Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore KM-INNOVATION PLUS

KM-INNOVATION PLUS

Published by stabun.dpm, 2022-03-14 04:07:04

Description: KM-INNOVATION PLUS

Search

Read the Text Version

รายงานการจดั การความรใู้ นองคก์ ร กรณศี กึ ษา การฝึกซอ้ มแผนอคั คภี ยั ในยคุ 5G โดยสมาชิกกลมุ่ Innovation Plus รายงานฉบบั นีเ้ ป็นส่วนหนง่ึ ของหลักสูตรเจ้าหนา้ ทบ่ี ริหารงานปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภยั (จบ.ปภ. รนุ่ ท่ี 19)

รายงานการจัดการความรู้ในองค์กร กรณศี กึ ษา การฝึกซอ้ มแผนอคั คภี ัยในยุค 5G 1. สิบเอกทรงศักด์ิ โดยสมาชิกกลมุ่ Innovation Plus 2. นายติณณภพ 3. นายอภริ ักษ์ นิลเลาะห์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั จังหวดั ปัตตานี 4. นางสาวบญุ มา กฤชธนากร กองมาตรการปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั 5. นายนรุตมช์ ยั รุจริ ะภูมิ สำนกั งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวดั เชยี งใหม่ สาขาฝาง 6. นางสาวสภุ าพร กรายไทยสงค์ กองช่วยเหลอื ผู้ประสบภยั 7. นางสาวศิริพร เปานลิ สำนกั งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจงั หวดั ชยั ภูมิ 8. นางศวิ พร วงษจ์ ำปี สำนักงานป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั จังหวัดจนั ทบรุ ี 9. นางสาวสุลาวลั ย์ เดชคง สำนกั งานปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอ่างทอง ณ ตะกั่วทงุ่ สำนักงานปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั จังหวดั นครศรธี รรมราช เพชรนคร สำนกั งานปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั จังหวดั ตราด

คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการจัดทำ Knowledge Management ของกลุ่ม Innovation Plus หัวข้อ “การฝึกซ้อมแผนอัคคีภัยในยุค 5G” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปน็ แนวทางในการใชเ้ ทคโนโลยีสมยั ใหม่ มาปรับใช้ในการซ้อมด้านการซ้อมแผนอัคคีภัย ซ้อมดับเพลิง โดยสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่าง การฝึกซ้อม สามารถฝึกซ้อมได้ทุกเวลา มีรูปแบบการฝึกที่หลากหลาย ประหยัดค่าใช้จ่าย และยังสามารถ ประเมนิ ผลได้อยา่ งเป็นรปู ธรรมอกี ด้วย คณะผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความสนใจ รวมถึง สามารถต่อยอดในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในการจัดการสาธารณภัยประเภทอื่น อันจะเป็นประโยชน์ ตอ่ สว่ นรวมในอนาคตต่อไป คณะผู้จัดทำกลุ่ม Innovation Plus

สารบญั หน้า เรื่อง 1 หลกั การและเหตผุ ล 2 การวิเคราะห์สภาพแวดลอ้ ม (SWOT Analysis) 4 แนวคิดและทฤษฎี 8 ขอ้ ดีของการนำเทคโนโลยี AR และ VR มาประยกุ ตใ์ ชใ้ นดา้ นการฝึกซอ้ มการดับเพลงิ 8 ขอ้ จำกดั ของการนำเทคโนโลยี AR และ VR มาประยกุ ตใ์ ช้ในดา้ นการฝึกซ้อมการดบั เพลงิ 10 การใช้ VR เพื่อพัฒนางานดา้ นการฝึกซ้อมแผนอคั คภี ัยในยุค 5G 12 สรปุ 12 ข้อเสนอแนะ 13 QR Code

1 การฝึกซอ้ มแผนอคั คภี ยั ในยคุ 5G หลกั การและเหตุผล พระราชบัญญตั ิป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 มาตรา 11 กำหนดให้กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของประเทศ มีหน้าที่จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติการศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติและประสานการปฏิบั ติการสนับสนุน และช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคเอกชน ในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยและการสงเคราะห์เบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยผู้ได้รับภยนั ตรายหรือผู้ได้รับความเสียหาย จากสาธารณภัย การแนะนำ ให้คำปรึกษาและอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่หน่วยงาน ของรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาคเอกชน การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล การดำเนินการตามแผน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ ประกอบกับกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2557 เพื่อให้สามารถขับเคลื่อน ภารกิจด้านการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2555 – 2559 เป็นกรอบ ทิศทางในการดำเนินงานและการพัฒนา งานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน สืบเนื่องจากสภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทั้งด้านนโยบายการบริหารประเทศ ของรัฐบาล ที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การบูรณาการเพื่อลดความซ้ำซ้อน มีความโปร่งใส และสามารถ ตรวจสอบได้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงทบทวนและปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2555 - 2559 เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อใช้ประโยชน์เป็นกรอบ ทิศทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และระเบียบ ว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติม ลักษณะ 2 การบริหารงบประมาณรายจ่ายสำหรับ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การบริหารงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสอดรับกับ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงสามารถสนองตอบต่อนโยบายการบริหารของกรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยตอบสนอง ต่อการบริหารงานของประเทศและแนวทางแผนยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) รวมถึงแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และแผนยทุ ธศาสตรก์ ระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2555 – 2561

2 การวิเคราะห์สภาพแวดลอ้ ม (SWOT Analysis) จากข้อมูลการดำเนินงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ผ่านมา ด้วยความมุ่งหวัง ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นองค์กรหลักในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ จึงได้กำหนดให้มีกระบวนการในการวางแผนเชิงยทุ ธศาสตร์โดยนำผลการดำเนนิ งานท่ีผ่านมาปัญหาข้อจำกัด และ ปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT ANALYSIS) รวมทัง้ มกี ารประชุมเชิงปฏิบตั ิการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์กรมป้องกนั และบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2560– 2564 ระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2558 - มกราคม 2559 สรุปเป็นประเด็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม ของกรมปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั ดงั น้ี จุดแข็ง 1. มีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กำหนดให้กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภยั เป็นหนว่ ยงานกลางของรัฐในการขบั เคลอ่ื นงาน ด้านการป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั 2. บคุ ลากรมคี วามรู้ความสามารถในหลายสาขา สามารถนำความรู้และทักษะท่ีหลากหลายมาใช้ ในการจดั การสาธารณภัย 3. ความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการสาธารณภัย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูพื้น ทเี่ กิดสาธารณภัย อย่างทันท่วงทแี ละทวั่ ถึง 4. มีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติเป็น แนวทางกรอบการดำเนินการจัดการ สาธารณภัยของ ประเทศ 5. มสี ำนกั งานปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัยครอบคลมุ ทกุ จังหวดั 6. มีอำนาจในการใช้วงเงินทดรองราชการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการฯ ตามระเบียบ กระทรวงการคลังวา่ ด้วยเงินทดรองราชการเพอ่ื ช่วยเหลอื ผู้ประสบภยั พบิ ตั ิกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 7. ผู้บริหารหน่วยงานที่มีความเข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์และ ประสบการณ์สามารถประสาน ความร่วมมอื จากทกุ ภาคส่วน และแปลงนโยบายไปสูก่ ารปฏบิ ัตไิ ด้เปน็ อย่างดี 8. มีสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พัฒนา ฝึกอบรม ฝึกซ้อม และการปฏิบตั ิ แกบ่ คุ ลากรของหนว่ ยงานในภาครฐั เอกชน และประชาชน จดุ อ่อน 1. ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและ ทักษะเฉพาะด้าน ขาดทักษะ ในการปฏิบตั งิ าน 2. เครอื่ งมือ อุปกรณ์เคร่อื งจักรในการดำเนนิ งาน ไมเ่ พียงพอ ขาดความพร้อม 3. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล ด้านสาธารณภัยระดับประเทศที่ยังขาด ความเชือ่ มโยง สมบูรณ์เป็นเอกภาพ ไม่เปน็ รปู แบบและมาตรฐาน

3 4. ขาดความต่อเนื่องในการประชาสัมพันธ์ให้สังคม ได้ทราบภารกิจ บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ หนว่ ยงาน 5. งานวิจัยและพัฒนาในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ไม่ได้นำมาปรับปรุงและพัฒนา การบรหิ าร จดั การดา้ นสาธารณภัย 6. ไมม่ หี น่วยงานระดับอำเภอ ทำให้การเช่ือมโยง ประสานงาน สนับสนุนในพื้นท่ีไม่คล่องตัวและ มีประสิทธิภาพเท่าท่คี วร 7. ขาดการผลกั ดันใหเ้ ครือข่ายทอ้ งถิ่นเข้ามาบริหาร จัดการสาธารณภยั โอกาส 1. เครือข่ายการทำงานด้านการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ครอบคลุมทุกพื้นที่ หน่วยงาน ที่เกี่ยวขอ้ ง ในการปฏิบตั งิ านรว่ มกัน ภาครัฐ เอกชน ทอ้ งถน่ิ ภาคประชาชน มลู นธิ ิอาสาสมคั ร ชมุ ชน 2. รัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ สาธารณภัย และให้การสนบั สนุนอยา่ งต่อเน่ือง 3. ประชาชนมีความสนใจเรื่องสาธารณภัยมากขึ้น เกิดการตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วม ในกระบวนการ ลดความเส่ียงจากภัยพบิ ัติ 4. การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั 5. มีหน่วยงานภาคีเครอื ข่ายทั้งในและต่างประเทศให้ ความร่วมมือและการสนบั สนนุ องค์ความรู้ ในการบริหาร จัดการสาธารณภัย 6. กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน เป็นโอกาส ในการเพิ่มขีดความสามารถ องค์ความร้เู จา้ หนา้ ทแี่ ละสรา้ งความรว่ มมอื ในการ ทำงานรว่ มกัน 7. ข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับภัยพิบัติในประเทศอื่นๆ สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทาง ในการปอ้ งกัน และนำความรไู้ ปถ่ายทอดได้ 8. นโยบายรฐั บาลใหค้ วามสำคัญกบั การจดั ทำคลังขอ้ มลู ดา้ นสาธารณภยั แหง่ ชาติ 9. แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ช่วยผลักดันให้ภาคีเครือข่ายดำเนินงาน ไปในทศิ ทาง เดียวกัน ภัยคุกคาม 1. สาธารณภัยที่มีแนวโน้มของความรุนแรงและมี ความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การบริหาร จัดการ สาธารณภัย มคี วามยงุ่ ยากและซับซอ้ นมากข้นึ 2. ความร่วมมือขององค์กรเครือข่าย และการบูรณาการ แผนงานกับหน่วยงานภายนอกยังไม่ สมบรู ณท์ ำให้ แกป้ ญั หาแบบแยกสว่ น ส่งผลตอ่ ประสิทธภิ าพและ ประสิทธผิ ลในการแกป้ ญั หาภยั พบิ ัติ 3. ความคาดหวังของประชาชน ผ้ปู ระสบภัย และหนว่ ยงานทเี่ กี่ยวข้อง

4 4. ประชาชนขาดความรู้จิตสำนึก ความตระหนักของ ประชาชนในการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย รอรับ ความชว่ ยเหลือจากภาครฐั 5. สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง 6. การขยายตัวของชุมชนเมืองและขาดการวางผังเมือง ที่ดีทำให้เกิดพื้นที่เสี่ยงภัยและก่อให้เกิด ความเสยี หาย ทีร่ ุนแรง 7. การใช้ระเบยี บและหลักเกณฑเ์ พ่ือช่วยเหลือ ผู้ประสบภยั ขาดความคล่องตัว มขี น้ั ตอนมาก 8. นโยบายด้านอตั รากำลงั ของรฐั บาลไม่สอดคล้องกับ ความต้องการอตั รากำลังของกรม จากข้อมูลการวิเคราะห์ SWOT Analysis ข้างต้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรบั การดำเนินการด้านการจดั การสา ธารณภัย โดยใช้กลยุทธ์เชิงรุก (SO) คือเรานำจุดแข็ง (Strength) ที่เรามีสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย ประกอบกับนำเอาโอกาส (Opportunity) คือ การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงเป็นแนวในการนำเอาระบบ VR มาใช้ในการซ้อมแผนอัคคีภยั แนวคดิ และทฤษฎี หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระมหาภมู ิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ห่วงที่ 3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในด้านการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอยู่ ภายใต้เง่อื นไขความรู้ และคุณธรรม ทศพร ศิริสัมพันธ์ (2543 : 146) กล่าวว่า การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการบริหารที่เน้นการ วางแผน การกำหนดวตั ถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยทุ ธ์การดำเนินงานแบบมสี ่วนรว่ ม ผู้บรหิ ารในแตล่ ะระดับของ องค์การต้องยอมรับและคำนึงถึงผลงาน รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการจัดวางระบบการตรวจสอบผลงานและ การใหร้ างวัลตอบแทนผลงาน (Performance Related) ทิพาวดี เมฆสวรรค์ (2543 : 12) ได้ให้ความหมายของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ว่าเป็นการ บรหิ ารโดยมุ่งเนน้ ที่ผลลพั ธห์ รือความสมั ฤทธิ์ผลเป็นหลกั ใช้ระบบการประเมินผลงานที่อาศัยตวั บง่ ช้ีเป็นตัวสะท้อน ผลงานให้ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นและแสดงผลงานต่อ สาธารณ หลักธรรมาภิบาล ในด้านมุ่งเน้นประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากร ทั้งด้านต้นทุน แรงงาน และระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการ ตามภารกิจเพอ่ื ตอบสนองความต้องการของประชาชนและผูม้ ีส่วนไดส้ ว่ นเสียทุกกลุม่ เทคโนโลยีจริงเสมือน (Reality) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีกลุ่มนี้ สามารถตอบสนองการใช้งานได้หลากหลายจุดประสงค์ไม่ว่าเป็นด้านความบันเทิง การแพทย์ รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งการใช้งานเทคโนโลยีเสมือนจริง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความ

5 เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยี Mixed Reality (MR) ที่สามารถแสดงผล 3 มติ ิ ไดใ้ นพื้นท่จี รงิ คล้ายกบั ภาพโฮโลแกรมจากภาพยนตรว์ ทิ ยาศาสตร์ เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR) เป็นเทคโนโลยีโลกเสมือน ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเสริมสร้างประสบการณ์เสมือนจริงให้แก่ผู้ใช้โดยมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานโดยที่ Augmented Reality คือ เทคโนโลยีการนำวัตถุเสมือนที่สามารถเป็นได้ ทั้งภาพ วดิ โี อ หรือเสียงเข้ามาผสานกบั สภาพแวดล้อมจริงท่ีอยู่รอบๆ ตวั เรา เพ่อื นำเสนอเนือ้ หาเก่ยี วกับสินค้าและ บริการต่างๆ ให้กับผู้บริโภค โดยที่ผู้บริโภคสามารถรับข้อมูลข่าวสารได้โดยอาศัยโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ ส่อื สารตา่ งๆ ในขณะที่ Virtual Reality คือ เทคโนโลยีที่พยายามสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนขึ้นมาใหม่ เพื่อดงึ ใหผ้ ู้ใชง้ านออกจากโลกความจริง โดยสงิ่ แวดลอ้ มเสมอื นนี้อาจเปน็ ได้ท้งั ภาพและเสียง ซึ่งอาจจะดูคล้ายหรือ แตกต่างจากความเป็นจริงอย่างสิ้นเชิงก็ได้ โดยการใช้งานหรือรับชมเทคโนโลยี VR นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้ อปุ กรณ์เฉพาะ คือ VR Headset เพอื่ เข้าถึงโลกเสมือนท่ีสร้างขน้ึ จากคอมพิวเตอร์ รูปที่ 8 เทคโนโลยเี สมอื นจริง (Reality) คาํ จาํ กดั ความของ Virtual Reality แปลความหมายจากคําภาษาองั กฤษได้โดยธรรมชาตจิ าก คําวา Virtual ซึ่งแปลวา “ใกลเคียง” (Virtual) และ คําวา Reality คือลักษณะความเป็นจริงที่สัมผัสและ เก็บประสบการณที่ได้จากความเป็นมนุษย์ ดังนั้น Virtual Reality จึงหมายความรวมถึง ความใกลเคียงความเป็น

6 จริงที่สุด (Near-reality) จากนั้นจึงหมายความวา Virtual Reality นั้น อ้างอิงถึงโปรแกรมและการเลียนแบบ ที่เสมือนจริงตอวัตถุประสงคเฉพาะใด ๆ มนุษย์รูจักโลกผ่านระบบประสาทสัมผัสและการรับรู เมื่อแรกเริ่มเรียนรู้ เราได้เรียนรูวามีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก การรับรูรสชาติ การสัมผัส การดมกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน ฉะนั้นจึงเห็นได้ว าประสาทสัมผัสการรับรู ของมนุษย์เกี่ยวโยงโดยตรงกับอวัยวะหลักของตัวมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงมนุษย์มีประสาทสัมผัสมากกวา 5 แบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น ตัวอย่างเช่น ระบบรับรูการทรงตวั ข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางเซนเซอรชีวภาพของมนุษย์โดยตรงไปสู่สมอง สร้างความมั่นใจวามนุษย์ได้รับขอมูล จำนวนมหาศาลไหลเข าไปสู่จิตใจของมนุษย์เองทุกสิ่งทุ กอย่างเกี่ยวกับความ เป็นจริงที่มนุษย์ได้รับ รู จาก ประสาทสมั ผัสต่างๆ นนั้ เป็นผลมาจากประสบการณรวมทัง้ หมดท่ผี สมผสานขอมูลจากเซนเซอรชวี ภาพของมนุษย์ และกลไกทางตรรกะของสมอง เมอ่ื เปน็ เชน่ นัน้ จงึ เปน็ ไปได้วา่ หากมนุษยส์ ามารถสัมผสั ถงึ ข้อมลู ทไ่ี ดร้ บั การจดั สร้าง ขนึ้ มา การรบั รูถึงความเปน็ จริงก็จะเปลีย่ นแปลงตามไปดว้ ย มนษุ ยจ์ ะได้รบั การนําเสนอความจรงิ ในรูปแบบที่สร้าง ขึ้นและไม่ได้เป็นความจริงที่เกิดขึ้นจริง ๆ แต่จะเป็นความเป็นจริงที่ได้รับรับการบรรจุสู่สมองของมนุษย์ คือสิ่งที่สามารถอ้างอิงได้ว่าเป็น Virtual Reality กล่าวโดยสรุปคือ Virtual Reality ทำการสงมอบใหกับ ระบบประสาทสัมผัสการรับรูของมนุษย์ ด้วยสภาวะแวดลอมที่ใกลเคียงกับความเป็นจริงที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ซง่ึ มนษุ ยส์ ามารถสาํ รวจไดใ้ นรปู แบบที่กำลังเปน็ ที่นยิ ม หากจะกล่าวในเชงิ เทคนิค Virtual Reality สามารถอธิบาย เป็นคำจำกดั ความวา เป็นสงิ่ แวดลอม 3 มิติ ทส่ี ร้างดว้ ยคอมพิวเตอร์ โดยสง่ิ แวดลอมเสมือนจริงน้จี ะถูกสํารวจและ ตอบโตจากบุคคลที่เขาใช Virtual Reality บุคคลดังกล่าวจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของโลกจําลอง สามารถจับตองวัตถุเสมือนหรือปฏิบัติการแสดงบทบาทที่มีการเคลื่อนไหวได้ การจะนํา Virtual Reality มาใชนอกจากจะตองใชเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เขามาบูรณาการแลว ยังตองมี Hardware เป็นตัวกลาง เขามาเกี่ยวของด้วย เช่น Headsets ลูวิ่งแบบ Omni-directional Treadmill และถุงมือแบบพิเศษ เป็นต้น อุปกรณ์เหลานี้จะใชเป็นตัวกระตุนประสาทสัมผัสการรับรูของมนุษย์ให้เข้าสู่โลกมายา อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี Virtual Reality จะตองคํานึงถึงข อจำกัดทางกายภาพของมนุษย์ด้วย ตัวอย่างเช่น ขอบเขตการมองเห็น ของมนุษย์ไม่เหมือนกับขนาดของกรอบภาพในวิดีโอเกม มนุษย์มีการมองเห็นชวงกว้างไม่เกิน 180 องศา และมนุษย์ก็ไม่เสมอไปที่จะรับรูถึงการมองเห็นทางขนาน (Peripheral Vision) ฉะนั้นหากสัมผัสการมองเห็นและ การรับรูการทรงตัวบอกสมองมนุษย์ในแนวทางที่ขัดแย้งกันก็จะทำใหเกิดอาการ “เมารถ” (Motion Sickness) หากเกิดเหตุการณนี้ขึ้นก็จะสร้างประสบการณ์ท่ีไม่สงผลดีและทำใหเห็นว่าต้องแกไขปญหาทั้ง Software และ Hardware ของระบบ Virtual Reality คําถามที่จะได้รับจากผู้อ่านหลายๆ ท่านคงจะเป็น “ด้วยความพยายาม ที่จะพัฒนา Virtual Reality ผลตอบแทนคุมคาหรือไม่?” คําตอบก็คือศักยภาพของเทคโนโลยี Virtual Reality เห็นได้อยา่ งชัดเจน เชน ภาพยนตร์สามมิติ หรอื วิดโี อเกม อยา่ งไรก็ตามมีตวั อย่างในขอบเขตงานอนื่ ๆ ที่สำคัญและ ได้รับความสนใจและการสนับสนุน ได้แก สถาปตยกรรม การกีฬา การแพทย์ ศิลปะ งานบันเทิง การฝกจำลอง เสมือนจริงทางทหาร Virtual Reality สามารถนําไปสู่การคนพบที่นาตื่นเต้นใหม่ในสาขาต่างๆ ท่ีส่งผลกระทบ ต่อชวี ติ ประจำวนั ของมนุษย์

7 เมื่อใดก็ตามที่กิจกรรมมีความอันตราย ไม่วาจะเกี่ยวของกับวัตถุระเบิดหรือการกระทำใด ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ง่ายในชีวิตจริง เทคโนโลยี Virtual Reality จะเป็นคำตอบไม่ว่าจะเป็นการฝึกศิษย์การบิน เครื่องบินขับไล่หรือการฝกผ่าตัดของศัลยแพทย์ฝกหัด Virtual Reality สามารถสรา้ งความเสยี่ งเพื่อกดดันผู้เขารับ การฝกในโลกจําลองเสมือนจริง เพื่อใหได้รับการเสริมสร้างประสบการณที่ใกลเคียงความเป็นจริงที่สุดได้ แนวโนมราคาคาใชจ่ายในการจัดซื้อเทคโนโลยี Virtual Reality ก็เหมือนกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ซึ่งเคยอยู่ในกระแส ความนิยมมากอน นั่นคือราคาเริ่มลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยี Augmented Reality สามารถจะ เปลี่ยนหนทางท่ีมนุษย์ทำการโตตอบและเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีดิจิตอลได้อย่างมีนัยสําคัญ และเสริมสร้าง การใช เทคโนโลยีเพื่อมนุษยชาติแล ะ สร้า งให เท คโนโลยีตอบสนองต่ อควา มต อง การ ของ มนุ ษย์ ได้ดี ยิ ่ ง ขึ้น ระบบ Virtual Reality นั้นมีหลากหลายชนิด แต่ทั้งหมดจะมีคุณลักษณะหนึ่งที่เหมือนกัน คือความสามารถ ที่จะอนุญาตใหผู้ใช้ได้รับมุมมองภาพ 3 มิติ และภาพ 3 มิติเหลานั้นจะมีขนาดที่เหมือนจริงนอกจากนี้ภาพ 3 มิติ ตองเปลี่ยนแปลงมุมมองในสภาพแวดลอมเสมือนตามที่ผู้ใช้ได้มีการเคลื่อนไหวตัว เพื่อใหมั่นใจวาสภาพแวดลอม โลกเสมือนนั้นมีทั้งความสมจริงและคุณสมบัติที่น าใชงานสภาพแวดลอมเสมือนจริงควรจะมอบการตอบสนองที่ เหมาะสม ณ เวลานั้น ๆ (Real-time) ในขณะท่ีผู้ใชกําลังสํารวจสิ่งแวดลอมจำลองอยู่ ปญหาจะเกิดขึ้นได้ หากมีความล่าช้าในรอยตอระหว่างการกระทำของผู้ใชงาน Virtual Technology และการตอบสนองจากระบบ หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการหยดุ ชะงักของประสบการณใชงานท่ีได้รับ เบอ้ื งตนกอนท่เี ทคโนโลยจี ะสามารถใช งานได้อย่างสมบูรณแบบ ผู้ใชระบบจําลองเสมือนจริงจะตองปรับตัวระหว่างการฝกใชงานเล็กน้อยเพื่อปรบั ใหเกดิ ความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงให้น้อยที่สุดเทาท่ีจะเป็นไปได้ ความหวังและจุดประสงคหลักในการใช เทคโนโลยี Virtual Reality นั้นคือความเป็นธรรมชาติที่ลื่นไหลในการปฏิสัมพันธ์กับระบบจําลองจริงเสมือน แนวโนมทางเทคโนโลยี Virtual Reality ในงานจําลองการฝกเสมือนจริงทางทหารได้มีตัวอย่างที่สืบค้นได้จาก ประเทศออสเตรเลยี (Calytrix technologies, Australia) ทมี่ กี ารใชเทคโนโลยนี ี้ ในการฝกภารกจิ ทางทหารตา่ ง ๆ เชน Aircrew, Airlift, Gunnery Aircrew, Sniper Training(s)เทคโนโลยี Virtual Reality ถึงแม้วาเดิมท่ีจะได้รับ แรงผลักดันใหมีความเป็นไปได้และเกิดผลงานขึ้นมาจากอุตสาหกรรมของเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวง ของเกมคอมพวิ เตอร์ แต่ในปจจบุ นั เทคโนโลยี Virtual Reality เขามามีบทบาทในวงการตา่ ง ๆ อาทิเชน วิศวกรรม สถาปตยกรรม การกีฬา การแพทย์ ศิลปะและงานบันเทิง และท่ีสำคัญได้มีการนําเทคโนโลยี Virtual Reality มาใชในการทหารแลวด้วยเช่นกันเรื่องความคุมคาทางงบประมาณตอการนําเทคโนโลยี Virtual Reality มาใช ในภารกิจเฉพาะใด ๆ นั้นมหาวิทยาลัยมลรัฐ Alabama ได้ศึกษาวิจัยและทดลองเปรียบเทียบผลการฝึกปฏิบัติ ภารกิจของทีมนักดับเพลิงโดยแบงออกเป็น 3 กลุม กลุ่มแรกได้รับข้อมูลจากพิมพเขียวของตึกที่ใชทําการทดลอง กลุมที่สองได้ฝึกเคลื่อนที่ใน Virtual Reality Model และกลุมที่ 3 ไม่ได้รับข้อมูลหรือการฝ กอบรมใดๆ กอนการทดลองเลย ผลลัพธ์ที่ได้ปรากฏวา กลุมที่ 1 และ 2 ได้รับผลลัพธ์ (วัดจากคาเฉลี่ยและ Variance ของการเลี้ยวผิดเสนทาง) ดีเทา ๆ กันและทั้งสองมีผลลัพธ์ที่ดีกวากลุมที่ 3 การฝกโดยใชเทคโนโลยี Virtual Reality มาช่วย มีความคุ้มค่าเป็นอย่างมากเมื่อเทคโนโลยีที่นํามาใชมีราคาลดลงเรื่อย ๆ อ้างอิงจากระบบสืบค้น

8 ข้อมูลในเว็บเพจของกรมทรัพย์สินทางปัญญา พบวาในประเทศไทยยังไม่เคยมกี ารจดทะเบยี นทรพั ยสนิ ทางปัญญา ในสวนที่เกี่ยวกับ Virtual Reality เลย ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีการจดทะเบียน จำนวน 369,394 ทะเบียน เยอรมนี 516,967 ทะเบียน ออสเตรเลีย 131 ทะเบียน เกาหลีใต 3,024 ทะเบียน และญี่ปุน 4,191 ทะเบียน ตามลำดับ จะเห็นได้วาประเทศไทยมีชองว่างที่ขาดแคลนและล้าหลังทางเทคโนโลยี Virtual Reality อยู่มาก ความพรอมตอการรบั เทคโนโลยี )Technology Readiness Level) อยู่ในระดบั คอนข้างต่ำ มีความจำเปน็ อย่างยิ่ง ทีต่ องเรม่ิ ทำการรบั ถ่ายทอดเทคโนโลยแี ละทำวิจยั และพัฒนาเพ่มิ เติมเพ่ือใหกาวทันกระแสของโลก โดยสงั เขป กล่าวได้วา Virtual Reality คือการจําลองสร้างสภาพแวดลอมเสมือนใหแสดงผลตอระบบ ประสาทสัมผัสการรับรูของมนุษย์และได้รับประสบการณที่เสมือนกับวได้อยู่ในเหตุการณนั้นจริง ๆ เทคโนโลยี ที่นําเขามาใชงานสร้างผลกระทบตอการสัมผัสรับรูและระบบความจําในสมองมนุษย์ เทคโนโลยี Virtual Reality จงึ มใี ชงานทงั้ ในด้าน ความบันเทงิ และในงานสาขาท่ีมีความจรงิ จังอ่ืน ๆ ทง้ั ทางพาณิชยและทางทหาร เทคโนโลยีน้ี จะมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ และมีการใชงานอย่างแพรหลายมากขึ้น มนุษย์สามารถคาดหวังได้ว่าจะได้เห็นการใชงาน แบบบูรณาการของเทคโนโลยีอกี มากในอนาคต บางที Virtual Reality อาจจะเขามาเป็นส่วนสำคญั ของการส่ือสาร และการทำงานทมี่ นุษย์จำเป็นต้องใช้งานในชวี ติ จริง ข้อดีของการนำเทคโนโลยี AR และ VR มาประยุกตใ์ ชใ้ นดา้ นการฝึกซอ้ มการดับเพลงิ ในรูปแบบต่าง ๆ มีดงั น้ี 1. ช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกซ้อมสามารถฝึกได้ในเหตุการณ์เสมือนจริง และยังสามารถจำลอง รูปแบบการดับเพลิงที่หลากหลาย ที่ไม่สามารถทำการฝึกในสถานการ์จริงได้ หรือทำได้ยาก อาทิ การดับเพลิง เครอื่ งบนิ การดับเพลิงรถบรรทุกนำ้ มัน เป็นตน้ 2. ผู้เข้ารับการฝึกซอ้ มไมม่ ีความเสีย่ งท่ีจะเกิดอุบตั เิ หตรุ ะหว่างการฝกึ ซ้อม 3. ประหยดั งบประมาณในการฝกึ ในระยะยาว 4. ผู้เข้ารับการฝึกซอ้ มสามารถฝึกได้ทุกเวลาตามท่ีต้องการ ข้อจำกัดของการนำเทคโนโลยี AR และ VR มาประยุกต์ใชใ้ นดา้ นการฝกึ ซ้อมการดับเพลิงในรปู แบบต่าง ๆ มีดังน้ี 1. ไมส่ ามารถจำลองสถานการณ์ได้ 100% ทำใหข้ าดความสมจรงิ ท้ังนเ้ี ทคโนโลยี VR ยังคงมกี าร พัฒนาอยา่ งต่อเน่ืองเพอ่ื ความสมจริง 2. เคร่อื ง VR มีราคาคอ่ นข้างแพง ทำใหม้ ีค่าใช้จ่ายในช่วงแรกมาก 3. การใชง้ าน และการดูแลรักษาค่อนข้างซับซ้อน ผใู้ ช้งานจะต้องใช้ความระมดั ระวังมากกว่าปกติ

9 ภาพการฝกึ ดับเพลิงขน้ั พนื้ ฐานในสภาวะปกติ จึงอาจสรุปได้ว่าการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ เป็นการมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์โดย ให้องค์การสามารถใช้ ทรพั ยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงาน และระยะเวลาให้เกดิ ประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติ ราชการตามภารกจิ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนไดส้ ว่ นเสยี ทุกกลุ่ม ซง่ึ เทคโนโลยี VR น้ัน สามารถใชพ้ ัฒนาการจดั การสาธารณภยั ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี อีกท้ังยงั ตอบโจทยใ์ นด้านหลักการใช้ต้นทุน แรงงาน ทรพั ยากรที่มใี ห้เกดิ ประโยชน์สงู สุด

10 การใช้ VR เพอ่ื พัฒนางานดา้ นการฝึกซ้อมแผนอัคคภี ยั ในยคุ 5G กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐที่รับผิดชอบดำเนินการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ตามนัยพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ทำหน้าที่ในการปฏิบัติประสานและสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีศูนย์ป้องกันและ บรรเทา สาธารณภัยเขต จำนวน ๑๘ แห่ง รับผิดชอบสาธารณภัยต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนในพ้ืนที่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนั้น ในฐานะหน่วยงานกลางของรัฐด้านการจัดการสาธารณภัย จึงจำเป็นต้องจัดเตรียมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เคร่ืองมือและอุปกรณ์ พร้อมบุคลากร สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้พร้อมรับมือสาธารณภัยทุก ประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมรับมือสาธารณภัยที่สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยและเพ่ือ รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของโลกยุคดิจิทัล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้เตรียมความ พร้อมองค์กรรองรับการจัดการสาธารณภัย : ปภ. 4.0 มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการ ทำงานทง้ั ระบบ (Digital Culture) เพ่อื พฒั นาทรัพยากรบคุ คลใหป้ รับตัวเทา่ ทนั ต่อเทคโนโลยี และพร้อมจัดการสา ธารณภัยทุกรูปแบบ การวางแผนรับมือกับสาธารณภยั เชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้องค์กรเติบโตภายใต้ บริบทการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของโลกยุคดิจิทัล และมีศักยภาพในการจัดการสาธารณภัย เชิงรุกอย่างยั่งยืน ดังนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้มีแผนการจัดหาระบบฝึกอบรมการดับเพลิงแบบความเป็นจริง เสมือน (Virtual Reality) มาใช้ในการฝึก เพื่อเป็นการเพิ่มพูน ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ให้แก่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยจำลองเหตุการณ์เพลิงไหม้เสมือนจริงในสถานการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกที่เหมือนจริง ทำให้ผู้รับ การฝึกอบรมได้เห็นภาพและรู้สึกเสมือนได้เข้าไปดับเพลิงในสถานการณ์ จริง สามารถประมวลผลได้ว่าใช้เวลาและน้ำในปริมาณเท่าไรในการ ดบั เพลงิ แต่ละคร้ัง ทำใหเ้ จ้าหน้าทสี่ ามารถทำการฝึกอบรมได้บ่อยคร้ัง ใช้ เวลาเตรียมการน้อย สามารถทำการฝึกภายในอาคารได้ และประหยัด คา่ ใช้จ่ายเปน็ อย่างมากเมือ่ เทียบกับการจัดการฝกึ อบรมแบบเดิมรวมถึงไม่ เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วยทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการ ปฏิบัติงาน ฝึกการเผชิญเหตุอัคคีภัยในหลากหลายสถานการณ์ของ เจ้าหน้าที่ และเครือขา่ ยหน่วยชว่ ยเหลือผ้ปู ระสบภัย ลดความสูญเสียหรือ ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่เกิดจากสาธารณภัย และยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อการปฏิบัติงานของภาครัฐ ที่มุ่งสร้างความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชน หากเกดิ สาธารณภยั ฉกุ เฉนิ

11 ในปัจจุบันการจัดการฝกอบรมการปฏิบัติหนาที่ในภารกิจ ต่างๆ ของทางทหารและพลเรือนแบบการฝ กจริง (Live Training) ตองมี การจัดเตรียมความพร้อมทั้งด้านงบประมาณและการบริหารจัดการ ที่ต้อง ระดมทรัพยากรจากทุกภาคส่วน ตลอดจนการประสานการปฏิบัติที่ยุงยาก ซบั ซอน และในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งต้องปฏิบัติมาตรการของรัฐบาลส่งผลให้เกิดอุปสรรค ต่อการปฏิบัติงานในกรณีที่มีการรวมตัวของกลุ่มคนเป็นจำนวนมาก การฝึกปฏิบัติจริงจึงเกิดขึ้นได้ยาก ทำให้เกิดแนวคิดในการนำนวัตกรรม (Innovative) เขามาช่วยในการสร้างเครื่องมือการฝ กที่สามารถส งมอบ การฝกจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality Training) จึงก้าวเขามาอยู่ใน กระแสของการฝึกอบรมด้วยเครื่องมือช่วยฝึกที่ช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึง การฝึกไดท้ ุกทท่ี ุกเวลา ประหยดั งบประมาณ เกดิ ประสิทธภิ าพและประสิทธิผล ตลอดจนสามารถวดั คา ประเมินผลได้

12 สรุป ในการจัดการกับอัคคีภัยในปัจจุบัน ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการเกิดอัคคีภัย หลากหลายประเภท อาทิ ไฟที่เกดิ จากสารเคมี เชอ้ื เพลงิ ประเภทต่างๆ ไฟทเ่ี กิดขึ้นจากไฟฟา้ ไฟไหมบ้ นเรือโดยสาร หรืออากาศยาน ซึ่งมีความแตกต่างกันวิธีที่ใช้ในการบริหารจัดการ โดยหากฝึกดับเพลิงไฟประเภทดังกล่าวจะใช้ งบประมาณเป็นจำนวนมาก อกี ทั้งยงั มีความเสยี่ งทีจ่ ะเกิดอบุ ัติเหตุหากประมาท VR จึงเป็นคำตอบในการฝึกดับเพลิง ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในด้านเงินที่ใช้ลงทุนช่วงแรก ความไม่ เหมือนจริง 100% แต่หากเปรียบเทียบกับการฝึกภาคสนาม (Drill) แล้ว ย่อมมีผลดีมากกว่าผลเสีย ไม่ว่าจะ ข้อจำกัดดา้ นอายผุ เู้ ขา้ รับการฝึก สถานท่ี หรือการวดั ผลในการฝึกได้อยา่ งชดั เจน ข้อเสนอแนะ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สามารถทีจ่ ะเปน็ หนว่ ยงานดำเนนิ การเปน็ หน่วยแรกโดยทดลองใช้ในการฝึก เพอื่ เปน็ Best Practice ให้หน่วยงาน อน่ื โดยเฉพาะสถานศกึ ษาไดน้ ำไปใช้ เพ่อื ปลกู ฝงั ความรู้ และจติ สำนกึ ให้เยาวชนไทย

13 QR CODE Download Program Artivive Download Program Artivive ANDROID IOS VR การป้องกันระงับอคั คีภัย รวมแนวคิดนวตั กรรม App. Thinglink ผลงาน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook