Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore TheWayofVipassana

TheWayofVipassana

Description: TheWayofVipassana

Search

Read the Text Version

1 อนโุ มทนา ในวงการปริยัติเรามีบุคลากรที่สําเร็จการศึกษาเปนเปรียญธรรม ๙ ในประโยคจํานวนมาก และแวดวงวิชาการก็มีขอมูลทางวิชาการมากมาย แตในวงการปฏิบัติยังขาดแคลนบุคลากรและ ขอ มลู ทางการปฏบิ ัติกม็ นี อ ย ไมเพยี งพอตอการตอบสนองความตองการของประชาชน “วิปสสนาวิถี” นี้ เปนขอมูลทางการปฏิบัติประกอบไปดวยหลักการและวิธีการท่ีขยาย ประโยชนใหแกผูปฏิบัติโดยตรง ซึ่งผูนําเสนอคือ พระมหาอุเทน ปญญาปริทัตต ไดรับมาจากคณะ พระวปิ สสนาจารยในและการปฏิบตั ศิ าสนกจิ ของตน จากทาทีท่ีพระมหาอุเทนไดแสดงออกทางดานน้ี เปนการบงบอกวา เธอสามารถเปน บุคลากรทางการปฏบิ ัติและยังประโยชนใ หเกดิ แกป ระชาชนได ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของพระมหาอุเทน ปญญาปริทัตต ที่มีวิริยะอุตสาหะและ สาํ นกั พมิ พส ุขภาพใจทไ่ี ดรว มใจจดั ทํา “วปิ สสนาวถิ ”ี น้ี เพ่ือพิมพเ ผยแผใ หแ กป ระชาชนสบื ไป พระธรรมโมลี (สมศักด์ิ อปุ สโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D) เจา อาวาสวัดพชิ ยญาติการาม เจาคณะภาค ๑

2 คาํ นํา นานนับกวา ๔ ทศวรรษท่ีวิเวกอาศรม ชลบุรี ยังคงความเปนสํานักวิปสสนากรรมฐานที่ คงทน เปด ทางใหผมู จี ติ ศรัทธาไดเขามาสูเอกายนมรรค (ทางสายเอก) ดวยความมงุ ม่ันของคณะพระ วิปสสนาจารยที่รวมยืนหยัดอยูเคียงขางเอกายนมรรค คอยช้ีแนะนําทาง และดวยการอุปถัมภของ มูลนิธิวิเวกอาศรม เอกายนมรรคจึงทอดทางอยางยาวไกลใหผูใฝในธรรมกาวเขามาปฏิบัติไดทุก เวลา ดวยบุญกุศลมากระตุนเตือนหรือเหตุปจจัยอะไรก็ไมอาจทราบ มาเปนแรงผลักดันให ขา พเจากาวเขาสสู ํานกั น้ีตั้งแตป  ๒๕๓๖ ในฐานะผูปฏบิ ตั ิธรรมรูปหนึง่ ซง่ึ พกพาศรัทธามาเตม็ เปยม ใจเต็มรอย ยอมตนปฏิบัติตามคําแนะนําของคณะพระวิปสสนาจารยอยางจริงจัง หลังจากนั้นในแต ละชวงปที่วา งเวนจากภารกิจการสอนพระปริยัติธรรม กม็ กั จะแวะเวียนเขาไปพบคณะพระวปิ สสนา จารย และปฏิบัติบางตามแตโอกาสจะอํานวย มาในชวงหลัง ๆ ทางสํานักไดไววางใจใหสอน กรรมฐาน สอบอารมณผูปฏิบัติ และบอยคร้ังท่ีมีกลุมนิสิตนักศึกษา รวมท้ังขาราชการทหารตํารวจ มาฝกอบรม ทางสํานักจะอาราธนาใหเปนพระวิปสสนาจารยฝกอบรม บางครั้งก็ไดออกนอกพื้นท่ี ไปเปนพระวิทยากรถวายการฝกอบรมใหแกคณะพระสังฆาธิการ เปนเวลารวม ๗ ปที่ขาพเจาอยูใน วงการวิปส สนา จึงไดร บั ขอมูลทางวิปสสนามามากพอสมควร ลุมาถึงป ๒๕๔๓ ประหน่ึงวาขอมูลทางวิปสสนาพรอมจะขยายผลออกไปเผยแผแกทาน สาธุชน ทางสํานักไดอาราธนาใหขาพเจาเปนองคแสดงธรรมประจําวันพระ ขอมูลทางวิปสสนาท่ี เก็บรวบรวมมาหลายแรมปก็ถูกคลี่คลายขยายความมาปรากฏในรูปของวิปสสนาเทศนา จากเสียง สะทอนของผูสดับท่ีออกมาในแงบวก วิปสสนาเทศนาจึงไมควรอยูในรูปของตลับเทป แตควรอยู ในรูปของหนังสือท่ีเหมาะสมกวา ขาพเจาจึงทําการถอดเทปเรียบเรียงใหม จากภาษาพูดเปล่ียนไป เปนภาษาเขียนตองพิถีพิถันกลั่นกรอง วิปสสนาเทศนาจึงถูกทุมเทดวยแรงกายแรงใจที่ไมยอหยอน เลย การนําเสนอขอมูลทางวิปสสนาในคร้ังน้ี จะมุงตรงไปที่ความจริง ไมลําพังเพียงการ นําเสนอใหถ ูกตองตามหลกั การและวธิ กี ารเทาน้ัน หากแตตองมีสภาวะรองรับ (Nature of thing) อยู ดวย ดังนั้นขาพเจาจึงคํานึงถึงสภาวะความจริงเปนประการสําคัญและนําเสนออยางสังวรระวังย่ิง แตถ งึ อยา งไรขอใหขนึ้ อยกู ับผูส ดบั จะสนองตอบดวยวจิ ารณญาณของตน ดวยจุดประสงคท่ีมุงตรงตอความจริง ใหส่ือไปสัมผัสใจของผูสดับไดอยางถูกสภาวะ อีก ทั้งผูสดับจะไดมีใจคลอยไหลไปตามกระแสธรรม (ธมฺมานุสาเรน) จึงขอตัดความยุงยากตามหลัก วิชาการ คือการอางอาคตสถานที่มาที่ไป ไมวาจะเปนพระพุทธดํารัส บทกลอน เรื่องเลาประกอบ และอื่น ๆ นอกจากน้ัน รวมทั้งหลีกเลี่ยงภาษาพระ (ภาษาบาลี) ทวาถาผูสดับเกิดแคลงใจ ไมเช่ือวา

3 จริง ตอ งอิงหลักฐานถา ยเดียว ขาพเจาขอใชความเปนพระมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยคของตนมากา รนั ตขี ้ยี ังวา ขอ มูลทางวิปสสนานมี้ ีทีม่ าทีไ่ ปไมโ มเมแนน อน บัดนี้วิปสสนาวิถีพรอมท่ีจะทําหนาที่แสดงหลักการและวิธีการตามสายทางเอกายนมรรค แลว ขอใหทานสาธชุ นจงสดบั รับฟงเถิด ดวยความเคารพในธรรม พระมหาอุเทน ปญ ญาปรทิ ัตต วดั ชนะสงครามราชวรมหาวหิ าร ๒๒ มิถนุ ายน ๒๕๔๓ วปิ ส สนาเทศนา วปิ สสนาเทศนักรอ ย เรียงพจี ประทปี ธรรมเปลงรังสี สวางแลว ฉานฉายดง่ั ดวงระวี วันสอ ง ทางสายเอกอนั เพรศิ แพรว พบพรอ ม เผยแถลง ทุกสมัย ขอแสดงธรรมท่ีแท สรางสนิ้ เพอ่ื คล่ีคลายความสงสัย วาบวาง ธรรมสวางทางไสว มอดไหม มลายสูญ ไฟกเิ ลสจงดับดนิ้

4 ถอ ยแถลงแสดงธรรม ขอโอกาสพระสงฆองคสามเณรทุกรูป และขอความเจริญในธรรมจงมีแกทานสาธุชนคนดี โยคีและโยคินีทั้งหลาย วันน้ีเปนวันพระขึ้น ๑๕ ค่ํา พระจันทรวันเพ็ญขึ้นเต็มดวง พระจันทรดวงน้ี เปน ดวงเดียวกันกบั พระจนั ทรเ มือ่ ครงั้ ท่พี ระพุทธเจา ยงั ทรงพระชนมอยู อาศัยความที่พระจันทรเต็ม ดวงในครั้งหนึ่ง พระพุทธองคก็ทรงประกาศอุดมการณหรือท่ีเรากลาวกันเปนภาษารวมสมัยวา จุดยืน น่นั คอื โอวาทปาฏิโมกข ซ่งึ เปนศาสนธรรมของพระพุทธเจาทั้งหลาย ดว ยเหตนุ ี้ จึงมีการสบื สานศาสนธรรมขององคบ รมศาสดามาตราบเทา ปจจบุ ัน และเกิดเปน ธรรมเนียมข้ึนมาอยางหน่ึง คือ วันพระ ๘ คํ่า หรือ ๑๕ ค่ํา จะมีการแสดงธรรม เพ่ือยํ้าเตือน เจตนารมณขององคพระศาสดาผูเปยมลนดวยพระมหากรุณาคุณตอเวไนยสัตว และเพ่ือความเจริญ ในธรรมของผูสดับ การฟงธรรมนั้นนับวาเปนกิจกรรมที่ทําไดโดยยาก มิใชทําไดโดยงาย จัดเปน ความยากประการหน่ึงในส่ปี ระการ ดงั พระพุทธคาถาวา กิจโฺ ฉ มนสุ สฺ ปฏลิ าโภ กจิ ฉฺ ํ มจจฺ าน ชีวิตํ กจิ ฺฉํ ธมมฺ สฺสวนํ กิจโฺ ฉ พทุ ฺธานมปุ ปฺ าโท ฯ การเกิดเปนมนษุ ยน ้ันสุดยาก ชพี ชนมมากยากแคน สดุ แสนเขญ็ การฟงธรรมลาํ บากยิ่งยากเย็น อบุ ัติเปนองคพ ุทธสุดยากจรงิ ฯ เหตุท่ีการฟงธรรมเปนเร่ืองยาก เพราะผูท่ีจะมาแสดงธรรมน้ันหาไดยาก ทั้งผูที่จะมารับฟง ธรรมก็หาไดยากเชนกัน ตองมีจิตเล่ือมใส มีใจศรัทธา จึงจะมารับฟงธรรมได ทวาการฟงธรรมก็ จดั เปนอุดมมงคลอยา งหนงึ่ ในมงคล ๓๘ ประการ ดังปรากฏในมงคลสตู รวา คารโว จ นิวาโต จ สนฺตุฏฐี จ กตฺตุ า กาเลน ธมฺมสสฺ วนํ เอตมฺมงฺคลมุตตตฺ มํ ฯ ความเคารพนบนอ ม ความสันโดษ ความกตัญูรคู ณุ และการฟงธรรมตามกาล ทัง้ ๓ ประการน้ี เปนอุดมมงคลฯ การท่ีจะเกิดเปนอุดมมงคลไดน้ัน ผูฟงก็ตองมีความต้ังใจฟง ต้ังใจจริง และตั้งใจจํา นําไป ใครครวญพิจารณา จะเกิดอานิสงสอ กี ๕ ประการตามมา คอื ๑. ไดฟ งเรื่องทไ่ี มเคยไดย ินไดฟง มากอน ๒. เร่ืองที่เคยไดย นิ ไดฟ ง มาแลว กเ็ กิดความชดั เจนกวา เดิม ๓. คลค่ี ลายความเคลือบแคลงสงสยั เสียได ๔. เกดิ ความเขาใจไมหลงผิด ๕. ทําใหจิตผองใส

5 บัดนก้ี ็ถึงกาลอนั ควรทอี่ าตมภาพในนามของพระสงฆองคสามเณรทุกรูป จักไดแสดงธรรม เพื่อเปนเคร่ืองเจริญศรัทธาของทา นสาธชุ นสบื ไป

6 กณั ฑท ่ี ๑ กระแสธรรมกถา ความเพียรทบ่ี ริสุทธคิ์ ือความเพียรทไ่ี มม ผี ลประโยชนใด ๆ ไมหวังผลตอบแทนเลย ครน้ั เรา มาปฏิบัติก็ตองตระหนักในเรื่องความเพียรที่บริสุทธิ์ มิใชมีอะไรมาหนวงเหนี่ยวไว เชน มีโลภะ หนวงในอารมณ ปฏิบัติเพ่ืออยากไดสมาธิสงบนิ่ง หรือสภาวธรรมดี ๆ การปฏิบัติธรรมท่ีมีโลภะ หนวงในอารมณเปนไปเพื่อตอบสนองความตองการของโลภะ ก็ไมแตกตางจากการทํางานเพื่อ ไดรับคาจางหรือผลตอบแทนเปนเงินตรา ภาษาจิตวิทยาเรียกการกระทําในแนวน้ันวา Reward Dependent ข้ึนอยูกับผลตอบแทนของรางวัล ซ่ึงเปนวิถีทางโลกลวน ๆ หากผูปฏิบัตินําการ กระทําตามวิถีทางโลกมาใชในวิถีทางธรรม จะประสบความลมเหลวอยางส้ินเชิง เพราะวิถีทาง ธรรมนั้น ย่ิงยึดอยากได ยง่ิ หางเหนิ ไกล ยิ่งปลดปลอ ยวาง ย่ิงเดินทางเขา ไปใกล นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ุทธฺ สสฺ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ทุ ฺธสสฺ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ทุ ฺธสฺส เย ธมมฺ า เหตปุ ฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต (อาห) เตสจฺ โย นโิ รโธ เอววํ าที มหาสมโณตฯิ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักไดแสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาถึงกระแสธรรมกถา วาดวย กระแสธรรม เพ่ือเปนเคร่ืองเจริญศรัทธา เพ่ิมพูนปญญาบารมี ใหแกทานสาธุชนคนดี โยคีและ โยคนิ ี ท้งั ท่ีเปนคฤหสั ถและบรรพชติ การแสดงธรรมในครัง้ นี้ มจี ุดประสงคเพอ่ื ทาํ ความเขาใจในการเจริญวปิ สสนากรรมฐานให ชัดเจนมากย่ิงข้ึน อาตมาเองมีความเชื่อวาพระคุณเจาและญาติโยมที่มาอยู ณ สถานที่น้ี ตางก็มี ความรูและความเขาใจในหลักการและวิธีการทางการปฏิบัติพอสมควร แตท่ีตองแสดงธรรมเพราะ ตองการกระตุนเตือนหรือเนนย้ําวาวิปสสนากรรมฐานนี้คือกิจกรรมอะไร เหตุใดจึงปฏิบัติ การมา กระตุนเตือนหรือเนนย้ําน้ัน นับวาเปนพุทธประสงคโดยตรง การฟงธรรมก็ตองฟงบอย ๆ ซ้ําแลว ซ้ําเลา การทําทานก็ตองทําบอย ๆ ขยันหมั่นปนแจก การรักษาศีลก็ตองหมั่นรักษาสํารวมกิริยาทาที และการเจริญภาวนายิ่งตองทําซํ้ายํ้าอยูบอย ๆ การทําซํ้ายํ้าอยูบอย ๆ นี้ คือกระบวนการทําซํ้านั่นเอง ทวาสงิ่ ใดทําไปเพยี งประเดยี๋ วประดา วชว่ั ครูชั่วยาม ขาดการติดตอตอเนื่อง ก็ไมเกิดผลดีมีความชํานิ ชํานาญหรือทักษะคลองตวั ในส่งิ น้นั ส่งิ ใดทที่ ํายํา้ อยกู บั ท่นี าน ๆ ก็พบรายละเอียดขอ ปลีกยอยในส่ิง นนั้ และเกิดความเชยี่ วชาญชํานาญในที่สุด โดยเฉพาะการทําความเพียร ยิ่งตองทําใหติดตอตอเนื่อง เชื่อมโยงกันไปไมขาดสาย ใหไดช่ือวา สาตจฺจกิริยานุโยโค คือขยันหมั่นทําความเพียรอยาง ตอเนื่องเกาะเกี่ยวสัมพันธกันไปเปนลูกโซ อยามีชองวางระหวางการกระทําบําเพ็ญ อยาเหมือน

7 กิ้งกา ก้ิงกาว่ิงไป ครูเดียวก็หยุด ว่ิงอีกครูเดียวก็หยุด การทํายึก ๆ ยัก ๆ ทํา ๆ หยุด ๆ กะปริดกะปรอย จะไมเกิดผลดีแตประการใด ดังนั้นการมาปฏิบัติหรือการทําส่ิงใดก็ตาม ถา ประสงคจะใหเกิดผลดี ตองทําใหติดตอตอเนื่อง ซ่ึงสอดคลองกับพระพุทธดํารัสวา “เจริญทําให มากประดุจเปนยวดยาน” พุทธธรรมนําทางปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมเปนนามธรรม มิใชรูปธรรม แตตองทําใหเปนเหมือนรูปธรรม ดูวาจะใช ความเพยี รพยายามกนั เพยี งใด แสดงวา จะตองย้าํ ซา้ํ อยกู บั ทีจ่ นนับไมถ ว น ขวายา งหนอ ซา ยยา งหนอ ยกหนอ เหยยี บหนอ ยกหนอ เหยยี บหนอ ยกหนอ ยา งหนอ เหยยี บหนอ พองหนอ ยบุ หนอ คดิ หนอ ไดยินหนอ ถูกหนอ ชาหนอ ปวดหนอ เหลานี้เปนตน จะตองสับเปล่ียนเวียนวนกันเร่ือยไป กระบวนการทําซ้ํานี้จะทําใหเกิดทักษะคลองตัวและพัฒนาการทางการปฏิบัติก็เกิดข้ึนงอกงาม อุปมาเหมือนกับการดูภาพ ๓ มิติ ในการมองครั้งแรก จะไมเห็นภาพอะไรที่ซอนเรนอยูในภาพ ๓ มิติน้ัน ครั้นดูมาก ๆ เขา ภาพสามมิติก็จะเผยภาพท่ีซอนเรนอยูภายในปรากฏตอสายตาเรา ในการ ปฏิบัติก็เชนกัน จะตองมีการดู การรู การกําหนดอยางซํ้าแลวซํ้าเลา ในชวงแรกเริ่มแทบจะไม ปรากฏอะไรใหเห็นเลย ตกอยูในสภาพเดิม ๆ รูสึกไดแตเพียงบัญญัติ ความจริงคือสภาวะอาการยัง ไมเผยโฉมออกมาใหเห็น ตอเม่ือมีการกระทําย้ําซ้ําแลวซํ้าเลาเรื่อยไป ความจริงจึงคอย ๆ เผยตัว ปรากฏใหเ หน็ และจะแจม ชดั ไปตามลําดบั ผปู ฏบิ ัตกิ ็เห็นรายละเอียดขอ ปลีกยอยตาง ๆ ของรูป-นาม ประดจุ ภาพสามมติ ทิ ่เี ผยภาพใหเ ราไดเห็นฉะนัน้ การฟงธรรมในคร้ังน้ี จึงมีความจําเปนท่ีจะตองมาฟงซ้ําในเร่ืองหลักการและวิธีการ ตลอดจนถงึ เปา หมายของการปฏิบตั ิ ในเบอื้ งตนขอกลา วถงึ เปา หมายกอนวา ควรดําเนินไปสูทิศทาง ใด มีอะไรเปนจุดหมายปลายทาง อาตมามาสอบอารมณผูปฏิบัติ พบวา บางทานมีการบนบานศาล กลาว วิงวอนขอส่ิงท่ีตนตองการ คร้ันไดสมประสงคแลว ก็มาปฏิบัติธรรมเพ่ือแกบน น้ีคือตัวอยาง หนึ่งของการปฏิบัติธรรมท่ีไมสอดคลองตองตามพุทธธรรม แตวากันวาดีกวาไมมาปฏิบัติ ดวยเหตุ น้ีจึงตองมาช้ีแจงเพ่ือปรับความเขาใจในเร่ืองของการปฏิบัติ วาควรมีเปาหมายอยางไร และดําเนิน ไปสูทิศทางใด จุดยนื คงท่นี ี้คือพุทธธรรม พทุ ธธรรมมลี กั ษณะเดนอยอู ยา งหน่ึง คอื กรรมวาที กลาวถงึ เรื่องการกระทาํ สรรเสริญการ กระทําบําเพ็ญมากกวาการวิงวอนขอหรือบนบานศาลกลาว และเนนยํ้าในเรื่องการกระทํา โดยเฉพาะ มีเหตุยอมมีผล มีกรรมยอมมีวิบากกรรมติดตามมา ซึ่งเราทานทั้งหลายไดประจักษแลว วา ความดีความชั่ว ความบริสุทธิ์หรือความเศราหมอง ลวนแตเกิดจากเราท้ังสิ้น ไมเกิดจากคนอ่ืน

8 และไมขึ้นอยูกับรูปรางหนาตาฐานะผิวพรรณยศถาบรรดาศักด์ิ ความรํ่ารวยหรือความยากจน แต ขึ้นอยูกับการกระทําของตัวเราเอง ซึ่งเปนตัวแปรสําคัญผันไปในวังวนของกิเลส กรรม วิบาก ดัง พระพทุ ธคาถาวา อตตฺ นา ว กตํ ปาป อตตฺ นา สงฺกิลิสฺสติ อตฺตนา อกตํ ปาป อตตฺ นา ว วสิ ชุ ฌฺ ติ สทุ ฺธิ อสทุ ธฺ ิ ปจจฺ ตตฺ ํ นาฺโญ อฺญํ วิโสธเย ฯ กระทําชวั่ ดวยตนผลสนอง ยอมเศรา หมองดว ยตนผลปรากฏ กระทําดดี ว ยตนผลแทนทด ยอ มหมดจดดวยตนผลสามญั ความหมดจดเศรา หมองของเฉพาะ ยอ มเกิดเกาะอยกู ับจติ ยากพลิกผัน ใครไมอาจเปลย่ี นสับรบั ประกนั คนอื่นอันเศราหมองหรือผอ งเพญ็ ฯ น่ันหมายถึง ความดี ความช่ัว ความบริสุทธ์ิหรือความเศราหมองเปนเร่ืองเฉพาะตน ใครทํา ใครได ไมมีผูใดสามารถมาลางบาปใหแกกันและกัน คดีทางโลกหากหาพยานหลักฐานไมได ก็ยก ฟอ งลม คดี แตค ดที างกรรมแมห าพยานหลกั ฐานไมไดก ไ็ มล มเลิกละเวน ไมเคยบิดพลิ้วท่ีจะใหผล มี ความยุติธรรมเท่ียงแทจริง ๆ เมื่อมีการกระทํายอมเกิดผลตามติด และจะตองไดรับผลกรมน้ันอยาง แนน อน ไมชา กเ็ ร็ว ดว ยเหตุนี้ พระพทุ ธศาสนาจึงมกี ารจาํ แนกประเภทของกรรมออกมา ๔ อยา ง คอื ๑. กัณหกรรม คือกรรมดํา ไดแกกรรมช่ัวไรประโยชนมีแตโทษ เชน การฆาสัตว ลักทรัพย ประพฤติผดิ ในกาม พูดปดมดเทจ็ ดมื่ สรุ าเมรัย เปนตน ๒. สุกกรรม คือกรรมขาว ไดแกกรรมดีมีประโยชน ไมมีโทษ เชนการบริจาคทาน อนเุ คราะหชวยเหลอื เก้ือกลู คนอ่ืน เปนตน ๓. กัณหสกกรรม คือกรรมทั้งดําและขาว ไดแก กรรมชั่วและดีท้ังสองอยางเจือกัน เชน การลักขโมยสิง่ ของมาใหท าน เปน ตน ๔.อกัณหอสุกกรรม คือ กรรมไมดําและไมขาว ไดกรรมไมชั่วและไมดี นั่นคือ โพธิปกขิย ธรรม ๓๗ ประการ ไดแ กการเจรญิ ภาวนา ซึ่งถือวา เปน กรรมท่ปี ระเสรฐิ สูงกวากรรมทง้ั ปวง มาพิจารณากรรมท้ัง ๔ อยางเหลาน้ีวา มีขอแตกตางกันอยางไร พบวา กรรมดําก็ดี กรรม ขาวกด็ ี กรรมทั้งดาํ และขาวกด็ ี หมายถงึ กรรมช่ัวกรรมดีทั้งช่ัวและดีเหลาน้ัน มีเจตนารวมทําดวยกัน ได กรรมช่ัวก็สมรูรวมคิดทําผิดรวมกัน เชน โจรกรรม นัดแนะจับกลุมกันไปปลนจี้ สวนกรรมดีก็ ทาํ บญุ รว มชาตติ ักบาตรรว มขัน เชน ทอดกฐินผาปา ไปเปนกลุมคณะพรอมกันถวาย นั่นคือลักษณะ ของการกระทํากรรมชั่วกรรมดี หรือทั้งชั่วและดีที่เกิดเจตนารวมทําดวยกัน แตสําหรับอกัณหอสุ กกรรม คือ โพธิปกขิยธรรมน้ัน มีเจตนารวมทําดวยกันไมได ถึงแมวาจะมีการปฏิบัติธรรมเปน

9 กิจกรรมหมูมาเปนกลุมคณะก็ตาม ผูปฏิบัติจะตองสนใจแตตัวเอง ทําเพียงคนเดียว คือยืนคนเดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว และกําหนดอารมณตามลําพังเพียงคนเดียว จะมาทําแทนกันหรือกําหนด อารมณรว มกันไมได ดังพระพทุ ธดาํ รสั วา “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางสายเอกน้ีดําเนินไป เพ่ือความบริสุทธ์ิแหงสัตวท้ังหลาย ผานพน ความเศราโศกพิไรรํ่าคร่ําครวญ ใหความทุกขโทมนัสต้ังอยูไมได บรรลุญาณและทํามรรคผล นิพพานใหแ จม แจง นน่ั คอื สติปฏ ฐาน ๔” วิถีทางน้เี รยี กวา เอกายนมรรค คอื ทางสายเอกเปน เอกวถิ มี เี พียงหน่งึ ทางอ่นื ๆ นอกจากนน้ั จะตอ งมาบรรจบกับทางสายนี้ จึงจะเขาสูม รรคผลนิพพาน เพราะมรรคผลนพิ พานเปนปรมัตถธรรม อันสงู สดุ มีเพยี งหนึ่งไมมีสอง จึงตอ งมีสายทางเพียงหน่ึงเดียว จะสังเกตไดวา ทุกส่ิงทุกอยางตางก็มี คู ไมมีหน่ึงเดียวโดด ๆ เชน เย็นคกู ับรอน ออนคูกับแข็ง หญิงคูกับชาย แมแตอวัยวะของคนเราก็มีคู ตามี ๑ คู จมกู มี ๒ รู หมู ี ๒ หู ดงั บทกววี า ในโลกนม้ี ีอะไรท่ไี มคู เห็นกนั อยทู ั่วถวนลวนเปนสอง แมพ ระจันทรยงั มีอาทิตยปอง ไดพ บพอ งกันบา งเปนบางคราว รอนคูเย็นเหน็ ชดั ถนดั แน ออ นคูแ กมากหมหู นมุ คสู าว หมาคูแ มวแจวคูพ ายสนั้ คูยาว หนุม คูส าวบา วคูน ายตายคเู ปน ฯ ทุก ๆ อยางตางก็มีคู แตทางสายเอกน้ีมีพียงหนึ่งไมมีคู เมื่อเขามาสูทางสายน้ี จะมาเกาะ เก่ยี วควงคกู นั ไมได ตอ งเขา มาตามลาํ พงั เพยี งคนเดยี ว และยืน เดิน นั่งกําหนดอารมณตามลําพัง จึง จะไดช่ือวาเดินเขาสูเอกายนมรรค ซึ่งเปนวิถีทางที่ทวนกระแสโลก ไมเหมือนทางโลก เพราะทาง โลกทํากิจกรรมทุกอยางรวมกันดวยการพูดคุย สนทนาปรึกษาหารือ แตการปฏิบัติธรรมจะทําตาม วถิ ีทางโลกไมได กลา วคอื จะไปจับกลุมคยุ กนั ไมไ ด ตอ งทวนกระแสไมไหลไปตามกระแส ขอใหยอนกลับไปในคร้ังท่ีพระโพธิสัตวอธิษฐานจิตลอยถาดทอง ครั้งนั้นพระองคทรง อธิษฐานวา ถาจะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ขอใหถาดทองนี้ลอยทวนกระแสน้ําไป แลวทรง วางถาดทองที่แมนํ้าเนรัญชรา ก็ปรากฏเหตุอัศจรยคือ ถาดทองไดลอยทวนกระแสนํ้าไป ปรากฏชัด ใหพระองคทรงทอดพระเนตรเห็นเปนนิมิตหมายบงบอกวา พระธรรมที่พระองคจะทรงแสดง หลังจากตรัสรู เปนธรรมทวนกระแสเหมือนถาดทองท่ีลอยทวนกระแสนํ้าไป หากปลอยใหลอยไป ตามกระแส กต็ กเขา สหู ว งแหง วังวนเวยี นวา ยตายเกิดไมรูจ กั จบสน้ิ ดงั มีเร่อื งหนึ่งเปนตวั อยา ง มีพระราชาพระองคหนึ่งทรงพระนามวา อรินทมะ หรือพระเจากาสีที่ชาวพระนครนิยม เรียกกัน พรอมดวยขาราชบริพารเขาไปพบพระปจเจกพุทธเจาชื่อวา โสณก ณ สวนอุทยาน คร้ัน แลวก็ตรัสวา “โยมยังของอยูในกาม มีความเพลิดเพลินพอใจ จะทําไฉนหนอ พระคุณเจา” พระ โสณกปจเจกพุทธเจากลาวตอบวา “ผูท่ียังหมกมุนมัวเมาอยูในกามไมอาจขามเขาสูความเงียบสงบ บรรลุแดนสุขเกษม ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนอีกาปญญาเบา เห็นซากศพของชางลอยอยูใน แมน้ําคงคา ก็ดีใจวา “เราไดซากชางเปนอาหารยานลําใหญ” รีบบินไปเกาะจิกกินจิบนํ้าดื่มดวย

10 ความชอบใจ แมซากชางน้ันจะเริ่มเปอยไป ก็ไมยอมบินหนี ตามปกติแมนํ้าคงคาจะไหลลงสู มหาสมุทร ไดพัดพาซากชางพรอมอีกาตัวโงเขลาเขาสูมหาสมุทร ซากชางไดเปอยไปจนหมดส้ิน อีกาตกอยใู นทา มกลางมหาสมุทรอนั เวงิ้ วา งเสียแลว มันมองไมเหน็ ฟากฝง ใดเลย จะหาอาหารกนิ ได ท่ีไหน ทั้งเร่ียวแรงกําลังของมันก็หมด บินไปไมได ฝูงปลาหรือจะรอรีรีบปร่ีเขามารุมท้ึงกัดกินมัน ดูกรมหาบพิตร ผูท่ียังของอยูในกาม ประมาทมัวเมา ไมยอมละทิ้ง ก็ไมตางอะไรกันกับอีกาที่ หลงใหลในซากชางเนา ตกไปเปนเหยื่อของฝูงปลาในมหาสมุทรคือสังสารวัฏ ไมเห็นฝงคือพระ นพิ พาน” พุทธธรรมไมไหลไปตามกระแส ดวยเหตุน้ีจึงตองทวนกระแส เหมือนปลาเปนวายทวนนํ้า ไมไหลไปตามน้ํา มีแตปลาตาย เทา นนั้ ท่ลี อยไหลไปตามนํา้ การทวนกระแสน้นั มคี วามหมายไดค า การไหลไปตามกระแสไมทา ทาย อะไรไรคา กลาวถึงการปฏิบัติธรรมยิ่งตองทวนกระแส มิไหลไปตามกระแส กระแสที่ตองทวนฝน น้ันคือ กระแสโลกและกระแสกิเลส กลาวโดยเฉพาะกระแสกิเลสซึ่งมีอิทธิพลทรงพลังอยู ยิ่งตอง ทวนตอบตอมันจะปลอยไปตามอําเภอใจไมได การทวนก็คือการฝนจะตองฝนสูไมยอมอยูเฉย การ ทวนฝนก็ตองใชเร่ียวแรงกําลังและเกิดความเหน็ดเหน่ือยเม่ือยลาเปนธรรมดา ซ่ึงไมเกิดผลดีใน เบื้องแรก แตคร้ันนานวันจะเกิดผลดีเอง น่ันหมายถึงวาเราจะมีความเคยชิน เกิดทักษะคลองตัวและ ชํานาญในทส่ี ุด และแลวก็กลายเปน เรอ่ื งปกตธิ รรมดาเปน ธรรมชาติอยางหน่ึงซึ่งถูกตองตามกระแส คือกระแสธรรม ดังที่ยกขึ้นเปนหัวขอพระธรรมเทศนาวากระแสธรรมกถา คือกระแสธรรม เปน กระแสธรรมชาตนิ ่นั เอง การทีเ่ ราเขา มาปฏิบตั ิในเบอื้ งตน กด็ ี หรือวา ในขณะท่ีปฏบิ ัตอิ ยกู ด็ ี ยังไมค ุนเคยกับกระแสนี้ จึงมีความรสู กึ วาฝนใจไมเ ปน ธรรมชาติ คร้ันมาทําบอยครั้งก็จะเกิดความคุนเคย กลายเปนเรื่องปกติ เปนเร่ืองธรรมชาติไปเอง เรียกวา ธัมมนิยามตา คือเปนไปตามกฎเกณฑของธรรมชาติ ขอ เปรียบเทียบใหเห็นวาสมมติมีโลกหรือสังคมหนึ่ง เด็กเกิดมาลืมตาดูโลกก็เห็นคนเดินเหินไปไหน มาไหนในอากาศได และเมื่อโตขึ้นมา เขาก็สามารถเดินเหินไปไหนมาไหนในอากาศไดเชนกัน คน ท้ังหมดในโลกหรือสังคมนั้นเห็นเปนเร่ืองปกติไมแปลกประหลาดอะไร แตในโลกหรือสังคมของ เราหากเห็นใครมาเดินเหินไปไหนมาไหนในอากาศก็เกิดความพิศวงงงงวยตกตะลึง เปนไปได อยางไร แสดงวาเราไมชินกับการเห็นภาพเชนนั้น ถาชินก็เปนเร่ืองปกติ ในเรื่องการปฏิบัติธรรมก็ เชนกัน เพราะเราไมคุนเคยน่ันเอง จึงเห็นเปนเรื่องผิดปกติที่สํานักวิปสสนาสาสยิตสาของมหาสี สยาดอร นครยางกุงในประเทศพมา การเดินไปมาของคนภายในสํานักจะเช่ืองชา เดินดวยความ สํารวมระวัง จะเปดประตูจะเขาจะออกก็กําหนดสติเหยียดหนอ ๆ ถูกหนอ จับหนอ เปดหนอ ๆ ปลอยหนอ วางหนอ ๆ ดวยอาการชา ๆ เปนเร่ืองปกติในสํานักนั้น คนท่ีเขา-ออกจากหองเปด-ปด

11 ประตูดวยอาการรวดเร็วกลับเปนเรื่องผิดปกติ ในสํานักวิปสสนาวิเวกอาศรมก็เชนกัน ในกาลกอน จะปรากฏภาพเชนนี้ ภาพท่ีผูปฏิบัติเดินจงกรมขวายางหนอ ซายยางหนอมาสงอารมณ ภาพท่ีผู ปฏิบัติเอื้อมมือไปจับประตู เปดประตูชา ๆ เปนภาพปกติของสํานักวิปสสนาวิเวกอาศรม แตใน ปจจบุ นั คร้ันใครมาทาํ ชา ๆ หรอื วากาํ หนดเปด ประตูชา ๆ กลับดูวาเปนเรื่องผิดปกติ ในท่ีนี้อยากจะ ทําความเขาใจกับผูปฏิบัติวาไมตองเคอะเขินในการทําชา ๆ ไมควรเคอะเขินในการรับประทาน อาหาร หรอื กาํ หนดอาการตาง ๆ ที่เช่ืองชาอยู แตควรเคอะเขินท่ีตองเดินเร็ว ๆ ดวยกิริยาอาการท่ีไม สํารวมระวัง ไปจับกลุมคุยกัน น่ันคือสิ่งที่นาเคอะเขินและนาละอายในสํานักปฏิบัติเชนน้ี ดังนั้น ขอใหผูปฏิบัติไดใสใจไตรตรองวาตนไดสละเวลาออกจากวิถีทางโลกเขามาสูวิถีทางธรรม กําลัง เดินไปสูกระแสธรรม จึงมีความจําเปนที่จะตองปฏิบัติใหสอดคลองกับกระแสธรรม เพราะกระแส ธรรมนี้เปนไปเพื่อการขจัดขัดเกลามลทินของจิตใจใหสะอาดหมดจด มิไดเปนไปเพื่อการเพ่ิมพูน กิเลสแตอยา งใด. พุทธธรรมเนน ย้ําวา กําจัด ลักษณะอีกอยางหน่ึงของพุทธธรรมคือ ธุตวาที กลาวสรรเสริญการกําจัด หมายถึงกําจัด กิเลส ดงั พระพทุ ธดํารัสวา “ดูกรภิกษุท้ังหลาย ตถาคตผูประพฤติพรหมจรรย เพื่อหลอกลวงประชาชนก็หามิได เพ่ือ เกลี้ยกลอมประชาชนกห็ ามไิ ด เพือ่ อานิสงสคือลาภสักการะและคําสรรเสริญก็หามิได เพ่ืออานิสงส คือการอวดอางวาทะก็หามิได โดยที่แทต ถาคตผปู ระพฤติพรหมจรรยน ้ีเพ่อื สังวรระวัง คลายกําหนด และดบั กเิ ลส” น้ีคือวาทะพระพุทธเจา พระองคจึงทรงพระนามวา ธุตวาท กลาววากําจัด ในพุทธกาลมี พราหมณคนหน่ึงช่ือ ภารทวาชโคตร มีทรรศนะไมดีตอพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ ไมเคารพ เลอื่ มใสศรัทธาเลย ถึงกบั ดา บรภิ าษพระภกิ ษทุ อ่ี อกเดินรับบิณฑบาตในยามเชาวามาขอขาวชาวบาน เขากิน เปนสมณะโลนที่ไมประกอบอาชีพการงานอะไร ไดอาหารแลวก็ไปกินและนอน ไมยัง ประโยชนใหเกิดขึ้น แตนางพราหมณีช่ือธนัญชานีท่ีเปนภรรยาของพราหมณน้ัน กลับเคารพ เลอ่ื มใสมใี จศรทั ธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆอยางย่ิง เพราะนางไดดวงตาเห็นธรรมเปนพระ โสดาบัน มีความม่ันคงในพระรัตนตรัยไมคลอนแคลน ทุกเชาสายบายเย็นมักจะระลึกถึง พระพทุ ธเจา เปลง วาจาวา “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพทุ ฺธสฺส ขอความนอบนอมจงมี แดพระผูมีพระภาคเจาผเู ปน พระอรหันต ตรสั รูเองไดโ ดยชอบพระองคน นั้ ” อยเู ปนประจาํ ถอยวาจาน้ีเปนที่เสียดแทงพราหมณที่ไดยินเปนย่ิงนัก แตก็ไมรูวาจะทําอยางไร เพราะเปน ภรรยาของตน ตอมาพราหมณภารทวาชโคตรตองการจัดงานเลี้ยงประชุมพราหมณท้ังหลาย ได กลาวตักเตือนนางพราหมณีวา “เมื่อบรรดาพราหมณมารวมรับประทานอาหารภายในเรือนของเรา

12 เธออยาไดก ลาวคําวา นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส เปนอันขาดเชียวนะ ถาเธอกลาว ฉันจะทําโทษเธอ” นางพราหมณีกลาวตอบวา “พราหมณ ทานจะทําอะไรก็ทําไป แตจะไมใหฉัน ระลึกถึงพระพุทธเจา พระธรรมเจา พระสงฆเจายอมเปนไปไมได” พราหมณโกรธขึ้นมาทันที พรอมขูวา “ถาเธอขืนกลาวจริง ๆ ละก็ ฉันจะฆาเธอ” แลวชักกฤชออกมา นางพราหมณีหาได ประหว่ันกลัวไม กลา วอีกวา “เชิญเลยพราหมณ ทําตามท่ีทานประสงคเถิด ฉันไมกลัวหรอก” นี้คือ ถอยวจีที่หนักแนนของพระโสดาบัน แมแตความตายก็ไมหวาดกลัว พราหมณโกรธจนหัวฟดหัว เหวย่ี งท่ีหา มปรามนางไวไมไ ด และแลว คราววนั งานกม็ าถงึ มบี รรดาพราหมณผูเ ฒาและสหายหลาย คนมารวมรับประทานอาหารภายในเรือนของภารทวาชโคตรพราหมณ นางพราหมณีก็ทําหนาที่ บริการอังคาสขาวปลาอาหารใหแกพราหมณเหลานั้น ในขณะท่ีนางกําลังเดินไปเติมอาหารอยูน้ัน พลนั สะดุดเส่ือที่ปูไวไมดี ลื่นลมลง ดวยความตระหนกตกใจจึงเปลงคําวา “นโม ตสฺส ภควโต อรห โต สมมฺ าสมพฺ ุทธฺ สสฺ ” ออกมา บรรดาพราหมณท่ีกําลังรับประทานอาหารอยูไดยินประโยคนั้นแลว ก็เกิดความขัดเคืองย่ิง นัก บางคนท่กี ําลังตกั ขา วเขา ปาก บางคนท่กี ําลงั เคี้ยวขาวอยู ก็วางชอนลงบว นคาํ ขา วทิ้งทันที พรอม กันดา บริภาษพราหมณว า “นที่ า นปลอยใหนางถอยมาอยูท่ีนไ่ี ดอ ยางไร มันมีลัทธิความเช่ืออยางอ่ืน ไมใชลัทธิของพวกเรา” พลันลุกพรวดพราดหนีไป ภารทวาชโคตรพราหมณโกรธจนตัวสั่น จะดา จะวานางพราหมณีก็ไมมีประโยชน จะฆาจะแกงก็ไมอาจทําได จําตองเดินรุดหนาดวยอาการโกรธ จัดเขาไปหาพระพุทธเจาที่พระเชตวันมหาวิหาร ไปถึงก็ไมยอมทําความเคารพ กลาววา “ทานพระ สมณโคดม ทานแสดงธรรมมานานนักหนานี่ มีจุดประสงคอยางไร ทานเห็นวาควรกําจัดอะไร” พระพทุ ธเจาตรสั ตอบวา “ดูกรพราหมณ เรากลาวการกําจัดความโกรธ บุคคลกําจัดความโกรธเสียได จึงนอนเปน สุข กําจัดความโกรธเสียไดจึงไมเศราโศก พระอริยเจาทั้งหลายสรรเสริญการกําจัดความโกรธอันมี รากเปนพิษ มยี อดหวาน เพราะวา ผูทีก่ ําจัดความโกรธน้นั ไดแ ลว ยอ มไมเ ศราโศกเลย” พราหมณคร้ันฟงพระดํารัสน้ันแลวก็เกิดความเล่ือมใสศรัทธา กลาวชื่นชมภาษิตของ พระองค และขอบรรพชาอปุ สมบทในพระพุทธศาสนา นี้คือถอยพระวาจาของพระผูมีพระภาคเจาท่ีตรัสเพื่อกําจัดราคะ โทสะ และโมหะ อันเปน รากเหงาของกิเลสท้ังมวลใหสลัดรื้อถอนตัณหาอุปาทานที่เกาะกุมจิตใจทําใหเกิดความทุกข กลาว ไดวาน้ีคือธรรมกระแสท่ีเปนไปเพื่อปลอยลดปลดวาง ไมปฏิบัติเพื่อกอเพิ่มอัตตาตัวตน มุงเปาเขา ไปสูอ นตั ตาอนั หาตวั ตนมไิ ด มใิ ชปฏิบัติแลวอัตตาตัวตนเติบใหญขยายโต เผยอเยอหย่ิงวาตนไดไป ปฏิบัติธรรม สวนคนอื่นมิไดไปปฏิบัติธรรมเชนตน นี้คือผลขางเคียงที่ไมพึงประสงคของการ ปฏิบัติ แทจริงเปาหมายแรกของการปฏิบัติคือ ประหาณสักกายทิฏฐิ ถายถอนความสําคัญมั่นหมาย วากายของเราตัวของเรา ซ่ึงกอใหเกิดมานะกระดางถือตัว เพราะเห็นวากายของเรา รูปของเรา นาม ของเรานี่เอง จึงถือเนื้อถือตัว เพราะมีเรามีเขาน่ีเอง จึงมีเรื่อง ดังนั้นการปฏิบัติธรรมจึงปฏิบัติเพื่อ

13 กาํ จัดความเหน็ วามตี วั ตนโดยเฉพาะ หากกาํ จดั ความสําคัญมั่นหมายวามีตัวตนไดแลว อัตตามานะก็ กอตัวเติบโตไมได แสดงใหเห็นวากระแสธรรมน้ีเปนไปเพ่ือการกําจัดอัตตาตัวตน มุงเปาเขาไปสู อนัตตา ซ่ึงเปนเปาหมายของการปฏิบัติวิปสสนากรรมฐานโดยแทดังพระพุทธพจนวา “สพฺเพ ธมมฺ า อนตตฺ า ธรรมทง้ั ปวงอนตั ตา” มิใช สพฺเพ ธมมฺ า อตตฺ า ธรรมทั้งหลายเปน อัตตา ถาทานใดหรือสํานักใดมีความเห็นวาอัตตา ขอใหทุกทานทําความเขาใจวา ไมถูกตองตาม พุทธประสงค พุทธประสงคคืออนัตตามิใชอัตตา ถาอัตตาเปนวิถีทางโลกเปนไปเพื่อความมีความ เปน แตวิถีทางธรรมคืออนัตตาเปนไปเพ่ือความไมมี ไมเปน เมื่อเราทานท้ังหลายมาปฏิบัติธรรม แลว ก็พึงตระหนักวาจะตองบางเบาจากความมีตัวตน โลงโปรงปลอดจากทิฐิมานะ นี้คือกระแส ธรรมทเี่ ปน เปา หมายปลายทางของพทุ ธธรรม ขึน้ อยูกบั เหตปุ จ จยั มิใชเ หตผุ ล อาตมามีความเชื่อวา หลายทานที่เขามาปฏิบัติมักจะมีความคาดหวังวา จะตองเกิดผล ทางการปฏิบัติ คือตองสงบนิ่ง มีสมาธิ เกิดสภาวะดี ๆ ซ่ึงเปนการหวังผลปรากฏ วากันแลวผูปฏิบัติ ไมควรมงุ หวงั ในลักษณะเชนนน้ั ควรมาทําหนาท่ีปฏิบตั ติ ามเหตตุ ามปจ จยั ดังท่ีพระพุทธเจาไดตรัส เปรยี บเทยี บไวว า “เปรียบเหมือนแมไกออกไขมาแลว แมไกตองการใหลูกไกใชเล็บหรือจะงอยปากเจาะ กระเปาะฟองไขออกมา แตแมไกไมกกไขใหไออุนอันพอเหมาะ ลูกไกก็ไมสามารถใชเล็บหรือ จะงอยปากเจาะกระเปาะฟองไขออกมา ฉันใด ภิกษุก็ฉันน้ัน เธอมีความปรารถนาอยางแรงกลาวา เราจะตอ งบรรลุวิมุตติหลุดพนใหได แตเธอไมยอมประกอบความเพียร ไมทําเหตุปจจัยใหถึงพรอม ก็ไมอาจประสบผลอันเลิศตามความปรารถนา ถึงแมวาแมไกจะไมตองการใหลูกไกใชเล็บหรือ จะงอยปากเจาะกระเปาะฟองไขออกมา ทวากกไขใหไออุนอันพอเหมาะ คร้ันถึงกาลอันควร ลูกไก กเ็ จาะกระเปาะฟองไขอ อกมาไดเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น ถึงแมวาเธอจะไมตั้งความปรารถนาเลยวา ขอใหเราบรรลุวิมุตติหลุดพน แตเธอประกอบความเพียรทําเหตุปจจัยใหถึงพรอม คร้ันถึงกาลอัน ควร เธอกป็ ระสบผลอันเลิศถงึ วิมุตติหลุดพนไดฉะนแี้ ล” จากพระพุทธูปมาน้ีเราก็ทราบวา ไมควรมุงหวังเร่ืองผลปรากฏ ควรมาใสใจในเร่ืองของ การปฏิบัติทําเหตุปจจัยใหถึงพรอม มีความยินดีพอใจในการกระทํามากกวาที่จะไปรอรับผล เรา สามารถมีความสุขกับการปฏิบัติ กลาวคือมีความสุขกับการยืน เดิน น่ัง และกําหนดอารมณตาง ๆ มิใชไปพึงพอใจในผลปรากฏท่ีเกิดในชวงระยะเวลาหน่ึง ในขณะท่ีเราปฏิบัติแตละครั้งก็มีความสุข หรอื เกดิ ฉนั ทะพงึ พอใจในการกระทาํ นัน้ ๆ ได

14 ความบริสทุ ธิ์หยุดอยกู ง่ึ กลาง ขอกลาวถึงชาดกเรื่องหนึ่งที่องคพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ (ร.๙) ไดนํามาพระราช นิพนธ คือ เร่ืองพระมหาชนกในชวงท่ีพระมหาชนกกําลังวายนํ้าอยูในทามกลางมหาสมุทร มองไม เห็นฟากฝงทะเลเลย แตยังเพียรพยายามวายนํ้าอยู พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ไดตรัสความใน เหตุการณนั้นไววา “ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธ์ิ มีปญญาเฉียบแหลม มีรางกายท่ีสมบูรณ” มีความ เพียรท่ีบริสุทธิ์ดุจดังพระมหาชนกกําลังวายน้ําอยูในทามกลางมหาสมุทรมองไมเห็นฟากฝงทะเล เลย แตยังประกอบความเพียรดวยความรื่นเริงบันเทิงใจ หากเรามาตีความตามนัยน้ี จะพบวาพระ มหาชนกมองไมเห็นเปาหมายอะไร แตยังเพียรพยายามอยู มีความยินดีในการกระทําบําเพ็ญ นั่น แหละเปนความเพยี รท่ีบริสุทธิ์ ตอมามีนักวิชาการหลายทานมาประชุมกันเพื่อแสดงความคิดเห็นวา ความเพียรท่ีบริสุทธิ์ คืออะไร พวกเขาพากันแสดงความคิดเห็นไวหลายประเด็น แตไมมีใครเลย กลา ววา ความเพียรทบี่ ริสทุ ธิ์คอื ความเพยี รทไ่ี มมผี ลประโยชนใ ด ๆ ไมห วังผลตอบแทนเลย คร้ันเรา มาปฏิบัติก็ตองตระหนักในเรื่องความเพียรที่บริสุทธิ์ มิใชมีอะไรมาหนวงเหนี่ยวไว เชน มีโลภะ หนวงในอารมณ ปฏิบัติเพื่ออยากไดสมาธิสงบนิ่งหรือสภาวธรรมดี ๆ การปฏิบัติธรรมที่มีโลภะ หนวงในอารมณเปนไปเพื่อตอบสนองความตองการของโลภะ ก็ไมแตกตางจากการทํางานเพ่ือ ไดรับคาจางหรือผลตอบแทนเปนเงินตรา ภาษาจิตวิทยาเรียกการกระทําในแนวน้ันวา Reward Dependent ขน้ึ อยูกบั ผลตอบแทน รางวัล ซึ่งเปนวิถีทางโลกลวน ๆ หากผูปฏิบัตินําการกระทําตามวิถีทางโลกมาใชในวิถีทาง ธรรม จะประสบความลมเหลวอยางส้ินเชิง เพราะวิถีทางธรรมนั้น ย่ิงยึดย่ิงอยากได ย่ิงหางเหินไกล ย่ิงปลดปลอ ยวาง ยิ่งเดนิ ทางเขาไปใกล ในวิถีทางธรรม เหตุปจจัยจะตองบริสุทธิ์จึงจะยังผลที่บริสุทธิ์ใหเกิดข้ึน กลาวคือ ประกอบความเพียรโดยไมตองการผลปรากฏใด ๆ และไมยึดหนวงเหน่ียวสภาวะใด ๆ ไว ปลอยให ไหลไปตามกระแสธรรมชาติ ทาํ ความเพียรในขณะนี้เด๋ียวนี้เวลาน้ี และจบลงไปในขณะน้ันเด๋ียวน้ัน เวลานน้ั นน่ั แลคือความเพียรทบี่ รสิ ุทธิ์ น้ีคือสารัตถะของการปฏิบัติธรรม สอดคลองกับพระพุทธดํารัสวา “กําจัดอภิชฌาและ โทมนัสเสียไดในโลก” อภิชฌาคือความชอบใจทะยานอยาก โทมนัสคือความเสียใจ ขุนเคืองแคน กลาวกนั งา ย ๆ วา อภิชฌา คอื ความโลภ โทมนสั คอื ความโกรธ การปฏบิ ตั ิก็เพื่อกาํ จัดกเิ ลสทัง้ ๒ ตัว น้ี ซ่ึงจะกําจัดไดดวยการอยูกึ่งกลางระหวางความโลภและความโกรธ กลาวคือยินดีก็ไมโยกไป ดานซาย ยินรายก็ไมยายไปดานขวา ในนัยหนึ่งเรียกวา มัชฌิมาปฏิปทา (การเดินทางสายกลางไม หยอนยานและเครงตึงจนเกินไป) หรืออีกนัยหน่ึงคือ ความเพียรท่ีบริสุทธิ์ ไมตกไปสูกระแสของ ความโลภและความโกรธ

15 เพียงสักแตว าหามอี ะไรไม การมาปฏิบัติตามสติปฏฐานท่ีแสดงไววา ดูตามกายในกาย… ดูตามเวทนาในเวทนา... ดู ตามจิตในจิต... ดูตามธรรมในธรรม... มีคําวา กายสองกาย เวทนาสองเวทนา จิตสองจิต และธรรม สองธรรม เมื่อศึกษาสติปฏฐานสูตรอยางถี่ถวน อานใหจบทุกหมวดหมู จะพบวา ขอความสุดทาย ของทุกหมวดหมูมีความเหมือนกันวา “สติของเธอต้ังม่ันวามีกาย เวทนา จิต ธรรมอยูก็เพียงสักแต วา ความรู เพียงสกั แตว า อาศัยการระลึกรเู ทานน้ั ” ตามขอ ความนี้สรุปไดว า กายก็สักแตวากาย เวทนาก็สักแตวาเวทนา จิตก็สักแตวาจิต ธรรม ก็สักแตวาธรรม เปนเพียงสักแตวาไมมีอะไร เปนเพียงปรากฏการณทางกาย เวทนา จิต ธรรม มิใช สัตว บุคคล ตัวตน เราเขา พูดงาย ๆ วาไมตองเติมอะไรลงไปในสภาพน้ัน ๆ เพราะสภาพนั้นเปน เพียงปรากฏการณธรรมชาติ ไมมีอะไรนอกจากความไมมีอะไร จึงใหมองดูเปนเพียงสักแตวา เทานั้น แมแตการเห็น การไดยินที่เราพบจากพระพุทธดํารัสวา “เห็นก็สักแตวาเห็น ไดยินก็สักแต วา ไดย ิน” ไมปรุงแตง อะไร นั่นแลคือการปฏิบัติที่ไมเอนเอียงไปสูโลภะและโทสะ อยูก่ึงกลางระหวางโลภและโกรธ จึงจะเปนความเพียรที่บริสุทธิ์ เม่ือมาอยูก่ึงกลางไดแลว กิเลสท้ัง ๒ ตัวนี้จะเริ่มยายออกไป ๆ ใน ที่สุดก็หมดสิ้น ถาเกิดสภาวะดี ๆ ยินดีชอบใจ ก็หันพวงมาลัยรถลงดานซายตกคลอง เขาสูโลภะไป ถาเกิดสภาวะไมดี ยินรายเสียใจ ก็หันพวงมาลับรถไปดานขวาชนรถคันอ่ืน เขาสูโทสะไป ดังน้ัน ตองดํารงคงความเปนกลาง กําหนดรูเพียงสักแตวาเทานั้น และทําความเพียรดวยความบริสุทธ์ิใจ ดําเนินไปสูเปาหมายปลายทาง คืออนัตตาอันโลง โปรงปลอดจากสัตว บุคคล ตัวตน เราเขา ซึ่งเปน จดุ หมายปลายทางของพทุ ธธรรมอยา งแทจริง พระธรรมเทศนาในวันนี้ไดแสดงถึงเปาหมายของการปฏิบัติท่ีตองตามพุทธประสงค ให ยินดีพอใจในการกระทําเหตุมากกวาการเสวยผล และการกระทําบําเพ็ญเพียงดวยความบริสุทธิ์ใจ ไมห วงั ผลปรากฏโดยวางจติ ใหอ ยกู ่ึงกลางระหวา งโลภะและโทสะ กลาวโดยเฉพาะเรื่องของการทํา เหตุปจจัยใหถึงพรอม นับวาเปนหนาที่ของผูปฏิบัติโดยตรง เพราะวาธรรมกระแสนี้ข้ึนอยูกับเหตุ ปจจัย พระพุทธองคจึงตรัสเหตุเกิดข้ึนและผลดับไปแหงธรรมท้ังหลาย ดังภาษามคธท่ีอาตมาได ยกข้นึ เปน นกิ เขปบทในเบื้องตน วา เย ธมมฺ า เหตปุ ฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต (อาท) เตสฺจ โย นโิ รโธ เอวํวาที มหาสมโณฯ ธรรมเหลา ใดเกิดแตเหตุ พระตถาคตเจา ตรสั เหตุแหงธรรมเหลา นั้น และความดับ แหง ธรรมเหลา น้ัน พระมหาสมณเจา มปี กติตรัสอยางนีฯ้

16 ดังแสดงพระธรรมเทศนามาก็สมควรแกเวลา ขอยุติลงปลงไวแตเพียงเทาน้ี เอวํ ก็มีดวย ประการฉะน้ีฯ

17 กัณฑที่ ๒ สติปฏฐานกถา ดังพระพุทธดํารัสวา “ครั้นตถาคตรัสรูเขาถึงแลว ก็มาบอกแสดงจัดวางระบบตั้งระเบียบ แบบแผน เปดเผยจําแนกแจกแจงใหเขาใจงาย” สติปฏฐานจึงเปนสูตรสําเร็จท่ีถูกวางระบบเปน หลักการและวิธีการปฏิบัติโดยพระพุทธองค และขอความชวงทายของสติปฏฐานสูตรไดแสดงไว อีกวา “ผูใดยังสติใหแลนลองทองเที่ยวไปในกาย เวทนา จิต ธรรม อยางตอเน่ือง ๗ ป สามารถ บรรลุถึงระดับของพระอรหันตหรือพระอนาคามีภายในปจจุบันชาติ ๖ ป ๕ ป ๔ ป ๓ ป ๒ ป ๑ ป ๗ เดือน ๖ เดอื น ๕ เดือน ๔ เดอื น ๓ เดอื น ๒ เดอื น ๑ เดือน ๑๕ วัน ๗ วัน ก็สามารถบรรลุถึงระดับ พระอรหันตหรือพระอนาคามีภายในปจจุบันชาติ” นั่นเปนสูตรสําเร็จที่พระองคตรัสยืนยันไวจริง การที่เราจะปฏิบัติบรรลุตามพระพุทธดํารัสนั้นไดหรือไม จึงไมขึ้นอยูกับสูตรสําเร็จนี้ แตข้ึนอยูกับ ตัวเราโดยเฉพาะ. นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพทุ ธฺ สฺส นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทธฺ สฺส นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ุทธฺ สฺส เยเนว ยนฺติ นิพพฺ านํ พุทฺธา เตสฺจ สาวกา เอกายเนน มคเฺ คน สติปฏฐานสญฺ นิ าฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักไดแสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาถึงสติปฏฐานกถา วาดวยสติปฏ ฐาน ๔ เพอื่ เปนเคร่ืองเจริญศรทั ธา เพมิ่ พูนปญญาบารมี ใหแกท านสาธุชนคนดี โยคีและโยคินี ท้ังท่ี เปน คฤหสั ถแ ละบรรพชติ อนุสนธิสืบตอจากวันพระที่แลวไดแสดงกระแสธรรมกถาวาดวยกระแสธรรมซึ่งเปน กระแสทวนตอบตอ กระแสโลก กลาวคือ ศาสนธรรมของพระผูมีพระภาคเจาที่ทรงแสดงไวท้ังมวล ก็ลวนแตใหไปยืนอยูคนละมุมหนึ่งกับกิเลส มิใหไปยืนอยูในมุมเดียวกัน หรือคลุกคลีตีโมงรวมวง กับกิเลส นั่นคือสารัตถะแหงพุทธธรรมและไดแสดงสาระสําคัญของการเจริญสติปฏฐาน ๔ ไววา กายก็สักแตวากาย เวทนาก็สักแตวาเวทนา จิตก็สักแตวาจิต ธรรมก็สักแตวาธรรม กลาวคือกายก็ เพียงกิริยาอาการทางกาย เวทนาก็เพียงความรูสึกทางเวทนา จิตก็เพียงการตรึกนึกคิดทางจิต และ ธรรมก็เพียงสภาพทางธรรม ดังพระพุทธดํารสั ทปี่ รากฏในสตปิ ฏ ฐานสตู รวา “อน่ึง สติของเธอท่ีต้ังม่ันอยูวา กายมีอยู ก็เพียงสักแตวาความรู เพียงสักแตวาอาศัยระลึก เทานั้นเธอเปนผูอันตัณหาและทิฐิไมอาศัยอยูแลว และไมถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อยา งนี้แล ภกิ ษุชือ่ วา พจิ ารณาเห็นกายในกายอยู

18 สติของเธอตั้งมั่นอยูวา จิตมีอยู ก็เพียงสักแตวาความรู เพียงสักแตวาอาศัยระลึกเทาน้ัน เธอ เปน ผมู อี นั ตณั หาและทฐิ ไิ มอาศยั อยูแลว และไมถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อยางนี้แล ภิกษุช่ือวา พจิ ารณาเหน็ เวทนาในเวทนาอยู สติของเธอตั้งม่ันอยูวา จิตมีอยู ก็เพียงสักแตวาความรู เพียงสักแตวาอาศัยระลึกเทานั้น เธอ เปนผูอันตัณหาและทิฐิไมอาศัยอยูแลว และไมถือม่ันอะไร ๆ ในโลก ดูกรภิกษุท้ังหลาย อยางน้ีแล ภิกษชุ อ่ื วา พจิ ารณาเห็นจติ ในจิตอยู สติของเธอตั้งมั่นอยูวา ธรรมมีอยู ก็เพียงสักแตวาความรู เพียงสักแตวาอาศัยระลึกเทานั้น เธอเปนผูอันตัณหาและทิฐิไมอาศัยอยูแลว และไมถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อยางน้ี แล ภกิ ษุช่ือวาพจิ ารณาเหน็ ธรรมในธรรมอยู สติปฏฐานสูตรไดบงบอกวา “เพียงสักแตวา” ทุกส่ิงทุกอยางเพียงสักแตวาเทานั้น ไม สําคัญม่ันหมายอะไร ไมเขาไปทึกทักทัดทายหรือยึดหนวงเหน่ียวไว ทําความเขาใจไดอยางนี้ก็ให สติแลนลองทองเที่ยวไปในกาย เวทนา จิต ธรรม อยางตอเนื่อง ทวาทําอยางไรจึงจะรูเพียงสักแตวา ใหมาอยูก่ึงกลางระหวางอภิชฌาและโทมนัส อภิชฌาคือโลภะ โทมนัสคือโทสะ กลาวคืออยู กึ่งกลางระหวางอิฏฐารมณและอนิฏฐารมณ อิฏฐารมณคืออารมณท่ีนาปรารถนา อนิฏฐารมณคือ อารมณท ี่ไมน าปรารถนา ไมเอนเอียงไปดา นใดดา นหน่ึง เม่ืออยูก่ึงกลางไดตัณหามานะทิฐิ ก็ไมอาจ เขามาแทรกแซง ชอบหรอื ไมชอบก็ไมก อปรดวยธรรม อนึ่งคําวา “อภิชฌาและโทมนัส” นั้นคืออะไร มาทําความเขาใจกันงาย ๆ วาคือ ความชอบและความไมชอบ โดยปกติ ปุถุชนคนธรรมดามักจะแสดงพฤติกรรมไปตามอํานาจของ ความชอบหรอื ความไมช อบอยรู ํ่าไป จนแทบจะเรียกวาเปนธรรมชาติอยางหนึ่ง มองไมเห็นโทษภัย ของความชอบหรือความไมชอบนั้น เชน เราชอบคนนี้ ก็เขาไปหาพูดจาสนทนาดวย ไมชอบคนน้ัน ก็ไมเขาไปหา ไมทักทายถามถึง โดยความหมาย ความชอบคือการนําเขา ความไมชอบคือการนํา ออกหรือผลักออก พุทธธรรมไดแสดงวา ความชอบคือโลภะความไมชอบคือโทสะนี้ ควรแกการ ขจัดขัดเกลาใหเบาบางลง เหตุใดจึงแสดงเชนนั้น เพราะวาถาเรามีความชอบมากจนเกินไป ก็ กลายเปนฉันทาคติ ลําเอียงเพราะชอบ คนท่ีเราชอบไปทําความผิด มักจะไมเห็นความผิดของเขา ถึงแมรูอยูวาเขาทําความผิดจริง ก็ปกปองเขาขาง สวนความไมชอบคือโทสะ ถามีปริมาณมากไป ก็ กลายเปนโทสาคติ ลําเอียงเพราะไมชอบ คนท่ีเราไมชอบและไมเห็นความพอดีของเขา ชอบและไม ชอบลวนแตเ ปน ปจจัยใหเกดิ ภาพอคติ ไมมีความยุตธิ รรม แมแสดงโทษภัยใหทาํ ความเขา ใจอยา งนี้ บางทานกย็ งั ไมเหน็ ดว ย

19 ขอเปรียบเทียบใหเห็นดวยการนําแกวนํ้ามาสองใบ ใบแรกเติมนํ้าครําหรือนํ้าโคลนเขาไป ใบสองเติมนํ้าโอวัลตินหรือกาแฟเขาไป ถามวาเราจะด่ืมนํ้าแกวไหน ก็ตองตอบวาด่ืมแกวที่มีนํ้า โอวัลตินหรือกาแฟ จะไมดื่มน้ําโคลนหรือน้ําครําแนนอน นั่นแสดงวา เราจะตองด่ืมน้ําโอวัลตินที่ เห็นวานําเขามาตอบสนองความตองการได สวนนํ้าครําและนํ้าโคลนเห็นวานําเขามาตอบสนอง ความตองการไมได ตองผลักออกดวยอํานาจของความไมชอบ หรือรังเกียจวาสกปรก แตบางครั้ง อาจจะตอบสนองความตองการคือโกรธข้ึนมาก็รีบจับฉวยสาดใสคนที่โกรธน้ันทันที แตยังเปนการ ตอบสนองความไมชอบคือโทสะอยูดี ดวยเหตุผลใดก็ตาม ขอสรุปวา เราจะตองเลือกด่ืมน้ําโอวัล ตินหรือกาแฟแนนอน ไมด่ืมน้ําครําหรือนํ้าโคลนเด็ดขาด แตถาถามวา น้ําโอวัลติน นํ้ากาแฟ หรือ นํ้าครํานํ้าโคลนมาเปอนเส้ือผาของเรา จะซักไหม โดยเฉพาะมาเปอนผาขาวสะอาดจะซักหรือเปลา ก็ตองซักแนนอน ขอน้ีฉันใด ความชอบหรือความไมชอบก็ฉันนั้น ควรแกการขจัดขัดเกลาใหเบา บางลง เพราะวา ธรรมชาติของจิตจริง ๆ เปรยี บประดจุ ผาขาวสะอาดปราศจากความดางดํา แตเพราะ ความชอบหรือความไมชอบนั่นเองเขามาเจือ จึงขุนมัวหมอง จําเปนตองกําจัดกิเลสทั้ง ๒ ตัวน้ี ออกไป เพ่ือเขา ไปสธู รรมชาตทิ ่ขี าวสะอาดนั้น ความจริงธรรมชาตขิ องจิตมีความสะอาดเปนทุนเดิม ดังพระพุทธดาํ รสั วา “ดกู รภิกษทุ ้ังหลาย จติ นีม้ ีธรรมชาติสกุ ใสสะอาด ที่ขุนมัวเพราะอุปกิเลสจรมา เจอื ” ทง้ิ ชอบและไมชอบจงึ กอปรดว ยธรรม โดยธรรมชาติของจิต ทานแสดงตามแนวอภิธรรมไววา ในขณะท่ีจิตตกภวังคหลับสนิทไม เกดิ การปรงุ แตง ใด ๆ จะผองใสอมิ่ ตวั สังเกตไดว าเวลาต่นื ขึ้นมาจะไมหวิ กระหายอะไร ครั้นตื่นจาก ภวงั ค จิตขึ้นสูว ิถที างตา หู จมกู ลิ้น กาย กิเลสภายนอกจะไหลเขา มาทางตา หู จมูก ลิ้น กายน้ัน จิตก็ รับมาปรุงแตงเกิดความขุนมัว หากไมมีกิเลสภายนอกเขามาแทรกซอนหรือเจือจิต จิตก็ไมขุนมัว และอยูในสภาพสะอาดหมดจด ทวาเราไมเห็นสภาพน้ันวา มีความเอิบอิ่มสุขเกษมเพียงใด จึงไม เห็นขอจําเปนวาตองกําจัดความชอบหรือความไมชอบออกไป จนกระทั่งเห็นเปนธรรมชาติอยาง หน่ึงที่ไมควรกําจัด ในทางตรงกันขามกลับจะแสวงหาความสุขความสะใจจากความชอบหรือไม ชอบนั้น แตถามองตามสภาพความเปนจริงดังกลาวมาน้ี จะพบวาความชอบหรือความไมชอบควร แกการกําจัดเปนอยางยิ่ง สวนผลปรากฏหลังจากการกําจัดแลวจะเปนเชนไร ขอใหยกไปเปนเร่ือง เฉพาะตน เมื่อพิจารณาจิตอีกประการหนึ่ง ก็พบพฤติกรรมทางจิตที่มักจะไหลลงสูเบ้ืองตํ่าเหมือน สายน้ําไหลจากเบื้องบนลงสูเบ้ืองลาง เพราะไมไดกําจัดความชอบหรือความไมชอบน่ันเอง จิตจึง ตกไปสูกระแส ๓ ประการน้ี คอื

20 ๑. กามวิตก จิตมักตรึกนึกหนวงไปหากามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสถูกตอง อนั นา ปรารถนานา ใครนา พอใจ กเ็ กิดความทะยานอยาก ๒. พยาบาทวิตก จิตมักตรึกนึกหนวงไปหาอารมณขุนมัววา คนนั้นวาเรา คนโนน กระทบกระทั่งเรา ก็เกดิ ความเคืองแคนพยาบาทอาฆาต ๓ วิหิงสาวิตก จิตมักตรึกนึกคิดจะกระทําตอบทางกาย วาจาตอผูที่ทําใหเจ็บช้ํานํ้าใจ ก็ เกดิ การเบียดเบยี น จิตมักจะไหลไปตามกระแสทั้ง ๓ ประการน้ีอยูบอยคร้ัง กลาวโดยสรุป จิตมักตกไปตาม อารมณท่ีนาปรารถนาและไมนาปรารถนา (อิฏฐาราณและอนิฏฐารมณ) แลวผลักดันใหแสดง พฤติกรรมออกมาทางกาย วาจา ดังน้ันจึงมีความจําเปนท่ีจะตองยกระดับจิตใหสูงขึ้น เพื่ออยูเหนือ อารมณเหลานี้ ดวยการพัฒนาคุณภาพจิตตามแนวสติปฏฐาน ๔ ซ่ึงเปนวิธีการยกระดับจิต โดยเฉพาะ นค้ี อื ความจําเปน ท่จี ะตอ งมาเจรญิ สตปิ ฏ ฐาน ๔ แสดงใหเ หน็ วาเปนสตู รสาํ เรจ็ ถามวา สติปฏฐาน ๔ นี้คืออะไร ขอตอบวา คือหลักการและวิธีการปฏิบัติที่มุงตรงเขา ไปสูความบริสุทธ์ิ ผานพนความเศราโศกพิไรรํ่าครํ่าครวญ บรรลุญาณเห็นมรรคผลนิพพานอยาง แจมแจง หลักการและวิธีการเหลานี้ไดผานการรวบรวมขอมูล พิเคราะหตรวจสอบและสัมฤทธิ์ผล มาแลว มิใชเกิดจากการตรึกนึกคิดต้ังเปนทฤษฎีข้ึนมา เหมือนนักปรัชญาที่ใชกระบวนการทาง เหตุผลมาชั่งนํ้าหนัก แลวบอกวา น้ีคือทฤษฎีกําจัดกิเลส หาไดเปนเชนน้ันไม ดวยวาพระพุทธองค ทรงผานการปฏิบัติตรัสรูแลวตองไปดูรางกายและจิตใจของคนอ่ืน ใหใสใจไตรตรองมองมาท่ีตน อยางเดียว บางคนมาปฏิบัติธรรมก็มาดูคนน้ันมองคนน้ี ข้ึนกุฏิโนนลงกุฏินี้ มิไดช่ือวาปฏิบัติธรรม เลย อาจจะเปนขอเสียหรือขอผิดพลาดของมนุษยท่ีเกิดมาลืมตาดูโลก ไมทอดสายตามาหาตน แต ทอดสายตาไปหาคนอ่ืน มองแตสิ่งรอบขาง จึงเปนเหตุใหเห็นขอผิดพลาดของคนอ่ืนอยูเปนประจํา สวนขอ ผิดพลาดของตัวเองก็ไมเห็น ถึงแมจะสงกระจกดูหนาตาของตน ก็เพียงแตมองรูปเงาเทาน้ัน ไมมองเขา ไปในเบือ้ งลุกสาํ รวจดูขอบกพรองของตนวาควรแกไขอะไรบาง มีแตทอดสายตาออกไป มองคนอ่ืน ดวยเหตนุ จ้ี ึงเหน็ โทษของคนอน่ื วา ใหญหลวง ดงั บทกวีวา โทษผูอ ืน่ และเห็นเปนภเู ขา โทษของเราแลไมเ หน็ เทาเสนขน ตดคนอืน่ เหม็นเบอ่ื เราเหลอื ทน ตดของตนถึงเหม็นไมเ ปน ไรฯ การไมหันกลับมามองตัวสํารวจตนจึงไมเห็นขอบกพรองของตน และไมรูวาจะปรับปรุง แกไ ขอยางไร ในทางตรงกันขา ม กลับหาทางไปปรับปรงุ แกไ ขคนอื่น ดงั เรอื่ งหน่งึ เปน ตัวอยา ง

21 มีสาม-ี ภรรยาอยคู ูหนงึ่ อยูก นิ กนั มานานหลายป อยูมาวนั หน่ึง สามเี รม่ิ สงสัยภรรยาของตน วาหูตึง คร้ันจะถามวา “เธอหูตึงจริงหรือเปลา” ก็กลัววาเธอจะอายโกรธเอา จึงตัดสินใจไปปรึกษา แพทย แพทยไ ดแนะนําวิธีทดลองวาภรรยาหตู ึงจริงหรือไมใ หแกเขา เมื่อเขาไดวิธีทดลองจากแพทย แลวกเ็ ดินทางกลบั ทนั ทีที่ถงึ หนาบา น ก็ตะโกนถามดัง ๆ วา “น่เี ธอ วันนท้ี ําอะไรทานบา ง” ปรากฏวาเงยี บ ไมไ ดยนิ เสียงตอบจากภรรยา เขาเดินเขาไปภายในบา น ถามเสยี งดงั ๆ วา “นี่เธอ วันน้มี ีอะไรทานบาง” เงยี บ ไมไดย ินเสยี งตอบจากภรรยา เขาเดินเขาไปที่หองครวั ยืนอยูหนาประตูเห็นภรรยายืน หนั หลังกาํ ลังทํากับขา วอยู ถามเสียงดงั ๆ เปนครั้งท่สี ามวา “นเ่ี ธอ วันนีท้ าํ อะไรทานบางฮ”ึ เงยี บอีก เขารสู ึกสงสารภรรยาจบั ใจ “โถ แฟนของเราหตู งึ แน ๆ ไมน าเลย” จึงเดนิ เขา ไปสวมกอดขางหลงั ดวยความสงสารพรอ มกบั ถามที่หูของเธอวา “เธอ วนั นี้ ทาํ อะไรทานบางละ ถามต้ังหลายครง้ั ไมเห็นตอบเลย” ภรรยาหนั ขวับมาทันที ตอบดว ยหนาดุ ๆ เสียงดงั ๆ วา “น่คี ุณ ชั้นตอบคณุ ตั้ง ๓ ครัง้ แลวนะ หูตึงไมไ ดย นิ หรือไง” “อาวเหรอ” สามรี องอาวยืนตะลึง สรุปวา ใครหูตงึ กันแน เรามักจะมองไมเห็นขอบกพรองของตนเลย เม่ือมีขอบกพรองบางประการเกิดข้ึน ก็มักจะ ต้ังขอสงสัยคนอื่นเปนอันดับแรก ไมคิดจะสงสัยตัวเอง หรือแมแตเกิดความผิดพลาดขึ้นมาจริง ๆ ก็ ไมโ ทษตวั เอง กลบั ไปโทษเทวดาฟา ดนิ ดาโนน วา นี่ ดังนั้น ควรหันกลับมาดูตัวเอง มาดูขอบกพรองของตน คนอ่ืนจะเปนอยางไรเรื่องของเขา แตเรอ่ื งของเราใหเ ฝามองดู ดังบทกววี า อยา มวั มุงหมายมองเร่อื งของเขา เร่อื งของเราทาํ ไมไมข วนขวาย แกทเ่ี ราทพี่ รอ งอยูอยา ดดู าย เปนเปา หมายเชยี วนะอยาละเลยฯ ใหกลับมาดูรูป-นามคือรางกายและจิตใจของเรา วามีนิสัยใจคออยางไร เปนคนเจาอารมณ ฉนุ เฉยี วเกรย้ี วกราดหรือสุขมุ เยือกเย็น การปฏบิ ัตวิ ปิ ส สนากรรมฐานก็อยูตรงน้ีน่ีเอง

22 ท้งิ อดีต ตัดอนาคต กาํ หนดปจจุบัน การปฏิบัติวิปสสนากรรมฐาน จําเปนตองมีหลักปฏิบัติ หลักท่ีจะกลาวนี้ถือวาเปนจุดเดน จุดสําคัญ ผูปฏิบัติจะตองอยูตรงจุดนี้ ถาไมตรงจุดจะปฏิบัติไมถูกตามสติปฏฐาน น่ันคือปจจุบัน ไมใชอดีตและอนาคต อดีตเปนเพียงภาพพจน อนาคตเปนเพียงความฝน แตปจจุบันคือความจริง ใหมาอยูกับปจจุบันอันเปนจุดก่ึงกลางระหวางอดีตและอนาคต อะไรที่ลวงไปแลวก็ขอใหลวงไป อะไรท่ีมาไมถึงก็ยังไมมาถึง อยาไปปริวิตกกังวล ขณะน้ีบานชองหองหอจะเปนอยางไร จะคิด ขนาดไหน หรือเปนหวงเพียงใด ก็ไมสามารถไปทําอะไรได เพราะเรายังอยูที่นี่ตรงนี้ ก็ใหมาอยูท่ีนี่ ตรงน้ีเทานั้น อยูกับยืนเดินนั่งท่ีกําลังปรากฏในแตละชวง เชน ขวายางหนอ ซายยางหนอ อยูกับ อาการท่ีกําลังเคลื่อนไหว ใหจับที่กิริยาอาการซ่ึงกําลังเปนไปในแตละชวงอยางไมคลาดเคลื่อน อุปมาเหมือนแมวจับหนู หนูวิ่งมาแมวจะตองจับไดอยางเหมาะเจาะ หนูเปรียบเหมือนตัวสภาวะ หรือกิริยาอาการตาง ๆ ของรูป-นามที่เกิดปรากฏการณข้ึนมา แมวเปรียบเหมือนผูปฏิบัติจะตองจับ ตัวสภาวะหรือกิริยาอาการนั้น ๆ ไดอยางพอเหมาะพอดี ถาหนูวิ่งไปแลวแมวจับทีหลังก็ไมไดหนู กลายเปนอดีตไป ถาแมววิ่งตะครุบจับกอนก็ไมไดหนูอีก ยังเปนอนาคต ตองตะครุบจับไมกอนไม หลัง จับปุบไดปบ จึงจะเปนปจจุบัน อารมณท่ีผานไปแลวกําหนดทีหลัง หรืออารมณท่ียังไมมาถึง แตกําหนดกอนก็ไมตรงกับปจจุบันอารมณ ตองกําหนดใหทันพอดิบพอดี อารมณใดทันถือวาดี ไม ทันก็ทิ้งไปไมเสียดาย กําหนดตามอาการที่ปรากฏ อาการที่ปรากฏชัดก็กําหนดตามท่ีปรากฏชัด อาการท่ีปรากฏไมชัดก็กําหนดตามที่ปรากฏไมชัด แตถาอาการทั้ง ๒ อยางเกิดปรากฏพรอม ๆ กัน เทาๆ กัน เชน ท่ีขาก็เกิดอาการชา ท่ีหนาผากก็เกิดอาการคัน จะทําอยางไร ผูปฏิบัติเกิดความลังเล สงสัยไมแนใจวาจะเลือกอาการใดดี ใหกําหนดวา “สงสัยหนอ หรือ ลังเลหนอ” กอน ความสงสัย (วิจิกิจฉา) หายไป อาการทั้ง ๒ อยางยังปรากฏเหมือนเดิน ใหกําหนดวา “รูหนอ” คลุมท้ัง ๒ อาการนัน้ เปรยี บเหมอื นเอาสุม ไปสวมลงจบั ปลา มปี ลาอยูภ ายในสุม ๒ ตัว ตัวใดโผลขึ้นมาก็จับตัว น้ัน อาการใดปรากฏชดั กก็ ําหนดอาการนัน้ เชน อาการชาทขี่ าชดั เจนกวา กก็ าํ หนดอาการชานนั้ เร็วไวไปไมถ งึ จงึ ตอ งชา ตอมาผูปฏิบัติจะตองทํากิริยาเหมือนแมวจับหนู แมวท่ีไปจับหนูถาบุมบามรีบว่ิงเขาไปหา หนู หนูก็รูตัวทัน รีบหลบหนีไป แตถาแมวคอย ๆ ยองเบาเขาไปหาไมใหหนูรูตัว เขาไปใกล ๆ ตะครุบปบจับทันที หนูก็ว่ิงหลบไปไมทัน ผูปฏิบัติก็เชนกันตองคอย ๆ คอยเปนคอยไปใจเย็น ๆ อยา ใจรอน เดินก็ตองชา ลงกวาการเดนิ ตามปกติ หากเดนิ เร็วไปจะไมท ันอาการจบั สภาวะไมได ดว ย ความจําเปนดังกลาวจึงตองทําใหชาลงเพื่อจับกิริยาอาการไดทัน มีเหตุที่จะตองทําชาอยู ๔ ประการ คอื ๑. ขึ้นภูเขา ตอ งข้ึนชา ๆ อยารีบวิ่งข้ึนไปจะหอบเหนด็ เหนอ่ื ย

23 ๒. รบั ประทานอาหาร ตองคอย ๆ ทาน อยา ตะกรมุ ตะกรามมูมมาม ขา วจะตดิ คอ ๓, เรียนหนงั สือ ตองคอยอานคอยเขียนเรียนศึกษา หม่ันทบทวน คอย ๆ เก็บความรู มิใช รบี อา นใหจบภายในวนั เดียว สมองรับไมทันจะเกิดอาการตึงเครยี ด ๔. บําเพ็ญสมณธรรม ตองคอย ๆ กระทําบําเพ็ญ อยาทําเร็วดวยอาการรีบเรง ทําชา ๆ ดู กิรยิ าอาการตามทป่ี รากฏ เหมือนเราปลกู ตนไมใหม ๆ ตองคอย ๆ รดน้ําพรวนดิน ตนไมก็จะคอย ๆ เจริญเติบโตแตกกิ่งกานสาขาผลิดอกออกผล แตถาใจรอนรีบโหมกระหนํ่ารดน้ําพรวนดินจนเกิน ปรมิ าณ ตน ไมจะไมโตแตจ ะตาย เชนกัน ตองคอ ยเปนคอยไปในชวงเริ่มแรก หรือแมแตผูปฏิบัติเกา รูวิธีการปฏิบัติแลวก็ตาม ก็ตองคอยเปนคอยไป เพิ่มระยะเวลาของการปฏิบัติไปตามเวลาอันควร มี เร่ืองหน่งึ จะเลา ประกอบเปน เร่อื งสุดทา ย ในอดีตกาลมีพระราชาพระองคหน่ึงยังทรงหนุมแนน ไมมีพระมเหสี ทรงครํ่าเครงกับการ บําเพ็ญพระราชกรณียกิจ จนบางคร้ังเกิดอาการตึงเครียด เหลาอํามาตยขาราชบริพารตางก็เปนหวง เกรงวา พระองคจ ะทรงงานหนกั ไป จงึ พากนั ไปเขาเฝา กราบทลู วา “ขาแตสมมติเทพ ขอพระองคทรงมีพระมเหสีเถิด จะไดเปนคูพระทัยเพื่อคอยผอนหนัก ผอนเบาในพระราชกรณยี กิจ” พระราชาตรัสตอบวา “ถาพวกทานประสงคจะใหเรามีพระมเหสีเราก็จะมี แตวาเราจะตอง เฟนหาสตรีที่มีภูมิปญญามากพอมาเปนคูพระทัยของเรา ทานทั้งหลายจงไปปาวประกาศท่ัวพระ ราชอาณาจักร รับสมัครสตรีมาตอบปญหา ๓ ขอ สตรีนางใดสามารถตอบปญหาไดทั้ง ๓ ขอ เราจะ ยกยอ งแตงตง้ั ใหเ ปน พระมเหสี แตถ า ตอบไมไ ดจ ะถกู ประหารชวี ิต พวกอํามาตยขาราชบริพารรับพระราชโองการแลวก็ออกไปประกาศท่ัวพระราชอาณาจักร เปนเวลารวมเดือนไมมีสตรีนางใดกลามาสมัครตอบปญหาของพระราชาเลย เพราะกลัววาจะถูก ประหารชวี ติ ลวงไปอกี เปนเวลานานพอสมควร มหี ญงิ ชราคนหนึ่งแกมาก ผมหงอกขาวโพลน เน้ือ หนังเห่ียวยน หลังคอม ถือไมเทาจั้ก ๆ ยักแยยักยันเดินเขามาหาเจาหนาที่รับสมัคร เจาหนาท่ีก็ถาม วา “ยาย มาทาํ อะไรที่นี”่ “ยายจะมาตอบปญหานะ ” “อา ว ยายทาํ ไมถึงมาตอบปญหา” “ก็ยายอยากจะเปนพระมเหสีนะ ” “ยายรหู รอื เปลา ถา ตอบไมไ ดนี่ ถูกประหารชวี ติ เชียวนะ” “ไมเปนไร ๆ ยายแกมากจะเขาโลกอยแู ลว จะตายกไ็ มเ ปนไรหรอก” หญงิ ชราดงึ ดนั จะตอบปญ หาใหไ ด เจา หนาท่ีพากันทดั ทานอยา งไรก็เอาไมอ ยู “เอา เปน ไงเปนกัน ตอบก็ตอบ เขา ไปพบพระราชากแ็ ลว กนั ”

24 เจาหนาที่พาหญิงชรานั้นเขาไปเฝาพระราชา ณ หองสวนพระองค พระราชาทอดพระเนตร เหน็ กต็ กพระทัย “อา ว ยายมาทําไมน”ี่ “ยายมาตอบปญหา” “ทําไมถึงอยากตอบปญหาละ ” “กอ็ ยากมีผวั หนุมนะ เหน็ พระองคทรงหนมุ แนนอยากไดเ ปน สามี” “ขนาดน้ันเชียว ยายนี่ชักจะไมเจียมสังขารละกระมัง รูหรือเปลาถาตอบไมไดจะถูก ประหารชีวติ นะ” “รู ๆ แตไมเ ปนไรหรอก ยายแกม ากแลวจะตายกไ็ มเ ปนไร” “ปญหาของเรายากนะ จะตอบไดห รอื ” “จะยากขนาดไหนเชียว พระองคแนพระทัยแลวหรือท่ีจะทรงถามปญหานะ เดี๋ยวจะเสีย พระทัยในภายหลงั ยายมีปญ ญามากนะจะบอกให” “กเ็ ลยอยแู กแ ดดแกล ม หาผัวไมไดล ะส”ิ “เพราะรอพระองคอ ยูน่ีแหละ” “เออ ยายนี่ แกไมอ ยสู ว นแกจ รงิ ๆ เอาละเราจะถามเตรยี มตัวเตรยี มใจตอบใหด ี” พระราชาทรงถามวา “อะไรท่ีแนน อน อะไรท่ีจวนจะแนนอน อะไรทไี่ มแ นน อน” หญิงชราไดฟง คาํ ถามแลว ก็นิง่ อึง้ หนา เศราสลดลงทันใด พระราชาไดทเี ยาะเยย “เห็นมย้ั ละ วา แลว ไมฟ ง แกไมอยสู วนแก ไมรูจักเจียมสังขาร เศราละสิคราวน้ี กลัวตายละ สิทา ไหนวา มีปญญาไง” หญงิ ชรายิม้ กวา ง หัวเราะ พดู วา “จะไดผ ัวหนุม กค็ ราวน้แี หละ” หญิงชราตอบวา “ทแ่ี นนอน คืออดีต ทจ่ี วนจะแนน อน คือปจ จุบนั ทไ่ี มแนน อน คอื อนาคต” จรงิ หรอื ไม อดตี ทผ่ี านมาเราไดท าํ สิง่ ใดลงไป ส่งิ นน้ั ก็แนนอน กรรมดเี ปน กรรมดี กรรมชวั่ เปนกรรมช่ัว แกไขอะไรไมได ปจจุบันจวนจะแนนอน ทําปุบก็แนนอนปบ กลายเปนอดีตไปทันที ที่ไมแนนอนคืออนาคต เราคิดไววาพรุงน้ีจะทําสิ่งน้ัน ครั้นถึงเวลาจริง ๆ อาจจะไมไดทํา หรือ อาจจะตายวันตายพรุงก็เปนได อดีตน้ันแนนอน ปจจุบันน้ีจวนจะแนนอน อนาคตโนนไมแนนอน อดีตและอนาคตเราจึงหมดสิทธิ์ มีสิทธิ์เฉพาะท่ีปจจุบันนี้เทานั้น ดังนั้นมาอยูกับปจจุบันทําใหดี ท่สี ุด หากปจจุบันดี อดตี กด็ หี มด อนาคตจะลงตัว หญิงชราตอบไดถูกตองตรงประเด็น พระราชาทรงจองมองดวยความฉงน หญิงชรายิ้ม อยางยียวน

25 “บอกแลว อยา ดถู ูกยาย พระองคยังเปลยี่ นพระทยั ทันนะ อีก ๒ ขอน่นั นะไมถ ามกไ็ ด” “อยาทาทายเรายาย อยาเพ่ิงไดใจไป ปญหา ๒ ขอหลังนี้ยากกวาขอแรกนะ ถาตอบไมไดก็ ตองถูกประหารชีวิต ไมย กเวน หรอก” พระราชาทรงถามปญหาขอที่ ๒ วา “อะไรมัน่ คงกเ็ พราะคน ไมมั่นคงก็เพราะคน ไมม ีในสตั วเดรัจฉานท้งั หลาย” หญิงชราฟงปญ หาแลว กต็ ีหนา เศรา นั่งซึม “น่นั อยางไร วา แลว อยา เพ่งิ ไดใ จ ตอบไมไดหรอกขอนี้ ยอมแพเ ถอะ” พระราชาดพี ระทยั “สญั ญาและสจั จะ” หญิงชราตอบอยา งมั่นใจ จริงอยางนั้น สัญญาและสัจจะน้ีจะม่ันคงก็เพราะคน ไมมั่นคงก็เพราะคน ถาเราไปกูหนี้ยืม สินทําสัญญากันไว รักษาสัญญาก็ม่ันคงไมรักษาก็ไมมั่นคง สัจจะก็เหมือนกัน จะมีสัจจะหรือไมก็ ขึ้นอยูกับการรักษา สัตวเดรัจฉานไมเคยมาทําสัญญิงสัญญาตอกันและไมรูจักสัจจะ แตคนรูจัก สัญญาและสัจจะ ดังน้ันเราทานท้ังหลายเขามาปฏิบัติจึงควรมีสัจจะตอตนเองวาเราไดสละเวลามา ปฏิบัติก็ควรตั้งใจปฏิบัติ ตั้งใจวาจะเดินจงกรม ๓๐ นาที หรือ ๔๕ นาที ก็ทําใหไดตามน้ัน อยา หาทางหลบเลี่ยง เดินไดสักพัก เดี๋ยวไปเดินนอกศาลาดีกวา เดินขางนอกไดสักพัก เดี๋ยวเดินไปชม สํานักดีกวา เดินชมสํานกั แลว ออกไปนอกสํานักทาจะดี เลยออกจากการปฏบิ ัติ ถอื วา ไมร ักษาสัจจะ เราตงั้ ใจวา จะต่นื กต็ อ งต่ืน ตัง้ ใจวาจะเดนิ กต็ อ งเดิน อยา หลบเลีย่ ง ครั้งหนึง่ หลบไดค รัง้ สองก็ตามมา ๒ ขอหญิงชราตอบไดถูกตอง เหลืออีกหนึ่งขอสุดทาย พระราชาชักพระทัยแปว ถายายแก หนังเหีย่ วนตี่ อบปญหาไดอกี เราไมล ําบากแยหรือ พระราชายงั ตรสั ขวู า “ขอสุดทายตอบไมไดก็ตองถูกประหารชีวิตนะ ไมใช ๒ ใน ๓ ก็จะชนะ ตองถูกต้ัง ๓ ขอ จึงจะรอด” “พระองคไ มเปลี่ยนพระทยั แนนะ” หญิงชราแสรา งกระเชา “เออนะ ไมเปลยี่ นหรอก เปน อยางไรเปนกนั ” พระราชาทรงถามปญหาขอท่ี ๓ วา “อะไรจบั ไมได ขงั กไ็ มไ ด” หญงิ ชราไดย ินคําถามแลวก็ยิ้มรา หวั เราะลั่น “ไดผ ัวหนมุ คราวนีจ้ ริง ๆ ดว ย คือ จิต” ถูกตามที่หญิงชราตอบ จิตเปนนามธรรมจับตองสัมผัสไมได เพราะไมมีรูปพรรณสัณฐาน อสรีรํ ไรทรวดทรงองครูป เอกจรํ ทองเท่ียวไปตามลําพังเพียงหนึ่งเดียว ทุกรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ รักษา ยากหา มไดย าก เรามาปฏิบัติเดินน่ัง เด๋ียวมันก็แวบไปโนนเด๋ียวก็แวบมานี่ คิดเรื่องน้ียังไมเสร็จเรื่อง นั้นก็เขามา พองหนอยังไมทันยุบก็คิด ยุบหนอยังไมทันพองก็คิด ผูปฏิบัติใหมตองคอย ๆ กําหนด จติ วา “คดิ หนอ ๆ” ในเยน็ ๆ กําหนดทันก็ดีไมทันก็ท้ิงไป อยาไปบังคับจับใหอยูกับท่ีอยางเด็ดขาด เพราะย่งิ บังคับยิง่ ดน้ิ รน ปลอยไปตามธรรมชาติและกําหนดดูเทา น้นั

26 ๓ ขอปรากฏวาหญิงชราตอบไดถูกตองทุกประการ พระราชาทรงจองมองหญิงชราท่ีสอ แววตาอยา งยยี วนน้ันดวยความไมพ อพระทัย ตายแลวเราจะมีพระมเหสีทั้งทีคราวยายคราวยาไมอับ อายขายหนาประชาราษฎรหรือ ทรงอดกล้ันไวไมไหว ชักดาบออกมาฟนไปที่คอของหญิงชราน้ัน ทันที หญิงชรากมลงหลบทัน เพราะคนนี้เปนนางเอกตายไมได ดาบไปถูกผมของนาง ผมเผาที่ขาว โพลนพรอ มหนากากทเ่ี หี่ยวยนหลดุ กระเด็นออกไปทนั ที ปรากฏเปนดวงหนาใหม แทจริงหญิงชรา เปนหญิงดรุณีท่ีปลอมตัวมา เปนสตรีที่สวยงามมาก วงหนาขาวผองเปนยองใย คิ้วโกงดังวง พระจันทร ดวงตากลมโตดังตาเนือ้ จมกู โดง คม รมิ ฝปากบางจม้ิ ลม้ิ พระราชาทรงจองมองดวยความ ตกตะลงึ หญงิ สาวตอ วาพระราชา “พระองคผ ิดสญั ญา ไมรกั ษาสัจจะ” รบี ผละหนี พระราชากร็ บี ควา แขนจบั ไว พรอ มตรสั วา “กอ สัญญาและสัจจะนั้นม่ันคงก็เพราะคนไมมั่นคงก็เพราะคนน่ีนา เปล่ียนแปลงไดมิใช หรอื ” ไมท ราบวา หญิงสาวจะยอมรบั พระราชาหรือเปลา เร่อื งนี้กจ็ บเพยี งเทา นี้ พระธรรมเทศนาในวันนี้ไดแสดงถึงหลักการและวิธีการของการปฏิบัติตามสติปฏฐาน ๔ วามีอะไรบาง สติปฏฐาน ๔ กลาวไดวาเปนสูตรสําเร็จทางการปฏิบัติที่พระพุทธเจาตรัสรับรองไว หากผูใดสามารถปฏิบัติตามหลักการและวิธีการดังกลาวน้ี จะเกิดผลดีทางการปฏิบัติ และหากเหตุ ปจจัยของการปฏิบัติเต็มพรอมบริบูรณ ก็จะบรรลุมรรคผลนิพพาน ดวยวาพระพุทธเจาทุกพระองค รวมท้ังพระอรหันตสาวกท้ังหลายไดบรรลุมรรคผลนิพพานดวยการเจริญสติปฏฐาน ๔ น้ี ดังบท คาถาที่อาตมภาพไดย กขนึ้ เปน นิกเขปบทในเบ้ืองตน วา เยเนว ยนฺติ นิพฺพานํ พุทฺธา เตสฺจ สาวกา เอกายเนว มคฺเคน สตปิ ฏฐานสญฺ นิ าฯ พระพุทธเจาและพระสาวกทั้งหลายเขา สูพ ระนพิ พานดวยทางสายเอก คือสติปฏ ฐาน ๔ฯ ดังแสดงพระธรรมเทศนามาก็สมควรแกก าลเวลา ขอยตุ ลิ งปลงไวแตเพียงเทานี้ เอวํ ก็มีดวย ประการฉะนี้

27 กัณฑท ่ี ๓ กายานปุ ส สนากถา ถาทาํ เร็ว ๆ จะจบั กริ ิยาอาการของรูป – นามท่ีเคล่ือนท่ีเคล่ือนยายไปไมทัน จึงตองทําชาลง เพ่ือจับกิริยาอากาน้ัน ๆ ไดทวงทัน อุปมาเหมือนการขับรถ สมมติวาเราขับรถไปบนทองถนนท่ี ปลอดจากรถคันอ่ืน ๆ วิ่งสวนมา สามารถเรงความเร็วในอัตรา ๑๒๐ – ๑๓๐ ไดอยางสบาย ๆ ขณะนั้นหันไปดูส่ิงรอบขางใกล ๆ พบวาเลื่อนไหลไปโดยเร็ว เห็นไมชัดวาอะไรคืออะไร แตถาขับ รถไปชมววิ ทวิ ทัศนจะขบั อยางไร จะตองขับใหชาลงเพ่ือเห็นวิวทิวทัศนไดอยางชัด ๆ ถามวาขับเร็ว เห็นวิวทิวทัศนหรือเปลา ตอบวาเห็นแตไมชัด ฉันใด ในการปฏิบัติก็ฉันน้ัน หากผูปฏิบัติอยูใน อาการรบี เรงไมท าํ ชา ๆ จะเห็นกิรยิ าอาการของรูป – นามไดไมชดั เจน นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ธฺ สสฺ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมพฺ ทุ ธฺ สสฺ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพทุ ฺธสสฺ กาเย กายานปุ สฺสี วิหรติ อาตาป สติมา สมฺปชาโน วเิ นยฺย โลเก อภชิ ฌฺ าโทมนสสฺ นติ ฯ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักไดแสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาถึงกายานุปสสนากถา วาการ กําหนดดูกาย เพื่อเปนเครื่องเจริญศรัทธา เพิ่มพูนปญญาบารมี ใหแกทานสาธุชนคนดี โยคีและ โยคนิ ี ท้ังท่เี ปนคฤหัสถแ ละบรรพชติ ตามคัมภรี ท างพระพทุ ธศาสนากลาววา วปิ ส สนากรรมฐานเปนแกนพุทธศาสน มิใชเปลือก กระพี้ หรือเน้ือ หากแตคือสภาพความจริงท่ีเปนแกนแท ซึ่งจะตองเขาไปมีประสบการณสัมผัสจาก การปฏบิ ตั ติ รง ๆ โดยปราศจากการนกึ โนมคิดพจิ ารณาวิเคราะหวิจารณต ามกระบวนการของเหตผุ ล (Reasoning) กอนเขาสูเนื้อหาของวิปสสนากรรมฐานเริ่มจากกายานุปสสนาวาดวยการกําหนดกายตาม รายละเอียดตาง ๆ ควรมาทําความเขาใจในเบ้ืองตนเก่ียวกับกรรมฐานสายนี้วามีชื่อเรียกอยางไร มี อะไรเปนอารมณสําหรับปฏิบัติ ตามท่ีเรียกกันโดยท่ัวไปดวยช่ือแบบไทย ๆ วา “สายพองหนอ-ยุบ หนอ” เปนช่ือท่ีคุนเคยในกลุมของผูปฏิบัติ สวนช่ือจริงที่ปรากฏในคัมภีรทางพระพุทธศาสนา เรียกวา ยุคนัทธสมถวิปสสนา คือสายสมถะและวิปสสนาคูกัน เน่ืองจากกรรมฐานสายน้ีไดนํา บัญญัติมาเปนองคประกอบกับการกําหนดปรมัตถ เรียกวา “กําหนดอารมณบัญญัติพรอมดวย กําหนดอารมณปรมัตถ” บัญญัติ คือถอยภาษาคํากําหนด ปรมัตถ คือสภาพความจริงที่เปนกิริยา

28 อาการหรือปรากฏการณทางกายและจิต ใหใชคํากําหนดน้ันประกอบรวมกับกิริยาอาการ เชน ในขณะที่ผูปฏิบัติยก ยาง เหยียบ ก็มีคํากําหนดสําทับหรือประกอบรวมกับอาการที่กําลังยก ยาง เหยียบน้ันวา “ยกหนอ” “ยางหนอ” “เหยียบหนอ” หรือทองที่กําลังพอง-ยุบก็มีคํากําหนดควบคู ไปพรอมกันวา “พองหนอ” “ยุบหนอ” ซึ่งเปนการปฏิบัติควบคูกันระหวางสมถกรรมฐานและ วิปสสนากรรมฐาน จึงไดชื่อวา ยุคนัทธสมถวิปสสนา ตอเม่ือผูปฏิบัติเกิดผลทางการปฏิบัติเจริญ รุดหนา ไปในระดับหนึ่ง บัญญัติจึงคอย ๆ ถอยรนตีตัวออกหาง ปรมัตถจะตีตื้นขึ้นมาปรากฏเดนชัด มีเพียงกิริยาอาการลวน ๆ เปนอารมณ และแลวก็ไดชื่อวา สุทธวิปสสนายานิก มีวิปสสนาลวน ๆ เปน ยานพาหนะ ชาวพมาวา “แด” แตชาวไทยวา “หนอ” ทวามีคํา ๆ หน่ึงซ่ึงถือวาเปนคําท่ีไมมีอยูในกิริยาอาการน้ันเลย กิริยาอาการน้ัน ๆ มิไดบงช้ี วามีคํานี้อยู เปนการบัญญัติคําที่ไมตรงกับความจริง แตกลับมีคํา ๆ น้ีประกอบกับคํากําหนดทุก ๆ คร้ัง เปนเหตุใหผูปฏิบัติใหมเกิดความฉงนฉงายวา เหตุใดตองมีคํานี้ดวย ไมมีไมไดหรือ น่ันคือคํา วา “หนอ” เม่ือกาํ หนดวาหนอหนอและหนอ เหมือนตดั พอเพอบน ฟงหมน หมอง แตฟ ง ดูดดี มี ที าํ นอง นา จะมองหาทีม่ าพาไปยล คาํ วา “หนอ” ขอ นั้นสาํ คัญหรือ หนอน้นั คืออะไรไฉนฉงน มมี าแตคราไหนในผองชน ยังสบั สนวกวนนาสนใจ “อญญาสิ วต โภ โกณฑฺ ฺโญ” พระพุทโธทรงรชู ดั จงึ ตรสั ไว อุทานเปลงเลง็ แลเพราะแนใ จ ครงั้ แรกใหม ีหนอพอไดยิน “อนิจฺจา วต สงขฺ ารา” ปลงอนจิ จาวาหนอตอทั้งสิน้ โอ...ชีวาของคนเดินบนดิน เกิดดบั สน้ิ เสอ่ื มเหน็ เปน ธรรมดา “อจริ ํ วตยํ กาโย” ชวี ิตโธไมแ นเปล่ียนแปรผวา ตองถกู ถมทับดินสิน้ กายา คร้นั ถูกคราวญิ ญาณตองซานซม ทมี่ าของ “หนอ” พอใจหอื ไมครับ ทุกทานรบั ฟง ไวไมข ืน่ ขม “หนอ” มคี า ทานวาชา งนา ชม “หนอ” ตรอมตรมมบี า งบางเวลา วปิ ส สนาวา “หนอ” อยาทอ แท กําหนดแนย อมเห็นเปนหรรษา มี “หนอ” ตอ ตดิ ไปในชีวา จะนําพาพนทกุ ขพบสุขเอยฯ ดังกลาวมานี้คือท่ีมาของคําวา “หนอ” ดังปรากฏหลักฐานตามคัมภีรทางพระพุทธศาสนา หลายแหง เร่ิมแรกพระพุทธองคทรงทราบวาโกณฑัญญะไดดวงตาเห็นธรรมจึงเปลงอุทานวา “อญญาสิ วต โภ โกณฺฑฺโญ โกณฑัญญะไดรูแลวหนอ” เพื่อใหถูกตองตามพระพุทธดํารัส กรรมฐานสายน้จี งึ นําคําวา “วต” ซงึ่ แปลวา “หนอ” นั้นมาประกอบกบั การกําหนด

29 กลาวถึงตนตํารับของกรรมฐานนี้ ที่ไดกอต้ังเปนสํานักสืบทอดกันมาอยางมั่นคง คือสํานัก สาสนยิตสา ของมหาสี สะยาดอร (โสภณมหาเถระ) ท่ีนครยางกุงแหงประเทศพมา ไดใชคําวา “แด” แปลวา “รู” เขามาพวงทายกับคํากําหนดทุก ๆ คํา เปนตนวา พองแด เพงแด จัวะแด รันแด ชะแด คือพองหนอ ยบุ หนอ ยกหนอ ยา งหนอ เหยยี บหนอน่นั เอง ประวตั คิ วามเปน มานา สนใจ ขอเลาประวัติความเปนมาของกรรมฐานสายนี้โดยสังเขปวามาสูประเทศไทยนี้ไดอยางไร จงึ ไดปฏิบตั กิ ันมาตราบเทาปจ จบุ นั ยอ นหลงั ไปประมาณ ๔๐ กวา ปทผ่ี านมา พระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถระ) สังฆมนตรี วาการปกครอง (ตอมาดํารงตําแหนงเปนสมเด็จพระพุฒาจารย) ไดเดินทางไปดูการพระศาสนาท่ี ประเทศพมา เหน็ พระภกิ ษุชาวพมา จาํ นวนมากพากันรา่ํ เรยี นพระปริยตั ธิ รรมกันอยางเปนล่ําเปนสัน และปฏิบัติวิปสสนากรรมฐานกันอยางเขมขน โดยเฉพาะวิปสสนากรรมฐาน ซ่ึงเปนการปฏิบัติ สอดคลองกับคัมภีรทางพระพุทธศาสนา จึงมีความประสงคจะนํามาเผยแผในประเทศไทย เมื่อ เดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแลวก็ไดทําการสงพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมีอุปนิสัยทางธรรม คือ พระ มหาโชดก ญาณสทิ ธฺ ิ (ตอมาดํารงสมณศักดิเ์ ปน พระราชาคณะชนั้ ธรรมนามวา พระธรรมธีรราชมหา มุนี) ใหไปปฏิบัติที่สํานักวิปสสนาสาสนยิตสา ณ นครยางกุง โดยมีพระอาจารยภัททันตะ อาสภ เถระ เปนผูสอบอารมณ ใชเวลาประมาณ ๓ เดือน พระมหาโชดก ญาณสิทธิ สามารถผาน กระบวนการปฏิบัติและเรียนวิธีสอบอารมณ (วิชาครู) หลังจากเสร็จภารกิจการปฏิบัติและเรียนรู หลกั การและวธิ กี ารตา ง ๆ แลว ไดอยดู กู จิ การปฏบิ ัตแิ ละเรยี นรูหลักการและวธิ ีการตา ง ๆ แลวไดอยู ดูกิจพระศาสนาในประเทศพมาจนเปนที่พอใจ จึงเดินทางกลับพรอมพระวิปสสนาจารยและพระ อาจารยผูทรงอภิธรรม ๒ รูป คือ พระภัททันตะ อาสภเถระ และพระสัทธัมมโชติกะ ในนามของ พระโสภณมหาเถระ และคณะรัฐบาลอูนุแหงประเทศพมามาสูประเทศไทย ดวยการอาราธนาของ คณะสงฆไ ทยโดย พระพิมลธรรม และ ฯพณฯ สญั ญา ธรรมศกั ด์ิ เมื่อมาอยูเมืองไทย พํานักอยูที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ กรุงเทพมหานคร เร่ิมจะทําการ สอนกรรมฐานสายนี้ พระอาจารยภ ทั ทนั ตะและพระมหาโชดก ก็ปรึกษาหารือกนั วา ภาษาพมา ใชค ํา วา “แด” ประกอบกับคํากําหนดทกุ คํา ภาษาไทยควรใชคําพูดใดจึงจะเหมาะสม เห็นคําวา “หนอ” แปลมาจากคําวา “วต” เปนคําท่ีเหมาะสม จึงตกลงนําคําวา “วต” ซ่ึงแปลวา “หนอ” นั้น มา ประกอบกบั คาํ กาํ หนดทกุ ๆ คํา และไดทําการสอนวิปสสนากรรมฐานต้ังแตกาลน้ันเปนตนมา ดวย การอุปถมั ภของพระพิมลธรรม การวิปส สนาจึงถึงความเจริญรุงเรือง สมเด็จยา พระศรีนครินทราบ รมราชชนนี ไดทรงสดบั ขา ว กเ็ สด็จมาปฏิบตั ิ โดยมีพระมหาโชดก เปน องคพ ระวปิ ส สนาจารย และ เศรษฐีคฤหบดผี มู ฐี านะทางสังคม เชน ทา นผหู ญิงดิษฐการภกั ดี (สายหยุด บณุ ยรัตพันธุ) ก็มาปฏบิ ัติ

30 จนไดเขียนหนังสือเลมหนึ่งออกมา คือ “ปรากฏการณอันนาพิศวงทางจิต” กลาวไดวาในกาลนั้น เปน ยุคทองของกรรมฐานสายนี้ “หนอ” คํานม้ี คี วามหมาย มีพระภิกษุรูปหน่ึงอยูที่วัดมหาธาตุเห็นพระเณรมากหลายท้ังญาติโยมก็ลนหลามมา รวมกลุมปฏิบัตกิ ัน สงสยั วา ปฏิบตั อิ ะไร ครั้นรวู าปฏิบัติวิปสสนากรรมฐาน มีคํากําหนดวา “หนอ” ดวย กร็ สู กึ อดึ อดั กับคําน้ี ใหปฏิบัติก็ไมยอมปฏิบัติ จนตองหนีออกมาจากวัดมหาธาตุไปตางจังหวัด อยูท่ีสํานักแหงหนึ่ง บังเอิญเหลือเกินที่สํานักน้ันก็สอน “หนอ” เหมือนกัน หนีเสือปะจระเข ทํา อยางไรดีจะหนีไปไหน กรรมฐานสายน้ีแผขยายออกมาถึงที่นี่เชียวหรือ ตองมีดีเปนแน อยางไร นา จะลองปฏบิ ัตดิ ู ทา นก็ลงมอื ปฏบิ ัตดิ ว ยความต้ังใจ ปฏิบัติไปจนในท่ีสุดก็เกิดสภาวธรรมเปนท่ีนา พอใจถึงบางออรองออออกมาอยางน้ีนี่เอง จึงมาพูดวา “หนอ” คําน้ีมีราคาเปนแสนเชียวนะ อยา รังเกยี จหนอ อยาติหนอ อยา วาหนอ ทําไปหนอ ใหถ งึ หนอ จะรอ งออถงึ บางออ เองเอย ดังกลา ววา “หนอ” มีรากศพั ทมาจากคาํ วา “วต” ซง่ึ ทา นไดวเิ คราะหร ูปศพั ทไววา “วฏฏสํ สารํ ตาเรตีติ วโต” ธรรมที่ยังหมูสัตวใหพนผานการเวียนวายตายเกิด ช่ือวา วต แปลวา “หนอ” หากผูปฏิบัติใชคําวา “หนอ” ประกอบกับคํากําหนดทุกคํา จะเกิดผลดีทางการปฏิบัติ จนสามารถ ขามพนจากการเวียนวายตายเกิด (พนทุกข) เพราะคําวา “หนอ” เปนคํากลาง ๆ สามารถส่ือ ความหมายไดทุกระดับ ทุกสถานการณและทุกอารมณ ไมวาจะสุข ทุกข เฉย ๆ ดีใจ เสียใจ ก็ กําหนดไดวา สุขหนอ ทกุ ขห นอ เฉยหนอ ดีใจหนอ เสยี ใจหนอ จึงเหมาะท่จี ะนาํ มาประกอบกบั การ ปฏิบัติ และคําวา “หนอ” น้ีเปนคําท่ีไมสื่อความหมายไปในทางกิเลสทั้งฝายราคะและโทสะ ถา สมมติใชคําใหมแทน เชน พองจะ ยุบจะ ก็เอนเอียงไปทางราคะเกิดความยินดีชอบใจ พองโวย ยุบ โวย กโ็ อนไปทางโทสะขัดเคอื งไมช อบใจ ความจําเปนประการตอมาคือ คําไทยเปนคําเดียวโดด ๆ มิใชสองคํา หากใชคําไทยคําเดียว สาํ ทับกับกิริยาอาการของรูป-นามจะไมครบกับอาการน้ัน ๆ เชน พอง ยุบ ยก ยาง เหยียบ แตถามีคํา วา “หนอ” พวงทายเขาไปดวย จะครบกับอาการน้ัน ๆ พอดี เหมือน ๔ สลึงเปน ๑ บาท กําหนด เพียงพอง ยุบ ยก ยาง เหยียบ จะได ๓ สลึง เติมคําวา “หนอ” เขาไป เพ่ิมมีอีก ๑ สลึงเปนหน่ึงบาท ครบพอดี และคําวา “หนอ” จะทําใหสมาธิแนนตัว สวนภาษาอังกฤษใช “ing” แปลวา “กําลัง” เขาไปพวงทายเปน ๒ คําวา Rising Falling Lifting Moving Treading เทากับ คําไทยวา พองหนอ ยุบหนอ ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ ครบพอดี จึงไมจําเปนตองเติมคําใดเขา ไป

31 เห็นอยา งไรจึงใชว ปิ ส สนา ตามท่ีกรรมฐานสายน้ี เรียกชื่อวา สุทธวิปสสนายานิก มีวิปสสนาลวน ๆ เปนยานพาหนะ หรือเรียกชือ่ งา ย ๆ ตามท่เี ขาใจกนั วา วปิ ส สนากรรมฐาน ถามวา การปฏิบตั วิ ปิ ส สนากรรมฐานเพอื่ รู เห็นอะไร ตอบวา เพื่อรูแจงอารมณเห็นชัดอาการตาง ๆ ทางกายและใจ ดังบทวิเคราะหท่ีพระอรรถ กถาจารยไดใหความหมายไววา “อนิจฺจาทิวเสน วิวิเธหิ อากาเรหิ ธมฺเม ปสฺสตีติ วิปสฺสนา” การ เห็นธรรมดวยอาการตาง ๆ อยางที่ไมเที่ยงเปนตน ชื่อวา “วิปสสนา” กลาวคือ เห็นอนิจจังสภาพท่ี เกิดขึ้น ตั้งอยู ดับไป ทุกขัง สภาพท่ีตั้งอยูอยางเดิมไมได และอนัตตา สภาพท่ีหาตัวตนไมได บังคับ ตานทานไวไมอยู มิใชเห็นนรก สวรรค นางฟาเทพธิดา หรือเห็นกายตาง ๆ ดังท่ีสํานักปฏิบัติธรรม บางแหง เห็น การเหน็ ดงั กลา วไมเ ปนทพี่ ึงประสงคของวปิ ส สนากรรมฐาน ตองเห็นความแปรปรวน เปลี่ยนแปลงแตกดับของรูป-นาม ดวยเหตุปจจัยของการกําหนดที่ไมกด เกร็ง เพง จอง โดยเล่ือน ไหลไปตามกฎเกณฑของธรรมชาติ จึงจะไดช ่ือวา วปิ ส สนากรรมฐาน รวดเรว็ วองไวมิใชว ิปสสนา การทีจ่ ะปฏบิ ตั เิ ห็นปรากฏการณท างกาย เวทนา จติ ธรรม วา แปรเปลี่ยนไปอยางไร มีความ จําเปนอยางหน่ึงที่ผูปฏิบัติจะตองปฏิบัติอยางชา ๆ อยาเร็วรีบ เพราะถาทําเร็ว ๆ จะจับกิริยาอาการ ของรูป-นามที่เคลื่อนท่ีเคล่ือนยายไปไมทัน จึงตองทําใหชาลงเพ่ือจับกิริยาอาการน้ัน ๆ ไดทวงทัน อุปมาเหมือนการขับรถ สมมติวาเราขับรถไปบนทองถนนที่ปลอดจากรถคันอื่น ๆ ว่ิงสวนมา สามารถเรงความเร็วในอัตรา ๑๒๐ – ๑๓๐ ไดอยางสบาย ๆ ขณะนั้นหันไปดูส่ิงรอบขางใกล ๆ พบวาเลื่อนไหลไปโดยเร็ว เห็นไมชัดวาอะไรคืออะไร แตถาขับรถไปชมวิวทิวทัศนจะขับอยางไร จะตองขับใหชาลงเพื่อเห็นวิวทิวทัศนไดอยางชัด ๆ ถามวาขับเร็วเห็นวิวทิวทัศนหรือเปลา ตอบวา เห็นแตไมชัด ฉันใด ในการปฏิบัติก็ฉันน้ัน หากผูปฏิบัติอยูในอาการรีบเรงไมทําชา ๆ จะเห็นกิริยา อาการของรปู -นามไดไ มชัดเจน ดวยเหตุนี้จึงตองทําชาเพ่ือจับกิริยาอาการนั้น ๆ ไดทวงทันและเห็น ปรากฏการณของรูป-นามอยา งชดั เจน อีกทง้ั จะเปน การฝกใหใ จเยน็ ดวย การทําชาเปนเหตุปจจัยหนึ่งซ่ึงมีความสําคัญตอการปฏิบัติ ทวาการทําชาอยางเดียวก็ยังไม เพียงพอ จะตองมีเหตุปจจัยอีกอยางหน่ึงเขามาเปนสวนสําคัญ น่ันคือ การทําตอเน่ือง ผูปฏิบัติตอง ทาํ ความเพยี รอยางตอ เน่ืองเช่อื มโยงกนั ไปไมขาดระยะ หากทําชา และตอเนือ่ งไดจ ะเกดิ ผลดีทางการ ปฏบิ ตั ิ ดูตามธรรมชาตปิ ราศจากการบงั คบั กอนทีจ่ ะเขาสูเนื้อหาสติปฏฐาน ๔ เร่ิมจากกายานุปสสนาสติปฏฐาน ควรมาทําความเขาใจ กับคํา ๆ หนึ่ง ซ่ึงคํา ๆ น้ีจะประกอบกับสติปฏฐานทุก ๆ ฐาน นั่นคือคําวา อนุปสฺสี กลาวคือ กายา

32 นุปสฺสสี เวทนานุปสฺสสี จิตฺตานุปสฺสสี ธมฺมานุปสฺสสี แยกออกมาจะได ๒ คํา คือ กาย+อนุปสฺสี เวทนา+อนปุ สสฺ ี จติ ตฺ +อนุปสสฺ ี ธม+ฺ อนุปสสฺ ี อนุปสฺสี แปลวา “ตามดู” ใหตามดู ตามรู ตามกําหนดกิริยาอาการตาง ๆ ตามสภาพความ จริง การแปลความหมายเชนน้ีกเ็ กิดขอทักทวงไดว า ถาตามดูก็แสดงวาไมท ัน เพราะคอยแตตามดูอยู นนั่ ตองดูใหท ันสิ จะไปตามไดอยา งไร แทจริงคําวา อนุปสฺสี แปลตรงตัวตามภาษามคธจะไดความ วา ดูตาม มิใชตามดู อนุ แปลวา ตาม ปสฺสี แปลวา ดู (ภาษามคธนิยมแปลหลังมาหาหนา ไมนิยม แปลหนาไปหาหลัง) รวมแลวแปลวา ดูตาม คือใหดูตามความจริง ความจริงของรูป-นามจะมี สภาวะอยางไร จะชัดหรือไมชัดก็ตาม ก็ตองดูตามที่ชัดหรือไมชัดอยางนั้น โดยปราศจากการฝน สภาพหรอื บังคบั ใหปรากฏชัดตามความตอ งการของตน เชน ขณะท่ีกําหนดพอง-ยุบ พอง-ยุบไมชัด ก็ดูตามท่ีไมชัด อยาไปฝนหรือบังคับอาการดวยการสูดลมหายใจเขา-ออกแรง ๆ เพื่อใหเห็นอาการ พองยุบชัด จะเปนการฝนสภาวะซ่ึงไมเปนไปตามธรรมชาติ ตองดูตามอาการที่ชัดหรือไมชัดน้ัน เทา ท่มี ที เ่ี ปน อยู นน่ั เองคือความหมายของคําวา อนุปสฺสี อุปมาเหมือนไปดูหนังดูละคร สมมติวาเรา เขาไปดูหนังที่โรงภาพยนตรหรือดูละครทางหนาจอทีวี หนังและละครแตละเร่ืองก็มีพระเอก นางเอก ตัวรอง ตัวราย ตัวริษยา มารวมแสดงในเร่ืองน้ัน ๆ ก็ทําหนาที่ของผูดู คือดูตามตัวละครแต ละตัวที่แสดงบทบาทออกมา พระเอกแสดงแบบนี้ ดูไป นางเอกแสดงแบบน้ี ดูไป ตัวราย ตัวริษยา แสดงแบบน้ี ดูไป ตัวรองแสดงแบบนี้ ก็ดูไป ใหทําหนาท่ีของผูดูตามอยาทําหนาที่ของผูกํากับหรือ ผูแสดง ถาเราไปช้ีบอกวา พระเอกแสดงอยางน้ีไมสมบทบาทเลย ตองแสดงอยางนั้นสิ นางเอก แสดงอยางนี้ไมเหมาะหรอก ตองแสดงอยางน้ันจึงจะเหมาะกวา หรือตัวรายตัวริษยาก็แสดงนา เกลยี ดไป นาจะลดความนา เกลยี ดลงบา ง ถา เราชี้บอกแบบนี้ เทากับไปกํากับการแสดงหรือบงั คบั ตวั ละครใหแสดงตามความตองการของตน หรือไมก็อยากจะแสดงเสียเอง ขอน้ีฉันใด ในการปฏิบัติก็ ฉนั นน้ั การกําหนดดกู ําหนดรูกิริยาอาการตาง ๆ ของรูป-นาม ไมวาทางกาย หรือจิต จะมีลักษณะ ๓ ประการดวยกัน คือ ดี ไมดี และเฉย ๆ บางคร้ังรางกายของเรารูสึกกระปรี้กระเปราสดช่ืน ก็กําหนด ดูตามที่กระปร้ีกระเปราสดชื่น บางครั้งอิดโรยออนลา ก็กําหนดดูตามที่อิดโรยออนลา หรือบางครั้ง เฉย ๆ ก็ตองกําหนดดูตามท่ีเฉย ๆ ทางจิตก็เชนกัน มีดี ไมดี และเฉย ๆ ทางภาษาอภิธรรมเรียกวา กุศลจิต อกุศลจติ และอัพยากตจิต ใหดูตามนั้น บางคร้ังจิตแจมใส ก็กําหนดดูตามที่แจมใส บางครั้ง ขุนมัว ก็กําหนดดูตามท่ีขุนมัว หรือบางคร้ังเฉย ๆ ก็ตองกําหนดดูตามที่เฉย ๆ ดีเปรียบเปนพระเอก นางเอก ไมดีเปรยี บเปนตัวรา ยตวั อจิ ฉา เฉย ๆ เปรยี บเปนตัวรอง ใหด ูตามสภาพความจริงดว ยอาการ นนั้ ๆ โดยไมฝนแตอยา งใด

33 นั่งอยา งไรใหถ กู หลกั วิปส สนา ฐานแรกที่จะตองกําหนดดูคือฐานกาย ชื่อวากายานุปสสนา คือดูตามกาย รางกายอันกวาง ศอกยาววาหนาคืบน้ีควรดูอยางไร ในพระไตรปฎกไดแสดงฐานกายท่ีควรไปทําความเขาใจเปน อันดับแรก คือการนั่ง หรืออิริยาบถน่ัง ดังพระพุทธดํารัสวา “ดูกรภิกษุท้ังหลาย ภิกษุในพระธรรม วินยั นี้อยูท่โี คนตน ไม ทปี่ า หรอื ท่ีเรอื นวา ง นงั่ คูบัลลังกต ้ังกายตรงดาํ รงสตไิ วเ ฉพาะหนา” แสดงใหเ ห็นวา กิริยาทา นัง่ นั้นจะตอ งนัง่ คบู ลั ลังกต้งั กายใหต รง กลา วคือไมนั่งยืดเงยแหงน หรือกมคุดคู อยูในลักษณะท่ีไมเกร็งเครงตึงหรือหยอนยาน หากผูปฏิบัติน่ังยืดเงยแหงนจะเหนื่อย เม่ือยลา (วิริยะมากเกินไป) ถาน่ังกมคุดคูจะเคล็ดคอเจ็บหลังปวดเอว และเซื่องซึม (วิริยะนอยไป) จึงตองนั่งใหตรง ในอิริยาบถน่ังมี ๓ แบบ คือ ๑. นั่งเรียงขา ๒. น่ังขาขวาทับขาซาย ๓. นั่งขัดสมาธิ เพชร การวางมือใหวางที่เขาทั้ง ๒ ขาง หรือวางที่หนาตัก มือขวาทับมือซาย ในทานั่ง ๓ แบบ แบบ ที่ ๑ เหมาะแกคนอวนขาใหญยกขาขึ้นมาซอนทับกันไดยาก แบบที่ ๒ เหมาะแกคนผอมขาเล็ก ยกข้ึนมาซอนทับกันไดงาย แบบท่ี ๓ เหมาะแกคนมักงวงเหงาหาวนอนหรือออนวิริยะ และการนั่ง ในทาที่ ๑ จะสบายเปดโอกาสใหความงวง (ถีนมิทธะ) เขามาครอบงําไดงาย นั่งทาท่ี ๓ ก็เครงตึง หนักจนเกินไป ในที่น้ีขอแนะนําใหนั่งในทาท่ี ๒ อยางไรก็ตาม ทาน่ังท้ัง ๓ แบบนี้ ก็ข้ึนอยูกับผู ปฏิบัติวา จะเลอื กน่ังทา ใดที่เหมาะแกต นและกาํ หนดอารมณไดส ะดวก ตอมาคือการกําหนด เมื่อนั่งต้ังกายตรงแลว ควรกําหนดอะไรกอน ตามพระพุทธดํารัสวา “กายต้ังอยูดวยอาการใด ๆ ก็รูท่ัวกายดวยอาการนั้น ๆ” แสดงใหเห็นวาจะตองกําหนดการน่ังกอน ซึ่งพระวิปสสนาจารยไดแนะนําไววา “น่ังหนอ” ใหดูเพียงอาการนั่งหรือกิริยาท่ีนั่ง ไมตองเพงนึก หนวงตั้งแตศีรษะจนถึงสะโพกที่ทับกับพ้ืน ตามพระพุทธดํารัสวา “น่ังก็รูวานั่ง” ไมตองเพงรูปน่ัง ถาเพง รปู น่งั จะเปนการเพง สณั ฐานบญั ญตั ิ ใหร ูเพยี งอาการนงั่ ซ่ึงเปนภาพรวมมิไดเจาะจงทีใ่ ดทห่ี นง่ึ กําหนดวา “นั่งหนอ” เทานั้น ตอมาคือที่สะโพกนั่งทับกับถ้ืนตรงที่กนกบหรือกนยอย กําหนดวา “ถกู หนอ” การนงั่ ถกู จงึ เปนฐานแรกทีต่ องกําหนดรู ลมคือชีวิตใหพ ินิจดู ฐานกายที่ ๒ รองลงมาจากการนั่งถูก คือ ลมหายใจ ซึ่งแสดงไวในอานาปานบรรพวา “มี สติรวู าหายใจเขา มสี ติรวู าหายใจออก หายใจเขายาวก็รูวาหายใจเขายาว หายใจออกยาวก็รูวาหายใจ ออกยาว หายใจเขา สน้ั ก็รูว าหายใจเขาสนั้ หายใจออกสน้ั กร็ วู าหายใจออกสัน้ ” ลมถือวาเปนกาย เพราะยังกายสังขารใหดํารงอยู ขาดลมก็ขาดใจไมมีชีวิต ลมเปนชีวิตรูป เริ่มแรกจงึ ใหมาดูลม ในอานาปานบรรพวา ดวยเรอ่ื งลมที่ปรากฏในสติปฏฐานสูตรนเ้ี ปน จตุกกะที่ ๑ ซึง่ เหมือนในอานาปานสตวิ าดวยการกําหนดลมมีอีก ๓ จตุกกะ เปนอานาปานสติ ๑๖ ข้ัน ในวิสุทธิ มรรคไดแสดงจตกุ กะที่ ๑ วาดว ยการกาํ หนดไว ๓ ระดับ ดงั น้ี

34 ๑, คณนา คือนบั ลม หายใจเขานับ ๑ หายใจออกนับ ๒ หายใจเขานับ ๓ หายใจออกนับ ๔ หายใจเขานบั ๕ หายใจออกนบั ๖ จนถงึ ๑๐ จงึ ยอ นกลับมาเริ่มตน นบั ๑ ใหม ๒. อนุพนฺธนา คือตามลม ลมเขายาวก็รูวาเขายาว ลมออกยาวก็รูวาออกยาว ลมเขาสั้นก็รู วาเขาสั้น ลมออกส้ันก็รูวาออกส้ัน เหมือนชางตีเหล็กชักเคร่ืองสูบลมเขาเตาไฟ ชักเขาชักออก เพือ่ ใหเ กดิ ความรอ น ใหดูลักษณะเชน นัน้ ๓. ผุสนา ดูการกระทบของลม ลมมากระทบท่ีปลายจมูก (นาสิกคฺเค) หรือริมฝปากเบื้อง บน ใหดูการกระทบน้ัน ในข้ันที่ ๑-๒ เปนสมถะลวน ๆ สวนข้ันที่ ๓ คือ ผุสนา เปนไดท้ังสมถะ และวิปสสนา หากผูปฏิบัติดูเพียงการกระทบ โดยไมใสใจลมเขาออกและปลายจมูกหรือริมฝปาก เบื้องบนวาเปนอยางไร (ท้ิงบัญญัติ) ดูเพียงอาการท่ีถูกลมกระทบเทาน้ัน กําหนดวา “ถูกหนอ” เรียกวา วาโยโผฏฐัพพรูป คือดกู ารกระทบของลม จดั เปน วปิ สสนากรรมฐานโดยแท ในเบ้ืองแรกจริง ๆ จะใหปฏิบัติแบบนี้ ซ่ึงถือวาเปนวิปสสนาโดยตรง (พอง-ยุบโดยออม) ทวาการปฏิบัติดังกลาวเปนเรื่องท่ีทําไดยาก เพราะอานาปานสติเปนพุทธวิสัยและปจเจกพุทธวิสัย คือเปน วสิ ัยของพระพทุ ธเจาและพระปจ เจกพทุ ธเจา เพราะลมเปน สภาพสขุ ุมละเอียดกําหนดไดยาก เหมือนผาเนื้อเกลี้ยงท่ีตองคอย ๆ รอยดวยเข็มเล็ก ๆ อยางระมัดระวัง จึงไมเหมาะแกคนทั่วไป บาง คนที่ทําตามแนวน้ีก็รูสึกอึดอัดและฟุงซานเพราะจับกําหนดไมได ดวยเหตุนี้เองจึงมีการเลื่อนออก จากการกระทบลงมาสูทองท่ีกําลังพอง ๆ ยุบ ๆ ซึ่งหยาบและกําหนดไดงายกวา โดยใหดูอาการ เคลื่อนไหวท่ีแผนทองซ่ึงมีเหตุปจจัยมาจากลม แทจริงการกําหนดเชนนี้ เรียกวา ดูการเคลื่อนไหว ของวาโยธาตุ จะเรียกวา วาโยโผฏฐัพพรูปเห็นทีจะไมถูก เพราะวาโยโผฏฐัพพรูป คือดูการกระทบ ของลมน้ัน จะตองดูอาการท่ีถูกกระทบมิใชดูการเคล่ือนไหว ใหไปดูตรงทองท่ีถูกลมกระทบ กําหนดวา “ถกู หนอ” ซึ่งจะยากย่ิงกวาการดูที่ปลายจมูกหรือริมฝปากเบ้ืองบน จะกําหนดวา “พอง หนอ-ยบุ หนอ” ไมไ ด การกาํ หนดวา “พองหนอ ยบุ หนอ” คือการดูปฏิกริ ิยาของวาโยธาตุท่เี ปนไป ดวยอาการตาง ๆ มิใชดูการกระทบ กลาวโดยสรุป การกําหนดพอง-ยุบ คือการดูอาการเคล่ือนไหว ของวาโยธาตนุ ่ันเอง การกําหนดอาการพอง-ยุบน้ันจะทําไดงาย สมาธิจะกอตัวไดเร็วและพัฒนาไปสูสภาวะตาง ๆ ทางกายและจิตไดด ี ในปจ จุบนั จงึ นยิ มใหก ําหนดอาการพอง-ยบุ ยบุ -พอง หรอื พอง-ยุบจะสรปุ อยา งไร มีปญหาท่ีนาสงสัยวา กรรมฐานสายนี้ควรเรียกวา พองหนอ-ยุบหนอ หรือยุบหนอ-พอง หนอ โดยสวนมากมักจะเรียกวา ยุบหนอ-พองหนอ คร้ันมาปฏิบัติที่สํานักวิปสสนาวิเวกอาศรมจะ ใหเรียกวา พองหนอ-ยุบหนอ มิใหเรียกวา ยุบหนอ-พองหนอ โดยอธิบายวา เด็กแรกเกิดออกมาจาก ครรภของมารดาใหม ๆ จะหายใจเขากอนจึงจะหายใจออก หายใจเขาทองจะพอง หายใจออกทอง ยบุ ตามปกติถา เราอยใู นหอ งอับทึบอากาศไมถายเทจะรูสึกอึดอัด ออกมาจากหองน้ันก็จะหายใจเขา แรง ๆ กอนระบายลมออก จะถอนหายใจกต็ องสูดลมเขาเต็มปอดกอนแลวปลอยเฮอออกมา หรือจะ

35 ยกของหนัก ๆ ก็ตองสูดลมเขาเต็มปอดกอนจึงยกของหนัก ๆ นั้นข้ึน สวนใหญจะหายใจเขากอน หายใจออก พองจึงมากอนยุบ ซึ่งสอดคลองกับพระไตรปฎกท่ีวาดวยลมหายใจคือ อัสสาสะ ปสสาสะ อสั สาสะ แปลวา หายใจเขา ปสสาสะ แปลวาหายใจออก ดังพระพุทธดํารัสวา “เธอมีสติรู วา หายใจเขา มสี ติรูว า หายใจออก” ดวยเหตุนี้จงึ ใหเ รียกวา พองหนอ-ยบุ หนอ อยา งไรกต็ าม ดงั กลาวมาน้ีเปน เพียงบัญญัติ ลมจะเขา กอนหรือออกกอน เรียกวา พองหนอ- ยุบหนอ หรือ ยุบหนอ-พองหนอ มิใชเร่ืองสําคัญอะไร สําคัญอยูที่การกําหนดรูตามอาการที่ปรากฏ ตา งหาก เพราะบางครัง้ หายใจเขา ทอ งกลับยบุ หายใจออกทอ งกลับพองก็มี พอง-ยุบชดั ที่ใดใหก าํ หนดทนี่ ่นั มีปญหาอีกวา (ปญหาเยอะ) พอง-ยุบควรอยูท่ีใด มีสํานักบางแหงสอนวาอยูเหนือสะดือ ๒ นิ้ว หรืออยูขาง ๆ สะดือ ตรงนั้นแหละใหกําหนดวา พองหนอ-ยุบหนอ แตพระอาจารยใหญภัททัน ตะ อาสภเถระ มีมติวา กําหนดท่ีสะดือ ใหการระบุแนชัดตรงน้ัน โดยกลาววา รางกายอันกวางศอก ยาววาหนาคบื น้ี มจี ุดกึ่งกลางคือสะดอื เปนเขตแดนก้ันกลางระหวางลางกับบน การกําหนดทีสะดือ น้ันเปนการใหจุดแกผูปฏิบัติจะไดรูวาจุดท่ีควรกําหนดอยูที่ใด เทาท่ีอาตมาสอบถามผูปฏิบัติมา ทราบวากําหนดท่ีสะดือไมคอยได ดวยเหตุน้ีอาตมาจึงเห็นวา ไมควรระบุท่ีใดที่หนึ่งเปนการเฉพาะ ที่ใดปรากฏชัดก็กําหนดที่น่ัน หากระบุวาที่สะดือ ผูปฏิบัติจะจดจองท่ีสะดืออยางเดียว ไมยอม กําหนดท่ีอ่ืน หรือพยายามบังคับจับเฉพาะที่สะดือ แทจริงธรรมชาติของลมเมื่อเขาไปแลวจะขยาย ลําตวั ทั่วราง เหมอื นกบั กบหรอื องึ่ อา งพองตัว ในท่นี ้อี าตมาเห็นวา ทวั่ แผนทองนั่นเอง เปนท่ีปรากฏ ชดั ของอาการพอง-ยุบ เพยี งแตท่ีใดปรากฏชัดกก็ าํ หนดท่ีนน่ั ในการกาํ หนดดูอาการพอง-ยุบ ใหดูอยางไร ใหดูเฉพาะอาการที่พอง-ยุบเทานั้น อยาดูลมท่ี เขาไปหรือลมท่ีออกมา เหมือนกับเราดูลูกโปง ไมตองดูวาคนเปาจะเปาลมเขาอยางไร ดูแตลูกโปงที่ พองโตข้นึ มา ถา ปลอ ยลมออก ลกู โปงจะแฟบลงไป กด็ ูแตลูกโปงท่แี ฟบลงไป ไมต อ งดลู มออก ถาไป ดทู ัง้ ๒ อยา ง คืออาการพอง-ยุบและลมเขา-ออก ก็กลายเปนสองอารมณตีกัน สมาธิไมมั่นคงและจะ ฟงุ ซา น สําหรับผูปฏิบัติใหมไมเคยกําหนดอาการพอง-ยุบก็เปนเรื่องยากอยู กําหนดไมได กําหนด ไมทัน เพราะพอง-ยุบไมปรากฏชัด บางคร้ังพระวิปสสนาจารยจะแนะนําใหใชฝามือแตะเบา ๆ ตรงหนาทอง คอยดูอาการกระเพื่อมเคลื่อนไหว ซึ่งเปนวิธีหนึ่งท่ีจะชวยใหกําหนดดูอาการพอง-ยุบ ไดงายข้ึน แทจริงเรื่องนี้ไมตองวิตกกังวลวาจะกําหนดจับอาการพอง-ยุบไมได ยังมีคิดหนอ ไดยิน หนอ ชาหนอ ปวดหนอ และอีกมากมายที่จะตองกําหนดในขณะปฏิบัติ ทวาในเบ้ืองตนจะให กําหนดดูพอง-ยุบกอน หากพอง-ยุบไมปรากฏชัดก็กําหนดวา “น่ังหนอ ถูกหนอ” ไปเร่ือย ๆ ปรากฏชัดขึ้นมาเม่ือใดคอยกําหนดเมื่อนั้น ตามปกติพอง-ยุบจะปรากฏในเบ้ืองตนของการน่ัง

36 หลังจากการเดิน และจะปรากฏชัดมากหากเดินจนเหน่ือยแลวมานั่ง เหมือนเราวิ่งออกกําลังกาย หายใจเขา-ออกแรง ๆ แลวมาน่ังพักเหน่ือย ทั่วท้ังลําตัวจะกระเพื่อมอยางชัดเจน ถาตองการกําหนด ดอู าการพอง-ยุบไดชดั จริง ๆ ใหเ ดินจนเหนอ่ื ยแลวมานั่งกําหนดดู จะรูวาอาการพอง-ยุบชดั เจน และ กําหนดไดไมยากเลย พอง-ยบุ เปลีย่ นไปใสใจใหมากขน้ึ คร้ันผูปฏิบัติกําหนดอาการพอง-ยุบไปเร่ือย ๆ ตอมาอาการพอง-ยุบจะแปรเปลี่ยนไป บางคร้งั พองยาว-ยุบยาว กําหนดวา พองหนอยังไมหมด กําหนดวายุบหนอก็ยังเหลือ ผูปฏิบัติจะตอง กําหนดตามอาการที่พองยาวออกไปวา “พองหนอๆๆ” และยุบยาวลงไปวา “ยุบหนอๆๆ” อยา บังคบั พองยาว-ยบุ ยาวน้นั ใหส้นั ลงเพอ่ื เหมาะกบั คํากําหนดวา “พองหนอ-ยุบหนอ” เพยี งครงั้ เดยี ว ตอมาพอง-ยุบเร่ิมแผวลง ทีแรกก็ชัดเจนดีไมนานนักเร่ิมแผวเบาบางลง ๆ พอง-ยุบ ๆ กําหนดตามอาการท่ีบางเบาน้ันวา “พองหนอ ยุบหนอ ๆ” ถาส้ันนิดเดียวเติมคําวา “หนอ” ไมได ก็กําหนดวา “พอง-ยุบ ๆ” จนกระท่ังพองยุบหายไปไมปรากฏ กําหนดวา “นั่งหนอ ถูกหนอ” ทันที ตอมาพอง-ยุบจะเร็วข้ึน ก็กําหนดแบบเร็ว ๆ วา “พองหน-ยุบหนอ ๆๆ” ถาเติมคําวา “หนอ” ไมทัน ก็กําหนดเพียง “พอง ยุบ ๆๆ ” ถากําหนดเพียงพองยุบไมทัน ก็กําหนดวา “รูหน” แมแตการกําหนดวา รหู นอ ยงั ไมทนั อีก ก็ใหด เู ฉย ๆ ไมต อ งมคี าํ กําหนดพดู ดูตามอาการทเี่ ร็วนนั้ ถา ตามมากไปจะเกิดอาการเกร็งเครยี ดได ตอมา พอง-ยุบจะปรากฏพองขึ้นมา หยุดนิดหนึ่ง ยุบลงไปหยุดนิดหน่ึง นั่นแสดงวา พอง- ยุบเกิดอาการแยกตัวไมติดเน่ืองเปนอันเดียว และสิ้นสุดยุบลงจะมีชองวางอยู ใหกําหนดวา “นั่ง หนอ” ทันที จะไดการกําหนด ๓ ระยะ คือ พองหนอ ยุบหนอ น่ังหนอ ถาชองวางเหลืออีกพอท่ีจะ กําหนดวา “ถูกหนอ” จะไดการกําหนดอีก ๔ ระยะ คือ พองหนอ ยุบหนอ น่ังหนอ ถูกหนอ ประการสําคัญคือการกําหนดวา “น่ังหนอ ถูกหนอ” น้ี จะตองมีชองวาจริง ๆ ถาพองขึ้นมาชั่วครู แตยุบลงไปยาวกวา กําหนดวา พองหนอ ไดครั้งเดียว แตอาการหมด จะไปกําหนดวา “ยุบหนอ น่ัง หนอ” ไมได ตองกําหนดวา “พองหนอ-ยุบหนอ ๆ ” อยาไปกําหนดวา “พองหนอ ยุบหนอ น่ัง หนอ” เปนอันขาด ถาไมมีชองวางในขณะที่ยุบลงไป ยังขืนกําหนดวา “นั่งหนอ” อีก จะไมตรง สภาพความจริง และเปนการฝนสภาวะ คือไปหยุดกลั้นยุบไวมิใหพองเพ่ือเติมคํากําหนดวา “น่ัง หนอ” การเตมิ คํากาํ หนดวา “นั่งหนอ” จะตองตรงกับสภาพความจริง มีชองวางเพียงพอจริง ๆ ยุบ ขาดวับหายไปไมปรากฏเลย น่ันแหละจึงจะกําหนดวา “น่ังหนอ” ได และยังเหลือชองวางอยูอีกก็ กําหนดวา “ถูกหนอ”

37 ถากําหนดอาการพอง-ยุบไดในชวงแรก ๆ (ประมาณ ๕ – ๑๐ นาที) ตอมาพอง-ยุบเริ่มแผว เบาลงและไมปรากฏเลย ก็กําหนดวา “น่ังหนอ ถูกหนอ” เร่ือยไป ไมตองกังวลวา พอง-ยุบไมมา พอง-ยุบไมมีจะทําอยางไร กําหนดไปวา “น่ังหนอ ถูกหนอ” พอง-ยุบจะมาก็มาเอง อยาหายใจเขา- ออกแรง ๆ เพอื่ ใหเห็นอาการพอง-ยุบชัดอยางเด็ดขาด การกําหนดวา “น่ังหนอ ถูกหนอ” น้ีจะใชอยูใน ๒ กรณี คือ ๑. จับอาการพอง-ยุบไมได หรอื พอง-ยุบไมปรากฏ ๒. ผูปฏิบัติเคยฝกสมถะสายพทุ โธมากอ น มีความเคยชินกับการดูลมหายใจ เขา-ออก คร้ันมากําหนดพอง-ยุบก็ตีกัน เดี๋ยวไปหาลมหายใจเขา-ออก เด๋ียวมาหาพอง-ยุบ จะแกไข อยางไร แกด วยการทงิ้ ทง้ั ๒ อารมณ กําหนดเพียง “น่ังหนอ ถูกหนอ” และดูพอง-ยุบเปนคร้ังคราว พอจะข้ึนไปที่ลมหายใจเขา-ออกก็ทิ้งทันที กําหนดน่ังหนอ-ถูกหนอไดสักระยะก็มาดูพอง-ยุบอีก อยางนี้เรื่อยไป จนกวาจะสามารถทิ้งลมหายใจเขา-ออกและกําหนดพอง-ยุบไดโดยไมตีกัน จึงคอย กาํ หนดพองหนอ ยุบหนอ ตอไป ทุกอริ ิยาบถกาํ หนดดอู าการ ฐานกายท่ีจะตองกําหนดดูอีก คือ อิริยาบถ มีอิริยาบถหลัก อิริยาบถรอง หรืออิริยาบถใหญ อิริยาบถยอยอิริยาบถใหญคือ ยืน เดิน น่ัง นอน อิริยาบถยอยคือ เหยียด คู กม เงย เหลียวหนา แล หลัง เปนตน คําวา “อิริยาบถ” แปลวา “เคล่ือนไหว” จะสังเกตไดวา อิริยาบถใหญจะเคลื่อนขยับ ท้ังตัว ยืนก็ตรงทั้งตัว เดินก็สะเทือนทั้งกาย น่ังก็ต้ังทั้งรูป นอนก็เหยียดยาวทั้งราง อิริยาบถใหญจะ เปนอากปั กริ ิยาทีเ่ คลื่อนขยับไปทั้งหมด เชน น่ังจะพลกิ เปลี่ยนก็เคลอื่ นขยบั ท้ังหมด แตอิริยาบถยอย จะเคลือ่ นท่ีเพียงบางสวน เชน เหยียดแขนออกหรือคูแขนเขา จะเคลื่อนเฉพาะชวงแขนเทานั้น นี้คือ ขอแตกตางกัน เมื่อแตกตางกันการกําหนดดูอิริยาบถใหญและยอยก็มีผลแตกตางกัน อิริยาบถใหญ เหมอื นนา้ํ หยดใหญหนอย คอย ๆ รวมตัวกนั แลว หยดตง๋ิ ลงมา ขวายา งหนอ หยดนํ้าติ๋งใหญ ซายยาง หนอ หยดน้ําติ๋งใหญ สวนอิริยาบถยอยเหมือนนํ้าหยดเล็ก ๆ แตถากําหนดถี่จะหยดลงเร็ว เชน คู หนอ ๆ ๆ จะหยดต๋ิง ๆ ๆ ลงมา ไมคอย ๆ รวมตัวกันหยดเหมือนอิริยาบถใหญ ซึ่งอิริยาบถยอยนี้ แหละทานจะเนนมากกวาอิริยาบถใหญ ถึงแมวาจะหยดเล็ก ๆ แตมีความถี่ กิเลสหรือความคิดก็ แทรกเขามาลําบาก สวนอิริยาบถใหญนั้นไมแนนสนิทเทาท่ีควร กิเลสหรือความคิดยังแทรกเขามา ไดอยู กลาวโดยสรุป อิริยาบถใหญใหความมั่นคงแกอิริยาบถยอย อิริยาบถยอยคอยหนุนอิริยาบถ ใหญ อยางไรก็ตาม ผปู ฏบิ ัตจิ ะตอ งปฏิบตั ทิ ุก ๆ อิริยาบถท้ังใหญและยอย ใหเ ก่ยี วเกาะกันไปไม ขาดสาย อยา คดิ วา อริ ิยาบถใหญทําไดดไี มต อ งกําหนดอริ ยิ าบถยอ ยกไ็ ด หรอื อริ ิยาบถยอ ยทานเนน ไมต อ งใสใ จอริ ิยาบถใหญก ไ็ มเปน ไร ผปู ฏิบตั ติ องปฏิบตั ทิ ุก ๆ กิริยาอาการ ไมวาจะเปน ยนื เดิน

38 นั่ง นอน เหยียดคู กมเงย เหลยี วหนา แลหลงั จึงจะไดช่ือวาปฏบิ ตั ิตรงตอฐานกาย คอื กายานปุ สส นาสตปิ ฏ ฐานน่นั เอง สาํ หรับอริ ิยาบถยืน เดิน นอน ขออธิบายวธิ ปี ฏิบตั ิดังตอ ไปน้ี ๑. การยืน ใหย นื ตรงแขนสองขางไขว หลังมือจับกันไว จะใชมือขวาจับมือซาย มือซายจับ มือขวา หรือจับทอนแขนซายขวาก็ไดตามแตสะดวก การใหยืนแขนไขวหลังเพื่อมิใหมือแขนแกวง ไกว และการยืนตรงน้ีจะดูทะมัดทะแมงสงาผาเผย ลมหายใจเขา-ออกสะดวกคลองตัว เมื่อยืนตรง แลวคอก็ตองตรงดวย ไมกมหรือเงยแหงนมองโนนแลนี่ ทอดสายตาไปชั่วแอก คือท้ิงสายตาไปท่ี พื้นตรงหนาประมาณ ๔ ศอก ไมมองออกไปขางหนาไกล ๆ เหลียวซายแลขวาอยู ท่ีสําคัญคือตอง ลืมตามิใชหลับตาเพื่อปองกันการซวนเซลม ถามีหลุมมีบอจะแลเห็น ถาหลับตาเพ่ือจะเกิดอาการ ซวนเซลมได เหมือนคนขับรถ ตาที่มองไปขางหนาเพ่ือปองกันอันตรายตาง ๆ เผ่ือมีรถคันอื่นว่ิงเขา มาชนหรือรถของตนอาจจะไปชนรถของคนอ่ืน จะไดหลบทัน ฉะน้ันจึงใหลืมตาโดยหร่ีตาลงหรือ ลืมตาครึ่งหน่ึง มองดวยอาการสํารวม ในขณะยืนอยูใหสติไปจับที่การยืน มิใหเพงรูปยืนวามี รูปพรรณสณั ฐานอยางไร ยืนกร็ ูวา ยืนเทา น้นั พอ กาํ หนดวา “ยนื หนอ ๆ ๆ” สามครง้ั ๒. การเดิน คอย ๆ เคล่ือนเทาไปขางหนา เทาแรกคือเทาขวา กําหนดอาการเคล่ือนยายไป ในขณะนั้นวา “ขวายา งหนอ” สตจิ ับที่อาการเคล่ือนไหว ไมใหกมดูเทาที่กําลังขวายางหรือซายยาง สติรูมิใชตาดู และการกาวยาง อยายางยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป พอดี ๆ ประมาณคืบกวา ๆ หรือ เทาความยาวของชวงเทา อยายกเทาสูงเกินไปหรือต่ําเกินไป การเดินระยะที่หน่ึงจะตางจากการเดิน ตามปกตเิ พยี งเลก็ นอย ที่สําคัญคือใหกําหนดรูแตเพียงอาการเคล่ือนยายเทานั้น อยากมดูเทา ถากมดู เทา จะเหน็ เปนรูปรา งกลายเปน สณั ฐานบญั ญตั ิไป สัณฐานบญั ญตั นิ ั้นจะปกปดปรมัตถ และสําคัญวา นี่เทาของเรา ถาเราเขาใจอยางนี้ ความเห็นวากายของเรา (สักกายทิฏฐิ) จะเขามาแทรกทันที ฉะน้ัน จึงใหเห็นเพยี งอาการเคล่ือนไหวเทาน้ัน ขอ ควรปฏิบัติในขณะที่ยืน-เดิน หากอารมณภายนอกมีความชัดเจน เชน รูปปรากฏชัดหรือ เสียงไดยินชัด ใหกําหนดรูปหรือเสียงน้ันกอน จึงคอยเดินจงกรมตอไป แตถาอารมณภายนอกไม คอยชัด ก็ไมตองใสใจ กําหนดการยืนและอาการเคล่ือนไหวคือขวายาง ซายยางอยางเดียว หรือ ในขณะเดินเกิดความคิดมาชัดเชนกัน ใหหยุดเดินกําหนดความคิดน้ัน เพราะถาไมหยุดยืนกําหนด จะกลายเปนสองอารมณ สมาธิไมม่ันคง สติจับอารมณไดไมดีและฟุงซาน เม่ือยืนกําหนดอารมณ น้ันหายไปจึงคอยเดินจงกรมตามเดิม จนมาถึงระยะทางท่ีกําหนดไว (ประมาณ ๕-๖ เมตร หรือ ตามแตจะกําหนดระยะทางได) จึงใหเทาขวาหรือซายคูกันยืนกําหนดวา “ยืนหนอ ๆ ๆ” สามครั้ง แลวกลบั กําหนดวา “กลับหนอ” กลับก่ีครั้งก็ได ส่ีคร้ังหรือหกคร้ังตามแตสะดวก แตอยาไปนับวา มีเทาไหร หรือมกี ่คี อู ยา งเด็ดขาด การเดนิ จงกรมมอี ยู ๖ ระยะ การเพิม่ ระยะของการเดินใหข ึ้นอยกู ับพระวปิ สสนาจารยท ่ีเห็น วาเหมาะสมเทาน้ัน จะไปเพิ่มระยะเดินเองไมได ไมไดหมายความวา วันหน่ึงเดินระยะที่ ๑ วันสอง

39 เดนิ ระยะที่ ๒ มิไดเพมิ่ ตามรายวัน บางคนอาจจะเดินระยะท่ี ๑-๒ เปนเดือน เปนป ไมแนนอน ท้ังน้ี ขึ้นอยูก บั สภาวธรรมของผูปฏบิ ตั นิ ัน่ เอง เวลามาตรฐานในเบ้ืองแรกของการปฏิบัติคือ เดินและน่ัง ๓๐ นาที สลับสับเปลี่ยนกันไป เดิน ๓๐ นาที น่ัง ๓๐ นาที สว นการเพ่มิ เวลาของการปฏิบัติกใ็ หข้นึ อยกู บั พระวิปส สนาจารยเชน กนั ๓. การนอน ใหน อนตะแคงขวา มใิ หน อนตะแคงซา ย เพราะจะทับหวั ใจ มอื ซายวางเรยี บ ไปตามลําตัว มอื ขวาวางไวท ่ีหมอนขา ง ๆ หากไมถนัด อนโุ ลมใหน อนหงายหรอื นอนในทา ทต่ี น เคยชนิ แตตองกาํ หนดวา “พองหนอ ยบุ หนอ” หรอื “นอนหนอ ๆ” จนกวาจะหลับไป พระธรรมเทศนาในวนั นไ้ี ดแ สดงถึงเรอ่ื งการกาํ หนดดกู าย โดยอธิบายขยายความไวหลาย ประเดน็ หวังวา คงจะเปน ประโยชนแ กผ ปู ฏิบตั ไิ มมากก็นอ ย หากทา นใดเขาไปกําหนดรตู าม สภาวธรรมทางกายน้ี ก็สามารถกาํ จัดอภชิ ฌาและโทมนัสได ดังพระพุทธดาํ รัสทอี่ าตมาไดยกขนึ้ เปนนกิ เขปบทในเบอื้ งตนวา กาเย กายานุปสฺสี วหิ รติ อาตาป สติมา สมปฺ ชาโน วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมมนสสฺ ฯํ ภิกษุตามดกู ายในกายอยู เพียรพยายามอยางมีสติสัมปชญั ญะ กาํ จัดอภิชฌาและ โทมนสั เสียไดในโลกฯ ดงั แสดงพระธรรมเทศนามาก็สมควรแกเวลา ขอยตุ ลิ งปลงไวแตเ พยี งเทา นี้ เอวํ ก็มีดวย ประการฉะน้ี.

40 กัณฑท ี่ ๔ เวทนานปุ สสนากถา ดังพระพุทธคาถาวา “นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา ไมมีความทุกขที่เสมอดวยขันธ ๕” ทุกคน ตางก็ปรนเปรอขัน ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณน้ี คอยบรรเทาทุกขบํารุงสุขอยูเปน ประจํา ตื่นเชามาก็ตองลางหนาแปรงฟน ทานขาวปลาอาหาร พักผอนหลับนอน ถึงคราวเจ็บไขได ปว ยก็ตอ งเยยี วยา รักษาดแู ล ถามวา ทเ่ี ฝา ดูแลเอาใจใสอ ยอู ยางน้ี รูปนามสงั ขารเคยเต็มบา งหรอื เปลา กตัญูหรือไม ไมเห็นวาจะเต็มสักที ยังปรากฏดวยความเปนสภาพพรองที่ตองเติมสิ่งตาง ๆ เขาไป อยูเสมอ และแลวเมื่อถึงคราวแกก็ตองแก ถึงคราวเจ็บก็ตองเจ็บ ถึงคราวตายก็ตองตาย น้ีหรือคือ ผลตอบแทนของการทะนุถนอม รักษาดูแล ไฉนไยยังยินดีอยูเลา เรามีความทุกขแลวและจะไมเพ่ิม ความทกุ ขใ หแกต วั เราอีก นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพทุ ธฺ สฺส นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพทุ ธฺ สสฺ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทฺธสสฺ เวทนาสุ เวทนานปุ สฺสี วิหรติ อาตาป สตมิ า สมปฺ ชาโน วเิ นยยฺ โลเก อภชิ ฌฺ าโทมนสสฺ นติ ฯ ณ บัดน้ี อาตมภาพจักไดแสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาถึงเวทนานุปสสนากถา วาการ กําหนดดูเวทนา เพ่ือเปนเครื่องเจริญศรัทธา เพ่ิมพูนปญญาบารมี ใหแกทานสาธุชนคนดี โยคีและ โยคินี ทง้ั ทเ่ี ปน คฤหัสถและบรรพชิต อนสุ นธิสบื ตอ จากวันพระท่แี ลว ไดแสดงกายานุปสสนากถา วาดวยการกําหนดกาย ในชวง หน่งึ กลาวถึงเรอ่ื งการทาํ ชาและตอเนือ่ งไว กลา วไดว าการทําชาและตอเน่ืองน้ันเปนสาระสําคัญของ การเจริญวิปสสนากรรมฐาน หากผูใดไมสามารถทําชาและตอเน่ืองได ผูน้ันก็ไมอาจยังสภาวธรรม ใหเกิดข้ึนและไมประสบผลอันพึงประสงคในวิปสสนากรรมฐานอยางแนนอน มีขอที่นาสงสัยวา ทําชา และทาํ ตอเน่อื งนั้นทาํ อยางไร “ชา ” จะชาในระดับไหนจงึ เหมาะสม พระวิปสสนาจารยไ ดส ืบ ท อ ด ม า ว า ใ ห ทํ า ป ร ะ ห น่ึ ง ค น ป ว ย ห นั ก ห รื อ ค น ที่ เ พิ่ ง ถู ก ผ า ตั ด ใหม ๆ มีบาดแผลอยู จะยกมือยกเทาหรือพลิกกายไปซายขวา ก็ตองคอย ๆ ทําอยางระมัดระวัง ทํา เร็วไมไ ด คนท่ปี วยหนักก็ไรเรยี่ วแรงกาํ ลัง คนท่มี บี าดแผลจากการผาตัด ก็เจ็บแผลกลัววาจะไมหาย จึงตองคอย ๆ เคลื่อนตัวชา ๆ การปฏิบัติใหทําดุจดังคนปวยหนักหรือคนท่ีเพิ่งถูกผาตัดน้ัน แตวา ผู

41 มาปฏบิ ัติใหมใหท าํ ชาอยางนัน้ เลยทีเดียวจะทาํ ไดหรือไม ในชว งเรมิ่ แรกก็เปนเรื่องยากอยู ดังน้ันใน เร่ืองความชาจึงตองมีการไตระดับกันไป ไมอาจชาลงในทันทีทันใด ในชวงแรกจะตองเดินจงกรม ระยะที่ ๑ คือ ขวายางหนอ ซายยางหนอ กิริยาอาการของเทาขวาและซายที่เคลื่อนยายไปพรอม ๆ กับคํากําหนดวา “ขวายางหนอ ซายยางหนอ” น่ันเอง เปนระดับของความชาในชวงแรก ซ่ึงจะชา ลวกวา การเดนิ ปกติไมถึงกบั ชามาก ถา ผูใดไปทําชากวานั้นโดยกําหนดวา “ขวา...ยาง...หนอ...” จะ ไมเปนการเดินระยะที่ ๑ กลายเปนการเดินระยะที่ ๓ คือ “ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ” เพราะ แยกหรือตัดทอนคํากําหนดออก แทจริงจังหวะจะตองไปพรอมกับคําวา “ขวายางหนอ ซายยาง หนอ” น้ันไมแยกหรือตัดทอนคําใดคําหน่ึงออก ใหเปนคําพูดประโยคเดียวเหมือนไมทอนหนึ่งที่ นําไปใชเลย จึงไดช่ือวาระยะที่ ๑ เมื่อผูปฏิบัติกาวเขาสูระยะท่ี ๒-๓ จึงจะเริ่มชาลง เพราะแยกคํา กําหนดวา “ยกหนอ เหยียบหนอ ยกหนอ ยางหนอ เหยียบหนอ” แสดงใหเห็นวาการปฏิบัติ วิปสสนากรรมฐานก็มีข้ันตอน (Step) ใหไตไปตามลําดับ การกําหนดอิริยาบถยอยก็เชนกัน ใน เบ้ืองแรก การเหยียดออกหรือคูเขา ก็เหยียดคูประมาณ ๓-๔ คร้ัง เหยียดหนอ ๆ ๆ คูหนอ ๆๆ ไม อาจจะเหยีดคูไดทีละหลาย ๆ ครั้ง คร้ันปฏิบัตินานวันเขามีความเปนไปไดเหมาะสม พระวิปสสนา จารยจึงใหทําชาลงและเพ่ิมความถี่เขาไป เหยียดคูจะชาลงเร่ือย ๆ (๒๕-๓๐ คร้ัง) จนเทียบเทากับ อาการของคนปว ยหนักหรือคนเพงิ่ ถูกผา ตดั ใหมน ้นั จดจออยา งตอเนือ่ งเปน เรอ่ื งสําคัญ ตอมาคือการทําตอเนื่อง เหตุใดจึงตองทําตอเนื่อง เพราะวิปสสนากรรมฐานจะตองเกาะ เก่ียวกับทุกอิริยาบถทุกกิริยาอาการและทุก ๆ อารมณ มิไดเจาะจงเปนการเฉพาะวาตองเดินกับน่ัง เทาน้ัน นอกจากนั้นมิใชวิปสสนากรรมฐาน แทจริงการปฏิบัติมิไดอยูในเฉพาะหองกรรมฐาน เทาน้ัน นอกหองกรรมฐานก็ตองปฏิบัติดวย ในขณะที่ผูปฏิบัติเดินมาสงอารมณหรือมาปฏิบัติที่ ศาลาก็ตองเดินกําหนดมา ขวายางหนอ ซายยางหนอ เห็นก็เห็นหนอ ไดยินเสียงก็ยืนกําหนดไดยิน หนอ และไมไดเลือกเฉพาะอารมณดี ๆ มากําหนด อารมณไมดีไมตองกําหนด หาเปนเชนน้ันไม เพราะองคพระศาสดาทรงสอนการปฏิบัติในทุกสถานท่ี แมแตในหองสุขาก็ยังใหมีสติสัมปชัญญะ (อุจฺจารปสฺสาวกมฺเม สมฺปชานการี) น้ีเปนขอบงชี้วา ไมมีศาสดาองคใดในโลกท่ีสอนตั้งแตเขาหอง สว มจนถงึ มรรคผลนพิ พานเหมือนดังพระพุทธเจา ดังนั้นผูปฏิบัติจึงตองกําหนดอารมณสกปรกไม สะอาดหมดจดน้ันดวย แมแตอารมณไมดีอารมณเสียก็ตองกําหนด เชน ในขณะที่ผูปฏิบัติเกิดความ หงุดหงิดงุนงานฟุงซานรําคาญใจ จะบอกวาขณะนี้อารมณไมดีไมปฏิบัติดีกวา ก็ไมไดอีก ตอง กําหนดวา “หงุดหงิดหนอ” “ฟุงซานหนอ” “รําคาญหนอ” การปฏิบัติจะตองเกาะเก่ียวกันไปทุก อารมณ กลาวคือ เกียจครานตองปฏิบัติแบบเกียจคราน งวงเหงาหาวนอนเซื่องซึมตองปฏิบัติแบบ งวงเหงาหาวนอนเซ่ืองซึม ฟุงซานตองปฏิบัติแบบฟุงซาน รําคาญตองปฏิบัติแบบรําคาญ เพราะ

42 เกียจครานไดกข็ ยันได งวงเหงาหาวนอนเซ่ืองซึมไดก็สดชื่นกระปรี้กระเปราได ฟุงซานไดก็สงบได รําคาญไดก็หายรําคาญได หากไมยอมปฏิบัติตรงตออารมณฝายลบ เลือกเฉพาะอารมณฝายบวก อยางเดียว ก็ไมสามารถเกาะเกี่ยวการปฏิบัติใหเชื่อมโยงกันไปและไมตอเนื่อง ดังนั้นการปฏิบัติ จะตองปฏิบัติอยางตอเน่ืองใหเปนปฏิกิริยาลูกโซท่ีเกาะเกี่ยวกันไปไมขาดสาย จึงจะไดช่ือวาทํา ตอเนื่อง ภาษาพระทานเรียกวา สาตจฺจกิริยานุโยโค คือการประกอบความเพียรอยางตอเน่ือง กลาว สรุปเปน สาระสําคญั ไวว า การปฏิบัติวปิ ส สนากรรมฐานคือการทาํ ดวยสตอิ ยางจดจอ ตอเนื่อง อน่ึง ในเรื่องการทําตอเนื่อง พระวิปสสนาจารยไดสืบทอดมาวา ใหปฏิบัติเหมือนมือสนิท ชิดกัน อยาหางกางน้ิว การกําหนดตองชิดกันไป เพื่อตัดชองวางมิใหกิเลสเขามาแทรกซอน คือ กําหนดอิริยาบถน้ีแลวกําหนดอิริยาบถนั้น กําหนดอาการนี้แลวกําหนดอาการนั้นตอติดกันไป ถา ปฏิบัตทิ ิ้งชวงหา งไมต อตดิ กนั กิเลสจะไดช องแทรกเขามา ในครัง้ หน่ึงคณุ ยาเจริญ สุวรรณ รองประธานกรรมการมูลนิธิวิเวกอาศรม ไดม าเลา วา “การ ปฏิบัติวิปสสนากรรมฐานนี้ มีเคล็ดลับอยูที่การทําตอเน่ืองเทานั้น เวลาโยมไปสงอารมณแกพระ อาจารย ทานจะเนน อยเู สมอวา “โยมตองทําตอเนือ่ งนะ ตอ งทําใหต ดิ ตอ ไมขาดสาย เหมือนมือที่ชิด กันน่”ี ไปทีไรอาจารยก พ็ ดู อยูอยางนั้น โยมไมพอใจ “อะไร ไปปฏิบัติมาสงอารมณทีไรก็มีแตบอก วา ใหทาํ ตอเนอ่ื ง ๆ ฉันทําธุรกิจไดเงินเปนหม่ืนเปนแสน เหน่ือยก็ยังพักได เบ่ือก็ไปเที่ยวได ไมเห็น ตอ งทาํ ตอ เนื่องถงึ ขนาดนี้เลย” พระอาจารยย ้มิ ตอบวา “โยม น่ยี ิง่ กวาเงินหมน่ื เงินแสนเชียวนะ เปน อริยทรัพย เงินหมื่นเงินแสนนะ ซ้ือเอาไมไดหรอก” โยมไดยินก็อ้ึง “เออ ใชจริง ๆ เงินหม่ืนเงิน แสนซื้อสภาวธรรมไมได ซื้อญาณก็ไมได จะตองมาปฏิบัติเทาน้ัน” และถามาปฏิบัติไมพยายามทํา ตอเน่ือง ก็ไมอาจยังสภาวธรรมใหกอเกิดและไมประสบความสําเร็จในการปฏิบัติธรรมเปนแน ตง้ั แตบดั น้นั เปนตนมา คุณยา เจริญจึงต้งั ใจทําตอ เนอื่ ง จนในท่สี ดุ ก็ไดช ื่อวา ผูประสบความสาํ เรจ็ ใน การปฏิบัตธิ รรมในระดบั หน่ึง สหายทางธรรมมาเยือนอยาเคล่ือนหนี คร้นั ผปู ฏิบัติอยกู ับทกุ กริ ยิ าอาการและทุกอารมณกําหนดดวยสติ อยางจดจอตอเน่ือง สมาธิ รวมตวั กนั มากขน้ึ แลว กจ็ ะเกิดปรากฏการณท างธรรมชาติของรูป-นามอยางหนึ่ง เรียกวา สหายทาง ธรรม ซ่ึงเปน สหายของเราตั้งแตแรกเกดิ น่ันคอื เวทนา ไดแก ความรูสึกเสวยอารมณทางกายและจิต ในเร่ืองของเวทนาน้ันมีปรากฏในหมวดของเวทนานุปสสนาสติปฏฐาน ๕ ประการ ดวยกันคือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา ๔. โสมนัส ๕. โทมนัส แบงประเภทออกเปน ๒ คือ เวทนาทางกาย มีสมุฏฐานมาจากกายและเวทนาทางจิต มีสมุฏฐานมาจากจิต ทางกายมีสุขและทุกข ทางจิตมีดีใจ เสียใจและเฉย ๆ ซ่ึงธรรมชาติไดมอบเวทนาเหลานี้มาใหเราตั้งแตแรกเกิด จะบอกวา

43 เวทนามาปรากฏเฉพาะในเวลาปฏิบัติกรรมฐานเทานั้นไมได เพราะเวทนามาพรอมกับการเกิดข้ึน ของรูป-นาม มีสังขารขน้ึ มาคราใด ก็มีเวทนาตามมาคราน้ัน ในทน่ี ้ีจะขออธบิ ายเฉพาะทกุ ขเวทนา มีอาการเจ็บ ปวด มนึ ชา เปนตน ซงึ่ เปนสภาพบบี คั้น ท่ียากจะทน ตามปกตเิ รามกั จะไมเ หน็ ทุกขเวทนาของรปู นามสังขารวามีสภาพเปนอยางไร หรือเห็น ก็ไมใสใจ เพราะการผลัดเปล่ียนอิริยาบถมาคล่ีคลายจึงไมเห็น ในทางธรรมทานกลาววา “อิริยาบถ เปนเคร่ืองปกปดทุกข” นั่งเหน่ือยก็เปล่ียนไปยืน ยืนเหนื่อยก็เปล่ียนไปเดิน เดินเหน่ือยก็กลับมานั่ง นั่งเมื่อยก็พลิกไปพลิกมา เมื่อมีการสับเปล่ียนอยูอยางนี้จึงไมเห็นทุกขเวทนา ครั้นมาปฏิบัติน่ัง กําหนดมิใหพลิกเปล่ียนอิริยาบถ ตองเจอสหายทางธรรมคือทุกขเวทนานี้แนนอน ซึ่งไมอยูท่ีใด อยู ท่ีรูปนามอันสําคัญวาเปนของเราน่ีเอง มิใชของคนอื่น บางคนกลัวทุกขเวทนามากไมอยากเจอ มา เจอเขาก็พูดจาไพเราะวา “ขอบใจนะจะที่มาเยือนฉัน ฉันจะไดกําหนดเธอ” ปรากฏวาทุกขเวทนา น้ันหายไป ดีใจรีบไปเลาใหเพื่อนรวมปฏิบัติฟง “เธอ ถาทุกขเวทนามานี่ พูดจากับเขาดี ๆ นะ เด๋ียว หาย” ญาตโิ ยมกล็ องพดู เพราะ ๆ ดูนะ เผอื่ จะหายบาง ทุกขเวทนามีอยูในทุก ๆ อิริยาบถ ไมเฉพาะอิริยาบถนั่งเทาน้ัน อิริยาบถยืน เดิน ก็มี ทกุ ขเวทนา ในอิรยิ าบถทัง้ ๔ อิริยาบถใดเปนที่สบายคิดวา ไมม ีทกุ ขเวทนา ตองตอบวาอริ ยิ าบถนอน นอนสบายไมมีทุกขเวทนาใชหรือไม ถาวานอนสบายแลวทําไมนอนอยูเฉย ๆ ไมได ทําไมตองพลิก ไปพลิกมา น่ันแสดงวาอิริยาบถนอนยังมีทุกขอยู รางกายจึงหลีกเลี่ยงสับเปลี่ยนดวยตัวของมันเอง ดงั นัน้ อยา ไปหลีกเล่ียงเลย ใหกําหนดรูตามสภาพความจริงจะดีกวา ถาคอยแตละหลบเล่ียงถือวาไม กลา เผชญิ ความจริง และไมมีทางรูแจงธรรมไดเลย หมั่นดูแลรักษาแตว า ไมก ตัญู ดังกลาววา ทุกขมาพรอมกับสังขารต้ังแตแรกเกิด สังขารจึงมีทุกขเปนพื้นฐาน เหมือนโลก น้ีมีความรอนเปนพื้นฐาน ความรอนมาพรอมกับโลกน้ี ที่มีความรูสึกวาเย็นเพราะความรอนลดลง สังขารก็เปนทุกขที่มีความสุขเพราะความทุกขลดลง เพราะการบําบัดทุกขดวยการผลัดเปล่ียน อิริยาบถน่ันเองจึงมีความสุข แทจริงกองสังขารเต็มไปดวยทุกข ดังพระพุทธคาถาวา “นตฺถิ ขนฺธ สมา ทุกฺขา ไมมีทุกขท่ีเสมอดวยขันธ ๕” ทุกคนตางก็ปรนเปรอขันธ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนี้ คอยบรรเทาทุกขบํารุงสุขอยูเปนประจํา ต่ืนเชามาก็ตองลางหนา แปรงฟน ทานขาวปลาอาหาร พักผอนหลับนอน ถึงคราวเจ็บไขไดปวยก็ตองเยียวยารักษาดูแล ถามวา ท่ีเฝาดู แลเอาใจใสอยูอยางนี้ รูปนามสังขารเคยเต็มบางหรือเปลา กตัญูหรือไม ไมเห็นวาจะเต็มสักที ยัง ปรากฏดวยความเปนสภาพพรองที่ตองเติมสิ่งตาง ๆ เขาไปอยูเสมอ และแลวเมื่อถึงคราวแกก็ตอง แก ถงึ คราวเจ็บก็ตองเจ็บ ถงึ คราวตายกต็ องตาย นี้หรอื คอื ผลตอบแทนของการทะนุถนอมรักษาดูแล ไฉนไยยังยนิ ดีอยเู ลา เรามีความทุกขแ ลว และจะไมเพมิ่ ความทุกขใหแกตัวเราอีก มีพระรูปหน่ึงบวช

44 มานาน โยมมาถามวา “ทําไมทานจึงบวชอยูนานไมยอมสึกออกไปมีเมียมีลูกเสียที” ทานตอบวา “โยม ขนั ธ ๕ เปน ทกุ ข ขณะนีอ้ าตมามีอยู ๕ ขันธก็ทุกขจ ะแยอยแู ลว หากไปมภี รรยาก็เพ่ิมมาอีก ๕ ขนั ธ ภรรยามลี กู ก็เพ่มิ มาอกี ๕ ขันธ เปน ๑๕ ขันธ จะตองไปดูแล ไมตองการเพิ่มทุกขใหแกตัวเอง นะ เลยไมสึกออกไป” เปน คาํ ตอบท่เี หน็ แกตวั หรอื เปลา กไ็ มทราบ กลวั ทกุ ขท ําไมในเมอื่ มีแตท ุกข ในคร้ังพุทธกาล มีพระภิกษุณีรูปหนึ่งชื่อวา วชิรา กําลังเพียรเพงเขาสมาธิอยูในท่ีพัก กลางวัน มารตนหน่ึงตองการใหทานสะดุงกลัวออกจากสมาธิ จึงแสรางกลาวเสียงดังวา “สัตวใคร เปนคนสราง คนสรา งอยูท ไ่ี หน สัตวเ กิด ณ ทีใ่ ด และดับ ณ ที่ใด” พระวชิราภิกษุณีคิดใครครวญวา น่ีเปนเสียงของใคร ทราบวาเปนเสียงของมาร จึงไดกลาว ตอบวา “เหตุใดเจาจึงปกใจเช่ือวาเปนสัตวละ ใครจะไปสรางสัตว ไมมีใครที่ไหนสรางสัตวหรอก ดวยการประชุมรวมตัวกันของธาตุทั้ง ๔ จึงสมมติวาเปนสัตว เหมือนรถท่ีประกอบชิ้นสวนตาง ๆ เขา ดวยกัน แลวรวมเรยี กวา รถ แยกชิ้นสวนออกไปก็ไมมีอะไรใหเรียกวารถ” และพระวชิราภิกษุณี ก็กลา วตอบดว ยบทคาถาวา ทุกขฺ เมว หิ สมฺโภติ ทกุ ขฺ ํ ติฏฐติ เวติ จ นาญฺ ตฺร ทุกฺขา สมโฺ ภติ นาฺญตฺร นริ ุชฺฌตฯิ ทกุ ขเ ทานัน้ ท่ีเกิดข้ึน ทกุ ขเ ทานน้ั ทต่ี ัง้ อยู ทุกขเ ทานนั้ ที่ดบั ไป นอกจากทกุ ขแลวไมม อี ะไรเกดิ นอกจากทุกขแ ลว ไมมีอะไรดับฯ สรรพสงิ่ แลมากลว น หลากหลาย ทุกขบเคยกลบั กลาย เกลอ่ื นแท ทนทุกขจวบจนตาย ตราบลว ง ลาแล นา เบอ่ื หนา ยเกินแก เกดิ ข้นึ ทุกขเสมอฯ เราเกดิ มามสี งั ขารคือกองทุกขเ ปนสมบัติ อยาไดก ลวั ทกุ ขเลย ครั้นเจอทกุ ขเวทนาก็อยากลัว เหตใุ ดผปู ฏิบัตเิ จอทุกขเวทนาจึงมีความรูสึกวา ชามาก ปวดมาก นั่งอยูท่ีบานถึงแมจะนั่งซอนขาทับ กันอยกู ็มคี วามรูสึกวา ชาปวดไมมาก เพราะในขณะน้ันมีอารมณอ่ืน ไมรับทุกขเวทนาอยางเดียว จึง มคี วามรูสึกวาไมบ บี ค้ันอะไร ไมค อ ยชาปวดสักเทา ไหร เชน ในขณะนัง่ ดูละคร ก็สนใจแตหนังและ ละคร บางทีดูหนังชุดเปน ๗-๘ มวน ยังนั่งหลังขดหลังแข็งดูกันไดสบาย ๆ ไมเห็นวาจะทุกขรอน

45 คร้ันมาปฏิบัตินั่งไมนานเทาไหรชาปวดขึ้นมาก็โอดครวญแลว ทําไมไมนึกถึงเวลาที่นั่งดูหนังดู ละครกันบาง ทวาท่ีเปนเชนนั้น เพราะในขณะปฏิบัติจะตองรับทุกขเวทนาน้ีเต็ม ๆ เสวยอารมณ เดียว จงึ มีความรสู กึ วา ปวดมาก ทุกขแ รงกลาเกิดจนกําเนิดอรหันต ทกุ ขเวทนาที่เราทา นท้ังหลายเจอนถี้ อื วาเล็กนอย หากเทยี บกับทุกขเวทนาที่พระภิกษใุ น อดตี กาลรูปหนึง่ เจอ เปน ทกุ ขเวทนาท่หี นกั หนาแสนสาหสั จนกลายเปนตํานานเลา ขานกนั มาตราบ เทาปจ จบุ ัน เร่อื งมอี ยวู า ในสมยั ทพี่ ระพุทธศาสนาถงึ ความเจริญรุงเรืองในประเทศศรลี ังกา ครั้งนนั้ มพี ระภกิ ษรุ ูป หน่ึงชื่อ ทปี มลั ละ พรอ มดว ยพระภกิ ษกุ ลมุ ใหญ ทานทปี มลั ละผเู ปนหัวหนา แหง ภกิ ษกุ ลมุ นัน้ มี ความเพยี รมาก มีความอดทนมาก เดินจงกรมไปมาบนแผนหนิ จนเทาบวมเปง ปรแิ ตกเดนิ ไมไ หว ทา นจงึ เดนิ เขา คลานไปมาตวมเตี้ยม ๆ ไมย อมผละออกจากการปฏบิ ัติ ในเวลาพลบคํา่ มนี ายพราน เน้อื คนหนึ่งเขา มาในบรเิ วณนั้น ยามเย็นกาํ ลังมืดสลวั เหน็ คลานตะคุม ๆ อยู นึกวา เปนเนือ้ ก็เลง็ เปา พงุ หอกออกไปทนั ที ฉกึ เขา ไปทีล่ าํ ตวั เตม็ เหนย่ี ว รีบวิ่งเขาไปดู กร็ องอุทานออกมา “ตายแลว ! ไมใ ชเน้ือน่ี พระ ทานมาทาํ อะไรอยูแถวน”้ี ทา นทีปมลั ละตอบวา ”โยมอยา เพิง่ ตกอกตกใจไป ชว ย ดึงหอกออกมาหนอย หาหญามามว นอดุ รูแผลหามเลือดกอ นนะ แลวชวยพยุงอาตมาขน้ึ ไปบนแผน หนิ สงู ๆ น่ัน ท่ลี มพดั เยน็ ๆ นะ” นายพรานเนอื้ รบี ทาํ ตาม ดึงหอกออกมามว นหญา อดุ รูแผล เสร็จ แลว ก็พยุงทานขึ้นไปท่ีแผน หนิ นนั้ ทานทปี มลั ละน่ังกาํ หนดทกุ ขเวทนาทนั ที ความเจบ็ ปวดรุนแรง ก็มสี มาธกิ อ ตวั ข้นึ มาอยางแรงกลา เปน เหตุใหทานบรรลุอรหัตผลในทีน่ ั้น ถาเปนโยมจะวาอยางไร เจอเขาไปแบบนมี้ ีแตจ ะหนั ซายหันขวาเรยี กหาคนมาชว ย อรหนั ตพ กั ไวก อน แตพ ระในกาลกอน ทานมีศรทั ธา ความเพยี ร และความอดทนมาก ยอมมอบกายถวายชวี ติ ไมค าํ นงึ ถึงความตายเลย คดิ ดู วา หอกเสยี บเขาไปดึงออกมาอดึ ดว ยหญาเลอื ดไหลชมุ อยจู ะเปน อยางไร ก็ตองเจบ็ ปวดทกุ ขทรมาน อยางแสนสาหสั เราทานทั้งหลายมานัง่ กาํ หนดอยูน บี้ าดแผลไมมี ไมถ งึ กบั เลอื ดตกยางออกเลย เพียงแคช าก็ราํ คาญ ปวดข้ึนมาก็หาทางเลี่ยงหลบพลิกเปลีย่ นอยากจะใหห ายเสียแลว ทุกขเวทนามคี า อยา เพกิ เฉย เมื่อผปู ฏบิ ัตปิ ระสบทุกขเวทนาก็จะกระสบั กระสา ยเพราะรสู กึ วา บบี คน้ั ครั้นมาสง อารมณ ใหแ กพ ระวิปส สนาจารย ทานกลับบอกวา “ทุกขเวทนานด้ี นี ะ มาเจอขมุ ทรัพยข องวปิ สสนาเขา แลว ใหตัง้ ใจกําหนด” ทกุ ขเวทนาจะเกิดผลดีดงั ตอไปน้ี ๑. ปรากฏชดั บรรดาอารมณหรืออาการทางกาย จิต ธรรม ทุกขเวทนาจะปรากฏชดั กวา อาการอน่ื ๆ พอง-ยบุ บางครง้ั ก็ชดั บา งไมช ัดบา ง คิดกก็ าํ หนดยากไมค อ ยทนั ขวา-ซายบางทีก็เผลอ

46 ไป เพราะสภาวะเหลา นน้ั ยงั ไมชัดพอ แตท กุ ขเวทนาท่ีกอ ตัวตงั้ ขึน้ นีจ้ ะชัดมาก ความชดั ของ ทุกขเวทนาจะเปนขมุ พลงั ใหแกส มาธิ กาํ หนดทนั ทีวา “ปวดหนอ ๆ” สมาธจิ ะกอ ตวั แนน และ พฒั นาไปไดเ รว็ ๒. นวิ รณธรรมสงบลง ในขณะที่ทกุ ขเวทนาปรากฏชดั นน้ั นวิ รณจะตีหา งออกไป กลา วคอื กามฉันทความพงึ พอใจในกามคุณ ๕ (รปู เสียง กล่ิน รส สมั ผัสถูกตอง) จะไมเขา มา พยาบาท ความ อาฆาตมาดรา ยจะจางคลาย ถีนมิทธะ ความโงกงว งหาวนอนจะหา งกาย อุทธจั จกุกกุจจะ ความ ฟุง ซา นรําคาญใจจะสลายตัว วจิ ิกจิ ฉา ความเคลือบแคลงสงสัยกบ็ างเบา ๓. ชว ยกาํ ราบกิเลส จติ ท่ยี งั ไมไ ดรับการฝก อบรมก็เต็มไปดวยกิเลสหยาบกระดาง เวทนาที่ กอตวั ขึน้ แรงกลาจะมาชว ยกาํ ราบเผารนจิตใหออนตวั (มุทุตา) ทกุ ขเวทนาจงึ เปรยี บเปน ไฟมาเผา ผลาญกเิ ลสท่เี กาะกรงั จติ ใหม อดไหม หากเจอทุกเวทนาก็จงรูวา ไดเครอ่ื งมอื เผากิเลสแลว ๔. เปนขุมพลงั ของสมาธิ อาการตา ง ๆ ของรปู -นามจะเกดิ พลังงานขนึ้ มาทกุ คร้งั ทท่ี าํ การ กาํ หนด พองหนอ เกิดพลังงาน ๑ หนว ย ยุบหนอ เกดิ พลังงาน ๑ หนว ย ทวาพอง-ยุบหรืออาการอนื่ ๆ จะปรากฏดว ยความชัดบา งไมช ัดบา ง พลงั งานจากการกําหนดจงึ เกดิ ไมเ ต็มเม็ดเต็มหนว ย แต ทกุ ขเวทนาทป่ี รากฏชัดจะเกดิ พลงั งานเตม็ อตั รา พลังงานจากทกุ ขเวทนานจี้ ะเปน พนื้ ฐานท่ีมนั่ คง ของกรรมฐานและเปนแรงหนนุ ใหเกดิ พฒั นาการทางการปฏิบัติสงู ย่งิ ขนึ้ ไป ทกุ ขเวทนาจึงเปน ขมุ พลังงานใหเกบ็ สะสมสมาธิไดอยา งดียงิ่ ๕. เห็นทุกขโทษ รา งกายอนั กวา งศอกยาววาหนาคืบนี้ ในกาลกอนเราสาํ คัญวา เปนสุข มี ความยินดพี อใจไมเ บื่อหนา ย คร้นั เห็นทกุ ขเวทนาปรากฏดวยสภาพบบี คัน้ ยากทจ่ี ะทนน้ี กาํ หนดดกู ็ รงู า เปนกองทุกขเต็มไปดว ยโทษที่นาอดิ หนาระอาใจ ก็เกิดความเบอื่ หนา ยคลายกาํ หนดั ตองการ ออกไปจากรูปนามสังขารนี้ การเหน็ ทกุ ขโ ทษเชนน้ีจะเปน ปจจยั ขัว้ ตอ สาํ คัญใหเกดิ ความตอ งการ ขามพนสังสารวฏั เขาสูมรรคผลนิพพาน ทั้ง ๕ ประการเหลานี้ เปนผลดีของทกุ ขเวทนา ซึ่งวปิ ส สนากรรมฐานถอื วา เปนขุมทรพั ย และเปนแหลง กําเนดิ พลังงานอยางมหาศาล ถาใครมาปฏิบตั วิ ิปสสนากรรมฐานไมเ กิดทุกขเวทนา หรือไมเ จอทุกขเวทนาเลย ถอื วา เดินไมถูกทาง ทกุ ขเวทนาจึงเปน สภาวะทีพ่ งึ ประสงคข องกรรมฐาน สายนีเ้ ปน ตวั ชวี้ า ผลทางการปฏิบตั ิเกดิ ขึน้ หรือไม และจะพฒั นาไปอยางไร หากผปู ฏิบัติมาเจอ ทุกขเวทนาขอใหท ําความเขา ใจวา ตนไดเ ดนิ มาถูกทางและเกดิ ผลทางการปฏิบตั แิ ลว ทุกขเวทนาคอื ปญหาทแ่ี กตก สวนมากผปู ฏบิ ัตเิ จอทุกขเวทนาก็ตองการใหหาย ขอใหทาํ ความเขา ใจวา ทกุ ขเวทนาน้นั หายแนนอน แตต อ งใชเ วลาพอสมควร ในบรรดาอายขุ องสภาวะทัง้ หมด ทกุ ขเวทนาจะมีอายนุ าน กวา ซ่ึงเราไดพ บแลววา พอง-ยบุ ไมน านกห็ ายไป ความคดิ กแ็ ผล็บเดยี วดับ แตท ุกขเวทนานจี้ ะมีอายุ

47 นานหนอย ปฏบิ ตั ิได ๑ บลั ลงั ก หรอื ๒-๓ บัลลังกกย็ ังไมหาย ตองปฏบิ ตั อิ กี หลายวนั ทกุ ขเวทนาจงึ จะเรม่ิ ลดอายลุ งและจางคลายหายไปในทส่ี ดุ ดงั พระพุทธดาํ รสั วา “ส่ิงใดเกดิ ขึน้ เปนธรรมดา สิง่ น้ัน ทงั้ หมดกด็ บั ไปเปนธรรมดา” สรรพสงิ่ ลวนตกอยูในสภาพธรรมคอื เกิดขน้ึ ตัง้ อยู ดบั ไป ทวา อยาอยากใหหาย เหน็ ทา น บอกวาหายแนก ็อยากจะหายจงึ กําหนดดว ยอารมณน ัน้ ครนั้ ไมห ายก็รูส กึ หงุดหงิด ขอ ปฏิบัตติ อทุกขเวทนามอี ยู ๒ ประการ คอื ๑. อยาอยากเอาชนะ ๒. อยาอยากใหห าย ถา ปฏิบตั ิดวยอารมณท ง้ั ๒ อยา งนี้ ถอื วา มโี ลภะหนว งนําและโทสะจะตามมา มโี ยมคนหนง่ึ มาสง อารมณแ กพ ระวปิ ส สนาจารยเ ลาวา “ฉนั กาํ หนดทกุ ขเวทนาตามคาํ แนะนําของพระอาจารยน นั่ แหละ คอื ไมอ ยากเอาชนะและไมอ ยากใหห าย กําหนดไปตงั้ หลายบลั ลังกแ นะ ทาํ ไมไมหายสักทลี ะ พระอาจารย” ทาํ ไมไมหายโผลมาตอนทา ยจนได แสดงวายงั อยากอยู ขอใหทาํ หนา ทก่ี าํ หนดไป เร่อื ย ๆ ในไมช าทุกขเวทนาจะบางจางคลายเอง ไมม ีสง่ิ ใดอยคู ฟู า ได มเี กิดกม็ ดี ับ มที กุ ขก็มสี ขุ เปน ของคูกันเสมอ ทกุ ขเวทนานเ้ี รียกวาตน รา ยปลายดี เปน ละครเรื่องท่อี อกจะรันทดระทมทุกขใ นชว งตน ๆ ขอใหท นตดิ ตามดตู อไป ในชวงทายรับรองวา Happy ending มีความสุขสมหวังหลังจาก หมดทกุ ขเวทนาแนน อน และเราจะตองหันมาขอบใจสหายทางธรรมนี้ทมี่ าเยือนใหไ ดฝก ความ อดทนอดกลน้ั ไดก าํ หนดรสู ภาพธรรม ในท่สี ดุ ทุกขเวทนาก็นาํ พาเขา ไปสูอีกสภาวะหนง่ึ ซึ่งไมเ คย สัมผัสมากอ นในชวี ติ ดว ยเหตนุ ้เี อง พระวปิ ส สนาจารยจ งึ ใหค าํ แนะนาํ วา อยา พลกิ เปล่ียนอริ ิยาบถ เพราะเราน่ัง ตามเวลาท่กี ําหนดไว ๓๐-๖๐ นาที ครบเวลาแลว ก็ตอ งกาํ หนดออกจากสมาธอิ ยดู ี ถารีบไปพลิก เปลย่ี นเสียกอ น ทกุ ขเวทนาทีก่ าํ ลงั กอ ตัวไดทจ่ี ะคลายตวั ไป และไมพ บสภาพธรรมท่แี ทจริง ความ จรงิ ทุกขเวทนาตกอยใู นสภาพอนัตตาคอื บงั คบั บัญชาไมได ไมไดขออนญุ าตเลยวา “ขอเวลาสกั ๕ นาทีนะ ปวดหนอ ย” จะมาเมอื่ ไหรก ็ไมรู จะไปเม่ือไหรก็ไมท ราบ เกดิ เองดับเอง มาเองไปเอง แลว เราจะไปวิตกทําไม อยาเกรงกลวั เตรยี มตวั ปฏิบตั ิการ กลา วถึงวธิ ีการกําหนดทกุ ขเวทนา มวี ธิ กี ารกําหนดอยา งไร พระวปิ ส สนาจารยไ ดใ ห คําแนะนาํ ในเชงิ ปฏบิ ตั ิการไววา ๑. ปฏิบตั ิการแบบขุนพลประจญั บาน ขนุ พลประจัญจานทีอ่ อกไปรบ เจอขา ศกึ แลว กไ็ ม หลบเลีย่ งเลย ยงิ กราดรวั เปรยี้ ง ๆ ใครดใี ครอยูสูกันชนดิ ตาตอตาฟนตอ ฟน ตายกนั ไปขา งหนง่ึ การ กําหนดทุกขเวทนาก็ดงั น้นั คอื กาํ หนดอยา งไมล ดราวาศอกไมใ หคลาดสายตาแบบซึง่ หนาชนกันจะ ๆ อยา งถนดั ถน่ี ปะทะกันจัง ๆ ไมย ั้งมอื กําหนดอาการปวดอยางหนกั เนนวา “ปวดหนอ ๆ ๆ”

48 ๒. ปฏิบัติการแบบกองโจร หนวยลาดตระเวนออกไปสํารวจพื้นท่ี พบขาศึกศัตรูก็แอบซุม เหมือนกองโจร คอยดูลาดเลายังไมเขาไปโจมตีในทันทีทันใด แนใจแลวจึงเรียกกองกําลังหนุนบุก เขาไปโจมตี เขาไปโจมตีแลวเห็นทาไมดีก็ถอยฉากออกมาหลบซุมหาทางเขาบุกโจมตีใหม สูบาง ถอยบาง การกําหนดทุกขเวทนาก็ดังนั้น คือกําหนดบาง ถอยบาง ออกมาดูบาง กําหนดหาง ๆ แบบ ทงิ้ ระยะวา “ปวดหนอ...ปวดหนอ...” แตว าคอยดูอยู ไมเ บย่ี งเบนความสนใจไปท่อี ่นื ๓. ปฏบิ ตั กิ ารแบบคมุ เชิง นกั กฬี าลงสสู นาม จะมีโคชอยูน อกสนามคอยดูคมุ เกมการเลน ของนักกฬี า ไมเขา ไปรว มแขง ขนั ดว ย การกาํ หนดทกุ ขเวทนากด็ ังน้ัน จะไมเ ขา ไปคลกุ วงในกบั ทกุ ขเวทนา อยวู งนอกคอยดวู า จะเปน อยางไร จะปวดขนาดไหน ไมก ําหนดคําวา “ปวดหนอ ๆ” สําทบั เขาไป เพียงแตด ตู ามอาการปวดทก่ี อตัวขน้ึ มาเทา นน้ั ท้งั ๓ ประการนี้ ใหเลอื กใชต ามแตกรณพี อเหมาะแกความหนักเบาของทกุ ขเวทนา ถา ทกุ ขเวทนามาเบาแบบบาง ๆ ก็กําหนดแบบขุนพลประจัญบาน ถา ทกุ ขเวทนามาแรงพอทนไหวก็ กําหนดแบบกองโจร ถา ทุกขเวทนา กลา มาอยา งหนกั หนว ง ทนไมไ หว กก็ ําหนดแบบคมุ เชิง ไมม ีเราเฝามองกต็ อ งเฉย เหตใุ ดการปฏบิ ัติตอ ทุกขเวทนา ความรสู กึ ของผูป ฏิบัติจงึ ไมอ าจกําหนดไดอ ยา งเฉย ๆ หรือ วางใจเปนกลาง ๆ วา ทุกขเวทนาเปนเพียงอาการเจบ็ ปวดมนึ ชา เพยี งสกั แตว า เทา น้นั ในทาง กลบั กันกก็ ลัวจะเปนอนั ตรายตอ สขุ ภาพ บางคนคดิ ไปวา เปน การทรมานตน (อตตฺ กลิ มถานุโยค) จึง ไมก ลา นง่ั ตามเวลาทกี่ าํ หนด รีบพลิกเปล่ยี น หรอื ทกุ ขเวทนาแรงกลา เกิดข้นึ กไ็ มอดทนกําหนด ในขอนม้ี อี ุปมาเปรียบเทยี บไวว า สมมตวิ าเราขบั รถไปเจอคนถูกรถชนนอนตายอยขู างถนน คนท่นี อนตายนัน้ ไมใ ชญ าตพิ น่ี อ งของเรา จะรูสึกอยา งไร กร็ ูส กึ เฉย ๆ ผานไปไมเกบ็ มาเปน อารมณ แตถ า คนทีน่ อนตายนน้ั เปนญาตพิ ่ีนองของเรา เปนพอแมห รือลกู หลาน จะรสู กึ อยา งไร กร็ ูสกึ เฉย ๆ ผา นไปไมเกบ็ มาเปน อารมณ แตถาคนที่นอนตายนน้ั เปน ญาติพ่ีนอ งของเรา เปนพอ แมห รอื ลกู หลาน จะรสู ึกอยา งไร กร็ ูสึกเศรา โศกเสยี ใจรอ งหม รอ งไหเ พราะอะไร เพราะมคี วามรูสึกวา ของ เราหรอื ไมใชข องเรานน่ั เอง ทกุ ขเวทนาทผ่ี ปู ฏบิ ตั ิเจอกเ็ หมอื นกนั มีความรสู กึ วาปวดมากจนถงึ กับกระสับกระสาย เพราะพว งคําวา “เรา” เขาไปดว ย เขาใจวา เราเจบ็ สาํ คญั วาเราปวด จงึ เปนหว งตัวกลัวจะเปน โนน เปน นี่ ทนกาํ หนดดไู มไ ด แตถา ทําความเขาใจวา ทุกขเวทนามิใชของเราเปนเพยี งอาการปวด เปน เพียงปรากฏการณของรปู -นามอยา งหน่ึง ก็สามารถกําหนดทุกขเวทนาน้ันไดอ ยา งสบาย ๆ ไมบ บี คน้ั อะไร เหมอื นไปเจอคนนอนตายทไี่ มใชญ าติพนี่ อ งของเรากร็ สู ึกธรรมดาเฉย ๆ ฉะน้ัน

49 หากหนั มาพิจารณาถงึ เร่ืองเหตุปจจยั กพ็ บวา ทกุ ขเวทนาทกี่ อตัวขนึ้ มานนั้ เน่อื งดว ยการ รวมตวั ของสมาธิ เปนผลเกิดขน้ึ จากการปฏิบตั ซิ ึ่งบา ยออกมาจากฐานกายเขา สูฐานเวทนา การ ปฏบิ ตั กิ ําลงั แสดงผลทางเวทนาใหป รากฏเหน็ หากละเลยเสยี ก็เทากบั ปฏิเสธผลของการปฏบิ ัติ อน่ึง ในขณะท่ีกําลงั กาํ หนดทุกขเวทนาอยนู ัน้ ถา ใจเริ่มอดึ อดั ระอาหรอื หงุดหงดิ รําคาญกับ อาการเจ็บปวด ไมอาจวางใจเปน กลาง ๆ ได ผปู ฏิบตั ิตอ งกาํ หนดความรูสกึ นน้ั ดว ยวา “อดึ อัดหนอ หงดุ หงดิ หนอ รําคาญหนอ” เพราะนั่นคือเวทนาทางจติ มีสมุฏฐานมาจากจติ หรือเรียกวา โทมนัส เม่ือผูป ฏบิ ัตไิ มละเลยทอดทงิ้ ทกุ ขเวทนา มีความเพยี รพยายามและอดทนกําหนดไปเร่อื ย ๆ กจ็ ะผานทกุ ขเวทนานนั้ ไปในทสี่ ดุ ทวา ปจ จัยสาํ คัญของการผานดา นทกุ ขเวทนา คอื การทําตอ เน่ือง มิใหก รรมฐานรว่ั ถาผปู ฏิบตั ไิ มท ําตอ เนอ่ื ง ปลอ ยใหกรรมฐานร่วั ดว ยการไปพูดคยุ สนทนา ละทงิ้ การกําหนด ทกุ ขเวทนาจะวนเวยี นไปมาขน้ึ ลงอยูอยา งนน้ั ปฏบิ ัตไิ ปนกึ วาหายแลว กก็ ลบั มาอกี ถา ตอ งการผานดา นทุกขเวทนาตอ งทาํ ตอ เนือ่ งและอยาปลอยใหก รรมฐานร่วั พระธรรมเทศนาในวันนไ้ี ดแ สดงถึงเนื้อหาสาระของเวทนาและการกาํ หนดดว ยวิธกี ารตา ง ๆ ไวห ลายประเด็น โดยอาศยั นัยทป่ี รากฏในพระไตรปฎกและการสืบทอดของพระวิปส สนาจารย มาอธิบายขยายความตอ หากทานใดเขา ไปกาํ หนดรูต ามปรากฏการณของเวทนาน้ี ก็สามารถกําจดั อภชิ ฌาและโทมนสั ได ดังพระพุทธดาํ รสั ทีอ่ าตมาไดย กข้นึ เปน นิกเขปบทในเบ้อื งตน วา เวทนาสุ เวทนานุปสสฺ ี วหิ รติ อาตาป สตมิ า สมฺปชาโน วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโท มนสฺสํฯ ภิกษุดูตามเวทนาในเวทนาอยู เพียรพยายามอยางมีสติสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและ โทมนสั เสียไดใ นโลกฯ ดงั แสดงพระธรรมเทศนามาก็สมควรแกก าลเวลา ขอยตุ ิลงปลงไวแตเ พยี งเทา นี้ เอวํ กม็ ดี วย ประการฉะนี.้

50 กัณฑท่ี ๕ จิตตานปุ ส สนากถา จิตของคนเรานั้นเปน ทหี่ มักหมมกเิ ลสสะสมมาเปนเวลายายนาน ไมเฉพาะเพยี งชาตนิ ้ี เทา นน้ั นานแสนนานไมร ูกภี่ พก่ชี าติ เกิดมาแลว ไมม ใี ครสอนใหโ ลภมันก็โลภเปน ไมมใี ครสอน ใหโ กรธมนั กโ็ กรธเปน ไมมใี ครสอนใหห ลงมนั กห็ ลงเปน เม่ือมาปฏิบัตกิ เ็ ปน เรื่องยากทเี ดียวทจ่ี ะ ขับไลใหออกไป เพราะเทา กบั ไลเ จาท่ี สมมติวาเราไปอาศัยอยูทีแ่ หง หน่งึ ซงึ่ มเี จา ถน่ิ อยปู ระจาํ มา กอน ตองการใหเจาถ่นิ ออกไปจากพนื้ ท่นี น้ั เขาจะยอมออกไปงา ย ๆ หรือเปลา ยงิ่ ถาเจาถิ่นเปนคนมี อทิ ธิพลครอบครองมาเปนเวลานาน ก็เปนเร่อื งยากมาก ดจุ เดยี วกนั เจาที่ ๆ อยูประจําขนั ธสนั ดานนี้ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ซ่งึ ครอบครองมาเปนเวลานานแสนนาน ไมเ ฉพาะเพยี งชาตนิ ี้ ไมรูกภี่ พกี่ ชาติท่ีผา นมา จะไลออกไปมใิ ชเรอ่ื งงายเลย เปนเรอ่ื งยากจริง ๆ แตย ากน่ีทําไดห รอื เปลา ยากยงั ทํา ไดอ ยู ทาํ ไดแตยาก มใิ ชย ากแลว ทาํ ไมได. นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมพฺ ุทธฺ สสฺ นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพทุ ฺธสฺส นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมมฺ าสมฺพุทธฺ สสฺ จติ ฺเต จิตตานุปสสฺ ี วหิ รติ อาตาป สตมิ า สมฺปชาโน วิเนยยฺ โลเก อภชิ ฌฺ าโทมนสฺสนติ ฯ ณ บัดน้ี อาตมภาพจักไดแสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาถึงจิตตานุปสสนากถา วาการ กําหนดดูจิต เพอ่ื เปน เคร่ืองเจริญศรัทธา เพิ่มพูนปญญาบารมี ใหแกทานสาธุชนคนดี โยคีและโยคินี ทงั้ ท่เี ปน คฤหัสถและบรรพชติ มพี ระคาถาบทหนงึ่ แสดงถงึ เร่ืองจติ ไวว า ผนทนํ จปลํ จติ ฺตํ ทรุ กขฺ ํ ทนุ นฺ วิ ารยํ จิตตฺ สฺส ทมโถ สาธุ จติ ตฺ ํ ทนฺตํ สุขาวหฯํ จิตมีธรรมชาตดิ ้ินรนสบั สนซดั สา ย รกั ษายาก คุมครองยากหามไดยาก การฝก จติ นั้นเปนเร่ืองดี เพราะจิตท่ีฝก ดีแลว นําความสุขมาใหฯ คนจะดไี ดเพราะฝกและศึกษา กายวาจาตอ งอบรมบมนิสัย ตอ งฝกจิตใหแ นน หนกั เปนหลักชยั ชนะภยั สารพดั สวสั ดฯี


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook