Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา สค21002 ระดับ ม.ต้น

วิชา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา สค21002 ระดับ ม.ต้น

Published by Kru Mai, 2020-06-30 04:04:38

Description: วิชา ศาสนาและหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา สค21002 ระดับ ม.ต้น

Search

Read the Text Version

92 คณะผูก อ การบางสว น ไดม ีความคิดท่จี ะเปลี่ยนแปลงโครงการเศรษฐกิจของประเทศ อยาง ใหญหลวง จึงเกดิ แตกรา วกันข้ึนเองในคณะผูกอการ และพวกพอง จนตองมีการปดสภา และงดใชรัฐธรรมนูญบางมาตรา โดยคําแนะนําของรัฐบาล ซึ่งถือตําแหนงอยูในเวลา ทาํ การนั้น ทั้งนี้ เปน เหตุใหม ีการปนปวนในการเมอื ง ตอมา พระยาพหลฯ กับพวกก็กลับ เขา ทาํ การยดึ อํานาจ โดยกาํ ลงั ทหารเปน ครงั้ ท่ี 2 และต้ังแตนั้นมา ความหวังที่จะใหการ เปลี่ยนแปลงตา ง ๆ เปนไปโดยราบรืน่ กล็ ดนอ ยลง เนื่องจาก เหตุท่ีคณะผูกอการมิไดกระทําใหมีเสรีภาพในการเมืองอันแทจริงและ ประชาชนมไิ ดมโี อกาสออกเสยี งกอนทีจ่ ะดาํ เนินนโยบายอันสําคัญตาง ๆ จึงเปนเหตุใหมี การกบฏข้ึน ถงึ กบั ตอ งตอ สฆู า ฟน กันเองในระหวา งคนไทย เม่ือ ขาพเจา ไดข อรองใหเปลี่ยนแปลงรฐั ธรรมนญู เสยี ใหเ ขารปู ประชาธปิ ไตยอันแทจ ริง เพอื่ ใหเปน ท่พี อใจแกป ระชาชน คณะรัฐบาลและพวก ซึ่งกุมอํานาจอยูบริบูรณในเวลานี้ กไ็ มย นิ ยอม ขา พเจา ไดขอรองใหร าษฎร ไดมีโอกาสออกเสียงกอนท่ีจะเปลี่ยน หลักการ และนโยบายอันสําคัญ มีผลไดเ สยี แกพลเมือง รฐั บาลก็ไมยินยอม และแมแตการประชุม ในสภาผูแทนราษฎรในเรือ่ งสําคัญ เชน เรือ่ งคํารองขอตา ง ๆ ของขา พเจา สมาชกิ กม็ ไิ ดมี โอกาสพิจารณาเรอ่ื งโดยถอ งแท และละเอยี ดลออเสยี กอน เพราะถูกเรงรัดใหลงมติอยาง รีบดวนภายในวาระประชุมเดียว นอกจากน้ี รัฐบาล ไดออกกฎหมายใชวิธีปราบปราม บคุ คล ซงึ่ ถกู หาวาทาํ ความผิดทางการเมอื งในทางท่ีผิดยุติธรรมของโลก คือ ไมใหโอกาส ตอสคู ดีในศาล มกี ารชาํ ระโดย คณะกรรมการอยา งลบั ไมเ ปดเผย ซ่งึ เปนวิธกี ารท่ีขา พเจา ไมเ คยใช ในเมอ่ื อํานาจอนั สิทธขิ าดยังอยูใ นมือของขาพเจา เอง และขาพเจา ไดรองขอให เลิกวิธนี ี้รฐั บาลกไ็ มยอม ขา พเจา เห็นวาคณะรัฐบาล และพวกพอ ง ใชวธิ ีการปกครองซ่ึงไมถูกตองตามหลักการ ของเสรภี าพในตวั บุคคล และหลกั ความยตุ ธิ รรม ตามความเขาใจ และยดึ ถือของขาพเจา ขาพเจา ไมสามารถที่จะยินยอมใหผูใด คณะใด ใชวิธีการปกครองอยาง นั้น ในนาม ขา พเจาตอ ไปได ขาพเจา เต็มใจทจี่ ะสละอาํ นาจอนั เปนของขา พเจา อยูแตเ ดิมใหแกร าษฎรโดยท่ัวไป แตข าพเจา ไมยนิ ยอมยกอาํ นาจท้ังหลายของขาพเจา ใหแกผ ูใ ด คณะใด โดยเฉพาะ เพื่อ ใชอ าํ นาจนน้ั โดยสทิ ธิขาด และโดยไมฟ งเสยี งอนั แทจรงิ ของประชาราษฎร บัดน้ี ขา พเจา เห็นวาความประสงคของขาพเจาท่ีจะใหราษฎรมีสิทธิออกเสียงใน นโยบายของประเทศโดยแทจริง ไมเปนผลสําเร็จ และเมื่อขาพเจารสู ึกวา บัดน้ี เปนอัน หมดหนทางที่ขาพเจาจะชวยเหลือ หรือใหความคุมครองแกประชาชนไดตอไปแลว ขาพเจา จึงขอสละราชสมบัติ และออกจากตําแหนงพระมหากษัตริยแตบัดนี้เปนตนไป

93 ขา พเจา ขอสละสทิ ธขิ องขาพเจา ท้ังปวง ซง่ึ เปนของขา พเจาในฐานะที่เปนพระมหากษัตริย แตขาพเจา สงวนไวซึ่งสิทธิทง้ั ปวงอันเปนของขาพเจา แตเดิมมา กอนที่ขาพเจาไดรับ ราชสมบัติสบื สันตตวิ งศ ขา พเจา ไมมีความประสงคท ี่จะบง นามผหู นง่ึ ผูใ ด ใหเปนผูรับราชสมบตั ิสบื สนั ตติวงศ ตอ ไป ตามท่ีขา พเจา มีสทิ ธทิ จี่ ะทาํ ไดต ามกฎมณเฑยี รบาลวา ดว ยการสืบสนั ตตวิ งศ อน่ึง ขาพเจาไมมคี วามประสงคท ่ีจะใหผ ูใดกอ การไมส งบข้ึนในประเทศ เพอ่ื ประโยชน ของขาพเจา ถา หากมีใครอา งใชน ามของขา พเจา พึงเขาใจวา มิไดเปน ไปโดยความยินยอม เหน็ ชอบ หรือสนับสนนุ ของขา พเจา ขาพเจา มีความเสียใจเปนอยางยิ่ง ท่ีไมสามารถจะยังประโยชนใหแกประชาชน และประเทศชาตขิ องขา พเจา ตอ ไป ไดต ามความตัง้ ใจ และความหวัง ซ่ึงรับสืบตอกันมา ตงั้ แตบ รรพบุรษุ ยงั ไดแตต ้งั สตั ยาอธษิ ฐาน ขอใหประเทศสยาม จงไดประสบความเจริญ และขอประชาชนชาวสยามจงไดมีความสขุ สบาย (พระปรมาภไิ ธย) ประชาธิปก ปร วันท่ี 2 มนี าคม พ.ศ. 2477 เวลา 13 นาฬิกา 55 นาที ท่ีมาhttp://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/<เม่ือวนั ที่ 11 กมุ ภาพนั ธ 2552> จากพระราชหตั ถเลขาสละราชสมบัตมิ ีขอ ความทีถ่ อื วาเปนหลักการสําคัญของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยวา “ขาพเจา เต็มใจที่จะสละอํานาจอันเปนของขาพเจาอยูแตเดิม ใหแก ราษฎรโดยท่วั ไป แตข า พเจา ไมย นิ ยอมยกอาํ นาจทงั้ หลายของขาพเจาใหแกผูใด คณะใด โดยเฉพาะ เพือ่ ใชอาํ นาจนน้ั โดยสิทธขิ าด และโดยไมฟง เสียงอนั แทจ รงิ ของประชาราษฎร” นบั แตป  พ.ศ. 2475 เปนตนมาจนถงึ ป พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมกี ารประกาศใชร ัฐธรรมนูญ มาแลว รวม 18 ฉบับ ดงั น้ี 1. พระราชบญั ญัติธรรมนญู การปกครองแผนดนิ สยามช่ัวคราว พุทธศักราช 2475 ประกาศใช เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มีทั้งหมด 39 มาตรา แบงเปน 6 หมวด พระราชบญั ญตั ธิ รรมนญู การปกครองแผน ดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ไดม กี ารยกเลิกไปเมื่อ อนุกรรมการรางรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีพระยามโปกรณนิติธาดา เปนประธานไดรางรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รสยามเสรจ็ และประกาศใชรฐั ธรรมนูญฉบับใหมในปเ ดียวกัน

94 2. รฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พุทธศกั ราช 2475 ประกาศ ใชเม่อื วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ดงั นนั้ จึงถือวาวันที่ 10 ธันวาคมของทุกป เปน วันรฐั ธรรมนญู รัฐบาลใหหยุดราชการได 1 วัน มีทั้งหมด 68 มาตราประกอบดวยบทท่ัวไปและ หมวดตา ง ๆ อีก 7 หมวด รฐั ธรรมนูญฉบบั น้มี ีผลบงั คับใชน านถงึ 14 ป มีการแกไขเพิ่มเติมถึง 3 ครั้ง คือ คร้งั ท่ี 1 รัฐธรรมนูญแกไขเพิ่มเติมวาดวยนามประเทศ พุทธศักราช 2482 ใหเรียกวา ประเทศไทย และบทแหง รฐั ธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นใด ทีใ่ ชคาํ วา “สยาม” ใหใชคําวา “ไทย” แทน คร้งั ที่ 2 รัฐธรรมนูญแกไขเพิ่มเติมวาดวยบทเฉพาะกาล พุทธศักราช 2483 ใหยกเลิก ความในมาตรา 65 แหงรฐั ธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทย ใหยืดอายุเวลาการมสี มาชิกประเภทที่ 2 ออกไปเปน 20 ป ครงั้ ที่ 3 รัฐธรรมนูญแกไขเพ่ิมเติมวาดวยการเลือกต้ังสมาชิกสภาผูแทนราษฎร พทุ ธศกั ราช 2485 ใหย กเลกิ ความในมาตรา 18 ของรัฐธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย ถามีเหตุขัดของ ทําการเลอื กต้ังสมาชิกสภาผูแทนราษฎรไมไ ด เมอื่ อายุสมาชกิ สภาผูแ ทนราษฎรครบส่ีปแลว ใชขยาย เวลาเลือกตั้งออกไป เปน คราวละไมเกนิ สองป รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พทุ ธศกั ราช 2475 ไมมีบทบัญญตั หิ า มขา ราชการประจํา ยุงเก่ียวการเมือง จึงเปนผลใหบุคคลสําคัญของคณะราษฎรที่เปนขาราชการประจําสามารถเขาคุม ตําแหนง ทางการเมือง ทั้งในสภาผแู ทนราษฎรและในคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนญู ไมรบั รองสิทธิในการ ตง้ั พรรคการเมือง จึงทําใหไมสามารถรวมพลังเพื่อเสรีในเร่ืองอ่ืน ๆ ได รัฐบาลยังไดออกพระราชบัญญัติ ปองกันรัฐธรรมนูญ มีผลใหบุคคลจํานวนหนึ่งถูกจับกุม และลงโทษ เพราะละเมิดพระราชบัญญัติ ดังกลาว ตอมา พ.ศ. 2489 ซึง่ เปน ชวงสมัยทพ่ี ันตรี ควง อภัยวงศ เปนนายกรัฐมนตรี และนายปรีดี พนมยงค เปนผูสําเร็จราชการแทนพระองค บุคคลทั้งสองพิจารณาวา สมควรจะเลิกบทเฉพาะกาล ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 และไดปรับปรุงแกไขใหม เพราะไดใช รฐั ธรรมนูญมาแลว 14 ป เหตกุ ารณบานเมืองเปล่ยี นแปลงไป ดงั นัน้ จงึ ไดมรี ัฐธรรมนูญฉบับใหมเ ปน ฉบับท่ี 3 3. รฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศักราช 2489 ประกาศใช เม่ือวันท่ี 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 มีท้ังหมดรวม 96 มาตรา รัฐธรรมนูญ ฉบับน้ี มีแนวทางในการดาํ เนินการปกครองเปนประชาธปิ ไตยมากกวารัฐธรรมนูญฉบับท่ี 2 กลาวคือ สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกต้ัง ใหประชาชนมีเสรีภาพรวมกันต้ังพรรคการเมือง เพื่อดําเนิน กจิ กรรมทางการเมืองไดเปน การใหโอกาสรวมกลมุ เพอื่ รักษาประโยชนข องตน และถวงดุลอาํ นาจของ กลุมอนื่ อีกประการหนงึ่ คือ ใหแยกขา ราชการการเมอื งออกจากขาราชการประจาํ การแยกขาราชการ การเมืองออกจากขาราชประจํา ทําความไมพ อใจแกก ลุม ขา ราชการทีม่ ีบทบาททางการเมือง นับแตมี

95 การเปล่ียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ประกอบในระยะนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าหลังสงครามโลก คร้ังที่ 2 พลเอก ผิน ชุณหะวัน นําทหารกอการรัฐประหารในวันท่ี 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ได ยกเลิกรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบบั ท่ี 3 หลังจากท่ี ประกาศใชไดเ พยี ง 18 เดอื น 4. รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทย (ฉบบั ชว่ั คราว) พทุ ธศักราช 2490 ประกาศใช ในวันที่ 9 พฤศจกิ ายน พ.ศ. 2490 โดยมีการอางเหตุผลในการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 3 วา “เพราะประเทศชาติอยูในภาวะวิกฤติ ประชาชนไดร ับความลําบาก เพราะขาดแคลน เครอ่ื งอปุ โภคและบริโภค ราคาสินคา สงู ข้ึน มคี วามเสือ่ มทรามในศีลธรรม รัฐธรรมนูญฉบับท่ีใชอยูเปน เหตใุ หประเทศชาติทรุดโทรม จึงขอใหยกเลิก และมาใชรัฐธรรมนูญฉบับใหม ที่จะชวยจรรโลงชาติ และบําบัดยุคเขญ็ ใหเขา สภู าวะปกต”ิ มีทง้ั หมด 98 มาตรา 5. รฐั ธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช 2492 เกิดข้นึ โดย สภารางรัฐธรรมนญู ประกาศใชบังคับ เม่ือวันท่ี 23 มีนาคม 2492 มีทั้งหมด 188 มาตรา ซึ่งนับวา เปนรัฐธรรมนูญที่เปนประชาธิปไตยมากฉบับหนึ่ง แตในท่ีสุดก็ถูกฉีกท้ิง เมื่อ วนั ท่ี 29 พฤศจกิ ายน 2494 โดยการทํารัฐประหารภายใตการนําของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมอายุ การประกาศ และบงั คบั ใช 2 ป 8 เดือน 6 วนั 6. รัฐธรรมนญู แหง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แกไขเพม่ิ เติม พุทธศักราช 2495 หลังจากที่รฐั ธรรมนญู แหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2492 ถูกใชไดเพียง 2 ปเศษ ก็มี การทํารฐั ประหาร เพ่ือนาํ เอารฐั ธรรมนูญ พ.ศ. 2475 กลบั มาใชอีกครั้ง โดยอางวารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 น้ัน ใหส ิทธิเสรภี าพมากเกินไป ทําใหไมสามารถปองกันภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสตได จึงไดเกิดการ รฐั ประหารนาํ รฐั ธรรมนูญฉบบั ที่ 2 พ.ศ. 2475 ฉบับแกไ ขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2482 กับ พ.ศ. 2483) มาใช แทนเปน การช่วั คราวไปพลางกอน และใหสภาผแู ทนราษฎรประชมุ ปรกึ ษา เพ่อื แกไ ขรัฐธรรมนญู ฉบับ ดงั กลาวใหสมบรู ณยิ่งขน้ึ เพือ่ ใชเปน รัฐธรรมนูญฉบับถาวรตอไป ซึ่งก็ไดต้ังคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณารางรฐั ธรรมนูญ จาํ นวน 24 คน เมอ่ื ไดดําเนินการเสร็จแลว จงึ ไดเ สนอตอ ผูแทนราษฎร และ สภา มีมติเหน็ ชอบจึงไดประกาศมผี ลใชบงั คับ ตงั้ แต วันที่ 8 มนี าคม 2495 ประกอบดวย บทบัญญัติ ท้งั หมด 123 มาตรา โดยมบี ทบัญญตั เิ ดิมของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 อยเู พียง 41 มาตรา เทานั้น นอกน้ันอีก 82 มาตรา เปนบทบัญญัติที่เขียนเพม่ิ เติมขึ้นใหม ซ่งึ บทบัญญัติดังกลาวนั้น สวนใหญก็ นํามาจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 รัฐธรรมนูญฉบับท่ี 6 นี้ จึงมีลักษณะผสมผสานกันระหวาง รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบบั ขางตน นนั่ เอง ในระหวา งทีม่ ีการใชร ัฐธรรมนูญฉบับน้ีไปไดประมาณ 5 ป ไดเกิด การเลอื กตัง้ ที่มคี วามไมบ รสิ ทุ ธ์ิและเปนธรรมโดยการ เจา หนาท่ผี ูดาํ เนินการเลอื กต้งั ไมสุจริต มีการโกง การเลือกต้ังใหแกผูสมัครพรรคเสรีมนังคศิลา ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเฉพาะตามหนวย

96 เลอื กต้งั หลายหนวยในจงั หวดั พระนคร กรณนี เ้ี ปน สาเหตสุ าํ คญั ท่ที าํ ใหคณะรัฐประหาร ภายใตการนํา ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ไดท าํ การยึดอํานาจการปกครองประเทศ เม่ือวนั ที่ 16 กนั ยายน 2500 และประกาศยุบเลิกสมาชกิ สภาผูแทนราษฎรทง้ั 2 ประเภท แตก ็มไิ ดยกเลิกรัฐธรรมนูญ ทวายังคงให ใชร ฐั ธรรมนญู ตอ ไป ในขณะเดยี วกันก็กําหนดใหมีการเลือกตั้งสมาชิกประเภทที่ 1 ภายใน 90 วนั เมื่อ เลอื กตัง้ เสร็จเรยี บรอยแลว กลบั ปรากฏวา การบรหิ ารราชการแผน ดิน กไ็ มเปน ไปโดยราบรน่ื นัก ในที่สุด รฐั ธรรมนญู ฉบบั น้ีกจ็ ึงไดถูก “ฉีกท้ิง” เม่อื วนั ที่ 20 ตุลาคม 2501 โดยการทํารฐั ประหารอีกคร้ังหน่ึงของ คณะรัฐประหารชุดเดิม ซ่ึงมี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ในฐานะผูบัญชาการทหารสูงสุดและผูบัญชาการ ทหารบก เปนหวั หนา คณะปฏิวตั ิ รวมอายุการประกาศและบังคับใชรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช 2475 แกไ ขเพ่ิมเติม พุทธศักราช2495 ท้ังส้นิ 6 ป 7 เดอื น 12 วัน 7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจกั ร พทุ ธศกั ราช 2502 ประกาศใช เม่อื วนั ที่ 28 มกราคม 2502 หลังการปฏิวัติ เม่ือวันท่ี 20 ตุลาคม 2501จอมพล สฤษด์ิ ธนะรัชต ไดออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 3 ยกเลิกรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช 2475 แกไขเพมิ่ เตมิ พุทธศกั ราช 2495 (ฉบับที่ 6) และประกาศใหส มาชิกภาพแหงสภา- ผูแทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง โดยคณะปฏิวัติ ทําหนาที่บริหารประเทศ โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ผทู ่เี ปน ทั้งหัวหนา คณะปฏวิ ตั ิ และเปน ผูบญั ชาการสงู สุด ไมมีการแบงแยกอาํ นาจนติ -ิ บญั ญตั ิ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการใหออกจากกัน คณะปฏิวัติ เปนผูสั่งการเปนผูใชอํานาจ ประเทศไทย จึงมีการปกครองโดยปราศจากรัฐธรรมนูญเปนเวลา 101 วัน นับต้ังแตวันท่ี20 ตุลาคม 2501 จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2502 จึงไดประกาศใชธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซ่ึงเปนรัฐธรรมนูญไทยที่ส้ันที่สุด คือมีเพียง 20 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับน้ี ถึงแมจะไดชื่อวา เปนรฐั ธรรมนญู ฉบบั ช่ัวคราว เพอื่ รอการรางรัฐธรรมนญู ฉบับถาวร แตถูกใชเ ปนเวลายาวนานรวม ถึง 9 ป 4 เดือน 20 วัน จนกระทั่งถกู ยกเลิกอยาง “สันติ” เม่ือสภารางรฐั ธรรมนูญ รางรัฐธรรมนูญฉบับ ถาวรแลว เสร็จ และประกาศบงั คบั ใชเปนรฐั ธรรมนญู ฉบับใหม เม่อื วนั ที่20 มิถนุ ายน 2511 8. รฐั ธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2511 ประกาศใช เมอื่ วันที่ 20 มิถนุ ายน 2511 มที ้ังหมด 183 มาตรา ถือเปนรัฐธรรมนูญฉบบั ที่ 2 ของไทย ซ่งึ ถูกยกรางโดยสภารางรัฐธรรมนูญ เปนรัฐธรรมนูญท่ีใชเวลาในการยกรางจัดทํายาวนาน ทส่ี ุดถงึ 9 ปเ ศษ แตทวากลับมอี ายุการใชง านเพียง 3 ป 4 เดือน 27 วัน กลาวคอื หลงั จากใชบังคับได ไมน านนัก เพราะรัฐธรรมนูญฉบับน้ีใชขาราชการประจํา เปนเครื่องมือรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล โดยฝา ยวฒุ ิสภา ซึ่งมีอาํ นาจท่ีสําคญั เทา เทียมกับสมาชิกสภาผูแทนราษฎร ซ่ึงมาจากการเลือกตั้งอีก ท้งั รัฐธรรมนูญฉบับท่ี 8 ยงั หามมใิ หสมาชกิ ผแู ทนราษฎร เปนรฐั มนตรีในคณะเดียวกันดวย จึงเทากับ กีดกนั มิใหผูแทนราษฎร ซ่ึงมาจากการเลอื กตง้ั เขามามีสว นรว มในการใชอํานาจบริหาร อันเปนความ ปรารถนาของนกั การเมอื งทุกคน จึงสรา งความไมพ อใจใหแกผ ูแทนราษฎรเปนอยางมาก ในขณะเดียวกัน

97 เมอ่ื ปรากฏวา รฐั บาลไมสนับสนนุ จัดสรรงบประมาณแผนดนิ ใหแ กผ แู ทนราษฎรในรูปของงบประมาณ จังหวัด อันเปนขอเรียกรองของผูแทนราษฎร เพ่ือพวกเขาจะไดเงินงบพัฒนาจังหวัดไปใช ใหเกิด ประโยชนในการเลอื กตั้งครงั้ ตอ ไป จงึ ทําใหผ แู ทนราษฎรรวมหัวกัน พยายามจะตัดเงินงบประมาณท่ี รฐั บาลเสนอขออนุมตั จิ ากสภาทุกป ทําใหต องมกี ารเจรจาตอรองกนั อยา งหนักกวา จะตกลงกันไดดวย เหตุนี้รางพระราชบัญญัติงบประมาณของรัฐบาลจึงประกาศใชลาชาทุกป คณะทหารและบรรดา ขา ราชการประจําทไ่ี มชอบตอการบริหารงานแบบประชาธิปไตย ดังน้ัน เม่ือวันท่ี 17 พฤศจิกายน 2514 รัฐธรรมนญู ฉบับที่ 8 กจ็ ึงถูก “ฉกี ท้งิ ” อกี ครง้ั หนง่ึ โดยการทํารฐั ประหารตนเองของจอมพล ถนอม กิตติขจร ซง่ึ เปนนายกรัฐมนตรี และผบู ญั ชาการสูงสดุ ในขณะนัน้ และก็ไดน าํ เอารัฐธรรมนญู ฉบับที่ 7 มาแกไข ปรับปรุงรายละเอียดใหมเ ล็กนอ ย กอนประกาศใชบงั คับ 9. ธรรมนญู การปกครองราชอาณาจกั ร พุทธศักราช 2515 ประกาศใช เมื่อวันท่ี 15 ธันวาคม 2515 มีท้ังหมด 23 มาตรา รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได นาํ เอาอํานาจพเิ ศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไวอีกดวย ขณะที่มีเวลาใชบังคับอยู เพยี ง 1 ป 9 เดอื น 22 วนั ตอ งถูกยกเลกิ ไป เมอื่ เกิดเหตุการณวันมหาวิปโยค เม่ือวันท่ี 14 ตุลาคม 2516 สบื เน่อื งจากการทม่ี ีกลุม บคุ คลไมพอใจท่ีรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร ใชเวลารางรัฐธรรมนูญ ฉบับใหมนานเกินไปทัง้ ๆ ที่เคยรางรัฐธรรมนญู มาคร้งั หน่ึงแลว กลุมดังกลาวประกอบดวย ผูนํานิสิต นักศกึ ษา และประชาชนทวั่ ไป เรม่ิ รณรงคเ รยี กรอ งใหร ัฐบาลประกาศใชรัฐธรรมนูญฉบับใหมโดยเร็ว ปรากฏวา รฐั บาลกลบั ตอบโตการเรยี กรอ งดงั กลาว โดยการจบั กุมกลมุ ผูเรยี กรองรัฐธรรมนูญ จํานวน 13 คน โดยตั้งขอหาวาเปนการทําลายความสงบเรียบรอยภายในประเทศ และมีการกระทําอันเปน คอมมิวนิสต รวมท้ังใชอํานาจตามมาตรา 17 แหงรัฐธรรมนูญฉบับที่ 9 ควบคุมผูตองหาดังกลาว ในระหวา งการสอบสวนโดยไมมีกําหนด ทําใหศูนยกลางนิสิตนักศึกษาแหงประเทศไทย ตองออกมา เคล่ือนไหวใหรัฐบาลปลอยตัวผูตองหาทั้งหมด โดยไมมีเง่ือนไข และขอใหรัฐบาลประกาศใช รัฐธรรมนูญใหมภายใน 1 ป ดวย แตรัฐบาลไมยอมปฏิบัติตามขอเรียกรองนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน จึงไดเดินทางมาชุมนุมกัน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร จํานวนเรือนแสน วันท่ี 13 ตลุ าคม 2516 ในตอนบา ย ๆ ฝูงชนก็ไดเดนิ ขบวนออกจากหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร ผานถนนราชดําเนิน ไปชุมนุมอยูท่ีบริเวณพระบรมรูปทรงมา จนกระทั่งชวงเชามืดของ วันที่ 14 ตุลาคม 2516 กลุม ผูชมุ นมุ จํานวนหนง่ึ ปะทะกับกองกําลังของเจาหนาท่ีตํารวจอยางรุนแรงท่ีขางพระตําหนักจิตรลดา เหตกุ ารณลุกลามใหญโ ต จนในท่ีสุดก็นาํ ไปสูก ารจลาจลครั้งสาํ คญั ในประวัตศิ าสตรไ ทยโดยมผี เู สยี ชีวิต นับรอย และบาดเจ็บอีกเปนจาํ นวนมาก ขณะที่สถานที่ราชการตาง ๆ อันเปนสัญลักษณของอํานาจ เผด็จการกไ็ ดถ ูกประชาชนเผาทาํ ลายไปหลายแหงดว ยเชน กัน

98 10. รัฐธรรมนญู แหงราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช 2517 ประกาศใช เมื่อวนั ท่ี 7 ตุลาคม 2517 มบี ทบัญญตั ิรวมท้ังสิ้น 238 มาตราเปนรัฐธรรมนูญ ฉบับหน่ึงท่ไี ดชือ่ วา เปน ประชาธปิ ไตยมากท่ีสดุ เพราะวา มีบทบญั ญตั ิทีเ่ ปลยี่ นแปลงไปในทางกา วหนา และเปนแบบเสรนี ยิ มมากขึน้ ในหลายเรื่องดวยกัน เร่มิ ตน ในหมวด 1 บททวั่ ไป ไดมีบทบญั ญัตหิ า มมิใหมี การนริ โทษกรรมแกผ กู ระทําการลม ลา งสถาบันกษตั รยิ  หรอื รฐั ธรรมนูญ และหมวด 2 พระมหากษัตริย ไดบัญญัตขิ ึน้ เปน ครัง้ แรกวา ในการสืบราชสนั ตติวงศ นั้น ในกรณีที่ไมมีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให ความเห็นชอบในการใหพระราชธิดาสืบราชสันตติวงศได นอกจากน้ัน ยังมีบทบัญญัติอันเปนการเพ่ิม หลกั ประกันในเรอ่ื ง สิทธิ เสรภี าพ และประโยชนข องประชาชนไวม ากกวารัฐธรรมนูญทุกฉบับท่ีผาน ๆ มา กอ นหนา น้ัน รฐั ธรรมนญู ฉบบั นไ้ี ดรับการแกไ ขเพ่มิ เตมิ 1 คร้งั เม่ือ พ.ศ. 2518 ในเร่ือง การรับสนอง พระบรมราชโองการ แตงต้ังวุฒิสมาชิกจากเดิมใหประธานองคมนตรี เปนผูรับสนองพระบรมราช- โองการ เปลี่ยนมาเปนนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับน้ี มีการแกไขเพิ่มเติมเพียงคร้ังเดียวและมี ระยะเวลาการใชเพยี ง 2 ป กถ็ ูก “ฉีกทิ้ง” โดยประกาศของ “คณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน” ซ่ึงมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู ผูบัญชาการทหารสูงสุดและผูบัญชาการทหารเรือ เปนหัวหนาคณะปฏิรูป เมอ่ื วันที่ 6 ตุลาคม 2519 11. รัฐธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย พทุ ธศกั ราช 2519 หลังจากปฏิวตั ิลม รฐั บาลอันเนอ่ื งมาจากเหตกุ ารณนองเลือด เมอื่ วันที่ 6 ตุลาคม 2519 แลว คณะปฏิวตั ิกไ็ ดแ ตง ตง้ั นายธานนิ ทร กรัยวิเชียร ขน้ึ เปน นายกรฐั มนตรพี รอ ม ๆ กับประกาศใชร ัฐธรรมนูญ แหง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ซง่ึ เปนรัฐธรรมนูญฉบับท่ี 11 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2519 โดยมีบัญญัตเิ พียง 29 มาตราเทาน้ัน ตอมา เกิดการทํารัฐประหารของคณะปฏิรูปการปกครองแผนดิน ชุดเดมิ ในชอ่ื ใหมวา “คณะปฏิวัติ” ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซ่ึงมีหัวหนาคนเดิม คือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู ดงั น้นั อายกุ ารบงั คบั ใชรฐั ธรรมนูญฉบบั นี้ เพียงแค 1 ปเทาน้ัน 12. ธรรมนญู การปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 รฐั ธรรมนญู ฉบับน้เี กดิ จากการทํารฐั ประหารของคณะปฏวิ ตั ิ เม่ือวันท่ี 20 ตุลาคม 2520 โดยคณะปฏิวัติ ใหเหตผุ ลในการปฏิวตั ิวา “เพราะภัยคกุ คามของคอมมิวนิสต” หลังจากยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับท่ี 11 แลว คณะปฏิวตั ิไดจ ัดตงั้ คณะกรรมการยกรางรัฐธรรมนญู ฉบบั ชั่วคราวขึ้น ตามหลักการที่ คณะปฏิวัตกิ าํ หนดไว จากนัน้ คณะปฏิวัติ จึงไดประกาศใชธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2520 ในวนั ท่ี 9 พฤศจกิ ายน 2520 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และถูกยกเลิก เมื่อวันท่ี 22 ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศใชธรรมนูญฉบับใหม คือ รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2521 อนั เปน รฐั ธรรมนญู ฉบับที่ 13 ของประเทศไทย

99 13. รฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2521 เปน ผลจากการรา งของคณะกรรมาธิการรางรัฐธรรมนูญของสภานิติบัญญัติแหงชาติ ตามขอ กาํ หนดในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 ซึ่งรางรัฐธรรมนูญใหมข้ึน เพื่อใชแทนรัฐธรรมนูญเกา และสภานิติบัญญัติแหงชาติ ไดใหความเห็นชอบแลว ประกาศใชเปน รัฐธรรมนูญต้งั แต วนั ท่ี 22 ธันวาคม 2521 มีท้ังหมด 206 มาตรา สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญฉบับน้ี นบั วาเปนประชาธปิ ไตยพอสมควร หากไมนับบทบัญญตั ิเฉพาะกาลทีม่ ีผลใชบังคับอยูในชวง 4 ปแรก ของการใชร ฐั ธรรมนญู ฉบบั น้ี ไดม คี วามพยายามท่จี ะแกไ ขเพมิ่ เติมรฐั ธรรมนูญฉบบั นี้อยหู ลายคร้ัง ซึ่ง คร้ังสุดทายก็ประสบความสําเร็จ เม่ือป พ.ศ. 2528 วาดวย เร่ือง ระบบการเลือกต้ัง โดยแกไขจาก แบบรวมเขตรวมเบอร หรือคณะเบอรเดียว มาเปนการเลือกต้ังแบบผสม เขตละไมเกิน 3 คน การ แกไขเพ่ิมเติมคร้งั นี้ ถอื วา เปน การแกไ ขเพมิ่ เตมิ ครง้ั ที่ 1 ขณะท่ีการแกไขเพิ่มเติมอีกครั้ง คือ คร้ังท่ี 2 นน้ั เกิดข้นึ ในป พ.ศ. 2532 เกี่ยวกับเรือ่ งประธานรฐั สภา โดยแกไขใหป ระธานสภาผูแทนราษฎรดํารง ตาํ แหนงเปนประธานรัฐสภา รัฐธรรมนูญ ฉบบั ที่ 13 ไดใ ชบงั คับเปนเวลาคอนขางยาวนานถึง 12 ปเศษ แตก ็ถกู “ยกเลกิ ” โดยคณะรกั ษาความสงบเรยี บรอ ยแหง ชาติ (ร.ส.ช.) ภายใตการนําของ พลเอก สนุ ทร คงสมพงษ ไดเขาทําการยึดอํานาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชณุ หะวัณ เมอ่ื วนั ท่ี 23 กมุ ภาพันธ 2534 14. ธรรมนญู การปกครองราชอาณาจกั ร พทุ ธศกั ราช 2534 ภายหลงั จากท่ีคณะรักษาความสงบเรียบรอยแหงชาติ (ร.ส.ช.) ไดทําการยึดอํานาจแลว กก็ าํ หนดใหรัฐธรรมนญู แหงราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 2521 และวุฒสิ ภาสภาผแู ทนราษฎร คณะรัฐมนตรี ส้ินสดุ ลง โดยชแี้ จงถึงเหตผุ ลและความจําเปน ของการเขา ยดึ และควบคุมอํานาจในการปกครองประเทศ โดยกลา วหารัฐบาล และผบู รหิ ารประเทศวา “มีพฤตกิ ารณก ารฉอราษฎรบังหลวง ขาราชการการเมือง ใชอ าํ นาจกดข่ี ขม เหง ขาราชการประจาํ ผซู ่อื สตั ยสุจริต รัฐบาลเปน เผด็จการทางรัฐสภา การทําลาย สถาบันการทหาร และการบิดเบือนคดีลม ลางสถาบันกษัตริย” ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ประกาศเม่อื วนั ท่ี 1 มนี าคม 2534 มีทงั้ หมด 33 มาตรา มรี ะยะเวลาการใชบังคับ 9 เดือน 8 วัน กถ็ ูกยกเลกิ ไป จากผลการประกาศใชร ฐั ธรรมนญู แหง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เมอื่ วันที่ 9 ธนั วาคม พ.ศ. 2534 15. รัฐธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย พทุ ธศักราช 2534 มักจะถกู เรียกขานกันวาเปน “รฐั ธรรมนูญฉบบั ร.ส.ช.” เพราะเปนผลงานการยกราง และจัดทําของสภานติ ิบญั ญัติแหง ชาติ อันประกอบดวยสมาชิก จํานวน 292 คน ซ่ึงพระมหากษัตริย ทรงแตง ต้ังตามคาํ กราบบังคมทูลของประธานสภารกั ษาความสงบเรยี บรอ ยแหง ชาติ ประกาศใช เมื่อ วันที่ 9 ธันวาคม 2534 มีทั้งหมด 233 มาตรา ในการรางรัฐธรรมนูญฉบับท่ี 15 นี้ มีประเด็นปญหา ทางกฎหมายรัฐธรรมนูญหลายประเด็น อันกอ ใหเ กดิ ความขัดแยงทางความคิดระหวางคณะกรรมาธิการ

100 พจิ ารณารางรฐั ธรรมนูญของสภานติ บิ ญั ญตั แิ หงชาติกับสาธารณชนโดยทวั่ ไป โดยเฉพาะประเดน็ เรื่องวา นายกรฐั มนตรีตองเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎร เพราะประชาชนตางเขาใจกันดีวา การกําหนดให บุคคลภายนอกเขามาเปนนายกรัฐมนตรีไดน้ัน เทากับวาเปนการเปดโอกาสใหมีการสืบทอดอํานาจ ใหกบั คณะ ร.ส.ช. ออกไปไดอกี ในท่สี ดุ เมอื่ รฐั ธรรมนญู น้ีมผี ลบังคับใช บทบญั ญัติมาตรา159 กไ็ ดเปด โอกาสใหเชิญบุคคลภายนอกมาเปนนายกรัฐมนตรีได และหลังจากที่มีการเลือกตั้งท่ัวไปตาม รัฐธรรมนูญนี้ เน่ืองดวยปญหาบางประการ ทําใหพ รรคการเมอื งท่ีไดเสยี งขา งมาก ในฐานะพรรคแกนนํา ในการจัดตั้งรัฐบาล ไดเชิญนายทหารใน คณะ ร.ส.ช. คือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ใหมาเปน นายกรัฐมนตรี พรอมกบั เหตุผลทวี่ า “เสียสตั ย เพอ่ื ชาติ” ซึ่งนับวาเปนการทวนกระแสกับความรูสึก ของประชาชนไมน อ ย เพ่ือทจ่ี ะควบคุมสถานการณเอาไว รัฐบาลก็เลยออกคําสั่งใหทหารและตํารวจ เขา สลายการชมุ นมุ ของกลุม ประชาชน ซ่งึ รวมตัวกนั ประทวงอยทู บี่ รเิ วณอนุสาวรียประชาธปิ ไตยและ ถนนราชดาํ เนิน ในชวงระหวางวันท่ี 17 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แตทวากลับเปนการนําสู เหตกุ ารณนองเลอื ดท่ีเรยี กกนั วา เหตกุ ารณพ ฤษภาทมิฬ ในที่สดุ ซง่ึ ตอ มาสถานการณตาง ๆ ก็บีบรดั จน ทําใหพลเอก สุจินดา คราประยูร ตองลาออก จากตําแหนงนายกรัฐมนตรีไปอยางจํายอม รัฐบาล ช่วั คราวภายหลังเหตุการณดังกลาว และบรรดาสมาชิกสภาผูแทนราษฎรในขณะน้ัน ไดดําเนินการ แกไขวิกฤตการณ อันสืบเน่อื งมาจากรัฐธรรมนูญโดยเสนอใหมีการแกไขรัฐธรรมนูญรวม 4 ฉบับ ซ่ึง นับวาเปนความสาํ เร็จครงั้ แรกทีส่ มาชิกสภาผแู ทนราษฎรไดแสดงเจตนาเปนอนั หน่งึ อนั เดียวกันในการ แกไขรัฐธรรมนูญไปสูความเปนประชาธิปไตยใหมากย่ิงขึ้น แตทวาความสําเร็จในคร้ังนี้ก็เปนผล สืบเนือ่ งมาจากการสญู เสียครง้ั สําคัญอีกครั้งหนึ่งของการเมืองไทย เพราะรัฐธรรมนูญฉบับที่ 15 มี ระยะเวลาใชบังคับ รวมทั้งสิ้น 5 ป10 เดือน 2 วันไดถูก “ยกเลิก” เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 โดย การประกาศใชรฐั ธรรมนญู แหง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 16. รฐั ธรรมนญู แหงราชอาณาจกั รไทย พทุ ธศกั ราช 2540 ประกาศใช เม่อื วันท่ี 11 ตุลาคม พ.ศ. 2540 มที ง้ั หมด 336 มาตรา รฐั ธรรมนูญฉบับท่ี 16 นี้ ถือเปนรัฐธรรมนูญที่ริเร่ิมข้ึนโดย พรรคชาติไทยมี นายบรรหาร ศิลปะอาชา เปนนายกรัฐมนตรี ในขณะนนั้ ไดแ ตงตั้งคณะกรรมการปฏริ ูปการเมืองเขามาดําเนนิ งาน และไดแ ตงตง้ั คณะกรรมาธิการ- วิสามัญ พิจารณารา งรัฐธรรมนูญขึน้ มา และมกี ารเลือกต้ังสมาชิกสภารางรัฐธรรมนูญจํานวน 99 คน โดย 76 คน เปน ตวั แทนของแตละจังหวัด และอกี 23 คน มาจากผูเชีย่ วชาญหรอื ผมู ีประสบการณ ซง่ึ ถือวาเปนรฐั ธรรมนญู ท่ีมาจากการเลอื กตั้งฉบับเดยี วของประเทศไทย โดยกอ นหนานี้ 15 ฉบบั มาจาก คณะรัฐมนตรีที่มาจากการแตงต้ังหรือรัฐบาลทหาร เจตนารมณของรัฐธรรมนูญฉบับท่ี 16 คือ การ ปฏริ ูปการเมอื ง โดยมเี ปาหมาย 3 ประการ คือ

101 1) ขยายสิทธิ เสรภี าพ และสว นรวมของพลเมือง 2) การเพ่ิมการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐ โดยประชาชน เพื่อใหเกิดความ สจุ ริต และโปรงใสในระบอบการเมอื ง 3) การทาํ ใหร ะบบการเมืองมเี สถียรภาพ และประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ไดสิ้นสุดลงดวยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สมยั พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เปนนายกรัฐมนตรี โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษตั ริยทรงเปนประมุข นําโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผูบัญชาการ- ทหารบก ไดออกประกาศรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยฉบับช่ัวคราว พุทธศักราช 2549 ท้ังนี้ คณะปฏิรูปฯ ไดออกประกาศคงบทบัญญัติบางหมวดของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2549 ไวภ ายหลัง 17. รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย (ฉบบั ชั่วคราว) พทุ ธศกั ราช 2549 ประกาศใช เมอื่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 มีทั้งหมด 39 มาตรา เปนรัฐธรรมนูญฉบับ ชั่วคราวท่ีหัวหนาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน ประมุข เปน ผูสนองพระบรมราชโองการ หลังจากท่ีไดกระทําการรัฐประหารเปนผลสําเร็จ เมื่อวันท่ี 19 กนั ยายน พ.ศ. 2549 สิ้นสุดลง เมื่อมีการประกาศใชแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เม่อื วนั ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 18. รฐั ธรรมนญู แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศกั ราช 2550 ประกาศใช เมื่อวันท่ี 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 มีทั้งหมด 309 มาตรา ดําเนินการยกราง โดยสภารางรัฐธรรมนูญ (สสร.) ระหวาง พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏริ ปู การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมพี ระมหากษตั รยิ ทรงเปน ประมุข (คปค.) เมือ่ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 เปนรัฐธรรมนูญฉบับแรกท่ีเมื่อรางเสร็จ และ ไดร ับความเห็นชอบฝา ยนติ ิบญั ญัตแิ ลว ไดมีการเผยแพรใ หประชาชนทราบ และจดั ใหมีการลงประชามติ เพ่ือขอความเห็นชอบ หรือไมเห็นชอบ ในการรางรัฐธรรมนูญจากประชาชนทั้งประเทศ เม่ือวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏวา มีผูลงมตเิ ห็นชอบ รอยละ 57.81 และไมเห็นชอบ รอยละ 42.19 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงมีผลบังคับใชในปจจุบัน ทามกลางเสียง เรยี กรองใหม กี ารแกไข แตต กลงกันไมไ ดว าจะแกไขประเดน็ ใดบาง ซึ่งเปนเร่ืองท่ีตองรอดูกันตอไปวาจะ เปน อยา งไร จากความเปน มาของรฐั ธรรมนูญท้งั 18 ฉบับ เมื่อศึกษาใหด ี จะพบวา มที ่มี าใน 2 ลกั ษณะ คือ 1. มงุ ใชเปนการถาวร มักใชชอ่ื วา “รฐั ธรรมนญู แหง ราชอาณาจักร” 2. มุงใชบ ังคับเปนการชั่วคราว มกั ใชช ือ่ วา “ธรรมนูญการปกครอง”

102 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับ ใชบังคับเปนเวลานาน เชน ธรรมนูญการปกครอง ราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 2502 ซ่ึงเกิดข้นึ โดยการทํารฐั ประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต ใชบ งั คบั เปนเวลา 9 ปเศษ แตรัฐธรรมนูญฉบับใชบังคับในระยะส้ัน ๆ เพราะเปนรัฐธรรมนูญท่ีมีหลักการ สอดคลองกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แตไ มสอดคลอ งกบั โครงสรา งอํานาจทางการเมือง ของประชาชนอยางแทจริง ทวาตกอยูในมือของกลุมขาราชการประจําโดยเฉพาะอยางย่ิง คณะนายทหารระดับสูง ดวยเหตุน้ีรัฐธรรมนูญที่มุงจะใชบังคับเปนการถาวร จึงมักจะถูกยกเลิกโดย การทํารฐั ประหารโดยคณะผนู าํ ทางทหาร เมอ่ื คณะรฐั ประหารซึ่งมีชอื่ เรียกแตกตางกันไป เชน คณะปฏิวัติ คณะปฏิรปู หรือคณะรกั ษาความสงบเรยี บรอย ยดึ อํานาจไดสําเรจ็ ท่จี ะประกาศใชรัฐธรรมนูญ ที่มุง จะใชบ ังคบั เปน การถาวร แลวก็จะมีการเลือกต้ัง และตามดวยการจัดต้ังรัฐบาลใหมตามวิถีทางของ รัฐธรรมนูญฉบบั ถาวร แลวก็ประกาศใชรฐั ธรรมนูญฉบับชั่วคราว พรอมทงั้ จัดใหมกี ารรางรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรใหมอีกครั้ง มีการรางแลวรางอีกหมุนเวียนเปนวงจรการเมืองของรัฐบาลไทยมาอยาง ตอเนอื่ งเปน เวลานานนบั หลายสบิ ป นับต้งั แตเ ปลีย่ นแปลงการปกครอง เม่ือ พ.ศ. 2475 เปนตน มา แมจ ะเกิดกรณี 14 ตลุ าคม พ.ศ. 2516 ซึง่ เปนเหตุการณท ่ปี ระชาชนเขา รว มเรียกรองรัฐธรรมนูญ ทีเ่ ปนประชาธิปไตยมากท่ีสดุ เปน ประวตั ิการณ หลังจาก จอมพล ถนอม กติ ติขจร ทํารฐั ประหารรฐั บาล ของตนเอง เพราะขณะทํารัฐประหารยึดอํานาจการปกครองน้ัน จอมพล ถนอม กิตติขจร ดํารง ตําแหนงเปน นายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 และเม่ือมีการประกาศใชรัฐธรรมนูญฉบับ ชั่วคราว พรอมกับเตรียมรางรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ตามวงจรการเมืองของไทยท่ีเคยเปนมา ก็เกิด กระบวนการเรียกรอ งรฐั ธรรมนูญจนนาํ ไปสูเหตุการณน องเลือด เม่อื วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จน ทาํ ให จอมพล ถนอม กติ ตขิ จร ตอ งลาออกจากตาํ แหนง นายกรฐั มนตรี และเดนิ ทางออกนอกประเทศไทย และแมตอ มาจะมกี ารรา งรฐั ธรรมนญู พ.ศ. 2517 ท่เี ปนรัฐธรรมนญู ซึง่ มีหลักการที่เปนประชาธิปไตย มากฉบับหน่งึ แตในท่สี ดุ กม็ กี ารทํารัฐประหารอีก และก็เกิดเหตุการณนองเลือด เม่ือวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทาํ ใหวงจรการเมืองไทยหมุนกลับไปสูวงจรเดิม คือ รัฐประหาร ประกาศใชรัฐธรรมนูญ ฉบบั ชวั่ คราว รา งรฐั ธรรมนญู ฉบับถาวร จัดใหม ีการเลือกต้ังจดั ต้ังรัฐบาล ตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และทํารฐั ประหาร ยกเลิกรัฐธรรมนญู ฉบบั ถาวร ซ้ําซากวนเวยี นอยใู นวังวนตอไปไมจบไมสิ้น ดวยเหตุนี้กระบวนการเปล่ียนแปลงทางการเมืองของไทยท่ีผานมา จึงมีสภาพชะงักงัน ในขัน้ ตอนของการพฒั นาไปสูเ ปา หมายอุดมการณประชาธปิ ไตยตลอดมา วฏั จกั รของความไมตอ เนอื่ ง ดังกลา วขา งตนมสี ภาพเปน วงจร ดงั ภาพ

103 จนกระท่ังเกิดกระบวนการปฏริ ูปการเมือง เพื่อแกไขปญ หาของระบบการเมืองไทยท้ังระบบ หลังการรัฐประหาร เม่ือ พ.ศ. 2534 และเกิดเหตุการณนองเลือดอีกคร้ังหนึ่ง เมื่อ เดือน พฤษภาคม 2535 ในท่สี ุดกระบวนการปฏิรูปการเมอื งกไ็ ดน าํ ไปสูการรา งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ซ่งึ ถอื วา เปน รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ซง่ึ ใชม าจนถึงเหตุการณการปฏิรูปการปกครองในป พ.ศ. 2549 และนําไปสูการราง รฐั ธรรมนญู พ.ศ. 2550 และจัดใหม ีการลงประชามตริ ับรางรัฐธรรมนญู เปนคร้ังแรกของประเทศไทย และใชมาจนถึงปจ จุบัน 1.2 หลกั การและเจตนารมณ ของรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย จากการศึกษาความเปนมาของรัฐธรรมนูญนั้น พบวา มีความสัมพันธกับการเปลี่ยนแปลง การปกครองมาต้งั แตป พ.ศ. 2475 และไมวาจะเกดิ การปฏวิ ตั ริ ฐั ประหารก่ีคร้ังก็ตาม กระแสการเรียกรอง ใหมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเรียกรองใหรัฐธรรมนูญมีความเปนประชาธิปไตยก็ เกิดขึ้นอยางตอเน่ือง และมีวิวัฒนาการมาตามลําดับ หากศึกษาถึงมูลเหตุของการเรียกรองใหมี การเปลี่ยนแปลงการปกครองและประกาศใชรัฐธรรมนูญในประเทศไทยน้ัน พบวา การประกาศใช รฐั ธรรมนญู มเี ปาหมายสาํ คัญอยางนอย 2 ประการ คือ

104 1. เปน หลักประกันในเรอื่ งสิทธิ และเสรภี าพ ของประชาชน ซงึ่ ผปู กครองจะละเมดิ มิได 2. เปน บทบญั ญัติท่กี ลาวถงึ ขอบเขต อาํ นาจหนา ที่ ของผปู กครอง และปองกันมใิ หผปู กครอง ใชอ าํ นาจตามอําเภอใจ ดังนั้น ในการประกาศใชรัฐธรรมนูญแตละฉบับ คณะผูยกรางจึงไดเขียนหลักการและ เจตนารมณใ นการจัดทาํ ไวทุกครงั้ ซ่งึ หลกั การ และเจตนารมณทคี่ ณะผยู กรา งเขียนไว นั้น ชวยใหคน รนุ หลังไดม คี วามรู ความเขา ใจ ในเนื้อหาท่ีมาของรัฐธรรมนญู แตละฉบบั วา มมี าอยางไร รวมท้งั สภาพ สงั คมในชว งเวลาน้นั ดวย ซ่ึงในที่นี้จะขอยกตัวอยางหลกั การและเจตนารมณของรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” และรัฐธรรมนูญ ฉบับท่ี 18 คือ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช 2550 ดงั นี้ 1. หลกั การและเจตนารมณของรัฐธรรมนูญฉบบั แรก คอื “พระราชบญั ญตั ิธรรมนูญการปกครอง แผนดินสยามชัว่ คราว พทุ ธศักราช 2475” สรปุ สาระสําคญั คือ 1) ประกาศวา อาํ นาจสูงสุดของประเทศเปนของราษฎร (มาตรา 1) ซ่ึงแสดงถึงการ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสทิ ธิราชย มาเปน ระบอบประชาธปิ ไตย 2) พระมหากษัตริยเปนประมุขของประเทศ กิจการสําคัญของรัฐ ทําในนามของ พระมหากษัตริย 3) เปนการปกครองแบบสมัชชาโดยกําหนดใหคณะกรรมการราษฎรซึ่งมีจํานวน 15 คน ทาํ หนา ทบ่ี ริหารราชการแผนดนิ ดําเนนิ การใหเปนไปตามวัตถปุ ระสงคของสภาผูแทนราษฎร 4) เร่มิ มีรัฐสภาขึ้นเปนครั้งแรก โดยกําหนดใหเปนสภาเดียว คือ สภาผูแทนราษฎร ซึ่งมอี ํานาจสูงสุดกลา ว คือ - ตรากฎหมาย - ควบคุมดแู ลราชการกิจการของประเทศ - มีอํานาจ ถอดถอน หรือสามารถ ปลดกรรมการราษฎร และขาราชการ ทกุ ระดับช้ันได โดยคณะกรรมการราษฎรไมม ีอาํ นาจท่จี ะยุบสภาผแู ทนราษฎร - วินจิ ฉยั การกระทําของพระมหากษตั รยิ  5) รัฐธรรมนญู ฉบบั นี้ ไดก ําหนดอายุของผูมีสิทธิออกเสยี งเลือกตงั้ และผมู สี ทิ ธสิ มคั ร รบั เลือกตง้ั ไว 20 ปบริบรู ณเ ทากนั สวนวิธีการเลือกต้ังเปนการเลือกต้ังทางออม คือ ใหราษฎรเลือก ผแู ทนตาํ บล และผูแ ทนตําบล กเ็ ลือกสมาชกิ สภาผูแ ทนราษฎร อีกทอดหนึ่ง 6) ศาล มอี าํ นาจพจิ ารณา พิพากษาคดี ตามกฎหมาย แตไมม ีหลกั ประกันความอสิ ระ ของผูพพิ ากษา

105 2. หลักการและเจตนารมณข องรฐั ธรรมนญู ฉบับท่ี 18 คอื รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สรุปสาระสําคญั ได ดงั นี้ 1) คมุ ครอง สงเสรมิ ขยาย สิทธิ และเสรภี าพ ของประชาชนอยางเตม็ ที่ 2) ลดการผูกขาดอํานาจรฐั และเพ่มิ อํานาจประชาชน 3) การเมอื ง มคี วามโปรง ใส มคี ุณธรรม และจริยธรรม 4) ทาํ ใหองคก รตรวจสอบ มีความอิสระเขม แขง็ และทาํ งานอยางมีประสิทธภิ าพ

106 เรือ่ งท่ี 2 โครงสรา งและสาระสําคญั ของรัฐธรรมนญู แหง ราชอาณาจกั รไทย โครงสรางและสาระสําคัญของรัฐธรรมนูญทั้ง 18 ฉบับ มีวิวัฒนาการมาเปนลําดับจาก การศึกษาพบวา มีโครงสรา งและสาระสําคัญท่บี ัญญตั ไิ ว ดงั น้ี 1) ประมุขแหง รฐั สวนนีจ้ ะระบถุ งึ องคพระมหากษัตริย และพระราชอํานาจ ของพระองค การ แตง ตง้ั ผูส ําเรจ็ ราชการ และการสืบราชสนั ตตวิ งศ 2) ระบอบการปกครอง สว นนจ้ี ะระบุรปู แบบของรฐั และลักษณะการปกครองไว กลาวคือ ประเทศไทยเปนรัฐเด่ียว และมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปน ประมขุ 3) สทิ ธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และหนา ที่ สวนนร้ี ฐั ธรรมนญู ระบุไว โดยในสว นของสิทธิ เชน สิทธใิ นการศึกษา สทิ ธใิ นการรักษาพยาบาล เปนตน ในสว นของความเสมอภาค เชน การไมเ ลอื ก ปฏบิ ตั อิ นั เน่ืองมาจากเชื้อชาติ สีผวิ รายได และสภาพรางกาย เปน ตน ในสวนของหนา ที่ เชน ประชาชน มีหนา ที่ตอ งไปเลือกตง้ั มีหนา ท่ตี องเสียภาษี และมหี นาท่ตี อ งรกั ษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตรยิ  เปนตน 4) แนวนโยบายพ้ืนฐานแหงรัฐ สวนน้ีจะระบุ แนวนโยบาย ท่ีจะทําใหประเทศมีความม่ันคง มีความเจริญเติบโต มีสันติสุข และประชาชน มีมาตรฐานการครองชีพ และมีคุณภาพชีวิตท่ีดี เชน การรกั ษาธรรมชาติ การสรา งความเขมแขง็ ของชุมชน การกระจายรายไดท ่เี ปนธรรม เปนตน 5) อํานาจอธิปไตย สวนนี้จะกําหนด สถาบันที่ใชอํานาจอธิปไตย ไดแก ฝายบริหาร ฝายนิติ- บญั ญัติ และฝายตลุ าการ รวมถึงความสมั พนั ธระหวา งสถาบันทัง้ สามสถาบนั 6) การตรวจสอบการใชอ ํานาจรฐั สว นนีจ้ ะระบุ กลไกที่ใชสาํ หรับตรวจสอบการทํางานของ รัฐ เพอ่ื ใหเ กดิ ความโปรง ใส และความบริสุทธยิ์ ตุ ธิ รรม เชน ศาลรฐั ธรรมนญู คณะกรรมการปอ งกันและ ปราบปรามการทจุ รติ แหง ชาติ คณะกรรมการการเลือกต้งั เปนตน รฐั ธรรมนญู แตล ะฉบบั จะกําหนดโครงสรา ง และสาระสําคัญแตกตางกันไป การจะตัดหรือ เพิ่มเรือ่ งใดเขา ไปในรฐั ธรรมนูญ เปนเร่อื งของความจําเปนในขณะน้นั ๆ ซงึ่ ผเู รยี นไมตองยึดถือตายตวั เพราะสิง่ เหลาน้ี เปน ความเหมาะสมของสถานการณในแตละยคุ สมัย โดยจะตองพิจารณาบริบทของ สภาพสงั คมโดยรวมของทง้ั ประเทศ และสถานการณของโลกประกอบดว ย รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แบงโครงสรางออกเปน 15 หมวด ดังนี้ หมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย

107 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวด 4 หนา ที่ของชนชาวไทย หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแหง รฐั หมวด 6 รัฐสภา หมวด 7 การมสี วนรวมทางการเมอื งโดยตรงของประชาชน หมวด 8 การเงินการคลังและงบประมาณ หมวด 9 คณะรัฐมนตรี หมวด 10 ศาล หมวด 11 องคกรตามรัฐธรรมนูญ หมวด 12 การตรวจสอบการใชอ ํานาจรัฐ หมวด 13 จริยธรรมของผูดาํ รงตําแหนง ทางการเมอื ง และเจาหนา ที่ของรัฐ หมวด 14 การปกครองสวนทองถ่นิ หมวด 15 การแกไขเพม่ิ เตมิ รฐั ธรรมนญู บทเฉพาะกาล เพ่อื ใหมีความรูความเขาใจเพ่มิ มากขึน้ ผูเ รียนสามารถศกึ ษารายละเอียดของรัฐธรรมนญู แหง ราชอาณาจักรไทยพุทธศกั ราช 2550 เพิ่มเตมิ ได

108 เร่อื งท่ี 3 จุดเดนของรฐั ธรรมนญู ท่ีเก่ียวกับ สิทธเิ สรภี าพและหนา ทขี่ องประชาชน สทิ ธิและเสรภี าพ เปน รากฐานสาํ คญั ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย การที่จะรูวา การปกครองของประเทศใดมีความเปนประชาธิปไตยไดมากนอยเพียงใด ตองดูที่สิทธิเสรีภาพของ ประชาชนในประเทศน้ัน ๆ เปน สําคญั ถา ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมาก ความเปนประชาธิปไตยของ ประเทศนั้นก็มีมาก หากสิทธิเสรีภาพของประชาชนถูกจํากัด หรือถูกลิดรอน โดยผูมีอํานาจในการ ปกครอง ประชาธิปไตยก็จะมีไมได ดวยเหตุนี้กฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ จึงไดบัญญัติ คุมครอง สิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนไว และมีการบัญญัติเพิ่มและชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซ่ึงเปนรัฐธรรมนูญท่ียังคงมีผลบังคับใชใน ปจจบุ ัน ไดบ ญั ญตั ไิ วเร่ือง สิทธิ และเสรภี าพ ของประชาชน ไวอ ยางชดั เจน และเปน หมวดหมูปรากฏอยู ในหมวดที่ 3 ดังน้ี สว นที่ 1 บททวั่ ไป สวนท่ี 2 ความเสมอภาค สวนท่ี 3 สทิ ธแิ ละเสรีภาพสว นบคุ คล สวนท่ี 4 สิทธใิ นกระบวนการยตุ ธิ รรม สวนที่ 5 สทิ ธิในทรพั ยส นิ สว นท่ี 6 สิทธิและเสรภี าพในการประกอบอาชีพ สว นท่ี 7 เสรภี าพในการแสดงความคดิ เหน็ ของบคุ คลและสื่อมวลชน สวนที่ 8 สทิ ธแิ ละเสรภี าพในการศึกษา สวนท่ี 9 สทิ ธใิ นการไดร บั บรกิ ารสาธารณสขุ และสวัสดิการจากรฐั สวนท่ี 10 สิทธิในขอ มูลขาวสารและการรอ งเรยี น สวนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและสมาคม สวนท่ี 12 สทิ ธชิ ุมชน สว นที่ 13 สิทธพิ ทิ กั ษร ฐั ธรรมนญู ผูเรียนสามารถศึกษารายละเอียดของ สิทธิ และเสรีภาพ ไดในเอกสารรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3

109 นอกจากจะบัญญตั ิ สทิ ธิ และเสรีภาพของประชาชนไวแ ลว รฐั ธรรมนูญกย็ งั ไดบัญญัติหนาท่ี ของประชาชนไว เชนกัน ดังตัวอยาง หนาท่ีของประชาชนชาวไทยในหมวด 4 ของรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย พุทธศกั ราช 2550 ซึ่งบญั ญตั ิไว ดังนี้ 1. บุคคล มหี นา ทีพ่ ทิ ักษ รักษาไวซ ึง่ ชาติ ศาสนา พระมหากษตั รยิ  และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอนั มีพระมหากษัตริยทรงเปน ประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ (มาตรา 70) 2. บุคคล มีหนาท่ีปองกันประเทศ รักษาผลประโยชนของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย (มาตรา 71) 3. บคุ คล มหี นา ทไ่ี ปใชสิทธเิ ลือกต้ัง บุคคลซึ่งไปใชสิทธิหรือไมไปใชสิทธิ โดยไมแจงเหตุอัน สมควรท่ีทาํ ใหไมอาจไปใชสิทธไิ ด ยอมไดรับสิทธิ หรือเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ การแจงเหตุที่ ทําใหไมอาจไปเลือกตั้ง และการอํานวยความสะดวกในการไปเลือกต้ัง ใหเปนไปตามที่กฎหมาย บัญญตั ิ (มาตรา 72) 4. บคุ คล มีหนา ทร่ี บั ราชการทหาร ชว ยเหลอื ในการปอ งกัน และบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสยี ภาษีอากร ชว ยเหลือราชการ รับการศกึ ษา อบรม พิทักษ ปกปอ ง และสบื สานศิลปวฒั นธรรมของ ชาติและภูมิปญญาทองถิ่น และอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม ท้ังน้ีตามที่กฎหมาย บญั ญตั ิ (มาตรา 73) 5. บุคคล ผเู ปน ขาราชการพนักงาน ลูกจาง ของหนวยราชการ หนวยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจาหนาท่ีอ่ืนของรัฐ มีหนาท่ีดําเนินการใหเปนไปตามกฎหมาย เพ่ือรักษาประโยชนสวนรวม อํานวยความสะดวก และใหบริการแกประชาชน ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการ บานเมอื งที่ดี ในการปฏิบัตหิ นาที่ และในการปฏบิ ตั กิ ารอน่ื ท่เี กี่ยวของกบั ประชาชน บุคคล ตามวรรคหน่ึง ตอ งวางตนเปน กลางทางการเมอื ง (มาตรา 74)

110 กจิ กรรมท่ี 10 1. เมอ่ื ผเู รียนไดศ กึ ษาความเปน มาของรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกั รไทย แลว ใหผ ูเรยี นลําดับววิ ฒั นาการของรฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจกั รไทยตามระยะเวลา ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. จากพระราชหัตถเลขาที่ทรงสละราชสมบัติของพระบาทสมเดจ็ พระปกเกลาเจาอยูหัว ไดท รงคาดหวงั วาประเทศไทย ควรจะมรี ูปแบบการปกครองเปนอยางไร และปจจุบัน ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองตามท่ีพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ทรงคาดหวังไวแลวหรือไม ถา มี มีในเร่อื งใดบา ง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………............................................................................. 3. ใหผูเรียนวิเคราะหวิถีชีวิตของผูเรียนวามีเร่ืองใดบางในชีวิตของผูเรียนที่มีความ เกย่ี วของกบั บทบัญญตั ใิ นรฐั ธรรมนูญฉบบั ท่ใี ชอยปู จจบุ ัน และความเก่ียวของนั้นเปน สิง่ ทผี่ ูเ รยี นมีความพึงพอใจแลว หรือไม ตอ งการใหมีการเปล่ยี นแปลง อยา งไร ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………

111 4. หากผเู รียนจะนาํ หลกั การสาํ คญั ของระบอบประชาธิปไตยมาใชในครอบครัว ผูเรยี นจะ นําหลักการนั้นมาใช และมวี ิธีปฏบิ ัตอิ ยางไรกับสมาชกิ ในครอบครวั จงึ จะไดชื่อวาเปน ครอบครวั ประชาธิปไตยทมี่ องเหน็ และสมั ผัสไดอยางเปน รปู ธรรม ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… เร่อื งท่ี 4 หลักการสาํ คัญของประชาธิปไตยและคณุ ธรรม จรยิ ธรรม คานิยม ในการอยรู ว มกันอยา ง สันติ สามัคคี ปรองดอง ความหมายและความสาํ คญั ของประชาธิปไตย ประชาธปิ ไตย เปน รูปไดท ง้ั แบบการปกครอง และวถิ กี ารดาํ เนนิ ชีวิต ซ่งึ ยึดหลกั ของความเสมอภาค เสรีภาพและศกั ดศ์ิ รีแหง ความเปน มนษุ ย การปกครอง ระบอบประชาธปิ ไตยถือวาทกุ คนมสี ิทธิเสรีภาพ เทา เทียมกันและอํานาจอธิปไตยตองมาจากปวงชน ระบอบประชาธปิ ไตย หมายถึง ระบอบการปกครองท่ีอํานาจอธิปไตยเปนของปวงชน ประชาชน มสี ทิ ธิ เสรีภาพ โดยอาศยั หลักการของการแบงแยกอํานาจ และหลักการที่วาดวยความถูกตองแหง กฎหมาย ผปู กครองประเทศทม่ี าจากการเลือกตงั้ ของประชาชน เปนเพียงตัวแทนท่ีไดรับมอบอํานาจ ใหใ ชอ ํานาจอธิปไตยแทนประชาชน

112 หลกั การสาํ คญั ของระบอบประชาธปิ ไตยที่สาํ คญั 1. หลกั อาํ นาจอธิปไตย เปนของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเปนเจาของ โดยใชอ ํานาจที่ มตี ามกระบวนการเลือกต้ังอยางอิสระและทั่วถึง ในการใหไดมาซึ่งตัวผูปกครอง และผูแทนของตน รวมท้งั ประชาชนมอี าํ นาจในการคดั คาน และถอดถอนผปู กครอง และผูแทนท่ีประชาชนเห็นวา มิได บรหิ ารประเทศ ในทางทเี่ ปนประโยชนต อ สงั คมสวนรวม เชน มีพฤติกรรมร่าํ รวยผดิ ปกติ อํานาจอธปิ ไตย หมายถึง อํานาจสูงสุดในการปกครองรัฐหรือประเทศ ดังน้ัน ส่ิงอื่นใดจะมี อํานาจยิ่งกวา หรือขัดตออํานาจอธิปไตยไมได อํานาจอธิปไตยยอมมีความแตกตางกันไปในแตละ ระบอบการปกครอง เชน ในระบอบประชาธิปไตย อํานาจอธิปไตยเปนของประชาชน กลาวคือ ประชาชน คือ ผูมีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช อํานาจ อธิปไตย เปน ของพระมหากษัตรยิ  คือ กษัตริย เปนผูมีอํานาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เปนตน อน่ึง อาํ นาจอธิปไตยน้ี นบั เปนองคประกอบสําคญั ที่สดุ ของความเปนรัฐ เพราะการท่ีจะเปนรัฐไดน้ัน นอกจากจะตองประกอบดวยอาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแลว ยอมตองมีอํานาจอธิปไตยดวย กลาวคือ ประเทศนั้นตองเปนประเทศท่ีสามารถมีอํานาจสูงสุด (อํานาจอธิปไตย) ในการปกครอง ตนเอง จงึ จะสามารถ เรยี กวา “รฐั ” ได ในระบอบประชาธปิ ไตย อาํ นาจอธปิ ไตย เปนอาํ นาจสงู สุดในการปกครองประเทศ แบง ออกเปน 3 สวน ดงั น้ี 1) อํานาจนิติบญั ญตั ิ เปนอํานาจในการออกกฎหมายและควบคุมการทํางานของ รฐั บาล เพ่อื ประโยชนของประชาชนและประเทศชาติ ประชาชนชาวไทยใชอํานาจนี้โดยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผูแ ทนราษฎรไปทาํ หนา ทแ่ี ทนในรฐั สภา 2) อํานาจบรหิ าร เปน อาํ นาจการบริหารราชการแผนดินและการปกครอง ซึ่งมี คณะรฐั มนตรหี รือรัฐบาลเปน ผูใชอาํ นาจ และรับผดิ ชอบในการบริหารราชการแผนดินใหเปนไปตาม นโยบายทแ่ี ถลงตอ รัฐสภา

113 3) อาํ นาจตุลาการ เปนอาํ นาจในการวินิจฉยั ตัดสินคดีความตามกฎหมาย โดยมี ศาลเปน ผใู ชอ าํ นาจ 2 หลักสทิ ธเิ สรภี าพ ประชาชนทุกคน มีความสามารถในการกระทํา หรืองดเวนการกระทํา อยางใดอยางหนึ่งตามท่ีบุคคลตองการ ตราบเทาท่ีการกระทําของเขาน้ัน ไมไปละเมิดลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของบุคคลอน่ื หรอื ละเมิดตอความสงบเรียบรอยของสังคม และความมั่นคงของประเทศชาติ 3. หลักความเสมอภาค การเปดโอกาสใหประชาชนทุกคน สามารถเขาถึงทรัพยากรและ คุณคา ตาง ๆ ของสังคมที่มอี ยูจาํ กัดอยางเทาเทยี มกนั โดยไมถูกกดี กัน ดวยสาเหตุแหงความแตกตาง ทางชน้ั วรรณะทางสังคม ชาตพิ นั ธุ วัฒนธรรม ความเปน อยู ฐานะทางเศรษฐกิจ หรอื ดว ยสาเหตอุ นื่ 4. หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม เปนหลักการของรัฐท่ีมีการปกครองโดยกฎหมาย หรือ หลักนิติธรรม การใชหลักกฎหมายเปนกฎเกณฑการอยูรวมกัน เพื่อความสงบสุขของสังคม การให ความคุมครองสิทธิข้ันพื้นฐานของประชาชน ท้ังในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพยสิน การแสดงออก การดํารงชพี ฯลฯ อยางเสมอหนากัน ผูปกครองไมสามารถใชอํานาจใด ๆ ลิดรอนเพิกถอนสิทธิ เสรีภาพ ของประชาชนได และไมสามารถใชอ ภสิ ิทธอิ ยเู หนือกฎหมาย หรอื เหนอื กวาประชาชนคนอื่น ๆ ได 5. หลกั การเสียงขา งมาก ควบคไู ปกบั การเคารพในสทิ ธิของเสียงขางนอย การตัดสินใจใด ๆ ที่สงผลกระทบตอประชาชนหมูมาก ไมวาจะเปนการเลือกตั้งผูแทนของประชาชน เขาสูระบบ การเมอื ง การตัดสนิ ใจของฝายนติ บิ ัญญัติ ฝายบรหิ าร หรอื ฝายตลุ าการ ยอ มตอ งถอื เอาเสียงขางมาก ทมี่ ีตอ เรือ่ งนัน้ ๆ เปนเกณฑใ นการตัดสนิ ทางเลอื ก โดยถือวา เสยี งขา งมาก เปนตวั แทนทีส่ ะทอนความ ตองการ และขอเรียกรองของประชาชนหมูม าก หลักการนี้ ตอ งควบคไู ปกับการเคารพ และคุมครอง สิทธิเสยี งขา งนอยดว ย ทง้ั นี้ก็ เพ่อื เปนหลักประกันวา ฝายเสียงขางมากจะไมใชวิธีการ พวกมากลากไป ตามผลประโยชน ความเห็นหรือกระแสความนิยมของพวกตนอยางสุดโตง แตตองดําเนินการ เพ่ือ ประโยชนความเหน็ ของประชาชนท้งั หมด เพื่อสรา งสงั คมท่ปี ระชาชนเสียงขางนอย รวมทั้งชนกลุมนอย ผูดอยโอกาสตาง ๆ สามารถอยูรวมกันไดอยางสันติสขุ โดยไมมีการเอาเปรียบกันและสรางความ ขดั แยง ในสังคม 6. หลักเหตุผล เปน หลักการใชเหตุผลท่ีถกู ตอ ง ในการตดั สินหรือยตุ ิปญหาในสังคม ในการอยู รว มกนั อยางสนั ติ สามัคคี ปรองดอง ผคู นตอ งรจู ักยอมรบั ฟงความเหน็ ตาง และรับฟงเหตุผลของผอู นื่ ไมด ้อื ดึงในความคดิ เห็นของตนเอง จนคนอื่นมองเราเปนคนมีมิจฉาทิฐิ 7. หลักประนปี ระนอม เปนการลดความขัดแยง โดยการผอนหนักผอนเบาใหกัน รวมมือกัน เพื่อเห็นแกประโยชนของสวนรวมเปนสําคัญ เปนทางสายกลาง ซ่ึงทั้งสองฝายจะตองไดและเสียใน บางอยาง ไมไดครบตามท่ตี นปรารถนา จัดเปนวิธกี ารท่ที ําใหท กุ ฝา ย สามารถอยูรวมกันตอไปไดอยางสันติ วิธีการในการประนีประนอม อาจใชเทคนิคการเจรจาตอรอง การไกลเกล่ีย โดยผูบังคับบัญชา หรือ บุคคลทส่ี าม เปนตน

114 8. หลกั การยอมรบั ความเห็นตา ง หลักการน้ี เพ่ือเปนการอยูรวมกันดวยความสันติ สามัคคี ปรองดอง ไมวาเสียงขางมากหรือเสียงขางนอย ตองทําใจยอมรับความเห็นตาง อันเปนการหลอมรวม หลกั ความเสมอภาค หลกั เสรีภาพ และหลักประนีประนอม โดยการเคารพและคมุ ครองสทิ ธิของผูอ ื่นดว ย ท้ังน้กี ็เพื่อ เปนหลักประกนั วา ไมว า ฝา ยเสียงขางมากหรือฝา ยเสยี งขา งนอ ย เปนจะสามารถอยูรวมกนั ดวยความสันตสิ ามคั คี ปรองดอง ทุกฝายตอ งยอมรับความเห็นตาง รวมท้ังฝายเสียงขางมากเองก็จะ ไมใ ชว ิธกี าร พวกมากลากไป ตามผลประโยชนห รอื ความเห็น หรอื กระแสความนยิ มของพวกตนอยาง สดุ โตง ดงั ไดก ลา วไวแลวขา งตน แตตองดําเนินการเพื่อประโยชนของประชาชนท้ังหมดหรือทุกฝาย เพ่ือสรางสังคมท่ีประชาชนเสียงขางนอย หรือประชาชนที่มีความเห็นตางจากฝายตน สามารถอยู รว มกันไดอ ยา งสนั ติ สามัคคี ปรองดอง โดยไมมกี ารเอาเปรยี บกัน และสรา งความขัดแยง ในสังคมมาก เกนิ ไป กลาวโดยสรปุ วิถีทางประชาธิปไตยอันมี หลกั การทส่ี ําคญั เชน หลกั การอํานาจอธิปไตย หลักสิทธเิ สรภี าพ หลกั ความเสมอภาค หลกั นติ ริ ฐั และหลกั นติ ิธรรม หลักการเสียงขา งมาก หลักเหตผุ ล หลกั ประนีประนอม หลักการยอมรับความเหน็ ตา ง ผูเรียนจะตองศกึ ษา เพอื่ ใหมคี วามรู ความเขา ใจ และนํามาประยกุ ตใ ชใ นชีวติ ประจาํ วนั เพ่ือการอยู รวมกันอยางสนั ติ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม และคา นิยมในการเสรมิ สรา งสันติ สามัคคี ปรองดองในสงั คมไทย ความหมาย การเสริมสรา งความปรองดองในสงั คมไทย การเสรมิ สรางความปรองดองในสังคมไทย หมายถงึ “การเพิ่มพูนใหด ีขนึ้ หรือม่ันคงยง่ิ ข้ึนดวย ความพรอ มเพรียงกัน หรือ การเพ่มิ พนู ใหด ีข้นึ ดวยการออมชอม ประนีประนอม ยอมกันไมแกงแยงกัน ตกลงดวยความไกลเ กลี่ย และตกลงกันดวยความมีไมตรีจิตของประชาชนคนไทย” คนไทยสวนใหญ ลวนมีความรักใครและสามัคคีกันอยูแลวในทุกถิ่น ดวยความมีจารีต วัฒนธรรม ประเพณี กับความมีศีลธรรมในสายเลือด และในจิตใจสืบทอดตอกันมา การขัดแยงทาง ความคดิ ในกลุมคน ยอมเกดิ มีไดบางเปนเรื่องธรรมดา แตถาหากการขัดแยงทางความคิด ไดรับการ ไกลเ กล่ยี ไดร บั ความรู ไดร บั ขาวสาร หรือไดร บั การอธิบายจนเกิดความรู ความเขาใจที่ถูกตอง การขัดแยง ทางความคิดเหลา น้นั ก็จะหมดไปได ไมก อ ใหเ กิดความแตกแยกสามัคคี ไมก อใหเกดิ ความรุนแรงใดใด ทั้งทางวาจาและทางกาย เพราะคนไทย เปนชนชาติทร่ี ักสงบ รักพวกพอ ง และรักแผน ดนิ ถนิ่ เกดิ

115 ดังนั้น ประชาชนควรมีความรู ความเขาใจ ในระบอบการปกครอง รวมถึงระบบ ระเบียบ วิธีการทํางาน หรือกลวิธีของพรรคการเมือง และควรไดรับความรู มีความเขาใจ เกี่ยวกับกลวิธีใน การทจุ รติ คอรรัปชัน่ ประพฤตมิ ิชอบ การรับเงนิ สมนาคณุ หรือกฎหมายท่ีเกย่ี วของกับพรรคการเมอื ง และนักการเมืองทุกรูปแบบ รวมถึงความรู เก่ียวกับกฎหมายที่สําคัญในชีวิตประจําวัน และอ่ืน ๆ เพ่อื ใหป ระชาชนเกิดการเคารพในกฎหมาย ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ กติกา หรือตามกฎหมาย ประชาชนทุกหมูเหลา ทุกสาขาอาชีพ ควรไดรับการพัฒนาทางดานจิตใจใหมีคุณธรรมทางศาสนา ใหเกิดมีความรู มีความเขาใจในหลักการหรือหลักคําสอนทางศาสนา อันจะเปนบรรทัดฐานหรือ เปนแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตามหนาท่ี แหงความเปนประชาชนชาวไทย เพื่อใหเกิดความมี ระเบยี บ มีวินัย ท้งั ความคิด ทง้ั จติ ใจ ในทุกดาน อันจักทําใหก ารขัดแยงทางความคิดในทุกชุมชน ทุกสังคม ทกุ หนวยงาน ทุกกลมุ บคุ คล ลดนอยลงหรอื ไมมี การขดั แยงทางความคดิ ท่รี ุนแรงเกิดขน้ึ น้นั ยอ มแสดงให เห็นวา คนไทย ไดเสริมสรางความสามัคคี คือ ไดเพ่ิมพูนใหดีข้ึน หรือม่ันคงย่ิงข้ึน ดวยความพรอม- เพยี งกัน ออมชอม ประนปี ระนอม ยอมกนั ไมแ กง แยงกนั ตามจารตี วัฒนธรรม ประเพณีตามหลักกฎหมาย ตามหลักศีลธรรมในศาสนา ซ่ึง “การเสริมสรางความสามัคคีของคนไทย” จะสําเร็จได ก็ดวยคนไทย รวมมอื รว มใจกนั ประพฤตปิ ฏิบตั ิ เพื่อประเทศไทย และเพ่อื คนไทย หลักการเสริมสรา งความปรองดองในสังคมไทย

116 การเสริมสรางความปรองดอง เปนกระบวนการที่ชวยปองกัน หรือลดปญหาความขัดแยง สรางสันติ ใหคนในสังคมอยูรวมกันอยางสามัคคี บนพ้ืนฐานของหลักการทางประชาธิปไตย และ คณุ ธรรมในการอยูรว มกนั ในสงั คมอยา งมีความสขุ คุณธรรมพน้ื ฐานในการอยรู ว มกันอยางสันติ สามัคคี ปรองดองตามหลกั การทางประชาธิปไตย พระพรหมคณุ าภรณ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2551 : 51, 57) ไดใหค วามหมายของคําวา “คุณธรรม” ไวอยางชดั เจนวา หมายถงึ ธรรมที่เปนคุณ ความดีงาม สภาพที่เกอ้ื กลู กัน สว นคาํ วา “จรยิ ธรรม” หมายถึง หลกั ความประพฤติ หลกั ในการดาํ เนินชีวติ หรือความประพฤติอันประเสริฐ หรือการดําเนินชีวิตอัน ประเสรฐิ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม เปน เร่อื งของระบบคดิ ทยี่ อมรับความเปนจริงของชีวติ การสรา งคุณธรรม จรยิ ธรรม ใหเ กิดขึ้นได ตองอาศัยการปลูกฝงระบบคิดดังกลาวใหเขาไปอยูในทุกชวงชีวิตของมนุษย และตอ งไมเ ปน หนา ทข่ี องหนวยงานใดหนว ยงานหนง่ึ อยางสถาบนั การศึกษา หากแตค วรเปน ทุกภาคสว น ของสังคม ตอ งเขา มามีสวนรวมในการปลูกฝง คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ใหเ กดิ มีขน้ึ ใหได จะเห็นไดวาเร่อื งของ คณุ ธรรม จรยิ ธรรม เปนการพัฒนาความเปนมนุษยท่ีสมบูรณ ไมเพียง เฉพาะ เพื่อการอยูร วมกนั อยางสันติ สามัคคี ปรองดอง เทานน้ั ยังเปน พ้นื ฐานของการอยูรว มกันอยาง สงบสุข ไมแ ตกแยก การอยูรว มกันในฐานะสมาชิกในสังคมเดียวกัน จะนํามาซ่ึงการอยูรวมกันอยาง สนั ติสุขได คุณธรรมทนี่ าํ ไปสูการอยรู ว มกนั อยางสนั ติ สามคั คี ปรองดอง ตามหลกั การทางประชาธปิ ไตย (ดร.สาโรช บวั ศร)ี มดี ังน้ี 1. คารวธรรม คอื การเคารพซึง่ กันและกนั 2. สามคั คีธรรม คอื การรวมมือชว ยเหลอื ซ่งึ กนั และกนั 3. ปญญาธรรม คอื การใชส ตปิ ญ ญาในการดาํ เนนิ ชวี ติ 1. คารวธรรม คือ การเคารพซ่งึ กนั และกนั มีพฤติกรรมทแ่ี สดงออก ดงั น้ี 1.1 เคารพในสถาบนั พระมหากษัตริย ไดแก การแสดงความเคารพเทดิ ทูนสถาบันพระมหากษัตริย ในทุกโอกาส การรวมกิจกรรมตาง ๆ ท่ีจัด เพ่ือแสดงความจงรักภักดีตอสถาบันพระมหากษัตริย ในโอกาสวันสาํ คัญตาง ๆ การไปรับเสดจ็ เมือ่ พระมหากษตั ริยหรือพระบรมวงศานุวงศเ สดจ็ ไปในถิ่นทีอ่ ยู หรือบรเิ วณใกลเคียง การปฏิบัติตอสัญลกั ษณท ีแ่ สดงถึงสถาบนั พระมหากษัตริย เชน ธงชาติ พระบรม- ฉายาลกั ษณ เพลงสรรเสรญิ พระบารมี ฯลฯ ดวยความเคารพ เม่ือไดยิน หรอื เหน็ บคุ คลใดแสดงกิริยา วาจา หรือมีการกระทําอันไมสมควรตอสถาบันพระมหากษัตริย ตองกลาวตักเตือน และหามไมให ปฏิบตั เิ ชน นน้ั อีก

117 1.2 เคารพบุคคลท่ีเกยี่ วของ โดยเฉพาะบิดามารดา ซ่ึงเปน ผูใหกําเนิด เคารพญาติผูใหญ เชน ปู ยา ตา ยาย และผสู งู อายุ เคารพครูอาจารย และเพือ่ น ๆ ทง้ั ทางกายและทางวาจา 1.2.1 ทางกาย ไดแก การทกั ทาย การใหเกียรติผูอ่ืน การแสดงความเคารพแกบคุ คล ซ่งึ อาวุโสกวา การใหก ารตอ นรบั แกบ ุคคล การแสดงความเออ้ื เฟอ ซึ่งกนั และกนั เปนตน 1.2.2 ทางวาจา ไดแก การพูดใหเหมาะสมกับกาลเทศะ การใชค ําพดู เหมาะสมตามฐานะ ของบุคคล การพดู จาสุภาพ ไมก าวราว สอเสียด การไมพ ดู ในสงิ่ ทจ่ี ะทาํ ใหผอู ื่นเกดิ ความเดอื ดรอน ไมนาํ ความลบั ของบคุ คลอนื่ ไปเปดเผย ไมพูดนนิ ทา หรอื โกหก หลอกลวง เปน ตน 1.3 เคารพสิทธิของผูอ่ืน ไดแก การไมลวงละเมิดสิทธิของผูอ่ืน ท้ังทางกาย หรือวาจา การ รูจักเคารพในสิทธิของคนที่มากอ นหลัง การเคารพในความเปนเจาของ สิ่งของเคร่ืองใช การรูจักขอ อนุญาต เมื่อลวงล้ําเขาไปในที่อยูอาศัยของบุคคลอื่น การไมทํารายผูอ่ืนโดยเจตนา การไมทําใหผูอื่น เสอื่ มเสยี ชอื่ เสยี ง เปนตน 1.4 เคารพในความคิดเห็นของผูอ ืน่ ไดแก การยอมรับฟงความคิดเหน็ ของผูอื่น เม่ือมีผูพูด เสนอความคิดเห็น ควรฟงดวยความตั้งใจและใครครวญดวยวิจารณญาณ หากเห็นวาเปนการเสนอ แนวความคิดที่ดีมีประโยชนมากกวาความคิดเห็นของตนเอง ก็ควรยอมรับและปฏิบัติตาม ไมควร ยดึ ถอื ความคิดเห็นของตนวา ถูกเสมอไป 1.5 เคารพในกฎระเบียบของสังคม ไดแก การยึดม่ันในกฎระเบียบของสังคม เชนวัฒนธรรม ประเพณี กฎเกณฑข องสงั คม และกฎหมายของประเทศ 1.6 มเี สรภี าพ และใชเสรภี าพในขอบเขตของกฎหมายและขนบธรรมเนยี มประเพณี 2. สามคั คธี รรม คือ การรวมมอื ชวยเหลือซง่ึ กนั และกัน มีความเอื้อเฟอเผ่ือแผตอกัน เพื่อให เกดิ ประโยชนตอสวนรวม มีพฤติกรรมทแี่ สดงออกดังน้ี 2.1 การรูจ กั ประสานประโยชน คาํ นึงถึงประโยชนของชาติเปนที่ต้ัง ไดแก ทํางานรวมกัน อยา งสนั ติวิธี รูจักประนปี ระนอม เสยี สละความสขุ สวนตน หรือหมูคณะ 2.2 รว มมอื กันในการทาํ งาน หรอื ทํากจิ กรรมอยางหน่งึ อยา งใดรว มกนั จะมีการวางแผนและ ทํางานรวมกัน ดําเนินงานตามข้ันตอน ชวยเหลือกันอยางต้ังใจ จริงจัง ไมหลีกเล่ียง หรือเอาเปรียบ ผอู น่ื 2.3 รับผิดชอบตอ หนา ทที่ ่ไี ดร ับมอบหมายจากสวนรวม และหนาทตี่ อ สงั คม 2.4 ความเปน นํ้าหนึ่งใจเดยี วกันของคนในกลุม ในหนวยงาน และสงั คม 3. ปญ ญาธรรม คอื การใชส ตปิ ญญาในการดําเนินชีวติ มีพฤตกิ รรมท่ีแสดงออก ดังนี้ 3.1 การไมถือตนเปนใหญ ไดแก การรูจักรับฟงความคิดเห็นของผูอื่น การรูจักเปนผูนํา และผูตามท่ีดี

118 3.2 เนน การใชปญญา ใชเหตุผล และความถูกตอง ในการตัดสินปญหาทั้งปวง ไมใชเสียง ขางมาก ในการตัดสินปญหาเสมอไป เพราะเสียงขางมากบอกเฉพาะความตองการ ความคิดเห็น ความพงึ พอใจ แตไ มอ าจบอกความจรงิ ความถกู ตอ งได 3.3 มคี วามกลาหาญทางจรยิ ธรรม กลา ที่จะยนื หยดั ในสง่ิ ทถี่ กู ตอ ง 3.4 แสวงหาความรู ขา วสารขอมูลอยางมีวจิ ารญาณ เพือ่ เปนขอมูลในการตดั สินใจ การปฏิบัตติ ามคณุ ธรรมขางตน เมื่อไดประพฤติปฏิบัติ ความสามัคคียอมจะเกิดขึ้น เมื่อเกิด ความสามัคคีข้ึนแลว การงานทุกอยางแมจะยากสักเพียงใดก็กลายเปนงาย ชีวิตมีแตความราบรื่น แมจะเกิดอุปสรรคก็สามารถขจัดใหหมดสิ้นได ดังคํากลาวท่ีวา “สามัคคีคือพลัง” เพียงแตทุกคน ดาํ รงชีวติ บนพืน้ ฐานแหงคณุ ธรรม ใหทุกคนมีความรัก และชว ยเหลอื ซึง่ กันและกนั มีความสามัคคแี ละ เสยี สละเพ่ือสว นรวม การใชห ลักธรรมในการสง เสรมิ ความสามคั คีเปนแนวทางในระยะยาว และเปน การปองกันความแตกสามคั คี ขณะทีก่ ารสรา งความสามคั คใี นระยะส้นั เปนการทาํ กจิ กรรมตาง ๆรวมกัน โดยอาจเริม่ จากกจิ กรรมบนั เทิงทส่ี ามารถดึงกลมุ คนใหเ ขารวมไดง าย เชน การเขาคายตาง ๆ การทํา กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชนรว มกนั การทาํ กิจกรรมพฒั นาคุณภาพชีวติ ทีห่ ลากหลาย จากนนั้ คอย ขยายสูกิจกรรมท่ีมีความยากขึ้น และการสรางวัฒนธรรม ประเพณีในการทํากิจกรรมรวมกันเปน ประจํา จะชว ยสรางวฒั นธรรมการทํางานกลมุ และการสมั พนั ธก ับสังคม ซึ่งชวยใหเกิดความรักความ สามคั คไี ดมากยง่ิ ข้นึ คา นิยมพน้ื ฐานในการอยรู ว มกนั อยา งสมานฉันท 12 ประการ ขอ 1. มคี วามรกั ชาติ ศาสนา พระมหากษตั รยิ  ขอ 2. ซอื่ สัตย เสยี สละ อดทน ขอ 3. กตัญูตอ พอแม ผูปกครอง ครบู าอาจารย ขอ 4. ใฝหาความรู หมนั่ ศึกษาเลา เรียน ท้ังทางตรงและทางออม ขอ 5. รกั ษาวฒั นธรรม ประเพณไี ทยอนั งดงาม ขอ 6. มศี ีลธรรม รักษาความสัตย หวังดีตอ ผูอนื่ เผอ่ื แผและแบง ปน ขอ 7. เขา ใจเรยี นรูการเปนประชาธิปไตยอันมพี ระมหากษตั รยิ ท รงเปน ประมขุ ทีถ่ ูกตอ ง ขอ 8. มรี ะเบยี บวินยั เคารพกฎหมาย ผูน อ ยรจู กั เคารพผใู หญ ขอ 9. มีสติรูตวั รคู ิด รูทาํ รปู ฏบิ ัติ ตามพระราชดาํ รัสของพระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหา- ภมู ิพลอดุลยเดช ขอ 10. รูจักดํารงตนอยูโดยใชหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของ พระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รูจักอดออมไวใชเม่ือยามจําเปน มีไวพอกินพอใช ถาเหลอื ก็แจกจา ย จาํ หนาย และขยายกจิ การเมือ่ มีความพรอ มโดยมีภูมคิ มุ กันท่ีดี

119 ขอ 11. มีความเขมแขง็ ทั้งรา งกายและจติ ใจ ไมยอมแพตออาํ นาจฝายตา่ํ หรอื กเิ ลส มีความละอาย เกรงกลวั ตอ บาปตามหลักของศาสนา ขอ 12. คาํ นึงถงึ ผลประโยชนข องสว นรวมและตอ ชาติมากกวาผลประโยชนของตนเอง คานิยมพืน้ ฐานดงั กลา วขางตน มีความสาํ คญั อยางยิง่ ที่คนไทยจะตองนํามาประพฤติปฏิบัติใน ชวี ิตประจาํ วันอยูเสมอ และเพ่ือใหเ กดิ ความเขาใจย่ิงขึ้นจะขอกลา วในรายละเอยี ดเพ่มิ เตมิ ดงั น้ี 1. มคี วามรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย เปนคุณลักษณะที่แสดงถึงรักความเปนชาติไทย เปนพลเมืองดีของชาติ มีความสามัคคี เห็นคุณคา ภูมิใจ เชิดชูความเปนไทย ปฏิบัติตนตามหลัก ศาสนาท่ีตนนับถือ และแสดงความจงรกั ภกั ดีตอ สถาบันพระมหากษตั รยิ  2. ซ่อื สตั ย เสยี สละ อดทน เปนคุณลักษณะที่แสดงถึงการยึดมั่นในความถูกตอง ประพฤติ ตรงตามความเปน จริงตอ ตนเองและผูอน่ื ละความเหน็ แกต ัว รจู กั แบง ปนชวยเหลอื สังคมและบุคคลท่ี ควรใหร จู ักควบคมุ ตนเองเมือ่ ประสบกับความยากลําบากและสิ่งทก่ี อใหเกดิ ความเสียหาย 3. กตัญูตอพอ แม ผูปกครอง ครูบาอาจารย เปนคุณลกั ษณะทีแ่ สดงออกถึงการรูจักบุญคุณ ปฏิบัติตามคาํ สง่ั สอน แสดงความรัก ความเคารพ ความเอาใจใส รกั ษาช่ือเสียง และตอบแทนบุญคุณ ของพอ แม ผปู กครอง และครบู าอาจารย 4. ใฝห าความรู หมน่ั ศึกษาเลา เรยี น ทง้ั ทางตรงและทางออ ม เปน คณุ ลักษณะท่ีแสดงออก ถงึ ความตัง้ ใจ เพียรพยายามในการศึกษาเลา เรียน แสวงหาความรู ท้ังทางตรงและทางออ ม 5. รักษาวฒั นธรรม ประเพณีไทยอันงดงาม เปนการปฏิบตั สิ ืบทอดอนุรักษวัฒนธรรม และ ประเพณไี ทยอนั ดีงามดวยความภาคภมู ิใจเหน็ คุณคา ความสาํ คัญ 6. มศี ลี ธรรม รกั ษาความสตั ย หวังดตี อ ผอู น่ื เผ่อื แผแ ละแบง ปน เปน ความประพฤติที่ควร ละเวน และความประพฤติท่คี วรปฏิบตั ติ าม 7. เขาใจเรยี นรกู ารเปนประชาธปิ ไตย อันมพี ระมหากษัตริยทรงเปนประมุขที่ถูกตอง คือ มีความรู ความเขาใจ ประพฤติปฏิบัติตนตามสิทธิ และหนาท่ีของตนเอง เคารพสิทธิและหนาท่ีของ ผูอ่ืน ใชเสรีภาพดวยความรับผิดชอบภายใตขอบเขตของกฎหมาย ตามระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษตั ริยท รงเปน ประมขุ 8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผูนอยรูจักการเคารพผูใหญ เปนคุณลักษณะท่ี แสดงออกถงึ การปฏบิ ัติตามขอตกลง กฎเกณฑ ระเบียบ ขอบังคับ และกฎหมาย มีความเคารพและ นอบนอมตอ ผใู หญ

120 9. มสี ติรูตัว รูคิด รูทํา รูปฏิบัติ ตามพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา- ภมู พิ ลอดุลยเดช เปนการประพฤตปิ ฏิบัตติ นอยางมีสตริ ตู ัว รูคดิ รทู ํา อยางรอบคอบถูกตอ ง เหมาะสม และนอมนําพระราชดํารัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปฏิบัติใน ชีวติ ประจาํ วัน 10. รูจักดํารงตนอยูโดยใชหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดํารัสของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รูจักอดออมไวใชเม่ือยามจําเปน มีไวพอกิน พอใช ถา เหลอื ก็แจกจาย จําหนาย และขยายกจิ การเมื่อมีความพรอม สามารถดําเนินชีวิตอยาง พอประมาณ มีเหตผุ ลมีภูมคิ ุมกนั ในตัวทีด่ ี มคี วามรู มคี ณุ ธรรม และปรบั ตวั เพ่อื อยใู นสงั คมไดอยางมี ความสุข 11. มีความเขมแข็งทัง้ รางกายและจติ ใจ ไมยอมแพตอ อํานาจฝา ยตา่ํ หรอื กิเลส มคี วามละอาย เกรงกลัวตอบาปตามหลักของศาสนา เปนการปฏิบัติตนใหมีรางกายสมบูรณ แข็งแรงปราศจาก โรคภัยและมีจติ ใจทเ่ี ขมแขง็ ไมกระทาํ ความชว่ั ใด ๆ ยดึ มั่นในการทาํ ความดีตามหลักของศาสนา 12. คํานึงถึงผลประโยชนของสวนรวมและตอชาติมากกวาผลประโยชนของตนเอง ให ความรวมมือ ในกิจกรรมท่ีเปนประโยชนตอสวนรวม และประเทศชาติ เสียสละประโยชนสวนตน เพือ่ รกั ษาประโยชนของสว นรวม

121 การจัดกจิ กรรมการเรียนรู วิชาหนาทพี่ ลเมือง ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน เร่อื ง สทิ ธมิ นุษยชนในการมีสว นรว มคมุ ครองตนเองและผูอ น่ื กรณีตวั อยา งเรอื่ ง “รกั แทหรอื รังแกกนั ” ตัวชว้ี ดั ท่ี 6 และ 7 ตระหนักถึงสทิ ธหิ นา ที่การมสี วนรว มในการคุมครองปอ งกนั ตนเองและผูอนื่ ตามหลักสทิ ธมิ นษุ ยชน วัตถปุ ระสงค 1. เขาใจถงึ หลกั สทิ ธมิ นษุ ยชนทีจ่ ะเกดิ ประโยชนต อ ตนเองและผอู ่ืน 2. เพือ่ ใหมีสวนรวมในการคมุ ครองปอ งกนั ตนเองและผอู นื่ ตามหลกั สิทธิมนุษยชน 3. เพอ่ื ใหต ระหนกั ถงึ สิทธิ และหนาทขี่ องประชาชน ในเรื่อง สทิ ธิมนษุ ยชน สามารถ นาํ มาใชเพ่ือหาทางเลือกแกปญ หาขอขดั แยงและคมุ ครองปองกนั ตนเองและผอู ื่น ในชุมชน เน้อื หาสาระ 1. ชว งเวลาที่ผา นมามคี วามขดั แยงในเรื่อง การละเมดิ สิทธิมนุษยชน เกิดขึ้นหลายตอ หลายกรณี ความขัดแยงนี้เปนกรณีระหวางหนวยงานภาครัฐกับชุมชนบาง ระหวางหนวยงาน ภาคเอกชนกบั ภาคเอกชนบาง ระหวางหนวยงานเอกชนกับชุมชนบาง หรือแมกระทั่งระหวางชุมชน หรือภาคเอกชนดวยกนั เองบา ง 2. เนื้อหาความขัดแยงในเร่ืองการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกลา ว สวนใหญเนนเรื่อง การออกกฎหมาย และการบังคับใชกฎหมายของหนวยงานภาครัฐที่ไมสอดคลองหรือไมเปนไปตาม ขอเท็จจริงทเี่ กิดข้ึนในชุมชน หรอื ขดั ตอธรรมเนียมประเพณี ความเชอ่ื ถอื ของประชาชนสวนใหญท่ีอยู มานานแลว หรอื กอใหเ กิดความไมปลอดภัยตอชีวิตและอาชีพการทํามาหากิน กอใหเกิดการทําลาย ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดลอม ความขัดแยงที่เกิดจากความเห็นตางของภาคสวนท่ีเกี่ยวของ ความขดั แยงทเี่ นื่องมาจากการขาดความรู ความเขาใจ ขาดขอมูลท่ีหลากหลายและพอเพียง รวมทั้ง การขัดผลประโยชนข องภาคสว นท่เี ก่ยี วของ ความขัดแยงท่ีเกิดจากการตีความกฎหมายท่ีไมตรงกัน หรือความขัดแยงท่ีเกิดจากความไมพรอม และไมปฏิบัติตามข้ันตอนการดําเนินการของภาคสวน ทเี่ ก่ยี วขอ ง ฯลฯ

122 3. มตี วั อยางท่ีเปนความขัดแยงอันเนื่องมาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนท่ีปรากฏใน สงั คม เชน ภาครฐั ออกกฎหมายการสรางเขื่อน เพ่ือประโยชนทางการพลังงานไฟฟาและการเกษตร และการปอ งกันนา้ํ ทว มท่ีตอ งทําลายปา ไม ตนนํ้าลําธารท่ีเปนตนเหตุของความแหงแลง ทําอันตราย ตอ สตั วป าหายาก พืชสมุนไพร และการทาํ มาหากินของชาวบานในพ้ืนทที่ ่อี ยูกันมานานแลว หรือการ ที่หนว ยงานภาครฐั ออกกฎหมายเวนคืนท่ีดนิ ในพื้นที่ทีจ่ ะสรางทางดวนไปกระทบตอประเพณีศาสนา ที่อยูอาศัยของชมุ ชน หรอื การทหี่ นว ยงานภาครฐั ออกกฎหมายเพอื่ ความม่ันคง ประกาศกฎอยั การศึก ภาวะฉกุ เฉินท่เี ปนการละเมิดสิทธมิ นุษยชน เชน หา มออกจากเคหะสถานหลังสามทุม หามชุมนุมเกิน 5 คน เขาควบคุมตัว จบั กุม กกั ขงั ประชาชนโดยไมตองใชหมายสั่ง ฯลฯ เปนตน 4. เม่อื เกดิ กรณีขัดแยงระหวา งหนว ยงานภาครฐั กับชมุ ชนในเรอื่ ง สิทธมิ นษุ ยชน มักจะ มขี อ กลาวหา 2 แนวทาง คอื 1) หนวยงานภาครัฐ ละเมิดสิทธิมนุษยชนและรังแกประชาชนและชุมชน โดยมี เร่ือง การทุจรติ คอรรัปชั่น เพือ่ ประโยชนต น ประโยชนพ รรคพวก เขามาเกยี่ วขอ ง 2) ประชาชนและชุมชนมีผลประโยชนสวนตน โดยไมคํานึงถึงประโยชนของ สวนรวม หรือถูกภาคเอกชน หรอื NGO ยยุ งสง เสริมเพ่อื ประโยชนของกลุมดังกลาว รวมท้ังถูกชักจูง ใหเลอื กขา งทางการเมือง 5. ประเด็นการอภิปรายถกแถลง 1) ทา นเหน็ ดวยกบั ขอกลา วหาดังกลาวหรอื ไม เพราะอะไร 2) ถา ทา นอยูในเหตุการณเปนคกู รณดี วย ทา นจะมีแนวทางในการแกปญหาเหลา น้ัน อยา งไรบา ง จึงจะใหม กี ารดําเนินการไดโดยไมเปนการละเมดิ สทิ ธิมนุษยชน 3) ทา นเห็นดวยหรอื ไมก บั คํากลาวทว่ี า “สทิ ธิมนุษยชนตองควบคูไปกับหนาที่ของ พลเมอื งดวย” เพราะเหตุใด วิธีการดําเนินงาน ข้นั นํา ครูนําเขา สบู ทเรยี นดวยการนาํ สนทนาถึงเนอ้ื หาสาระ เรอื่ ง สิทธิมนุษยชน ความคิด ความเหน็ โดยทัว่ ไปของ เรื่อง สทิ ธิมนษุ ยชน ตามความคิดของผเู รยี นรวมท้ังเหตกุ ารณตา ง ๆ ท่เี กิดขน้ึ อนั เนือ่ งมาจากปญ หาที่กลาวหาวา ละเมิดสทิ ธิมนุษยชน อาจมสี อ่ื ประกอบการเสวนา หรือใหผูเรียน ชว ยกนั เสนอขา วท่เี กิดขน้ึ ในชุมชน ครูแนะนาํ แหลงขอ มลู แหลงความรูเกีย่ วกบั เร่อื ง สทิ ธิมนุษยชน ท่ีผูเรียนจะใชแสวงหา ขอ มูลเพิม่ เตมิ

123 ขนั้ ดําเนินการ ครูแจกกรณตี ัวอยา ง “รักแทหรือรงั แกกัน” ใหกลมุ ผเู รียนศึกษาและรวมกันอภิปราย ถกแถลงตามประเด็นท่ีกําหนดให โดยครูอาจใหขอมูลเพิ่มเติมหรือเสนอประเด็นสืบเน่ือง หรือมี ขอ คําถามเพ่ือกระตนุ การอภปิ รายตามความจาํ เปน ข้ันสรุป ครแู ละผเู รียนรว มกันจดั ทําขอสรปุ จากการอภิปรายถกแถลงของกลมุ ผเู รยี น กิจกรรมเพ่อื การเรียนรูตอ เนอ่ื ง ครูเสนอกิจกรรมตอเนื่องตามความเห็นของกลุม เชน การศึกษาขอมูลเพ่ิมเติมจาก แหลงความรตู า ง ๆ การสนทนาหรือสัมภาษณบคุ คล เพื่อแสวงหาความคิด ขอคิดเห็น ขอเสนอแนะ เพม่ิ เติม การสอบถามความคิดเหน็ ฯลฯ เปนตน แลวใหผ เู รียนรวบรวมนาํ เสนอในรูปแฟม ความรู เพือ่ การแลกเปลี่ยนเรยี นรู ส่ือ/แหลงคนควา /ใบความรู 1. สอ่ื เอกสาร สอ่ื บุคคล สอื่ อเิ ล็กทรอนกิ ส 2. แหลงคนควา หองสมุด หนวยงานภาครฐั เอกชน สถานศกึ ษา 3. ใบความรู ขอมูลเรอื่ ง สิทธิมนษุ ยชน ท่ีเลือกนํามาจากเอกสารหรือเอกสารที่ สําเนามาจากหนังสอื พิมพ ระยะเวลา 1. การนาํ เสนอขอ การอภปิ รายถกแถลง การสรุป การเตรียมเพื่อทํากจิ กรรมสืบเนื่อง รวมทัง้ การสรุป 1 ช่ัวโมง 2. กิจกรรมตอเน่ืองใชเวลาตามความเหมาะสมโดยเนนการศึกษาดวยตนเอง นอกเวลา การวัดประเมินผล 1. โดยการสังเกตพฤติกรรมการมีสวนรวมของผูเรียน การรวมเสนอความคิดเห็น การคดิ หาเหตผุ ล การถกแถลง กระตอื รือรน ความตง้ั ใจ ความสนใจ 2. ตรวจสอบผลการรวบรวมขอมลู ความสมบรู ณของแฟม การเรยี นรู (portfolio) 3. สังเกตความใสใ จ จริงจงั ของการทํางานกลุมของผเู รยี น

124 กจิ กรรม 1. ผูเ รยี นสามารถปฏบิ ตั ติ นตามหลักการสาํ คัญของประชาธปิ ไตยไดอ ยางไรบา ง จงยกตัวอยาง ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 2. หลักการสาํ คญั ของประชาธปิ ไตยมคี วามสําคัญตอ การอยรู ว มกนั อยา งสันตอิ ยา งไรบา ง ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 3. ถา มคี วามขดั แยง กนั ในสงั คม ควรนาํ หลักคณุ ธรรมใดมาใชแ กป ญหา จงอธบิ าย --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ 4. ความสามคั คี ปรองดอง มผี ลดตี อสงั คมและประเทศชาติอยา งไรบา ง ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

125 บทที่ 4 พฒั นาการทางการเมือง และการอยรู วมกนั ในระบอบประชาธิปไตย อันมพี ระมหากษัตริยทรงเปน ประมุข สาระสําคญั การอยูรวมกันในสังคมที่มีความแตกตางทั้งความคิด อาชีพ สถานะทางสังคมและ สภาพแวดลอม การศึกษาเรียนรู การพัฒนาการทางการเมืองและการมีสวนรวมทางการเมืองการ ปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษตั ริยท รงเปนประมขุ เปนสวนหน่ึงที่จะทําใหสังคม อยูไดอ ยา งสงบสุขตามวถิ ีประชาธปิ ไตย ผลการเรยี นรทู ี่คาดหวงั 1. อธิบายสาเหตุ และความเปนมา ของการปฏิรูปการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการ ปกครอง พ.ศ. 2475 ได 2. อธบิ ายการมีสว นรว มทางการเมอื ง และการอยูร ว มกนั อยา งสันตใิ นระบอบประชาธิปไตย อนั มพี ระมหากษัตรยิ ทรงเปน ประมุขได ขอบขา ยเนือ้ หา เร่อื งท่ี 1 พฒั นาการทางการปฏริ ูปทางการเมืองเพื่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อนั มพี ระมหากษตั ริยทรงเปน ประมขุ เรอื่ งที่ 2 การมสี วนรว มทางการเมืองและการอยูรว มกันอยา งสันตใิ นระบอบประชาธิปไตย อันมพี ระมหากษัตรยิ ทรงเปน ประมุข สอ่ื ประกอบการเรยี นรู 1. ซดี เี หตกุ ารณสําคัญการเปลย่ี นแปลงทางการเมอื ง 2. คอมพวิ เตอรอ นิ เทอรเนต็ 3. บทความทางหนังสือพมิ พ

126

127 เร่ืองที่ 1 พฒั นาการทางการปฏริ ูปการเมอื ง เพือ่ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อนั มพี ระมหากษัตรยิ ทรงเปนประมขุ 1.1 พฒั นาการทางความคิดและเหตุการณสําคัญ กอนการเปลย่ี นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ความคิดและความเคลือ่ นไหว เพอ่ื ใหมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ไดรับอทิ ธิพลทางความคิดมาจากการตดิ ตอ กบั กลุมประเทศทางตะวันตกโดยในกลมุ ประเทศทางยุโรป และสหรฐั อเมรกิ าไดม ีการปฏริ ูปการปกครองเปน ระบอบประชาธปิ ไตย ในป พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) และเกดิ การปฏวิ ัติฝร่งั เศส ในป พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) ประเทศไทย เร่มิ ตดิ ตอ ทางการคา กับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ- พระน่งั เกลา เจาอยูหัว หลังจากน้ันก็มีกลุมมิชชันนารีจากสหรัฐอเมริกาเขามาเผยแพรคริสตศาสนา คนไทยจึงเร่ิมศึกษาภาษาอังกฤษศึกษาวิทยาการตาง ๆ โดยเฉพาะพระภิกษุเจาฟามงกุฎ กลุม พระบรมวงศานวุ งศ และกลุม ขา ราชการ ก็ศึกษาวชิ าการตา ง ๆ ดว ย ดังน้ัน สงั คมไทย บางกลุมจึงได มคี านิยมโลกทัศนตามวทิ ยาการตะวนั ตกในหลาย ๆ ดาน รวมท้ัง แนวความคิดในเรื่อง การปกครอง ในระบอบประชาธปิ ไตยทีค่ อย ๆ กอตัวขนึ้ ในรัชสมยั ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว เม่ือพระองคเสด็จข้ึนครองราชย ใน ป พ.ศ. 2394 จากการทพี่ ระองคไดรับการศึกษาตามแนวทางของตะวันตกดวย ทําใหพระองค ทรง ตระหนักวา ถึงเวลาทป่ี ระเทศไทย จะตองยอมเปด สนั ติภาพกับประเทศตะวันตก ในลักษณะใหมและ ปรับปรุงบานเมืองใหกาวหนาเย่ียงอารยประเทศ ท้ังน้ี เพราะเพ่ือนบานกําลังถูกคุกคามดวยลัทธิ จักรวรรดนิ ยิ ม จึงทรงเปลย่ี นนโยบายตา งประเทศของไทย มาเปน การยอมทําสนธิสัญญาตามเง่ือนไข ของประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว เพอื่ ความอยรู อดของประเทศ ตอ มา ในรชั สมยั ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจา อยหู วั ไดส งพระราชโอรสไปศึกษา ในตางประเทศจํานวนมากทั้งประเทศอังกฤษ รัสเซีย เยอรมนี ฝร่ังเศส และเดนมารก และในปท่ี พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา เจา อยหู วั ข้นึ ครองราชย ตรงกับ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) มีเจานายและขาราชการจํานวนหน่ึงที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และ กรุงปารีส ไดร ว มกนั ลงชือ่ ในเอกสารกราบบังคมทลู ความเห็นจดั การเปลย่ี นแปลงการปกครองราชการ แผนดิน ร.ศ. 103 ทูลเกลาฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ํา เดือน 2 ปวอก ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกบั วันท่ี 9 เดอื นมกราคม พ.ศ. 2427

128 สาระสาํ คญั ของคาํ กราบบังคมทูล 3 ขอ คือ 1. ภัยอนั ตรายจะมาถึงบา นเมือง เน่ืองจากการปกครองในขณะนั้น คือ ภัยอันตรายที่จะมี มาจากประเทศที่มอี ํานาจมากกวาประเทศไทย ถา มหาอํานาจในยุโรป ประสงคจ ะไดเ มอื งใดเปนอาณานิคม ก็จะตองอา งเหตุผลวา เปน ภารกจิ ของชาวผวิ ขาว ท่มี มี นษุ ยชาติตองการใหมนุษยมีความสุขความเจริญ ไดร ับความยุติธรรมเสมอกัน ประเทศที่มีการปกครองแบบเกา นอกจากจะกีดขวางความเจริญของ ประเทศในเอเชยี แลว ยังกีดขวางความเจริญของประเทศที่เจริญรุงเรืองแลวดวย สรุปวา รัฐบาลท่ีมี การปกครองแบบเกา จัดการบานเมืองไมเรียบรอย เกิดอันตราย ทําใหอันตรายน้ันมาถึง ชาวยุโรป นับวาเปนชองทางทช่ี าวยุโรปจะเขา จัดการใหห มดอันตราย และอีกประการหนึ่งถาปดประเทศไมให คาขายก็จะเขามา เปดประเทศคา ขายใหเกิดประโยชนทัง้ หมด เปนเหตุผลทีป่ ระเทศในยุโรปจะยึดเอา เปน อาณานคิ ม 2. การท่ีจะรักษาบานเมืองใหพนอันตราย ตองอาศัยการเปลี่ยนแปลงการบํารุงรักษา บา นเมืองแนวเดยี วกับท่ญี ปี่ ุนไดทาํ ตามแนวการปกครองของประเทศยโุ รป และการปองกนั อันตรายที่ จะบังเกิดข้นึ อยหู ลายทางแตค ดิ วา ใชไ มไ ด คือ 1) การใชความออนหวาน เพอ่ื ใหมหาอํานาจสงสาร ประเทศญ่ีปุนไดใชความออนหวาน มานานแลว จนเหน็ วา ไมไ ดป ระโยชน จึงไดจ ัดการเปลย่ี นการบริหารประเทศใหย โุ รปนับถือ จงึ เห็นวา การใชความออ นหวานน้นั ใชไมได 2) การตอสูดวยกําลังทหาร ซ่ึงก็เปนความคิดที่ถูกตองกําลังทหารของไทยมีไมเพียงพอ ทงั้ ยังตอ งอาศยั ซ้ืออาวุธจากตางประเทศ หากไดร บกันจริง ๆ กับประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปที่ เปน มิตรประเทศของคสู งครามกับประเทศไทย ก็จะไมขายอาวุธใหป ระเทศไทยเปน แน 3) การอาศยั ประโยชน ท่ีประเทศไทยมีเขตแดนติดตอกับประเทศท่ีเปนอาณานิคมของ ประเทศองั กฤษและประเทศฝร่ังเศส อาจทาํ ใหป ระเทศไทยเปน รฐั กนั ชน (Buffer State) และก็คงใหมี อาณาเขตแดนเพยี งเปน กาํ แพงกั้นระหวางอาณานิคม ประเทศไทยก็จะเดือดรอนเพราะเหตุน้ี 4) การจัดการบานเมืองเพียงเฉพาะเร่ือง ไมไดจัดใหเรียบรอยต้ังแตฐานราก ไมใชการ แกป ญ หา 5) สัญญาทางพระราชไมตรที ีท่ ําไวก ับตา งประเทศ ไมม ีหลกั ประกันวาจะคมุ ครองประเทศ- ไทยได ตัวอยางท่ี สหรฐั อเมรกิ า สญั ญาจะชวยประเทศจนี คร้ันมปี ญหาเขา จรงิ สหรัฐอเมริกาก็มิไดชว ย และถาประเทศไทยไมทําสัญญาใหผลประโยชนแกตางประเทศ ประเทศน้ัน ๆ ก็จะเขามากดข่ีให ประเทศไทยทําสัญญาอยูนัน่ เอง 6) การคา ขายและผลประโยชนข องชาวยุโรป ท่ีมีอยูในประเทศไทย ไมอาจชวยคุมครอง ประเทศไทยได ถา จะมชี าติท่ีหวังผลประโยชนมากขน้ึ มาเบียดเบียน

129 7) คํากลาวท่ีวาประเทศไทยรกั ษาเอกราชมาไดก็คงจะรักษาไดอ ยา งเดมิ คาํ กลาวอยางนั้น ใชไ มไ ดใ นสถานการณปจ จบุ นั ซ่ึงเปนเวลาทป่ี ระเทศในยุโรป กําลังแสวงหาเมอื งข้นึ และประเทศที่ไม มีความเจริญก็ตกเปนอาณานิคมไปหมดแลว ถาประเทศไทยไมแกไข ก็อาจจะเปนไปเหมือนกับ ประเทศท่กี ลา วมา 8) กฎหมายระหวางประเทศ จะคุมครองประเทศทเี่ จริญและมขี นบธรรมเนียมคลา ยคลึงกับ ประเทศญ่ปี ุน ไดแกไ ขกฎหมายใหคลายกบั ยโุ รป ก็จะไดร ับความคุมครอง ประเทศไทยก็ตอ งปรับปรุง การจัดบา นเมอื งใหเปน ที่ยอมรับเชน เดยี วกบั ประเทศญี่ปนุ มฉิ ะนั้น กฎหมายระหวางประเทศ ก็ไมชวย ประเทศไทยใหพน อันตราย 3. การทีจ่ ะจดั การตามขอ 2 ใหสําเรจ็ ตอ งลงมอื จดั ใหเ ปนจรงิ ทุกประการ และในหนงั สือกราบบังคมของคณะผูกอการ ร.ศ.103 ไดเสนอความเห็นที่เรียกวา การ จดั การบานเมืองตามแบบยโุ รปรวม 7 ขอ คอื 1. ใหเปลีย่ นการปกครองจาก แอบโสรูทโมนากี (Absolute Monarchy) ใหเปนการปกครอง ที่เรียกวา คอนสตติ วิ ชั่นแนลโมนากี (Constitutional Monarchy) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ทรงเปนประธานของบานเมือง มีขาราชการรับสนองพระบรมราชโองการเหมือนสมเด็จพระเจา- แผนดินทกุ พระองค ในยโุ รปที่มิตองทรงราชการเองทว่ั ไปทกุ อยาง 2. การทาํ นุบาํ รงุ แผน ดนิ ตอ งมีพวกคาบเิ นต (Carbinet) รบั ผิดชอบและตอ งมีพระราชประเพณี จัดสืบสันตติวงศใหเปน ท่ีรูท่ัวกัน เม่ือถึงคราวเปล่ียนแผนดินจะไดไมยุงยาก และปองกันไมใหผูใด แสวงหาอาํ นาจเพื่อตัวเองดวย 3. ตอ งหาทางปอ งกนั คอรร ปั ชนั่ ใหข าราชการมีเงนิ เดือนพอใชตามฐานานรุ ปู 4. ตองใหประชาชน มคี วามสุข เสมอกนั มีกฎหมาย ใหค วามยุติธรรมแกประชาชนทั่วไป 5. ใหเ ปล่ียนแปลง แกไขขนบธรรมเนียม และกฎหมายทใ่ี ชไมไดที่กีดขวางความเจริญของ บานเมอื ง 6. ใหมีเสรีภาพในทางความคิดเห็น และใหแสดงออกไดในที่ประชุม หรือในหนังสือพิมพ การพดู ไมจรงิ จะตองมโี ทษตามกฎหมาย 7. ขา ราชการทกุ ระดบั ชั้นตองเลือกเอาคนที่มีความรูมีความประพฤติดีอายุ 20 ปข้ึนไป ผูที่ เคยทาํ ชว่ั ถอดยศศักด์ิหรือเคยประพฤติผิดกฎหมายไมค วรรับเขาราชการอีก และถาไดขาราชการท่ีรู ขนบธรรมเนียมยโุ รปไดย ่ิงดี ดังนั้น จะเห็นไดวา การพัฒนาการปกครองของประเทศจึงเริ่มขึ้นมาตั้งแตสมัยรัชกาลท่ี 5 จนมาถึงป พ.ศ. 2455 ไดม ีความพยายามเปลยี่ นแปลงการปกครอง ท่ีเรยี กวา “กบฏ ร.ศ. 130”ในรชั สมัย ของพระบาทสมเดจ็ พระมงกุฎเกลา เจาอยูห ัว มีพวกนายทหารบกทหารเรอื และพลเรือนรวมประมาณ

130 100 คน เรยี กตัวเองวา คณะ ร.ศ. 130 ไดว างแผนการปฏิวัติการปกครองหวังใหพระมหากษัตริยพระราชทาน รัฐธรรมนูญใหแกป วงชนชาวไทย คณะ ร.ศ. 130 ไดกําหนดวันปฏิวัติเปนวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455 อันเปน วนั ขึ้นปใหมของไทยสมัยนน้ั แตค ณะกอการคณะนไี้ ดถ ูกจับกมุ เสียกอน เมอื่ วนั ท่ี 27 กมุ ภาพันธ พ.ศ. 2454 1.2 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เหตุการณท่ีเกดิ ขึ้น จงึ เปนววิ ฒั นาการทางความคิดของคนไทยในเรือ่ ง ระบอบประชาธิปไตย ทค่ี อ ย ๆ กอ ตัว และมพี ฒั นาการขึ้นมาตามลําดับ และนบั จากกบฏ ร.ศ. 130 เม่ือป พ.ศ. 2445 เวลา ผานไปอกี 20 ป จนถึง ป พ.ศ. 2475 (วันท่ี 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475) จึงไดเกิดเหตุการณเปลี่ยนแปลง การปกครองครั้งสําคัญของประเทศไทยขึ้น โดยคณะบุคคลที่เรียกวา “คณะราษฎร” ประกอบดวย ทหารและพลเรือน ไดย ึดอํานาจการปกครองจากพระมหากษัตริย คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกลา- เจาอยหู วั รชั กาลทเี่ จ็ด และเปล่ียนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยเปนระบอบ ประชาธปิ ไตยอันมีพระมหากษตั รยิ ทรงเปนประมุขอยภู ายใตก ฎหมายรัฐธรรมนญู สาเหตขุ องการเปลีย่ นแปลงการปกครองเม่อื ป พ.ศ. 2475 มีดังนี้ 1. คนรนุ ใหมท ไี่ ดร บั การศกึ ษาประเทศตะวันตก ไดรับอิทธิพลของลัทธิเสรีนิยมและแบบแผน ประชาธปิ ไตยของตะวันตก จึงตอ งการนํามาปรบั ปรุงประเทศชาติ 2. เกดิ ภาวะเศรษฐกจิ ตกตา่ํ รฐั บาลไมส ามารถแกไขได 3. ประเทศญ่ีปนุ และจีนไดมีการเปล่ยี นแปลงการปกครองแลวทาํ ใหป ระชาชนตองการเห็น การปกครองระบอบประชาธิปไตยภายในบา นเมืองเร็วข้ึน 4. เกิดความขดั แยงระหวางพระราชวงศก บั กลุมที่จะทาํ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึง่ ไม พอใจทีพ่ ระราชวงศช น้ั สูง มอี ํานาจและดํารงตาํ แหนงเหนือกวา ท้ังในราชการฝายทหารและพลเรือน ทําใหก ลมุ ผจู ะทาํ การเปลยี่ นแปลงการปกครองไมมโี อกาสมสี ว นรว มในการแกไขปรับปรุงบานเมือง 5. พระบาทสมเดจ็ พระปกเกลา เจาอยูหัว ไมอ าจทรงใชอาํ นาจสทิ ธิเ์ ด็ดขาดในการปกครอง ทาํ ใหผ ทู ่ีจะเปล่ยี นแปลงการปกครองรูสึกวาพระองคตกอยูใตอํานาจอิทธิพลของพระราชวงศชั้นสูง โดยเฉพาะอยางยง่ิ เมอ่ื พระบรมวงศานวุ งศ ไดย บั ยั้งพระราชดําริท่ีจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ จึงทําให เกิดความไมพ อใจในพระบรมวงศานุวงศ และการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธริ าชยเ พม่ิ ข้ึน

131 1.3 พฒั นาการทางการเมอื งและการปกครอง หลงั การเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 หลงั จากการเปลีย่ นแปลงการปกครอง ป พ.ศ. 2475 ประเทศไทยไดก าวเขาสูร ะบอบการปกครอง แบบประชาธิปไตยอนั มพี ระมหากษัตริยทรงเปนประมุข แตแนวคิด ความรู ความเขาใจในเร่ืองการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย ยงั จาํ กัดอยเู ฉพาะกลมุ ปญญาชนท่ีไดรบั การศกึ ษาจากตะวันตกเทาน้ัน จึงมคี วามขัดแยงทางความคิดทั้งในกลมุ ผปู กครอง ขาราชการ และประชาชน จนเกิดเปนกบฏปฏิวัติ และรัฐประหารสลับกันไปมา (ปญหาทางการเมืองและการปกครองของประเทศไทยหลัง ป พ.ศ. 2475 ท่ีไมมีเสถยี รภาพทางการเมอื ง การเปลย่ี นรัฐบาลหรอื ผูปกครองประเทศ มักไมเปน ไปตามกติกา หรือ ระเบยี บ แบบแผนโดยสันตวิ ธิ ี ตรงกันขามมกั เกดิ การแยงชิงอํานาจดวยการใชกําลังอยูเนือง ๆ ไมวา จะเปน ไปในรูปของการจลาจล กบฏ ปฏิวตั ิ หรอื รัฐประหาร) ความหมายของคําเหลานี้เหมือนกัน ในแง ที่วา เปน การใชก ําลงั อาวธุ ยึดอํานาจทางการเมือง แตมีความหมายตางกันในดานผลของการใชกําลัง ความรนุ แรง น้ัน กลาวคอื หากการยึดอํานาจครั้งใด ทีผ่ ูกอการทําการไมส าํ เรจ็ จะถูกเรียกวา “กบฏ” หากการยึดอาํ นาจนนั้ สาํ เรจ็ และเปล่ียนเพยี งรัฐบาล เรียกวา รฐั ประหาร นับแตป  พ.ศ. 2475 เปนตนมา ประเทศไทย มีการพัฒนาการทางการเมืองและการปกครองโดยเรียงลําดับตามระยะเวลาของ เหตุการณส าํ คญั ๆ ทีเ่ กิดข้ึนไดด งั น้ี 1. พ.ศ. 2476 : การรฐั ประหารครัง้ ที่ 1 โดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ไดยึดอํานาจจากพระยามโนปกรณนิติธาดา นายกรฐั มนตรคี นแรกของไทย นับเปน การกระทํารฐั ประหารครัง้ แรกในประวัติศาสตร การเมืองไทยดวยการเปลย่ี นรฐั บาล และยดึ อาํ นาจภายในกลมุ คณะราษฎรดว ยกันเอง เมือ่ วันท่ี 20 มิถนุ ายน 2476 2. พ.ศ. 2476 : กบฏคร้ังท่ี 1 กบฏบวรเดช ความขัดแยงระหวางคณะราษฎรและกลุมผูนิยมระบอบเกา ในป พ.ศ. 2476 ทําให พระวรวงศเ ธอพระองคเจา บวรเดช และพวกกอการกบฏ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เพื่อต้ังรัฐบาลใหมมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุข ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย แตถูกฝายรฐั บาลในขณะนนั้ ปราบได การกบฏคร้ังนม้ี ผี ลกระทบกระเทอื นตอ พระราชฐานะ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจายูหัว ทั้ง ๆ ท่ีทรงวางพระองคเปนกลาง เพราะ คณะราษฎรเขาใจวาพระองคท รงสนบั สนนุ การกบฏ ความสมั พันธระหวางรัชกาลที่ 7 และคณะราษฎร จงึ ราวฉานย่งิ ข้ึน ในตน พ.ศ. 2477 รชั กาลที่ 7 ไดเสด็จไปรักษาพระเนตร ที่ประเทศสหราชอาณาจักร และทรงสละราชสมบตั ิ เมือ่ วันท่ี 2 มีนาคม พ.ศ. 2477

132 3. พ.ศ. 2478 : กบฏครัง้ ที่ 2 กบฏนายสบิ เกิดข้ึน เม่ือวันที่ 3 สิงหาคม 2478 เมื่อทหารชั้นประทวนในกองพันตาง ๆ ซ่งึ มี สบิ เอก สวสั ดิ์ มหะมดั เปน หวั หนา ไดรวมกนั กอ การเพื่อเปล่ยี นแปลงการปกครองโดย จะสงั หารนายทหารในกองทัพ และจับพระยาพหลพลพยุหเสนาฯ และหลวงพิบูลสงคราม ไวเปนประกัน แตรัฐบาลสามารถจับกุมผูคิดกอการเอาไวได หัวหนาฝายกบฏ ถกู ประหารชีวติ โดยการตัดสนิ ของศาลพิเศษในระยะตอ มา 4. พ.ศ. 2482 : กบฏครง้ั ท่ี 3 กบฏพระยาทรงสรุ เดช หรือ กบฏ 18 ศพ เกดิ ขน้ึ เมื่อวนั ท่ี 29 มกราคม 2482 เนอ่ื งจากความขดั แยงระหวางหลวงพบิ ลู สงคราม กบั พระยาทรงสุรเดช ต้งั แตกอ นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสนับสนุน พระยามโนปกรณนิติธาดา เหตุการณคร้ังกบฏบวรเดช และเหตุการณพยายามลอบ สังหารหลวงพบิ ูลสงคราม ติดตอ กนั หลายคร้ัง (ลอบยิง 2 คร้ัง วางยาพิษ 1 ครั้ง) การ กอ กบฏครัง้ น้ี เปนความพยายามทีจ่ ะลมลา งรัฐบาลในขณะนั้น เพ่ือเปล่ียนแปลงการ ปกครองใหก ลบั ไปสูระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชยด งั เดิม 5. พ.ศ. 2490 : การรฐั ประหารคร้ังท่ี 2 เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยคณะนายทหารกลุมหน่ึงมี พลโท ผนิ ชุณหะวัน เปนหวั หนา ไดเขา ยึดอํานาจรฐั บาลทม่ี ี พลเรอื ตรี ถวัลย ธํารงนาวาสวสั ดิ์ เปน นายกรฐั มนตรี ไดสําเร็จแลวมอบให นายควง อภัยวงศ เปนนายกรัฐมนตรี จัดต้ังรัฐบาลตอไป ขณะเดยี วกันไดแตง ตัง้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เปนผูบญั ชาการทหารแหงประเทศไทย 6. พ.ศ. 2491 : กบฏครงั้ ที่ 4 กบฏเสนาธิการ เกดิ ข้ึน เมื่อวนั ที่ 6 เมษายน 2491 คณะนายทหารซ่ึงทํารัฐประหาร เม่ือวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ไดบ งั คบั ให นายควง อภยั วงศ ลาออกจากตําแหนงนายกรัฐมนตรี แลวมอบให จอมพล ป. พบิ ูลสงคราม เขา ดาํ รงตาํ แหนงตอ ไป และนํามาสู “กบฏเสนาธิการ” 1 ตลุ าคม 2491 ซงึ่ พลตรี สมบรู ณ ศรานชุ ิต และพลตรี เนตร เขมะโยธิน เปน หัวหนา คณะ และ นายทหารกลมุ หน่ึงวางแผนที่จะเขายึดอํานาจการปกครองและปรับปรุงกองทัพจาก ความเส่ือมโทรม และไดใหทหารเขาเลนการเมืองตอไป แตรัฐบาลซ่ึงมี จอมพล ป. พิบลู สงคราม เปนนายกรัฐมนตรที ราบแผนการ และจับกมุ ผูคดิ กบฏไดสําเร็จ 7. พ.ศ. 2492 : กบฏครง้ั ที่ 5 กบฏวงั หลวง เกิดข้ึน เม่ือวันท่ี 26 มิถุนายน 2492 นายปรีดี พนมยงค กับคณะนายทหารเรือและ พลเรือนกลุมหนึ่งไดนํากําลังเขายึดพระบรมมหาราชวัง และต้ังเปนกองบัญชาการ ประกาศถอดถอนรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม และนายทหารผูใหญหลายนาย พลตรี สฤษด์ิ ธนะรัชต ไดรบั การแตง ตั้งเปนผอู ํานวยการปราบปราม มีการสูรบกันใน

133 พระนครอยา งรนุ แรง รัฐบาลสามารถปราบฝา ยกอ การกบฏไดส ําเรจ็ นายปรีดี พนมยงค ตอ งหลบหนอี อกนอกประเทศอีกครั้งหนึ่ง ความพยายามยดึ อํานาจครัง้ นั้น ถูกเรียกวา “กบฏวงั หลวง” 8. พ.ศ. 2494 : กบฏคร้งั ที่ 6 กบฏแมนฮตั ตนั เกิดขนึ้ เม่อื วนั ที่ 29 มถิ นุ ายน 2494 เม่อื นาวาตรี มนัส จารภุ า ผบู งั คับการเรือรบหลวง สุโขทัย ใชปนจ้ี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปกักขังไวในเรือรบหลวงศรีอยุธยา นาวาเอก อานน บุญฑริกธาดา หัวหนาผูกอการ ไดส่ังใหหนวยทหารเรือมุงเขาสูพระนคร เพื่อยึดอํานาจ และประกาศต้ัง พระยาสารสาสน ประพันธ เปนนายกรัฐมนตรี เกิด การสูรบกันระหวางทหารเรือกับทหารอากาศ จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถ หลบหนอี อกมาได และฝา ยรฐั บาลไดปราบปรามฝายกบฏจนเปนผลสําเร็จ 9. พ.ศ. 2494 : การรฐั ประหารครงั้ ท่ี 3 เกิดขึ้น เม่ือวันท่ี 29 พฤศจิกายน 2494 เม่ือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไดทํา รัฐประหารยึดอาํ นาจตนเอง เน่ืองจากรัฐบาลไมสามารถควบคุมเสยี งขางมากในรัฐสภาได 10. พ.ศ. 2497 : กบฏครงั้ ท่ี 7 กบฏสันติภาพ เกิดข้ึนในยุคท่ีโลกตกอยูในสภาวะสงครามเย็น และประเทศไทยเปนยคุ ของอัศวินตํารวจ รัฐบาลทไี่ ดอํานาจมาจากการกระทํารัฐประหาร ตั้งแตวันท่ี 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 นบั เปนรฐั บาลท่ีดําเนินนโยบายทาํ สงครามกบั ฝายคอมมวิ นสิ ตอยา งเตม็ ทด่ี วยการร้ือฟน กฎหมายคอมมิวนสิ ต พ.ศ. 2495 และกวาดจับผูมีความคิดเห็นแตกตางจากรัฐบาล ครัง้ ใหญทร่ี จู ักกนั ในนาม “กบฏสันตภิ าพ” ในป พ.ศ. 2497 11. พ.ศ. 2500 : การรฐั ประหารครัง้ ท่ี 4 เกิดข้ึน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต เปนหัวหนาคณะ นาํ กําลังเขายดึ อาํ นาจของรฐั บาล จอมพล ป. พบิ ูลสงคราม ที่เปนนายกรัฐมนตรี ภายหลัง จากเกิดการเลือกตัง้ สกปรก และรฐั บาลไดรบั การคัดคา นจากประชาชนอยางหนักหลังการ ยดึ อาํ นาจ จอมพล ป. พบิ ลู สงคราม และพลตํารวจเอก เผา ศรียานนท ตองหลบหนี ออกไปนอกประเทศ และแตง ต้ัง นายพจน สารสนิ เปนนายกรฐั มนตรี 12. พ.ศ. 2501 : การรัฐประหารครัง้ ท่ี 5 เกิดขน้ึ เมอื่ วันที่ 20 ตุลาคม 2501 มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต เปนหัวหนา ไดช่ือวา การปฏิวัติเงียบ เพราะเปนการยึดอํานาจของตนเองหลังการรัฐประหาร จอมพล สฤษด์ิ ธนะรัชต ไดเขาดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง และใหสภาผูแทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี ชดุ เดิมส้ินสุดลง

134 13. พ.ศ. 2514 : การรัฐประหารครั้งท่ี 6 เกิดข้ึน เม่ือวันท่ี 17 พฤศจิกายน 2514 โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ซงึ่ ดํารง ตาํ แหนงนายกรัฐมนตรี ควบรฐั มนตรีวา การกระทรวงกลาโหม และผบู ญั ชาการทหารสูงสุด ทําการรัฐประหารตัวเอง ประกาศยกเลิกรฐั ธรรมนญู ยบุ สภาผแู ทนราษฎร และจัดตั้ง สภานิติบัญญัติแหงชาติข้ึน ทําหนาท่ีฝายนิติบัญญัติ และใหรางรัฐธรรมนูญใหเสร็จ ภายในระยะเวลา 3 ป 14. พ.ศ. 2514 : วนั มหาวปิ โยค การปฏวิ ัตโิ ดยประชาชน 14 ตุลาคม 2516 นับเปนจุดเปลี่ยนสําคัญในประวัติศาสตร การเมอื งไทย เม่อื การเรียกรองใหมรี ัฐธรรมนูญของนิสติ นักศกึ ษา และประชาชนกลุมหน่ึง ไดแผขยายกลายเปนพลังประชาชนจํานวนมาก จนเกิดการปะทะสูรบกันระหวาง รัฐบาลกับประชาชน เปน ผลให จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค กติ ตขิ จร ตอ งหลบหนีออกนอกประเทศ ไดนายกรัฐมนตรี พระราชทาน คอื นายสญั ญา ธรรมศกั ดิ์ 15. พ.ศ. 2519 : การรัฐประหารครง้ั ท่ี 7 ค ว า ม ต่ื น ตั ว ท า ง ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย ท่ี กํ า ลั ง เ บ ง บ า น ต อ ง ห ยุ ด ช ะ งั ก ล ง อี ก ค รั้ ง เ มื่ อ พลเรอื เอก สงดั ชลออยู และคณะนายทหาร เขายดึ อาํ นาจ เมือ่ วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เนอื่ งจากเกดิ การจลาจล และรฐั บาลพลเรือนในขณะนั้นยังไมสามารถแกไขปญหาได หลงั การรัฐประหาร ไดมอบให นายธานนิ ทร กรัยวิเชียร ดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรี 16. พ.ศ. 2520 : กบฏครง้ั ที่ 8 กบฏ 26 มีนาคม 2520 เกิดขึ้น เม่อื วนั ที่ 26 มนี าคม 2520 นาํ โดย พลเอก ฉลาด หริ ัญศิริ และนายทหารกลุมหน่ึง ไดนํากาํ ลงั ทหารจากกองพลที่ 9 จังหวดั กาญจนบรุ ี เขา ยดึ สถานทส่ี าํ คญั ฝายทหารของ รัฐบาลพลเรือนภายใตการนําของ พลเรือเอก สงัด ชลออยู ไดปราบปรามฝายกบฏ เปนผลสําเร็จ พลเอก ฉลาด หิรัญศิริ ถูกประหารชีวิตตามคําสั่งนายกรัฐมนตรี ซงึ่ อาศัยอาํ นาจตามมาตรา 21 ของรฐั ธรรมนญู แหง ราชอาณาจกั รไทย พ.ศ. 2520 17. พ.ศ. 2520 : การรฐั ประหารคร้ังท่ี 8 เกดิ ข้ึน เมอื่ วนั ที่ 20 ตลุ าคม 2520 เมอื่ พลเรือเอก สงัด ชลออยู ใหทําการรัฐประหาร รัฐบาล ของ นายธานินทร กรัยวิเชียร โดยใหเหตุผลวาการบริหารงานของรัฐบาล นายธานนิ ทร กรัยวิเชียร ไมอาจแกไขปญหาสําคัญของประเทศ ท้ังในดานเศรษฐกิจ สงั คมและอุตสาหกรรมใหลลุ วงไปอยา งมปี ระสิทธิภาพ ทั้งการปดกนั้ เสรภี าพทางความ คิดเห็นของประชาชน ตลอดจนทาทีของรัฐบาลในเหตุการณลอบวางระเบิดใกล

135 พลับพลาทปี่ ระทับของพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมพิ ลอดลุ ยเดช ท่จี งั หวัดยะลา และแตงตั้ง พลเอก เกรียงศักด์ิ ชมะนันท เปนนายกรฐั มนตรี 18. พ.ศ. 2524 : กบฏคร้ังท่ี 9 กบฏยงั เตริ ก เกดิ ข้ึน เม่ือวันที่ 1 เมษายน 2524 นําโดย พลเอก สัณห จติ รปฏมิ า ดวยการสนบั สนนุ ของคณะนายทหารหนุม โดยการนําของ พันเอก มนูญ รูปขจร และพันเอก ประจักษ สวางจิตร ไดพ ยายามใชกําลังทหารในบังคบั บัญชา เขายดึ อาํ นาจปกครองประเทศซ่ึงมี พลเอก เปรม ติณสลู านนท เปน นายกรฐั มนตรี เนอื่ งจากเกิดความแตกแยกในกองทัพบก แตการปฏิวัติลมเหลวฝายกบฏยอมจํานน และถูกควบคุมตัวพลเอก สัณห จิตรปฏิมา สามารถหลบหนอี อกไปนอกประเทศได ตอ มารัฐบาลไดออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก ผมู สี ว นเก่ียวของการกบฏในคร้งั น้ี 19. พ.ศ. 2528 : กบฏครง้ั ที่ 10 กบฏทหารนอกราชการ เกดิ ขึ้น เมื่อวันที่ 9 กนั ยายน 2528 โดยคณะนายทหารนอกราชการที่พยายามยดึ อํานาจ จากรฐั บาลของ พลเอก เปรม ตณิ สลู านนท แตด าํ เนนิ การไมสาํ เร็จผูกอ การ คอื พนั เอก มนูญ รูปขจร และนาวาอากาศ โทมนัส รูปขจร ไดล ้ภี ยั ไปสิงคโปร และเดนิ ทางไปอยูใ น ประเทศเยอรมนตี ะวันตก 20. พ.ศ. 2534 : การรัฐประหารครัง้ ที่ 9 เกดิ ขึน้ เมอ่ื วันท่ี 23 กุมภาพันธ พ.ศ. 2534 นําโดยพลเอก สนุ ทร คงสมพงษ ผูบัญชาการ ทหารสูงสุด หัวหนาคณะรักษาความสงบเรียบรอยแหงชาติ (รสช.) ยึดอํานาจจาก รฐั บาล พลเอก ชาตชิ าย ชุณหะวณั นายกรัฐมนตรใี นขณะน้นั และแตงต้ัง นายอานันท ปนยารชนุ ขึ้นเปนนายกรฐั มนตรี ทวารัฐบาลที่มีอายุเพียง 1 ปของ รสช. ก็ตองประสบ กบั อุปสรรคในการเรียกรอ งรฐั ธรรมนูญที่เปนประชาธิปไตยจากประชาชนอันนํามาสู การชมุ นมุ เรียกรอ งทางการเมืองทกี่ ลายเปนชนวนเหตขุ องเหตกุ ารณพฤษภาทมฬิ ในป พ.ศ. 2535 ภายหลงั การเลือกตัง้ ท่ี พลเอก สุจินดา คราประยูร ขึ้นเปนนายกรัฐมนตรีใน เวลาตอ มา 21. พ.ศ. 2549 : การรัฐประหารคร้งั ท่ี 10 เกิดขนึ้ เมอื่ วันที่ 19 กนั ยายน 2549 นําโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผูบัญชาการ ทหารบก ทําการยึดอํานาจจากรัฐบาลรักษาการของ พันตํารวจโท ทักษิณ ชินวัตร เรียกตนเองวา คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย ทรงเปนประมขุ

136 จากพัฒนาการทางการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หลังการเปลี่ยนแปลง การปกครองป พ.ศ. 2475 ท่ีมกี ารเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ อยา งบอ ยครงั้ รวมทงั้ เปน ทีม่ าของรฐั ธรรมนูญ ฉบบั ตา ง ๆ ดวย จะเห็นวามีพัฒนาการในทางที่ใหสิทธิและเสรีภาพแกประชาชนมากข้ึน แมวาบาง ยุคสมัยจะถูกกลา วหาวาเปนเผด็จการก็ตาม เราก็จะเห็นพัฒนาการทางการเมืองในภาคประชาชน ที่คอย ๆ กอ ตัวข้ึนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จนคลายกับเปนความขัดแยงทางสังคมโดยเฉพาะ อยางย่งิ หลังเหตกุ ารณรฐั ประหาร พ.ศ. 2549 ไดทาํ ใหเ กดิ ความคดิ เห็นทแ่ี ตกตางของประชาชนทัง้ ประเทศ อยา งไมเคยเกดิ ข้นึ มากอน จนหลายฝา ยวติ กวา จะนาํ ไปสสู งครามการเมอื ง แตเ มอื่ มองในดานดี จะพบวา ในเหตกุ ารณดังกลา วไดกอ ใหเ กดิ ความตนื่ ตวั ของภาคประชาชนในดานการเมอื งทั้งประเทศอยางท่ีไม เคยมีมากอน ความคิดเห็นทางการเมืองตางกันท่ีเกิดขึ้นในเวลาน้ี เปนเรื่องใหมและยังไมมีความ คิดเหน็ ที่ตรงกัน ตองอาศยั ระยะเวลา และการเรยี นรูของผูคนทั้งประเทศ ท่ีจะตองอดทนเรียนรูและ อยูรว มกนั ใหไ ดท ามกลางความแตกตา ง และปรับความคิดเขา หากนั ใหถงึ จดุ ที่พอจะยอมรบั กนั ได สถานการณความแตกตางทางความคิดที่เกิดข้ึนหลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 จึงเปน โอกาสอันดีของผคู นในยุคสมัยนี้ที่จะรวมกันหาคําตอบและทางออกของเหตุการณวา เราจะ รวมกันหาทางออกของเหตกุ ารณดว ยสันตวิ ิธี หรอื ดวยความรุนแรง ซ่งึ เราทุกคนในเวลาน้ีลวนมีสว นรวม ในการหาคาํ ตอบและทางออกดว ยกนั ทกุ คน เร่ืองท่ี 2 การมสี ว นรว มทางการเมอื ง และการอยูรวมกันอยา งสันติ ในระบอบประชาธิปไตย อนั มีพระมหากษัตริยทรงเปน ประมุข 2.1 การมสี ว นรว มทางการเมือง การปกครองระบอบประชาธปิ ไตยมหี ลักการพืน้ ฐานสําคัญ 5 ประการ คือ 1. หลักการอํานาจอธิปไตยเปนของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเปนเจาของ โดยใชอ าํ นาจทีม่ ตี ามกระบวนการเลือกต้ังอยางอิสระและท่ัวถึง ในการใหไดมาซ่ึงตัวผูปกครองและ ผูแทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอาํ นาจในการคัดคานและถอดถอนผูป กครองและผแู ทนทปี่ ระชาชน เห็นวามิไดบริหารประเทศในทางท่ีเปนประโยชนตอสังคมสวนรวม เชน มีพฤติกรรมร่ํารวยผิดปกติ หรือ คอรร ัปชัน่ (Corruption)

137 2. หลกั เสรีภาพ ประชาชนทุกคน มีความสามารถในการกระทําหรืองดเวนการกระทํา อยางใดอยางหนึ่งตามท่ีบุคคลตองการตราบเทาที่การกระทําของเขานั้น ไมไปละเมิดลิดรอนสิทธิ เสรภี าพของบคุ คลอ่นื หรอื ละเมิดตอความสงบเรยี บรอยของสงั คม และความม่ันคงของประเทศชาติ 3. หลกั ความเสมอภาค การเปดโอกาสใหป ระชาชนทุกคน สามารถเขา ถึงทรพั ยากรและ คุณคา ตา ง ๆ ของสงั คมที่มอี ยูจาํ กัดอยางเทาเทียมกัน โดยไมถูกกีดกันดวยสาเหตุแหงความแตกตาง ทางชน้ั วรรณะทางสงั คม ชาติพันธุ วัฒนธรรม ความเปนอยู ฐานะทางเศรษฐกิจ หรอื ดว ยสาเหตุอืน่ 4. หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม การใหความคุมครองสิทธิ ข้ันพ้นื ฐานของประชาชนทง้ั ให เร่อื ง สิทธิเสรภี าพในทรพั ยส นิ การแสดงออกการดํารงชีพ ฯลฯ อยาง เสมอหนา กัน โดยผูปกครองไมสามารถใชอาํ นาจใด ๆ ลดิ รอนเพิกถอนสทิ ธเิ สรภี าพของประชาชนได และไมส ามารถใชอ ภสิ ทิ ธิ์อยเู หนือกฎหมายหรอื เหนือกวาประชาชนคนอ่ืน ๆ ได 5. หลักการเสียงขางมาก (Majority rule) ควบคูไปกับการเคารพในสิทธิของเสียง ขางนอย (Minority Rights) การตัดสินใจใด ๆ ที่สงผลกระทบตอประชาชนหมูมาก ไมวาจะเปน การเลอื กต้ังผแู ทนของประชาชนเขาสูระบบการเมือง การตัดสินใจของฝายนิติบัญญัติ ฝายบริหาร หรือฝายตุลาการ ยอมตองถือเอาเสียงขางมากท่ีมีตอเร่ืองนั้น ๆ เปนเกณฑในการตัดสินทางเลือก โดยถือวาเสียงขางมาก เปนตัวแทนที่สะทอนความตองการ/ขอเรียกรองของประชาชนหมูมาก หลกั การน้ตี องควบคูไปกับการเคารพคมุ ครองสิทธิเสียงขางนอยดวย ทั้งน้ี ก็เพื่อเปนหลักประกันวา ฝายเสยี งขา งมากจะไมใชว ธิ ีการ “พวกมากลากไป” ตามผลประโยชนความเหน็ หรือกระแสความนิยม ของพวกตนอยางสุดโตง แตตองดําเนินการเพื่อประโยชนของประชาชนท้ังหมด เพื่อสรางสังคมที่ ประชาชนเสยี งขา งนอ ย รวมทง้ั ชนกลมุ นอ ยผดู อ ยโอกาสตา ง ๆ สามารถอยูรวมกันไดอยา งสันติสุข โดย ไมม กี ารเอาเปรยี บกนั และสรา งความขดั แยง ในสังคมมากเกนิ ไป คานิยมทัศนคติท่ีสงเสริมประชาธิปไตยระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเปนระบอบ การเมอื งแลว ยงั เปนระบอบเศรษฐกิจสังคมวฒั นธรรมดวย ดังนัน้ จึงไมใชอยูที่รัฐธรรมนูญ กฎหมาย การเลอื กตั้ง และการตอรองทางการเมืองเทานั้น หากอยทู ่สี มาชิกในสงั คมจะตองชวยกันหลอหลอม สรางคานิยมวิถชี วี ิตที่เปนประชาธิปไตยมาตง้ั แตใ นครอบครัว โรงเรียน ที่ทาํ งาน ชมุ ชน เพ่อื จะนาํ ไปสู หรอื การปกปอ งระบอบประชาธิปไตยทัง้ ทางการเมอื งเศรษฐกิจและสงั คม จากหลักการพ้ืนฐานของระบอบประชาธิปไตยดงั กลาวแลว จะเห็นวาการมีสวนรวมทาง การเมืองของประชาชนเปนส่ิงทม่ี คี วามสาํ คัญมาก หากปราศจากการมสี วนรวมของประชาชนในทาง การเมอื งระบอบประชาธิปไตยนัน้ จะไมต า งจากระบอบเผดจ็ การ ดังน้ัน รฐั ธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงไดบัญญัติการมีสวนรวมโดยตรงของประชาชนไวในหมวด 7 มาตรา 163 - มาตรา 165 ดังน้ี

138 หมวด ๗ การมสี วนรวมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน มาตรา๑๖๓ ประชาชนผูม ีสิทธเิ ลือกต้ังไมนอยกวาหน่ึงหม่ืนคน มีสิทธิเขาชื่อรองขอตอ ประธานรฐั สภา เพ่อื ใหรัฐสภาพิจารณารา งพระราชบัญญตั ติ ามท่กี าํ หนดในหมวด ๓ และ หมวด ๕ แหง รฐั ธรรมนูญน้ี คํารองขอตามวรรคหนงึ่ ตอ งจัดทาํ รางพระราชบญั ญตั เิ สนอมาดว ย หลกั เกณฑและวิธีการเขา ชอื่ รวมท้ังการตรวจสอบรายชื่อใหเปนไปตามที่ กฎหมายบัญญัติ ในการพิจารณารางพระราชบญั ญัติตามวรรคหนึ่ง สภาผูแทนราษฎรและ วฒุ สิ ภาตอ งใหผ แู ทนของประชาชนผมู ีสิทธิเลือกต้ังท่ีเขา ชื่อเสนอรางพระราชบัญญัติน้ัน ชี้แจงหลักการของรางพระราชบัญญัติและคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาราง พระราชบัญญัติดังกลาว จะตองประกอบดวย ผูแทนของประชาชนผูมีสิทธิเลือกต้ังที่ เขา ชอ่ื เสนอรา งพระราชบญั ญัตินั้นจาํ นวนไมน อ ยกวา หน่ึงในสามของจํานวนกรรมาธิการ ทั้งหมดดวย มาตรา๑๖๔ ประชาชนผูม สี ิทธิเลือกต้งั จํานวนไมนอ ยกวา สองหมน่ื คน มีสทิ ธเิ ขา ช่อื รองขอ ตอประธานวฒุ ิสภา เพื่อใหว ุฒสิ ภามีมติตามมาตรา ๒๗๔ ใหถอดถอนบุคคลตามมาตรา ๒๗๐ ออกจากตําแหนง ได คํารองขอตามวรรคหนึ่งตองระบุพฤตกิ ารณที่กลาวหาวาผูดํารงตําแหนง ดังกลา วกระทาํ ความผดิ เปนขอ ๆ ใหชัดเจน หลกั เกณฑว ิธกี ารและเงอื่ นไขในการท่ปี ระชาชนจะเขา ชอ่ื รอ งขอตามวรรคหนง่ึ ใหเ ปนไปตามพระราชบัญญัตปิ ระกอบดวยรัฐธรรมนญู วา ดว ยการปอ งกันและปราบปราม การทจุ ริต

139 มาตรา๑๖๕ ประชาชนผูมีสิทธิเลือกตั้ง ยอมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การจัดใหมีการ ออกเสยี งประชามตใิ หกระทําไดในเหตุ ดังตอ ไปนี้ (๑) ในกรณีท่ีคณะรัฐมนตรีเห็นวา กิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึง ประโยชนไดเสียของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะรฐั มนตรีอาจจะปรกึ ษาประธานสภาผแู ทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพ่ือประกาศ ในราชกจิ จานเุ บกษาใหมกี ารออกเสียงประชามตไิ ด (๒) ในกรณีทีม่ กี ฎหมายบญั ญัติใหมีการออกเสียงประชามติการออกเสียง ประชามตติ าม (๑) หรือ (๒) อาจจัดใหเ ปนการออกเสียงเพอื่ มขี อยตุ ิโดยเสยี งขางมากของ ผูมสี ทิ ธอิ อกเสยี งประชามติในปญ หาท่ีจัดใหม ีการออกเสียงประชามตหิ รือเปนการออกเสียง เพ่อื ใหคําปรึกษาแกค ณะรัฐมนตรีกไ็ ดเ วน แตจ ะมกี ฎหมายบัญญัตไิ วเปน การเฉพาะ การออกเสียงประชามติตองเปนการใหออกเสียงเห็นชอบหรือ ไมเห็นชอบในกิจการตามท่ีจัดใหมีการออกเสียงประชามติและการจัดการออกเสียง ประชามติในเร่ืองท่ีขัดหรือแยงตอรัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลจะ กระทํามไิ ด กอนการออกเสียงประชามติรัฐตองดําเนินการใหขอมูลอยาง เพียงพอและใหบุคคลฝายที่เห็นชอบและไมเห็นชอบกับกิจการ น้ัน มีโอกาสแสดง ความคิดเห็นของตนไดอยางเทาเทียมกันหลักเกณฑและวิธีการออกเสียงประชามติให เปน ไปตามพระราชบญั ญัตปิ ระกอบรฐั ธรรมนูญ วา ดว ยการออกเสียงประชามติ ซ่ึงอยางนอ ย ตองกําหนดรายละเอยี ดเก่ียวกับวิธีการออกเสียงประชามติระยะเวลาในการดําเนินการ และจํานวนเสยี งประชามติเพ่อื มขี อ ยุติ นอกจากการมสี วนรว มโดยตรงทางการเมอื งแลว สงิ่ ทีม่ คี วามสาํ คญั เปนอยางมาก ก็คือ การ เลือกตัวแทนของตนในทุกระดับ จะตองเลือกคนที่มีความเหมาะสมกับตําแหนงนั้น ๆ ซ่ึงจะมีการ เลือกตั้งตัวแทนประชาชนเกือบทุกระดับ แตประชาชนสวนใหญยังมิไดแยกแยะวา การเลือกตั้งน้ัน ๆ เลอื กเขาไปทาํ หนาทอี่ ะไร ประชาชนมกั จะเลอื กจากผทู ตี่ นเอง มคี วามคนุ เคยสนิทสนม หรอื มพี ระคุณ หรือมากกวา น้ัน ท่ีมกี ารกลา วหากนั แตข าดพยานหลกั ฐาน กค็ อื เลอื กผทู ่ใี หเ งินตน (ทเ่ี รียกวา ซือ้ เสยี ง) หากประชาชนสามารถเลือกต้ังตัวแทนของตนเองไดเหมาะสมกับตําแหนงท่ีไดมาจาก การเลอื กตง้ั แลว จะสามารถพลิกโฉมการเมืองไทยไดม ากกวา ท่ีเปน อยทู ุกวันนี้

140 กิจกรรมที่ 11 ใหผ ูเ รียนวเิ คราะหการพฒั นาการทางการเมืองของประเทศไทยตามความเขาใจโดย ใชขอ มลู ประกอบ 2.2 การอยรู ว มกันอยางสันตใิ นระบอบประชาธิปไตย จากหลักการของระบอบประชาธิปไตย เห็นไดวาประชาชนตองมีบทบาทและมีสวนรวม ในทางการเมอื งมากกวา ระบอบเผดจ็ การและในระบอบประชาธิปไตยท่ียึดหลักสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนทุกคนอยางเทาเทียมในสังคมทมี่ ีขนาดใหญ หากทุกคนยึดแตหลักการพ้ืนฐานของระบอบ ประชาธิปไตยเทา นัน้ เชอื่ วาความวุนวายและไรระเบียบของสังคมยอ มเกิดข้ึนในสังคมไทยแนวคดิ ของ ระบอบประชาธิปไตยเปนสง่ิ ทีเ่ รารับมาจากประเทศทางตะวันตกซึ่งมีขอดีในเร่ือง วินัยสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค สวนวิถีของสังคมไทยท่ีเปนสังคมพุทธมีขอดีในเร่ือง ความอบอุน การเคารพ ผูอาวุโส ความกตัญู เปนขอดีท่ีเราตองนํามาใชใหถูกตอง ดังนั้น การจะอยูรวมกันอยางสันติใน ระบอบประชาธปิ ไตยของสังคมไทยคงมิใชการยึดหลกั การพ้ืนฐานของระบอบประชาธิปไตยเทานั้น แตต องมองรากฐานของคนไทยดว ยวามวี ิถชี ีวิตอยา งไร วิถชี วี ิตไทย สงั คมไทยในอดีตปกครองดวยระบอบสมบูรณาญาสิทธริ าชย จนถึงป พ.ศ. 2475 เมื่อคณะราษฎร ไดทําการปฏิวัติเปล่ียนแปลงระบอบการปกครองมาเปนระบอบประชาธิปไตย เวลาที่ผานมา 70 กวาป วิถีชวี ิตของชนชาวไทยไดป รับตนเองใหเขากบั ระบอบการปกครองแบบประชาธปิ ไตยอยา งไร การศกึ ษาเพอ่ื ใหเกิดความเขาใจวิถีชีวิตไทยภายใตระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ผเู รยี นควรจะมีความรู ความเขา ใจ ในความหมายของคาํ หลักที่เกีย่ วของกอ น ไดแก คําวา “วถิ ีชีวิต” “ระบอบ” และ “ประชาธิปไตย” เพอ่ื เปนพ้นื ฐานในการวเิ คราะหตอ ไป ซึ่งพจนานกุ รมฉบบั ราชบัณฑิตย- สถาน พ.ศ. 2542 ไดใหความหมายของคําดังกลา วไว ดังนี้ วิถชี วี ติ หมายถงึ ทางดาํ เนินชีวติ เชน วถิ ชี ีวิตชาวบา น ระบอบ หมายถึง แบบอยางธรรมเนียม เชน ทําถูกระบอบ ระเบียบ การปกครอง เชน การปกครองระบอบประชาธปิ ไตย การปกครองระบอบสมบูรณาญาสทิ ธริ าชย ประชาธิปไตย (ประชาทปิ ะไต/ประชาทบิ ปะไต) หมายถึง ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชน เปน ใหญการถือเสยี งขางมากเปน ใหญ จากความหมายของคําหลัก ท้ังสามคําดังกลาวขางตน เมื่อนําความหมายมารวมกัน “วิถีชีวิตไทย ภายใตก ารปกครองระบอบประชาธิปไตย” จึงหมายถึง การดําเนินชีวิตของชนชาวไทย โดยการ ถือเสียงขา งมากเปน ใหญ

141 เราจะทาํ การศกึ ษาตอไปวา การดําเนินชวี ิตของคนไทยนัน้ ไดถอื เสยี งขา งมากในเร่ืองใดบาง และขอดี ขอเสีย ของการถือเสียงขางมากเปนใหญ มีอะไรบาง โดยการพิจารณาจากลักษณะของ สังคมไทยในปจจบุ ัน ลกั ษณะที่สาํ คัญของสงั คมไทย ประเทศไทยตัง้ อยูบ นคาบสมุทรอนิ โดจนี ท่ีเรยี กวา “สวุ รรณภูม”ิ มพี ืน้ ท่ีประมาณ 513.115 ตารางกิโลเมตร มกี ลุม ชนชาตไิ ทย และกลุมชาติพนั ธอุ นื่ ๆ อีกมากกวา 50 ชาติพนั ธุ เชน จนี ลาว มอญ เขมร กูย ฝรง่ั แขก ซาไก ทมฬิ ฯลฯ มาอาศัยอยูในประเทศไทย มีภาษาไทยเปน ของตนเอง มีประวัติศาสตร การตัง้ ถนิ่ ฐานท่ียาวนาน ประชากรสว นใหญป ระกอบอาชีพเกษตรกรรม มพี ระมหากษัตริยทรงเปนประมุข จนถึงป พ.ศ. 2475 เมอื่ เกดิ การเปล่ยี นแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบรู ณาญาสิทธิราชย มาเปนระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขเวลาผานไปเกือบ 80 ป จนถึง ปจจุบนั เม่ือวเิ คราะหลกั ษณะของสงั คมไทยในปจ จุบนั เราจะพบวา มีลักษณะสําคญั ดังนี้ 1. สงั คมไทยเปนสงั คมทเี่ คารพเทิดทนู สถาบันพระมหากษตั ริย สังคมไทย ปกครองโดยเฉพาะพระมหากษัตริยมาตั้งแตสมัยสุโขทัย ที่เรียกวา สมบูรณาญาสทิ ธิราชย จนมาถึง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย พระมหากษัตริย ทรงเปน ทัง้ องคพระประมุข เปนขวญั และกาํ ลังใจใหกับประชาชน และทรงเปน ศูนยรวม แหงความสามัคคีของคนในชาติ สถาบันพระมหากษัตริย จึงไดรับการเคารพเทิดทูน อยางสงู ในสังคมไทย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook