มส การหมนั้ 1-1 หน่วยท ่ี 1 การห มน้ั อาจารย์เจตรวิน ท์ จติ สำราญ มสธ มสธ มสธ มสธชอื่ มสวฒุ ิ อาจารย์เจตร วินท์ จิตสำราญ ตำแหน่ง ศศ.บ., น.บ., น.บ.ท. LL.M.(University of Illinois at Urbana-Champaign) LL.M. (University of Southern California) หนว่ ยที่ปรบั ปรุง อาจารย์ประจำส าขาวิชาน ิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรร มาธิร าช หน่วยท ี่ 1 เรียบเรียงจากต้นฉบับเดิม หน่วยที่ 1 การหมั้น อาจารย์ป ระสพสุข บุญเดช
มส 1-2 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ แผนการส อนป ระจำหนว่ ยมสธ ชดุ วชิ า กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดกมสธ หน่วยท ี่ 1 การห มั้น ตอนท ี่ 1.1 ความเป็นมาและก ารใช้บ ังคับก ฎหมายครอบครัว 1.2 หลักเกณฑ์ข องการหมั้น 1.3 ผลข องการหมั้น 1.4 การส ิ้นสุดของสัญญาห มั้น แนวคดิ 1. ในก ารท ี่ชายหญิงมาอยู่ก ินก ันฉันส ามีภริยา จะต้องป ฏิบัติต ามหลักเกณฑ์ว ิธีการแ ละเงื่อนไขท ี่กฎหมาย กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและสอดคล้องกับหลักศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีและ ศีลธรรมอันดีข องประชาชน 2. เมื่อขนบธรรมเนียมป ระเพณีท ี่เกี่ยวกับการมาอยู่กินด ้วยกันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป กฎหมายก็จำเป็นต้อง มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องต้องกันไปด้วย นอกจากนี้ในบางท้องถิ่นที่ประชาชนใช้หลักศาสนา มาบังคับเกี่ยวกับการตั้งครอบครัว กฎหมายก็อนุญาตให้นำหลักการของศาสนาเช่นว่านั้นมาใช้บังคับ แทนได้ 3. ก่อนที่ชายหญิงจะสมรสกัน อาจมีการหมั้นกันไว้ก่อนโดยการทำสัญญาหมั้น ซึ่งเมื่อได้ทำสัญญาหมั้น แล้ว หากผิดส ัญญาห มั้นไม่ยอมท ำการส มรสก ็จะต ้องรับผิดใช้ค่าทดแทนค วามเสียหายท ี่เกิดข ึ้น แต่จะ ฟ้องร ้องบ ังคับให้ทำการสมรสก ันไม่ได้ 4. ในการทำสัญญาหมั้น ฝ่ายชายต้องส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็น หลักฐานว่าจ ะท ำการสมรสกับห ญิง นอกจากนี้ฝ่ายช ายอ าจตอบแทนบ ิดาม ารดาหญิงที่ได้เลี้ยงด ูหญิงมา จนเติบใหญ่ โดยก ารให้สินสอดให้อีกก็ได้ 5. สัญญาหมั้นที่ทำกันไว้อาจจะมีการขอเลิกสัญญากันได้ หากมีเหตุสำคัญอันทำให้ชายหญิงไม่สมควร ทำการสมรสกัน และเมื่อมีการเลิกสัญญาหมั้นกันแล้ว โดยปกติชายหรือหญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกร้อง ค่าทดแทนความเสียห ายต่อก ัน เว้นแต่จ ะม ีเหตุให้เรียกค ่าทดแทนได้ 6. กฎหมายก ำหนดใหช้ ายห รอื ห ญงิ ค หู่ มัน้ อ าจเรยี กค า่ ท ดแทนจ ากบ คุ คลอ ืน่ ท ีม่ าล ว่ งเกนิ ค หู่ มัน้ ท างป ระเวณี ไม่ว ่าค ู่หมั้นของต นจะยินยอมห รือไม่ 7. การฟ้องเรียกร้องค่าทดแทนเกี่ยวกับการหมั้น จะต้องฟ้องคดีภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มิฉะนั้นจ ะข าดอายุค วาม มสธ มส
มส การหมน้ั 1-3 มสธ วัตถุประสงค์มสธ เมื่อศ ึกษาห น่วยที่ 1 จบแ ล้ว นักศึกษาส ามารถมสธ 1. อธิบายถึงการใช้บังคับกฎหมายครอบครัว การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายครอบครัวและการใช้กฎหมาย อิสลามในสี่จ ังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ 2. อธิบายแ ละย กต ัวอย่างป ระกอบ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการท ี่ชายแ ละหญิง จะทำการห มั้นกันได้ 3. อธิบายแ ละวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวก ับของหมั้น สินสอด การผ ิดสัญญาหมั้น การบ อกเลิกสัญญาหมั้น และ การเรียกค่าท ดแทนจากผู้อ ื่นที่มาล ่วงเกินคู่หมั้นทางป ระเวณีได้ กจิ กรรมร ะหวา่ งเรียน 1. ทำแ บบประเมินผลตนเองก ่อนเรียนหน่วยที่ 1 2. ศึกษาเอกสารการสอนต อนที่ 1.1 - 1.4 3. ฟังซ ีดีเสียงป ระกอบชุดว ิชา 4. ทำก ิจกรรมในเอกสารการสอน 5. ชมรายการว ิทยุโทรทัศน์ 6. เข้าร ับบริการสอนเสริม 7. ทำแ บบป ระเมินผลตนเองห ลังเรียนหน่วยที่ 1 สอ่ื การส อน 1. เอกสารก ารสอน 2. แบบฝึกป ฏิบัติ 3. ซีดีเสียงประกอบชุดวิชา 4. รายการวิทยุโทรทัศน์ 5. การส อนเสริม การประเมินผ ล 1. ประเมินผลจ ากแบบประเมินผลตนเองก ่อนเรียนและหลังเรียน 2. ประเมินผลจ ากกิจกรรมแ ละแ นวต อบท ้ายเรื่อง 3. ประเมินผลจ ากก ารสอบไล่ประจำภาคการศ ึกษา เมอ่ื อา่ นแผนการสอนแ ลว้ ขอใหท้ ำแ บบประเมนิ ผ ลต นเองก ่อนเรียน หนว่ ยท่ี 1 ในแบบฝกึ ป ฏบิ ัติ แลว้ จึงศ กึ ษาเอกสารการส อนตอ่ ไป มสธ มส
มส 1-4 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก ตอนท ่ี 1.1 ความเป็นมาแ ละการใช้บงั คับก ฎหมายค รอบครัว โปรดอ ่านห ัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของตอนท ี่ 1.1 แล้วจ ึงศ ึกษาร ายล ะเอียดต่อไป หัวเรือ่ ง 1.1.1 ความเป็นมาของก ฎหมายครอบครัว 1.1.2 การใช้บ ังคับกฎหมายครอบครัว แนวคิด 1. กฎหมายที่ใช้บังคับในเรื่องครอบครัวมีมาตั้งแต่โบราณกาล และได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตาม สถานการณ์และวัฒนธรรม กฎหมายครอบครัวต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อันมีผลทำให้ สถานภาพของการเป็นสามีภริยามีความแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะ ที่มีก ารสมรสเกิดขึ้น 2. ก ฎหมายท ี่เปลี่ยนแปลงไม่มีผ ลกร ะท บถ ึงส ถานภาพข องส ามีภ รรยาในเรื่องค วามส มบูรณ์ข องก าร สมรส และความสัมพันธ์ในครอบครัวตามกฎหมายเก่า แต่สำหรับเรื่องการตัดความสัมพันธ์ใน ครอบครัวต้องใช้บ ังคับตามกฎหมายปัจจุบัน 3. ป ระมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับทุกอาณาเขตพื้นที่ในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นในจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล ซึ่งคู่ความที่นับถือศาสนาอิสลามจะต้องใช้ กฎหมายอิสลามบ ังคับแ ทน วัตถปุ ระสงค์ เมื่อศ ึกษาต อนที่ 1.1 จบแล้ว นักศึกษาส ามารถ 1. อ ธิบายข้อแตกต่างระหว่างสามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมียกับสามีภริยา ตามประมวล กฎหมายแพ่งแ ละพาณิชย์ บรรพ 5 ทั้งข องเดิมและข องป ัจจุบันได้ 2. อธิบายเหตุผล หลักเกณฑ์ และว ิธีการใช้กฎหมายอิสลามในสี่จังหวัดช ายแดนภาคใต้ได้ มสธ มสธ มสธ มสธ มส
มส การหมั้น 1-5 เรือ่ งที่ 1.1.1 ความเปน็ ม าข องก ฎหมายครอบครวั มสธ มสธ ครอบครัวเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของสังคม ซึ่งโดยปกติมักประกอบด้วยสามีภริยาและบุตร ฐานะการเป็น ครอบครัวเริ่มต้นเมื่อชายและหญิงได้ทำการสมรสกันและดำเนินต่อไปจนกระทั่งเกิดบุตรคนแรก คนที่สองและมสธ คนถัดๆ ไป จนบุตรทั้งหลายแยกย้ายออกจากครอบครัวเดิม ไปทำการสมรสก่อตั้งครอบครัวของตนขึ้นมาใหม่ ครอบครัวบางครอบครัวอาจไม่มีบุตรตลอดชีวิตของสามีภริยาก็ได้ และในทำนองเดียวกันครอบครัวบางครอบครัว ก็อาจมีเพียงบิดาหรือมารดากับบุตรเท่านั้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเพราะสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายหรือ หย่าร ้างเลิกรากันไป แต่เดิมก่อนที่จะมีการตราประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ออกมาใช้บังคับนั้น ความสัมพันธ์ ในเรื่องครอบครัวเป็นไปตามกฎหมายเก่าแก่ของไทยเรา ที่มีมาตั้งแต่โบราณกาลครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน รัชสมัยพระเจ้าอ ู่ทอง ซึ่งม ีชื่อว ่าพ ระราชก ฤษฎีกาว ่าด้วยการผิดเมีย พ.ศ. 1904 และพระร าชบ ัญญัติเพิ่มเติมว ่าด้วย การแบ่งปันสินบริคณห์ระหว่างผัวเมีย พ.ศ. 1905 ครั้นเมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า- จุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระสะสางกฎหมายต่างๆ กฎหมายในเรื่องครอบครัวจึงได้รับ การปรับปรุงแก้ไขเป็น “กฎหมายลักษณะผัวเมีย” ซึ่งต่อมาได้มีการปฏิรูประบบกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประกาศใช้ทีละบรรพจนมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้า- อยู่หัวอานันทมหิดล ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระสะสางกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ออกมาใช้ บังคับ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ใช้อยู่ทั้งหมด เปลี่ยนมาใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แทน แต่ก็ มีข้อยกเว้นไว้ว่าความสมบูรณ์ของการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย และความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิด แก่การสมรสคงเป็นไปตามเดิม เช่น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ชายมีภริยาได้หลายคนโดยแบ่งลำดับอันเป็น เมียหลวง (เมียกลางเมือง) และเมียน้อย (เมียกลางนอก) แม้ในปัจจุบันนี้ก็ยังต้องถือว่าทั้งเมียหลวงและเมียน้อย เป็นภริยาที่ช อบด ้วยก ฎหมายของชายน ั้นทุกค นด้วย เป็นต้น ใน พ.ศ. 2516 โดยเฉพาะอ ยา่ งย ิง่ ร ะยะเวลาภ ายห ลงั ว นั ท ี่ 14 ตลุ าคม พ.ศ. 2516 ไดม้ กี ารเรยี กร อ้ งป ระชาธปิ ไตย เรียกร้องสิทธิและเสรีภาพกันขนานใหญ่ ผลแห่งการนี้ทำให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 จึงต้องมีบทบัญญัติในมาตรา 28 กำหนดให้ “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน” และมีบทเฉพาะกาลที่จะต้องมีการ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแ ห่งกฎหมาย หรือบัญญัติกฎหมายข ึ้นใหม่เพื่อให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ภายใน เวลาไม่เกินสองปีนับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลสมัยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี จึงจำเป็น ต้องแก้ไขบทบัญญัติใน ปพพ. บรรพ 5 ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญดังกล่าว ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติให้ใช้บท บัญญัติบรรพ 5 แห่งป ระมวลก ฎหมายแพ่งแ ละพาณิชย์ที่ได้ตรวจช ำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งยกเลิกบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม และให้ใช้บ ทบัญญัติบ รรพ 5 ที่ได้ต รวจชำระใหม่ จึงได้ตราอ อกมาใช้บังคับ ตั้งแต่ว ันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา ในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว เมื่อ พ.ศ. 2519 ที่มีหลักการ ให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันนั้น เนื่องจากการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวกระทำไปด้วยความเร่งรีบเพื่อให้ทัน กำหนดเวลาสองปีที่บังคับไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 จึงมีบทบัญญัติในกฎหมาย หลายมาตราที่มีความบกพร่องไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความขัดข้องและไม่สะดวกในการดำรงสถานะในครอบครัว มสธ มส
มส 1-6 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการหมั้น การสมรส การจัดการทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา การเป็นโมฆะของการสมรสมสธ การหย่า การเป็นบิดามารดากับบุตร การเป็นผู้ปกครองและบุตรบุญธรรม กระทรวงยุติธรรมจึงได้เสนอให้คณะ- รัฐมนตรีแ ต่งตั้งค ณะก รรมการชำระสะสาง ปพพ.ว่าด้วยครอบครัว เมื่อ พ.ศ. 2520 คณะกรรมการช ุดน ี้ได้พ ิจารณามสธ แก้ไขเพิ่มเติม ปพพ. บรรพ 5 ครอบครัว แล้วเสร็จและได้เสนอไปให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อ พ.ศ. 2526 แต่ เนื่องจากระยะนั้นมีการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลหลายครั้ง และกฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์พื้นฐาน ในสังคมเป็นส่วนใหญ่ คณะรัฐมนตรีและรัฐสภาจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียดรอบคอบ จนในที่สุดพระราช- บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม บรรพ 5 ครอบครัว จึงได้ตราออกใช้บ ังคับในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นม า หลังจากน ั้นก็มีก ารแก้ไขใน พ.ศ. 2550 ในเรื่องคู่สัญญาหมั้น และ พ.ศ. 2551 ในเรื่องเด็กเกิดแ ต่หญิงท ี่ไม่ได้ทำการส มรสตามล ำดับ จากการที่กฎหมายครอบครัวได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาหลายครั้งโดยการแก้ไขเพิ่มเติมในหลักการ ใหม่ใน พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2519 และมีก ารแ ก้ไขเล็กน้อยใน พ.ศ. 2533 ฉะนั้นสามีและภ ริยาที่มีอ ยูในป ัจจุบันน ี้ จึงแบ่งออกได้เป็น 4 ประภท คือ 1. สามีภ ริยาตามกฎหมายลักษณะผ ัวเมีย 2. สามีภ ริยาตามบรรพ 5 เก่า 3. สามีภริยาต ามบรรพ 5 ใหม่ 4. สามีภ ริยาต ามบรรพ 5 ปัจจุบัน 1. สามีภ ริยาตามกฎหมายลกั ษณะผัวเมยี สามีภ ริยาตามก ฎหมายล ักษณะผ ัวเมีย คือ สามีภริยาท ี่ส มรสกันมาก ่อนว ันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 โดยไม่ ต้องจ ดทะเบียนส มรส สถานะในค รอบครัวของสามีภ ริยายังคงเดิม1 ความส ัมพันธ์ในครอบครัวอ ันเกิดแต่การสมรส การใชอ้ ำนาจป กครอง ความป กครอง การอ นุบาล และการร ับบ ุตรบ ุญธรรมต ามก ฎหมายล ักษณะผ ัวเมีย ซึ่งม อี ยูต่ ลอด ทั้งสิทธิแ ละหน้าที่อันเกิดแต่การนั้นๆ ก็ยังคงใช้ได้อยู่ในป ัจจุบัน เช่น ในกฎหมายล ักษณะผัวเมีย บทที่ 60 บัญญัติว่า “สามีมีอ ำนาจโบยต ีสั่งสอนภริยาได้ต ามสมควรเมื่อภริยาก ระทำผ ิด แต่ถ้าภ ริยาก ระทำก ารอ ย่างนั้นแก่สามีบ ้างก็ต้อง เอาข้าวตอกดอกไม้ไปขอขมาสามี” ความสัมพันธ์เช่นนี้ยังคงใช้บังคับได้ หรือกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 บัญญัติว่า “ถ้าชายมีสินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่มีสินเดิม ชายได้สินสมรสทั้งหมด” หากสามีภริยาตามกฎหมาย ลักษณะผัวเมียขาดจากการสมรส และแบ่งสินสมรสกัน ในปัจจุบันนี้ก็ต้องแบ่งตามนี้ คือ ชายได้สินสมรสทั้งหมด หญิงไม่มีส่วนได้เลย2 หรือตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ชายมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายได้หลายคน มาถึงปัจจุบัน นี้ภริยาเหล่านี้ก็ยังคงเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ดังเดิมไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ดี หากเป็นเรื่องระบบการ จัดการทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแล้วจะต้องใช้กฎหมายปัจจุบันที่มีทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอยู่เพียง 2 ประเภท คือ สินส่วนตัวและสินสมรส มาใช้บังคับ หรือในเรื่องการตัดสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น การฟ้องหย่าจะต้องใช้เหตุ หย่าตาม ปพพ. มาตรา 1516 บังคับ จะใช้เหตุหย่าต ามกฎหมายล ักษณะผัวเมียม ิได้3 1 มาตรา 4 และม าตรา 5 พรบ. ให้ใช้บ ทบัญญัติบ รรพ 5 แห่งป ระมวลก ฎหมายแ พ่งแ ละพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 และม าตรา 4 พรบ. ให้ใช้บ ทบัญญัติบ รรพ 5 แห่งป ระมวลก ฎหมายแพ่งแ ละพาณิชย์ที่ได้ตรวจช ำระใหม่ พ.ศ. 2519 2 ฎ. 152/2527 3 ฎ. 991/2501 มสธ มส
มส การหม้ัน 1-7 มสธ อุทาหรณ์มสธ ฎ. 152/2527 กฎหมายลักษณะผัวเมียและ ปพพ.ไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อสามีละทิ้งภริยาเพียงอย่างเดียวเป็น เหตุให้ข าดจ ากการสมรส ฉะนั้นเมื่อ พ. กับโจทก์เป็นสามีภริยากันก ่อนใช้ ปพพ. ต่อม า พ. ละทิ้งร้างโจทก์ไปห ลายปีมสธ แล้วกล ับมาอ ยู่กินฉันส ามีภริยาก ันอ ีกห ลังจ ากประกาศใช้ ปพพ.บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนส มรสกันก ็ตาม ก็ต ้อง ถือว่า พ. และโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยช อบด้วยก ฎหมายในขณะที่ พ. ถึงแก่ก รรมเมื่อ พ.ศ. 2514 โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก โดยที่ผู้จัดการมรดกเป็น ตัวแทนของทายาททั้งปวงและถือว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ทายาทไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์ มรดก จำเลยจ ะยกอ ายุความ 1 ปี ตาม ปพพ.มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาซึ่งสมรสกันก่อนประกาศใช้ ปพพ.บรรพ 5 ต้องแบ่งตามกฎหมาย ลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าชายมีส ินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่มีส ินเดิม ชายได้ส ินสมรสท ั้งหมดหญิงไม่มี ส่วนไ ด้เลย ฎ. 1351/2531 สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 การแบ่งสินสมรสต้องบังคับ ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ซึ่งกำหนดว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิมให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วน ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน 2. สามีภรยิ าต ามบ รรพ 5 เก่า สามีภ ริยาตามบรรพ 5 เก่า คือสามีภริยาท ี่สมรสก ันต ั้งแต่ว ันท ี่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 จนถึงว ันที่ 16 ตุลาคม 2519 สถานะในครอบครัวของสามีภริยาในเรื่องการสมรส สัญญาก่อนสมรส การเป็นบิดามารดากับบุตร การเป็น ผู้ปกครอง การเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ และการรับบุตรบุญธรรมยังคงเป็นไปเช่นเดิม4 แต่ในเรื่องความสัมพันธ์ ในค รอบครัวจ ะต ้องเปลี่ยนมาใช้ต ามบทบัญญัติบ รรพ 5 ใหม่ (ใช้ต ั้งแต่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519 – 26 กันยายน พ.ศ. 2533) ซึ่งแตกต่างจากเดิมในสาระสำคัญหลายประการ ทั้งด้านสัมพันธ์ทางส่วนตัวและสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน เช่น ตามบรรพ 5 เก่า บัญญัติให้ส ามีเป็นห ัวหน้าในคู่ค รองเป็นผู้เลือกที่อยู่และเป็นผ ู้อำนวยการในเรื่องช ่วยเหลืออุปการะ เลี้ยงดู แต่ในบรรพ 5 ใหม่ มิได้บ ัญญัติค วามข ้อน ี้ไว้ ด้วยเหตุน ี้สามีภ ริยาต ามบรรพ 5 เก่า ที่อยู่กินก ันม าจ นปัจจุบัน นี้ ก็ต้องเปลี่ยนความสัมพันธ์ในครอบครัวมาใช้ตามบรรพ 5 ใหม่ สามีมิได้เป็นหัวหน้าในคู่ครองและไม่ได้เป็น ผู้เลือกถิ่นท ี่อ ยู่แต่ผู้เดียวอีกต่อไป หรือในเรื่องความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน สามีภริยาตามบรรพ 5 เก่า เคยมีท รัพย์ อยู่ 4 ประเภท คือ สินเดิม สินส่วนต ัว สินส มรส สินบ ริคณห์ แต่ตามบ รรพ 5 ใหม่ ทรัพย์สินระหว่างส ามีภริยามีเพียง 2 ประเภท คือ สินส่วนตัวแ ละส ินสมรส ตามที่บ ัญญัติไว้ในมาตรา 1470 จึงต้องบ ังคับต ามม าตรา 1470 “ทรัพย์สิน ระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินสมรส” จะนำกฎหมายเก่าที่ยกเลิกไปแล้วมาใช้ บังคับไ ม่ได้ ในการเปลี่ยนระบบทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาจากบรรพ 5 เก่า มาใช้บรรพ 5 ใหม่ นั้น ตามบรรพ 5 เก่า ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาแบ่งเป็น สินส่วนตัว สินเดิม สินสมรสและสินบริคณห์ สินส่วนตัวของบรรพ 5 เก่า นั้นคือ ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว ของหมั้น หรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ส่วน สินเดิม คือ ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส หรือได้มาในระหว่างสมรสโดยผู้ยกให้ระบุว่าให้ เป็นสินเดิม สำหรับสินสมรส คือ ทรัพย์สินทั้งหมดที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสตามบรรพ 5 เก่านั้น สินเดิมและ สินสมรสนั้นมารวมเรียกว่า สินบริคณห์ คือ เป็นทรัพย์สินอันระคนปนกันระหว่างสามีภริยา โดยหลักแล้วสามีเป็น 4 มาตรา 5 พรบ. ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป ระมวลก ฎหมายแพ่งและพ าณิชย์ที่ได้ตรวจช ำระใหม่ พ.ศ. 2519 มสธ มส
มส 1-8 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ผู้จัดการสินบริคณห์ ซึ่งหมายความว่า สามีนั้นจัดการสินสมรสทั้งหมด จัดการสินเดิมของสามีทั้งหมดและจัดการมสธ สินเดิมข องภ ริยาทั้งหมดด ้วย เว้นแ ต่สินส่วนต ัว ถ้าเป็นสินส่วนต ัวข องสามี สามีก็จัดการเอง สินส่วนตัวภริยา ภริยา ก็จัดการเอง เพราะฉะนั้นระบบทรัพย์สินของสามีภริยาตามบรรพ 5 เก่า มีทั้ง สินส่วนตัว สินเดิม และสินสมรสมสธ ซึ่งรวมเรียกว่า สินบริคณห์ เมื่อมาใช้บรรพ 5 ใหม่ พ.ศ. 2519 แล้ว กฎหมายไม่ได้ยกเว้นไว้ในเรื่องความสัมพันธ์ ในครอบครัว เพราะฉะนั้นสามีภริยากันตามบรรพ 5 เก่า เมื่อใช้บังคับบรรพ 5 ใหม่แล้ว ความสัมพันธ์ในเรื่อง ทรัพย์สินต้องมาใช้บังคับตามบรรพ 5 ใหม่ คือ สินเดิมต้องถูกยกเลิกไป เพราะบรรพ 5 ใหม่ สินเดิมไม่มีนั่นเอง ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็ต้องเปลี่ยนมาใช้บังคับตามบรรพ 5 ใหม่ ด้วย ฉะนั้นสามีภริยากันตามบรรพ 5 เก่า แต่เมื่อมาเป็นส ามีภริยากันต ามบรรพ 5 ใหม่แล้ว ทรัพย์สินจะต ้องแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนท ี่ใช้บรรพ 5 เก่า ตอนหนึ่ง และต อนท ี่ใช้บรรพ 5 ใหม่ แบ่งมาอีกตอนหนึ่ง จึงมีระบบท รัพย์สิน 2 ระบบ ซ้อนกันอ ยู่ในต ัวเอง ในก ารย กเลิกร ะบบส ินเดิม โดยก ำหนดใหส้ ินเดิมเปลี่ยนม าเป็นส ินส ่วนต ัวใน พ.ศ. 2519 นั้น พระร าชบ ัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติ ว่า “บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ท่ีได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบ กระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ท่ีได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัติน้ี แต่ให้ถือว่าสินเดิมตามบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เดิมของฝ่ายใดเป็นสินส่วนตัวตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งแ ละพาณชิ ย์ท่ีไดต้ รวจช ำระใหม่ ท้ายพระราชบญั ญตั ินขี้ องฝา่ ยนัน้ เพอ่ื ป ระโยชนแ์ หง่ ม าตราน ้ี ถา้ ค สู่ มรสฝ า่ ยใดเปน็ ผ จู้ ดั การส นิ บ รคิ ณหแ์ ตฝ่ า่ ยเดยี ว ใหถ้ อื วา่ ค สู่ มรสอ กี ฝ า่ ยห นง่ึ ได้ยินย อมให้คูส่ มรสฝ า่ ยน ้นั จัดการสนิ สมรสแ ละสนิ ส่วนต วั ตามวรรคห น่ึงข องต นด ว้ ย ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดประสงค์จะใช้อำนาจจัดการสินส่วนตัวตามวรรคหนึ่งท่ีเป็นส่วนของตน ถ้าคู่สมรส นั้นมิได้เป็นผู้จัดการสินบริคณห์ให้แจ้งให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทราบ และให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายร่วมกันจัดการแบ่ง สินส่วนตัวดังกล่าวที่อยู่ในสภาพท่ีแบ่งได้ให้แก่ฝ่ายท่ีประสงค์จะจัดการ แต่ถ้าสินส่วนตัวน้ันไม่อยู่ในสภาพที่แบ่งได้ ใหท้ ง้ั สองฝา่ ยจ ัดการร่วมกัน” โดยเมื่อเลิกใช้บ รรพ 5 เก่า ในระยะท ี่เป็นห ัวเลื้ยวหัวต่อ มาตรา 7 ได้แก้ปัญหาสำหรับ สามีภ ริยาต ามบ รรพ 5 เก่า คือ โดยเหตุท ี่ส ามีภ ริยาต ามบ รรพ 5 เก่าน ั้น สามีเป็นผ ู้ม ีอ ำนาจจ ัดการส ินบ ริคณห์ มาตรา 7 จึงบัญญัติให้อำนาจสามียังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์แต่ผู้เดียวต่อไปตามเดิม แต่เนื่องจากบรรพ 5 ใหม่ เปลี่ยนแปลงประเภททรัพย์สินระหว่างสามีภริยาหลายประการ กล่าวคือ เดิมมีสินบริคณห์ ปัจจุบันนี้ไม่มี คงมีแต่ สินสมรสและสินส่วนตัว มาตรา 7 วรรคหนึ่ง จึงบัญญัติแก้ใหม่โดยให้ถือว่า สินเดิมตามกฎหมายเก่าของคู่สมรส ฝ่ายใดก็ให้เปลี่ยนมาเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น เช่น บิดาภริยายกที่ดินให้สามีภริยาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและ ทำกินเมื่อแต่งงานกันก่อนจดทะเบียนสมรสก่อนใช้บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่ที่ดินจึงตกเป็นของสามีและภริยาคนละ ครึ่ง เมื่อสามีแ ละภริยาจ ดทะเบียนสมรสกันก็ก ลายเป็นส ินเดิมของแ ต่ละฝ่าย และต กเป็นส ินส่วนตัวเมื่อใช้ บรรพ 5 ที่แก้ไขใหม่แล้ว ต่อมาสามีภริยาหย่ากันก็ต้องคืนให้แก่สามีและภริยา5 หรือสามีเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและ ที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของสามีซื้อบ้านมา บ้านจึงเป็นสินเดิมของสามีตามบรรพ 5 เดิม ต่อมาเมื่อใช้บรรพ 5 ใหม่แล้ว กฎหมายบัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านจึงเป็นสินส่วนตัวของสามี6 เป็นต้น สำหรับสินสมรสตาม บรรพ 5 เก่า ก็ย ังคงเป็นสินส มรสต่อไปต ามเดิมต ามบ รรพ 5 ใหม่ด้วย 5 ฎ. 655/2523 6 ฎ. 154/2524 มสธ มส
มส การหมน้ั 1-9 มสธ เมื่อสินเดิมเปลี่ยนประเภททรัพย์มาเป็นสินส่วนตัวแล้ว มาตรา 7 วรรคสอง ได้กำหนดให้อำนาจในการมสธ จัดการสินบริคณห์ตามบรรพ 5 เก่าเปลี่ยนมาเป็นอำนาจในการจัดการสินสมรสและสินส่วนตัวของคู่สมรสทั้งสอง ฝ่าย โดยกฎหมายให้ถือว่าเจ้าของสินส่วนตัว ฝ่ายที่ไม่มีอำนาจจัดการอยู่เดิมได้ยินยอมให้ฝ่ายที่มีอำนาจจัดการมสธ จัดการสินสมรสและสินส่วนตัวซึ่งกลายสภาพมาจากสินเดิมต่อไปด้วย อย่างไรก็ดีกรณีตามมาตรา 7 วรรคสอง นี้เป็นเรื่องเฉพาะอำนาจในการจัดการสินบริคณห์ที่มีอยู่เดิมและเปลี่ยนประเภทมาเป็นสินส่วนตัวและสินสมรส ตามบรรพ 5 ใหม่ นี้เท่านั้น ทรัพย์สินอ ย่างอื่นท ี่ได้ม าใหม่ห ลังใช้บรรพ 5 ใหม่ นี้แล้วก็ต ้องเป็นไปตามบรรพ 5 ใหม่ กล่าวคือใครเป็นเจ้าของสินส่วนตัวก็ย่อมจัดการได้โดยลำพัง ส่วนสินสมรสนั้น คู่สมรสต้องจัดการร่วมกันหรือ ได้ร ับความย ินยอมของค ู่ส มรสอีกฝ ่ายห นึ่ง เว้นแ ต่จ ะม ีส ัญญาก่อนสมรสก ำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในก รณีที่คู่สมรสฝ ่ายใดประสงค์จ ะใช้อ ำนาจจัดการส ินเดิมข องตน ซึ่งเปลี่ยนป ระเภทท รัพย์มาเป็นส ินส ่วน ตัวตามวรรคหนึ่ง มาตรา 7 วรรคสาม กำหนดวิธีการไว้ว่า คู่สมรสฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินส่วนตัวต้องแจ้งให้คู่สมรส ฝ่ายที่มีอำนาจจัดการทราบว่าตนประสงค์จะใช้อำนาจจัดการสินส่วนตัวของตน หลังจากนั้นก็จะต้องร่วมกันจัดการ แบ่งสินส่วนตัว (ที่เดิมเป็นสินเดิม) ดังกล่าวที่อยู่ในสภาพที่แบ่งได้ ให้แก่ฝ่ายที่ประสงค์จะจัดการ ถ้าสินส่วนตัวนั้น ไม่อ ยู่ในส ภาพที่จ ะแ บ่งได้ ก็ให้คู่ส มรสทั้งส องฝ่ายจ ัดการร่วมก ัน แต่พ ึงสังเกตว ่าม าตรา 7 วรรคส าม นี้บ ังคับเฉพาะ เรื่องสินเดิมตามบรรพ 5 เก่าท ี่เปลี่ยนป ระเภทม าเป็นสินส่วนตัวตามบรรพ 5 ใหม่นี้เท่านั้น ไม่รวมถึงสินสมรสด ้วย สินสมรสตามบรรพ 5 เก่านั้น สามีคงมีอำนาจจัดการแต่ผู้เดียวต่อไปไม่เปลี่ยนแปลง ภริยาจะแจ้งให้สามีทราบเพื่อ ขอจัดการเองหรือจัดการร่วมกันมิได้ เพราะมาตรา 7 วรรคสาม มิได้เปิดโอกาสให้ทำได้ เช่น สามีภริยาสมรสกัน ใน พ.ศ. 2517 ระหว่างสมรสภริยาเอาเงินเดือนของตนไปซื้อม้า ม้าตัวนี้เป็นสินสมรส แต่สามีก็มีอำนาจที่จะจัดการ เกี่ยวกับม้านี้โดยลำพังตามบรรพ 5 เก่า โดยภริยาไม่มีสิทธิมาร่วมด้วย แม้พอมาถึงพ.ศ. 2519 ที่ใช้บรรพ 5 ใหม่ แล้ว ซึ่งกำหนดให้สามีและภริยาจัดการสินสมรสร่วมกันก็ตาม แต่ตามมาตรา 7 วรรคหนึ่งนี้ก็ยังให้อำนาจสามีที่ จะจัดการเกี่ยวกับม้าดังกล่าวต่อไปโดยลำพังเช่นเดิม ภริยาจะขอเข้ามามีส่วนร่วมกับสามีในการจัดการเกี่ยวกับม้า ซึ่งเป็นสินสมรสตามบรรพ 5 เก่าไม่ได้ หรือที่ดินสินบริคณห์ ซึ่งคู่สมรสได้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โจทก์ผู้เป็นสามีมี อำนาจจัดการรวมทั้งมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินนั้นตามกฎหมายบรรพ 5 เดิม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากภริยา7 หรือในกรณีที่สามีถูกฟ้องคดีที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามบรรพ 5 เดิม สามีก็มีอำนาจต่อสู้คดีได้โดยลำพังเช่นเดียวกันด้วย เช่น โจทก์ฟ้องเรียกมรดกจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามี ภริยากัน เมื่อทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยที่ 2 ก่อนใช้บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ จึงเป็นสินสมรส แม้ภายหลัง ใช้บรรพ 5 ใหม่แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีอำนาจจัดการทรัพย์สินพิพาทต่อไป และมีอำนาจใช้สิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นท ายาทยกอ ายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้8 สำหรับสินส่วนตัวตามบรรพ 5 เก่า เมื่อมาใช้บรรพ 5 ใหม่ ก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม เนื่องจาก ภริยาหรือสามีที่เป็นเจ้าของสินส่วนตัวตามบรรพ 5 เก่านั้น มีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของตนเองตามลำพังอยู่แล้ว กฎหมายจึงไม่ได้บัญญัติไว้อีก ฉะนั้น สินส่วนตัวตามความหมายของมาตรา 7 นี้ จึงหมายถึงแต่เฉพาะสินเดิมที่ เปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว โดยบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้นหาได้หมายถึงสินส่วนตัวที่แท้จริงตามบรรพ 5 เก่าไม่ สินส่วนตัวที่เป็นของคู่สมรสฝ่ายใดอยู่ก่อนใช้บรรพ 5 ใหม่ เมื่อใช้บรรพ 5 ใหม่แล้วก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของ คู่สมรสฝ่ายนั้นอยู่ตามเดิม และฝ่ายนั้นก็มีอำนาจจัดการได้ตามลำพังดังเดิมต่อไป เว้นแต่จะมีสัญญาก่อนสมรส กำหนดไว้เป็นอ ย่างอ ื่น 7 ฎ. 181/2523, ฎ. 1964/2526 8 ฎ. 2116/2523 มสธ มส
มส 1-10 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ สามีภริยาตามบรรพ 5 เก่าเมื่อมาถึง พ.ศ. 2533 ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมบรรพ 5 ปัจจุบันแล้ว ในเรื่องการมสธ จัดการทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสนับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจะต้องบังคับตามบรรพ 5 ปัจจุบัน โดยถือหลักว่าสามีหรือ ภริยามีอ ำนาจจัดการสินสมรสได้โดยลำพังเพียงฝ่ายเดียว เว้นแต่การจัดการที่สำคัญเท่านั้นจึงจะต้องจัดการร่วมกันมสธ ความสัมพันธ์ในค รอบครัวด้านอื่นๆ และการขาดจากก ารส มรสต้องใช้บังคับตามบ รรพ 5 ปัจจุบันด้วย อทุ าหรณ์ ฎ. 1221/2527 เดิมที่พิพาทมีชื่อ พ. (สามี) ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับบิดาก่อนสมรสกับโจทก์ จึงเป็นสินเดิม ของ พ. กึ่งหนึ่ง ซึ่งตกเป็นสินส่วนตัวตาม ปพพ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ที่พิพาทอีกกึ่งหนึ่ง พ. ได้รับมรดก ของบิดาหลังสมรสจึงตกเป็นสินสมรสของโจทก์ และ พ. สามี เมื่อที่พิพาทเป็นสินสมรสและสินส่วนตัวจึงเป็น สินบริคณห์ตามมาตรา 1462 เดิม สิ่งปลูกสร้างบนที่พิพาทย่อมตกเป็นส่วนควบ การที่ พ. สามีทำหนังสือมอบ อำนาจให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรายพิพาท ซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยทั้งห้าต้องถือว่าโจทก์ผู้เป็นภริยายินยอม ให้ขายด้วย ฎ. 5245/2531 จำเลยท ี่ 1 ขายท ี่ดินสินเดิมแ ล้วน ำเงินไปซื้อที่ดินแ ปลงใหม่ ที่ดินแปลงใหม่จ ึงเป็นทรัพย์สิน ที่ต้องเอามาแทนสินเดิมที่ขายไป แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้ขายที่ดินแปลงใหม่ดังกล่าวแล้วนำเงินบางส่วนไปรับซื้อ ฝากท ี่ดินแ ปลงพ ิพาทแ ล้วต กได้เป็นข องจ ำเลยท ี่ 1 เพราะผ ู้ข ายฝ ากม ิได้ไถ่ค ืนท ี่ดินแ ปลงพ ิพาทก ็ย ังค งเป็นส ินเดิมข อง จำเลยท ี่ 1 ตามป พพ.มาตรา 1465 เดิม โรงเรือนและตึกแถวปลูกสร้างลงในที่พิพาทอันเป็นสินเดิม โดยไม่มีหลักฐานว่าจำเลยที่ 1 ใช้เงินจากการ ขายสินเดิมปลูกสร้าง กลับได้ความว่าผู้ปลูกสร้างสร้างให้แทนการจ่ายเงินสดเป็นค่าหน้าดินที่ปลูกอาคารพาณิชย์ ในที่ดินของ ส. ภริยาจำเลยที่ 1 ดังนี้ โรงเรือนและตึกแถวบนที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยาได้มาระหว่าง สมรส จึงเป็นส ินส มรสระหว่าง ส. และจำเลยที่ 1 ตาม ปพพ.มาตรา 1466 เดิม ฎ. 2375/2532 ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ร่วมกันก่อนจดทะเบียนสมรสกัน จำเลย กับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้จดทะเบียนสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1422, 1463 (1) เดิมซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่า สินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าว เป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ปพพ.ที่ได้ตรวจชำระ ใหม่ จำเลยก ับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก ่อนสมรสเป็นอ ย่างอ ื่น ล. ซึ่งเป็นส ามีจึงเป็นผ ู้จ ัดการท ี่พิพาทอันเป็นส ินบริคณห์ ตาม ปพพ. มาตรา 1468 เดิม และตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ปพพ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนัน้ การท ี่ ล. จดท ะเบยี นข ายฝ ากท พี่ ิพาทใหแ้ กผ่ คู้ ดั คา้ น เมือ่ ว ันท ี่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2524 ในข ณะท จี่ ำเลย กับ ล. ยังเป็นสามีภริยากันอยู่จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่ง ด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้ เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยได้ตาม พรบ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 3. สามีภ ริยาตามบรรพ 5 ใหม่ สามีภริยาตามบรรพ 5 ใหม่ คือสามีภริยาที่สมรสกันตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนถึงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2533 สถานะในครอบครัวเป็นไปตามกฎหมายปัจจุบันที่สามีและภริยามีสิทธิเท่าเทียมกันทุก อย่าง บทบัญญัติบรรพ 5 ปัจจุบันที่แก้ไขเพิ่มเติมบรรพ 5 ใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการสมรส มสธ มส
มส การหมัน้ 1-11 มสธ สัญญาก่อนสมรส การเป็นบิดามารดากับบุตร การเป็นผู้ปกครองและการรับบุตรบุญธรรมที่มีอยู่เดิม9 เว้นแต่จะมสธ เป็นบทบัญญัติท ี่เปลี่ยนแปลงใหม่ซ ึ่งจ ะมีผลใช้บ ังคับต ั้งแต่ว ันท ี่ใช้บรรพ 5 ปัจจุบัน คือวันท ี่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 เป็นต้นไป สำหรับในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้นมีอยู่เพียง 2 ประเภทคือ สินส่วนตัว และสินสมรสมสธ ซึ่งสินส่วนตัวนั้นสามีหรือภริยาฝ่ายที่เป็นเจ้าของมีอำนาจจัดการได้โดยลำพัง ส่วนสินสมรสสามีและภริยาจัดการ ร ่วมก ันหรือต้องได้ร ับค วามยินยอมจากอ ีกฝ่ายห นึ่ง จนถึงวันท ี่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 จึงจ ะเปลี่ยนวิธีก ารจัดการ สินสมรสที่ให้อำนาจสามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสโดยลำพังตนเอง เว้นแต่การจัดการสินสมรสที่สำคัญ จึงจะต ้องจัดการร ่วมกันต ามมาตรา 1476 บรรพ 5 ปัจจุบัน ซึ่งจะกล่าวร ายล ะเอียดในหน่วยท ี่ 3 ต่อไป 4. สามภี ริยาตามบรรพ 5 ปจั จบุ ัน สามีภริยาต ามบ รรพ 5 ปัจจุบันคือส ามีภริยาท ี่ส มรสกันตั้งแต่ว ันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน นี้ส ถานะในค รอบครัวเป็นไปตามกฎหมายปัจจุบันทุกป ระการ แม้ว่าสามีภริยาจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท และมีสถานภาพของการเป็นสามีภริยาที่แตกต่างกันโดยขึ้น อยู่กับกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่มีการสมรสเกิดขึ้นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ตาม แต่สามีภริยาทั้งสี่ประเภทนี้ก็ต้อง อยู่ใต้บังคับของกฎหมายปัจจุบันในเรื่องการตัดความสัมพันธ์ในครอบครัว ทั้งนี้เพราะกฎหมายไม่มีข้อยกเว้นให้ใช้ กฎหมายเก่าบังคับ ฉะนั้น สามีภริยาทั้งสี่ประเภทหากประสงค์จะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันในเวลานี้จะต้อง ใช้เหตุหย่าตามบรรพ 5 ปัจจุบัน จะใช้เหตุหย่าตามกฎหมายเดิมไม่ได้ เพราะเหตุการณ์อันเป็นสิทธิหย่าเกิดขึ้นเมื่อ ใช้กฎหมายใหม่แล้ว10 เช่น สามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย สามีโกรธภริยาเก็บข้าวของลงจากเรือน เอามีดพร้าฟันเสาหอเสาเรือนแม้จะเป็นเหตุหย่าตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก็ตามแต่เนื่องจากการกระทำเช่นนี้ มิได้เป็นเหตุฟ ้องห ย่าตามบรรพ 5 ปัจจุบัน ภริยาจ ึงฟ้องหย่าไม่ได้ เป็นต้น กิจกรรม 1.1.1 1. กฎหมายค รอบครัวม กี ารแ ก้ไขเพ่มิ เติมเมือ่ ใดบ า้ ง 2. ในป ัจจบุ นั น ม้ี สี ามภี ริยาต ามก ฎหมายอ ยกู่ ปี่ ระเภท แต่ละป ระเภทน มี้ ขี ้อแ ตกต ่างก ันแ ละเหมอื นก ัน บา้ งห รอื ไมอ่ ยา่ งไร แนวตอบกิจกรรม 1.1.1 1. กฎหมายค รอบครวั ม กี ารแ กไ้ ขเพม่ิ เตมิ อ ยา่ งส ำคญั ส องค รงั้ แ ละแ กไ้ ขเพมิ่ เตมิ เลก็ น อ้ ยอ กี ห นง่ึ ค รงั้ คอื เมอ่ื ว นั ท่ี 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2478 ซงึ่ เป็นการย กเลกิ กฎหมายล กั ษณะผ ัวเมยี ทีเ่ คยใชอ้ ยู่เดิม เปลย่ี นม าใชบ้ ทบัญญัติ บรรพ 5 แทน ตอ่ มาเมอ่ื วนั ท่ี 16 ตลุ าคม พ.ศ. 2519 ซึง่ เปน็ การยกเลกิ บรรพ 5 เก่า มาใช้บรรพ 5 ใหม่ และเมือ่ วันท ่ี 27 กันยายน พ.ศ. 2533 ซ่ึงเป็นการแ ก้ไขเพม่ิ เติมบ รรพ 5 ใหม่ ในหลกั การสำคญั บางประการ หลงั จากน้นั มกี ารแก้ไขในเรอื่ งค่สู ญั ญาหมั้น พ.ศ. 2550 และเรื่องเด็กเกดิ แตห่ ญิงทีไ่ มไ่ ด้ทำการสมรส พ.ศ. 2551 2. ปจั จุบันน้ีสามภี ริยาต าม กฎห มายม อี ยู่ 4 ประการ คอื (1) สามีภริยาตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย (สมรสกันมาก่อนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478) ซึ่งยัง คงใชก้ ฎหมายล ักษณะผ วั เมยี บ งั คับในเรอ่ื งก ารส มรสแ ละความส ัมพันธ์ในครอบครัว 9 มาตรา 70 พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมป ระมวลก ฎหมายแพ่งและพ าณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 10 ฎ. 991/2501 มสธ มส
มส 1-12 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ (2) สามภี รยิ าต ามบ รรพ 5 เกา่ (สมรสก นั ม าต ง้ั แตว่ นั ท ี่ 1 ตลุ าคม พ.ศ. 2478 จนถงึ ว นั ท ี่ 15 ตลุ าคมมสธ พ.ศ. 2519) ซงึ่ ในด า้ นค วามส มั พนั ธใ์ นค รอบครวั จ ะใชบ้ รรพ 5 เกา่ ไมไ่ ด้ ตอ้ งเปลยี่ นม าใชบ้ รรพ 5 ปจั จบุ นั เวน้ แต่ การจ ดั การทรัพย์สนิ ในช่วงระยะเวลาท ใ่ี ช้กฎหมายใดก ็เปน็ ไปตามบ ทบัญญัติกฎหมายน้ันมสธ (3) สามภี ริยาตาม บรรพ 5 ใหม่ (สมรสก นั มาต ้ังแต่วนั ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนถึงว นั ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2533) ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 ปัจจุบันบังคับ เว้นแต่การจัดการทรัพย์สินในช่วงระยะเวลาท่ีใช้ กฎหมายบรรพ 5 ใหม่ ก็เปน็ ไปตามบ ทบญั ญตั กิ ฎหมายน ้นั (4) สามภี รยิ า ตามบ รรพ 5 ปัจจบุ ัน (สมรสก นั ม าตัง้ แต่วันท ี่ 27 กนั ยายน พ.ศ. 2533 เป็นตน้ ม า จนถงึ ปจั จุบนั ) ใชบ้ ทบัญญัตบิ รรพ 5 ปจั จบุ ัน บังคบั ท ุกประการ เรอื่ งท ี่ 1.1.2 การใชบ้ งั คับกฎหมายค รอบครัว ตามหลักในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายนั้น กฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาเขต พื้นที่ตลอดทั่วราชอาณาจักรไทย ปพพ.บรรพ 5 ครอบครัว ก็อยู่ในหลักการนี้ด้วย อย่างไรก็ดีเนื่องจากใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสตูล ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม หลักศาสนาอิสลามเกี่ยวกับครอบครัวมรดกผิดแผกแตกต่างจากหลักที่บัญญัติไว้ ใน ปพพ.มาก เช่น สามีอาจมี ภริยาได้หลายคน (polygamous marriage) การขาดจากการสมรสอาจทำได้โดยพิธีตอละ11 ด้วยการที่สามีเปล่ง วาจาตอละจากภริยาโดยตรงหรือโดยปริยายต่อส่วนของร่างกายภริยาเช่นมือหรือโลหิต 3 ตอละ หรือหากสามีร่วม ประเวณีกับมารดาของภริยา โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นภริยาของตนก็ถือว่าเป็นการตัดรูปาซะคู12 มีผลทำให้สามีขาด จากการสมรสกับภริยาคนนั้น เป็นต้น ด้วยเหตุนี้หากจะนำบทบัญญัติแห่ง ปพพ. ว่าด้วยครอบครัวมาใช้บังคับก็ อาจจะไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมให้ดำเนินไปด้วยดีได้ สมควรผ่อนปรนให้ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ใน 4 จังหวัด เหล่าน ี้ได้ป ระพฤติปฏิบัติต ามลัทธิศ าสนาข องตนโดยสมบูรณ์ ใน พ.ศ. 2444 จึงได้มีการต ราข ้อบังคับ สำหรับปกครองบริเวณเจ็ดหัวเมือง ร.ศ. 120 กำหนดให้ใช้พระราชกำหนดกฎหมายทั้งปวงในความอาญาและความ แพ่ง แต่ความแพ่งซึ่งเกี่ยวด้วยศาสนาอิสลาม เรื่องผัวเมียก็ดี เรื่องมรดกก็ดี ซึ่งคนนับถือศาสนาอิสลามเป็นทั้ง โจทก์จำเลยหรือเป็นจำเลยให้ใช้กฎหมายอิสลามในการพิจารณาและพิพากษาและให้โต๊ะกาลีซึ่งเป็นผู้รู้และเป็นที่ นับถือในศาสนาอิสลามเป็นผู้พิพากษาตามกฎหมายอิสลามนั้น ต่อมา เมื่อมีประกาศใช้ ปพพ. บรรพ 5 ว่าด้วย ค รอบครัว และบ รรพ 6 ว่าด ว้ ยม รดกซ ึง่ ม ผี ลใหบ้ งั คบั ต ั้งแตว่ นั ท ี่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 ข้อบ ังคับส ำหรับป กครองบ ริเวณ เจ็ดหัวเมือง ร.ศ. 120 ก็ยังมีผลบังคับในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ตามเดิมจนกระทั่ง พ.ศ. 2486 จึงได้ม ีก ฎหมายแก้ไข ปพพ. บรรพ 5 และบรรพ 6 ขยายไปใช้บ ังคับใน 4 จังหวัดช ายแดนภ าคใต้ 11 ตอละ คือก ารคลายนิติส ัมพันธ์ส มรสของส ามีอันขาดก ารสมรสจากภ ริยาโดยพิธีต อละ คำนี้บางทีเขียน ตอล ะก์ ดูการส ัมมนาการใช้ กฎหมายอิสลาม จัดพ ิมพ์โดยก ระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์ชวนพ ิมพ์ พ.ศ. 2525 น. 247 12 ตัดรูป าซะคู คือ การทำลายแห่งน ิติสัมพันธ์ส มรสระหว่างสามีภริยาโดยม ิได้ป ระกอบด ้วยเจตนาเพื่อขาดจากก ารส มรส บางครั้งคำนี้ ใช้ว ่า ตัดร ์ฟะซัค ดู การสัมมนาก ารใช้กฎหมายอิสลาม น. 258 มสธ มส
มส การหม้นั 1-13 มสธ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลง รัฐบาลได้เปลี่ยนนโยบายให้นำกฎหมายอิสลามกลับมาใช้ในมสธ จังหวัดทั้งสี่ใหม่อีก ใน พ.ศ. 2489 จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และส ตูล พ.ศ. 2489 ออกใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัตินี้ในมาตรา 3 และม าตรา 4 การมสธ วินิจฉัยช ี้ขาดค ดีแ พ่งเกี่ยวด ้วยเรื่องค รอบครัวและม รดกอิสลามศาสนิก ของศ าลชั้นต ้น ในสี่จังหวัดซึ่งอิสลามศ าสนิก เป็นทั้งโจทก์จำเลย หรือเป็นผู้เสนอคำขอในคดีไม่มีข้อพิพาท ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก บังคับแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เว้นแต่บทบัญญัติว่าด้วยอายุความมรดก ในการ พิจารณาค ดใีหด้ ะโตะ๊ ย ตุ ิธรรมห นึง่ น ายน ัง่ พ ิจารณาพ ร้อมด ว้ ยผ พู้ ิพากษา สว่ นป ัญหาข ้อเท็จจ ริงห รือป ญั หาข ้อกฎหมาย อื่นเป็นอำนาจของผู้พิพากษา คำวินิจฉัยของดะโต๊ะยุติธรรม ในข้อกฎหมายอิสลามเป็นอันเด็ดขาด จะอุทธรณ์ฎีกา ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ฉะนั้นในปัจจุบันนี้เมื่อคดีพิพาทกันเรื่องครอบครัวหรือมรดกในศาลชั้นต้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และส ตูล ระหว่างค นน ับถือศาสนาอ ิสลามด้วยก ัน หรือมีคดีไม่มีข้อพิพาทซ ึ่งผู้น ับถือศาสนาอ ิสลาม เป็นผู้ร้องในเรื่องครอบครัวหรือมรดกต้องใช้กฎหมายอิสลามบังคับ ไม่ใช้บทบัญญัติตาม ปพพ. บรรพ 5 และ บรรพ 6 เหมือนเช่นปกติ แต่ทั้งนี้จ ะต้องป ระกอบด ้วยเงื่อนไข 2 ประการดังต่อไปน ี้ 1. คู่ความทั้งหมดหรือเจ้ามรดกจะต้องเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม หากคู่ความแม้แต่คนเดียวไม่ใช่คน นับถือศาสนาอิสลาม หรือเจ้ามรดกไม่ใช่คนนับถือศาสนาอิสลาม ถึงแม้โจทก์ จำเลย หรือผู้ร้องขอจะเป็นคนนับถือ ศาสนาอิสลาม ก็ใช้ก ฎหมายอิสลามบังคับไม่ได้13 และ 2. คดีต ้องเกิดข ึ้นในจังหวัดย ะลา นราธิวาส ปัตตานี หรือสตูล หากเป็นคดีที่เกิดข ึ้นในจ ังหวัดอื่นนอกจาก สี่จังหวัดเช่นว่านี้ แม้คู่ความทุกฝ่ายจะเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม ก็จะใช้กฎหมายอิสลามบังคับไม่ได้ ต้องบังคับ ตาม ปพพ. บรรพ 5 และ บรรพ 6 เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง ชายที่นับถือศาสนาพุทธ มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปัตตานีจะอ้างกฎหมายอิสลาม เพื่อให้มี ภริยาเกินหนึ่งคนไม่ได้ หรือส ามีภริยาที่น ับถือศาสนาอ ิสลามม ีภูมิลำเนาอ ยู่ ณ กรุงเทพมหานคร จะหย่าขาดจ ากก าร เป็นสามีภริยากันต้องใช้เหตุหย่าตาม ปพพ. บรรพ 5 หรือชายนับถือศาสนาอิสลาม สมรสกับหญิงที่นับถือศาสนา คริสต์ ณ จังหวัดนราธิวาสและมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนี้จะหย่าขาดจากกัน ก็ต้องใช้เหตุหย่าตาม ปพพ. บรรพ 5 จะใช้เหตุห ย่าตามกฎหมายอิสลามไม่ได้ เป็นต้น อุทาหรณ์ ฎ. 1355/2479 กฎหมายอิสลามที่ใช้บังคับในสี่จังหวัดภาคใต้ ไม่ใช่เป็นกฎหมายต่างประเทศ ฉะนั้นใน การพิจารณาคดีที่ต้องใช้กฎหมายอิสลามก็เป็นหน้าที่ของดะโต๊ะยุติธรรมที่นั่งพิจารณาคดี เป็นผู้นำบทกฎหมาย อิสลามม าบ ังคับคดี (หาใช่เป็นหน้าที่ข องค ู่ความจ ะนำสืบไม่ ถือว่าเป็นส ิ่งที่ศ าลร ับร ู้เอง) ฎ. 1898/2512 โจทก์มิใช่อิสลามศาสนิก จะบังคับคดีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอ ิสลามใน เขตจ ังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 มาตรา 3 มิได้ ต้องบังคับค ดีตามบ ทบัญญัติแ ห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฎ. 3973/2524 การที่โจทก์ยอมสมรสด้วยกับจำเลยตามประเพณีของผู้นับถือศาสนาอิสลามและได้จด ทะเบียนสมรส (นิกะ) ต่อโต๊ะอิหม่ามที่จังหวัดสตูล ก็เพราะจำเลยหลอกลวงโจทก์ว่าได้หย่ากับภริยาคนแรกแล้วต่อ มาภริยาคนแรกของจำเลยได้มาทำลายสิ่งของเครื่องใช้ของโจทก์ และขับไล่โจทก์ออกจากปอเนาะ โจทก์จึงต้องแยก กลับไปอยู่บ้านและจำเลยก็ไม่ได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์เพราะต้องการให้โจทก์กลับมาหาจำเลย เช่นนี้ เมื่อการที่โจทก์ ออกจากปอเนาะมิใช่ความผิดของโจทก์ และกรณีไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากจำเลยและจำเลยมิได้อุปการะเลี้ยงดู 13 ฎ. 1898/2512 มสธ มส
มส 1-14 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นการประพฤติผิดหน้าที่ของสามีตามลัทธิประเพณีของผู้นับถือศาสนา อิสลาม โจทก์จึงม ีสิทธิห ย่าขาดจากจำเลยได้ ฎ. 2812 – 2816/2525 โจทก์ที่ 2 ที่ 3 เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามมีภูมิลำเนาในจังหวัดยะลา ซึ่งมี พรบ. ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯ ใช้บังคับแก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามอันเกี่ยวด้วยครอบครัวและมรดกในจังหวัด ดังกล่าวแทน ปพพ. บรรพ 5 และบรรพ 6 เมื่อโจทก์ที่ 2 ที่ 3 นำสืบได้ว่าแต่งงานเป็นสามีภริยาโดยถูกต้องตาม กฎหมายอ ิสลาม จำเลยม ิได้น ำสืบห ักล้าง โจทก์ที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นสามีภ ริยาและเป็นบิดาม ารดาของ ส. ผู้ตายโดยชอบ ด้วยก ฎหมาย แม้เหตุรถชนกันจ นทำให้ ส. ตายเกิดในเขตจ ังหวัดส งขลา โจทก์ทั้งสองก ็มีอ ำนาจฟ ้องผู้ท ำล ะเมิดได้ กจิ กรรม 1.1.2 1. เงือ่ นไขในก ารใช้กฎหมายอ สิ ลามว ่าดว้ ยค รอบครัวใน 4 จังหวดั ช ายแดนภาคใตม้ ีอยา่ งไรบา้ ง 2. สามีนบั ถอื ศ าสนาอสิ ลาม ภริยาน ับถือศาสนาคริสต์ มภี มู ิลำเนาอยใู่นจังหวัดยะลา จะหย่าข าดจาก กันจ ะต อ้ งใช้กฎหมายใดบ้าง แนวต อบกจิ กรรม 1.1.2 1. เงือ่ นไขในก ารใช้กฎหมายอ ิสลามวา่ ดว้ ยครอบครัวใน 4 จงั หวัดชายแดนภาคใต้ มี 2 ประการ คอื (1) ค่คู วามท ัง้ หมดจ ะตอ้ งเปน็ ค นน ับถือศาสนาอิสลาม และ (2) คดีตอ้ งเกิดข ้นึ ในจ งั หวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี หรือสตลู 2. สามีนับถอื ศ าสนาอสิ ลาม ภริยาน ับถอื ศาสนาครสิ ต์ มภี ูมิลำเนาอยู่ในจงั หวัดยะลา หากจ ะหยา่ ขาด จากก นั จ ะตอ้ งใช้ ปพพ. บรรพ 5 บังคับ จะใชก้ ฎหมายอ สิ ลามบ งั คบั ไม่ได้ มสธ มสธ มสธ มสธ มส
มส การหมน้ั 1-15 มสธ ตอนท ่ี 1.2มสธ หลกั เกณฑข์ องการห มน้ั โปรดอ ่านห ัวเรื่อง แนวคิด และว ัตถุประสงค์ของตอนที่ 1.2 แล้วจึงศ ึกษารายล ะเอียดต่อไป หัวเรื่อง 1.2.1 สัญญาห มั้น 1.2.2 เงื่อนไขข องก ารหมั้น 1.2.3 ของห มั้น สินสอด และทรัพย์สินอื่น แนวคิด 1. ส ัญญาหมั้นมีลักษณะเหมือนกันกับสัญญาอื่นทั่วไปคือ จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ขัดต่อความ สงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกจากนี้บิดามารดา หรือผู้ปกครองของชาย แ ละห ญิงอ าจเข้ามาผ ูกพันเป็นค ู่สัญญาได้อีกด้วย 2. ในการที่ชายและหญิงจะทำสัญญาหมั้นกันนั้น กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อ คุ้มครองสิทธิและประโยชน์ของบุคคลทั้งสอง และเพื่อให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี ของไ ทยเรา 3. การทำสัญญาหมั้น ฝ่ายชายจะต้องให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นไว้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะ สมรสกับหญิง และฝ่ายชายอาจให้ทรัพย์สินเป็นสินสอดแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองหญิง เพื่อตอบแทนที่ได้เลี้ยงดูหญิงจนเติบโตมาก็ได้ นอกจากนี้ชายหญิงอาจมีทรัพย์สินอื่นที่ได้มา เนื่องจากการสมรสกันอีกด ้วย วตั ถุประสงค์ เมื่อศ ึกษาต อนที่ 1.2 จบแล้ว นักศึกษาส ามารถ 1. อธิบายห ลักเกณฑ์ของส ัญญาหมั้น และบุคคลที่ผูกพันตามสัญญาห มั้นได้ 2. อธิบายเงื่อนไขข องสัญญาห มั้นได้ 3. อ ธิบายแ ละวินิจฉัยป ัญหาเกี่ยวกับการให้ของหมั้น การเรียกส ินสอด การค ืนของหมั้นและสินสอด และทรัพย์สินอ ื่นที่ได้ม าเนื่องจากก ารส มรสได้ มสธ มสธ มส
มส 1-16 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เรอ่ื งท่ี 1.2.1มสธ สัญญาหมั้น มสธ โดยทั่วไปในกรณีที่ชายหญิงต้องการที่จะสร้างครอบครัวจะกระทำโดยการสมรส ในทางกฎหมายไม่ได้มี การบังคับว่าจะต้องทำการหมั้นก่อนการสมรสแต่อย่างใด กล่าวคือจะทำการสมรสกันเลยทีเดียวก็ได้ ในกรณีที่ไม่มี การหมั้นหรือการหมั้นนั้นกระทำโดยฝ่าฝืนกฎหมาย หากว่าการสมรสทำขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมาย กำหนด การสมรสก็ยังสมบูรณ์ หากพิจารณาถึงเงื่อนไขแห่งการสมรสตามมาตรา 1448 ก็มิได้กำหนดไว้เลยว่าชาย หญิงจะต้องหมั้นกันเสียก่อน เพียงแต่หากพิจารณาในทางขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของสังคมไทย มักจะต้องมี การทำพิธีการหมั้นก่อนทำการสมรสเสมอ โดยการหมั้นนั้นมีประโยชน์ในแง่ที่ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ชายหญิงได้มี โอกาสทำความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้นเพื่อที่จะได้เรียนรู้อุปนิสัยใจคอกัน ในอดีตมีบ่อยครั้งที่การสมรสนั้นเกิด ขึ้นจากการที่ผู้ใหญ่แนะนำชายและหญิงให้รู้จักกัน โดยที่ชายและหญิงนั้นมิได้รู้จักกันมาก่อน ดังนั้น การหมั้นจึง เป็นเสมือนช่องท างแรกให้ช ายหญิงได้เรียนร ู้ซ ึ่งกันและกัน หากว่าอุปนิสัยใจคอสามารถเข้าก ันได้ ก็น ำไปส ู่การสมรส แต่หากทั้งสองฝ่ายไม่ถูกใจกันก็สามารถเลิกสัญญาหมั้นได้ ดีกว่าการที่ให้สมรสกันเลยในทันทีแล้วต้องไปหย่าร้าง กันในภายหลัง นอกจากนั้นแล้วการหมั้นยังมีประโยชน์ในแง่ที่ว่าเป็นการประกาศให้ญาติมิตรเพื่อนฝูงของชายหญิง ที่เป็นค ู่ห มั้นท ราบว ่า ชายห ญิงค ู่น ี้ได้มีก ารค บหาผ ูกพันก ันในระดับท ี่จะพ ัฒนาไปส ู่การส มรส อันเป็นการต ัดปัญหาให้ ชายห รือห ญงิ อื่นเข้าม าเกี่ยวพ ันในท างช ู้สาวก ับค ูห่ มั้นน ั้นอ ีกด ้วย14 หรืออ ย่างไรก็ดีในบ างค ูอ่ าจท ำการห มั้นในว ันเดียว กับวันส มรสก ็ได้ ตามประเพณีโบราณ การที่ชายหญิงจะแต่งงานเป็นสามีภริยากันนั้น ฝ่ายชายจะต้องไปหมั้นฝ่ายหญิงก่อน คือ เท่ากับเป็นการสู่ขอหญิงมาเป็นภริยาและต้องมีขันหมากหมั้นไปมอบให้แก่ฝ่ายหญิง เสมือนหนึ่งวางมัดจำไว้ ในสมัยก่อนที่จะใช้ปพพ.บรรพ 5 นั้น ถือว่าบิดามารดามีอิสระเหนือบุตร บิดามารดาจึงอาจทำการหมั้นแทนบุตรได้ โดยไม่จำเป็นต้องปรึกษาหารือบุตรแต่อย่างใด และทั้งจะหมั้นกันตั้งแต่ชายหญิงอายุยังน้อยๆ ก็ได้ ครั้นเมื่อมีการ ใช้ ปพพ. บรรพ 5 แล้ว กฎหมายก็ย ังค งให้มีการห มั้นกันตามป ระเพณีเดิม แต่ได้กำหนดอ ายุของช ายหญิงคู่ห มั้นขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองได้ไต่ถามความสมัครใจของบุตรก่อน เพราะการสมรสเป็นเรื่อง ส่วนต ัวโดยแท้ หาได้ม ีอ ำนาจที่จ ะบังคับน ้ำใจชายห ญิงให้ต้องห มั้นห มายกันเหมือนแต่ก ่อนไม่ การหมั้น (engagement) นั้น ถ้าจะให้ความหมายในทางกฎหมายแล้วก็หมายความถึง การที่ชายหญิงทำ สัญญาว่าจะทำการส มรสกันแ ละอยู่ก ินด ้วยกันฉันสามีภ ริยา (an agreement to get married and live together as husband and wife) ศาลฎีกาได้ให้ความหมายของการหมั้นไว้ว่า “การหมั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายทำกับฝ่าย หญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจะทำการสมรสกัน”15 สัญญาหมั้นจึงเป็นเพียงสัญญาจองกันไว้ก่อน ยังไม่ถ ึงขั้นสมรสกันเด็ดขาดโดยในบ างประเทศเรียกสัญญาห มั้นว่า “สัญญาจะส มรส” 14 ไพโรจน์ กัมพูศิริ คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครอบครัว กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ น. 11-13 15 ฎ. 763/2526 มสธ มส
มส การหมั้น 1-17 มสธ การห มัน้ ท จี่ ะม ผี ลท างก ฎหมายข องป ระเทศไทยน ัน้ ต อ้ งเปน็ การห มัน้ ร ะหวา่ งช ายก บั ห ญงิ เทา่ นัน้ โดยพ จิ ารณามสธ จากเพศที่แท้จริงของคู่หมั้น กฎหมายไทยไม่ยอมรับการหมั้นของคนที่มีเพศเดียวกัน โดยถือว่าเป็นการกระทำที่ ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น หากชายทำการหมั้นกับชาย หรือหญิงทำการหมั้นกับหญิง การหมั้นมสธ ด ังกล่าวไม่ช อบด้วยก ฎหมาย แม้ว่าจะม ีฝ ่ายใดฝ่ายห นึ่งได้มีการผ ่าตัดแ ปลงเพศแล้วก ็ตาม การหมั้นนอกจากจะต้องเป็นการหมั้นระหว่างชายและหญิงแล้ว การหมั้นจะต้องกระทำโดยความยินยอม พร้อมใจของชายและหญิงที่เป็นคู่หมั้นด้วย ในอดีตมักจะมีการทำการหมั้นโดยที่ผู้ใหญ่เป็นผู้จัดการเรื่องการหมั้น ให้ชายและหญิงซึ่งในบางครั้งชายและหญิงที่เป็นคู่หมั้นยังไม่เคยมีโอกาสได้เจอหน้ากันมาก่อนแต่อย่างใดเลย ปัจจุบันกฎหมายได้ให้ความสำคัญกับอิสระในการตัดสินใจ เนื่องจากการหมั้นเป็นเรื่องที่ชายและหญิงผูกพันกันใน เบื้องต้นเพื่อที่จะทำการสมรสในอนาคต ดังนั้น ความยินยอมพร้อมใจของทั้งคู่จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะ หากการต้องอ ยู่ก ินก ันเนื่องจากถ ูกบ ังคับ ความผ าสุกข องครอบครัวย ่อมที่จ ะเกิดขึ้นได้ยาก สำหรับการทำพิธีหมั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบที่ชัดเจนแน่นอน บางครอบครัวให้ความสำคัญกับ พิธีการก็จะจัดงานเลี้ยงใหญ่โต บางครอบครัวก็ชอบที่จะจัดพิธีหมั้นเล็กๆ พิธีการหมั้นไม่ว่าจะจัดด้วยรูปแบบใด ก็ไม่ได้ส่งผลที่แตกต่างในทางกฎหมาย ขอเพียงให้มีของหมั้นที่ฝ่ายชายมอบให้แก่หญิงก็เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การหมั้นจะต้องมีการทำเป็นกิจลักษณะและเปิดเผยให้เป็นที่รับรู้ของบุคคลทั่วไปอีกด้วยถึงจะมีผลเป็นการหมั้น หากเพียงแ ต่ส ู่ขอกันเฉยๆ ไม่อ าจเรียกว ่าเป็นการห มั้นตามก ฎหมาย16 ในการที่ชายแ ละหญิงจะทำส ัญญาห มั้นก ันนั้น มาตรา 1437 ได้ก ำหนดแบบเพื่อความส มบูรณ์ข องการหมั้น ไว้ดังนี้ มาตรา 1437 “การห มนั้ จะส มบูรณเ์มอ่ื ฝ ่ายช ายได้ส่งมอบห รือโอนทรพั ย์สินอนั เป็นของห มัน้ ให้แกห่ ญิงเพื่อ เป็นห ลกั ฐ านว่าจะสมรสกับห ญงิ น้ัน เม่ือห มั้นแล้วใหข้ องห มั้นต กเป็นสทิ ธแิ กห่ ญิง” บทบัญญัติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการหมั้นต้องมีของหมั้น เพราะสัญญาหมั้นเป็นสัญญาพิเศษต่างจาก สัญญาธรรมดา ฉะนั้นหากฝ่ายชายไม่มีของหมั้นมามอบให้หญิงแล้ว การหมั้นย่อมไม่สมบูรณ์ ถือว่าไม่มีสัญญา หมั้นเกิดขึ้น หลักการที่กำหนดให้การหมั้นต้องมีของหมั้นจึงจะสมบูรณ์นี้เป็นหลักการเดิมของกฎหมายครอบครัว ก่อน พ.ศ. 2519 ซึ่งกฎหมายปัจจุบันได้นำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง แบบของสัญญาหมั้นในด้านอื่นนอกเหนือจาก การม ีของห มั้นแ ล้วก ฎหมายม ิได้ก ำหนดไว้อ ีก ฉะนั้นส ัญญาห มั้นจ ึงอ าจจ ะก ระทำด ้วยว าจาห รือโดยล ายล ักษณ์อ ักษร ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในเรื่องอายุ คือ ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้นจะต้องมีอายุตั้งแต่ 17 ปี ขึ้นไป ตาม มาตรา 1435 ซึ่งบ ัญญัติว ่า “การห มัน้ จะท ำไดต้ อ่ เม่ือช ายและห ญงิ ม ีอายุสิบเจ็ดปบี ร ิบ รู ณ์แ ล้ว การห มั้นท่ีฝา่ ฝนื บทบญั ญตั ิวรรคหนงึ่ เปน็ โมฆะ” และหากคู่หมั้นยังเป็นผู้เยาว์อยู่จะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองอีกด้วย ตาม มาตรา 1436 ซึ่งจะกล่าวต่อไปในเรื่องที่ 1.2.2 เงื่อนไขการหมั้น นอกจากนี้สัญญาหมั้นยังต้องอยู่ในบังคับตาม หลักทั่วไปในเรื่องการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรม เช่น การทำสัญญาหมั้นเพราะถูกข่มขู่ สัญญาหมั้นดังกล่าว เป็นโมฆียะตาม ปพพ. มาตรา 164 หรือสัญญาหมั้นที่มีวัตถุประสงค์อันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม อันดีของประชาชน สัญญาหมั้นที่เป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 150 ด้วย เช่น พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมาท ำ การหมั้นกัน สัญญาหมั้นดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นสิ่งไม่ดีไม่งาม ไม่มีธรรมเนียมประเพณีหรือบทบัญญัติแห่งกฎหมายรับรองให้ทำได้ หรือชายหญิงทำสัญญา 16 ฎ 1034/2535 มสธ มส
มส 1-18 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ห มั้นก ันโดยม ีข ้อสัญญาโดยช ัดแ จ้งว ่า คู่ส ัญญาจ ะต้องร่วมป ระเวณีกันก ่อนท ำการส มรส เช่นน ี้ สัญญาหมั้นดังกล่าวมสธ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงเป็นโมฆะเช่นเดียวกัน นอกจากนี้สัญญาหมั้นจะใช้ บังคับได้ก็แต่เฉพาะกรณีที่ชายไปทำการหมั้นหญิงเท่านั้น หากมีหญิงเกิดพิเรนไปทำการหมั้นชาย สัญญาหมั้นมสธ เช่นว ่าน ี้เป็นโมฆะตามมาตรา 150 เพราะเป็นการข ัดต ่อศ ีลธ รรมอ ันด ีของประชาชนด ้วย การหมั้นฝ่ายชายต้องมีทรัพย์สินนำไปให้หญิง เป็นประเพณีมาตั้งแต่โบราณหากชายไปสู่ขอหญิงเฉยๆ หา เรียกว่าชายนั้นหมั้นหญิงไม่ ฉะนั้น การตกลงจะทำการสมรสโดยไม่มีของหมั้น ย่อมไม่ใช่การหมั้น โดยของหมั้น จะเป็นของมีค่ามากน้อยเพียงใดก็ได้ ฝ่ายชายต้องมีทรัพย์สินให้แก่หญิงเสมอ การหมั้นถึงจะสมบูรณ์ในสายตาของ กฎหมาย อทุ าหรณ์ ฎ. 1217/2496 ฝ่ายชายได้ดำเนินการสู่ขอฝ่ายหญิงจนได้มีการเหยียบเรือนตามประเพณีท้องถิ่นแล้วคือ ฝ่ายชายได้นำหมากพลูและผ้าขาวไปเคารพฝ่ายหญิง และได้กำหนดนัดวันทำพิธีสมรสแล้วเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็น การตกลงโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น และการตกลงทำการสมรสแล้วทุกประการ เมื่อถึงวันกำหนด แต่งงานฝ ่ายชายไม่มาต ามกำหนด ฝ่ายหญิงย ่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าท ดแทนได้ ฎ. 525/2509 การหมั้นจะเรียกว่าหมั้นก็ต ่อเมื่อฝ่ายชายนำข องหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจ กันตามธรรมดาและตามประเพณี เมื่อมีการหมั้นแล้วถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน โดย ที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้น จึงอยู่นอกขอบเขต ท ี่กฎหมายร ับรอง หากไม่ปฏิบัติต ามที่ต กลงไว้จ ะเรียกค ่าทดแทนห าได้ไม่ การที่ไม่มีป ระเพณีท ้องถิ่นว ่าจะต้องม ีข องหมั้นมิใช่เหตุอ ันจะพ ึงยกขึ้นลบล้างบ ทก ฎหมายได้ ฎ. 1971/2517 การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ปพพ. มาตรา 1438 (เดิม) (ปัจจุบันคือ มาตรา 1439) บัญญัติไว้เป็นพ ิเศษให้เรียกได้เฉพาะในกรณีท ี่มีการหมั้นเท่านั้น เมื่อโจทก์ จำเลยตกลงจะสมรสหรือจดทะเบียนโดยไม่มีก ารห มั้นแม้จำเลยไม่ปฏิบัติต ามข ้อตกลง โจทก์ก ็เรียกค ่าท ดแทนไม่ได้ ในการที่ชายและหญิงทำการหมั้นกันนี้ หากการหมั้นดังกล่าวฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรสตามที่กฎหมาย กำหนดไว้ จะมีผ ลทำให้การหมั้นนั้นเป็นโมฆะห รือไม่พอจะพ ิจารณาได้ดังนี้ (1) การหมั้นที่ชายและหญิงอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ การหมั้นเช่นว่านี้มาตรา 1435 บัญญัติไว้อย่าง ชัดแจ้งแล้วว่าให้เป็นโมฆะ และการหมั้นดังกล่าวแม้จะปล่อยให้ล่วงเลยไปจนฝ่ายที่อายุยังไม่ครบมีอายุครบ 17 ปีบริบ ูรณ์ขึ้นม าก็ตาม ก็ไม่ท ำให้ก ารหมั้นน ั้นกลับส มบูรณ์ขึ้นมาตามก ฎหมาย (2) ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตทำการหมั้นกัน กรณีเช่นนี้เห็นได้ว่าการทำการหมั้นโดยคู่หมั้นฝ่าย ใดฝ ่ายหนึ่งห รือท ั้งส องฝ่ายเป็นคนวิกลจริตน ั้น เป็นช ่องทางท ี่จะท ำให้ม ีการส มรสฝ ่าฝืนกฎหมายม าตรา 1449 ซึ่งจะ กล่าวโดยล ะเอียดในห น่วยท ี่ 2 ต่อไป และเป็นการข ัดต่อค วามสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอ ันดีข องประชาชนจึงเป็น โมฆะต ามมาตรา 150 (3) ชายห ญิงซึ่งเป็นญ าติสืบสายโลหิตโดยตรงข ึ้นไปห รือลงม า หรือเป็นพ ี่น้องร ่วมบิดาม ารดา หรือร่วมแ ต่ บิดาหรือมารดาหมั้นกัน สัญญาหมั้นดังกล่าวเป็นช่องทางที่จะทำให้มีการสมรสฝ่าฝืนกฎหมายมาตรา 1450 ซึ่งจะ กล่าวต่อไปในหน่วยที่ 2 และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะตาม มาตรา 150 เช่นเดียวกัน (4) การหมั้นระหว่างบุตรบุญธรรมและผู้รับบุตรบุญธรรมโดยมิได้จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมเสีย ก่อนการหมั้นดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการทั้งนี้เพราะแม้บุตรบุญธรรมกับผู้รับบุตรบุญธรรม สมรสก ัน การส มรสน ั้นก็เป็นอันสมบูรณ์ทุกประการ เป็นเพียงแ ต่ว่าการรับบุตรบ ุญธรรมเป็นอ ันยกเลิกดังที่บัญญัติ ไว้ในม าตรา 1598/32 เท่านั้น การหมั้นก็เป็นน ิติกรรมท ี่จ ะนำไปสู่การส มรสจึงควรท ี่จะต้องมีผลส มบูรณ์ด้วย ไม่เป็น มสธ มส
มส การหมน้ั 1-19 มสธ การขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่ประการใด แต่อาจจะกระทบกระเทือนต่อความมสธ ร ู้สึกของประชาชนอยู่บ ้าง มสธ (5) ชายหรือหญิงมีคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว แต่ไปทำสัญญาหมั้นกับหญิงหรือชายอื่นอีก สัญญาหมั้นด ังกล่าวเป็นโมฆะตามมาตรา 150 เพราะเป็นช ่องทางให้เกิดก ารแตกร้าวในครอบครัวเดิม มีลักษณะเป็น การแย่งคู่สมรสของบุคคลอื่น จึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน สำหรับกรณีที่ชายหรือหญิงมี คู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไปทำการหมั้นกับบุคคลอื่นโดยระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าจะทำการสมรสกันต่อเมื่อ “ข้าพเจ้าได้หย่าขาดจากคู่สมรสของข้าพเจ้าแล้ว” หรือเมื่อ “คู่สมรสของข้าพเจ้าได้ถึงแก่ความตายไปแล้ว การหมั้น เช่นว ่านี้มีว ัตถุประสงค์ที่ข ัดต่อศ ีลธ รรมอ ันดีข องประชาชน จึงเป็นโมฆะตามม าตรา 150 เช่น เดียวกัน อทุ าหรณ์ ฎ. 3972/2529 สัญญามีข้อความว่า โจทก์จำเลยตกลงยินยอมเป็นสามีภริยากันตั้งแต่วันทำสัญญา โดย จำเลยจะจ่ายเงินให้โจทก์เป็นเงินเดือนละ 1,000 บาท หากโจทก์มีบุตรกับจำเลย จำเลยต้องรับเป็นบุตรโดยถูกต้อง ตามก ฎหมาย โดยไปจดท ะเบียนรับรองบ ุตรต่อน ายท ะเบียนท ้องท ี่ เมื่อข้อความในสัญญาแ สดงว่าโจทก์จำเลยต กลง อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่โจทก์ทราบว่าจำเลยมีภริยาชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 113 (ปัจจุบันคือมาตรา 150) โจทก์ฟ ้องบ ังคับจำเลยให้ชำระเงินให้โจทก์ไม่ได้ (6) หญิงที่สามีตายหรือมีการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น ทำการหมั้นเมื่อการสิ้นสุดลงแห่งการสมรส ได้ผ่านไป ไม่ถึงสามร้อยสิบวันตามมาตรา 1453 สัญญาหมั้นดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทุกประการ ทั้งนี้ เพราะแม้หญิงดังกล่าวจะทำการสมรส ก็ยังทำได้และมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย การหมั้นจึงควรจะกระทำได้ด้วย และยังไม่ถ ึงขนาดที่จะข ัดต่อศีลธ รรมอันด ีข องป ระชาชนแต่อ ย่างใด อนึ่ง นอกจากสัญญาหมั้นจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชนอันจะทำให้สัญญาเป็นโมฆะตามมาตรา 150 แล้วยังต้องอยู่ในบังคับตามหลักทั่วไป เรื่องการแสดงเจตนา ในการทำนิติกรรมด้วย เช่น การทำสัญญาหมั้นเพราะถูกข่มขู่ สัญญาหมั้นดังกล่าวเป็นโมฆียะตามมาตรา 164 เป็นต้น ในด้านคู่สัญญาที่จะต้องรับผิดตามสัญญาหมั้นนั้นคู่สัญญาหมั้นไม่จำเป็นที่จะต้องแต่เฉพาะตัวชายและ ตัวหญิงคู่หมั้นเท่านั้น ทั้งนี้เพราะมาตรา 1437 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ว่า “การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบ หรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น” และมาตรา 1439 บัญญัติ ว่า “เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิง เป็นฝ่ายผ ิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด ้วย” กฎหมายใช้คำว่า “ฝ่ายชาย” “ฝ่ายหญิง” จึงเห็นได้ว่าบิดา มารดาหรือผู้ปกครองของชายหรือหญิง หรือบุคคลอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์กับตัวชายหรือหญิงคู่หมั้น ในอันที่จะทำ สัญญาหมั้นและจัดการสมรสก็อาจจะเป็นผู้ทำสัญญาหมั้นและเข้ามาเป็นคู่สัญญาหมั้นได้ ทั้งนี้เพราะการหมั้นเป็น ประเพณีม าแ ต่ดั้งเดิมโดยปกติชายห าได้ท ำการห มั้นห ญิงด้วยต นเองไม่ ผู้ใหญ่ฝ่ายชายไปทำการหมั้นกับผ ู้ใหญ่ฝ่าย หญิง คือต่างฝ่ายต่างกระทำการแทนตัวชายและตัวหญิง ปพพ. บรรพ 5 มิได้เปลี่ยนรูปสัญญาหมั้นแต่อย่างใด17 นอกจากนี้ ปพพ. มาตรา 1439 ก็ได้บ ัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้องให้รับผิดช ดใช้ค ่าทดแทนแ ละค ืนของหมั้น ในกรณี ผิดสัญญาหมั้นไม่ว่าฝ่ายชายหรือหญิงแล้วแต่กรณี มิได้บัญญัติแต่เฉพาะชายหรือหญิงคู่หมั้นเท่านั้นที่มีสิทธิเรียก ร้องได้ ฉะนั้น เมื่อบิดาและชายคู่หมั้นเป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยทั้งสามที่เป็นฝ่ายหญิง และมอบ 17 ฎ. 1198/2492 มสธ มส
มส 1-20 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ สินสอดให้เพื่อให้ชายคู่หมั้นกับจำเลยที่ 3 สมรสกัน ต่อมาบิดาของชายคู่หมั้นอ้างว่าจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นฝ่ายหญิงมสธ ผิดสัญญาหมั้น จึงม ีอำนาจฟ้องจ ำเลยท ั้งส ามได้18 มสธ บุคคลที่จ ะเป็นคู่ส ัญญาห มั้นม ี 3 จำพวก คือ 1. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น ในกรณีที่ชายหญิงทำการหมั้นกันเองโดยมิได้มีบุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ชายหญิงคู่นี้เป็นคู่สัญญาหมั้นกันโดยลำพัง แต่ถ้าหากมีบุคคลอื่น เช่น บิดามารดาของชายหรือหญิงที่เข้ามาเกี่ยว ข้อง ทุกค นเป็นค ู่สัญญาห มั้นโดยถ ือว่าเป็นฝ่ายช ายห รือฝ่ายหญิง แล้วแ ต่ก รณี 2. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหม้ัน ในกรณีที่ผู้ใหญ่ฝ่ายชายและผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง ทำสัญญาหมั้นกันโดยชายและหญิงได้ให้ความยินยอม สัญญาหมั้นเกิดขึ้นโดยมีบิดามารดาทั้งฝ่ายชายและหญิง รวมทั้งชายและหญิงที่ให้ความยินยอมผูกพันในฐานะเป็นคู่สัญญาหมั้น ทั้งนี้ไม่ว่าชายหรือหญิงคู่หมั้นนั้นจะบรรลุ นิติภาวะแล้วหรือไม่ก็ตาม เช่น ชายผิดสัญญาหมั้นฝ่ายชายคือตัวชาย บิดาและมารดาซึ่งไปหมั้นหญิงต้องร่วมกัน ใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย ต่อชื่อเสียงและความเสียหายที่ได้เตรียมการสมรส แต่ในกรณีที่ผู้ใหญ่ฝ่ายชาย และผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงทำสัญญาหมั้นกัน โดยได้รับความยินยอมจากเฉพาะตัวชายหรือตัวหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นฝ่าย เดียว เช่น ผู้ใหญ่ฝ ่ายชายแ ละผู้ใหญ่ฝ ่ายห ญิงท ำส ัญญาหมั้น โดยช ายท ี่เป็นคู่หมั้นฝ่ายเดียวย ินยอมแต่หญิงท ี่จะเป็น คู่หมั้นไม่ยินยอมด้วยเช่นนี้ สัญญาหมั้นเกิดขึ้นได้โดยมีผู้ใหญ่ฝ่ายชายและผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงรวมทั้งชายคู่หมั้นที่ให้ ความยินยอมผูกพันเป็นคู่สัญญาหมั้น ส่วนหญิงที่ไม่ยินยอมไม่ต้องผูกพันในสัญญาหมั้นดังกล่าว ฉะนั้นต่อมาเมื่อ หญิงนั้นตามชายอื่นไป หญิงและชายอื่นนั้นหาต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ชายคู่หมั้นไม1่ 9 แต่ผู้ใหญ่ ฝ่ายหญิงต ้องรับผิดชอบต่อฝ ่ายชาย (ความเห็นของผู้เขียน) 3. บุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น บุคคลอ ื่นซึ่งม ีค วามสัมพันธ์ก ับชายหรือ หญิงคู่หมั้นในอันที่จะทำสัญญาหมั้น และจัดการสมรสก็อาจจะเข้ามาเป็นคู่สัญญาหมั้นได้ ทั้งนี้เพราะบทบัญญัติ ในเรื่องค่าทดแทนกรณีผิดสัญญาหมั้น มาตรา 1440 (2) บัญญัติไว้ว่า “ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการท่ีคู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลกระทำการในฐานะเช่นบิดามารดา ได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหน้ีเน่ืองในการเตรียมการ สมรสโดยสุจริตและตามสมควร” แต่บุคคลอื่นเช่นนี้จะต้องมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชายหญิงคู่หมั้นถึงขนาดที่จะ กระทำการในฐานะเป็นคู่สัญญาหมั้นได้ เช่น ชายอยู่กับลุงมาตั้งแต่เล็กๆ เพราะบิดามารดาถึงแก่กรรมไปหมดแล้ว เมื่อชายจะทำการหมั้น ลุงก็เข้ามาร่วมรับรู้และทำสัญญาด้วย เช่นนี้ ก็ถือว่าลุงเป็นบุคคลผู้ทำการในฐานะเช่นบิดา มารดาข องช าย ในอันที่จ ะเป็นคู่ส ัญญาห มั้นได้ เป็นต้น กจิ กรรม 1.2.1 1. ชายแ ละห ญงิ ท ำการห มนั้ ก นั ด ว้ ยว าจาโดยช ายม อบแ หวนเพชรใหห้ ญงิ เปน็ ข องห มน้ั สญั ญาห มนั้ ด งั กล่าวม ีผลใชบ้ งั คับไดห้ รือไม่ 2. ชายมีภริยาอยู่แล้ว ทำสัญญาหม้ันกับหญิงอื่นโดยที่หญิงอื่นเช่ือโดยสุจริตว่าชายยังโสดอยู่ เช่นนี้ สญั ญาหมน้ั ดงั ก ล่าวม ีผลใช้บงั คบั ได้ห รอื ไม่ 3. หญงิ อ ายุ 18 ปี บดิ าม ารดาห ญงิ ร บั ห มน้ั ไวโ้ ดยห ญงิ ไมร่ เู้ รอ่ื ง ตอ่ ม าห ญงิ ป ฏเิ สธไมย่ อมท ำการส มรส ชายค หู่ มนั้ จะเรียกร ้องให้หญิงรบั ผดิ ในส ญั ญาห มน้ั ไดห้ รอื ไม่ 18 ฎ. 763/2526 19 ฎ. 311/2522 มสธ มส
มส การหมั้น 1-21 มสธ แนวต อบก ิจกรรม 1.2.1มสธ 1. สญั ญาห มนั้ ท ช่ี ายแ ละห ญงิ ท ำข นึ้ ด ว้ ยว าจาโดยม ขี องห มน้ั ใชบ้ งั คบั ได้ กฎหมายม ไิ ดก้ ำหนดแ บบข อง มสธ สัญญาห มน้ั วา่ จ ะต้องทำเปน็ หนังสอื แ ต่อยา่ งใด 2. สัญญาหมั้นดังกล่าวเป็นโมฆะตาม ปพพ. มาตรา 150 เพราะมีวัตถุประสงค์ท่ีขัดต่อศีลธรรมอันดี ของประชาชน 3. หญงิ ไมต่ อ้ งร บั ผ ดิ ในส ญั ญาห มนั้ เพราะม ไิ ดเ้ ปน็ ค สู่ ญั ญา สญั ญาห มน้ั ผ กู พนั เฉพาะบ ดิ าม ารดาห ญงิ เทา่ นั้น เร่ืองที่ 1.2.2 เงือ่ นไขข องก ารห มั้น การหมั้นเกิดขึ้นโดยความยินยอมพร้อมใจของชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น บุคคลที่บรรลุนิติภาวะและไม่มีข้อ บกพร่องในเรื่องความสามารถสามารถท ำการหมั้นได้ด้วยต นเองโดยที่ไม่จ ำเป็นต้องขอค วามย ินยอมจ ากบ ิดา มารดา หรือผู้ปกครองก่อนแต่อย่างใด เนื่องจากกฎหมายมองว่ามีความพร้อมและเป็นผู้ใหญ่เพียงพอที่จะตัดสินใจอย่าง เหมาะสมเพื่อที่จะทำการหมั้นได้ ในทางตรงกันข้ามหากเปิดโอกาสให้คนที่มีอายุน้อยจนเกินไปเข้าทำสัญญาหมั้น ได้โดยเสรี ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในครอบครัวได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงวางเงื่อนไขในเรื่องของอายุใน มาตรา 1435 กับเงื่อนไขในเรื่องข องความย ินยอมในมาตรา 1436 1. อายุของค ู่หม้ัน มาตรา 1435 “การหมนั้ จ ะทำได้ต ่อเมอ่ื ช ายแ ละหญิงมอี ายุส บิ เจด็ ป ีบร ิบรู ณแ์ ลว้ การห มั้นทีฝ่ ่าฝืนบทบัญญัติวรรคห นงึ่ เป็นโมฆะ” การที่ชายจะทำการหมั้นหญิงนั้น กฎหมายกำหนดอายุของคู่หมั้นไว้ว่า ชายและหญิงต้องมีอายุอย่างต่ำ 17 ปีบริบูรณ์ อายุที่กฎหมายมาตรา 1435 กำหนดนี้ถือว่าเป็นเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขนี้ ถือว่าเป็นโมฆะ เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของชายหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นกันไว้ ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัว ของชายและหญิง เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายหญิงที่จะเป็นคู่หมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้นได้ตาม สมค ว ร กฎหมายถ ือว่าช ายหญิงท ี่มีอายุต ่ำกว่า 17 ปีบริบ ูรณ์ไม่อยู่ในวัยที่จ ะรู้เรื่องการห มั้นการส มรส จึงทำการห มั้น ไม่ได้แม้บิดามารดาหรือผู้ปกครองจะให้ความยินยอมก็ตาม การหมั้นที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ อันเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสองนี้ แม้ต่อมาชายและหญิงจะมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ทั้งสองคนจะ ให้สัตยาบันก็ไม่ได้เพราะขัดต่อ ปพพ. มาตรา 172 ซึ่งบัญญัติว่า โมฆกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ เพราะ ฉะนั้นห ากจะให้การห มั้นส มบูรณ์ก็ต ้องมาท ำการห มั้นกันใหม่อีกครั้งหนึ่ง มสธ มส
มส 1-22 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ฎ. 3072/2547 (ประชุมใหญ่) ในข ณะที่ อ. ทำการหมั้นกับ บ. นั้น อายุย ังไม่ค รบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยม ีอายุมสธ เพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังก ล่าวจึงฝ ่าฝืนบ ทบัญญัติ ปพพ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามม าตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสองบัญญัติว่า “ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำมสธ บทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ” เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ (บิดาของ อ.) ทราบว่า บ. อายุยังไม่ ครบ 17 ปี จำเลย และ บ. จึงต้องคืนข องหมั้นแ ละสินสอดให้แก่โจทก์ต ามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถ ือว่าโจทก์ ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของ อ. และ บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่ อ. กับ บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภรรยากันว่าจำเลยตกลงจะคืนสินสอดและของหมั้น ให้แก่โจทก์จึงมีมูลหนี้แ ละใช้บ ังคับได้ หาได้ขัดต่อค วามส งบเรียบร้อยและศ ีลธรรมอ ันดีของประชาชนไม่ 2. ความยินยอมของบิดามารดา ผรู้ บั บุตรบญุ ธรรม หรอื ผูป้ กครอง มาตรา 1436 “ผ้เูยาวจ์ ะทำการหมั้นได้ตอ้ งไดร้ ับความย ินยอมข องบคุ คลด ังต ่อไปนี้ (1) บิดาและมารดา ในก รณีท่ีมที ้ังบ ิดามารดา (2) บดิ าหรอื มารดา ในก รณีที่มารดาห รอื บ ดิ าต ายห รือถกู ถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อย่ใู นส ภาพหรอื ฐานะ ที่อาจใหค้ วามยนิ ยอม หรอื โดยพฤตกิ ารณ์ผูเ้ยาวไ์มอ่ าจข อค วามย ินยอมจากมารดาหรือบ ิดาได้ (3) ผรู้ ับบ ุตรบุญธรรม ในกรณีท ่ผี ู้เยาวเ์ ปน็ บุตรบุญธรรม (4) ผปู้ กครอง ในกรณีท ่ไี มม่ ีบคุ คลซ่งึ อาจให้ความยินยอมตาม (1) (2) และ (3) หรือมีแตบ่ ุคคลด งั ก ล่าวถ ูก ถอนอำนาจป กครอง การหมั้นท ผ่ี ้เู ยาวท์ ำโดยปราศจากความยนิ ยอมด งั กล่าวเป็น โมฆียะ” ในกรณีที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นนั้น มาตรา 1436 ได้บัญญัติเงื่อนไขไว้ว่าผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับ ความย ินยอมข องบ ุคคลดังต ่อไปนี้ (1) บิดาและมารดา ในกรณีที่ผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดา เพราะบิดาและมารดาทั้งสองคนเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองบ ุตรผ ู้เยาว์ จึงต ้องได้รับค วามยินยอมจ ากท ั้งสองคน ในก รณีท ี่บิดากับม ารดาของผ ู้เยาว์เพียงแ ต่แยกกันอยู่ อำนาจป กครองยังอ ยู่กับท ั้งคู่ ดังน ั้นหากผ ู้เยาว์จ ะทำ การห มั้น ก็ยังต้องได้รับค วามย ินยอมจากท ั้งบ ิดาและมารดา (2) บิดาหรือมารดาเพียงคนเดียว ในกรณีที่มารดาหรือบิดาอีกฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย หรือถูกถอน อำนาจป กครองห รือไม่อ ยู่ในส ภาพห รือฐ านะท ี่อ าจให้ค วามย ินยอม หรือโดยพ ฤติการณ์ผ ู้เยาว์ไม่อ าจข อค วามย ินยอม จากมารดาห รือบิดาได้ ผู้เยาว์ก ็มีสิทธิท ำการห มั้นโดยได้ร ับค วามย ินยอมจากบิดาห รือมารดาท ี่เหลืออยู่เพียงคนเดียว นั้นได้ เพราะเมื่อมารดาหรือบิดาของผู้เยาว์ตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองนั้น บิดาหรือมารดาที่เหลืออยู่เป็นผู้ใช้ อำนาจปกครองผู้เยาว์เพียงคนเดียวจึงมีอำนาจที่จะให้ความยินยอมได้โดยลำพัง ส่วนกรณีที่มารดาหรือบิดาไม่อยู่ ในสภาพ หรือฐานะที่อาจให้ความยินยอมนั้นหมายถึง การที่มารดาหรือบิดาเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถให้ความ ยินยอมได้ หรือเจ็บป่วยเข้าขั้นโคม่าสลบไสล ไม่ได้สติ สำหรับกรณีที่ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือ บิดาได้โดยพ ฤติการณ์นั้นห มายถึง การที่ม ารดาหรือบ ิดาหายไปจากถ ิ่นท ี่อยู่โดยไม่มีใครทราบว ่าไปอยู่ ณ ที่ใด หรือ เดินทางไปต่างประเทศไม่ยอมส่งข่าวคราวกลับมาเลย เช่นนี้ผู้เยาว์ก็ขอความยินยอมจากบิดาหรือมารดาที่ยังเหลือ อยู่เพียงคนเดียวได้ซึ่งตัวอย่างในเรื่องนี้เป็นทำนองเดียวกับกรณีตามมาตรา 1456 ที่ผู้เยาว์มาร้องขอต่อศาลเพื่อ อ นุญาตให้ตนท ำการสมรสเพราะไม่มีบ ิดามารดาม าให้ความย ินยอมแก่ตนได้ มสธ มส
มส การหม้นั 1-23 มสธ (3) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม เพราะบิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจมสธ ปกครองผู้เยาว์ไปตั้งแต่ที่ได้มีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมไปแล้ว บุตรบุญธรรมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบ ด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/28 ฉะนั้นเมื่อบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์จะทำมสธ การห มั้นจึงต้องได้ร ับค วามยินยอมข องผู้รับบ ุตรบุญธรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว (4) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้รับบุตรบุญธรรมหรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจ ปกครองไปแล้ว เพราะเมื่อบิดาและมารดาถึงแก่ความตายไป ในขณะที่บุตรยังเป็นผู้เยาว์หรือบิดาและมารดา ประพฤติชั่วร้ายต่อบุตรผู้เยาว์จนถูกถอนอำนาจปกครองจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองโดยคำสั่งศาล ผู้ปกครองเป็น ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ การที่ผู้เยาว์จะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง บิดามารดา ที่ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วนั้นไม่มีสิทธิมาให้ความยินยอมอีกต่อไปแล้ว ฉะนั้น ผู้เยาว์ที่บิดาและมารดาถึงแก่ ความตายไปแล้วทั้งสองคนหากจะทำการหมั้นจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองเสียก่อน เมื่อมีผู้ปกครองแล้วผู้เยาว์เช่น ว่านี้จะมาขออนุญาตศาลให้ตนทำการหมั้นไม่ได้เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ จะอนุโลมใช้มาตรา 1456 ในกรณี ขออ นุญาตศ าลให้ท ำการสมรสไม่ได้ ต้องข อความย ินยอมจากผ ู้ปกครอง สำหรับกรณีที่บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสกัน บุตรถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาแต่ ผู้เดียว บุตรผู้เยาว์หากจะทำการหมั้นจึงต้องได้รับความยินยอมแต่เฉพาะจากมารดาเพียงคนเดียวเท่านั้น ในกรณี ที่บิดาที่มิชอบด้วยกฎหมายให้ความยินยอมในการหมั้นแต่เพียงผู้เดียว การหมั้นนั้นย่อมเป็นโมฆียะ เพราะบิดา ไม่ได้มีอำนาจปกครองจึงไม่อาจให้ความยินยอมได้ แม้ว่าภายหลังจากการหมั้น บิดาได้จดทะเบียนสมรสกับมารดา ของผู้เยาว์หรือจดทะเบียนรับรองผู้เยาว์เป็นบุตรทำให้มีฐานะเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้ทำให้การหมั้น ที่เป็นโมฆียะนั้นกลับก ลายเป็นการหมั้นที่สมบูรณ์ตามก ฎหมายแต่อ ย่างใด20 การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมของบิดามารดาผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองดังกล่าว เป็นโมฆียะ ซึ่งหมายความว่า ผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตาม ปพพ. มาตรา 175 เมื่อบอกล้างแล้ว ก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรกเริ่ม ผู้เยาว์อาจให้สัตยาบันในสัญญาหมั้นได้ เมื่อตนได้บรรลุนิติภาวะแล้วตาม ปพพ. มาตรา 179 สำหรับบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองก็อาจจะให้สัตยาบันสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะ ซึ่งทำให้การหมั้นสมบูรณ์มาแต่แรกเริ่มได้ตาม ปพพ. มาตรา 179 วรรคสี่ แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในเรื่องการ ให้ความยินยอม กล่าวคือถ้ากรณีที่จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาทั้งสองคนนั้น การให้สัตยาบันก็ต้อง ให้ทั้งสองคน เป็นต้น แต่สำหรับเรื่องบอกล้างสัญญาหมั้นที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นไปตาม ปพพ. มาตรา 175 คือบิดา มารดา หรือผ ู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ป กครองค นใดค นหนึ่งมีส ิทธิบอกล ้างการห มั้นท ี่เป็นโมฆียะนี้ได้โดยลำพัง บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วมีอำนาจทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจาก บิดา มารดา ผู้รับบ ุตรบุญธรรมห รือผู้ป กครอง เฉพาะแต่ผ ู้เยาว์เท่านั้นที่จะต ้องได้ร ับค วามยินยอมตามม าตรา 1436 เงื่อนไขเรื่องความยินยอมดังกล่าวเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม คือเป็นเรื่องที่ กฎหมายยอมให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้ แต่จะทำโดยลำพังไม่ได้ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลที่ระบุไว้เสียก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆียะ อย่างไรก็ดีในกรณีที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสตามมาตรา 20 โดยทำการสมรสก่อน อายุครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ด้วยการขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสตามมาตรา 1448 นั้น หากต่อมาได้ขาดจากการ สมรสและอายุยังไม่ครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ แม้ตนเองจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม หากจะทำการหมั้นใหม่อีก ก็ยังอยู่ ในเงื่อนไขของการหมั้นประการหนึ่ง ในเรื่องอายุที่จะต้องมีอายุครบสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ด้วย ฉะนั้นบุคคลดังกล่าว จึงจ ะม าทำการหมั้นไม่ได้ หากฝ่าฝืนการหมั้นน ี้เป็นโมฆะ 20 ชาติช าย อัครว ิบูลย์ คำอธิบายประมวลกฎหมายแ พ่งและพ าณิชย์ บรรพ 5 ว่าด ้วยครอบครัว กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์วิญญูชน พ.ศ. 2552 น.91 มสธ มส
มส 1-24 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ในกรณีที่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองผู้ซึ่งมีอำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ให้ทำการมสธ หมั้น ไม่ให้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล ผู้เยาว์อาจใช้ทางแก้ตามมาตรา 1582 หรือมาตรา 1598/8 แล้วแต่ กรณีซึ่งมีรายละเอียดอยู่ในหน่วยที่ 6 โดยถือว่าผู้ใช้อำนาจปกครองใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ผู้เยาว์โดยมิชอบ ผู้เยาว์จึงอาจขอให้ญาติหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ถอนอำนาจปกครองในส่วนนี้เสีย หรือขอให้ถอน ผู้ปกครองแล้วจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นใหม่ หลังจากนั้นผู้เยาว์ก็มาขอรับความยินยอมจากผู้ปกครองใหม่นี้เพื่อทำการ หมั้นต ่อไป การให้ความยินยอมในการหมั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบพิธีไว้ ฉะนั้นบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองจึงอาจให้ความยินยอมโดยวิธีหนึ่งวิธีใด เช่น ด้วยวาจาหรือโดยลายลักษณ์อักษรก็ได้ ในกรณีที่ ผู้เยาว์ไม่มีทั้งบิดามารดาหรือผู้ปกครองที่จะให้ความยินยอมในการหมั้น ก็จำเป็นที่จะต้องจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นตาม มาตรา 1585 เสียก ่อน เมื่อม ีผ ู้ป กครองแล้วจ ึงจะขอรับความย ินยอมจากผ ู้ปกครองนั้นเพื่อทำการห มั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการหมั้นนี้ ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขในประการอื่นตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ในเรื่องที่ 1.2.1 สัญญาหมั้น ด้วย เช่น เงื่อนไขท ี่เกี่ยวก ับว ัตถุประสงค์ห รือที่เกี่ยวก ับเงื่อนไขของการส มรส เป็นต้น กิจกรรม 1.2.2 1. เง่อื นไขของก ารที่ช ายแ ละห ญงิ จ ะทำการหม้ันกันมอี ยา่ งไรบ า้ ง 2. ชายอ ายุ 21 ปี ทำส ญั ญาห มนั้ ก บั ห ญงิ อ ายุ 16 ปดี ว้ ยว าจา แตไ่ ดใ้ หเ้ งนิ สด 10,000 บาท เปน็ ข องห มนั้ สญั ญาหม้นั ดงั กล่าวม ีผลใช้บังคบั ห รือไม่ 3. ผูเ้ ยาวอ์ ายุ 18 ปี บิดาถึงแก่ความต ายไปแลว้ เหลือแ ตม่ ารดาและศ าลไดต้ ั้งน าย กนก เป็นผปู้ กครอง ผูเ้ ยาว์ หากผ ้เูยาวจ์ ะทำการห มน้ั จ ะต ้องไดร้ บั ค วามย นิ ยอมจากใครห รือไม่ แนวตอบก ิจกรรม 1.2.2 1. เงือ่ นไขของการท ช่ี ายหญงิ จ ะห ม้นั ก ันม ี 2 ประการ คือ (1) อายุของชายห ญงิ ค ู่หม้ันต อ้ งค รบ 17 ปีบร บิ ูรณ์ทงั้ ส องค น ตามปพพ. มาตรา 1435 และ (2) ถา้ ยังเป็นผ เู้ ยาวจ์ ะตอ้ งไดร้ ับค วามย ินยอมจากบิดามารดา ผรู้ บั บ ตุ รบ ญุ ธรรม หรือผปู้ กครอง ตามปพพ. มาตรา 1436 2. สัญญาห ม้ันด งั ก ล่าวเป็นโมฆะต ามปพพ. มาตรา 1435 วรรคสอง เพราะห ญิงอายยุ ังไมค่ รบ 17 ปี บร ิบูรณ์ 3. ผู้เยาว์จะต้องได้รับความยินยอมจากนาย กนก ซ่ึงเป็นผู้ปกครอง มารดาไม่มีสิทธิให้ความยินยอม เพราะถ กู ถอนอ ำนาจป กครองไปแล้ว ตาม ป พพ. มาตรา 1436 และ 1585 มสธ มสธ มส
มส การหม้นั 1-25 เร่อื งท ่ี 1.2.3 ของหมั้น สนิ สอด และทรพั ยส์ นิ อ ่นื มสธ มสธ ในกรณีที่ชายและหญิงต้องการที่จะทำการหมั้นกัน ในทางประเพณีมักจะมีทรัพย์สินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย กล่าวคือ มักจะมีการให้ทรัพย์สินต่อกันหรือให้ต่อผู้ใหญ่ของคู่หมั้น โดยมักจะเรียกควบคู่กันไปว่าให้สินสอดทอง หมั้น (ของหมั้น) ซึ่งในทางกฎหมายก็ได้มีบทบัญญัติที่เป็นเรื่องสำคัญของการหมั้นในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่นกัน ดังที่บัญญัติอยู่ใน ปพพ. มาตรา 1437 นอกจากนั้นยังมีทรัพย์สินอื่นที่ตามวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมมี ปรากฏให้เห็นเป็นร ูปธรรมอ ยู่ในปัจจุบัน เช่นทรัพย์รับไหว้ เรือนหอ หรือทรัพย์กองทุน มาตรา 1437 “การห ม้นั จ ะสมบรู ณเ์ ม่อื ฝ า่ ยชายได้ส่งม อบห รือโอนทรพั ยส์ ินอนั เป็นของหมัน้ ใหแ้ กห่ ญงิ เพื่อ เป็นหลักฐ านว่าจ ะส มรสกับห ญงิ น ้ัน เม่ือหมน้ั แ ล้วใหข้ องหม้ันต กเป็นส ิทธิแ กห่ ญิง สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่ กรณีเพ่ือตอบแทนการท่ีหญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรส โดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยพฤติการณ์ ซงึ่ ฝา่ ยหญงิ ต ้องรบั ผดิ ชอบ ทำให้ชายไมส่ มควรห รอื ไม่อาจสมรสกบั ห ญิงน นั้ ฝา่ ยชายเรียกสินสอดค นื ได้ ถ้าจะต้องคืนของหม้ันหรือสินสอดตามหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 412 ถึงมาตรา 418 แห่งประมวล กฎหมายน วี้ า่ ด ว้ ยล าภม คิ วรไดม้ าใช้บงั คับโดยอ นโุ ลม” 1. ของหมั้น กฎหมายปัจจุบันมิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์คำว่า “ของหมั้น” ไว้เหมือนเช่นกฎหมายเดิม แต่จากบทบัญญัติ มาตรา 1437 นี้พอจะให้ความหมายได้ว่า “ของหม้ันเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็น หลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงน้ัน” ตามประเพณีโบราณมีการส่งขันหมากกล่าวถามฝ่ายหญิงว่าหญิงจะยินยอมทำ การหมั้นหมายกับชายด้วยหรือไม่ ขันหมากกล่าวถามนี้ใช้หมากพลูเป็นของคำนับใส่ไปในขัน เพราะเป็นภาชนะที่ ทนทานและสะดวกในการถือ เมื่อฝ่ายหญิงได้รับขันหมากกล่าวถามและยินยอม ฝ่ายชายต้องนำขันหมากไปอีก ครั้งหนึ่งเรียกว่าขันหมากหมั้น ฝ่ายหญิงก็รับขันหมากหมั้นนั้นไว้เป็นเครื่องมัดจำว่าชายหญิงทั้งสองฝ่ายจะทำการ สมรสกัน ในสมัยต่อมาสภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป จึงเปลี่ยนขันหมากหมั้นมาเป็นหมั้นทองคำหรือ ทรัพย์สินสิ่งอื่นจึงเกิดมีค ำว่าข องห มั้นขึ้น ของหมั้นนั้นฝ่ายชายจะต้องได้ส่งมอบหรือโอนให้หญิงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ในเวลาหมั้น เพียงแต่สัญญา ว่าจะส่งทรัพย์ให้เป็นของหมั้น ไม่ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์เป็นของหมั้น การที่ฝ่ายชายมอบของหมั้นส่วนหนึ่งให้แก่ ฝ่ายหญิง อีกส่วนหนึ่งสัญญาจะนำมามอบให้ในวันหน้านั้น คงเป็นของหมั้นเฉพาะทรัพย์ส่วนที่มอบให้ ส่วนที่ยัง ไม่ได้มอบไม่เป็นของหมั้น ฉะนั้น เมื่อชายตายของหมั้นที่มอบให้หญิงไว้แล้วตกเป็นของหญิง แต่หญิงจะฟ้องเรียก ส่วนที่ยังไม่ได้น ำมามอบให้ไม่ได้21 มสธ มสธ มส 21 ฎ. 1094/2492
มส 1-26 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ของหมั้นจะมีราคามากน้อยเท่าใดไม่ใช่เป็นข้อสำคัญ เช่น ฝ่ายชายเอาหมากพลูใส่พานกับผ้าขาวห่อมสธ กระดาษมาให้เป็นของหมั้น ประเพณีท้องถิ่นเวลาไปเหยียบเรือน ชายเอาผ้าไปเคารพต่อบิดามารดาหญิงถือว่าเป็น การหมั้นกันต ามก ฎหมาย22มสธ การให้ของหมั้นนั้นเป็นการให้เพื่อเป็นหลักฐานว่าชายจะสมรสกับหญิงนั้นและกรรมสิทธิ์ในของหมั้นเป็น ของหญิงทันทีที่ส่งมอบให้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1437 วรรคสอง ซึ่งเป็นหลักการที่กำหนดขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2533 นี้เอง หลักการใหม่นี้กฎหมายกำหนดให้ของหมั้นเป็นเสมือนของขวัญที่ฝ่ายชายมอบให้ตัวหญิงคู่หมั้น แทน ที่จะถือว่าเป็นเพียงทรัพย์สินที่ให้หญิงเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับหญิงดังเช่นกฎหมาย เดิม ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากแนวความคิดที่จะคุ้มครองสิทธิของสตรีเพื่อตัดปัญหาเรื่องการใช้สอย ดูแล สงวนรักษา ของหมั้น รวมทั้งปัญหาเรื่องดอกผลของของหมั้นว่าควรจะเป็นของชายหรือของหญิงด้วย เมื่อให้กรรมสิทธิ์ในของ หมั้นต กไปย ังหญิงค ู่หมั้นตั้งแต่ท ี่ได้ท ำการหมั้นกันแล้ว ปัญหาต ่างๆ เหล่านี้ย่อมหมดไป หญิงคู่หมั้นมีกรรมสิทธิ์ใน ของหมั้นในอันที่จะใช้สอย ได้ดอกผล หรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องรับผิดในการคืนของหมั้นให้ ฝ่ายชาย หากตนเองผ ิดส ัญญาห มั้นไม่ยอมสมรสกับชาย หรือในก รณีที่มีเหตุส ำคัญอ ันเกิดแก่ห ญิงค ู่ห มั้น ทำให้ชาย ไม่สมควรส มรสกับหญิง เช่น หญิงไปเสียเนื้อเสียตัวให้ชายอื่น เช่นนี้ชายคู่หมั้นมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ และ หญงิ ก ต็ ้องค ืนข องห มั้นใหแ้ กช่ ายต ามม าตรา 1442 แตห่ ากเหตสุ ำคญั น ั้นเกดิ แ กช่ ายค ูห่ มั้น เช่น ชายค ูห่ มัน้ เกิดว กิ ลจริต และรักษาไม่หาย หญิงก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชายตามมาตรา 1443 (ซึ่งจะ อธิบายต่อไปในเรื่องที่ 4.1.1 เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ) ในกรณีที่ของหมั้นเป็นที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หญิงค ู่หมั้นก็จะต ้องรับผ ิดช อบในการเสียภ าษีเอง ต้องซ่อมแซมด ูแลเอง แต่ก็ม ีส ิทธิได้ค่าเช่าหากเอาไปให้คนอื่นเช่า หรือถ้าของหมั้นเป็นสัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ หญิงคู่หมั้นที่อุตส่าห์ดูแลเลี้ยงดูสัตว์เหล่านี้ก็มีสิทธิได้ ลูกสัตว์ที่เกิดขึ้นมา ถ้าเป็นโคนมก็มีสิทธิรีดนมเอาไปขายได้เงินมาเป็นของตนได้หรือถ้าของหมั้นเป็นสวนยาง สวน ลำไย หญิงคู่หมั้นก็มีสิทธิกรีดยาง เอาผลลำไยไปขาย ทำให้หญิงมีความมั่นใจที่จะลงทุนลงแรงทำนุบำรุงปรับปรุง เอาใจใส่ด ูแลสวนย าง หรือส วนล ำไยแห่งน ี้ อันจ ะเป็นผลดีแก่ร ะบบเศรษฐกิจของชาติด ้วย นอกเหนือจากการกำหนดให้ของหมั้นเป็นเสมือนของขวัญที่ฝ่ายชายมอบให้แก่หญิงคู่หมั้นแล้ว ของหมั้น ยังเป็นหลักฐานแห่งสัญญาหมั้นและการหมั้นจะต้องมีของหมั้นในทุกกรณีด้วย มิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์ทั้งนี้ เพื่อตัดปัญหาที่จะโต้เถียงกันในภายหลังว่าได้มีการหมั้นกันหรือยัง และสอดคล้องกับธรรมเนียมประเพณีโบราณ ของไทยที่ชายจะต้องมอบทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้ไว้แก่หญิงอยู่เสมอด้วยแล้ว ของหมั้นจะเป็นทรัพย์สินอะไร ก็ได้ไม่ว่าจะเป็นแหวนหมั้น ทองหมั้น เงินตรา ที่ดิน บ้านเรือน รถยนต์ สัตว์พาหนะ ฯลฯ การให้ของหมั้นมีเฉพาะ ที่ฝ่ายชายให้ทรัพย์สินแก่หญิง หากมีการฝืนประเพณีที่หญิงกลับเป็นฝ่ายให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นแก่ชาย เช่นนี้ ทรัพย์สินดังกล่าวไม่เป็นของหมั้น ทรัพย์สินที่จะนำมาหมั้นกันได้ต้องเป็นของผู้นั้น หรือเป็นทรัพย์สินที่เจ้าของ ยินยอมให้นำมาใช้เป็นของหมั้น ถ้าไปเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นของหมั้นโดยเจ้าของทรัพย์ไม่ยินยอม อนุญาต เจ้าของมีสิทธิที่จะติดตามเอาคืนมาได้ตามมาตรา 1336 อย่างไรก็ดีการที่เจ้าของทรัพย์ให้ยืมทรัพย์สิน ของตนไปทำการหมั้น แม้จะตกลงให้ยืมเป็นของหมั้นชั่วคราวเมื่อฝ่ายหญิงไม่รู้เรื่องด้วย ของหมั้นก็ตกแก่ฝ่าย หญิง23 สำหรับทรัพย์สินที่ชายคู่หมั้นยกให้แก่หญิงคู่หมั้นในฐานะอื่นไม่ใช่ฐานะที่เป็นของหมั้น เช่น ชายคู่หมั้นซื้อ นาฬิกาข้อมือให้แก่หญิงคู่หมั้นเรือนหนึ่งเป็นของขวัญวันเกิดถือเป็นการให้โดยเสน่หา เช่นนี้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตกไปเป็นของหญิงคู่หมั้นทันทีเช่นเดียวกัน แต่แม้หญิงจะผิดสัญญาหมั้นก็จะเรียกคืนไม่ได้เพราะไม่ใช่ของหมั้น 22 ฎ. 1217/2496 23 ฎ. 1198/2492 มสธ มส
มส การหมนั้ 1-27 มสธ จะมีก ารเรียกค ืนได้ก ็แ ต่เฉพาะเมื่อมีเหตุประพฤติเนรคุณต ามมาตรา 531 เท่านั้น นอกจากนี้การให้ของหมั้นน ั้นต้องมสธ เป็นการให้โดยมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าชายหญิงเพียงแต่ประกอบพิธี สมรสหาได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนส มรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ การประกอบพิธีสมรสดังกล่าวจึงมสธ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าวเงินและแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำที่ฝ่ายชาย อ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิงจึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายแห่ง ปพพ. มาตรา 1437 ไม่ ฝ่ายชายจึงไม่มีส ิทธิเรียกค ืน24 เป็นต้น การจัดพิธีหมั้นไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นเนื่องจากการหมั้นนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่การมอบของหมั้น ให้ห ญิงค ู่หมั้นเพื่อเป็นหลักฐานว ่าจะทำการส มรสในอนาคต ดังน ั้นแม้ไม่ได้มีการจัดพิธีหมั้นต ามป ระเพณี การห มั้น ก ็ยังม ีผ ลสมบูรณ์ตามกฎหมายหากว่ามีก ารให้ของห มั้นก ันอย่างถูกต้อง ฎ. 4905/2543 พฤติการณ์ที่จำเลยซื้อแหวนเรือนทองฝังเพชรมอบให้โจทก์ตลอดจนการจองสถานที่จัด งานพิธีสมรสและพิมพ์บัตรเชิญงานสมรสรวมทั้งก ารติดต่อผู้ใหญ่ให้มาเป็นเจ้าภาพในงานพิธีสมรส ล้วนส่อแสดงว่า จ ำเลยป ระสงคจ์ ะส มรสก ับโจทก์ การให้แ หวนก ันด ังก ล่าวถ ือได้ว ่าเป็นการห มั้นแ ละเพื่อเป็นห ลักฐ านว ่าจ ะม ีก ารส มรส กันในเวลาต่อมาแม้การหมั้นจะมิได้จัดพิธีตามประเพณีหรือมีผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายมาร่วมเป็นสักขีพยานก็เป็นการ หมั้นโดยส มบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยไปส มรสกับ น. โดยมิได้สมรสกับโจทก์ จำเลยจ ึงเป็นฝ ่ายผิดสัญญาห มั้น ลักษณะส ำคัญของข องห มั้นจะต ้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ (1) ต้องเป็นทรัพย์สิน ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นได้ หมายความรวมทั้งทรัพย์ทั้งวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจ มีราคาและถือเอาได้ เช่น ทองคำ รถยนต์ บ้าน ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิเรียกร้องอันเป็นสิทธิที่เจ้าหนี้จะเรียกบังคับให้ ลูกหนี้ชำระหนี้ ถือได้ว ่าเป็นทรัพย์สินที่น ำมาเป็นของห มั้นได้ (2) ต้องเป็นของฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง ของหมั้นจะต้องเป็นของที่ฝ่ายชายมอบให้ไว้แก่ตัวหญิงคู่หมั้น เท่านั้น ไม่ใช่การให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองของหญิงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามหากเป็นทรัพย์สินที่หญิง ให้แก่ฝ่ายชายไม่ถือว่าเป็นของหมั้น แต่ของหมั้นไม่จำเป็นต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของชายคู่หมั้น แม้เป็นของคนอื่น ก็อาจเป็นข องหมั้นแ ละตกเป็นกรรมสิทธิ์แ ก่ห ญิงเมื่อมีการห มั้นกันแ ล้วได้ ในบางกรณีฝ่ายชายเพียงแต่นำทรัพย์สินมาแสดงในพิธีหมั้นเพื่อเป็นการออกหน้าออกตาว่าตนมีทรัพย์สิน มาก โดยไม่ได้ตั้งใจจะยกให้ฝ่ายหญิงจริงๆ ซึ่งมีการตกลงกับหญิงว่าเมื่อเสร็จจากพิธีหมั้น ฝ่ายชายจะนำทรัพย์สิน นั้นกลับคืนไป กรณีดังกล่าวกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังคงอยู่กับฝ่ายชาย ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ได้เป็นของหมั้นแต่ อย่างใด25 (3) ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาหมั้นและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว ของหมั้นนั้นจะต้องมีการให้ไว้ในเวลาทำ สัญญาหมั้นและหญิงต้องรับไว้แล้ว หากเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นกันในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการ มอบทรัพย์สินให้แก่กันอย่างแท้จริง หมั้นกันด้วยเงินแต่ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้หญิงยึดถือไว้ ไม่ถือว่าเป็นการให้ ของหมั้นต ามก ฎหมาย หญิงจ ึงฟ ้องเรียกเงินก ู้ต ามสัญญาในฐานะเป็นข องหมั้นไม่ได้ เป็นต้น ฎ. 1852/2506 จำเลยขอหมั้นน้องสาวโจทก์ก็เพื่อให้แต่งงานกับบุตรจำเลย แต่จำเลยไม่มีเงินจึงทำสัญญา กู้ให้โจทก์ยึดถือไว้ และโจทก์จำเลยตกลงกันว่าถ้าจำเลยปลูกเรือนหอโจทก์จะลดเงินกู้ให้ตามราคาเรือนหอ ต่อมา จำเลยไม่ปลูกเรือนหอและบุตรจำเลยไม่ยอมแต่งงานกับน้องสาวโจทก์ โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินตามสัญญาเงินกู้ สัญญากู้ดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาจะให้ทรัพย์สินเป็นของหมั้นในวันข้างหน้า ยังไม่ได้มีการมอบทรัพย์สินให้กัน อย่างแท้จริง เจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาก็มิได้มุ่งต่อการให้สัญญากู้ตกเป็นของอีกฝ่ายในสภาพของหมั้นและไม่มี 24 ฎ. 3557/2524 25 ฎ. 8954/2549 มสธ มส
มส 1-28 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ความประสงค์ให้ตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อสมรสแล้ว ในกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าการให้ของหมั้นกันตามกฎหมาย โจทก์มสธ จะฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ในฐานะเป็นของหมั้นมิได้ ทั้งสัญญากู้รายนี้ ก็ไม่มีมูลหนี้เดิมอันจะมีผลทำให้โจทก์มี สิทธิเรียกร ้องให้จ ำเลยช ำระหนี้ต ามสัญญาด ้วยมสธ ในกรณีที่ฝ่ายชายตกลงกับหญิงว่าจะเอาทรัพย์สินที่มีทะเบียน เช่น ที่ดิน สัตว์พาหนะม าเป็นของหมั้น แต่ ในเวลาหมั้นได้เอาแต่เฉพาะทะเบียนมาให้ฝ่ายหญิง มิได้เอาตัวทรัพย์มามอบให้ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าที่ดินหรือสัตว์ พาหนะนั้นเป็นของหมั้น เพราะมิได้มีการส่งมอบตัวทรัพย์สินกันในเวลาทำสัญญาหมั้น โดยทำเป็นหนังสือและ จดท ะเบียนต ่อพ นักงานเจ้าห น้าที่ หรือบิดามารดาชายทำส ัญญายกที่นา 10 ไร่ โดยแ บ่งออกจ ากน าแปลงใหญ่มีโฉนด แล้ว แต่ไม่ได้มอบหมายแบ่งแยกออกเป็นส่วนสัด ให้เป็นของหมั้นแก่หญิง ต่อมาชายและหญิงได้แต่งงานอยู่กิน ด้วยกันที่บ้านชายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน นาที่ยกให้ก็ยังไม่ได้มอบหมายให้กันอย่างแท้จริง ดังนี้ ยังถือไม่ ได้ว่านา 10 ไร่นี้เป็นของหมั้น หญิงจ ึงจ ะฟ้องเรียกนา 10 ไร่ดังกล่าวในฐานเป็นของหมั้นไม่ได้26 โดยการส ่งม อบข อง หมั้นที่จะต้องมีการโอนโดยทางทะเบียน เช่นอสังหาริมทรัพย์นั้น จะต้องมีการโอนทางทะเบียนให้เสร็จภายในวันที่ ทำส ัญญาหมั้น จึงจ ะถือว่าเป็นการให้ในเวลาท ี่ท ำส ัญญาหมั้น (4) ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงน้ันและต้องให้ไว้ก่อนสมรส ของหมั้นต้องเป็น การให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิง โดยการสมรสตามกฎหมายนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสกัน ในกรณีที่ชายและหญิงไม่ได้มีเจตนาที่จะไปทำการสมรสกันตามกฎหมายเพียงแต่ต้องการอยู่กินกันฉันสามีภริยา หากฝ ่ายชายได้ให้ท รัพย์สินแ ก่ห ญิง ทรัพย์สินท ี่ได้ให้ไปน ั้นก็ไม่ใช่ของหมั้นแต่อ ย่างใด ฎ. 8954/2549 ฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยทำพิธีหมั้นตามประเพณี โดยไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรส ต่อกัน ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่ายโจทก์จึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่ฝ่ายจำเลยมอบให้ฝ่าย โจทก์เพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสตาม ปพพ. มาตรา 1437 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เงินสดจำนวน 1,444,000 บาท และทองคำร ูปพ รรณที่จ ำเลยที่ 1 นำไปม อบให้แ ก่ฝ่ายโจทก์จ ึงไม่ใช่ของหมั้น โจทก์ทั้งส องจ ึงไม่อาจ ฟ้องเรียกคืนฐานผ ิดส ัญญาห มั้นได้ ฎ. 7031/2549 มีข้อต กลงก ันเพียงว ่าให้ ว. เรียนจ บและบวชแล้ว ว.และจ ำเลยท ี่ 3 จะแ ต่งงานอ ยู่กินก ันฉ ัน สามีภริยากัน แสดงว่าทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีเจตนาที่จะทำการสมรสตามกฎหมายซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ.มาตรา 1457 จึงถือไม่ได้ว่าทั้งสองฝ ่ายทำสัญญาหมั้นต ่อกัน ดังนั้น การท ี่โจทก์ให้เงินสด แหวนและส ร้อยคอ ทองคำซึ่งโจทก์เรียกว่าสินสอดและของหมั้นแก่จำเลยทั้งสามนั้น โจทก์หาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นไม่ เพราะสินสอดและของหมั้นนั้นจะต้องเป็นการให้โดยเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์ ดังก ล่าวคืนจากจ ำเลย นอกจากนั้นแล้วในเรื่องระยะเวลาของการให้ของหมั้น จะต้องมีการให้ไว้ก่อนทำการสมรส ถ้าให้เมื่อหลัง สมรสแล้วทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ของหมั้น เช่น ชายตกลงกับหญิงว่าจะให้สร้อยคอทองคำเป็นของหมั้น โดยจะให้เมื่อ จดทะเบียนส มรสแล้วค รบ 1 ปี เมื่อจ ดท ะเบียนส มรสแ ล้ว 1 ปี จึงให้สร้อยคอท องคำแก่หญิงตามส ัญญา แหวนเพชร นี้ไม่ใช่ข องหมั้น แต่เป็นการให้โดยเสน่หา 2. สินสอด “สินสอด” คือ ทรัพย์สินซึ่งฝ ่ายชายให้แก่บ ิดาม ารดา ผู้รับบุตรบ ุญธรรม หรือผู้ป กครองฝ่ายห ญิง แล้วแต่ กรณีเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส โดยถือเป็นการตอบแทนที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงได้เลี้ยงดูหญิงมาจนเติบใหญ่ จนกระทั่งได้มาสมรสกับชาย คำว่า “ฝ่ายชาย” มีความหมายเช่นเดียวกับในเรื่องหมั้น คือ อาจเป็นตัวชายเอง หรือ 26 ฎ. 1778/2549 มสธ มส
มส การหมัน้ 1-29 มสธ บุคคลอื่นซึ่งถือได้ว่าเป็นฝ่ายชายเช่นบิดามารดาหรือผู้ปกครองก็ได้ สินสอดนี้ ตามประเพณีเดิมถือว่าเป็นค่าน้ำนมมสธ ที่ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงเรียกร้องเอามาจากฝ่ายชาย เพื่อเป็นการตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็น ค่าตัวลูกสาวนั่นเอง ในตอนร่างบรรพ 5 ใหม่ได้มีการอภิปรายให้ความเห็นถกเถียงกันว่าควรจะมีบทบัญญัติเรื่องมสธ สินสอดหรือไม่ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรมีสินสอดให้เหตุผลว่า สินสอดมีลักษณะเหมือนการที่ชายซื้อหญิงมาเป็นภริยา จึงเป็นของน่ารังเกียจ ส่วนฝ่ายที่มีความเห็นว่าควรมีสินสอดให้เหตุผลว่า แท้จริงแล้วสินสอดไม่ใช่เป็นการซื้อหญิง แต่ป ระการใด แต่เป็นธรรมเนียมประเพณีไทยเราม าแต่โบราณ โดยถือว่าเป็นค่าน้ำนม ข้าวป้อนหรือค ่าสินหัวบัวนาง ตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 109 การที่ช ายจะสมรสกับหญิงก็ควรจะระลึกถึงบุญคุณ และแสดงความเคารพ คารวะบิดามารดาหญิงโดยการให้สินสอด เหตุผลของฝ่ายหลังมีเหตุผลน่ารับฟังมากกว่า จึงยังคงมีบทบัญญัติใน เรื่องสินสอดน ี้อ ยู่ต่อม า โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะสำคัญข องท รัพย์สินอ ันเป็นส ินสอดมีอยู่ 3 ประการ คือ (1) ต้องเป็นทรัพย์สิน สินสอดอาจเป็นได้ทั้งสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์และยังหมายความรวมถึง สิทธิเรียกร้องต่างๆ ด้วย (2) ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง สินสอดต้องเป็น ของที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง บุคคลอื่นนอกจากนี้ไม่มีสิทธิ เรียกหรือรับสินสอด ในกรณีที่มีการมอบทรัพย์สินให้ตัวหญิงเอง ทรัพย์ที่มอบไว้ให้ก็ไม่ได้เป็นสินสอด เช่น หญิง บรรลุนิติภาวะแล้วและไม่มีบิดามารดา หรือผู้ปกครอง รับหมั้นและตกลงจะสมรสกับชายด้วยตนเอง แล้วเรียกเงิน จำนวนหนึ่งเป็นสินสอด แม้ชายจะมอบให้ตามที่เรียกร้อง เงินจำนวนนั้นไม่ใช่ “สินสอด” แต่เป็นการให้โดยเสน่หา หรือหญิงและชายจดทะเบียนสมรสกัน และทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนสมรสว่า ฝ่ายชายยก ที่ดินพ ิพาทเป็นส ินสอดแ ก่ฝ ่ายห ญิง เมื่อป รากฏว ่าบ ิดาม ารดาห ญิงถ ึงแก่ก รรมก ่อนท ี่ห ญิงก ับช ายจ ะจ ดท ะเบียนส มรส กัน และไม่ป รากฏว ่าห ญิงม ีผู้ป กครองในข ณะจ ดท ะเบียนส มรส การที่ช ายต กลงย กที่ดินพ ิพาทให้ห ญิงจ ึงถือไม่ได้ว ่า เป็นการให้ในลักษณะที่เป็น “สินสอด” แต่ข้อตกลงด ังกล่าวเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา หญิงจึง ฟ้องบ ังคับให้ช ายโอนที่ดินให้ตนตามบันทึกข้อต กลงได้27 ฎ. 2296/2537 มารดาโจทก์และ ห. เป็นผู้สู่ขอบุตรส าวข องผ ู้ร้องให้แต่งงานก ับจำเลย ผู้ร้องจึงเรียกท องคำ และเรือนหอเป็นค่าสินสอด โจทก์รับเป็นผู้จัดสร้างเรือนหอให้แก่จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้อง โดยต่อเติมเรือนหอ ออกไปจากบ้านของผู้ร้องเพื่อให้จำเลยและบุตรสาวของผู้ร้องใช้อยู่อาศัยหลังแต่งงาน ซึ่งตามประเพณีเรือนหอนั้น สร้างให้เพื่อต อบแทนบ ิดาม ารดาฝ ่ายห ญิงท ี่ให้บ ุตรส าวแ ต่งงาน เรือนห อจ ะส ร้างต รงไหนอ ย่างไรข ึ้นอ ยู่ก ับบ ิดาม ารดา ของฝ่ายหญิง เรือนหอจึงเป็นสินสอดที่ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าบ่าวมอบแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดามารดาเจ้าสาว เรือนหอ ย่อมตกเป็นข องผ ู้ร ้อง ผู้ร ้องขอให้ป ล่อยเรือนห อท ี่โจทก์ย ึดไว้ได้ (3) ใหเ้ พอื่ ตอบแทนก ารทห่ี ญงิ ยอมสมรส การให้สินสอดต้องเป็นการให้ทรัพย์สินภายใต้ว ัตถุประสงค์ที่จะ ตอบแทนต ่อการที่หญิงนั้นยอมทำการสมรสกับชาย การให้สินสอดจึงเป็นนิติกรรมส ัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่การให้ โดยเสน่หาแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทน และทรัพย์ที่เป็นสินสอดนั้นเมื่อได้ส่งมอบไปแล้วย่อมตกเป็นสิทธิเด็ดขาด แก่ฝ่ายหญิงทันที โดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อนแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีเงินที่ชายให้แก่มารดาของหญิงเพื่อ ขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชายโดยชายหญิงไม่มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมายนั้น ไม่ใช่สินสอดหรือของ หมั้น ฉะนั้นเมื่อต ่อมาหญิงไม่ยอมอยู่ก ินก ับชาย ชายเรียกค ืนไม่ได้28 27 ฎ. 3442/2526 28 ฎ. 125/2518 มสธ มส
มส 1-30 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ การให้สินสอดเป็นการให้เพื่อตอบแทนที่หญิงยอมสมรสนั้น การสมรสต้องเป็นการสมรสโดบชอบด้วยมสธ กฎหมาย คือ มีเจตนาท ี่จ ะจดทะเบียนส มรสก ัน หากว่าช ายแ ละห ญิงต ้องการจ ะอ ยู่กินฉันสามีภ รรยาโดยม ิได้ม ีเจตนา จะไปจดทะเบียนสมรสกันให้ถูกต้อง ดังนี้ แม้ฝ่ายชายมีการให้ทรัพย์สินแก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือมสธ ผู้ปกครองฝ ่ายหญิง ทรัพย์สินน ั้นก ็ไม่ใช่ส ินสอด ฎ. 592/2540 โจทก์ตกลงแ ต่งงานกับจำเลยท ี่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือแสดงว ่าโจทก์และจำเลยท ี่ 3 มิได้มีเจตนา จะทำการส มรสโดยจดทะเบียนสมรสตาม ปพพ. มาตรา 1457 ฉะนั้นทรัพย์สินที่โจทก์ม อบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ ของห มั้นเพราะไม่ใช่ท รัพย์สินท ี่โจทก์ม อบให้จ ำเลยท ั้งส ามเพื่อเป็นห ลักฐ านก ารห มั้นแ ละป ระกันว ่าจ ะส มรสก ับจ ำเลย ที่ 3 และไม่ใช่ส ินสอดเพราะไม่ใช่ท รัพย์สินท ี่โจทก์ให้แ ก่จำเลยท ี่ 1 และที่ 2 บิดามารดาข องจำเลยท ี่ 3 เพื่อตอบแทน ก ารท ี่จ ำเลยท ี่ 3 ยอมสมร สตาม ปพพ. มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค ืน ส่วนก ารที่จ ำเลยท ี่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภริยากับโจทก์ตาม ปพพ. มาตรา 1458 การที่จ ำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ก็ไม่เป็นการ ละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ปพพ. มาตรา 1439 และม าตรา 1440 การตกลงจะให้สินสอดแก่กันนั้นจะต้องตกลงให้กันก่อนสมรส แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดซึ่งตกลงจะให้ นั้นจะมอบให้ฝ่ายหญิงก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้ ทั้งไม่จำเป็นต้องมอบสินสอดให้ขณะที่ทำการหมั้นหรืออาจ ตกลงให้สินสอดโดยไม่มีการหมั้นก็ได้ ซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาหมั้น คือก่อนสมรส อย่างไรก็ดี หากมีการตกลงให้สินสอดกันภายหลังการสมรส เช่น สมรสกันแล้วจึงกล่าวถึงสินสอดโดยมิได้มีการตกลงกันมา ก่อน และมีก ารมอบท รัพย์สินให้แ ก่ฝ่ายห ญิงไป ทรัพย์สินที่ให้ไปดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นสินสอดตามก ฎหมาย แต่อ าจ เป็นการให้โดยเสน่หา ในกรณีที่ฝ่ายชายไม่ได้มอบสินสอดให้ฝ่ายหญิงในเวลาที่ทำการหมั้น แต่ได้มีการตกลงว่าจะให้สินสอดกับ ฝ่ายห ญิงในภ ายหลัง สัญญาว ่าจะให้ส ินสอดเป็นส ัญญาที่ช อบด ้วยกฎหมายส ามารถใช้บังคับได้ตลอดเวลา29 สำหรับข้อตกลงเรื่องสินสอดนั้น กฎหมายไม่ได้บัญญัติถึงรูปแบบในการให้สินสอดเอาไว้ การให้สินสอด จึงสามารถทำได้ทั้งในลักษณะที่ใช้วาจาในการตกลงจะให้สินสอด หรืออาจจะทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ในกรณี ที่ท ำสัญญากู้ไว้เป็นสินสอด สัญญากู้ด ังก ล่าวก ็ส ามารถใช้ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้30 ฎ. 878/2518 จำเลยและ ว. บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดา มารดาโจทก์ในวันสมรส ถึงกำหนดจำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว. เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงิน สินสอดท ี่ต กลงจ ะให้ มารดาโจทก์ต ้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ล งชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญาก ู้ ดังนี้ แม้โจทก์ กับ ว.จะมิได้จ ดท ะเบียนสมรสกันแต่เมื่อก ารที่ม ิได้จดท ะเบียนส มรสน ั้น จะถ ือว่าฝ่ายหญิงผ ิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้ แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูก ผูกพันให้รับผ ิดต ามสัญญาก ู้ท ี่แปลงห นี้มาน ี้ “สินสอด” ไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงจะทำการหมั้นหรือสมรสกัน โดยไม่ต้อง มีสินสอดก็ได้ แต่ถ้าหากได้มีการตกลงว่าจะให้สินสอดแก่กันแล้ว ฝ่ายชายไม่ยอมให้บิดามารดาหรือผู้ปกครอง 29 ฎ.6385/2551 30 สัญญากู้ใช้เป็นสินสอดได้ แต่ไม่อ าจใช้เป็นของหมั้นได้ มสธ มส
มส การหมนั้ 1-31 มสธ ฝ่ายหญิงย่อมฟ ้องเรียกส ินสอดได้ และห ากยกให้เป็นสิทธิแก่ฝ ่ายหญิง หญิงก็ม ีสิทธิฟ ้องเรียกเอาได้31 แต่ห ากมีการมสธ ผิดสัญญาโดยหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ยอมสมรสกับชาย แม้บิดามารดาของชายเป็นผู้ให้สินสอดแก่บิดามารดา ของฝ่ายหญิงก็ตามชายเองก็มีสิทธิฟ้องเรียกคืนได้32 การให้สินสอดแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงนี้มสธ ไม่จำกัดว่าหญิงจะบรรลุนิติภาวะแล้วหรือไม่ แม้หญิงจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็อาจให้สินสอดกันได3้ 3 อย่างไรก็ตาม บุคคลผู้มีสิทธิเรียกสินสอดมีเฉพาะ บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองหญิงเท่านั้น ฉะนั้นผู้ที่มิใช่บิดา มารดา ผู้รับบุตรบ ุญธรรมและไม่เป็นผู้ปกครองจ ึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินส ินสอดได้34 “สินสอด” ที่ฝ่ายชายมอบให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองของหญิงนั้น แม้การให้จะ ให้เป็นของขวัญเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสและกรรมสิทธิ์ได้ตกไปยังผู้รับตั้งแต่เวลาที่ส่งมอบไปแล้วก็ตาม แต่ฝ ่ายชายก็ย ังมีส ิทธิเรียกส ินสอดคืนได้ใน 2 กรณีคือ (1) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น “เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง” หมายถึง เหตุที่จะกระทบกระเทือนถึงการสมรสที่จะมีต่อไประหว่างชายและหญิง คู่หมั้น อันจะก่อความไม่สงบสุขในชีวิตสมรสที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าซึ่งเป็นเหตุเดียวกับเหตุที่ทำให้ชายบอก เลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 นั่นเอง เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงนี้จะต้องทำให้ชายไม่สมควรที่จะสมรสกับหญิง หรือไม่อาจที่จะสมรสกับหญิงนั้นได้ ซึ่งเหตุนั้นจะต้องเกิดขึ้นกับตัวหญิงเอง เช่น หญิงคู่หมั้นไปร่วมประเวณีกับ ชายอื่นแล้ว ก็ถือว่าชายคู่หมั้นไม่สมควรที่จะสมรสกับหญิง หรือหญิงคู่หมั้นเป็นโรคเอดส์ซึ่งเป็นโรคติดต่ออย่าง ร้ายแรงที่ทำให้ชายไม่อาจสมรสกับห ญิงน ั้นได้ เช่นน ี้ฝ่ายชายม ีสิทธิเรียกสินสอดคืนโดยการบ อกเลิกส ัญญาหมั้นได้ (2) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับ หญิงนั้น “พฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ” หมายถึง พฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดทำให้การสมรสนั้น ไม่อาจมีขึ้น หรือกรณีที่ไม่มีการสมรสเนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิงนั้น ซึ่งคำว่า “ฝ่ายหญิง” มีความหมายกว้าง รวมทั้งบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาของหญิงคู่หมั้น ด้วย ฉะนั้น การที่บิดาม ารดาห ญิงค ู่หมั้นท ี่เป็นผ ู้เยาว์ไม่ให้ความย ินยอมในการท ี่หญิงคู่หมั้นจะทำการส มรสก ็ถือว่า เป็นค วามผิดของฝ่ายห ญิงท ี่ชายมีส ิทธิจ ะเรียกสินสอดคืนได้ หรือห ญิงคู่หมั้นทิ้งชายไปอยู่ต่างป ระเทศแล้วไม่ติดต่อ กลับมาเลย เช่นนี้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่อาจสมรสกับหญิงได้ หรือหญิง ประกอบพ ธิ แี ต่งงานอ ยกู่ นิ ด ว้ ยก นั แ ลว้ ไมย่ อมจ ดท ะเบียนส มรสด ว้ ยก บั ช าย เปน็ ค วามผ ดิ ข องห ญงิ ต อ้ งค นื “ ของห มัน้ ” “สินสอด” ให้ชาย35 แต่หากชายหญิงสมรสกันโดยตั้งใจไม่จดทะเบียนสมรสแล้ว ชายจะฟ้องเรียกค่าสินสอดคืน ไม่ได้36 หรือชายหญิงอยู่กินเป็นสามีภริยากัน โดยไม่จดทะเบียนสมรสเพราะความผิดของชายที่ไม่ยอมจดทะเบียน สมรสกับหญิง หรือเพราะทั้งชายและหญิงละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ ชายเรียกสินสอดคืนจาก หญิงไม่ได้ ฉะนั้น การที่ฝ ่ายช ายจะเรียกสินสอดคืน ในกรณีนี้จะต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าฝ่ายใดเป็นฝ ่ายผิด หากฝ ่าย ชายเป็นฝ่ายผิดเองหรือทั้งชายและหญิงเป็นฝ่ายผิดทั้งคู่ แล้วก็ไม่อาจที่จะเรียกสินสอดคืนได้ เช่น ชายหญิงเข้าพิธี แต่งงานก ัน แล้วท ั้งส องฝ ่ายล ะเลยไม่ไปจดท ะเบียนสมรสก ันเป็นเวลาป ระมาณ 6 ปี จนมีบุตรด้วยกัน 2 คน ไม่นับ ว่าเป็นค วามผิดข องห ญิงฝ ่ายเดียว ชายจ ะฟ้องเรียกส ินสอดและข องหมั้นคืนไม่ได้37 เป็นต้น 31 ฎ. 878/2518 32 ฎ. 771/2509 33 ฎ. 2357/2518 34 ฎ. 767/2517 35 ฎ. 700/2498 36 ฎ. 269/2488 37 ฎ. 659/2487 มสธ มส
มส 1-32 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ สำหรับก รณที ีไ่ม่มีก ารส มรส อันเนื่องม าจ ากก ารท ีช่ ายห รือห ญิงค ูห่ มั้นถ ึงแก่ค วามต ายก ่อนจ ดท ะเบียนส มรสมสธ กันนั้นมีบทบัญญัติมาตรา 1441 ไว้ชัดเจนแล้วว่า กรณีนี้ฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกสินสอดคืน ทั้งนี้เพราะไม่ถือว่าเป็น พฤติการณ์ที่หญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น สำหรับอายุความในการฟ้องเรียกสินสอดคืนมสธ ไม่มีก ฎหมายบ ัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต ้องใช้อ ายุค วามทั่วไปต ามม าตรา 193/30 คือ อายุค วาม 10 ปี นับแต่วันที่อาจ บังคับใช้ส ิทธิเรียกร้องได้ อุทาหรณ์ ฎ. 664/2497 ชายหญิงทำพิธีแต่งงานอยู่กินอย่างสามีภริยา 5 – 6 ปี โดยไม่จดทะเบียนสมรส เพราะต่าง ฝ่ายต่างละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียนจนมีเรื่องเลิกร้างกันไป จะว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ชาย เรียกของห มั้น สินสอดค ืนไม่ได้ ฎ. 1491/2506 บิดามารดาของฝ่ายชายยกที่นามือเปล่าให้แก่มารดาของฝ่ายหญิงแทนเงินค่าสินสอด โดย ทำห นังสือส ัญญาก ันเอง และไดช้ ีเ้ขตแ บ่งแ ยกอ อกจ ากท ีน่ าผ ืนใหญข่ องต น ทั้งม ารดาข องฝ ่ายห ญิงก ็ไดเ้ข้าค รอบครอง ที่นาน ั้นแล้ว ดังนี้ ถือว่าส ิทธิครอบครองท ี่นาส ่วนน ั้นตกได้แก่มารดาของฝ่ายห ญิงแล้ว โดยไม่ต้องไปจดท ะเบียน สิทธขิ องช ายท ีจ่ ะเรียกส ินสอดค ืนในก รณที ีก่ ารส มรสไมส่ มบูรณเ์ พราะข าดก ารจ ดท ะเบียนน ั้น จะต ้องป รากฏ ว่าหญิงเป็นฝ ่ายผิดท ี่ไม่ยอมจ ดท ะเบียนสมรส ฎ. 787/2518 บิดาชายตกลงให้สินสอดแก่มารดาหญิงแต่ไม่มีเงินจึงทำสัญญากู้ให้หญิงไว้ บิดาชายต้อง ผูกพันตามสัญญากู้อันมีมูลหนี้และได้แปลงหนี้ใหม่ ต่อมาหญิงชายละเลยไม่จดทะเบียนสมรสโดยมิใช่ความผิด ของห ญิงทั้งๆ ที่มารดาหญิงเตือนให้จดทะเบียนเช่นนี้ ชายจะเรียกสินสอดคืนไม่ได้ หญิงเรียกเงินก ู้ตามส ัญญาได้ ฎ. 2357/2518 บิดามารดาชายต กลงกับม ารดาผู้ปกครองหญิง ว่าจะให้สินสอด 5,000 บาท แต่ในว ันแต่งงาน บิดามารดาชายตกลงกับบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงให้สินสอดเพียง 3,000 บาท และชำระไปแล้วดังนี้ ไม่ผ ูกพันม ารดาผู้ป กครองหญิง มารดาผ ู้ป กครองหญิงเรียกให้บิดาม ารดาชายช ำระเงินส ินสอด 5,000 บาทได้ สินสอดที่ฝ่ายชายนำมามอบให้แก่ฝ่ายหญิงในการแต่งงานตามประเพณีนั้น หากชายและหญิงไม่ได้จด ทะเบียนสมรสก ันโดยม ิใช่ค วามผิดข องฝ ่ายห ญิง ฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกคืน ฎ. 3442/2526 โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ที่ด้านหลังทะเบียนสมรส ว่า ฝ่ายชายยกที่ดินพิพาทเป็นสินสอดฝ่ายหญิงเมื่อปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ถึงแก่กรรมก่อนโจทก์กับจำเลยจะ จดทะเบียนสมรสกัน และไม่ปรากฏว่าโจทก์มีผู้ปกครองในขณะจดทะเบียนสมรส การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาท ให้โจทก์จึงถ ือไม่ได้ว่าเป็นการให้ในลักษณะที่เป็นสินสอดต ามก ฎหมายเพื่อต อบแทนการที่โจทก์ยอมส มรสก ับจ ำเลย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญาเมื่อโจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับจำเลย ฉันส ามีภ ริยาแล้วจำเลยก็ม ีหน้าท ี่ต ้องโอนที่ดินให้ โจทก์จ ึงม ีสิทธิฟ ้องบังคับจ ำเลยให้โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตาม บันทึกดังกล่าวได้ ฎ. 3133/2530 การที่โจทก์ให้เงินสดและสร้อยคอทองคำแก่ฝ่ายจำเลย โดยฝ่ายโจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 3 มีอายุยังไม่ครบกำหนดที่จะจดทะเบียนสมรสกันได้ แต่ก็ยอมให้โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกันตาม ประเพณีและอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรสนั้น เงินสดและสร้อยคอทองคำดังกล่าวจึง ไม่ใช่ส ินสอดต ามความหมายใน ปพพ. มาตรา 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค ืน ฎ. 3868/2531 ชายหญิงตกลงกันในวันสู่ขอและทำการหมั้นว่าจะไปจดทะเบียนสมรสหลังพิธีแต่งงานแล้ว ต่อมาชายเป็นฝ่ายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสอันเป็นการผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ชายจะเรียกของหมั้นและสินสอดคืน ไม่ได้ ทั้งไม่มีส ิทธิเรียกค่าทดแทนค วามเสียหายท ี่ได้ใช้จ่ายไปในการเตร ีย มก ารสมรส มสธ มส
มส การหมั้น 1-33 มสธ 3. วิธีการในก ารค ืนข องห ม้นั หรือส นิ สอดมสธ เนื่องจากของหมั้นหรือสินสอดนั้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของหญิงคู่หมั้น หรือบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมมสธ หรือผู้ปกครองหญิงคู่หมั้นไปแล้วตั้งแต่เวลาที่ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่กัน หญิงคู่หมั้นหรือบิดามารดาอาจนำไป ปรับปรุงดัดแปลง จำหน่ายจ่ายโอน หรือเกิดดอกผลงอกเงยขึ้นมาก็ได้ กฎหมายจึงต้องมีบทบัญญัติมาตรา 1437 วรรคสี่เกี่ยวกับวิธีการในการคืนของหมั้นหรือสินสอดไว้ โดยให้นำบทบัญญัติในเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 412 ถึงม าตรา 418 มาใช้บังคับโดยอ นุโลม ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการค ืนของหมั้นหรือสินสอดอ อกเป็นสองก รณีโดยพิจารณา จากประเภทข องท รัพย์ กล่าวค ือ 1. กรณีที่ “ของหมั้น” หรือ “สินสอด” เป็นเงินตรา ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิง มีหน้าที่ต้องคืนเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกคืน38 เพราะโดยทั่วไปแล้วฝ่ายหญิงมักจะรับเงินที่เป็นของหมั้นหรือ สินสอดนั้นไว้โดยสุจริตเสมอ เช่นชายหมั้นหญิงด้วยเงิน 500,000 บาท หญิงเอาเงินไปใช้จ่ายบางส่วนในขณะที่ชาย เรียกคืนเหลือเพียง 200,000 บาท ฝ่ายหญิงก็ต้องคืนเงินเพียง 200,000 บาทนี้ หากใช้จ่ายไปหมดแล้วก็ไม่มีอะไร ต้องคืนแก่กัน อย่างไรก็ดี ถ้าฝ่ายหญิงนำเงินของหมั้นหรือสินสอดไปซื้อทรัพย์สินอื่นมาทรัพย์สินอื่นที่ได้มานี้ต้อง คืนให้ฝ่ายชายไปด้วยเพราะเป็นการช่วงทรัพย์ตามมาตรา 226 เช่น กรณีตามตัวอย่างข้างต้นหญิงใช้จ่ายเงินของ หมั้นบางส่วนไปในการซื้อบ้านและที่ดินด้วย ฝ่ายชายก็มีสิทธิเรียกเงินที่เหลือ 200,000 บาท รวมถึงบ้านและที่ดิน ดังกล่าวได้ เพราะบ้านและที่ดินรับช่วงทรัพย์มาอยู่ในฐานะนิตินัยเช่นเดียวกับเงิน การคืนเงินตราที่เป็นของหมั้น หรือสินสอดนี้คืนแต่เฉพาะต้นเงินเท่านั้น แม้ฝ่ายหญิงจะได้นำเงินตรานี้ไปลงทุนทำประโยชน์หรือได้ดอกเบี้ย เพิ่มพูนขึ้นมาก็ไม่ต้องคืนด้วย เพราะดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ได้มานี้ย่อมเป็นของฝ่ายหญิงนั้นเอง39 อย่างไร ก็ดีเมื่อฝ่ายชายยื่นฟ้องคดีเรียกของหมั้นหรือสินสอดที่เป็นเงินคืนแล้วก็มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินจำนวนดังกล่าว นับแ ต่วันฟ ้องคดีได้ เพราะถือว่าฝ ่ายห ญิงต กอ ยู่ในฐานะทุจริตตั้งแต่เวลาท ี่เรียกค ืนนั้นแล้ว40 สำหรับการคืนเงินตราที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดนั้น ต้องคืนเงินที่เหลืออยู่ในขณะที่เรียกคืน ปัญหาที่เกิด ขึ้นก็คือ วันที่เรียกคืนนั้นจะถือเอาวันไหนเป็นเกณฑ์ระหว่างวันที่ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเรียกคืนของหมั้นหรือสินสอด หรือวันท ี่ม ีก ารทวงถ ามจ ริงๆ โดยค วามเห็นในเรื่องนี้ได้แบ่งอ อกเป็นส องฝ ่าย กล่าวคือ ฝ่ายแรก ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า จะต้องถือหลักขณะเมื่อเรียกคืน โดย ถือเอาวันฟ้องค ดีต ่อศาลเป็นห ลัก ไม่ใช่วันท วงถาม ฝ่ายที่ส อง อาจารย์ชาติชาย อัครวิบูลย์ เห็นว ่าค วรจ ะเป็นว ันท ี่ทวงถาม เนื่องจากความส ุจริตหรือไม่ในกรณี ของหมั้นนั้นน่าจะใช้หลักเรื่องการทวงถาม มิฉะนั้นจะทำให้ฝ่ายหญิงอาศัยประโยชน์จากระยะเวลาก่อนฟ้องคดีใช้ จ่ายเงินไปได4้ 1 อุทาหรณ์ ฎ. 1915/2531 การคืนลาภมิควรได้ซึ่งเป็นเงินในกรณีที่รับไว้โดยสุจริตนั้น จะต้องคืนเพียงส่วนที่ยังมีอยู่ ในขณะเมื่อเรียกคืนตามปพพ.มาตรา 412 การคิดดอกเบี้ยจึงเริ่มคิดคำนวณตั้งแต่วันฟ้องซึ่งเป็นเวลาในขณะที่ โจทก์เรียกคืนเป็นต้นไ ป 38 ปพพ. มาตรา 412 39 ปพพ. มาตรา 415 40 เทียบเคียง ฎ. 1274/2497 41 ชาติช าย อัครวิบูลย์ เรื่องเดียวกัน น.128 มสธ มส
มส 1-34 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ 2. กรณีท่ีของหม้ันหรือสินสอดเป็นทรัพย์สินอ่ืนที่ไม่ใช่เงินตรา ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินมสธ อื่นที่ไม่ใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงที่มีหน้าที่ต้องคืนจะต้องคืนทรัพย์สินนั้นในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาที่เรียกคืนกัน42 ฝ่าย หญิงไมต่ ้องร ับผ ิดช อบในก ารท ีท่ รัพยน์ ั้นส ูญหายห รือบ ุบส ลายแ ตอ่ ย่างใดแ มก้ ารส ูญหายห รือบ ุบส ลายน ั้นจ ะเนื่องจากมสธ ความผิดของตนก็ตาม แต่ถ้าได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือบุบสลายเช่นนั้นก็ต้องให้ไปด้วย เช่น ชายเอาช้างมาหมั้นหญิง ต่อมาช้างตายไปเพราะเจ็บป่วย หญิงก็ไม่ต้องรับผิดชอบในการคืนช้างของหมั้นนี้ หรือช ายเอารถยนต์มามอบให้บ ิดาม ารดาหญิงเป็นสินสอด บิดาม ารดาห ญิงใช้รถยนต์คันน ี้จนช ำรุดทรุดโทรมกระจก หน้ารถแตกร้าว หากจะต้องคืนรถยนต์ตามสภาพที่ชำรุดบกพร่องนั้นโดยไม่ต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่อง หรือบุบสลาย ไม่จำเป็นต้องซ่อมกระจกให้อยู่ในสภาพที่ดีแต่อย่างใด แต่ถ้าหากฝ่ายหญิงขายหรือแลกเปลี่ยน ทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นหรือสินสอดให้บุคคลภายนอกไป ฝ่ายหญิงก็จะต้องคืนเงินที่ขายได้เท่าที่ยังเหลืออยู่ใน เวลาเรียกคืนหรือทรัพย์สินที่แลกเปลี่ยนมานี้เท่าที่ยังเหลืออยู่ให้แก่ฝ่ายชายด้วย สำหรับในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นมี ราคาเพิ่มขึ้นเพราะการที่ฝ่ายหญิงได้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินหรือลงทุนทำให้ทรัพย์นั้น มีราคาสูงขึ้น ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้นจากฝ่ายชายด้วย43 เช่นฝ่ายหญิงได้รถยนต์เก่าเป็นของหมั้น ฝ่ายหญิงจึงนำรถยนต์คันดังกล่าวไปทำสีใหม่ทั้งคันเป็นเงิน 20,000 บาท เงินส่วนนี้ฝ่ายหญิงก็จะได้รับคืนจากฝ่าย ชายในเวลาที่คืนทรัพย์ แต่ถ้าหากเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามปกติธรรมดาแล้วจะ เรียกช ดใช้ไม่ได้44 อทุ าหรณ์ ฎ. 1199/2497 จำเลยลงทุนก่อสร้างซ่อมแซมบ้านโดยเชื่อด้วยความสุจริตใจว่าสามีโจทก์ยกบ้านให้แล้ว เมื่อปรากฏภายหลังว่าการให้ไม่สมบูรณ์ โจทก์จะเอาบ้านคืนโจทก์ก็ต้องชดใช้เงินที่จำเลยลงทุนซ่อมแซมไปตาม ปพพ. มาตรา 1376 ฎ. 712/2498 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งผู้ล้มละลายโอนทรัพย์ให้แก่ ผู้อื่นไปตาม พรบ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์ที่โอนนั้นพังสลายไปแล้วโดยถูกพายุ พัดพ ัง ซึ่งเห็นได้ว ่าถ ึงอย่างไรก ็ต้องพ ังท ลายไป ผู้รับโอนย่อมไม่ต้องรับผิดชอบช ดใช้ราคา เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในของหมั้นหรือสินสอดตกเป็นของฝ่ายหญิงผู้รับไปแล้ว ดอกผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึง เป็นของฝ่ายหญิงทั้งสิ้น เช่น ของหมั้นเป็นแม่ม้า ลูกม้าที่เกิดขึ้นมาย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ข องหญิง หญิงหากจะคืน ของหมั้นก็คืนแต่เฉพาะแม่ม้าเท่านั้น หรือสินสอดเป็นสวนยางพารา บิดามารดาหญิงกรีดยางไปขาย หากจะคืน สินสอดก็คืนแต่เฉพาะสวนยางพาราเท่านั้น ไม่ต้องคืนเงินที่ได้จากการขายน้ำยางแต่อย่างใด สำหรับในกรณีที่ฝ่าย ชายยื่นฟ้องเรียกของหมั้นหรือสินสอดคืนแล้วหลังจากนั้นฝ่ายหญิงจงใจจำหน่ายจ่ายโอนของหมั้นหรือสินสอดไป ให้บุคคลภายนอกจึงไม่มีทรัพย์สินที่จะคืนและต้องชดใช้ราคาแทนนั้น การคิดคำนวณราคาทรัพย์สินจะต้องคิด ราคาในว ันที่ฟ้องค ดีต ่อศาล45 อันเป็นเวลาซ ึ่งเป็นฐานที่ต ั้งแห่งการก ะป ระมาณราคาพ ร้อมทั้งด อกเบี้ย46 เช่น ชายเอา ทองแ ท่งหนัก 10 บาท มาหมั้นหญิงเมื่อ 2 ปี ที่แล้ว ซึ่งขณะน ั้นทองแ ท่งราคาบ าทล ะ 4,000 บาท มาในปีน ี้หญิงผ ิด สัญญาหมั้น ราคาทองคำเพิ่มขึ้นเป็นบาทละ 5,000 บาท ชายจึงฟ้องเรียกของหมั้นทองแท่งหนัก 10 บาทนี้คืน หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา ในระหว่างพิจารณาคดีหญิงขายทองแท่งนี้ไปและเอาเงินไปใช้จ่ายหมดแล้วจึงไม่สามารถ 42 ปพพ. มาตรา 413 43 เทียบเคียง ฎ. 2505/2515 44 มาตรา 416 45 เทียบเคียง ฎ. 1442/2520 46 มาตรา 225 มสธ มส
มส การหมัน้ 1-35 มสธ คืนทองคำแท่งให้ชายได้ หญิงก็จะต้องชดใช้ราคาทองคำแท่งโดยคิดราคาบาทละ 5,000 บาท ซึ่งเป็นราคาทองคำมสธ ในขณะท ี่ห ญิงผิดนัด พร้อมท ั้งด อกเบี้ยจ ากต้นเงินดังก ล่าวด้วย มสธ อุทาหรณ์ ฎ. 157/2491 ฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งเป็นข้าวเปลือกหากจำเลยส่งมาแบ่งไม่ได้ก็ต้องชำระราคาแทน โดยคิด ตามร าคาในข ณะที่โจทก์ฟ้อง ในกรณีที่มีการเรียกทรัพย์ที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดคืนแล้ว หากฝ่ายหญิงกระทำการใดกับทรัพย์นั้น ในทางทุจริต หากทรัพย์นั้นเสียหายหรือสูญหาย ฝ่ายหญิงต้องรับผิดในความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นแม้ว่า ท รัพย์น ั้นจ ะเสียหายเนื่องจากก ารกระทำของบ ุคคลภายนอกหรือว ่าเหตุสุดวิสัยก็ตาม เว้นแ ต่จ ะพิสูจน์ได้ว ่าข องหมั้น หรือส ินสอดนั้นหากตนคืนให้แ ก่ฝ่ายช ายไปแ ล้วก ็ยังคงต ้องเสียหายห รือสูญหายอยู่ดี (มาตรา 413 วรรคสอง) ตวั อย่าง 1. ภายหลังจากที่ฝ่ายชายเรียกรถยนต์ซึ่งเป็นของหมั้นคืนจากฝ่ายหญิง ฝ่ายหญิงยังเก็บไว้ไม่ยอมคืน ถือว่าเป็นการทุจริตเนื่องจากมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์แต่ไม่ยอมคืน หากฝ่ายหญิงนำรถยนต์คันดังกล่าวไปขับแล้วมี บุคคลภายนอกขับรถยนต์อีกคันมาชน ฝ่ายหญิงก็ยังคงต้องรับผิดต่อฝ่ายชายในความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจาก ต นท ุจริต 2. ในกรณีที่ฝ่ายชายเรียกของหมั้นที่เป็นลูกสุกรคืนจากฝ่ายหญิง แต่ฝ่ายหญิงเก็บไว้ไม่ยอมคืน การ กระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ทุจริต หากลูกสุกรดังกล่าวเป็นโรคถึงแก่ความตายซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย ฝ่ายหญิง ก็ยังต้องรับผิดในความเสียหายแก่ฝ่ายชาย อย่างไรก็ดีหากฝ่ายหญิงพิสูจน์ได้ว่าแม้คืนทรัพย์ไปแล้วความเสียหาย ก็ยังคงเกิดข ึ้นอยู่ดี ฝ่ายห ญิงก ็จ ะพ ้นความรับผิด เช่น พิสูจน์ได้ว่าโรคร ะบาดนั้นระบาดไปท ั้งจ ังหวัด แม้คืนลูกสุกร ไป ลูกสุกรตัวดังกล่าวก็ตายอยู่ดีเนื่องจากบ้านฝ่ายชายและบ้านฝ่ายหญิงอยู่ติดกัน โดยอยู่ในเขตโรคระบาดทั้งคู่ เป็นต้น 4. ทรัพยก์ องทนุ ทรัพย์กองทุนเป็นทรัพย์สินที่ให้กันเนื่องในการสมรสเป็นประเพณีปฏิบัติต่อกัน แต่ไม่มีกล่าวไว้ใน กฎหมายจึงต้องบังคับตามกฎหมายทั่วไป ทรัพย์กองทุนหมายถึงทรัพย์สินที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงนำมารวมเป็น กองทุนตามสัญญาที่ให้ไว้แก่กันกล่าวคือ ในการสมรสผู้ใหญ่ของแต่ละฝ่าย อาจให้สัญญาแก่กันว่าจะนำเงินหรือ ทรัพย์กองทุนมาให้แก่คู่สมรส เพื่อเป็นทุนเลี้ยงดูกันสืบไปเช่นนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวไม่เป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่ขัดต่อกฎหมายแต่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่าง ผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย จึงเป็นสัญญาที่ฟ้องร้องบังคับได้ แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาไม่นำเงินมากองทุนอีกฝ่ายหนึ่ง มีอำนาจปฏิเสธสัญญาทรัพย์กองทุนนั้นได้ ทรัพย์กองทุนนั้นถ้าได้มาก่อนสมรสก็เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายนั้น และถ้าได้มาภายหลังที่สมรสแล้ว ก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น เว้นแต่หนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส จึงจ ะเป็นสินส มรสต ามมาตรา 1474 (2) ซึ่งมีร ายล ะเอียดในหน่วยที่ 3 อทุ าหรณ์ ฎ. 295/2491 ผู้ใหญ่ฝ่ายช ายแ ละฝ ่ายหญิงตกลงว่าต่างจ ะให้ทรัพย์สินส ิ่งใดแก่คู่สมรสน ั้นถ ือว่าเป็นส ัญญา ต่างตอบแทนซึ่งสมัยก่อนเรียกว่าสัญญากองทุนในการสมรสไม่ใช่เป็นการให้โดยเสน่หา เมื่อฝ่ายใดผิดสัญญา คู่ส มรสย่อมฟ ้องขอให้บังคับต ามสัญญาน ั้นได้ ฎ. 384/2494 เงินกองทุนที่ชายเอามากองทุนในเวลาแต่งงานนั้นยังคงเป็นทรัพย์สินของชาย เมื่อไม่มีข้อ ผูกพันให้หญิงย ึดไว้ได้ ชายก็มีส ิทธิเรียกคืนได้ มสธ มส
มส 1-36 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ฎ. 3868/2531 เงินท ี่ฝ ่ายช ายม อบให้แก่ฝ ่ายห ญิงพ ื่อซ ื้อบ้านอาศัย ไม่มีล ักษณะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมมสธ การสมรส แต่เป็นข้อตกลงนำเอามาเป็นเงินกองทุนเพื่อใช้เป็นที่อยู่ และที่ทำมาหากินระหว่างชายกับหญิงหลังจาก แต่งงานกันแล้ว เมื่อไม่มีการจดทะเบียนสมรสกัน ฝ่ายหญิงต ้องคืนเงินจำนวนน ี้ให้ฝ่ายช ายมสธ 5. ทรพั ยร์ บั ไ หว้ ทรัพย์รับไหว้ก็ไม่มีบัญญัติไว้ในกฎหมายเช่นเดียวกับทรัพย์กองทุน โดยปกติทรัพย์รับไหว้เป็นทรัพย์ที่ ญาติหรือแขกผู้ใหญ่ให้แก่คู่สมรสหลังจากการสมรส เมื่อคู่สมรสพากันไปไหว้คารวะจึงเป็นทรัพย์ที่ได้มาระหว่าง สมรสโดยการให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายตามมาตรา 1471 (3) หากเป็นการรับไว้ก่อน จดทะเบียนสมรส ทรัพย์รับไหว้นั้นก็เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายตามมาตรา 1471 (1) โดยมีส่วนเป็น เจ้าของคนละครึ่งเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเป็นการให้แก่คู่สมรสทั้งสองคน จึงถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์รับไหว้และของขวัญวันสมรสเป็นทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการให้ในการสมรส แม้ต่อมาภายหลังคู่สมรส ประพฤติเนรคุณผ ู้ให้ ผู้ให้ก ็จ ะถอนค ืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ เพราะเข้าข ้อยกเว้นตามม าตรา 535 (4) อทุ าหรณ์ ฎ. 1025/2501 เงินข องข วัญแ ละส ิ่งของข องข วัญท ี่ช ายห ญิงได้ร ับในว ันแ ต่งงาน ชายห ญิงน ั้นย ่อมเป็นเจ้าของ ร่วมกัน เมื่อชายหญิงได้เอาเงินของขวัญใช้จ่ายร่วมกันเป็นค่าเลี้ยงแขกในวันแต่งงานหมดแล้ว ชายจะมาฟ้องเรียก เอาส่วนครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินของขวัญนั้นไม่ได้ ส่วนสิ่งของของขวัญเมื่อได้ความว่าอยู่กับหญิงเช่นนี้ ชายย่อม ฟ้องเรียกเอาครึ่งห นึ่งได้ ฎ. 2259/2529 ของขวัญที่เป็นของใช้ในครอบครัวซึ่งญาติและเพื่อนของคู่สมรสมอบให้เนื่องในวันสมรส นั้น ผู้ให้ย ่อมม ีเจตนาท ี่จะให้คู่สมรสได้ใช้สอยเมื่ออยู่ร่วมก ัน ถ้าไม่ปรากฏว ่าผู้ให้รายใดได้แ สดงเจตนาไว้เป็นพ ิเศษ ว่ามอบให้แก่คู่สมรสฝ่ายใดโดยเฉพาะแล้ว แม้จะเป็นของที่มอบให้ก่อนวันแต่งงาน 1 วันก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็น ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรสตกเป็นสินสมรสตามปพพ.มาตรา 1474 (1) ซึ่งรายละเอียดจะอธิบายใน ห น่วยท ี่ 3 ทรัพย์สินร ะหว่างส ามีภริยา 6. เรือนห อ “เรือนหอ” คือเคหสถานซึ่งคู่สมรสจะใช้เป็นที่อยู่กินด้วยกันเมื่อทำการสมรสแล้ว ซึ่งตามธรรมเนียม เรือนหอนี้ต้องทำให้แล้วเสร็จก่อนวันทำการมงคล โดยก่อนสมรสฝ่ายชายและฝ่ายหญิงอาจตกลงกันว่าฝ่ายชาย จะต้องจัดการให้มีเรือนหอสำหรับเป็นที่อยู่ของคู่สมรส เรือนหอนั้นอาจจะมีอยู่แล้วแต่เดิมหรือตัวชายหรือผู้ใหญ่ ฝ่ายชายจะเป็นผู้ปลูกขึ้นใหม่ก็ได้ แต่ทั้งนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าการสมรสต้องมีเรือนหอ คู่สมรสจะงดเว้นไม่มี เรือนหอก็ได้ เรือนหอมีได้เฉพาะแต่เรือนของชายทั้งนี้สืบเนื่องมาจากประเพณีที่ชายเป็นฝ่ายปลูกเรือนหอ ไม่มี ประเพณีว่าหญิงจะต้องปลูกเรือนหอให้ชาย นอกจากนี้ถ้าเรือนปลูกขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำการสมรสแล้วเรือนนั้น ก ็ไม่ใช่เรือนหอ การที่เรือนหอมีแต่เฉพาะเรือนของฝ ่ายชายฝ ่ายเดียวก็เป็นท ำนองเดียวกับเรื่องของห มั้นและส ินสอด ซึ่งกฎหมายบัญญัติรับรองเฉพาะทรัพย์ที่ฝ่ายชายมอบให้แก่ฝ่ายหญิง ส่วนที่ฝ่ายหญิงมอบให้แก่ฝ่ายชายไม่ใช่เป็น ของหมั้นห รือสินสอด เนื่องจากเรือนหอเป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายที่มีอยู่ก่อนสมรสและนอกจากนี้บรรพ 5 เดิม มาตรา 1516 (เดิม) ก็ยังมีบทบัญญัติว่าเมื่อสามีภริยาขาดกันและชายมีเรือนหอในที่ดินของฝ่ายหญิง ชายต้องรื้อเรือนนั้นไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเรือนหอนั้นยังเป็นของชายอยู่ จึงถือได้ว่าเรือนหอเป็นสินส่วนตัวของชาย เมื่อหย่ากันชายจึงเอา มสธ มส
มส การหม้ัน 1-37 มสธ คืนไปได้47 ตามกฎหมายต ่างประเทศ เช่น กฎหมายอ ังกฤษ เรือนหอ (matrimonial home) ก็ถือว่าเป็นท รัพย์สินมสธ ของสามีเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีถ้าเรือนที่สามีภริยาใช้อยู่ด้วยกันนี้สร้างขึ้นโดยชายและหญิงเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ร่วมก ันเรือนน ี้ไม่ใช่เรือนหอ เช่น โจทก์จำเลยร ่วมกันน ำส ัมภาระแ ละล งทุนป ลูกส ร้างเรือนข ึ้น 1 หลัง ในระหว่างห มั้นมสธ แต่ไม่ได้ความพอจะชี้ได้ว่าสัมภาระอื่นใดเป็นของผู้ใดได้ทุกชิ้น ทั้งไม่ได้ความว่าแต่ละฝ่ายได้มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ เกินก ว่าครึ่ง ดังนี้ ต้องถ ือว่าโจทก์แ ละจำเลยมีส ่วนเป็นเจ้าของเรือนรายนี้เท่าๆ กัน48 เป็นต้น การท ชี่ ายไปป ลกู เรอื นห อในท ีด่ นิ ข องฝ า่ ยห ญงิ โดยฝ า่ ยห ญงิ ย นิ ยอมห รอื ไดร้ บั อ นญุ าตจ ากฝ า่ ยห ญงิ เรอื นห อ นั้นไม่ต กเป็นส่วนค วบข องที่ดินเพราะกรณีเข้าข้อยกเว้นตาม ปพพ. มาตรา 146 ที่ชายผ ู้มีสิทธิในที่ดินของฝ่ายห ญิง ได้ใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น เรือนหอจึงยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของชายอยู่ ชายมีสิทธิรื้อถอนเรือนหอไปได้ เมื่อหย่าข าดจ ากก ันแล้ว หรือในเวลาใดๆ ก็ได้ อทุ าหรณ์ ฎ. 132/2491 ชายปลูกเรือนหอบนที่ดินของพี่ชายหญิงคู่หมั้น โดยบิดาหญิงให้ปลูกและว่าเจ้าของที่ดิน ไม่ข ัดข้อง แต่ค วามจริงเจ้าของมิได้รู้เห็นยินยอมอ นุญาตแ ต่ประการใด ดังนี้เรือนหอเป็นกรรมสิทธิ์ข องช าย แต่ชาย จะถือว่าการปลูกสร้างนั้นกระทำไปโดยสุจริตไม่ได้เพราะทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นที่ของผู้อื่น จะบังคับให้เจ้าของที่ดิน ร ับซื้อโรงเรือนน ั้นไว้ก ็ไม่ได้ ฎ. 1693/2500 มารดาหญิงรับเงินจากชายเป็นค่าเรือนหอ โดยมารดาหญิงพูดยกเรือนให้เป็นเรือนหอ คู่สมรสอ ยู่ด้วยก ันม าในเรือนนี้ เรือนน ี้ต กเป็นสินเดิมของช าย แม้จะไม่มีหนังสือย กให้ (เรือนเป็นส ่วนค วามก ับท ี่ดิน) ฎ. 648/2506 จำเลยมาได้บุตรสาวของผู้ร้องเป็นภริยา และได้เข้าอยู่ร่วมในเรือนของผู้ร้อง ซึ่งปลูกอยู่ใน ที่ดินของผู้ร้อง ต่อมาเรือนเก่าทรุดโทรม จึงรื้อลงสร้างหลังใหม่แทน หากจะฟังว่าจำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าก่อสร้าง เรือนหลังใหม่นี้ แต่เมื่อเรือนนี้มีลักษณะถาวรติดที่ดินและไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยได้รับสิทธิหรืออำนาจที่จะปลูก เรือนนี้ลงในที่ดินของผู้ร้องแต่ประการใด กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 109 (ปัจจุบันมาตรา 146) และไม่ใช่ เรื่องที่จำเลยปลูกเรือนรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้ร้องตามมาตรา 1312 ด้วย จึงต้องถือว่าเรือนนี้เป็นส่วนควบของ ที่ดินที่ปลูกเรือนและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามมาตรา 107 (ปัจจุบัน ปพพ. มาตรา 144) เจ้าหนี้ผู้ชนะคดี จำเลยจะยึดเรือนนี้เพื่อข ายเอาชำระหนี้ไม่ได้ ฎ. 1856/2512 จำเลยได้บุตรสาวผ ู้ร ้องเป็นภริยาแ ละได้ปลูกเรือนพ ิพาทบนท ี่ดินข องผู้ร้องใช้เป็นท ี่อยู่อ าศัย ของจำเลยและภริยา แม้เรือนจะมีลักษณะถาวรติดที่ดินแต่เมื่อตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าผู้ร้องกับสามียินยอมให้ ปลูกเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย กรณีจึงเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 109 (ปัจจุบัน ปพพ. มาตรา 146) ไม่ถือว่าเรือนพิพาท เป็นส่วนควบกับที่ดินของผู้ร้องและสามี ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขัดทรัพย์เรือนพิพาทของจำเลยที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา นำยึดบ ังคับค ดีได้ 47 ฎ. 409/2485 48 ฎ. 640/2494 มสธ มส
มส 1-38 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ กจิ กรรม 1.2.3มสธ 1. ลักษณะสำคญั ของข องหม้ันม อี ยา่ งไรบ้าง 2. ชายห มนั้ ห ญงิ ด ว้ ยส ายส รอ้ ยเพชร ตอ่ ม าห ญงิ ค หู่ มน้ั เกดิ ค วามจ ำเปน็ ต อ้ งใชเ้ งนิ หญงิ จ ะน ำเอาส รอ้ ยมสธ เพชรนไี้ ปขายนำเงนิ ม าใช้สอยไดห้ รือไม่ 3. ลักษณะส ำคญั ข องสนิ สอดมอี ย่างไรบ า้ ง 4. นายแดงทำการหม้ันหมายนางสาวดำ และตกลงด้วยวาจากับบิดานางสาวดำว่าจะให้สินสอดเป็น เงนิ หา้ หมนื่ บาท นายแดงกับนางสาวดำได้แต่งงานกันตามประเพณีและอยู่กนิ ด้วยกนั ฉนั สามีภริยาแต่ยังมไิ ด้จด ทะเบียนสมรสกัน ต่อมานางสาวดำป่วยเป็นโรคมะเร็งถึงแก่ความตายไป ดังนี้ บิดานางสาวดำจะเรียกสินสอด จากน ายแ ดงได้หรือไม่ 5. นาย ก. แตง่ งานกับนางสาว ข. และมอบเงินสดสามห มนื่ บาทให้บ ิดานางสาว ข. เพ่ือเปน็ สนิ สอด นาย ก. และนางสาว ข. อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยมิได้สนใจไปจดทะเบียนสมรสเป็นเวลาสามปีเศษ แล้ว เลิกรากันไป ต่อมานางสาว ข. ก็ไปจดทะเบียนสมรสกับนายเขียว เช่นน้ี นาย ก. จะเรียกสินสอดคืนจากบิดา นางสาว ข. ได้หรอื ไม่ แนวต อบก จิ กรรม 1.2.3 1. ลักษณะส ำคญั ข องของห มนั้ มี 4 ประการ คือ (1) ตอ้ งเป็นท รพั ย์สิน (2) ต้องเป็นของฝ ่ายช ายใหไ้ วแ้ ก่ห ญงิ (3) ต้องให้ไว้ในเวลาท ำส ญั ญาหมนั้ และห ญิงต ้องได้รบั ไว้แล้ว และ (4) ต้องให้ไว้เพ่ือเป็นห ลักฐ านวา่ จ ะสมรสก บั ห ญงิ และต อ้ งให้ไว้ก่อนส มรส 2. หญิงนำสายสร้อยเพชรทเี่ ป็นของหม้นั ไปขายได้ เพราะกรรมสทิ ธิ์ในสายสรอ้ ยเพชรตกอยู่กับหญงิ คู่หมนั้ แ ล้ว ตามม าตรา 1437 วรรคส อง 3. ลกั ษณะส ำคัญข องส ินสอด ตามมาตรา 1437 วรรคสาม มี 3 ประการ คอื (1) ตอ้ งเปน็ ท รัพย์สนิ (2) ต้องเป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง และ (3) ตอ้ งให้เพื่อตอบแทนการท ีห่ ญิงย อมส มรส 4. บดิ าน างสาวด ำเรยี กส นิ สอดจ ากน ายแ ดงได้ เพราะส ญั ญาส นิ สอดไมจ่ ำเปน็ ต อ้ งท ำเปน็ ห นงั สอื และ กรณีฝ่ายชายจะเรียกสินสอดคืนตามมาตรา 1437 วรรคสาม เม่ือไม่มีการสมรสต้องมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง โดยมีพฤติการณ์ซ่ึงฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ แต่การท่ีนางสาวดำป่วยเป็นโรคมะเร็งถึงแก่ความตายมิใช่ความผิด ของนางสาวด ำแตอ่ ยา่ งใด 5. นาย ก. เรยี กสินสอดคืนจากบดิ านางสาว ข. ไม่ได้ เพราะการที่นาย ก. ไม่ได้จดทะเบยี นสมรสกบั นางสาว ข. น้นั เนื่องจากทงั้ สองฝา่ ยล ะเลยไม่สนใจเอง มิใชม่ ีเหตุสำคญั อนั เกิดแก่หญิงห รือโดยมีพฤตกิ ารณ์ ซงึ่ ฝ่ายหญิงต้องร บั ผ ิดช อบตามมาตรา 1437 วรรคสาม ทำให้ชายไม่สมควรห รอื ไม่อาจสมรสก บั ห ญงิ นั้น ทัง้ ต ่อมา นาย ก. กับน างสาว ข. กไ็ ดเ้ลิกราจากการส มรสก ันแล้ว มสธ มส
มส การหมั้น 1-39 ตอนที่ 1.3 ผลข องการห มน้ั โปรดอ ่านห ัวเรื่อง แนวคิด และวัตถุประสงค์ของต อนที่ 1.3 แล้วจึงศ ึกษาร ายล ะเอียดต่อไป หัวเรอื่ ง 1.3.1 การห มั้นไม่เป็นเหตุฟ้องร ้องบ ังคับให้ส มรสได้ 1.3.2 การผ ิดสัญญาห มั้นแ ละการเรียกค่าท ดแทน แนวคดิ 1. สัญญาหมั้นแตกต่างจากสัญญาอื่นในแง่ที่ว่าไม่สามารถฟ้องร้องต่อศาลขอให้บังคับให้ชายหญิง ทำการสมรสกันตามสัญญาหมั้นได้ เพราะการสมรสจะต้องได้รับความยินยอมโดยสมัครใจจาก ชายและห ญิง 2. เมื่อทำสัญญาหมั้นกันแล้วชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมทำการสมรสกับอีกฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายท ี่ไม่ย ินยอมท ำการส มรสน ั้นเป็นฝ ่ายผ ิดส ัญญาห มั้น จะต ้องร ับผ ิดใช้ค ่าท ดแทนให้ก ับอ ีกฝ ่าย หนึ่งส ำหรับความเสียหายท ี่ฝ่ายห นึ่งได้รับ และอ าจต ้องมีการค ืนสินสอดและของหมั้นด้วย 3. ในการใช้ค่าทดแทนนี้กฎหมายกำหนดค่าทดแทนไว้โดยเฉพาะเพียง 3 กรณี กรณีอื่นนอกเหนือ จากนี้จะเรียกค่าทดแทนไม่ได้ และในการคิดคำนวณค่าทดแทนอาจจะนำเหตุที่หญิงได้ของหมั้น ไปเป็นกรรมสิทธิ์แ ล้วม าคำนึงป ระกอบด ้วยก็ได้ วตั ถปุ ระสงค์ เมื่อศึกษาต อนที่ 1.3 จบแล้ว นักศึกษาสามารถ 1. อธิบายก ารบังคับต ามสัญญาหมั้นที่จ ะให้ท ำการส มรส และการเรียกเบี้ยปรับตามส ัญญาห มั้นได้ 2. อธิบายและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการผิดสัญญาหมั้น และการเรียกค่าทดแทนต่างๆ ที่เกิดจาก ก ารผิดส ัญญาห มั้นได้ มสธ มสธ มสธ มสธ มส
มส 1-40 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ เร่อื งท ่ี 1.3.1มสธ การหมั้นไม่เป็นเหตฟุ อ้ งร ้องบังคับใหส้ มรสได้ ภายห ลงั จ ากท มี่ กี ารห มัน้ ก นั ต ามแ บบท กี่ ฎหมายก ำหนดแ ลว้ สญั ญาห มัน้ น ัน้ จ ะม ผี ลบ งั คบั ใชไ้ ดต้ ามก ฎหมาย อย่างไรก ็ดีสัญญาหมั้นนั้นม ีล ักษณะเฉพาะต ่างจ ากส ัญญาธรรมดาท ั่วไป ดังจะเห็นได้จาก ปพพ.มาตรา 1438 มาตรา 1438 “การห มน้ั ไมเ่ ปน็ เหตทุ จ่ี ะร อ้ งขอใหศ้ าลบ งั คบั ใหส้ มรสได้ ถา้ ไดม้ ขี อ้ ต กลงก นั ไวว้ า่ จ ะใหเ้ บยี้ ป รบั ในเมอ่ื ผิดสัญญาหมนั้ ข้อตกลงน ั้นเปน็ โมฆะ” เมื่อชายหญิงทำสัญญาหมั้นกันถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว คู่สัญญาหมั้นแต่ละฝ่ายต่างมีความ ผูกพันตามสัญญาหมั้นในอันที่จะต้องทำการสมรสกันตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ ถ้ามิได้กำหนดเวลาทำการสมรส กันไว้ก็ถือว่าจะต้องทำการสมรสกันในเวลาอันควร โดยฝ่ายหนึ่งอาจจะทวงถามและกำหนดเวลาให้อีกฝ่ายหนึ่ง จัดการทำการสมรสให้เสร็จสิ้นไปในระยะเวลานั้นก็ได้ อย่างไรก็ดีสัญญาหมั้นมีลักษณะพิเศษแตกต่างจาก สัญญาอื่นๆ ในแง่ท ี่ว ่าไม่ส ามารถฟ้องร ้องให้ป ฏิบัติตามส ัญญา โดยขอให้ศ าลบ ังคับให้ค ู่สัญญาฝ ่ายหนึ่งทำการส มรส กับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งเหมือนด ังเช่นสัญญาซื้อขาย ที่บังคับให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อได้ ทั้งนี้เพราะ การสมรสเป็นเรื่องที่ชายและหญิงจะต้องยินยอมพร้อมใจกัน สภาพแห่งสัญญาไม่เปิดช่องให้มีการบังคับกันได้ เหมือนเช่นสัญญาอ ื่นๆ แม้ชายห ญิงจ ะม าอยู่ก ินเป็นสามีภ ริยากันเป็นเวลาน านเท่าใดก ็ตาม ก็จะมาฟ ้องต่อศาลข อให้ บังคับให้ไปจ ดทะเบียนสมรสกันไม่ได้ ในกรณีที่มีการตกลงกันในเรื่องเบี้ยปรับสำหรับการผิดสัญญาหมั้น กฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า หากมีก ารตกลงก ันในเรื่องเบี้ยป รับไว้ ข้อตกลงดังกล่าวจ ะตกเป็นโมฆะ เนื่องจากกฎหมายต ้องการให้ชายห ญิงสมรส กันด้วยความเต็มใจ หากมีการตกลงเบี้ยปรับที่ค่อนข้างสูงอาจทำให้ชายหรือหญิงฝืนใจสมรสเพียงเพราะไม่อยาก โดนบังคับให้ชดใช้เบี้ยปรับตามสัญญาหมั้น เช่น นางสาวเหลืองทำสัญญาหมั้นกับนายขาวโดยกำหนดไว้ว่าหาก นายขาวผิดสัญญาหมั้นไม่ทำการสมรสกับตนภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันหมั้น นายขาวจะต้องใช้เงินเบี้ยปรับให้แก่ ตนเป็นเงิน 1,000,000 บาท ดังนี้ ข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับจำนวน 1,000,000 บาทนี้เป็นโมฆะ แม้ต่อมานายขาวจะ เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นนางสาวเหลืองจะเรียกร้องเอาเบี้ยปรับไม่ได้ แต่เฉพาะข้อตกลงเรื่องเบี้ยปรับเท่านั้นที่เป็น โมฆะ สัญญาห มั้นย ังค งส มบูรณท์ ุกป ระการ นางสาวเหลืองย ังม สี ิทธเิรียกค ่าท ดแทนอ ย่าง อื่นๆ ตามท ีก่ ฎหมายก ำหนด ไว้จากนายแ ดงได้ตามม าตรา 1439 (ซึ่งจ ะอธิบายต ่อไปในเรื่องท ี่ 1.3.2 การผิดสัญญาห มั้นแ ละการเรียกค ่าทดแทน) อุทาหรณ์ ฎ. 137/2481 ชายหญิงทำพิธีแต่งงานกันแล้ว แต่หญิงไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสดังนี้ ไม่ถือว่าชายหญิง นั้นได้ทำการสมรสถูกต้องตามกฎหมายแล้วและในกรณีเช่นนี้ชายเรียกของหมั้นและสินสอดคืนได้ การที่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดไม่ยินยอมจดท ะเบียนสมรสไม่เป็นเหตุให้อีกฝ ่ายหนึ่งร้องขอให้ศาลบ ังคับให้ไปจดท ะเบียนส มรสได้ แม้ว่าจะ ได้ทำพิธีแต่งงานกันแ ล้วก็ตาม มสธ มสธ มส
มส การหมน้ั 1-41 มสธ กจิ กรรม 1.3.1มสธ นายแดงทำสัญญาหม้ันกับนางสาวดำโดยกำหนดที่จะสมรสกันภายในสามเดือนนับแต่วันหม้ัน และ มสธ กำหนดไว้ด้วยว่าหากฝ่ายใดไม่ทำการสมรส ฝ่ายน้ันจะต้องใช้เบ้ียปรับเป็นเงิน 50,000 บาท ให้กับอีกฝ่ายหน่ึง เมื่อครบกำหนดสามเดือน นางสาวดำไม่ยินยอมทำการสมรสกับนายแดง ดังน้ี นายแดงจะเรียกร้องให้นางสาว ดำใชค้ า่ ป รบั และค า่ ท ดแทนไดบ้ า้ งหรอื ไม่ แนวต อบกจิ กรรม 1.3.1 ข้อตกลงเรือ่ งเบ้ียป รับเป็นโมฆะ ตามปพพ. มาตรา 1438 จึงเรยี กเบยี้ ปรบั ไม่ได้ แตส่ ญั ญาหม้นั ไมเ่ ปน็ โมฆะ นายแ ดงจึงมสี ทิ ธิเรยี กร อ้ งให้นางสาวด ำใชค้ ่าทดแทนไดต้ าม ปพพ.มาตรา 1439 เรอ่ื งท่ี 1.3.2 การผิดส ญั ญาหม้ันแ ละการเรยี กค ่าทดแทน เมื่อสัญญาหมั้นได้เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงต่างมีความผูกพันตาม สัญญาห มั้นว่าจะต้องท ำการสมรสกันในอนาคต หากต ่อมาท ั้งคู่ได้สมรสกันอย่างถ ูกต้องก ็จ ะถือว่าส ัญญาหมั้นที่ท ำไว้ มีผ ลส มบูรณ์ โดยเกิดสถานะของส ามีภรรยาก ันข ึ้นมา แต่ในทางต รงก ันข ้ามหากเกิดเหตุการณ์ท ี่ท ำให้ไม่ส ามารถเกิด ก ารส มรสข ึน้ ไดเ้ พราะฝ า่ ยห นึง่ ผ ดิ ส ญั ญาห มัน้ กรณนี จี้ ะน ำไปส กู่ ารเรยี กข องห มัน้ ค นื ร วมถ งึ ส ทิ ธใิ นก ารเรยี กค า่ ท ดแทน ดังที่บัญญัติไว้ใน ปพพ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440 มาตรา 1439 “เม่ือมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหม้ันอีกฝ่ายหน่ึงมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญงิ ผ ิดส ญั ญาห มน้ั ใหค้ นื ของห ม้นั แก่ฝา่ ยช ายด้วย” มาตรา 1440 “ค่าทดแทนน ัน้ อาจเรยี กได้ ดังต อ่ ไปน ี้ (1) ทดแทนค วามเสยี ห ายตอ่ กายหรือช่ือเสียงแ ห่งชายห รอื หญงิ นัน้ (2) ทดแทนค วามเสยี ห ายเนอ่ื งจากก ารท ค่ี หู่ มนั้ บดิ าม ารดาห รอื บ คุ คลผ กู้ ระทำก ารในฐ านะเชน่ บ ดิ าม ารดาได้ ใช้จ่ายห รอื ต อ้ งตกเป็นลกู หนีเ้นอื่ งในการเตรียมก ารสมรสโดยส จุ ริตแ ละตามสมควร (3) ทดแทนความเสียหายเน่ืองจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอ่ืนอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทาง ทำม าหาได้ของตนไปโดยสมควรด ้วยก ารค าดห มายว า่ จ ะได้มกี ารสมรส ในกรณีท่ีหญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นท่ีตกเป็นสิทธิแก่หญิงน้ันเป็นค่าทดแทน ท้ังหมดหรือเป็นส่วนหน่ึงของค่าทดแทนท่ีหญิงพึงได้รับหรือศาลอาจให้ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็น สทิ ธิแก่หญงิ นัน้ ก ็ได้” การผิดส ัญญาห มั้น หมายถ ึง การที่ค ู่ห มั้นฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ยอมทำการส มรสกับค ู่หมั้นอ ีกฝ่ายหนึ่ง ในการ ทำการหมั้นก ันน ั้นคู่หมั้นอาจตกลงกันว่าจะท ำการส มรสก ันตามวันเวลาท ี่กำหนดไว้ห รือเมื่อม ีเหตุก ารณ์ใดๆ เกิดข ึ้น มสธ มส
มส 1-42 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ ก็ได้ ในกรณีเช่นน ี้ยังไม่ถือว่ามีการผ ิดสัญญาหมั้นจนกว่าจะผ่านพ้นวันเวลาที่ตกลงก ันไว้ หรือเมื่อเหตุการณ์เช่นว่ามสธ นั้นเกิดขึ้นแล้ว เว้นแต่คู่สัญญาหมั้นจะได้บอกปฏิเสธไม่ยอมทำการสมรสโดยชัดแจ้ง หรือทำให้การสมรสเป็นการ พ้นวิสัยโดยได้ทำการสมรสกับบุคคลอื่นแล้ว สำหรับสัญญาหมั้นที่มิได้กำหนดวันเวลาที่จะทำการสมรสหรือมิได้มสธ กำหนดเงื่อนไขว่าจะทำการสมรสเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น โดยสัญญาแต่เพียงว่าจะทำการสมรสกันเช่นนี้ ถือว่า สัญญาหมั้นด ังก ล่าวม ีข้อต กลงก ันว่าจ ะทำการสมรสกันในเวลาอ ันควรเมื่อมีก ารท วงถาม อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่า การที่กฎหมายบัญญัติว่าต้องมีการชดใช้ค่าทดแทน เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นนี้ อาจเป็นการขัดต่อรัฐประศาสโนบาย (public policy) เพราะเป็นการข่มขืนใจให้ชายหญิงต้องทำการสมรสกันโดย เกรงว่าจะต้องถูกบังคับให้ชดใช้ค่าทดแทน ทำให้การสมรสเช่นว่านั้นอยู่ในฐานะไม่มั่นคง มีแนวโน้มที่จะเลิกรา จ ากก ันได้ง่าย กฎหมายบ างป ระเทศ เช่น ประเทศอ ังกฤษถึงก ับบ ัญญัติไว้ว่า สัญญาจ ะส มรสไม่มีผลเป็นส ัญญาท ี่ใช้ บังคับกันได้ตามกฎหมาย และห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อมีการผิดสัญญาจะสมรสไม่ว่าสัญญาเช่นว่านั้นจะ ไดก้ ระทำข ึน้ ณ ทแี่ หง่ ใด49 มลรฐั น วิ ยอรก์ ในประเทศส หรฐั อเมรกิ า ในก ารฟ อ้ งค ดเี พือ่ เรยี กค า่ ท ดแทนค วามเสยี ห ายจ าก การผิดสัญญาจะสมรสได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 247850 สัญญาจะสมรสที่ทำขึ้นในมลรัฐ นิวยอร์กจ ะไม่ให้สิทธิในการฟ้องคดีในหรือนอกมลรัฐเพื่อเรียกค่าทดแทนได้ เพราะถือว่าการให้ค่าทดแทนดังกล่าว เป็นการขัดต่อรัฐประศาสโนบาย อย่างไรก็ดีในมลรัฐวอชิงตันศาลสูงแห่งมลรัฐวอชิงตันโดยคำวินิจฉัยในที่ประชุม ใหญ่เต็มค ณะเมื่อ พ.ศ. 2520 ในค ดี Stanard v.Bolin, 1977, 88 Wash. 1 d 614 ว่า การฟ้องเรียกค ่าทดแทนอ ัน เนื่องมาจากการผิดสัญญาจะสมรสไม่เป็นการขัดต่อรัฐประศาสโนบายจึงฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ แต่ทั้งนี้จะเรียก ค่าทดแทนความเสียหายทางการเงินหรือฐานะทางสังคมที่คาดหวังจากการสมรสมิได้ เพราะการสมรสมิได้ถือว่าเป็น กิจการที่เกี่ยวก ับทรัพย์สินอ ีกต ่อไปแล้ว ผลข องก ารผิดสัญญาหมั้นได้บ ัญญัติไว้อ ย่างชัดเจนใน ปพพ. มาตรา 1439 โดยกำหนดให้ฝ่ายท ี่ผิดส ัญญา หมั้นต้องช ดใช้ค่าส ินไหมท ดแทนให้แ ก่อ ีกฝ ่ายห นึ่ง นอกจากน ั้นในก รณีที่ฝ ่ายหญิงเป็นฝ่ายผ ิดส ัญญาหมั้น ฝ่ายหญิง จะต้องคืนของหมั้นนั้นให้แก่ชายเนื่องจากการที่ตนได้รับทรัพย์นั้นเป็นเพราะตนตกลงจะสมรสกับชาย เมื่อตนเอง ไม่อ าจสมรสได้เพราะความผ ิดของต น ฝ่ายห ญิงก็จะต ้องคืนของห มั้นดังกล่าวก ลับไปเป็นของฝ่ายชายด ังเดิม ในทาง ตรงกันข ้ามห ากเป็นกรณีที่ช ายเป็นฝ่ายผ ิดส ัญญาห มั้น ฝ่ายหญิงก ็ไม่จำเป็นต ้องค ืนของหมั้นให้ชายแ ต่อ ย่างใด ในกรณีท ี่ทำการหมั้นก ันโดยชอบด้วยกฎหมายและมีเจตนาจ ะไปจดทะเบียนสมรสก ัน ต่อมาได้ม ีการกินอยู่ กันฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เมื่อฝ่ายหนึ่งรบเร้าให้จดทะเบียนสมรสแต่อีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธไม่ยอม จดท ะเบียนส มรส กรณีนี้ฝ ่ายท ี่ป ฏิเสธการจดทะเบียนสมรสเป็นฝ ่ายผ ิดสัญญาหมั้น ฎ. 5777/2540 โจทก์รบเร้าให้จำเลยพาโจทก์ไปจดทะเบียนสมรสหลายครั้งแต่จำเลยขอเลื่อนไปก่อน ครั้ง สุดท้ายที่โจทก์รบเร้าให้จำเลยไปจดทะเบียนสมรส จำเลยไม่พอใจแสดงอาการโมโหและขับไล่โจทก์ออกจากบ้าน โจทก์จึงต้องกลับม าที่บ ้านบ ิดาม ารดาโจทก์ เช่นน ี้ พฤติการณ์ดังก ล่าวฟ ังได้ว ่าจำเลยเป็นฝ ่ายผ ิดส ัญญาห มั้น จำเลย ซึ่งเป็นฝ่ายครอบค รองของห มั้นที่ต กเป็นสิทธิข องโจทก์ตั้งแต่หมั้นกันมาจึงต ้องคืนของหมั้นทั้งหมดให้แก่โจทก์ การท โี่ จทกจ์ ำเลยอ ยกู่ นิ ด ว้ ยก นั ฉ นั ส ามภี รยิ าแ ลว้ โจทกต์ อ้ งเลกิ ร า้ งจ ากจ ำเลยด ว้ ยเหตทุ จี่ ำเลยผ ดิ ส ญั ญาห มัน้ นั้น ย่อมเกิดความเสียหายแก่กายและชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นหญิงในการที่ทำการสมรสใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียก ค่าท ดแทนจ ากจำเลยได้ต าม ปพพ.มาตรา 1439 และมาตรา 1440 (1) 49 Section 1, Law Reform (Miscellaneous Provision) Act 1970. 50 Section 80 – A, Article 8, New York Civil Rights Law. มสธ มส
มส การหมนั้ 1-43 มสธ ฎ. 3366/2525 โจทกจ์ ำเลยไดห้ มัน้ ก นั แ ละแ ตง่ งานอ ยกู่ นิ เปน็ ส ามภี รยิ าก นั แ ลว้ แ ตจ่ ำเลยไมย่ อมไปจ ดท ะเบยี นมสธ สมรสกับโจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดใช้ค่าทดแทนได้ ตามม าตรา 1439 และมาตรา 1440มสธ ฎ. 4040/2524 การที่โจทก์จำเลยแต่งงานกันตามประเพณีแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับ โจทก์นั้น ถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาหมั้น จำเลยจึงต้องรับผิดคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 1439 และ 1437 อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่ทั้งชายและหญิงไม่ได้มีความประสงค์ที่จะไปจดทะเบียนสมรสกันเลยตั้งแต่ต้น เพียงแ ต่ต ้องการจ ัดง านแ ต่งงานต ามพ ิธีเท่านั้น ภายห ลังห ากม ีก ารท ะเลาะก ันด ้วยเรื่องอ ื่นท ี่ไม่ใช่เรื่องก ารจ ดท ะเบียน สมรส กรณีน ี้ฝ่ายหนึ่งจ ะอ้างว ่าอีกฝ ่ายผิดส ัญญาห มั้นโดยไม่ยอมไปจดท ะเบียนส มรสไม่ได้ ฎ. 7567/2540 ในว ันห มั้นแ ละแ ต่งงานต ามป ระเพณีร ะหว่างโจทกก์ ับจ ำเลยท ี่ 1 มีก ารจ ัดง านเลี้ยงแ ขกจ ำนวน มาก โดยไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเตรียมการสมรสไว้เลย แสดงว่าต่างฝ่ายต่างมุ่งหมายในการให้สินสอดของ หมั้นแ ละจัดงานแต่งงานก ็เพื่อให้ได้อ ยู่กินด ้วยกันม ากกว่าก ารไปจดทะเบียนสมรสก ัน ทั้งส องฝ ่ายจึงไม่นำพาต่อการ จดทะเบียนสมรส จนกระทั่งจำเลยที่ 1 ตั้งครรภ์และมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน โดยที่เรื่องที่ทะเลาะไม่ได้เกิดจาก เรื่องการจดทะเบียนสมรส เพิ่งจะมีการกล่าวอ้างถึงเรื่องผิดสัญญาหมั้นเพราะไม่มีการจดทะเบียนสมรสกันเมื่อ โจทก์แ ละจำเลยท ี่ 1 เกิดทะเลาะแ ละแยกกันอ ยู่ เมื่อท ั้งสองฝ ่ายต่างไม่น ำพาต่อการไปจดทะเบียนสมรสเช่นน ี้ โจทก์ จึงไม่อ าจอ้างการไม่จดทะเบียนสมรสเป็นเหตุว่าจ ำเลยที่1 เป็นฝ ่ายผิดสัญญา กรณีที่มีการหมั้นกันพร้อมทั้งกำหนดวันสมรสไว้แล้ว แต่ฝ่ายชายกลับขอเลื่อนและหนีหน้าหายไปไม่ยอม มาท ำการสมรสด้วย ฝ่ายช ายจึงเป็นฝ่ายผิดส ัญญาห มั้น แม้ต่อมาฝ่ายหญิงจะไปส มรสกับผ ู้อื่นก็ไม่ต้องคืนของห มั้น หรือชดใช้ค ่าท ดแทนแ ต่อ ย่างใด ฎ. 3319/2525 โจทก์กับจำเลยที่ 1 หมั้นกันโดยตกลงกำหนดวันทำการสมรสกันในเดือน 12 ปีกุน ต่อมา โจทก์ขอเลื่อนไปเป็นเดือน 4 ปีชวด แต่แล้วโจทก์ก็มิได้มาสมรสกับจำเลยที่ 1 กลับบอกให้รอต่อไปโดยไม่ได้มา ติดต่ออีกเลย ฝ่ายจำเลยก็ได้เตือนแล้ว จนเวลาล่วงไป 2 ปี จำเลยที่ 1 จึงสมรสกับชายอื่น ดังนี้แสดงว่าโจทก์มิได้ นำพาที่จะสมรสกับจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่จำเป็นต้องคืนของหมั้นหรือ ชดใช้ร าคาให้แก่โจทก์ ภายหลังจากที่มีการผิดสัญญาหมั้นแล้ว ผู้ที่มีสิทธิจะเรียกค่าทดแทนได้ คือ ตัวคู่หมั้นที่มิได้เป็นฝ่ายผิด สัญญาหมั้น รวมถ ึง บิดา มารดา หรือผู้ป กครองข องฝ ่ายนั้นอีกด้วย ฎ. 763/2526 การห มั้นเป็นสัญญาซึ่งฝ่ายชายท ำกับฝ่ายหญิงโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อชายกับหญิงจ ะทำ การสมรสกัน และสินสอดเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่ หญิงยอมสมรส สำหรับค ดีนี้โจทก์และนายเงินเป็นฝ่ายชายตกลงทำสัญญาหมั้นกับจำเลยท ั้งสามฝ่ายหญิงและมอบ สินสอดให้เพื่อให้นายเงินกับจำเลยที่ 3 ทำการสมรสกัน และโจทก์อ้างว่าจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นฝ่ายหญิงผิดสัญญา หมั้นแ ละไม่ย อมจดท ะเบียนส มรส ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นค ู่สัญญาย่อมมีอ ำนาจฟ ้องบังคับจำเลยท ั้งส ามซึ่งเป็นค ู่ส ัญญา อีกฝ่ายหนึ่งฐานผิดสัญญาหมั้นและเรียกสินสอดคืนได้และ ปพพ. มาตรา 1439 ได้บัญญัติถึงผู้มีสิทธิเรียกร้อง ให้รับผิดชดใช้ค่าทดแทนและคืนของหมั้นในกรณีผิดสัญญาหมั้น ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี มิได้ บัญญัติแต่เฉพาะชายห รือหญิงค ู่ห มั้นเท่านั้นที่ม ีส ิทธิเรียกร้องได้ ฉะนั้น โจทก์จึงม ีอำนาจฟ้องจ ำเลยท ั้งส ามได้ การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากการผิดสัญญาหรือผิดข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น กฎหมายบัญญัติไว้ เป็นพ ิเศษตามม าตรา 1439 ให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการห มั้นเท่านั้น ฉะนั้นห ากชายและห ญิงต กลงก ันว ่าจะทำการ มสธ มส
มส 1-44 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ สมรสหรือจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นแล้ว แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งก็เรียกมสธ ค่าทดแทนไ ม่ไ ด้ มสธ อุทาหรณ์ ฎ. 1971/2517 โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่า หากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลย จะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย โดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความ สมัครใจของโจทก์ มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนใ ห้โ จทก์ ฎ. 564/2518 การท ี่พนักงานสอบสวนแ นะนำให้โจทก์จำเลยไปจดทะเบียนสมรสก ันให้ถูกต ้องต ามก ฎหมาย และได้ทำบันทึกให้โจทก์จำเลยลงชื่อไว้ แต่จำเลยก็ไม่เลี้ยงดูหรือจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ เช่นนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาตามบันทึกของพนักงานสอบสวน เพราะมิได้มีข้อกำหนดว่าจำเลยต้อง ชดใช้ค ่าเสียห ายในกรณีท ี่มีก ารผ ิดสัญญาด ังก ล่าวและม ิใช่กรณีผิดสัญญาหมั้นด้วย ฎ. 3865/2526 สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยมีสาระสำคัญว่า ให้จำเลยจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หาก จำเลยไม่ยอมจดถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องใช้ค่าเสียหายนั้นเป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุนเพราะไม่ใช่ สัญญาหมั้น จึงไม่อาจบ ังคับได้ ตาม ปพพ. มาตรา 1439 ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน ฉะนั้นการตกลงจะ สมรสโดยไม่มีก ารห มั้น จึงอยู่นอกข อบเขตท ี่กฎหมายร ับรองไว้ จะน ำบ ทบัญญัติว ่าด้วยนิติกรรมม าใช้ในก รณีเช่นน ี้ ไม่ได้ เพราะบ ทบัญญัติว ่าด้วยการหมั้นและการส มรส ปพพ.ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะแ ล้ว ฎ. 45/2532 การเรียกค ่าท ดแทนเนื่องจากผ ิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการส มรสนั้น ปพพ.มาตรา 1439 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้น เมื่อโจทก์จำเลยตกลงจะสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น จึงนอกข อบเขตที่กฎหมายรับรอง แม้จ ำเลยไม่ปฏิบัติต ามท ี่ต กลงกันไว้ โจทก์ก ็เรียกค ่าทดแทนไม่ได้ ในการเรียกค่าทดแทนความเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาหมั้นนี้ คู่สัญญาฝ่ายที่ต้องเสียหายมิได้ มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายตามอำเภอใจของตนเอง กฎหมายได้กำหนดให้มีการเรียกค่าทดแทน อันเนื่องมาจาก การผิดส ัญญาหมั้นไว้แต่เฉพาะใน 3 กรณีเท่านั้น และหากม ีความเสียห ายเกิดข ึ้นแต่เฉพาะบางก รณี หรือไม่มีความ เสียหายเกิดขึ้นเลย คู่สัญญาก็มีสิทธิเรียกค่าทดแทนแต่เฉพาะเท่าที่มีความเสียหายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น เพราะ วัตถุประสงค์ในการให้ค่าทดแทนมิใช่เป็นการลงโทษคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา แต่เพื่อให้คู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความ เสียหายได้กลับคืนสู่สถานะเดิมเสมือนห นึ่งเช่นมิได้มีการผิดสัญญาเท่านั้น ค่าทดแทนจ ากการผิดสัญญาหมั้น ตาม ปพพ. มาตรา 1440 มี 3 กรณี ดังต ่อไปน ี้ 1. ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงน้ัน การที่คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิด สัญญาหมั้นอาจจะมีพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง โดยความเสียหายที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นในรูปแบบของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับร่างกาย หรือจะเป็นความเสียหายที่เกิดกับเชื่อเสียงก็ได้เช่นกัน กฎหมายจึงกำหนดให้มีการใช้ค่าทดแทน ความเสียหายต่อกาย เช่น ภายหลังจากที่มีการหมั้นแล้ว ชายหญิงจะมี ความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้นโดยอาจจะการกอดจูบลูบคลำ หรือการล่วงเกินกันในทำนองชู้สาว ซึ่งการกระทำ ทั้งหลายเหล่านี้สามารถสร้างความเสียหายขึ้นหากมิได้มีการสมรสกัน ส่วนความเสียหายแก่ชื่อเสียงนั้นก็เช่น หาก เกิดกรณีหญิงไม่ยอมสมรสกับชาย ชายอาจจะได้รับความรังเกียจแก่หญิงอื่นๆ รวมทั้งได้รับความอับอาย เพราะ อาจจะถูกชาวบ้านนินทาว่ามีข้อบกพร่องบางอย่างทำให้หญิงไม่ยอมสมรสด้วย ดังนั้นกฎหมายจึงบัญญัติไว้ให้ต้อง มสธ มส
มส การหมน้ั 1-45 มสธ ทดแทนความเสียหายให้แก่กัน อย่างไรก็ตามสำหรับความเสียหายทางจิตใจที่คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับเนื่องมสธ จากการผิดสัญญาหมั้นนั้นไม่ใช่ความเสียหายแก่กายหรือชื่อเสียงตามความหมายในมาตรา 1440 (1) ดังนั้นการที่ ชายไม่ยอมสมรสกับหญิงเป็นเหตุให้หญิงร้องไห้เสียใจเป็นอย่างมากเนื่องจากผิดหวังที่มิได้สมรสตามที่ตั้งใจไว้มสธ ค่าเสียหายในส่วนนี้จึงไม่สามารถที่จะเรียกค่าทดแทนได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติรับรองให้ทำ การเรียกร ้องก ัน การที่หญิงร่วมประเวณีกับชายคู่หมั้นของตนก่อนที่จะทำการสมรส เป็นความเสียหายที่เกิดแก่กาย แต่ ถ้าหากเป็นกรณีที่อยู่กินกันฉันสามีภริยาจะมีความเสียหายทั้งในส่วนร่างกายเนื่องจากมีการร่วมประเวณีและ ความเสียหายแก่ชื่อเสียงเพราะคนอื่นได้รับรู้ว่าชายหญิงนั้นอยู่กินด้วยกันด้วย ดังนี้ หากภายหลังชายปฏิเสธไม่ทำ การสมรสด้วยโดยไม่มีเหตุอันควร ชายจะเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้นและต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายแก่ร่างกายและ ชื่อเสียงของหญิง สำหรับค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ ศาลฎีกากำหนดโดยคำนึงถึงการศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะค รอบครัวของโจทก์ซึ่งเป็นหญิงมาอยู่ก ินก ับช ายจนมีบุตรด ้วยก ัน51 ฎ. 555/2550 ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 จำเลยทั้งสองทำการ หมั้นโจทก์ ตามสำเนาบันทึกหมั้น เอกสารหมาย จ.1 มีข้อตกลงว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะสมรสกันเมื่อโจทก์สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี หลังจากหมั้นแล้วโจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้อยู่กินร่วมกินฉันสามีภริยาระยะหนึ่งจนถึง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2545 โจทก์กับจำเลยที่ 2 ทะเลาะกันจึงไม่ได้อยู่กินร่วมกันต่อไปและไม่ได้ติดต่อกันเลย ภายหลังจำเลยที่ 2 บอกโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องการสมรสกับโจทก์แล้ว ต่อมาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โจทก์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทางฝ่ายโจทก์ได้ติดต่อจำเลยทั้งสองให้จำเลยที่ 2 สมรสกับโจทก์ โจทก์จึง แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า โจทก์ยังประสงค์ที่จะสมรสกับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่ยอมสมรสด้วย โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าทดแทนจากจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นหญิงคู่หมั้นมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ชายคู่หมั้น ฐ านผ ิดส ัญญาหมั้น เรียกค่าท ดแทนความเสียหายแ ก่ก ายและช ื่อเสียงเป็นจ ำนวนเงิน 120,000 บาทได้ ฎ. 4905/2543 ภายห ลังจากม ีก ารหมั้นกันแล้ว โจทก์มีค วามมั่นใจว ่าจ ะได้ส มรสก ับจำเลยจ ึงยอมให้จำเลย มีเพศสัมพันธ์มาตลอด โจทก์มีการศึกษาระดับปริญญาโทและเป็นข้าราชการระดับ 6 เป็นอาจารย์พิเศษคณะพัฒนา สังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเป็นอาจารย์พิเศษโรงเรียนนายร้อยตำรวจ การที่จำเลยทอดทิ้งโจทก์ ไปสมรสกับหญิงอื่นเช่นนี้ทำให้บุคคลอื่นมองว่าโจทก์ประพฤติไม่ดีถูกตั้งข้อรังเกียจหากโจทก์จะทำการสมรสใหม่ และถูกมองว่าโจทก์เป็นเพียงนางบำเรอข องจำเลยเท่านั้น เป็นที่เสื่อมเสียเกียรติยศ ชื่อเสียง วงศ์ตระกูล และฐานะ ทางสังคมของโจทก์อีกทั้งเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานของโจทก์อีกด้วยซึ่งจำเลยนำสืบหักล้างใน ข้อน ี้ไม่ได้ ดังน ั้นการกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจ ำนวนเงิน 200,000 บาทจ ึงเหมาะส มแล้ว ฎ. 982/2518 ชายหญิงหมั้นกันโดยตกลงกันว่าเมื่อทำพิธีแต่งงานกันแล้วจะไปจดทะเบียนสมรสภายใน 15 วัน แต่เมื่อได้ทำพิธีแต่งงานและได้อยู่ด้วยกัน 46 วัน แล้วชายไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิง แต่กลับขับไล่ หญิงให้กลับไปอยู่บ้านบิดา เช่นนี้ ชายผิดสัญญาหมั้นเป็นเหตุให้หญิงต้องได้รับความอับอายขายหน้า เสื่อมเสีย เกียรติยศช ื่อเสียงและร่างกาย ชายต้องร ับผิดตาม ปพพ. มาตรา 1440 (1) ฎ. 2626/2518 ชายไม่สมรสกับหญิงคู่หมั้นเป็นการผิดสัญญาหมั้น หญิงได้ร่วมประเวณีกับชายเป็นความ เสียหายต ่อกายและชื่อเสียงท ี่เรียกร้องค ่าทดแทนได้ตามม าตรา 1440 (1) 51 ฎ. 3366/2525 มสธ มส
มส 1-46 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่หมั้นของโจทก์ได้รับรองว่าจะแต่งงานกับโจทก์แน่นอน และโจทก์ก็มั่นใจเช่นนั้นมสธ จึงได้ตกเป็นภริยาของจำเลยที่ 1 ด้วยความสมัครใจ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรสกับโจทก์นั้น โจทกก์ ย็ ังค งม สี ิทธเิรียกค ่าท ดแทนค วามเสียห ายต ่อก ายได้ ทีศ่ าลก ำหนดค ่าท ดแทนค วามเสียห ายต ่อก ายแ ละช ื่อเสียงมสธ ของโจทก์เป็นเงิน 40,000 บาท เหมาะสมดีเล้ว โจทก์จำเลยได้หมั้นกันและแต่งงานอยู่กันเป็นสามีภริยากันแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับ โจทก์ตามส ัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผ ิดสัญญาห มั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จ ำเลยร ับผิดใช้ค่าทดแทนได้ตามม าตรา 1439 และมาตรา 1440 ในปัญหาเรื่องค่าทดแทนความเสียหายต่อกายและชื่อเสียงของโจทก์นั้น ศาลล่างทั้งสอง กำหนดค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์โดยพิเคราะห์ถึงการศึกษา อาชีพ และรายได้ของโจทก์ ฐานะของ ครอบครัวของโจทก์ และการที่โจทก์เป็นหญิงมาอยู่กินกับจำเลยจนมีบุตร แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วย โจทก์ต ้องได้ร ับค วามอ ับอายเสียช ื่อเสียง ทั้งเป็นการย ากท ี่จะส มรสใหม่ และต ามป ระเพณีจ ีนหญิงท ี่แ ต่งงาน 2 ครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอายมาก จึงกำหนดค่าทดแทนความเสียหายให้โจทก์เป็นเงิน 200,000 บาท นับว่าเหมาะสม ดีแล้ว ในการฟ้องเรียกค่าทดแทนค่าเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียง ผู้ที่เสียหายมีหน้าที่จะต้องนำสืบให้เห็นความ เสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากแม้จะมีการทำผิดสัญญาหมั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเกิดความเสียหายทุก กรณี เช่น การจัดงานหมั้นกันอย่างเอิกเกริก โดยมีการเชิญแขกมากมาย และมีการเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาเป็น ผู้ป ระกอบพ ิธีหมนั้ ต่อม าภ ายห ลังม กี ารผิดส ัญญาหมน้ั ลำพงั ข้อเทจ็ จ รงิ เพยี งเท่าน้ี ยังไม่ถ อื ว่าเปน็ การเสยี ช่ือเสียง52 ในก รณที ีฝ่ ่ายห ญิงเป็นฝ ่ายผ ิดส ัญญาน ั้นฝ ่ายช ายผ ูเ้ป็นโจทกต์ ้องม ีหน้าท ีน่ ำสืบซ ึ่งก ารนำส ืบถ ึงค วามเสียห าย ต่อร่างกายหรือชื่อเสียงค ่อนข ้างทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะก รณีหญิงป ฏิเสธไม่ยอมส มรสกับช ายน ั้นโดยปกติม ักจะไม่เกิด ความเสียหายแก่กายหรือชื่อเสียงของชาย เว้นแต่จะได้มีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีผลเสียหายเกิดขึ้นอย่าง ชัดเจน อทุ าหรณ์ ฎ. 1305/2514 การที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้น หาเป็นผลก่อให้เกิดความเสียหายแก่กายหรือ ชื่อเสียงของอ ีกฝ ่ายห นึ่งเสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียงเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่จำเลยผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่โจทก์ กล่าวลอยๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้จำเลย รับผิดชดใช้ค ่าท ดแทน ฎ. 3868/2531 หญิงฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากชายผิดสัญญาหมั้น แต่ข้อนำสืบของ หญิงไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า หญิงได้ร ับความเสียหายต่อชื่อเสียงในการที่ช ายผิดสัญญาหมั้นอย่างไรบ้าง การที่หญิง กล่าวอ้างลอยๆ ว่าได้รับความเสียหายยังไม่เพียงพอที่ศาลจะรับฟังว่าหญิงได้รับความเสียหายอันจะกำหนดให้ชาย รับผ ิดช ดใช้ค ่าท ดแทน 2. ค่าทดแทนความเสียหายเน่อื งจ าก ารที่คู่ห มน้ั บิดามารดา หรอื บ ุคคลผ กู้ ระทำก ารในฐานะเชน่ บดิ าม ารดา ได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหน้ีเนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการ สมรสที่จะเรียกค่าทดแทนจากกันได้นั้น หมายถึงค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ชายหญิงต้องกระทำเพื่อเตรียมการที่ชาย หญิงจะอยู่กันด้วยกันเป็นสามีภริยา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากจังหวัดที่ตนอยู่มาจังหวัดที่จะทำการสมรส หรือ ชายหญิงหมั้นกันกำหนดวันสมรสแน่นอนแล้ว ฝ่ายหญิงจึงได้ใช้จ่ายในการซื้อที่นอนหมอนมุ้งหรือเครื่องเรือน 52 ฎ. 90/2512 มสธ มส
มส การหม้นั 1-47 มสธ สำหรับเรือนหอ แต่ชายผิดสัญญาหมั้นไม่มาทำการสมรส ฝ่ายหญิงเรียกค่าทดแทนได้53 เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในข้อนี้มสธ กฎหมายจำกัดเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ไม่ได้ขยายไปถึงค่าใช้จ่ายในการ หมั้นด้วย ฉะนั้นค่าหมากพลูและขนมที่บรรจุในขันหมากห มั้น ค่าพาหนะและค่าเลี้ยงแขกในวันหมั้นเหล่าน ี้ไม่ถือว่ามสธ เป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส54 นอกจากนี้ ค่าเลี้ยงดูกันในวันทำพิธีแต่งงานก็ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่จะ เรียกค่าทดแทนแก่กันได้ตามมาตรา 144055 ทั้งนี้เพราะการที่ชายหญิงจะอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภริยาไม่จำเป็นต้อง ใช้จ่ายในกรณีเหล่านี้ การเลี้ยงดูกันเป็นเพียงประเพณีนิยมจะทำให้ใหญ่โตหรือทำเพียงเล็กน้อยหรือไม่ทำเลย ชาย หญิงก ็ยังคงอยู่ก ินเป็นส ามีภ ริยากันได้ สำหรับค่าใช้จ่ายในการปลูกเรือนหอนั้นนับว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสด้วย เพราะเรือนหอเป็น สถานท ี่ซ ึ่งคู่ส มรสจ ะได้อาศัยต ่อไปในเมื่อม ีก ารสมรส จึงน ่าจ ะเรียกค่าท ดแทนก ันได้ อทุ าหรณ์ ฎ. 384/2457 โจทก์จำเลยทำสัญญายอมความกันที่อำเภอตามที่กรมการอำเภอเปรียบเทียบโดยให้จำเลย ยกบุตรสาวให้โจทก์ ต่อมาโจทก์ให้คนไปพูดนัดแต่งงาน จำเลยกลับโลเลเสียเป็นทำนองว่าไม่เต็มใจ โจทก์ได้ปลูก สร้างเรือนหอตามสัญญาสิ้นเงินไป 1,200 บาท เช่นนี้จำเลยจึงต้องใช้เงิน 1,200 บาท ให้โจทก์ แต่โจทก์ต้องมอบ เรือนห อให้แก่จ ำเลย ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสที่จะเรียกเอาค่าทดแทนจากกันได้นี้ จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้กระทำ ไปโดย “สุจริต”และ “ตามสมควร” คำว่า “สุจริต” ในที่นี้หมายความว ่า ผู้กระทำไม่รู้ถึงเหตุท ี่จ ะไม่มีการส มรสเพราะ อีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหมั้น ส่วนคำว่า “ตามสมควร” หมายถึง การพิจารณาจากฐานะของฝ่ายที่เรียกค่าทดแทนว่า ค่าใช้จ่ายหรือการตกเป็นลูกหนี้สูงเกินฐานะหรือไม่56 ดังนั้นหากว่าการใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสเป็นการใช้จ่าย ไปโดยไม่สุจริตหรือไม่สมควรแล้วจะเรียกเอาจากกันไม่ได้ เช่น ชายประกาศถอนหมั้นแล้ว ฝ่ายหญิงยังดึงดันที่ จะซื้อที่นอนหมอนมุ้งมาประดับเรือนหอเพื่อเตรียมการสมรส ฝ่ายหญิงจะเรียกเอาค่าทดแทนไม่ได้ อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในข้อนี้แม้เป็นค่าใช้จ่ายที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของฝ่ายนั้นได้ออกไปก็เรียกเอาค่าทดแทนจากฝ่ายที่ ผิดสัญญาได้ นอกจากนี้ค่าทดแทนความเสียหายในข้อนี้จะต้องเป็นค่าทดแทนความเสียหายที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของคู่หมั้นได้ใช้จ่ายไปจริงๆ กล่าวคือ เรียกค่าเสียหายได้เท่าที่ตน เสียหายจริงเท่านั้นไม่ใช่ว่าจ่ายอะไรไปเท่าไรก็จะรียกได้ทั้งหมด เช่น บิดาของฝ่ายหญิงเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียม การสมรส โดยซื้อที่นอนหมอนมุ้งเป็นเงิน 30,000 บาท ต่อมาชายผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมทำการสมรสตามกำหนด และบิดาฝ่ายหญิงเอาที่นอนหมอนมุ้งนั้นออกขายได้เงินมา 12,000 บาท ฝ่ายหญิงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทน จากฝ่ายช ายได้เพียง 18,000 บาท เท่านั้น เพราะต นเสียหายเพียงเท่านั้น หรือถ้าหากข ายไปเท่าท ุนคือ 30,000 บาท ก็ถือว่าไม่เสียหายไม่ส ามารถที่จ ะมาเรียกร ้องค ่าทดแทนจากช ายตามม าตรา 1440 (2) ได้ จากบทบัญญัติ ปพพ. มาตรา 1440 (2) ได้กำหนดให้เห็นว่าผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนเพราะได้ใช้จ่ายหรือ ต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรส ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ตัวคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังขยายไปถึงบิดามารดา และบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดา เพราะการเตรียมการสมรสนั้น บางครอบครัวถือว่าเป็นงานสำคัญ สำหรับค รอบครัว ผู้ห ลักผ ู้ใหญ่ในบ้านมักจ ะเข้ามาช ่วยเหลือตระเตรียมก ารส มรส ดังน ั้น เมื่อบ ิดามารดา หรือบุคคล ผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือตกเป็นลูกหนี้เนื่องจากการเตรียมการสมรส บุคคลเหล่านี้ก็มีสิทธิ ที่จ ะเรียกค ่าทดแทนได้ 53 ฎ. 1217/2496 54 ฎ. 71/2493 55 ฎ. 1166/2487 56 ชาติชาย อัครวิบูลย์ เรื่องเดียวกัน น. 101 มสธ มส
มส 1-48 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ สำหรับบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดานั้น อาจจะไม่ถึงขั้นเป็นผู้ปกครองตามกฎหมายก็ได้ เช่นมสธ หญิงอยู่อาศัยกับป ้าม าต ั้งแต่เด็กจนโต โดยป ้าเป็นผู้ใหญ่จัดการง านต ่างๆ เพื่อเตรียมการส มรสให้ ดังนี้ ป้าจ ึงอ ยู่ใน ฐานะข องบุคคลผ ู้ก ระทำการในฐานะเช่นบ ิดาม ารดา ซึ่งมีสิทธิเรียกค่าท ดแทนในส่วนน ี้ได้มสธ การจ ดั ง านเลีย้ งง านแ ตง่ งาน ไมใ่ ชส่ าระส ำคญั ข องก ารส มรสเพราะก ารส มรสม สี าระส ำคญั อ ยทู่ กี่ ารจ ดท ะเบยี น สมรส ดังนี้หากมีค่าใช้จ ่ายในก ารเตรีย มงานด ังกล่าว ก็ไม่สามารถจ ะเรียกค่าทดแทนในส่วนน ี้ได้ ฎ. 945/2491 ค่าใช้จ ่ายท ี่เสียไปในก ารแ ต่งงานไมถ่ ือว่าเป็นค ่าใชจ้ ่ายในก ารเตร ีย มก ารส มรสต ามม าตรา 1440 (2) จึงฟ้องเรียกจากกันในเมื่ออ ีกฝ ่ายห นึ่งไม่ย อมจ ดท ะเบียนสมรสไม่ได้ ฎ. 1515/2506 ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูแขกที่จ่ายไปในพิธีแต่งงานที่ไม่มีการหมั้นและไม่สมบูรณ์เพราะไม่จด ทะเบียนสมรสนั้น หาอาจเรียกค่าทดแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ไม่ เพราะไม่เป็นการผิดสัญญาหมั้นและไม่เข้าลักษณะ อันเป็นค ่าใช้จ ่ายในการเตรียมการส มรสตามมาตรา 1440 (2) ฎ. 90/2512 ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูกันในวันทำพิธีแต่งงาน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสอันจะ เรียกค ่าทดแทนกันได้ ฎ. 2086/2518 ค่าอาหารเลี้ยงพระและแขกในวันแต่งงาน ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเนื่องในการเตรียมการสมรสตาม มาตรา 1440 (2) จึงเรียกค ่าทดแทนไม่ได้ ต่อมามีคำพิพากษาฎ ีกาวินิฉัยในเรื่องค่าชุดแต่งงานว่า หญิงชายต่างมีฐานะดีทำการหมั้นและแต่งงาน การ ที่หญิงซื้อช ุดแต่งงานเพื่อเข้าพ ิธีจำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 28,000 บาท เป็นค ่าใช้จ ่ายอ ันสมควรในการเตร ียมการสมรส สามารถเรียกค ่าทดแทนได้57 จากคำพิพากษศาลฎีกาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าการที่จะใช้สิทธิเรียกค่าทดแทนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายหรือตก เป็นลูกหนี้เนื่องจาการเตรียมการสมรส จะมีการจำกัดขอบเขตของค่าใช้จ่ายไว้ค่อนข้างจำกัด โดยมีสาเหตุจาก วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันคุ้มครองฝ่ายที่อาจเสียหายในการหมั้นโดยมาตรการต่างๆ และมาตรการต่างๆ ที่กำหนด เพื่อป ้องกันค ุ้มครองฝ ่ายท ีอ่ าจจ ะเสียห ายน ั้นจ ะต ้องไมร่ ุนแรงห รือก ว้างจ นเกินไป จนท ำใหฝ้ ่ายท ีต่ ้องช ดใชค้ ่าเสียห าย ในก ารห มั้นเลือกท ี่จะส มรสดีก ว่ายอมท ี่จ ะจ่ายค ่าทดแทน58 3. ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการท่ีคู่หม้ันได้จัดการทรัพย์สินหรือการอ่ืนอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทาง ทำมาหาได้ของตน ไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส ค่าทดแทนในข้อนี้จำกัดเฉพาะกรณีชาย หญิงคู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินเกี่ยวแก่อาชีพ หรือจัดกิจการในทางทำมาหาได้ของตนในทางที่เสียหาย โดยคาด หมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงเลิกทำการค้าหรือขายที่ดิน ทรัพย์สินของตนในกรุงเทพมหานครโดยขาดทุน เพื่อเตรียมจะสมรสกับชายที่อยู่ต่างจังหวัดหรือหญิงประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ได้เลิกทำอาชีพนี้เพื่อไปทำการ สมรส เหล่าน ี้ หญิงช อบที่จ ะเรียกค ่าทดแทนได้ แต่ในทางต รงก ันข้าม หากข ายทรัพย์สินหรือจำหน่ายกิจการได้กำไร ความเสียหายก็ไม่มี จึงไม่สามารถที่จะมาเรียกค่าทดแทนจากกัน นอกจากนั้นค่าทดแทนที่สามารถเรียกได้ตาม มาตรานี้จำกัดอยู่ที่การจัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตน หากเป็นการจัดการ ในด้านอื่น เช่น หลังจากการหมั้น ฝ่ายหญิงขายทรัพย์สินบางส่วนเพื่อที่จะเดินทางไปศัลยกรรมใบหน้าที่ประเทศ เกาหลี เพราะต้องการที่จะเตรียมความสวยงามในการทำพิธีสมรส กรณีเช่นนี้ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นก็ไม่อาจเรียก ค ่าทดแทนได้เพราะไม่เกี่ยวก ับทรัพย์สินห รือก ารอื่นอันเกี่ยวแ ก่อาชีพห รือทางท ำม าหาได้ของตนแ ต่อย่างใด 57 ฎ. 2165/2538 58 ชาติชาย อัครวิบูลย์ เรื่องเดียวกัน น. 67 มสธ มส
มส การหมั้น 1-49 มสธ ค่าทดแทนในหัวข้อนี้ก ฎหมายไม่ได้บ ัญญัติว่าจะต ้องกระทำไปโดยสุจริตและตามสมควรเหมือนค่าทดแทนมสธ ในข้อที่แล้ว แต่ก็น่าจะมีความหมายว่าคู่หมั้นจะต้องกระทำไปตามสมควรด้วย เช่น ชายประกาศถอนหมั้นแล้วแต่ หญิงก็ยังขายทรัพย์สินหรือขายกิจการของตนไปในราคาขาดทุน เช่นนี้ก็เป็นเรื่องที่หญิงนำความเสียหายมาสู่ตนเองมสธ ซึ่ง ปพพ. มาตรา 223 บัญญัติไว้ว่า “ถ้าฝ่ายผู้เสียหายได้มีส่วนทำความผิดอย่างใดอย่างหน่ึง ก่อให้เกิดความเสียหาย ด้วยไซร้ ท่านว่าหน้ีอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็น ประมาณ ข้อสำคัญก็คือว่าความเสียหายน้ันได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อย่ิงหย่อนกว่ากันเพียงไร” ฉะนั้นกรณี เช่นนี้ห ญิงจึงจ ะเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากช ายไม่ได้ ในข อบเขตข องบ ุคคลท ีส่ ามารถเรยี กค ่าท ดแทนค วามเสยี ห ายในส ว่ นน ีน้ ั้น กฎหมายก ำหนดใหผ้ ูท้ ีม่ สี ิทธเิรยี ก ได้จำกัดไว้เพียงแค่ตัวชายหรือหญิงที่เป็นคู่หมั้นเท่านั้น ไม่ได้ขยายความครอบคลุมถึงบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นที่ กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาแต่อย่างใด ดังนั้น หากว่าบิดาของคู่หมั้นขายกิจการเพื่อเตรียมย้ายไปอยู่กับบุตรสาว หลังจากที่บุตรสาวจะทำการสมรส แม้ฝ่ายชายผู้เป็นคู่หมั้นจะทำผิดสัญญาหมั้น บิดาของฝ่ายหญิงก็ไม่อาจเรียก ค่าทดแทนในส่วนน ี้ได้ อุทาหรณ์ ฎ. 3366/2525 โจทก์จำเลยได้หมั้นกันและแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภริยากันแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมไปจด ทะเบียนสมรสกับโจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยรับผิดชดใช้ ค่าทดแทนได้ตามมาตรา 1439 และมาตรา 1440 สำหรับค่าทดแทนความเสียหายอันเนื่องจากการที่โจทก์จัดการ เกี่ยวกับอาชีพ โดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เนื่องจากก่อนรับหมั้นจำเลย โจทก์ทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่หลังจากแต่งงานกับจำเลยแล้วประมาณ 1 เดือนเศษ โจทก์ได้ลาออกเพื่อมาช่วยงานบ้านจำเลยซึ่งเปิดเป็นร้าน ขายหนังสือและเครื่องเขียนต่างๆ เมื่อโจทก์ได้จัดการเกี่ยวกับอาชีพโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการ สมรส แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ เช่นนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าทดแทนความเสียหายในส่วนนี้ ได้ โดยก ำหนดค่าทดแทนให้โจทก์โดยเฉลี่ยเดือนล ะ 1,000 บาท ตั้งแต่โจทก์ล าอ อกจ ากบ ริษัท จนกระทั่งถึงวันที่ได้ ทำงานใหม่ร วมเป็นเงิน 14,567 บาท ปพพ. มาตรา 1440 วรรคสอง ได้บ ัญญัติถึง การกำหนดจ ำนวนค ่าท ดแทนในกรณีใดกรณีหนึ่งห รือท ั้งสาม กรณนี ี้ โดยใหศ้ าลเปน็ ผ มู้ อี ำนาจท จี่ ะก ำหนดจ ำนวนต ามท เี่ หน็ ส มควรซ ึง่ เปน็ การเปดิ ใหศ้ าลส ามารถใชด้ ลุ พนิ จิ พ จิ ารณา ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาหมั้นนั้นมากน้อยเพียงใด ศาลจะคำนึงถึงการที่หญิงได้รับของหมั้นไป แล้วด้วยหรือไม่ก็ได้ ศาลมีอำนาจที่จะชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมด หรือเป็น ส่วนห นึ่งของค ่าทดแทนที่หญิงพ ึงได้รับ หรือศาลอ าจให้ค่าท ดแทนโดยไม่คำนึงถ ึงของห มั้นที่ตกเป็นสิทธิแ ก่หญิงน ั้น เลยก็ได้เช่นกัน บทบัญญัติที่ว่านี้เป็นการให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทดแทนเพื่อความเป็นธรรมในกรณี ที่ชายเป็นฝ่ายผิดส ัญญาหมั้นเพราะหญิงอาจจะได้ท ั้งของห มั้นและค่าทดแทนเป็นจ ำนวนม ากเกินส มควรก็ได้ ตวั อยา่ ง 1. ชายนำเงินสดจำนวน 500,000 บาทมาหมั้นหญิง หญิงได้ใช้จ่ายเงินในการซื้อที่นอนหมอนมุ้งเป็น การเตรียมการสมรสโดยสุจริตเป็นเงิน 30,000 บาท เช่นนี้ศาลอาจมีคำพิพากษาชี้ขาดว่าของหมั้นมีราคามากเกิน ค ่าเสียหายแล้ว ชายไม่ต้องช ดใช้ค ่าท ดแทนค วามเสียห ายให้แ ก่ห ญิงอีกก็ได้ 2. ชายนำแหวนเงินราคา 1,000 บาทมาหมั้นหญิง ภายหลังจากหมั้นต่อมาชายผิดสัญญาไม่ยอมทำการ สมรสโดยหนีไปอยู่ที่อื่น กรณีเช่นนี้ศาลอาจพิจารณาว่าของหมั้นมีราคาเล็กน้อย ไม่อาจชดใช้ค่าเสียหายต่อร่างกาย ได้อย่างเป็นธรรม ศาลจึงมีคำสั่งให้ชายจ่ายค่าทดแทนเพิ่มเติมเป็นเงิน 30,000 บาทโดยให้ราคาแหวนเงินเป็นส่วน หนึ่งของค ่าท ดแทนได้ มสธ มส
มส 1-50 กฎหมายแพ่ง 3: ครอบครัว มรดก มสธ 3. ชายนำทองมูลค่า 10,000 บาทมาหมั้นหญิง หลังจากการหมั้น ชายและหญิงได้กินอยู่กันฉันสามีภริยามสธ ต่อม าช ายได้ไปจดทะเบียนส มรสกับห ญิงอ ื่นอย่างเปิดเผย และข ับไล่หญิงคู่หมั้นออกไปจ ากบ ้าน นอกจากน ั้นยังป่าว ประกาศให้คนในห มู่บ้านท ราบว ่าหญิงคู่หมั้นเป็นคนไม่ดีเนื่องจากม าอยู่กินกับตนโดยไม่ได้ทำการสมรส กรณีเช่นนี้มสธ ถือว่าฝ่ายชายเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นและก่อความเสียหายให้แก่หญิงอย่างร้ายแรง ศาลสามารถกำหนดค่าทดแทน เป็นจ ำนวน 100,000 บาทโดยที่ไม่ต ้องพ ิจารณาถ ึงม ูลค่าของข องห มั้นที่หญิงรับไว้เลยก็ได้ สำหรับในกรณีที่หญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นโดยไม่ยอมสมรสกับชาย ฝ่ายหญิงจะต้องคืนของหมั้นให้ แก่ฝ่ายชาย ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1439 เพราะของหมั้นเป็นของขวัญที่ฝ่ายชายให้แก่หญิงโดยมีเงื่อนไขว่า หญิงจะต้องสมรสกับชาย เมื่อหญิงเป็นฝ ่ายที่ไม่ย อมสร สด ้วยโดยไม่มีเหตุท ี่จะอ้างกฎหมายได้ หญิงก็ไม่มีสิทธิท ี่จ ะ เก็บข องหมั้นดังก ล่าวไว้ อย่างไรก ็ดี แม้ก ฎหมายจะเปิดช่องทางให้ศ าลสามารถใช้ดุลพินิจก ำหนดค ่าทดแทนได้ แต่ในการ พิจาณายัง ต้องค ำนึงถึงปัจจัยท ี่เกี่ยวข้อง ดังเช่น มาตรา 1447 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ค่าทดแทนอ ันพ งึ ชดใช้แ กก่ ันต ามหมวดนี้ ใหศ้ าลวินจิ ฉยั ตามควรแ กพ่ ฤตกิ ารณ”์ ซึ่งป ัจจัยที่ต้องนำม าพ ิจารณา ได้แก่ การศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะครอบครัว หญิงนั้นเคยผ่านการสมรสมาก่อนหรือไม่ ระยะเวลาที่ชายหญิงอยู่กินกันฉันสามีภริยา รวมถึง ปัจจัยในเรื่องที่หญิง ได้ตั้งครรภ์ห รือไม่อ ีกด ้วย59 ในกรณีที่มีการหมั้น ฝ่ายชายอาจจะได้มีการให้สินสอดแก่บิดามารดาของฝ่ายหญิง ต่อมาเมื่อมีการผิด สัญญาหมั้นเกิดขึ้น มูลค่าของสินสอดจะไม่ถูกนำมาพิจารณาในส่วนของค่าทดแทนด้วย เนื่องจากกฎหมายกำหนด ให้ศ าลพ ิจ าณาในส ่วนข องม ูลค่าข องห มั้นเปรียบเทียบก ับค วามเสียห าย ไมไ่ด้ก ำหนดใหพ้ ิจารณาถ ึงม ูลค่าข องส ินสอด ดังน ั้นแม้ฝ ่ายชายจะให้ส ินสอดแ ก่ฝ ่ายห ญิงม ากเพียงใดก็ไม่อาจน ำมาหักกับค ่าทดแทนที่ต นต ้องจ่ายได้แต่อ ย่างใด อทุ าหรณ์ ฎ. 2086/2518 ชายผิดสัญญาหมั้น ศาลกำหนดค่าทดแทนความเสียหายเกี่ยวกับชื่อเสียงโดยพิเคราะห์ ฐานะและสภาพความเป็นอยู่ของหญิง แต่หักจำนวนเงินหมั้นที่ได้รับไว้แล้วในภายภาคหน้า เมื่อหญิงเป็นฝ่ายผิด เงื่อนไขเองท ี่ไม่ยอมสมรสกับช าย ฝ่ายห ญิงจ ึงต ้องคืนข องหมั้นให้แก่ช ายด ้วย ฎ. 1223/2519 จำเลยหมั้นโจทก์และได้กำหนดจะสมรสกันหลังจากโจทก์ไว้ทุกข์ให้บิดาแล้ว 3 ปี ระหว่าง นั้นโจทก์ได้ตั้งครรภ์กับจำเลย จำเลยแนะนำให้ทำแท้ง เมื่อโจทก์ทำแท้งแล้วเกิดป่วยหนัก จำเลยหายหน้าไปและ กลับไปสมรสกับหญิงอื่น โจทก์ได้รับความเสียหายทางร่างกาย ชื่อเสียง และต้องเจ็บป่วยเสียเงินรักษาโดยจำเลย มิได้สนใจ เช่นนี้จ ำเลยจ ะต ้องใช้ค่าทดแทนค วามเสียห ายดังกล่าว ส่วนของหมั้นอ ันม ีร าคาเพียงเล็กน ้อยย่อมต กเป็น สิทธิแก่โจทก์ จำเลยจะอ ้างว ่าโจทก์ได้ข องห มั้นเป็นการเพียงพอแล้วห าได้ไม่ 59 ฎ. 5777/2540 มสธ มส
Search