Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore sc02013สารพิษในชีวิตประจำวัน

sc02013สารพิษในชีวิตประจำวัน

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-07-14 09:07:53

Description: sc02013สารพิษในชีวิตประจำวัน

Search

Read the Text Version

1    หนงั สอื เรยี นสาระความรู้พน้ื ฐาน รายวชิ าเลอื ก  สารพษิ ในชีวิตประจาํ วัน รหสั วชิ า พว02013 ระดบั ประถมศกึ ษา มธั ยมศกึ ษาตอนต้น มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย ตามหลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาขน้ั พน้ื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยจงั หวดั เชียงใหม่ สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย สํานักงานปลดั กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ห้ามจาํ หน่าย หนงั สือเรียนเล่มน้ีจดั พมิ พด์ ว้ ยเงินงบประมาณแผน่ ดินเพ่อื การศึกษาตลอดชีวติ สาํ หรับประชาชน   ลิขสิทธ์ิเป็นของสาํ นกั งาน กศน.จงั หวดั เชียงใหม่

ก    คํานํา หนังสือเรียนรายวิชาเลือก วิชา สารพิษในชีวิตประจําวัน รหัสวิชา พว02013 ตามหลักสูตรการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้นและ มัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทําขึ้นเพ่ือให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ ซึ่งเป็นไปตามหลักการปรัชญา การศกึ ษานอกโรงเรยี น และพระราชบัญญัตสิ ่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั พ.ศ.2551 ให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีสติปัญญา มีศักยภาพในการประกอบอาชีพและสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคม ไดอ้ ยา่ งมคี วามสุข เพ่ือให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษามีประสิทธิภาพ สถานศึกษาต้องใช้หนังสือเรียนท่ีมี คุณภาพ สอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของ สถานศึกษา หนังสือเล่มนี้ได้ประมวลสาระความรู้ กิจกรรมเสริมทักษะ แบบวัดประเมินผลการเรียนรู้ไว้อย่าง ครบถ้วน โดยองค์ความรู้น้ันได้นํากรอบมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกําหนดไว้ นํารายละเอียดเนื้อหา สาระมาเรียบเรียงอย่างมีมาตรฐานของการจัดทําหนังสือเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านเข้าใจง่ายและศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองได้อย่างสะดวก คณะผู้จัดทําหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรียนรายวิชาสารพิษในชีวิตประจําวัน รหัสวิชา พว02013 เล่มนี้จะเป็นส่ือท่ีอํานวยประโยชน์ต่อการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เพื่อใหผ้ ้เู รยี นสัมฤทธิ์ผลตามมาตรฐาน ตวั ช้วี ัดทก่ี ําหนดไวใ้ นหลักสตู รทุกประการ คณะผู้จดั ทํา สํานกั งาน กศน.จังหวัดเชียงใหม่  

  ข  สารบญั หน้า เร่ือง ก ข คํานํา ง สารบญั ฉ คาํ อธิบายรายวชิ า ช รายละเอยี ดวชิ า 1 แบบทดสอบก่อนเรยี น 2 บทที่ 1 ความเป็นพษิ 3 5 แผนการเรียนรปู้ ระจําบท 6 ตอนที่ 1 ความเปน็ พษิ 7 กิจกรรม 11 บทท่ี 2 สารพิษและการเข้าสรู่ า่ งกาย 12 แผนการเรยี นรปู้ ระจําบท 13 กจิ กรรม 18 บทที่ 3 สารพษิ ในการดาํ เนนิ ชีวิตประจาํ วัน 18 แผนการเรียนรู้ประจาํ บท 19 19 ตอนที่ 3.1 สารพิษจากครัวเรอื น 20 เรอ่ื งที่ 3.1.1 สารทาํ ความสะอาด 21 เร่ืองท่ี 3.1.2 สารซักลา้ ง 21 เรอื่ งท่ี 3.1.3 ภาชนะ 21 เรื่องที่ 3.1.4 สารฆา่ แมลง 22 23 ตอนท่ี 3.2 สารพิษจากภาคเกษตรกรรม 25 เร่อื งท่ี 3.2.1 สารกาํ จดั ศตั รูพืชและสัตว์ 26 เรอื่ งท่ี 3.2.2 สารเร่งเน้ือแดง 29 เรอ่ื งท่ี 3.2.3 สารเร่งการเจรญิ เตบิ โต 32 ตอนที่ 3.3 เคร่ืองสาํ อาง ตอนท่ี 3.4 น้ํายาดับกล่นิ และสเปรย์ปรับอากาศ ตอนที่ 3.5 สารพษิ จากภาคอุตสาหกรรม ตอนท่ี 3.6 ของเดก็ เล่น กจิ กรรม  

  ค  สารบัญ (ต่อ) หน้า เร่ือง 35 36 บทที่ 4 สารพษิ จากอาชพี 41 แผนการเรียนร้ปู ระจาํ บท 42 กจิ กรรม 43 47 บทที่ 5 ผลกระทบทมี่ ตี ่อชวี ติ และสง่ิ แวดลอ้ มและแนวทางแก้ไข 48 แผนการเรยี นร้ปู ระจําบท 49 กิจกรรม 50 51 แบบทดสอบหลังเรียน 52 เฉลยแบบทดสอบ กอ่ นเรียน-หลังเรียน บรรณานกุ รม คณะทํางาน คณะบรรณาธกิ าร/ปรบั ปรุงแก้ไข  

ง    คาํ อธบิ ายรายวชิ า พว02013 สารพษิ ในชวี ติ ประจาํ วัน จํานวน 1 หนว่ ยกิต ระดบั ประถมศกึ ษา มธั ยมศกึ ษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย มาตรฐานท่ี 2.2 มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจและทกั ษะพื้นฐานเก่ยี วกับคณติ ศาสตร์ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ศกึ ษาและฝึกทักษะเกี่ยวกบั เรื่องต่อไปน้ี การเข้าสู่ร่างกายและความเป็นพิษของสาร ประเภทและชนิดของสารพิษในครัวเรือนและอาชีพ สารพิษจากครัวเรือน ผลกระทบท่ีเกิดจากสารพิษในคัวเรือน และสารพิษท่ีเกิดจากอาชีพที่มีต่อชีวิตและ ส่งิ แวดลอ้ ม การจดั ประสบการณ์การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้า ทดลอง จําแนก อธิบาย อภิปราย นําเสนอด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้โดย การพบกลุ่ม การเรียนรู้แบบทางไกล แบบชั้นเรียน ตามอัธยาศัย การสอนเสริม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทํา รายงาน การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ ประสบการณ์โดยตรง ใช้สถานการณ์จริง ประสบการณ์การเรียนและการ เรยี นรู้ดว้ ยโครงงาน การวัดและประเมินผล การสังเกต การอภิปราย การสัมภาษณ์ ทักษะปฏิบัติ รายงานการทดลอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนรู้ ผลงาน การทดสอบ การประเมนิ และการนาํ ไปใชป้ ระโยชน์  

จ    รายละเอยี ดคาํ อธบิ ายรายวชิ า พว02013 สารพษิ ในชวี ติ ประจาํ วนั จํานวน 1 หนว่ ยกติ ระดบั ประถมศึกษา / มัธยมศึกษาตอนตน้ / มธั ยมศึกษาตอนปลาย มาตรฐานท่ี 2.2 มคี วามรคู้ วามเขา้ ใจและทกั ษะพ้นื ฐานเกี่ยวกบั คณิตศาสตร์ วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี ท่ี หัวเร่ือง ตัวช้ีวัด เนอื้ หา จาํ นวน (ชว่ั โมง) 1 สารพษิ ในชีวติ ประจาํ วนั 1. อธิบายการเขา้ สรู่ ่างกาย 1. ความเป็นพษิ 40 และความเป็นพษิ ของสารได้ 2. สารพิษและการเข้าสู่ ร่างกาย 2. บอกประเภทและชนดิ 3. สารพิษในชวี ิตประจําวัน ของสารพษิ ในครวั เรอื นและ 3.1 สารพิษจากครวั เรือน อาชพี ได้ 3.1.1 สารทําความ สะอาด(สบู่ แชมพู น้ํายาล้าง จาน ยาสฟี นั นาํ้ ยาล้างหอ้ งน้ํา) 3.1.2 สารซักลา้ ง (ผงซักฟอก สบ)ู่ 3.1.3 ภาชนะ 3.1.4 สารฆ่าแมลง เช่น ยาฆ่าแมลง ฯลฯ 3.2 เกษตรกรรม 3.2.1 สารกาํ จดั ศตั รู พืชและสตั ว์ 3.2.2 สารเร่งการ เจรญิ เตบิ โต ฯลฯ 3.3 เครื่องสาํ อาง 3.4 นาํ้ ยาดับกลิ่นและ สเปรยป์ รบั อากาศ 3.5 อุตสาหกรรม 3.6 ของเดก็ เลน่ ฯลฯ 4. สารพิษจากอาชพี 3. อธิบายผลกระทบท่ีเกิด 5. ผลกระทบทม่ี ีต่อชวี ิตและ จากสารพษิ ในครวั เรอื นและ สง่ิ แวดล้อมและแนว สารพษิ ท่เี กิดจากอาชีพท่ีมี ทางแกไ้ ข ต่อชีวิตและสงิ่ แวดล้อมได้  

ฉ    รายละเอียดวชิ า 1.คําอธบิ ายรายวิชา การเขา้ ส่รู า่ งกายและความเปน็ พษิ ของสาร ประเภทและชนดิ ของสารพิษในครัวเรือนและอาชพี สารพิษจากครัวเรือน ผลกระทบท่ีเกิดจากสารพิษในคัวเรือน และสารพิษที่เกิดจากอาชีพท่ีมีต่อชีวิตและ สง่ิ แวดลอ้ ม 2. วัตถุประสงค์ 1. อธบิ ายการเขา้ สู่รา่ งกายและความเป็นพิษของสารได้ 2. บอกประเภทและชนิดของสารพิษในครวั เรือนและอาชพี ได้ 3. อธิบายผลกระทบที่เกิดจากสารพิษในครัวเรือน และสารพิษท่ีเกิดจากอาชีพที่มีต่อชีวิตและ ส่งิ แวดลอ้ มได้ รายช่ือบทที่ บทท่ี 1 ความเป็นพิษ บทท่ี 2. สารพิษและการเขา้ สู่ร่างกาย บทที่ 3 สารพษิ ในชวี ิตประจําวัน ตอนท่ี 3.1 สารพิษจากครัวเรอื น เรอื่ งท่ี 3.1.1 สารทาํ ความสะอาด เรอื่ งท่ี 3.1.2 สารซกั ล้าง เรอ่ื งที่ 3.1.3 ภาชนะ เรื่องที่ 3.1.4 สารฆา่ แมลง ตอนท่ี 3.2 สารพษิ จากภาคเกษตรกรรม เรอ่ื งที่ 3.2.1 สารกาํ จดั ศตั รพู ชื และสัตว์ เรอื่ งท่ี 3.2.2 สารเร่งเน้ือแดง เร่ืองที่ 3.2.3 สารเร่งการเจรญิ เตบิ โต ตอนที่ 3.3 เคร่ืองสําอาง ตอนที่ 3.4 น้ํายาดบั กลน่ิ และสเปรยป์ รบั อากาศ ตอนท่ี 3.5 สารพษิ จากภาคอุตสาหกรรม ตอนท่ี 3.6 ของเลน่ เดก็ บทที่ 4 สารพษิ จากอาชพี บทที่ 5 ผลกระทบท่มี ตี ่อชีวติ และส่ิงแวดลอ้ มและแนวทางแกไ้ ข  

ช    แบบทดสอบกอ่ นเรียน รายวชิ า สารพิษในการดําเนนิ ชีวติ ประจาํ วนั ใหผ้ เู้ รียนเลอื กตอบขอ้ ทถี่ ูกตอ้ งทีส่ ุด 1. ขอ้ ใดไมใ่ ช่สารทาํ ความสะอาด ก. สบู่ ข. ยาสฟี นั ค. นํ้ามะนาว ง. ยาลา้ งจาน 2. ขอ้ ใดไม่ใชอ่ นั ตรายจากการบรโิ ภคเน้อื หมูทม่ี ีสารเรง่ เน้อื แดง ก. ปวดศรี ษะ ข. คลืน่ ไส้ อาเจยี น ค. ภูมิคุ้มกนั บกพรอ่ ง ง. มือสนั่ กลา้ มเนื้อกระตกุ 3. ข้อใดไมใ่ ช่ฮอรโ์ มนหรอื สารสงั เคราะหท์ ใ่ี ชก้ ับพชื ก. ออกซนิ ข. ซลิ ิทลิ ีน ค. ไซโตไคนนิ ง. จบิ เบอเรลลนิ 4. สญั ลกั ษณท์ างเคมขี องตะกวั่ คอื ข้อใด ก. Pb ข. Pd ค. Li ง. Le 5. สารเคมสี ามารถเขา้ สรู่ า่ งกายไดท้ างใดบา้ ง ก. ทางตา ทางปาก ทางจมกู ข. ทางปาก ทางผิวหนงั ทางจมูก ค. ทางตา ทางผวิ หนงั ทางการหายใจ ง. ทางปาก ทางผิวหนงั ทางการหายใจ  

ซ    6. ขอ้ ใดไมใ่ ชอ่ าการเมอ่ื ร่างกายไดร้ บั สารเคมี ก. ออ่ นเพลีย ข. ระคายเคือง ค. เกิดผดผน่ื คัน ง. ผิวหนงั ไหมอ้ กั เสบ 7. สารเคมใี นเครื่องสําอางขอ้ ใดเมือ่ ดูดซมึ เข้าสู่ร่างกายแลว้ ทาํ ให้เสี่ยงตอ่ การเป็นมะเร็งเต้านม ก. โพลเี อธิลนี ไกลคอล ข. โซเดยี มลอรลิ ซลั เฟต ค. ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ง. สารกันเสียประเภทพาราเบน 8. สารเคมใี นขอ้ ใดทม่ี ักจะใชใ้ นผลติ ภณั ฑท์ าํ ความสะอาดเพอื่ ให้เกดิ ฟอง ก. โพลีเอธิลีนไกลคอล ข. โซเดยี มลอริลซลั เฟต ค. ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ง. สารกันเสยี ประเภทพาราเบน 9. สารเคมใี นขอ้ ใดทม่ี กี ารตรวจพบในนาํ้ หอมปรบั อากาศ ก. พาทาเลต ข. โซเดยี มซลั เฟต ค. คอปเปอรซ์ ัลเฟต ง. เอททิลแอลกอฮอล 10. จากการสํารวจสารเคมีในขอ้ ใดทพี่ บมากทส่ี ุดในของเดก็ เลน่ เดก็ ก. ตะกัว่ ข. ปรอท ค. โครเมียม ง. สารกนั เสียประเภทพาราเบน  

1    บทที่ 1 สารพษิ ในชวี ิตประจาํ วัน  

2    แผนการเรยี นรปู้ ระจาํ บท บทที่ 1 ความเป็นพิษ สาระสาํ คญั ในการดําเนินชวี ิตประจําวนั มนษุ ยม์ ีการสมั ผัสกบั สารเคมี อาจจะได้รับพิษโดยตรงหรือรับพิษทางอ้อม เชน่ การบริโภคผลผลิตทางการเกษตร ทม่ี สี ารเคมีปนเป้อื นหรือตกค้าง เปน็ ต้น ผลการเรยี นรทู้ ่ีคาดหวงั 1. ผเู้ รยี นมีความรู้ ความเขา้ ใจเกยี่ วกบั สารพษิ ในชีวติ ประจําวันได้ ขอบขา่ ยเนอ้ื หา 1. ความเปน็ พิษ กจิ กรรมการเรียนรู้ 1. ใหผ้ ้เู รยี นทาํ แบบทดสอบก่อนเรียน 2. ใหผ้ เู้ รยี นศกึ ษาเนื้อหา ในตอนที่ 1 ความเปน็ พิษ 3. แบง่ กลมุ่ ผู้เรียน ใหอ้ ภิปรายรว่ มกัน เร่อื ง ความเป็นพษิ 4. ใหต้ ัวแทนกลุม่ นาํ เสนอผลการอภปิ รายของแต่ละกลุ่ม 5. ครแู ละผ้เู รยี น สรปุ ผลการอภปิ ราย ส่ือประกอบการเรยี นรู้ 1.ใชส้ ่ือที่หลากหลาย ประเภท ไดแ้ ก่ Power point วีดิทัศน์ ฯลฯ 2.แหลง่ เรยี นรใู้ นชุมชน เช่น ห้องสมดุ ประชาชนอําเภอ ประเมนิ ผล 1.การสงั เกตการรว่ มกจิ กรรมของผเู้ รยี น 2.การปฏบิ ัติจริงโดยประเมนิ จากการสังเกตการมีส่วนรว่ มในการทาํ กจิ กรรม 3.ผลกระทบจากการทาํ กจิ กรรมการเรียนรู้ ผลการอภปิ รายกล่มุ  

3    บทท่ี 1 ความเปน็ พษิ ตอนที่ 1 ความเปน็ พิษ ปกติผทู้ ีส่ มั ผสั กบั สารเคมกี าํ จัดศัตรูพืชโดยตรง ได้แก่ เกษตรกรผฉู้ ีดพน่ และผ้ทู ท่ี ํางานเกย่ี วขอ้ งกับการบรรจุ ขนสง่ จะไดร้ ับพษิ โดยตรงแต่สําหรบั ผู้บริโภคจะได้รบั พษิ ทางอ้อม ซึง่ เกิดจากการบริโภคผลผลิตทางการเกษตรทมี่ ีสารเคมปี น เปื้อนหรอื ตกคา้ งอยู่ ซงึ่ การได้รบั สารพษิ ตกค้างในอาหารแม้ อาจจะไดร้ ับในปริมาณตํ่า แต่การทไ่ี ดร้ ับเปน็ ประจํา สารพษิ ภาพที่ 1 การใชส้ ารเคมี อาจสะสมเปน็ ปญั หาเรื้อรังและสง่ ผลกระทบตอ่ ระบบการ ทาํ งานต่างๆ ในร่างกาย เช่น ทีม่ าของภาพ http://www.safetechthailand.net - ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ซ่ึงสารเคมีกําจัดศัตรูพืชจํานวนมาก มีอันตรายต่อระบบสมองและ ประสาทโดยจะกอ่ ใหเ้ กิดปญั หาทางดา้ นความจําเสอื่ ม สมาธิสั้นตา่ งๆ - ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในของร่างกาย ซึ่งร่างกายจะมีกลไกตามธรรมชาติในการกําจัดสารพิษท่ี ได้รับโดยอวัยวะทีม่ ีหนา้ ทีห่ ลักในการกําจัดสารพิษคือ ตับ รองลงมาคือ ไต หากร่างกายได้รับสารพิษเข้าไปเป็น ประจําก็จะทาํ ใหอ้ วัยวะเหล่าน้ีทํางานหนกั จนอาจเกดิ ปัญหาตา่ งๆ ตามมาได้ - สง่ ผลกระทบตอ่ ระบบภมู คิ ้มุ กนั ของร่างกาย ซึง่ สารเคมกี าํ จัดศตั รูพืชบางชนดิ รบกวนการทาํ งานของ ระบบภูมคิ ุม้ กันของร่างกาย ทําให้ร่างกายออ่ นแอลง ทําให้ง่ายตอ่ การติดเชื้อตา่ งๆได้ - ส่งผลกระทบต่อระบบสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย โดยส่งผลกระทบต่อต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) ที่มีหน้าที่ในการผลิตหรือสร้างฮอร์โมน ทําให้ต่อมไร้ท่อเหล่านี้ทํางานผิดปกติไป เช่น ทําให้เป็นหมัน การผลติ อสจุ มิ ีจํานวนนอ้ ยลงในเพศผู้ - ส่งผลกระทบก่อให้เกิดการเปล่ียนแปลงทางชีวเคมีและเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์ของร่างกาย จนอาจเปน็ สาเหตุทําให้ร่างกายอ่อนแอ ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและการเกิดโรคมะเร็งต่างๆ เหล่าน้ีเป็นอันตราย หรือผลกระทบท่ีอาจเกิดขึ้นได้กับผู้บริโภคท่ีมีร่างกายแข็งแรง แต่สําหรับผู้บริโภคอีกกลุ่มหน่ึงที่เป็นทารกและ เด็กเล็กที่ส่วนต่างๆของร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ หรือยังไม่สมบูรณ์ และผู้ป่วยท่ีร่างกายไม่แข็งแรง จะมี ความไวต่อการได้รับสัมผัสสารพิษตกค้าง แม้ว่าจะได้รับในปริมาณท่ีตํ่าและมีโอกาสเส่ียงต่อการเกิดการ กลายพันธ์ุ จากข้อมูลของคณะทํางานด้านสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Environmental Working Group) รายงานวา่ การเกิดโรคมะเร็งสมองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชาวอเมริกันตั้งแต่ปี 2516 มีเพ่ิมขึ้น 33% และสาเหตุการตายเนื่องจากมะเร็งมากกว่าโรคอื่นๆ สําหรับช่วงอายุที่พบ จะพบมากในเด็กท่ีมี อายุตา่ํ กว่า 14 ปี และจากผลการศึกษาวิจัยระดับการตกค้างของสารพิษในอาหารของเด็กทารก 8 ชนิด พบว่า มีสารเคมีกําจัดศัตรูพืชตกค้างสูงถึง 52 % ชนิดสารท่ีพบมีถึง 16 ชนิด อาหารท่ีพบส่วนใหญ่จะพบสารพิษ มากกวา่ 2 ชนิดในตวั อยา่ งเดยี วกัน และในบรรดาสารพิษ 16 ชนิดที่ตรวจพบนี้ พบว่าส่วนใหญ่เป็นสารในกลุ่ม  

4    ทม่ี ผี ลกระทบตอ่ ระบบประสาท (Neurotoxin) ไดแ้ ก่ สารพิษในกลมุ่ สารประกอบฟอสเฟตและคาร์บาเมท โดย ระดับของการตรวจพบเช่ือว่าปลอดภัยต่อผู้ใหญ่ แต่อาจไม่ปลอดภัยต่อเด็กและทารก ท้ังนี้เน่ืองจากค่า ปลอดภัยตอ่ การบริโภค ได้กําหนดไว้สําหรับผู้ใหญ่ ไม่ครอบคลุมการศึกษาผลกระทบในเด็กที่อายุต่ํากว่า 14 ปี นอกจากน้ี ผลของการได้รับสัมผัสสารพิษตั้งแต่ 2 ชนิดรวมกันในตัวอย่างอาหารเดียวกัน จะย่ิงทําให้เกิดพิษ สะสมหรือเกิดการเสรมิ ฤทธซิ์ ึ่งกนั และกนั ทาํ ให้ความเปน็ พิษเพ่มิ สูงขนึ้ จากรายงานของนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัย แห่งหน่ึงในรัฐนิวออรีนส์ พบว่า การรวมกัน ของสารพิษจากส่ิงแวดล้อม 2 ชนิด ทําให้ เกิดการเสริมฤทธิ์เพ่ิมข้ึน 1,000 เท่าของสารเด่ียวๆ นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเท็กซัส ทําการศึกษาในปี 2536 ได้พยายามเปล่ียนเพศของเต่าตัวผู้ โดยการให้ฮอร์โมน Natural estrogen ผสมกับสารพีซีบีเด่ียวๆ เปรียบเทียบกับการผสมด้วยพีซีบี 2 ชนิดในปริมาณตํ่า นําไปฟักโดยการ ปรับสภาวะที่เหมาะกับการเกิดเต่าเพศผู้ ผลพบว่าอิทธิพลของการใช้สารพีซีบี 2 ชนิดมีมากกว่าการผสมด้วย พีซีบีชนิดเดยี่ ว ปัจจุบันความสนใจในเร่ืองของการประเมินข้อมูลของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชหลายชนิดที่มี กลไกความเป็นพิษร่วมกัน รวมทั้งการประเมินการได้รับสัมผัสรวมของสารพิษเหล่าน้ี เร่ิมเข้ามามีบทบาทใน การประชุมของคณะกรรมาธิการอาหารระหว่างประเทศสาขาสารพิษตกค้าง (Codex Committee on Pesticide Residues) โดยในการประชุมคร้ังท่ี 33 เดือนเมษายน 2544 มติจากท่ีประชุมให้ประเทศ สหรัฐอเมริกา นําเสนอวิธีการประเมินความเส่ียงของสารเคมีกําจัดศัตรูพืชที่มีกลไกความเป็นพิษร่วมกัน (Cumulative risk assessment) ให้ประเทศสมาชิกทําความเข้าใจและนําเสนอในการประชุมครั้งต่อไป แต่ ขณะนี้ในสหรัฐอเมริกาตามข้อบังคับของกฎหมายใหม่ กําหนดให้องค์กรสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency = US – EPA) พิจารณาผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่เกิดจาก สารเคมีกําจัดศัตรูพืชหลายชนิดร่วมกัน และ EPA ได้ประกาศใช้วิธีการประเมินนี้กําหนดเป็นแนวทางปฏิบัติ สําหรับผู้ประเมินความเสี่ยงในเดือนมกราคม 2545 ท้ังน้ีก็เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคท่ีเป็นเด็กอ่อนและ ทารก ท่ีผลจากการวิจัยว่าพบสารพิษมากชนิด และพบว่าอาหารตัวอย่างเดียวกันส่วนใหญ่พบสารพิษมากกว่า 2 ชนดิ ขึ้นไป ดังทกี่ ลา่ วมาแล้วในตอนต้น  

5    ใบงาน ตอนท่ี 1 ความเปน็ พิษ จงตอบคาํ ถามตอ่ ไปนี้ 1. การได้รบั สารพษิ อาจสะสมเปน็ ปญั หาเรอ้ื รัง และส่งผลกระทบต่อระบบการทาํ งานต่างๆในรา่ งกาย ยกตัวอยา่ ง เช่นอะไรบ้าง ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................  

6    บทท่ี 2 สารพิษและการเขา้ สู่ร่างกาย  

7    แผนการเรยี นรปู้ ระจาํ บท บทที่ 2 สารพษิ และการเขา้ สูร่ า่ งกาย สาระสาํ คญั ในการดําเนนิ ชีวติ ประจาํ วนั สารเคมสี ามารถเข้าสรู่ ่างกาย ไดแ้ ก่ จากการหายใจ การสมั ผสั ทางผวิ หนงั หรอื ดวงตา การกินเขา้ สู่ระบบทางเดินอาหาร และจากการฉีดหรือผ่านทางบาดแผล ผลการเรยี นรทู้ ีค่ าดหวงั 1. ผูเ้ รียนสามารถอธบิ ายการเขา้ สรู่ ่างกายและความเป็นพษิ ของสารได้ ขอบขา่ ยเนื้อหา 1. สารพษิ และการเข้าสูร่ า่ งกาย กิจกรรมการเรยี นรู้ 1. ใหผ้ ู้เรียนศกึ ษาความรู้จากเนอ้ื หา ในตอนที่ 2 สารพษิ และการเขา้ สรู่ า่ งกาย 2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน ใหอ้ ภปิ รายร่วมกัน เรอ่ื ง สารพิษและการเข้าสรู่ า่ งกาย 3. ผู้เรยี นนาํ เสนอผลการอภิปรายของแตล่ ะกล่มุ 4. ครแู ละผูเ้ รยี น สรปุ ผลการอภปิ รายร่วมกนั ส่อื ประกอบการเรยี นรู้ 1.ใช้สือ่ ทีห่ ลากหลาย ประเภท ได้แก่ Power point วีดิทัศน์ ฯลฯ 2.แหล่งเรียนรใู้ นชุมชน เช่น ห้องสมดุ ประชาชนอําเภอ ประเมนิ ผล 1. การปฏบิ ัตจิ ริงโดยประเมินจากการสังเกตการมีสว่ นร่วมในการทาํ กิจกรรม  

8    บทท่ี 2 สารพษิ และการเขา้ สูร่ า่ งกาย ในการทํางานกับสารเคมี ต้องระลึกไว้เสมอว่ามีโอกาสที่สารเคมีสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ตลอดเวลา ช่องทางท่ีสารเคมีจะเข้าสู่ร่างกายที่สําคัญมี 4 ช่องทาง คือ จากการหายใจ (Inhalation) จากการสัมผัสกับ ผิวหนังหรือดวงตา (Contact with Skin or Eyes) จากการกินหรือเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร (Digestion) และจากการฉีดหรือผ่านบาดแผลตามร่างกายท่ีเกิดจากอุบัติเหตุขณะทํางานกับสารเคมี (Injection) ลักษณะ สาํ คัญของช่องทางท่ีสารพิษเข้าสู่รา่ งกายทง้ั 4 วธิ ี มีรายละเอียดและลักษณะสําคญั โดยสังเขป ดังต่อไปน้ี 1. การหายใจ สารพิษท่ีจะเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ สารประเภทก๊าซ ไอของ ของเหลวที่ระเหยออกมา ละอองของสารเคมี หรือ ผง ฝุ่น และ เส้นใย เป็นต้น การสูดหายใจเอาสารเคมี เหล่าน้ีเข้าไปในร่างกายสามารถทําให้เกิดความเป็นพิษได้โดยการดูดซับผ่านเย่ือบุและเมือกในบริเวณ ปาก คอ และปอด ทาํ ใหเ้ นือ้ เยอ่ื ถกู ทําลายอย่างรนุ แรง นอกจากน้ีสารพิษยังอาจผ่านเข้าไปยังระบบหลอดลม และถุงลม ย่อยในปอดและซึมต่อไปเข้าสู่ระบบหมุนเวียนของโลหิตได้ การดูดซับที่บริเวณปอดมักจะเกิดข้ึนอย่างรวดเร็ว เน่อื งมาจากผนังปอดจะมพี ้ืนทีผ่ วิ ค่อนข้างสูงถงึ ประมาณ 75 – 100 ตารางเมตร ส่วนใดของร่างกายที่จะเป็นอันตราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการละลาย ของสารพิษ ความต้านทานของเนอื้ เยอื่ ทถี่ กู สมั ผสั และความสามารถในการดูดซับของเน้อื เยื่อ ดังน้ัน สารเคมีท่ี มีความสามารถในการละลายในนํ้าได้ดี เช่น เมทานอล (Methanol) แอซีโทน (Acetone) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride) แอมโมเนีย (Ammonia) หรอื ฟอรม์ ลั ดีไฮด์ (Formaldehyde) จะละลายได้ทันทีที่เข้า สู่ระบบท่อต่าง ๆ ในจมูกและลําคอ และมักพบว่าสารเหล่านี้จะสะสมตัวอยู่ท่ีบริเวณเน้ือเยื่อในจมูกหรือลําคอ ในทางตรงกันข้าม สารเคมีที่มีความสามารถในการละลายในน้ําได้น้อย เช่น โอโซน (Ozone) ฟอสจีน (Phosgene) หรือไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen oxide) มักจะสามารถเคลื่อนที่ต่อไปยังส่วนลึกของระบบ หายใจ คือบริเวณหลอดลมย่อย ส่วนก๊าซหรือไอของสารเคมีที่ไม่ละลายในนํ้า เช่น เบนซิน (Benzene) ไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane) หรือไตรคลอโรเอทิลิน (Trichloroethylene) จะสามารถเคลื่อนท่ีต่อไป จนไปสะสมได้ถึงบรเิ วณภายในปอด เป็นตน้ ในกรณีของสารพิษที่เป็นของแข็งและอยู่ในลักษณะเป็น ฝุ่น ผง หรือละออง ร่างกายจะมี ระบบป้องกนั และกาํ จัดออกจากร่างกายได้โดยข้ึนอยู่กับขนาดของสารพิษ ดังน้ัน ขนาดของฝุ่น ผง หรือละออง จะเป็นปัจจัยท่ีช้ีบ่งว่าสารพิษจะสะสมอยู่ในบริเวณใดของระบบทางเดินหายใจ เช่น ถ้ามีขนาดใหญ่กว่า 5 ไมครอน จะตกค้างอยู่บริเวณส่วนต้นของจมูก ขนาดระหว่าง 1 ถึง 5 ไมครอน จะตกค้างอยู่บริเวณหลอดลม และหลอดลมย่อยหากมีขนาดเล็กกว่า 1 ไมครอน จะสามารถผ่านไปสู่ส่วนในของปอดหรือหลอดลมฝอยใน ปอดได้  

9    2. การสัมผัสกับผวิ หนังหรือดวงตา การสัมผสั กบั ผิวหนงั เป็นอีกรปู แบบหนึ่งของการได้รับอันตรายจากสารเคมีที่พบได้อยู่เสมอใน อตั ราทค่ี ่อนขา้ งสูงในระหว่างการปฏิบัติงาน สารเคมีหลายชนิดสามารถทําให้เกิดอันตรายกับผิวหนังได้โดยตรง เช่น ทําให้เกิดความระคายเคือง ไปจนถึงอาการแพ้ สารกัดกร่อนทําให้เกิดการไหม้ของผิวหนังในบริเวณที่ สมั ผสั และสารพษิ บางชนดิ สามารถซึมผา่ นผวิ หนงั เข้าไปสรู่ ะบบหมนุ เวียนโลหิตได้ การเข้าสู่ร่างกายจากการสัมผัส อาจเกิดผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิเช่นรูขุมขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และผิวหนังชั้นนอก เป็นต้น ปัจจัยต่าง ๆ ท่ีจะทําให้การเข้าสู่ร่างกายได้มากน้อย จะขึ้นอยู่กับความ เข้มขน้ ของสารเคมี การสัมผัสบริเวณดวงตาเป็นเร่ืองอันตราย ท่ีรุนแรงท่ีสุดเน่ืองจากดวงตาเป็นส่วนของ ร่างกายที่ละเอียดอ่อนมากที่สุดส่วนหน่ึง ดวงตาเป็นส่วนทมี่ เี ส้นประสาทและเส้น โลหิต ฝอยมาหล่อเล้ียงมากมาย จึงเป็นแหล่งที่จะ ภาพที่ 2 แสดงวิธีการล้างตาเมอื่ สมั ผสั กบั สารพษิ ดูดซับสารพิษต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สารเคมี ทีม่ าของภาพ http://www.thailovehealth.com ส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายต่อดวงตา ตั้งแต่ทํา ให้เกิดการระคายเคือง สร้างความเจ็บปวด สูญเสียความสามารถในการมองเห็น ไปจนถึงทําให้ตาบอดอย่างถาวรได้ พบว่ามีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่าน้ัน ที่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา สารเคมีมีความว่องไวหรือความรุนแรงในการทําปฏิกิริยาเคมีของสารเคมี ความสามารถในการละลายนํ้า สภาพและลักษณะความหนาบางของผิวหนังบริเวณท่ีได้รับการสัมผัส และ ระยะเวลาท่ีสมั ผัส 3. การกินหรอื การเข้าสรู่ ะบบทางเดนิ อาหาร มีสารเคมีหลายชนิดท่ีเป็นอันตรายอย่างมาก หากเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินอาหาร อัน ประกอบด้วย ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลําไส้เล็ก และลําไส้ใหญ่ นอกจากน้ีสารเคมีที่เข้าสู่ระบบ ทางเดินอาหารจะถูกดูดซึมต่อไปยังระบบหมุนเวียนโลหิตได้อีกด้วย สารเคมีประเภทกัดกร่อน เช่น กรด หรือ ดา่ งเข้มขน้ จะทําอันตรายเนื้อเยื่อตา่ ง ๆ ในระบบทางเดินอาหารได้โดยตรง ปัจจัยที่ทําให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ สมบัติกายภาพของสารเคมี สมบัติ ในการละลายของสารเคมี รวมไปถึงลักษณะการดูดซึมของเน้ือเย่ือในส่วนต่าง ๆ พ้ืนที่ผิว และระยะเวลาที่ สารเคมีสัมผัสกับเน้ือเย่ือเหล่านั้น สารเคมีบางชนิดจะมีสมบัติทําให้เพิ่มการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารทํา ให้ความเป็นพิษเกิดได้รวดเร็วขึ้น สารเคมีท่ีเป็นของแข็งหรือละลายได้น้อยมักจะไม่ถูกดูดซับได้ง่ายและจะถูก ขับออกจากร่างกายสารเคมีที่ละลายได้ดีในน้ํามันหรือไขมัน ได้แก่ สารเคมีอินทรีย์ต่าง ๆ มักจะถูกดูดซึมและ ตกค้างอยใู่ นระบบทางเดนิ อาหารได้ดกี ว่าสารเคมีที่ละลายได้ดีในนํา้  

10    4. การเขา้ สู่ร่างกายโดยการฉีดหรือผา่ นทางบาดแผลท่ผี ิวหนงั ถงึ แม้ว่าช่องทางทส่ี ารพิษจะเข้าสู่ร่างกายโดยวธิ นี ีม้ ีโอกาสเกดิ ขึน้ ได้ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะ เกิดข้ึนโดยไม่ต้ังใจหรือจากอุบัติเหตุระหว่างการทํางาน เช่น ถูกเคร่ืองจักร อุปกรณ์ หรือของมีคมที่มีสารเคมี ติดเป้ือนอยู่บาดหรือเกิดจากการกําจัดเข็มฉีดยาที่ไม่ถูกวิธี ทําให้ปลายเข็มท่ีมีสารเคมีเหลืออยู่ทิ่มแทงส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายวิธีนี้ถือว่ามีความเป็นอันตรายสูง เน่ืองจากเป็นการนําสารเคมี เข้าสู่ร่างกายโดยตรงโดยไม่ผ่านกระบวนการดูดซึมตามธรรมชาติของร่างกาย การป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ด้วยวิธีนี้มักจะทําได้ด้วยวิธีการบริหารจัดการเป็นหลัก เช่น การแยกท้ิงวัสดุท่ีมีคมออกโดยเฉพาะ ไม่ปะปนกับ ขยะประเภทอืน่ การใช้เข็มฉีดยาดูดสารเคมที ่เี ปน็ ปลายตดั ไมใ่ ช่ปลายคม เป็นตน้  

11    ใบงาน การเขา้ สู่รา่ งกายของสารพษิ .......................................................................................... คาํ สงั่ : ให้ผู้เรียนทํากิจกรรมตามใบงานตอ่ ไปน้ี 1. ลักษณะสําคญั ของชอ่ งทางท่ีสารพิษเขา้ สู่รา่ งกายท้ัง 4 วิธี มีกี่ลกั ษณะ อะไร .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................ ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................  

12    บทท่ี 3 สารพษิ ในชีวิตประจําวัน  

13    แผนการเรียนรปู้ ระจําบท บทท่ี 3 สารพษิ ในการดาํ เนนิ ชีวิต สาระสาํ คญั สารเคมีที่ใช้ในชีวิตประจําวันทั่วไป ท้ังที่ใช้ภายในบ้าน ที่ใช้ในภาคเกษตรกรรม รวมถึงภาคอุตสาหกรรม บางชนิดก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ต่อชีวิต เม่ือเข้าสู่ร่างกายผู้ใช้และผู้อยู่รอบข้าง อาจจะมีอันตรายต่อ สุขภาพ บางชนิดรุนแรงถงึ ขนั้ เสยี ชีวิตได้ ดังนั้นผู้ใชส้ ารเคมีควรมกี ารศกึ ษาวิธกี ารใชใ้ หป้ ลอดภัยท่สี ดุ ผลการเรยี นรทู้ ่คี าดหวงั 1.ผเู้ รียนสามารถบอกประเภทและชนิดของสารพษิ ในครัวเรือนและอาชีพได้ ขอบข่ายเน้อื หา บทที่ 3 สารพษิ ในชวี ิตประจําวัน ประเภทของสารเป็นพิษ ตอนท่ี 3.1 สารพษิ จากครวั เรอื น เรอื่ งที่ 3.1.1 สารทาํ ความสะอาด เรอื่ งท่ี 3.1.2 สารซกั ลา้ ง เรือ่ งท่ี 3.1.3 ภาชนะ เรอ่ื งที่ 3.1.4 สารฆ่าแมลง ตอนที่ 3.2 สารพิษจากภาคเกษตรกรรม เรอ่ื งท่ี 3.2.1 สารกําจดั ศตั รพู ชื และสัตว์ เรอ่ื งที่ 3.2.2 สารเร่งเนอ้ื แดง เรอ่ื งท่ี 3.2.3 สารเรง่ การเจรญิ เตมิ โต ตอนที่ 3.3 เครือ่ งสาํ อาง ตอนท่ี 3.4 นา้ํ ยาดับกล่ินและสเปรยป์ รบั อากาศ ตอนที่ 3.5 สารพิษจากภาคอุตสาหกรรม ตอนท่ี 3.6 ของเด็กเล่น กจิ กรรมการเรยี นรู้ 1. ให้ผเู้ รียนศึกษาความรจู้ ากเน้ือหาในตอนท่ี 3 สารพษิ ในชีวติ ประจําวัน 2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน และให้ตัวแทนกลุ่มจับสลากหัวข้อตามชื่อเร่ือง ต้ังแต่ 3.1.1.ถึง 3.2.6 กลุ่มละ 1 หวั ข้อ และมอบหมายใหผ้ ูเ้ รยี นไปสาํ รวจ สารเคมชี นิดต่างๆท่ไี ดร้ ับมอบหมาย จากชุมชนของตนเอง 3. ใหต้ วั แทนกลุ่มนาํ เสนอผลการอภิปรายของแต่ละกลุ่ม 4. ครูและผู้เรยี น สรปุ ผลการอภปิ รายรว่ มกนั  

14    สอ่ื ประกอบการเรยี นรู้ 1. เอกสารเน้อื หาบทท่ี 3 สารพิษในชีวติ ประจาํ วนั 2. ใบงาน ตอน 3.1 สารพษิ จากครวั เรือน ใบงาน ตอนท่ี 3.2 สารพิษจากภาคเกษตรกรรม ใบงาน ตอนที่ 3.3 สารพษิ จากภาคอุตสาหกรรม 3. แหลง่ เรยี นรูใ้ นชมุ ชน ประเมนิ ผล 1. ประเมินจากการมีสว่ นรว่ มกิจกรรมทไี่ ดร้ บั มอบหมาย 2. ประเมนิ จากใบงานเรอื่ ง 3.1 สารพิษจากครวั เรือน ใบงาน เร่ืองที่ 3.2 สารพิษจากภาคเกษตรกรรม ใบงาน เรือ่ งท่ี 3.3 สารพิษจากภาคอุตสาหกรรม  

15    บทที่ 3 สารพิษในชีวติ ประจาํ วนั สารเปน็ พิษ สารพิษ หมายถึงสารเคมีที่เข้าสู่ร่างกาย หรือสัมผัสส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย แม้เพียงจํานวน เลก็ นอ้ ย ก็ทาํ ให้เกิดอันตราย ตอ่ อวัยวะต่างๆ ของรา่ งกาย เปน็ ผลใหเ้ กิดความเสยี หาย หรอื ถงึ แก่ความตายได้ สารมีพิษท่ีบุคคลในบ้านอาจได้รับอันตราย ได้แก่ ยาฆ่าแมลง ยารักษาโรคทุกชนิด ยาปราบศัตรูพืช นํ้าด่าง นํ้ากรด สารท่ีใช้ทําความสะอาดต่างๆ แอลกอฮอล์ สีทาบ้าน นํ้ามันเบนซิน เชื้อเพลิงเหลวทุกชนิด รวมทง้ั อาหาร และพชื พันที่ปนเปื้อนดว้ ยสารมีพษิ ประเภทของสารเปน็ พิษ สารพษิ ถกู แบง่ ออกเป็นประเภทตา่ งๆ ได้ 9 ประเภทดังนี้ คือ 1. สารพิษป้องกันกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ (pesticides) หมายถึง สารเคมีหรือส่วนผสมของ สารเคมีใดๆ ก็ตาม ท่ีใชป้ อ้ งกันกําจัดทาํ ลายหรอื ขับไล่ศตั รพู ืชสตั ว์และมนษุ ยส์ ารพษิ ทีส่ าํ คญั ไดแ้ ก่ 1.1 สารพิษป้องกันกําจัดแมลง (insecticides) คือ สารเคมีท่ีใช้ในการป้องกันและกําจัด แมลงและหนอนท่ีเป็นศัตรูพืช สัตว์ และมนุษย์มีทังท่ีอยู่ในรูปสารประกอบทางอินทรีย์ และอนินทรีย์ ซึ่งอาจ เกิดข้ึนเองในธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ข้ึน สารพิษป้องกันกําจัดแมลงท่ีมนุษย์สังเคราะห์ข้ึน สามารถแบ่งออก ไดเ้ ปน็ 4 กลุ่ม คอื - กลุ่มออร์แกนโนคลอรีน (organo cholrine) สารประกอบท่ีมีคลอรีน (CL) เป็น องค์ประกอบที่สําคัญ สารพิษในกลมุ่ น้จี ะมคี วามคงตัวสลายตวั ยาก จงึ ปนเปอื้ นอยู่ในธรรมชาตไิ ดน้ าน บางชนิด จะมีพิษตกค้างอยู่ได้นานเป็นสิบๆ ปี มีประสิทธิภาพในการกําจัดแมลงกลุ่มนี้จะมีฤทธ์ิไปทําลายระบบประสาท ส่วนกลาง ถ้าได้รับสารพิษน้ีเข้าไปจํานวนมากจะทําให้เกิดอาการหน้ามืด เวียนศีรษะ ท้องร่วง อาจเกิดหัวใจ วายและตายได้ แต่ถ้าได้รับปริมาณน้อยๆ ค่อยๆ สะสมในร่างกายจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ตวั อย่างของสารพษิ พวกนีไ้ ด้ แก่ ดดี ที ี ออลดรนิ ดิลดริน เอนดรนิ เฮปคาคลอร์ ลินแดน ฯลฯ - กลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต (organo phosphate) เป็นสารสังเคราะห์มาจากกรดฟอสฟอริค จึงมีฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบที่สําคัญ สารพิษพวกน้ีจะสลายตัวได้ง่าย มีพิษตกค้างอยู่ในส่ิงแวดล้อมไม่ ยาวนานนัก โดยเฉลี่ยประมาณ 3-15 มักจะมีพิษรุนแรงมากต่อสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพในการกําจัดแมลงได้ดี สารพิษป้องกันกําจัดแมลงทุกชนิดในกลุ่มนี้ จะมีผลต่อระบบความดันโลหิตและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (cholinesterase) ในเลือด ถ้าได้สารพิษน้ีเข้าไปจะทําให้เกิดการเวียนศีรษะต่ืนเต้นตกใจง่าย คล่ืนไส้ เป็น ตะคริว ชัก ไม่สามารถควบคุมกล้ามเน้ือและตายได้ ตัวอย่าง ของสารพิษพวกนี้ได้แก่ มาลาไธออน,อาชีเฟท,ได โครวอส,เมวินฟอส,โมโนโครโตฟอส ฯลฯ - กลุ่มคาร์บาเมท (carbamate) เป็นอนุพันธ์ของกรดคาร์บามิกมีธาตุไนโตรเจน (N) เป็น องค์ประกอบ สลายตัวง่าย มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงได้อย่างกว้างขวางและค่อนข้างจะมีพิษต่อมนุษย์และ สตั วเ์ ลอื ดอนุ่ น้อยกว่า 2 กลุ่มแรก แต่จะมีพิษสูงต่อผ้ึงและปลาสารพิษกลุ่มน้ีจะมีผลต่อระดับของเอนไซม์โคลีน เอสเตอเรสและเป็นพิษต่อระบบประสาทเช่นเดียวกับสารพิษกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต ดังน้ัน ถ้าได้รับสารพิษ พวกนเ้ี ขา้ ไปกจ็ ะเกิดอาการคลา้ ยคลึงกนั ตัวอยา่ งของสารพษิ พวกนี้ ได้แก่ คาร์บาริล, ไบกอน, คาโบฟเู รน ฯลฯ  

16    - กลุ่มไพรีรอย (pyrethroids) ได้แก่สารพิษไพรีทริน (pyrethrin) ซ่ึงมีได้ทั้งจากธรรมชาติ คือ สกดั ไดจ้ ากดอกทานตะวัน และจากการสงั เคราะห์ข้ึน ตัวอย่างเช่น สารเฟอร์เมทริน สารเรสเมทรินไซเปอร์ เมทริน ฯลฯ สารพิษกลุ่มน้ีใช้ฆ่าแมลงได้ดี แต่ต้นทุนการสังเคราะห์สูงกว่าที่สกัดได้จากธรรมชาติ จึงทําให้มี ราคาแพงมาก สารพิษกลุม่ น้มี ีพิษต่อมนุษย์และสตั วเ์ ลือดอุ่นคอ่ นขา้ งนอ้ ยและสลายตวั ไดง้ ่าย 1.2 สารพิษปอ้ งกันกาํ จัดวชั พชื (herbicides) เป็นสารเคมที ีใ่ ช้ป้องกนั และกําจัดวชั พชื ทขี่ ึ้นใน ท่ีท่ีเราไม่ต้องการให้ข้ึนโดยมามักเรียกว่า \"ยาฆ่าหญ้า\" ทั้งๆ ท่ียาบางชนิดสามารถทําลายพืชอ่ืนๆ ได้นอกจาก หญา้ ปัจจบุ ันมสี ารพษิ กําจัดวัชพชื จําหน่ายอยู่มากกวา่ 150 ชนดิ หลายรอ้ ยสูตรและมีประสิทธิภาพการตกค้าง อยู่ในดินในสภาวะที่เหมาะสมได้เป็นเวลานานเช่นกัน ตัวอย่างของสารพิษพวกน้ี ได้แก่ พาราคว๊อต 2, 4, 5- T,2, 4 - D, ดาราปอน 85 % อะตราซนึ ฯลฯ 1.3 สารพิษป้องกันกําจัดเชื้อรา (fun-gicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ป้องกันกําจัดเชื้อราท่ีพืชพันธุ์ ธัญญาหาร เมล็ดพืช ผัก ผลไม้ ตลอดจนเชื้อราท่ีขึ้นอยู่ตามผิวดินสารพิษในกลุ่มนี้มีมากกว่า 250 ชนิด มีท้ังที่ เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์น้อยจนถึงพวกที่มีพิษสูงตลอดจนอยู่ในสภาวะแวดล้อมได้นาน ตัวอย่างของสารพิษ พวกน้ี ได้แก่ คอปเปอร์ซัลเฟต แคปเทน ไชเนป นาเนบ เบนเลท ฯลฯ 1.4 สารพิษป้องกันกําจัดสัตว์แทะ (rddenticides) เป็นสารเคมีที่ใช้กําจัดหนูหรือสัตว์ฟันคู่ บางชนดิ มพี ิษรา้ ยแรงมาก ตัวอย่างของสารพิษพวกนี้ ได้แก่ โซเดียมโมโนฟลูออโร-อาซีเดท ซิงค์ฟอสไซด์วอฟาริน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสารพิษป้องกันกําจัดศัตรูพืชอื่น ๆ อีก ได้แก่สารพิษป้องกันกําจัดสาหร่าย (algicides) สารพิษป้องกันกําจดั หนอน ไสเ้ ดือนฝอย (nematocides) สารพษิ ปอ้ งกนั กาํ จัด เหบ็ ไร (acaricides) เป็นตน้ 2. โลหะหนกั เป็นสารพิษอีกกลุ่มหนึ่งท่ีมีความสําคัญมากมีท้ังท่ีพบอยู่ท่ัวๆ ไป ตามธรรมชาติ และเป็น สารประกอบของโลหะทีม่ นุษยส์ งั เคราะหข์ นึ้ มา โลหะหนกั ที่สาํ คญั ๆ คือ 2.1 ตะก่ัว เป็นโลหะหนักท่ีมนุษย์นํามาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสารผสมในนํ้ามัน เชื้อเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรม แบตเตอร่ี อุตสาหกรรมกรดซัลฟูริค ทําโลหะเจือ ทํากระสุนปืน สีทาเหล็ก และ งานบัดกรี เป็นต้น ตะกั่วสามารถปะปนอยู่ในบรรยากาศ อาหารรับประทานและสิ่งแวดล้อมอ่ืนๆ ได้พิษของ ตะก่วั ทาํ ให้เกดิ การเปลีย่ นแปลงของเม็ดเลือดแดงมผี ลกระทบตอ่ ระบบประสาทและทาํ ใหเ้ กดิ อันตรายตอ่ ไต 2.2 ปรอท มนุษย์นําปรอทไปใช้ผสมหรือเจือโลหะต่างๆ เช่น ทองคํา เงิน และทองแดงที่ เรียกว่า \"อะมัลกัม\" นําไปใช้ในการอุดตัน ใช้เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์และเป็นองค์ประกอบของยาปราบศัตรู พืชและสัตว์ พิษของปรอทเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ทําลายเนื้อเย่ือปอด ทําลายระบบขับถ่ายและ ระบบประสาท สว่ นกลาง 3. สารระคายผวิ เป็นสารพิษที่ทําให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบได้ เมื่อสัมผัสบ่อย ๆ เป็นเวลานานสามารถแบ่งได้ เปน็ กลุม่ 3.1 พวกท่ีละลายไขมันได้แก่ ตัวทําละลายที่ใช้กันทั่วๆ ไป เช่น อะซีโตน อีเทอร์ เอสเตอ สารละลายด่าง ตวั ทําละลายนจ้ี ะละลายไขมนั ตามธรรมชาตแิ ละอาจจะละลายผวิ ชั้นนอกไดด้ ว้ ย  

17    3.2 พวกท่ีดึงนํ้าออก เมื่อถูกผิวหนังจะดึงน้ําออกจากผิวหนัง เกิดความร้อนให้กรดที่กัด ผิวหนังเช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไทรออกไซด์ ฟอสฟอรัสเพนทอกไซด์ แคลเซียมออกไซด์ แคลเซียม คลอไรด์ 3.3 พวกท่ีทําปฏิกิริยากับน้ําหรือการแตกตัว น้ําจะทําให้สารหลายชนิดแตกตัวให้อิออน เช่น น้าํ กับฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรดใ์ ห้คลอไรด์ อิออน และกรดไฮโปคลอรัส เป็นตน้ 3.4 พวกที่ตกตะกอนโปรตีน เช่น เกลือของโลหะหนักต่างๆ แอลกอฮอล์ ฟอร์มาดีไฮด์ กรด แทนนลิ ฯลฯ 3.5 พวกออกชิไดเซอร์ ซึ่งจะรวมกบั ไฮโดรเจน ปลอ่ ยออกซเิ จนออกมา เชน่ คลอรนี เฟอร์ริค คลอไรด์ กรดโครมลิ สารเปอแมงกาเนท เปน็ ต้น 3.6 พวกรีดิวเซอร์ ซึ่งจะไปดึงเอาออกซิเจนออกมาทําให้ผิวลอกหรือผิวชั้นนอกหนาขึ้น เช่น ไฮโดรควนิ โนน, ซลั ไฟท์ เปน็ ต้น 3.7 พวกที่ทําให้เป็นมะเร็ง โดยไปกระตุ้นการเติบโตของผิวช้ันนอกและกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เช่น สารทีก่ ล่นั จาก ถ่านหนิ อะนีลิน เป็นต้น 4. สารที่เป็นผงหรอื ฝุน่ ซ่งึ มอี นภุ าคเลก็ ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ โดยการหายใจ ตัวอย่างผงฝุ่นของแอสเบสตอส ทําให้เกิดโรค ปอดแข็ง (asbestosis) ผงฝุ่นของซิลิเกทเป็นอันตรายต่อปอดผงฝุ่นของโลหะต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท แมงกานีส แคดเมียม ฯลฯ ก่อให้เกดิ พษิ ต่อร่างกายได้ 5. สารที่ใหไ้ อเป็นพิษ เป็นสารเคมีท่ีให้ไอพิษเมื่อสูดดมเข้าไปทําให้เป็นพิษต่อร่างกาย ได้แก่ ตัวทําละลายต่าง ๆ เช่น เบนซนิ คารบ์ อนไดซัลไฟต์ คาร์บอนเตดตะคลอไรด์ เมทธิลแอลกอฮอล์ ฯลฯ 6. กา๊ ซพิษ มีหลายชนิดที่ใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม ก๊าซพิษบางชนิดมีอันตรายมาก โดยอาจทําให้ ร่างกายขาดออกซิเจนหรือทําความระคาย หรืออันตรายต่อร่างกาย และเราอาจมีโอกาสเข้าไปเก่ียวข้องด้วย เชน่ กา๊ ซคารบ์ อนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนต์ ไฮโดรเจนซัลไฟต์ ไนโตรเจนออกไซด์ พอสจนี ฯลฯ 7. สารเจือปนในอาหาร เป็นสารเคมีท่ีนํามาใส่เข้าไปในอาหารโดยมีจุดมุ่งหมายเพ่ือป้องกันมิให้อาหารเสีย เพ่ือการ คงไว้หรือเพิ่มคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของอาหาร ตลอดจนเพื่อให้อาหารนั้นมีกล่ิน รส สี ท่ีน่ารับประทานมากยิ่ง ขึ้น สารเคมีเหล่าน้ี บางชนิดถ้าใส่ในปริมาณมากเกินไปก็จะก่อให้เกิดเป็นพิษเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ตัวอย่าง เช่น สารไนเตรทไนไตรท์ ผงชูรส โซเดียม เบนโซเอท เป็นต้น นอกจากนี้สารเคมีบางชนิดก็เป็นสารท่ี เปน็ พษิ มีอนั ตรายตอ่ ผู้บรโิ ภคได้ ตวั อยา่ งเช่น สยี อ้ มผา้ กรดกาํ มะถัน บอแรกซ์ กรดซาลโิ ซลิก เป็นต้น  

18    8. สารพิษที่สังเคราะหโ์ ดยสง่ิ มีชีวิตอน่ื ๆ ได้แก่ สารท่ีสังเคราะห์จากเชื้อรา แบคทีเรีย พืช และสัตว์บางชนิด ตัวอย่างของสารพิษที่เกิด จากเช้ือรา เช่น สารพิษ Aflatoxia เกิดจากเช้ือราพวก Aspergillus flavus ที่ขึ้นอยู่ในถ่ัวลิสง ข้าวโพดหรือ อาหารแห้งอ่ืนๆ หรือสารพิษ Bo Tulimumtoxin เกิดจากเช้ือแบททีเรีย Clostridium botulinum ท่ีข้ึนใน อาหารกระป๋องที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานสารพิษ Trichothecene หรือ T-2 toxin เกิดจากเช้ือรา Fusarium tricinetum ที่ขึ้นในข้าวโพด เป็นต้น สําหรับพืชและสัตว์ที่สามารถสร้างสารพิษได้ เช่น เห็ดพิษ กลอย มัน สาํ ปะหลงั คางคก เหรา (สัตว์ทะเลชนิดหน่ึง) ปลาปักเปา้ เปน็ ตน้ 9. สารกัมมนั ตภาพรังสี เปน็ สารทสี่ ามารถแผร่ งั สีมาจากตวั เองได้ มนุษย์ได้นํามาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ท่ีสําคัญคือ ในด้านการแพทย์ และการผลิตไฟฟ้า สารกัมมันตภาพรังสีนับเป็นสารท่ีมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตมากท่ีสุด เมื่อ เปรียบเทียบกับสารพิษชนิดอ่ืนๆ โดยจะทําอันตรายโดยตรง และถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้อีกด้วย กัมมันตภาพรังสีท่ีแผ่ออกมามี 3 ชนิด คือ รังสีอัลฟา รังสีเบต้า และรังสีแกมมา สารกัมมันตภาพรังสีใน ธรรมชาตมิ ีหลายตระกูล แต่ทีส่ ําคัญท่ีสดุ คือ ตระกลู ยเู รเนียม และตระกลู ทอเรียม ทีส่ าํ คัญรองลงมาคอื โปแตส เซยี ม-40 ยบู เี ดียม-87 สมาเรียม-147 ลูซเี ตียม-176 และเรเดียม-220 เป็นต้น ตอนท่ี 3.1 สารพษิ จากครัวเรอื น สารเคมีหรอื สง่ิ ของท่ใี ช้กันทั่วไปหรอื พบเหน็ กนั ทั่วไปในบ้านนั้น บางชนิดต่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หรือต่อชีวิต บางชนิดทําลายภาชนะหรือเครื่องใช้อ่ืนก็มีเราควรจะได้หาความรู้ไว้บ้างเพ่ือป้องกันหรือหลีกเล่ียง อนั ตรายนน้ั อาจแบ่งไดด้ ังนี้ เร่อื งที่ 3.1.1 สารทาํ ความสะอาด (สบู่ แชมพู นาํ้ ยาล้างจาน ยาสีฟัน นาํ้ ยาลา้ งหอ้ งน้ํา)เป็นสารที่ช่วย ให้ส่ิงสกปรกหลุดจากวัสดุท่ีต้องการทําความสะอาด สารในกลุ่มทําความสะอาดได้แก่ สารซักฟอกสังเคราะห์ สบู่ น้ํายาลา้ งจานและแชมพู สารเหล่าน้ีสามารถทํางานได้ เนอื่ งจากมโี ครงสรา้ ง ทางเคมีของสารลดแรงตงึ ผิว ซึ่งประกอบดว้ ย 1. สว่ นท่ีละลายในนํา้ 2. ส่วนทีล่ ะลายในไขมนั เนื่องจากคราบสกปรกส่วนมากมักมีไขมันเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นขั้วท่ีละลายในไขมันจะจับกับไขมัน และสามารถดงึ คราบสกปรกออกจากวัสดุท่ีเปรอะเปอื้ น ในขน้ั ตอนทาํ ความสะอาด ภาพท่ี 1 ตัวอย่างสารทาํ ความสะอาดทม ท่ีมาของภาพ http://www.myfirstbrain.com/  

19    เรื่องท่ี 3.1.2 สารซักล้าง (ผงซักฟอง สบู่)ท่ัวไปในบ้านเรามีมากมายหลายประเภท การทําความ สะอาดเส้ือผ้า เครื่องใช้ภายในบ้านเป็นน้ันเป็นลักษณะงานท่ีเหน็ดเหนื่อย ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบน้ันต้องใช้เวลา และแรงงานค่อนข้างมากในการดูแลซักล้าง ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี นักวิทยาศาสตร์ ได้ ค้นพบและ พัฒนาสารเคมีท่ีช่วยในการซักล้าง และทําความสะอาดเพ่ือให้งานซักล้างเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว งา่ ย และชว่ ยเพ่มิ ประสิทธิภาพในการทําความสะอาดยิ่งข้ึน ภาพท่ี 1 ตวั อยา่ งสารซักลา้ ง ท่ีมาของภาพ https://www.google.co.th เรื่องที่ 3.1.3 ภาชนะ ในสมัยก่อนภาชนะท่ีเราใช้บรรจุอาหารส่วนมากมักจะใช้วัสดุท่ีผลิตข้ึนจาก ธรรมชาติ เช่น ใบตอง กะลามะพร้าว เครื่องป้ันดินเผา (ไม่มีลวดลาย ไม่เคลือบ) แต่มาถึงยุคปัจจุบัน วัสดุจาก ธรรมชาติเหล่านี้ดูเหมือนว่าจะค่อยๆถูกกลืนหายไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่คืบคลานเข้ามาครอบงําวิถีชีวิต คนเราเสยี จนหมดสิน้ ภาพที่ 1 ตวั อยา่ งภาชนะทใี่ ชบ้ รรจุอาหารในปัจจบุ ัน ทม่ี าของภาพ https://www.google.co.th เด๋ียวน้ีไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่จานกระเบื้องเคลือบสีลายสวย จานพลาสติกในระดับ คุณภาพต่างๆ กัน ที่ดีหน่อยก็เป็นพลาสติกพวกเมลามีน และถ้าจะให้ดูคลาสสิกก็อาจจะเป็นจานเซรามิก เคลือบ นอกจากน้กี ็มีกล่องโฟมซ่งึ จดั ว่าเปน็ วสั ดุบรรจอุ าหารทท่ี ําลายสิ่งแวดลอ้ มตัวฉกาจทีเดียว  

20    เรื่องท่ี 3.1.4 สารฆ่าแมลง เช่น ยาฆ่าแมลง ยากําจัดยุง ฯลฯ ในปัจจุบันในแต่ละครัวเรือน มักจะมี การนาํ ผลติ ภัณฑ์ท่มี ีสารเคมีเป็นส่วนประกอบมาใช้ เพ่อื ทําความสะอาดข้าวของเคร่ืองใช้ภายในบ้าน เพ่ือกําจัด ยุง แมลงหรอื สตั ว์เลย้ี งต่างๆ ที่มกั ชอบบกุ รกุ เขา้ มาภายในบา้ น เช่น ปลวก มด หรือแมลงสาบ เปน็ ตน้ การเลอื ก ซ้ือผลิตภณั ฑเ์ หลา่ นี้ ตลอดจนการใช้ดว้ ยวิธที ี่ถูกตอ้ งเหมาะสม เปน็ สิ่งจําเป็นทีค่ วรจะทราบ การเลือกซ้ือผลิตภัณฑ์ยาฆ่าแมลงหรือยากําจัดยุง จะต้องเลือกซ้ือผลิตภัณฑ์ท่ีมีฉลากแสดง เคร่ืองหมาย อย. และมีอักษรย่อ วอส. นําหน้าเลขทะเบียน มีชื่อผลิตภัณฑ์เป็นภาษาไทย แสดงชื่ออัตราส่วน ของสารออกฤทธ์ิ ช่ือผู้ผลิต และแหล่งท่ีผลิต พร้อมทั้งคําเตือน ภาชนะบรรจุจะต้องไม่ร่ัวซึม มีฝาปิดสนิทไม่ สามารถรวั่ ไหลได้ กอ่ นใช้จะตอ้ งอ่าน และทําความเขา้ ใจกบั วิธใี ช้ และคําเตอื นฉลากอย่างละเอียด เพ่ือให้เกิด ความปลอดภยั และได้ผลคุ้มคา่ ท่ีสุด ภาพท่ี 1 ตัวอยา่ งผลิตภัณฑย์ าฆ่าแมลงหรือยากาํ จัดยงุ ที่มาของภาพ http://www.doa.go.th/ การใช้ผลิตภัณฑ์ฉีดพ่น กําจัดยุง และแมลงในบ้านเรือนน้ัน ก่อนการฉีดพ่น จะต้องให้คน และสัตว์ เล้ียงออกมานอกห้องเสียก่อน ปิดประตูหน้าต่าง และให้ผู้ฉีดสวมถุงมือ และหน้ากาก หรือใช้ผ้าปิดปาก และ จมูก แล้วจึงฉีดพ่นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้ึนข้างบนทั้งส่ีด้านของห้อง ฉีดประมาณ 15 นาที จากน้ันท้ิงไว้ประมาณ 15 นาที เพ่ือให้ละอองกระจายท่ัวถึง แล้วจึงเปิดหน้าต่างเพ่ือระบายอากาศ ระวังอย่าให้ละอองเข้าตา ปาก และจมกู อย่าฉดี พ่นในห้องทมี่ เี ดก็ ออ่ นหรอื ผู้ป่วย เมื่อเสร็จจากการใชแ้ ล้วต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ํา และสบู่ ทุกคร้ัง หากผลติ ภณั ฑฉ์ ดี พน่ กําจัดแมลงถกู ผวิ หนัง ให้ล้างด้วยน้ําสะอาดหลายๆ ครั้ง ถ้าเปื้อนเส้ือผ้าให้รีบถอด ออกแล้วเปลี่ยนใหม่ทันที หากกลืนกินเข้าไปห้ามทําให้อาเจียน ให้รีบนําส่งพร้อมภาชนะบรรจุ ฉลาก หรือใบ แทรกของผลติ ภัณฑน์ ั้นๆ  

21    ตอนท่ี 3.2 สารพษิ ในภาคเกษตรกรรม สถานการณ์การใช้สารเคมที างการเกษตรของประเทศไทยมีแนวโนม้ เพิม่ สูงขนึ้ ทกุ ปใี นขณะที่ พ้นื ทีก่ ารเพาะปลูกยงั คงมอี ยู่เทา่ เดิม ในปี 2554 พบวา่ มีมลู ค่าการนําเขา้ เป็นจํานวนมากกวา่ 22,034 ล้านบาท ซ่ึงเป็นการบ่งชี้ว่าเกษตรกรของไทยมีปริมาณการใช้สารเคมีทางการเกษตรต่อไร่เพ่ิมสูงขึ้นแม้ว่า สารเคมีทางการเกษตรจําพวกปุ๋ยจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชอาหาร ช่วยลดความเส่ียงในเรื่อง ความเสียหายต่อผลผลิต ทําใหผ้ ลิตภาพทางการเกษตรเพ่ิมสงู ข้ึน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและเศรษฐกิจของ ประเทศ แต่การใช้สารเคมีท่ีมากเกินความจําเป็น และไม่ถูกต้องเหมาะสมก็จะทําให้เกิดผลกระทบด้านต่างๆ กล่าวคือ ด้านสขุ ภาพ พบว่า ในปี 2550 มีเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชถึง รอ้ ยละ 39 ดา้ นส่งิ แวดลอ้ ม พบการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม ส่วนในด้านเศรษฐกิจ ผลการประเมินผล กระทบทางเศรษฐศาสตร์โดยการวิเคราะห์ผลกระทบภายนอกจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช พบว่า ในปี 2553 มี มูลค่าผลกระทบภายนอกสูงถึง14 พันล้านบาท และเม่ือผนวกมูลค่าการนําเข้ากับต้นทุนผลกระทบภายนอก ทําให้ต้นทุนท่ีแท้จริงของสังคมจากการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชสูงถึง 32 พันล้านบาทต่อปีและมีสถิติเพ่ิมขึ้น อย่างต่อเนื่องทุกปีนอกจากนี้ยังมีความเสียหายจากการส่งออกที่มีสาเหตุมาจากสารตกค้างในสินค้าทาง การเกษตร ซ่ึงทําให้เกิดความเสียหายปีละประมาณ 800 - 900 ล้านบาท ส่งผลทางลบต่อภาพลักษณ์ของ ประเทศในฐานะผ้สู ง่ ออกสนิ ค้าทางการเกษตรและอาหารรายใหญ่ของโลก เรื่องที่ 3.2.1 สารกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ (pesticide) เป็นสารที่ใช้เพื่อป้องกัน ทําลาย ไล่หรือ ลด ปัญหาของศตั รพู ืชและสตั ว์กอ่ ความรําคาญ สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ อาจเป็นสารเคมี หรือ สารชีวภาพ (เช่น ไวรัส หรือ แบคทีเรีย) ท่ีใช้ทําลาย หรอื ยับยง้ั การเจรญิ เตบิ โตแพร่พันธ์ุ ของสัตว์ (แมลง หนู หอย) วัชพืช หรือ จุลชีพ ท่ีส่งผลกระทบกับพืชหลักท่ี เพาะปลกู ใหค้ ุณภาพหรือปรมิ าณต่าํ ลง สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ แบ่งตามศัตรูพืชได้ คือ ยากําจัดวัชพืช ยาฆ่าแมลง ยากําจัดเชื้อรา และสาร กําจดั แบคทเี รยี นอกจากนน้ั ยังมีสารอืน่ ๆ อีกเช่น ยาเบื่อหนู ยาเบื่อนก ยาฆา่ หอย เร่ืองที่ 3.2.2 สารเร่งเน้ือแดง (Beta-agonist) สารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์เป็นตัวยาสําคัญที่ใช้ยา บรรเทาโรคหอบ หืด ช่วยในการขยายหลอดลม มีฤทธ์ิช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ ช่วยให้กล้ามเน้ือมดลูก คลายตวั และชว่ ยใหก้ ล้ามเนอ้ื ขยายตวั เพิ่มการสลายตวั ไขมนั ที่สะสมในรา่ งกาย ภาพที่ เน้อื สตั ว์ทมี่ มี กี ารใชส้ ารเรง่ เนอ้ื แดง ทมี่ าของภาพ https://www.google.co.th  

22    ในประเทศไทย ได้มีการนําสารในกลุ่มบีตา-อะโกนิสต์โดยเฉพาะ เคลนบิวเทอรอล (Clenbuteral) และซัลบูทามอล (Salbutamol) มาใช้เติมลงในอาหารหมู สารนี้จะตกค้างในเนื้อหมู มาถึงผู้บริโภค เป็น อนั ตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard) โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรู้จัก และเร่ิมใช้สารบีตา-อะโกนิสต์ โดยเฉพาะเคลนบิว-เทอรอลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 โดยใช้ช่ือทางการค้าต่างๆ กัน เชน่ เลนดอล โดโซลบี แอมโปรฟดี บดี อล 2201 และแมคโต-เอส เป็นต้น เนอ่ื งจากไมม่ กี ารใช้เคลนบวิ เทอรอลในยาคน และความเข้มงวดในการสั่งนําเข้าประเทศ ดังน้ันสารเร่ง เนื้อแดงอีกชนิดหนึง่ ที่นิยมในปัจจุบันคือ ซัลบูทามอล (Salbutamol) ซึ่งหาซ้ือได้ง่ายกว่าเพราะมีการใช้เป็นยา ของคน แต่นําซัลบูทามอลมาใช้ผิดวัตถปุ ระสงค์ คอื ใช้เปน็ สารเรง่ เนื้อแดงโดยผสมในอาหารและนํ้าสําหรับเล้ียง หมู เพ่ือใหซ้ ากหมมู ีเน้อื แดงมาก มีไขมนั น้อยซงึ่ ทาํ ใหไ้ ดร้ าคาดี อันตรายจากการบริโภคเนื้อหมูทีม่ ีสารเรง่ เน้ือแดงตกค้าง การบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอยู่ มีผลต่อการทํางานของระบบประสาทที่ควบคุมการ ทํางานของกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเน้ือเรียบของหลอดเลือด หลอดลม กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น อาจมีอาการ มือสั่น กล้ามเน้ือกระตุก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ บางรายมีอาการเป็น ลม นอนไม่หลับ คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการทางจิตประสาท และเป็นอันตรายมากสําหรับหญิงมีครรภ์และผู้ท่ี เปน็ โรคหัวใจ ความดนั โลหติ สูง เบาหวาน และโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ เร่ืองท่ี 3.2.3 สารเร่งการเจริญเติบโต (สารควบคุมการเจริญเติบโต) หรือที่เรียกกันท่ัวไปว่า ฮอร์โมน จัดเปน็ กลมุ่ ของสารทก่ี าํ ลังไดร้ ับความสนใจอย่างมากในปัจจุบันนี้ เน่ืองจากสามารถใช้ประโยชน์ได้ กว้างขวางและเห็นผลได้ค่อนข้างเด่นชัด เม่ือกล่าวถึงฮอร์โมนพืช (plant hormones) ก็เชื่อว่าทุกท่านคง เคยไดย้ ินและร้จู กั ว่าเปน็ สารที่ใชฉ้ ดี พ่นให้ตน้ ไม้เพือ่ ใหม้ กี ารออกดอก ติดผลตามท่ีต้องการ แต่โดยความจริง แล้ว คําว่า ฮอร์โมน พืชน้ีมีความหมายในเชิงวิชาการว่า เป็นสารอินทรีย์ที่พืชสร้างขึ้นเองในปริมาณน้อยมาก แต่มีผลในด้านการส่งเสริมหรือยับบ้ังการเปล่ียนแปลงทางสรีรวิทยาภายในต้นพืชน้ัน ๆ ท้ังน้ีไม่รวมพวก นํ้าตาลหรือสารอาหารท่ีเป็นอาหารพืชโดยตรง จะเห็นได้ว่าพืชสร้างฮอร์โมนข้ึนน้อยมาก โดยมีปริมาณเพียง พอท่จี ะควบคุมการเตบิ โตภายในต้นพืชนน้ั ๆ ดงั นนั้ การสกัดฮอร์โมนออกมาจากตน้ พืช เพอ่ื ไปพ่นใหต้ น้ ไมอ้ ่นื ๆ จึงเป็นเร่ืองยากและไม่คุ้มค่า จึงได้มีการค้นคว้าและสังเคราะห์สารต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน ธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์แทนเม่ือเป็นเช่นนี้ สารท่ีเรานํามาฉีดพ่นให้ต้นพืชเพื่อให้เกิดลักษณะตามที่เรา ต้องการน้ัน จึงไม่ใช่ฮอร์โมนพืชแต่จัดเป็นสารสังเคราะห์ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน จึงได้มีการบัญญัติศัพท์ ทางวิชาการข้ึนมาว่าสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช (plant growth regulators) ซ่ึงมีความหมายถึง ฮอรโ์ มนพชื และสารสงั เคราะห์ มีคุณสมบัติในการกระตุ้นยับยัง้ หรอื เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางสรีรวิทยาของ พืชได้ การเติบโตของพืชในทุกขั้นตอนล้วนแล้วแต่ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการงอกของ เมล็ดจนกระท่ังต้นตาย ดังน้ันการใช้สารสังเคราะห์ ซ่ึงมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนฉีดพ่นให้กับต้นพืชจึงเป็นการ เปลยี่ นระดับความสมดลุ ของฮอรโ์ มนภายใน ทําใหต้ น้ พชื แสดงลกั ษณะตา่ งๆ ออกมานอกเหนือการควบคุมของ ธรรมชาติแต่กอ่ นที่จะใชส้ ารสังเคราะห์เหลา่ น้ีให้ได้ผลควรท่ีจะต้องศึกษาคณุ สมบัติฮอร์โมน และสารสังเคราะห์  

23    ชนิดต่าง ๆ โดยละเอียดเสียก่อนตัวอย่างของฮอร์โมนและสารสังเคราะห์ชนิดต่างๆ ออกซินจิบเบอเรลลิน ไซโตไคนินเอทิลีนและสารปลดปล่อยเอทิลีน สารชะลอการเจริญเติบโตของพืชสารยับย้ังการเจริญเติบโตของ พชื และสารอืน่ ๆ ตอนที่ 3.3 เคร่ืองสําอาง เครื่องสําอางคือส่ิงท่ีใช้ตบแต่งผิวหนัง ผม เล็บ ฟัน และใบหน้าให้ดึงดูดสายตาและทําให้แลดูสวยงาม ข้ึน เม่ือคิดเปรียบเทียบจํานวนผู้ใช้เคร่ืองสําอางวันหนึ่งเป็นล้าน ๆ คนกับจํานวนผู้แพ้เครื่องสําอางแล้ว จะ เห็นว่ามีการแพ้นอ้ ยมาก จากสถติ ิของผู้ผลติ เคร่อื งสาํ อางพบวา่ มีลูกค้าประมาณ 1 ในแสนคนเทา่ น้นั ทมี่ อี าการ แพ้เครื่องสําอาง แต่จากสถิติของแพทย์โรคผิวหนังพบว่า มีผู้ป่วยประเภทน้ี 2 - 4  ของคนไข้โรคผิวหนัง ทั้งหมด แสดงว่ามีอยู่บ้างพอสมควร อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีผู้แพ้เคร่ืองสําอางมาหาแพทย์โรคผิวหนังและ ผ้ผู ลิต เพ่ือใหท้ ําเครือ่ งสําอางท่ใี ช้ได้โดยปลอดภยั มากข้ึน ลักษณะของผวิ หนงั อักเสบที่เนอ่ื งจากเครือ่ งสําอาง สารเคมีในเครอื่ งสําอาง อาจจะมีพิษตอ่ ร่างกายไดต้ ่าง ๆ กนั ดงั น้ี 1. กัดผวิ หนงั (Irritant reaction) 2. ทําใหเ้ กดิ การแพ้ (Allergic dermatitis) 3. ทาํ ให้แพแ้ สงแดดงา่ ย (Photo-sensitivity reaction) 4. อดุ รูต่อมเหงื่อและท่อขมุ ขน และอาจทาํ ใหเ้ กดิ เป็นผ่ืนเป็นสะเกด็ (Granulomatous reaction) 5. ทาํ ให้ขน ผม และเลบ็ แตก วธิ ีคน้ หาเคร่ืองสาํ อางทที่ าํ ให้แพ้ บางคร้ังกห็ าได้งา่ ย แตบ่ างครั้งก็หาได้ยากมาก มีวธิ ีการตา่ ง ๆ ดังนี้ 1. ใชว้ ธิ หี ยุดใช้ชวั่ คราว โดยปฏบิ ตั ิดังนี้ ก. หยุดใช้เคร่ืองสาํ อางทุกชนดิ เวน้ เสียแตล่ ฟิ สตคิ (ถา้ ริมฝปี ากไม่แพ)้ ข. สระผมด้วยสบธู่ รรมดาที่ไม่มีนํา้ หอมปน การสระน้กี เ็ พ่อื จะล้างเครอ่ื งสาํ อาง เช่น นาํ้ มนั ใส่ผม หรือยาย้อมผมออกเสียให้หมด ค. ล้างหน้าด้วยสบู่ธรรมดาที่ไมม่ นี า้ํ หอมปน ง. ลา้ งยาทาเล็บออกให้หมด จ. ให้เอาเครือ่ งสําอางท้ังเก่าและใหม่ส่งไปใหแ้ พทยท์ ดสอบรวมทัง้ ฟองนํ้าและแผน่ แตะหน้า ฉ. ถ้าเพ่งิ ไปเสรมิ สวยมาใหม่ ๆ และเกิดการแพ้ขนึ้ ใหน้ ําชอื่ และเครอ่ื งสําอางท่ใี ชส้ ่งไปใหแ้ พทย์ ตรวจดว้ ย ช. เครื่องสาํ อางท่ีแพ้ อาจเป็นชนิดใหมห่ รอื เกา่ ก็ได้ หรืออาจเป็นชนิดเกา่ แต่ผลิตขนึ้ ใหมโ่ ดยเปลย่ี น หรอื เติมสว่ นผสมใหม่  

24    หลังจากทําดังน้ีแล้ว ถ้าผื่นแพ้หายไป ก็แสดงว่าคงมีสารที่ทําให้แพ้ในเคร่ืองสําอางน้ัน ๆ ข้ันต่อไปเมื่อ หายแพ้ดีแล้วค่อย ๆ นําเคร่ืองสําอางต่าง ๆ มาใช้ทีละอย่าง ๆ โดยให้เว้นระยะนานพอสมควร เพื่อรอดู ปฏิกิริยาให้แน่ว่าเคร่ืองสําอางชนิดใดท่ีเป็นตัวต้นเหตุทําให้แพ้ เมื่อพบแล้วก็ควรทิ้งไปและเลิกใช้โดยเด็ดขาด แผ่นแตะหน้าและฟองนํ้าที่เคยใช้แตะหรือถูกต้องกับเครื่องสําอางท่ีแพ้น้ันก็ต้องทิ้งไปด้วย คีมดัดขนตาที่เคย โดนเคร่อื งสาํ อางทแี่ พ้ ก็ตอ้ งล้างใหส้ ะอาด 2. การทดสอบดว้ ยการทา (Patch test) คอื เอาเคร่อื งสาํ อางทสี่ งสยั วา่ แพ้ มาทาบนผิวหนัง ถ้ามีการ แพ้ ก็จะเกิดเป็นผื่นข้ึนภายใน 48 ช่ัวโมง ถ้าสงสัยว่าเคร่ืองสําอางน้ันจะทําให้แพ้แสงแดดง่าย เม่ือทาสารนั้น แล้วก็ควรให้ถูกกับแสงแดดด้วย แล้วดูว่าจะมีปฏิกิริยาอะไรเกิดขึ้นบ้าง การทดสอบด้วยวิธีน้ีอาจนํามาทดลอง ใช้กับเคร่ืองสําอางท่ีจะซ้ือใช้ใหม่ เพื่อให้แน่ใจว่าจะทําให้แพ้หรือไม่ ก็โดยเอาเครื่องสําอางนั้นท่าบนผิวหนัง ใกลบ้ รเิ วณทีเ่ ราจะใช้ทาจริง ๆ เชน่ ถ้าจะทดสอบกบั ยายอ้ มผม ก็ควรทาํ การทดสอบกับบรเิ วณต้นคอ สารเคมีท่ีต้องระวังในเครื่องสําอาง 1. สารกันเสียประเภทพาราเบน (Paraben Preservatives) หน้าที่ของมันก็ตามช่ือนั่นแหละ คือ กันการเน่าเสียของผลิตภัณฑ์ เน่ืองจากราคาถูกจึงถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายในรูปของเมธิลพาราเบน (Methylparaben) และ เอธิลพาราเบน (Ethylparaben) มักจะนํามาผสมกับผลิตภัณฑ์จําพวกครีมนวดผม นํ้ายาดับกล่ินกาย ผลิตภัณฑ์บํารุงผิว แชมพู ครีมบํารุงผิวหน้า ครีมทําความสะอาด เป็นต้น เจ้าสารเคมีตัวนี้ สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและกระแสเลือดได้รวดเร็ว และเพ่ิมอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งได้มาก โดยเฉพาะ มะเร็งเตา้ นม ถึงจะมกี ารกําหนดใหใ้ ชใ้ นปรมิ าณน้อยในระดับหน่ึง แต่ก็จัดได้ว่าเป็นสารเคมีอันตรายตัวแรกเลย ที่เราต้องพยายามหลีกเล่ียง 2. โพลีเอธิลีนไกลคอล (Polyethylene Glycol หรือ PEG)เป็นสารเคมีท่ีใช้ในอุตสาหกรรม เคร่ืองสําอางเพื่อทําให้เนื้อของผลิตภัณฑ์ดูข้นขึ้น มักจะใช้กับผลิตภัณฑ์บํารุงผิว เป็นสารเคมีที่เมื่อสัมผัสกับผิว ของเรา แล้วอาจจะทําให้เกิดการรบกวนกับไขมันธรรมชาติที่ผิวของเรา และอาจจะทําให้เกิดการเส่ือมสภาพดู แก่กอ่ นวัยของผวิ ได้ นอกจากน้ันยังทําใหผ้ วิ ออ่ นแอลงทําให้ตดิ เชื้อและแพ้ส่ิงตา่ งๆ ได้ง่ายข้ึน 3. โซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate หรือ SLS)เป็นสารสังเคราะห์ที่มักจะถูกใช้ใน ผลิตภณั ฑท์ เ่ี ก่ียวกับปากและฟัน แชมพู ครีมอาบน้ํา เพอื่ ทาํ ให้เกิดฟอง บางทีผู้ผลิตเคร่ืองสําอางอาจจะเล่ียงใช้ คําวา่ \"มาจากมะพร้าว\" ก็ได้ สารตัวน้ีอาจจะทําให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง แสบตา สามารถทําให้เกิดความเสียหาย ต่อร่างกายของเราได้ในระยะยาว เป็นสารเคมีที่สามารถซึมลงผิวหนังได้รวดเร็วมาก และก่อให้เกิดผลเสียต่อ ปอด สมอง และหัวใจ เราควรหลกี เลี่ยง 4. ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl Alcohol)ใช้กันในผลิตภัณฑ์บํารุงผิวจํานวนมาก โดยทั่วไป จะทําหน้าท่ีเป็นตัวทําละลายในผลิตภัณฑ์น้ันๆ และสามารถทําอันตรายกับผิวได้ ทําให้เกิดการระคายเคือง เน่อื งจากว่าสารเคมีน้ีสามารถทําลายชั้นของความเป็นกรดที่ผิวของเราตามธรรมชาติจึงทําให้รูขุมขนอ่อนแอลง และถูกโจมตีจากเช้ือโรคง่ายขึ้น หากผิวสัมผัสกับสารน้ีนานมากๆ อาจจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในการแก่ก่อน วยั ของผวิ ได้  

25    5. ขี้ผึ้งหรือแวกซ์เหลวท่ีเหลือจากการกล่ันปิโตรเลียม (Mineral Oil)ผลิตภัณฑ์ทําความสะอาด เคร่ืองสําอาง ลิปสติก จะมีสารเคมีชนิดนี้อยู่ และจากที่มาของมัน เราก็น่าจะรู้ได้ว่าไม่ค่อยจะดีต่อผิวของเรา เทา่ ไรนัก การใช้นานๆ ทาํ ให้เกดิ ปญั หากับผวิ เชน่ ทาํ ใหร้ ขู ุมขนอดุ ตันและทําให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบ และ ถา้ พอกปดิ ทับผิวเรามากๆ เขา้ ก็เหมอื นกับทําใหผ้ วิ เราหายใจไมอ่ อกน่ันเอง 6. สีสงั เคราะห์ (Synthetic Colors) สที ่ไี ดจ้ าการสังเคราะหเ์ ป็นสว่ นหนง่ึ ทีท่ าํ ให้ตวั เคร่ืองสําอางเอง มีสีสันสดใสสวยงาม (และทําให้ผู้ใช้สวยงามข้ึนบ้างด้วย) รวมท้ังใช้ในน้ํายาย้อมผมบางชนิดด้วย เวลาดูที่สลาก เราจะเห็นเขียนว่า FD&C หรือ D&C และตามด้วยสีและตัวเลขเช่น FD&C Red No.6 เป็นต้น เราเช่ือว่าสี สังเคราะห์พวกนเ้ี ป็นสารกอ่ มะเรง็ ได้ ถา้ หลกี เล่ยี งได้กค็ วรจะเลยี่ ง 7. นํ้าหอมสังเคราะห์ (Synthetic Fragrances) ในอุตสาหกรรมเครื่องสําอาง มีน้ําหอมสังเคราะห์ อยู่หลายร้อยชนิดท่ีพร้อมท่ีจะถูกเลือกมาใช้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยท่ีเราจะไปจําช่ือพวกนี้ได้หมด โดยเฉพาะอย่าง ย่ิงสลากก็จะเขียนไว้ง่ายแค่ว่า นํ้าหอม หรือ Fragrance แค่นั้น แต่ถ้านํ้าหอมสังเคราะห์พวกนี้ก่อเร่ืองให้เรา ก็ จะเกดิ อาการระคายเคือง ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นผื่น ผิวเปลี่ยนสี ไอ อาเจียน เราจึงต้องคอยสังเกตอาการ ของตัวเองในการใช้งานเคร่ืองสําอางด้วย ทางท่ีดีก็คือ เลือกเครื่องสําอางที่มีกลิ่นน้อยๆ ไม่จัดจ้านนัก น่าจะ ดกี ว่า ตอนที่ 3.4 นาํ้ ยาดับกลนิ่ และสเปรยป์ รับอากาศ กล่ินหอมต่างๆ น้ันคงเป็นที่ช่ืนชอบของทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นสุภาพสตรีหรือสุภาพบุรุษก็ตามแต่ของ บางอย่างท่ีสวยงามหอมนั้น บางที อาจจะมีพิษร้ายฝังตัวอยู่ก็ได้ ตัวอย่างท่ีใกล้ตัวเราน้อยกว่าน้ําหอมที่ใส่กันก็ คอื บรรดาน้าํ หอมปรับอากาศน่ันเอง ในปัจจุบัน มีนํ้าหอมปรับอากาศต่างๆ ที่เราใช้ในการดับกลิ่นให้กับห้อง หรือสถานท่ีต่างๆ ให้เลือกกัน มากมาย ไมว่ ่าจะเปน็ แบบนํ้า แบบเจล แบบสเปรย์ แบบระเหยด้วยความร้อน ท้ังหมดถูกออกแบบมาเพื่อสร้าง กล่ินที่เราช่ืนชอบให้กระจายออกไปในบริเวณท่ีได้ติดตั้งน้ําหอมเหล่าน้ันเอาไว้ ลําพังตัวน้ําหอมน้ันคงไม่ได้ทํา อันตรายให้กับเราได้สักเท่าไร แต่สิ่งที่แฝงมากับนํ้าหอมเหล่าน้ีในบางผู้ผลิตน้ัน น่าเป็นห่วงเพราะทําให้เกิด อันตรายจากนาํ้ หอมปรบั อากาศอันแสนหอมหวนได้ อันตรายจากน้าํ ยาดบั กล่นิ และนา้ํ หอมปรบั อากาศ ในประเทศสหรฐั อเมริกาเอง มีการตรวจสอบน้าํ หอมปรับอากาศทวี่ างจําหน่ายอยใู่ นทอ้ งตลาด พบวา่ มี จํานวนมากท่ีมีสาร พาทาเลต (phthalates, อาจจะออกเสียงที่ถูกต้องเป็น ธาลเลทส์ ก็ได้) ซ่ึงเป็นกลุ่มของ สารเคมีท่ีใช้ในการละลายและอุ้มเอาส่วนท่ีเป็นนํ้าหอมเอาไว้ สารเคมีกลุ่มน้ีเป็นสารตัวเดียวกันกับท่ีใช้ในการ ทําให้พลาสติกอ่อนตัวลง และใช้ในการทํากาวต่างๆ และยังพบได้ในเครื่องสําอางอีกหลายอย่าง สี ยาทาเล็บ และของเด็กเลน่ เดก็ อกี  

26    มีการศึกษาในหนทู ดลองและคน พบว่า ถ้าได้รับสารพาทาเลตในปริมาณมาก จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็ง ได้มากข้ึน มีผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศในทารกให้ผิดปกติไป และยังพบว่ามีผลกระทบต่อความสามารถในการ เจรญิ พนั ธอุ์ กี ด้วย เรียกได้ว่าเจ้าพาทาเลตนี้เป็นสารอันตรายจากน้ําหอมปรับอากาศท่ีมีผลได้มากกับคนเราเลย ทเี ดียว การหลีกเลยี่ ง เมื่อทราบว่าน้ําหอมที่เราใช้ปรับอากาศกัน อาจจะมีความเสี่ยงท่ีจะมีสารอันตรายแฝงอยู่ในน้ัน ก่อน การซื้อก็คงแนะนําเพ่ือนๆ ว่าจะต้องดูฉลากข้างบรรจุภัณฑ์กันเสียหน่อยว่าได้ระบุว่ามีพาทาเลตอยู่หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา กลับไม่ได้บังคับให้ผู้ผลิตต้องระบุว่ามีพาทาเลตอยู่ท่ีฉลาก แม้ว่าจะมีสารดังกล่าวอยู่ก็ตาม ดังน้ันวิธีที่ดีที่สุดคือ ควรพยายามหลีกเล่ียงการใช้น้ําหอมปรับอากาศในท่ีที่เรา ต้องสูดดมในปริมาณมากๆ ทุกๆ วันเช่น ในห้องเล็กๆ ที่อับทึบที่เราจะต้องอยู่นานในแต่ละวัน เช่นห้องนอน ขนาดเล็ก นอกจากนั้นอาจจะหนั มาใช้วิธีทางธรรมชาตเิ ชน่ วางผงกาแฟไวใ้ นห้อง ฝานมะนาวเป็นแว่นบางๆ ใส ไว้ในถังขยะ นําถาดขี้บุหร่ีออกไปจากห้อง เหล่านี้ก็ทําให้อากาศในห้องบริสุทธิ์ขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมีท่ีเรา ไม่รจู้ ริงเร่อื งท่มี าทีไ่ ปเข้าชว่ ย ซ่ึงอาจจะแฝงไปดว้ ยอนั ตรายทเ่ี ราไมท่ ราบ ตอนท่ี 3.5 สารพษิ ในภาคอตุ สาหกรรม ผลสําเร็จจากการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ผลักดันให้ เศรษฐกิจของประเทศ ขยายตัวเพิ่ม ขึ้นโดยเฉล่ียร้อยละ 8.2 ต่อปี โดยมีรายได้เฉล่ียต่อหัวของประชากรในปี พ.ศ.2537 ประมาณ 60,000 บาท ฐานะทางเศรษฐกจิ การเงนิ ของ ประเทศอยใู่ นเกณฑ์ดี มีเสถียรภาพ สัดส่วน คนยากจนต่อประชากรท้ังประเทศลดลงจากร้อยละ 26.3 ในปี พ.ศ. 2529 เหลือร้อยละ 13.7 ในปี พ.ศ.2535 และปัจจุบันธนาคารโลก ได้ประกาศให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการเป็นประเทศยากจนแล้ว จากข้อมูลตัวเลข ดังกล่าว ทําให้เราสามารถมองภาพรวมของการพัฒนาประเทศไทย เป็นภาพที่ประสบผลสําเร็จ และบรรลุ เป้าหมาย ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างดีย่ิง แต่เบื้องหลังตัวเลขความสําเร็จท่ีสวยหรูน้ี ได้ซ่อนบาดแผล แห่งการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับสังคมและสิ่งแวดล้อมนานับประการ อาทิเช่น สภาพสังคมมีความสับสนและมี ความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น ช่องว่างของการกระจายรายได้ของประชากรทั้งประเทศยัง มีแนวโน้มสูง ทรพั ยากรธรรมชาติ และสง่ิ แวดล้อมถูกทําลายลงไป ตลอดเวลา สาเหตตุ า่ ง ๆ เหล่าน้ลี ้วนแต่ทําใหค้ ุณภาพชวี ิต ของคนไทยในสงั คมเส่ือม โทรมลงไปเปน็ ลําดับ จากนโยบายขยายภาคการผลิต โดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีเป็นฐาน แต่มิได้ คํานึงถึงแนวทางการอนุรกั ษท์ รพั ยากรธรรมชาติ การป้องกันปัญหามลพิษและขาดหลักการกําจัดกากของเสียที่ ถูกต้อง ส่งผลให้มีการนําเข้าสารเคมีท้ังในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นจํานวนมาก โดยขาดการ ป้องกันผลกระทบทางด้านสิ่งแวดลอ้ ม คดิ โดยเฉลย่ี รายปี เปน็ สารเคมปี ระเภทสารอนินทรีย์ประมาณ 270,000 ตัน และสารอนิ ทรียป์ ระมาณ 300,000 ตนั การใชส้ ารเคมีดงั กล่าวยงั ไมถ่ กู ตอ้ งตรงตามหลกั วชิ า เนื่องจากผู้ใช้ และผู้รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดการจัดการท่ีดี เป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติภัย และสารพิษ ตกค้างในส่ิงแวดล้อม ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และส่ิงมีชีวิตอ่ืนๆ ตลอดจนเป็นปัญหาต่อการส่งออก ผลิตภัณฑ์ไปจําหน่ายยังตลาดโลก เม่ือเป็นเช่นนี้ความรู้ความเข้าใจเก่ียวกับสารเคมีและวัตถุมีพิษ จึงเป็น  

27    ส่ิงจําเป็นอย่างย่ิงท่ีผู้ประกอบการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะต้องให้ความสนใจใฝ่รู้ และระมัดระวังเป็น พิเศษ เพราะส่ิงต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อส่ิงมีชีวิต นับจาก ปัจจุบันสู่อนาคตและมนุษยไ์ ม่สามารถจะปฏิเสธ หรือหลกี เลย่ี งความรบั ผิดชอบ เหลา่ นไ้ี ด้เลย สารพษิ ในภาคอุตสาหกรรม สารเคมไี ดเ้ ข้ามามีความสําคัญต่อวงการอุตสาหกรรมและในชีวิตประจําวันของคนโดยท่ัวไป โดยมีการ ใชก้ นั อยา่ งแพร่หลายและในปริมาณท่ีสูงมาก หากผู้ใช้ไม่มีความรู้ไม่ทราบพิษภัยของสารเคมีหรือใช้กันอย่างไม่ ระมดั ระวังสารเคมีเหล่าน้ัน จะเข้าสู้ร่างกายผู้ใช้และผู้ท่ีอยู่รอบข้าง ซ่ึงสามารถทําอันตรายต่อสุขภาพได้รุนแรง จนถงึ ขน้ั เสียชวี ิตได้ ภาพท่ี สารเคมที ่ใี ชใ้ นภาคอตุ สาหกรรม ทม่ี าของภาพ https://www.google.co.th สารเคมีทม่ี ักใชใ้ นภาคอตุ สาหกรรม 1. แคดเมียม ( Cd ) Cadmium 2. โครเมยี่ ม( Cr )Chromium 3. ตะก่ัว ( Pb )Lead 4. ฟลูออรีน ( F )Fluorine 5. แมงกานสี ( Mn )Manganese 6. สารหนู ( As )Arsenic สารเคมสี ามารถเข้าสู่รา่ งกายได้ 3 ทางคือ ทางปาก โดยการด่ืมกินเข้าไปจากการปนเปื้อนมากับอาหารและน้ําดื่ม การใช้มือท่ีเป้ือนสารเคมีหยิบ จับอาหารเข้าปาก หรือการกินเข้าไปโดยตรง เช่น จากความต้ังใจ (การฆ่าตัวตาย) ความเข้าใจผิดหรือความ ประมาท ทางผิวหนัง สารเคมีสามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนังและจะดูดซึมได้ มากย่ิงข้ึนหากมีบาดแผลที่ผิวหนัง หรอื เปน็ โรคผวิ หนังอย่กู อ่ นแลว้ นอกจากนีแ้ ล้วสารเคมียังทําอันตรายโดยตรงต่อผิวหนังจากการสัมผัส สารเคมี โดยตรงหรือจากการเกิดอุบัติเหตุสารเคมีกรดอาการที่เกิดข้ึน เช่น ผื่น รอยไหม้ บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน บรเิ วณทสี่ มั ผสั สารเคมีหากสารเคมเี ขา้ ตากจ็ ะเกดิ อาการอยา่ งรุนแรง  

28    ทางการหายใจ เกิดจากการสูดดมหรือหายใจเอาสารเคมีในรูปของไอ ฝุ่นละออง ฟูม แก๊ส เข้าไป โดยตรงหรือการสูบบุหรี่ในท่ีทํางานท่ีมีสารเคมี อาการท่ีเกิดจะเร็วมากเพราะเข้าสู่ร่างกายได้อย่างรวดเร็วและ ปรมิ าณทีส่ ูงมากกว่าทางอ่นื อาการเช่น หายใจไม่ออก แน่นหนา้ อก เวยี นศีรษะหน้ามดื อาการเมื่อได้รบั สารเคมีคอื 2. ระคายเคือง 3. ผวิ หนังไหมอ้ ักเสบ 1. เกดิ ผดผนื่ คัน 5. หนา้ มดื วิงเวียน 6. มะเร็ง 4. ขาดอากาศ 8. ผลต่อทารกในครรภ์ 9. เสียชวี ิต 7. อมั พาต วิธีปฏิบตั ิตวั เมอ่ื ไดร้ ับสารเคมโี ดยการรับประทาน 1. ลดอัตราการดูดซึมและทําให้สารเคมีเจือจางลง โดยให้รีบดื่มนม หรือไข่ดิบ หรือดื่มนํ้าเปล่าทันที และ ในกรณีทผ่ี ู้ได้รบั สารเคมกี ําลังชกั หรือสลบ อย่าให้ดมื่ อะไรทง้ั สนิ้ 2. ทําใหอ้ าเจียน โดยใช้นิ้วแหย่แถวเพดานคอ หรือให้ดื่มนํ้าเกลืออุ่นจัด ๆ (ผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะในนํ้า 1 แก้ว) หรือท้ังดื่มและล้วงคอ เพื่อให้อาเจียนเอาสารพิษออกมา ข้อควรระวังในการทําให้อาเจียน คือ อย่า พยายามทําให้อาเจียนถ้าผู้ได้รับสารเคมีมีอาการชักหรือสลบ เพราะจะทําให้เศษอาหารทะลักเข้าไปใน หลอดลมและเกิดการอักเสบของปอดได้ ในกรณีท่ีดื่มกรด ด่าง หรือน้ํายาฟีนอล (ยาดับกลิ่น) ถ้าดื่มกรดให้ดื่ม น้ําปูนใส เพื่อช่วยทําให้เป็นกลาง แล้วให้ด่ืมนมเพ่ือลดการระคายเคืองก่อน แล้วจึงทําให้อาเจียน ถ้าด่ืมด่างให้ ดื่มน้ําผลไม้ เช่น นาํ้ ส้ม หรอื นาํ้ ผสมนํ้าสม้ สายชู เล็กน้อย แล้วดื่มนมหรือไข่ตกี อ่ นทําให้อาเจียน 3. ให้ยาถ่าย เพ่ือช่วยขับสารเป็นพิษออกจากลําไส้ ยาถ่ายท่ีเหมาะสมท่ีสุดได้แก่ โซเดียมซัลเฟต ดีเกลือ น้าํ มันระหงุ่ ข้อควรระวงั ในการใหย้ าถ่ายนั้น อย่าให้ในรายท่ีดื่มสารท่ีมีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น กรด หรือ ด่าง ถ้าจะ ให้ยาถ่ายในรายด่ืมกรด หรือด่างควรให้หลังจากท่ีให้ดื่มนมหรือไข่สด หรือสารท่ีจะไปทําให้กรดหรือด่าง เป็น กลางก่อน วิธีปฏบิ ตั ติ วั เมื่อได้รับสารเคมีบริเวณตา 1. ใหล้ ้างตาด้วยนาํ้ สะอาดใหม้ ากทส่ี ุดทนั ที นานอย่างนอ้ ย 15 นาที โดยเปิดเปลือกตาข้ึนให้นํ้าไหล ผ่านตา 2. ถ้าล้างนาํ้ แล้วอาการยงั ไมด่ ขี น้ึ รบี นําสง่ คนเจ็บไปโรงพยาบาลโดยเร็วและห้ามใชส้ ารเคมีแก้พษิ ใดๆ วิธปี ฏิบัตติ ัวเมือ่ ไดร้ ับสารเคมีบรเิ วณผิวหนงั 1. ถ้าสารเคมีนั้นทําปฏิกิริยากับนํ้าหรือไม่ หากสารนั้นทําปฏิกิริยากับนํ้า เช่น กรดกํามะถันเข้มข้น ให้ใช้ ผา้ สะอาดเช็ดออกจากผิวหนัง 2. ใหร้ บี ล้างออกด้วยนํ้าทนั ที นานอยา่ งนอ้ ย 15 นาที หลังจากนั้นควรอาบน้ําชําระล้างร่างกายให้สะอาด กรณีท่สี ารเคมีหกรดบรเิ วณทม่ี เี ส้อื ผา้ ปกคลุม ให้รบี ถอดเสอ้ื ผา้ แลว้ รีบล้างออกหรืออาบนํ้า  

29    วิธปี ฏิบัติตัวเมอ่ื ไดร้ ับ สารเคมีจากการสูดดม 1. ไดก้ ลนิ่ ผิดปกตใิ ห้รีบออกจากบรเิ วณน้นั ไปสดู อากาศในทโี่ ลง่ 2. ถา้ อยภู่ ายในตวั อาคารเปดิ ประตหู นา้ ตา่ งให้อากาศถ่ายเท เพ่ือให้ความเข้มขน้ ของแก๊สเจอื จางลง 3. กระตุ้นการหายใจด้วยยาดมฉนุ ๆ ตอนท่ี 3.6 ของเดก็ เลน่ ของเด็กเล่นมีส่วนสําคัญต่อการพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สมาธิ สติปัญญาและช่วยต่อยอดความคิด เสริมสร้างจินตนาการให้แก่เด็กๆ ได้ดี แต่ส่ิงสําคัญท่ีเราไม่ควรละเลย คือ เรื่องของความปลอดภัยจาก ของเด็กเล่นเด็ก เพราะของเด็กเล่นท่ีดูไม่น่าจะทําร้ายใครได้น้ันอาจจะนําอันตรายท่ีคาดไม่ถึงมาสู่เด็กๆ ได้ เชน่ กัน ภาพท่ี การสมั ผสั ของเลน่ ของเด็กเลก็ ท่มี าของภาพ http://www.kid4play.com/ สารอนั ตรายทเี่ จือปนอยใู่ นของเดก็ เล่น ศนู ย์วจิ ยั เพ่ือสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาล รามาธิบดี ได้ทําการสํารวจของเด็กเล่นในจังหวัดต่างๆ ที่จําหน่ายในห้างสรรพสินค้าและตลาดท่ัวไป จํานวน 173 ตวั อย่าง พบของเด็กเล่นเด็กทม่ี ีระดบั สารตะกั่วสูงกวา่ ความปลอดภัยตามมาตรฐานกําหนดจํานวน 31 ชิ้น คิดเปน็ รอ้ ยละ 17.9 ของของเด็กเล่นที่ตรวจสอบ (ดงั ตารางท่ี 1) ซงึ่ ของเด็กเล่นทง้ั 31 รายการที่มอี ันตรายน้ี มี ทัง้ ของเดก็ เล่นทไี่ ดร้ บั เครอ่ื งหมายมาตรฐานอตุ สาหกรรม (มอก.) และของเด็กเล่นท่ีไม่มีเครื่องหมาย มอก. เช่น หน้ากากมาร์คไรเดอร์ มีระดับค่าตะกั่วรวม 24,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ คือ 6,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือสูงกว่าค่ามาตรฐานถึง 40 เท่า รถแข่งขนาดเล็ก ระดับค่าตะกั่วรวม 15,200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ลูกบอลพลาสติก ระดับค่าตะกั่วรวม 3,397 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเกมตกปลาพลาสติก พบสารแบเรียม 1,099 มิลลิกรัม/กิโลกรัมสารโลหะหนักเหล่านี้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบของสี สารเคลือบเงา และใช้เป็นวัสดุท่ีผลิตของเด็กเล่นสําหรับเด็ก โดยอันตรายจากสารเคมีเหล่าน้ีจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการทาง สมองและ IQ ของเดก็ มพี ิษต่อผิวหนัง ทาํ ลายระบบประสาท และกลา้ มเนอ้ื  

30    ตารางที่ 1 แสดงจํานวนของเด็กเล่นที่มสี ารตะกวั่ สูงกว่าค่ามาตรฐาน กําหนดแบ่งตามเครอื่ งหมายรบั รองมาตรฐานอุตสาหกรรมและพน้ื ทสี่ ุม่ ตวั อย่าง ที่มา : รายงานโครงการ ตรวจสอบสารโลหะหนกั ในของเดก็ เล่น. โครงการพัฒนาระบบความปลอดภยั ในการ เล่นเดก็ และสนามเด็กเล่นระดับชาติ อ้างใน http://www.thaisafeplay.csip.org/toyt.html ทั้งนี้เมื่อจําแนกประเภทของสารโลหะหนักท่ีมีปริมาณมากที่สุดในของเด็กเล่นต่างๆ พบ สารตะกั่วซึ่ง สามารถทําลายระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย และยับยั้งการเจริญเติบโตของเด็ก มากถึงร้อยละ 90.32 รองลงมาคือ โครเมียมซึ่งสามารถทําลายระบบทางเดินหายใจ ทําให้เป็นมะเร็งที่ปอด และทําให้ผิวหนัง อักเสบ ร้อยละ 58.06 นอกจากน้ียงั มีสารปรอท แร่พรวง แคดเมยี ม และแบเร่ียม (ดังตารางที่ 2) ตารางที่ 2 ประเภทของสารโลหะหนกั ท่มี ีระดับเกนิ กว่ามาตรฐานในของเดก็ เล่นทตี่ รวจพบจาํ นวน 31 ช้ิน ท่ีมา : รายงานโครงการ ตรวจสอบสารโลหะหนักในของเดก็ เล่น. โครงการพฒั นาระบบความปลอดภัยในการเลน่ เดก็ และสนามเดก็ เล่นระดับชาติ อ้างใน http://www.thaisafeplay.csip.org/toyt.html  

31    คณุ สมบตั ิของสารพิษท่ีมผี ลกระทบตอ่ ร่างกายของเด็ก 1. โลหะหนักบางชนิด เช่น แคดเมียมจะทําลายตับ ไต ระบบประสาท กระดูก ทําให้ปวดกระดูก และ ไตวายได้ 2. สารทําละลายอินทรีย์หรือตัวทําละลาย เป็นส่วนประกอบของกาว แลกเกอร์ สีที่ใช้พ่นทา สารชนิด นี้มีกลิ่นฉุน มีพิษทําให้ระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ และเนื้อเยื่ออ่อน และมีพิษต่อระบบต่างๆ ของ ร่างกาย รวมท้ังสมอง ระบบประสาทและกล้ามเน้ือ ทําให้ความจําเส่ือมอารมณ์แปรปรวน สารทําละลาย อนิ ทรยี ์บางชนดิ จะทําให้โลหิตจาง และบางชนิดเปน็ สารก่อมะเร็งทําให้เปน็ โรคมะเรง็ เม็ดเลือดขาวได้ 3. สารเคมีกําจัดแมลงและสารเคมีกําจัดเช้ือรา มีโอกาสพบในของเด็กเล่นที่ผลิตด้วยวัสดุที่ทําจากไม้ เนื่องจากใช้สารเคมีกําจัดแมลงและเชื้อรา สารชนิดน้ีจะมีผลทําลายสมอง ระบบประสาท มีผลต่อการ เคลือ่ นไหวของกล้ามเนื้อ บางชนดิ เป็นสารก่อมะเรง็ 4. พาทาเลต เป็นส่วนประกอบในวัสดุท่ีเป็นพลาสติกชนิดอ่อน สารนี้มีผลทําลายระบบสืบพันธุ์ สมอง และระบบประสาท 5. สารเคมีผสมในอาหาร เนื่องจากในปัจจุบันน้ีของเด็กเล่นเด็กหลายชนิดมักมีการผลิตเป็นภาชนะท่ี บรรจุขนมดว้ ย เพอื่ จูงใจเดก็ ใหน้ ิยมซือ้ เพราะจะได้ทั้งของทรี่ ับประทานไดแ้ ละไดข้ องเด็กเลน่ ดว้ ย ดงั นน้ั จึงต้อง ระวังสารเคมีเจือปนในขนมเหล่านี้ ทั้งจากสารเคมีจากภาชนะบรรจุเป็นของเด็กเล่นและสารเคมีท่ีเจือปนใน ขนม ตัวอย่างสารเคมีที่อาจพบเจือปนในขนมท่ีอยู่ในรูปของของเด็กเล่น ได้แก่ สารเคมีท่ีกล่าวมาแล้วข้างต้น และสารเคมีที่เป็นสารถนอมอาหาร สารเคมีที่ทําให้เกิดรสเผ็ด แอลกอฮอล์ และสารโปรตีนเทียม (เมลามีน) ท่ี อาจผสมในขนมที่มีส่วนผสมของนม ช๊อกโกแล็ต - สารถนอมอาหารจะมีฤทธิ์ระคายเคอื งทางเดนิ อาหาร อาจทําลายตบั และไตได้ - แอลกอฮอลจ์ ะมีฤทธ์ิทาํ ใหม้ นึ เมา เคลอ่ื นไหวผดิ ปกติ หายใจหอบ หวั ใจเตน้ แรง - สารเมลามนี จะมีฤทธ์ิทาํ ใหค้ ลื่นไสอ้ าเจยี น ทําลายตบั และไต และอาจเสียชวี ติ ได้ - สารท่ีทาํ ให้เกิดรสเผ็ด จะระคายเคอื งปาก ล้นิ และลําคอ รสู้ กึ แสบรอ้ น จะเห็นได้ว่าของเด็กเล่นมีทั้งคุณและโทษ หากเลือกซื้อของเด็กเล่นให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก ของเด็กเล่นก็จะเป็นส่ิงท่ีชว่ ยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กได้อย่างเต็มที่ แต่การเลือกซ้ือของเด็กเล่นนั้นเราควร ใส่ใจกันอีกสักนิดว่า ของเด็กเล่นที่ดูน่ารัก มีสีสันที่สวยงามน้ัน มีความปลอดภัยสําหรับเด็กๆ ของเรามาก พอแลว้ หรอื ไม่  

32    ใบงาน เรือ่ ง สารพษิ จากครวั เรือน ให้ผู้เรยี นตอบคาํ ถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. สารพษิ ถกู แบ่งออกเปน็ 9 ชนิด อะไรบ้าง พร้อมยกตัวอยา่ ง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………....................................................................................................................…………… 2. จงยกตวั อย่าง สารทาํ ความสะอาด หรอื สารซักล้างมาอย่างน้อย 5 อย่าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………....................................................................................................................…………… 3. จงยกตัวอยา่ ง วัสดุบรรจุอาหารท่ไี ม่เปน็ พษิ ตอ่ สงิ่ แวดลอ้ มมาอย่างนอ้ ย 2 อย่าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………..........................................................................................……………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. วสั ดบุ รรจุอาหารใดท่ที าํ ลายสิง่ แวดล้อมมากท่ีสดุ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. จงยกตัวอย่าง สารฆ่าแมลงภายในบา้ นมาอย่างนอ้ ย 2อย่าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………  

33    ใบงาน เร่อื ง สารพษิ ในภาคเกษตรกรรม ให้ผ้เู รยี นตอบคําถามตอ่ ไปน้ีใหถ้ ูกต้อง 1. สารเร่งเนอื้ แดง เปน็ สารในกลมุ่ ใดและเป็นตัวยาสําคญั ทใ่ี ช่ในส่ิงใด ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………..................…………………………… ……………………………………………………………………………………………........………………………………………… 2. จงบอกอนั ตรายจากการบริโภคเน้อื หมทู มี่ สี ารเรง่ เนอ้ื แดงตกค้างมาอย่างน้อย 5 ขอ้ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………...............……………………………………… ……………………………………………………………………….......………………………………………………………………… 3. เพราะเหตใุ ดผคู้ า้ เน้อื หมู จึงต้องใชส้ ารเรง่ เนื้อแดง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………...............………………………………………………… ………………………………………………………………........……………………………………………………………………… 4. สารควบคมุ การเจรญิ เตบิ โตของพืช มักนิยมเรยี กอีกช่อื หน่ึงว่าอะไร ……………………………………………………........………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………...............………………………………………………………………… 5. จงยกตัวอยา่ งของฮอรโ์ มนหรือสารสงั เคราะหช์ นดิ ต่าง ๆของพืชมา 5 ชนดิ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………...............…………………………………………………………………… ………………………………………………….........……………………………………………………………………………………  

34    ใบงาน เร่อื ง สารพษิ ในภาคอตุ สาหกรรม ให้ผูเ้ รียนตอบคําถามต่อไปน้ีใหถ้ กู ตอ้ ง 1. สารสารพิษและสารเคมีทม่ี ักจะใช้ในภาคอุตสาหกรรมมอี ะไรบ้าง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………..............…………………………… …………………………………………………………………………………………………………….......…………………………… 2. สารเคมสี ามารถเข้าสรู่ ่างกายได้ทางใดบ้าง พร้อมท้ังบอกอาการของผู้ได้รบั สารเคมี เขา้ สรู่ า่ งกาย มา อยา่ งนอ้ ย 5 อาการ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………...............………… ……………………………………………………………………………………………….......………………………………………… 3. จงยกตัวอย่างสารเคมีทคี่ วรระวงั ในเครือ่ งสาํ อาง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………..............……………………………… ……………………………………………………………………………….......………………………………………………………… 4. จงบอกอันตรายจากนา้ํ ยาดบั กลิ่นและนํา้ หอมปรับอากาศมาอยา่ งนอ้ ย 2 อย่าง ………………………………………………………………………………….......……………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………....…………………………… …………………………………………………………………………………………………………………....………………………… 5. สารอนั ตรายทม่ี กั เจอื ปนอยใู่ นของเด็กเล่น มอี ะไรบ้าง ………………………………………………………………………………………………………...…………………………………… ………………………………………………………………………………………………………...…………………………………… ……………………………………………………………………………………………………...………………………………………  

35    บทที่ 4 สารพษิ จากอาชีพ  

36    แผนการเรียนรปู้ ระจําบท บทท่ี 4 สารพษิ จากอาชพี สาระสาํ คญั อาชีพต่างๆ ล้วนต้องมีการนําสารเคมีมาใช้ในการทํากิจกรรมต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่อ บุคคล และส่ิงมีชีวิตอื่นๆ รอบตัวเรา ดังน้ันเราควรทราบการปฏิบัติตนในขณะทํางานเพ่ือลดอันตรายท่ีจะ เกดิ ขนึ้ ได้ ผลการเรยี นรทู้ ี่คาดหวงั 1. ผ้เู รียนสามารถบอกประเภทและชนดิ ของสารพิษในครัวเรอื นและอาชพี ได้ ขอบข่ายเนอ้ื หา การเข้าส่รู ่างกายของสารพษิ กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ใหผ้ ูเ้ รยี นศกึ ษาเน้ือหา ในตอนที่ 4 สารพษิ จากอาชีพ และศกึ ษา ค้นคว้าเพม่ิ เติมจากแหล่งเรียนรู้ อืน่ ๆ เชน่ ห้องสมดุ ประชาชนอําเภอ ฯลฯ 2. ครูและผูเ้ รยี น สรุปเนอื้ หาร่วมกนั 3. ใหผ้ ูเ้ รียนทาํ ใบงาน ตอนที่ 4 สารพษิ จากอาชีพ ส่ือประกอบการเรยี นรู้ 1. ใบงานบทท่ี 4 สารพิษจากอาชีพ 2. แหล่งเรยี นรูอ้ ่นื ๆ เชน่ ห้องสมุดประชาชนอาํ เภอ การสบื คน้ ทางอินเทอรเ์ นต สื่อวารสาร ฯลฯ ประเมนิ ผล 1. ประเมนิ จากผลการทํา ใบงาน ตอนที่ สารพิษจากอาชีพ 2. สังเกตการณม์ สี ว่ นร่วมในกจิ กรรมการเรยี นรู้  

37    บทที่ 4 สารพษิ จากอาชีพ ส่ิงแวดล้อมมีอิทธิพลและความสําคัญอย่างมากต่อการดํารงชีวิตของคนและสัตว์ท้ังหลาย เพราะ สภาวะแวดลอ้ มทีเ่ ปน็ อย่รู อบๆ ตวั เราเป็นธรรมชาตทิ จี่ ุนเจือเอื้ออํานวยและบันดาลให้เกิดสรรพส่ิงมีชีวิตบนพื้น พิภพนี้ธรรมชาติดังกล่าว ได้แก่ ดิน อากาศ แสงแดด น้ํา ธาตุ พืชพันธุ์ธัญญาหารและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ดังน้ัน คุณภาพของชีวิตเป็นปกติสุขสมบูรณ์ได้ย่อมขึ้นกับสภาวะแวดล้อมที่มีคุณภาพเหมาะสมอย่างแท้จริงเสมอ นบั ต้งั แตอ่ ดตี ตราบจนปัจจุบัน เรือ่ งเกย่ี วกับสารเปน็ พิษนั้นไม่ค่อยมีผู้ให้ความสนใจ ยกเว้นเมื่อมีเหตุวิบัติพร้อม เจ็บป่วยพิการล้มตาย เน่ืองจากสารพิษขึ้นเป็นคร้ังคราว หลังจากนั้นทุกอย่างก็ค่อยๆเลือนหายไปจากความ ทรงจํา สารเป็นพิษเป็นสารที่ร่างกายได้รับแล้วเกิดความผิดปกติทันทีหรือสารที่สะสมไว้จํานวนหน่ึงในจํานวน ทมี่ ากเกินพอ ทาํ ให้เกิดอันตรายทําลายชีวิต อาชพี เกษตรกรรม ผปู้ ระกอบอาชีพเกษตรกรรม อาจประสบอนั ตรายทง้ั ตอ่ สขุ ภาพได้ ดงั นี้ อันตรายตอ่ สขุ ภาพ ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ จะได้รับอันตรายจากสารเคมี และฝุ่นละอองต่างๆ ปัจจุบัน เกษตรกรใช้สารเคมีกําจัดแมลง และกําจัดศัตรูพืชกันมาก โดยเฉพาะสารเคมีกําจัดแมลง ประเภทออร์กาโน ฟอสเฟต เช่น ฟอสดรนิ พาราไธออน มาลาไธออน ฯลฯ และสารเคมีประเภทคาร์บาเมต เช่น เซพริน แลนเนต ฟูราแดน เทมมิค เป็นต้น ซ่ึงสารเคมีต่างๆ เม่ือเข้าสู่ร่างกายท้ังทางปาก ลมหายใจ แลผิวหนัง จะทําให้เกิด อนั ตราต่อร่างกาย ดงั นี้ 1. อาการระคายเคืองทตี่ า นา้ํ ตาไหล ตาแดง ตาพร่ามัว 2. นาํ้ มูก น้าํ ตาไหล คลา้ ยเปน็ ไขหวัด 3. อาการหนา้ มืด วิงเวียนศรี ษะ อาเจยี น หมดสติ หรอื อาจเสยี ชวี ิตได้ 4. ระคายเคืองทผ่ี วิ หนงั ผวิ หนงั เปน็ ผ่ืน มอี าการแพ้ ปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนงั ผวิ หนงั อกั เสบ กลายเปน็ โรคผิวหนงั ได้ 5. อาการชาตามมอื เท้า อาจเป็นอัมพาตได้ 6. ชกั กระตุกท่ีกล้ามเน้ือ ซง่ึ อาจเปน็ อนั ตรายถึงชีวติ ได้ 7. การสะสมของสารเคมีป้องกันศัตรูพืช ทําใหเ้ กดิ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของการแบง่ ตัว และการ เจริญเติบโตของเซล เกิดเปน็ เซลมะเรง็ ขน้ึ 8. ฝ่นุ ละอองจากฟางข้าว ฝา้ ยและชานอ้อย จะเปน็ อันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หลอดลมอกั เสบ เกดิ เยอื่ พังผืดทป่ี อด ปอดอักเสบหรือพิการ กลายเปน็ มะเร็ง และเป็นโรคต่างๆ เกย่ี วกับปอดได้ เชน่ โรคปอด ชานอ้อย โรคปอดชาวนา เป็นต้น  

38    สาเหตุของการเกิดอันตรายจากอาชพี เกษตรกรรม อนั ตรายจากการประกอบอาชพี เกษตรกรรม อาจเกดิ จากสาเหตสุ าํ คัญดงั นี้ 1. คน 2. ส่ิงแวดลอ้ ม 1. คน นับว่าเป็นปัจจัยท่ีทําให้เกิดอันตราย หรืออุบัติเหตุจาการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้สาเหตุ สําคญั มีดังนี้ 1. สภาพร่างกายท่ีอ่อนแอ ไม่แข็งแรง เจ็บป่วย หรือมีอาการอ่อนเพลียขณะปฏิบัติงาน ย่อม ก่อให้เกดิ อบุ ัติเหตไุ ดง้ า่ ย 2. สภาพจิตใจที่ไม่เป็นปกติ มีความวิตกกังวล กระวนกระวาย หรือใจร้อนจนเกินไป ก็ทําให้ เกิดการผดิ พลาดได้ 3. การขาดความรู้ความชํานาญ หรือไม่มีประสบการณ์ในการใช้สารเคมี ใช้เครื่องจักรกล เครอ่ื งมือ เครื่องใช้ต่างๆ ย่อมก่อใหเ้ กิดอันตราย หรือการบาดเจ็บจากอบุ ัติเหตุ 4. การมนี ิสยั ทไ่ี มด่ ใี นเรอ่ื งการทํางาน มคี วามประมาท เลินเล่อ ขาดการระมัดระวัง เอาใจใส่ใน การทาํ งาน ไมป่ ฏบิ ตั ิตามข้อบงั คับ เกี่ยวกบั ความปลอดภัยในการทํางาน 2. สิ่งแวดล้อม ส่ิงแวดล้อมท่ีสําคัญเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม คือ สารเคมีและเคมีภัณฑ์ต่างๆ เช่น สารฆ่าแมลง สารเคมีกําจัดวัชพืช ฯลฯ ซึ่งอาจใช้ไม่ถูกวิธี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือขาดความระมัดระวังในการใชย้ อ่ มเกิดอนั ตรายไดเ้ สมอ การปอ้ งกนั อนั ตรายในการประกอบอาชพี เกษตรกรรม การปอ้ งกนั อนั ตรายหรอื อุบัตเิ หตจุ ากการประกอบอาชพี อาจทําได้ดังนี้ 1. ด้านตวั บคุ คล 1. ควรดุแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ หากเจ็บป่วยไม่ควร ทาํ งาน 2. ควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอันตรายหรืออุบัติเหตุต่างๆ เพื่อให้รู้จักระมัดระวังอันตราย ท่ี อาจเกดิ ขนึ้ ขณะปฏิบตั งิ าน 3. ขณะทํางานพยายามทําจิตใจให้ผ่องใส่ ทํางานด้วยความตั้งใจ ระมัดระวัง ไม่คิดถึงเร่ืองอ่ืน หรือมีอาการเหมอ่ ลอย 4. ควรทาํ งานตามความสามารถของตน ไมห่ ักโหม และไม่ควรด่ืมเครื่องด่ืมที่ไม่มีประโยชน์ต่อ ร่างกาย เชน่ ยาม้า เคร่ืองด่ืมบํารุงกาํ ลงั ฯลฯ 2.ด้านส่ิงแวดลอ้ ม การป้องกนั ดา้ นสารเคมี 1. ศกึ ษาหรอื อ่านฉลากบนขวดสารเคมใี หเ้ ข้าใจถ่องแท้ ถกู ตอ้ งก่อนการใช้และปฏิบตั ติ าม คาํ แนะนาํ อยา่ งเครง่ ครดั 2. ผจู้ ะใช้สารเคมีฉีดพน่ ควรแต่งกายใหเ้ หมาะสม สวมหมวก เส้ือแขนยาวปิดมดิ ชดิ สวมหนา้ กาก ถงุ มอื ยาง รองเท้าหุ้มส้น และหลังจากฉดี พ่นสารเคมีเสร็จแล้ว จะตอ้ งเปลย่ี นเส้ือผา้ ทนั ที นาํ ชุดเสื้อผา้ ถุงมือ ซกั นาํ้ หลายครงั้ และอาบน้าํ ทันที 3. รู้จักเลอื กใช้สารเคมีกําจดั ศัตรูพชื และสตั ว์ใหถ้ กู ตอ้ ง เหมาะสมและถกู ชนดิ ไม่ควรใชผ้ ิด วัตถปุ ระสงค์ เชน่ สารฆา่ แมลงชนดิ ปากกัด พวกตัก๊ แตน มด ก็ไมน่ ําไปใชก้ ับแมลงชนดิ ปากดดู พวก ยุง แมลงวัน  

39    4. ในการใช้สารเคมี ควรใช้ตามสัดส่วนทรี่ ะบุ ห้ามใช้ปากเปิดขวดสารเคมี เวลาแก้หบี หอ่ หรือเปดิ ภาชนะบรรจยุ า ก็ต้องระวงั อย่าใหแ้ ตกหกั หรอื ปลิวฟุ้งกระจาย เมื่อผสมสารเคมกี ็ไม่ควรใชม้ อื กวน หรอื สมั ผสั สารเคมี ให้ใชเ้ ศษไม้กวน และระมัดระวงั อย่างใหส้ ารเคมหี กรดผวิ หนัง โดยเฉพาะตาและปาก หรอื เสอื้ ผา้ เครอ่ื งใช้ หากหกรดให้รีบล้างนํา้ และฟอกสบูท่ ันที และอาบนํ้า พร้อมท้งั เปล่ยี นเสอ้ื ผ้าใหมด่ ว้ ย 5. ขณะฉีดพน่ สารเคมี ตอ้ งอยู่เหนอื ผม และใชเ้ วลาฉดี พ่นไม่เกนิ 4-5 ชัว่ โมง หากมลี มแรงควร หยดุ ฉดี ควรระมัดระวัง ไมห่ ายใจเอาละอองหรอื ไอ และอยา่ งใหล้ ะอองยาปลิวลงทพ่ี กั อาศยั บ่อนาํ้ หรือ ภาชนะบรรจนุ ํ้าหรอื อาหาร รวมทง้ั ไมฉ่ ีดพ่นยาบริเวณทม่ี ีเด็กและไม่รบั ประทานอาหาร ด่มื นาํ้ หรอื สบู บหุ ร่ี ในขณะฉีดพน่ สารเคมี 6. เม่ือฉดี พ่นยาเสร็จเรยี บร้อยแลว้ ควรล้างมอื และอาบน้าํ เปล่ียนเสือ้ ผา้ 7. ควรเก็บสารเคมีให้เปน็ ทเ่ี ปน็ ทางมิดชิด หา่ งไกลมอื เด็ก และไมเ่ ก็บไว้ใกล้อาหาร และภาชนะใส่ อาหารตา่ งๆ 8. ภาชนะบรรจุสารเคมี หา้ มนาํ ไปลา้ งในสระน้ํา คลอง บ่อ หรือธารน้าํ สาธารณะ เม่ือใชห้ มดแลว้ ควรนาํ ไปทาํ ลายโดยการฝังดิน ถา้ ใชไ้ มห่ มอให้เก็บใหด้ ปี ิดป้ายบอกใหช้ ดั เจน อย่าเปลีย่ นภาชนะที่บรรจุ เช่น ขวดนา้ํ หวาน ขวดนําอัดลม ฯลฯ เพราะอาจเกดิ การเขา้ ใจผิดได้ และไมค่ วรนําภาชนะทีบ่ รรจุสารเคมที ใี่ ช้แล้ว ไปลา้ งเพอื่ เอาไปบรรจนุ ํา้ ด่ืมและอาหาร 9. ควรระมัดระวงั พาตกคา้ งในพืชผล โดยไมบ่ ริโภคพืชผลทพ่ี ่นยาไวก้ อ่ นถึงกําหนด ท่ียาจะ สลายตัว เช่น ผลไม้ ไมค่ วรเก็บก่อน 30 วัน หลังจากฉดี ยา ผกั ไมค่ วรเก็บก่อน 60 วัน หลงั จากฉีดยา 10. การใช้เทคโนโลยีทเ่ี หมาะสม หากเป็นไปได้ ควรหาส่งิ ทดแทนการใชส้ ารเคมี หรอื ยากาํ จดั ศตั รพู ชื เช่น ใหก้ มั มนั ตภาพรงั สี ใช้สารเคมที าํ ใหแ้ มลงเป็นหมนั การใชว้ ิธที างชีววิทยา โดยการทาํ ให้เกิดการ ทําลายกนั เองระหว่างแมลงด้วยกันหรอื ศตั รพู ืช เชน่ นาํ ยาฆา่ แมลงไปฆา่ ไร กาํ จดั วัชพชื กาํ จดั โรคพชื พวกเช้ือ รา แบคทเี รยี ยาฆา่ หนู ฆา่ ไสเ้ ดือน ฝอย กาํ จัดหอยทาก ฯลฯ สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุจากสารมีพิษ อุบัติเหตุจากสารพิษอาจเกิดข้ึนได้จากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ความประมาณ ความประมาทเลนิ เล่อ ทาํ ให้เกิดการหยบิ ของผิด เช่น หยบิ ยาผดิ 2. ความร้เู ท่าไม่ถึงการณ์ อุบัติเหตอุ าจเกดิ จากความไมร่ ู้ หรือรู้เทา่ ไม่ถึงการณ์ 3. การจัดสารเคมีหรือสารมีพิษต่างๆ โดยขาดความเป็นระเบียบ รอบคอบ เช่น การเก็บรวม กับ ของกนิ หรือเกบ็ ไว้ใกล้มือเดก็ ไมม่ ฉี ลากปิดชือ่ และวิธีการใช้สารเคมนี ั้นๆ ทําให้เกดิ อุบตั เิ หตุไดง้ า่ ย วธิ ีปอ้ งกนั อนั ตรายจากสารพิษ การปอ้ งกันอันตรายจากสารมีพษิ นัน้ ควรปฏบิ ตั ดิ ังน้ี 1. ก่อนใชย้ าและสารเคมี ควรอา่ นฉลาก และวิธกี ารใชใ้ ห้เขา้ ใจอย่างถกู ตอ้ งแลว้ ปฏิบัตติ ามอยา่ ง เคร่งครดั 2. ไม่ควรหยบิ ยาหรอื สารเคมมี าใช้ ขณะทเ่ี มาสรุ า 3. ศึกษาหาความรู้ เกยี่ วกับอันตรายและวิธปี อ้ งกนั อบุ ัติเหตเุ ก่ียวกับสารมพี ิษ 4. เกบ็ สารมพี ิษไว้ในต้อู ยา่ งมิดชิด พ้นมอื เด็ก และปิดฉลากชือ่ และวิธกี ารใช้สารมพี ษิ เหลา่ น้ันดว้ ย 5. การใช้ยากันยุง ถา้ จําเปน็ ควรใชก้ ารระบายอากาศดี หรอื ใช้ขณะท่ไี มม่ คี นอยูใ่ นห้อง  

40    วธิ ีปฏิบัตเิ มื่อถกู สารมพี ิษ 1. เม่อื สารมพี ิษเขา้ ทางปาก 1.1 ควรทาํ ใหอ้ าเจียน โดยใหน้ ้าํ อุ่นมากๆ หรือลว้ งคอ แต่ถ้ากนิ กรดหรือด่างห้ามใหอ้ าเจยี น ถา้ ทราบวา่ กนิ กรดเข้าไปใหก้ ินน้ําสบอู่ ่อนๆ แต่ถ้าทราบวา่ กินดา่ งเข้าไปให้กินน้าํ สม้ คั้นหรือนา้ํ สม้ สายชูอ่อนๆ แล้วรีบสง่ แพทย์ 1.2 รีบให้ความอบอนุ่ แก่ร่างกาย แลว้ รีบนาํ สง่ โรงพยาบาล 1.3 ถา้ ผ้ปู ่วยหมดสติให้ช่วยเปา่ ลมเข้าทางปากหรอื จมกู แลว้ นําส่งโรงพยาบาลถา้ ผู้ป่วยรู้สกึ ตัว ให้ รบี ทําให้อาเจยี น 2. เมือ่ สารมีพษิ เข้าทางจมูก 2.1 ควรนําผ้ปู ่วยออกจากบริเวณทม่ี ีสารพษิ 2.2 ชว่ ยให้ผูป้ ว่ ยหายใจสะดวก และเปา่ ลมเข้าทางปากหรือจมูก 2.3 ใหย้ าดมฉนุ ๆ เพอื่ ชว่ ยกระต้นุ การหายใจ 3. เมือ่ สารมพี ิษเขา้ ทางผิวหนงั 3.1 ควรรีบลา้ งน้ําสะอาดให้มากๆ 3.2 หากถกู กรดตอ้ งลา้ งด้วยนา้ํ สะอาดมากๆ แลว้ ลา้ งดว้ ยสารละลายอ่มิ ตวั ของโซเดยี มไบคารบ์ อเนต 3.3. หากถกู ดา่ งตอ้ งล้างด้วยนํา้ สะอาดมากๆ แลว้ ล้างด้วยสารลายกรดน้าํ ส้ม 3.4 หากกรดหรอื ด่างเข้าตา ตอ้ งรบี ลา้ งด้วยนาํ สะอาดและลืมตาในน้าํ สะอาดนานๆ แล้วรบี ส่งแพทย์ ภาพที่ การฉกี พ่นยาฆา่ แมลงโดยมกี ารปกปดิ อยา่ งมดิ ชดิ ที่มาของภาพ http://www.atomic-oil.com/  

41    ใบงาน บทท่ี 4 สารพิษจากอาชีพ คําส่งั ใหผ้ ูเ้ รียนไปศกึ ษาคน้ ควา้ ขอ้ มลู จากแหลง่ เรียนรู้ เรอ่ื ง สารพษิ จากอาชีพท่มี อี ย่ใู นชมุ ชน พรอ้ มบอกวธิ ี ป้องกนั จากสารพษิ ในอาชีพน้ัน ในรูปแบบรายงาน อยา่ งน้อย จาํ นวน 2 อาชีพ  


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook