Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้เรื่องวิวัฒนาการปกครอง

ใบความรู้เรื่องวิวัฒนาการปกครอง

Published by nuntiya, 2020-06-10 09:21:41

Description: วิวัฒปกครอง

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการเรยี นรายวชิ าการเมอื ง การปกครอง 1 เอกสารประกอบการเรยี น รายวชิ าการเมอื ง การปกครอง

เอกสารประกอบการเรยี นรายวชิ าการเมือง การปกครอง 2 เร่อื ง ววิ ฒั นาการทางการเมอื งการปกครองของไทย ประเทศไทยได้ช่ือว่าเป็นประเทศเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมายาวนานชาติหน่ึง แม้ว่า หลกั ฐานเกยี่ วกับปฐมกำเนิดของชาตไิ ทยจะไมส่ ามารถยนื ยนั ได้แน่ชัดว่า ชนชาติไทยเป็นผทู้ ี่อพยพมาจากทาง ตอนใต้ของประเทศจนี แถบมณฑลยูนาน หรอื มีรกรากอยู่ในสุวรรณภมู แิ หง่ น้ีมาแต่เก่ากอ่ นก็ตาม การศึกษา ววิ ัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมควรจะเริ่มต้นตงั้ แต่ประเทศไทยต้ังอาณาจักรม่ันคงขึ้นในแหลมทอง เมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรแรกของชาติไทย คือ อาณาจกั รสุโขทัย ซ่ึงสถาปนาโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้น ราชวงศ์พระร่วง ประกาศตนเป็นอิสระจากขอมซง่ึ ยดึ ครองดินแดนแถบน้นั อยใู่ นสมยั น้นั การเมืองการปกครองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนหน้ามีการ เปล่ียนแปลงการปกครอง เมือ่ วนั ที่ 24 มิถนุ ายน พ.ศ. 2475 อย่ใู นรูปแบบระบอบสมบรู ณาญาสิทธริ าชย์ ซ่ึง มีลักษณะคล้ายกับระบอบเผด็จการ เพราะว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์เพียง พระองคเ์ ดยี วเท่านั้น พระมหากษัตรยิ ์ไดอ้ ำนาจมาดว้ ยการสืบสันตตวิ งศ์ หรอื การปราบดาภิเษก ประชาชนไม่ มสี ่วนรว่ มในการสถาปนาหรอื คดั เลือกพระมหากษตั ริยเ์ ลย ระบอบประชาธปิ ไตยซึ่งมีการเปล่ียนแปลงการปกครอง เม่ือวนั ท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีลกั ษณะทไี่ มร่ าบร่ืนและพัฒนามากนัก แม้ว่าจะดำเนินมาเปน็ เวลากวา่ 60 ปี แต่ก็พอจะอนมุ านได้วา่ ระบอบ ประชาธิปไตยได้หย่ังลึกพอสมควร การศึกษาการเมืองการปกครองไทยหากจะแบ่งยุคสมัยให้เหมาะสมแก่ การศึกษาแล้วจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคสมยั ด้วยกนั คือ สมัยสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1781 – 1921 สมัยอยุธยา พ.ศ. 1893 – 2310 และสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – 2475 ส่วนหลักจาก พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน จะ กล่าวโดยละเอียดในบทต่อไปท่ีว่าด้วยการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน แม้ว่าใน ประวตั ิศาสตร์จะปรากฏวา่ มีสมยั ธนบรุ ีระหว่าง พ.ศ. 2311 – 2325 แต่เนือ่ งจากสมัยน้ันชาติไทยอยใู่ นระยะ สร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่หลักจากเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 และลักษณะการปกครองยังยึด แบบของกรุงศรีอยุธยาอยู่ ไม่ได้เสริมสร้างลักษณะใหม่ๆ ข้ึนมา จึงไม่ขอกลา่ วเป็นการเฉพาะ และคงแบ่งยุค สมยั ออกเปน็ 3 สมัย ดังทก่ี ล่าวตอนตน้ เทา่ นั้น สมัยสโุ ขทยั ในหนังสือปาฐกถาของสมเดจ็ ฯ กรมพระดำรงราชานภุ าพ เรือ่ งลกั ษณะการปกครองประเทศ สยามแต่โบราณ ได้อธิบายไว้ว่า วิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือน หลายครัวเรอื นรวมกันเป็นบ้าน อยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครองเรยี กว่าลูกบ้าน หลายบา้ นรวมกัน เป็นเมือง ถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมือง รวมกนั เปน็ ประเทศอยู่ในความปกครองของพอ่ ขนุ

เอกสารประกอบการเรยี นรายวชิ าการเมอื ง การปกครอง 3 แม้วา่ ระบอบการปกครองของสุโขทยั จะเป็นแบบสมบรู ณาญาสิทธิราชย์ เพราะอำนาจสูงสุด เด็ดขาดไม่ว่าจะในด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ รวมอยู่ท่ีพ่อขุนเพียงพระองค์เดียว และพ่อขุนไม่ จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน แต่ด้วยการจำลองลักษณะครองครัวมาใช้ในการปกครองทำให้ลักษณะ การใช้อำนาจของพ่อขุนเกือบทุกพระองค์เป็นไปในลักษณะทางให้ความเมตตาแลเสรีภาพแก่ราษฎรตาม สมควร พอ่ ขนุ แหง่ กรุงสุโขทัยทรงปกครองประชาชนในลักษณะ บิดาปกครองบุตร คือ ถอื พระองค์ เปน็ พ่อของราษฎร มีหนา้ ทใี่ หค้ วามคมุ้ ครองป้องกันภัยแบะส่งเสรมิ ความสขุ ใหร้ าษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มี หน้าให้ความเคารพเช่ือฟังพ่อขุน ปรากฏว่าพอ่ ขุนกบั ประชาชนในลกั ษณะการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร มคี วามใก้ลชดิ กันพอสมควร จะเห็นได้จากการทรี่ าษฎรในสมัยสุโขทยั มีสิทธิถวายฎีกา หรือร้องทุกข์โดยตรง ตอ่ พอ่ ขนุ โดยในสมยั พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีกระดง่ิ แขวนไว้ที่ประตวู งั ถ้าใครตอ้ งการถวายฎีกาก็ไปสั่น กระด่งิ พระองคก์ จ็ ะทรงชำระความให้ ส่วนการจัดการปกครองอาณาจกั รสโุ ขทัยมีกรุงสุโขทยั เปน็ ราชธานีหรือ เมอื งหลวงเป็นศูนย์กลางการปกครอง อำนาจการวนิ ิจฉยั สงั่ การอยทู่ ่ีเมืองหลวง ซึง่ เป็นพื้นทีท่ ำการของรัฐบาล และท่ีประทับของพระมหากษัตริย์ การปกครองหัวเมืองหรือการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยสุโขทัยแบ่งหัว เมอื งออกเป็น 3 ประเภท คอื 1 หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ เมืองหน้าด่าน หรือเมืองลูกหลวง จัดเป็นเมืองในวงเขตราชธานี ล้อมรอบราชธานีทั้ง 4 ด้าน มีศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก) สองแคว (พิษณุโลก) สระหลวง (พิจิตร) และ กำแพงเพชร การปกครองหัวเมอื งช้นั ในข้นึ กบั สุโขทยั โดยตรง 2 หวั เมืองชนั้ นอก ได้แก่ เมืองท้าวพระยามหานครทีม่ ผี ู้ปกครองดูแลโดยตรง แต่ขน้ึ อยกู่ ับ สุโขทัยในรูปลักษณะการสวามิภักด์ิ ในฐานะเป็นเมืองข้ึน หัวเมืองช้ันนอกมี แพรก (สรรคบุรี) อู่ทอง (สพุ รรณบรุ ี) ราชบุรี ตะนาวศรี แพร่ หล่มสกั เพชรบรู ณ์ และศรเี ทพ 3 เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองท่ีเป็นชาวต่างภาษา มีกษัตริย์ปกครองแต่ขึ้นกับสุดขทัย ในฐานะประเทศราช มีนครศรีธรรมราช ยะโฮร์ ทวาย เมาะตะมะ หงสาวดี นา่ น เซา่ เวยี งจนั ทน์ และเวียงกา ลักษณะเด่นของการปกครองสมยั สโุ ขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธริ าชย์ ท่ีมี ลักษณะปกครองแบบบิดาปกครองบุตร มีพระมหากษัตริย์ (พ่อขุน) เป็นประมุข โดยให้สิทธิเสรีภาพแก่ ประชาชน และมีความใกล้ชิดกับประชาชนมาก ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในชาติ เพราะความสัมพันธ์ ระหวา่ งผปู้ กครองกบั ประชาชนตั้งอยู่บนพ้ืนฐานของความเทา่ เทยี มกนั แตม่ ีหน้าท่ตี ่างกนั เทา่ นน้ั ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เม่ือ พ.ศ. 1826 ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยข้ึน โดยใช้อักษรมอญ และอักษรขอมเปน็ ตัวอย่าง รวมทง้ั อกั ษรไทยเก่าแก่บางอยา่ งข้ึน ทำให้ชาตไิ ทยมีอักษรไทยใช้เปน็ วฒั นธรรม ของเราเองจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงทำให้ทราบว่าไทยเรามีระบบกฎหมายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ทั้ง กฎหมายมรดก กฎหมายภาษี กฎหมายคา้ ขาย กฎหมายเกีย่ วกบั ทรพั ยส์ ิน เป็นต้น

เอกสารประกอบการเรยี นรายวิชาการเมอื ง การปกครอง 4 สมัยสุโขทัยนอกจากจะมีสัมพันธ์อันดีกับรัฐไทยอิสระทางเหนือ ก็ได้มีการค้าขายติดต่อกับ ต่างประเทศ เช่น จีน มอญ มลายู ลังกา ตลอดจนอินเดีย เริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และมาตั้ง ประกอบกิจการต่างๆ เช่น พวกจีนเข้ามาตั้งทำเคร่ืองสังคโลก เป็นต้น มีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษี จกอบ หรอื ศลุ กากรเพอ่ื ต้องการใหพ้ อ่ คา้ มีความสนใจในการทำการค้า นอกจากนี้พ่อขุนรามคำแหงทรงศรัทธาในหลกั ปฏบิ ัตทิ ี่เครง่ ครัดของพระภิกษุในพระศาสนา นิกายหินยานทีม่ ีความเจรญิ รุ่งเรืองอยู่ในประเทศลังกา พระองคจ์ ึงทรงอัญเชิญพระภกิ ษุสงฆล์ ัทธลิ ังกาวงศ์มา ประจำที่กรุงสุโขทัยทำหน้าที่เผยแพร่พระศาสนาลัทธใิ หม่ ในระยะเวลาอันส้นั พระพุทธศาสนาลิทธลิ งั กาวงศ์ก็ มีความเจรญิ ในสุโขทัย ประชาชนพากนั ยอมรบั นับถอื และววิ ฒั นาการมาเป็นศาสนาประจำชาตไิ ทยในที่สดุ การนำพระศาสนาเข้ามา และพอ่ ขนุ รามคำแหงได้ทรงทำตัวอยา่ งให้ประชาชนเหน็ ถงึ ความ เคารพของพระองค์ท่ีมีต่อพระภิกษุและหลักธรรม ทำให้ศาสนากลายเป็นเคร่ืองยึดเหนี่ยวจิตใจ ก่อให้เกิด ศีลธรรมจรรยา และระเบียบวินัยแก่ประชาชน ทำให้มีความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิด ความสงบเรียบรอ้ ยในบ้านเมือง เพราะทัง้ พ่อขุนและประชาชนมีหลกั ยดึ และปฏิบัติในทางธรรม พระมหาธรรม ราชาลิไทย พ่อขนุ ของสมัยสโุ ขทันในสมัยตอ่ ๆ มา ไดท้ รงนพิ นธ์หนงั สอื ไทยเร่อื งเก่ยี วกับศาสนาชอ่ื ไตรภูมิพระ ร่วง และในหนังสือเรอื่ งนี้เองไดแ้ ถลงถึง ทศพธิ ราชธรรม อันเปน็ หลกั ของพระมหากษัตริย์ไทยตงั้ แต่น้นั มา สมัยอยุธยา ระบอบการปกครองในสมัยอยุธยาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยอยู่ที่ พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับสมัยสุโขทัย แต่แนวความคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้ เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ซ่ึงพวกขอมนำมา โดยถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ท่ีได้รับอำนาจจาก สวรรคต์ ามแนวความคดิ แบบลทั ธิเทวสิทธิ์ ลกั ษณะการปกครองแบบเทวสทิ ธนิ์ ้ีถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนเจ้าชีวิต นอกจากจะมี พระราชอำนาจเด็ดขาด สามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้ปกครองแล้ว ยังถือว่าอำนาจในการปกครอง น้ันพระมหากษัตริยท์ รงได้รับจากสวรรค์ หรือเป็นไปตามเทวโองการ การกระทำของพระมหากษตั รยิ ถ์ ือเป็น ความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเหมือนสมมุติเทพ หรือพระเจ้า หรือผู้แทนพระเจ้า เพราะฉะน้ันพระมหากษัตรยิ ์ตามแนวความคิดแบบเทวสิทธิจ์ ึงทรงอำนาจสงู สุดล้นพ้น ลักษณะการปกครอง เป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือเจา้ ปกครองขา้ สำหรับเรื่องการปกครองนั้น เนื่องจากสมัยอยุธยามีระยะเวลายาวนาน และมีการ เปลี่ยนแปลงรปู แบบหลักเกณฑ์การปกครองบ้างไม่ได้ใช้รปู แบบเดียวตลอดสมัย จึงเห็นสมควรแบ่งการศึกษา ออกเป็น 2 สมัย คือ สมัยอยุธยาตอนต้น ระหว่าง พ.ศ. 1893 – 1991 และสมัยอยุธยาตอนกลางและตอน ปลาย เรม่ิ แตส่ มัยพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 จนกระทั่งเสยี กรงุ เมอ่ื ปี พ.ศ. 2310

เอกสารประกอบการเรียนรายวชิ าการเมือง การปกครอง 5 1. สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – 1991 ) สมเด็จพระรามาธิบดีท่ี 1 (อู่ทอง) ได้ ทรงวางระบอบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบ จตุสดมภ์ ตามแบบ ขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วย ดำเนินการเก่ยี วกบั กิจการทั้ง 4 คอื 1. เมอื ง (เวียง) รบั ผดิ ชอบด้านรกั ษาความสงบและปราบปรามโจรผรู้ า้ ย 2. วัง มหี นา้ ที่เกย่ี วกบั ราชสำนัก การยุตธิ รรม และตดั สินคดีความต่างๆ 3. คลงั ไดแ้ ก่ งานด้านคลงั มหาสมบัติ การคา้ และภาษตี า่ งๆ 4. นา รับผดิ ชอบเก่ยี วกับการเกษตร สำหรับการจัดระเบียบการปกครองนั้นได้นำรูปแบบในสมัยสุโขทัยมาใช้ โดยให้ กรุงศรี อยุธยาเป็นราชธานี และเปน็ ศูนย์กลางการปกครอง เมอื งอื่นๆ แบ่งเปน็ 3 ประเภท 1. หัวเมืองช้ันใน ประกอบด้วยเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันในราชธานี 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี รวมท้ังหัวเมืองช้ันในเรยี งรายตามระยะทางคมนาคม สามารถ ตติ ่อกบั ราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น นครพนม สิงหบ์ ุรี ปราจนี บุรี ชลบรุ ี เพชรบรุ ี ราชบุรี เป็นตน้ 2. หัวเมืองช้ันนอก หรือเมืองพระยามหานคร ได้แก่ เมืองซึ่งอยู่นอกเขตหัวเมืองชั้นใน ออกไปตามทิศตา่ งๆ ได้แก่ โคราช จนั ทบุรี ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ถลาง ตะนาวศรี ทวาย และ เชียงกราน เมืองเหลา่ นี้บางเมืองในสมยั สุโขทัย จัดว่าเปน็ เมืองประเทศราชแต่ในสมยั อยุธยาได้เปลย่ี นสภาพมา เป็นหัวเมอื งชั้นนอก 3. เมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองมะละกา ยะโฮร์ ทางแหลมมลายู และกัมพูชาด้าน ตะวันออกในสมัยอยุธยานี้ นอกจากจะจดั การปกครองส่วนภมู ิภาคเปน็ หัวเมอื งตา่ งๆ แล้ว ยังมีการจดั ระเบียบ การปกครองท้องที่ในหัวเมืองชั้นในอีก โดยแบ่งออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออเกเป็นตำบล และตำบลแบ่ง ออกเป็นหมู่บ้าน โดยมีผู้ปกครองตามระดับ ดังน้ี หม่ืนแขวง กำนันซึ่งมักได้รับบรรดาศักด์ิเป็นพัน และ ผู้ใหญ่บา้ น ประชาชนในสมัยอยธุ ยาตอนต้นมีฐานะเปน็ ไพร่ ทำหน้าที่ทั้งทางราชการ และหนา้ ท่ีทางพล เรือน พร้อมกันไปเพราะว่าการปกครองในสมัยน้ันยังไม่มีทฤษฎีการแบ่งงาน ประชาชนเป็นไพร่ได้รับท่ีดิน ตามทีต่ นและครอบครัวจะทำการเพาะปลูกได้ เม่ือมีผลผลิตเกิดขึ้นพวกไพร่จะต้องมอบส่วนหน่ึงให้กบั ขุนวัง หรือผู้ซึ่งได้รบั มอบหมายให้ดูแลที่ดินนั้น ไพรจ่ ะต้องสละเวลาส่วนหน่ึงไปรบั ใช้ ผู้ที่ยอมให้ตนอยู่ในที่ดินของ เขา ขุนนางจะเป็นผู้ควบคุมไพร่โดยตรง และมีหน้าท่ีระดมกำลังยามศึกสงคราม หรือเกณฑ์แรงงานไปช่วย ทำงานสาธารณประโยชน์ ซ่ึงเท่ากบั วา่ ประชาชนหรอื ไพรท่ ุกคนจะต้องรับใชพ้ ระมหากษตั รยิ ์ มีฐานะเป็นทหาร ทุกคน 2. สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย (พ.ศ. 1991 - 2310) การปรับปรุงการปกครองใน สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในช่วง 100 ปีแรกของสมัยอยุธยา การบริหารมิได้แยกกันระหว่างฝ่ายพล

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการเมือง การปกครอง 6 เรือนและฝ่ายทหาร เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงขึ้นครองราชย์ในระหว่าง พ.ศ. 1991 – 2031 พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองเสียใหม่ ให้มีสมุหนายกเป็นหัวหน้าราชการ ฝ่ายพลเรือน โดยมีเสนาบดีจตุ สมดภ์เป็นผู้ชว่ ย รบั ผิดชอบบริหารกิจการเกี่ยวกบั เมอื ง วัง คลัง นา และให้มสี มุหกลาโหมเปน็ หัวหนา้ ราชการ ฝา่ ยทหาร ทำหน้าท่ดี า้ นทหารและการปอ้ งกันประเทศไพรจ่ ะได้รับสิทธิทีจ่ ะเลือกสังกดั ฝ่ายพลเรือน หรือ ฝ่าย ทหาร แต่ในยามสงครามไพร่ท้งั สองฝ่ายตอ้ งออกรบด้วยกัน ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 – 2031 ) ไดม้ ีการตรากฎหมายวา่ ดว้ ยศกั ดิ นาข้ึนและใช้มาจนถงึ ยคุ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คอื วิธีให้เกยี รติยศบคุ คลตั้งแต่ขนุ นางขา้ ราชการลง ไปถึงไพร่และทาสโดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักด์ิหรือเกียรติยศของบุคคล เช่น ขุนนางชั้นเอก คือ ช้ันเจ้าพระยามศี ักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น การกำหนด ระบบศักดินาข้ึนมาก็เพ่ือประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ระบบศักดินายัง เกย่ี วพันกับการชำระโทษและปรับไหมในกรณกี ระทำผิดอีกด้วย คนทีถ่ อื ศกั ดินาสูงเม่ือทำผิดจะถูกลงโทษหนัก กว่าผมู้ ศี ักดนิ าตำ่ การปรับในศาลหลวงค่าปรับนัน้ ก็เอาศักดนิ าเป็นบรรทัดฐาน ในด้านความสัมพันธ์กบั ต่างประเทศ ในสมัยอยุธยานอกจากคา้ ขายกับชาตติ ่างๆ ใน เอเชีย แล้ว ก็ได้ค้าขายกับชาวตะวันตกด้วย ชาติแรกที่เข้ามาคือ โปรตุเกส โดยฑูตช่ือ ดูอาร์ต เฟอร์นันเดช ในสมัย พระรามาธิบดีท่ี 2 พ.ศ. 2061 ได้มีการเซ็นสัญญาอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสทำมาค้าขายในดินแดนไทยได้ ต่อจากน้นั ก็มีชนชาตอิ ืน่ ๆ เชน่ สเปน องั กฤษ ฮอลนั ดา ฝรง่ั เศสทยอยกันเข้ามามสี มั พันธ์ทางการคา้ กับไทย โดยปกติพระมหากษัตริย์ของไทยมักให้การต้อนรับชนต่างชาติเป็นอย่างดี บางครั้งก็มีกอง กำลังต่างชาติประจำการเป็นอาสาประจำอาณาจักร โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - 2231) มชี าวต่างประเทศเข้ามารบั ราชการในตำแหน่งสำคัญๆ หลายคน มกี ารแลกเปลีย่ นทูตกับฝร่ังเศสหลาย ครั้ง หลังจากสมัยพระนารายณ์ลงมา อิทธิพลของชาวตะวันตกในราชสำนักจึงลดลง เพราะพระมหากษัตริย์ ของอยธุ ยาตอนปลายไม่นยิ มชาวตะวนั ตก และระแวงวา่ จะเขา้ มาหาทางครอบครองเอาชาตไิ ทยเป็นเมืองข้ึน สมยั รัตนโกสินทร์ ลกั ษณะการปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ได้มีการปรับปรุงเปล่ียนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่ใช้ อยู่ในสมัยอยุธยาเน่ืองจากขณะนั้นเป็นระยะที่ไทยกำลังรวบรวมอาณาจักรข้ึนใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรี (ตาก สิน) ทรงมีพระราชภาระในการปราบปรามบรรดาชมุ นุมอิสระตา่ งๆ ที่เกิดข้ึนหลังกรุงศรีอยุธยาแตก รูปแบบ การปกครองแบบกรุงศรีอยุธยาคงใช้อยู่เรื่อยมา แม้แต่ในสมยั รัตนโกสินทร์ตอนต้น เพิ่มมีการปฏิรปู ในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัวรัชกาลท่ี 5 อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงระเบียบแบบ แผนการปกครองในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั ไดม้ ีการวางแนวรากฐานเตรียมพร้อมไว้สำหรับการ ปฏิรูปมาต้ังแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงสนับสนุนให้มีการศกึ ษาอารย ธรรมตะวันตก เป็นเหตุให้ได้รับทราบถึงความเจริญก้าวหน้าในหลักการปกครองของตะวันตกและนำมา ปรับปรุงในการปกครองของไทย

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการเมอื ง การปกครอง 7 การที่รัชกาลท่ี 5 ทรงปฏิรูปการปกครองไปจากเดิมเป็นอย่างมาก เพราะทรงเห็นว่าเป็น หนทางหน่ึงที่จะรกั ษาเอกราชของบา้ นเมอื งไว้ได้ ในช่วงการขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาตติ ะวันตกเพราะ ในขณะนั้นประเทศเพ่ือนบ้านข้างเคียงล้วนแต่ตกเป็นเมืองข้ึนของชาติตะวันตกท้ังสิ้น การปรับปรุงการ ปกครองให้ทันสมัยทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศท่ีเจริญแล้ว สามารถปกครองดูแล พัฒนาบ้านเมืองเองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกจิ ดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยดู่ ีขน้ึ ประเทศชาติมีรายได้ ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองมากขนึ้ ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพ่ือนบ้าน อ่ืนๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกต่างๆ อย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็น ชาติท่ีเจริญ ให้เกียรติและยกย่องพรอ้ มกับเปลี่ยนแปลงวิธีการปฏิบัติต่างๆ อย่าง เพ่ือให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ชน ชาติป่าเถ่อื น เช่น ให้ข้าราชการสวมเส้ือเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสีย ผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้างแต่กเ็ ปน็ ส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความ เป็นชาตทิ ่ีมีเอกราชมาไดต้ ลอด การปฏิรูปการปกครองสมยั สมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจา้ อยู่หวั การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลาง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงยกเลิก ตำแหน่ง อัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมถ์ โดยการแบ่งการ บริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยะประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงท่ตี ั้งขน้ึ ท้ังหมดเมือ่ พ.ศ. 2435 มี 12 กระทรวง คอื 1. มหาดไทย บังคบั บัญชาหัวเมอื งฝา่ ยเหนือและเมอื งลาว 2. กลาโหม บงั คับบัญชาหัวเมอื งฝา่ ยใต้ หวั เมอื งฝ่ายตะวนั ออก ตะวนั ตก และเมืองมลายู 3. ตา่ งประเทศ จดั การเรอื่ งเกย่ี วกับการตา่ งประเทศ 4. วัง กจิ การในพระราชวงั 5. เมอื งหรอื นครบาล จดั การเก่ียวกบั เร่ืองตำรวจและราชฑัณฑ์ 6. เกษตราธิการ วา่ การเก่ยี วกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ปา่ ไม้ 7. คลงั ว่าการภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน 8. ยตุ ธิ รรม จดั การเรือ่ งชำระคดแี ละการศาล 9. ยทุ ธนาธิการ จดั การเกย่ี วกบั เรื่องการทหาร 10. ธรรมการ ว่าการเรือ่ งการศกึ ษา การสาธารณสขุ และสงฆ์ 11. โยธาธิการ วา่ การเรื่องการกอ่ สรา้ ง ถนน คลอง การชา่ ง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ 12. มุรธาธิการ เก่ียวกบั การรกั ษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ

เอกสารประกอบการเรยี นรายวชิ าการเมือง การปกครอง 8 ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิ การ ไปรวมกับกระทรวงวงั คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทกุ กระทรวงมฐี านะเทา่ เทียมกัน และประชุม ร่วมกันเป็น เสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามท่ีพระมหากษัตริย์ทรง มอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกล้าเจ้าอยูห่ ัวยังทรงแต่งตัง้ สภาท่ีปรึกษา ในพระองค์ ซ่งึ ตอ่ มาได้เปล่ียนเป็น รัฐ มนตรีสภา ประกอบด้วยเสนาบดี หรือผแู้ ทนกบั ผทู้ ่ีโปรดเกล้าฯ แต่งต้ังรวมกันไม่นอ้ ยกวา่ 12 คน จดุ ประสงค์ เพ่ือเป็นท่ีปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิบัติหน้าท่ีของสภาดังกล่าวหาได้บรรลุ จุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าที่จะโต้แย้ง พระราชดำริส่วนใหญ่มักพอใจท่ีจะปฏิบัติ ตามมากกว่าทจี่ ะแสดงความคิดเหน็ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแต่งตั้งองคมนตรีสภาข้ึนอีก ประกอบข้ึนด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีทั้งสามัญชน ต้ังแต่ชนชัน้ หลวงถึงเจ้าพระยาและพระราชวงศ์ องคมนตรสี ภานอี้ ยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะขอ้ ความที่ปรึกษา และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้ว จะต้องนำเขา้ ทปี่ ระชุมรัฐมนตรีสภาแลว้ จึงจะเสนาเสนาบดีกระทรวงต่างๆ ในด้านการปกครองทอ้ งถิ่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจา้ อยู่หัวทรงจัดใหม้ ีการบริหา ราชการส่วนท้องถ่ินในรูปสุขาภิบาล ซ่ึงมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบันเป็นคร้ังแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 โดย โปรดเกลา้ ฯให้ตราพระราชบญั ญัตสิ ุขาภบิ าล กรุงเทพฯ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) ขน้ึ บงั คับใช้ในกรงุ เทพฯ ตอ่ มา ได้ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเปน็ อย่างมากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึง โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2448 ข้ึน โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภบิ าลตำบล ท้องถน่ิ ใดเหมาะสมทจ่ี ะจัดตั้งสุขาภิบาลใดก็ให้ประกาศต้งั สุขาภบิ าล ใน ท้องถนิ่ นน้ั สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาค พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ข้ึน เป็นผลให้ในการปกครองแบ่ง ประเทศออกเป็นมณฑล ถดั จากมณฑลกค็ ือ เมือง ซึ่งต่อมาเรียกเป็นจงั หวัด จากจงั หวัดแบง่ เป็นอำเภอ โดย กระทรวงมหาดไทยตั้งข้าราชการจากส่วนกลางไปปกครองท้ัง 3 ระดับ อำเภอแบ่งเป็นหมู่บ้าน มีกำนันเป็น ผูป้ กครอง แม้ว่าการปกครองในสมยั รตั นโกสนิ ทรจ์ ะเป็นแบบสมบรู ณาญาสิทธริ าชย์ แต่พระราชกรณีย กจิ บางประการของพระมหากษัตรยิ ก์ ็ถอื ได้วา่ เป็นการปูพ้ืนฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะใน สมัยพระบาสมเดจ็ พระจุลจอมเกล้าเจา้ อยูห่ ัวได้ทรงดำเนนิ การดังตอ่ ไปนี้ 1. การเลิกทาส พระบาสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อ 18 ตลุ าคม พ.ศ. 2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรภี าพ และความเสมอภาค ทดั เทียมกันอันเปน็ หลกั การสำคญั ของระบอบประชาธปิ ไตย

เอกสารประกอบการเรยี นรายวชิ าการเมือง การปกครอง 9 2. สนับสนุนการศึกษา ทรงจัดต้ังโรงเรียนเพ่ือสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเลา่ เรียนศึกษา หาความรู้ ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากการสนับสนุนการศึกษาอยา่ ง กว้างขวางน้ี นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปล่ียนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบ ประชาธปิ ไตย 3.การปฏิรูปการปกครอง การปฏิรูประบอบบริหารราชการ ทรงเปิดโอกาสให้ข้าราชการมี ส่วนรับผิดชอบในการบริหารมากข้ึน ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถ่ินด้วยการจัดต้ังสุขาภิบาล ทำให้ ประชาชนธรรมดามีสว่ นและมโี อกาสเรยี นร้ปู ระสบการณ์การบรหิ ารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยท่ี ต้องการใหป้ ระชาชนมสี ่วนรว่ มในการปกครองบา้ นเมอื ง นอกจากน้ีในสมัย พระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี 6 ได้มีการส่งเสริม การศึกษาใหแ้ พรห่ ลาย มีการจัดต้งั โรงเรียนขึ้นหลายแห่ง และสนบั สนุนให้ทุนหลวงโดยส่งนกั เรยี นไปเรียนใน ต่างประเทศมีการศึกษาภาคบังคับ โดยกำหนดว่าใครอายุครบเกณฑ์ 7 ปี ต้องเข้ารับการศึกษาขั้น ประถมศึกษา ทำให้ประชาชนมีการศึกษาเพ่ิมขึ้น พระบาสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจา้ อยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่า พระองคท์ รงนยิ มระบอบประชาธิปไตย โดยได้ทรงจดั ตั้ง เมืองสมมตุ ิดสุ ิตธานี ข้นึ ในบริเวณวงั พญาไท จำลอง รปู แบบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นใชใ้ นเมืองสมมตุ ินนั้ โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีรัฐธรรมนญู การปกครอง ลกั ษณะนคราภิบาลซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง และให้ข้าราชบริพารสมมุตติ นเองเป็นราษฎรของ ดุสติ ธานี มกี ารจดั ตง้ั สภาการเมืองและเปิดโอกาสใหร้ าษฎรสมมุติใช้สทิ ธใ์ิ ชเ้ สียงแบบประชาธิปไตย เปน็ เสมือน การฝึกหัดการปกครองแบบประชาธิปไตย ต่อมาพระบาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รชั กาลท่ี 7 ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ ระหวา่ งเสดจ็ เย่ียมเยียนสหรฐั อเมรกิ าเมือ่ พ.ศ. 2474 ว่าพระองคท์ รงเตรียมการท่ีจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แกป่ ระชาชน เพราะทรงเห็นวา่ คนไทยมกี ารศึกษาดีข้ึนมีความคดิ อ่านและสนใจทางการเมืองมากขึ้น เม่ือเสด็จ กลับมา พระองค์ทรงมอบให้พระศรีวิสารวาจา ท่ีปรึกษากฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และนายเรมอน สตีเวนส์ท่ีปรกึ ษากระทรวงการตา่ งประเทศพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแตด่ ำเนนิ การไม่ทันแลว้ เสร็จ ได้มีการ ป ฏิ วัติ ข้ึน เม่ือ 24 มิ ถุน ายน 2475 โด ยคณ ะ ราษ ฎ ร เป ลี่ยน แป ลงก ารป ก ค รอ งจาก ระ บ อ บ สมบูรณาญาสทิ ธิราชย์ มาเปน็ การปกครองโดยมรี ฐั ธรรมนูญเป็นหลักนับตง้ั แต่นัน้ มา สาระสำคัญของการปกครองตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 ซ่ึงคณะราษฎรไดข้ อพระบาสมเดจ็ พระปกเกล้าเจา้ อยู่หัวทรงพระราชทานเพื่อประโยชน์แก่ปวงชนชาว ไทย เม่อื วันท่ี 27 มถิ ุนายน พ.ศ. 2475 และถือเปน็ รัฐธรรมนญู ฉบบั แรก คือ 1. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสดุ ในการปกครองประเทศ เป็นของประชาชนชาวไทย 2. รัฐธรรมนญู เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ จะกำหนดหน้าท่ีความสัมพนั ธ์ของ สถาบันการปกครองตา่ งๆ ไวอ้ ย่างละเอียดและชดั เจน

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการเมอื ง การปกครอง 10 3. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ และทรงใช้อำนาจอธิปไตยตาม บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ คือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา หรือสภาผู้แทนราษฎร ทรงใช้อำนาจ บริหารทางคณะรฐั มนตรี และทรงใชอ้ ำนาจตุลาการทางศาล คณะราษฎรได้จัดตั้งการปกครองประเทศตามนโยบายของคณะราษฎร ได้แก่ หลัก 6 ประการ มีดังน้ี 1. จะต้องรักษา ความเป็นเอกราช ทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทาง เศรษฐกจิ ฯลฯ ของประเทศใหม้ ัน่ คง 2.จะตอ้ งรักษา ความปลอดภัย ภายในประเทศ ในการประทุษร้ายตอ่ กนั ให้ลดนอ้ ยลงให้มาก 3. จะต้องบำรุง ความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกๆ คนทำจะวางเศรษฐกจิ แหง่ ชาติ ไม่ปล่อยใหร้ าษฎรอดอยาก 4. จะตอ้ งให้ราษฎรมีสทิ ธเิ สมอภาคกัน (หมายถงึ สิทธเิ สมอภาคกันทางกฎหมาย) 5. จะตอ้ งใหร้ าษฎรไดม้ ี เสรภี าพ มคี วามเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพน้ีไมข่ ดั ตอ่ หลกั 4 ประการข้างตน้ 6. จะตอ้ งให้การศกึ ษาอยา่ งเตม็ ที่แกร่ าษฎร สว่ นการจัดการปกครองตามพระราชบัญญัติธรรมนญู การปกครองแผ่นดินสยาม พ.ศ. 2475 ซง่ึ ใช้ระหว่าง วันท่ี 27 มถิ ุนายน ถงึ 9 ธนั วาคม พ.ศ. 2475 มีการดำเนินการให้องคก์ รการปกครอง คอื 1. สภาผู้แทนราษฎร เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีอำนาจออกพระราชบัญญัติท้ังหลาย และดูแล ควบคุมกิจการของประเทศ ในระยะเร่ิมแรกสมัยท่ี 1 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มาจากการแต่งตั้งของ คณะราษฎรมีจำนวน 70 คน 2. คณะกรรมการราษฎร เป็นฝ่ายบริหาร เชน่ เดียวกับคณะรัฐมนตรีในรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มามีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภา มีเสนาบดีซึ่งเป็นเสมือนรัฐมนตรี กระทรวงต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรในกิจการทั้งปวง โดยมีประชาชน กรรมการราษฎร หรืออาจเรียกไดว้ ่าเปน็ นายกรัฐมนตรเี ป็นหวั หน้าฝา่ ยบรหิ าร 3. ศาล เป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ การระงับข้อพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมาย (ที่ใช้อยู่ใน ขณะนัน้ ) ผู้พิพากษามอี ิสระในการพจิ ารณาพิพากษาอรรถคดีใหเ้ ป็นไปตามกฎหมาย ตอ่ มาก็ได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นการถาวร ฉบับแรก เม่ือวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ดำเนินการปกครองในรูปประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมี พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข องค์กรหลักในการปกครอง คือ พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์พระประมุข รฐั สภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และศาลเป็นผู้ใช้อำนาจ ตลุ าการ แม้ภายหลังจากนั้นจะมีการยกเลิกและประกาศใชร้ ัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกหลายคร้ัง แต่ก็อาจกล่าว ได้วา่ ประเทศไทยพยายามทีจ่ ะยดึ รปู การปกครองประชาธปิ ไตยแบบรัฐสภามาโดยตลอด

เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาการเมอื ง การปกครอง 11 “การเมอื ง การปกครอง เปน็ เรอื่ งของทกุ คน”


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook