน้ำทิพย์มาชโลมไล้ให้มนุษย์มีความสุข สดชื่น ชำระล้างมลทินทั้งกายและใจ ประติมากรรมพญานาคพ่นน้ำ ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของจังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่เทศบาลนครสงขลา สรรค์สร้างขึ้นเพื่อ ปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณ ชายหาดสมิหลาให้เป็นสถานที่พักผ่อนของ นักท่องเที่ยวและชาวสงขลา 3

พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติสงขลา บริเวณรอบอาคารเป็นสนามหญ้าและสวนมีกำแพงโค้งแบบจีนล้อมรอบ อาคารชั้นบน ห้องยาวด้านหลัง มีบานประตูลักษณะ เป็นบานเฟี้ยม แกะสลักโปร่งเป็นลวดลายเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน สลับลายพันธุ์พฤกษา หรือลายมังกรดั้นเมฆ เชิงไข่มุกไฟ ส่วนหัวเสาชั้นบนของอาคารมีภาพเขียนสีเป็นภาพเทพเจ้าจีน หรือลายพฤกษา ภายในห้องตรงขื่อหลังคา จะมีเครื่องหมาย หยินหยาง โป้ยป้อ หรือ ปากั้ว เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ตามคตินิยมของชาวจีน หลังคามุงกระเบื้องสองชั้นฉาบปูนเป็น ลอน สันหลังคาโค้ง ปลายทั้งสองด้านเชิดสูงคล้ายปั้นลมของเรือนไทย ภายนอกอาคาร บริเวณผนังใต้จั่วหลังคา มีภาพ ประติมากรรมนูนต่ำสลับลาย ภาพเขียนสี เป็นรูปเทพเจ้าจีนและลายพันธุ์พฤกษา 4

เขาคูหา เขาคูหาเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของภาคใต้ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตามคติศาสนาฮินดู โดยมีลักษณะพิเศษ คือ การขุดภูเขาเข้าไปเป็นโพรงถ้ำและขุดเจาะทำเป็นแท่นบูชาภายใน บนผนังถ้ำมีการเขียนสีภาพสัญลักษณ์ทางศาสนาไว้ภายใน จากการดำเนินงารทางโบราณคดีได้บโบราณวัตถุ เนื่องในศาสนาและโบราณวัตถุเป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ศิวลึงค์ ฐานโยนี ส่วนลำตัวของปติมากรรมรูปพระวิษณู ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยพื้นเมือง ชิ้นส่วนเครื่องถ้วยจีน ฯลฯ จึงสันนิษฐานว่า โบราณสถานเขาคูหาแห่งนี้น่าจะเป็นศาสนสถานหรือเทวลัยในการประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดูเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาจึงปรับเปลี่ยนมาเป็นพุทธสถาน เขาคูหาเป็นโบราณสถานเนื่องในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของภาคใต้ ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจาก อินเดีย โดยเฉพาะการขุดสกัดภูเขาเข้าไปเป็นถ้ำทั้่ง ๒ ถ้ำ ประกอบด้วยถ้ำทางทิศเหนือและถ้ำทิศใต้ ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สำคัญที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย 5

ชื่ อ นางสาวอานั นตยา บุ ญยื ด เลขที่ 04 สาขา การท่องเที่ยว ห้อง TG.4101 Anantaya Boonyued


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook