Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่ 1 แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยเด้ก

บทที่ 1 แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยเด้ก

Published by an.nuttaya, 2021-02-27 13:39:13

Description: บทที่ 1 แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยเด้ก

Search

Read the Text Version

พเดแยน็กาบวแคาลลิดะวผกยั ปู้ ารรวุน่ ย ณัฐธยาน์ อังคประเสริฐกุล

แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 1 แนวคดิ การพยาบาลผ้ปู ว่ ยเดก็ และวัยรนุ่ หัวขอ้ เนอ้ื หาประจำบท 1. แนวคดิ ทเี่ กย่ี วขอ้ งกับการดูแลเด็ก 1.1 สิทธิของเดก็ 1.2 การดแู ลเด็กโดยใช้ครอบครัวเป็นศนู ยก์ ลาง 1.3 จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณท่ีใชใ้ นการดูแลเด็ก 2. บทบาทของพยาบาลในการดูแลเด็ก วตั ถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 1. บอกแนวคดิ ทเ่ี กีย่ วข้องกับการดแู ลเด็กในเร่อื งสิทธิชองเดก็ การดแู ลเด็กโดยใช้ ครอบครวั เปน็ ศูนย์กลาง จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณท่ีใชใ้ นการดแู ลเด็กได้ 2. อธิบายบทบาทของพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการให้การดแู ลเด็กได้ วธิ ีสอนและกิจกรรมการเรยี นการสอนประจำบท 1. วิธีสอน 1.1 วธิ ีสอนแบบบรรยาย 1.2 วิธสี อนแบบอภปิ ราย 2. กิจกรรมการเรียนการสอน 2.1 การบรรยายและถามตอบปัญหา 2.2 ให้นักศึกษาอ่านเอกสารคำสอนล่วงหน้าก่อนฟังบรรยายจากอาจารย์ในชั้นเรียน ซึ่งจะเน้นประเดน็ ท่นี ักศกึ ษาอา่ นไม่เข้าใจ ส่อื การเรยี นการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน แนวคดิ ทางการพยาบาลผูป้ ่วยเดก็ และวยั ร่นุ 2. การนำเสนอแผ่นภาพ แนวคิดทางการพยาบาลผ้ปู ว่ ยเด็กและวัยรุ่น

2 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลเด็กและวยั รนุ่ การวัดผลและการประเมนิ ผล 1. การอภปิ ราย 2. การแสดงความคดิ เห็น 3. การซกั ถาม 4. การสอบกลางภาค

บทท่ี 1 แนวคดิ การพยาบาลผูป้ ่วยเดก็ เด็กเป็นวัยท่ีกำลังเจรญิ เตบิ โต มีการพัฒนาหนา้ ทข่ี องส่วนต่าง ๆ ท้งั ทางดา้ นร่างกาย สมอง และทางด้านอารมณ์ ในการดูแลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นจึงมีความแตกต่างจากการพยาบาลผู้ป่วยที่เปน็ ผู้ใหญ่ พยาบาลเด็กต้องทราบถึงความแตกต่างของเด็กในแต่ละช่วงอายุ โดยเฉพาะเมื่อเจ็บป่วยต้อง เขา้ รบั การรักษาในโรงพยาบาล เดก็ จะได้รับความทุกข์ทรมานมาจาก ความเจบ็ ป่วย การตรวจรักษา การพลดั พรากจากครอบครัวโดยเฉพาะแม่และพ่อ ซ่งึ มีผลตอ่ การเจริญเติบโต พฒั นาการ และจิตใจ ของเด็ก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของครอบครัวซึ่งทำหน้าที่เลี้ยงดูเด็กโดยตรง ดังนั้นในการดูแลเด็กเพื่อให้เด็กมีคุณภาพชีวิตที่ดี พยาบาลต้องมีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดที่ เก่ยี วขอ้ งกบั การดแู ลเด็กและบทบาทของพยาบาลในการดูแลเด็ก แนวคิดทเ่ี กยี่ วข้องกบั การดแู ลเด็กและวยั รุน่ เนื่องจากเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างมาก ดังนั้นเพื่อให้การดูแลเด็กอย่างมี ประสทิ ธิภาพ พยาบาลตอ้ งเขา้ ใจแนวคดิ ท่เี กยี่ วข้องกับการดูแลเด็ก ซง่ึ ประกอบด้วย 1. สิทธิของเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติที่ประเทศไทยลงนามเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2535 ว่าด้วยสิทธิของเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี ได้รับการคุ้มครอง สิทธพิ ้นื ฐาน 4 ประการ (นันทา เลียววิรยิ ะกิจ และจุฑามาศ โชตบิ าง, 2553) คอื 1.1 สิทธิในการอยู่รอด (Right to life) เด็กต้องได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มสี ันติภาพ และความปลอดภัย 1.2 สิทธิในการได้รับการปกป้องคุ้มครอง (Right to be protected) เด็กต้อง ได้รับความคุ้มครองให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก การละเลย และการแสวงประโยชน์โดยมชิ อบในรูปแบบอน่ื ๆ 1.3 สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right to be developed) เด็กต้องมีครอบครัว ที่อบอ่นุ ไดร้ ับการศกึ ษาทีด่ ี และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม 1.4 สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right to be participate) เด็กทุกคนต้องมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเหน็ แสดงออก การมผี ูร้ บั ฟงั และมสี ่วนรว่ มในการตดั สนิ ใจในเร่อื งท่ีมีผลกระทบ กบั ตนเอง

4 เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการพยาบาลเดก็ และวัยรนุ่ 2. การพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเปน็ ศูนยก์ ลาง การพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง (Family-Centered Care) เมื่อเด็กอยู่ ในภาวะเจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพกาย ใจ จิตสังคม และพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต ทางดา้ นร่างกายและพฒั นาการของเด็ก ดงั นนั้ การให้การพยาบาลเด็กและครอบครัวโดยใช้ครอบครัว เป็นศูนย์กลาง จะช่วยให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ทำให้เด็กมีความสุข ฟื้นหาย จากการเจ็บป่วยได้เร็ว (Salmela, Salantera & Aronen, 2009) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ (จริยา วทิ ยะศภุ ร, 2554) ประกอบด้วย 2.1 การใหก้ ารเคารพครอบครัวยดึ ถือเสมอว่าครอบครัวเปน็ สง่ิ คงที่ทส่ี ุดในชีวิตเด็ก ในขณะที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป ครอบครัวควรมีสิทธิและมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติการและประเมินผลการดูแล ตลอดจนปรับเปลี่ยนแผนการดูแลให้เหมาะสมกับ สภาพปัญหาหรอื แหล่งประโยชน์ของครอบครัว 2.2 เอื้ออำนวยให้เกิดบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างเสมอภาคของ ครอบครัวและทีมสุขภาพ ครอบครัวและบุคลากรในวิชาชีพมคี วามรับผดิ ชอบรว่ มกันในการดูแลเดก็ โดยมแี นวทาวปฏบิ ตั ิในลกั ษณะของความรว่ มมือดงั น้ี 2.2.1 มคี วามเสมอภาค อำนาจเทา่ เทยี มกัน 2.2.2 แต่ละบุคคลตระหนกั วา่ ตนเป็นสมาชกิ ของทีม 2.2.3 มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรแู้ ละการปฏิบัติ 2.2.4 ตระหนักวา่ ตนเองเปน็ ใคร มีความรับผดิ ชอบแคไ่ หน 2.3 แลกเปลีย่ นข้อมูลระหว่างครอบครวั และบุคลากรในวชิ าชีพ อย่างครบถว้ นและ ไม่มีอคติ ในรูปแบบของการประคับประคองหรือเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันตลอดเวลา การแลกเปลี่ยนข้อมูล ช่วยเปิดโอกาสให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครบถ้วนช่วยให้การพิจารณา ตัดสินใจ และวางแผนการดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจกัน ลดความตึงเครียดและความขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ครอบครัวเรียนรู้ เรื่องโรค ความเจ็บป่วย แนวทางการบำบัดรักษาและดูแลจากเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าท่ี เรยี นรูป้ ัญหาและวธิ ีการประยุกต์แนวคดิ ส่กู ารปฏบิ ตั ใิ นสถานการณจ์ รงิ ของครอบครัว 2.4 ยอมรับและเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศักยภาพ และความเป็น บุคคล ทั้งภายในและระหว่างครอบครัวทุก ๆ ครอบครัว ได้แก่ ความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ

บทที่ 1 แนวคดิ การพยาบาลผปู้ ่วยเดก็ 5 สัญชาติ ความเชื่อทางศาสนา สังคม เศรษฐกิจ และแหล่งที่อยู่อาศัย ซึ่งมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิด การตดั สินใจ และการดแู ลของครอบครวั เปน็ อยา่ งมาก 2.5 ตระหนกั และยอมรับถึงวธิ ีเผชิญความเครียดที่แตกต่างกันของแต่ละครอบครัว หรอื แตล่ ะบคุ คล เพ่อื ตอบสนองความตอ้ งการทห่ี ลากหลายของแตล่ ะครอบครวั 2.6 กระตุ้นและเอื้ออำนวยให้เกิดการสนับสนุนช่วยเหลือระหว่างครอบครัวกับ ครอบครวั และสร้างเครอื ข่ายทำงานรว่ มกัน 2.7 สร้างความแน่ใจว่าระบบบริการและการสนับสนุนช่วยเหลือทั้งที่โรงพยาบาล บ้าน และชุมชน มีความยืดหยุ่น ครอบครัวและเด็กป่วย สามารถเข้าถึงบริการและเป็นศูนย์รวม สำหรบั สนองตอบความตอ้ งการในลักษณะทห่ี ลากหลายของครอบครัว 2.8ชื่นชมครอบครัวในฐานะครอบครัวและเด็กในฐานะเด็ก โดยตระหนักว่า เขาเหล่านี้มีศักยภาพ มีภาระ มีความกงั วล มอี ารมณ์ มีความปรารถนาในส่ิงที่เขาตอ้ งการ 3. จรยิ ธรรมและจรรยาบรรณในการดแู ลเดก็ ในการให้การดูแลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น นอกจากพยาบาลจะปฏิบัติโดยคำนึงถึงสิทธิ เด็กและพิทักษ์สิทธิเด็กแล้ว พยาบาลจะต้องปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานอย่างมีจริยธรรมและ จรรยาบรรณวชิ าชีพ 3.1 จริยธรรมในการดูแลเด็ก มีหลักปฏิบัติที่สำคัญ 4ประการ (อุดมรัตน์ สงวนศิรธิ รรมและ สมใจ ศิระกมล, 2558) ดังน้ี 3.1.1 การพิทกั ษ์สทิ ธ์ผิ ปู้ ่วย (advocacy) คือ การปกปอ้ งสทิ ธิมนุษยชนขัน้ พ้ืนฐาน แทนผู้ป่วยที่ไม่สามารถปกป้องตนเองได้ เป็นการปกป้องผู้ป่วยเมื่อเห็นว่าอาจเกิดอันตราย จากผู้ให้บริการคนอื่น ได้แก่ การให้ข้อมูลแก่บิดา มารดาเพื่อยินยอมรับการรักษา การเป็นตัวแทน ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นในการร้องขอความเป็นธรรมในกรณีที่ถูกละเมิดหรือถูกตัดสินเลือกวิธีการรักษา โดยไมเ่ ปน็ ธรรมจากบิดา มารดา 3.1.2 การรับผิดชอบต่อการกระทำและความรับผิดชอบ (accountabilityand responsiability) คือ พฤติกรรมที่พยาบาลต้องกระทำต่อผู้ป่วยตามข้อผูกพันที่เกิดขึ้นในวิชาชีพ ท้งั ตามหนา้ ที่และตามกฎหมาย เปน็ การกระทำท่ีต้องรับผิดชอบสิ่งที่ทำอยา่ งมีเหตมุ ีผลตามมาตรฐาน วชิ าชีพและรับผิดชอบตอ่ ผลทเี่ กดิ ขน้ึ จากการกระทำของตน ความรบั ผิดชอบตามลักษณะวิชาชพี 3.1.3 ความร่วมมือ (cooperation) คือ พฤติกรรมที่พยาบาลต้องกระทำต่อผู้อื่น ตามลักษณะของการบริการสุขภาพซึ่งเป็นงานที่ต้องทำให้สำเร็จด้วยการทำงานเป็นทีม ดังนั้น ความรว่ มมอื จงึ เปน็ หวั ใจสำคัญของการทำงาน ลักษณะความร่วมมือทีส่ ำคัญ คือ

6 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการพยาบาลเดก็ และวยั รุน่ 3.1.4 ความเอื้ออาทร (caring) คือ พฤติกรรมจริยธรรมที่สำคัญของพยาบาลใน การปฏิบัติการพยาบาลตามที่วิชาชีพที่กำหนด โดยเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น หากขาด ความเอ้ืออาทรแลว้ ยากท่ีจะไดร้ บั ความรว่ มมือจากผ้ปู ่วย 3.2 จรรยาบรรณในการดูแลเด็ก ในการให้การดูแลเด็กพยาบาลควรมีจรรยาบรรณ วิชาชีพ ดังนี้ 3.2.1 ให้การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นตามขอบเขตของกฎหมาย มาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพหรือแนวปฏิบัติที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อให้เด็กได้รับการพยาบาลที่ดี เหมาะสมและมีความปลอดภยั 3.2.2 ให้การปฏิบัติการพยาบาลโดยคำนึงถึงความรู้สึกและความต้องการของ ผ้ปู ว่ ยเด็กและวยั รนุ่ และประโยชนส์ งู สุดทีผ่ ู้ป่วยพงึ จะไดร้ บั เป็นสำคัญ 3.2.3 ยดึ มน่ั ในจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด เช่น การปฏิบตั ิต่อผ้ปู ว่ ยเด็กและวัยรุ่น ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน การรักษาความลับของผู้ป่วยและครอบครัว การปฏิบัติอย่างเต็มกำลัง ความสามารถ การให้ข้อมูลผปู้ ว่ ยตามจรงิ เพื่อการตดั สินใจ บทบาทของพยาบาลในการดแู ลเดก็ บทบาทท่ีสำคญั ของพยาบาลเด็ก (Hockenberry & Wilson, 2009) มีดังน้ี 1. บทบาทในการสรา้ งสัมพันธภาพเพ่อื การรักษา บทบาทในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการรักษา (therapeutic relationship) ในการให้พยาบาลเด็กและครอบครัว พยาบาลจำเป็นต้องมีขอบเขตความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับ เดก็ และครอบครัวท่ีชัดเจน ซงึ่ ความสมั พนั ธ์นจี้ ะตอ้ งเป็นความสัมพันธเ์ ชิงวชิ าชพี เท่านั้น โดยพยาบาล และครอบครัวต้องเสริมสร้างพลังอำนาจซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารอย่างเปิดเผย เพื่อให้ครอบครัว สามารถให้การดแู ลสุขภาพเดก็ ได้ 2. บทบาทในการพิทักษ์สิทธขิ องครอบครวั และดแู ลด้วยความเอ้อื อาทร บทบาทในการพิทักษ์สิทธิของครอบครัวและดูแลด้วยความเอื้ออาทร (family advocacy and caring) พยาบาลมีบทบาทในการค้นหาเป้าหมายและความต้องการของครอบครัว เ พ ื ่ อ น ำ ม า ใ ช ้ ใ น ก า ร ว า ง แ ผ น ก า ร ด ู แ ล แ ล ะ ส น อ ง ต อ บ ค ว า ม ต ้ อ ง ก า ร ข อ ง เ ด ็ ก แ ล ะ ค ร อบ ค รั ว อย่างเหมาะสม ตามสิทธิที่พึงมีพึงได้ ในบทบาทของผู้พิทักษ์สิทธิของครอบครัวนั้นพยาบาลจะต้อง ช่วยใหเ้ ด็กและครอบครัวไดร้ ับรู้ข้อมูลเก่ียวกับทางเลือกของการรักษาหรือบริการท่ีมีอยู่ วิธีการรักษา

บทท่ี 1 แนวคดิ การพยาบาลผูป้ ว่ ยเด็ก 7 และหัตถการต่างๆ ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก และมุ่งเน้นการส่งเสริม สนับสนุนหรือ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม นอกจากนี้พยาบาลเด็ก ยังตอ้ งมีความเอือ้ อาทร เมตตา และเหน็ อกเหน็ ใจผอู้ น่ื 3. บทบาทในการป้องกนั โรคและสร้างเสรมิ สุขภาพ บทบาทในการป้องกันโรคและสรา้ งเสรมิ สุขภาพ (disease prevention and health promotion) พยาบาลมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้านของเด็ก และการป้องกันโรค ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมภาวะโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโดยการดูแลให้ได้รับวัคซีนตามวัย การดูแลความปลอดภัย การดูแลช่องปาก และฟัน การเสรมิ สรา้ งให้เด็กมรี ะเบียบวินยั ซง่ึ ในบางเร่ืองพยาบาลอาจจะปฏิบัตโิ ดยตรงแต่บางเรื่อง อาจจะตอ้ งสง่ ต่อให้หนว่ ยงานอนื่ ๆ ทีเ่ ก่ียวขอ้ ง ในส่วนของการปอ้ งกันโรคพยาบาลมบี ทบาทสำคัญใน การให้ความรู้และคำแนะนำล่วงหน้า เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็ก แต่ละวัย การส่งเสริมพัฒนาการเด็กแต่ละวัย อุบัติเหตุที่พบบ่อยในเด็กแต่ละวัยและการเลี้ยงดู เพือ่ ปอ้ งกันการเกดิ อบุ ัตเิ หตดุ งั กลา่ ว เปน็ ต้น 4. บทบาทในการใหค้ วามรดู้ า้ นสุขภาพ บทบาทในการให้ความรูด้ ้านสุขภาพ (health teaching) การให้ความรู้นีอ้ าจเป็นการ ให้ความรู้โดยตรงเป็นกลุ่มแก่บิดามารดาหรือเป็นการให้ความรู้โดยอ้อม เช่น การช่วยให้บิดามารดา และเด็กเข้าใจการวินิจฉัยโรค การรักษา การกระตุ้นให้เด็กกล้าตั้งคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง รวมทั้งการจัดหาหนังสือ/เอกสารด้านสุขภาพที่จำเป็น การให้ความรู้ด้านสุขภาพนั้นพยาบาลจะต้อง มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ สู่ผู้รับบริการที่มีระดับพัฒนาการและการศึกษา ทีแ่ ตกต่างกนั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม 5. บทบาทในการช่วยเหลือและใหก้ ารปรึกษา บทบาทในการช่วยเหลือและให้การปรึกษา (support and counseling) พยาบาล สามารถให้การช่วยเหลือหรือสนับสนุนได้ด้วยการรับฟัง สัมผัส และการอยู่เป็นเพื่อน ซึ่งการสัมผัส และการอยู่เป็นเพ่ือนเปน็ วิธีการช่วยเหลือหรือสนับสนุนทีม่ ีประสิทธิภาพท่ีสุดสำหรับเด็ก ส่วนการให้ คำปรึกษาเป็นการแลกเปล่ียนความคิดและความคดิ เหน็ เพือ่ การแกไ้ ขปัญหา เปน็ วิธกี ารทีเ่ ก่ยี วข้องกับ การช่วยเหลือหรือสนับสนุน การสอน การช่วยให้มีการระบายความรู้สึกหรือความคิดซึ่งจะช่วยให้ ครอบครวั สามารถเผชญิ ความเครยี ดได้

8 เอกสารประกอบการสอนรายวชิ าการพยาบาลเดก็ และวยั รุ่น 6. บทบาทในการประสานงานและให้ความร่วมมือ บทบาทในการประสานงานและให้ความร่วมมือ (coordination and collaboration) พยาบาลเป็นหนึ่งในสมาชิกของทีมสุขภาพ ซึ่งต้องทำหน้าที่ประสานงานและให้ความร่วมมือกับ วิชาชีพอื่น การดูแลเด็กต้องมีการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพเพื่อให้เด็กได้รับการดูแล แบบองค์รวม 7. บทบาทในการตดั สนิ ใจเชงิ จรยิ ธรรม บทบาทในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม (ethicaldecision making) ในการให้ การพยาบาลแก่ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นและครอบครัวนั้นทีมสุขภาพต้องเผชิญปัญหาทางจริยธรรมที่มี แนวทางแกไ้ ขหรือทางออกได้หลายทาง (ethical dilemma) และความขดั แย้งเชงิ จริยธรรม (ethical conflict) เนอื่ งจากบุคคลแต่ละคนอาจมคี า่ ทางจรยิ ธรรม (moral value) ที่แตกตา่ งกนั 8. บทบาทในการคน้ ควา้ วิจัย บทบาทในการค้นคว้าวิจัย (research) พยาบาลต้องมีส่วนในการสนับสนุนให้เกิด การทำวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลและสามารถใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติ การพยาบาล ตลอดจนมีการบันทึกการปฏิบัติการพยาบาลและผลของการปฏิบัติพยาบาล เพื่อเป็นการประเมินผลการปฏิบัติอย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งนอกจากจะเป็นการพัฒนาคุณภาพการดแู ลเดก็ และครอบครวั แลว้ ยงั ถือวา่ บทบาทนเ้ี ป็นบทบาทสำคัญในการพฒั นาวชิ าชพี ด้วย สรุปท้ายบท แนวคิดในการดูแลผู้ป่วยเด็กและวยั รนุ่ ได้มีการพัฒนาแนวทางในการให้การพยาบาลตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเด็กเป็นวยั ที่ไม่สามารถแสดงด้านความต้องการและรักษาสิทธิของตนได้ เหมือนผู้ใหญ่ ดังนั้น พยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่น การพยาบาลโดยใช้ ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง จริยธรรมและจรรยาบรรณในการดูแลเด็กและบทบาทของผู้ดูแลเด็ก เพอ่ื คุ้มครองเดก็ ใหม้ ีความปลอดภยั ทั้งกายและใจอันจะนำไปสู่การคุณภาพชีวติ ท่ดี ีตอ่ ไป


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook