Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เศรษกิจพอเพียง (1)

เศรษกิจพอเพียง (1)

Published by NAWIN TH, 2022-08-25 02:17:07

Description: เศรษกิจพอเพียง (1)

Search

Read the Text Version

หนังสืออิเล็กทรอนิกส เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง จัดทำโดย ด.ช.นาวิน สืบเรือง เสนอ ครูทัศนีย พัดเกาะ รายวิชา เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร ว20228 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

คํานํา หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ฉบับนี้ข้าพเจ้าจัดทำขึ้นเพื่อให้ทุกท่านได้รู้ถึง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อนำไปเรียนรู้ปรับใช้ในชีวิต ประจำวัน

สารบัญ 1 หน้าปก 2 คำนำ 3 สารบัญ 4 เนื้อหา 9 ปกหลัง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมิ นทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนใน วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไข วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 ให้สามารถ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

หลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุก ระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมี ความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ใน การวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจ พอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้ สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

การนำไปใช้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิด และทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่ง บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อ ความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่ เรียกว่า \"สังคมสีเขียว\" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่อง ตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความ สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบ เศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชน เมืองและชนบท[12]

องค์ประกอบ เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้ สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การตัดสินใจ และการกระทำเป็นไปพอเพียง จะต้องอาศัยทั้งคุณธรรม และความรู้ ดังนี้ เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องสร้างเสริมให้เป็นพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ประกอบด้วย ด้าน จิตใจ คือการตระหนักในคุณธรรม รู้ผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์สุจริต ใช้สติปัญญาอย่างถูกต้องและเหมาะ สมในการดำเนินชีวิต และด้านการกระทำ คือมีความขยันหมั่นเพียร อดทน ไม่โลภ ไม่ตระหนี้ รู้จักแบ่ง ปัน และรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ประการ และเงื่อนไข 2 ประการ หรือที่เรียกว่า 3 ห่วง 2 เงื่อนไข คือ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็น และเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบรู้และรอบคอบ ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบและการ เปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้ สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง 1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของ ที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยา เคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้ อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด \" การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมี เศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง \" \"เศรษฐกิจพอเพียง\" จะสำเร็จได้ด้วย \"ความพอดีของตน\"

อ้างอิง https://www.chaipat.or.th/site https://www.nh tech.ac.th/ https://www.kru ngsri.com/th

ด.ช.นาวิน สืบเรือง ผู้จัดทำ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook