Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore sc02018สภาวะโลกร้อน

sc02018สภาวะโลกร้อน

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-07-14 09:00:34

Description: sc02018สภาวะโลกร้อน

Search

Read the Text Version

ก หนงั สอื เรยี นสาระความรู้พน้ื ฐาน รายวชิ าเลอื ก สภาวะโลกร้อน รหสั วชิ า พว02018 ระดบั ประถมศกึ ษา มธั ยมศกึ ษาตอนต้น มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ตามหลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยจงั หวดั เชียงใหม่ สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย สํานักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ห้ามจําหน่าย หนงั สือเรียนเล่มน้ีจดั พิมพด์ ว้ ยเงินงบประมาณแผน่ ดินเพ่ือการศึกษาตลอดชีวิตสาํ หรับประชาชน ลิขสิทธ์ิเป็นของสาํ นกั งาน กศน.จงั หวดั เชียงใหม่

ก คํานํา หนังสือเรยี นรายวชิ าเลือก วชิ าสภาวะโลกร้อน รหัสวิชา พว02018 ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐานพุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษา ตอนปลาย จัดทําขึ้นเพ่ือให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการปรัชญาการศึกษา นอกโรงเรียน และพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีสติปัญญา มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคม ได้อยา่ งมคี วามสขุ เพื่อให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ สถานศึกษาต้องใช้หนังสือเรียนท่ีมี คุณภาพ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ สถานศึกษา หนังสือเล่มนี้ได้ประมวลสาระความรู้ กิจกรรมเสริมทักษะ แบบวัดประเมินผลการเรียนรู้ไว้อย่าง ครบถ้วน โดยองค์ความรู้นั้นได้นํากรอบมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกําหนดไว้ นํารายละเอียดเน้ือหา สาระมาเรียบเรียงอย่างมีมาตรฐานของการจัดทําหนังสือเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านเข้าใจง่ายและศึกษา ค้นควา้ ด้วยตนเองไดอ้ ยา่ งสะดวก คณะผ้จู ดั ทาํ หวงั เปน็ อยา่ งยงิ่ ว่า หนงั สือเรียนรายวชิ าสภาวะโลกร้อน รหัสวิชา พว02018 เล่มนี้จะเป็น ส่ือท่ีอํานวยประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 เพ่อื ใหผ้ ู้เรียนสัมฤทธ์ผิ ลตามมาตรฐาน ตวั ชี้วดั ทก่ี าํ หนดไว้ในหลกั สตู รทกุ ประการ คณะผู้จัดทํา สาํ นกั งาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่

สารบัญ ข เร่ือง หน้า คํานํา ก สารบญั ข คาํ อธิบายรายวชิ า ค แบบทดสอบก่อนเรียน ฉ 1 บทท่ี 1 รู้จกั กบั สภาวะโลกร้อน 3 แผนการเรยี นรปู้ ระจาํ บท 3 ตอนที่ 1.1 ภาวะโลกรอ้ น 4 ตอนท่ี 1.2 เรอื นกระจก 5 กิจกรรม 10 12 บทที่ 2 สาเหตุและผลกระทบของสภาวะโลกรอ้ น 13 แผนการเรียนรู้ประจาํ บท 14 ตอนที่ 2.1 สาเหตขุ องภาวะโลกรอ้ น 23 ตอนที่ 2.2 กา๊ ชและสารท่ีมผี ลกระทบต่อสภาวะโลกร้อน 29 กิจกรรม 31 32 บทท่ี 3 แนวทางแกไ้ ขและป้องกันสภาวะโลกรอ้ น 33 แผนการเรยี นรูป้ ระจําบท 35 ตอนท่ี 3.1 แนวทางปอ้ งกันสภาวะโลกรอ้ น 37 ตอนที่ 3.2 แนวทางแกไ้ ขสภาวะโลกร้อน 39 กจิ กรรม 41 41 บทท่ี 4 โครงงานลดสภาวะโลกร้อน 42 แผนการเรยี นรปู้ ระจาํ บท 48 ตอนที่ 4.1 ความหมายของโครงงาน 50 ตอนท่ี 4.2 การวางแผนทาํ โครงงาน 59 ตอนท่ี 4.3 แนวทางการเขยี นแผนการเรยี นร้โู ดยโครงงาน 69 ตอนท่ี 4.4 การรายงานผลการเรยี นรโู้ ดยโครงงาน 70 ตอนที่ 4.5 ตัวอยา่ งการเขียนรายงานผลการเรยี นรโู้ ดยโครงงาน 71 กจิ กรรม 72 73 แบบทดสอบหลังเรยี น เฉลยแบบทดสอบกอ่ น-หลงั เรียน บรรณานกุ รม คณะผจู้ ดั ทาํ คณะบรรณาธกิ าร/ปรบั ปรงุ แกไ้ ข

ค คําอธบิ ายรายวชิ า รายละเอียดรายวิชา พว02018 สภาวะโลกรอ้ น จาํ นวน 1 หน่วยกติ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย มาตรฐานที่ 2.2 มคี วามรู้ ความเข้าใจและทักษะพนื้ ฐานเกี่ยวกบั คณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ศึกษาและฝกึ ทักษะเกีย่ วกบั เร่ืองตอ่ ไปน้ี สภาวะโลกร้อน ความหมายสภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เรือนกระจก สาเหตุการเกิดสภาวะโลกร้อน ปฏิบัติการทดลองด้วยการจําลองสถานการณ์สภาวะโลกร้อน ผลกระทบสภาวะโลกร้อน แนวทางแก้ไขและ ปอ้ งกันสภาวะโลกรอ้ น การจดั ประสบการณก์ ารเรยี นรู้ ให้ผู้เรยี น ศึกษา ค้นควา้ ทดลอง อธบิ าย อภปิ ราย และนําเสนอด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการ พบกลุ่ม การเรียนรู้แบบทางไกล แบบช้ันเรียน ตามอัธยาศัย การสอนเสริม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทํา รายงาน การศกึ ษาจากแหล่งเรียนรู้ ประสบการณ์โดยตรง ใช้สถานการณ์จริง ปรากฏการณธ์ รรมชาติ การวัดและประเมินผล การสังเกต การอภิปราย การสัมภาษณ์ ทักษะปฏบิ ตั ิ รายงานการทดลอง การมสี ่วนร่วมในกิจกรรม การเรยี นรู้ ผลงาน การทดสอบ การประเมนิ การนําไปใชป้ ระโยชน์ในชีวิตประจําวัน

ง รายละเอยี ดคําอธบิ ายรายวชิ า พว02018 สภาวะโลกรอ้ น จาํ นวน 1 หนว่ ยกิต ระดับประถมศึกษา ระดบั มัธยมศกึ ษาตอนต้น ระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย มาตรฐานท่ี 2.2 มคี วามรู้ ความเข้าใจและทกั ษะพื้นฐานเกีย่ วกับคณติ ศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ หัวเร่อื ง ตวั ช้วี ัด เน้อื หา จํานวน(ช่วั โมง) 1 สภาวะโลกรอ้ น 1.อธบิ าย 40 ความหมาย 1.ความหมายสภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์ 2.ปรากฏการณ์เรือนกระจก สภาวะโลกร้อนได้ 3.สาเหตกุ ารเกิดสภาวะโลก ร้อน 2.อธบิ ายสาเหตุ 4.ปฏบิ ัตกิ ารทดลองด้วยการ และผลกระทบของ จาํ ลองสถานการณส์ ภาวะโลก สภาวะโลกร้อนต่อ รอ้ น ส่ิงมชี วี ติ และ 5.ผลกระทบการเกดิ สภาวะโลก ส่งิ แวดลอ้ มได้ ร้อน 6.แนวทางแกไ้ ขและป้องกนั 3.กําหนดแนวทาง สภาวะโลกร้อน แก้ไขและปอ้ งกนั 7.โครงการหรือโครงงานลด สภาวะโลกร้อนได้ สภาวะโลกร้อน 4.วางแผนและ จดั ทําโครงการหรือ โครงงานและ เผยแพร่ การลด สภาวะโลกร้อนใน ชมุ ชนได้

จ รายละเอียดวชิ า 1. คําอธบิ ายรายวิชา สภาวะโลกร้อน ความหมายสภาวะโลกรอ้ น ปรากฏการณเ์ รือนกระจก สาเหตุการเกิดสภาวะโลกร้อน ปฏิบัติการทดลองดว้ ยการจําลองสถานการณส์ ภาวะโลกร้อน ผลกระทบจากสภาวะโลกรอ้ น แนวทางแกไ้ ข และปอ้ งกันสภาวะโลกร้อน 2. วตั ถปุ ระสงค์ 1. เพ่ือให้มคี วามร้คู วามเขา้ ใจเกี่ยวกบั ความหมายปรากฏการณส์ ภาวะโลกร้อนได้ 2. เพ่อื ให้มีความรู้ความเขา้ ใจเก่ยี วกับสาเหตุและผลกระทบของสภาวะโลกรอ้ นต่อส่ิงมีชวี ิตและ ส่ิงแวดลอ้ มได้ 3. เพื่อใหส้ ามารถกําหนดแนวทางแก้ไขและปอ้ งกนั สภาวะโลกร้อนได้ 4. เพ่อื ใหส้ ามารถวางแผนและจดั ทําโครงการหรือโครงงาน และเผยแพร่ การลดสภาวะโลกรอ้ นใน ชมุ ชนได้ 3. รายชอื่ บทเรยี น บทที่ 1 ร้จู ักกบั สภาวะโลกรอ้ น บทท่ี 2 สาเหตแุ ละผลกระทบของสภาวะโลกรอ้ น บทท่ี 3 แนวทางแก้ไขและปอ้ งกนั สภาวะโลกรอ้ น บทที่ 4 โครงงานลดสภาวะโลกรอ้ น

ฉ ช่ือ-สกลุ ระดบั ช้นั รหสั แบบทดสอบกอ่ นเรียน วชิ า สภาวะโลกร้อน พว02018 ระดับประถมศกึ ษา มัธยมศึกษาตอนต้น มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย คําสัง่ จงเลือกคาํ ตอบทีถ่ กู ต้องทีส่ ดุ 1. ภาวะโลกรอ้ น หมายถึงอะไร 6. กา๊ ช มีเทน มแี หลง่ ทม่ี าจากท่ใี ด ก. ปรากฏการณ์เรือนกระจก ก. ควนั รถยนต์ ข. อณุ หภมู ิเฉลย่ี ของโลกเพ่มิ ข้นึ ข. เผาป่า ค. การปล่อยกา๊ ชพิษสู่อากาศ ค. การย่อยสลายสิ่งมีชวี ิต ง. นา้ํ แขง็ ขั้วโลกเริม่ ละลายลงสู่ทะเล ง. การตดั ต้นไม้ 2. ขอ้ ใดคอื สาเหตุหลกั ของการเกิดภาวะโลกรอ้ น 7. ข้อใดไม่ใช่ผลกระทบจากสภาวะโลกรอ้ น ก. โรงงานอุตสาหกรรม ก. ทะเลทรายตอนกลางวนั อากาศเยน็ ขึ้น ข. รถยนต์ ข. ระดับนาํ้ ทะเลทางขวั้ โลกเหนอื เพิม่ ขน้ึ ค. บา้ นเรอื น ค. เกดิ ความแห้งแล้งในฤดูรอ้ นทย่ี าวนาน ง. ขยะ ง. ทําให้เชือ้ โรคเจรญิ เติบโตอย่างรวดเร็ว 3. ปรากฏการณเรอื นกระจก เกิดจากก๊าซอะไร 8. ภยั ธรรมชาติทจ่ี ะเกดิ ตามมากับภาวะโลกรอ้ นที่ เพ่มิ ขึ้น เหน็ ไดช้ ดั ท่ีสดุ คอื อะไร ก. กา๊ ชไนโตรเจน ก. ระดับนํ้าทะเลสงู ข้ึน ข. ก๊าชออกซเิ จน ข. เกิดพายนุ อ้ ยลง ค. กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ ค. คล่ืนความรอ้ นบ่อยขึ้น ง. ก๊าซอาร์กอน ง. ปัญหาภัยแล้งกาํ ลงั จะหมดไปเพราะ นํ้าท่วม 4. ข้อใดเป็นก๊าซเรอื นกระจกทง้ั หมด ก. ไอน้ํา (H2O) ,ก๊าชไนโตรเจน 9. ประเทศใดที่มกี ารปลอ่ ยกา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ ข. ไอน้ํา (H2O), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มากท่สี ดุ ค. ก๊าซไนตรสั ออกไซด์ (N2O) , ก๊าช ก. รัสเซยี ไนโตรเจน ข. สหรฐั อเมรกิ า ง. กา๊ ซมเี ทน (CH4),กา๊ ชออกซิเจน ค. ไทย ง. จีน 5. ข้อดี ของปรากฏการณเ์ รอื นกระจก คอื อะไร ก. แสงแดดนอ้ ยลง 10. ข้อใดเป็นการลดสภาวะโลกรอ้ นไดด้ ีท่ีสดุ ข. ฝนตกมาขน้ึ ก. แกว้ เปิดพัดลมแทนเครื่องปรบั อากาศ ค. อากาศแจม่ ใส ข. นเรศปลกู ตน้ ไมร้ อบๆบา้ น ง. โลกอ่นุ ข้ึน ค. ธิดาใชจ้ ักรยานแทนรถยนต์ ง. สดุ าอาบน้ําเยน็ แทนน้าํ อุน่

ช 11. ข้อใดไมใ่ ชเ่ ปา้ หมายเพ่อื ลดภาวะโลกรอ้ นของ 16.สิ่ ง ใ ด เ ป็ น ทั ศ น ค ติ ที่ ไ ม่ เ ห ม า ะ ส ม ใ น ด้ า น กรุงเทพมหานคร เกษตรกรรม ก. Green Society ข. Green Living ก. การเผาตอซงั ค. Green Zone ง. Green Room ข. การใช้ปุ๋ยเคมี ค. การปลูกพชื เชงิ เด่ยี วท่ีทาํ ลาย 12. การใชค้ ําวา่ ”การผนั แปรของภูมิอากาศ”เป็น สง่ิ แวดล้อม การเปลยี่ นแปลงสภาพภมู อิ ากาศเกิดจากสง่ิ ใด ง. ถกู ทกุ ข้อ ก. การเปล่ียนแปลงท่ีเกิดจากเหตุอัน เน่อื งมาจากมนษุ ย์ 17.การปรับเปลี่ยนส่ิงแวดล้อมทางธรรมชาติของ ข. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับ โลกในวงกว้างโดยเจตนาเพ่ือให้เหมาะแก่ นานาชาติ ความตอ้ งการ ของมนุษย์หมายถึงอะไร ค. การเปลย่ี นแปลงท่ีเกดิ จากกจิ กรรมของ ก. วศิ วกรรมโลก มนุษย์ ข. วิศวกรรมวิทยาศาสตร์ ง. การเปล่ยี นแปลงท่เี กิดจากเหตอุ ่ืน ค. วิศวกรรมดาวเคราะห์ ง. วิศวกรรมสง่ิ แวดล้อม 13. อะไรคอื สาเหตุสําคัญทท่ี ําใหร้ ะดบั นํา้ ทะล สูงข้นึ 18.ข้ อ ใ ด ที่ เ ป็ น พ ลั ง ง า น ท ด แ ท น ห รื อ พ ลั ง ง า น ก. การเพ่ิมขึ้นของอุณหภูมิในบรรยากาศ ทางเลอื ก ช้นั ล่างของโลก ก. พลังงานแสงอาทิตย์ ข.พลงั งานก๊าซชวี ภาพ ข.การขยายตัวของผิวน้าํ ทะเลเมอ่ื อณุ หภูมิ ค. พลงั งานนาํ้ ง.ถูกทุกขอ้ เพ่มิ สูงขนึ้ ค. การละลายของภูเขาน้าํ แขง็ ในขว้ั โลก 19. ก๊าซชนิดใดใชเ้ ปน็ กา๊ ซหลักในการเปรียบเทียบ ง. การเปลย่ี นแปลงของกระแสน้ําใน ศกั ยภาพการเกิดสภาวะโลกรอ้ น มหาสมุทร ก. ก๊าซมีเทน ข. กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ ค. ก๊าซไนตรสั ออกไซด์ ง. โอโซน 14. จังหวัดใดเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ ประสบปัญหาการลดลงของพืน้ ท่ี 20. การเกบ็ ขอ้ มูลจากสภาพธรรมชาติแบบใด ทถี่ กู ก. สมทุ รปราการ ข. สมทุ รสาคร นาํ ไปใช้เพอ่ื คาดการณส์ ภาพภมู อิ ากาศ ค. สมทุ รสงคราม ง. ชลบุรี ก. โครงปะการัง ข. ความหนาของวงปีตน้ ไม้ 15. NAMAs sหมายถงึ อะไร ค. ตะกอนก้นทะเลสาบ ก. อนสุ ัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ ง. ถกู ทุกขอ้ เปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ ข. แผนการพฒั นาแห่งชาตใิ นการลดการ ปลอ่ ยอนญุ าตให้ปลอ่ ย ค. การซ้อื ขายสทิ ธกิ ารปลอ่ ยก๊าซเรอื น กระจกระหว่างประเทศท่ีได้รับการ จดั สรรและอนญุ าตใหป้ ลอ่ ย ง. โครงการกลไกการพฒั นาที่สะอาด

21. การเขียนแผนการเรยี นรโู้ ดยโครงงานไม่มี ซ หวั ขอ้ ใด ก. ทมี่ าและความสาํ คญั 26. ขอ้ ใดเป็นการเขยี นผลทคี่ าดวา่ จะได้รับที่ ข. วธิ กี ารดําเนินงาน ถูกต้อง ค. ผลท่คี าดว่าจะไดร้ ับ ก. ลดปริมาณขยะลดสภาวะโลกรอ้ น ง. ผลการดาํ เนนิ งาน ข. เพอื่ ทาํ โคมไฟจากแผน่ ซดี ี ค. มีความรใู้ นการทาํ โครงงาน 22. ขอ้ ใด ไม่จําเปน็ ต้องมีในโครงงานประเภท ง. ใช้เวลาว่างใหเ้ ป็นประโยชน์ สํารวจ ก. จดุ ประสงค์ 27. ขอ้ ใดไม่ใช่โครงงานลดสภาวะโลกรอ้ น ข. ขอบเขต ก. โครงงานเก้าอร้ี ไี ซเคิลจากลงั กระดาษ ค. สมมตฐิ าน ข. โครงงานตู้ฟักไขไ่ ก่ 1,000 ฟอง ง. คํานิยามศัพท์เฉพาะ ค. โครงงานทาํ ปยุ๋ หมกั อดั แทง่ ง. โครงงานเล้ียงไส้เดอื นลดขยะ 23. ขอ้ ใดเป็นการเขยี นช่อื โครงงานทีด่ ี ก. โครงงานปลูกผกั กาดขาวในบอ่ โฟม 28. ข้อใดเปน็ หัวข้อโครงงานลดสภาวะโลกรอ้ นทดี่ ี ข. โครงงานการลดสภาวะโลกร้อน ก. โครงงานลดกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์ ค. โครงงานรไี ซเคลิ ข. โครงงานทําปุ๋ยหมกั ลดภาวะโลกร้อน ง. โครงงานประหยดั พลงั งานไฟฟา้ ค. โครงงานประดิษฐก์ ลอ้ งดดู าว ง. โครงงานสาํ รวจแหล่งเรียนรใู้ นชมุ ชน 24. ข้อใดเป็นการเขยี นเปา้ หมายเชงิ ปริมาณ ก. เพอื่ ลดปรมิ าณขยะในชุมชน 29. การรายงานผลการเรยี นรูโ้ ดยโครงงานมีหัวขอ้ ข. เพ่ือสาํ รวจสมนุ ไพรพนื้ บา้ นจํานวน 20 ใดทต่ี ่างจากแผนการเรียนรู้โดยโครงงาน ชนิด ก. ทีม่ าและความสําคญั ค. เพื่อเพม่ิ ปา่ ไม้ในทอ้ งถิน่ ข. วิธีการดาํ เนินงาน ง. เพ่ือประดษิ ฐเ์ ก้าอจ้ี ากกลอ่ งกระดาษ ค. ผลที่คาดวา่ จะได้รับ รีไซเคลิ ง. ผลการดําเนินงาน 25. ข้อใดเปน็ วตั ถุประสงค์ของโครงงานโคมไฟจาก 30. ขอ้ ใดไมต่ ้องมีในรายงานผลการเรียนรโู้ ดย กระปอ๋ งอลูมิเนียมรไี ซเคลิ โครงงาน ก. เพือ่ ประดิษฐโ์ คมไฟจากกระป๋อง ก. สรุปผล อลูมิเนยี ม ข. ที่มาและความสาํ คญั ข. เพือ่ ศึกษาการตอ่ วงจรโคมไฟ ค. งานวจิ ัยทเ่ี กยี่ วขอ้ ง ค. เพอื่ ศกึ ษาคุณสมบตั ิของกระปอ๋ ง ง. บรรณานกุ รม อลูมเิ นียม ง. เพ่ือประหยัดพลังงานไฟฟ้า

1 บทท่ี 1 ร้จู ักกบั สภาวะโลกร้อน

2 ความนํา ภาวะโลกรอ้ น คือ การทอ่ี ณุ หภูมโิ ดยเฉลยี่ ของโลกร้อนขนึ้ เนือ่ งจากปริมาณก๊าซเรือนกระจก ถูกปล่อย ข้ึนไปสูช่ ้ันบรรยากาศมากขึ้น แล้วก๊าซเรือนกระจกมาจากไหน ทําไมจึงทําให้โลกร้อนข้ึนได้ ก๊าซเรือนกระจกใน ชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น ถ้ามีปริมาณไม่มากนัก ธรรมชาติก็สามารถปรับให้สมดุลได้ แต่นับจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งย่ิงใหญ่ในทวีปยุโรป การใช้พลังงานของโลกได้เพ่ิมสูงข้ึน อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเชื้อเพลิง ประเภทฟอสซิล เช่น นํ้ามัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ การทําลายพ้ืนที่ป่า เพ่ือขยายพ้ืนที่ทํากินการเพิ่มการ ผลิตทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เพ่ือรองรับจํานวนประชากรที่เพ่ิมข้ึนอย่างต่อเนื่อง รวมท้ังการทํา กิจกรรมตา่ งๆในชีวติ ประจาํ วันของมนษุ ย์ ต้ังแต่ตืน่ นอนจนเข้านอน เชน่ การใช้ไฟฟ้า การเผาเศษหญ้า เผาขยะ การขับรถที่ใช้น้ํามันเชื้อเพลิง การบริโภคสินค้าและบริการต่างๆท่ีต้องใช้พลังงานในการผลิต การขนส่ง การ จําหน่ายและการกาํ จดั ขยะ ส่ิงเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสําคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่บรรยากาศท้ังสิ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปัจจุบันสูงขึ้นประมาณ 1-2 องศาเซลเซียสและคาดการณ์ว่าในอีก 100 ปีข้างหน้า อุณหภูมขิ องโลกจะสงู ข้ึนอีกประมาณ 1.5 – 4.5 องศาเซลเซียส

3 แผนการเรยี นรปู้ ระจาํ บท บทท่ี 1 รจู้ กั กับสภาวะโลกร้อน สาระสาํ คญั สภาวะโลกร้อน ความหมายสภาวะโลกรอ้ น ปรากฏการณ์เรอื นกระจก ผลการเรยี นรทู้ ่ีคาดหวงั เมอ่ื ศกึ ษาบทท่ี 1 จบแล้วผู้เรยี นสามารถ 1. อธิบายความหมายปรากฏการณส์ ภาวะโลกรอ้ น และสภาวะเรอื นกระจกได้ ขอบขา่ ยเน้อื หา ตอนที่ 1.1 ความหมายสภาวะโลกร้อน ตอนที่ 1.2 ปฏบิ ตั กิ ารทดลองดว้ ยการจําลองสถานการณส์ ภาวะโลกรอ้ น ตอนที่ 1.3 ปรากฏการณ์เรอื นกระจก แนวคดิ 1. เพื่อใหผ้ ู้เรียนมคี วามรู้ ความเขา้ ใจ ถึงสาเหตุและผลกระทบของสภาวะโลกรอ้ นทมี่ ตี ่อตนเอง ชมุ ชน ส่ิงมีชวี ิตและสง่ิ แวดล้อม 2. เพอ่ื ปรับเปล่ยี นแนวคิดและคา่ นยิ มในการดาํ เนนิ ชีวิตที่เปน็ มติ รกบั ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดล้อม 3. เพอ่ื ใหผ้ ูเ้ รยี นรว่ มกนั พัฒนาสิง่ แวดล้อมให้สวยงามนา่ อยู่ เพ่ือให้ทกุ คนมคี ณุ ภาพชีวิตท่ีดีข้ึน กจิ กรรมการเรยี นรู้ ขนั้ ตอนการเรยี นรู้ 1. ทําแบบทดสอบก่อนเรียน 2. ศึกษาเอกสารความรู้ บทที่ 1 3. ทาํ ใบงานที่ 1 บทท่ี 1 ส่ือประกอบการเรยี นรู้ 1. เอกสารการเรยี นรู้ บทท่ี 1 มารู้จกั สภาวะโลกรอ้ น 2. ใบกจิ กรรมท่ี 1 , 2 ประเมนิ ผล 1.แบบทดสอบกอ่ นเรยี นและหลังเรียน 2.ใบกจิ กรรมท่ี 1, 2

4 ตอนที่ 1.1 สภาวะโลกรอ้ น ภาวะโลกร้อน “Global Warming” คือ ปรากฏการณ์ท่ีอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลก และผืนมหาสมุทร เพิ่มสูงขึ้น โดยมีสาเหตุสําคัญมาจาก ก๊าซเรือนกระจก หรือท่ีเรารู้จักกันดีในช่ือ ว่า Green house effect ซ่ึงมี ต้นเหตุจากการทม่ี นุษย์ ไดเ้ พิม่ ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพ่ิมก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโร คาร์บอน (CFC) เข้าไปอีกด้วย พร้อม ๆ กับการท่ีเราตัดและทําลาย ป่าไม้จํานวนมหาศาลเพื่อสร้างส่ิงอํานวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทําให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูก ลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดส่ิงต่าง ๆ ท่ีเราได้กระทําต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะ โลกรอ้ น บางคนเข้าใจว่า “ภาวะโลกรอ้ น” เปน็ สภาวะทเี่ กดิ ขน้ึ โดยมีความร้อนจากดวงอาทติ ย์เป็นตัวการสําคัญ แตแ่ ทท้ ่จี รงิ แลว้ ดวงอาทิตย์คือผู้เก้ือหนุนโลก เพราะโลกอาศัยความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่ง พลังงานสําคัญ สัตว์ขนาดใหญ่อย่างไดโนเสาร์ในอดีต ช้าง มนุษย์ ไปจนถึงต้นหญ้าต้นเล็ก ๆ ในปัจจุบัน ล้วนมี ชีวติ อยู่ไดด้ ว้ ยพลงั งานจากดวงอาทติ ย์ บรรยากาศ (Atmosphere) คือ มวลอากาศท่ีหุ้มล้อมโลกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด บรรยากาศ ของโลกช่วยสกัดกั้น และดูดซึมรังสี ที่เป็นอันตรายต่อส่ิงมีชีวิตให้เบาบางลงขณะเดียว กันก็ทําหน้าท่ีถ่ายเท และควบคุมความร้อนในโลก ให้อยู่ใน สภาวะท่ีเหมาะสมสําหรับเป็นแหล่ง ท่ีอยู่อาศัยของส่ิงมีชีวิต สัดส่วนของ ก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศค่อนข้าง สม่ําเสมอ แต่ความหนาแน่น ของบรรยากาศจะมีค่าสูงสุดท่ีระดับนํ้า ทะเล และค่อย ๆ เบาบางลงตามระดับความสูง ท่ีเพ่ิมขึ้น ร้อยละ 99 ของก๊าซที่ห่อหุ้มโลกประกอบด้วยก๊าซ 2 ชนิด คือ ไนโตรเจน 78% ออกซิเจน 21% อีก 1% เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ นอกจากก๊าซต่าง ๆ แลว้ ในบรรยากาศยงั ประกอบด้วยไอนํ้าฝุ่น ละอองและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ด้วย นักวิทยาศาสตร์แบ่งชั้นบรรยากาศ ของโลกออกเปน็ 4 ชัน้ คือ 1) โทรโปสเฟียร์ (Troposphere) 2) สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) 3) มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) 4) เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) โดยช้ันของบรรยากาศท่ีมีความสําคัญ ต่อการดํารงชีวิตของส่ิงมีชีวิต สูงสุดคือ โทรโปสเฟียร์และสตรา โตสเฟียร์ เริ่มจากโทรโปสเฟียร์ซึ่งเป็นช้ันบรรยากาศ ท่ีอยู่ใกล้ผิวโลกมากท่ีสุดมีความหนาถึง 17 กิโลเมตร เหนือผิวโลก อุณหภูมิ ของบรรยากาศชั้นน้ีลดลงตามระดับความสูงในอัตราการลด 6.4 C ต่อระดับความสูงท่ี เพ่ิมข้ึน 1 กิโลเมตร มีปริมาณไอนํ้า และฝุ่นละอองมากกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ ปรากฏการณ์ด้าน ลม ฟ้า อากาศ ท้งั หมดที่มีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิต บนโลกเป็นผลมาจาก บรรยากาศชั้นนี้ส่วนบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ นั้นสูงจากพ้ืนโลกขึ้นไปประมาณ 17-48 กิโลเมตร เป็นช้ันที่มีสภาพค่อนข้างอยู่ตัวมีความแปรปรวนน้อย ไอนํ้า เมฆหมอกและฝุ่นละอองในบรรยากาศมีน้อยมาก นักบินนิยมใช้เป็นเพดานบิน เพ่ือให้พ้นความป่ันป่วนของ อากาศ ในบรรยากาศช้ันสตราโตสเฟียร์นี้ เป็นที่อยู่ของก๊าซโอโซนซ่ึงมีความหนา 17-26 กิโลเมตรกิโลเมตร เหนือผิวโลก มีความเจือจางมากแต่สามารถสกัดกั้นรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ท่ีเป็นอันตรายจากดวง อาทิตย์ได้ถงึ 99% ทําใหม้ นุษยร์ อดพน้ จากการเปน็ มะเรง็ ท่ผี วิ หนงั และการเปน็ ต้อทีด่ วงตา คําว่า เรือนกระจก (Greenhouse) หมายถึง อาณาบริเวณที่ปิดล้อมด้วยกระจก หรือวัสดุอื่นซึ่งมีผล ในการเก็บกัก ความร้อน ไว้ภายใน ประเทศเขตหนาวนิยมใช้เรือนกระจกในการเพาะ ปลูกต้นไม้ เพราะ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถ ผ่านเข้าไปภายในได้ แต่ความร้อนท่ีอยู่ภายใน จะถูกกักเก็บโดยกระจกไม่ให้

5 สะท้อนหรือแผ่ออกสู่ภายนอกได้ ทําให้อุณหภูมิของอากาศภายในอบอุ่น และเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของ พืช แตกต่างจากภายนอกที่ยังหนาวเย็นนักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบเทียบปรากฏการณ์ท่ี ความร้อนภายในโลก ถูกกับดักความร้อนหรือก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases) เก็บกักเอาไว้ไม่ให้สะท้อนหรือแผ่ออกสู่ ภายนอกโลกว่าเป็นปรากฏการณ์เรือนกระจก โลกของเราตามปกติมีกลไกควบคุมภูมิอากาศโดยธรรมชาติอยู่ แล้ว กระจกตามธรรมชาติของโลกคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ําซึ่งจะคอยควบคุมให้อุณหภูมิของโลกโดย เฉล่ียมีค่าประมาณ 15 C และถ้าหากในบรรยากาศไม่มีกระจกตามธรรมชาติ อุณหภูมิของโลกจะลดลงเหลือ เพียง -20 C มนษุ ยแ์ ละพชื ก็จะล้มตายและโลกก็จะเขา้ สยู่ ุคน้าํ แขง็ อีกครั้งหน่ึง ตอนที่ 1.2 กา๊ ซเรือนกระจก ท่ีมา......... http://www.greentheearth.info ก๊าซเรือนกระจก คือ ก๊าซท่ีเป็นองค์ประกอบของบรรยากาศ และมีคุณสมบัติยอมให้รังสีคล่ืนสั้นจาก ดวงอาทิตย์ผ่านทะลุมายังพื้นผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคล่ืนยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ กา๊ ซเรือนกระจกที่สาํ คัญ และเปน็ ผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ สาเหตกุ ารเกิดกา๊ ซเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซชนดิ ทีท่ ําให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลก มากท่ีสุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอ่ืน ๆ เป็นตัวการสําคัญที่สุดของปรากฏการณ์เรือนกระจกท่ีมนุษย์เป็น ผู้กระทาํ ซ่ึงเกดิ จากการเผาไหมเ้ ชอ้ื เพลงิ ถ่านหินเพ่ือผลติ ไฟฟา้ การตดั ไมท้ ําลายปา่ ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เกิดจากของเสียจากสัตว์เล้ียง เช่น วัว ควาย การ ทาํ นาทีล่ ุ่มน้ําทว่ มขัง การเผาไหม้เชอื้ เพลิงถ่านหนิ ก๊าซธรรมชาติ และการทําเหมอื งถา่ นหิน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) เกิดข้ึนเองตามธรรมชาติ และจากการใช้ปุ๋ยไนเตรดในไร่นา การขยายพื้นที่ เพาะปลูก การเผาไหม้ เผาหญ้า มูลสัตว์ที่ย่อยสลาย และเชื้อเพลิงถ่านหินจากอุตสาหกรรมท่ีใช้กรดไนตริกใน ขบวนการผลติ เชน่ อุตสาหกรรมผลิตเสน้ ใยไนลอน อตุ สาหกรรมเคมี หรอื อุตสาหกรรมพลาสตกิ บางชนิด

6 คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon- CFsC) เป็นก๊าซทีส่ ังเคราะห์ข้นึ เพอ่ื ใช้ในการผลิตทาง อุตสาหกรรม เช่น ใช้ในเครื่องทําความเย็นชนิดต่าง ๆ เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องสเปรย์ และเป็นสารผสมทําให้ เกิดฟองในการผลิตโฟม เป็นต้น ซีเอฟซี มีผลกระทบรุนแรงต่อบรรยากาศ ท้ังในด้านทําให้โลกร้อนข้ึน ทําให้ เกดิ ปรากฎการณ์เรอื นกระจก และทําลายบรรยากาศโลกจนเกดิ รรู ่วั ในชัน้ โอโซน

7 กจิ กรรมท่ี 1 บทที่ 1 มารู้จกั สภาวะโลกรอ้ น เร่อื ง สภาวะโลกรอ้ น คําส่งั แบง่ ผเู้ รยี นออกเปน็ 2 กลมุ่ ใหช้ ่วยกันอภิปรายและสรปุ ผล ตามประเดน็ ต่อไปนี้ 1. ให้เขยี นความรู้สึกขณะน่ังในรถยนตแ์ ละความรสู้ กึ ขณะอยูใ่ นท่ีรม่ ทําไมอณุ หภูมภิ ายในรถยนตแ์ ละภายนอก รถยนต์จงึ แตกตา่ งกัน 2. หากโลกมสี ภาพอากาศเหมอื นในรถยนตจ์ ะส่งผลกระทบต่อตนเองและสง่ิ มชี วี ิตบนโลกอย่างไรบ้าง 3. หากโลกมสี ภาพอากาศเหมอื นในที่ร่มจะสง่ ผลกระทบตอ่ ตนเองและสิ่งมชี ีวติ บนโลกอย่างไรบ้าง 4. ใหย้ กตวั อยา่ งเหตกุ ารณท์ ี่เกิดข้นึ ในชมุ ชนหรือในจงั หวัดทน่ี กั เรยี น/ผเู้ รยี นอาศัยอยู่ ท่ีสามารถระบุไดว้ า่ เป็น ผลมาจากการเกิดสภาวะโลกรอ้ น อย่างน้อย ๒ ตวั อยา่ ง 5. ส่งผแู้ ทนกลมุ่ มารายงาน

8 กิจกรรมที่ 2 บทที่ 1 สภาวะโลกรอ้ น เรือ่ ง ปรากฏการณเ์ รือนกระจก คําส่งั แบง่ ผเู้ รยี น กลุม่ ละ 5-6 คน ใหท้ าํ กจิ กรรมต่อไปน้ี 1. ให้ไปศึกษาค้นคว้าการเกดิ ปรากฏการณ์เรือนกระจก จากแหลง่ ความรตู้ ่างๆ เชน่ อนิ เตอร์เน็ต แผน่ CD หนังสอื พิมพ์ วีดีทัศน์ วารสารตา่ งๆ ฯลฯ 2. ชว่ ยกันอภปิ รายและสรปุ ผล ตามประเด็นต่อไปนี้ 2.1. หลกั การเกดิ ปรากฏการณ์เรอื นกระจก 2.2. วาดรปู แสดงการเกดิ ปรากฏการณ์เรอื นกระจกอย่างง่ายๆตามความเข้าใจของท่าน พรอ้ มคาํ อธิบาย 2.3. ปรากฏการณ์เรือนกระจกมปี ระโยชนแ์ ละโทษอย่างไรบา้ ง 3. สง่ ผแู้ ทนกลมุ่ มารายงาน

9 เฉลย ใบกจิ กรรมที่ 1 บทท่ี 1 มารจู้ ักสภาวะโลกรอ้ น วชิ า สภาวะโลกร้อน พว 02018 ระดบั ประถม, ม.ต้น, ม.ปลาย 1. ใหเ้ ขยี นความรสู้ ึกขณะนงั่ ในรถยนตแ์ ละความรสู้ กึ ขณะอยู่ในท่รี ่ม ทาํ ไมอุณหภมู ภิ ายในรถยนตแ์ ละ ภายนอกรถยนตจ์ ึงแตกต่างกัน ตอบ การน่งั อยใู่ นรถทาํ ใหห้ ายใจไม่สะดวก เพราะมกี า๊ ซคารบ์ อนไดออกไซดม์ ากกวา่ กา๊ ซออกซิเจน การนัง่ อยู่ ใตต้ ้นไมจ้ ะไดร้ ับอากาศบริสุทธิ์ เพราะต้นไม้ ในตอนกลางวันจะคายกา๊ ซออกซิเจนออกมา 2. หากโลกมสี ภาพอากาศเหมือนในรถยนต์จะสง่ ผลกระทบต่อตนเองและส่ิงมีชวี ิตบนโลกอย่างไรบ้าง ตอบ เกิดอากาศรอ้ นอบอา้ ว ขาดก๊าซออกซเิ จน ทาํ ให้อากาศรอ้ นไม่เพียงพอกับสง่ิ มีชีวิต 3. หากโลกมสี ภาพอากาศเหมือนในทร่ี ่มจะสง่ ผลกระทบตอ่ ตนเองและสิง่ มชี วี ิตบนโลกอยา่ งไรบา้ ง ตอบ สภาพอากาศเหมาะกับท่ี สิง่ มีชวี ิตเจริญเติบโตไดด้ ี มคี วามสมดุล เฉลย ใบกิจกรรมที่ 2 บทท่ี 1 มารูจ้ กั สภาวะโลกรอ้ น เรอ่ื ง ปรากฏการณเ์ รอื นกระจก วิชา สภาวะโลกร้อน พว 02018 ระดบั ประถม, ม.ตน้ , ม.ปลาย 2.1. หลกั การเกดิ ปรากฏการณเ์ รอื นกระจก ตอบ \"ปรากฏการณเ์ รอื นกระจก\" (greenhouse effect) คือ ปรากฏการณท์ โ่ี ลกมีอุณหภมู สิ งู ข้นึ เนอื่ งจาก พลงั งานแสงอาทติ ย์ ในชว่ งความยาวคลื่นอินฟราเรดท่สี ะท้อนกลับถูกดูดกลนื โดย โมเลกลุ ของ ไอนํา้ คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มเี ทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O) ในบรรยากาศทําใหโ้ มเลกุลเหล่าน้มี พี ลังงานสูงขึน้ มกี ารถา่ ยเทพลังงานซง่ึ กนั และกนั ทําให้ อณุ หภูมใิ นช้นั บรรยากาศสงู ขนึ้ การถา่ ยเทพลงั งานและความยาวคล่ืนของโมเลกลุ เหลา่ นี้ ต่อๆกนั ไป ในบรรยากาศทาํ ใหโ้ มเลกุลเกดิ การสน่ั การเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชน ถูกผิวหนงั ของเรา ทําใหเ้ รารสู้ ึกร้อน 2.3. ปรากฏการณเ์ รือนกระจกมีประโยชนแ์ ละโทษอย่างไรบา้ ง ตอบ มีประโยชน์ คือ โลก ตามปกติจะมีกระจกตามธรรมชาติท่ีมีประโยชน์อย่างมากต่ออุณหภูมิของโลก กระจกตามธรรมชาติของโลกคือก๊าซคารบ์ อนไดออกไซดแ์ ละไอนํ้า ท่ีเรียกว่า “ก๊าซเรือนกระจก” จะปกคลุมอยู่ ที่ผิวโลกด้านบนและทําหน้าที่เหมือนกับกระจกในเรือนกระจก คือคอยควบคุมให้อุณหภูมิของโลกโดยเฉล่ีย มี ค่าประมาณ15 องศาเซลเซียส ถ้าหากในบรรยากาศ ไม่มีกระจกตามธรรมชาติอุณหภูมิของโลกจะลดลงเหลือ เพียง -20องศาเซลเซียส มนษุ ยแ์ ละพืช กจ็ ะล้มตายและโลกกจ็ ะเข้าสู่ยคุ นาํ้ แข็ง มีโทษ คอื \"ก๊าซเรือนกระจก\" ทําให้โลกมีอุณหภมู สิ ูงขน้ึ เม่อื \"ก๊าซเรือนกระจก\" มีปริมาณมากขึ้นก๊าซ เหล่าน้ีจะทําให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นและสูงขึ้นเร่ือย ๆ ซ่ึง \"ปรากฏการณ์เรือนกระจก\" จะทําให้ฤดูหนาวส้ันลง ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานข้ึนและอาจทําให้พ้ืนดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย ในเขตร้อนอาจจะมีพายุ บ่อยครั้งและรุนแรง ส่วนท่ีบริเวณขั้วโลกความร้อนจะทําให้หิมะละลาย เมื่อหิมะละลายปริมาณนํ้าในทะเลก็จะ เพ่มิ ขน้ึ มีผลตอ่ การเกดิ อุทกภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืช และสัตว์เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ทําให้ปาก ใบของพืชปิดไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ําได้ การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิด อาจไดร้ บั ความกระทบกระเทอื นตอ่ เนือ้ เยื่อตาผวิ หนงั และเปน็ เหตใุ ห้สตั วต์ ่าง ๆ สูญพันธไุ์ ปในทส่ี ุด

10 บทท่ี 2 สาเหตแุ ละผลกระทบของสภาวะโลกร้อน

11 ความนาํ เราคงทราบแล้วว่าสภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่มีก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศมาก เกินไป ก๊าซเรือนกระจกตัวหน่ึงท่ีสําคัญ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงเพ่ือใช้ งาน มนุษย์เองเปน็ ผู้ปล่อยก๊าซน้อี อกมาเป็นจํานวนมากเพื่อนําพลังงานมาใช้ ย่ิงเราใช้พลังงานมากเท่าใด ก็ยิ่ง ได้ก๊าซเรือนกระจกออกมามากข้ึนเป็นเงาตามตัว หากเราพิจารณาอัตราการใช้พลังงานในช่วงคร่ึงศตวรรษที่ ผา่ นมา จะพบวา่ สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นอย่างดี และไม่มีแนวโน้ม วา่ จะลดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ท่ีเกิดข้ึนต่อเน่ืองกันน้ี ที่จริงแล้วเป็นกระบวนการรักษาตัวเองของโลก ‘หากเป็น สภาวะที่เกดิ ขน้ึ ตามธรรมชาติ โลกจะกลับมาสู่สภาวะสมดุลไดใ้ นเวลาไม่นานนัก แต่เน่ืองจากมนุษย์เราเร่งผลิต ก๊าซเรือนกระจกออกมามากเกินขีดความสามารถ ของโลกที่จะเยียวยาตนเองได้ทัน การเกิดสภาวะโลกร้อน อย่างรวดเร็วและรุนแรงจงึ เกิดข้ึน กลา่ วโดยสรปุ กค็ อื สาเหตทุ ่ีทาํ ให้เกิดสภาวะโลกรอ้ นในครงั้ นี้ ก็คอื มนุษย์

12 แผนการเรียนรปู้ ระจาํ บท บทท่ี 2 สาเหตแุ ละผลกระทบของสภาวะโลกร้อน สาระสาํ คญั สาเหตุการเกิดสภาวะโลกรอ้ น ปฏบิ ัติการทดลองดว้ ยการจําลองสถานการณ์สภาวะโลกรอ้ น ผลกระทบจากสภาวะโลกรอ้ น ทีม่ ีต่อสง่ิ มชี วี ติ และสิ่งแวดล้อม แนวทางแกไ้ ขและปอ้ งกนั สภาวะโลกร้อน ผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวงั เมอื่ ศกึ ษาบทที่ 2 จบแล้วผเู้ รยี นสามารถมคี วามรู้ ความเขา้ ใจเกี่ยวกับสาเหตแุ ละผลกระทบของสภาวะ โลกร้อนที่มีต่อสง่ิ มชี วี ิตและสงิ่ แวดลอ้ ม ขอบข่ายเน้ือหา 2.1 สาเหตขุ องสภาวะโลกรอ้ น 2.2 ผลกระทบของสภาวะโลกรอ้ น กิจกรรมการเรยี นรู้ ขัน้ ตอนการเรยี นรู้ 1. ทาํ แบบทดสอบก่อนเรยี นบทท่ี 2 2. ศกึ ษาใบความรู้ บทที่ 2 ตอนที่ 1 3. ทําใบกิจกรรมที่ 1 บทท่ี 2 4. ศึกษาใบความรู้ บทที่ 2 ตอนท่ี 2 5. ทาํ ใบกจิ กรรมที่ 2 บทท่ี 2 6. ทําแบบทดสอบหลังเรยี นบทที่ 2 ส่อื การสอน 1. ใบความรู้ บทท่ี 2 เร่ืองสาเหตแุ ละผลกระทบของสภาวะโลกร้อน 2. ใบกจิ กรรมที่ 1 , 2 ประเมนิ ผล 1.แบบทดสอบกอ่ นเรียนและหลงั เรยี น 2.แผนการเรยี นรู้ 3.รายงานผลการเรียนรูโ้ ดยใบงาน

13 ตอนที่ 2.1 สาเหตุของสภาวะโลกรอ้ น สาเหตขุ องสภาวะโลกรอ้ น ปรากฏการณ์ท้ังหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนข้ึนท่ีมีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆ จากโรงงาน อตุ สาหกรรม ทาํ ให้แสงอาทติ ยส์ อ่ งทะลุผา่ นชั้นบรรยากาศมาสพู่ ้ืนโลกไดม้ ากข้ึน ซงึ่ นัน่ เปน็ ทีร่ ู้จกั กนั โดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก พลังงานจากดวงอาทิตย์เป็นคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า มีทั้งรังสีคล่ืนส้ันและคล่ืนยาว บรรยากาศของโลกทํา หน้าที่ปกป้องรังสีคล่ืนสั้นไม่ให้ลงมาทําอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกได้ โมเลกุลของก๊าซไนโตรเจนและ ออกซิเจนในบรรยากาศชั้นบนสุดจะดูดกลืนรังสีแกมมาและรังสีเอ็กซ์จนทําให้อะตอมของก๊าซในบรรยากาศช้ัน บนมีอุณหภูมิสูง และแตกตัวเป็นประจุ (บางคร้ังเราเรียกชั้นบรรยากาศท่ีเต็มไปด้วยประจุน้ีว่า \"ไอโอโนสเฟียร์\" มปี ระโยชน์ในการสะท้อนคลน่ื วทิ ยสุ ําหรับการสื่อสาร) รังสีอลุ ตราไวโอเลต็ สามารถสอ่ งผา่ นบรรยากาศช้ันบนลง มา แต่ถูกดูดกลืนโดยก๊าซโอโซนในชั้นสตราโตสเฟียร์ที่ระยะสูงประมาณ 19 - 48 กิโลเมตร แสงแดดหรือแสงท่ี ตามองเห็นสามารถส่องลงมาถึงพ้ืนโลก รังสีอินฟราเรดถูกดูดกลืนโดยก๊าซเรือนกระจก เช่น ไอน้ําและ คาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นโทรโปสเฟียร์ ส่วนคลื่นไมโครเวฟและคล่ืนวิทยุในบางความถ่ีสามารถส่องทะลุช้ัน บรรยากาศได้ สําหรับ บรรยากาศของโลกประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซอาร์กอน 0.9% นอกน้ันเป็นไอน้ํา และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จํานวนเล็กน้อย แม้ว่าไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอน จะเป็นองค์ประกอบหลักของบรรยากาศ แต่ก็มิได้มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของโลก ในทางตรงกันข้ามก๊าซโมเลกุล ใหญ่ เช่น ไอน้ํา คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน แม้จะมีอยู่ในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย กลับมีความสามารถใน การดดู กลืนรงั สีอินฟราเรด และมีอิทธิพลทําให้อณุ หภมู ิของโลกอบอุ่น เราเรียกก๊าซพวกน้ีว่า \"ก๊าซเรือนกระจก\" (Greenhouse gas) เน่อื งจากคณุ สมบัติในการเกบ็ กักความร้อน หากปราศจากก๊าซเรือนกระจกแล้ว พ้ืนผิวโลก จะมีอุณหภมู ิเพียง -18 องศาเซลเซียส ซง่ึ น่นั ก็หมายความว่านาํ้ ท้งั หมดบนโลกนจ้ี ะกลายเป็นน้าํ แขง็

14 ตอนที่ 2.2 กา๊ ซและสารทม่ี ีผลกระทบตอ่ ภาวะโลกร้อน กา๊ ซและสารทม่ี ผี ลกระทบต่อภาวะโลกรอ้ น มที ั้งหมด 6 ชนดิ ได้แก่ 1.ไอนา้ํ (H2O) เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากท่ีสุดบนโลก มีอยู่ในอากาศประมาณ 0 - 4% ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิ ประเทศ ภูมิอากาศ และอุณหภูมิ ในบริเวณเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรและชายทะเลจะมีไอนํ้าอยู่มาก ส่วนใน บริเวณเขตหนาวแถบขั้วโลก อุณหภูมิตํ่า จะมีไอน้ําในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย ไอน้ําเป็นสิ่งจําเป็นต่อส่ิงมีชีวิต ไอนํ้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรน้ําในธรรมชาติ น้ําสามารถเปลี่ยนสถานะไปมาทั้ง 3 สถานะ จึงเป็นตัวพาและ กระจายความรอ้ นแกบ่ รรยากาศและพ้นื ผวิ ไอน้าํ เกิดจากโดยฝมี ือมนุษย์ 2 วิธี คอื จากการเผาไหมเ้ ช้อื เพลงิ หรือก๊าซธรรมชาติ และจากการหายใจ และคายนํ้าของสตั วแ์ ละพชื ในการทําเกษตรกรรม 2.ก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ (CO2) ในยคุ เร่ิมแรกของโลกและระบบสรุ ิยะ มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถึง 98% เน่ืองจากดวง อาทิตย์ยังมีขนาดเล็กและแสงอาทิตย์ยังไม่สว่างเท่าทุกวันนี้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทําให้โลกอบอุ่น เหมาะสําหรับเป็นถิ่นท่ีอยู่อาศัยของส่ิงมีชีวิต ครั้นกาลเวลาผ่านไปดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้น น้ําฝนได้ละลาย คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศลงมายังพ้ืนผิว แพลงตอนบางชนิดและพืชตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ มาสร้างเป็นอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสง ทําให้ภาวะเรือนกระจกลดลง โดยธรรมชาติก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เกิดข้ึนจากการหลอมละลายของหินปูน ซ่ึงโผล่ข้ึนมาจากปล่องภูเขาไฟ และการหายใจของ สิง่ มชี ีวติ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซดม์ ปี รมิ าณเพิม่ ข้นึ เนอ่ื งจากการเผาไหม้ในรูปแบบตา่ ง ๆ เช่น การเผาไหม้ เชือ้ เพลิง โรงงานอตุ สาหกรรม การเผาป่าเพ่ือใชพ้ ้ืนทีส่ าํ หรับอยูอ่ าศยั และการทําปศสุ ตั ว์ เปน็ ต้น โดยการเผาป่า เปน็ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซดข์ ึน้ สู่ชน้ั บรรยากาศได้โดยเร็วทส่ี ดุ เน่อื งจากตน้ ไม้มีคุณสมบตั ิในการตรึง กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ไวก้ ่อนท่ีจะลอยขน้ึ สชู่ ั้นบรรยากาศดงั น้นั เมื่อพ้ืนทปี่ ่าลดนอ้ ยลงกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์ จงึ ลอยขึ้นไปสะสมอยู่ในบรรยากาศไดม้ ากยงิ่ ขึน้ และทําใหพ้ ลังงานความรอ้ นสะสมบนผวิ โลกและในบรรยากาศ เพม่ิ ขึ้นประมาณ 1.56 วตั ต์/ตารางเมตร (ปริมาณน้ียงั ไมค่ ดิ รวมผลกระทบทเี่ กิดขึ้นทางอ้อม และจากตวั เลขท่ี ได้สาํ รวจลา่ สุดนนั้ เรียงตามลาํ ดบั ประเทศท่ีมปี ริมาณคารบ์ อนไดออกไซด์ (CO2) ท่ปี ล่อยควนั พษิ ของโลกมีปรมิ าณสะสมมาตง้ั แต่ปี 1950 ดงั น้ี • สหรฐั อเมริกา 186,100 ล้านตนั • สหภาพยโุ รป 127,800 ล้านตัน • รัสเซยี 68,400 ลา้ นตัน • จนี 57,600 ลา้ นตัน • ญ่ีปุ่น 31,200 ลา้ นตัน

15 • ยเู ครน 21,700 ล้านตนั • อนิ เดีย 15,500 ลา้ นตัน • แคนาดา 14,900 ล้านตัน • โปแลนด์ 14,400 ลา้ นตนั • คาซัคสถาน 10,100 ล้านตัน • แอฟริกาใต้ 8,500 ล้านตนั • เมก็ ซโิ ก 7,800 ลา้ นตัน • ออสเตรเลีย 7,600 ล้านตนั 3.ก๊าซมเี ทน (CH4) เกิดข้ึนจากการย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต แม้ว่ามีก๊าซมีเทนอยู่ในอากาศเพียง 1.7 ppm แต่ก๊าซ มเี ทนมีคุณสมบัติของก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือด้วยปริมาตรที่เท่ากัน ก๊าซมีเทน สามารถดูดกลนื รงั สีอินฟราเรดไดด้ กี ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนมีปริมาณเพิ่มข้ึนเนื่องจากการทํานาข้าว ปศุสัตว์ และการเผาไหม้มวลชีวภาพ การเผา ไหม้เช้อื เพลงิ ประเภทถ่านหนิ นาํ้ มัน และกา๊ ซธรรมชาติ การเพ่ิมขนึ้ ของก๊าซมเี ทนสง่ ผลกระทบโดยตรงต่อภาวะ เรือนกระจกมากเป็นอันดับ 2 รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พลังงานรวมที่เกิดขึ้นโดยเฉล่ีย 0.47 วัตต์/ ตารางเมตร 4.ก๊าซไนตรสั ออกไซด์ (N2O) ปกติก๊าซชนิดนี้ในธรรมชาติเกิดจากการย่อยสลายซากส่ิงมีชิวิตโดยแบคทีเรีย แต่ที่มีเพ่ิมสูงข้ึนใน ปัจจุบัน เน่ืองมาจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติกบางชนิด เป็นต้น ก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เพิ่มข้ึนส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่ม พลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์/ตารางเมตร นอกจากน้ันเมื่อก๊าซไนตรัสออกไซด์ ลอยขึ้นสู่บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ มันจะทําปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทําให้เกราะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเล็ต ของโลกลดน้อยลง 5.สารประกอบคลอโรฟลูออโรคารบ์ อน (CFC) หรือเรยี กอกี ช่ือหนึ่งวา่ \"ฟรอี อน\" (Freon) มไิ ดเ้ กดิ ขึ้นเองตามธรรมชาติ แตเ่ ป็นสงิ่ ประดิษฐข์ อง มนษุ ย์ มแี หลง่ กาํ เนิดมาจากโรงงานอุตสาหกรรม และอปุ กรณเ์ ครอื่ งใช้ในชวี ติ ประจําวัน เช่น ตูเ้ ย็น เคร่ืองปรบั อากาศ และสเปรย์ เปน็ ต้น สาร CFC มอี งคป์ ระกอบเป็นคลอรีน ฟลอู อไรด์ และโบรมนี ซ่งึ มีความสามารถในการทาํ ลาย โอโซน ตามปกติสาร CFC ในบรเิ วณพน้ื ผวิ โลกจะทําปฏิกิริยากับสารอน่ื แตเ่ มื่อมนั ดดู กลนื รังสอี ุลตราไวโอเล็ต ในบรรยากาศช้ันสตราโตสเฟียร์ โมเลกุลจะแตกตัวใหค้ ลอรนี อะตอมเดี่ยว และทาํ ปฏกิ ิรยิ ากบั กา๊ ซโอโซน เกิด กา๊ ซคลอรีนโมโนออกไซด์ (ClO) และก๊าซออกซิเจน หากคลอรีนจาํ นวน 1 อะตอม ทาํ ลายก๊าซโอโซน 1 โมเลกุล ไดเ้ พยี งครง้ั เดียว ก็คงไมเ่ ปน็ ปญั หา แตท่ ว่าคลอรนี 1 อะตอม สามารถทาํ ลายกา๊ ซโอโซน 1 โมเลกุล ได้ นับพนั คร้งั เนอื่ งจากเม่ือคลอรนี โมโนออกไซด์ทาํ ปฏิกริ ิยากบั ออกซิเจนอะตอมเดีย่ ว แล้วเกดิ คลอรีนอะตอม เด่ยี วขึ้นอีกคร้ัง ปฏิกิริยาลูกโซ่เชน่ นีจ้ งึ เปน็ การทําลายโอโซนอย่างต่อเน่ือง

16 ปัจจุบันแม้ว่าจะมีการจํากัดการใช้ก๊าซประเภทนี้ให้น้อยลง 40% เม่ือเทียบกับ 10 กว่าปีก่อน แต่ ปริมาณสารคลอโรฟลอู อโรคาร์บอนทีย่ งั คงสะสมอยู่ในช้ันบรรยากาศ ยังเป็นต้นเหตุที่ทําให้มีพลังงานความร้อน สะสมบนพน้ื ผิวโลกประมาณ 0.28 วตั ตต์ ่อตารางเมตร 6.โอโซน (O3) เปน็ ก๊าซทป่ี ระกอบดว้ ยธาตุออกซิเจนจํานวน 3 โมเลกุล มีอยู่เพียง 0.0008% ในบรรยากาศ โอโซน ไม่ใช่ก๊าซท่ีมีเสถียรภาพสูง มันมีอายุอยู่ในอากาศได้เพียง 20 - 30 สัปดาห์ แล้วสลายตัว โอโซนเกิดจากก๊าซ ออกซเิ จน (O2) ดูดกลืนรงั สีอุลตราไวโอเลต็ แล้วแตกตวั เป็นออกซเิ จนอะตอมเดีย่ ว (O) จากนั้นออกซิเจนอะตอม เด่ียวรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนและโมเลกุลชนิดอ่ืน (M)ที่ทําหน้าท่ีเป็นตัวกลาง แล้วให้ผลผลิตเป็นก๊าซโอโซน ออกมา กา๊ ซโอโซนมี 2 บทบาท คอื เป็นทัง้ พระเอกและผู้ร้ายในตวั เดยี วกนั ขน้ึ อยู่วา่ มันวางตัวอย่ทู ใ่ี ด 6.1โอโซนในช้ันสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere Ozone) เป็นเกราะป้องกันรังสีอุลตราไวโอเล็ต (UV) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ในธรรมชาติโอโซนที่ เกดิ ข้นึ บนพื้นผิวมีเพียง 10% โอโซนส่วนใหญ่ในชั้นสตราโตสเฟียร์รวมตัวเป็นช้ันบาง ๆ ที่ระยะสูงประมาณ 20 - 30 กิโลเมตร ทําหน้าที่กรองรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์ออกไป 99% ก่อนถึงพ้ืนโลก หากร่างกาย มนุษย์ได้รับรังสีนี้มากเกินไป จะทําให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ส่วนจุลินทรีย์ขนาดเล็ก อย่างเช่นแบคทีเรียก็จะถูกฆ่า ตาย 6.2โอโซนในช้นั โทรโพสเฟยี ร์ (Troposphere Ozone) เป็นก๊าซพิษท่ีเป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด โดยดูดกลืนรังสี อินฟราเรด ทําให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 2.85 วัตต์/ตารางเมตร โอโซนในชั้นนี้เกิด จากการเผาไหม้มวลชีวภาพและการสันดาปของเคร่ืองยนต์ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการจราจรติดขัด เครื่องยนต์ เคร่ืองจักร และโรงงานอุตสาหกรรม ซ่ึงปะปนอยู่ในหมอกควัน เมื่อโอโซนอยู่ในบรรยากาศชั้นล่างหรือเหนือ พื้นผิว มันจะให้โทษมากกว่าให้คุณ เน่ืองจากเป็นพิษต่อร่างกาย ดังนั้นคําพูดที่ว่า \"ออกไปสูดโอโซนให้สบาย ปอด\" จงึ เป็นความเข้าใจผดิ 6.3การลดลงของโอโซน นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณข้ัวโลกใต้ เกิดขึ้นจากกระแสลมพัดคลอรีนเข้ามาสะสมในก้อนเมฆในช้ันสตราโตสเฟียร์ในช่วงฤดูหนาวราวเดือน พฤษภาคม - กันยายน (อนึ่งข้ัวโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เน่ืองจากอุณหภูมิไม่ต่ําพอท่ีจะทําให้เกิด การควบแน่นของไอน้ําในอากาศ) เม่ือถึงเดือนตุลาคม ซ่ึงแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ทําให้คลอรีน อะตอมอิสระแยกตัวออกและทําปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน ทําให้เกิดรูโหว่ขนาดใหญ่ของช้ันโอโซน เรียกว่า\"รู โอโซน\" (Ozone hole)

17 ตารางแสดงกา๊ ซเรือนกระจกและแหลง่ ทม่ี า กา๊ ซเรอื นกระจก แหล่งทม่ี า สง่ ผลใหโ้ ลก ร้อนข้นึ (%) กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์ 1) จากแหลง่ ธรรมชาติ เชน่ กระบวนการหายใจของส่ิงมชี วี ติ (CO2) 2) จากมนุษย์ เช่น การเผาไหมเ้ ช้ือเพลิงจากโรงงานอุตสาหกรรม 57 ตา่ งๆ การตัดไม้ทําลายปา่ (ลดการดดู ซบั CO2) ก๊าซมีเทน 1) จากแหล่งธรรมชาติ เชน่ จากการยอ่ ยสลายของสิง่ มีชวี ิต การเผา 12 (CH4) ไหมท้ เ่ี กิดจากธรรมชาติ 2) จากมนุษย์ เชน่ จากนาข้าว แหล่งนํ้าทว่ ม จากการเผาไหม้ เช้อื เพลิงประเภทถ่านหนิ นํ้ามัน และกา๊ ซธรรมชาติ 1) จากแหลง่ ธรรมชาติ – อยใู่ นภาวะท่ีสมดลุ กา๊ ซไนตรสั ออกไซด์ 2) จากมนษุ ย์ เช่น อุตสาหกรรมทใี่ ชก้ รดไนตริกในขบวนการผลติ , 6 (N2O) อตุ สาหกรรมพลาสติก อตุ สาหกรรมไนลอน อตุ สาหกรรมเคมี การ เผาไหม้เชือ้ เพลงิ จากซากพชื และสตั ว์ ปุย๋ การเผาป่า กา๊ ซท่มี สี ว่ นประกอบ จากมนษุ ย์ เชน่ อตุ สาหกรรมต่างๆ และอปุ กรณ์เคร่อื งใช้ใน 25 คลอโรฟลอู อโรคาร์บอน ชีวิตประจําวนั เช่น โฟม กระปอ๋ งสเปรย์ เครอ่ื งทําความเย็น ตเู้ ย็น แอร์ ตัวทําลาย (ก๊าซน้ีจะรวมตวั ทางเคมไี ดด้ ีกับโอโซนทําให้โอโซนใน (CFCS) ช้ันบรรยากาศลดลงหรอื เกิดรูรว่ั ในชน้ั โอโซน) ตอนที่ 2.3 ผลกระทบของสภาวะโลกรอ้ น ภาวะโลกร้อนทําให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อส่ิงมีชีวิตต่างๆ ท่ีจําเป็นจะต้องปรับตัว เพื่อเอาตัวรอดจากสภาพแวดลอ้ มทเี่ ปล่ียนไป บางสายพันธุ์ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ก็มีโอกาสที่จะสูญพันธุ์ไปจาก โลกนี้เลยทีเดียว ยกตัวอย่างสัตว์โลกที่กําลังได้รับความเดือดร้อนจากภาวะโลกร้อนโดยตรงในตอนนี้ก็คือสัตว์ที่ อาศยั อยบู่ รเิ วณนาํ้ แขง็ ขว้ั โลกอย่างนกเพนกวนิ และหมขี ้ัวโลก สําหรับมนุษย์ผู้ซึ่งเป็นตัวการสําคัญท่ีทําให้เกิดภาวะโลกร้อนน้ันก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ท่ี เห็นกันได้ค่อนข้างชัดเลยก็คือสภาพอากาศที่รนุ แรงขน้ึ ท่ีไหนแห้งแล้งกจ็ ะแหง้ แลง้ อย่างรุนแรง ขาดน้ําสะอาดท่ี จะใช้บริโภคและไม่มีนํ้าพอที่จะใช้ทําการเกษตรกรรม ในขณะเดียวกันถึงเวลาหน้าฝน น้ําก็เทลงมามากจนเกิน ความต้องการ ส่งผลทาํ ให้เกดิ อทุ กภัยอย่างหนัก ผลผลติ ทางการเกษตรเสียหาย พืชผลที่ผลิตได้มีจํานวนน้อยลง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศภาวะโลกร้อนนั้นส่งผลกระทบในหลายๆด้าน สามารถแยกออกเป็น หัวข้อ ดงั น้ี

18 เร่ืองท่ี 2.3.1 ผลกระทบทม่ี ตี ่อระบบนิเวศวทิ ยา เม่ืออุณหภูมิสูงขึ้นก็ส่งผลให้น้ําแข็งข้ัวโลกละลาย เม่ือนํ้าแข็งจํานวนมากละลายลงก็ทําให้ปริมาณนํ้า ทะเลในโลกของเรานั้นสูงข้ึน ซึ่งส่งผลโดยตรงเลยก็คือทําให้น้ําท่วม สถานท่ีๆเรารู้จักกันหลายๆท่ีก็จะจมมิดอยู่ ใตท้ ้องทะเล อย่างเชน่ หมเู่ กาะมลั ดฟี ส์ และกรุงเทพมหานครเมอื งหลวงของเราก็เช่นกัน นอกจากน้ันปริมาณนํ้าที่เพิ่มข้ึนมาบวกกับอุณหภูมิท่ีสูงข้ึนส่งผลให้ระบบนิเวศของท้องทะเลเปล่ียนไป ทําใหส้ ตั ว์น้ําจํานวนมากปรับตัวไม่ได้และจะต้องตายลงไป ตอนน้ีท่ีเห็นอยู่กันทั่วโลกก็คือปรากฏการณ์ฟอกขาว ของปะการงั เกิดจากการทโี่ พลิปของปะการังนน้ั ตายเพราะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมไม่ได้ เหลือไว้แต่ส่วนท่ี เป็นโครงสร้างสีขาวไร้ซึ่งชีวิต ไม่ต่างอะไรกับโครงกระดูกของส่ิงมีชีวิตที่ตายแล้ว ซ่ึงปะการังนั้นเป็นแหล่ง อนุบาลสัตว์นํ้าที่สําคัญมาก ถ้าไม่มีปะการังสัตว์นํ้าต่างๆก็จะลดจํานวนลงไป และบางชนิดอาจสูญพันธุ์ไปใน ทีส่ ดุ อีกผลกระทบที่พวกเราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยก็คือภัยพิบัติจากธรรมชาติท่ีเกิดบ่อยขึ้น และรุนแรงมาก ขึ้น เป็นเพราะสภาพอากาศเปล่ียนแปลงไป ฤดูหนาวส้ันลง ฤดูร้อนยาวนานข้ึน และเมื่ออุณหภูมิของโลกสูงขึ้น นํ้าจากทะเลและจากแหลง่ นํา้ ต่างๆก็เกิดการระเหยมากข้ึน ปริมาณนํ้าฝนที่ตกลงมาก็จะมีปริมาณที่สูงขึ้นจนทํา ใหเ้ กดิ น้ําท่วมในหลายพื้นที่ ต่อไปอาหารและนํ้าสะอาดก็จะขาดแคลน เพราะว่าพืชผลปลูกได้ยากขึ้นจากการท่ี อากาศเปลี่ยนไป ซํา้ ยังมีภยั พบิ ตั มิ าคอยทาํ ลายพน้ื ท่ีเพาะปลกู และพชื ผลให้เสยี หายอกี ด้วย เรื่องที่ 2.3.2 ผลกระทบทม่ี ตี อ่ เศรษฐกจิ อย่างที่กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว เมื่อสัตว์นํ้ามีจํานวนน้อยลงก็ทําให้สูญเสียรายได้จากการจับสัตว์น้ํา แหล่งทอ่ งเท่ยี วใตน้ ้าํ ทเ่ี คยสวยงามท่เี คยมกี ็หมดไป ทําใหส้ ่งผลกระทบตอ่ ธรุ กิจการทอ่ งเที่ยว อีกท้ังการเกษตรก็ ได้รับผลกระทบไปด้วย ปริมาณพืชผลท่ีเคยผลิตได้มากมายก็ลดน้อยไป ส่งผลให้อาหารการกินแพงขึ้น และ สินคา้ ขาดตลาด ภัยพิบัติท่ีรุนแรงยังส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่โรงงานและแหล่งอุตสาหกรรมอีกด้วย จะเห็นได้จาก นํ้าท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ที่โรงงานและนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งได้รับความเสียหาย อีกทั้งยังต้องใช้งบ เพิ่มขน้ึ เพ่อื ใชใ้ นการป้องกันภัยพบิ ตั ทิ อี่ าจจะเกิดขนึ้ อีกในอนาคต และยงั สง่ ผลตอ่ ความเช่ือมั่นของผลู้ งทุนดว้ ย เรอื่ งที่ 2.3.3 ผลกระทบในด้านของสุขภาพ อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นนั้นส่งผลให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมของการดํารงชีวิตของแบคทีเรียและศัตรูพืช หลายๆชนิด ซึ่งทําให้ในอนาคตจะมีผู้ท่ีติดเชื้อและล้มป่วยมากขึ้น ยกตัวอย่างโรคไข้เลือดออกท่ีทุกคนรู้จักกันดี รวมไปถงึ ไขม้ าลาเรีย อหิวาตกโรคก็จะระบาดเพม่ิ ขน้ึ มากในอีกประมาณ 20 ปีข้างหนา้ ภัยพิบัติต่างๆทําให้การดํารงชีวิตนั้นยากลําบากมากขึ้น อย่างเช่นการเกิดอุทกภัยทําให้เกิดการ ปนเป้อื นของสิง่ สกปรกในน้าํ ท่ีเราใช้อุปโภคบริโภค อาหารมีราคาแพงข้ึน ทําให้ผู้คนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และทาํ ใหร้ ่างกายไม่แข็งแรง ยกตัวอย่างประเทศท่ีขาดแคลนอาหารและน้ําด่ืมในแถบแอฟริกาบางประเทศ ทุก คนน่าจะพอเคยเหน็ ภาพเหลา่ นน้ั มาบา้ งแลว้ ในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าโลกของเราจะเกิดการเปล่ียนแปลงไปมาก การใช้ชีวิตก็จะลําบากมากขึ้น กว่าตอนน้ี เน่อื งจากธรรมชาติทีม่ ถี ูกทาํ ลายไปจนเกือบจะไม่เหลือ ถึงตอนนั้นเช่ือว่าจะต้องมีคนคิดว่าเมื่อ 20 ปี ที่แล้ว…พวกเรากาํ ลังทาํ อะไรกนั อยู่

19 ผลกระทบจากสภาวะโลกรอ้ นที่สง่ ผลต่อประเทศไทย 1.ระดับนํ้าทะเลเพ่ิมสูงข้ึน นกั วิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าระดับน้ําทะเลอาจสูงข้ึนอีกถึง 90 เซนติเมตรในอีกหนึ่งร้อยปีข้างหน้า ซึ่ง จะทาํ ให้ประเทศไทยได้รบั ผลกระทบทัง้ ทางดา้ นกายภาพและชีวภาพตา่ งๆ หลายประการ สถาบันส่ิงแวดล้อมไทยประเมินไว้ในรายงานการศึกษาเพื่อจัดทําแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยการ เปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยว่า มีสิ่งช้ีชัดในเร่ืองความเป็นไปได้ของภาวะการขาดแคลนน้ําใน พื้นท่ีลุ่มนํ้าท่ีใหญ่ท่ีสุดของประเทศ และอุทกภัยที่ถ่ีขึ้นและรุนแรงย่ิงขึ้นในพื้นท่ีราบลุ่ม เม่ือพิจารณาถึงความ เป็นไปได้ของระดับน้ําในมหาสมุทรท่ีสูงข้ึน โดยเฉพาะในบริเวณชายฝ่ังของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงและ ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ท้ังยังมีความหนาแน่นของประชากรสูง และอยู่เหนือระดับนํ้าทะเลเพียง 1 เมตร เท่านัน้ ระดับการรกุ ของน้ําเค็มจะเข้ามาในพื้นที่แม่นํ้าเจ้าพระยาถึง 40 กิโลเมตร ส่งผลกระทบรุนแรงต่อพื้นท่ี เกษตรกรรมท่ีมีความอ่อนไหวต่อความสมดุลย์ของน้ําจืดและน้ําเค็มในพื้นที่ นอกจากน้ี กรุงเทพฯ ยังเส่ียงต่อ ความเสยี หายจากเหตุการณ์นํา้ ล้นตล่งิ และอทุ กภยั ท่ีจะก่อความเสียหายกับระบบสาธารณูปโภค ท่ีอยู่อาศัยของ คนจํานวนมาก รวมถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกจิ ท่ีจะตามมา ส่วนพื้นที่ชายฝ่ังจะได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ประเทศไทยมีแนวชายฝ่ังยาวประมาณ 2,490 กิโลเมตร อันประกอบไปด้วยพ้ืนท่ีเกษตรกรรม แหล่งเพาะเล้ียงสัตว์นํ้า พื้นที่ท่ีเป็นแหล่งท่องเท่ียวและท่ีอยู่ อาศัย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศท่ีมีต่อพ้ืนที่ชายฝั่งแตกต่างกันไปเป็นกรณี เนื่องจาก ประเทศไทยมีพ้ืนท่ชี ายฝ่งั หลายแบบ เชน่ พ้ืนที่ชายฝงั่ ทีเ่ ปน็ หน้าผา อาจจะมกี ารยบุ ตวั เกิดข้ึนกับหินท่ีไม่แข็งตัว พอ แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ส่วนชายหาดจากเพชรบุรีถึงสงขลาซึ่งมีลักษณะชายฝ่ังท่ีแคบจะ หายไป และชายหาดจะถูกรน่ เข้ามาถงึ พน้ื ทร่ี าบรมิ ทะเล ส่วนพ้ืนที่ป่าชายเลนจะมีความหนาลดลงและอาจถูกแทนที่ด้วยหาดเลน เนื่องจากพืชตายจาก ระดับนํ้าทะเลท่ีสูงขึ้น แอ่งนํ้าเค็มลดลงและถูกแทนท่ีด้วยหาดเลน ในขณะที่ปากแม่นํ้าจะจมลงใต้น้ําทําให้เกิด การชะล้างพังทลายของพ้ืนที่ลุ่มน้ําข้างเคียง ทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นแหล่งน้ําชายฝั่งจะมีพ้ืนท่ีเพ่ิมขึ้นและอาจมี นา้ํ เค็มรกุ เข้ามามากข้นึ ตัวอย่างอ่ืนๆของพื้นท่ีท่ีจะได้รับความเสียหาย คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี หากระดับน้ําทะเลสูงขึ้นอีก 1 เมตร พ้ืนที่ร้อยละ 34 ของจังหวัดจะถูกกัดกร่อนและพังทลาย ก่อให้เกิดความเสียหายกับพื้นท่ีการเกษตร และนากุง้ ในบรเิ วณดังกลา่ วดว้ ย 2.ผลกระทบตอ่ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกท่ีเพ่ิมสูงข้ึนจะทําให้การระเหยของน้ําทะเลในมหาสมุทร แม่น้ํา ลําธาร และ ทะเลสาบเพมิ่ มากข้นึ ยิ่งทําใหฝ้ นตกมากข้ึน และกระจกุ ตวั อยูใ่ นบางบริเวณ ทําให้เกิดอุทกภัย ส่วนบริเวณอื่นๆ ก็จะเกิดปญั หาแห้งแล้ง เนื่องจากฝนตกนอ้ ยลง กล่าวคือ พื้นทีภ่ าคใต้จะมีฝนตกชุก และเกิดอุทกภัยบ่อยคร้ังข้ึน ในขณะท่ีภาคเหนอื และตะวันออกเฉียงเหนอื ตอ้ งเผชญิ กบั ภัยแล้งมากขึ้น

20 การประเมินอย่างเป็นระบบในด้านผลกระทบป่าไม้และทรัพยากรนํ้าในการศึกษาล่าสุด ช้ีให้เห็นว่า ทรัพยากรเหล่านี้ประสบกับอัตราเสี่ยงในระดับสูง ป่าไม้ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสท่ีจะ ประสบความแหง้ แลง้ ขน้ึ ซึ่งสอดคลอ้ งกับการพยากรณ์ปริมาณน้ําฝนท่ีน้อยลง แต่ฝนจะตกเพ่ิมขึ้นในภาคใต้ ซ่ึง มผี ลให้เกดิ การเปล่ียนแปลงสดั ส่วนของประเภทของปา่ ไมข้ องประเทศและการคกุ คามต่อระบบนิเวศ รูปแบบของฝนและอุณหภูมิท่ีเปล่ียนแปลงไปทําให้วัฏจักรของน้ําเปล่ียนแปลง ลักษณะการไหลของ ระบบนํ้าผิวดิน และระดับน้ําใต้ดินก็จะได้รับผลกระทบด้วย ท้ังพืชและสัตว์จึงต้องปรับปรุงตัวเองเข้าสู่ระบบ นเิ วศที่เปลีย่ นไป ลกั ษณะความหลากหลายทางชีวภาพกจ็ ะเปลย่ี นแปลงตามไปด้วย การเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอาจจะมีผลกระทบที่ต่อเน่ืองถึงการเปลี่ยนแปลงชนิดและการ แพร่กระจาย รวมถึงความสมบรู ณ์ของป่าไม้ไทยในอนาคตด้วย ยกตัวอย่างเช่น ป่าแล้งเขตร้อน มีแนวโน้มว่าจะ ลกุ เข้าไปในป่าชืน้ ใกล้เขตร้อน นน่ั คือพื้นทป่ี ่าชนื้ มแี นวโน้มลดลง และพ้ืนทปี่ า่ แล้งมีแนวโนม้ เพ่มิ ข้นึ ระบบนิเวศทางทะเล ก็นับเป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เน่ืองจาก ระดับนํ้าทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิผิวนํ้าที่เพิ่มข้ึนส่งผลให้พืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธ์ุ รวมถึงการเกิด ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวทั้งในอา่ วไทยและฝง่ั ทะเลอันดามนั 3.ผลกระทบต่อการเกษตรและแหลง่ นํ้า การศึกษาของสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยระบุว่า ผลกระทบของการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อ ภาคการเกษตรในประเทศไทย สัมพันธ์กับปริมาณน้ําในประเทศไทย มีแนวโน้มว่าการเปล่ียนแปลงสภาพ ภูมิอากาศจะทําให้ปริมาณนํ้าลดลง (ประมาณ 5 - 10 เปอร์เซ็นต์) ซ่ึงจะมีผลต่อผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ซ่ึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญ ที่ต้องอาศัยปริมาณน้ําฝนและแสงแดดท่ีแน่นอน รวมถึงความชื้น ของดนิ และอุณหภูมเิ ฉล่ียท่ีพอเหมาะดว้ ย ผลกระทบที่มีต่อส่วนอื่นๆ เช่น ระดับนํ้าทะเลท่ีสูงขึ้น จะทําให้การระบายน้ําลงสู่ทะเลของท่ีราบลุ่ม ภาคกลางช้าลง รวมถึงการรุกของนํ้าทะเลเข้ามาในแม่นํ้า จะทําให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การป้องกัน อาจทําได้โดยการสร้างเข่ือน และประตูนํ้าป้องกันน้ําเค็ม แต่วิธีการน้ีต้องลงทุนสูง ดังนั้นเมื่อราคาของการ ป้องกันสูงเกินกว่าท่ีชาวนาจะสามารถรับได้ การปรับตัวโดยการเปล่ียนพืช หรือท้ิงพื้นที่ทํากินในบริเวณที่ให้ผล ผลติ ตํา่ จงึ เปน็ ทางออกที่คาดว่าจะเกิดขน้ึ สาํ หรับประเทศไทย ผลกระทบของการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศท่ีมีต่อภาคการเกษตรจะไม่รุนแรง มาก เพราะพื้นท่ีชลประทานจะได้รับการป้องกัน แต่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอาจจะรุนแรงในบริเวณ ทีข่ าดน้าํ อยแู่ ลว้ นอกจากนี้ ผลกระทบยังอาจเกิดข้ึนกับการทําประมง เนื่องจากแหล่งน้ําท่ีเคยอุดมสมบูรณ์ตลอดท้ังปี เช่น แม่น้ําสายเล็กๆ ทะเลสาบ และห้วยหนองคลองบึง อาจแห้งขอดลงในบางฤดูกาล ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ การขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตของสัตว์น้ํา ซ่ึงจะทําให้จํานวนและความหลากหลายของชนิดของสัตว์นํ้าลด จาํ นวนลงอย่างมาก ตวั อยา่ งเช่น ความหลากหลายทางชีวภาพ และความอุดมสมบูรณ์ในแหล่งน้ําแถบลุ่มแม่น้ํา โขงในภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื จะลดลงอย่างตอ่ เน่อื ง หากการเปลยี่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศยังคงดําเนินตอ่ ไป

21 เหตุการณส์ ภาพอากาศรนุ แรง ระดับน้ําในลําตะคอง จังหวัดนครราชสีมาลดต่ําลงอย่างมากในหน้าแล้ง ทําให้ชาวบ้านมีแหล่งอาหาร ลดน้อยลง ซง่ึ คาดวา่ ความแหง้ แลง้ จะทวคี วามรนุ แรงไปเรอื่ ยๆ เนื่องจากผลของสภาพภูมิอากาศทีเ่ ปลยี่ นแปลง จากสภาพภูมอิ ากาศทเ่ี ปล่ียนแปลงจะทาํ ใหภ้ ัยธรรมชาตติ ่างๆเกดิ บ่อยครง้ั และรุนแรงมากขึ้น อากาศท่ี ร้อนข้ึน และความชื้นท่ีเพ่ิมมากข้ึนจะทําให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยครั้งข้ึน และไม่เป็นไปตามฤดูกาล ภาคใต้ ของประเทศซ่ึงเคยมีพายุไต้ฝุ่นพัดผ่านจะเกิดพายุมากขึ้น และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นก็จะทวีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงอัตราเส่ียงที่เพ่ิมขึ้นของแนวโน้มอุทกภัยแบบฉับพลันด้วยเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ประชาชน จาํ นวนมากไรท้ ี่อย่อู าศัย และกอ่ ให้เกดิ ความเสียหายตอ่ ระบบนเิ วศ ตัวอย่างที่เห็นชัด ได้แก่ เหตุการณ์พายุถล่มทางภาคใต้ของประเทศ เม่ือเดือนพฤศจิกายน 2531 ซ่ึง คร่าชีวิตผู้คนจํานวนมาก และก่อให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง นอกจากภาวะนํ้าท่วมแล้ว ยังมีพายุฝน ตอ่ เน่อื ง รวมท้ังแผน่ ดินถลม่ เป็นเหตใุ ห้โคลน หิน ดนิ และทรายจากภเู ขาถลม่ ลงสู่พืน้ ท่เี พาะปลูกของเกษตรกร เหตุการณ์ในครั้งนั้นนับว่าเป็นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติท่ีรุนแรงมากที่สุดครั้งหน่ึงในประวัติศาสตร์ของประเทศ ไทย ภัยธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งท่ีคาดการณ์ว่าจะรุนแรงขึ้น ได้แก่ ภัยแล้ง การลดลงของปริมาณน้ําฝน และ การระเหยของนํ้าท่ีเพ่ิมมากข้ึน การขยายตัวของภาวะแห้งแล้ง ทําให้พื้นที่ตลอดจนผู้ได้รับความเสียหายเพิ่ม มากขน้ึ ตวั อย่างเช่น ในช่วงกลาง พ.ศ. 2533 ประเทศไทยต้องประสบกับความแห้งแล้งรุนแรงซ่ึงเป็นผลมาจาก ปรากฏการณ์ เอล นินโญ ท่ีเชื่อกันว่าอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ก่อให้เกิดความ เสียหายอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตรของประเทศ นอกจากน้ีไฟป่าอาจจะเกิดบ่อยคร้ังข้ึนสืบ เน่ืองมาจากภัยแล้ง 4.ผลกระทบดา้ นสุขภาพ อุณหภูมิเฉล่ียของโลกท่ีเพิ่มสูงข้ึนและเหตุการณ์ตามธรรมชาติที่รุนแรงและเกิดบ่อยครั้งส่งผลกระทบ โดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของคนไทย โรคระบาดที่สัมพันธ์กับการบริโภคอาหารและนํ้าดื่มมีแนวโน้มว่าจะ เพ่ิมสูงมากขึ้น ภัยธรรมชาติ เช่น ภาวะนํ้าท่วม ทําให้เกิดการปนเป้ือนของเชื้อโรคในแหล่งน้ํา ไม่ว่าจะเป็น โรค บดิ ทอ้ งร่วง และ อหิวาตกโรค เป็นต้น โรคติดต่อในเขตร้อนก็มีแนวโน้มว่าจะเพ่ิมขึ้น และจะคร่าชีวิตผู้คนเป็นจํานวนมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะไข้มาลาเรีย ซ่ึงมียุงลายเป็นพาหะ เน่ืองจากการขยายพันธุ์ของยุงจะมากข้ึนในสภาวะแวดล้อมที่มี อุณหภูมิสูงขึ้น อีกโรคหน่ึงท่ีมีจํานวนผู้ป่วยสูงขึ้น คือ ไข้ส่า ปัจจุบันการระบาดของไข้ส่าในประเทศไทยมีความ รุนแรง และมีจํานวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่า 8-10 เท่า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศที่ร้อนข้ึนและฤดูกาลท่ี ไมแ่ น่นอน แนวโน้มของผลผลิตทางการเกษตรท่ีลดลงจากภัยธรรมชาติ อาจนําไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหารและ ความอดอยาก ทําใหเ้ กดิ ภาวะขาดสารอาหาร และภมู ติ ้านทานร่างกายตํ่า โดยเฉพาะในเดก็ และคนชรา

22 5.ผลกระทบทางสงั คมและเศรษฐกจิ ภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศน้ันไม่เพียงแต่ส่งกระทบท่ีรุนแรงต่อประเทศ ไทยในทางกายภาพเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลกระทบทางอ้อมต่อความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของ ประเทศชาติ เช่นเดียวกัน กล่าวคือ การยุบตัวของพ้ืนที่ชายฝ่ัง ภูมิอากาศแปรปรวน โรคระบาดรุนแรง และ ผลกระทบอื่นๆ ส่งผลให้มีประชากรบาดเจ็บล้มตาย ไร้ที่ทํากิน และ ไร้ท่ีอยู่อาศัยเป็นจํานวนมาก นอกจากนี้ ประชาชนยังจะได้รับความเดือดร้อนจากการขาดแคลนอาหารและนํ้าดื่มท่ีถูกสุขลักษณะระหว่างภาวะน้ําท่วม และความเสียหายท่ีเกิดกับระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ซ่ึงโดยมากผู้ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะเป็น ประชาชนท่ียากจน และไม่มีทุนทรัพย์พอท่ีจะป้องกันผลกระทบของภาวะโลกร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น การ ป้องกนั การรุกล้าํ ของนํ้าเคม็ ในพน้ื ท่ีทาํ กิน อาจทําได้โดยการสร้างเขื่อน และประตูนํ้าป้องกันนํ้าเค็ม แต่วิธีการน้ี ตอ้ งลงทุนสูง ดังนั้นเม่ือราคาของการป้องกันสูงเกินกว่าที่ชาวนาจะสามารถรับได้ การท้ิงพื้นที่ทํากินในบริเวณท่ี ให้ผลผลิตตา่ํ จึงเป็นทางออกท่คี าดว่าจะเกดิ ข้นึ นอกจากนี้ ความเสียหายต่างๆ ที่เกิดข้ึน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพ้ืนท่ีเกษตรกรรมที่สําคัญตามแนว ชายฝ่ังท่ียุบตัว ภัยธรรมชาติ และ ความเสียหายท่ีเกิดจากเหตุการณ์ธรรมชาติที่รุนแรง ล้วนส่งผลให้ผลิตผล ทางการเกษตร ซ่ึงเป็นสินค้าออกหลักของประเทศมีปริมาณลดลง พ้ืนที่ท่ีคุ้มค่าแก่การป้องกันในเชิงเศรษฐกิจ และพื้นท่ีที่มีการพัฒนาสูง อาจได้รับการป้องกันล่วงหน้า เช่น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จําต้องมีโครงสร้าง ป้องกันกระแสคลื่น ซึ่งจะรุนแรงข้ึนเม่ือนํ้าทะเลสูงขึ้น หรือการสร้างกําแพงกั้นน้ําทะเลหรือเข่ือน เพ่ือป้องกัน การเพาะเลยี้ งสัตวน์ ํ้าทางการเกษตร และการทาํ นาเกลือ เป็นตน้ การป้องกันดังกล่าวน้ันจะต้องใช้งบประมาณจํานวนมหาศาล ดังน้ัน ในพื้นที่ที่ไม่คุ้มค่าท่ีจะป้องกันใน เชงิ เศรษฐกจิ จะถกู ละทิ้งไป ซึ่งในส่วนนีจ้ ะเป็นส่วนท่เี กดิ ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมากท่ีสุด เช่น การช่วยเหลือ ชาวนา ซ่ึงจําเปน็ ท่จี ะต้องย้ายไปอยู่ที่ท่สี งู ข้ึนเน่ืองจากนาํ้ ทะเลรุก เปน็ ต้น

23 กจิ กรรมที่ 1.1 จงอธิบายปจั จยั ท่ีมผี ลตอ่ การเปลย่ี นแปลงอณุ หภูมิของโลกให้ถกู ตอ้ ง

24 กจิ กรรมท่ี 1.2 จงตอบคาํ ถามต่อไปนี้

25 กจิ กรรมท่ี 2.1 จงตอบคาํ ถามต่อไปนี้

26 กจิ กรรมท่ี 2.2 จงตอบคาํ ถามต่อไปนี้

27

28 กจิ กรรมท่ี 2.3 จงตอบคาํ ถามต่อไปนี้

29 บทท่ี 3 แนวทางแกไ้ ขและปอ้ งกนั สภาวะโลกร้อน

30 ความนํา เป็นเวลากวา่ 20 ปีที่โลกตระหนักว่าวิกฤตการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาระดับโลกท่ีต้อง ร่วมมือกันแก้ไขและมีการก่อต้ัง \"อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ\" (UNFCCC: United Nations Framework Convention on Climate Change) ขึ้นเม่ือปี ค.ศ. 1992 เพื่อเป็นเวทีเจรจา ของรัฐบาลประเทศต่างๆ ท่ัวโลกในการหาทางออกร่วมกัน อย่างไรก็ตาม แม้การประชุมภาคีอนุสัญญา (COP: Conference of the Parties) จะผา่ นมา 18 ครงั้ แล้ว แตด่ เู หมอื นการเจรจาระหวา่ งประเทศ ยังคงไม่ออกดอก ออกผลเป็นรูปธรรมพอที่จะแน่ใจได้ว่ามนุษย์จะหยุดวิกฤตดังกล่าวได้ ทั้งท่ีเรากําลังเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็น ผลต่อเน่ืองจากภาวะโลกร้อนซึ่งเลวร้ายข้ึนทุกปี ประเทศพัฒนาแล้วซึ่งมีความรับผิดชอบในการเร่งลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลับไม่ดําเนินการอย่างจริงจังในการลดการปล่อยก๊าซฯ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ต้ังแต่คร้ัง เรม่ิ ต้นเจรจาอนสุ ัญญาฯ ซ้ําร้ายกลับมีความพยายามจากประเทศเหล่าน้ันและอุตสาหกรรมสกปรกในการทําให้ เปา้ หมายหยุดโลกร้อนรว่ มกันของโลกออ่ นแอลง ดว้ ยการไม่ยอมผกู พนั ตัวเองทางกฎหมายด้วยเป้าหมายการลด การปล่อยก๊าซฯ ซ่ึงเป็นกรอบที่ตั้งข้ึนร่วมกันภายใต้พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น อนุสัญญาฯ แต่อ้างว่าจะดําเนินการเองโดยสมัครใจ และชักชวนประเทศอื่นๆ ให้เห็นด้วยกับแนวคิด \"ไม่ต้อง บังคับ” จะทําเองโดยสมัครใจ\" นี้ โดยอ้างว่าจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยเฉพาะอย่างย่ิงแก่ประเทศ กําลังพัฒนาเพื่อไว้ใช้ตั้งรับปรับตัวกับโลกร้อน แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เห็นเม็ดเงินท่ีว่านี้ ย่ิงไปกว่าน้ัน กลไก ตลาด (ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต) เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซฯ (offset) ท่ีสร้างข้ึนเพ่ือให้ประเทศพัฒนาแล้วซึ่ง ต้องลดการปล่อยก๊าซ \"มีความยืดหยุ่น\" ในการลดมากข้ึน กลับทําให้การดําเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซฯ ที่ ต้นตออย่างแท้จริงชะงักงัน ซ้ือเวลาให้อุตสาหกรรมสกปรกปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกต่อไป ในขณะที่ โครงการต่างๆ ซึ่งเกิดข้ึนในประเทศกําลังพัฒนาอันเป็นผลพวงจากระบบดังกล่าวได้ก่อปัญหาต่อชุมชนท้องถ่ิน และสภาพแวดล้อม - สวนทางกับสิ่งที่ควรจะเป็น ขณะเดียวกัน ประเทศกําลังพัฒนาท้ังหลายก็พยายามยก สิทธิในการพัฒนาให้เท่าเทียมมาเป็นข้ออ้างในการเดินหน้าใช้ทรัพยากรและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปอย่าง ไม่ลืมหูลืมตาเพ่ือก้าวตามวิถีการผลิตและการบริโภคท่ีเห็นแล้วว่าทําให้โลกขาดสมดุล ซํ้ายังกระทบต่อคุณภาพ ชวี ิตของผคู้ นจํานวนมาก

31 แผนการเรยี นรปู้ ระจาํ บท บทท่ี 3 แนวทางแกไ้ ขและป้องกันสภาวะโลกร้อน สาระสาํ คญั แนวทางการแกป้ ัญหาสภาวะโลกร้อนและการปอ้ งกนั สภาวะโลกร้อน ผลการเรยี นรทู้ ่ีคาดหวงั เมอ่ื ศกึ ษาบทที่ 3 จบแลว้ ผ้เู รยี นสามารถกําหนดแนวทางการแกไ้ ขและปอ้ งกนั สภาวะโลกรอ้ นได้ ขอบขา่ ยเนื้อหา 3.1 แนวทางการแก้ไขปญั หาสภาวะโลกร้อน 3.2 แนวทางการปอ้ งกันสภาวะโลกรอ้ น กิจกรรมการเรียนรู้ ข้ันตอนการเรยี นรู้ 1. ศกึ ษาเอกสารความรู้ บทท่ี 3 ตอนท่ี 3.1 ตอนที่ 3.2 2. กิจกรรมกลมุ่ ตามใบงานทไ่ี ดร้ บั มอบหมาย 3. นาํ เสนออภปิ รายกล่มุ 4. ทํารายงานการลดสภาวะโลกร้อนในชวี ิตประจําวนั 5. นําส่งรายงานท่ไี ดร้ ับมอบหมายตามเวลาที่กําหนด สือ่ การสอน 1. เอกสารความรู้ บทที่ 3 เรอ่ื งการแก้ไขและปอ้ งกันสภาวะโลกร้อน 2. ใบกจิ กรรมท่ี 1 , 2 ประเมนิ ผล 1.แบบทดสอบก่อนเรยี นและหลังเรียน 2.ใบกจิ กรรมท่ี 1, 2 3.รายงานการลดสภาวะโลกร้อนในชวี ติ ประจําวัน

32 ตอนท่ี 3.1 แนวทางปอ้ งกันสภาวะโลกร้อน เรอ่ื งที่ 3.1.1 ความเปน็ มาแนวทางแกไ้ ขปญั หาสภาวะโลกร้อน ในปัจจุบันโลกกําลังร้อนข้ึนจนอาจถึงหายนะและการหยุดวิกฤตน้ีเป็นความจําเป็นเร่งด่วนของมวล มนุษยชาติ แตป่ ระสบการณ์กวา่ สองทศวรรษ สอนมวลมนษุ ยชาติไม่อยากเห็นหายนะไว้ที่การเจรจาระดับโลกท่ี ขับเคล่อื นโดยรัฐบาลและนกั การเมืองซงึ่ ได้รับการสนบั สนนุ หรือแม้กระทั่งครอบงําโดยอุตสาหกรรมสกปรกและ บรรษัทท่ีมีอํานาจทางเศรษฐกิจมหาศาล ผลักดันโลกเย็นท่ีเป็นธรรมด้วยนโยบายระดับชาติ ถึงเวลาที่ต้องลุก ข้ึนมาผลักดันการเปลี่ยนแปลง และแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงในระดับปัจเจกบุคคลจะเป็นสิ่งจําเป็น แต่ทางออก ของวิกฤตโลกร้อนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้นต้องการการเปล่ียนแปลงทางนโยบายซ่ึงเช่ือมโยง ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาต่างๆ เข้ากับมิติการพัฒนารูปแบบใหม่ท่ีจะนําพาไปสู่สังคมที่ดีและเป็นธรรม โดยเฉพาะการเปลยี่ นแปลงในระดบั ประเทศ เพ่อื ทจ่ี ะขับเคลือ่ นการเปลีย่ นแปลงระดบั โลกตอ่ ไป ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตได้เป็นจํานวนมากควบคู่ไปกับการพัฒนา คุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชนได้ และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจใน ปจั จบุ นั โดยการสรา้ งนโยบายเพ่ือรบั มอื กบั วิกฤตโลกรอ้ นท่ีให้ความสาํ คญั กับการลดโลกร้อนที่ต้นตอของปัญหา แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนการตั้งรับและปรับตัวต่อ วิกฤตโลกร้อนของกลุ่มคนในสังคมท่ีมีความเสี่ยงและความอ่อนไหวต่อผลกระทบจากโลกร้อนสูง สะท้อนความ เป็นธรรม มคี วามเชอื่ มโยงกบั นโยบายอื่นๆ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและสิทธขิ องชมุ ชนในการเป็นเจ้าของ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติอยา่ งยง่ั ยนื เรอื่ งที่ 3.1.2 การรับมือกับปญั หาสภาวะโลกร้อน ในการรับมือกับวิกฤตโลกร้อนในแง่มุมต่างๆ ท้ังในระดับโลกและระดับประเทศ ซึ่งในการกําหนด นโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นธรรมจําเป็นจะต้องสร้างความเชื่อมโยงสอดคล้องระหว่าง ประเด็นและนโยบายรายประเด็นเหล่าน้ีเพอ่ื ให้นาํ ไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผล 1) \"การซ้ือ-ขายคาร์บอนและแลกเปล่ียนคารบ์ อนเครดิต\" ไม่ไดเ้ ป็นการแกป้ ญั หาโลกร้อน แตเ่ ปน็ การ ประวิงเวลาและทําให้ปัญหาบานปลาย จงึ ควรหันมาให้ความสําคัญกับการลดโลกร้อนท่ตี ้นตอของปญั หา 2) \"พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและอุตสาหกรรม\" เป็นตัวการสําคัญของภาวะโลกร้อน จึงถึงเวลาต้อง เปลี่ยนผ่านจากสังคมท่ีพ่ึงพาพลังงานเช้ือเพลิงฟอสซิลไปสู่สังคมที่ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืนซ่ึงคํานึงถึง ต้นทุนท่ีแท้จริงทางด้านส่ิงแวดล้อมและสังคมอย่างรอบด้าน โดยไม่อ้าง \"คาร์บอนตํ่า\" มาใช้เลือกพลังงานท่ีไม่ ย่ังยืนและอันตราย เช่น พลังงานนิวเคลียร์ เข่ือนขนาดใหญ่ พลังงานจากขยะ และถ่านหิน พร้อมทั้งหยุดขยาย อุตสาหกรรมและโครงการขนาดใหญซ่ งึ่ ก่อมลพิษ ก๊าซเรือนกระจก และทําลายปา่ ไมแ้ ละฐานทรัพยากร 3) \"ป่าไม้\" ถูกมองว่าเป็นแหล่งดูดซับและเก็บกักคาร์บอนซึ่งจะช่วยลดการสะสมของก๊าซเรือนกระจก ในชน้ั บรรยากาศ จงึ มีความพยายามนําปา่ ไมเ้ ข้ามาเปน็ ส่วนหน่ึงของการชดเชยการปลอ่ ยกา๊ ซคารบ์ อน แต่ป่าไม้ มีความสาํ คัญมากกว่านั้นด้วยเป็นทัง้ แหล่งความหลากหลายทางชีวภาพและกําหนดระบบนิเวศน์ ทั้งยังเป็นที่อยู่

33 ของประชากรโลกอีกจํานวนมากซึ่งมักไม่ค่อยมีพ้ืนท่ีในสังคม การรักษาป่าธรรมชาติอย่างเป็นธรรมจึงต้อง เคารพและสง่ เสริมสทิ ธิชมุ ชนทอ้ งถนิ่ ในการเปน็ เจ้าของและจดั การทรัพยากรธรรมชาตอิ ย่างย่งั ยืน 4) \"เกษตรกรรม\" เป็นภาคทีจ่ ะไดร้ บั ผลกระทบจากภาวะโลกรอ้ นมากท่ีสุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจนใน ภาคเกษตร เกษตรกรรมคือความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก ในขณะเดียวกันระบบเกษตรอุตสาหกรรม เคมีเข้มข้นปัจจุบันก็เป็นตัวการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน การเปล่ียนผา่ นส่เู กษตรยง่ั ยนื และเกษตรอินทรีย์ที่คาํ นึงถงึ วถิ ชี ีวติ และวัฒนธรรมของชมุ ชนบนพ้ืนฐานทรพั ยากร และสภาพท่ีเหมาะสมของแต่ละท้องถ่ิน เพ่ือการผลิตอาหารที่ดี ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยัง ชว่ ยใหเ้ กษตรกรสามารถต้ังรบั และปรบั ตวั กับความเปลยี่ นแปลงทจ่ี ะเกิดขนึ้ ไดอ้ ย่างยง่ั ยนื ตอนที่ 3.2 แนวทางการแกไ้ ขปญั หาสภาวะโลกรอ้ น การลดสภาวะโลกร้อนเป็นส่ิงท่ีทุกคนจะต้องตระหนักถึงการช่วยกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากมนุษย์เป็น ต้นเหตุหลักของการเกิดสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน เพราะเพียงแค่มนุษย์หายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายท่ีเราทําอยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิด ว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ปัญหาของใครคนใดคนหน่ึง ต้องหันมาร่วมมือกันเป็นส่วนหน่ึงในการแก้ปัญหาโลกร้อน ของมวลมนษุ ยชาติ การลดสภาวะโลกร้อนน้ัน ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน แค่เราปรับเปล่ียนพฤติกรรมบางอย่างของเราทําอยู่ ในวนั ๆหนง่ึ กส็ ามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนไดแ้ ลว้ 1.ปรับ Desktop Wallpaper ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นสําเข้ม ย่ิงเป็นสีดําเลยยิ่งดี เพราะว่ามันจะ ประหยดั ไฟมากกว่า รวมไปถงึ Screen Saver กใ็ หต้ ้งั Blank ไว้ มนั จะเป็นหน้าจอดําสนิท ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อ ไมไ่ ดใ้ ช้งาน เช่น ตอนพักเท่ียง และตอนกลบั บ้าน 2. พกผ้าเช็ดหน้า แทนที่จะใช้กระดาษทิชชู สมัยนี้มีกระดาษทิชชูห่อสวยๆพกง่ายๆออกมา หลายคน ใช้มันแทนผ้าเช็ดหน้า เพราะว่ามันสะดวกและห่อมันก็น่ารักด้วย แต่กระดาษทิชชูผลิตมาจากต้นไม้ ย่ิงใช้มากก็ ย่งิ ต้องตดั มาก ถา้ ไม่จําเป็นกพ็ กผ้าเชด็ หน้าเพ่ือรกั ษาทรพั ยากรป่าไมใ้ ห้มปี รมิ าณเพมิ่ ข้นึ 3. การชารต์ แบตมือถือ การชารต์ แบตมอื ถือของคนทัว่ ๆไปเสยี พลงั งานไปโดยเปล่าประโยชนถ์ งึ 95% เพราะวา่ มักจะเสียบสายคา้ งไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแลว้ ท่านรไู้ หมว่าถงึ แบตจะเตม็ แล้วแต่วา่ ถา้ ไม่ถอดออกมนั ก็จะยัง กินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลาแบตเต็มแลว้ กใ็ หถ้ อดสายออก ถา้ ยงั เสียบหม้อแปลงกบั เต้าเสียบค้างไว้มนั ก็ยงั กินไฟอยู่ ควรถอดออกให้หมด 4. ประหยดั นาํ้ ควรมจี ติ สํานึกในการอนรุ กั ษ์ทรัพยากรนํ้า ไม่ใช้นํา้ แบบส้ินเปลือง ควรเปล่ียนก๊อกแบบ ท่ัวไป มาใช้ก๊อกน้ําแบบเพิ่มฟองอากาศ น้ําท่ีไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทําให้ดูเหมือนมีนํ้าไหล ออกมามาก สามารถประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงคร่ึงหน่ึง ซ่ึงก๊อกนํ้าดังกล่าวมีลักษณะก๊อกน้ําท่ีใช้ในห้องนํ้า ตามห้างสรรพสินค้าเวลาใช้น้ําที่อ่ืนที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัด เช่น เวลาไปพักตามโรงแรมก็ไม่ควรใช้นํ้า อยา่ งฟุ่มเฟือย เพราะทําใหเ้ กิดสภาวะโลกร้อนไดเ้ หมอื นกนั 5. ประหยัดไฟ ปิดเคร่ืองใช้ไฟฟ้าท่ีไม่ได้ใช้และควรถอดปลั๊กทุกครั้งหลังการใช้งาน สําหรับหลอดไฟ การเปล่ียนหลอดไส้มาเป็นหลอดประหยัดไฟ CFL ซ่ึงอาจมีราคาแพงแต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก และอายุการใช้ งานกย็ าวกว่า ซงึ่ ในระยะยาวก็จะคมุ้ กวา่ ประหยัดค่าไฟฟ้าและพลงั งานไฟฟา้ ไดใ้ นอนาคต

34 6. ลดใช้ถุงพลาสติก การใช้ถุงพลาสติกทําให้เราสะดวกข้ึน แต่ผลเสียของการใช้พลาสติกเป็นสาเหตุ หน่ึงที่ทําให้เกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน เพราะพลาสติกย่อยสลายยาก ใช้เวลาย่อยสลายหลายร้อยปี ส่งผลต่อ การเกิดมลภาวะของโลก ถา้ ไมม่ จี าํ เปน็ ไมค่ วรใช้ การใช้ถงุ ผา้ แทน เปน็ การชว่ ยลดการใช้ถงุ พลาสตกิ 7. ลดอาหารแชแ่ ขง็ ในปจั จบุ นั คนร่นุ ใหมน่ ยิ มบริโภคอาหารแชแ่ ข็ง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเร่ือยๆเน่ืองจาก สะดวกสบายในการหาซื้อ ข้ันตอนการผลิตอาหารแช่แข็งน้ันเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็น พลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนท่ีอยู่ในร้านสะดวกซื้อหรือตาม แผนกอาหารในห้างสรรพสินค้า แม้กระท่ังการรับประทานยังต้องใช้พลังงานในการอุ่น ถ้าไม่จําเป็นก็ไม่ควร บริโภค เพราะสิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก การบริโภคอาหารสดจะได้รับคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ มากกวา่ 8. ใช้จักรยาน การใช้จักรยานเป็นทางเลือกหนึ่งในการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงคือน้ํามันและเป็น การออกกําลังกายในการส่งเสริมสุขภาพดี เช่น ปั่นไปทําธุระใกล้ๆบ้าน ป่ันไปทํางาน ป่ันออกกําลังกาย เป็นต้น การปั่นจักรยานจะช่วยให้เกิดพลังงานสะอาด ไม่มีมลภาวะ โดยประเทศที่ป่ันจักรยานมากที่สุดในโลกคือ เนเธอร์แลนด์ 9. ลดการ Shopping การ Shopping ทําให้มนุษย์มีความสุข แต่ลดการซ้ือแบบส้ินเปลืองลง ซ้ือใน ส่ิงท่ีจําเป็นต้องใช้ และนําส่ิงของกลับมาใช้ซํ้าอีก เพ่ือลดปริมาณการผลิตทางอุตสาหกรรม เพราะอุตสาหกรรม เหลา่ นี้ต้องใช้พลงั ด้านตา่ งๆในการผลิตมากหลายเทา่ 10. ปลกู ตน้ ไม้ มนษุ ย์ทกุ คนชอบธรรมชาติ เวลาท่ีไดเ้ ห็นสถานที่ทีม่ ธี รรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ ที่เขียวชอุ่ม นํ้าใสๆ ชายหาดท่ีขาวสะอาด มองแล้วเกิดความสบายใจ ควรช่วยกันปลูกต้นไม้ ตามสวนหน้าบ้าน หรือ พ้ืนที่ว่างเปล่า ใส่กระถางไว้ก็ได้ ทําให้บ้านดูสวย มีภูมิทัศน์ท่ีสวยงามน่าอยู่น่ามอง ช่วยลดก๊าซพิษใน อากาศได้

35 กจิ กรรมที่ 1 บทที่ 3 เรอื่ งการแก้ไขและปอ้ งกันสภาวะโลกรอ้ น วิชา สภาวะโลกร้อน พว 02018 ระดบั ประถมศึกษา มธั ยมศกึ ษาตอนต้น มัธยมศกึ ษาตอนปลาย คําส่งั ให้ผูเ้ รยี นแบง่ กล่มุ ๆละ 5 คน รว่ มกนั อภปิ รายในหัวข้อเรื่อง 1.1 การแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน และ 1.2 การปอ้ งกันการเกดิ ปัญหาสภาวะโลกร้อน นําเสนอหนา้ ชน้ั เรียนในรปู แบบผงั ความคดิ (Mind Mapping)

36 กิจกรรมท่ี 2 บทที่ 3 เรือ่ งการแกไ้ ขและปอ้ งกนั สภาวะโลกรอ้ น วิชา สภาวะโลกร้อน พว 02018 ระดบั ประถมศึกษา มธั ยมศกึ ษาตอนต้น มัธยมศกึ ษาตอนปลาย คําสงั่ ใหผ้ เู้ รยี นแบง่ กล่มุ ๆละ 5 คน รว่ มกนั ทาํ รายงานในหัวขอ้ การลดสภาวะโลกร้อนในชวี ติ ประจาํ วนั พร้อมทํารายงานจาํ นวน 1 เลม่ ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................... .....................................................................................................................................................................

37 บทท่ี 4 โครงงานลดสภาวะโลกร้อน

38 ความนาํ โครงงาน เป็นวิธีการเรียนรู้ท่ีเกิดจากความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนที่อยากจะศึกษาค้นคว้าเก่ียวกับส่ิงใด สิ่งหนึ่งหรือหลายส่ิงท่ีสงสัยและอยากรู้คําตอบให้ลึกซึ้ง ชัดเจน หรือต้องการเรียนรู้ในเรื่องน้ันๆให้มากข้ึน กว่าเดิม โดยใช้ทักษะกระบวนการและปัญญาหลายๆด้านมีวิธีการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนอย่าง ต่อเน่ือง มีการวางแผนในการศึกษาอย่างละเอียด ลงมือปฏิบัติตามแผนท่ีวางไว้ จนได้ข้อสรุปหรือผลการศึกษา หรือคําตอบเก่ียวกับเร่ืองน้ันๆและเป็นกิจกรรมที่เน้นกระบวนการโดยผู้เรียนเป็นผู้คิดค้น วางแผนลงมือปฏิบัติ ตามแผน อาศัยเคร่ืองมือ เครื่องจักร วัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติภายใต้คําแนะนํา กระตุ้นจากครูผู้สอนหรือ ผู้เช่ยี วชาญ ช้ีแนะแนวทาง แกป้ ญั หาท่เี กดิ ข้ึนจากการทาํ โครงงาน รวมทั้งการวดั ผลประเมินผล

39 แผนการเรยี นรูป้ ระจําบท บทท่ี 4 โครงงานลดสภาวะโลกรอ้ น สาระสาํ คญั การวางแผนและจัดทาํ โครงงานลดสภาวะโลกรอ้ นควรมีวตั ถุประสงคเ์ พอ่ื ลดการใชพ้ ลังงาน รี ไซเคิล ใชว้ ัสดทุ ดแทนเพื่อลดการเกิดกา๊ ซเรือนกระจก เพม่ิ ปรมิ าณตน้ ไม้ หรอื กิจกรรมอืน่ ๆทล่ี ดการเกดิ ก๊าซ เรือนกระจก ทง้ั ทางตรงและทางออ้ ม ผลการเรยี นรทู้ ีค่ าดหวงั เมื่อศึกษาบทท่ี 4 จบแล้วผู้เรยี นสามารถ 1. อธิบายความหมายและประเภทของโครงงาน อธบิ ายความแตกต่างของโครงงานแต่ละประเภทได้ 2. วางแผนการเรยี นรู้โดยโครงงานได้ 3. อธิบายที่มาและความสําคญั วตั ถุประสงค์ เปา้ หมาย สมมุตฐิ าน วธิ ีดาํ เนนิ งาน แผนปฏิบตั ิงาน ผลที่คาดวา่ จะไดร้ ับไดถ้ กู ตอ้ ง 4. จดั ทาํ รายงานผลการเรยี นรโู้ ดยโครงงานได้ถกู ตอ้ ง ขอบขา่ ยเนื้อหา 4.1 ความหมายของโครงงาน 4.2 การวางแผนทําโครงงาน 4.3 แนวทางการเขยี นแผนการเรียนรโู้ ดยโครงงาน 4.4 การรายงานผลการเรียนรู้โดยโครงงาน 4.5 ตัวอย่างการเขยี นรายงานผลการเรียนรูโ้ ดยโครงงาน กิจกรรมการเรียนรู้ ขัน้ ตอนการเรยี นรู้ 1. ศึกษาเอกสารความรู้ บทท่ี 4 ตอนที่ 4.1 ตอนท่ี 4.2 ตอนที่ 4.3 2. ทาํ ใบกจิ กรรมท่ี 1 บทที่ 4 3. ศึกษาใบความรู้ บทที่ 4 ตอนท่ี 4.4 ตอนท่ี 4.5 4. จับกลมุ่ กนั ทาํ ใบกิจกรรมที่ 2 บทท่ี 4 5. นําใบกจิ กรรมที่ 2 บทท่ี 4 ไปให้ครทู ปี่ รึกษาตรวจและใหค้ วามเห็นโครงงาน 6. ทําโครงงานตามแผนการเรยี นรูโ้ ดยโครงงานลดสภาวะโลกรอ้ นในใบกจิ กรรมท่ี 2 บทท่ี 4 โดยและรายงานผลการทาํ โครงงานใหก้ บั ครูที่ปรึกษาเปน็ ระยะ 7. ทาํ รายงานผลการเรียนร้โู ดยโครงงานส่งครทู ่ปี รกึ ษา สอื่ การสอน 1. เอกสารความรู้ บทท่ี 4 เร่อื งโครงงานลดสภาวะโลกรอ้ น 2. กจิ กรรมที่ 1 , 2

40 ประเมนิ ผล 1.แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรยี น 2.ใบกจิ กรรมท่ี 1, 2 3.รายงานผลการเรียนรโู้ ดยโครงงาน

41 ตอนที่ 4.1 ความหมายของโครงงาน “โครงงาน” (Portfolio) คือ แผนงาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนร่วมกันกําหนดขึ้นตามความ สนใจ ความต้องการ และนําไปสู่การศึกษาค้นคว้า ทดลอง และลงมือปฏิบัติจริงในแต่ละภาคเรียน ผลจากการ ทําโครงงาน คือ ผลผลิตท่ีเป็นองค์ความรู้ตามหมวดวิชานั้น หรือผลงานที่เป็นประโยชน์โดยมีการบูรณาการ สาระอื่น ๆ ท่ีจําเป็นและสอดคล้องกัน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการทําโครงงานน้ัน เป็นการการเรียนโดย “โครงงาน” เป็นการเรียนโดยใช้ความรู้ในหมวดวิชาหรือบูรณาการเนื้อหาต่างๆ ที่จําเป็น โดยมีครูเป็นผู้ให้ คําปรึกษา แนะนํา และอํานวยความสะดวกในการเรียนรู้ และกระตุ้นเสริมแรง ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน กลุ่ม การเรยี นรูโ้ ดยโครงงาน หมายถึง การเรียนรโู้ ดยการปฏิบัติตงิ านอย่างเปน็ ระบบของผ้เู รียน ซ่ึงเริ่มจาก การวิเคราะห์เลือกสาระ การวางแผนการเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติตามแผนจนได้ข้อสรุปในเรื่องนั้นๆ จัดทําเป็น ผลงานหรือชิ้นงานออกมา รายงานผลการเรยี นรู้ และมีสว่ นรว่ มในการวัดผลประเมนิ ผลการเรียนรู้ โครงงานแบ่งออกเปน็ 4 ประเภท 1. โครงงานประเภทการสํารวจ เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลในเรื่องใดเร่ืองหนึ่งแล้วนําผลสรุปที่ได้ เพื่อเป็นการปรับเปล่ียนข้อมูลที่เคยมีผู้สํารวจไว้ให้ทันสมัย เพ่ือแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของข้อมูลเช่น พืช สมุนไพรแตล่ ะชนดิ มปี ระโยชนอ์ ยา่ งไรหรอื เพ่อื แสดงให้เห็นถงึ ความสมั พันธข์ องข้อมูล 2. โครงงานประเภทการทดลอง เป็นการศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ เพ่ือหาทางเลือกใหม่หรือ ทางเลือกที่ดีกวา่ หรือเป็นการทดลองเพ่ือพฒั นาด้านการเกษตร ด้านอาหารและยา เปน็ ต้น 3. โครงงานประเภทการประดิษฐ์หรือพัฒนา เป็นการประยุกต์หลักการทฤษฎี นํามาประดิษฐ์เครื่อง อปุ โภค บรโิ ภค เพ่ือใช้ในชวี ติ ประจําวนั หรอื พฒั นาสิ่งประดษิ ฐ์เดิมที่มีอย่แู ลว้ ใหด้ ีขึน้ ใช้ประโยชนใ์ ห้มากขน้ึ ก็ได้ 4. โครงงานประเภททฤษฎีหรืออธิบาย เป็นการศึกษาทฤษฎีหรือแนวคิดใหม่ โดยส่วนมากมักเป็น ทฤษฎดี ้านวทิ ยาศาสตรบ์ รสิ ทุ ธ์ิ หรือทฤษฎีคณติ ศาสตร์ ตอนท่ี 4.2 การวางแผนทาํ โครงงาน 2.1 การวางแผนการทําโครงงาน ผู้เรียนต้องเขียนแผนการเรียนรู้โดยโครงงานหรือที่เรียกว่าแผนการ ทาํ โครงงานเพ่ือต่อสถานศึกษาพิจารณาอนมุ ตั โิ ดยครูเป็นผู้ตรวจ ช่วยแนะนํา ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันไป โดยตลอด ถ้าต้องการความสวยงาม ควรให้ผเู้ รียนจัดทาํ เปน็ รูปเลม่ มีหนา้ ปกและหน้าอนมุ ตั ิใหเ้ รยี บรอ้ ย การทําโครงงานวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเรื่องใดจะต้องมีการวางแผนอย่างละเอียด รอบคอบ และมีการ กําหนดข้ันตอนในการดําเนินงานอย่างรัดกุม ท้ังน้ีเพื่อให้การดําเนินงานบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายท่ี กําหนดไว้ ประเด็นท่ีต้องร่วมกันคิดวางแผนในการทําโครงงานมีดังน้ี คือ ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทาง และวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้ การออกแบบการศึกษาทดลองโดยกําหนดและควบคุมตัวแปร วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมี เวลา และสถานที่จะปฏิบตั ิงาน หวั ข้อการเขยี นแผนการเรยี นรู้โดยโครงงาน 1) ช่อื เร่ือง 2) ชอื่ ผู้จดั ทํา 3) ช่ือท่ปี รึกษา 4) ท่มี าและความสําคัญ 5) วัตถุประสงค์ 6) เป้าหมาย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook