Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่ โดย ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช จัดทำ E-BOOK :ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชลบุรี

เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่ โดย ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช จัดทำ E-BOOK :ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชลบุรี

Description: เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่
โดย ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
จัดทำ E-BOOK :ห้องสมุดประชาชนจังหวัดชลบุรี

Search

Read the Text Version

ครอบครัวแม่เลีย้ งเดี่ยว การขาดพ่อในท่ีน้ีอาจเป็นกรณีหย่ากัน หรือมีพ่อแต่ไม่รับผิดชอบ คำ� แนะน�ำคอื ใหใ้ ชห้ ลกั ๓ ประการ • มคี นรบั ผิดชอบดแู ลเด็กอยา่ งตอ่ เน่อื ง • ความร่วมมือระหว่างพ่อกับแม่ท่แี ยกทางกัน ในการเล้ยี งดลู กู • หาทางให้พ่อได้ทำ� กจิ กรรมกับลูก ตวั อยา่ งของแมเ่ ลย้ี งเดย่ี วทป่ี ระสบความสำ� เรจ็ ยงิ่ ใหญใ่ นการเลย้ี ง ลูกชายสองคนให้ประสบความส�ำเร็จในชีวิตคือแม่ของหมอเบน คาร์สัน ซง่ึ ผมเล่าไว้ ท่ี https://www.gotoknow.org/posts/590633 มีความจริงข้อหนึ่งของสังคมไทย คือในชนบทเด็กไทยสองในสาม ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ จึงน่าจะมีการวิจัยทางจิตวิทยาว่าสภาพสังคมเช่นนี้ มผี ลต่อพฤตกิ รรมทางเพศทเ่ี สี่ยงต่อการต้งั ครรภ์ในวัยรุน่ ไทยหรือไม่ และ จะมีวิธีเยียวยาได้อย่างไร เพราะเวลานี้โดยเฉล่ีย เกือบร้อยละ ๒๐ ของ การคลอดในประเทศไทย เป็นการคลอดของแมว่ ยั รนุ่ มีหลักการ Childhood Attachment ท่ีบทบาทของพ่ออาจมี ความส�ำคัญต่อพัฒนาการทางจิตวิทยาของเด็ก ที่น่าจะมีการวิจัยใน บรบิ ทไทย เล้ียงลกู ยง่ิ ใหญ่ 149

๑๘ ดา้ นบวก ของแรงกดดนั จากเพอ่ื น 150 เลีย้ งลกู ย่งิ ใหญ่

ในสงั คมไทย เม่อื ลกู โตเข้าสู่วยั รนุ่ การคบเพอื่ นเป็นความห่วงใยอยา่ งหนึ่ง เพราะพอ่ แมเ่ กรงวา่ เพ่อื นจะชักจูงไปในทางเส่ือม ซง่ึ มีตัวอย่างจรงิ ใหเ้ ห็นอย่เู สมอ แต่การคบเพ่ือน หรอื ปฏิสัมพนั ธก์ ับเพอื่ น กม็ มี ติ ิด้านบวกอยู่ด้วย เล้ยี งลกู ยิ่งใหญ่ 151

ด้านบวกของแรงกดดันจากเพื่อน ตีความจากบทความชื่อ The Positive Side of Peer Pressure โดย Annie Murphy Paul ค�ำตอบคือ แรงกดดันหรือปฏิสัมพันธ์จากเพื่อนและคนรอบตัวอย่าง เหมาะสม กอ่ แรงกระต้นุ ในสังคมไทย เมื่อลูกโตเข้าสู่วัยรุ่น การคบเพ่ือนเป็นความห่วงใย อย่างหนึ่ง เพราะพ่อแม่น้ันเกรงว่าเพื่อนจะชักจูงไปในทางเส่ือม ซ่ึงมี ตัวอย่างจริงให้เห็นอยู่เสมอ แต่การคบเพ่ือนหรือปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ก็มมี ติ ิด้านบวกอยูด่ ว้ ย บทความเริ่มด้วยการวิจัยโดยนักจิตวิทยาทดลองในคนหนุ่มสาว ๓๐๖ คน โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่ม (๑) วัยรุ่นอายุน้อย อายุเฉลี่ย ๑๔ (๒) วัยรนุ่ อายมุ าก อายเุ ฉลี่ย ๑๙ และ (๓) ผู้ใหญ่อายุ ๒๔ ปขี น้ึ ไป ใหเ้ ลน่ เกม ขับรถในคอมพิวเตอร์เพ่ือเลี่ยงการชน เปรียบเทียบระหว่างเล่นคนเดียว กับการเล่นโดยมเี พื่อนนั่งดู ๑ คน วา่ มพี ฤติกรรมขับหวาดเสยี วหรือเสี่ยง อุบัติเหตุมากข้ึนหรือไม่เพียงใด พบว่าพฤติกรรมเส่ียงไม่เพิ่มข้ึนในกลุ่มท่ี ๓ เพม่ิ รอ้ ยละ ๕๐ ในกลุ่มท่ี ๒ และเพ่ิมเปน็ สองเทา่ ในกลมุ่ แรก บ่งช้ีวา่ ในวัยรุ่นที่สมองด้านความรอบคอบระมัดระวัง ยังพัฒนาไม่เต็มที่ แรงกดดันจากเพื่อนมีผลต่อพฤติกรรม ซ่ึงในกรณีน้ีเป็นพฤติกรรม ทีเ่ สยี่ งตอ่ อุบตั ิเหตุ นั่นเป็นด้านลบของแรงกดดันจากเพ่ือน ท่ีมีผลต่อพฤติกรรมของ วัยรุ่น นักวิจัยทีมเดียวกันเกิดความคิดว่า น่าจะมีมิติด้านบวกอยู่ด้วย และน่าจะน�ำมาใชใ้ ห้เกดิ ผลดีตอ่ การศึกษาได ้ 152 เลี้ยงลกู ยิ่งใหญ่

เขาจึงทดลองในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ๔๐ คน โดยตรวจการท�ำงาน ของส่วนต่างๆ ของสมองด้วยเคร่ือง fMRI ขณะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ข้างต้น เปรียบเทียบระหว่างผลการตรวจสมองขณะเล่นคนเดียว กับขณะเล่นโดยมีเพื่อนดู พบว่าขณะเล่นโดยมีเพื่อนดูอยู่ สมอง ของวัยรุ่นแสดงการท�ำงานเพิ่มข้ึนในสมอง ส่วนท่ีเกี่ยวข้องกับการ ได้รับความพึงพอใจ (Reward System) คือสมองส่วนที่ช่ือ Ventral Striatum และ Orbitofrontal Cortex ในขณะทส่ี มองของผ้ใู หญไ่ ม่แสดง การทำ� งานเพม่ิ ขึน้ ของสมองท้งั สองส่วนนี้เมือ่ มเี พ่ือนดู นักวิจัยคิดว่าข้อค้นพบนี้น่าจะน�ำมาใช้ประโยชน์กระตุ้นการเรียนรู้ ได้ จึงทดลองด้วยการให้คนวัยรุ่นเล่นไพ่ในคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า Lowa Card Game เปรียบเทียบระหว่างเล่นคนเดียว กับเล่นโดยมี เพื่อนวัยเดียวกันอยู่ด้วยกันอีก ๓ คน พบว่าเมื่อมีเพื่อนอยู่ด้วย ผู้เล่น คน้ พบวธิ ีเล่นทีถ่ กู วธิ ีได้เรว็ กว่า เล้ยี งลูกย่งิ ใหญ่ 153

นกั วิจยั ด้าน Social Cognitive Neuroscientist ช่ือ Matthew D. Lieberman และเป็นผูเ้ ขยี นหนังสือ Social : Why Our Brains Are Wired to Connect ? ซ่งึ ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เสนอว่า สมองมนษุ ยไ์ ด้พัฒนา ให้มีความสามารถเรียนรู้ข้อมูลเชิงสังคม (Social Information) ได้ดีเป็น พิเศษ เขาอ้างผลการวิจัยในชายหน่มุ ๑๗ คน โดยวัดการท�ำงานของส่วน ต่างๆ ของสมองด้วยเครื่อง fMRI ในระหว่างท่ีฟังค�ำบอกเร่ืองราวของคน โดยมีค�ำแนะน�ำให้ผู้ถูกทดลองกลุ่มหนึ่งพยายามผูกโยงเร่ืองราวของคน ในเร่ืองกับเร่ืองราวเชิงสังคม ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งบอกให้พยายามจ�ำสาระ เรอื่ งราว พบวา่ กลมุ่ แรกจำ� เรอ่ื งราวไดม้ ากกวา่ และสมองสว่ นทที่ ำ� งานเดน่ คอื Dorsomedial Frontal Cortex ซง่ึ เปน็ สว่ นหนงึ่ ของ Social Network ใน สมองในขณะท่ีอกี กลมุ่ หนึ่ง สมองส่วนที่ทำ� งานเด่นคอื Medial Temporal Lobe ซงึ่ ท�ำหน้าทีเ่ ก่ียวกับการจ�ำสาระเร่ืองราว (Factual Information) กระบวนการทางสังคม เปน็ ทรี่ กู้ นั มานานวา่ การเรยี นรแู้ ละพฒั นาเปน็ กระบวนการทางสงั คม เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ มีปัจจัยทางจิตวิทยาที่ซับซ้อนเข้ามา เกยี่ วขอ้ ง ดงั นน้ั ในบรรยากาศของปฏสิ มั พนั ธเ์ ชงิ บวก บรรยากาศของความ ร่วมมือเป็นทีม บรรยากาศของการแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกัน การเรียนรู้ โดยการเตรยี มตวั สอนเพอ่ื นหรือคนอ่นื ช่วยให้เรยี นรูเ้ รอื่ งนนั้ ได้ครบถว้ น ชัดเจนยิง่ ขน้ึ เร่ืองนี้ร้มู านานเป็นคร่งึ ศตวรรษใน Learning Pyramid บทความตอนน้ีใช้ค�ำ Peer Pressure แต่ผมมีความเห็นว่า คำ� ทเ่ี หมาะสมกวา่ คอื Peer Interaction เพราะจะใหค้ วามหมายทเ่ี ปน็ กลางกว่า มีทง้ั ผลด้านบวกและดา้ นลบ หนา้ ทข่ี องพอ่ แมแ่ ละครูคือ หาวิธสี ง่ เสริมให้เปน็ ปฏสิ ัมพนั ธท์ ่ีก่อผลเชงิ บวก ดังทีผ่ มเหน็ พอ่ แม่ ของผม และพ่อแม่ของเพื่อนผมแสดงใหเ้ ห็นในสมยั ผมเปน็ วยั รุน่ 154 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

เล้ยี งลกู ยิ่งใหญ่ 155

๑๙ ขอสอมิทงยั ธเใคหพิ รมอ่ืล่ งมอื สื่อสาร 156 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

สง่ิ ที่ไมค่ วรทำ� อยา่ งยงิ่ คอื ใช้แท็บเล็ตเล้ยี งเด็กเลก็ ใหเ้ ดก็ เลน่ แท็บเล็ตฟงั เพลงหรือดูหนังการต์ ูน เพื่อเด็กจะได้ไม่กวนพ่อแมห่ รอื คนเล้ยี งเด็ก พัฒนาการเด็กเลก็ โดยเฉพาะอยา่ งยงิ่ ดา้ น Executive Function and Self-Regulation ตอ้ งการการกระตนุ้ ด้วยปฏิสมั พันธ์กบั มนษุ ย์ ไมใ่ ชป่ ฏสิ มั พันธ์กับเครอ่ื ง เลี้ยงลกู ยิ่งใหญ่ 157

อิทธิพลของเครื่องมือส่ือสารสมัยใหม่ ตีความจากบทความช่ือ Touch Screen Generation โดย David Pogue ถามว่า เคร่ืองมือ สอื่ สารสมัยใหม่เป็นคุณหรือเปน็ โทษต่อเดก็ ควรให้ลกู ใชห้ รือไม่ คำ� ตอบ คือ ความพอดี มีคนจ�ำนวนมากบ่นว่าสังคมสมัยใหม่เป็นสังคมก้มหน้า (จ้องจอ) ทำ� ใหเ้ ดก็ สมยั นถี้ กู ทำ� ลายคณุ สมบตั ทิ ด่ี ขี องความเปน็ มนษุ ย์ แทนทม่ี นษุ ย์ จะสัมผัสมนุษย์ กลับไปสัมผัสจอ แต่ผู้เขียนแย้งว่า คนเราก็เป็นอย่างน้ี คนรุ่นเก่าบ่นว่าคนรุ่นใหม่ สมัยเราเป็นเด็ก พ่อแม่และผู้ใหญ่ก็บ่นว่าเรา มวั แตบ่ ้าเพลงร็อค เป็นต้น เนอ่ื งจากมคี วามกงั วลกนั วา่ เครอื่ งมอื สอ่ื สารทถี่ อื ตดิ ตวั จะกอ่ ผลรา้ ยต่อพัฒนาการเด็ก จึงมกี ารวจิ ยั เพ่ือตรวจสอบผลร้ายท่ีสงสยั เช่น มีผลต่อการนอนของเด็กหรือไม่ ผลการวิจัยเพ่ิงลงตีพิมพ์ในวารสาร Pediatrics เม่ือปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นี่เอง ว่าเด็กที่มีเคร่ืองมือเหล่านี้อยู่ใน หอ้ งนอน มเี วลานอนหลับน้อยกวา่ เดก็ ทไี่ มม่ เี คร่อื งมอื อยใู่ นห้อง ๒๑ นาท ี เขาให้ค�ำอธิบายว่า อาจเป็นเพราะเด็กเล่นเครื่องน้ันจนนอนดึก ท�ำให้ ผิดเวลานอน หรืออาจเป็นเพราะแสงจากจอสร้างความผันแปรในจังหวะ การนอน (Circadian Rhythm) ของเด็ก ย�้ำว่าค�ำตอบคือมีผลท�ำให้ช่วง เวลานอนหลบั ลดลง คำ� ถามต่อมาคอื มผี ลต่อทักษะทางสังคมหรือไม่ เขาวิจัยในเด็กนักเรียนช้ัน ป. ๖ โดยให้เด็ก ๕๑ คน ไปเข้า ค่ายกิจกรรมโดยไม่มีเครื่องมือสื่อสารเหล่าน้ีเลยเป็นเวลา ๕ วัน แล้ววัดทักษะการท�ำความเข้าใจอารมณ์คนจาก ภาพถ่าย พบว่าเด็กกลุ่มน้ีท�ำได้ดีกว่าเด็กกลุ่มควบคุมจ�ำนวน ๕๔ คน สรุปวา่ เคร่อื งมอื เหล่านม้ี ีผลลบต่อทักษะทางสังคม 158 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

คำ� ถามตอ่ ไปคอื เครอื่ งมอื เหลา่ นมี้ ผี ลรา้ ยตอ่ การมสี มาธจิ ดจอ่ หรอื ไม่ ค�ำตอบได้จากผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในนักศึกษาท่ี ใช้คอมพิวเตอร์ท�ำกิจกรรมหลายอย่างในเวลาเดียวกัน (Multitasking) พบว่ามีผลท�ำให้สมาธิจดจ่อไม่ดีอย่างชัดเจน และยิ่งในสมัยปัจจุบันมี แทบ็ เล็ตและโทรศพั ท์สมารต์ โฟน ผลนา่ จะยิ่งรนุ แรง อีกค�ำถามหนึ่งคือ การใช้โทรศัพท์มือถือจะท�ำให้เป็นมะเร็ง สมองหรือไม่ ค�ำตอบจากงานวิจัยมากมาย สรุปว่าไม่ และเวลาน้ี วยั รุ่นใช้สมาร์ตโฟนเพ่อื อ่านและกดมากกว่าฟังและพูด จากการวิจัยสอบถามวัยรุ่นอเมริกัน ว่าโทรศัพท์มือถือมีผลต่อ ชีวิตของตนอย่างไร ค�ำตอบคือช่วยให้มีเพ่ือน ช่วยให้มิตรภาพแน่นแฟ้น เพยี งร้อยละ ๔ บอกวา่ มผี ลลบต่อมติ รภาพ อยา่ งไรกต็ าม ผเู้ ขยี นบอกวา่ ทด่ี ที ส่ี ดุ คอื ใชอ้ ยา่ งพอควร คำ� ตอบ สุดท้ายอยู่ท่ีความพอดี และผมขอเติมว่า ใช้อย่างรับผิดชอบต่อ ตวั เอง และเคารพผูอ้ น่ื ผมมคี วามเห็นว่า ผเู้ ขยี นยงั แตะสิ่งท่คี วรท�ำและไม่ควรท�ำ ในเร่ือง การใช้แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือกับเด็กน้อยไป อาจเป็นเพราะผู้เขียน เปน็ นกั สอ่ื สารสังกดั บริษัทเทคโนโลยี ผมจึงขอเติมว่า สิ่งท่ีไม่ควรท�ำอย่างย่ิงคือใช้แท็บเล็ตเล้ียง เด็กเล็ก ให้เด็กเล่นแท็บเล็ต ฟังเพลง หรือดูหนังการ์ตูน เพ่ือเด็ก จะไดไ้ มก่ วนพ่อแม่หรือคนเล้ยี งเด็ก พัฒนาการเดก็ เล็ก โดยเฉพาะ อยา่ งยิง่ ด้าน Executive Function and Self-Regulation ตอ้ งการการ กระต้นุ ด้วยปฏสิ ัมพันธก์ บั มนษุ ย์ ไม่ใชป่ ฏสิ มั พนั ธ์กับเครอ่ื ง เลย้ี งลูกยง่ิ ใหญ่ 159

๒๐ ทแชลำ�วะงนงาานเดนสร็กรับ้าใงชสผ้ ร้อู รนื่ค์ 160 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

การเรียนรู้ทด่ี ที ่สี ดุ ไดจ้ ากการปฏิบตั ิกิจกรรม หรอื เรยี นโดยการท�ำงาน โดยแบง่ หน้าทใ่ี ห้เด็กทำ� งานรว่ มกันเป็นทมี ท�ำให้การเรียนรู้เปน็ ‘กระบวนการเรยี นรู้ท่ีจรงิ แท้’ (Authentic Learning) เดก็ จะได้รบั ประสบการณต์ รง ได้ฝกึ รับผิดชอบ ฝึกท�ำงานรว่ มกบั ผูอ้ ื่น ไดฝ้ กึ ความอดทน มานะบากบ่นั มีประสบการณ์กบั ความลม้ เหลว หรอื การเผชิญความยากล�ำบาก รู้จกั ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวธิ ที �ำงาน เล้ยี งลกู ยิ่งใหญ่ 161

ผมเขยี นบทนเ้ี พม่ิ เติมเขา้ มาใน เลี้ยงลูกยง่ิ ใหญ่ โดยไมม่ ีในหนงั สือ Raise Great Kids : How to Help Them Thrive in School and Life เพราะเห็นว่าการเรียนรู้ท่ีดีที่สุด ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม หรือ เรียนโดยการทำ� งาน โดยแบ่งหน้าที่ให้เด็กท�ำงานร่วมกันเป็นทีม เพ่ือช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ ในหมเู่ พอื่ น และเออื้ เฟอ้ื ออกไปนอกหอ้ งเรยี น และอาจเออ้ื เฟอ้ื สโู่ ลกกวา้ ง ด้วย (ผ่านทางอินเทอร์เน็ต) ซึ่งจะท�ำให้การเรียนรู้เป็น “กระบวนการ เรยี นรทู้ ่ีจรงิ แท้” (Authentic Learning) เด็กไดร้ บั ประสบการณ์ตรง ได้ฝกึ รับผิดชอบ ฝึกท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ได้ฝึกความอดทน มานะบากบ่ัน มี ประสบการณ์กับความล้มเหลวหรือการเผชิญความยากล�ำบาก ต้อง ปรับปรงุ วิธที �ำงาน ต้องเปล่ยี นแปลงเทคนิคบางส่วน โดยต้องไม่ลืมว่า ในกรณีน้ีการท�ำงานเป็นกุศโลบายเพ่ือการ เรยี นรหู้ ลากหลายมติ ขิ องเดก็ รวมทง้ั เพอื่ พฒั นาความเปน็ พลเมอื งดี มีการเรียนรู้เป็นเป้าหมายหลัก ผลงานเป็นเป้าหมายรอง โดยงาน ที่ท�ำอาจมีได้หลากหลายมาก ท้ังงานในห้องเรียน ในโรงเรียน ในบ้าน และในชุมชนของนักเรียนเอง ครูหรือผู้ใหญ่ท่ีท�ำหน้าท่ีส่งเสริมการเรียนรู้ แนวนี้ อาจใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ ออกแบบวิธีการได้อย่างไม่จ�ำกัด ที่นำ� มากล่าวในบันทกึ นเ้ี ปน็ เพยี งตัวอยา่ งเท่าน้นั ในห้องเรียน นักเรียนอาจแบ่งหน้าที่กัน ท�ำงานจดบันทึกสาระ ของบทเรียนในแต่ละช่ัวโมง โดยนกั เรยี นผลดั เวรกนั ทำ� หนา้ ท่ีเปน็ ผูบ้ นั ทกึ ในแต่ละคาบเรียน อาจมีนักเรียน ๒ คนร่วมกันท�ำหน้าที่ทีมบันทึก แล้วภายใน ๒ - ๓ วัน ทีมบันทึกก็จะน�ำบันทึกฉบับร่างขึ้นบล็อกของ ช้ันเรียน เพ่ือให้เพื่อนนักเรียนและครูช่วยกันปรับปรุงแก้ไข แล้วภายใน ๑ สัปดาห์ บันทึกการบรรยายฉบับสมบูรณ์ก็จะอยู่ในบล็อก หรือระบบ 162 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

ฐานข้อมูลแบบอน่ื ในระบบไอซที ขี องชั้นเรยี น เป็นบันทกึ ถาวรใหน้ ักเรียน ทุกคนเข้าดูได้ตลอดเวลา รวมทั้งอาจเผื่อแผ่แก่นักเรียนคนอื่นๆ ใน ประเทศไทยดว้ ย ครูท�ำหน้าท่ีกระตุ้นความรู้สึกเอ้ือเฟื้อเผ่ือแผ่แก่เพ่ือน สร้างความ ภาคภมู ใิ จที่ไดท้ ำ� ประโยชน์แก่ผู้อืน่ และเมอ่ื นักเรยี นมสี มรรถนะดา้ นการ เขียนและจดบันทึกสาระเป็นอย่างดีแล้ว ต่อไปเมื่อมีงานของโรงเรียน นักเรียนอาจอาสาท�ำหน้าท่ีเป็นทีม “ผู้ส่ือข่าว” รายงานเร่ืองราวแก่ ประชาคมในโรงเรียน หรืออาจส่ือไปยังผู้ปกครองผ่านทางช่องทางที่ เหมาะสมได้ด้วย ซ่ึงนักเรียนจะได้ฝึกฝนการท�ำความเข้าใจ ฝึกฝนการ จบั ประเดน็ ฝกึ เรยี บเรยี งถอ้ ยคำ� ฝกึ นำ� เสนอใหต้ รงความจรงิ และนา่ สนใจ กจิ กรรมอนื่ ๆ ในหอ้ งเรยี นยงั มอี กี มากมาย เชน่ การทำ� ความสะอาด ห้องเรยี น การดแู ลความสวยงามในหอ้ งเรียน การช่วยตวิ เพือ่ นท่มี ปี ัญหา การเรียนบางวิชา หรือเพื่อนท่ีลาเรียนบางช่วง ส่ิงท่ีครูต้องช่วยแนะน�ำ นกั เรยี นคือ ให้ท�ำเป็นทีมอยา่ งมีเปา้ หมายชดั เจน และมีวธิ ีการทดี่ ี และได้ผล รวมทั้งตระหนักในคุณค่าท่ีตัวนักเรียนได้รับ จากการมี โอกาสไดท้ �ำประโยชน์ หรือชว่ ยเหลอื ผูอ้ ืน่ เลยี้ งลกู ย่งิ ใหญ่ 163

ครูอาจร่วมกันคิดกิจกรรมในระดับโรงเรียน ให้นักเรียนต่างชั้น ต่างระดับ ได้ท�ำงานร่วมกันเป็นทีม เพ่ือการเรียนรู้ของตน และเพื่อท�ำ ประโยชน์แก่โรงเรียน โดยที่กิจกรรมน้ีได้จากความเอาใจใส่พัฒนาการ และชีวติ ท่ีดีในอนาคตของนักเรยี น เชน่ กจิ กรรมแก้ไขปัญหา หรือปอ้ งกนั การรังแกกันในโรงเรียน การป้องกันปัญหานักเรียนออกจากโรงเรียน กลางคัน ป้องกันปัญหาเชิงพฤติกรรม เช่น การติดเกม ติดยาเสพติด มั่วเซก็ ส์ และต้งั ครรภ์วัยรุน่ เป็นต้น โดยที่การดำ� เนนิ การกจิ กรรมเหลา่ น้ี ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการ และต้องใช้ความรู้เชิงบริบทของนักเรียนเอง รวมท้ังต้องแสวงหาความร่วมมือหรือความช่วยเหลือจากหน่วยงานและ คนในชมุ ชนโดยรอบโรงเรียนด้วย กิจกรรมเพื่อการเรียนรูน้ ี้ อาจขยายเปน็ กิจกรรมจิตอาสาเพื่อ ทำ� ประโยชนแ์ กค่ นในชมุ ชนทโ่ี รงเรยี นตง้ั อยู่ หรอื ทน่ี กั เรยี นอาศยั อยู่ เช่น ไปเล่นดนตรีให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลฟัง ไปเยี่ยมพูดคุยกับผู้สูงอายุ ทบ่ี ้าน ไปดูแลผูป้ ว่ ยติดเตยี งท่ีบา้ น เชน่ ผ้ชู รา ผ้พู ิการ ผปู้ ว่ ยระยะสุดทา้ ย ของชีวิต อาจจัดเป็นทีมอาสาพัฒนาชุมชน ซ่ึงมีประเด็นให้ท�ำเพ่ือการ เรียนรู้มากมาย เช่น การจัดการขยะ การดูแลสภาพแวดล้อม การดูแล คนชรา ผู้พิการ ผู้ป่วย การเป็นพ่ีเล้ียงเด็กเล็ก การจัดการป่าชุมชน เปน็ ต้น โดยมหี ลักการคอื ตอ้ งทำ� อยา่ งสมำ่� เสมอตอ่ เนอ่ื ง ทำ� เปน็ ทมี มีการค้นคว้าหาความรูม้ าใช้ในการทำ� งาน เพ่ือหาทางพฒั นาวธิ ีการ ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น รวมทั้งมีการน�ำประสบการณ์มาร่วมกันไตร่ตรอง สะทอ้ นคดิ เพอื่ การเรยี นรทู้ งั้ ดา้ นวชิ าความรู้ ดา้ นการยกระดบั จติ ใจ ของตนเอง และการท�ำความเข้าใจคุณค่าของสิ่งที่ท�ำ ครูและ ผู้ใหญจ่ ะสามารถท�ำหนา้ ที่ “คณุ อำ� นวย” (Facilitator) ของการไตรต่ รอง สะท้อนคิด โดยการช่วยต้ังค�ำถามที่เหมาะสม ให้นักเรียนช่วยกันตอบ หลายๆ แบบ ท้ังท่ีเป็นค�ำตอบทางวิชาการ และค�ำตอบทางใจ 164 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

การท�ำหน้าที่ “คุณอ�ำนวย” กระตุ้นการไตร่ตรองสะท้อนคิด เพือ่ ใหเ้ กดิ การเรียนรู้หลากหลายมติ ิ โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การเรียนรู้ ในมิติท่ีลึก ท่ีเป็นมิติด้านใน เพ่ือยกระดับจิตใจของนักเรียน และเยาวชนน้ี เป็นทักษะส�ำคัญที่คนเป็นครู เป็นพ่อแม่ และเป็น พลเมืองดีควรจะฝึกฝนตนเอง หรือชุมชนควรด�ำเนินการฝึกฝน ทกั ษะนใ้ี ห้แกค่ นในชุมชน จะเป็นวิธีงา่ ยๆ ที่ช่วยสรา้ งความสงบสุข สันติสุข แก่การอยู่ร่วมกันในสังคม และท่ีส�ำคัญ ช่วยให้คนทุกคน สามารถมสี ว่ นรว่ มสร้างเดก็ ดีให้แกส่ งั คมได้ ทา่ นทสี่ นใจรายละเอยี ดเรอื่ งวธิ อี อกแบบการเรยี นรจู้ ากการทำ� งาน และงานน้ันมีผลเป็นการท�ำประโยชน์แก่ผู้อ่ืน อาจอ่านบันทึกท่ีผมเขียน ตีความสาระจากการอา่ นหนังสือ Who Owns the Learning ? เขียนโดย Alan November ได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/tags/ november เลย้ี งลกู ยง่ิ ใหญ่ 165

๒๑ ฝคขอวกึ บงคตคนวุมเบพอคฤงตมุ ิกใจรรม 166 เลี้ยงลูกยงิ่ ใหญ่

Executive Function & Self Regulation เปน็ ความสามารถของสมอง ในการควบคุมพฤตกิ รรมของคน ใหอ้ ยใู่ นวิถีชวี ติ ท่ีดีงาม ไมถ่ กู ชกั จงู โดยส่งิ ยว่ั ยวนภายนอกไดง้ ่าย เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่ 167

ผมเช่อื ว่า วิธีเรียนรแู้ บบ Activity-Based Learning ทีเ่ รยี นโดยการลงมือท�ำ Learning by Doing เป็นทีม ตามด้วยการไตร่ตรองสะทอ้ นคิด (ซ่ึงเป็นการเรียนรูแ้ หง่ ศตวรรษท่ี 21) จะช่วยพัฒนา EF ของนักเรียน (และของคร)ู ไปโดยอัตโนมัติ ครูทมี่ คี วามสามารถในการทำ� หนา้ ท่ีโคช้ หรือ “คณุ อ�ำนวย” ของกระบวนการเรยี นรู้ จะยงิ่ ชว่ ยเอื้อการพัฒนา EF ได้ดี 168 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

เรือ่ งฝึกควบคุมใจ ควบคุมพฤตกิ รรมของตนเองนี้ ในทางวิชาการ เรียกว่าเป็นการพัฒนา Executive Function & Self Regulation เป็นอีกตอนหน่ึงท่ีไม่ได้เขียนตีความจากหนังสือ Raise Great Kids : How to Help Them Thrive in School and Life ผมเขียนเพ่มิ เพราะ เหน็ วา่ เปน็ ความรู้ใหมด่ า้ นการเลย้ี งดแู ละพฒั นาเดก็ ทจี่ ะเปน็ การปพู นื้ ฐาน เพ่ือชีวิตท่ีดีไปตลอดชีวิต เป็นผลงานวิจัยระยะยาวในคน ท่ีพิสูจน์ว่า เด็กที่มี Executive Function (EF) & Self Regulation แข็งแรง จะมีชวี ิตทด่ี ี ฝ่าดา่ นความลม้ เหลวในชวี ติ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กท่ี EF อ่อนแอ จะพบว่าเมื่อโตขึ้นผู้ที่ EF แขง็ แรง มีอตั ราปญั หาทางสงั คม (ออกจากโรงเรยี นกลางคนั ตัง้ ครรภ์ใน วัยรุ่น ติดยาเสพติด ติดคุก หย่าร้าง) และมีปัญหาสุขภาพ (โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหติ สูง อว้ น โรคซมึ เศรา้ แกก่ ่อนวัย ความจ�ำเสอื่ ม) นอ้ ยกวา่ ผูท้ ่ี EF ออ่ นแอ อย่างมนี ยั ส�ำคัญ ทีส่ �ำคัญ มผี ลการวิจัยยนื ยนั วา่ เด็กที่ EF ออ่ นแอสามารถฝกึ ใหม้ ี EF เข้มแข็งได้ มีวีดิทศั น์และคำ� อธิบายวธิ ฝี ึก EF ในเด็กช่วงอายตุ า่ งๆ ท่ี เวบ็ ไซตข์ องมหาวทิ ยาลยั ฮาวารด์ ที่ http://developingchild.harvard.edu/ science/key-concepts/executive-function/ และทบ่ี นั ทกึ https://www. gotoknow.org/posts/550274 จะเห็นว่าวิธีฝึก EF ท�ำง่ายๆ แต่ต้องท�ำ บอ่ ยๆ สมำ�่ เสมอและตอ่ เนอ่ื ง หลายวธิ เี ปน็ สงิ่ ทเี่ ราทำ� กนั อยแู่ ลว้ หรอื เปน็ วธิ ี เล้ียงเดก็ ทีใ่ ช้กันในวัฒนธรรมไทย แตใ่ นสงั คมสมัยใหมอ่ าจทำ� กนั นอ้ ยลง มีหลายครอบครวั ใหท้ ีวี วดี ทิ ัศน์ หรือไอแพ็ดเลี้ยงลกู ซึ่งเป็นวิธกี ารท่ผี ิด เล้ียงลูกยิ่งใหญ่ 169

นอกจากน้ัน ยงั มเี ครือ่ งมือฝกึ EF โดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็น eTool ช่ือ Tools of the Mind (http://toolsofthemind.org) ใช้ฝึกความพร้อม ในการเรียน เพอ่ื ใหม้ สี มาธิจดจ่อ ฝึกความจำ� ใชง้ าน ผมเชื่อว่า วิธีเรียนรู้แบบ Activity-Based Learning ที่เรียน โดยการลงมอื ทำ� (Learning by Doing) เปน็ ทมี ตามดว้ ยการไตรต่ รอง สะทอ้ นคดิ (ซง่ึ เป็นการเรียนรแู้ หง่ ศตวรรษที่ ๒๑) จะช่วยพฒั นา EF ของนักเรียน (และของครู) ไปโดยอัตโนมัติ ครูท่ีมีความสามารถ ในการท�ำหน้าท่ีโค้ช หรือ “คุณอ�ำนวย” ของกระบวนการเรียนรู้ จะยิง่ ช่วยเอื้อการพฒั นา EF ได้ดี Executive Function & Self Regulation เป็นความสามารถของ สมองในการควบคมุ พฤตกิ รรมของคน ใหอ้ ยใู่ นวถิ ชี วี ติ ทดี่ งี าม ไมถ่ กู ชกั จงู โดยส่ิงย่ัวยวนภายนอก หรือโดยแรงกระตุ้นเชิงกิเลสตัณหาอารมณ์ ภายในตน ใหเ้ กดิ พฤตกิ รรมแบบหนุ หนั พลนั แลน่ ไรส้ ตยิ งั้ คดิ ใหร้ จู้ กั อดทน รอเวลาหรือจังหวะที่เหมาะสม เพ่ือชีวิตที่ดีกว่า ในลักษณะ “อดเปรี้ยว ไว้กินหวาน” ท่ีฝร่ังเรียกว่า Delayed Gratification ท่ีมีระบุไว้ในหนังสือ เล้ียงให้รุ่ง : ปฏิวัติการเรียนรู้ผ่านการสร้างลักษณะนิสัยสู่ความส�ำเร็จ ท่ีผมเขียนค�ำนิยมใหอ้ า่ นได้ท่ี www.gotoknow.org/posts/576122 Executive Function & Self Regulation ทำ� หนา้ ทหี่ ลกั ๓ ประการ คอื (๑) ความจำ� ใช้งาน (Working Memory) ชว่ ยให้สามารถประมวล ข้อมูลในช่ัวขณะการท�ำงานหรือการด�ำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ สามารถจัดการข้อมูลจ�ำนวนมากและซับซ้อนได้ ผมคิดว่า น่ีคือ ลักษณะของคนท่ีเราพูดกันว่า “หัวดี” โปรดสังเกตว่า “หัวดีสร้างได้” (๒) ความยืดหยุ่นของสมอง (Mental Flexibility) ช่วยให้สามารถ มสี มาธจิ ดจ่อ อยกู่ บั เรอ่ื งใดเรื่องหนึง่ หรือสามารถเปล่ยี นไปสนใจ 170 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

อีกเร่ืองหนึ่ง แล้วกลับมาจดจ่อกับเรื่องเดิมได้อีก ซึ่งผมตีความว่า มคี วามสามารถในการทำ� Multitasking ไดอ้ ยา่ งดี (๓) การควบคมุ ตนเอง (Self Control) ดงั กล่าวแลว้ ข้างต้น เดิมเข้าใจกนั ว่า สมองส่วนท�ำหนา้ ท่ี EF คอื เปลอื กสมองสว่ นหน้า (Neocortex) แต่ผลการวิจัยตรวจสอบการท�ำหน้าที่ของสมองในช่วง ไม่กี่ปีมานี้บอกว่า ในการท�ำหน้าท่ี EF เปลือกสมองส่วนหน้าท�ำหน้าท่ี ร่วมกับส่วนอืน่ ๆ ของสมองทงั้ หมด คอื การท�ำหนา้ ที่ EF สมองต้องมกี าร เชื่อมต่อสญั ญาณผา่ นใยประสาทไปทัว่ สมอง หากจะให้ประเทศไทยมีพลเมืองท่ี EF ดี จะต้องเอาใจใส่ คณุ ภาพชวี ติ ของเดก็ ตงั้ แตอ่ ยใู่ นครรภม์ ารดา ไมใ่ หไ้ ดร้ บั ความเครยี ด ซ่ึงหมายความว่าความสัมพันธ์ในครอบครัว และเศรษฐฐานะของ ครอบครวั ตอ้ งไมท่ ำ� ใหแ้ มท่ กี่ ำ� ลงั ตง้ั ครรภม์ คี วามเครยี ด เพราะความ เครียดในแม่จะถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ มีผลท�ำให้ HPA Axis ของ ทารกในครรภ์อ่อนแอ HPA Axis เป็นระบบสมองเช่ือมโยงกันระบบ ต่อมไร้ท่อหรือระบบฮอร์โมน ที่เมื่ออ่อนแอ การพัฒนา EF จะท�ำได้ยาก อา่ นรายละเอยี ดไดจ้ ากหนงั สอื เลยี้ งใหร้ งุ่ : ปฏวิ ตั กิ ารเรยี นรู้ ผา่ นการสรา้ ง ลักษณะนสิ ัยสูค่ วามสำ� เรจ็ เลย้ี งลูกย่งิ ใหญ่ 171

ดังนั้น เด็กท่ีเกิดจากครอบครัวที่มีเศรษฐฐานะต�่ำ ควรได้รับความ ช่วยเหลือจากรัฐ ในการฝึก EF ในช่วงแรกเกิดถึง ๖ ขวบ ตามหลักของ การพัฒนาเดก็ เล็ก โดยมีวิธฝี กึ พ่อแมใ่ หร้ ู้จักวิธีเลีย้ งลกู อ่านรายละเอียด ท่ี www.gotoknow.org/posts/610075 โดยนัยยะน้ี ปญั หาหลกั ของการมีพลเมืองท่มี ี EF แข็งแรงของ สงั คมไทย คอื ความไมเ่ ปน็ ธรรมในสงั คม (Inequity) หรอื ชอ่ งวา่ งทาง สังคม การแก้ปัญหาช่องว่างทางสังคมจะเป็นการขจัดรากเหง้าของ ปัญหาคุณภาพของพลเมือง และหากร่วมกับการปฏิรูปการศึกษา เปลย่ี นจากการจดั การเรยี นรแู้ บบถา่ ยทอดความรสู้ ำ� เรจ็ รปู และเนน้ เฉพาะรู้วิชา มาเป็นจัดการเรียนรู้โดยเน้นการปฏิบัติกิจกรรมหรือ ทำ� งานจรงิ โดยทำ� เปน็ ทมี ตามดว้ ยการไตรต่ รองสะทอ้ นคดิ รว่ มกนั คุณภาพของพลเมอื งไทยกจ็ ะสูงข้นึ อย่างมากมาย 172 เลี้ยงลูกยงิ่ ใหญ่

เล้ยี งลกู ยิ่งใหญ่ 173

๒๒ ฝกึ กระบวนทัศนพ์ ัฒนา 174 เลีย้ งลกู ยิ่งใหญ่

พรสวรรคม์ จี รงิ แต่ไม่ใช่สิ่งที่เปน็ เช่นนัน้ หรือคงทีต่ ง้ั แต่เกดิ พรสวรรค์เปน็ ‘ศกั ยภาพในการเปล่ียนแปลง’ เพื่อพัฒนาไปสู่สมรรถนะทีย่ อดเย่ยี มมหศั จรรย์ ในเรอ่ื งใดเรื่องหนงึ่ ได้ เล้ยี งลกู ยิ่งใหญ่ 175

การมีกระบวนทัศน์พัฒนา เป็นเพียงพืน้ ฐานสูค่ วามสำ� เรจ็ ชีวิตจะเกดิ ความสำ� เร็จไดจ้ รงิ ต้องมีการฝกึ ปฏบิ ตั ิอย่างมคี ณุ ภาพและมากพอ 176 เลี้ยงลกู ย่ิงใหญ่

เรอื่ งการฝกึ กระบวนทศั นพ์ ฒั นา (Growth Mindset) น้ี ผมเขยี นใส่ ไว้ในชดุ เลย้ี งลกู ยงิ่ ใหญน่ ้ี โดยไมไ่ ดต้ คี วามจากหนงั สอื Raise Great Kids: How to Help Them Thrive in School and Life เนือ่ งจากเหน็ วา่ เป็น ประเดน็ สำ� คญั ยง่ิ ตอ่ การเลยี้ งเดก็ ใหป้ ระสบความสำ� เรจ็ ในชวี ติ เปน็ ประเดน็ ส�ำคัญในระดับเปลี่ยนความเข้าใจผิด จากเช่ือใน ‘พรสวรรค์’ (Talent, Gifted) มาเปน็ เชอ่ื ‘พรแสวง’ ผา่ นการฝกึ ฝนเคยี่ วกรำ� จากเชอื่ ใน ‘สมองด’ี แต่ก�ำเนดิ มาเปน็ เชือ่ ใน ‘สมองด’ี ผา่ นความมานะพยายามฝกึ ฝน ไมว่ า่ เด็กทส่ี มองดีแต่กำ� เนดิ หรือเดก็ สมองปานกลาง หรอื สมองชา้ ตอ้ งไดร้ บั การเลย้ี งดู และการศกึ ษาแบบฝกึ กระบวนทศั นพ์ ฒั นาทง้ั สน้ิ เดก็ ท่ี ดเู สมอื นสมองทบึ ตอนเปน็ เดก็ อาจกลายเปน็ คน ‘สมองด’ี ในภายหลงั กไ็ ด ้ กระบวนทศั นพ์ ฒั นากบั ExecutiveFunction&Self-Regulationเปน็ สองเรอื่ งใหมท่ กี่ ำ� ลงั ฮติ มากในเรอื่ งพฒั นาการเดก็ และจติ วทิ ยาการเลยี้ งดู เดก็ เปน็ เรอ่ื งทม่ี คี วามสมั พนั ธเ์ กย่ี วขอ้ งกนั และมหี นงั สอื ออกใหมห่ ลายเลม่ วิธีฝึกกระบวนทัศน์พัฒนาได้ระบุไว้โดยละเอียดในตอนท่ี ๒ เคล็ดลับในการเลย้ี งเดก็ ฉลาด ซง่ึ น�ำมาใชก้ บั เดก็ สมองปานกลาง และใช้ กบั เด็กสมองชา้ ไดด้ ้วย อ่านไดท้ ่ี www.gotoknow.org/posts/608522 เลย้ี งลกู ยิ่งใหญ่ 177

พรสวรรคม์ จี ริง แตต่ อ้ งเปลยี่ นมมุ มอง หลักฐานเรื่องสมองดีมาจากการฝึกฝน มาจากหลายทาง หนังสือ Peak : Secrets from the New Science of Expertise บท Introduction : The Gift เล่าเรื่องพรสวรรค์ของนักดนตรี หรือนักประพันธ์ดนตรีระดับ อัจฉริยะ เช่น โมสาร์ต และเล่าผลงานวิจัยของ Sakakibara ท่ีเปลี่ยน ความเช่ือเรอื่ งพรสวรรค์ในการแยกเสียงดนตรีโดยส้ินเชิง เดิมเชื่อกันว่า โมสาร์ต เป็นอัจฉริยะในการประพันธ์เพลงก็เพราะ มีพรสวรรค์ มีความสามารถในการแยกเสียงดนตรี ที่เรียกว่า Absolute Pitch (AP) หรอื เรียกอีกชอื่ หน่ึงว่า Perfect Pitch มาแตก่ ำ� เนดิ และเชื่อ กนั ว่า มคี นที่เกิดมามพี รสวรรคน์ ี้ ๑ ในหมน่ื คน แต่ผลการวจิ ยั ของ Ayako Sakakibara ซ่งึ อ่านรายงานเบ้ืองตน้ ได้ ที่ www.escom.org/proceedings/ICMPC2000/poster2/Sakakiba.htm และบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์ ที่ http://pom.sagepub.com/ content/42/1/86.abstract บอกว่าไม่จริง ผลการทดลองของเธอใน เด็กอายุ ๒ - ๖ ปี จ�ำนวน ๒๔ คนบอกว่าเด็กทั้ง ๒๔ คนสามารถบรรลุ สมรรถนะ Absolute Pitch ไดท้ กุ คน เดก็ บางคนบรรลหุ ลงั จากฝกึ เปน็ เวลา น้อยกว่า ๑ ปี คนทใี่ ช้เวลามากทสี่ ุดคอื ๑ ปีคร่งึ ผู้เขียนหนังสือ Peak คือ Anders Ericsson บอกว่าผลการวิจัยน้ี ประกอบกับการวเิ คราะห์ชวี ติ ของ โวลฟก์ งั โมสาร์ต สรปุ ได้วา่ สิ่งทีเ่ รียก ว่าพรสวรรค์ด้านดนตรีนั้น ไม่ได้มีมาแต่ก�ำเนิดแล้วคงอยู่อย่างนั้น แตพ่ รสวรรคม์ ธี รรมชาตเิ ปน็ ‘ศกั ยภาพ’ ของสมอง ทจี่ ะพฒั นาความ สามารถพเิ ศษขนึ้ จากการฝกึ ฝนอย่างจรงิ จงั 178 เลีย้ งลกู ย่งิ ใหญ่

พรสวรรค์เป็นส่งิ ท่ีตอ้ งงอกงามขึน้ ในช่วงตน้ ของชวี ิต เชน่ ศกั ยภาพ ในการงอกงามสู่พรสวรรค์ด้านดนตรีจะคงอย่เู พียงช่วง ๖ ปีแรก เขายกตัวอย่างนักบาสเก็ตบอลยอดเยี่ยมของสหรัฐคนหนึ่ง ที่ ยืนยนั วา่ ความส�ำเรจ็ ของเขาไมใ่ ชม่ าจากพรสวรรคแ์ ตก่ �ำเนดิ แตม่ าจาก การขยนั ฝึกฝน ความเข้าใจใหม่เร่ืองพรสวรรค์นี้ มาบรรจบกับความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ของสมอง ที่พบว่าสมองในวัยเยาว์มีศักยภาพในการพัฒนา เปล่ียนแปลงการเชื่อมต่อใยประสาทอย่างขนานใหญ่ เรียกว่ิง Brain Adaptability หรอื Plasticity แมว้ า่ เมอื่ เปน็ ผใู้ หญค่ ณุ สมบตั นิ จี้ ะลดลงมาก แตบ่ างส่วนกย็ งั คงอย่ ู พฒั นาการของสมองเด็ก อยใู่ นสภาพทพ่ี รอ้ มตอ่ การรับแรงกระตนุ้ จากประสบการณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงต่อเน่ือง ให้บรรลุสภาพท่ีท�ำบางส่ิง ได้ดีอย่างมหัศจรรย์ได้ หากแรงกระตุ้นนั้นถูกต้องเหมาะสมและต่อเน่ือง เพยี งพอ พรสวรรค์มีจริง แตไ่ ม่ใช่สง่ิ ทเ่ี ป็นเชน่ นน้ั หรือคงท่ีตงั้ แตเ่ กิด พรสวรรคเ์ ปน็ ‘ศกั ยภาพในการเปลย่ี นแปลง’ เพอ่ื พฒั นาไปสสู่ มรรถนะ ทย่ี อดเยยี่ มมหัศจรรย์ในเรือ่ งใดเรอื่ งหนง่ึ ได้ มนุษย์ทุกคนมีพรสวรรค์ คือมีสมองที่พร้อมจะพัฒนา เปลย่ี นแปลงจนเกดิ ความสามารถพเิ ศษดา้ นใดดา้ นหนง่ึ ได้ พรสวรรค์ อยทู่ ่ีธรรมชาติของสมองมนุษย์ แตจ่ ะเกดิ ผลสู่ความสามารถพเิ ศษ หรอื ไม่ อยทู่ กี่ ารฝกึ ฝน และสภาพแวดลอ้ ม เปน็ การตคี วามพรสวรรค์ จากกระบวนทศั น์พัฒนา เล้ยี งลกู ย่ิงใหญ่ 179

ความมุมานะต่อเนือ่ งเพือ่ บรรลเุ ปา้ หมายทยี่ ่ิงใหญ่ในระยะยาว หนังสือ GRIT : The Power of Passion and Perseverance โดย Angela Duckworth ศาสตราจารยด์ า้ นจติ วทิ ยา แห่งมหาวิทยาลัย เพนซิลเวเนีย ให้ความรู้เรื่องกระบวนทัศน์พัฒนาในภาคปฏิบัติและ ภาคขยาย หนังสือเล่มนี้เม่ือออกวางจ�ำหน่าย ก็เป็น New York Times’ Bestseller ทันที ชอ่ื หนงั สอื บอกชดั เจนวา่ ความมมุ านะ (Grit) มี ๒ องคป์ ระกอบ คือ พลังความชอบระดับหลงใหล (Passion) กับความอดทนมานะ พยายามไม่ท้อถอย (Perseverance) ความหมายเบ้ืองหลังค�ำว่า Grit คือ ความมุมานะต่อเนือ่ งเพื่อบรรลเุ ป้าหมายทยี่ ่ิงใหญใ่ นระยะยาว อา่ นไปไดห้ นอ่ ยเดยี ว (บทท่ี ๒) ผมก็จับไดว้ ่า ผู้เขียนใชว้ ธิ ีเล่าเรอื่ ง เล่าแบบที่ไม่มีใครท�ำเทียบเทียมได้ เพราะเดินเรื่องด้วยชีวิตของตนเอง และทเี่ ยย่ี มยอดคอื เขยี นแบบตงั้ คำ� ถาม แลว้ ตอบดว้ ยขอ้ มลู หลกั ฐานจาก ผลงานวจิ ยั และตวั อยา่ งเรอ่ื งจรงิ ทำ� ใหเ้ ปน็ หนงั สอื ทมี่ ชี วี ติ และมชี วี ติ ชวี า เรื่องแล้วเร่ืองเล่าของคนท่ีเรียนไม่เก่งตอนเป็นเด็ก แต่กลายเป็น นักวิชาการช้ันยอด เด็กท่ีสอบตกคณิตศาสตร์ แต่จบปริญญาเอกจาก UCLA และกลายเปน็ วศิ วกรอวกาศ ความแปลกใหมข่ องหนงั สอื เลม่ นอ้ี ยทู่ กี่ ารคดิ ทฤษฎที แ่ี สดงพลงั ของ Grit ตอ่ ความส�ำเรจ็ ที่ยง่ิ ใหญ่ (Achievement) คิดออกมาเป็นสมการดังนี้ Talent x Effort = Skill; Skill x Effort = Achievement ความพยายาม (Effort) ทม่ี าจาก Grit เปน็ ตวั คณู สองครง้ั ในสมการ ของความสำ� เร็จยิ่งใหญ ่ 180 เลี้ยงลกู ย่งิ ใหญ่

คนที่ผ่านชีวิตมาไม่มาก มักหลงเข้าใจผิดว่า Passion หรือความ ชอบหลงใหลในเร่ืองใดเร่ืองหนึ่งเป็นเรื่องฟ้าประทานมาได้ง่ายๆ ในชีวิต จริงไม่ได้เป็นเช่นน้ัน มันจะมาหรือเราค้นพบหลังจากเราได้ท�ำงานหรือ ผ่านสิง่ ตา่ งๆ แลว้ หลายอยา่ ง หรือมาจากความบงั เอญิ แต่ทสี่ �ำคญั คือเรา ตอ้ งพัฒนา Passion ของเราเอง คำ� สำ� คัญคือหมัน่ พัฒนา Passion ของ เราเองอยา่ งจรงิ จงั ผมคิดว่า Passion มาได้สองทาง คนท่ีโชคดีในชีวิต ได้พัฒนา Chickering’s Seven Vectors of Identity Development จนรูจ้ ักตวั เองด ี รู้ว่าตัวเองชอบอะไร ก็เรียนและท�ำงานไปตามแนวทางนั้น ผมเรียก แนวทางนีว้ ่า ทางที่เลอื ก ทางทส่ี องเรียกว่า ทางทไ่ี มไ่ ด้เลือก คือชะตาชีวิตพาไปพบ เพราะ ต้องท�ำงานหาเลี้ยงชีพ ก็ต้องเรียนและหางานท�ำ และชะตาชีวิตพาไป ท�ำงานน้ัน ผมคิดวา่ ผมอย่ใู นกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะได้ Passion มาจากทางไหน ปัจจยั รว่ มคอื การค้นหา ‘คณุ คา่ ’ ของงานทที่ ำ� คน้ หาจนพบคณุ คา่ ทย่ี ง่ิ ใหญ่ ตรงกบั ความเชอื่ หรอื พลงั ภายในของตนเอง ท่ีเป็น Intrinsic Motivation อ้าว!!! น่ันคือ “การเรียนรู้” นี่นา มนุษย์เราเรียนรู้หลายมิติจาก การกระท�ำของตนเอง ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด เพื่อค้นหาความ เชอ่ื มโยงกับสรรพส่งิ และคน้ หาคุณคา่ ลึกๆ ของสงิ่ ทีต่ นเผชิญ เมือ่ คน้ พบ คุณค่าก็เกดิ ความรักความหลงใหล (Passion) ในสงิ่ นน้ั การเรียนรแู้ นวทางนี้ จะงอกงามทัง้ Passion และ Perseverance นีผ่ มว่าเองนะครบั เลี้ยงลกู ยิ่งใหญ่ 181

Angela Duckworth บอกว่า คนมักเข้าใจผิดว่า พลังของ Grit มาจาก “จำ� นวน” หรอื การใช้เวลามากกับการฝึกฝน ซึ่งกเ็ ป็นความเข้าใจ ที่ถกู ต้อง แตถ่ กู เพียงส่วนเล็กๆ พลงั ของ Grit ส่วนใหญ่มาจาก “คุณภาพ” หรือวธิ กี ารฝกึ ฝนท่ีถูกต้อง ฝึก (Practice) เฉยๆ ไม่เพียงพอที่จะให้เกิดความส�ำเร็จย่ิงใหญ่ ตอ้ งฝกึ และปรบั ปรงุ อยตู่ ลอดเวลา (Deliberate Practice) ในกรณนี แี้ หละ โค้ชที่ดหี รอื กลั ยาณมิตรจะชว่ ยได้มาก เขาบอกว่า Deliberate Practice มี ๔ องค์ประกอบ • มีเป้าหมายทีย่ ากแตช่ ัดเจน • ฝกึ อย่างมสี มาธิ และพยายามเตม็ ที่ • มี Feedback ทนั ที และอย่างมีข้อมูลหลักฐาน • ฝึกซ้�ำโดยมีการไตร่ตรองสะท้อนคดิ และหาทางปรบั ปรุง การฝึกฝนจะเกิดผลย่ิงใหญ่ หากระหว่างฝึกผู้ฝึกเข้าสู่สภาพจิตที่ ลื่นไหล (Flow) ตามทเี่ สนอไว้ โดย Mihaly Csikszentmihalyi หนังสอื บอกว่า Grit เป็นส่งิ ทง่ี อกงามขยายตวั และมธี รรมชาติ งอกงามตามอายุ เขาแนะนำ� วธิ พี ฒั นา Grit วา่ มี ๒ แนวทาง คอื แนวทาง เติบโตจากภายในตนเอง กับแนวทางสนบั สนุนโดยปจั จัยภายนอก แนวทางเติบโตจากภายในมี ๔ วิธี คอื (๑)​ ความสนใจ และไดร้ ับ ประโยชน์ – Interest (๒)​ การฝึกปฏิบตั ิ - Practice (๓)​ มเี ปา้ หมายเชงิ คณุ คา่ - Purpose (๔) มคี วามหวงั - Hope สว่ นแนวทางสนบั สนนุ จากปจั จยั ภายนอกไดแ้ ก่ (๑) การเลี้ยงดขู องพ่อแม่ - Parenting (๒) การมีพืน้ ทใ่ี ห้ Grit ทำ� งาน - Grit playing field (๓) มวี ฒั นธรรมทส่ี ง่ เสรมิ Grit - Grit culture 182 เลี้ยงลูกยงิ่ ใหญ่

ในหวั ขอ้ Hopeคำ� ทตี่ รงกนั คอื กระบวนทศั นพ์ ฒั นาฝกึ ใหต้ ง้ั ความหวงั หรือต้ังเป้าหมายคิดบวก แล้วฝึกฝนฟันฝ่า เพ่ือให้บรรลุให้ได้ จะเห็นว่า หนงั สอื เล่มนี้จัดกระบวนทัศนพ์ ฒั นาเป็นสว่ นหนง่ึ ของ Grit เรอ่ื งการเลย้ี งดขู องพ่อแม่ เขาแนะน�ำใหท้ �ำตวั เปน็ ‘พ่อแมท่ ฉ่ี ลาด’ ท่ีตั้งความหวังไว้สูง และใ ห้การสนับสนุนในเวลาเดียวกันพ่อแ ม่ท่ีไม่ดี ๓ แบบคอื พ่อแมท่ ตี่ ้งั ความหวงั แตไ่ ม่เอาใจใสล่ ูก พ่อแมท่ ่เี อาใจใส่ ลูกแต่ไม่ต้ังความคาดหวังให้สูง กับพ่อแม่ท่ีทั้งไม่เอาใจใส่และไม่ ต้ังความหวัง การมีพ้ืนท่ีให้ Grit ท�ำงานหรือออกก�ำลัง คือการส่งเสริมให้เด็กได้ ฝกึ ฝนเรยี นรู้สิ่งที่ยาก ที่จะต้องใช้ความพยายาม และมานะอดทน ซ่งึ ผม คิดว่าการเรียนแบบ Project-Based Learning เป็นพื้นท่ีเพ่ือการนี้ได้ เป็นอย่างดี โดยท่ีครูต้องมีทักษะในการมอบหมายงานท่ียากและท้าทาย ในระดบั ท่เี หมาะสม การศึกษาท่ีดี เป็นการสร้าง Grit ไปในตัว ไม่ต้องไปฝึก Grit โดย การเรยี นพเิ ศษ สาระสำ� คญั คือ Grit สำ� คัญกว่า Talent Angela Duckworth พดู Ted Talk เรอื่ ง Grit ชมได้ ท่ี www.youtube. com/watch?v=H14bBuluwB8 และพดู เร่ืองหนังสอื เลม่ นี้ ที่ Google ใน เดอื นพฤษภาคม๒๕๕๙ที่www.youtube.com/watch?v=W-ONEAcBeTk หากคิดตามแนวของ Angela Duckworth การมีกระบวนทัศน์ พฒั นาเปน็ เพยี งพน้ื ฐานสคู่ วามสำ� เรจ็ ชวี ติ จะเกดิ ความสำ� เรจ็ ไดจ้ รงิ ตอ้ งมีการฝกึ ปฏบิ ตั อิ ยา่ งมคี ณุ ภาพและมากพอ เล้ียงลกู ยงิ่ ใหญ่ 183

๒๓ สรปุ - AAR 184 เลี้ยงลกู ยง่ิ ใหญ่

เป้าหมายของการเล้ยี งลกู ให้ยิง่ ใหญ่ คอื การปพู น้ื ฐานให้ลกู (ศษิ ย)์ เปน็ คน “สมองด”ี โดยมอง ‘สมองดี’ แนวใหม่ เช่อื มโยงกับกระบวนทศั นพ์ ัฒนา และการมี Executive Function (EF) & Self Regulation เขม้ แข็ง เลี้ยงลกู ยิ่งใหญ่ 185

หากจะให้บ้านเมืองมีพลเมืองที่มีคุณภาพ ต้องมีการช่วยเสริม ศกั ยภาพแก่เด็กเล็กจากครอบครัวยากจน ท่ีสมองถูกพิษของความเครยี ด ทางจิตใจ ท�ำให้ EF ออ่ นแอ ธรรมชาตขิ องสมองเด็กมคี วามยดื หยุน่ (Brain Plasticity) สงู มาก ย่ิงชว่ งวยั รนุ่ สภาพความยืดหยุ่น และความไมส่ มดลุ ยิ่งสงู ระหวา่ งสมอง ส่วนว่องไวตามอารมณ์ที่ถูกกระตุ้น กับสมองส่วนท่ีให้ความรอบคอบ ยั้งคิด ธรรมชาตินี้มีเหตุผลของมัน มีทั้งคุณและโทษ การเลี้ยงลูกให้ ยิ่งใหญ่ ต้องใช้ธรรมชาติเหล่าน้ีไปในทางให้คุณ ป้องกัน และหลีกเลี่ยง ผลรา้ ย ‘สมองดี’ แนวใหม่ หมายถึงสมองท่ีได้รับการฝึกฝน จนเชื่อ ในความพากเพยี รบากบ่ัน ท่เี รียกวา่ มกี ระบวนทศั นพ์ ฒั นา (Growth Mindset) เช่ือว่าสมองคนเรามีศักยภาพสูงยิ่งในการบรรลุ ‘สมองดี’ ผ่านการมานะอดทนฝึกฝนเคี่ยวกร�ำ และหากได้รับการโค้ชท่ีดี ก็จะ สามารถบรรลุสมรรถนะด้านท่ีตอ้ งการในระดบั สงู ได้ ‘สมองด’ี เปน็ สมองทม่ี ี Executive Function & Self Regulation แข็งแรง โดยท่ีเด็กทุกคนสามารถบรรลุสภาพดังกล่าวได้โดยการ ฝึกฝน ด้วยวธิ ีง่ายๆ ตามช่วงพฒั นาการตามอายุของเด็ก ‘สมองด’ี คอื สมองทไ่ี ดร้ บั การงอกงามจติ ใจทดี่ งี าม โดยเฉพาะ อยา่ งยงิ่ ความเหน็ อกเหน็ ใจผอู้ น่ื และการทำ� เพอื่ ประโยชนข์ องผอู้ น่ื และประโยชนข์ องสว่ นรวม 186 เลีย้ งลกู ยิ่งใหญ่

แต่พัฒนาการของสมองในเด็กบางคนไม่สมบูรณ์ มีเด็กที่มีความ ผิดปกติของสมอง ท�ำให้มีความผิดปกติด้านพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ รวมทงั้ ออทสิ ซม่ึ ซง่ึ พบบอ่ ยขน้ึ มาก พฒั นาการดา้ นเทคนคิ การตรวจสมอง ช่วยให้ค้นพบความผิดปกติได้เร็ว และสามารถให้การบ�ำบัดให้สมอง เตบิ โตเป็นปกติได้ บทบาทของพ่อแม่มีความส�ำคัญยิ่งต่อพัฒนาการของลูก โดยมี ปัจจัยส�ำคัญที่สุด ๑๐ ประการเรียงตามล�ำดับความส�ำคัญคือ ความรัก ความผูกพัน จัดการความเครียดของตนเอง ทักษะด้านความสัมพันธ์ ความเป็นอิสระและเป็นตัวของตัวเอง การศึกษาและการเรียนรู้ ทักษะ ชีวติ การจดั การพฤติกรรม สุขภาพ มิตดิ ้านจิตวญิ ญาณ และการปกปอ้ ง จากความชวั่ รา้ ย ‘สมองดี’ คือสมองท่ีมีการเก็บความรู้ไว้เป็นชุด (Schema) ส�ำหรับพร้อมให้ดึงไปใช้งาน การซ้อมทบทวนความรู้ (Retrieving Practice) โดยครูช่วย หรือพ่อแม่ช่วย ในลักษณะท่ีเป็นเกมหรือการเล่น สนุกสนานจะช่วยยกระดับการเรียนรู้ และน�ำไปสู่พัฒนาความสามารถ กำ� กบั วธิ กี ารเรยี นรขู้ องตนเอง ซงึ่ เปน็ คณุ สมบตั ขิ อง ‘สมองด’ี อกี อยา่ งหนง่ึ คือมีทักษะด้านการเรียนรู้ ลูกยงิ่ ใหญ่ (Great Kids) คือลกู ที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ตลอดชวี ติ และสามารถมชี วี ิตร่วมกับผู้อืน่ ได้อยา่ งราบรนื่ และเป็น คนที่มปี ระโยชน์ต่อสังคม เลี้ยงลูกยิ่งใหญ่ 187

188 เลย้ี งลูกยง่ิ ใหญ่



“หนงั สอื เลม่ นเ้ี สนอนยิ าม ‘สมองด’ี ใหม่ วา่ เกดิ จากสองปจั จยั ประกอบกัน คือปจั จัยทางชีววิทยา ที่ไดร้ ับพนั ธกุ รรมสมองดี มาจากพ่อแม่ กับปัจจัยด้านการเลี้ยงดูท่ีถูกต้อง ดังน้ัน ตามนยิ ามใหม่นี้ เด็กที่เกดิ มาเกอื บทุกคนสามารถบรรลุ ความเป็นคน ‘สมองดี’ และประสบความส�ำเร็จยิ่งใหญ่ ในชีวิตได้ คนท่ีพันธุกรรมด้านสมองธรรมดาๆ ก็สามารถ เป็นคน ‘สมองด’ี เป็นพเิ ศษในบางดา้ นได้ โดยผ่านการเลีย้ งดู ปูพื้นฐานสมองอย่างถูกต้อง และการฝึกฝนเคี่ยวกร�ำอย่าง เอาจรงิ เอาจังในดา้ นนัน้ ๆ” ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มูลนธิ สิ ยามกัมมาจล ๑เข๙ตจถตนุจนักรรชั กดรางุภเทเิ ษพกฯแ๑ข๐ว๙งจ๐ต๐ุจักร