Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สื่อประวัติศาสตร์ ม.1 เรื่อง กาลเวลา

สื่อประวัติศาสตร์ ม.1 เรื่อง กาลเวลา

Published by radamanee, 2022-05-16 13:21:51

Description: สื่อประวัติศาสตร์ ม.1 เรื่อง กาลเวลา

Search

Read the Text Version

เวลาและการแบง่ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ช้นั มัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส21103 ประวัตศิ าสตร์1 กลุม่ สาระการเรยี นรสู้ งั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้สอน นางสาวรดามณี สายพฒั นะ ตาแหนง่ ครู วิทยฐานะ ครูชานาญการ

1.1 การแบ่งเวลาทางประวัติศาสตร์ 1.2 การนบั ศกั ราช 1. การแบ่งเวลาทางประวตั ศิ าสตรแ์ ละการนบั ศักราชในประวตั ิศาสตร์ไทย เวลาและการแบ่งยุคสมยั ทางประวตั ศิ าสตร์

1. การแบ่งเวลาทางประวัติศาสตร์ และการนับศกั ราชในประวัติศาสตร์ไทย

1.1 การแบง่ เวลาทางประวตั ิศาสตร์ 1. สมยั ก่อนประวัตศิ าสตร์ 2. สมยั ประวัติศาสตร์

1. สมยั ก่อนประวัตศิ าสตร์ สมยั ก่อนประวตั ศิ าสตร์เปน็ ชว่ งเวลาทม่ี นษุ ย์ยังไมส่ ามารถคิดประดษิ ฐ์ อกั ษรขึ้นได้การศึกษาเรื่องราวสมยั ก่อนประวัตศิ าสตรจ์ ึงต้องอาศัย หลกั ฐานทางโบราณคดี ซง่ึ สมัยกอ่ นประวัติศาสตรแ์ บ่งได้ 2 ลกั ษณะ คอื 1. การแบง่ ตามลักษณะของเครอื่ งมอื เคร่ืองใช้และเทคนคิ วธิ ีการ 2. การแบง่ ตามวิธกี ารดารงชีวติ ของมนุษย์

1. การแบง่ ตามลกั ษณะของเครอ่ื งมอื เคร่ืองใชแ้ ละเทคนคิ วธิ ีการ มนุษยใ์ นอดตี พฒั นาเคร่อื งมอื เครื่องใชเ้ พื่อดารงชีพ วสั ดุสาคัญที่ใชก้ าหนดช่วงเวลา ในสมยั ก่อนประวัตศิ าสตร์คอื หนิ และโลหะจึงเรียกชว่ งเวลาในสมยั นี้ว่ายุคหินและยุค โลหะ ดงั นัน้ จึงแบ่งยุคกอ่ นประวตั ศิ าสตรอ์ อกเปน็ 2 ยคุ คอื 1. ยุคหิน 2. ยุคโลหะ

ยคุ หิน ยุคหิน เริม่ ตั้งแต่มนษุ ยร์ จู้ ักนาหนิ มาประดิษฐเ์ ปน็ เคร่อื งมือ เครอ่ื งใช้และอาวุธในการดารงชวี ติ แบง่ ออกเปน็ 3 ยุค คอื 1. ยุคหนิ เกา่ 2. หนิ กลาง 3. หินใหม่

1. ยคุ หินเกา่ ยุคหินเกา่ ประมาณ 2,000,000 – 10,000 ปีมาแลว้ มนษุ ยใ์ นยคุ นม้ี ีววิ ฒั นาการความเจริญช้า ดารงชีวติ แบบเรร่ อ่ น ไม่รจู้ กั สรา้ งท่อี ยูอ่ าศยั แบบถาวรแตร่ จู้ ักประดิษฐเ์ ครือ่ งมอื เครื่องใช้และอาวธุ ด้วยหินกะเทาะหยาบๆ

2. ยคุ หนิ กลาง ยคุ หนิ กลาง ประมาณ 10,000 – 6,000 ปีมาแลว้ มนุษยเ์ ร่ิมมีความเจริญ รู้จักฝึกหัดสตั วบ์ างชนิดไวใ้ ชง้ าน อาวธุ หนิ ขัดมขี นาดเล็กลง ประณตี มากข้ึน พัฒนาอาวธุ เพื่อใชล้ ่าสตั ว์ เบด็ ตกปลาทาจากกระดูกสตั ว์ ขุดเรือเพอ่ื จบั ปลาและใชข้ ้ามฟากแม่นา้

3. ยคุ หนิ ใหม่ ยคุ หนิ ใหม่ ประมาณ 6,000 – 4,000 ปีมาแลว้ มนษุ ย์รู้จกั ตง้ั ถนิ่ ฐานเป็นหลักแหล่ง เริ่มทาการเพาะปลูก เลยี้ งสตั ว์ ทอผ้า ทาเครอื่ งปั้นดินเผา เคร่ืองเรอื น เคร่ืองประดับ เร่ิมมกี ารผลติ เพอ่ื แลกเปลีย่ นและการคา้

ตารางเปรยี บเทียบยุคสมยั กอ่ นประวัตศิ าสตร์ : ยุคหิน หินเก่า หินกลาง หนิ ใหม่ อายุ 2,000,000 – 10,000 ปีมาแลว้ 10,000 – 6,000 ปมี าแล้ว 6,000-4,000 ปมี าแลว้ การตงั้ ถ่ินฐาน เรร่ อ่ นอยู่ตามเชิงผาถา้ ไมม่ ที อี่ ยู่ เริ่มต้ังถิน่ ฐานในปา่ ทงุ่ หญ้าไม่อยใู่ น ตัง้ ถนิ่ ฐานเป็นชุมชนอยูร่ มิ น้า เปน็ หลกั แหล่ง ถ้ามีการสรา้ งบา้ นงา่ ยๆแตแ่ ข็งแรง ไมไ่ ดร้ อ่ นมแี หลง่ อารยธรรมยคุ ด้วยไม้ หินใหมเ่ กดิ ขึ้นตามลมุ่ แมน่ า้ การดารงชพี ล่าสตั ว์เกบ็ อาหารตามธรรมชาติ ล่าสัตว์ เริม่ เลีย้ งสนุ ัขแพะ เริ่มมี รู้จักการเพาะปลกู เล้ยี งสตั ว์ ไม่มกี ารเล้ยี งสตั วแ์ ละเพาะปลูก ความเช่ือและพธิ กี รรมปรากฏใน เพราะไม่ต้องอพยพเมลอ่ นเรม่ิ ภาพวาดในถา้ เลย้ี งสนุ ัข จดุ เดน่ ใชเ้ ครอ่ื งมือหนิ กะเทาะหยาบเปน็ เคร่อื งมอื หนิ มีความประณีตขนึ้ ทา ทาเครือ่ งมอื หินขัดมคี วาม อาวุธลา่ สัตว์ ด้ามจากไม้หรือกระดูกทาเรือขุด ประณีตสวยงามมี จากตน้ ไมท้ าภาชนะดินเหนียว เครื่องปนั้ ดนิ เผาลูกปดั ประดบั

ยุคโลหะ ยคุ โลหะ ประมาณ 4,000 - 1,500 ปมี าแลว้ มนุษยส์ ามารถพัฒนาเทคโนโลยีสงู ข้นึ รู้จกั นาแรโ่ ลหะตา่ งๆ เช่น ทองแดง ดบี ุก และเหลก็ มาล้อมเพอ่ื ประดิษฐเ์ ครื่องมือ เครอ่ื งใช้และอาวธุ แบ่งชว่ งเวลาในยุคนใ้ี ชโ้ ลหะเป็นเกณฑแ์ บง่ คือ 1. ยุคสาริด 2. ยุคเหล็ก

1. ยคุ สาริด ยุคสาริด ประมาณ 4,000 – 2,500 ปีมาแล้ว มนษุ ยน์ าแรท่ องและดีบุกมาหลอมเปน็ สาริดแลว้ นาไปประดษิ ฐ์ เครอื่ งมือเครอ่ื งใชอ้ าวุธ และเคร่อื งประดับ +

2. ยคุ เหล็ก ยุคเหลก็ ประมาณ 2,500 - 1,500 ปีมาแล้ว มนุษยม์ ีพัฒนาการดา้ นเทคโนโลยีมากข้นึ รู้จักนาแร่เหล็กทีม่ ี ความทนทานมาหลอมและประดิษฐเ์ ครื่องมือเครื่องใช้ โดยเฉพาะอาวธุ ประเภทต่างๆ สังคมทีเ่ ป็นผู้นาในการผลติ อาวธุ ดว้ ยเหลก็ จึงมักได้เปรยี บและสามารถขยายอานาจ ครอบครองดนิ แดนอ่ืน

ตารางเปรียบเทียบยุคสมยั กอ่ นประวัตศิ าสตร์ : ยคุ หนิ และยุคโลหะ ยคุ สมยั ลกั ษณะการดารงชีวติ เคร่อื งมอื ที่พบ ยคุ หนิ เก่า ดารงชวี ติ ด้วยการลา่ สตั ว์ เครื่องมือหินกะเทาะ ยคุ หนิ ยุคหินกลาง มกี ารล่าสัตว์แตพ่ ัฒนาขึน้ มาก เริ่มเลี้ยงสุนขั แพะ เคร่ืองมือหนิ กะเทาะที่มีความประณีต ยุคโลหะ ยุคหนิ ใหม่ ยคุ สาริด อยรู่ ว่ มกันเปน็ กลมุ่ มีการเพราะปลกู ประดษิ ฐ์ ขวานหนิ ขดั เบด็ ตกปลาทาจากกระดูก ยคุ เหล็ก เคร่ืองมือเครือ่ งใชอ้ ย่างประณตี ดว้ ยการขดั สัตว์ รูจ้ ักนาทองแดงและดบี ุกมาผสมหลอ่ ทารปู แบบต่างๆ ภาชนะสาริด ขวานสาริด หัวลกู ศร นาเหลก็ มาหลอมเปน็ เครอื่ งมือเครอ่ื งใช้ในการล่าสัตว์ เคร่ืองมอื เครอ่ื งใชจ้ ากเหล็ก เช่น ขวาน ลกู ศร

2. การแบ่งตามวิธีการดารงชีวติ ของมนุษย์ สมยั ก่อนประวัติศาสตร์ยงั ไม่มีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง อาศยั อยู่ตามถา้ หาของป่า ล่าสตั ว์ จากนนั้ ได้ต้งั ถนิ่ ฐานเปน็ หม่บู า้ นเกษตรกรรม พัฒนาเปน็ สังคม เมอื งในเวลาตอ่ มา นกั โบราณคดสี มัยก่อนประวัตศิ าสตรจ์ ึงแบง่ ช่วงเวลาสมยั กอ่ น ประวตั ิศาสตรต์ ามวถิ กี ารดารงชีวติ ของมนุษย์ ดังน้ี 1. สมัยชุมชนลา่ สตั ว์หาของปา่ 2. สมยั หม่บู ้านเกษตรกรรม 3. สมัยสงั คมเมือง

1. สมัยชุมชนลา่ สตั วห์ าของป่า สมัยชมุ ชนล่าสตั ว์หาของปา่ ประมาณกอ่ น 6,000 ปมี าแลว้ มนษุ ย์เร่รอ่ นลา่ สัตวเ์ พ่ือเป็นอาหาร ยังไมร่ ู้จักสร้างท่อี ยู่อาศยั ถาวร อาศัยอยู่ตามโพรงถา้ หน้าผาใกลแ้ หลง่ น้า มนษุ ย์ยุคน้ีรจู้ ักใช้ไฟ เพ่อื ปรงุ อาหารและสร้างความอบอุน่ ให้แกร่ ่างกายแล้ว

2. สมยั หมูบ่ ้านเกษตรกรรม สมัยหมู่บา้ นเกษตรกรรม ประมาณ 6,000 - 2,500 ปมี าแลว้ มนษุ ย์อยู่รวมกนั และต้งั ถ่นิ ฐานอยูใ่ กล้แหล่งน้า สรา้ งทอี่ ย่อู าศัยแบบง่ายๆ จากวัสดธุ รรมชาติ รู้จักเพาะปลูก เล้ียงสัตว์ ทอผ้า ผลติ เคร่อื งมอื เครื่องใช้ต่างๆ

3. สมยั สงั คมเมือง สมัยสงั คมเมือง ประมาณ 2,500 ปีมาแลว้ มกี ารจัดระเบยี บชุมชน วางรากฐานการปกครอง พัฒนาชุมชนใหเ้ ปน็ เมอื งท่ีมีความเจรญิ ติดตอ่ คา้ ขายกับชุมชนอน่ื บางชุมชนที่มีความ เจริญกา้ วหนา้ สูงสามารถประดษิ ฐ์ตวั อกั ษรไดพ้ ฒั นาเข้าสู่สมัย ประวัติศาสตรไ์ ดก้ อ่ นชมุ ชนอนื่

2. สมัยประวัติศาสตร์ สมัยประวัติศาสตร์เรมิ่ ขึน้ เม่ือมนุษยส์ ามารถประดิษฐต์ ัวอักษรและจดบนั ทึกขอ้ มลู เกณฑ์การแบง่ ยุคสมยั ของประวตั ศิ าสตร์แบบสากล มีดังนี้ สมยั โบราณ สมัยกลาง สมยั ใหม่ สมยั ปจั จุบนั หรอื ประวัติศาสตร์ร่วมสมยั

1. การแบง่ สมัยประวตั ศิ าสตร์แบบสากล ตารางแสดงการแบ่งยุคสมยั ประวตั ิศาสตร์แบบสากล ชือ่ เรยี กยคุ สมยั ช่วงระยะเวลา พฒั นาการทางประวัติศาสตร์ สมยั โบราณ ประมาณ 6,000 ปี ถึง ตัง้ ถ่ินฐานเปน็ หลักแหล่ง ใช้ตวั อกั ษร มีชุมชนเมือง เกดิ อารยธรรม ตน้ พทุ ธศตวรรษท่ี 11 ตามลมุ่ แม่น้า สมัยกลาง ประมาณต้นพทุ ธศตวรรษท่ี 11 ดนิ แดนในซีกโลกตะวนั ตกหล่อหลอมความเจริญของอารยธรรม ถึง ต้นพทุ ธศตวรรษที่ 21 โบราณเป็นส่วนหนึง่ ของตน มีเทคโนโลยีการเดนิ เรือสารวจ ดินแดนรอบโลกและคน้ พบดนิ แดนใหม่ ศาสนาคริสต์มีอทิ ธพิ ล สมัยใหม่ ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ฟ้ืนฟูศลิ ปะวิทยาการ เกดิ การปฏิวตั ทิ างความคดิ เปลย่ี นแปลงการ ถงึ พ.ศ 2488 ปกครอง เกิดการปฏวิ ัตวิ ิทยาศาสตร์ ปฏวิ ตั อิ ุตสาหกรรม การขยายอาณานิคมและเกิดสงครามโลกครัง้ ที่ 2 สมัยปัจจุบัน พ.ศ 2488 ถึงปจั จบุ ัน หลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 จบ เกิดการพัฒนาดา้ นเทคโนโลยี โลกาภวิ ตั น์ ท่สี ังคมโลกมีสภาพไร้พรมแดน

2. การแบ่งสมยั ประวตั ศิ าสตรข์ องไทย แบง่ ตามสมยั ของอาณาจกั ร แบ่งออกเป็น 4 กลมุ่ ใหญ่ คือ 1. การแบง่ ตามสมยั ของอาณาจักร 2. การแบ่งตามราชวงศ์ 3. การแบ่งตามรัชกาล 4. การแบ่งตามระบอบปกครอง

1. การแบง่ ตามสมัยของอาณาจักร แบง่ ตามสมยั ของอาณาจักร แบ่งออกเปน็ 2 กล่มุ ใหญ่ คอื อาณาจกั ร/รัฐโบราณกอ่ นสมยั สโุ ขทัย อาณาจกั รชนชาติไทย

อาณาจักร/รฐั โบราณกอ่ นสมัยสโุ ขทัย ไดแ้ ก่ อาณาจกั ร/รัฐโบราณของชนพื้นเมอื ง ซง่ึ ตง้ั ถิ่น ฐานอยู่ในดนิ แดนของประเทศไทยกอ่ นทีช่ นชาติไทย จะเขา้ มาตั้งถน่ิ ฐาน

อาณาจกั รชนชาตไิ ทย ได้แก่ อาณาจักรของชนชาตไิ ทยในดินแดนประเทศไทย ท่สี าคญั คือ สมัยสุโขทยั ประมาณ 200 ปี มีศูนยก์ ลางอยู่ ทส่ี โุ ขทัยและพิษณโุ ลกในสมยั น้ีมีรฐั ไทยรว่ มสมยั อื่นเกิดข้ึนด้วย เชน่ ลา้ นนา สุพรรณภูมิ นครศรีธรรมราช

อาณาจกั รชนชาติไทย สมัยอยุธยา กรงุ ศรีอยธุ ยาเป็นราชธานี สมยั ธนบรุ ี ราชธานอี ยู่ที่กรงุ ธนบรุ ี สมัยรตั นโกสินทร์ ต้งั แต่ พ.ศ 2325 จนถึงปัจจุบัน มีราชธานอี ยูท่ ีก่ รุงเทพมหานคร

2. การแบ่งตามราชวงศ์ ตารางการปกครองแบง่ ตามชว่ งเวลาทร่ี าชวงศต์ า่ งๆ ปกครองดินแดนประเทศไทยในขณะนั้น เชน่ ราชวงศจ์ กั รปี กครองสมยั รตั นโกสินทร์ ราชวงศ์ ยคุ สมยั ปฐมกษตั ริย์ ราชวงศพ์ ระรว่ ง สุโขทัย พ่อขุนศรอี นิ ทราทิตย์ ราชวงศอ์ ่ทู อง อยธุ ยา สมเดจ็ พระรามาธิบดที ี่ 1 ราชวงศส์ ุพรรณภมู ิ อยุธยา สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่1 ราชวงศ์สโุ ขทยั อยธุ ยา สมเดจ็ พระมหาธรรมราชา ราชวงศป์ ราสาททอง อยุธยา สมเด็จพระเจา้ ปราสาททอง ราชวงศ์บา้ นพลหู ลวง อยธุ ยา สมเดจ็ พระเพทราชา ราชวงศ์พระเจ้าตากสิน ธนบรุ ี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ราชวงศ์จกั รี รตั นโกสนิ ทร์ พระบาทสมเดจ็ พุทธยอดฟ้าจฬุ าโลกมหาราช

3. การแบง่ ตามรชั กาล เป็นการแบ่งโดยยดึ ตาม สาหรับสมยั รัตนโกสินทร์นยิ ม เรียกสมยั ท้ัง 2 แบบ คอื ตามรัชกาลและ ช่วงการปกครองของ ตามพระนามของพระมหากษตั รยิ ์ เชน่ พระมหากษตั รยิ ไ์ ทยแต่ละรชั กาล สมัยรัชกาลท่ี 1 แหง่ กรุงรัตนโกสินทร์ เช่น สมยั พอ่ ขนุ รามคาแหงมหาราช รัชสมัยพระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธเลศิ หลา้ สมยั พระเจา้ อ่ทู อง สมยั สมเดจ็ พระ นภาลัย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เอกาทศรถ และสมัยสมเด็จพระ เกล้าเจา้ อยหู่ ัว นารายณ์มหาราช

4. การแบ่งตามระบอบปกครอง เปน็ การแบ่งตามระบอบการปกครองของประเทศ ไดแ้ ก่ 1. ระบอบปิตาธปิ ไตย 2. ระบอบสมบรู ณาญาสทิ ธริ าชย์ 3. ระบอบประชาธิปไตย

1. ระบอบปิตาธิปไตย เปน็ สมัยประวัติศาสตรช์ ่วงแรกของไทย คอื รูปแบบการปกครอง มีลกั ษณะเรียบงา่ ย ผูป้ กครองมคี วามสัมพนั ธใ์ กลช้ ิดกับราษฎร แคว้นหรอื รฐั ตา่ งๆ มอี าณาเขตจากัด รัฐที่สามารถขยายอานาจ ครอบคลมุ ดินแดนอืน่ อย่างกวา้ งขวางจะเปล่ยี นสถานะเปน็ อาณาจกั ร เชน่ อาณาจักรสโุ ขทยั และอยธุ ยา

2. ระบอบสมบรู ณาญาสิทธิราชย์ ก่อนพุทธศตวรรษท่ี 20 พระมหากษัตรยิ ข์ องรัฐไทยมีอานาจปกครองสงู สุด และมีความสมั พนั ธ์ใกลช้ ิดกบั ประชาชน ต่อมาเมอ่ื อาณาจักรของชนชาติไทย ในลุม่ แมน่ า้ เจ้าพระยา คือ อาณาจักรอยุธยาสามารถรวมกนั เปน็ ปึกแผน่ พระมหากษตั รยิ ท์ รงเป็นศูนย์รวมแห่งอานาจและไดร้ ับยกย่องว่าเปน็ สมมติเทพ และทรงเป็นทงั้ “เจา้ ชวี ิต” และ “พระเจ้าแผน่ ดิน” ดว้ ย ระบอบสมบรู ณาญาสิทธิราชยม์ ีระยะเวลาต่อเนอื่ งถึง พ.ศ 2475

3. ระบอบประชาธิปไตย ระบอบประชาธปิ ไตยเรมิ่ ตั้งแต่ พศ. 2475 เมื่อประเทศไทย มกี ารเปล่ียนแปลงการปกครองท่ใี ห้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ บรหิ ารปกครองประเทศ โดยพระมหากษตั รยิ ์ทรงมีฐานะเปน็ ประมขุ ภายใตร้ ฐั ธรรมนญู ซงึ่ เป็นกฎหมายสงู สุดของประเทศ

สมัยประชาธปิ ไตย ยังแบง่ เปน็ สมยั ย่อยๆ ตามรฐั บาลของนายกรฐั มนตรี ทบ่ี รหิ ารประเทศ เช่น สมยั รฐั บาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยรฐั บาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรชั ต์ สมัยรัฐบาลนายชวน หลกี ภยั สมัยรัฐบาลพันตารวจโททักษิณ ชนิ วัตร สมยั รฐั บาลนายสมคั ร สุนทรเวช

ตวั อย่างตารางแสดงการแบ่งยุคสมัยทางประวตั ศิ าสตร์ไทยตามสมยั รฐั บาลทปี่ กครองประเทศ ลาดบั สมัยท่ี ชือ่ สมยั ช่วงเวลา ที่ 1 1,2,3 สมยั พระยามโนปกรณ์นิตธิ าดา มถิ ุนายน 2475 - มิถุนายน 2476 3 1,2 สมยั จอมพลปพบิ ลู สงคราม ธนั วาคม 2481 - สงิ หาคม 2487 23 1,2 สมัยพันตารวจโททักษิณชินวตั ร กุมภาพนั ธ์ 2544 - กนั ยายน 2549 25 1 สมยั นายสมคั รสุนทรเวช มกราคม 2551 - กันยายน 2551 29 1,2 สมัยพลเอกประยทุ ธ์จันทร์โอชา สงิ หาคม 2557 - ปจั จบุ นั

ตารางแสดงการแบ่งสมัยประวตั ศิ าสตรข์ องไทย เกณฑก์ ารแบง่ สมัย ชื่อเรียกของยุคสมัย การแบ่งตามสมยั ของอาณาจกั ร - อาณาจักร/รัฐโบราณกอ่ นสมยั สุโขทยั ไดแ้ ก่ อาณาจกั รทวารวดี ศรีวิชัย ลพบรุ ี หริภญุ ชัย - อาณาจกั รของชนชาติไทย คอื สมยั สโุ ขทยั สมยั อยุธยา สมัยธนบุรี สมยั รตั นโกสนิ ทร์ การแบง่ ตามราชวงศ์ - ราชวงศ์พระรว่ ง สมยั สุโขทยั - ราชวงศ์อทู่ อง สมัยอยุธยา - ราชวงศส์ ุพรรณภมู ิ สมยั รัตนโกสินทร์ - ราชวงศ์สโุ ขทัย - ราชวงศ์ปราสาททอง - ราชวงศ์บา้ นพลหู ลวง - ราชวงศ์จกั รี การแบ่งตามรัชกาล - แบ่งโดยยึดชว่ งการปกครองของพระมหากษัตริย์ เชน่ สมยั พ่อขนุ รามคาแหงมหาราช สมยั พระเจา้ อู่ทอง สมยั สมเดจ็ พระเจ้าตากสนิ มหาราช สมยั พระบาทสมเด็จพระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช การแบ่งตามระบอบการปกครอง - ระบอบปิตาธปิ ไตย ในสมยั สโุ ขทยั - ระบอบสมบรู ณาสทิ ธริ าชย์ ในสมยั อยุธยาและรตั นโกสนิ ทรต์ อนต้นและสมัยปรบั ปรงุ ประเทศ - ระบอบประชาธปิ ไตย ตง้ั แต่พ.ศ 2475 เป็นตน้ มา

1.2 การนบั ศกั ราช ประวตั ิศาสตร์มคี วามสมั พนั ธ์กบั เวลาอยา่ งมาก เพอ่ื ให้เกิดความเขา้ ใจวา่ เหตกุ ารณใ์ น ประวตั ศิ าสตรเ์ กิดขึ้นเมอ่ื ใด มคี าทใ่ี ชบ้ อกเวลาหลายอยา่ ง เชน่ อดตี ยุคสมัย 1. การนับศกั ราชแบบไทย 1. พทุ ธศักราช (พ.ศ.) 2. มหาศกั ราช (ม.ศ.) 3. จุลศกั ราช (จ.ศ.) 4. รัตนโกสนิ ทร์ศก (ร.ศ.) 2. การนบั ศักราชแบบสากล 1. ครสิ ต์ศักราช (ค.ศ.) 2. ฮจิ เราะห์ศกั ราช (ฮ.ศ.)

ความสาคญั ของเวลาและชว่ งเวลา 1. บอกใหร้ วู้ า่ เหตกุ ารณ์ต่างๆ 2. บอกใหร้ ้วู า่ เหตุการณต์ า่ งๆ เกดิ ขึน้ หรอื สิ้นสุดในเวลาใด ชว่ งเวลาใด เกดิ ขึ้นมานานเท่าใดแล้วเมื่อนบั ถึงปัจจุบนั 3. บอกให้ร้วู ่าเหตกุ ารณต์ า่ งๆ 4. บอกใหร้ ถู้ ึงความสมั พนั ธห์ รือเกยี่ วขอ้ งของ เหตุการณใ์ ดเกิดขน้ึ กอ่ น หรอื หลงั เหตกุ ารณ์ประวัติศาสตร์ เพราะอยูใ่ นเวลา เม่ือเปรยี บเทยี บกับเหตุการณอ์ น่ื ๆ หรือชว่ งเวลาใกล้เคียงกนั 5. ทาให้เขา้ ใจและวเิ คราะหเ์ หตุการณต์ ่างๆ ในประวตั ศิ าสตร์ได้ดขี ้ึน เพราะ กาลเวลาทีเ่ ปลี่ยนแปลงหรือผา่ นมา มนุษย์มพี ัฒนาการ มคี วามเจรญิ รงุ่ เรอื งข้ึน ทาให้มนุษย์ประดิษฐค์ ิดคน้ ส่งิ ต่างๆ ได้ดยี ่ิงข้ึน

มนุษยส์ ามารถสร้างปฏทิ นิ เพอ่ื คานวณเวลาและฤดูกาลในรอบปีไดต้ ้งั แตส่ มยั โบราณ โดยการสงั เกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ ได้แก่ การโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในแตล่ ะวนั และการหมนุ เวยี นเปลย่ี นแปลงของฤดูกาล จากนัน้ ได้แบง่ เวลาเปน็ วัน สปั ดาห์ เดอื น และปี การนับปตี ามเหตกุ ารณท์ เี่ กิดข้ึน เรียกวา่ การนบั ศกั ราช

แต่ละสงั คมมีวิธีเรม่ิ ตน้ นบั ศกั ราชแตกตา่ ง กนั สว่ นใหญ่มักยดึ ตามเหตกุ ารณ์สาคัญ ทางศาสนาทตี่ ้นนบั ถอื เปน็ เกณฑ์ เช่น คริสตศ์ กั ราช พุทธศักราช และฮิจเราะหศ์ ักราช

1. การนบั ศกั ราชแบบไทย ศกั ราชแบบไทยทป่ี รากฏในหลกั ฐานทางประวัตศิ าสตรข์ องไทย 1. พุทธศกั ราช (พ.ศ.) 2. มหาศักราช (ม.ศ.) 3. จุลศกั ราช (จ.ศ.) 4. รตั นโกสนิ ทร์ศก (ร.ศ.)

1. พทุ ธศกั ราช (พ.ศ.) พุทธศกั ราชเป็นศักราชทางพระพุทธศาสนา โดยไทยเริ่มนับพุทธศักราช ท่ี 1 (พ.ศ. 1) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดบั ขันธ์ปรนิ ิพพานไปแลว้ 1 ปี สว่ นบางประเทศ เชน่ พม่า ศรลี งั กาจะเริ่มนบั พทุ ธศักราชที่ 1 ตงั้ แต่ ปีทีพ่ ระพุทธเจ้าเสดจ็ ดับขันธ์ปรินิพพาน ไทยเรมิ่ ใช้การนับศักราชแบบ พุทธศักราชในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) และนามาใชก้ นั อยา่ งแพร่หลายเป็นแบบอย่างของทางราชการตง้ั แต่ พ.ศ. 2455 รชั สมัยพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยู่หวั เป็นตน้ มา

2. มหาศักราช (ม.ศ.) มหาศักราชเริ่มขึ้นในอินเดยี หลงั พทุ ธศักราช 621 ปี จากนัน้ ไดแ้ พรเ่ ข้ามาในดนิ แดนเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตแ้ ละประเทศไทย สนั นิษฐานวา่ พวกพราหมณ์จากอนิ เดียเป็นผู้นาเข้ามาพร้อมกบั ตาราโหราศาสตร์ ไทยใช้มหาศกั ราชกอ่ นศกั ราชอ่นื ๆต้งั แต่ สมัยก่อนสุโขทยั จนถงึ สมัยอยุธยาตอนกลาง หลักฐานทาง ประวัตศิ าสตร์ท่ีใช้มหาศักราชเชน่ จารกึ สโุ ขทัยและจารึกรว่ มสมัยอ่ืนๆ การเทียบมหาศกั ราชกบั พุทธศกั ราช คอื พุทธศกั ราช = มหาศักราช + 621

3. จลุ ศักราช (จ.ศ.) ผ้ตู ้งั คือ โปปะสอระหนั หรือบุปผะอรหันต์ หรอื บุพโสรหัน (Popa Sawrahan) ซ่ึงภายหลัง ได้ลาสิกขาออกมาเป็นกษัตรยิ ์ขึ้นครองแผ่นดนิ พมา่ จุลศักราชเรม่ิ ภายหลงั พทุ ธศักราช 1181 ปี และแพร่เขา้ มาในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะดินแดนลา้ นนาไทยเรม่ิ ใช้จลุ ศกั ราชตงั้ แต่สมยั สุโขทยั ตอ่ มามกี ารใชจ้ ลุ ศักราชอยา่ งแพรห่ ลายในสมยั อยุธยาตอนปลายและตอ่ เนอ่ื งจนถงึ รชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอย่หู วั ตวั อยา่ งหลกั ฐานสาคัญที่ใชจ้ ุลศักราช เช่น พงศาวดารกรงุ ศรอี ยุธยา กฎหมายตราสามดวง พบมากในศิลาจารกึ และพงศาวดารตา่ งๆ ทง้ั ของลา้ นนา สุโขทยั อยธุ ยา และรตั นโกสินทร์ตอนตน้ การเทียบจลุ ศกั ราชกับพทุ ธศักราช คือ พทุ ธศกั ราช = จุลศกั ราช + 1181

3. จลุ ศกั ราช (จ.ศ.)

4. รตั นโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เริม่ นับปที พ่ี ระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟา้ จุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนา กรงุ เทพมหานครข้ึนเปน็ ราชธานีแห่งใหมข่ องราชอาณาจักรไทย เม่อื พ.ศ. 2325 เปน็ รัตนโกสินทร์ศกที่ 1 ทัง้ น้ไี ทยเรม่ิ ใช้การนับศักราชแบบรตั นโกสนิ ทรศ์ ก ใน พ.ศ. 2432 กลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเลิก ใชเ้ ม่ือ พ.ศ. 2455 ตอนตน้ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลา้ เจ้าอยหู่ วั การเทียบรตั นโกสินทร์ศกกบั พทุ ธศกั ราช คอื พุทธศกั ราช = รัตนโกสินทรศ์ ก + 2324

4. รตั นโกสนิ ทรศ์ ก (ร.ศ.)

2. การนับศักราชแบบสากล ศกั ราชที่ใชก้ ันแพร่หลายเปน็ สากลในปจั จบุ ันคือคริสตศ์ กั ราชนอกจากนีย้ ังมี ฮิจเราะห์ศกั ราชซ่งึ เปน็ ศกั ราชท่ีผูน้ ับถอื ศาสนาอสิ ลามทวั่ โลกนยิ มใช้ 1. คริสตศ์ กั ราช (ค.ศ.) 2. ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.)

1. คริสตศ์ กั ราช (ค.ศ.) เปน็ ศักราชทางศาสนาครสิ ต์ มีผ้นู ิยมใช้กันเป็นจานวนมากทว่ั โลก คริสตศ์ ักราชที่ 1 เร่มิ นับตัง้ แต่ปที ่ีพระเยซคู ริสต์ประสูติ (ตรงกบั พ.ศ.544) คาวา่ ครสิ ต์ศกั ราช ใช้อกั ษรยอ่ ว่า ค.ศ. หรอื A.D. (Anno Domini : เปน็ ภาษาละติน แปลว่า ปีแห่งพระผเู้ ปน็ เจา้ )ระยะเวลา ทีอ่ ย่กู ่อนครสิ ตศ์ ักราชลงไปเรยี กวา่ สมยั ก่อนคริสต์ศกั ราช หรอื กอ่ นครสิ ตกาล ใช้อักษร ยอ่ วา่ กอ่ น ค.ศ. หรือ B.C. (Before Christ) การเทียบคริสต์ศกั ราชกับพุทธศักราช คอื พุทธศักราช = คริสตศ์ ักราช + 543

2. ฮจิ เราะหศ์ กั ราช (ฮ.ศ.) เป็นศกั ราชทางศาสนาอสิ ลาม โดยยึดปที ีท่ ่านนบมี ฮุ ัมมดั ได้กระทาฮิจเราะห์ (Hegira แปลวา่ การอพยพโยกยา้ ย) คอื อพยพจากเมอื งเมกกะไปอยทู่ ีเ่ มืองเมดนิ า ฮ.ศ. 1 ตรงกับ พ.ศ. 1165 แตป่ ีหนงึ่ ของฮจิ เราะหศ์ ักราชที่นบั ตามแบบจันทรคตจิ ึง มีความคลาดเคล่อื นกบั ปขี องครสิ ต์ศกั ราชที่นบั ตามแบบสุริยคติ คือ ทุกๆ 32 ปคี ร่ึง จะเพม่ิ เวลาอกี 1 ปี การเทียบฮจิ เราะห์ศกั ราชกบั พุทธศกั ราช คอื พุทธศักราช = ฮิจเราะห์ศกั ราช + 1122

การนับเวลาแบบสากลนยิ มนับเปน็ ช่วงเวลากวา้ งๆ คือ ชว่ ง 10 ปี เรยี กว่า ทศวรรษ ช่วง 100 ปี เรียกวา่ ศตวรรษ ชว่ งเวลา 1000 ปี เรียกวา่ สหัสวรรษ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook