Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา 007,014

คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา 007,014

Published by Knw EDU Channel, 2022-03-24 10:31:51

Description: คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา 007,014

Search

Read the Text Version

คำนำ กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการ ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา (Internal Quality Assurance) และระบบประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา (External Quality Assurance) และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ บริหารการศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องส่วนมาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะที่ พึงประสงค์และมาตรฐานที่ ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียง สำหรับการส่งเสริม และกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา ใน E- Book เล่มนี้ประกอบไปด้วยคุณภาพการศึกษา ความหมายคุณภาพการศึกษา ความสำคัญ ของคุณภาพการศึกษา ขอบข่ายของคุณภาพการศึกษา หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการ คุณภาพการศึกษา แนวคิดการบริหารระบบคุณภาพการศึกษาการจัดการศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ การศึกษา การจัดการคุณภาพการศึกษา หลักการจัดการคุณภาพการศึกษา แนวทางการจัดการศึกษาของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีคุณภาพ แนวทางการดำเนินงานด้านคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการ ศึกษา ความหมายของการจัดการคุณภาพการศึกษา แนวคิดและทฤษฎีของการจัดการคุณภาพ การนำการ จัดการคุณภาพมาใช้ในโรงเรียน วิดีโอการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา บทสรุป คำถามทบทวน ผู้จัดทำ หวังว่า E- Book เล่มนี้จะทำให้ทุกท่านที่อ่านได้เห็นคุณค่า และความสามารถโดยรวมของผู้จัดทำ 20/03/2565

สารบัญ คุณภาพการศึกษา หน้า ความหมายของคุณภาพการศึกษา 1 ความสำคัญของคุณภาพการศึกษา 2 ขอบข่ายของคุณภาพการศึกษา 3 หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพการศึกษา 4 แนวคิดการบริหารระบบคุณภาพการศึกษาการจัดการศึกษา 4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา 10 12 การจัดการคุณภาพการศึกษา 14 20 หลักการจัดการคุณภาพการศึกษา 22 แนวทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีคุณภาพ 22 แนวทางการดําเนินงานด้านคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา 22 การจัดการคุณภาพการศึกษา 23 ความหมายของการจัดการคุณภาพการศึกษา 26 แนวคิดและทฤษฎีของการจัดการคุณภาพ การนำการจัดการคุณภาพมาใช้ในโรงเรียน วิดีโอ การจัดการคุณภาพของสถานศึกษา บทสรุป คำถามทบทวน เอกสารอ้างอิง

1 คุณภาพการศึกษา ความหมายของคุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปณิธานและภารกิจของการ จัดการศึกษาระดับการศึกษาต่าง ๆ ตามนโยบายการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ตลอดจน ปณิธานและภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการ พัฒนาคนให้มีคุณภาพโดยสามารถปรับตนให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ อย่างเหมาะสม และเป็นสุขดำรงชีวิตในสังคมบนพื้นฐานของความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่มวลมนุษย์ โดยร่วมกันป้องกันแก้ไขหรือร่วมกันรักษาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สมดุลกับการดำรงชีวิตการ พัฒนาคนให้มีคุณภาพ ต้องอาศัยการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของการศึกษาโดยประเมินได้จาก คุณลักษณะของผู้เรียนของผู้เป็นแรงงานหรือของพลเมืองในประเทศคุณภาพการศึกษาสัมพันธ์กับ ปัจจัยและกระบวนการบริหารการจัดการสังคมต้องการให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดการศึกษาที่มี ประสิทธิภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคน การจัดการคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยคำ 2 คำคือคำว่า“ การจัดการ” และคำว่า“ คุณภาพการศึกษา”ดังนั้นการจัดการคุณภาพการศึกษาจึงหมายถึงกระบวนการทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาครูและบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้ เรียนและวิธีการจัดการศึกษาซึ่งเป็นที่เชื่อมั่นหรือเป็นที่พึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายหลัก การพื้นฐานและระบบการจัดการคุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

2 ความสำคัญของคุณภาพการศึกษา กระตุ้นให้สถานศึกษาพัฒนาตนเอง สถานศึกษาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน ต้นสังกัดใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการ เพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการจาก ให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาในเรื่อง สถานศึกษา บุคลากรงบประมาณ เป็นต้น ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะ ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการ เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอ ศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและ ภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มี สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มี คุณภาพอย่างทั่วถึง คุณภาพมาตรฐาน ทำให้ผู้รับผิดชอบในการจัดการศึกษามุ่งบริหารจัดการศึกษาสู่คุณภาพและมาตรฐานอย่างจริงจัง ซึ่งมีผลให้การศึกษามีพลังที่จะพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง สรุปได้ว่า คุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของ สถาน ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการ ศึกษา ทั้งยังเป็นการป้องกันการจัดการศึกษาที่ด้อยคุณภาพและสร้างสรรค์การศึกษาให้เป็นกลไกที่มี พลังในการ พัฒนาประชากรให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้น คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

3 ขอบข่ายคุณภาพการศึกษา ขอบข่ายคุณภาพการศึกษา คือการพัฒนาตัวผู้เรียนเพื่อตัวของผู้เรียน และเพื่อเป็นอีก หนึ่งแรงเพื่อพัฒนาประเทศ มีหลักการและแนวคิดที่จะคอยสร้างความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนิน การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน สามารถทำให้เด็กไทยเป็นคนดีคนเก่ง และมีความสุขเป็น ประชากรที่มีคุณภาพ และความเชื่อใจในคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ผู้ปกครองได้เชื่อมั่นในตัวของ โรงเรียน แต่ละโรงมีการวัดและเปรียบเทียบเกณฑ์ข้อกำหนดในเรื่องต่าง ๆ ไว้เพื่อใช้ในการประเมิน คุณภาพการศึกษาพร้อมที่จะช่วยกันสร้างสรรค์สังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เสริมสร้าง เศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคง มีความสามารถในการร่วมมือ และแข่งขันกับประชากรของประเทศ อื่น ๆ ได้อย่างมีความสุข ที่มา : https://images.app.goo.gl/zMtZnNz1NMV5nsNK8 คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

4 หลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับ การจัดการคุณภาพการศึกษา ไม่ว่าในระบบใหญ่ของประเทศ (ระดับมหาภาค) หรือในระบบย่อยลงมา (ระดับจุลภาค) คุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นหรือมีขึ้นได้ ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดี เพื่อนำไปสู่ผลผลิตหรือ ผลงานที่ตรงตามข้อกำหนดความต้องการหรือความพึงพอใจความประทับใจความมั่นใจของผู้รับ บริการทางการศึกษา การดำเนินการหรือการจัดการเป็นเรื่องของการบริหารระบบการทำงานเกี่ยวข้องกับ การนำปัจจัยป้อนผ่านกระบวนการแล้วได้ผลผลิตซึ่งได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายในและ ภายนอกจึงเรียกได้ว่าการบริหารระบบคุณภาพ 1. แนวคิดการบริหารระบบคุณภาพการศึกษาการจัดการศึกษา การบริหารระบบคุณภาพขององค์กรทางการศึกษา ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยเสมอมา โดยอาศัยแนวคิดและหลักการของการพัฒนาองค์กร (Organization Development หรือ 00) โดยทั่วไปมักใช้แนวคิดที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1.1 แนวคิดการบริหารคุณภาพวงจรเดมมิ่ง (The Deming Cycle) ที่มา : PDCA Cycle / วงจรการควบคุมคุณภาพหรือ วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) (iok2u.com) คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

5 วงจรการควบคุมคุณภาพ (PDCA Cycle) หรือ วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle) คือ แนวคิดการพัฒนาการทำงาน เพื่อควบคุมคุณภาพงานให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นแนวคิดที่ ง่ายไม่ซับซ้อน สามารถนำไปใช้ได้ในเกือบจะทุกกิจกรรม จึงทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาก ขึ้นทั่วโลก PDCA เป็นอักษรนำของภาษาอังกฤษ เป็นแนวคิดการบริหารที่เน้นขั้นตอนการทำงาน 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan-P) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do-D) ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check.-C) ขั้นที่ 4 การแก้ไขปัญหา (Action-A) ขั้นทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ ต้องปฏิบัติต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุดเหมือนวงจรที่มีลักษณะ ดังนี้ ที่มา : PDCA Cycle / วงจรการควบคุมคุณภาพหรือ วงจรเด็มมิ่ง (Deming Cycle) (iok2u.com) คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

6 ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan) การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการทำงานที่ได้ผลงาน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง การพัฒนาสิ่งใหม่ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน มีส่วนที่สำคัญ เช่น การกำหนดเป้า หมาย วัตถุประสงค์ การจัดอันดับความสำคัญของเป้าหมาย กำหนดการดำเนินงาน กำหนดระยะ เวลาการดำเนินงาน กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินการ และกำหนดงบประมาณที่จะใช้ การวางแผนที่ดี ควรต้องเกิดจากการศึกษาที่ดี มีการวางแผนไว้รัดกุมรอบคอบปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของ งานและเหตุการณ์แผนที่ได้ต้องช่วยในการคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถช่วยลดความสูญเสียที่ อาจเกิดขึ้นได้ การวางแผนควรมีการกำหนด การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณที่กำหนด มีการเสนอเพื่อขออนุมัติ ก่อนดำเนินการ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

7 ขั้นที่ 2 ปฏิบัติตามแผน (Do) การดำเนินการเพื่อให้ได้ตามแผนที่มีการกำหนดไว้ อาจมีการกำหนดโครงสร้าง คณะทำงานรองรับการดำเนินการเช่น คณะกรรมการ ฯลฯ กำหนดวิธีในการดำเนินงาน ขั้นตอน ผู้ดูแลรับผิดชอบ ผู้ตรวจสอบและทำการประเมินผล การปฏิบัติการควรมี มีคณะทำงานคอยควบคุม กำหนดนโยบาย มีการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจน ติดตามตรวจสอบการทำงาน มีผู้รับผิดชอบดำเนินการที่ชัดเจนเพียงพอ มีงบประมาณในการทำงาน มีวิธีการดำเนินการที่สามารถดำเนินการได้ จริงไม่ยากจนเกินความสามารถของผู้ที่จะทำ มีระยะเวลาที่กำหนดที่เหมาะสม คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

8 ขั้นที่ 3 ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) ขั้นตอนที่เริ่มเมื่อมีการดำเนินโครงการตามข้อ 2 ควรจะต้องทำการประเมินผลการดำเนินงานว่าเป็น ไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ อาจประเมินในส่วน การประเมินผลงานการดำเนินการ การประเมินผล การดำเนินตามขั้นตอน และการประเมินผลงานตามเป้าหมายของแผนงานที่ได้มีการกำหนดไว้ ในการ ประเมินนี้เราอาจสามารถทำได้เองโดยใช้คณะกรรมการที่รับผิดชอบในแผนการดำเนินงานภายในเป็นการ ประเมินตนเองแต่การใช้คนภายในอาจทำให้ขาดความน่าเชื่อถือหรือประเมินผลได้ไม่เต็มที่ จะดีหากมีการตั้ง คณะประเมินจากภายนอกมาช่วย เพราะน่าจะได้ผลการประเมินที่ดีกว่าทีมงานภายในเพราะอาจมีปัญหาช่วย กันประเมินผลให้ดีเกินจริง แนวทางที่จะใช้ในการประเมินเช่น กำหนดวิธีการประเมินแยกให้ชัดเจน มีรูปแบบการประเมินตรงกับเป้าหมาย สามารถทำได้ง่าย ในงานที่ทำ มีคณะผู้จะเข้าทำการประเมินที่มีความรู้เพียง แนวคำตอบผลของการประเมิน พอ ต้องสามารถตอบโจทย์และตรงกับ วัตถุประสงค์ที่วางไว้ เน้นการประเมินปัญหา / จุดอ่อน / ข้อดี / จุดแข็ง ที่มีในการดำเนินการ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

9 ขั้นที่ 4 ปรับปรุงแก้ไขพัฒนาต่อเนื่อง (Act) การนำผลประเมินที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแผน ในการปรับปรุงต่อไป ในส่วนนี้ควรจะ เสนอแนะปัญหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหา หรือการพัฒนาระบบที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นไปอีกไม่มีที่สิ้น สุด ทำการระดมสมอง เพื่อหาทางแก้ไข ปัญหา / จุดอ่อน / ข้อดี / จุดแข็ง ที่พบ ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น นำผลที่ได้จากการระดมสมองเสนอผู้เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาใช้วางแผนต่อไป กำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำแผนครั้งต่อไป กำหนดผู้รับผิดชอบดำเนินงานครั้งต่อไป คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

10 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ผู้บริหาร ครูผู้สอน การวางแผน และการมีส่วนร่วม 4 ด้านนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา เพราะสามารถไปใช้กำหนดนโยบายในการวางแผนส่งเสริมคุณภาพด้านผู้เรียนต่อไป 2.1 ด้านผู้บริหาร คุณลักษณะความรับผิดชอบความมีวิสัยทัศน์ความมีมนุษย์สัมพันธ์การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การมีความ ขยันหมั่นเพียรการมีความชื่อสัตย์สุจริตการมีความกระตือรือร้นการมีความเมตตากรุณาความเป็นผู้ใฝ่รู้และความเป็น นักประชาธิปไตย 2.2 ด้านครูผู้สอน คุณลักษณะของผู้ปฏิบัติการเรียนการสอนในการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความรับผิดชอบความสนใจในการจัดการเรียนการสอนความมีมนุษยสัมพันธ์ความทุ่มเทเสียสละความมีเหตุผลการมี คุณธรรมความมีระเบียบการมีความรู้ความเข้าใจในการประกันคุณภาพการศึกษา และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ 2.3 ด้านการวางแผน การเตรียมการล่วงหน้าที่จะทำภาระกิจกรรมหรือดำเนินการอย่างไรจึงบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มี องค์ประกอบคือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนปฏิบัติตามแผนขั้นตอนการตรวจสอบและประเมินผล และขั้นนำผลการ ประเมินมาปรับปรุง 2.4 ด้านการมีส่วนร่วม การที่บุคลากรในสถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาผู้ปกครองนักเรียนชุมชน มีส่วนร่วมใน การดำเนินงานต่าง ๆ ของโรงเรียน ได้แก่ การร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษา การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจใน การปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการวางแผนกำหนดโครงการ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน และการมีส่วนร่วมใน การติดตามการประเมินผล คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

11 คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

12 3. หลักการจัดการคุณภาพการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 มีเป้า หมายให้คนไทยทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพทั่วถึงและเท่าเทียมกันด้วยเหตุนี้สถานศึกษาทุกแห่งจึง จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดการคุณภาพการศึกษา ซึ่งคุณภาพการศึกษาพิจารณาได้จากสิ่งใดการพิจารณา คุณภาพการศึกษาสามารถพิจารณาได้ 2 แนวทางดังนี้ 3.1 คุณภาพการศึกษาที่พิจารณาจากตัวผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความสามารถอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ทักษะ กระบวนการทำงาน อัตราการตกซ้ำชั้นและภาวะทางโภชนาการ 3.2 คุณภาพการศึกษาที่พิจารณาจากวิธีการจัดการศึกษา ผู้บริหาร ครู การบริหารจัดการและปัจจัยสนับสนุนต่างๆการศึกษามีพื้นฐานมาจากหลักการควบคุม (Controlling) ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญประการหนึ่งในทางการบริหารจัดการองค์การและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ กับการจัดการคุณภาพการศึกษาเชิงระบบดังนี้ด้านผลผลิต (Output) ด้านทรัพยากรที่จำเป็น (Input) ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียนการบรรลุวัตถุประสงค์ความพึงพอใจความเจริญเติบโตด้านข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ได้แก่ ผู้บริหารครูผู้สอนนักเรียนวัสดุอุปกรณ์สถานที่ด้านกระบวนการจัดการศึกษา (Process) ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรการวัดและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มาตรฐานและ แผนการทำงานวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานแก้ไขปรับปรุง คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

13 ดังนั้นในระบบการจัดการคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาจะต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแผนการ ทำงานมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานดามแผน และมีการดำเนินการแก้ไขปรับปรุงผล การดำเนิน งานให้ได้มาตรฐาน นำมาซึ่งคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษา วิธีการที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการคุณภาพการ ศึกษาแนวคิดหรือวิธีการที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการคุณภาพการศึกษามีด้วยกันหลายประการ ได้แก่ การ รับรองวิทยฐานะ (Accreditation) การใช้ระบบตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน (Performance indicators System) การจัดอันดับคุณภาพ (Rankings) ระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) การตรวจสอบคุณภาพ (Quality auditing) การประเมินคุณภาพ (Quality assessment) และการเปรียบเทียบกับองค์การคู่แข่งขัน (Benchmarking) เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่าในการ จัดการการศึกษาอย่างมีคุณภาพสถานศึกษาสามารถนำแนวคิดต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไปประยุกต์ใช้ได้ ตามความเหมาะสมต่อไป คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

14 4. แนวทางการจัดการศึกษาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้มีคุณภาพ การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลและสังคม จึงต้องมีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญที่สุด ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรหนึ่งที่ มีหน้าที่ภารกิจในการจัดการศึกษาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยที่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล, เทศบาลและเมืองพัทยา) ต้องได้ รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณภาพในอนาคต สถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นจึงต้องรับรู้ภารกิจหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาประกอบด้วยขอบข่ายของงานที่ 6 งาน คือ 4.1 งานวิชาการ งานวิชาการเป็นหัวใจของการทำงานในสถานศึกษา เพื่อพัฒนาผลผลิตคือนักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ตามเป้าหมายของหลักสูตรซึ่งผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ในการ บริหารหลักสูตรครูผู้สอนมีหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นไปตามหลักสูตรซึ่งมีแนวทางในดำเนินงาน ดังนี้ 4.1.1 งานธุรการทางวิชาการเป็นงานเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการและปฏิทินปฏิบัติ งานงานทะเบียนสถิติการจัดห้องเรียนหรือห้องสนับสนุนการเรียนการสอนเป็นต้น คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

15 4.1.2 งานด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นงานเกี่ยวกับด้านหลักสูตรซึ่งเป็นงาน หลักของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานมีแนวทางในการดำเนินงานคือการสร้างหลักสูตร และปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนและท้องถิ่นโดยจะต้องมีการวิเคราะห์ความต้องการ ของท้องถิ่นด้วยการจัดประชุมสัมมนาหรือเชิญวิทยากรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรการ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพท้องถิ่นในการสร้างหรือปรับปรุงหลักสูตรทำได้หลายวิธีเช่นการปรับ กิจกรรมการเรียนการสอนการเพิ่มเติมรายละเอียดของเนื้อหารวมทั้งจะต้องมีการประเมินผลการ หลักสูตรที่สร้างขึ้นว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่อย่างไร 4.1.3 งานด้านปฏิบัติการสอนเป็นงานหลักของการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน และเป็นงานที่เกี่ยวตัวนักเรียนและตัวครูผู้สอนที่จะทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการดีขึ้นสิ่งที่จะต้องควร ศึกษาก่อนคือการศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาว่ามีจุดมุ่งหมายของเนื้อหารายวิชาอย่างไรและมีแนวทางใน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน เนื้อหาสาระสำคัญและจุดประสงค์การเรียนรู้ในรายวิชานั้น ๆ ซึ่ง การปฏิบัติการสอนจำเป็นจะต้องมีการเตรียมการสอนหรือการวางแผนการสอนไว้มีการดำเนินงานตาม แผนที่วางไว้มีการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้ยืดหยุ่นได้ตามสภาพเหตุการณ์ในขณะสอนและควร จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางโดยมีครูเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน นักเรียนในการทำกิจกรรมรวมทั้งจะต้องมีการฝึกทักษะกระบวนการเน้นตามลักษณะของแต่ละกลุ่มสาระ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

16 4.2 งานกิจการนักเรียน งานกิจการนักเรียนเป็นงานที่เกี่ยวกับตัวนักเรียนและกิจกรรมของนักเรียนทั้งหมดซึ่ง ช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนในหลักสูตรให้บรรลุผลสำเร็จมีแนวทางในการดำเนินงานคือ 4.2.1 การบริการด้านสุขภาพอนมัยของนักเรียนโดยการจัดทำระเบียนสุขภาพของนักเรียน ติดตามประเมินผลการบริการด้านสุขภาพอนามัยของนักเรียน 4.2.2 การบริการด้านอาหารกลางวันโดยการจัดทำข้อมูลนักเรียนที่ขาดแคลนอาหารกลางวัน ให้เป็นปัจจุบัน 4.2.3 การบริการด้านแนะแนว 4.2.4 การบริการด้านห้องสมุด 4.2.5 การบริการด้านการช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลนโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนที่ ขาดแคลนให้เป็นปัจจุบันแล้วช่วยเหลือโดยการแสวงหาเงินทุนหรือสิ่งของจากชุมชนหรือเอกชนมาสนับ สนุนให้นักเรียนขาดแคลน คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

17 4.3 งานด้านงานธุรการการเงินและพัสดุ งานด้านงานธุรการการเงินและพัสดุเป็นงานที่เกี่ยวกับหลักฐานเอกสารรวมทั้งการ งานการเงินการพัสดุของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบและมีความเรียบร้อยมีแนวทางใน การดำเนินดังนี้ 4.3.1 งานธุรการทั่วไปและงานสารบรรณมีการจัดทำให้เป็นปัจจุบันและสามารถค้นหาได้ ภายในเวลา จำกัด และถูกต้องรวดเร็ว 4.3.2 งานการเงินและบัญชีมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการรับ-ส่งเงินมี การจัดทำระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยเงินมีการวางแผนการใช้เงินของสถานศึกษาให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ของงานโครงการและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมากที่สุดและต้องมีการแจ้งการใช้ จ่ายเงินให้บุคลากรได้รับทราบเมื่อสิ้นสุดกิจกรรมโครงการและเมื่อสิ้นงบประมาณ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

18 4.4 งานด้านบุคลากร บุคลากรทุกฝ่ายในสถานศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการศึกษาในสถานศึกษาให้บรรลุ เป้าหมายโดยมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้ 4.4.1 การจัดทำแผนงานโครงการเกี่ยวกับบุคลากรโดยการสำรวจสภาพปัญหาและความ ต้องการของบุคลากรในสถานศึกษา 4.4.2 การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและตรงตามสาขาหรือวุฒิการศึกษาที่สำเร็จในแต่ละ คน 4.4.3 การสร้างและบำรุงขวัญบุคลากรโดยการจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกในการ ปฏิบัติงานมีการส่งเสริมให้บุคลากรได้มีการเพิ่มพูนความรู้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสมส่ง เสริมให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพจัดให้มีการยกย่องชมเชยให้รางวัลและเกียรติบัตรแก่บุคลากรที่ปฏิบัติ หน้าได้อย่างดี 4.5 งานด้านอาคารสถานที่ งานด้านอาคารสถานที่เป็นงานที่จะช่วยให้การการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีคุณภาพและ ประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้ 4.5.1 มีการวางแผนงานด้านอาคานสถานที่ 4.5.2 มีการรักษาความสะอาดและสุขาภิบาลบริเวณรอบ ๆ ในสถานศึกษา 4.5.3 มีการจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่มีความร่มรื่นการตกแต่งบริเวณที่สวนงาม 4.5.4 มีการจัดสถานที่บริการให้แก่นักเรียนในด้านน้ำดื่มที่แปรงฟันโรงอาหารห้องพยาบาล คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

19 4.6 งานด้านสัมพันธ์กับชุมชน งานด้านสัมพันธ์กับชุมชนเป็นงานที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชนเป็นสิ่งที่ จำเป็นในการจัดการศึกษา เพราะสถานศึกษาจะต้องอาศัยทรัพยากรจากชุมชนมาช่วยในการพัฒนาสถาน ศึกษา ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน 4.6.1 การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยการจัดในรูปของ คณะกรรมการสถานศึกษา 4.6.2 การร่วมกิจกรรมของชุมชนโดยสถานศึกษาร่วมกิจกรรมกับชุมชนในวันสำคัญและตาม เทศกาลต่างๆ 4.6.3 การจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้ปกครองชุมชนสถานศึกษาร่วมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ ปกครองชุมชนและองค์กรต่างๆเข้ามาช่วยเหลือในด้านทุนทรัพย์และแหล่งวิทยากรมาเสริมการเรียนรู้ให้ แก่นักเรียนในสถานศึกษาขึ้นในสถานศึกษา คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

20 5. แนวทางการดำเนินงานด้านคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้การจัดการ ศึกษาผลตามมาตรฐานดังนี้ 5.1 มาตรฐานด้านปัจจัย มาตรฐานที่ 1 ครูมีคุณธรรมจริยธรรมมีวุฒิ / ความรู้ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบหมั่นพัฒนา ตนเองเข้ากับชุมชนได้ดีมีครูและบุคลากรสนับสนุนเพียงพอ มาตรฐานที่ 2 ครูมีความสามารถในการจัดการประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ 5.2 มาตรฐานด้านกระบวนการ มาตรฐานที่ 6 สถานศึกษามีการจัดองค์กรโครงสร้างระบบการบริหารและพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบครบ วงจร มาตรฐานที่ 7 สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน มาตรฐานที่ 8 สถานศึกษามีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มาตรฐานที่ 10 สถานศึกษามีการจัดสภาพแวดล้อมและบริหารที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและ เต็มศักยภาพ มาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

21 5.3 มาตรฐานด้านผลผลิต มาตรฐานที่ 24 สถานศึกษามีมาตรฐานเป็นที่พึงพอใจและยอมรับโดยผู้ปกครองและชุมชนให้การสนับสนุน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา สรุปได้ว่า แนวคิดเชิงระบบในที่นี้ หมายความว่าโรงเรียนที่มีคุณภาพจะต้องดีทุกระบบเพื่อรองรับการ ประเมิน จึงเป็น All all nine กล่าวคือโรงเรียนต้องมีระบบคุณภาพที่ดีทุกระบบไม่ยกเว้น เพราะ แนวคิดเชิงระบบนั้น ถ้าระบบใดระบบหนึ่งมีปัญหา อาจจะส่งผลให้ระบบ และคุณภาพของโรงเรียนนั้น เกิดปัญหาได้ ความฉลาดของผู้นำองค์กรคือการพิจารณาเลือกบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดย การใช้ความมีส่วนร่วมขององค์กรเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของผู้บริหารเป็นตัวแปรที่สำคัญ ทำให้ การบริหารจัดการโรงเรียนเกิดความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย คุณลักษณะของผู้บริหารที่มีความ สอดคล้องกันมีความสัมพันธ์กับการดำเนินการด้านคุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของครูผู้สอนใน ด้านต่าง ๆ เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนเกิดความสำเร็จมีคุณภาพมาตรฐาน คุณลักษณะของครูผู้สอนที่ความสอดคล้องกันจะส่งผลต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

22 การจัดการคุณภาพการศึกษา การจัดการคุณภาพการศึกษา กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทุก คนที่ เกี่ยวข้องเพื่อทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษาซึ่งเป็นที่ เชื่อมั่นหรือเป็นที่ พึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพการศึกษานั้น ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจึงมี ความสำคัญ เพราะเป็นเหมือนสูตรหรือหนังสือที่ใช้ประกอบการจัดการคุณภาพการศึกษา ให้มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการศึกษาทุกคน ความหมายของการจัดการคุณภาพ การจัดการคุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือข้อกำหนดที่ต้องการโดยใช้การ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความพอใจและความมั่นใจให้แก่ลูกค้าหรือผู้มารับบริการ โดยคำนึงถึงความต้องการ ของลูกค้าเป็นหลัก แนวคิดและทฤษฎีของการจัดการคุณภาพ 1. ศึกษาหลักการบริหารแบบคุณภาพ 2. กำหนดนโยบายด้านบริหารคุณภาพให้ชัดเจน 3. จัดตั้งองค์กรหรือคณะบุคลดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ 4. วางแผนและออกแบระบบงานมาตรฐานและวิธีทำงาน และการจัดการทรัพยากร 5. จัดทำคู่มือระบบคุณภาพโดยอธิบายวิธีปฏิบัติงานแต่ละด้าน 6. สร้างทีมงาน ละจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานแต่ละด้าน 7. จัดฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรทุกระดับ 8. จัดระบบประเมินผลงานอย่างโปร่งใส และทุกฝ่ายยอมรับการนำสู่การปฏิบัติ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

23 การนําการจัดการคุณภาพมาใช้ในโรงเรียน ในประเทศไทย วงการอุตสาหกรรมนําการจัดการคุณภาพมาใช้ก่อน จากนั้นก็เป็นวงการประกันภัย สถาน พยาบาล สวนวงการที่ค่อนข้างจะช้ากว่าคนอื่น คือ วงการการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียนควรเรียนรู้วิธีการบริหารจาก นักธุรกิจ เพราะศาสตร์การบริหารใด ๆ ในโลกต่าง ก็อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาการบริหารแบบ PDCA ส่วนที่แตก ต่างกันเป็นเรื่องของการจัดการและประสบการณ์ การบริหารการศึกษายากกว่าเพราะเห็นผลนาน กว่าจะรู้ ว่าบริหาร ผิดพลาด เด็กก็เรียนจบไปนานแล้ว ดังนั้น จึงเป็น ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารโรงเรียน จะต้องศึกษาหลักการ ทฤษฎีทางการบริหาร ให้ทันต่อความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลงของ วิทยาการสมัยใหม่ ทั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถนํา ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที่มา : http://www.esbuy.net/_files_school/00000928 คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

24 1. กระบวนการและขั้นตอนของการนำการจัดการ คุณภาพไปใช้ในโรงเรียน มีลำดับการดำเนินงาน การพัฒนาการฝึกอบรมบุคลากรเพื่อสร้างความตระหนัก และความสนใจในการทำงานที่มีคุณภาพการพัฒนา ภาวะความเป็นผู้นำคุณภาพของระบบการทำงาน และการสร้างพันธะสัญญาต่อโรงเรียนในการพัฒนากระบวนการ ทำงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การพัฒนากระบวนการคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เป็นการให้ความรู้และความเข้าใจในความสำคัญของการ ปรับปรุงพัฒนา หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพมีการควบคุมตรวจสอบและดำเนินการวัดประเมิน ผลอย่างเป็นระบบด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เชื่อถือได้ โดยบุคลากรทุกระดับทุกคนมีส่วนร่วมกับกระบวนการพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่อง คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

25 2. การนำการจัดการคุณภาพมาใช้กับการ พัฒนาคุณภาพในโรงเรียน การนำการจัดการคุณภาพมาใช้กับการพัฒนาคุณภาพในโรงเรียน ซึ่งในปัจจุบันมีการนำการจัดการคุณภาพ มาใช้กับการพัฒนาคุณภาพในโรงเรียนอย่างได้ผล สามารถนำมาใช้เพื่อบริหารจัดการภายในโรงเรียนได้ทั้งในระดับการ บริหารโรงเรียน และการบริหารจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ให้สูงขึ้นมีประสิทธิภาพการบริหาร จัดการที่น่าพอใจเริ่มจากการที่ผู้บริหารกำหนดวิสัยทัศน์ของการพัฒนาคุณภาพงานมีการกำหนดเป้าหมายสำคัญของ องค์กรที่สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ แล้วจึงพัฒนากระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบกำหนดผู้รับผิดชอบอย่าง ชัดเจน รวมทั้งมีกระบวนการควบคุมตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง โดยหัวใจของการจัดการ คุณภาพคือ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องบนความพอใจของผู้รับบริการทางการศึกษา คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

26 วิดีโอ การจัดการคุณภาพของสถานศึกษา QR Code วิดีโอ การจัดการคุณภาพของสถานศึกษา คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

27 บทสรุป คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณสมบัติคุณลักษณะสภาพที่พึงประสงค์ของผู้เรียนรวมทั้งกระบวนการบริหาร จัดการศึกษาของสถานศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมในปัจจุบันและอนาคตซึ่งเป็นผลที่เกิดจาก ความสัมพันธ์ของคุณภาพด้านปัจจัยภายใน ได้แก่ คุณภาพของผู้บริหาร สภาพสิ่งแวดล้อม สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรมของชุมชน ซึ่งมีส่วนเป็นตัวควบคุมหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาประกอบด้วยคุณภาพ ด้านกระบวนการ ได้แก่ คุณภาพการเรียนการสอนการจัดกิจกรรมคุณภาพการบริหารการวัดและประเมินผลคุณภาพ ผู้เรียนทั้งด้านร่างกายอารมณ์สังคมสติปัญญาและด้านจิตใจการแสดงความรู้ความสามารถการมีทักษะในการทำงาน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันต่อการปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรมและก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อการพัฒนาและสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองในที่สุดการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้รับการ พัฒนาจนเกิดคุณลักษณะตรงตามมาตรฐานการศึกษาตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและสอดคล้องกับความต้องการ ของผู้รับบริการ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

28 บทสรุป คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามปณิธานและภารกิจของการจัดการศึกษาระดับการ ศึกษาต่างๆตามนโยบายการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของ แต่ละสถานศึกษา คุณภาพการศึกษาจึงเป็นการบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของ สถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการการศึกษา ขอบข่ายคุณภาพการศึกษา หมายถึง การพัฒนาตัวผู้เรียนเพื่อตัวของผู้เรียนและเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงเพื่อ พัฒนาประเทศมีหลักการและแนวคิดที่จะคอยสร้างความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้ มาตรฐานสามารถทำให้เด็กไทยเป็นคนดีคนเก่งและมีความสุขเป็นประชากรที่มีคุณภาพและความเชื่อใจในคุณภาพการ ศึกษา เพื่อให้ผู้ปกครองได้เชื่อมั่นในตัวของโรงเรียนแต่ละโรงมีการวัดและเปรียบเทียบเกณฑ์ข้อกำหนดในเรื่องต่างๆไว้ เพื่อใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษา แนวคิดเชิงระบบในที่นี้ หมายความว่าโรงเรียนต้องมีระบบคุณภาพที่ดีทุกระบบ ไม่ยกเว้น เพื่อรองรับการ ประเมิน เพราะแนวคิดเชิงระบบนั้นถ้าระบบใดระบบหนึ่งมีปัญหาอาจจะส่งผลให้ระบบ และคุณภาพของโรงเรียนนั้นเกิด ปัญหาได้ ความฉลาดของผู้นำองค์กรคือการพิจารณาเลือกบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้ความมีส่วน ร่วมขององค์กรเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะของผู้บริหารเป็นตัวแปรที่สำคัญ ทำให้การบริหารจัดการโรงเรียนเกิดความ สำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย คุณลักษณะของผู้บริหารที่มีความสอดคล้องกันมีความสัมพันธ์กับการดำเนินการด้าน คุณภาพการศึกษา คุณลักษณะของครูผู้สอนในด้านต่าง ๆ เป็นตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้การเรียนการสอนเกิดความ สำเร็จมีคุณภาพมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

29 คำถามทบทวน 1. คุณภาพการศึกษาหมายถึง 2. การจัดการคุณภาพการศึกษาหมายถึง 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา มีกี่ด้าน อะไรบ้าง 4. แนวคิดและทฤษฎีของการจัดการคุณภาพมีกี่ข้อ อะไรบ้าง 5. การนำการจัดการคุณภาพมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพในโรงเรียนมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา

30 เอกสารอ้างอิง มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. (ม.ป.ป.). คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก http://etheses.psru.ac.th/lib-irpsru/sites/default/files/site/default/thesis/ch2_41.PDF สุภาพร เพียรดี. (2555). การจัดการคุณภาพการศึกษา. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/448338 เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). วงจรการควบคุมคุณภาพ. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://www.iok2u.com/index.php/article/innovation/240-pdca-cycle-deming-cycle pakhwanblog. (ม.ป.ป.). การจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการประเมินคุณภาพการศึกษา. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://pakhwanblog.files.wordpress.com/2016/05/8-iqa-1.pdf Tiger. (2564). วงจรบริหาร4ขั้นตอน. สืบค้น 20 มีนาคม 2565, จาก https://thaiwinner.com/pdca-cycle/ คุณภาพการศึกษาและการจัดการคุณภาพการศึกษา


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook