Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทที่-4-วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย-2564

บทที่-4-วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย-2564

Published by Hasan Sama-ae, 2021-10-10 13:08:26

Description: บทที่-4-วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย-2564

Search

Read the Text Version

บทที่ ๔ วรรณคดีสมยั อยุธยาตอนปลาย เหตุการณ์บ้านเมืองที่จัดอยู่ในยุควรรณคดีตอนปลายน้ีจะเร่ิมต้ังแต่สมัยของสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. ๒๒๓๑) จนถึงอาณาจักรอยุธยาล่มสลาย ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ สภาพเหตุการณ์ บ้านเมอื งในช่วงเวลาดังกล่าว มดี ังนี้ สมเด็จพระเพทราชา เดิมเป็นขุนนางชื่อ ออกพระเพทราชา และขึ้นครองราชย์โดยการคบคิดกับขุน หลวงสรศักดิ์ พระราชบุตรนอกพระเศวตฉัตร กาจัดเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ (ชาวกรีกท่ีรับราชการสมัยสมเด็จ พระนารายณ)์ ในระหว่างท่ีสมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ บ้านเมอื งว่นุ วายเน่ืองจากพระองค์ไมไ่ ด้เป็นเช้ือ พระวงศ์ของกษัตริยจ์ ึงเกิดสงครามกลางเมืองถึง ๔ ครั้งคอื ขบถธรรมเถียร ยกมาจากนครนายก และถูกปราบ ในปี พ.ศ. ๒๒๓๓ ขบถพระยายมราช ผู้เป็นขุนนางที่ไม่ยอมรับพระเพทราชา ถูกปราบใน พ.ศ.๒๒๓๔ ขบถ พระยานครศรีธรรมราช ซึ่งแข็งเมอื งอยู่นานถงึ ๒ ปี และขบถบุญกว้างซ่ึงเป็นชาวเมืองท่ีมักใหญใ่ ฝส่ ูง ถกู ปราบ ในปี พ.ศ. ๒๒๔๓ นอกจากสงครามกลางเมืองแล้ว การติดต่อกับต่างประเทศในรัชสมัยน้ียังซบเซาลงเนื่องจากไม่โปรด ชาวตะวันตกและมีเหตุการณ์ไม่สงบบ่อย ๆ จึงหันไปติดต่อกับประเทศจีน สมเด็จพระเพทราชาครองราชย์อยู่ ๑๕ ปี จงึ สวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๔๖ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๔ (พระเจา้ เสือ) เป็นกษัตริย์ท่ีข้ึนครองราชย์ต่อมา (พ.ศ. ๒๒๔๖ – ๒๒๕๑) โดยเคยเปน็ พระมหาอุปราชในรัชกาลก่อน สมยั น้ีเหตุการณส์ งบเรียบร้อยเป็นปกติมากข้ึน ทรงอยูใ่ นราชสมบัติ เพียง ๖ ปีก็สวรรคต สมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เป็นกษัตริย์องค์ต่อมาที่ขึ้นครองราชย์ ( พ.ศ. ๒๒๕๑ – ๒๒๗๕ ) โดยอยู่ใน ราชสมบัตินานถึง ๒๔ ปี เหตุการณ์บ้านเมืองในช่วงนี้มีความสงบเรียบร้อยดี มีการขุดคลองมหาชัยเชื่อม ระหว่างแม่น้าแม่กลองกับแม่น้าท่าจีน โดยใช้คนถึง ๓๐,๐๐๐ คน เพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมค้าขายกับ ต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการสร้างวัดป่าโมกข์ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ และสเปนยังได้ส่งทูตจาก ฟิลิปปนิ สม์ าติดต่อค้าขายกบั ไทยด้วย ๑

ในตอนปลายรัชกาลมีเหตุการณ์ยุ่งยากขึ้นอีก คือเดิมน้ันทรงสถาปนาเจ้าฟ้าพร พระราชอนุชาเป็น มหาอปุ ราช แต่เมื่อทรงประชวรได้มอบราชสมบัตใิ ห้แก่เจ้าฟ้านเรนทรพ์ ระราชโอรสองค์ใหญ่ เจ้าฟ้านเรนทร์จึง ออกผนวชเพ่ือหนีความยุ่งยากในบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม ก็เกิดการแย่งราชสมบัติระหว่างพระมหาอุปราชกับ พระราชโอรสอกี สองพระองคแ์ ลว้ ข้ึนครองราชย์สมบตั เิ ปน็ สมเดจ็ พระเจา้ อยู่หัวบรมโกศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ข้ึนครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๗๕ – ๒๓๐๑ นานถึง ๒๖ ปี หลังจาก ความยุ่งยากในตอนต้นรัชกาลแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองก็สขุ สงบ ทรงตงั้ ให้ขุนชานาญซ่งึ เคยช่วยเหลือตอนขึ้น ครองราชย์เป็นเจ้าพระยาชานาญบริรักษ์ว่าท่ีโกษาธิบดี และทรงทานุบารุงบ้านเมืองรวมไปถึงศิลปวัฒนธรรม และศาสนา โดยส่งทตู ไปรับพุทธศาสนาลทั ธิลังกาวงศ์เผยแพรด่ ้วย ใน พ.ศ. ๒๒๙๓ เขมรเกิดความไม่สงบ เจ้าเขมรขอให้ไทยช่วยเหลือทรงช่วยให้เจ้านายเขมรกลับไป ครองเขมรได้สาเร็จ เขมรจงึ ตกเป็นเมอื งขน้ึ ของไทยตั้งแต่นน้ั มาจนส้ินกรงุ ศรีอยธุ ยา กษัตริย์ท่ีข้ึนครองราชย์ต่อมาคือ เจ้าฟ้าอุทุมพร พระราชโอรสและอุปราช แต่ก็ทรงถวายราชสมบัติ ให้กับพระเชษฐา คือเจ้าฟ้าเอกทัศ ในปี พ.ศ. ๒๓๐๑ น้ันเองหลังจากครองราชย์ได้เพียง ๒ เดือนเท่านั้น โดย เสด็จออกผนวชและประทบั ท่วี ดั ประดอู่ นั เปน็ วดั ทเ่ี คยผนวช สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ครองราชย์สมบัติต้ังแต่ พ.ศ. ๒๓๐๑ – ๒๓๑๐ รวม ๙ ปี ในช่วงแรกของการครองราชย์ บ้านเมืองมีความสุขสงบอย่างมาก พระราชกรณียกิจที่เด่น ๆ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัติเครื่องช่ังตวง เคร่ืองวัดต่าง ๆ ให้เท่ียงตรง ให้ยกเลิกภาษีอากรอันเป็นการส่งเสริมการค้าภายในประเทศ มีพ่อค้า ชาวตะวันตกมาค้าขาย ดังในคาให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวว่า “...พ่อค้าพาณิชมาต่างประเทศซ้ือง่ายขายดีทั้ง สาเภาแขกและฝรง่ั อังกฤษ จนี จามอะรมั มณีและสุรัดพอ่ คา้ มาขาย จอดสาเภาเรียงรายอยู่ท่หี น้าทา่ นัน้ เปน็ อัน มากมายนกั หนาทงั้ อาณาประชาราษฎรท์ งั้ ปวงกเ็ กษมสุขทัง้ กรุงศรีอยุธยา...” นอกจากนั้นมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา โปรดให้หล่อพระพุทธรูปและเสด็จไปนมัสการ พระพทุ ธบาททุกปี เนือ่ งจากการค้าขายเจรญิ จงึ นาเงินไปบารงุ พุทธศาสนาและบรจิ าคแก่คนยากจนได้ พระเจา้ เอกทัศครองราชย์ได้ ๙ ปีเศษ กรุงศรีอยุธยาก็ล่มสลายลงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ จากคาวิจารณ์ของ ชาวต่างประเทศเกี่ยวกับกษัตริย์พระองค์น้ีกล่าวว่า “ พระเจ้าแผ่นดินซ่ึงไม่มีความรู้เกี่ยวกับการบริหาร บ้านเมือง หรือเก่ยี วกับเร่ืองสงคราม ไม่ทรงมีอานาจที่จะขจัดเหตุร้ายได้ ” ลักษณะเช่นนี้จึงจะมีส่วนทาใหเ้ สีย กรุง แต่ในคาให้การขนุ หลวงหาวัดกล่าวว่า “อายุพระศาสนาและพระนครจักส้ินสดุ สภาพจึงเป็นไป กพ็ อพระ มาไดค้ รองพาราในเม่ือจะส้ินชะตา กรุงไกรกม็ าวบิ ัติใหเ้ ปน็ ไป จึงเกิดเหตเุ ภทภัยบดั นี้ ” ๒

ในชว่ งรชั กาลสมเด็จพระเพทราชามาจนถงึ สมเด็จพระเจา้ เอกทศั เป็นระยะเวลา ๗๙ ปีนน้ั เปน็ ช่วงที่มี เหตุการณ์วุ่นวายในรัชกาลต้น ๆ คือในสมัยพระเพทราชาและก็สงบสุขมาโดยลาดับ ซ่ึงเป็นโอกาสให้ พระมหากษัตริย์ได้สร้างสรรค์ความเจริญแก่บ้านเมืองด้านต่าง ๆ จนกระท่ังถึงรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นช่วงที่มีความเจริญทางด้านศิลปกรรมและวรรณคดีมากท่ีสุด ในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ มีกวีและผลงาน สาคัญหลายเรอ่ื ง และคงจะมกี ารสร้างสรรค์วรรณคดีอกี มากถา้ หากกรุงศรีอยธุ ยาจะยังคงอยู่ไมล่ ่มสลายลง ๖.๑ กวีและวรรณคดสี มัยอยุธยาตอนปลาย ภายหลงั ยคุ รุ่งเรืองแหง่ วรรณคดีในสมยั สมเด็จพระนารายณไ์ ดผ้ ่านพ้นไปแลว้ บ้านเมืองก็ว่นุ วาย มีท้งั กบฏ ภายในและศึกสงคราม จนกระท่ังถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (ครองราชย์ใน พ.ศ. ๒๒๔๕) วรรณคดี และกวีจึงกลับมาฟ้ืนคืนชีวิตข้ึนมาอีกคร้ัง กวีคนสาคัญและวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนปลายซ่ึงเป็นท่ีรู้จักกัน ในปัจจุบัน มีดงั น้ี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์วรรณคดีตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ แต่ในรัชกาล ของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ขณะท่ีดารงพระอิสริยยศเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงพระราช นิพนธโ์ คลงชะลอพระพุทธไสยาสน์อันเป็นบทสดดุ ีบญุ ญาธกิ ารของพระมหากษัตรยิ ์คือ สมเด็จพระเจา้ ท้ายสระ ผูเ้ ปน็ พระเชษฐา และไดบ้ นั ทกึ เหตุการณป์ ระวตั ิศาสตร์ไว้สว่ นหน่งึ ดว้ ย เจ้าฟ้าอภัย ซึ่งเป็นโอรสสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ ได้รับมอบราชสมบัติระหว่างที่พระเชษฐาทรงผนวชอยู่ ตอ่ มาพระเจ้าอาคือ กรมพระราชวังบวรฯ (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) แย่งราชสมบัติได้จึงหนีไปซ่อนตัวใน ป่าและถกู ปลงพระชนม์ดว้ ยท่อนจนั ทร์ เจ้าฟ้าอภัยเขียนโคลงนริ าศไวค้ วามยาวทัง้ หมด ๒๕ บท เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กรมพระวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ หรือท่ีเรียกกันเป็นสามัญว่า “ เจ้าฟ้ากุ้ง ” ทรงเป็น รัตนกวีสาคัญในสมัยอยุธยาตอนปลายน้ี ทรงเป็นพระราชโอรสองคใ์ หญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หวั บรมโกศ วรรค ดีท่ีทรงนิพนธ์ไว้และสืบทอดมาถึงยุคปัจจุบันมีมากกว่ากวีอื่น และแต่ละเร่ืองก็ชี้ชัดถึงอัจฉริยะทางวรรณศิลป์ ของพระองค์เป็นอย่างดี เป็นที่น่าเสียดายว่าทรงมีพระชนม์มายุเพียงไม่ถึง ๔๐ พรรษา หากทรงพระชนม์ชีพ ยืนนานกว่าน้ีคงมีวรรณคดีท่ีดีเด่นสืบทอดมามากกว่านี้ และหากได้เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์ครองกรุงศรี อยุธยา วรรณคดีไทยในรัชสมัยของพระองค์คงจะรุ่งเรืองมาก พระนิพนธ์ท่ีเหลือสืบมามี บทเห่เรือ ๔ บท บท เหเ่ ร่อื งกากี ๓ ตอน บทเห่สังวาสและเห่ครวญอย่างละ ๑ บท กาพยห์ ่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์หอ่ โคลงนิราศ ธารทองแดง นันโทปนันทสตู รคาหลวง พระมาลยั คาหลวง และยังมีเพลงยาวทเี่ ชอื่ กันวา่ ทรงนพิ นธอ์ กี บางบท ๓

พระมหานาควัดท่าทราย เป็นกวีได้แต่งเรื่องบุณโณวาทคาฉันท์ อันเป็นฉันท์เล่มเดียวในช่วงอยุธยา ตอนปลายน้ี เน้ือความพรรณนาความวิจิตรและประวัติของพระพุทธบาทได้อย่างไพเราะมาก และยังมีโคลง นิราศพระพุทธบาทซึ่งเขา้ ใจกันว่าพระมหานาควัดท่าทรายเป็นผู้แตง่ อีกเรอ่ื งหนึ่ง แต่วรรณคดีเร่ืองน้ีต้นฉบบั ไม่ สมบรู ณ์ หลวงศรีปรีชา (เช่ง) เป็นผู้แต่งวรรณคดีเร่ือง ศิริวิบุลกิตต์ิ อันเป็นกลอนกลบท ซ่ึงแสดงถึง ความสามารถเปน็ พิเศษใน เชงิ กวี ๖.๒ วรรณคดีสมยั อยุธยาตอนปลาย วรรณคดีซึง่ เช่อื กนั ว่าแต่งในสมัยอยธุ ยาตอนปลายมีดังน้ี ๒.๑ โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ วรรณคดีเร่ืองน้ีเชื่อกันว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพระราช นิพนธ์ในขณะท่ีทรงเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ เหตุที่แต่งเรื่องนี้มา จากตล่ิงหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ถูกน้ากัดเซาะพังเข้าไปถึงหน้าพระวิหารจนพระพุทธ ไสยาสน์อาจพังลงน้า สมเด็จพระเจ้าท้ายสระรับส่ังให้พระราชสงครามเป็นแม่กลองในการเคล่ือนย้าย พระพุทธรูป ดังนั้นพระนิพนธ์เร่ืองน้ีจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะบันทึกเหตุการณ์มหัศจรรย์ท่ีสามารถชะลอพระพุทธ ไสยาสน์สาเรจ็ และเพ่ือเฉลิมพระเกียรตบิ ญุ ญาภนิ ิหารสมเดจ็ พระเจ้าท้ายสระใหป้ รากฏ เนื้อความกล่าวถึงเหตุการณ์ว่า น้าได้กัดเซาะเขื่อนด้านตะวันตกมาจนถึงวหิ ารพระพุทธไสยาสน์ซ่ึง เป็นท่ีเคารพของประชาชน แม้ทางวัดจะจัดการก็ไม่ได้ผล พระอธิการจึงร้องเรียนมายังพระมหากษัตริย์ จึงมี รับสั่งให้พระราชสงครามจัดการชะลอพระให้พ้นน้า รายละเอียดของเน้ือเรื่องตรงตามที่พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหตั ถเลขากล่าวไว้วา่ “สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปวัดป่าโมกข์ให้ร้ือพระวิหารและให้ตั้งพระราชตาหนักพลับพลาชัย ใกล้วัดชีปะขาว ยับยั้งรั้งแรมอยู่ ๖ วนั บ้าง กับด้วยพระอนุชาธิราชกลบั ไปกลบั มา ให้กระทาการอยู่ ๓ วันบ้าง ๔ วนั บ้าง แล้วกก็ ลบั มาพระนคร พระยาราชสงครามเกณฑ์ให้ขา้ ราชการไปตดั ไมย้ าว ๑๔ วา ๑๕ วา หน้าใหญ่ ศอกคืบบ้าง ยาว ๔ วา หน้าใหญ่ศอกหน่ึงบ้างให้ได้มาก ทาตะเฆ่แม่สดึงให้เล่ือนเป็นตัว ไม้หน้าใหญ่ศอกหน่ึง หน้าน้อยคืบหน่ึงเป็นอันมาก ให้เอาไม้ยาว ๓ กา ๓ วา กลึงเป็นกง เลื่อยกระดานหนา ๒ นิ้วจะปูพ้ืนทางจะ ลากตะเฆ่น้ัน ให้ปราบที่ให้เสมอทุบตีด้วยตะลุมพุกให้ราบเสมอ ให้ฟั่นเชือกน้อยใหญ่เป็นอันมาก แล้วให้เจาะ ฐานแทน่ พระเจ้านั้น ช่องกว้างหน่ึงศอก เอาไว้ศอกหน่ึง ช่องสูงคืบหน่ึง เวน้ ไว้เป็นฟนั ปลาเอาตะเฆ่แอบเข้าทั้ง สองข้าง ร้อยไม้ขวางทางที่แม่สดึงแล้วสอดกระดานหนาคืบหน่ึงนั้นบนหลังตะเฆ่ลอดช่อง แล้วเจาะขุดร้ืออิฐ ๔

ระหว่างกระดานที่เว้นไว้เป็นฟันปลานั้นออกเสีย เอากระดาษหนานั้นสอดให้เต็มทุกช่อง แลการผูกรัดร้อยรึง กระดานท้งั ปวงม่ันคงบริบรู ณ์ หา้ เดือนสาเรจ็ แล้วทุกประการ คร้ันได้ศุภวารดิถีเพลาพิชัยมงคลฤกษ์ดีแล้ว ให้ ชะลอชักลากตะเฆ่ท่ีทรงพระพทุ ธไสยาสน์ไปเขา้ ท่ีอนั จะกระทาพระวิหารไดส้ าเรจ็ บรบิ ูรณ์ ” ต่อจากการกล่าวเหตุการณ์ชะลอพระพุทธไสยาสน์ก็ลงท้ายด้วยการเชิญพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ทรง อภบิ าลพระมหากษตั รยิ ์ คาประพันธ์แตง่ ดว้ ยโคลงสี่สภุ าพ ดงั ตวั อยา่ ง ๏ หอระฆงั ต้งั แตง่ ไว้ ทาสการ คหู าปรากฏสถาน แนง่ นอ้ ย พระสงคท์ รงธรรมสาร แสวงโมกข์ ในกิจสทิ ธิการร้อย สง่ิ สร้างผดงุ บุญ ๏ คูขดุ สดุ เลห่ ์เลีย้ ว วงเวยี น รอบราบปราบสถิตยเ์ สถียร ปลูกไม้ ทส่ี ถานสอ้านสอาดเตียน แลลิ่ว ไผส่ ลับระดบั ระเดยี นให้ ชอบช้ันพรรณราย ๒.๒ โคลงนิราศเจา้ ฟ้าอภัย เป็นโคลงท่เี จา้ ฟา้ อภัยโอรสพระเจ้าทา้ ยสระซงึ่ ได้รบั มอบราชสมบัติแตถ่ ูก ช่วงชิงและถูกปลงพระชนม์ในท่ีสุดทรงพระนิพนธ์ไว้ โคลงสี่สุภาพเร่ืองน้ีมีเพียง ๒๕ บทเท่านั้น พรรณนาการ เดินทางจากอยุธยาไปลพบุรีผ่านทุ่งสมอคอน วังวารี และจบลงด้วยการบวงสรวงศาลเจ้าแห่งหน่ึงเข้าใจว่า เนอ้ื หาสูญหายไป ตัวอย่างคาประพันธ์ ๏ พิศโพธส์ิ ามต้นเติบ ตายสอง ยังแต่เดียวดูหมอง แม่นเศรา้ อกเรยี มกป็ ูนปอง ปานเปรยี บ โพธิ์แม่ ๕

กลพจี่ ากเจา้ เคลา้ คคู่ ลา้ ยโพธ์คิ ะนึงฯ ๏ มาดลตาบลบา้ นท้าย โพแตง อกชา้ แตงบแดงเลยแดง ล่วิ จาก ชา้ ใจทราแลง เร่งช้าทรวงถวลิ จากแม่ไปหนาซ้า ๒.๓ นันโทปนันทสูตรคาหลวง เป็นวรรณคดีที่เจ้าฟ้าทรงธรรมธิเบศร์ทรงนิพนธ์เม่ือครั้งออกผนวช โดยมีฉายานาม “สิริปาโลภิกขุ” การแต่งหนังสือเล่มน้ีระบุไว้ชัดเจนว่า เพ่ือให้ประสบความสุขความเจริญ พ้น ภยนั ตรายต่าง ๆ ระยะเวลาท่ีแต่งระบุไว้ว่า จ.ศ. ๑๐๙๘ เนื้อเรื่องได้เค้ามาจากสูตรหนึ่งในคัมภีร์ทีฆนิกายสีล ขันธ์ที่พระมหาพุทธสิริเถระแต่งไว้เป็นภาษาบาลีอันเป็นเรื่องที่พระมหาโมคคัลลานะเถระทรมานพญานัน โทปนนั ทนาคราช ผู้ทรงนิพนธ์เร่ิมต้นด้วยการนมัสการพระรัตนตรัย บอกนามผู้แต่งแล้วจึงเข้าเร่ืองโดยเล่าเรื่องขณะท่ี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา้ ขณะประทับท่ีเชตวันมหาวิหารพร้อมด้วยบรรดาสาวกนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ อาราธนาให้เสด็จทรงรับบาตรในเช้าวันรุ่งข้ึน พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นนันโทปนันทะ พญานาคราชผู้ยึด ม่ันในทิฐิหันมารับธรรมะ แล้วพระพุทธองค์และพระอัครสาวกทั้ง ๕๐๐ องค์ก็เสด็จเหาะข้ามเศียรนัน โทปนันทนาคราชไปยังเขาพระสุเมรุ พญานาคราชพิโรธมากจึงนิรมิตกายใหญ่โตแผ่พังพานบดบังจนถึงสวรรค์ ช้ันดาวดึงส์ แต่พระโมคคัลลานะก็เสด็จไปปราบโดยแสดงอิทธิฤทธิ์ย่ิงกว่า จนพญานาคยอมแพ้และขอเข้าเฝ้า พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงให้รักษาศีล แล้วจึงเสด็จไปรับบาตรที่บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ในตอนท้ายได้ บอกนามผู้แต่งอกี คร้งั การแต่งน้ันเปน็ แบบเดียวกับมหาชาติคาหลวง คือกล่าวคาถาไวข้ า้ งหน้าแล้วตามดว้ ยร่ายยาวตอนทา้ ย เป็นโคลงส่ีสุภาพ ตัวอยา่ งคาประพันธ์ (ตอนพระโมคคัลลานะทรมานพญานาค) นาหโกธาปฺนเิ ยน โทสนฺตเรน วา กโรมิ ตุมฺหากมจิ จฉามคคฺ โต ปริโมเจตวฺ า สุมคฺเคปติฏฐาปนายาติ อัน ว่าพระมหาโมคคัลลาน กเปลง่ พระอุทานทวนขา่ ว กล่าวแก่พาสเุ กรนทรราชา อันว่าอาตมภาพนบ้ี มีกทาซ่ึงกมั ม นั้น ด้วยฉันทาคดี แลบมีทยา แลใจหยาบอันคุมนุมโรช ทาเพ่ือจโปรดเปนประธานจะเปล้ืองท่านจากมรรคา ๖

อันเป็นมิจทิฏฐินิตย แลท่านย่อมเหนผิดเปนชอบ อันกอปรด้วยกรรมลามกกจยกท่านไว้ในมรรคา อันชอบ ธรรมบวราอธิก แล ๒.๔ พระมาลัยคาหลวง เป็นวรรณคดีท่ีเชื่อกันว่าเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ความมุ่ง หมายก็คือ เพ่ืออุทิศให้พระศาสนาอันจะช่วยให้ผู้ทรงนิพนธ์พบกับพระศรีอริยเมตไตรย ซึ่งเป็นความเช่ือของ คนไทยแต่โบราณที่เชื่อกันว่าพระมาลัยนาความมาบอกมนุษย์ให้สร้างกรรมดีจะได้ไปเกิดในศาสนาของพระศรี อาริย์ทม่ี นษุ ย์ทุกคนจะมีความสุขถว้ นท่ัวกนั เน้ือหาของวรรณคดีเร่ืองน้ีเริ่มต้นโดยการนมัสการพระรัตนตรัย จากน้ันกล่าวถึงพระมาลัยเถระไป โปรดสัตว์ในนรก ต่อจากน้ันก็เหาะเหินไปถึงสวรรค์เพื่อโปรดเทพยดาท้ังปวง โดยพระมาลัยนาดอกบัวไปบูชา พระจุฬามณีเจดีย์ได้พบพระอินทร์และศรีอริยเมตไตรยแล้วพระมาลัยก็นาความมาเล่าให้ฟังว่า ผู้อยู่ในนรก ได้รับทุกข์อย่างไร ญาติพ่ีน้องจะได้อุทิศกุศลไปช่วยให้สบายข้ึน อยู่ในสวรรค์มีความสุขอย่างไร ต้องทาความดี อย่างไร บอกความที่พระศรอี ริยเมตไตรยให้มาประกาศแก่ชาวโลกว่า ผู้ใดใคร่เกดิ ทันศาสนาของพระองค์ให้ทา ความดตี า่ ง ๆ เช่น ฟงั เทศน์มหาชาตคิ าถาพันใหจ้ บในวนั เดยี วกนั ตอนท้ายบอกจุดประสงคท์ ที่ รงพระนิพนธ์ คาประพนั ธ์ในเรอื่ งเขียนเปน็ ร่าย ท่วงทานองคลา้ ยกาพย์มหาชาติ ตอนทา้ ยสรุปด้วยโคลงส่ีสภุ าพ ตัวอย่างคาประพนั ธ์ (ตอนพระมาลัยถามเทพยดาท่ีมาไหว้พระเจดีย)์ ๏ อปเร วีสติสหสฺเส ลาดับกันเทเวศร์ หน่ึงวิเศษจรจัล บังคมคัลสถูปรัตน์ รังสีชัชวาลช่ืน เทพ สองหมื่นสรรพสัช มาลัยทัศนาเล่า กามกลเก่าบนาน ใช่พระศรีอริย์แล้วถาม ถึงนามกรรมแต่บรรพ์ เทวรา ชช้ันกล่าวสาร ก่อนถงึ กาลเทวบตุ ร เปน็ มนุษย์ชนชาย เธอได้ถวายบณิ ฑบาต สังฆอ์ ายาจนโ์ ทนเที่ยว ทพั พเี ดียว ด่งั น้ัน ได้เสวยสวรรคเ์ ทวฐาน มีบริวารสองหมน่ื แม้นบุคคลอน่ื อันอวย ทานสละสลวยแกส่ งฆ์ ใหท้ านจงปูนกัน จะได้ผลนัน้ เสมอสมาน บริวารมานเพยี งนนั้ สองหมืน่ มน่ั พรรณราย เทวาฉายรัศมี ถงึ เจดียก์ ็บชู า สุคนธามาลย์ มาศ ถวายอภวิ าทเวียรวาร นสิ ีทิสถานอุดร ก็ประนมกรสถิต อยู่แล ฯ ๒.๕ บทเห่ บทเห่ในสมัยอยุธยาประกอบด้วย บทเห่เรือ บทเห่เรื่องกากี บทเห่สังวาสและเห่ครวญ สาหรับบทเห่เรือและบทเห่เรื่องกากี เช่ือว่าเป็นพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ สว่ นที่ ๒ บทไม่สู้จะแน่ใจนกั แต่ ตน้ ฉบับของเก่าอยูด่ ้วยกนั จึงสนั นษิ ฐานว่าอาจเป็นพระนิพนธ์ดว้ ย ๑) บทเห่เรือ เป็นพระนิพนธ์ในคร้ังตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการและสมโภชพระ พุทธบาทสระบุรี มี ๔ ตอน คือ เห่ชมเรือกระบวน เห่ชมปลา เห่ชมนก และเห่ชมไม้ ตอนแรกถือเป็นตอนท่ี ๗

ไพเราะมาก บทเห่เรอื ของเจ้าฟา้ ธรรมธเิ บศรเ์ ป็นที่รู้รักและยงั คงใชเ้ ห่เรือมาจนปจั จบุ ัน บทเห่ขึ้นต้นดว้ ยโคลงสี่ สภุ าพ ๑ บทตามด้วยกาพยย์ านี ดงั ตวั อย่าง โคลง ๏ ปางเสดจ็ ประเวศด้าว ชลาไลย ทรงรัตนพิมานไชย กิ่งแกว้ พร่ังพรอ้ มพวกพลไกร แหนแห่ เรอื กระบวนต้นแพร้ว เพริศพร้งิ พรายทอง ช้าลวะเห่ ๏ พระเสดจ็ โดยแดนชล ทรงเรอื ตน้ งามเฉดิ ฉาย ก่งิ แก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยบั จบั งามงอน ๏ นาวาแนน่ เปน็ ขนัด ล้วนรปู สัตว์แสนยากร เรือร้วิ ทวิ ธงสลอน สาครล่นั คร่ันครน้ื ฟอง ๒) บทเห่เรื่องกากี เป็นพระนิพนธ์ที่แต่งเฉพาะตอนพญาครุฑลอบเข้ามาหานางกากีใน ปราสาทของพระเจ้าพรหม และอุ้มนางไปสู่สมยังวิมานสิมพลีเร่ิมด้วยโคลงและตามด้วยกาพย์เช่นกัน ดัง ตวั อยา่ ง โคลง ๏ กางกรอ้มุ โอบแก้ว กากี ปกี กระพือพาศรี สูง่ ้วิ ฉาบฉวยคาบนาคี เปน็ เหยอื่ หางกระหวดั รดั หิ้ว สูไ่ ม้รงั เรอื ง เจ้างามแพรว้ สารสรรพางค์ ๏ กางกรอุ้มโอบแก้ว พลางคลึงเคลา้ เตา้ จรจรัล ปีกปกอกเอวนาง เปน็ ภกั ษาพาผกผัน ฉวยฉาบคาบนาคา ๘

หางกระหวัดรดั รึงพัน ดั้นเมฆามาสมิ พลี ๓) บทเห่สังวาสและเห่ครวญ เป็นบทพรรณนาความรัก ความคิดถึง ความอาลัยนางทานอง นริ าศ เป็นบทเห่สน้ั ๆ ขน้ึ ตน้ ด้วยโคลงและกาพย์ยานเี ชน่ เดียวกับบทเห่ทั่วไป ดังตวั อยา่ ง บทเหส่ ังวาส โคลง ๏ พ่ีชมพเี่ ชยแล้ว พลางถาม เจา้ มอิ ืออาความ ไปพรอ้ ง เจา้ เออ้ื นมิเออขาม เขนิ พี่ อย่ฤู ๅ ผนั พกั ตรมาอยา่ ขอ้ ง ขัดแค้นเคืองเลยฯ ชา้ ลวะเห่ ๏ พช่ี มพี่เชยพลาง พ่ถี ามนางเจ้าไมอ่ อื เจ้าเขินอายพ่ีฤๅ พข่ี อถามความจรงิ นาง บทเห่ครวญ โคลง ๏ รอนรอนสุรยิ คลอ้ ย สายัณห์ เรือ่ ยเร่ือยเร่ือแสงจนั ทร์ ส่องฟ้า รอนรอนจติ กระสัน เสยี วสวาท แมเ่ อย เร่อื ยเรอ่ื ยเรยี มคอยถ้า ท่ีนัน้ ห่อนเห็น กาพย์ ๏ เรอ่ื ยเรอื่ ยมารอนรอน สุริยาจรเขา้ สายณั ห์ เรื่อรองส่งสจี ันทร์ สง่ แสงกล้านา่ พศิ วง ๙

๒.๖ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารทองแดง เป็นพระราชนิพนธท์ ี่ต่อเนื่องจากบทเห่ คือพรรณนาความต่อ จากการเสด็จทางชลมารค โดยเปล่ียนเป็นทางสถลมารคต้ังแต่ท่าเจ้าสนุกไปถึงพระพุทธบาท ชื่อธารทองแดง นั้นเป็นที่ประทับแรม เน้ือหากล่าวถึงกระบวนช้าง เครื่องสูง หมู่นางสนมกานัลท่ีเดินทางไปพระพุทธบาท พรรณนาธรรมชาติอันได้แก่ สัตว์ป่า พันธ์ไม้ สัตว์น้า และความร่ืนรมย์ในการเดินทางผ่านธรรมชาติ วรรณคดี เร่ืองนี้สันนิษฐานว่าจะขาดหายไปเพราะเริ่มต้นโดยการกล่าวถึงกระบวนช้างทันที (ต้นฉบับสมุดไทยท่ีมีอยู่มี เพยี งนี)้ ตัวอยา่ งคาประพันธ์ ๏ เครือ่ งสูงเพราเพริดพราย ชมชมุ สายซา้ ยขวาเคียง ธงไชยธงฉานเรยี ง ปก่ี ลองชนะตะเตอ่ งครึมฯ เดิรเรียง ๏ กลองทองตีครุม่ ครม้ึ ครมุ่ ครึน้ วา่ ตะเตงิ เติงเสยี ง กระเวก เสยี งป่รี ่เี ร่ือยเพยี ง หวู่หวูเ้ สียงสังข์ แตรน้ แตร่นแตรฝรั่งขน้ึ ปากแฉกตรงทรงหาบหาม ๏ กะเชา้ เจา้ บรรจง แลง่ ปนื ของพระราม รปู งามดีมีสบื มา ๏ กระเช้านางแต่งเจ้า ผจงงาม หว่ งหอ้ ย ปากแฉกทรงหาบหาม ยงั อยู่ แล่งปืนของพระราม งอดขึน้ สบื มา รูปร่างงามน้อยน้อย ๒.๗ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก เป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ที่ทรงนิพนธ์เมื่อคร้ังตาม เสด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปพระพุทธบาท โดยพรรณนาความอาลัย ความรัก “ สาวศรี ” ตามระยะเวลาท่ี ผ่านไป ในทานองเดียวกับทวาทศมาส จัดเป็นนิราศเรื่องเดียวท่ีแต่งด้วยกาพย์ห่อโคลง ผู้ทรงนิพนธ์บอกพระ ๑๐

นามไว้ชัดแจ้งและยังกาชับว่าผู้อ่านควรอ่านให้ถูกและไพเราะด้วย การพรรณนาน้ันคร่าครวญตามโมงยาม ต้ังแตร่ ่งุ เช้าจนครบวนั แล้วพรรณนาตามวัน เดือน โดยแทรกประเพณีด้วย ตวั อย่างคาประพนั ธ์ ๏ไรน้อยร้อยระเบยี บ เป็นระเบียบเรียบตามแนว รม่ เกล้าเพราสองแถว ปีกผมมวยรวยไรนางฯ ถอนแถว ๏ไรนอ้ ยร้อยแหนบท้ึง เป็นระเบียบตามแนว รอบเกลา้ รมิ เผ้าเพราพรง้ิ แวว แลเลศิ ผมมวยรวยปกี เจา้ เรยี บรอ้ ยไรงามฯ ๏เจา้ พีส่ ่ีโมงเยน็ เร่งเปนเข็ญเหน็ สาวศรี มิได้เลยเคยชมนางฯ อนื่ มาหายินดี ๏เพลาสรุ ยิ ออ่ นเรือ้ ย รงั สี พิศเพ่งเล็งสาวศรี เชอ่ื งใช้ สาวอน่ื พดู พาที นบนอบ ไม่ชื่นจรงิ ยง่ิ ได้ เดอื ดร้อนคะนึงนาง ๒.๘ เพลงยาวพระราชนพิ นธ์เจา้ ฟ้าธรรมธิเบศร์ มีหลักฐานตกทอดมาให้อา้ งอิงเพยี ง ๓ สานวน แต่ โดยความจริงคงมีมากกว่านี้ คงสูญหายไปเม่ือคราวเสียกรุง นอกจากเพลงยาวในสมัยอยุธยา ๓ สานวน ที่น่า เชอื่ ว่าเจ้าฟา้ ธรรมธเิ บศร์ทรงพระนพิ นธเ์ พราะมพี ระนามผแู้ ตง่ กากับ คงจะมีเพลงยาวสานวนอ่ืนที่มีข้อสงสัยไม่ แน่ใจอยวู่ า่ ผู้ใดแต่งกนั แน่อีก คาประพนั ธใ์ นเพลงยาวแต่งเป็นกลอนอันเปน็ คาประพันธ์ทเี่ กดิ ขึน้ ใหมใ่ นสมัยอยธุ ยานี้ ตวั อย่างคาประพนั ธ์ สานวนท่ี ๓ แสนวิตกเหมอื นกระต่ายท่ใี ฝ่ฝัน แสงพระจนั ทร์งามจรเวหาศห้อง ๑๑

พระจนั ทรอ์ ยูส่ าราญวิมานทอง ฤๅจะปองใจหมายกระต่ายคง สงสารอกกระต่ายป่าปกั ษาชาติ จะวายชวี าตม์ดบั ชีวิตดว้ ยพิศวง แสนคะนึงถงึ เสน่หท์ ่ีจานง ก็เหมอื นอกกระตา่ ยดงทีห่ ลงเดอื น ๒.๙ บุณโณวาทคาฉันท์ แต่งโดยพระมหานาควัดท่าทราย ในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหัวบรม โกศไปนมัสการพระพุทธบาท เน้ือหาจึงเป็นการกล่าวถึงตานานพระพุทธบาทและการสมโภช พระมหานาค กล่าวไว้ในตอนต้นและตอนสุดท้ายของเร่ืองว่านามาจากบุณโณวาทสูตร เน้ือความของเร่ือง เริ่มด้วยการบูชา พระรัตนตรัยเทพเจ้าของพราหมณ์ แล้วกล่าวถึงตานานพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดสัจพันธโค ดม ซึ่งอยู่ ณ เขาสุวรรณบรรพตในสุนาปรันตนิคม และให้สัจพันธเถระโปรดสัตว์ สัจพันธเถระจึงขอให้พระ พุทธองค์ประทับรอยพระบาทไว้ ณ ยอดสุวรรณบรรพต ต่อมากษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาได้สร้างพระมณฑป สวมรอยพระพุทธบาทไว้ ครั้งถึงเดือนที่ ๔ พระเจ้าบรมโกศเสด็จพระราชดาเนินมายังพระพุทธบาทโดยทาง ชลมารคและทรงสถลมารค มีการพรรณนาชมขบวนพระยุหยา-ตรา ชมมหรสพท่ีจัดข้ึนเพ่ือสมโภชพระพุทธ บาท อาทิ โขน ละครหุ่น โมงครุ่ม มวยปล้า ดอกไม้ไฟ ฯลฯ เม่ือสมโภชครบ ๗ วันแล้ว ก็นมัสการพระพุทธ บาท และจบลงดว้ ยโคลงบอกนามผู้แต่ง คาประพันธท์ ี่ใชเ้ ป็นฉันท์และกาพย์ นบั วา่ เปน็ ฉันท์เรือ่ งหนง่ึ ท่ีมคี วามไพเราะมาก ดงั ตวั อย่าง ๏ใบโพสุวรรณห้อย รยาบย้อยบรุงรงั ลมพดั กระดงึ ดัง เสนาะศพั ทอลเวง อันดงึ ดดี ประโคมเพลง ๏เสียงดจุ สังคีต รเรื่อยจบั ระบาถวาย เพยี งเทพบรรเลง เปน็ ครุฑอัดอรุ าผาย จะหยบั เผยอบนิ ๏พา่ งพ้ืนที่ฐานบัตร วชิรช่วงมณีนิล กรกมุ สุกรรี ่าย นเรศฟอ้ นชอ้อนรา ๏สงิ หอ์ ดั กอ็ มดวง เทพนมขนัดกิน ๑๒

๒.๑๐ โคลงนิราศพระพทุ ธบาท เปน็ โคลงท่ีพระมหานาควัดท่าทรายแต่งเช่นเดยี วกนั โดยสนั นิษฐาน วา่ แต่งให้คู่กับบุณโณวาทคาฉันท์ท่ีเล่าตานานพระพุทธบาทและการสมโภชโดยมิได้คร่าครวญในเชิงนิราศครั้น มาถึงเร่อื งนจี้ งึ เปน็ การแสดงความสามารถในทานองแตง่ แบบนริ าศของผู้แต่งซงึ่ จดั วา่ ดเี ดน่ มาก โคลงนิราศเร่ืองนี้มีเพียง ๒๕ บทเท่าน้ัน โดยอยู่ในหนังสือโคลงกวีโบราณท่ีพระยาตรังบันทึกรวบรวม ไว้ เข้าใจว่าคงสูญหายไปมาก เนื้อความกล่าวถึงการเดินทางจากอยุธยาถึงสระบุรีโดยคร่าครวญถึงนางอย่าง ไพเราะ แต่งโคลงด้วยโคลงสสี่ ุภาพ ดงั ตัวอยา่ ง ๏เหน็ โศกเรียมเร่งเศรา้ สงสาร โศกร่างโรนโรยราน แกเ่ ถ้า โศกเอยจะยืนนาน อยเู่ มอ่ื ใดนา ดูโศกดูเรยี มเศรา้ โศกเศรา้ เหมือนเรียม ๏ศรเนตรเสยี บเนตรค้น คมขัน ศรสาเนียงตรึงกรรณ ส่งช้า ศรโฉมแมย่ งิ ยัน ยายาก ตอ้ งผู้ใดอกชา้ เฉกทา้ วสวดศร ๒.๑๑ ศิริวิบุลกิตต์ิ เป็นวรรณคดีที่แต่งเป็นกลอนกลบทถึง ๘๖ บท นาเค้าเรื่องมาจากศิริวิบุลกิติ ชาดก อันเป็นเร่ืองหนง่ึ ในปญั ญาสชาดกที่ภิกษชุ าวเชียงใหม่แต่งขึ้น เนื้อความเร่ิมจากพระโพธสิ ัตวม์ าเสวยชาติ เป็นโอรสท้าวยศ-กิติ์และนางศิริมดีแห่งนครจัมบาก เม่ือนางศิริมดีทรงพระครรภ์ทรงพระสุบินว่าดาบสเหาะ มาแล้วนาแก้วมาให้ โหรทานายวา่ จะได้โอรสแต่จะต้องพลัดพรากจากเมืองซ่ึงก็เป็นจริงเพราะท้าวพาลราชยก ทพั มาล้อมเมอื ง ท้าวยศกิต์ิและพระมเหสีจึงหนีไปผนวชท่เี ขาวิบูลบรรพต พระนางศิริมดปี ระสตู ิโอรสที่เขานั้น มีช่ือว่าศิริวิบุลกิตติ์ พรานป่านากองทัพศัตรูมาจับท้าวยศกิต์ิไป พระโอรสก็ติดตามไปขอรับโทษแทน แต่จะ ประหารชีวติ อยา่ งไร พระศิริวิบุลกติ ต์ิก็ไม่ตาย จนกระทั่งท้าวพาลราชถูกธรณีสูบ พระศริ ิวิบุลกิตต์ิก็ครองเมือง ดว้ ยความสขุ ๑๓

เรอื่ ง ศิริวิบุลกติ ต์ิ น้ีระบุชื่อผู้แต่งไว้ในตอนต้นว่าหลวงศรีปรีชา (เช่ง) ผู้เป็นโหรในกรมพระราชวังบวร แต่งไว้โดยมีจุดประสงค์จะเป็นพุทธบูชาและหวังอานิสงส์แก่ตน แต่งเป็นกลอนกลบทชนิดต่าง ๆ อันแสดงให้ เห็นฝีมือของผู้แต่งอย่างมาก อย่างไรก็ตามวรรณคดีเรื่องนี้ มีผู้รู้ให้ข้อสันนิษฐานว่าอาจจะไม่ได้แต่งในสมัย อยุธยาตอนปลาย คือในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศดังท่ีกรมพระยาดารงราชานุภาพทรงสันนิษฐาน แต่อาจ แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งผู้รู้จะต้องค้นคว้าหาหลักฐานมายืนยันกันอย่างลึกซึง้ ต่อไป แต่ในที่น้ีจะยังเชื่อตาม คาสนั นิษฐานเดิมของกรมพระยาดารงราชานุภาพที่มผี ยู้ อมรับทัว่ ไปไว้กอ่ น ตวั อยา่ งกลบท กลบทนาคบริพันธ์ ๐๐๐๐๐๐๐๐ ๐๐๐๐๐๐๐๐ กรงุ กระษตั ริย์ชดั คาโหรทานาย โหรทานนู ทูลหมายอาไลยสูญ อาไลยเสยี วเหลียวหลังให้คงั่ คนู ให้ค่ังแค้นแนน่ หนนู ด้วยดวงจันทร์ ดว้ ยดวงจอมสดุ าโหราทาย พระไทยหวังสงั เกตสงั เวชครัน โหราทูลวา่ ร้ายพระไทยหวั่น สังเวชครุน่ จติ รม่นั เอาขนั ตี กลบทธงนาริ้ว ๐๐๐๐๐๐๐๐ ๐๐๐๐๐๐๐๐ นบั นับต้งั แตน่ นั้ แม่ขวัญเมือง ผ่องผ่องผัวผุดเหลืองรงุ่ เรอื งสุด สอ่ งส่องแสงรงั สีน้ีลาอตุ ม์ ลา้ ลา้ เลิศมนษุ ยเ์ จา้ ทรงครรภ์ ดดู ูดจุ ดวงแก้วแวววิเชยี ร แววแวววาวเสถียรดเู ฉิดฉนั แจ้งแจง้ ใจว่าองคเ์ จา้ ทรงครรภ์ ชืน่ ชืน่ ดงั ชมชน้ั พมิ านพรหม ๒.๑๒ บทละครคร้ังกรุงเก่า บทละครคร้ังกรุงเก่าที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนั้นเช่ือว่าแต่งในสมัยกรุง ศรอี ยุธยาตอนปลาย ไม่ทราบนามผู้แต่งและระยะเวลาท่ีแต่ง บทละครที่ค้นพบไม่มีฉบับใดท่ีครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ชารุดหรือสูญหาย มีเพียงเรอ่ื งนางมโนหร์ าและสงั ข์ทองเทา่ น้นั ทีส่ มบรู ณ์กวา่ เร่ืองอน่ื ๆ ตัวอย่างคาประพนั ธ์ในกลอนบทละคร บทละครเรอ่ื งนางมโนห์รา ๑๔

๏ เม่ือน้ัน เอววรรณขวัญข้าวเจ้ามโนห์รา เรียกพ่ีวายวายให้กลับมา ดูใจน้องราหนาพี่เอย น้องน้ีจะ ตายในคงคา น้องจะได้เห็นหน้าคนใดเลย หยุดท่าน้องก่อนนะพี่เอ๋ย จะได้สั่งความถึงมารดา ปราสาทของน้อง พระพ่ีเอย อย่าให้แมแ่ กไวช้ ้า ให้แมแ่ กทาเปน็ ศาลา ใหย้ กบชู าแก่เจา้ ไท ให้แกทอดตะพานด้วยไมแ้ ก่น ให้แมท่ า ดว้ ยไมไ้ ผใ่ ห้แกทาบุญส่งไป ยงั เมืองสวรรค์ฟากฟ้า ฯโอดฯ บทละครเรื่องสงั ข์ทองตอนพระสงั ข์ตีคลี ๏ มาถึง ทบั นอ้ ยลูกยาเขาทาไว้ ให้หยดุ วอทองอันผ่องใส ร้องเรยี กเข้าไปมิไดช้ า้ ฯ เจรจา ๏ เมอ่ื น้ัน นางรจนาฉัยยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทนั ที ฯ เพลง ๏ ถึงเม่ือ ประนมกม้ เกล้าดษุ ฎี กุมกรพระราชชนนี เจา้ พาจรลเี ขา้ มา ฯ เสมอ คาถามทบทวน คาชี้แจง จงตอบคาถามต่อไปนี้ใหถ้ ูกตอ้ ง ทาลงในกระดาษเขียนตอบโดยไม่ต้องลอกโจทย์ และห้ามขดี เขยี นลงใน กระดาษแบบฝึกหดั แผน่ น้ี ๑. วรรณคดใี นสมยั อยธุ ยาแต่ละตอน ท้ังตอนตน้ กลางและปลาย(ในเนือ้ หาทค่ี ดั เลือกมาใหเ้ รยี นนี)้ มี ตอน(สมยั )ละกเ่ี ร่ือง รวมทั้งหมดจานวนกี่เร่อื ง ๒. “ยคุ ทองของวรรณคดไี ทย” หมายถงึ อะไร อยใู่ นยุคสมัยใดของอยุธยา ๓. วรรณคดีอยุธยาทง้ั ๓ สมยั มเี รื่องใดบา้ งท่ีจดั อยู่ในประเภท “วรรณคดีประกอบพิธกี รรม” ๔. วรรณคดอี ยุธยาท้ัง ๓ สมัย มีเร่ืองใดบ้างที่จดั อยู่ในประเภท “วรรณคดีศาสนา” ๕. วรรณคดีอยธุ ยาท้งั ๓ สมยั มีเรือ่ งใดบ้างทจ่ี ัดอยใู่ นประเภท “วรรณคดคี าสอน” ๖. วรรณคดีอยธุ ยาทง้ั ๓ สมยั มเี รือ่ งใดบ้างที่จดั อยูใ่ นประเภท “วรรณคดเี ฉลมิ พระเกียรติ พระมหากษัตรยิ ์” ๗. วรรณคดีอยธุ ยาทั้ง ๓ สมัย มีเรอ่ื งใดบ้างท่จี ัดอยใู่ นประเภท “วรรณคดตี ารา แบบเรียน” ๘. วรรณคดีอยุธยาทง้ั ๓ สมัย มเี รื่องใดบา้ งทจ่ี ดั อยู่ในประเภท “วรรณคดบี รสิ ุทธ์ิ” ๙. วรรณคดีอยุธยาทง้ั ๓ สมยั มีเรอ่ื งใดบ้างท่จี ัดอยใู่ นประเภท “วรรณคดีนิราศ” ๑๐.วรรณคดีอยธุ ยาทัง้ ๓ สมยั มีเรือ่ งใดบา้ งท่ีจัดอยู่ในประเภท “วรรณคดกี ารแสดง” ๑๑.วรรณคดอี ยุธยาท้งั ๓ สมยั มีเรือ่ งใดบ้างทีจ่ ดั อย่ใู นประเภท “วรรณคดบี นั ทึกเหตุการณ์” ๑๒.วรรณคดอี ยุธยาทั้ง ๓ สมัย มีเรอ่ื งใดบ้างที่ไมป่ รากฏนามผ้แู ต่งหรือไม่สามารถระบวุ ่าใครคอื ผูแ้ ตง่ ได้ อยา่ งแน่ชดั ๑๓.วรรณคดอี ยุธยาท้งั ๓ สมัย มีเรื่องใดบ้างที่ไดร้ ับการยกย่องจากวรรณคดสี โมสรว่าเป็นยอดแหง่ วรรณคดี ๑๕

๑๔.จงอธิบายว่าในสมัยอยุธยาแต่ละยุค ทง้ั ยุคตน้ ยคุ กลาง และยุคปลาย คาประพนั ธร์ อ้ ยกรองชนิด (ระหวา่ งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย)ที่ได้รบั ความนิยมสูงสุดในแตล่ ะยุคนนั้ คือคาประพันธ์ร้อย กรองชนดิ ใด ๑๕.กวีผแู้ ต่งวรรณคดใี นสมยั อยุธยาทงั้ ๓ ยคุ เปน็ คนในชนชน้ั ใดบ้าง ๑๖.วรรณคดอี ยุธยาท้งั ๓ ยคุ นมี้ ีเน้อื หาเกี่ยวกบั เร่ืองอะไรบ้าง ๑๗.จงยกตัวอย่างวรรณคดีท่ีแสดงให้เหน็ ถงึ ความสัมพนั ธ์ระหวา่ งการเมืองการปกครองและสถานะอนั สูงส่งของกษตั รยิ ์มา ๒ เรอ่ื ง พร้อมท้งั อธิบายว่าทง้ั ๒ เรื่องสัมพนั ธก์ บั การเมืองการปกครองและ สถาบันกษัตรยิ ์ในสมยั อยุธยาอย่างไร ๑๘. จงยกตัวอย่างวรรณคดีที่แสดงใหเ้ หน็ ถึงสภาพสังคม วิถชี วี ิต ความเปน็ อยู่ของชาวอยธุ ยามา ๑ เร่ือง พร้อมคาอธิบาย ๑๙. ในสมยั อยุธยานี้ มี “คาประพนั ธร์ อ้ ยกรองอย่างใหม่” ทีเ่ กดิ จากการนาคาประพนั ธร์ ้อยกรองมากกว่า ๒ ชนดิ ข้นึ ไปมาแต่งรวมกนั “คาประพนั ธร์ อ้ ยกรองอย่างใหม่” น้ี มีกี่ชนดิ มีชอ่ื เรียกว่าอย่างไรบ้าง และแตล่ ะชนิดนน้ั เกิดจากการนาคาประพนั ธร์ ้อยกรองชนิดใดบ้างมาแต่งรวมกนั ๒๐. จงเลือกคาประพนั ธจ์ านวน ๑ บท ใน “ลิลิตยวนพ่าย” หรอื “ยวนพ่ายโคลงดั้น” มาถอดคาประพนั ธ์ เป็นภาษารอ้ ยแกว้ ในปจั จบุ ัน(ใช้ภาษาระดบั เปน็ ทางการ) ให้ไดใ้ จความถูกต้อง เอกสารอ้างองิ เปล้อื ง ณ นคร. (๒๕๑๐). ประวัติวรรณคดีไทยสาหรับนกั ศึกษา (พิมพ์ครง้ั ท่ี ๕). พระนคร: ไทยวฒั นาพานชิ . มหาวทิ ยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช. (๒๕๒๖). เอกสารการสอนชุดวิชาภาษาไทย ๔ วรรณคดไี ทย. หน่วยที่ ๑ – ๗ กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธริ าช. เสนยี ์ วิลาวรรณและคณะ. ๒๕๔๒. ประวัตวิ รรณคดี ๑. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานชิ . ๑๖


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook