Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พุทธประวัติฉบับสําหรับยุวชน แปลโดย พุทธทาสภิกขุ

พุทธประวัติฉบับสําหรับยุวชน แปลโดย พุทธทาสภิกขุ

Published by E-book Bang SAOTHONG Distric Public library, 2019-07-27 10:45:57

Description: พุทธประวัติฉบับสําหรับยุวชน แปลโดย พุทธทาสภิกขุ

Search

Read the Text Version

พุทธประวัติ ฉบับสาํ หรบั ยวุ ชน พุทธทาสภิกขุ แปลและเรยี บเรียงจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภิกษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) พทุ ธประวตั ิสําหรบั ยุวชนเลมนี้ แกไขปรบั ปรงุ ขน้ึ มาจากพทุ ธประวัตติ างประเทศฉบับหนงึ่ ซ่งึ แตง โดย ภิกษุสีลาจาระ (J.F Mc Kechnie) นักศกึ ษาทางพทุ ธศาสนาท่รี ูจักกนั ดที ว่ั โลกผหู นึ่ง แตงขึน้ ใชสาํ หรบั สอนเด็กในลงั กา เหตุผลทต่ี องแกไขปรบั ปรงุ บางประการนัน้ ไดก ลา วไวใ น บันทกึ ทา ยเลมของหนงั สือเลมน้ี ทงั้ น้ี เพ่อื เปน การแกไขความขาดแคลนหนังสอื อานสําหรบั ยุวชนชาวพุทธในประเทศไทย ไปเรือ่ ย ๆ เทาที่จะ ทําได ทําไมกองตาํ ราของคณะธรรมทานจงึ ไมแตง หนงั สือเลมน้ขี ึ้นใหมเอง โดยไมตอ งอาศัยฉบับทก่ี ลาวนนั้ ขอนเ้ี ปนเพราะรสู ึกเคารพตอ ความสามารถในการแตง ของผแู ตงคนทกี่ ลาวน้ซี ึ่งทําไวเ ปนอยางดี ถงึ กบั เมื่อไดแ กไ ขสง่ิ บกพรอ งเลก็ ๆ นอย ๆ นนั้ เสียแลวกเ็ ปนหนังสอื ที่ เหมาะสมทสี่ ุด และเกนิ ความสามารถของพวกเราท่ีจะทําไดโ ดยไมเ ห็นตวั อยาง และแมเ ห็นตัวอยา งก็ไมอาจทาํ ไดด กี วา ขาพเจา ขอประกาศ และ เทอดทนู ความดขี องทานผนู ี้ในกรณนี ้ีไวในท่ีนี้ดวย และพรอมกนั นี้ขออทุ ศิ สว นกศุ ลแหง การแปลและเรยี บเรียงแกไขจนสาํ เรจ็ รปู เปน หนังสอื เลมน้ขี ้นึ แดทา นภกิ ษุสลี าจาระผลู ว งลบั ไปแลว ดว ยกศุ ลเจตนาทงั้ ส้ิน เพอ่ื บชู าเกยี รติคณุ ของทา นผนู ้ไี วตลอดกาลนาน ขา พเจา ยอมรบั วาในหนงั สอื เลมนี้มีถอ ยคําสาํ นวนและเน้ือเรือ่ งทีม่ ุง ใหเ กดิ ผลทางอารมณท ํานองนวนิยายปนอยบู า ง แตท ้ังนีเ้ พือ่ เปน ผลดี ในทางกลอมเกลานสิ ยั ยวุ ชนโดยสวนเดยี ว หาโทษอนั ใดมิได มเี ร่อื งบางเร่อื งทผ่ี ูอา นอาจฉงน เชนกลาวถงึ การหามศพผานยา นตลาดและเผากนั ในลักษณะงา ย ๆ เชน น้นั เรือ่ งเชน น้ีผูทเ่ี คยไปอินเดีย มาแลว ยอ มยืนยันไดว า แมกระทงั่ ในบัดน้ีกย็ งั เปนสิง่ หาดไู ด ไมตองกลาวถึงพทุ ธกาลเลย สาํ หรับเร่ืองพระองคลุ ีมารถกู ขวา งบาตรแตกกระจาย ผูทีไ่ มเ คยทราบวา ครงั้ พทุ ธกาลมกี ารใชบ าตรดินเผากันเปนปรกติ ก็จะคา นวา กลาวพลอย ๆ เพราะวาเคยเหน็ แตบ าตรเหล็ก ฉะนนั้ ขอใหทา น ผูอา นไดศึกษาในเร่อื งน้นั ๆ ใหพอสมควรเสียกอน กอ นทจ่ี ะวินิจฉัยอะไรโดยผลนุ ผลัน การจัดหนาหนงั สอื เปน ขอ ๆ และมีเลขกาํ กับขอ นีเ้ ปน ความคดิ ใหม มงุ หวงั ใหเกดิ ความสะดวกในการศึกษาจดจําและอางอิง ซงึ่ จะทาํ ได ละเอยี ด ลงไปกวา การอานเลขหนา ในการทาํ ปทานกุ รมกไ็ ดอ า งถงึ เลขประจําขอนี้แทนการอา งถงึ เลขหนา เรอ่ื งทค่ี วรกลา วไวในทีน่ ี้อกี เรื่องหนึง่ กค็ อื ในการทําหนงั สอื เรอ่ื งนี้ทา นอภิปุฺโญภิกฺขไุ ดใหความชว ยเหลอื เปน อยา งมากในการชว ย สอบ ทานสง่ิ ที่อาจพลงั้ พลาดในการคัดลอกและอ่นื ๆ ตลอดจนการพยายามทําปทานกุ รมทายเลมขน้ึ ดว ยความอตุ สาหะพากเพียร จนสาํ เรจ็ รปู ดงั ที่ เหน็ อยนู ้ี ขอบรรดาผทู ีไ่ ดร ับประโยชนจากการนจ้ี งไดอนโุ มทนาโดยทั่วกัน ในที่สุด คณะธรรมทานมคี วามหวงั วา หนังสอื เลมนจี้ ักเปนส่ิงท่ชี วยแกปญ หาความขาดแคลนหนังสอื อานสําหรับยวุ ชนชาวพุทธในประเทศ ไทย ไดบ า งไมมากกน็ อ ย

พุทธทาส อินทปญโญ ในนามกองตําราคณะธรรมทาน ไชยา 12 สงิ หาคม 2497

พุทธประวตั ิ ฉบบั สาํ หรับยุวชน พทุ ธทาสภิกขุ แปลและเรียบเรียงจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภิกษุสลี าจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 1 กาํ เนดิ พระสิทธตั ถะ เมือ่ 2500 ปม าแลว ในดนิ แดนซึง่ บัดน้ีเปน เขตของประเทศเนปาลและของประเทศอินเดีย ตอนทเี่ ปน มณฑลอธู (Oudh) และมณฑลพหิ ารเหนือ (North Behar) นั้น มีอาณาจกั รนอ ยๆ ของชนเชื้อชาติตางๆ ต้ังอยดู ว ยกนั หลายอาณาจกั ร แตล ะ อาณาจักรมพี ระราชาของตนๆ เปนผปู กครองบา ง มคี ณะบุคคลท่ีนบั เน่อื งในราชสกลุ เปน ผูปกครองบาง ในบรรดา อาณาจักรเลก็ ๆ เหลานน้ั มีอาณาจักรหนึง่ ตั้งอยตู รงพนื้ ทท่ี างทิศเหนือของจังหวัดโครักขปรุ ะ (Gorakhapore) ในปจจบุ นั ทาง ฝงเหนอื ของแมนํ้ารัปตี (Rapti) เปน ดนิ แดนของชนท่มี ีเชอ้ื ชาติ อนั เรยี กกันมาวา พวกศากยะ พระราชาซ่ึงปกครองชนชาติน้ี ในครง้ั นัน้ มีพระนามวา พระเจาสุทโธทนะ พระเจาสุทโธทนะมีชอื่ สกลุ วา โคตมะ ดงั น้ัน พระองคจงึ ทรงมพี ระนามเต็มวา สทุ โธทนะโคตมะ นครซึ่งเปนราชธานขี องอาณาจักรและท้ังเปน ท่ีตง้ั แหงราชสาํ นักของพระองคนน้ั มนี ามวา กบิลพสั ดุ พระเจา สุทโธทนะมีพระอคั รมเหสนี ามวา สริ ิมหามายา เม่อื ทรงอยรู วมกันมาเปน เวลานานดวยความผาสกุ พระเทวีได ทรงมพี ระครรภ และทรงรูพระองคว าจักถึงเวลาประสตู ิในไมนานนักแลว ไดท ลู ขออนญุ าตจากพระราชสวามี เพ่ือเสด็จไป เยย่ี มนครอนั เปนท่ีกาํ เนดิ ของพระเทวเี อง อันมีนามวา “ นครเทวทหะ” และต้ังอยไู มหา งไกลกันนกั พระเจา สทุ โธทนะได โปรดประทานอนญุ าตแกพระมเหสขี องพระองค ดว ยความเต็มพระทยั ไดท รงสงบรุ ษุ ไปตระเตรียมหนทางสาํ หรับการ เสด็จของพระนาง และใหเ ตรียมทกุ ๆ อยางเพอื่ ใหเ กดิ ความบนั เทิงเรงิ รน่ื ในการเสด็จไปเยย่ี มพระญาติวงศของพระนางเอง ในครง้ั น้ี ท่ีกึ่งทางระหวางนครกบิลพสั ดกุ ับนครเทวทหะตอ กนั น้ัน มีสวนปา หรือวโนทยานอยูแหงหนง่ึ เรยี กกันวา สวน ลุมพนิ ี ทน่ี เี้ ปนสถานทซ่ี งึ่ ประชาชนแหง นครทั้งสองไดพ ากันไปเท่ียวเลนในฤดูรอน หาความบนั เทงิ ภายใตร มไมสาละ ใหญๆ อันมอี ยทู ั่วๆ ไป ในอทุ ยานนน้ั ขณะน้ันเปน วันเพ็ญในเดือนพฤษภาคม ตนสาละใหญๆ เหลา นป้ี กคลมุ ไปดว ยดอก อันสวยงาม แตโ คนตน จนถึงยอด บนก่ิงยาวๆ ของมันมีหมูนกนานาชนดิ กําลงั รองดว ยสําเนยี งอันไพเราะ ทําใหอากาศออ้ื องึ

ไปดวยเสียงอันจับใจ และตามดอกไมอ ันมอี ยมู ากมายเหลือทจี่ ะคํานวณไดน้ัน ก็เต็มไปดว ยแมลงผึ้งทาํ เสยี งหึ่งๆ และงวน อยูด ว ยการเกบ็ นํ้าหวานจากดอกไมเหลานั้น เมอื่ ขบวนเสด็จของพระเทวผี า นมาถึงวโนทยานแหง นี้ พระนางสิรมิ หามายา ทรงมพี ระประสงคจ ะทรงพักเลน ในสวน นสี้ กั ครหู น่ึง ตามรมเงาอนั เย็นเพราะเปนเวลาเที่ยงวัน ดังน้ันพระเทวจี ึงทรงรับส่ังใหเ ขานําพระองคผา นไปตามระหวางหมู ไมในอทุ ยานนน้ั แตช ่ัวเวลาอนั ไมน านในขณะท่ีพระเทวีกาํ ลังเสดจ็ ดาํ เนินไปมาโดยทรงเพลิดเพลินอยกู บั ส่งิ สวยงาม และ เสยี งอันไพเราะในสวนนั่นเอง พระนางทรงเกดิ ความรสู กึ พระองคข้ึนมาอยางกระทนั หันวา จักตองมีการประสูติในสถานที่ น้นั เสียแลว ตอ มาอีกช่ัวเวลาเล็กนอ ย พระนางกไ็ ดประสูติพระโอรส ณ สวนลมุ พินี ภายใตตนสาละ อันเต็มไปดวยหมนู ก และแมลงผึ้งนั่นเอง สถานท่ีอันเปนที่ต้ังแหงสวนลมุ พนิ ีน้ัน เปนที่รจู กั กนั ไดไมย ากในสมยั น้ี เพราะพระเจา อโศกมหาราช ซึง่ ครอบครองประเทศอนิ เดีย ในเวลาสามส่ีรอ ยปต อ มาจากสมัยของพระเจาสทุ โธทนะน้นั ไดท รงรบั สั่งใหสรางเสาศิลาอัน สูงใหญข ึ้นตรงท่ซี ่ึงเปนท่ีประสูติของพระโอรสแหง พระเจาสทุ โธทนะและพระนางสิริมหามายาแหงนครกบิลพัสดุ เพ่อื เปนเครื่องกําหนดหมายสถานที่อันสําคัญนั้น ที่เสานั้น พระเจาอโศกมหาราชรับส่ังใหจ ารึกอกั ษร ซงึ่ ยงั คงอานไดอยจู นกระท่ังทุกวนั นี้ มขี อความวา พระองคทรงได สรางเสานีข้ นึ้ เพ่ือใหชนชนั้ หลังทราบไดถ ึงสถานทีท่ ่ีเคยมีเหตกุ ารณอ ันสําคัญคือ การประสูติของพระพทุ ธองค แมเ วลาจะ ลวงมา นับแตก าลน้นั มาจนถงึ บัดนี้ 2,000 ปกวาแลวก็ตาม แมเ สาทอนบนจะไดหกั ออกและทอนท่เี หลือจะเคยเอยี งเอนไป ทางหน่ึงแลวกต็ าม เสานนั้ กย็ ังคงอยูในท่ีซ่ึงพระเจาอโศกรับส่งั ใหสรา งข้นึ นนั่ เอง สบื มาจนถงึ ทุกวนั น้ี พรอมดวยอักษร จารกึ ทีก่ ลาวแลว มปี ระชาชนจํานวนมากไดไปเยี่ยมและนมัสการสถานทีน่ ้ที กุ ๆป เม่อื พระนางสริ มิ หามายาไดประสตู พิ ระโอรสในสวนลุมพินีเชน น้นั คนท้ังหลายก็งดการพาพระนางไปสูน ครเทวทหะ แตไดนํากลบั คืนสนู ครกบลิ พสั ดุ พระเจา สุทโธทนะทรงดีพระทัย และทรงจัดใหพระเทวีและพระโอรสของพระองคไดร ับ การเอาใจใสเปนอยา งดี บนทวิ เขานอกเมืองกบิลพสั ดุ เปนทอ่ี ยูแ หงฤษีจาํ นวนมาก ในบรรดาฤษีเหลา น้นั มมี หาฤษผี ูสูงอายุ รูปหนึง่ ช่ือ กาฬเทวลิ เปน ทเี่ คารพนับถอื อยา งสงู ของชาวเมืองกบิลพสั ดุ แมพ ระเจาสทุ โธทนะเอง ก็ทรงมีความเคารพรกั ใครใ นฤษีรปู น้ีเปนพเิ ศษ ดังนั้น เมอ่ื ฤษผี ูเ ฒาไดทราบวาพระราชาซึ่งเปน มหามิตรของตนไดโอรสประสูติใหมเ ชนนนั้ ก็ ไดมาสรู าชสํานักแหง นครกบิลพัสดุเ พอื่ ดพู ระราชกมุ าร เม่อื ฤษีมาถงึ พระเจาสุทโธทนะไดทรงประสงคจะใหท านอาํ นวย พรแกพ ระโอรสของพระองค จงึ ไดท รงใหนําพระกุมารมาเพอื่ ทําความเคารพแกพ ระฤษี เมอ่ื พระฤษีไดเ หน็ พระราชกมุ าร แลว ไดกลาวข้ึนวา \"มหาราชเจา ! มันไมใชพระโอรสของพระองคท่คี วรแสดงความเคารพตอ อาตมาเสยี แลว แตม นั เปน อาตมาเองตา งหากท่คี วรแสดงความเคารพตอ พระโอรสของพระองค อาตมาไดเ ห็นชดั แลววา พระกุมารนีม้ ิใชเ ปนกุมารตาม ธรรมดา อาตมาไดเหน็ ชดั แลววา เมื่อพระกุมารน้เี จริญวยั เตบิ โตเต็มท่แี ลว จกั เปนศาสดาเอก สอนธรรมอันสูงสุดแกโลก โดยแนนอนทเี ดียวอาตมาม่ันใจวาพระกุมารน้ีตองเปน ศาสดาอันสงู สดุ ทีโ่ ลกจะพึงม\"ี เม่อื กลา วดงั นี้แลว พระฤษไี ดน ิ่งอึ้งอยขู ณะหน่งึ มใี บหนายิ้มแยมแจม ใส แสดงความปล้มึ อกปล้ึมใจออกมานอกหนา แตแ ลวน้ําตาไดคอ ยๆ ไหลซึมออกมาทีละนอ ยๆ จนกระทั่งเปน การรอ งไหม นี ้ําตานองทเี ดียว พระราชาไดตรัสถามดว ย ความตกพระทยั อยา งยงิ่ วา \"ทาํ ไมกนั เกิดเรือ่ งอะไรแกพ ระคณุ เจา เลา เมอื่ ตะกี้นพ้ี ระคณุ เจาไดยมิ้ อยู บดั น้ีกลับรอ งไห มี เหตุการณอะไรรา ยแรงหรอื พระคณุ เจา ไดม องเห็นเหตุรา ยอันใดอันหน่ึงซง่ึ จะเกิดขึ้นแกโอรสของขาพเจาหรือ\" พระฤษีไดท ูลวา \"หามิไดเลย มหาราชเจา พระองคอ ยา ไดท รงตกพระทัยเลย ไมมีเหตุรา ยอนั ใดจะมาแผวพานพระโอรส ของพระองคได เกียรติคณุ ของพระกมุ ารจักรุงโรจน พระกมุ ารจักเปน ผูเรืองอํานาจอันสงู สุด\" พระราชาไดตรสั ถามวา \"ถาเชนน้นั ทําไมพระคณุ เจา จึงรอ งไหเลา \" พระฤษีไดท ูลวา \"อาตมาภาพรอ งไหเพราะเห็นวา อาตมามีอายมุ ากจนจะตองลว งลับไปในไมชา จักไมมโี อกาสอยูเห็นพระโอรสของพระองคไดต รัสรูเปน พระศาสดาอัน สงู สดุ ในวันหนา ดกู รมหาราชเจา พระองคจกั ทรงมพี ระชนมายุอยูจนถงึ วันอันนํามาซ่ึงความสขุ อยางยิ่งนั้น ชนเหลาอื่นเปน

อันมากกจ็ กั ไดป ระสพเหตุการณอันนน้ั สว นอาตมาไมมโี อกาสท่ีจะไดป ระสพโชคอนั ใหญห ลวงจึงไมอาจจะอดกลน้ั การ รองไหไวได\" เมอ่ื พระฤษกี ลา วดังนนั้ แลว ไดลุกข้ึนจากท่ีน่ังทรดุ ตัวลงประคองอัญชลดี วยมือทง้ั สอง แลว นอมตัวลงถวายนมัสการแก พระกุมารนน้ั พระเจา สทุ โธทนะไดท รงตกตะลึงในคํากลาวและการกระทําของพระฤษี ผนู อมศีรษะอันขาวโพลนไปดว ย หงอก กมลงทําความเคารพตรงหนา ของทารกนอยๆ แตในทส่ี ุด พระองคก็ไดท รงรูส กึ วา แมพ ระองคเ องก็ควรทรงกระทํา เชนเดยี วกบั พระฤษีนั้นไดกระทํา ดงั นั้น พระองคจงึ ไดท รงประคองอญั ชลีแลวทรุดพระองคลงถวายบังคมแกพ ระโอรสของ พระองคเอง ซึ่งยังเปน เพียงทารกอยูเชนเดยี วกับพระฤษนี ้นั ในประเทศอนิ เดียในครั้งน้ันมธี รรมเนียมวา เม่อื เด็กผูชายเกิดมาไดห าวัน ในวันที่ครบหา น้ันจะตอ งมีการเชอื้ เชิญผูเ ปน ปราชญม าประชุมกัน เพ่อื ทําพธิ ีสระเกลา แลวขนานนามแกกมุ าร ตามท่ที ป่ี ระชุมแหง นักปราชญเหลานั้นจะเหน็ ควร พระ เจา สุทโธทนะก็ไดท รงประกอบพธิ ีดังกลาวน้แี กพระโอรสของพระองคต ามธรรมเนยี ม ครัง้ น้นั ท่ปี ระชุมแหง นักปราชญได เลอื กเฟน แลว ขนานนามใหแ กพ ระโอรสของพระองควา \"สิทธัตถะ\" แปลวา \"ผมู ีความสาํ เรจ็ สมประสงคในทุกสิ่งทกุ อยา ง ท่ีตนต้ังใจจะทํา\" นกั ปราชญเหลานั้นพากันกลาววา เขาไดมองเห็นวา พระกุมารนี้จักไมเ ปน ไปดังเชน กมุ ารท้งั หลายใด ถา หากวาอยคู รองฆราวาส จักเปน พระราชาในเวลาอันสมควร แลวจกั เปนมหาราชาผจู กั รพรรดใิ นที่สดุ ถาหากวา ไมอยคู รอง ฆราวาส แตออกบวชเปนนักบวชแลว ก็จกั เปน พระศาสดาชนั้ สูงสุดทํานองเดยี วกัน แตอ ยางไรกต็ าม ยงั มีนักปราชญค น หนึง่ ในหมปู ราชญเ หลา น้นั ยืนยนั ผิดแปลกออกไปจากนักปราชญทัง้ หลาย ทานผูนี้ไดกลาววา ตามความเหน็ ของทา นแลว ทานแนใจวา เมอ่ื พระกุมารน้ีเตบิ โตข้ึน จกั ไมเจรญิ รอยตามพระราชบิดาอยา งแนนอน แตจ ักสละราชบลั ลังก และ ราชอาณาจกั รทุกส่งิ ทุกอยา งไวเบื้องหลงั แลว ประพฤติพรหมจรรยบรรลธุ รรมเปน ศาสดาเอกในโลก เปนธรรมดาอยูเอง ที่พระราชายอมทรงดีพระทัยเปนอยา งยิง่ วา ประชาชนและนักปราชญร าชบณั ฑติ ท้ังหลายใน อาณาจักรของพระองค ไดพ ากันหวังวา พระกุมารนอยนี้เม่ือทรงเจรญิ วยั แลว จักเปนมหาบุรุษ แตพ ระองคไมท รงสบาย พระทัยในขอ ที่วา พระกมุ ารน้จี กั ไมเจรญิ รอยตามพระองคในการครองราชสมบตั ิ แตจกั ออกบวชเปนศาสดาผสู อนศาสนา ไปเสยี พระองคทรงพระประสงคใหพ ระโอรสของพระองคท รงเปน อยอู ยางชาวโลก และทรงทําอยางท่ีชาวโลกเขาทํากัน กลา วคอื การสมรสและมีบตุ ร เมือ่ พระองคเองก็ทรงชราภาพมากแลว จกั ไมอ ยูค รองอาณาจกั รไปไดน าน จงึ ทรงประสงคท ่ี จะเหน็ พระโอรสของพระองคข ้ึนครองบลั ลังก ปกครองประชาราษฎรใหอ ยูเ ยน็ เปน สุขดังท่ีพระองคกระทาํ มาดวยความ สวสั ดี พระองคไดทรงราํ พงึ ในใจวา \"ตอไปวันหนา ใครจะรูได บางทีลูกของเราจักเปนมหาราชครอบครองอาณาจกั รไม เพียงแตนครกบิลพัสดุนอ ยๆ นี้เทา น้ัน แตจักครอบครองชมพูทวีปทง้ั หมดทั้งสนิ้ ก็ได\" พระเจา สุทโธทนะไดท รงปลอบ พระองคเองดง่ั น้ี ความคิดเชนนีเ้ อง ไดท าํ ใหพระองคทรงมคี วามหวัง และมีความอมิ่ พระทยั เปนอันมาก พระองคทรงตกลง พระทัยในการท่ีจะทรงกระทําทุกส่ิงทุกอยางเทาทพ่ี ระองคจะทรงทําได เพ่อื ใหเปนทีแ่ นน อนวาพระสทิ ธัตถะจักอยูครอง ฆราวาส และจะไมค ิดถึงสิ่งใดอื่นมากไปกวาน้ัน แตใ นขณะเดยี วกัน พระองคตอ งทรงประสพความหมน หมองพระทยั ดวยเรื่องอ่นื อีกเร่อื งหนง่ึ จําเดิมแตพระนางเจาสิริ มหามายาไดป ระสูตพิ ระสิทธตั ถะแลว พระเทวีไดป ระชวรและไมอ าจจะกลับมีพระกําลงั เขมแข็งดั่งเดมิ แมว า จะไดรบั ความ ประคบประหงมอยางสูงสดุ ตามที่พระราชินที งั้ หลายพงึ จะไดร บั มีแพทยอยา งดี มีผูรักษาพยาบาลอยา งดี แตในที่สุด พระ เทวกี ส็ น้ิ พระชนมชีพในวนั ทสี่ อง นับแตว ันทไี่ ดมีการขนานนาม หรือนบั เปนวนั ที่เจ็ดจากวนั ท่ีพระนางไดป ระสูติ พระโอรส คนทุกคนไดพ ากันเศราโศกในการสิน้ พระชนมข องพระนาง ผทู ่ีโศกเศรา เปน อยางยงิ่ ก็คอื พระราชสวามขี องพระ นาง เพราะเหตุท่ีพระนางเปนกลุ สตรีทปี่ ระเสรฐิ สุด เปน พระเทวีทีม่ ีคุณธรรมสูงเหนือสตรแี ละเทวีท้ังหลาย เมื่อเหตุการณ เปน ไปด่ังนี้ พระราชาจําตอ งทรงประทานพระโอรสกําพรา มารดาองคนี้ ใหอ ยูในความอารักขาของพระเทวีองคหน่งึ ซ่งึ เปน

พระนานาง และมีนามวา มหาปชาบดี พระเทวีพระองคนี้ ไดท รงเอาพระทยั ใสท ะนถุ นอม ราวกบั วาเปนพระโอรสของ พระองคเ องกป็ านกัน ดวยเหตุนี้พระสิทธัตถะกุมารจงึ ไมเ คยทรงเห็นพระพักตรพระมารดาอนั แทจริงของพระองคเ ลย

พุทธประวัติ ฉบบั สําหรับยุวชน พทุ ธทาสภิกขุ แปลและเรยี บเรยี งจาก ฉบับภาษาองั กฤษ ของ ภิกษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 2 วัยกมุ าร ตามท่ีพระฤษผี สู ูงอายแุ ละนักปราชญท้งั หลาย ผไู ดป ระชุมกันวนั ขนานนามของพระสทิ ธัตถะ ไดม คี วามเหน็ พอ งกนั วา พระโอรสของพระ เจา สทุ โธทนะองคน ้ี มไิ ดเ ปนกมุ ารตามธรรมดานนั้ คํากลาวขอ นี้ไดป รากฏเปนความจริงยง่ิ ขนึ้ ทุกวนั ๆ เมอ่ื ไดรบั การทะนุถนอมจาก พระเจา แม นา ผรู กั พระกุมารอยา งกะวา เปนพระโอรสของพระองคเ อง มาจนกระทง่ั พระกุมารมีพระชนมายุได 8 พรรษา พระราชาไดป ระทานครูบาอาจารย เพือ่ ใหการศกึ ษาแกพระกุมารในการอานการเขยี นและวิชาคาํ นวณ โดยอาศยั การแนะนําของครอู าจารยเ หลานี้ พระกมุ ารไดศ กึ ษาวชิ าความรทู กุ อยา งที่ควรศึกษานน้ั ไดอยา งรวดเร็ว วาโดยทแ่ี ทแลว พระกมุ ารทรงศึกษาไดอยางรวดเร็วและอยา งดยี ิง่ จนเปน ทฉ่ี งนสนเทหข องคนทุกคน รวมทง้ั ครอู าจารยท งั้ พระราชบดิ าและพระมารดาเลยี้ งดวย เร่อื งใดที่พระองคจกั ตองทรงศกึ ษาเรือ่ งน้นั ไมม ีความยากลําบากแกพ ระองคเ ลย ไดรับการบอกการแนะนําวิชาอยางใดๆ เพียงครง้ั เดยี ว ก็จาํ ไดท ันทไี มม ลี ืม และลกั ษณะอยางนี้ มีมากเปน พเิ ศษขนาดท่ีเรยี กวาผิดธรรมดา ในการ เรียนวชิ าคํานวณของพระองค ทกุ ๆ คนเห็นชดั ไดโดยงายวา พระองคทรงมอี ะไรๆ เหนอื คนธรรมดาสามัญมากมายจริงๆ แมพระองคจะทรงมี อัจฉรยิ ลกั ษณะอนั สงู สดุ ในการศึกษาถึงเพยี งน้ี ทง้ั ยังอยใู นสถานะมกฎุ ราชกุมารผูจ ะครองบัลลังกใ นอนาคตก็ตาม พระองคไมไดทรงละเลยทจี่ ะ แสดงความเคารพนอบนอมในฐานะเปน ศษิ ยต อ ครบู าอาจารยทั้งหลาย เพราะทรงระลึกสาํ นึกอยวู า โดยอาศัยบรรดาครบู าอาจารยท ้งั มวลนี่เอง คนเราจึงไดรบั ส่ิงซึง่ มีคา สงู สุด กลา วคอื วิชาความรู พระกมุ ารมปี รกตสิ ภุ าพเรียบรอ ยเปนนสิ ัย ทรงประพฤติตอ ทกุ ๆ คน และโดยเฉพาะตอ ครบู า อาจารยเ ปน พิเศษ ในการแสดงความสภุ าพออนโยนเคารพนบนอบ ในทางกาํ ลงั กายก็เหมอื นกัน พระองคทรงประกอบไปดวยคุณสมบตั ิไมน อยกวาคุณสมบตั ใิ นทางจิตและทางมรรยาท ไมต องกลาวถงึ ความ สภุ าพทางกิริยาอาการ ไมต อ งกลา วถึงขอ ท่พี ระองคเ ปน สภุ าพบรุ ุษเต็มตามความหมายทด่ี ที ีส่ ุดของคาํ ๆ นี้ พระองคย งั เปน ผูที่กลาหาญ ไมครั่น ครามในการแสดงฝม อื ทางกฬี าสําหรับผชู ายแหง ประเทศของพระองคด ว ย ในฐานะทไ่ี ดรับการอบรมมาอยา งผมู กี ําเนดิ ในวรรณะกษตั ริยคอื นกั รบ พระองคทรงเปนนักขีม่ า ทีใ่ จเยน็ และหาวหาญ ทง้ั เปน นกั ขบั รถทีส่ ามารถและเช่ยี วชาญมาแตเ ล็ก ในการกฬี าอยา งหลังน้ี เคยแขง ชนะ คูแขงทีด่ ที ่ีสดุ ในประเทศของพระองค แมกระน้ันเมอ่ื ถงึ คราวเอาจริงเอาจงั ในการท่ีจะชนะการแขง ขัน พระองคกย็ ังมีเมตตากรณุ าตอมา ของ พระองค ทีเ่ คยชว ยใหพ ระองคม ีชยั ชนะอยเู สมอๆ โดยทรงยอมใหพระองคเ ปน ฝายแพเสีย แทนท่จี ะขบั เคยี่ วมา ใหม ากเกนิ กาํ ลังของมนั ไปเพอื่ เห็นแกค วามชนะถา ยเดยี ว

พระองคใ ชจะทรงปรานีเฉพาะแตม าของพระองคเ ทา นั้นก็หาไม แมส ตั วอนื่ ๆ ทุกชนดิ ก็ไดรบั ความเอือ้ เฟอ และความเมตตากรณุ าอยา ง เดยี วกนั พระองคเ ปน โอรสของพระเจา แผนดินไมเคยทรงประสพความทุกข ความลําบากอยา งใดเลยก็จรงิ แตน าํ้ พระทัยของพระองคก ย็ ังทรง หย่ังทราบถงึ จิตใจของสตั วเ หลา อื่น ดว ยความเห็นใจวาสตั วท ้ังหลายยอ มไมป รารถนาความเจบ็ ปวดเชน เดียวกัน ไมวา สตั วน ัน้ ๆ จะเปน สัตว มนุษยหรือสตั วเ ดรจั ฉาน แมเมอ่ื พระองคย งั เปน กมุ ารเลก็ ๆ อยู กม็ ีลกั ษณะทีแ่ สดงใหเ หน็ วาพระองคทรงหลกี เลย่ี งทุกอยา งทุกทาง ในการที่จะ กอความทุกขใ หเ กดิ ขึน้ แกส ตั วอ ่ืนอยางมากท่ีสดุ ทีพ่ ระองคจ ะทรงทําได ในท่ที กุ แหงและโอกาส และทรงพยายามทจ่ี ะปลดเปลอ้ื งความทุกขข อง สัตวท ่ีกําลังไดรับทกุ ขอยูท กุ วิถที าง คร้ังหนง่ึ เม่ือพระองคเสดจ็ ออกไปเทย่ี วเลนนอกเมอื งกบั พระญาติ ลกู เรยี งพ่ีเรียงนองของพระองคน ามวา เทวทตั ผูซ งึ่ ไดพ าคันศรและลกู ศร ติดไปดว ย เจาชายเทวทัต ไดยิงหงสซ ง่ึ กาํ ลงั รอนผานมาบนศีรษะตวั หน่งึ ลูกศรถูกปก หงสท าํ ใหมนั ตองถลาตกลงมายงั พ้นื ดิน มแี ผลใหญเตม็ ไป ดวยความเจบ็ ปวด เจา ชายท้ังสองพระองคตา งก็ว่ิงไปเก็บมัน แตเ จา ชายสิทธตั ถะไปถงึ หงสต ัวนนั้ กอน และไดอ ุม มนั ขนึ้ อยางระมดั ระวงั พระองคไดทรงชกั ลกู ศรออกจากปก นก ทรงยัดใบไมม ีรสเย็นเขา ไปในบาดแผลเพ่ือใหโลหิตหยุดไหล และทรงลูบประคองไปมาอยา งเบาๆ เพื่อ บรรเทาความเจ็บและความกลัวของนกน้นั เจาชายเทวทตั รสู ึกขดั เคืองพระทัยเปน อันมาก ในการท่ีพระญาตขิ องพระองคมาแยง เอานกไปเสยี ดัง่ น้ี จึงไดเ รียกรอ งใหพระสทิ ธตั ถะคนื นกใหแ กพระองคใ นฐานะทพ่ี ระองคเ ปน ผูยิงมนั ตกดว ยลูกศรของพระองคเอง อยา งไรก็ตาม เจาชายสิทธัต ถะไดท รงปฏเิ สธทจ่ี ะมอบนกเจ็บตัวนน้ั ให โดยตรสั ตอบวา ถา นกตาย มันจึงจะเปนของผยู งิ แตเ มอ่ื มันยังมชี วี ติ อยเู ชน นี้ มนั กต็ องเปน ของผทู ี่ พยายามชว ยชีวิตมนั ไว ดงั นัน้ พระองคจงึ ไมมอบให ฝายเจาชายเทวทตั กย็ งั คงยนื กรานวา มนั ตองเปนของพระองคผ ทู ่ียงิ มนั ตกลงมาดว ยน้ํามอื เอง ในท่สี ดุ เจาชายสทิ ธตั ถะเปน ฝา ยเสนอข้ึนวาขอพพิ าทรายน้ีควรจกั ตอ งนําไปเพอ่ื รบั การพพิ ากษาตัดสินชขี้ าดในทปี่ ระชุมแหง นักปราชญ ของประเทศ ฝา ยเจา ชายเทวทตั ก็ยินยอม ณ ทีป่ ระชมุ สาํ หรบั วินจิ ฉยั เรอ่ื งตางๆ ในวันนั้น ไดมีปญ หาเรือ่ งหงสต วั น้ขี ึน้ มกี ารถกเถยี งกนั มา ในทปี่ ระชมุ นน้ั บางทา นมีความเห็นอยา ง หนงึ่ บางทานมคี วามเหน็ เปน อยางอ่ืน บางทานวา นกควรเปนของพระสิทธตั ถะ บางทา นวา ควรเปน ของเจา ชายเทวทตั โดยมเี หตผุ ลตา งๆ กนั ไมเปนท่ียตุ ิลงไปได แตใ นท่สี ุดมีบุรษุ ผูห นงึ่ ซ่ึงไมเคยมีใครในที่ประชุมน้ันรจู กั มากอ น ไดล ุกขน้ึ ยืน และกลาววา “โดยแทจ รงิ ชวี ิตตอ งเปนของ ผทู ี่พยายามจะชว ยชีวิตนนั้ ไว ชีวิตตองไมเ ปน ของผทู พ่ี ยายามแตจะทําลายมนั นกที่กาํ ลังบาดเจบ็ น้ี เม่อื กลา วโดยสทิ ธิอันชอบธรรมแลว ตองตก เปนของบคุ คลท่พี ยายามชว ยชวี ิตมนั ไวแตฝา ยเดยี ว ดังนน้ั ขอใหน กตวั นี้ตกเปนของผทู ่พี ยายามชว ยเหลอื คอื เจาชายสทิ ธิธัตถะเถิด” ทุกคนในท่ี ประชุม ลงความเหน็ ดว ยกบั ถอยคาํ อันมีเหตุผลเท่ียงธรรมนี้ การตดั สินกเ็ ปนวา ใหเ จา ชายสทิ ธัตถะเปน ผรู บั เอานกตวั ซงึ่ พระองคไ ดทรงพยายาม ชว ยชีวิตนั้นไป พระองคท รงเอาพระทยั ใสในนกน้ันอยางเอือ้ เฟอ ท่ีสดุ จนกระท่ังแผลของมันหายสนิท และไดทรงปลอ ยมันสูความเปน อสิ ระ กลบั ไปยังฝูงของมนั มคี วามสขุ อยใู นสระกลางปาลกึ สบื ไป

พทุ ธประวัติ ฉบับสาํ หรบั ยวุ ชน พทุ ธทาสภิกขุ แปลและเรียบเรียงจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภิกษุสีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 3 ในวยั รนุ ในประเทศอินเดียแหงโบราณ คนทุกคนทราบดีวาทุกสิง่ ที่มนุษยเ ราพากันตอ งการนัน้ ยอ มสําเรจ็ มาจากพ้ืนดนิ เพราะฉะนนั้ ผซู งึ่ ทาํ หนาท่ี ไถหวานแผน ดนิ จนกระทงั่ เกิดอาหารอนั เปน ของจาํ เปนสําหรบั มนษุ ยข ้ึนมาไดน ้ัน นับวา เปนบุคคลผูทําสง่ิ ซ่ึงจาํ เปน ท่สี ดุ และมปี ระโยชนท ีส่ ดุ ใหแกป ระเทศชาตขิ องตน ดวยเหตุนน้ั จึงเกิดมีประเพณเี ปน ประจาํ ปในยคุ น้นั ทีพ่ ระราชาแหง ถิน่ แควน แดนนน้ั ๆ จกั ตองเสด็จสทู องนาดวย พระองคเอง พรอมทั้งอํามาตยข าราชการของพระองคดว ย พระองคจ ะทรงจบั คนั ไถขน้ึ ไถนาดว ยพระหัตถเ พ่อื เปนตวั อยา งแกปวงประชาราษฎร ของพระองค ในขอ ท่ีวา งานอนั มีเกยี รตินี้ ไมใ ชส่งิ ท่ีควรรังเกียจหรือละอาย ณ กรุงกบิลพสั ดุ ในครงั้ น้ีเปนปลายฤดูรอ น อนั เปน ฤดเู ริม่ การทาํ นา พระเจา สทุ โธทนะกไ็ ดเสด็จออกจากนครพรอมดว ยขบวนหลวง เพื่อ ทรงประกอบพธิ เี รยี กกันวา “รัชชนงั คลมงคล” ประชาชนท้ังนครไดตดิ ตามพระองคไป เพราะเปน พิธใี หญประจําป เพอื่ ดูพระราชาของตน ประกอบพธิ ีอันสาํ คญั นี้ และมีสวนในการเลยี้ งอันเอิกเกรกิ ทสี่ ุด ซงึ่ เนือ่ งอยูด ว ยกนั แมพระราชากไ็ ดทรงพาพระโอรสองคนอ ยของพระองคไปสู ทอ งนาคราวน้นั ดว ย แตทรงปลอ ยใหพกั อยูก บั คนเลย้ี งตามลําพงั พระเจาสทุ โธทนะเสด็จไปสทู ที่ ปี่ ระกอบพธิ ไี ถพ้ืนดิน ทรงจบั คันไถซึ่งประดับ ดว ยทองคํา แลว ทรงเร่มิ ไถพืน้ ดินแหงทอ งนา ถดั ตามมาขา งหลังมหี มอู ํามาตยซงึ่ จับไถอันประดบั เงนิ แลวกถ็ งึ อันดบั ของหมูชาวนาธรรมดาทาํ การไถตามมา ดว ยไถตามปกติของตนๆ เปนคๆู ลว นแตพลิกเนือ้ ดินดสี นี ้าํ ตาลเหลานน้ั ใหรว นเหมาะสมทจ่ี ะปลูกหวานสบื ไป ครน้ั ตกมาถึงเวลาเล้ียงดกู นั พวกคนเลยี้ งพระกุมารไดท ยอยกนั มาสูทีเ่ ลยี้ งกันจนหมดส้นิ พากันลมื พระกมุ ารนั้นโดยสิน้ เชิง และไดทง้ิ พระองคไวใ นทน่ี ัน้ แตพระองคเดียว เมอื่ พระกมุ ารรสู ึกวา พระองคทรงอยูแ ตพ ระองคเดยี วเชนนนั้ ก็ทรงรูส กึ สบายพระทัยเปน อยางยง่ิ โดยเหตุ พระองคเ ปน เดก็ ฉลาดอยา งยง่ิ นัน่ เอง พระองคม ีพระประสงคท ่จี ะหาเวลาคดิ อยา งเงียบๆ ของพระองคในส่ิงท่ไี ดท รงเหน็ ในวันนี้ ในขณะทเ่ี ขา กาํ ลังมีการเลย้ี งและรืน่ เรงิ กนั อยางยงิ่ นนั้ ดั่งนัน้ พระองคจ งึ เสดจ็ ดําเนนิ ไปอยางเงียบๆ ตามลาํ พงั จนกระทงั่ ถึงตน หวา ใหญ มใี บตกรม เงาเยน็ สนทิ ตนหนงึ่ แลว ไดประทับนัง่ ลงสาํ รวมจติ ใหวางโปรง จากอารมณทงั้ หลาย พระองคไ ดเริม่ พิจารณาเปนขอแรกวา ณ ที่น้ี พระราชบดิ าของพระองค พรอมทงั้ อํามาตยแ ละชาวนาทง้ั หลายไดป ระกอบพธิ กี ารไถนา ทกุ คนกําลังมคี วามรา เริงสนกุ สนานเลย้ี งดกู นั อยา งเต็มท่ี แตสาํ หรับวัวทุกตัวน้นั เลา ดไู มมคี วามสขุ สบายเสยี เลย มันตอ งลากไถอนั หนกั ใหไ ถไป ตลอดพื้นดนิ อันเหนียว มันตองฉุดลากไถจนมนั หมดแรงเหน่อื ยหอบจนตองหายใจทางปาก ทําใหเ ห็นชดั ทีเดยี ววา ชีวิตน้มี ิใชเปนของ

สนกุ สนานสําหรับมนั เลย แมใ นวนั ทีพ่ วกมนุษยพากนั เลยี้ งดกู นั อยางสนกุ สนานเชนน้ี มนั กย็ ังจาํ ตองทาํ งานหนกั และมกั จะมีอยบู อ ยๆ ทม่ี นั ถูก ตวาดดวยถอยคําอนั หยาบคาย หรือถงึ กบั ถกู ตีหนกั ๆ เพราะเผอิญมนั ทาํ ไมไ ดตรงตามความตอ งการของเจาของ เจา ชายสิทธตั ถะยังไดพ จิ ารณา เหน็ ตอ ไปวา แมใ นขณะแหง ความบนั เทิงในวนั ทีร่ าเริงกนั อยอู ยา งยง่ิ นี้ กย็ งั มีสิ่งอนื่ อีกมากที่ไมไดรับความผาสกุ อยา งใดเลยอยเู ปนธรรมดา ในขณะทพ่ี ระองคประทบั อยูภ ายใตต นหวานั้น พระองคไดทรงสังเกตความเคลือ่ นไหวของนกและของสตั วตา งๆ ตลอดถึงแมลงนานาชนิด ในบรเิ วณนน้ั พระองคไ ดสงั เกตเห็นกงิ้ กา ตวั หนึง่ วิง่ ออกมาจากซอกใกลๆ พระบาทของพระองค แลว ใชล น้ิ อันรวดเรว็ ของมนั แลบตวดั จบั กิน มดตัวเลก็ ๆ ซึ่งทาํ งานตามหนา ทข่ี องมันอยอู ยา งแข็งขัน แตชว่ั ขณะเล็กนอยเทานั้น งูตวั หนึ่งไดเ ลื้อยออกมางับเอากงิ้ กาตวั นัน้ แลวกลนื กิน และ ในขณะท่กี าํ ลังทรงประหลาดใจอยูน ่นั เอง เหยีย่ วตวั หนงึ่ ไดถ ลาลงมาจากทองฟา อยา งรวดเรว็ จับเอางูตวั น้นั ไปฉกี กนิ เปน อาหาร เจาชายสทิ ธตั ถะทรงพจิ ารณาอยา งลึกซง้ึ ยิ่งขึ้นไป และไดถ ามพระองคเองวา เมื่อสิ่งตางๆ มันเปน ดังน้ีแลว ความสวยงามทัง้ หลายซงึ่ ปรากฏอยใู นชวี ิตน้ี ยอ มมี ความโสมมโดยประการทงั้ ปวงแฝงอยู ณ เบอ้ื งหลังของมนั มิใชหรือ แมพ ระองคยงั ทรงเยาววัยเชน น้ี และยงั ไมเ คยไดร บั ทุกขท รมานแตอ ยา งใด เลยก็ตาม เมื่อพระองคไ ดทรงมองดโู ดยรอบๆ พระองค และทรงพิจารณาในสง่ิ น้นั ๆ แลว กท็ รงมคี วามรสู ึกวา ความทกุ ขอ ันใหญห ลวงกําลงั ครอบงาํ คนและสัตวจ ํานวนมากอยูตลอดเวลา แมว า พระองคเ องจะกําลงั ทรงพระสําราญดอี ยู เม่ือพระองคทรงรําพึงอยเู ชนนน้ั ทงั้ ท่ียังทรงเยาววยั อยูก็ไดม ีพระหฤทัยดง่ิ ลงสเู หวลึกแหง ความคดิ จนกระทั่งหมดความรูสึกตอสิง่ ทั้งปวง ทรงหมดความรสู กึ ตอวนั ซง่ึ เขากาํ ลังสนุกสนานเลี้ยงดูกนั อยา งเอกิ เกรกิ หมดความรสู กึ ตอพระบิดา หมดความรูสกึ ตอ พิธไี ถนา และหมด ความรสู กึ ตอทกุ สิ่งโดยส้นิ เชิง ในขณะน้ีพระองคท รงมีจิตดง่ิ แนว แนเปน สมาธถิ ึงข้นั ที่เรียกกันทวั่ ไปในหมโู ยคีท้งั หลายวา “ปฐมฌาน” พิธไี ถนาและการเลย้ี งไดสิ้นสุดไปแลว พวกทม่ี ีหนา ทที่ ําการอารกั ขาเจา ชายระลึกข้ึนไดถงึ พระองค ก็รีบกลบั มาสทู ่ีที่เขาไดละทง้ิ พระองค ไว ครัน้ ไมไ ดพบพระองค ก็พากันตกใจ แยกยายกนั ออกเสาะหาทุกหนทกุ แหง โดยเกรงวา ในไมชาพระราชาก็จะทรงเรยี กหาพระโอรสเพอื่ พา กลบั คืนวัง ในทส่ี ุดเขาไดพ บพระองคป ระทบั น่ังนิง่ เงียบ ราวกะรูปหินสลกั อยภู ายใตตนหวานน่ั เอง เจาชายกาํ ลังมพี ระทยั ดิ่งลึกอยูในหวงแหงความคิดของพระองค จนถงึ กบั ไมไ ดยนิ คาํ รองเรยี กของคนเหลานัน้ ในช้ันแรก แตเ ม่อื คนเหลานน้ั ไดพยายามอยคู รูหนงึ่ ก็สามารถปลกุ ใหท รงตื่นจากสมาธิไดส ําเร็จ และรีบกราบทูลใหพระองคทรงทราบวา พระราชบดิ ากาํ ลงั รับสง่ั ใหหา เพราะเปนเวลาสมควรท่ีจะกลบั ไปสูว งั แลว ด่งั น้นั พระองคจ งึ ไดทรงลุกและเสดจ็ ไปกับพระหฤทัยของพระองคเตม็ ไปดวยความสงสารตอสรรพ สัตวซงึ่ มีชวี ิตอยู แตละตวั ๆ ลว นแตร ักชวี ิตของตนๆ เหลือประมาณ และกาํ ลังตอสอู ยูด วยความลาํ บากยากเข็ญ เพอ่ื ประโยชนแ กช วี ิตน่นั เอง พระเจา สทุ โธทนะ ไดท รงวนุ วายพระทัยในการที่ไดท ราบวา พระโอรสของพระองคท รงเรม่ิ มคี วามคดิ นกึ จรงิ จัง ในปญหาชีวิตและ ความหมายอนั แทจรงิ ของชวี ิต กอ นเวลาที่ควรจะเปน พระองคท รงหวั่นพระทยั เปน อยางย่งิ วา สิ่งซ่ึงพระฤษผี ูส ูงอายุไดเคยกลา วไวเ มือ่ แรก ประสูตินั้น บดั น้ีจะเรม่ิ เปนความจรงิ ขน้ึ มาแลว กลาวคอื ความคดิ ของพระโอรสของพระองคไดเ รม่ิ หมนุ ไปในทางธรรมเสียแลว หากความคิด เหลา น้ไี มร ะงับไป สง่ิ ท่พี ระองคเคยทรงหวน่ั วิตกอยา งย่งิ จักเกดิ ข้นึ โดยแนนอน คอื เจาชายสิทธตั ถะจักละท้งิ บานเรอื นไป และพระองคจ ักไมมี พระโอรสเปน ผสู ืบบลั ลงั กแ หงประเทศของพระองค ในขณะน้นั พระองคทรงตกลงพระทยั ทจ่ี ะทําอะไรบางอยาง เพอื่ โนมนาวดวงจิตแหง พระโอรสใหอ อกหางมาเสียจากความคดิ อนั รนุ แรงลกึ ซึ้ง เชนนน้ั พระองคท รงตัง้ พระทัยในอนั ทจี่ ะกระทําทุกวถิ ีทางทจี่ ะทาํ ได เพือ่ ใหชีวิตในราชสาํ นักเปน ส่งิ ทีน่ ายนิ ดีและเพลดิ เพลนิ แกพระโอรสของ พระองค จนถงึ กบั พระโอรสจะทรงเลิกละความคดิ ทคี่ นทงั้ หลายเขาไมค ิดกนั นั้นเสยี ได ดวยอาํ นาจแหง ความเพลดิ เพลินนัน้ พระองครับสัง่ แก พวกชาง ใหสรา งปราสาทอนั สวยงามขนึ้ ถงึ 3 ปราสาทสาํ หรับพระโอรส ปราสาทหลงั ทหี่ น่ึง สรางข้ึนดว ยไมแกนอยางดี ภายในบดุ ว ยไมสดี า อันมกี ล่ินหอม ภายในปราสาทอันอบอุนสบายหลงั น้ีพระองคทรงพระประสงคใ หพระโอรสประทับอยตู ลอดฤดหู นาว ปราสาทหลังที่สอง สรา ง ขึ้นดวยหินออ นขัดมันเย็นเฉียบ เพือ่ ใหเหมาะสมและมีความสบายที่จะอาศยั อยูตลอดฤดรู อน อันเปน ฤดทู ท่ี กุ ๆ สิง่ ภายนอกปราสาทนั้น กาํ ลัง รอ นระออุ ยดู วยแสงแดดอันแผดกลา ปราสาทหลังทส่ี ามสรา งข้ึนดวยอฐิ อยา งดี หลังคามุงดว ยกระเบ้อื งสีเขยี วเพอ่ื กันฝนอันตกหนกั ในฤดมู รสมุ ในปราสาทหลงั สุดทายนพ้ี ระราชาทรงมงุ หมายใหพ ระโอรสประทับอยูตลอดฤดฝู นใหเ ปนสขุ ปราศจากความรบกวนของความชื้นและความ เย็นเยือกแหง ละอองฝน รอบบรเิ วณแหงปราสาทเหลา น้ี พระองครบั สงั่ ใหจัดเปนสวนอันรนื่ รมย ประดบั ดว ยไมร มเงาและไมดอกนานาชนดิ พรอมท้ังสระ อันมนี ํ้า ถายเทเขาออกได ปลกู บัวทกุ ๆ สใี นสระเหลา น้นั เพื่อวาพระโอรสจะไดอ อกดาํ เนินเท่ยี วหรือขม่ี า เลนไดทกุ คราวทที่ รงพระประสงคแ ละจะไดรับ อากาศเยน็ อนั บรสิ ทุ ธ์ิ รบั ความรมร่ืนและท้ังความงามของดอกไมทุกทิศทางท่ีพระโอรสจะทอดสายพระเนตร

พทุ ธประวัติ ฉบบั สําหรบั ยวุ ชน พทุ ธทาสภิกขุ แปลและเรยี บเรียงจาก ฉบับภาษาอังกฤษ ของ ภิกษุสีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 4 ในวยั หนมุ ในทีส่ ุด กาลเวลาไดผานไป เจา ชายไดทรงเริม่ ผา นวัยขึ้นมาเปนหนุม แตสิง่ อนั นารื่นรมยเ หลา นั้น กลาวคอื ปราสาทก็ตาม สวนกต็ าม สระนาํ้ ก็ตาม ท่เี ดินทเี่ ลนทขี่ ับมา กต็ าม ขา บริพารอันงามท่ีพระราชาจดั ประทานใหเ ปนอยางดกี ็ตาม กย็ งั คงเปนสงิ่ ทไ่ี มมคี ณุ คา อะไรในการที่จะหยดุ ความคดิ อันลึกซงึ้ ของเจา ชายไดเ ลย พระราชาไดท รงสังเกตเหน็ ความจริงขอ นี้ พระองคไ ดท รงเหน็ วาทกุ ส่งิ ทกุ อยางทพี่ ระองคจ ดั ขนึ้ เพ่ือยึด หนวงจิตใจเจา ชาย ใหติดอยใู นความเพลิดเพลนิ นน้ั ไดเปน สง่ิ ที่ลมเหลวไรผ ลโดยสน้ิ เชิง พระองคทรงเรยี กประชมุ อํามาตยท ้งั หลายของ พระองค แลวรับสง่ั ถามคนเหลา นนั้ วา ยังมอี ะไรวิธีใดอีกบาง ท่พี ระองคจ ะทรงสามารถจัดทาํ เพอื่ อยาใหถ อ ยคําพยากรณข องพระฤษผี สู ูงอายุน้ัน เกดิ เปนความจรงิ ขนึ้ มา อาํ มาตยท ้ังหลายไดกราบทูลถวายความคดิ เหน็ ของตนๆ วา ทางทีด่ ีท่ีสุดในการยดึ หนวงจิตใจของเจาชาย อยาใหคิดไปในทางสละโลกน้นั คือการจัดใหเจาชายไดสมรสกับสตรสี าวท่ีสวยท่ีสุดเสยี พรอมกบั ทลู อธิบายวา ดว ยการทาํ อยา งน้ี เจา ชายจกั พัวพนั อยกู ับพระชายา จนไมมีเวลาที่ จะหวนคิดถงึ ส่ิงอนื่ ใด จนเวลาลว งไปๆ กระทงั่ อยูใ นภาวะเหมาะสมท่ีจะข้ึนครองบลั ลังกตามความประสงคข องพระราชบดิ า ตามแบบอยา งที่ เขากระทาํ กัน พระราชาทรงเห็นชอบวา คาํ แนะนาํ อันนี้เปนคําแนะนําทีด่ ีทสี่ ดุ แตพระองคยงั ไมทรงวางพระทัยในขอ ที่จะเสาะหาสตรสี าวสวย มาไดอ ยางไร ท่จี ะใหนารักนา เสนหา จนถงึ กับเม่อื สมรสแลว จะทําใหเ จาชายหลงใหลโดยส้นิ เชิง และมชี ีวติ อยโู ดยไมตอ งนึกถึงเรือ่ งอืน่ ใด นอกไปจากความคดิ ที่จะทําใหสตรีทีร่ ักของตนนนั้ มีความสขุ อยางย่งิ แตอ ยา งเดียว เมอื่ ไดทรงพนิ จิ พิจารณาอยูครหู นึ่งแลว พระองคกท็ รงพบความคิดอนั แยบคาย พระองคทรงบัญชาใหบ รรดาหญิงทมี่ รี ูปรา งงามท่ีสดุ ทง้ั หมด ในประเทศของพระองค มาสูนครกบลิ พัสดุ ในวนั ทีไ่ ดกําหนดไว เพอ่ื ใหเ ดนิ ผานพระพกั ตรเ จาชายสิทธัตถะ ใหเจาชายมโี อกาสระบุวา สตรใี ด เปน ผูที่สวยทส่ี ุดกวา บรรดาสตรีทงั้ หลาย และใหเจา ชายประทานรางวัลเพอ่ื ความงามของสตรผี ูนั้นเปนพเิ ศษ แมสตรอี ื่นทุกคนที่ไดม าแสดงตัว ในท่ีนนั้ ก็จกั ไดรบั รางวลั อยางใดอยางหนึง่ โดยสมควรแกความงามของตนจากพระหตั ถข องเจา ชายเองเชนเดียวกนั เมื่อพระเจาสทุ โธทนะทรงมีพระราชบัญชาออกไปดงั น้แี ลว พระองคยงั ไดทรงจดั เตรยี มใหอาํ มาตยผมู ากดว ยปญ ญาของพระองคจาํ นวน

หนึง่ ไปคอยเฝาดูอยู ณ ท่ีที่สตรีทัง้ หลายเดินผา นพระพักตรเ จาชาย เพ่ือจะไดส งั เกตวาเจา ชายจกั พอพระทยั ในสตรคี นไหนอยา งสงู สดุ แลวให กําหนดตวั ไววา เปน ผูใ ดมาจากไหน จักไดก ลับไปกราบทลู ใหพระองคทรงทราบในภายหลงั ในทส่ี ุด วันแหง การประกวดความสวยงามกม็ าถึง บรรดาหญงิ สาวที่งดงามท่ีสุดในประเทศ ไดเ ดินผานพระพักตรเจา ชายโดยลําดบั ทลี ะคนๆ เปน ขบวนแหง ความงามอยา งแพรวพราวทอตาเปน ที่สดุ แตล ะคนไดร บั พระราชทานรางวัลจากพระหตั ถของเจา ชาย ตามทีเ่ จา ชายทรงเห็นวา ผใู ดควรจะไดรบั เพียงไร สตรเี หลา น้ัน แทนทีจ่ ะรูสึก รา เริงยินดี ในการท่ีไดม เี กยี รติเขารับของรางวลั จากพระหัตถเ จา ชาย กลบั มแี ตค วามกลวั จนสะทกสะทา น จะกลบั มใี จราเรงิ ได ก็ตอเมอื่ ไดผ า น พน ไปสหู มูเพ่อื นสาวของตน เปน อยูอ ยางน้ีคนแลวคนเลา มันเปน การชอบดว ยเหตุผลแลว ท่พี วกสตรเี หลา น้นั จะรูสกึ ดงั น้ัน เพราะวา เจาชาย ของพวกเขาพระองคนี้ ไมเ หมอื นกับบรรดาชายหนมุ อนื่ ๆ ทพี่ วกเขาเคยพบปะมา เจาชายไมไดต ง้ั พระทัยตรวจมองความงามของหญงิ เหลานน้ั เลย หรอื หากจะกลาวใหต รงความจริงยิ่งไปกวาน้ัน ก็คือวาพระองคไ มไดทรงมคี วามรสู ึกนกึ คดิ ใดๆ ในบรรดาสาวงามเหลาน้นั เลย พระหัตถข องเจาชายสิทธตั ถะ ไดยืน่ ประทานของรางวลั ใหแกสตรีเหลา น้นั ก็จรงิ แตพ ระหฤทัยนนั้ กําลงั คิดครนุ อยูถ ึงส่ิงอื่นบางสงิ่ โดย สิ้นเชิง มันเปน สิง่ ซงึ่ ใหญห ลวงกวา เปน จรงิ ยงิ่ กวา ดวงหนาอนั ยิม้ แยม และทา ทางรูปรา งอันเยา ยวนของสาวๆ เหลา นัน้ สตรบี างคนไดพดู วา ขณะทพ่ี ระองคกาํ ลงั ประทับบนบลั ลงั กเพอื่ ประทานรางวัลอยูน ้ัน เธอรูสึกราวกะวา พระองคเ ปน เพียงเทวรปู องคใ ดองคหน่งึ มากกวาทจ่ี ะเปน มนษุ ยธรรมดาสามญั บรรดาอาํ มาตยท ่พี ากนั เฝาสงั เกตการณอ ยตู ามพระราชโองการนัน้ ไดเ กดิ ความรูส กึ หวั่นใจวา พวกเขาทงั้ หลายจะตองกลบั ไปกราบทูล พระราชาในการไรผลโดยสน้ิ เชงิ แหงแผนการของพระองค เพราะวาเจาชายไมไ ดทรงแสดงความพอใจใดๆ ใหปรากฏ ในบรรดาสตรีงามทีผ่ าน ไปๆ น้นั แมเ พียงคนเดยี ว สตรีทง้ั หลายกไ็ ดเดนิ ผานไปๆ เกอื บจะถึงคนสดุ ทา ยอยูแลว สิ่งของอนั ไดจดั เปนรางวลั กเ็ กือบจะหมดอยูแ ลว เจาชายก็ ยังคงประทับนิ่ง ไมไหวติง มพี ระหฤทยั เลอื่ นลอยไปในทางอน่ื อยา งเหน็ ไดช ัดวา ไมท รงสนพระทัยในความงามอยางย่งิ ของหมูสตรสี าว ซึง่ แต ละคนๆ มีความงามอยา งจบั ตาจับใจคนธรรมดาสามัญทุกๆ คนเหลา น้ันเลย แตในทสี่ ุด ในขณะทสี่ ตรซี ึง่ ทกุ คนคดิ วาเปนคนสุดทายไดเขารับรางวลั ชนิ้ สดุ ทา ยและเดนิ ผานไปแลว ยงั มีสตรีสาวอีกคนหน่ึง ไดเ ดนิ เขา มา ชากวากาํ หนดดว ยอาการคอ นขา งรีบรอ น ทกุ คนท่เี ฝา ดูอยูใ นท่นี ้ัน ไดส งั เกตเหน็ วา เจาชายไดม อี าการสะดุงนดิ หน่ึง ในเมื่อสตรผี นู ีเ้ ดินมาตรง พระพกั ตร แมสตรีผนู กี้ ็เหมือนกัน แทนที่จะกม หนา อยางเอียงอายเดนิ ผานเจา ชายไปอยางสตรที ง้ั หลาย กลบั มองพระพกั ตรเ จา ชายอยา งตรงๆ ยม้ิ แลวถามวา “ยงั มรี างวลั อะไรเหลอื อยสู าํ หรบั หมอมฉันบา ง ” เจา ชายไดท รงย้ิมตอบและตรสั วา “ฉนั เสยี ใจ ทรี่ างวัลไดห มดไปแลว แตเ ธอจง รบั เอาส่งิ นไ้ี ปเถดิ ” พรอ มกบั ตรสั ดังนั้น ไดท รงปลดพระสังวาลอันงดงามเปน พิเศษจากพระศอของพระองค แลวทรงพนั ใหรอบขอ พระหตั ถ แหง สตรนี นั้ อาํ มาตยทั้งหลาย เม่ือไดเ ห็นดังน้ัน กพ็ ากันปลาบปลมื้ เปน อยางยิ่ง ครน้ั ไดสบื จนทราบวา กุลสตรีคนสุดทา ยนี้ มนี ามวา ยโสธรา เปนเจา หญงิ ธดิ าของพระเจา สปุ ปพทุ ธะ ดงั น้ันแลว ก็พากนั รีบกลับไปเฝา พระราชา กราบทูลใหทรงทราบทกุ ประการ ในวันตอมา พระเจา สุทโธทนะไดท รง จดั สง คนของพระองคไ ปสูส าํ นกั พระเจาสุปปพุทธะ เพ่ือทูลขอพระธิดา อนั มนี ามวายโสธรานน้ั เพื่อการสมรสกบั เจาชายสทิ ธตั ถะ มีธรรมเนยี มประเพณอี ยอู ยา งหนง่ึ ในบรรดาเจา ศากยะซึ่งเปน เชอื้ ชาติทม่ี คี วามเขม แข็งกลาหาญแหง เชิงเขาหมิ าลัยวา เมอ่ื ชายหนุมคนใด ประสงคจ ะสมรส ขอแรกเขาจะตอ งแสดงตนเองใหคนทัง้ หลายเห็นวา ตนเปน ผูฉลาดและเช่ียวชาญในการขมี่ า การใชค ันศรแลลูกศร และการ ใชด าบเชนเดียวกับชายหนุม อืน่ ๆ ดงั นนั้ เจา ชายสทิ ธัตถะ แมท รงเปน รัชทายาทแหงราชบัลลงั กก็ยงั ทรงตองอนุวัติตามธรรมเนียมประเพณีอนั นี้ ดังเชนชายหนมุ ทงั้ หลาย คร้นั ถงึ วันนัด ชายหนมุ ผฉู ลาดและเขมแข็งแหงแควน ศากยะท้งั หมด ก็ไดมาประชุมพรอ มกัน ณ สนามอันเปน ท่ี ประลองฝมือ ในกรุงกบิลพัสดุ ลว นแตเ ปน นักขีม่ า นกั ยงิ ศร และนกั ฟน ดาบ ทีจ่ ัดเจนดวยกนั ทุกคน ทุกๆ คนไดแสดงฝมือในการขี่มา การใชศ ร และการฟนดาบ ตามทต่ี นสามารถตอ หนาที่ประชุมของอาํ มาตยและประชาชน เจา ชายสทิ ธตั ถะทรงขีม่ า ขาวช่อื กณั ฐกะ แสดงความสามารถอาจหาญในการขับข่ี ประกวดกับคนอ่นื ๆ จนเปน ท่ปี รากฏวาพระองคท รงมี ความสามารถเทา หรือยิ่งกวา คนท่ีสามารถท่ีสุดในประเทศของพระองค ในการยิงศรพระองคทรงสามารถสง ลกู ศรไปไดไ กล และแมน ยาํ กวา คน หนมุ ท่ถี อื กนั ในเวลานน้ั วายิงศรไดเ กง ทส่ี ดุ ในประเทศนนั้ กลา วคอื เจา ชายเทวทตั ซึ่งเปน ลูกเรียงพ่เี รยี งนอ งของพระองคน ่ันเอง ในการ ประลองฝมอื ทางการฟน ดาบน้ันเลา พระองคไ ดทรงฟนตน ไมร ุน ๆ ตน หนงึ่ ขาดออกดว ยการฟน เพยี งคร้ังเดยี ว ดวยฝพ ระหตั ถอ ันประณตี และ เที่ยงจนถงึ กับเม่อื ดาบผานไปแลว ตน ไมกย็ ังคงยืนตน อยู ทําใหผูที่คอยดอู ยูนน้ั คิดไปวา ตน ไมนนั้ ยังไมถกู ตดั จนกระท่งั มีลมโชยมา จงึ ไดคอ ยๆ ลมไปสูพน้ื ดนิ ทําใหค นทั้งหลายเห็นวา แผลตดั น้นั เกลี้ยงอยางกะรอยมีดตดั เนย ในการประกวดการฟน ดาบคราวนี้ พระองคท รงเปน ผกู ําชยั ชนะเลศิ ไวได กลาวคอื ทรงชนะพระอนุชาตา งมารดาของพระองคเอง ซ่ึงมพี ระนามวา นนั ทะ อันเปนผูซ่งึ ใครๆ คาดกันวาไมมผี ูใดในประเทศน้ี จะเอาชนะเจาชายพระองคนี้ ในทางฟน ดาบได อันดับตอ ไป เปน การประลองฝมือทางการแขงมา โดยอาศยั มา กณั ฐกะสขี าว ฝเทาเร็วของพระองค เจาชายสทิ ธตั ถะสามารถขับขี่ทงิ้ ผูอ ืน่ ทุก คนไวเบอ้ื งหลังไดโ ดยงายดาย นักแขง ดว ยกันพากนั ไมพ อใจ บางคนพดู แกเ กอ วา “ทพ่ี ระองคทรงชนะไดอยางงายดายเชนนี้ นาจะเปน เพราะมา ตางหาก ถา เราไดม า ฝเ ทาเรว็ เชน มากัณฐกะมาข่ี เราก็ตองชนะเหมอื นกนั มันดอี ยทู มี่ า ตางหาก หาใชดที ีค่ นข่ีไม อยา งไรๆ เอามาเปลีย่ วสดี าํ ตวั ที่

ไมเ คยยอมใหใครๆ ขึ้นหลงั เลยนั้น มาพสิ ูจนกันที วาใครจะขน้ึ ข่มี ันได หรือนง่ั บนหลงั มนั ไดนานท่ีสุด” ดงั นั้นบรรดาเจา ชายหนมุ ทั้งหลาย จงึ ไดพ ยายามเตม็ ความสามารถของตน ผลัดกันทลี ะคนๆ ที่จะพยายามจบั มา ตัวน้ันเผนขนึ้ น่งั บนหลงั ของมันใหได ผลปรากฏทกุ พระองค ไดถกู มา อันลาํ พองและดรุ า ยตวั นัน้ สะบัดใหลมลงมายงั พ้ืนดนิ ทกุ คราวไป กระท่ังเวยี นมาถึงรอบของเจา ชายอรชนุ ซึง่ ถอื กันวา เปนนกั ขี่มาทีเ่ ย่ยี มทส่ี ดุ ในประเทศมาแลว เจา ชายองคนใี้ ชค วามพยายามเพยี งเลก็ นอ ย กท็ รงสามารถขนึ้ นง่ั บนหลังมนั ได และหวดดว ยแส เพ่ือใหมันว่งิ ไปรอบๆ สนาม แตในอดึ ใจตอ มา โดยทใี่ ครๆ คาดไมถงึ วามันจะมีฤทธเ์ิ ดชอยางไร มา รา ยตวั นีไ้ ดแ วงศีรษะของมนั มาโดยเรว็ งับเอาขาของเจา ชายอรชนุ ดว ยฟน อันใหญค มและแข็งกรา วของมัน ดึงกระชากเจาชายใหหลดุ จากหลังแลวเหวย่ี งลงยังพ้ืนดนิ หากวาพนกั งานที่คอยเฝาระวงั เหตุการณอ ยนู ้ัน พวก หน่ึงไมช วยกันรัง้ แยกมันออกไวท นั และพนักงานอีกพวกหนง่ึ ไมพากันรุมตีทางหลงั ของมันแลว ไมต องสงสยั เลยที่เจาสตั วด รุ า ยตวั น้จี ะไมทํา อันตรายแกเ จา ชายอรชุนจนกระทัง่ เสียชีวิต แมมาเปล่ยี วดุรา ยตวั นนั้ จะอาละวาดถงึ เพยี งนนั้ มาแลว กต็ าม รอบถดั ไป ก็จําตอ งเปนรอบของเจาชายสิทธตั ถะทจ่ี ะตองขึ้นข่ี ตามที่ตกลงกนั ทกุ คนพากนั คิดวาพระองคจะตองเสยี ชวี ติ เพราะแมเจาชายอรชุน ท่ีถอื กนั วาเช่ียวชาญการขม่ี าของประเทศก็ยงั รอดตายไปไดอยางหวุดหวดิ แต เจาชายสทิ ธัตถะไดท รงดําเนนิ อยา งแชม ชา เปนปรกติ ตรงแนวไปยงั มา ตัวนั้น ทรงวางพระหัตถข างหนึ่งบนคอของมนั และพระหตั ถอ ีกขา งหนึ่ง ลูบทีจ่ มกู ของมนั พรอ มกบั กลา วคําออนหวานท่หี ูของมนั สองสามคาํ และพระองคไดท รงตบเบาๆ ทีส่ ขี างทั้งสองของมัน การกระทาํ ไดใน ชนั้ ตนน้ีกท็ าํ ความประหลาดใจใหแ กทกุ ๆ คน ในการที่มา รา ยตวั นัน้ ยอมนงิ่ ใหไมกระดกุ กระดิก และซํา้ ยงั ยนิ ยอมใหเ จาชายขึ้นบนหลงั ขขี่ บั ไป ขางหนาถอยมาขางหลังไดต ามทพี่ ระองคท รงปรารถนาอีกดวย จงึ เปนท่ีประจักษดว ยกนั ทุกคนในท่ีนัน้ วา มนั ยนิ ยอมทาํ ตามความประสงคของ เจาชายทุกๆ อยา งโดยสนิ้ เชิง นับวา เปน คร้ังแรกทม่ี ีคนเขาไปใกลม นั ไดอ ยา งนีโ้ ดยไมเ กรงกลวั มนั ทัง้ สามารถบงั คบั ขับขม่ี ัน โดยไมต อ งมกี าร เฆย่ี นตีอีกดวย แมมา ตัวน้ันกจ็ ักตองรูสึกประหลาดใจเปนอยา งยิ่ง ในการกระทําเชน นน้ั ของเจา ชาย ซงึ่ มันไมเคยไดรับการกระทําอยา งนจี้ ากใคร ที่ไหนมากอนเลย มันจงึ ยอมใหเจา ชาย ผซู ่ึงไมท รงหวาดกลวั และทั้งไมท รงแสดงความทารุณตอมนั ทรงขน้ึ ข่ีมนั ไดตามความประสงค ในที่สดุ ทกุ คนไดยอมรับวา เจา ชายสิทธตั ถะไดเปน นกั ขี่มาท่เี ชี่ยวชาญทสี่ ุดของประเทศดวยอกี ประการหนงึ่ และเปนผสู มควรทสี่ ดุ ทีจ่ ะ เปนพระสวามีของเจา หญงิ ยโสธราผงู ามเลศิ ดว ย ทางฝา ยพระเจาสปุ ปพุทธะ พระบดิ าแหง เจาหญิงยโสธราก็ไดทรงเหน็ พองในขอน้ี ทรงยินยอม ยกธิดาของพระองคใหเ ปนพระชายาของเจา ชายหนุม ผูซึ่งมีรปู รา งงดงามและแกวนกลา พระองคนี้ดวยความเต็มพระทยั เจา ชายสิทธตั ถะไดทรงสมรสกับพระนางยโสธราผเู ลอโฉม ในทา มกลางความชื่นชมยินดอี ันใหญหลวงของคนทุกหมูเหลา และไดเสด็จ พรอ มดวยพระนางไปประทับ ณ ปราสาทอนั สรางใหมและงดงาม ซึง่ พระบิดารับสัง่ ใหสรางขึ้น เพอ่ื คนทั้งคูจ ะไดแ วดลอ มอยดู ว ยความเบิกบาน บันเทิงทกุ อยา งทุกประการ เต็มตามทค่ี นหนมุ สาวจะพึงบนั เทงิ ได ในบดั นี้ พระเจาสทุ โธทนะเรม่ิ ทรงดีพระทัยวา พระโอรสของพระองคจกั ไมท รงใฝฝ น ถงึ การสละบัลลงั ก ออกไปผนวชเปน นกั บวชอกี ตอ ไป แตเพ่อื ใหเ ปนท่แี นน อนยงิ่ ขึ้น วา ความคิดนึกของเจา ชายจะไมน อมไปในทางน้นั โดยเดด็ ขาด พระราชาจึงรบั ส่งั ไมใ หผูใดผูหน่ึงในท่นี ัน้ เอยถงึ สิ่งท่นี ํามาซ่ึงความเศรา สลด เชน ความแก ความเจ็บ หรือความตาย เปน ตน แมแ ตค าํ เดยี ว คนที่หอ มลอ มใกลชดิ อยเู หลานั้น จะตอ ง พยายามกระทําทกุ อยา งทกุ ทาง ใหร าวกะวา สงิ่ อันไมพ งึ ปรารถนาเหลานั้นมิไดม อี ยใู นโลกนเ้ี ลย ย่ิงไปกวา นัน้ พระราชาไดร บั ส่งั ใหคนรบั ใชทั้งภายในและภายนอก ท่มี ีลักษณะสอรปู รา งหนาตาไปในทางชราหรอื ออ นเพลยี หรอื เจ็บไขได ปว ย ปรากฏออกมาเพยี งเลก็ นอย ใหอ อกไปเสียใหพ น จากเขตวังของพระราชโอรส พระองคไ ดท รงจดั จนถงึ กบั วา ในเขตปราสาทและบริเวณ อุทยานรอบปราสาทของเจาชายนนั้ คนอนื่ จักไมม ผี ูใดเยยี่ มกรายเขา ไปเลย นอกจากหนมุ สาว ซงึ่ มใี บหนาแสดงแววแหงความสขุ ความราเรงิ และความยิม้ แยมแจมใสเทานน้ั หากเผอญิ มีใครลม เจบ็ ลงในนัน้ จักตอ งชว ยกนั รบี นาํ ออกไปนอกบรเิ วณโดยทนั ที และจะไมย อมใหก ลบั เขามา อีก จนกวา จะหายและสมบูรณดังเดิม พระราชาทรงมีพระราชโองการอันเฉียบขาด มิใหใครคนใดคนหนง่ึ ในที่น้นั แสดงอาการหรือนิมิตแหงความออนเพลยี หรอื เศรา ใจออกมา ตอพระพักตรของเจาชาย ทุกๆ คนที่แวดลอมเจาชายอยู ตอ งแสดงอาการร่ืนเริงบันเทงิ สดชนื่ แจม ใสจนตลอดทงั้ วันทั้งคนื และในยามท่เี ปน เวลา ปรนนิบตั ิเตนรําขบั กลอมจะตองไมแสดงอาการแหง ความเมอื่ ยลาเหน็ดเหนื่อยออกมาใหปรากฏ โดยสรุปแลว พระเจา สุทโธทนะไดทรง พยายามจดั ทําทุกสง่ิ ทุกอยาง ไปในทาํ นองที่วาเจาชายจกั ไมส ามารถทราบหรอื แมแ ตเ พียงคาดคะเนได วา ในโลกนี้ไมมีสงิ่ อนื่ ใด นอกไปจากการ ย้มิ การหัวเราะและเกล่ือนไปดวยความเปนหนุม เปนสาว เต็มไปดวยความชนื่ ชม และเปน สขุ เทา นัน้ เพอื่ ความมงุ หวงั ของพระองคเปน ไป สมบรู ณตามนั้น พระราชารบั ส่ังใหสรางกาํ แพงสูงๆ ลอ มปราสาทและอทุ ยานของเจา ชายเอาไว และทรงบงั คับอยา งเฉยี บขาดแกผ เู ฝา ประตู ทง้ั หลาย วาเขาจกั ตอ งไมยอมใหเจา ชายเสด็จออกไปนอกกําแพงนี้ไมว ากรณใี ดๆ โดยวธิ นี ้ที ีพ่ ระเจาสทุ โธทนะไดท รงคดิ วา มันจักเปน ท่นี อนใจ ได วาเจาชายจกั ไมไ ดพบเหน็ สิ่งใด นอกจากสภาพอันนา รื่นรมยของความเปน หนมุ เปนสาวและความสวยความงาม จักไมไดยนิ เสยี งใดๆ นอกจากเสยี งแหงความบันเทิงเรงิ ร่นื ของบทเพลงของการหัวเราะ และจักทรงพอพระทัยในการท่จี ะเปนอยูตามทพี่ ระบิดาไดจ ัดสรรประทานให จกั ไมทรงปรารถนาในการออกบวช และทรงเสาะแสวงหาส่งิ อน่ื ใด ใหม ากไปกวาการเปน อยอู ยา งเจาชาย ผเู ปนพระโอรสหวั แกวหวั แหวนของ พระบิดาเทา นน้ั

พทุ ธประวตั ิ ฉบบั สาํ หรับยุวชน พทุ ธทาสภกิ ขุ แปลและเรยี บเรียงจาก ฉบบั ภาษาองั กฤษ ของ ภิกษสุ ลี าจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนที่ 5 ความเบ่ือหนาย แมพระราชาจักไดท รงจดั สรร ใหมีการบํารงุ บาํ เรอแวดลอมพระโอรสของพระองคสกั เพยี งใด และแมวาความทกุ ขยากนานาประการ จะได ถกู เขาเกยี ดกันออกไป จนไมมที างทีเ่ จา ชายจะรูสึกเปนทกุ ขใจ แมแ ตน ิดหน่ึงก็ตาม เจาชายสิทธตั ถะก็ยงั ทรงไมร สู ึกเปนสขุ ดงั ทีพ่ ระบดิ า ปรารถนาเอาไว แมแ ตห นอยเดยี ว พระองคอ ยากจะทราบวา อะไรอยูน อกกําแพง ซง่ึ เขาไมย อมใหพ ระองคเ สดจ็ ผานออกไปเลย เพอ่ื ปอ งกนั มใิ ห พระโอรสมคี วามสนพระทยั ตอสิ่งซ่ึงมอี ยนู อกกําแพง พระราชาไดทรงจดั งานเลย้ี งดแู ละงานรน่ื เริงตางๆ ขน้ึ ทุกชนิด แตก็เปนการไรผลเชน เคย เจาชายย่งิ ทรงไมพ อพระทัยมากย่ิงขึน้ ในการเปนอยอู ยา งถกู ปดตายเชน นนั้ พระองคทรงประสงคใ ครจะเห็นโลก มากกวาท่มี ันมีอยูภายใน กาํ แพงของพระองค ทง้ั ๆ ที่การเปน อยูภายในพระราชวังน้นั ก็เตม็ ไปดวยความรน่ื เรงิ เปน ท่สี ดุ แลว พระองคปรารถนาที่จะทราบวา คนทม่ี ิใช เปนลกู เจาลูกนายนนั้ เขาเปน อยกู นั อยา งไร พระองคไ ดก ราบทลู พระบิดาซ้ําแลว ซ้าํ อีก วา พระองคจ กั ไมม คี วามสขุ ใจไดเลย ถาหากวามิได ออกไปเหน็ ส่ิงเหลา นนั้ กาลลว งมากระทงั่ วันหนึ่ง อันเปน วนั ซง่ึ พระราชา ไมส ามารถจะทรงทนความรบเรา ของพระโอรสในการที่จะออกไปดู สงิ่ ตา งๆ ภายนอกกําแพงไดอ ีกตอไปแลว พระองคไ ดต รสั วา “ดีแลว ลูกเอย ! เจาควรจะออกไปเทยี่ วภายนอกวงั และดูประชาชนทั้งหลาย วาเขา เปน อยูกนั อยา งไร แตตองใหพ อไดเ ตรยี มส่ิงตา งๆ ใหพ อเหมาะแกก ารทล่ี ูกรักคนเดียวของพอ จะไปดูเสยี กอน” พระราชาไดรับสง่ั ใหแจงขา วแกประชาชนท้งั ปวง เพื่อทราบวา พระโอรสของพระองคจักเสด็จประพาสนครในวันทีก่ าํ หนดให และใหทกุ บานทกุ เรอื นประดับธงทิวและเครอื่ งหอ ยอนั สวยงาม ตามประตแู ละหนาตา งเปนตน จักตองทาํ ความสะอาดบานเรือนเช็ดถู ทาสีใหม ประดบั ดอกไมเ หนอื ประตูและหนา ตางและทาํ ทกุ ๆ อยางใหด ูงดงามสดใส สดุ ความสามารถท่จี ะพึงกระทาํ ได พระองคท รงมพี ระราชโองการเดด็ ขาด มิ ใหผ ูหนึง่ ผูใดทาํ กิจธรุ ะสวนตัวของตน แมเ พียงเล็กนอยกลางถนน คนตาบอด คนงอยเปลย้ี คนเจบ็ ปว ยชนดิ ใดๆ ก็ตาม คนแก คนโรคเร้ือน เหลา น้ี ตองไมออกมาสูถ นนทุกสายในวนั นนั้ แตจะตอ งเกบ็ ตัวปด ประตูอยใู นเรือน ตลอดเวลาทีเ่ จาชายเสด็จผา นมา คนหนุมแนน คนแข็งแรง คนมีสขุ ภาพอนามยั คนทีม่ ีแววรา เรงิ เปนสขุ เทา นน้ั ที่จะออกมาทําการเฝา แหนตอ นรบั เจาชายในการเสด็จประพาสนคร ใชแตเ ทา นัน้ พระราช โองการยงั มอี กี วาในวนั นัน้ ตองไมม ีการหามศพไปสูปา ชาเลยเปน อันขาด ไมว า กรณใี ด ใหเก็บศพรอไวจ นกวา จะถงึ วันรุงข้ึน

ประชาชนไดพ ากันกระทําตามที่พระราชามีพระบรมราชโองการทุกประการ ไดพากันกวาดถนนทุกสายและรดนา้ํ เพ่ือระงับฝนุ ไดท า บานเรือนดวยสีขาว ประดบั ประดาใหสวยงามดว ยพวงดอกไม และระยาดอกไมแ ขวนหนาประตบู านชอ งของตนๆ เขาไดแขวนแถบผา สีตา งๆ ตามตนไมส องขา งถนน ทเี่ จาชายจะเสดจ็ ผา นไป โดยสรุปแลว เขาไดพยายามทาํ ทุกอยา งตามท่เี ขาเหน็ วาจะทาํ ใหนครน้ี ปรากฏแกส ายพระเนตร เจา ชายราวกะวาเปน นครแหงเทพยดาในแดนสวรรค แทนทีจ่ ะเปนโลกมนษุ ย เม่ือทกุ สิ่งทกุ อยา งพรอมแลว เจาชายสิทธัตถะไดเสดจ็ ออกจากวังประทบั บนราชรถคนั งามของพระองค เสด็จประพาสตามถนนสายตา งๆ ทอดพระเนตรทุกสง่ิ ทกุ อยางในท่ที กุ แหง ซึ่งลวนแตมีใบหนาอนั ย้มิ แยมแจมใสของประชาชนคอยตอ นรบั อยูโดยท่วั ไป ประชาราษฎรทั้งปวง ตางกด็ อี กดใี จ ทไ่ี ดเหน็ เจา ชายเสด็จมาในทา มกลางพวกเขา บางคนไดย ืนขน้ึ และเปลงเสียงพรอ มๆ กนั วา “ไชโย ! ความชนะ จงมแี ตเ จาชาย” บางพวกก็ไดวงิ่ นาํ ไปขา งหนา โรยดอกไมบ นหนทาง ทม่ี า ของพระองคจะลากราชรถผา นไป ฝา ยพระราชาเม่ือไดท รงเห็นวาประชาชนไดทาํ ตาม พระประสงคข องพระองคอยางเครงครดั เชนนัน้ ก็ทรงเบิกบานพระทัยเปนอยา งย่งิ และทรงดํารวิ า การท่ีเจา ชายไดเทย่ี วดูนครและไดเห็นแตส่ิง สวยงามรืน่ เริงบันเทงิ เสียบางเชนน้ี จกั รูสึกพอพระทัย และจักระงบั ความคดิ อันวิตถารนั้นเสยี ไดโ ดยเดด็ ขาดเปนแน แตในที่สุด แผนการที่ พระราชาไดทรงวางไวเ ปนอยางดนี น้ั ไดเ กิดลม เหลวขึน้ อยา งไมน า จะเปนได ไดมชี ายชราคนหน่งึ มีผมขาวเต็มทง้ั ศรี ษะ มีแตผ า ข้รี วิ้ พนั กายอยาง กระทอ นกระแทน เดนิ โขยกเขยกออกมาจากบานหลังหนึ่งขางถนน โดยไมทนั ที่จะมผี ูใดเห็นและหามเสีย ใบหนาของแกเตม็ ไปดว ยจุดกระและ รอยยน นัยนต าแฉะและฝาฟาง ในปากไมม ฟี นแมแ ตซ เี่ ดยี ว เรือนรา งคอมงอจนตอ งใชมอื ท้งั สองอนั มีแตห นังหุม กระดูกยนั ไมเ ทาไวเ พ่ือไมใ ห ลม แกสูพ ยายามพยงุ กายเดนิ ไปตามถนน อยา งไมเอาใจใสตอ ฝงู ชนอ่ืนใด เทา กเ็ ดนิ ปดเปเ ปะปะไปพรอ มกบั เสยี งพึมพาํ อยางอิดโรย ขาดเปน หว งๆ ออกมาจากปากอันซดี ของแก แกกาํ ลงั เทย่ี วรองวอนขออาหารกินจากประชาชนทผี่ านไป ดวยความหวิ โหยถงึ ขนาดที่วา หากไมไ ด รบั ประทานอาหารสิ่งใดในวนั นี้แลว แกจกั ตอ งถึงแกชวี ิต ทุกๆ คนในท่ีนน้ั มีความข้ึงเคยี ดตาแกนี้เปนอันมาก ในการบงั อาจออกมาสูทองถนนในวนั ทเ่ี จา ชายเสดจ็ ประพาสนครเปนครั้งแรก เชนน้ี ทงั้ พระราชาก็ไดมพี ระราชโองการหา มคนเชน นี้ มใิ หแสดงตวั ในทามกลางถนนในวนั นน้ั ไวด ว ยแลว ผคู นเหลานนั้ ไดพากันพยายามรบี รุมขับ ตอ นตาแกค นน้ี ใหกลบั เขา ไปยงั บานของแกเสีย กอนแตที่เจาชายจะทอดพระเนตรเห็น แตการกระทาํ ของคนเหลาน้ี เปน ไปไมท ันทว งที เจา ชาย สิทธตั ถะไดทอดพระเนตรเหน็ คนแกค นนนั้ เสยี กอนแลว พระองคท รงสะดุงในการเหน็ ภาพคนแกค นน้ัน ซ่ึงทรงรูสกึ วา เปนการยากทจี่ ะกลาวได วาเหมอื นกบั ภาพของอะไร พระองคไดร ับส่งั ถามนายฉนั นะ สารถีคนโปรดของพระองคซงึ่ นง่ั อยขู างๆ วา “นัน่ อะไรกัน ฉันนะ ! มนั ตองไมใช คนแนๆ ทําไมมนั จงึ โคง งอมากเชนนน้ั เลา ทาํ ไมไมเ หยยี ดหลงั ใหตรงๆ เหมือนแกและฉันน้ี ทําไมตองสัน่ เท้ิมอยา งน้ัน ทาํ ไมผมของเขา จึง ขาวโพลนอยา งประหลาดไมเหมอื นผมของเราๆ ตาของเขาเปน อะไรไป ฟน ของเขาอยทู ี่ไหน คนบางคนเกิดมากม็ าเปน อยา งนเี้ ลยหรอื บอก ฉนั ทเี ถดิ ฉนั นะ ! วามันหมายความวาอยางไรกนั นายฉนั นะไดกราบทูลถวายแกเ จาชายของตนวา “ทลู กระหมอ ม บคุ คลท่ีเปนเชน น้ีเรยี กกันวา คนแกหงอ ม เขาไมไดเปนเชน นี้มาแตก าํ เนดิ เขาเกดิ มาสูโลกน้ี เชน เดียวกบั คนท้งั หลายอ่นื ในครัง้ แรก เขาก็เปนหนุมรา งกายตรง ผึง่ ผายและแขง็ แรง มผี มดําสนิท และดวงตาอนั แจม ใส แต เมือ่ เขามชี วี ติ อยูใ นโลกนน้ี านเขา เขากเ็ ปนด่ังน้ี ทูลกระหมอมอยา ไปเอาพระทยั ใสกับเขาเลย น่นั มันเร่อื งของคนแกช ราตา งหาก” “หมายความวา อะไรกนั ฉนั นะ !” เจา ชายไดตรสั ถามตอไป “หมายความวา นเ่ี ปน ของธรรมดาอยา งน้นั หรอื เธอยนื ยนั ถึงกบั วา ทกุ คนท่อี ยู ในโลกน้ีนานเขาแลว จกั ตองเปน เชนน้ันหรือ ตองไมใชแนๆ ฉันไมเ คยเห็นอยางนีม้ ากอ นเลย ความแกห งอม นั่นอะไรกัน ” “ทูลกระหมอม ทุกๆ คนในโลกเม่อื มชี วี ิตนานเขา แลว จกั ตอ งเปน เหมือนบคุ คลคนนี้โดยไมมีทางหลกี เลีย่ งเลย” “ทุกคนเทยี วหรอื ฉันนะ ! เธอดว ย ฉันดวย พอ ของฉนั ดว ย ชายาของฉนั ดวย เราทกุ คนจักตองเหมอื นคนคนน้ี ! จักตองโคง งอและสั่นเทิ้ม จักตองใชไ มย นั กายเอาไวเ มือ่ ตองการจะเคลือ่ นไหวแทนท่ีจะยืนไดตรงๆ เหมอื นนายคนน้ีดังนนั้ หรือ ” “เปน ดงั นั้นแน ทูลกระหมอม ทกุ ๆ คนในโลกเมือ่ มชี ีวติ อยูนานเขา แลว จกั ตอ งเปนเหมือนบุคคลคนนี้ มันเปน ส่ิงทป่ี องกนั หลีกหนเี สียไมได น่ีคอื ความชรา” เจา ชายสทิ ธตั ถะรับสัง่ ใหน ายฉนั นะขับรถกลับวงั ในทนั ที พระองคไ มมแี กใ จที่จะประพาสนครอกี ตอไปในวนั นัน้ พระองคหมด ความสามารถที่จะรูส ึกบนั เทิงเรงิ รื่นในการไดเห็นภาพแหงความหวั เราะรา เรงิ บันเทิงอันมากมายของประชาชน ในทา มกลางสิง่ ทตี่ บแตงไวอยาง งดงามทั่วๆ เมือง ทรงประสงคแ ตจะอยเู ดยี่ วลําพังแตพ ระองคเดียว เพอื่ คิดตปี ญ หาอนั เนื่องกบั ส่งิ ที่นาหวาดเสียว ทพี่ ระองคไ ดทรงประสพเปน ครง้ั แรกน้ี บัดน้ี พระองคผ ูซ งึ่ เปนเจาชายและเปน ทายาทแหงราชบัลลังก พรอมท้ังทกุ ๆ คน ทพ่ี ระองคท รงรกั ใครน้ัน ในวันหน่งึ จักตองหมด กาํ ลัง จกั สญู สิ้นความรา เรงิ แหง ชวี ติ โดยประการทง้ั ปวง เพราะจกั ตองเขาถงึ ความชรา และท้งั ไมม ีทางที่จะปลดเปลือ้ งปองกนั ได ไมม ยี กเวน วา จะเปนใครผูใ ดมาแตไหน ไมวาคนมั่งมีหรอื คนยากจน ไมวาคนเรืองอํานาจหรอื คนไรว าสนา ลวนแตจ ะตองเปนอยางเดียวกัน เมอื่ พระองคเ สด็จกลบั ถงึ พระราชวังแลว แมว าคนปรนนิบตั จิ ะไดจดั สรรอาหารเครื่องตน อยา งดีมาถวาย พระองคก็ไมอาจจะเสวย เพราะ ความคิดตา งๆ ไดก ลมุ รมุ อยูในพระทัยอยางไมรูสรา ง วาวนั หนง่ึ จะตอ งเขาถึงความชรา แมเมอื่ อาหารเหลานัน้ ไดถูกนาํ กลับไปแลว และมีสตรี นักฟอน นักขับจะไดเขา มาถวายความบันเทิงแกพ ระองคด ว ยการฟอ นและขบั กลอ มก็ตาม พระองคไ มส ามารถทจ่ี ะทอดพระเนตรเหน็ หรอื ได

ยินเสยี เพลงแหงการขบั รอ งเหลา นนั้ เพราะความคดิ ไดก ลุมรมุ อยใู นพระหฤทัยตลอดเวลา วา ในวนั หนึ่ง พวกหญิงท้ังหมดนี้ก็จะตองเขาถงึ ความ ชรา ทกุ ๆ คนจะตองเปน ดงั น้นั ไมมที างยกเวน แมแตค นท่ีสวยที่สดุ และรอ งเพลงไพเราะทส่ี ดุ ! ตอ มาอกี เลก็ นอ ย พระองคร บั สัง่ ใหคนเหลานน้ั กลับออกไป แลว ทรงเอนกายลงพกั ผอ น แตก ็ไมสามารถจะทรงหลบั ลงได ทรงต่ืนพระเนตร แจว อยูตลอดราตรี ทรงครุนคดิ แตเ ร่อื งทพ่ี ระองคและพระชายา อนั เปนทรี่ ักยง่ิ ของพระองค จกั ตองเปนไปในอนาคตวา วันหนึ่งจะเขาถงึ ความ ชราดวยกนั ท้ังคู จักมผี มหงอกขาวเตม็ ศรี ษะ จักมหี นา เห่ยี วยนนา ขยะแขยง จกั ไรฟ นในปาก และจกั นาสะอิดสะเอยี นเหมอื นบุคคลทพี่ ระองคไ ด ทรงเหน็ มาในตอนกลางวนั วันน้ี แลวทง้ั สองคนกจ็ ักไมส ามารถทาํ ความบันเทิงเริงรืน่ อะไรๆ ใหแกกันและกนั ไดอีกสืบไป เม่ือทรงคิดมาถึงตอนน้ี พระองคเ รม่ิ ทรงฉงนพระทัยวา จกั ไมม ใี ครสักคนหนึ่ง ในบรรดาคนจาํ นวนมากมายในโลกนี้ ไดเคยตั้งใจคน ใหพ บ วิธที ่จี ะหนีออกไปเสียใหพ นจากสงิ่ อันรายกาจ กลาวคอื ความชราน้ีบา งเลยหรอื ยิ่งไปกวาน้ัน พระองคเร่มิ ทรงสงสัยวา หากพระองคจ กั ทรง พยายามแลว พยายามอีกใหเ ต็มความสามารถ หยดุ การกระทําอยางอ่นื เสียท้ังสน้ิ ใชค วามคดิ และกําลังทง้ั หมด คดิ และกระทาํ แตส ่งิ ๆ เดยี วนแ้ี ลว จกั ไมส ามารถพบวิธีท่ีจะกอ ใหเกดิ คุณประโยชนแ กพระองคเ อง แกพ ระนางยโสธรา แกพ ระบดิ า และแกคนทุกคนในโลกบางเลยหรือ ไดมผี ูกราบทลู ใหพ ระราชาทรงทราบถงึ เรอ่ื งราวท่เี กิดข้นึ ในทองถนนนน้ั ทุกประการ และพระองคทรงเสียพระทัยเปนอยางยิ่ง แมพ ระราชา กไ็ มส ามารถบรรทมหลับไดตลอดราตรนี ัน้ ไดท รงเรมิ่ คิดหาวธิ ีอนื่ ๆ ในการที่จะโนมนาวพระหฤทยั ของเจาชายมาเสยี จากความคดิ ชนดิ ทถ่ี าไม หยดุ คดิ แลว จะตองทาํ ใหเจาชายสละโลกออกผนวชเปนฤษีหรือนักบวชผูเรรอ นโดยไมต อ งสงสัย พระราชาไดทรงแสวงหาสิ่งเพลดิ เพลนิ สนุกสนานอยา งอนื่ มาบํารงุ บาํ เรอแกพ ระโอรสของพระองคอ ีกมากอยาง แตทุกๆ อยางก็ไรผ ลดังท่ี เคยเปนมา เจาชายหนมุ ไมทรงแยแสไยดใี นสง่ิ เหลานั้น กลับทรงวงิ วอนพระบิดา ขอใหทรงอนญุ าตใหพระองคเ สด็จประพาสนครอีกครั้งหนึ่ง ตามลาํ พัง โดยไมตองใหมีใครทราบ เพื่อพระองคจะไดท รงเหน็ ส่ิงตา งๆ ดังเชนท่ีเปน อยูทุกๆ วัน อยางทใ่ี ครเขาเห็นกนั อยตู ามปรกติ ทแี รก พระราชาไมทรงปรารถนาที่จะประทานพระอนุญาต เพราะพระองคทรงหวน่ั กลัวยิง่ ข้นึ วาเจาชายสิทธัตถะออกไปอกี ครัง้ นี้ ไดเห็นความเปน อยู ตามปรกตขิ องผคู น ซ่ึงไมม ีโอกาสกําเนดิ เปนลูกเศรษฐลี กู กษัตริยต องทํามาหากนิ อยางทีเ่ หง่ือไหลตกลงมาจากคิว้ ตลอดเวลาเขา แลว คาํ ทํานาย ของพระฤษีผสู ูงอายุนั้นจกั ตอ งเปน ความจรงิ ขึ้นโดยแนน อน เจาชายสทิ ธัตถะกจ็ ักไมม โี อกาสครองราชยบ ัลลงั กสบื แทนพระองคส บื ไป แตอยา งไรก็ตาม พระองคท รงทราบดอี กี วา พระโอรสของพระองคจักไมท รงมีความสุขไดเ ลย หากวา ไมไ ดอ อกไปทอดพระเนตรเห็นส่งิ ตางๆ ทีท่ รงพระประสงค ดว ยความรกั และสงสารแหง นา้ํ พระทัยของพระราชาผูเ ปนบิดาอนั มตี อบุตร แมจะเกดิ ผลขึน้ เปน ประการใดก็ตามที พระองคท ้ังๆ ท่ไี มป รารถนาก็จาํ ตองทรงอนุญาตใหเจาชายเสดจ็ ประพาสนครไดต ามประสงค ดังนน้ั เจา ชายสทิ ธตั ถะจึงไดม โี อกาสเสดจ็ ออก จากกําแพง ซ่ึงเขามงุ หมายจะกีดกันมิใหพระองคทรงประสพสิ่งอนั ไมพงึ ปรารถนานน้ั ไดอ ีกคร้งั หนึ่ง ในครั้งน้ี พระองคไ ดเ สดจ็ ดาํ เนินดวยพระบาท แทนการเสด็จดว ยราชรถ ทรงแตง พระองคดว ยเครอ่ื งแตงกายอยา งคนหนมุ ที่มเี ชือ้ สกลุ ดี และไมม ใี ครตามเสด็จ นอกจากนายฉนั นะซึ่งก็ไดแ ตงกายใหผดิ แปลกไปจากท่ีเคยแตง เพอื่ คนอืน่ จกั ไมท ราบไดวา นายฉันนะนัน่ คอื ใคร และ เปนทางใหไ มรจู กั พระองคต อไปอกี ดว ย คร้งั น้ี ไมม กี ลมุ ชนท่ชี มุ นมุ กนั อยู เพ่อื คอยเฝา ถวายพระพร ไมมีการประดับท่ีงามระยา ไปดว ยพวงดอกไม ไมมีธงทวิ หลายสีทอพระเนตร เจา ชายดั่งในกาลคร้ังกอน แตเ ปนเพยี งภาพแหง ส่ิงตา งๆ ท่ปี รากฏอยตู ามธรรมดาแหง นคร อนั เตม็ ไปดว ยพลเมอื งซงึ่ สาละวนอยกู บั กจิ การงาน นานาชนิด อันเกย่ี วกบั อาชพี เพอื่ ใหไ ดม าซึ่งอาหาร ตามทางทผ่ี านไปมีชางเหลก็ กําลงั ตีเหลก็ ทว่ี าอยูบนทัง่ ดว ยคอ นใหญเ พื่อทาํ เปนเครอื่ งไถ เคยี ว หรือลอ เกวยี นและสิ่งอน่ื ๆ ขางถนน อันเปน ท่ตี ้งั บา นเรือนของคนม่ังมี มีชางเพชรพลอย และชา งทองกําลังทาํ และจําหนายเครอื่ งเพชร พลอย ทองเงนิ รูปพรรณนานาชนิด ถนนบางสายเตม็ ไปดว ยรา นรวงของคนยอ มผาซึ่งกาํ ลงั ตากผา สสี ดตา งๆ กนั บางแหงเต็มไปดว ยรา นทาํ ขนม มีชางทําขนมกําลงั ปรุง และบา งกก็ าํ ลังขายใหผูค นท่ีมายนื คอยซ้ือเพื่อตอ งการบรโิ ภคทันทที ่ปี รุงเสร็จใหมๆ ในขณะน้ี พระหฤทัยของพระองคท รงสนุกสนานเพลดิ เพลินไปดว ยภาพแหงคนทงั้ หลาย ซึ่งกาํ ลังประกอบกจิ ของตนๆ อยอู ยา งขยันขนั แขง็ ไมม วี แ่ี ววแหง ความออ นเพลีย เปน ที่เบิกบานพระทยั อยู แตใ นทส่ี ุด ก็ยังมีส่ิงบางสงิ่ ซึ่งเกิดข้ึนอยางกะทันหนั มาทาํ ลายความบนั เทงิ เรงิ รน่ื ที่เกดิ จากการไดพ บเหน็ สิ่งนาสนใจตา งๆ ในวนั น้ันเสยี จนหมดสนิ้ ถงึ กับทาํ ใหพ ระองคตอ งรบี เสด็จกลับสูวงั เปนครัง้ ทสี่ องดวยพระทยั อันหดหูเตม็ ไปดวยความเศรา สลดเปน อยา งยงิ่ ขณะท่ีพระองคเ สด็จไปตามถนนสายตางๆ อยูน ั้น พระองคท รงไดยนิ เสยี งรํ่ารอ ง เหมือนกบั เสยี งขอความ ชว ยเหลอื ของใครบางคน อยูทางเบือ้ งหลังในระยะอนั ไมส ูจะหา งนัก พระองคสา ยพระเนตรเพอื่ ดูใหเ ห็นวา เปน เรอื่ งอะไรกัน ไดท รงเหน็ ชายคน หนึง่ กําลังนอนบดิ ตวั ไปมาอยกู ลางฝนุ ดว ยทาทางอนั ประหลาด ตามหนา ตามตาและตามเนอ้ื ตวั เตม็ ไปดวยจุดสีมว งอันนาขยะแขยง นยั นตา กลอกไปกลอกมา เมอื่ พยายามจะลกุ ยนื ตอ งอดั ใจเบง กําลังทงั้ หมดเพ่อื พยุงตวั ขึน้ และทุกคราวทเี่ ขาลกุ ขึน้ มา พอสกั วาจะยนื ตรง ก็กลับลม ฟาด อยางท้ิงตัวลงไปอกี โดยแรง ดว ยความเมตตากรณุ าอันเปนพระนสิ ยั ของเจา ชาย พระองคไดทรงวิ่งตรงไปยังชายคนนนั้ ในทนั ที และพยุงเขาใหลุกข้ึนนั่ง ใหศ รี ษะพาดอยู กับเขา ของพระองค และเมอ่ื ทรงชว ยกระทําใหเ ขารูสึกคอ ยสบายข้ึนบา งแลว กต็ รัสถามเขาวากําลังเจ็บปวดท่ตี รงไหน และทําไมจงึ ยืนไมไ ด ชาย คนนนั้ พยายามทจ่ี ะพูดแตไมสามารถท่ีจะพูดออกมา เขาไมม ีกาํ ลงั ลมมากพอทจ่ี ะพดู ใหเ ปน เสียงได จึงไดถ อดใจอยไู มม า เม่ือนายฉนั นะได

สาวเทา ตามเขามาถงึ พระองค เจา ชายรีบตรัสถามวา “ฉนั นะ บอกฉันทวี าทําไมชายคนนจี้ ึงเปนอยา งนี้ การหายใจของเขาเปนอยา งไรไป ทําไม เขาจงึ ไมต อบคาํ ถามของฉนั ” นายฉนั นะไดรอ งขน้ึ อยางตกใจวา “ทลู กระหมอมอยา ไปจบั ตอ งบุคคลเชน นี้ เขาเปนคนปวย โลหิตของเขาเปน พิษ เขากาํ ลงั เปน กาฬโรค มนั กาํ ลงั เผาผลาญเขาอยูภายใน จนกระท่ังแมจ ะหายใจก็ทาํ ไดด ว ยความยากลําบาก และในที่สุดลมหายใจของเขากจ็ ะตองเหือดหายไป” เจา ชายไดต รสั ถามตอ ไปวา “คนอนื่ ๆ ก็เปนอยา งนกี้ นั ดว ยหรอื ฉนั เองกอ็ าจเปน อยางน้ีดว ยหรือ ” “ทลู กระหมอมก็อาจเปนไดเ หมือนกนั ถาหากไปแตะตอ งคนเชน น้นั อยา งใกลชิด ขอพระองคจ งวางเขาเสยี เถดิ อยาไปจับตอ งเขาเลย เพราะ กาฬโรคของเขาอาจจะติดตอมายงั พระองคได และแลวพระองคจ ักตอ งเปน เหมอื นเขา” “ยังมีส่งิ รายๆ อันอื่นเหมอื นเชนนอ้ี กี ไหม นอกจากกาฬโรคน้ี ฉนั นะ ” “ยังมอี ยางอ่นื อกี พะยะคะ ! ยงั มีอกี มากมายหลายชนดิ ลว นแตท าํ ความทกุ ขท รมานใหอยา งเดียวกนั ” “แลวไมมใี ครแกไขมนั ไดหรือ ความเจบ็ ไขเ ชน น้มี าสมู นษุ ยโ ดยท่มี นษุ ยไ มอาจเอาชนะมันไดเลยหรือ ประหลาดเสียแลว ละ !” “มันเปนอยางนน้ั เอง ทูลกระหมอ ม ไมมีใครทราบไดวา วนั ไหนเขาอาจเจบ็ ไขขน้ึ มนั อาจจะเกดิ ขนึ้ ไดแ กคนทกุ คนและทกุ เวลา ” “ทุกคนเทียวหรอื ฉนั นะ แกพวกเจา นายทง้ั หลายดว ยหรอื แกฉ นั ดว ยหรอื ” “เปนดั่งนั้น พะยะคะ มนั อาจเกดิ ขึน้ ได แมแ กทลู กระหมอ มเอง” “ถา ดังนนั้ คนทกุ คนในโลกก็ตอ งมีแตความหวาดกลวั กนั อยูตลอดเวลาละซี เพราะวา ไมม ใี ครรวู าตัวเอง คืนน้ีเขา นอนแลว รุงขนึ้ อาจจะ กลายเปน คนเจบ็ ปว ยเหมือนคนๆ นี้ ดงั น้นั หรอื ฉนั นะ ” “มันเปนดงั น้นั จรงิ ๆ ทลู กระหมอม ไมมีใครในโลกทจี่ ะรูได วาวันไหนเขาจะลม เจบ็ ลง และเมอื่ ทรมานถึงทส่ี ุดแลวก็ตาย” “ตาย คาํ อะไรกัน แปลกเหมือนกัน ฉนั นะ! ตายคืออะไร” “ทลู กระหมอ มทอดพระเนตรไปดนู ัน่ ซี พะยะคะ ” เจาชายทรงทอดพระเนตรไปทางทีน่ ายฉันนะชี้ และไดท รงเหน็ หมูคนไมก ค่ี นกลมุ หนึ่ง กาํ ลังเดนิ รอ งไหมาตามถนน และเบ้อื งหลงั คน เหลาน้ี มีคนสี่คนหามบคุ คลซ่งึ นอนนง่ิ แข็งทื่อคนหนึง่ มาบนแผนไมกระดาน คนทน่ี อนบนนน้ั แกม ยุบปากอา อยางนาเกลียด ไมพ ดู ไมจาวาอะไร แมค นหามจะเขยาอยา งแรง หรอื คนหามสะดดุ พลาดเพลงไป ก็ไมอ อกปากบนวา แตอยา งใด เจา ชายทรงหยุดประทับดคู นหมนู ัน้ ขณะท่เี ขากาํ ลังผา นพระองคไป ทรงฉงนพระทัยวา ทาํ ไมตองพากันรองไห และทาํ ไมคนทีน่ อนอยูบ น แผน ไมกระดานจงึ ไมขอรอ งใหคนหามมคี วามระมัดระวงั ขึน้ สักหนอ ย และพระองคท รงประหลาดพระทยั ยิง่ ขน้ึ ในเมือ่ คนกลมุ น้นั เดนิ ไปได อีกหนอยเดยี ว เขาก็พากันวางคนน้นั ลงบนกองฟนท่กี องไว และจุดไฟขึ้นจนกระทงั่ ลุกโพลงเปน กองไฟกองใหญ นา สยดสยอง แตกระนน้ั คน ทถ่ี กู เผา ก็ยังคงนอนนิ่งเงยี บอยู แมไฟจะไดไหมลามถงึ ศรี ษะและเทาของเขาแลว ก็ตาม เจาชายไดตรสั ถามนายฉันนะ ดว ยเสยี งอันสนั่ เครอื วา “นี่มนั อยา งไรกนั ฉนั นะ ! ทําไมคนน้นั จงึ นอนน่งิ ใหเ ขาเผาอยางน้นั เลา ” “ทลู กระหมอม คนๆ นนั้ เปนคนตายแลว เขามีเทา แตไมอ าจวง่ิ ไดอ ีกแลว เขามีตา แตไมอ าจดอู ะไรไดอีกแลว เขามหี ู แตไมอาจไดย ินเสียง อะไรไดอ ีกแลว เขาไมอาจมีความรูสกึ ในส่ิงใดสงิ่ หนงึ่ อกี ตอ ไป ไมวาจะเปนความรอน ความหนาว ไมว า ไฟหรอื หิมะ เขาหมดความรูส กึ ทุก อยา งแลว เขาตายแลว” “ตายหรือ ฉันนะ ! ความตาย หมายถึงส่ิงน้ีหรอื และฉนั ซ่ึงเปนลูกพระเจา แผน ดนิ ก็จะตอ งตายเหมอื นชายคนนด้ี ว ยหรอื พอของฉัน ยโส ธรา และทุกๆ คนทีฉ่ ันรจู กั พวกเราเหลา นท้ี กุ คน ในวันหนงึ่ จักนอนตายเหมอื นคนยากจน ท่กี าํ ลังนอนอยบู นกองฟนนดี้ ว ยหรือ ” “พะยะคะ ทลู กระหมอม ทกุ คนที่มีชีวติ จกั ตอ งตายลงในวนั หนงึ่ โดยไมม ที างใดจะปองกนั ได ไมม ีส่ิงใดที่จะอยไู ดอ ยางเที่ยงแทคงทน ไมม ี ใครสามารถตา นทานปดปอ งการมาของความตาย” เจาชายทรงตะลงึ นงิ่ อง้ึ มไิ ดตรัสอะไรออกมาอกี ตอไป พระองคท รงรสู ึกวา การทไี่ มม หี นทางรอดพนจากความตายอนั รา ยกาจ ซ่ึงครอบงํา คนทุกคนอยูน ้ี เปน สงิ่ ท่นี าสยดสยอง แมพ ระราชา แมพระโอรสของพระราชากย็ ังไมพน จากอาํ นาจของความตาย พระองคเสด็จกลับวังอยา ง เงียบกรบิ ตรงไปสูหอ งทปี่ ระทับของพระองคบ นปราสาท ประทบั นงั่ ราํ พึงอยพู ระองคเ ดยี ว ชวั่ โมงแลวชั่วโมงอีก ในสงิ่ ซึง่ พระองคไ ดทรงไป พบเหน็ มา ในทส่ี ดุ พระองคไดต รัสแกพระองคเองวา “มันเปน สงิ่ ท่นี า หวาดเสยี วทท่ี ุกคนในโลกตอ งตายลง ไมวนั ใดกว็ นั หนึง่ ทั้งไมมที างปองกนั มัน ไดเลย ฉันนะเขาวา อยา งนั้น ! แตโ อ ! มนั ตองมีหนทางรอดอยา งใดอยางหนงึ่ อยูสําหรบั ส่ิงนี้ ! ฉันตอ งคนหาหนทางรอดน้นั ใหพบจนได ! ฉันจะ คนหาทางรอดสําหรับฉนั เองดว ย สาํ หรับบดิ าของฉัน สาํ หรับยโสธรา และสําหรบั คนอื่นๆ ทุกคนดวย ! หนทางซึ่งฉันจะไมต องตกอยูใตอาํ นาจ ของสงิ่ นาเกลยี ดนากลัว คือความแก ความเจบ็ ไข และความตายเหลานี้ ฉันจกั ตองหาใหพ บใหจนได !” ในโอกาสตอ มา เมื่อเจาชายกาํ ลังทรงมาเลนในอุทยานภายนอกวงั พระองคไดท รงพบบรุ ุษผหู นึ่ง หมผา กาสาวพัสตรส เี หลืองของบรรพชิต พระองคไดทรงจองสงั เกตนักบวชผูน ั้นอยา งลกึ ซึง้ จนทรงหยงั่ ทราบถงึ ภายในใจของบคุ คลคนน้ี วากําลงั เต็มไปดว ยความสงบสขุ อยา งเยน็ เยอื ก

พระองคจ ึงไดต รสั ถามนายฉันนะ ถงึ ความประพฤติเปนไปในชวี ิตของบุคคลประเภทนี้ นายฉันนะไดก ราบทลู แกพระองควา “บคุ คลผนู ี้ เปนบคุ คลประเภททเ่ี รียกกันวา “ผูสละโลก” เพอื่ แสวงหาสงิ่ ดบั ทุกขท รมานของโลก” เจาชายมคี วามปลาบปลืม้ ในคาํ ๆ น้ีเปน อนั มาก เลยประทบั นงั่ นงิ่ ๆ อยู ณ ทีแ่ หง หนึง่ ในอุทยานนนั้ ดว ยความสขุ ใจจนตลอดวัน ตลอดเวลานน้ั ทรงนอมจิตของพระองคไปสกู ารออกจากบานเรอื นข้นึ มาไดเอง ขณะทพี่ ระองคประทับนัง่ ราํ พึงแกพ ระองคเ องผเู ดยี วอยเู ชนนน้ั ไดมผี มู ากราบทูลวา พระชายาของพระองคไดป ระสูติพระโอรสพระองค หนึง่ งดงามมาก แตพระองคมิไดท รงแสดงอาการดพี ระทัยแตอยา งใด กลบั ทรงพลงั้ พระโอษฐอ อกไปเบาๆ ดวยพระทัยอนั เหมอ ลอยวา “บว ง เกดิ ข้ึนแกฉ ันแลว ! บวงเกิดขึ้นแกฉันแลว !” ดังน้ี ดวยเหตทุ พี่ ระองคไดต รสั ดงั นใ้ี นวันนน้ั จึงเปน ที่ขนานพระนาม คนท้งั หลายไดข นานพระ นามของพระโอรสของพระองคว า “บวง” (ราหลุ ะ)

พุทธประวัติ ฉบบั สาํ หรับยวุ ชน พุทธทาสภิกขุ แปลและเรียบเรยี งจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภกิ ษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนที่ 6 การสละโลก นบั ต้ังแตเ จา ชายราหุลกําเนิดแลวเปน ตนมา พระเจาสทุ โธทนะทรงรูสกึ วา ไมมีความจาํ เปนอยางใดอกี ตอ ไป ในการทจี่ ะกักขังเจาชายสทิ ธัต ถะไวในความบนั เทิงเริงร่นื พระองคท รงอนญุ าตใหเ สด็จออกประพาสทีต่ า งๆ ในพระนคร ไดตามความปรารถนา เจาชายจงึ เสดจ็ ประพาสทวั่ ๆ ไป ในพระนครอยเู นอื งๆ ทรงไดท อดพระเนตรเหน็ ส่ิงตางๆ และทรงใครค รวญทกุ ๆ ส่งิ ท่พี ระองคท รงประสพ และทรงพยายามตง้ั พระทัยใน อันทจ่ี ะตอ งจดั ตองทําตอส่งิ น้นั ๆ ตามทพ่ี ระองคทรงเหน็ วันหนึง่ เม่ือพระสทิ ธัตถะเสดจ็ กลับจากการประพาสนคร กอนทจี่ ะถงึ ที่ประทบั ของพระองค พระองคไดเสด็จผา นหนา ตาํ หนกั อนั เปนที่ ประทบั ของบรรดาเจาหญงิ ทง้ั หลาย เจา หญิงองคหนงึ่ พระนามวา กสี าโคตมี บังเอญิ ประทบั อยทู ่หี นา บัญชร ไดท รงเหน็ เจาชายเสด็จมา ความ สงา งามและความสภุ าพละเอยี ดออนของเจาชายไดเ ปน ทปี่ ระทับพระทยั เจาหญิงองคนี้ จนถงึ กับพล้ังพระโอษฐออกมาวา “เย็นเหลอื เกิน ! สขุ เหลือเกิน ! อม่ิ ใจเหลือเกิน ! ถาหากใครไดเปน แมก ด็ ี ไดเปนพอก็ดี ไดเ ปนเมียกด็ ี ของเจาชายหนมุ รปู งามพระองคน ”้ี เสยี งพลัง้ พระโอษฐโดยไมรูส ึกตวั ของเจาหญงิ กีสาโคตมี ดังจนกระทั่งไดยนิ ไปถึงโสตของเจา ชายทุกๆ คํา แตขณะน้ันพระองคเฝา พะวงขบ คดิ แตเ รือ่ งเพศบรรพชติ และการออกบวช จึงเมอื่ ทรงไดยนิ ดงั นนั้ เขา กก็ ลับจบั เอาความไปเสยี อกี ทางหนึ่ง ทรงรําพงึ ตอ พระองคเ องตอไปวา “แน แลว แมก็ตาม พอก็ตาม เมียกต็ าม ถา ไดล ูกหรือไดผ วั เชนวานั้น จักตอ งมีความเยน็ ความสขุ และความอิ่มใจแนแ ท แตว าอะไรกนั เลา ทเี่ ปน ความ เย็น ความสขุ และความอม่ิ ใจอันแทจรงิ ” พระหฤทยั ของเจาชายในขณะนี้ สูงพนไปจากความยินดอี ยา งวิสยั โลกเสียแลว ดวยเหตุท่ีส่งิ ตางๆ ท่ี พระองคไ ดท รงประสพมากอนหนานไี้ ดเ ต็มแนนอยใู นพระหฤทัยของพระองคต ลอดเวลา ไมม ีชอ งทางท่จี ะใหคิดไปในทาํ นองอื่นไดอ ีก พระองคตรสั แกพ ระองคเ องวา “ความสขุ ทจี่ ริงแทจ ะมมี าได กต็ อ เมอื่ ความไขแ หง ราคะ โทสะ และโมหะ ไดถ กู เยียวยารักษาใหห ายแลวโดย สิ้นเชิง เมือ่ ไฟแหง มานะ ทฏิ ฐิ และกเิ ลสทั้งหลาย ดบั ไปหมดแลว เมอ่ื นัน้ แหละ ความเยน็ ความสขุ และความอิม่ ใจอันจรงิ แทจ กั มีมา นั่นแหละ คอื สิ่งทฉี่ นั และคนอ่ืนทกุ คนอยากจะได นัน่ แหละ คือส่งิ ทฉ่ี นั ตอ งออกไปแสวงหาในบัดน้ี ฉนั ไมอาจทนอยูดวยความเพลิดเพลินในวงั นี้อีก ตอไป ฉันจะตอ งออกไปบัดนี้แลว ฉันจะแสวงและจะแสวงเรื่อยไป จนกวาจะพบสิ่งซ่ึงเปนความสขุ อนั แทจรงิ อันจักทาํ ใหฉันและทุกคนได ขนึ้ อยูเ หนอื อาํ นาจของความแก ความเจ็บ ความตาย เจา หญงิ ผนู ไ้ี ดบอกบทเรียนอยางดีใหแกฉ นั แลว เธอเปน ครูทด่ี ที ีส่ ดุ แกฉันอยา งไมม ีปญ หา ฉันตอ งสง คาบชู าครไู ปถวายเธอ”

ตรสั ดงั นัน้ แลว พระองคไ ดทรงปลดสรอ ยไขม กุ ซึง่ พระองคก ําลงั ทรงสวมอยขู ณะนั้นจากพระศอ สง ไปถวายเจา หญงิ กีสาโคตมีเปนธรรม บรรณาการ เจา หญิงองคน้ันทรงรบั สรอยจากบรุ ุษเดินขาวของเจาชาย แลวตรัสคําขอบพระคณุ อยา งย่ิงฝากไปยังเจา ชาย และทรงเขา ใจเอาเองวา การประทานสรอยนั้นเปน การแสดงความรักของเจา ชายอันใครจ ะไดนางเปน พระชายา แตพระหฤทัยของเจา ชายอยูในสภาพทห่ี า งไกลจากเร่อื ง ชนดิ น้นั ซง่ึ พระบิดาและพระชายาของพระองคไดท รงทราบอยเู ปน อยา งดี ทุกๆ คนทีเ่ กี่ยวขอ งอยูกับเจา ชาย ไดทรงสังเกตเห็นชัดวา ในระยะ หลงั น้ี เจา ชายไดเปล่ียนแปลงไปโดยส้นิ เชิง นบั แตว นั เสดจ็ กลับจากการประพาสนคร พระองคท รงเครง ขรมึ และคดิ หนักย่ิงกวา ท่เี คยเปน มาแลว แตพระบดิ าของพระองคก ็ไมสามารถปลอ ยใหเ ปนไปตามเหตุการณ โดยไมท รงพยายามเปน ครงั้ สุดทา ย ดงั นนั้ พระองคจ ึงรับสัง่ ใหห าหญงิ ระบาํ และนกั ขบั รอ งทฉ่ี ลาดทส่ี ุด งามหยดยอ ยที่สดุ ในประเทศของพระองคม าประจาํ ณ ปราสาทของเจา ชาย สตรเี หลานน้ั ไดท าํ การรองราํ ถวาย เจา ชายสทิ ธตั ถะตามพระราชโองการของพระราชาอยางไพเราะและงดงามทสี่ ดุ และดวยทาทางท่ีย่ัวเยา ทีส่ ุด ดว ยความหวงั ทจี่ ะใหเจาชายเกิด ความพอใจและเพลดิ เพลินใหจนได ในชน้ั แรกๆ เจาชายกท็ รงทอดพระเนตรและยอมฟง พอไมใหเปน ทข่ี ดั เคืองพระทัยของบดิ า แตพ ระเนตรของพระองคท รงเผยอขนึ้ ดสู ิ่ง สวยงามย่วั ยวนเหลา นน้ั ไดเ พียงครง่ึ เดยี ว เพราะพระหฤทยั ของพระองคไ ปหมกมนุ อยเู สียกับสงิ่ อื่นบางส่งิ อยา งไมม เี วลาสรา ง พระองคทรง คดิ ถึงสงิ่ นั้นราวกะวา มันเปน เพยี งสงิ่ เดียวท่ีคมุ คา ในการคดิ คือ ปญ หาท่ีวา ทําอยา งไรพระองคแ ละคนท้งั หลายจกั พน จากความแก ความเจบ็ ไข และความตายไดโ ดยส้นิ เชงิ ในทส่ี ุด พระองคท รงออ นเพลยี เนื่องจากการคิดมาก และไมม ีเวลาหยดุ จงึ ท้ังๆ ทอ่ี ยูในทา มกลางความครน้ื เครงแหงดนตรีและระบาํ ย่ัวยวน พระองคไ ดทรงหลับไป เพราะมนั ไมม กี าํ ลงั พอทจ่ี ะครอบงํา ทาํ พระหฤทยั ของพระองคใหรสู ึกเพลดิ เพลินไดแตอยา งใด หญิงนกั รองและนาง ระบาํ เหลาน้ันก็สังเกตไดว า ผซู ึง่ เขาทง้ั หลายพากันราํ ถวายน้นั มีความสนพระทัยนอ ยเกินไปจนถงึ กบั หลับไปเสยี เชน นี้ จึงพากนั หยดุ การรองราํ ชวนกันนอกพักท่ีตรงน้นั เพือ่ การพักผอ น รอคอยจนกวาเจา ชายจะทรงต่นื ขน้ึ มาใหม จะไดร อ งราํ ถวายตอไป แตห ญิงเหลา น้นั กเ็ ชน เดียวกบั เจา ชาย คอื พอไดเอนกายลง ก็มอยหลับไปเพราะความออ นเพลีย โดยไมทนั รสู กึ ตัว ทงั้ ที่ดวงไฟยงั ลุกสวา งไสวอยทู ัว่ หอ ง สักครตู อ มา เจาชายได ทรงตนื่ บรรทม ซึง่ มีเพยี งงีบเดยี ว แลวทรงเหลียวไปรอบๆ ดว ยความประหลาดพระทยั ทงั้ ขยะแขยงในส่ิงซ่ึงพระองคไ ดท อดพระเนตรเห็นใน ขณะนนั้ หญิงทกุ คนท่ถี ือกันวา งามทีส่ ดุ หยดยอยที่สดุ ในประเทศนนั้ บัดนี้ไดน อนระกะอยทู ัว่ ไปตามพน้ื หอ ง ดว ยอากัปกิรยิ าอันนาขยะแขยง ดว ยทาทางอันไมค ดิ วา จะเปนไปไดถ ึงเพยี งนั้น ลางนางนอนเชน เดยี วกับหมู โดยท่ัวๆ ไป ลางนางนอนปากอา ลางนางนอนนํ้าลายไหลจากมุม ปากลงเลอะเครือ่ งแตงตัว ลางนางกําลงั กัดเขย้ี วทัง้ กาํ ลังหลับ ดรู าวกับปศาจกาํ ลังโกรธ แตละคนๆ นา เกลียดนาสะอดิ สะเอียน จนถึงกับเจาชาย ทรงประหลาดพระทยั วา กอนหนานพ้ี ระองคท รงรสู ึกพอพระทัยในคนทัง้ หลายนไ้ี ดอ ยา งไรกัน ภาพแหงสตรีทั้งหลายเหลา นี้ ซ่ึงครัง้ หนึง่ พระองคเ คยทรงรูสึกวา นา รกั นั้น บดั นี้ไดเปลีย่ นแปลงเปนสิง่ ทน่ี า เกลยี ดนา กลวั ไปจนหมดสิ้น และเปนสง่ิ สดุ ทายในฐานะเปนสงิ่ ทีน่ า ขยะแขยงทีส่ ุด ที่เขา ไปมอี ยูใ นพระหฤทยั ของพระองคนบั แตเ วลาทีไ่ ดท รงมพี ระชนมช ีพมา บดั น้ี พระหฤทัยของพระองคท รงปกแนว ท่จี ะทรงสลดั สงิ่ รบกวนใจเหลานไ้ี วเบ้อื งหลัง แลว เสด็จออกแสวงหาสิง่ อนั เปนความสุขแทจรงิ ซ่งึ สามารถระงบั ส่งิ รายทั้งหลายเหลา นไ้ี ดโ ดยทันที พระองคท รงลุกขึ้นอยางเงียบกรบิ โดยไมท ําใหห ญิงคนใดต่ืนข้ึน ลอบเสด็จออกมานอกหอ ง น้นั แลวรับสัง่ ใหนายฉนั นะเตรียมผูกมา กณั ฐกะสขี าวตวั โปรดของพระองคในบดั นัน้ เพ่ือพระองคจ ะเสดจ็ ทางไกล ขณะท่ีนายฉันนะออกไปเตรียมผกู มาอยนู น้ั เจาชายสทิ ธตั ถะทรงดํารวิ า พระองคควรเสดจ็ ไปดพู ระโอรสเพ่งิ ประสูติของพระองคเ สียสกั ครัง้ หน่ึงกอนแตท่ีจะออกไป ดงั นั้น พระองคจ ึงไดเ สดจ็ ไปยังหอ งเปนทีบ่ รรทมของพระชายาและพระโอรส เมอื่ เสดจ็ ไปถงึ ก็ไดท รงเหน็ วา พระ ชายากาํ ลังบรรทมหลับ วางพระหตั ถกกพระโอรสของพระองคไวอยา งแนบสนิท พระองคทรงรําพงึ วา “ถาเราจักยกพระหัตถข องพระเทวขี ้ึน พระนางก็จะต่ืนบรรทม ถาพระนางตื่นบรรทมก็จกั ทรงขดั ขวางการออกไปของเรา เราตอ งไปบดั นแี้ ลว เมื่อใดเราไดพ บสงิ่ ซ่ึงเราแสวงหาแลว จงึ คอยกลบั มาเย่ียมลกู นอ ยและแมของเขา” ดังนี้ เจา ชายไดเ สดจ็ ออกจากพระตําหนกั อยางเงียบกรบิ จนไมมผี ูใดตนื่ ข้ึนเห็นเหตุการณในทามกลาง ความสงัดเงยี บแหงเที่ยงคืนนนั้ พระองคทรงข้ึนประทบั บนหลงั มา กัณฐกะซึง่ เปนมาแสนรู รจู กั ระมดั ระวังไมสง เสยี งดังอยา งเดยี วกนั พระองคมี นายฉันนะจับหางมา กัณฐกะ ไดเสดจ็ ไปสปู ระตูนครและทรงผา นออกไปไดโดยไมมใี ครขดั ขวาง พลางขบั มาหนหี างจากบุคคลท้ังหลาย ซ่ึงทุก คนก็ยงั พากันมีความจงรกั ภกั ดีในพระองคอ ยู เม่อื พระองคเ สดจ็ ไปไดหนอยหนง่ึ กท็ รงชักมาใหเหลียวกลบั ประทบั นิ่งทอดพระเนตรยอนมาเปนครงั้ สดุ ทายสนู ครกบลิ พสั ดุ ในทามกลาง แหงแสงจนั ทรซง่ึ บดั นผี้ ูค นกําลังพากนั หลบั สนิทสงบเงียบ ในขณะท่เี จา ชายแหง นครของมนั เองกําลังจะเสดจ็ จากไปอยางไมอ าจจะทราบไดวา เมอ่ื ไรจะไดกลบั มาเห็นอีก นครน้เี ปนนครของพระบิดาของพระองคเอง ท้งั ยงั เปน นครซึ่งมพี ระชายาอันสดุ ท่ีรักและพระโอรสหัวแกวหวั แหวน ของพระองคป ระทบั อยใู นนัน้ ดวย แมกระน้นั ก็ยังไมสามารถหนวงเหนีย่ วทําใหพ ระองคท รงทอแทพระทยั ในความแนวแนแ หง การเสดจ็ ออก แมแตห นอยเดยี ว ความคดิ ทจ่ี ะเสด็จกลับเขา นครมิไดเ กดิ ขึ้นในพระทยั ของพระองคเ ลย พระหฤทัยนน้ั ยงั คงแนวแนป กดิ่งในการเสด็จออกอยูท กุ ประการ พลางทรงชักมากลับและทรงควบขับมาไปตามทพี่ ระองคทรงประสงค กระทัง่ ลุถึงฝง แมน้าํ อนั มนี ามวา อโนมา ณ ท่ีนน้ั เอง พระองคไ ด เสด็จลงจากหลงั มา ประทบั ยนื บนหาดทราย ใชพ ระหัตถทง้ั สองเปลอ้ื งเคร่อื งประดับท้ังหมดออกจากพระองค ยื่นสง ใหแกน ายฉนั นะ พรอมกับ

ตรัสวา “นฉี่ ันนะ จงเอาเครือ่ งประดับเหลานีข้ องเรา พรอ มทั้งมากณั ฐกะกลบั ไปบานเมอื ง บัดน้เี ปน เวลาทเี่ ราสละโลกแลว” นายฉันนะไดร อ งวา “ทลู กระหมอมสุดที่รัก อยาไดเ สด็จไปแตพ ระองคเ ดยี วดังน้เี ลย จงโปรดใหข าพระองคไดไ ปดว ยอีกคนหนงึ่ เถิด” แม นายฉนั นะจะไดวิงวอนครงั้ แลว ครง้ั เลา เพ่ือขอตามเสดจ็ ไปทกุ แหง ท่พี ระองคจะเสด็จตามไปกต็ าม เจา ชายก็ยังทรงยนื ยนั ปฏิเสธไมยอมใหไ ปกบั พระองคอ ยนู ั่นเอง พระองคไดตรสั แกนายฉันนะวา “มันยังไมใชเ วลาทจ่ี ะสละโลกสาํ หรับเธอ ฉันนะ ! เธอจงกลับไปบา นเมืองเสยี เดี๋ยวน้ี จงทลู พระบดิ าพระมารดา ดว ยวา ฉันยงั ปลอดภัยอย”ู พระองคไ ดท รงบงั คับใหน ายฉนั นะนําเคร่อื งประดบั และมา กัณฐกะกลับไปดว ยอาการอนั เฉียบขาดด่งั นี้ นายฉนั นะ ไมส ามารถจะฝา ฝนพระบญั ชาแหง เจานายของตนได ดังนัน้ ท้ังๆที่มีหวั ใจอนั เหย่ี วแหง และร่ําไหอยูตลอดเวลา เขาก็จาํ ตองกา ว ยา งกลับไป ไปตามถนนสูนคร เขาจงู มา กณั ฐกะพรอ มทง้ั นาํ เครื่องประดับของเจา ชายกลับไปถงึ นคร แจง ขา วแกคนท้งั หลายวา เจา ชายซึง่ เปน เจา นายสุดทีร่ ัก อนั พวกเขาไดพ ากนั ทะนถุ นอมมาจนถึงทีส่ ดุ น้ัน บดั นี้ไดสละพระชนกชนนี พระชายาและพระโอรส รวมทงั้ อาณาจกั รไว เบื้องหลัง เสดจ็ ไปเปนนกั บวชผูไรบานเรือนโดยประการทั้งปวงแลว เจาชายสิทธัตถะโคตมะ แหงศากยวงศ ผูทรงมีพระชนมายุ 29 ป ยงั ทรงอยใู นวัยหนุม มผี มอันดําสนทิ ประกอบไปดว ยพละกาํ ลังของคน หนมุ ไดเสดจ็ ออกจากเรอื นสูความเปน ผไู มม เี รือน เพอื่ ทรงแสวงหาหนทางท่จี ะทําใหพระองคแ ละคนทั้งปวงประสพชยั ชนะ อยูเหนอื ความเจบ็ ไข ความทกุ ขโศกและความยากเข็ญทั้งปวงดวยอาการอยางน้ี

พุทธประวตั ิ ฉบบั สาํ หรับยวุ ชน พทุ ธทาสภกิ ขุ แปลและเรียบเรยี งจาก ฉบับภาษาองั กฤษ ของ ภิกษุสีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 7 พระมหากรุณาธิคณุ เม่ือไดประทบั อยู ณ ปาริมแมน ้าํ ที่พระองคไดเ สดจ็ จากนายฉนั นะน้ัน ชั่วขณะหน่ึงแลว เจา ชายสทิ ธัตถะซ่งึ บดั น้อี ยใู นสภาพแหง นักบวช ผกู ระทําภกิ ขาจาร ไดเ สดจ็ มงุ หนาสูท ิศใตตรงไปยังประเทศมคธ พระองคเ สดจ็ ถงึ ราชธานีชอ่ื นครราชคฤห อันเปน ที่ประทบั ของพระเจาพิม พิสาร ราชาแหง ประเทศนั้น ในพระนครน้นั พระสิทธตั ถะทรงถอื ภาชนะขออาหารเสด็จไปตามทอ งถนนเพื่อการภกิ ขาจารเยีย่ งนักบวชทั้งหลาย แตอยางไรก็ตาม พระองคป รากฏแกส ายตาของประชาชนวา มไิ ดเปน เชนนกั บวชตามธรรมดาเลย ประชาชนตา งสงั เกตเห็นวาพระองคม ลี กั ษณะ ผดิ จากนกั บวชธรรมดาหลายประการ ดงั นนั้ กพ็ ากันหาอาหารที่ดีที่สดุ อันจะพึงมมี าถวายและใสล งในบาตรของพระองค เมอ่ื พระองคทรงรบั อาหารไดพ อสมควรแลว กเ็ สด็จออกจากนคร ไปสูท ่ีอนั สมควรแหงหน่ึง ประทับนงั่ เพ่ือเตรียมฉนั อาหารตามท่ไี ดรบั มา แตทานท้งั หลายจงคิดดเู ถิด วาอาหารท่ีไดมาในวนั นั้น จะปรากฏในความรสู ึกของพระองคอยา งไร พระองคมีกําเนิดเปน เจาชาย ทรงประสพแต พระกระยาหารอันประณีตทีส่ ุด มีผูปรนนิบตั ิใหเ สวยดว ยอาการทปี่ ระเลาประโลมใหเปน ทพี่ ึงพอใจท่สี ดุ ไมทรงเคยประสพอาหารช้นั เลว ท้งั ได ระคนกนั ในภาชนะอันเดยี วเชนนม้ี ากอนเลย ลําไสของพระองคเร่มิ กระอักกระอวนราวกะจะทันออกมาจากพระโอษฐ ในเม่อื ไดทรงกม ลงดใู น บาตรอนั เตม็ ไปดว ยอาหารนานาชนดิ นานาพรรณ คละปนกนั จนไมทราบวา อะไรเปน อะไร พระองคไมทรงสามารถบังคบั พระองคเ องใหเ สวย อาหารเชน นไ้ี ด ท้ังทรงนกึ ใครจะขวางทง้ิ ไปเสียโดยไมเ สวยอะไรเสยี เลยจะดกี วา แตใ นที่สดุ พระองคทรงยับย้ังความคดิ เชนนนั้ ไวไ ด พระองคไ ดทรงคดิ และรําพงึ กบั พระองคเองดังตอไปนี้ “สิทธตั ถะ เธอกําเนดิ ในราช สาํ นกั แหงขัตตยิ วงศอันใหญยิ่ง มอี าหารทุกๆ ชนิด ลว นแตเ ปนอยา งดีสําหรบั กินไดต ามปรารถนา ขาวก็อยางดี แกงกับกอ็ ยางดีและเหลือเฟอ แต แทนทเ่ี ธอจะอยกู นิ อาหารเชนนน้ั ในวงั เธอกลบั ต้งั ใจอยางเดด็ เด่ียวเพ่อื ออกมาเปน นกั บวชไรบ านเรอื น มชี วี ติ อยดู ว ยอาหารของคนขอทาน ตามทค่ี นใจบุญเขาจะบริจาคให แมในบัดน้เี ธอก็ยังยืนยนั ความเปนอยางน้นั อยู วา เธอเปนนักบวชท่ีไรบ านเรือน แลว บดั น้เี ลา เธอกําลงั จะขวา ง ท้ิงอาหารนีเ้ ชน นน้ั หรอื เธอกาํ ลงั ไมประสงคจะกินอาหารชนิดท่เี ปนของนักบวชผไู รบ า นเรอื น ตามทีเ่ ขาใหม าอยา งไร เธอคิดวา การทาํ เชนน้นั เปนการสมควรแลว หรอื ” พระสทิ ธตั ถะทรงใหโ อวาทแกพ ระองคเอง พรอ มทงั้ เหตุผลนานาประการ เพอ่ื ปรบั ปรงุ พระหฤทัยใหเ หมาะสมแกการท่ีจะตองเปน อยูดวย อาหารของคนขอทาน ตามธรรมเนียมของนักบวชทงั้ หลาย ในทส่ี ดุ แหงการตอ สูกนั ในภายในจติ ใจครงั้ นี้ พระองคเ ปน ฝา ยชนะความกระดา งถอื

ตวั ทรงหมดความรังเกยี จในอาหารอันวางอยูเฉพาะพระพกั ตร แลวทรงเร่ิมเสวยอาหารนั้น โดยปราศจากอาการอนั กระสบั กระสายแกประการ ใด และไมตองทรงลําบากพระทัยในการทจี่ ะตองฉันอาหารเชนนนั้ อีกสบื ไป ในคร้ังน้นั ประชาชนชาวเมืองราชคฤหไดพ ากันโจษจันถึงนกั บวชแปลกหนา ซึ่งเขามาบณิ ฑบาตในนครเมอื่ เชา น้ี วา มีลักษณะผิดแปลกจาก นกั บวชตามปรกติอยางไมอาจจะเทยี บกนั ได ในความสงางามและความมลี กั ษณะสงู สง ขา วอนั นไ้ี ดแ พรสะพดั ไปจนกระท่ังถงึ วงั หลวง ทราบถงึ พระเจา พมิ พสิ าร จนถึงกบั พระองคไ ดท รงสง ราชบรุ ุษออกตดิ ตามเพอื่ ใหท ราบวา นักบวชผแู ปลกประหลาดนค้ี ือใครกัน โดยเวลาไมมากนกั ราชบุรุษผสู ือ่ ขาวเหลา นน้ั ก็สามารถทราบเรอ่ื งราวอนั เกยี่ วกับพระสิทธัตถะไดครบถวน และพากนั กลบั มากราบทูลให พระราชาของตนทราบวา นกั บวชผนู ั้นคอื พระโอรสองคใ หญข องพระราชาแหงชนชาวศากยะ ทัง้ เปนทายาทผจู ะตอ งสืบราชบลั ลงั กอ ีกดวย แต พระองคทรงสละสง่ิ ทงั้ ปวงออกบวชเปนภิกษุ เพื่อเสาะแสวงหาหนทางอนั จะทําใหคนเราพน จากความครอบงําของความแกช รา ความเจบ็ ไข และความตาย เม่ือราชบรุ ุษกราบทลู ดงั นนั้ พระเจา พมิ พิสารไดทรงสดบั ดว ยความตนื่ เตนอยางใหญหลวง พระองคไ มเคยทรงทราบมาแกก อนวา มนี กั บวช ผใู ดเคยออกบวชเพอื่ เสาะแสวงหาส่ิงอนั แปลกประหลาดเหนอื กฎธรรมดาเชนนั้น แตเ ม่ือฟงดูกร็ สู ึกวา เปน การกระทาํ ทน่ี า เคารพบูชาอยา งยง่ิ เปนการเหมาะสมแกเจาชายชาติชาตรแี ทจริง และทั้งเปนสิ่งท่อี าจจะเปน ไปไดว าจกั นํามาซ่งึ ความสําเรจ็ พระองคไ ดเสดจ็ ไปทูลขอรอ งใหพ ระสิทธตั ถะประทับอยูในเขตนครของพระองค โดยพระองคจ ักเปน ผูถวายอาหารบณิ ฑบาตและสิ่งอน่ื ๆ อันจกั เปนเคร่อื งอํานวยความสะดวก และนาํ มาซ่ึงความสาํ เร็จในสิง่ ที่พระองคท รงประสงคไ ดโ ดยงา ย แตพ ระสทิ ธัตถะทรงปฏิเสธ โดยตรัสวา พระองคไ มอาจประทับอยู ณ ทใ่ี ดที่หน่ึง แตแ หงเดยี ว ตลอดเวลาทย่ี งั ไมท รงประสพสง่ิ ที่พระองคทรงประสงค เมอื่ เปน ดัง่ นน้ั พระราชาไดทรง ขอรอ งใหพระองคท รงรบั คาํ วา เมอ่ื บรรลุถึงสง่ิ ซ่งึ ทรงประสงคแลว จกั เสดจ็ มาสูน ครของพระองคกอ น เพ่อื โปรดใหพ ระองคและประชาชนๆ ไดท ราบถงึ สงิ่ นั้นดว ยเปน พวกแรก พระสทิ ธัตถะไดเสด็จจากนครราชคฤหตรงไปยังชนบทอันเตม็ ไปดวยทวิ เขาเปน ท่ีอยูแหง ฤษแี ลมนุ ี นักบวชนานาชนิด ซึ่งพระองคท รงหวงั วา บุคคลเหลา น้จี กั สามารถชว ยใหพระองคไ ดท รงศกึ ษา และทราบถึงความจรงิ เร่ืองชวี ติ ความจริงเรอื่ งความตาย ตลอดถงึ ส่ิงชวั่ รา ย กลา วคือ ความทกุ ขทรมาน อันเนือ่ งกนั อยกู บั ชวี ติ น้นั เพื่อหาหนทางกาํ จัดเสยี โดยสนิ้ เชิง ขณะทีพ่ ระองคเสดจ็ ไปตามหนทาง ไดทรงเหน็ ฝุน ฟงุ ตลบฟา ลงมาจากภูเขา พรอมท้งั เสียงกบี สัตวจํานวนมากกระทบกบั พ้นื ดิน ครั้งเสด็จ ใกลเ ขา ไป กท็ อดพระเนตรเหน็ แพะและแกะฝูงใหญ ออกมาจากกลุมฝุน อนั ฟุงขนึ้ ดุจเมฆนั้น ฝงู สัตวท ี่นา สงสารนน้ั กําลังถูกขับตอนไปทางใน เมือง ตอนทายๆ ปลายฝงู อันยาวยืดนนั้ มีลูกแกะออนตัวหนึง่ ขาเจ็บเปนแผล มเี ลอื ดไหลโซม ตองพยายามโขยกเขยกเดนิ ไปตามฝงู ดว ยความ เจบ็ ปวดอันทรมาน เมอื่ พระสิทธัตถะทอดพระเนตรเห็นลกู แกะตัวน้ี และทงั้ ทรงสังเกตเห็นแกะทเ่ี ปน แมของมนั กาํ ลังเดินวกวน พะวงหนา พะวงหลงั เพราะมี ลูกเลก็ ท่จี ะตองหว งหลายตัว พระหฤทัยของพระองคก็เต็มอัดอยดู วยความกรณุ า พระองคท รงอุมลกู แกะแลวเดนิ ตามฝงู แกะไปขา งหลงั พลาง ตรสั วา “สัตวท ่นี า สงสารเอย ฉนั กําลงั จะไปหาพวกฤษีบนภเู ขา แตม นั กเ็ ปน ความดเี ทากันในการทฉ่ี ันจะชวยบรรเทาความทกุ ขข องเจา หรือใน การที่ฉนั จะไปน่งั สวดมนตภาวนากบั บรรดาฤษเี หลา น้นั บนภเู ขา” เมือ่ พระองคท รงทอดพระเนตรเห็นหมคู นเล้ยี งแกะซง่ึ เดินตามขา งหลัง ก็ตรัสถามวา เขาจะตอนฝงู แกะเหลา นไ้ี ปทางไหน และทาํ ไมเขาจงึ ตอนแกะเหลาน้ใี นเวลาเทยี่ งวนั เชน นี้ แทนท่ีจะตอนมนั กลับจากท่เี ล้ียงในเวลาเย็น คนเหลา นัน้ ไดกราบทลู พระองควาเขาตองทาํ ตามคาํ สง่ั ซึง่ ส่ัง ใหน าํ แพะและแกะอยางละรอยตวั ไปสภู ายในนครตอนกลางวันเสียแตเ นิ่น เพื่อใหเ ปนการพรักพรอ มทีจ่ ะประกอบการบูชามหายัญของ พระราชาในตอนคาํ่ พระองคตรสั วา “ฉันจะไปกบั พวกทา นดวย” แลว พระองคก ็เสดจ็ ตามฝงู แกะน้นั ไป ทรงอมุ ลกู แกะตัวนอ ยนั้นไวใ นออม พระหัตถตลอดทาง” (*เรอื่ งฝงู แกะนี้ ไมม ีในพุทธประวตั ิอยางไทย) เมอ่ื พระองคเ สดจ็ มาถงึ ริมทา น้ําแหงหนึง่ มผี หู ญงิ คนหน่งึ เดนิ ตรงมาหาพระองค ทําความเคารพอยางนอบนอมแลวไดกลา วกะพระองคว า “ขาแตพ ระเปน เจา สูงสดุ พระองคโปรดเมตตาแกดิฉัน จงโปรดบอกใหทราบเถดิ วา เมล็ดพันธผุ ักกาด ทส่ี ามารถแกความตายไดน้นั ดฉิ ันจักหา ไดจ ากท่ไี หน ” เม่ือสตรีผูนนั้ ไดเ หน็ อาการสนเทหข องพระองค จึงไดกลาวตอ ไปอีกวา “พระเปน เจา ไดล มื เสยี แลวหรือ เม่ือวานน้ี ดฉิ นั ไดน าํ ลูก ชายเล็กๆ ซงึ่ เจ็บหนักจวนจะตาย มาใหพ ระเปนเจาดูทีใ่ นเมือง และไดถ ามถงึ ยา ทจ่ี ะปองกนั ไมใ หต ายเพราะดิฉนั มีลูกคนเดียว พระเปนเจา ได ตอบวา มียาซึ่งอาจชวยชวี ติ เขาไวได ถา ดฉิ นั อาจหาเมลด็ ผกั กาดดาํ มาหนึ่งโกละ จากเรือนซ่ึงไมเ คยมีใครตายเลย !” พระสทิ ธัตถะไดตรัสถามดว ยนํ้าเสยี งอนั ออนโยน และพระพักตรอ นั ยม้ิ แยมวา “กเ็ ธอหาเมลด็ ผักกาดนั้นไดม าแลวหรือยังเลา นองหญิง ” หญงิ น้ันไดก ราบทูลดวยนํ้าเสยี งอนั เศรา ทส่ี ดุ วา “หาไมไดเลย พระเปน เจา ดิฉันเที่ยวหาเมลด็ พนั ธุผ ักกาดอยา งทีว่ า นั้นไมได แมดฉิ ันจะเทย่ี ว เสาะหาไปทกุ บานทุกเรอื นแลว และทกุ ๆ คนเขาก็พากันเตม็ ใจจะให แตพอดิฉันบอกเขาวา ฉนั ตอ งการแตเ มล็ดผกั กาดทีม่ ีอยูในเรอื นซึ่งยงั ไมเคย มคี นตายมากอ น เขาจะพากันกลา ววาดฉิ ันพูดเรื่องทน่ี า พิลกึ กกึ กอื เกินไป เพราะบา นเรือนของคนเหลานน้ั ลว นแตมคี นตายในเรอื นทง้ั นนั้ บาง เรือนยังเคยตายกันมากกวาคนหนง่ึ บางคนบอกวา เคยมที าสตาย บางคนวา บดิ าตาย บางคนวาแมตาย บางคนวาลูกชายตาย บางคนวา ลกู หญงิ ตาย

ทุกๆ บาน ทกุ ๆ เรือน ไมใครกใ็ ครไดต ายไปแลวทั้งน้ัน ดิฉันจงึ ไมแ สวงหาเมลด็ พนั ธุผ กั กาดดังกลา วน้ันไดจ ากที่ใดเลย ดฉิ นั จักหาเมลด็ ผักกาด ชนิดนนั้ มาแตไหน กอนแตทีล่ กู ชายเพียงคนเดยี วของดิฉนั นี้จกั ตายไป จักไมม บี านใด บา งหรือทไ่ี มมใี ครเคยตายเลย ” พระสทิ ธัตถะไดต รัสตอบแกห ญงิ น้นั ซ่งึ บัดนีไ้ ดเริม่ รอ งไหส ะอึกสะอนื้ วา “เธอไดก ลา วเองแลว มใิ ชห รอื วา ไมมีบานเรือนหลงั ใดทีไ่ มเ คยมี ใครตายเลย เธอไดพ บความจรงิ อันนี้แลว ดว ยตนเอง บดั น้ี เธอไดท ราบแลววา ความทุกขเ ชน นี้ มใิ ชเปน ความทกุ ขทเ่ี กิดขึน้ แกเ ธอเฉพาะแตผูเดยี ว ในโลกนี้ บัดนี้ เธอไดทราบดวยตนเองแลววา คนท้ังโลกกร็ อ งไหเพราะเหตุอยางเดียวกนั กับเธอเต็มไปหมด จงกลบั ไปบาน แลว จัดการฝง ศพลูก ของเธอทตี่ ายแลวเสยี เถิดนองหญงิ เอย สว นฉันนจ้ี กั ไปเสาะแสวงหาส่งิ ซ่งึ จักระงับความโศกของเธอ และของคนทั้งหลาย หากพบแลว ฉนั จะ กลบั มาอีก และจะมาบอกเลาส่งิ นั้นใหเธอทราบ” พระสทิ ธตั ถะไดเสดจ็ ตามฝูงแกะ ซ่งึ กาํ ลงั กาวเขาไปใกลความตายเขา ทกุ ทีนนั้ กระท่ังถงึ นคร แลว เสดจ็ ตอไปจนกระทัง่ ถึงวงั หลวง อนั เปน ท่ซี ึง่ จะมกี ารบูชายญั ณ ทน่ี ้ัน พระราชาประทับยืนอยกู ับหมนู ักบวช ซึง่ กาํ ลังสวดบทมนตสรรเสรญิ คุณเทพเจาทง้ั หลายอยู ในขณะนั้นไฟบน แทน บูชายญั ไดตดิ ขน้ึ แลว นกั บวชเหลา น้นั ก็พรอมทจี่ ะทาํ การบูชายญั ดว ยฝูงสตั วทีเ่ พ่งิ มาถงึ ขณะทห่ี วั หนานักบวชกําลังยกมีด เง้ือข้ึนเพือ่ จะตดั ศีรษะแพะที่ถูกนําเขา มาเปน ตวั แรก พระสทิ ธัตถะไดทรงกาวเขาตรงหนา และหยุดย้งั การกระทาํ ของเขาไว พระสิทธัตถะไดต รสั แกพ ระเจาพิมพสิ ารวา “อยาเลย มหาราช อยาใหผบู ชู ายญั เหลา น้พี รา ชีวิตสตั วทนี่ าสงสารเหลานั้นเลย” พอตรสั เชน นั้น แลว กอ นทใ่ี ครๆ จะทราบวา พระองคจ ะทาํ อะไรตอไป พระองคไดทรงรีบแกเ ชอื กหญา ทเ่ี ขาใชผ กู แพะตวั นนั้ ออก และปลอยใหม นั กลับไปหา ฝงู ของมนั ไมมีใครในทน่ี นั้ แมแ ตพระราชาเอง หรือแมแ ตหวั หนา นักบวชผูทําพิธบี ูชายัญนน้ั ไดทันเกิดความรสู กึ ทจี่ ะขัดขวางพระองค ในขณะ ทพี่ ระองคท รงปลอยสตั วตัวนน้ั ใหเปนอสิ ระ ท้งั นี้ เปน เพราะพระองคท รงมีทา สงา งามและสูงสง ครอบงําความรสู กึ ของคนท้งั หลายในขณะนั้น เสียส้ิน พระองคไ ดต รัสแกพ ระราชาและนักบวช ผูประกอบพิธีบูชายัญ ตลอดถงึ ประชาชน ทไ่ี ดพากันมาดกู ารบูชายญั น้ันใหท ราบถงึ ขอท่ีชวี ิตนี้ เปนของท่นี าอศั จรรยเพยี งไร คอื การทใี่ ครๆ ทาํ ลายมันได แตเม่ือทาํ ลายลงไปแลว ใครก็ไมอาจสรา งมันใหกลับขึ้นมาได พระองคไดต รัสแกค น ที่ลอ มรอบอยใู นทนี่ ัน้ วา ทุกตวั สัตวซ ึ่งมีชวี ิต ยอ มรักชีวติ ยอ มกลวั ตอความตายเชน เดยี วกับมนษุ ย แลว ทาํ ไม มนษุ ยจ ะมาใชกําลงั ที่ตนมีเหนือ สัตวผเู ปน เพื่อนเกิด แก เจบ็ ตาย ดวยกันน้ัน ใหเ ปนไปในทางปลนเอาชวี ิต ซง่ึ เปนที่รักของมัน ซ่งึ นาอศั จรรยด ังกลาวแลว น้ัน ไปเสียเลา พระองคตรัสตอไปวา ถา มนุษยปรารถนาจะไดรบั ความเมตตากรณุ าแลว ก็ควรแสดงความเมตตากรุณาออกไป ถามนุษยเ ปนผูล างผลาญชวี ติ เขาก็จะถูกลา งผลาญชวี ติ เปนการตอบแทนตามกฎความจริงซึ่งครองโลก พระองคไดต รสั ถามเขาเหลา นัน้ วา พระเปน เจา พวกไหนกนั ที่ เพลดิ เพลินในโลหติ และแสวงหาความยนิ ดีจากโลหิต ตองเปน พระเจาชนดิ ทไี่ มดเี ปน แนแ ท ผูท ี่แสวงหาความเพลิดเพลนิ จากความทกุ ขยาก และชวี ิตของผอู น่ื นนั้ ควรจะเปน ปศ าจราย มากกวาเปน พระเปน เจามใิ ชหรือ พระองคไ ดทรงสรุปวา ถา คนเราปรารถนาจะไดรับความสขุ ดว ยตนเองในอนาคตแลว กต็ อ งไมท ําความทุกขใ หเ กิดแกส ตั วอ่นื แมท ี่ตํ่าตอ ย เพียงไร ผทู ่หี วานพชื พนั ธุแ หง ความทุกขยากเศรา โศกทรมานลงไปแลว ไมต อ งสงสยั เลย จักตอ งไดเก็บเกีย่ วผลอนั เกิดขึ้นในทํานองเดยี วกนั พระสิทธตั ถะไดต รัสแกพระราชาและนักบวช ผูประกอบการบูชายญั ตลอดถึงประชาชนชาวนครราชคฤหเ หลา น้ัน ดว ยถอยคําเหลานี้ และดว ย ลกั ษณาการอนั สุภาพออนโยน เต็มไปดวยความกรณุ าอยา งแทจริง แตก็ทรงไวซึง่ อาํ นาจและกําลังอนั เขม แขง็ ถงึ กบั เปล่ยี นจติ ใจของพระราชา และนักบวชเหลา นัน้ ไดโดยส้ินเชงิ จาํ เดมิ แตน ั้นมา พระราชาไดทรงประกาศพระราชโองการตลอดราชอาณาจกั รของพระองค หา มมิใหผูใดประกอบการบูชายญั ดวยสตั วมี ชวี ิตอีกตอไป ใหประกอบแตการบชู ายัญดว ยส่ิงทีไ่ มตอ งมีการลางผลาญสตั วท ีม่ ชี ีวิต เชน ดอกไม ผลไม ขนมหวาน และส่งิ อ่นื ๆ ซึง่ ไมต อ งมี การฆา ฟนทําลายชวี ติ เลย พระเจา พมิ พสิ าร ไดทรงขอรอ งตอพระสิทธัตถะอกี คร้งั หนึ่ง เพอ่ื ใหป ระทบั อยใู นอาณาจกั รของพระองค และสัง่ สอน ชนท้ังหลายใหมคี วามเมตตาปรานีตอสัตวที่มีชีวติ สืบไป พระสทิ ธัตถะไดท รงตอบขอบพระทยั ในความหวงั ดีของพระราชา แตเ น่อื งจาก พระองคยงั ไมไ ดท รงประสบสิ่งซ่งึ พระองคก ําลังทรงแสวงหา พระองคไมส ามารถจะหยุดอยู ณ ที่ใดทหี่ น่ึง จกั ทองเที่ยวตอ ไปในท่ที ุกหนทุก แหง ในบรรดาชนผมู ีวิชาความรูเ ปน นกั ปราชญ

พทุ ธประวตั ิ ฉบบั สาํ หรับยุวชน พุทธทาสภกิ ขุ แปลและเรยี บเรียงจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภิกษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนที่ 8 ความพยายามกอนตรัสรู ในประเทศอนิ เดียสมัยนนั้ กม็ ีศาสดาผสู อนลัทธติ างๆ ในทางศาสนาใหแ กศ ษิ ยของตนๆ มากมายหลายลทั ธิหลายสาํ นัก เชน เดยี วกบั ในสมยั นี้ในบรรดาเจาลทั ธเิ หลาน้ี มีศาสดาคนหนง่ึ มนี ามวา อาฬาระ กาลามะ พระสทิ ธัตถะไดเสด็จไปสํานักของศาสดาผูน้ี เพ่อื ศกึ ษาในลัทธิของทาน พระองคไดท รงศกึ ษาอยกู บั ทา นอาฬาระ กาลามะ ดวยความพากเพียรพยายามจนสามารถเรียนรูและกระทําไดท กุ ๆ อยา งเหมือนดังท่ีอาจารยรู และกระทาํ ได ทานอาฬาระ กาลามะ มีความพอใจในพระองคและในความสามารถของพระองค จนถงึ กบั วนั หนงึ่ ไดกลา วแกพ ระองคว า “บัดนี้ ทา นรู ทกุ ๆ สง่ิ ทีข่ าพเจารู ทานสามารถสั่งสอนลัทธนิ ีไ้ ดเ ชน เดยี วกับที่ขาพเจา สอน ขาพเจา เห็นอยา งใด ทา นเหน็ อยา งน้ัน ทา นเห็นอยางใด ขา พเจาเหน็ อยา งนน้ั ในระหวา งเราท้งั สอง ไมมีความแตกตา งกันเลย จงอยทู ่ีนด่ี วยกนั ชว ยกันสั่งสอนศษิ ยส บื ไปเถิด” พระองคไ ดตรสั ถามวา “ทานอาจารยไ มม สี ง่ิ ใดทสี่ อนขาพเจา ไดอ ีกแลว หรือ ทา นอาจารยไ มสามารถสอนวธิ ีที่จะทาํ ใหม ีอาํ นาจเหนอื ความ เปน อยู ความเจบ็ ไข และความตายเสยี แลว หรอื ” ทานอาจารยอาฬาระ กาลามะ ไดต อบวา “ไมม เี ลย ขาพเจา ไมท ราบวธิ ีการทําใหอยเู หนืออาํ นาจ ของความเปนอยู และความตาย แลว จะสามารถสอนทา นไดอ ยางไรกัน ขาพเจาไมเช่อื วา มีผูใดในโลกน้ี มีความรูใ นขอน้นั ” ทา นอาฬาระ กาลามะ มีความรูเ ทาที่ทา นไดสอนพระสิทธัตถะไปจนส้นิ เชงิ แลว คอื วิธกี ระทาํ จิตใหข น้ึ ถงึ ขนั้ ท่ีสงบเงยี บ จนไมมคี วามรูสกึ วา มีสิ่งใดๆ อยูใ นโลกน้ีหรือโลกไหน แลวมคี วามพอใจอยูในความสงบอนั น้ัน แตนีห่ าใชเ ปนวิธีท่จี ะชวยมนษุ ยใหพน ไปจากการท่ตี อ งวนเวยี น อยูในความเกดิ ความแก ความเจ็บ และความตายไดไม ยงั จะตอ งวนเวยี นอยใู นความทุกขเ หลา นี้ตอ ไป ไมม ที ส่ี ้ินสุด ด่ังน้ันพระสทิ ธัตถะจงึ ไม ทรงพอพระทยั ในลทั ธนิ ี้ ไดเ สด็จทองเทย่ี วไปตามท่ตี า งๆ เพือ่ ทรงเสาะแสวงหาบุคคลทีส่ ามารถสอนใหพระองคไ ดท ราบส่งิ ที่สงู ย่ิงไปกวา ท่ี ทา นอาฬาระ กาลามะไดสอนใหสบื ไป ในลําดับตอมา พระองคไ ดทราบขา วเจาลทั ธชิ อ่ื อทุ กะ รามบุตร วา เปนผมู คี วามรแู ละคุณวเิ ศษในทางจติ อนั สูงยิ่ง พระองคไ ดเ สดจ็ ไปสู สาํ นักของทา นอุทกะ รามบตุ รผนู ้ี และไดเ ขา เปนศษิ ยศึกษาและปฏบิ ตั ิ ดวยความพากเพยี รอยางแรงกลา จนกระทั่งมคี วามรแู ละความสามารถใน การกระทําเชนเดยี วกับอาจารยข องพระองคในทสี่ ุด ทา นอทุ กะ รามบตุ ร กเ็ ชน เดยวกบั ทานอาฬาระ กาลามะ คือมีความพอใจในความเฉลียว ฉลาด และความสามารถของพระสิทธตั ถะอยา งแรง จนถึงกับออกปากชกั ชวนใหอยชู วยส่งั สอนศิษยร วมกนั สบื ไป

พระสทิ ธัตถะไดท รงยอนถามทา นอทุ กะ รามบตุ ร เชน เดียวกับทีไ่ ดทรงถามทานอาฬาระ กาลามะ และกไ็ ดร ับคําตอบอยางเดียวกนั พระ สิทธัตถะไมท รงพอพระทัยในลัทธิ ซง่ึ สอนใหไ ดผ ลอยา งสูง เพียงแตท าํ จติ ใหม คี วามสงบ ถึงขนาดท่ีไมม คี วามรูส กึ ตอสง่ิ ท้งั ปวง จนถึงกบั จะ เรยี กวา มชี วี ิตอยูก็ไมใ ช ตายแลวก็ไมใช ของทา นอาจารยผ นู ้ี จงึ ไดท รงลาจากสํานกั นนั้ ไป และทรงตั้งพระทยั วา จักเลิกการเสาะแสวงหาวชิ า ความรูจ ากสาํ นักเจาลัทธติ า งๆ แตจกั ทรงหาเอาตามลําพังสตปิ ญ ญาและความเพียรของพระองคเ อง ในประเทศอนิ เดียในสมยั นั้น ก็เหมือนกับประเทศอนิ เดยี ในสมัยน้ี ในการทม่ี ีนกั บวชจํานวนมาก สละบา นเรอื นออกไปบวช โดยพากันคิด วา การอดอาหารและการทรมานกายโดยวธิ ตี า งๆ น้ัน จกั ทาํ ใหตนไดร ับความสุขในเทวโลกตลอดกาลนาน เขาเหลานน้ั เชื่อวา เม่ือไดร ับความ ทุกขใ นโลกนม้ี ากเพยี งใด กย็ ิ่งมีความสขุ ในโลกหนามากข้นึ เพียงน้นั เขาเหลานนั้ มคี วามเชื่อเชน น้แี ละปฏบิ ตั สิ บื ๆ ตามกันมาอยา งเครง ครดั จนกระท่ังถึงทุกวนั นี้ ผบู ําเพญ็ พรตเหลาน้นั บางพวกไดลดจาํ นวนอาหารทีต่ นบริโภคลงวันละเลก็ วันละนอ ย ทกุ วัน จนกระทั่งแทบไมบรโิ ภคอะไรเลย มีรา งกาย เหลือแตห นังหมุ กระดกู บางพวกปฏิบัติวธิ กี ารยืนดว ยขาขา งเดยี ว จนขาขา งหนง่ึ ลบี ตายไป บางพวกยนื ยกมอื ขา งหน่งึ ขน้ึ ชี้ไปบนอากาศ ตลอดเวลาจนกระทั่งแขนลบี ตายไป เพราะไมม ีโลหติ ขึ้นไปหลอ เลย้ี งอยา งเพียงพอ บางพวกกาํ มอื แนนเสมอตลอดเวลาไมย อมคลาย จนกระทั่ง เล็บมืองอก ทะลุฝา มือไปโผลท างหลังมือ บางพวกนอนบนหนามหรือบนแผนกระดาน ซงึ่ เต็มไปดวยเหล็กแหลม ทีป่ ลายตัง้ ชันขึ้นขา งบน ดัง่ น้ี เปน ตน พระสทิ ธตั ถะไดทรงกระทําการทรมานพระองค โดยวธิ ตี างๆ โดยทรงหวังวาจกั ไดพบสง่ิ ซงึ่ พระองคท รงประสงค โดยไมท รงคาํ นึงถึงความ เจบ็ ปวดอันจะเกดิ ขนึ้ แมจะมากมายเพยี งใด เม่ือพระองคไ มไ ดท รงประสพผลดไี ปกวา คนเหลานนั้ พระองคทรงดาํ ริสบื ไปวา หากไดป ระพฤติ ตบะทรมานรางกายใหม ากขึ้น จนเพยี งพอแลว คงจะประสพความรูท่ีพระองคทรงประสงคโ ดยแนน อน ขอ ความตอ ไปน้ี เปนการกลา วถงึ การกระทาํ ของพระองคใ นครั้งนั้น ซงึ่ พระองคทรงนํามาตรสั เลาแกพระมหาเถระช่ือสารีบตุ ร ผเู ปนอคั ร สาวกของพระองคใ นภายหลัง “ดูกอนสารีบตุ ร เราไดป ระพฤตกิ ารกล้ันลมหายใจ จนกระทัง่ เกิดเสยี งบนั ลือลัน่ ในหขู องเรา และมคี วามเจบ็ ปวดเกดิ ขึ้นในศรี ษะราวกะวา ถูกแทงดว ยดาบหรือถูกหวดบนศรี ษะดวยแสหนัง ตามเน้อื ตัวน้นั เลารสู กึ เจบ็ เหมอื นคนเอามีดคมมาแลเ ถือเนือ้ หนงั เราทั่วทั้งตวั หรือเหมอื นกับ ถกู จบั โยนลงไปในกลุมถา นเพลิง ดูกอนสารีบุตร ตอ มา เราไดประพฤติในความเปนอยโู ดดเดยี่ ว กลางคืนระหวางวันดบั และวันเพ็ญ เราไดเ ทยี่ วไปผูเดยี วในทเี่ ปลยี่ ว อนั เปน ท่ี ฝง ศพ ตามระหวางตน ไมใหญๆ เราอยทู ่ีน่ันตลอดคนื มีขนลกุ ชนั ไปทัง้ ตัว ทุกคราวทใี่ บไมหลน ลงมา เพราะลมพัดหรือนกบินมาจับตนไม หรอื เมือ่ กวางหรอื สตั วอน่ื ว่ิงผานมาเรากก็ ลัวจนตวั ส่นั เพราะไมร ูว าในความมืดนัน้ มอี ะไร แตเ ราไมวงิ่ หนี เราไดบังคบั ตวั เราใหทนอยูท่ีนั่น ใหผจญ กับความกลัว และความสะดุงทเี่ ราไดรบั จนกระทง่ั เราชนะความกลวั น้ัน ดูกอนสารบี ตุ ร เราไดประพฤติการอดอาหารเปนลําดับๆ ไป เราบริโภคอาหารวันหนง่ึ เพยี งคร้งั เดียว แลว บริโภคสองวนั ตอครั้งหน่งึ แลว สามวนั ตอ ครง้ั หนึ่ง ดงั น้ี เปนลําดบั ไป จนกระทัง่ 15 วัน จึงบรโิ ภคอาหารคร้ังหน่ึง บางคราวเราบรโิ ภคแตห ญา บางคราวบรโิ ภคแตรากหญา แหง บางคราวบริโภคแตผลไมป า รากไม ผกั ปา เห็ด เมล็ดหญา ปา และมีบางคราวบรโิ ภคสงิ่ ตา งๆ เทา ทจ่ี ะควา มาไดจ ากพนื้ ดินรอบๆ ตัวตรงท่ี เรานัง่ น้ัน เราปกปด รางกายของเราดวยเศษผา ที่เขาท้ิงตามปาชา หรือกองขยะมลู ฝอย บางคราวปกปด รางกายดว ยหนงั สัตวท ีต่ ายเองตามทุงนา บางคราวก็ปด ดว ยแผน หญา ถักดว ยพวงขนนก ซึง่ เราพบเร่ยี ราดอยใู นทีน่ ้นั ๆ ดกู อนสารบี ตุ ร เราอยผู ูเ ดียวในปาเปล่ยี ว ไมพบเห็นมนษุ ยเ ปนเดือนๆ ในฤดูหนาวในเวลาดกึ หนาวจัดเราออกมาอยเู สียกลางทแ่ี จง ไมผิงไฟ ถงึ เวลากลางวันมีแสงแดด เราหมกตวั อยูในปาไม ท่เี ยน็ เยอื ก คร้นั ถงึ ฤดูรอนในเวลากลางวนั ที่รอ นเปรย้ี ง เราน่งั อยกู ลางแดดตลอดวนั ครั้นถงึ เวลากลางคืน เราอยูใ นพมุ ไมทรี่ กทบึ ดกู อนสารบี ตุ ร เราไดป ระพฤติวธิ ที เ่ี รยี กกันวา “ทําความบรสิ ุทธด์ิ วยอาหาร” เราไมบริโภคอะไรเลย นอกจากถั่ว ครนั้ ถงึ สมัยอื่น เราไม บรโิ ภคอะไรเลย นอกจากเมลด็ พนั ธุผกั กาด ครง้ั ถงึ สมัยอ่นื อีก ไมบรโิ ภคอะไรเลย นอกจากขาวและเราลดปรมิ าณลงทกุ วนั จนกระทงั่ เหลอื วนั หนึง่ บรโิ ภคถั่วเพยี งเม็ดหนง่ึ หรือเมลด็ พนั ธุผกั กาดเม็ดหนงึ่ หรือขาวเมล็ดหน่งึ ตอ วนั ดูกอ นสารบี ุตร เมอ่ื เราบริโภคอาหารนอยเชนน้ี รา งกายของเรากผ็ อมและออ นระทวยอยา งนา กลวั ขาของเรามีลกั ษณะอยางตนออ ตะโพกที่ นงั่ ทบั ของเรามีสณั ฐานด่งั เทา อฐู กระดกู สันหลงั ของเราโปนขน้ึ เหมือนเสนเชอื ก สีขา งของเรา มซี ่โี ครงโผลข ้ึนเปนซๆี่ เหมือนกลอนเรือน ที่ถูก ทิง้ ราง ตาของเราลึกอยูในเบา ตา เหมือนดวงดาวทป่ี รากฏอยใู นกนบออนั ลกึ หนงั ศรี ษะของเราเห่ยี วยนเหมอื นนา้ํ เตาออนตดั ทิง้ ไวกลางแดด เมอ่ื เราลบู แขนหรือลูบขาของเราดว ยฝา มอื เพอื่ ใหเ กิดความสบายบาง ขนกห็ ลดุ ขึน้ ทง้ั รากตดิ ไปกบั ฝา มือทลี่ ูบน้ัน ดกู อนสารีบุตร แมเ ราไดร ับความทุกขอ ันแสบเผ็ดเห็นปานน้ี เรากย็ ังไมไ ดรับความรทู ่ีเราปรารถนา เพราะความรแู จง เห็นจริงนัน้ ไมอาจ เกิดขนึ้ ไดจากการประพฤติเชนน้ัน ตรงกนั ขาม อาจจะเกดิ จากการพนิ จิ พิจารณาในภายใน และจากการสละเสียซงึ่ การประพฤตอิ ยา งชาวโลกท้ัง ปวง” ดังนี้

พระสทิ ธัตถะ ทรงทรมานกายโดยทํานองน้ี เกอื บตลอดเวลาประมาณ 6 ป เทา ท่ีทรงทองเทยี่ วไปมาตามทีต่ า งๆ โดยทรงดาํ ริวา เม่ือทรง กระทาํ อยางพอเพยี งแลว จักไดต รสั รใู นตอนสดุ ทา ย พระองคไดเวยี นมาประทับอยูในดนิ แดนของแควน มคธอกี ณ สถานทอี่ นั เงยี บสงดั ในดงไม ไผแหง หนึ่งใกลๆ แมน ํ้าซง่ึ มนี าํ้ ใสเยน็ สนทิ ไหลอยูเสมอ มที า ขนึ้ ลงโดยสะดวก มหี มบู านสําหรับภิกขาจารไดโดยงาย และไมไ กลนัก พระองค ทรงพอพระทยั วา “สถานที่น้เี ปน ท่เี หมาะสมอยางยงิ่ แลว สําหรับนกั บวชเชน เราอยอู าศัยเพือ่ การทาํ ความเพยี ร เราจะอยูอาศยั ในสถานทีน่ ีล้ ะ” ด่งั นี้ พระสทิ ธตั ถะ ไดทรงถอื เอาสถานทซี่ ่ึงเรยี กวา ตาํ บลอุรุเวลา เปน ท่อี ยปู ระจําของพระองค ทรงบาํ เพ็ญภาวนาและตบะกรรมอ่นื ๆ อยา ง เครง ครดั ใตตน ไมในถนิ่ น้นั โดยทรงแนพระทยั วา การทาํ เชน นัน้ จกั รูส ิง่ ซ่ึงเปน ความจริงอนั พระองคตองประสงค ในครัง้ น้นั มผี เู ลื่อมใสในการกระทําอยางเครง ครดั ของพระองคจ าํ นวนหนง่ึ ไดพ ากันมาเฝา ปรนนิบัตพิ ระองค คนเหลา นมี้ ีจาํ นวนหาคน ดวยกนั เรยี กวา คณะปญจวัคคีย ไดค อยเฝา รบั ใชพระองค ในบางประการ โดยเขาเหลานน้ั เช่อื วา ผทู บ่ี ําเพญ็ ตบะกรรมอยางกลาเชนพระสิทธัต ถะนี้ตองไมใ ชคนธรรมดา เขาเชอื่ อยา งแนนอนวา นกั บวชผมู ีความอดทนและเสยี สละเชนนี้ ตองประสพผลสําเรจ็ ในสิง่ ทตี่ นประสงคโดย แนนอน และเมอ่ื ประสพผลสําเรจ็ แลวจักสง่ั สอนสงิ่ ซ่ึงไดรูน้ัน แกผ เู ปนศษิ ยท้งั หลาย วนั หนึง่ เหตุการณไดบังเอิญเปน จนถึงกบั วา เมื่อพระสิทธตั ถะประทับนัง่ อยแู ตผ เู ดียวใตต น ไมแ หงหนึ่ง มรี า งกายออ นเพลยี เพราะการอด อาหารและการทรมาน นัง่ บาํ เพ็ญภาวนานานเกินไป พระองคไดล มลงนอนสลบแนน ง่ิ อยู ณ พนื้ ดนิ ไมไหวตงิ หมดกาํ ลงั จนถงึ กบั ไมส ามารถจะ ฟน คนื ชีวิตได โดยลําพงั พระองคเ อง แตเปน โชคดี ที่เด็กเลยี้ งแพะในถน่ิ นนั้ คนหนง่ึ ไดบังเอญิ เดินมาพบพระองคบ รรทมสลบอยูในท่ีน้ัน และเดาเอาวา พระองคกําลังจะสิน้ ชีวิต เพราะการอดอาหาร โดยทคี่ นทงั้ หลายในถน่ิ น้นั รูกันอยูท ัว่ ไปวา พระอรยิ เจา ผนู ้ไี ดเ วน จากอาหารมาหลายวันแลว ดงั นน้ั เดก็ เลี้ยงแพะคนนน้ั ไดว งิ่ ไปทีฝ่ ูงแพะของตน นาํ แพะนมตัวหนึ่งมาสทู ี่ที่พระองคล ม สลบอยู ไดร ีดนมแพะใหตกจากเตานมโดยตรง หยดลงตรงพระโอษฐข อง พระองค ซึง่ เผยออยเู ล็กนอ ย เพราะเขาไมก ลา แตะตอ งเนอ้ื ตัวของผทู ่ีใครๆ ถือกนั วา เปนพระอริยเจา โดยเหตุทเ่ี ขาเปน เพยี งเดก็ เลยี้ งแพะ ในเวลาไมน านนกั นํ้านมนนั้ ก็ไดแสดงผลตามหนา ที่ของมนั แกพ ระสิทธัตถะ ซง่ึ อยูในลักษณะมีชวี ติ เหลืออยเู พยี งนิดเดยี ว ในขณะนั้น ตอมาอกี ครูหน่งึ พระองคทรงสามารถลุกนงั่ และรสู ึกมคี วามสบายขึ้นกวา เวลาท่ีแลว มา พระองคเ ริ่มรสู ึกวา เพราะเหตใุ ดจงึ ไดทรงสลบไป และ เพราะเหตุใดในบดั น้ี จึงมีความรสู ึกสดชื่นท้งั กายและใจข้ึนมาได พระองคท รงระลกึ ไดเปนลําดบั ๆ ดงั ตอไปน้ี “โธเอย เราโงม าเสียแลว อยา งมากมาย เราไดสละภรรยาและครอบครวั สละเหยา เรอื นและทกุ ๆ สง่ิ เราออกบวช เปนนักบวชไรบ า นเรอื น เพราะประสงคจะรสู จั จธรรม อันเก่ียวกับชวี ิตของมนษุ ยเรา และใหรูวธิ ที จ่ี ะตอ งปฏิบัติ เพือ่ ลผุ ลอนั เกีย่ วกบั ชีวติ ใหดีท่สี ุด แตในการท่ีจะให ไดรบั ความรูอ นั ลึกซึง้ ยากท่ีจะรไู ดเ ชน น้ี เราควรจะมีสมองและจติ ใจท่ีเขม แขง็ ใหมากที่สดุ ที่จะมากได เพอ่ื เราจะสามารถคดิ และเจรญิ ภาวนา อยางแนวแนแ ละเขม แขง็ แตใ นที่สุดเรากลบั ไปทําใหร างกายนอ้ี อ นเพลยี ทุพพลภาพไปดวยการอดอาหาร และดว ยการปฏิบตั ิอยา งตงึ เครยี ดอืน่ ๆ ดังทีเ่ ราปฏบิ ตั ิมาแลว กค็ นเราจกั มจี ิตใจอันเขมแขง็ สดชน่ื ในรา งกายที่ออ นเพลยี ระสาํ่ ระสายไรส ขุ ภาพไดอ ยา งไรกนั !” “พทุ โธเ อย เราโงอ ยา งเหลือเกนิ ทีไ่ ดไปทรมานตวั เองใหอ อนเพลียในขณะที่ตอ งการกําลงั ท่ีเราอาจจะมีไดใ นการปฏิบตั ิกิจอันสงู สุด ซง่ึ เรา ไดเสียสละทกุ ส่ิงทกุ อยา งออกมาเพอ่ื ปฏบิ ตั ิ ! ตอ น้ไี ป เราจักบริโภคอาหารทุกชนดิ ตามท่รี า งกายนี้ตองการ เพ่อื กลับคืนไปสูป รกติภาพ เราจกั ไม บรโิ ภคมากเกนิ ควร เพราะจะทําใหม ึนชาและงว งซมึ ซ่งึ จะทําใหเ ราไมส ามารถบาํ เพญ็ ภาวนาไดพ อเหมาะ เราจักบรโิ ภคแตพอใหเกดิ กําลังกายที่ เหมาะสมเพ่อื วา เราจักมีจิตอนั ใสกระจา ง ซง่ึ ในทส่ี ดุ เราอาจจะไดรูสจั จธรรมทีเ่ ราประสงค” ดั่งนี้ เมือ่ ทรงดํารเิ ชน น้นั พระองคไดท รงเหลยี วไปทางเดก็ เลีย้ งแพะ ซ่ึงบดั นี้กําลังคุกเขา อยขู า งๆ พระองค และตรัสขอใหเขานาํ นมแพะมาใหแ ก พระองคอกี ชามหนึ่ง เพราะปรากฏวา การบริโภคนมน้นั เปนผลดีแกพระองคมาก เด็กเลย้ี งแพะไดตอบวา “ขาแตพระเปนเจา ขา พเจา ไมสามารถ ทําเชน นัน้ ได ขาพเจา เปนเพยี งเด็กเลย้ี งแพะตระกูลตาํ่ พระองคเ ปน พระอริยเจาเปนผปู ระเสรฐิ หากขา พเจาสมั ผัสพระองคด ว ยสงิ่ ใดทีข่ า พเจาเคย จับตองแลว มันจกั เกิดเปนบาปแกขา พเจาอยางใหญหลวง” พระสทิ ธตั ถะไดตอบวา “พอ หนเู อย เราไมไดขอสงิ่ ซงึ่ เก่ียวกบั ชาตหิ รอื ตระกลู เราขอแตน ม มันไมม ีความแตกตางอยา งแทจริงอะไรกนั เลย ในระหวางเราทัง้ สอง แมวา เธอเปน เดก็ เลี้ยงแพะและเราเปน ฤษี ในสายเลือดของเราท้งั สอง ตา งก็มเี ลอื ดไหลอยอู ยา งเดยี วกนั ถา มโี จรเอาดาบมา ตดั รา งกายเราทงั้ สอง เลอื ดกจ็ ะไหลออกมาเปนสีแดงอยา งเดยี วกนั คนเราน้ถี า ทําดีกเ็ ปน คนดีและประเสรฐิ ถาทําเลวกเ็ ปน คนเลวและไม ประเสรฐิ น่ันแหละคือชาตแิ ละตระกลู อนั แทจ ริง เธอไดท ําสง่ิ ที่ดี โดยการใหน มแกฉันในขณะทกี่ ําลังรอแร จวนจะขาดใจตายเพราะอดอาหาร เพราะฉะนั้นเธอจึงเปนผทู ่ีมชี าติและตระกูลดีพอแลว สาํ หรบั จะใหน มแกฉ ันสกั ชามหนงึ่ ” เด็กเล้ียงแพะคนนั้น ดใี จจนบอกไมถ กู ในถอยคาํ อันแปลกประหลาดและนา ชุมช่ืนใจของพระมหาฤษีช้ันพเิ ศษ ซง่ึ แทนท่ีจะโบกมอื บอกให เขาหลีกหางออกไป เพราะเขาเปนเดก็ เลีย้ งแพะตระกูลตํา่ แตก ลับตองการจะไดน มจากเขา และทั้งยินดที ี่จะดม่ื จากชามอนั เปนภาชนะใชส อย ประจําตวั ของเขาดว ย เขาจึงไดว่ิงออกไปนาํ นมแพะเต็มชาม กลับมาถวายแกพ ระองคด ว ยความรา เรงิ ยนิ ดี ในขอ ทวี่ า พระองคไดตรสั วา เขาเปนผู ทม่ี ชี าติและตระกลู ดอี ยางเพยี งพอ สาํ หรบั การทถี่ วายนมแกพระองค เขาไดร ับชามเปลา กลับ และไดก ม ศรี ษะนมสั การขอพร แลว กว็ ง่ิ กลับไปสู

ฝูงแพะของตนดวยความสขุ ใจอยางหาทีเ่ ปรียบมิได* (*เรอ่ื งเดก็ เลยี้ งแพะถวายนมอยางน้ี ไมมีในพุทธประวตั อิ ยางไทย มีแตในพุทธประวตั อิ ยาง ตา งประเทศ สวนในพุทธประวัตอิ ยางไทย มขี อความกลา ววา เทวดาบางองคไ ดน าํ อาหารอันเปน ทิพยมาแทรกเขาตามขมุ ขนของพระองค จน กลบั มพี ระกําลงั อยา งเดิม) เม่อื พระสิทธัตถะ กลบั มีพระกาํ ลังอยางเดิมโดยการเสวยนมเชนน้ีแลว ไดป ระทับที่โคนตนไม เจริญภาวนาตอ ไปเปน ผลดีกวาทแ่ี ลว มา เมื่อ พระองคไ ดประทับนัง่ อยู ณ ทีน่ ั้น พอตะวันตกลับขอบฟา ไป ไดท รงสดบั เสยี งเพลงของหญิงนกั รองหมหู นึง่ ซง่ึ เปน นักรองและนักระบาํ อาชพี เดนิ ผานมาทางน้ัน เพอ่ื เขาไปประกอบอาชพี ในเมอื ง และเมื่อหญิงเหลาน้นั ผานมาใกลพระองค กพ็ อดีกับท่ีหญิงเหลาน้นั ไดรองเพลงขน้ึ อันมี เนื้อความวา “เม่อื สายพณิ ของเราหยอนเกดิ ไป ยอ มสง เสยี งไมน าฟง และเมือ่ ตึงเกินไป ก็ขาดและไมอ าจดงั ไดอ กี เพราะฉะนน้ั เพอื่ ผลอนั ดีทส่ี ุด ใครๆ ไมค วรขึงสายพณิ ใหหยอ นหรอื ตึงเกินไป แตค วรขึงใหพอเหมาะ มักจกั สง เสยี งอันไพเราะโดยแทจ รงิ ” ดั่งน*ี้ (*พุทธประวตั อิ ยางไทย กลา ววา พระอนิ ทรลงมาดดี พิณใหฟง แทนทจี่ ะเปนหญงิ รอ งเพลงเชนน)้ี เม่อื พระองคไ ดท รงสดับบทเพลงของหญิงเหลาน้นั ก็ทรงรสู ึกขนึ้ ในพระทยั วา “บทเพลงของหญงิ เหลา นี้ ชางถูกแท หญิงเหลา นสี้ อนอะไรๆ ใหแกเ รามากทเี ดยี ว ทีแ่ ลว มาเราขึงสายพิณแหงชวี ติ ของเราตึงเกินไปอยางนา สงั เวช มันตึงเกนิ จนจวนจะขาดลงอยางไมมีเหลือ ถา ในวันนี้ไมได รับความชว ยเหลอื จากเด็กเลย้ี งแพะนนั้ แลว เราก็คงตายไปแลว แลว อะไรเลา ทเี่ ปนผลแหงการแสวงหาสจั จธรรมของเราทง้ั ที ! เร่อื งก็จบลงทีน่ ี่ และบัดนี้ แลวสงิ่ ซึง่ ฉันและมนษุ ยทั้งหลาย จะพึงไดร ับจากการเสาะแสวงของฉนั กม็ าพลอยลม เหลวลงอยางนาเศรา เพราะความเขา ใจผดิ ใน เรือ่ งอาหารน้ีนิดเดยี ว วิธปี ฏิบัตอิ ยางทารณุ ตอรางกายเชน นี้ มิใชว ธิ อี ันถกู ตองสาํ หรับการคน หาสัจจธรรมเลย จําเดมิ แตน ี้ไป ฉันจักเลิกปฏบิ ตั ิตอ รางกายอยางทารณุ เสยี โดยเด็ดขาด แตจะปฏบิ ัติอยา งเอาใจใสระมดั ระวังใหเ หมาะสมทส่ี ุด ทีจ่ ะพึงกระทําได” ตอ จากนั้น พระสิทธตั ถะไดท รงออกบณิ ฑบาตทกุ เวลาเชา ทรงบรโิ ภคอาหารตามแตจะไดมาทกุ ๆ วัน พระองคกลบั ทรงมีพระกําลังอยาง เดิม มพี ระฉวีวรรณผุดผอ งเปนสีทอง ดุจเดยี วกบั เมื่อยังประทับอยูในพระราชวังของพระองคในกาลกอน แมพ ระองคจะไดทรงมองเห็นอยางชดั แจง วา การทรมานกายอยางเครงเครยี ดของพระองคน ั้น มผี ลทํานองเดยี วกบั การพยายามผกู อากาศใหเปนปม หรือเชน เดยี วกับการนําทรายมาฟน ใหเ ปน เชือก โดยไมมผี ิดกนั เลยดง่ั นีก้ ต็ าม สว นบุรุษหา คน มิไดมคี วามคดิ หรือรสู กึ เชนเดียวกับพระองคแตอยางใด คนท้ังหา น้นั ยงั คงมคี วาม ยึดถือเชน เดยี วกับคนอ่ืนๆ อยูนัน่ เองวา วธิ ที ่ีจะตรสั รูส ัจจธรรมในศาสนานนั้ ตองสาํ เรจ็ มาแตการทรมานรา งกายแตว ิธีเดยี วเทา นัน้ เมื่อคนทีห่ า นน้ั เหน็ วา บคุ คลซง่ึ ตนเคยยกยองเปนอาจารยไดเลิกละการอดอาหาร และการทรมานกายโดยวิธีตางๆ มาบริโภคอาหารบาํ รงุ รา งกายตามปรกติธรรมดาเชน นน้ั ก็พากันกลาวแกก นั และกันวา “อา ! พระสมณะโคตรมะศากยบตุ รนก้ี ลายเปน คนมักมากไปเสยี แลว เลกิ ละการ ตอ สูแ ละความพากเพียร กลับไปสชู ีวติ แหง ความบันเทิงเริงรื่นเสียแลว” ด่งั น้คี นทั้งหาไดพ ากันละท้งิ พระองค เพราะแนใจเสียแลว วา ไมมี ประโยชนอ นั ใดในการทีจ่ ะอยูอาศยั กบั อาจารยผูเลิกละความเพยี รโดยประการตา งๆ คอื การทรมานกายเสียเชน น้ี คนท้งั หา เชือ่ อยางแนนแฟน วา นักบวชท่ีไมทรมานกายนัน้ ยอมไมมีทางที่จะตรสั รูธรรมอนั สงู สุดในทางศาสนาเลย คนทง้ั หานี้ ไดม คี วาม หลงผิดเพียงไร ไดปฏิบตั ิอยางเขลาทสี่ ดุ เพียงไร ไดป รากฏเปน ความจริงออกมาในเวลาอันไมน านเลย บดั น้ี อาจารยข องเขา ซ่งึ ทีแ่ ทห าไดห มนุ ไปจากทางแหง สจั จธรรมแตป ระการใดไมน ั้น ไดเปน ผซู ง่ึ กาํ ลงั กาวมาถงึ จดุ แหงความสําเร็จ ในการทจี่ ะบรรลุส่ิงซง่ึ พระองคทรงประสงคอยา ง แนน อนแลว

พุทธประวัติ ฉบับสาํ หรบั ยุวชน พทุ ธทาสภิกขุ แปลและเรียบเรยี งจาก ฉบับภาษาอังกฤษ ของ ภิกษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 9 ประสพความสําเรจ็ ในวันหนง่ึ ตอ มา มสี ตรผี หู นง่ึ นามวา สชุ าดา ผูอาศยั อยใู นถ่ินนนั้ ไดน ําขาวอยางดี ซึง่ หุงขึน้ ดว ยนมทไ่ี ดค ัดเลอื กเปน อยางดีทีส่ ดุ มาถวาย พระองคถ ึงท่ีทพี่ ระองคป ระทับอยู เมอื่ ไดถวายอาหารน้แี กพระองคแลว กุลสตรีน้ันไดก ลา วแกพระองคว า “ขอใหพระองคจ งทรงประสพ ความสาํ เรจ็ ในส่ิงซง่ึ พระองคทรงประสงค เชนเดยี วกบั ทด่ี ิฉนั ไดประสพความสาํ เรจ็ ในส่งิ ซึง่ ดฉิ นั ประสงคแลว เถดิ เจาขา” ดงั่ น้ี พระองคไมท รง ปฏเิ สธการถวายทานของสตรผี ูน้ี ทรงรับและฉันในขณะนั้นเอง ดวยความพอพระทยั และดว ยความรสู กึ ในคณุ ประโยชนท่ใี หเ กิดกาํ ลังกาย กาํ ลังใจ แกพระองคเปน อยา งย่ิง ตอจากน้นั พระองคไ ดเ สดจ็ ไปสูต นไมตนหนึง่ ซง่ึ เปนอนสุ าวรยี แ หง การตรัสรูของพระองค มาจนกระทั่งทุก วันนี้ อันเราเรียกกันวา ตนโพธ์ิ หรือไมแ หง การตรสั รู คาํ กลาวของกุลสตรชี ่ือ สุชาดา ยงั คงกองอยูในพระโสตของพระองควา “ขอพระเปน เจา จงประสพความสําเรจ็ ดังที่ดิฉนั ไดป ระสพความสาํ เรจ็ เถดิ เจาขา” ดงั นจ้ี นกระทั่งพระองคไดเ สด็จเขาไปสโู คนไมน นั้ ณ บดั นี้ พระองคไ ดประทบั นั่งลงที่โคนตนไมน้ัน ทางทศิ ตะวนั ออกอนั เกลีย่ ดวยหญา 8 ฟอน ทีค่ นตัดหญา ช่ือ โสตถิยะ ถวายแกพ ระองค และไดท รงอธษิ ฐานจิตกําหนดพระทัยตอ พระองคเ องวา แมเ ลือดในกายจะแหงไป แมเ นอ้ื จะหมดไป ไมมีอะไรเหลืออยู นอกจากหนัง เอ็น และ กระดูกกต็ ามที จักไมย อมลุกจากท่นี งั่ นี้ จนกวา จะไดพบสง่ิ ซง่ึ ทรงแสวง ลถุ งึ จดุ ปลายทางท่ีทรงประสงค กลา วคอื ทรงพบวธิ ีท่จี ะทาํ ใหพระองค เองและมนุษยทงั้ ปวง หลุดพนจากความทกุ ข เปน ผูไมตองเกดิ และตาย อยางซํา้ แลว ซาํ้ อกี ในลักษณะที่เบื่อหนายอกี ตอไป กลาวโดยสรุปแลว ก็ คือพระองคทรงประทับนงั่ ณ โคนตนโพธ์ิ โดยต้ังพระทัยแนว แนวา ถาไมล ถุ งึ สภาพทีเ่ รยี กวา “นพิ พาน” แลว จักไมยอมลุกจากทีน่ ้ันโดยไมท รง คาํ นงึ ถึงวา จกั มีเหตกุ ารณอันใดเกิดขน้ึ การอธิษฐานจิตเชน น้ี เปน ส่ิงท่ีกระทําไดแ สนยาก ยงั ไมเ คยมใี ครในโลกของเราแหง สมยั นี้ เคยทําการอธษิ ฐานเชนนั้น ในประเทศอนิ เดยี ใน สมัยน้นั มีนกั บวชจํานวนมากซึง่ ไดพยายามบาํ เพ็ญตบะทรมานรา งกายและทําความเพยี รทางจติ อยางแขง็ กลา ตลอดเวลาเปนปๆ เพอื่ ใหบ รรลถุ ึง ส่ิงซึ่งเขาเหลา นนั้ เหน็ วาเปน สิง่ ซง่ึ ดีท่ีสดุ หรอื สูงทีส่ ดุ แตส ิง่ ซง่ึ เขาไดร ับเหลา นน้ั เปนความสขุ ชนดิ ชั่วคราว ไมย ัง่ ยนื ตลอดกาล ยังไมเปน ความสขุ ที่สามารถทนทานตอความเปลย่ี นแปลงของกาลเวลาได เม่ือกําลงั แหง ความเพียรทีก่ ระทําใหเขาเหลาน้ันไดประสพสขุ ในสวรรคเส่อื ม สนิ้ ลง เขาเหลา นนั้ ก็ตอ งละจากโลกอนั เปน ที่พอใจน้นั กลับมาสูโลกชั้นต่ํา อนั เตม็ ไปดวยสงิ่ ซง่ึ ไมต รงตามความประสงคอ ีกตอ ไป ถาจะเปรียบความขอ นี้ กเ็ หมอื นกับบคุ คลคนหนง่ึ เร่ิมสะสมเงนิ ทองไวใ นหีบเปน อันมาก แลว กเ็ รม่ิ ใชสอย ไมน านนักกจ็ ักหมดส้นิ ไป เหลือ

แตห ีบเปลาซึง่ จะทําใหเขาตองทาํ การสะสมใหมอ กี ตอ ไป ขอ นีเ้ ปนฉันใด นกั บวชท่ไี ดประสพความสขุ อันไมถาวร เม่อื ความสุขนั้นสิน้ ไปแลว เขากจ็ กั ตอ งทนความยากลําบากบําเพญ็ ตบะกรรมใหม สืบตอไปอีกอยางไมม ีทส่ี น้ิ สุดฉันเดียวกัน การเปนอยางนี้ ทาํ ใหเขาตองวนเวยี นไปมา อยใู นระหวางการเกิดในโลกสวรรคกับการเกดิ ในโลกแผนดนิ นี้อยา งไมมีทส่ี นิ้ สดุ ลงไดเ ลย การ กระทาํ ในทาํ นองน้ี มีความยากลาํ บากดจุ ดังการกล้ิงครกอยา งหนกั ข้นึ ภูเขา ซง่ึ มนั มแี ตจ ะกล้งิ กลับลงมาสตู ีนเขาเสยี รา่ํ ไป ซึ่งทาํ ใหเ ขาตอ งระดม กาํ ลงั กลิ้งใหมอยา งซาํ้ และซํ้าอกี โดยไมม ีท่ีส้ินสดุ สว นสิง่ ซ่งึ พระสทิ ธัตถะทรงประสงคในทีน่ น้ี นั้ คือวชิ ชาท่จี ะทาํ ใหพ ระองคและมนุษยท้งั หลาย ไมจําตองทนทรมานในทาํ นองกลิง้ ครกขึ้น เขาเชนน้ัน พระองคท รงแสวงหาส่ิงซึง่ มคี วามเทย่ี งแทถ าวร อนั จักไมกลบั เสอื่ มสน้ิ หรอื ตกต่าํ อีก ซง่ึ เมือ่ ใครไดป ระสพแลวเพียงครง้ั เดียวกไ็ ม ตองพยายามทําเพ่ือใหไ ดใ หมอี กี ตอไป ณ โคนตนโพธ์ิ แหงตําบลอรุ เุ วลานนั้ พระองคทรงตง้ั พระทยั อธษิ ฐานจิต ทําความเพยี รเพอ่ื ใหประสพส่งิ ซ่ึงเทีย่ งแทถาวรสิ่งนเ้ี อง หากไมป ระสพกจ็ ักยอมใหร า งกายพินาศทําลายไปในท่ีตรงนั้น ไมย อมเขยื้อนแมแ ตหนอยเดียว ณ บัดน้ี พระสทิ ธัตถะไดทรงตั้งพระทยั ระดมกําลังจิตของพระองคต อ สกู ับธรรมชาติฝา ยตํ่า และยกจิตของพระองคใหขึ้นสงู เหนอื สิ่งซึ่ง เปน เพียงความสขุ ชว่ั คราวไมเ ท่ียงแทถาวร ซงึ่ พระองคเคยทรงผา นมาแลว แตหนหลงั อยางมากมาย พระองคทรงประสงคที่จะสลัดความคิดอยา ง โลกๆ เสียใหส้ินเชิง เพื่อปก ใจคน หาความจริงในขอท่วี า ความทกุ ขท ้ังปวงเกดิ ขน้ึ มาไดอยา งไร แตแ ทนทจี่ ติ ของพระองคจ กั คิดไปในทํานองนน้ั อยางเดยี ว มนั ไดห วนคดิ กลบั ไปกลับมา ถึงความสุขสบายในหนหลงั มนั ไดน ําภาพแหง ความเพลิดเพลินบนั เทงิ เรงิ รืน่ อยใู นทา มกลางการบํารุงบําเรอทพ่ี ระองคเ คยทรงไดร บั ในพระราชวังแหงพระบดิ าของพระองค มาปรากฏ ณ ท่ี ดวงตาในภายในของพระองคอ ยา งเดน ชัดอยูบ อ ยๆ ความจําหมายไดปรากฏขนึ้ เปน ภาพอันชดั แจง ภาพในใจของพระองคเ ปน ภาพหองบรรทมอนั สวยงาม ซง่ึ พระองคเ คยประทับ เปนภาพแหง ลานในอทุ ยานอันสดช่นื เปนภาพแหงสระบวั ซ่ึงงามจบั ใจ เปนภาพแหง คนผูป รนนบิ ตั ิรบั ใชพ ระองคท ุกวิถีทาง โดยไมม ีขอขัดของ และไดทรง มองเห็นภาพแหง พระชายา ผงู ามเลิศ ภาพแหงโอรสองคนอยๆ องคเ ดียวของพระองค ซง่ึ มีรปู โฉมงดงามและมีลกั ษณะอันแสดงวา จักเปนโอรส ท่นี ํามาซง่ึ ความภาคภมู ิใจอยางใหญห ลวง แกบ ุคคลผูเปน บดิ าในกาลขางหนา และพระองคยงั ไดทรงเหน็ ภาพแหงพระบดิ าของพระองคอ กี ดว ย วา บัดนี้เขาสวู ยั ชรามีพระเกศาหงอก เพราะเขา ถงึ ปจ ฉมิ วยั และกาํ ลงั ทรงระทมทุกขอ ยู เพราะพระโอรสองคใ หญม ิไดทรงอยเู คยี งขางพระองค ในการชว ยกันปกครองบานเมืองและรบั ชวงการครองราชยสมบตั ิ ในเม่อื พระองคทรงชรามากเกนิ กวาทจี่ ะทรงทําการปกครองไดสืบไป พระสทิ ธตั ถะโคตมะไดทรงเหน็ ภาพแหง ส่ิงท้งั หลายดงั กลาวน้ี ดว ยพระเนตรในภายใน ในทา มกลางความสงดั เงยี บและไดท าํ ใหเ กิด ความคิดชนดิ ซ่งึ พระองคไ มท รงประสงคเปน อยางยิง่ แตมันกเ็ กดิ ขน้ึ จนไดวา “สทิ ธตั ถะ ! ถาทานจกั อยูครองเหยา เรือนเหมือนคนทงั้ หลายอื่น ทานก็จักเปนพระราชาผูสงู ศกั ด์ิ มอี ํานาจมาก มีเกยี รตคิ ุณอันใหญหลวง แต ทา นไดหลีกหนอี อกมา โดยสละประชาชนและสิ่งมีคาสูงสุดทกุ อยา งไวเบอ้ื งหลัง ออกมาแสวงหาส่งิ ซงึ่ ไมม ใี ครเคยคดิ ถงึ มนั เลย นอกจากทานผู เดยี ว และทง้ั เปนสง่ิ ซึง่ บางทไี มส ามารถจะหาพบได และยงิ่ ไปกวานน้ั บางทจี กั เปน สงิ่ ซ่ึงมิไดมอี ยูเลย ! ทานรไู ดอ ยางไร วา ทา นมิไดเปนคนโง หรือบา ในการท่ีสละสง่ิ ตา งๆ ซง่ึ เปนของทมี่ ตี ัวมตี นจรงิ ๆ และกไ็ ดเ คยรูรสเปน ความสขุ แนแ กใจตนเองมาแลวจรงิ ๆ ไปหลงแสวงหาสิ่งบางส่งิ ซ่ึงทานเองก็ยังไมส ามารถรไู ดวามนั เปนส่ิงทม่ี ีอยูจริงหรือหาไม สทิ ธัตถะเอย ถา ทานตอ งการทจ่ี ะละทงิ้ ของประเสริฐในโลก ไปแสวงหาสงิ่ ซ่งึ ทา นคดิ วา เปน สง่ิ ทีด่ ีกวาน้นั ไปอีกจรงิ ๆ แลว ทาํ ไมทานจึงไม พยายามแสวงหาโดยวิธที ี่นกั บวชอื่นๆ เขาแสวงหากันดวยการอดอาหารและการทรมานกาย หรอื ดว ยการวธิ ที ีป่ ระกอบการบูชายญั ดังเชน คนใจ บญุ สนุ ทานทัง้ หลายเขากระทาํ กนั อยูทว่ั ไป ทานเหน็ วธิ ีของคนอื่นผิดหมด ถูกอยูแตว ธิ ีของทานคนเดยี วเทานัน้ หรอื และอยา งไรกต็ าม ทาํ ไม ทานจงึ ไมส ามารถพอใจในความสุขเทาทที่ านควรจะพอใจ แมจะไมถาวรเหมือนท่ที า นตอ งการก็ตาม สทิ ธัตถะเอย ชีวติ นเ้ี ปนของสัน้ นดิ เดยี ว ทุกคนตองตายในไมช า ถงึ ทานเองก็จักตอ งตายในไมช าน้ีแลวเหมอื นกนั ทาํ ไมทา นจงึ ไมใ ชเ วลาท่ี เหลอื เพยี งเล็กนอยนเี้ สวยความสุขเทาทอ่ี าจจะมีไดเสยี กอนแตท่ีความตายจะมาถงึ ซ่งึ ทานจะไมอาจเสวยความสขุ อยา งใดไดอกี ตอ ไป แลว ความรกั กม็ ี ช่ือเสียงก็มี ความสูงศักดิก์ ็มี การบชู าสรรเสริญกม็ ี ทกุ ๆ อยา งพอสกั วา ทา นตอ งการ มันก็มที ุกอยา ง เปน ชิ้นเปน อัน เปน ตวั เปน ตน ซ่ึงทานสามารถลบู คลาํ สมั ผสั บรโิ ภคมันได ไมใชเ ปน เพยี งความฝน หรือภาพมายาอยา งวิมานในอากาศเลย ทาํ ไมทานจึงมากระทําการ ทรมานตัวเองใหตกระกาํ ลําบากอยูในปาเปลยี่ ว เพ่อื เสาะหาสิง่ ซงึ่ ไมเคยมีใครหาเชน น้เี ลา ” ความรูสกึ ดังกลา วนี้ ไดเ กิดขึ้นในภายในพระหฤทยั ของพระสทิ ธตั ถะในคนื วันท่พี ระองคประทบั นง่ั ภายใตตน โพธ์ิ เพอื่ แสวงหาวิธขี า ม ออกไปใหพ นจากความเกิด ตาย มันไดล อหลอกพระองค ดวยการทําใหรําลกึ ถงึ ความเพลดิ เพลนิ นานาชนิดซึ่งพระองคท รงสลัดไวเบอ้ื งหลงั ดวยการทําความลงั เลวา พระองคจ กั ทรงมีความสามารถในการแสวงหาใหพ บสิ่งซงึ่ พระองคท รงประสงคน ีห้ รอื หาไม และดวยความไมแน พระทยั วา การเสาะแสวงหาทง้ั นี้เปนไปอยา งถูกทางแลวหรอื ยงั แตพ ระองคไ มท รงยอมใหพระองคหมุนกลบั จากส่งิ ซ่งึ ทรงมงุ หมาย ยิ่งไปกวา นัน้ เมื่อสง่ิ เหลานีม้ าลอหลอกพระองคม ากยิ่งขึน้ เพยี งใด พระองคย ่ิงทรงบังคบั พระทัยของพระองคใ หม ุงไปตามจดุ หมายเดมิ ยิ่งข้ึนเพยี งน้นั พระองคทรงรอ งขน้ึ วา “มารเอย กลับไปเถดิ ! เรารแู ลว ละวาเจา คือใคร เจาคือปศ าจราย ซ่งึ ลวงคนใหเลกิ ละจากทุกๆ สง่ิ ซึง่ เปน ความดี

ความงาม ความใหญย ิ่ง และความประเสรฐิ เจาอยา พยายามหมนุ เราใหกลับจากสิง่ ซึ่งเราไดออกมาแสวงหาใหลําบากอีกตอ ไปเลย ! มารเอย จิต ของเราปกแนนเสียแลว เราตอ งนงั่ ทน่ี ่ี จนกวาจะไดรบั ส่งิ ทเ่ี ราประสงค แมวา เราจักตองนั่งจนกระทัง่ เลอื ดและเนื้อเหอื ดแหง ไป ไมมีอะไร เหลอื อยูน อกจากหนงั กับกระดกู กต็ ามที” ณ ทนี่ ้ัน พระสิทธตั ถะไดป ระทบั นั่งและทรงดาํ เนนิ การตอ สู และทรงพยายามบากบ่ันทําการปลุกปล้ําดวยกาํ ลังพระหฤทยั ทงั้ หมด เพ่ือให ทรงพบส่งิ ซงึ่ สามารถขจัดความทุกขโ ศกของสรรพสตั ว และทรงพยายามแสวงสง่ิ ซงึ่ สามารถตัดรากเหงาของสิ่งชัว่ รา ยทง้ั ปวง ในโลกนีใ้ หส ูญ สิน้ เด็ดขาดไป แลวนาํ มาซง่ึ ส่ิงทีด่ ีงามเปน ความสงบสุข อนั ไมรจู ักสน้ิ สญู หรือเปล่ียนแปลงเปน อนนั ตกาล ตัง้ อยูเหนือความแปรปรวนโดย ส้นิ เชิง การพิจารณาคดิ คน ใหท ราบถึงการเกิดข้นึ ของความทกุ ข และความดบั ลงของความทกุ ขต ามลําดบั ทงั้ ขน้ึ และลงเชน นั้น โดยละเอยี ด เชน น้ี เรยี กวา การพิจารณา ปฏจิ จสมุปบาท พระองคท รงประสพความสําเรจ็ เม่ือพระองคทรงแนว แนอยใู นสมาธจิ ิต ทรงปด เปาความคดิ อันช่ัวรา ยทงั้ หลายท่เี ขา มารบกวนพระทัย และ ลอ หลอกพระองคใ หไ หลหลงออกไปไดโ ดยส้นิ เชงิ แลว พระหฤทยั ของพระองคสงบรํางับเหมือนนาํ้ ในสระ ในเวลาทค่ี ลน่ื ลมสงบ ทา มกลาง ความเงยี บสงัด ความช่วั รา ยที่รบกวนพระองคด วยการระลกึ ถงึ ความสขุ ในหนหลังไดส ูญสนิ้ ไปโดยสิ้นเชงิ ความสงสัยลังเลในสิ่งซ่ึงพระองค ทรงแสวงและวธิ ีซง่ึ พระองคท รงกระทาํ การแสวง ก็มิไดเ กิดขน้ึ อกี ตอไป ในทามกลางความเปนสมาธิ อนั แนวแนสงบเงยี บแหง พระหฤทยั ของพระองค ซึง่ บดั น้ีไดร วมกาํ ลงั พงุ ไปสสู ่งิ ท่ีมุงหมายเพยี งจุดเดียว และมี อานภุ าพแหงจติ ซง่ึ ประกอบดว ยกําลงั อันมหาศาล ซง่ึ บดั นี้ไดร วมกําลงั พงุ ไปเพ่ือทําลายอวชิ ชาอยา งเดยี วแลว ณ ที่น้นั ซ่ึงพระองคไ ดป ระทบั นั่ง ณ โคนตน โพธต์ิ นนน้ั เอง พระสิทธัตถะโคตมะ ผูสมณะศากยบุตร ไดต รสั รูเปน พระสัมมาสมั พุทธเจาพระนามวา พระโคตมะพทุ ธะ ผูซ่ึงไดนํา แสงสวา งแหง สจั จธรรมมาสูช าวโลกทั้งปวงแหง ยุคน้ี ซึ่งกาํ ลังมชี วี ิตอยใู นโลกน้ี ณ บัดน้ที กุ ถวนหนา ณ บดั น้ี พระองคทรงมีความสวางไสวแจม แจง ตรงกันขามจากชนทั้งหลายอืน่ ซ่ึงความแจม แจงของเขา ก็คอื ความงมอยใู นที่มืดชนดิ ใดชนดิ หนึ่ง บัดนี้ พระองคท รงตื่นจากหลบั ตรงกนั ขามจากความตื่นของคนเหลา อนื่ ซงึ่ ความต่นื ของเขาเปนเพยี งอาการของการละเมอเพอฝน บดั น้ี พระองคท รงประกอบไปดวยความรอู ันตา งจากความรขู องชนเหลาอน่ื ซึง่ ท่ีแทค วามรขู องชนเหลานนั้ เปน เพียงความงมงายชนดิ ใดชนิดหนึง่ เทานัน้ นบั แตกาลนี้ พระองคไ ดท รงรูแ จงแทงตลอด ในความหมายอันแทจรงิ ของชีวิตอยางทัว่ ถงึ ตั้งแตม ลู รากขึน้ ไปทเี ดียว บัดนี้ พระองคไ ดทรง ทราบวา ทาํ ไมมนษุ ยเราจึงตอ งเกดิ แลวเกดิ เลา ตายแลว ตายเลา อยูร า่ํ ไปและทรงทราบวา ทําอยา งไรมนุษยเ หลา น้ันจักทาํ ความทนทรมานเพราะ การเกดิ และการตายนใ้ี หส้ินสดุ ลงได สงิ่ แรกท่สี ดุ ซึ่งพระองคไ ดทรงเหน็ อยา งชัดแจง ดวยญาณอนั คมกลาของพระองค ณ ทปี่ ระทบั ภายใตต นโพธ์ใิ นคนื น้นี ั้น ก็คอื ลําดับอนั ยาว ยืดแหงการเกิดและการตายของพระองค ตลอดกปั ปตลอดกัลปเ ปนอันมากวาไดเ คยทรงเกดิ เปนสัตวม ีรปู กายตา งๆ กนั มาแลว ทุกชนดิ ไดเ คยมี ชีวติ ตา งๆ กันมาแลวครบทุกแบบ ท้งั อยา งตํ่าและอยางสูง ทั้งอยางเลวและอยา งประเสรฐิ ท้ังอยางหยาบและอยา งปราณตี จนกระท่งั การเกิดคร้งั สุดทา ยไดท รงมกี าํ เนิดเปนพระโอรสของพระเจาสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายานี้ ความเหน็ แจงในขอ นี้ เรียกชอ่ื วา ปพุ เพนวิ าสานสุ สติ ญาณ พระองคไ ดท รงเพง พจิ ารณาดวยญาณอันแรงกลาตอไปอีก ก็ไดทรงทราบถงึ ขอที่สตั วท ้ังหลาย ไดเกดิ มาแลว ตายไป และไปกาํ เนดิ ในทอี่ ่ืน อกี ตามแตก รรมท่ีตนไดกระทาํ ไว โดยลกั ษณะอยางไร พระองคไ ดท รงเหน็ ชัดซ่งึ คนบางจําพวก ไดเ กิดเปน คนมคี วามสขุ เพราะกรรมทต่ี นทาํ ไว นั้นเปน กรรมดี และคนบางพวกเกดิ มามีความทุกข เพราะกรรมทีต่ นทําไวนนั้ เปน กรรมชว่ั พระองคไ ดท รงเห็นชดั วาท้งั หมดนี้ เปน เพราะกรรม ของสตั วน ัน้ ๆเอง หาใชสง่ิ อ่นื ใดไม ทีท่ ําใหเกิดเปน สุขหรอื เปน ทกุ ข ในโลกนแี้ ละโลกอ่นื ทุกๆ โลก ความเห็นแจง ในลักษณะเชน น้ีเรยี กวา จตุ ูปปาตญาณ และในท่ีสดุ สงิ่ สุดทายและใหญย่ิงท่ีพระองคไ ดทรงประสพ ในคนื อนั สําคัญนนั้ คอื พระองคไ ดทรงทราบและไดท รงเห็นอยา งชดั แจง ปราศจากความสงสัยอยา งสิน้ เชิง วา มนั ไมเ ปนการถกู ตองปลอดภัยแตอยางใด ในการท่ีมนษุ ยเราจกั ปลอยชีวติ น้ี ใหเปนไปตามความ เปล่ียนแปลงของโลกอยา งไมมีทสี่ น้ิ สดุ และวาไมเปนความดีแตอยางใด ในการทีม่ นุษยเราจําตองเปนผซู ่ึงประเด๋ยี วสุขประเด๋ียวทกุ ข ข้ึนๆ ลงๆ เหมือนเรอื ลํานอยๆ ลอยไปในทะเลอันมคี ลน่ื ลม พระองคไดทรงทราบวา เหตซุ ง่ึ ทาํ ใหคนเราเกดิ มา เพ่ือกระโจนข้ึนกระโจนลง ไปตามคลื่นแหงความเปล่ียนแปลงในโลกนี้นนั้ เปน เพราะ คนเหลา น้นั หลงรักและหลงตดิ ในความสุขอนั เปนมายา ซง่ึ เกิดขน้ึ เลก็ ๆ นอ ยๆ เปนครัง้ เปน คราวในโลกนี้ พระองคไดทรงเห็นวา สรรพสตั วต ดิ อยูในบว งของการเรยี นเกิดในโลกนเ้ี หมือนเน้อื ตดิ บว ง เพราะมนั ละโมบในเหยือ่ เล็กๆ นอยๆ ทเ่ี ขาวางไวล อ มัน และพระองคไดท รงทราบอีกวา ถา คนเราไมป ระสงคจะตดิ อยใู นบว งของการเกิดเชนนีแ้ ลว ก็มหี นทางทางเดียวเทาน้นั กลา วคือการดบั เสยี ซง่ึ ความตะกลามตอ ความเพลดิ เพลนิ ทกุ ๆ อยางทเี่ ขาไดพ บไดเ หน็ และไมป ลอยตวั ใหตกจมลงไปในสง่ิ ซึ่งยวั่ ยวน และไมปลอ ยใจใหท ะเยอทะยานไปตามส่งิ ทโ่ี ลกนีม้ ีไวย วั่ มนุษย และตอจากนั้น พระองคไ ดท รงทราบถงึ หนทางซ่งึ เมอ่ื บคุ คลใดไดป ฏิบตั ิตามถงึ ท่ีสุดแลว จะสามารถทาํ ตนใหห ลีกหา งจากความ

ทะเยอทะยานและความหมกจมอยใู นอารมณแ หง ความย่ัวยวนเหลานั้นได เพราะเขาจะไดพ บและพอใจในสง่ิ ซึง่ ดกี วาและสูงกวา ซึง่ หลังจากนนั้ แลว เขาจกั ไมห มุนกลับมาพอใจในโลกทม่ี ีเพยี งส่ิงย่วั ยวน และเปนโลกแหงความเปลีย่ นแปลง ความทุกขทรมานและความสขุ ทเ่ี ปน มายา เชนน้นั อีก แตจะสามารถลุถึงความสุขอนั จรงิ แทแ ละถาวร กลา วคือ พระนพิ พาน มรรคหรอื หนทาง อันน้ี พระองคท รงเรยี กวา “ทางอนั ประเสรฐิ ประกอบดว ยองคแปด” เพราะเปนหนทางท่ดี าํ เนินโดยบุคคลผูมีความมงุ หมายและความปรารถนาตอสิ่งทปี่ ระเสรฐิ และเปนหนทางที่ ประกอบอยูดว ยสว นประกอบแปดประการ ความเหน็ ในส่ิงท้งั สคี่ ือ ความทุกข มลู เหตขุ องความทุกข การดับมูลเหตุของความทุกข และวิธีดับมี องคแปด เหลานร้ี วมเรยี กวา อาสวักขยญาณ สว นประกอบประการท่ีหนึ่ง ของหนทางอนั ประเสริฐประกอบไปดวย องคแปดประการ ซ่งึ จกั ดาํ เนินไปใหพ น จากสิ่งชั่วรา ยทุกชนดิ ตามท่ี พระองคทรงสอนนน้ั เรยี กวา “สมั มาทฏิ ฐิ” คือความเหน็ หรอื เขาใจอันถูกตอง ความเหน็ อนั ถกู ตอ งนห้ี มายถึงเห็นทกุ ส่งิ ๆ ในโลกน้ี แมก ระทง่ั ความเปนอยขู องผนู ้นั เองวา เปน สงิ่ ทเ่ี ปลยี่ นแปลงอยเู สมอ ไมมีความเปนแกน สารและความถาวรทแ่ี ทจ ริง และมีแตจะนาํ ไปสูค วามทกุ ขทรมาน อยางเดยี ว ถา หากเราไปหลงติดพนั มนั อยา งใกลชดิ ความเห็นอันถกู ตอ งนี้ ยังหมายความไปถึงการเห็นวา การทําความดียอ มนําไปสูความสขุ และการทําความชว่ั ยอมนาํ ไปสูค วามทกุ ขเ สมอไป ทัง้ ในโลกน้ีและโลกอน่ื สว นประกอบประการทีส่ อง ของหนทางอันประกอบดวยองคแปดประการนนั้ เรยี กวา “สมั มาสงั กัปปะ” คือความมุงหมายอันถกู ตอ ง ความ มงุ หมายอนั ถกู ตองน้ี หมายถึงเมอื่ ไดเหน็ สิ่งตางๆ ทกุ สง่ิ ในโลกนีว้ า เปนอยางไรโดยแทจ รงิ แลว ก็ถอยหางออกมาเสยี จากการเขาไปมวั เมาคลกุ คลีอยา งหลงใหลในส่งิ เหลา นัน้ ความมงุ หมายอนั ถูกตองนย้ี งั หมายถึงความไมมุง จะทํารายเบยี ดเบียนสตั วท้ังหลาย ซง่ึ ลว นแตกาํ ลงั หลงใหลอยู ในโลกนจี้ นไดรบั ความทุกขอยูทงั้ กายและทางใจ แตมุง หมายในอันทีจ่ ะรกั ใครแ ละสงสาร แลวชว ยเหลอื เพอ่ื สัตวเ หลา นนั้ ใหพน จากทกุ ขซ ง่ึ เขา กําลงั ไดรบั อยูใหส ุดความสามารถท่ีจะชวยได สง ประกอบประการทส่ี าม ของหนทางอันประกอบดว ยองคแ ปดประการนั้นคือ “สัมมาวาจา” ไดแก การพูดจาทถี่ กู ตอง หมายถึงการพดู จริง พดู ไพเราะ พูดใหเกิดความรักใครส ามคั คี และพูดแตส ่งิ ทม่ี ีประโยชน กลา วอีกอยา งหนึ่ง กห็ มายถงึ การเวนจากการพูดเท็จ พดู หยาบคาย พูดยยุ ง ใหแ ตกรา วและพดู อยางเขลาๆ ไรส าระ สว นประกอบประการทีส่ ่ี ของหนทางอนั ประกอบดว ยองคแ ปดประการนัน้ เรยี กวา “สัมมากมั มนั ตะ” หรอื การกระทาํ ท่ถี กู ตอง หมายถงึ การเวนเสียจากการฆา การลักขโมย การลว งเกนิ ของรักของผอู ืน่ และการดมื่ นา้ํ เมา ซ่ึงทําใหผูด ื่มไรส ตจิ นถึงกับทําส่งิ ตา งๆ ซ่งึ ใครๆ กไ็ ม ปรารถนาใหท าํ สวนประกอบประการทหี่ า ของหนทางอันประกอบดว ยองคแ ปดประการนัน้ คือ การเลยี้ งชีวิตดวยวธิ ีท่ถี ูกตอ ง อนั เรียกวา “สัมมาอาชวี ะ” หมายถึงการประกอบอาชพี เลย้ี งชวี ติ โดยวิธีท่ีไมทําอันตรายใหเ กิดขึ้นแกบุคคลใดๆ หรอื สตั วใ ด สวนประกอบประการทหี่ ก ของหนทางอันประกอบดวยองคแปดประการน้นั คอื ความพากเพยี รอยา งถกู ตอ ง อนั เรียกวา “สัมมาวายามะ” หมายถึงการพยายามบังคับความคิดนกึ และความรูสึกไมใหเกิดความคิดชั่ว ทาํ ชั่วขึ้นในตน การพากเพียรทาํ ความคิดชวั่ และทาํ ช่ัวทเี่ กิดขึ้นแลว ใหส น้ิ ไป และยังหมายถึงการพากเพยี รทาํ ใหเ กดิ ความคิดทดี่ แี ละการกระทําทดี่ ีขน้ึ ในตน และการพากเพียรรักษาความดีเหลานน้ั ใหย ังคงมอี ยู หรือใหแนน แฟน ม่ันคงยิง่ ขน้ึ สว นประกอบประการท่เี จ็ด ของหนทางอนั ประกอบดว ยองคแ ปดประการนั้น ไดแ ก ความระลกึ อยางถูกตอง อนั เรียกวา “สมั มาสติ” หมายถงึ การระลึกหรอื สาํ นึกไวอ ยา งไมม ลี มื วารางกายของเราน้ี โดยแทจ ริงแลว คอื อะไร เปนอยา งไร และเพียงเทาใด เพื่อไมหลงสาํ คัญผดิ ให ดกี วาหรือเกินกวา ความเปน จริงของมนั และหมายถงึ ความระลกึ ไวอยางถูกตองวา การเคล่อื นไหวและการกระทําหรอื หนา ที่ตางๆ ของรา งกายนี้ ก็เปน การเคล่อื นไหวการกระทําแลหนาทข่ี องมนั ซึง่ จะตองเปน ไปตามธรรมชาตอิ ยา งนนั้ เมอ่ื เกิดผลอนั ใดข้นึ อยาไดหลงสาํ คญั ผิด หลงรักหลง ชังใหม ากไปกวา น้นั ความรสู ึกอยางถกู ตองนี้ ยังหมายถึงความระลกึ วา จติ ของเรานั้นเปนสิ่งซงึ่ เปลี่ยนแปลงท้ังในทางความคิดและความรสู ึก รุดหนาเร่ือยไป ไมมหี ยดุ หรือไมซํ้ากันแมเพียงอยา งเดยี ว และในขน้ั สดุ ทาย ยงั หมายถงึ การระลึกไวโ ดยไมมกี ารหลงลืม ในขอปฏิบตั ิมอี ันดบั ตางๆ กัน ด่งั ที่พระพุทธเจาไดต รสั สอนไวแ กเรา เพอ่ื ปฏบิ ตั ิและกระทําจติ ใหหลดุ พน จากสง่ิ ที่ผกู มัดหอหุม จนกระทงั่ ลุถึงความเอาตวั รอดได อยางสมบูรณ อนั เรยี กวา “พระนพิ พาน” สว นประกอบประการที่แปด อันเปนประการสุดทา ยของมรรคมอี งคแ ปดนั้นหมายถึง ความดํารงจติ ไวอยางถกู ตองอันเรยี กวา “สมั มาสมาธ”ิ ไดแกก ารไมป ลอ ยใจของเราใหฟุง ไปตามทมี่ ันอยากจะฟงุ แตจักควบคุมมันไวใ หม ั่นคงในสิง่ ทเ่ี ราเห็นวามันควรจะดาํ รงอยใู นสิง่ น้นั จนกระท่งั เกดิ ผลเปน ความรู หรือความเขา ใจอันถกู ตอ ง ในส่ิงซ่งึ เราประสงคจะรหู รือจะเขา ใจ หรือเพอ่ื กระทําใหเปนผลสาํ เร็จในสิง่ ทเ่ี ราประสงคจะทํา ทั้งหมดน้ี คอื สว นประกอบแปดประการของหนทางอนั ประเสรฐิ อันประกอบดว ยองคแ ปด ซึ่งเจา ชายสิทธตั ถะโคตมะ ผซู ่งึ บัดนไี้ ด กลายเปนพระพทุ ธเจา ไปแลวนน้ั ไดทรงคน พบท่โี คนแหงตน โพธ์ิ ในตาํ บลอรุ ุเวลา เมอื่ 2,500 กวา ปม าแลว สว นประกอบ 3 ประการในเบ้ืองปลาย คอื ความพากเพยี รอยา งถูกตอ ง ความระลกึ อยางถกู ตอ ง และความดาํ รงจิตไวอยางถกู ตองนั้นมี ความหมายกวา งไปถงึ กบั วา ผทู ่จี ะปฏบิ ัติตามพระพุทธเจา อยา งใกลชดิ จกั ตองกระทําจนสดุ กําลังความสามารถของตน จนถงึ กบั สละเหยา เรอื น

ออกบวชเปนภิกษุ จึงจะมโี อกาสกระทําไดอยา งสมบูรณ แตอยา งไรก็ตามคนทุกคนไมว า จะเปน ภิกษุหรือไม ลว นแตสามารถประพฤตใิ น หลกั ธรรม 3 ขอน้ี ในอัตราที่พอเหมาะแกความเปนอยขู องตนไดทุกๆ คน ตามมากตามนอ ย ตามความหมายแหงขอ ธรรมนน้ั ๆ ดงั ที่กลาวแลว สาํ หรับหลกั ธรรม 2 ขอ ขา งตน คอื ความเห็นอนั ถูกตอ งและความมุงหมายอนั ถูกตองน้นั กเ็ หมือนกนั จะทาํ ใหด ีถึงท่สี ุดได ก็เฉพาะบุคคลผู ซึ่งไดพยายามเปนปๆ ในการฝกและการเจรญิ สมาธิภาวนา จนกระทัง่ เขาใจและเห็นแจงในความจริงของสิง่ ทง้ั ปวง โดยทํานองเดยี วกบั ที่ พระพทุ ธเจา ไดทรงเหน็ ถึงกระน้ันคนทุกคนไมว าจกั เปน ใคร ลวนแตควรพยายามประพฤติในหลกั ธรรม 2 ขอนี้ ตามมากตามนอ ยเทาทต่ี นจะพงึ กระทาํ ไดเ ชนเดยี วกัน ในบางครั้งเขาจะเห็นวา สิง่ ทกุ ส่ิงรอบตัวเขา มไิ ดสวยงามนารักดังท่ีมนั ปรากฏแกเขา และในบางคราวเขาจักเกดิ ความ แนใจวา วันหน่งึ เขาจะละทิง้ ส่งิ ซึง่ เปน มายาตา งๆ ในโลกน้ี และหันไปสนใจกับสง่ิ ซึ่งดีกวา เจริญกวา และถาวรกวา นน้ั ไดเปน แนแท แตส ําหรับหลักธรรม 3 ประการ ในตอนกลางของมรรคมีองคแปดประการนน้ั เปนหลกั ธรรมซึ่งบุคคลทุกประเภทสามารถประพฤตปิ ฏบิ ตั ไิ ด เต็มความสามารถของตน ทุกคนควรพยายามประกอบอาชพี ทไี่ มเ ปน อนั ตรายตอ บุคคลผูใด ท้ังโดยทางกายและทางวาจา ทกุ ๆ คนควรพยายาม และสามารถท่ีจะพยายาม เพอื่ จะหลีกเลี่ยงเสยี จากการพูดชั่วและทาํ ชั่ว และแลว เขาจะไดร ับผลตอบแทนอยา งเพียงพอ เพราะเทากับเปน การแผว ถางหนทางของตนเองเพอ่ื ในวนั หนึ่งเขาจะสามารถควบคุมความคดิ และฝก จิตของตน จนกระทั่งลถุ งึ วชิ ชาและความเหน็ แจง อนั แทจรงิ อันเปน วชิ ชาและความเหน็ แจง ซ่งึ พระพุทธเจา ไดทรงคนพบและทรงสอนไว ซงึ่ ทรงเรียกวา “ปญ ญา” (ญาณ) เม่ือเขาไดล ถุ ึงปญญาอันแทจรงิ เชนนแ้ี ลว จิตกจ็ ะไมย ดึ ถอื พัวพนั หลงใหลในสิง่ ใดๆ ในโลกไหนๆ อกี ตอไป และเพราะไมย ึดถอื เชน น้ี จิตก็ จักไมกอ ใหเ กิดนามและรูป (ใจและกาย) ขน้ึ ในโลกไหนๆ ขอน้ีหมายความวา เมอื่ ไมม ีการเกดิ มาในโลกแลว ก็ไมมคี วามทุกขทรมานใดๆ ชนดิ ที่ เกิดขึน้ แกบุคคลผเู กิดมาในโลก ปรากฏขึน้ อีกตอ ไป และความทุกขทั้งปวงกถ็ ึงทส่ี ดุ และดบั หมดไปไมม ีเหลอื สง่ิ นแ้ี หละ พระพุทธองคท รงคนพบทีโ่ คนแหงตนโพธิ์ คอื พระองคท รงคน พบหนทางอันประเสรฐิ อันประกอบดว ยองคแ ปดประการ ไดแ ก ความเหน็ อันถกู ตอง ความมุง หมายอนั ถูกตอง การพูดจาอันถูกตอ ง การกระทําอนั ถกู ตอง การเลี้ยงชีวติ อนั ถกู ตอง ความพากเพยี รอันถูกตอ ง ความระลกึ อันถูกตอ ง และความดํารงจิตอยางถกู ตอ ง ซงึ่ ทั้งหมดน้ี ยังสรุปเรยี กโดยชอื่ อ่ืนไดอีกวา “แนวทางปฏบิ ตั ิ 3 ประการ” คอื การประพฤติ ทางกาย วาจา และการอบรมจติ จนเกิดความรแู จง หรือเรยี กโดยภาษาบาลวี า “ศลี สมาธิ ปญญา” ดังนี้

พทุ ธประวัติ ฉบับสาํ หรับยุวชน พุทธทาสภิกขุ แปลและเรียบเรียงจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภิกษสุ ลี าจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 10 ทรงประกาศพระธรรม ในขณะน้ี พระองคท รงมีอาการเปรียบเสมอื นบคุ คลทไี่ ดพ ยายามวายนํ้าฝา กระแสคล่ืนลมมาเปน เวลานาน จนกระท่งั ไดถ ึงฝงดวยความ ปลอดภัย แลวนอนลงชัว่ ครหู นึ่งเพือ่ บรรเทาความเมือ่ ยลา ของแขนและขา แลว ยืนมองดูกระแสนาํ้ ซ่ึงเตม็ ไปดว ยภยั อนั ตรายอันพระองคไดว า ย ฟน ฝามาดว ยความยากลาํ บาก จนกระท่ังถึงฝงดวยความสวสั ดี หรอื มิฉะน้นั เปรียบเหมือนบุคคลซง่ึ ไดไ ตข ึน้ ไปดว ยความยากลาํ บาก จนถงึ ยอด ภูเขาสงู มอี ากาศเยน็ สบายนง่ั ลงพักเหนอ่ื ย มองดโู ดยรอบขาง มคี วามสบายกายและสบายใจ เหลยี วลงมาดูแผน ดินเบ้ืองลางอันเต็มไปดวยลม รอนและฝนุ รอ นที่ตนไดผานมาแลว แตหนหลัง ก็รูสึกเปน สุขใจ คือบัดน้ีความพยายามฟน ฝา อยา งกลาหาญเด็ดเดีย่ วของพระองคไ ดป ระสพ ผลสาํ เรจ็ โดยครบถว น ในทามกลางความเงยี บสงดั ของปาตาํ บลอุรเุ วลาน่ันเอง พระองคผูทรงประสพชัยชนะในสงครามอนั โหดรา ยน้ีแลว ไดเสดจ็ ประทบั พกั ผอ น เสวยวมิ ุติสขุ คือความสขุ เกดิ จากความรอดพนจากการ ทนทรมานนานาประการในการตอ สูกบั กิเลส และไดทรงลิ้มรสของศานติธรรมอนั พระองคทรงชนะแลว และเปนผลของความรูหรือความจรงิ ซงึ่ พระองคไดท รงประสพในบัดนี้ เมอื่ พระองคไดเ สดจ็ ประทบั อยูภายใตตน ไมแ หงชยั ชนะ กลาวคือตนโพธน์ิ ัน้ จนเปนท่ีพอพระทยั แลว ก็ได เสด็จไปยงั ตนไทรในบรเิ วณใกลเคียงกนั อีกตนหนงึ่ ซ่งึ พวกเดก็ เล้ยี งแพะในถน่ิ น้ันใชเปนทน่ี งั่ พกั รอ นเฝา สูงแพะในเวลากลางวนั เม่อื พระองคกาํ ลงั ประทับอยู ณ ทนี่ น้ั เผอิญมีพราหมณค นหนึ่งผา นมาทางนน้ั ไดทักทายพระองคตามธรรมเนียม แลวไดตง้ั คําถามขน้ึ ถาม พระองควา “ทา นโคดม ! อะไรทีท่ าํ คนใหเปน พราหมณทแ่ี ทจ รงิ ได คณุ สมบตั อิ ะไรบา งที่เขาจะตอ งแสวงหามาใสตน เพื่อทาํ ใหเ ขาเปนบุคคล แหง วรรณะสงู อยา งแทจรงิ ” พระผมู ีพระภาคเจาไมท รงรูสกึ หรือไมทรงสนพระทัยในความเยอหยิง่ ของพราหมณผนู น้ั ที่กลา วแกพระองคด วยอาการออกชอ่ื สกลุ ตรงๆ อนั เปนความไมเคารพ แทนทจ่ี ะกลา วดว ยคาํ เปนตนวา “ขาแตพ ระคณุ เจา ” หรอื “ขาแตพระผมู ีพระภาคเจา” ดังน้เี ปนตน พระองคไ ดต รัสตอบ อยางตรงไปตรงมาดวยคาํ ซงึ่ ผูกข้ึนเปน กาพยมใี จความวา “พราหมณท่แี ทจ รงิ คอื ผทู ่ีลอยบาปเสยี ไดทงั้ หมด ละความเยอหยงิ่ ได สํารวมคนได ไรมลทนิ รอบรูและประพฤติพรหมจรรย คนเชน นี้ เทานนั้ ทค่ี วรเรยี กวา เปน พราหมณได เขาเปนผูท ี่ไมประพฤตอิ ยางชาวโลกอีกสบื ไป” พราหมณผนู ้ันไดเดินหลกี ไป พรอ มกับบนพึมพํากบั ตวั เองวา “พระสมณะโคดมนี้ รูเ รอ่ื งในใจของเรา พระสมณะโคดมน้ี รูเรื่องในใจของ

เรา” ดงั นี้ สองสามวนั ตอ มา ขณะทพ่ี ระผูมพี ระภาคเจา ยังคงประทบั อยูทโ่ี คนตนไมข องเด็กเลยี้ งแพะนั้น มพี อ คา 2 คน ซ่ึงนําสินคา มาขายยังประเทศน้ี ไดเ ดนิ ผานมา เขาไดเห็นพระองคป ระทบั นั่งอยูใ ตตนไมน ัน้ ดวยอาการอนั สงบและอ่มิ เอบิ เหมอื นบคุ คลทไ่ี ดประสพชัยชนะในการตอ สอู ยาง ใหญห ลวงแลวกําลังพอใจในผลแหงชัยชนะน้ันอยู เขาไดน อ มนําอาหารอยา งดเี ขา ไปถวาย และจับอกจบั ใจในถอ ยคาํ และความงามสงา ของ พระองค และไดท ลู ขอรองใหพระองคท รงยอมรับเขาเปน สาวกผนู ับถือพระองค ดวยเหตนุ ้ีพอ คา สองคนน้ี ซึง่ มีนามวา “ตปุสสะ” และ “ภัลลิ กะ” จึงไดเ ปนบุคคลแรกในโลก ซงึ่ ไดเปนสาวกของพระสมั มาสมั พทุ ธเจาพระองคน้ี เม่ือพระองคท รงพกั ผอ นเปนเวลานานพอแกพ ระประสงคแลว ก็ทรงเริ่มพระดาํ ริถงึ สงิ่ ทีพ่ ระองคควรกระทาํ ตอ ไป พระองคไดท รงพบส่ิงซง่ึ พระองคทรงแสวงแลว และทรงรูสกึ วาไมควรจะเกบ็ ความรูอนั ประเสริฐน้ไี วเ งียบๆ ควรจะเผยแผใหรูกนั ทั่วๆ ไป เพ่ือใหคนเหลาอน่ื มีสว น ไดรับประโยชนจ ากความรูอันประเสรฐิ น้ีดว ย พระองคท รงดาํ ริเชน นข้ี ้ึนในพระทยั เปน ขอ แรก แตแ ลว ความคิดอกี อันหนง่ึ ไดเกิดข้ึนขัดขวาง โดยทรงราํ ถึงแกพระองคเองวา “สิง่ ทเ่ี ราไดรู แลว น้ีเปนสง่ิ ทเี่ ขา ใจไดย าก มนั เปนของท่ีลึกซ้งึ และละเอียดสุขุม คนที่มคี วามคิดจรงิ ๆ มีปญ ญาแจมใสจริงๆ เทาน้นั จึงจะสามารถจับฉวยเอา ใจความไดอยา งถูกตอ งจนไดรับผล แตค นทีม่ คี วามคิดและปญ ญาอันแจมใสนนั้ มอี ยูท ไ่ี หน คนสวนมาไมประสงคจะทนความยากลาํ บากในการ คิดและพนิ ิจพิจารณาอยา งลึกซ้งึ เขาชอบกนั แตสงิ่ งายๆ ชอบกนั แตส ง่ิ ทีท่ ําความสนุกสนานเพลิดเพลนิ ใหแ กตน หวั ใจของเขาเอยี งไปแตใ นส่ิง ซง่ึ เขาเหน็ วาจะนําความสนุกสนานบนั เทงิ เริงรื่นมาใหแ กเ ขาเทานั้น เขาทง้ั หมดพากันปลอยตวั ไปในเร่อื งความเพลดิ เพลินทางกามารมณ หากเรา จะสัง่ สอนธรรมะนีแ้ กเขา เขากไ็ มเ ขาใจวาเราไดพ ดู ถงึ เรอ่ื งอะไรกะเขา เขาจกั ไมส นใจ แลวเราก็จักเหนอื่ ยเปลา” พระผูมีพระภาคเจาทรงดําริในพระหฤทยั เชน นี้ จนมีพระทยั นอ มไปในทางทีจ่ ะไมทรงส่งั สอนส่งิ ซึ่งพระองคไ ดตรสั รูแกผใู ด แตจ ะทรงเกบ็ ไวเพือ่ ประโยชนแกพ ระองคแ ตผ เู ดียว เพราะไมท รงเห็นวา จะมผี ใู ดในโลกที่ตองการจะทราบหรอื จะพอใจ ในเมอื่ พระองคจ ะบอกเลาสิ่งนีใ้ หแ ก เขา แตอ ยางไรกต็ าม ความดําริของพระองคหาไดหยดุ เสยี เพยี งเทา นีไ้ ม เพราะถาเปนดังนน้ั แลว ใครๆ กห็ ามไิ ดรูธรรมะของพระองค ดังเชนทุก วันนี้ พระองคไดท รงพยายามตีปญ หาเร่ืองนีต้ อไปอกี จนกระทง่ั เกดิ มคี วามคดิ อันใหมข้นึ แกพระองคดั่งตอไปนี้ “ถูกแลว มนั เปน ความจริงในขอทวี่ า คนแทบทั้งหมดในโลกนี้ไมปรารถนาจะฟงธรรมะซึง่ เราไดคนพบ และจะไมเ ขา ใจแมว า เราจะได พยายามบอกกลาวแกค นประเภทน้ี เขารกั แตสิ่งทง่ี ายๆ สนกุ สนานและไมท ําใหเ ขายงุ ยากใจในการคดิ แตแ มจะเปน อยางนัน้ คนทุกคนในโลก ไมเ หมือนกนั มคี นบางพวกแมจ ะมีจาํ นวนไมมากนกั ซง่ึ กําลงั ไมป ระสพความพอใจดว ยวิถแี หง การดําเนินชวี ิตชนิดท่ีเขากาํ ลังกระทาํ อยู เขา กาํ ลังตองการจะรูใหมากไปกวา ทีเ่ ขารูอยูในบดั น้ี เขาไมพ อใจท่ีจะดําเนนิ ตนไปในทางทเี่ อาแตความสนกุ สนานเพลดิ เพลิน มันจะเปนทน่ี า สมเพชสักเพยี งใดถา รธู รรม ซงึ่ สามารถนําความสขุ กายสขุ ใจมาใหแกคนประเภทนไี้ ด แตแลวกลบั เก็บเงียบไวไมบ อกกลา วใหเขาไดย นิ ไดฟง เลย ไมไ ด ! เราจกั ไมทาํ เชน นน้ั เราจกั ออกไปเดีย๋ วน้แี ลว และจะทาํ คนจําพวกน้ันทกุ คนท่เี ราพบ ใหไ ดร ูไดเขา ใจถึงความจรงิ อันประเสรฐิ ส่ี ประการ ซ่งึ เราไดคน พบแลว คอื ความจรงิ เรื่องทกุ ข และตน เหตุของมัน เรอ่ื งความไมม ที กุ ขเ ลย และวิธที ่ีจะใหไดรบั ความไมมที กุ ขน นั้ คนทฟ่ี ง แลวพอจะเขา ใจไดก ย็ งั มีอยู แมจะมีเพียงจาํ นวนนอ ยก็ตาม มนั เหมือนกับในสระบวั ซ่งึ มีบัวหลายๆ ชนดิ เกดิ อยู เปน สีชมพบู า ง น้ําเงนิ บา ง ขาวบา ง บวั สวนมามีดอกออนโผลข้ึนมาจากกอ ซ่งึ ยงั จมอยู ใตด ินไดหนอยหน่ึง พอพน จากโคลนบา ง ขึน้ มาไดค รึง่ ทางระหวา งพ้ืนดินกบั ผดิ น้ําบา ง ข้นึ โผลมาถงึ ผวิ นํา้ บา ง ถกู สัตวกดั กนิ เสียกอนทจี่ ะได บานบาง สวนทีโ่ ผลขึ้นพน นาํ้ รับแสงแดดเบกิ บานอยใู นอากาศน้นั มีเปนจาํ นวนนอ ยกวากจ็ รงิ แตก็ยังมอี ยู! ขอ น้ฉี นั ใด สตั วทงั้ หลายก็เปน ฉัน นั้น บางพวกใจของเขาเอาแตจ ะจมอยใู นโคลนแหงกเิ ลสแลตัณหา แตบางพวกมิไดจ มอยูใ นโคลนมากเหมอื นอยา งนนั้ มกี ิเลสแลตัณหาครอบงาํ แตเพยี งเลก็ นอย คนจาํ นวนหลงั นี้เองจะสามารถเขาใจคาํ สัง่ สอนของเรา เมื่อเขาไดยินไดฟงเราจกั ออกไปเดีย๋ วนี้ จะตองใหเขาไดยินไดฟ ง และ สอนคนทกุ คนที่ควรสอน” พระผูมีพระภาคเจา ทรงเร่มิ ระลกึ วาพระองคค วรจะสอนบคุ คลใดเปนคนแรก ซงึ่ จะพอใจฟง และเขา ใจไดโดยเรว็ ลาํ ดับนั้น พระองคทรง ระลกึ ถึงอาจารยเ กาของพระองคเ อง คอื ดาบสช่ือ อาฬาระ กาลามะ ซ่ึงมคี วามรู ความคิด ความเฉลียวฉลาด และความบริสทุ ธอ์ิ ยูเ ปน อนั มาก แลว พระองคทรงราํ พึงแกพ ระองคเ องวา เราจกั ไปสอนดาบสอาฬาระ กาลามะ กอนใครอื่น ทา นผูนี้จกั เขา ใจไดโดยรวดเร็ว เม่อื พระองคท รงเตรียมพรอมทจ่ี ะเสดจ็ ไปสูส ํานกั ดาบสอาฬาระ กาลามะ ก็มใี ครบางคนไดม าแจงขาวแกพระองคว า อาฬาระดาบสนัน้ ไดถ ึง แกก รรมเสียแลว พระองคจงึ ทรงนกึ ถงึ บุคคลอน่ื สืบไป กร็ ะลกึ ไดถ ึงดาบส อุทกะ รามบุตร ผซู ึง่ มีสตปิ ญญาพอที่จะรูธ รรมะนไี้ ดโดยแลว อยา ง เดยี วกนั แตในท่สี ดุ กท็ รงทราบวาดาบสผูนี้ถึงแกกรรมเสยี แลวเม่อื คนื ทีแ่ ลว มา พระองคท รงระลึกหาบคุ คลท่ีเหมาะสม ท่ีจะรบั คาํ สง่ั สอนเปน คนแรกท่สี ุด ตอไปอกี ในทส่ี ดุ ก็ทรงระลึกไดถงึ ภกิ ษหุ า รูป ที่เคยอยูเ ฝา พระองคในคราวเมอื่ ทรงบําเพญ็ ตบะทรมานกาย ณ ตําบลอุรเุ วลา เมื่อไดท รงทราบวา บดั นภี้ ิกษุเหลา นน้ั อาศยั อยทู ี่ ปาอสิ ิปตนมคิ ทายวัน ใกล เมืองพาราณสี แลว ก็เสดจ็ จากตําบลอรุ เุ วลา ตรงไปยังเมอื งพาราณสี (ซ่งึ มีระยะทางประมาณ 150 ไมล) เมอื่ พบกบั ภกิ ษุเหลา นนั้ พระองคได

เสด็จไปโดยลาํ ดับๆ จนกระทงั่ เย็นวันหนงึ่ กเ็ สด็จถงึ ปา อิสิปตนมคิ ทายวนั อนั เปนที่ซง่ึ นักบวชหา รปู น้ันกําลงั พกั อาศยั อยู * (* ในระหวางทาง ตอนน้ี พระองคไ ดพ บอาชวี ก ชื่ออุปกะ และไดส นทนาโตต อบกนั ขณะหน่ึง เขาไมเชอื่ วา พระองคเปนพระพุทธเจาผตู รัสรธู รรม และไมไ ดรับ ประโยชนอ ะไรจากการไดพบกบั พระองค) เมือ่ นักบวชหา รูปนัน้ เห็นพระองคเสดจ็ ดาํ เนินมาแตไ กล ก็ไดก ลาวแกก ันและกนั วา “ดูโนน ! พระสมณโคตมะกาํ ลงั ตรงมาทนี่ ่ี พระสมณ โคตมะผมู กั มาก ซง่ึ ไดส ละความเพียร เวยี นกลับไปสคู วามเปนผูอ ยอู ยางสะดวกสบาย พวกเราอยา พูดกะทาน พวกเราอยาออกไปตอนรับ และ แสดงความเคารพใดๆ อยาออกไปรับบาตรจีวร เราเพยี งแตตง้ั อาสนะไวผ ืนหน่ึงท่ีนี่ ถาทานอยากน่ัง จะไดนง่ั ถาทานไมน ง่ั กใ็ หท านยืน ใครท่ี ไหนจะไปตอ นรบั คนทีไ่ มม อี ะไรแนว แนเ ชน ทา นผูน ี้ ” แตในทส่ี ดุ เม่ือพระองคไ ดเสด็จดาํ เนินใกลเ ขามา นกั บวชทง้ั หา นัน้ ไดสังเกตเห็นอะไรบางอยางอันแสดงวา พระองคม ิไดทรงเปน อยางที่เขา เคยนกึ มาแตกอน ในบัดนี้มอี ะไรบางอยา งปรากฏอยูทพี่ ระองค เปนความสงา งามและสูงสง มีแววแหง ความประเสรฐิ อยา งท่เี ขาเหลา น้ันไมเคย เห็นมากอ น นักบวชท้ังหาน้นั ไดมคี วามตน่ื เตน ในใจจนกระทัง่ ลมื ตวั เอง และลืมขอนดั หมายทไ่ี ดตกลงกันไว ไดพ ากนั กระทาํ ทกุ ส่งิ ทุกอยา ง ตามทตี่ นอยากจะทาํ ในบัดน้นั บางคนไดร ีบเดินตรงไปตอ นรับพระองค ถวายความเคารพ และรับบาตรรบั จวี รจากพระองคด ว ยความนอบนอม บางคนรีบเรง ตระเตรียมอาสนะเสียใหมเ ปน พิเศษสาํ หรับพระองค และบางคนรบี ไปหาน้าํ มาชําระพระบาทของพระองค เมอ่ื พระผมู พี ระภาคเจาประทบั น่ังบนอาสนะ ซึง่ นกั บวชทงั้ หานัน้ จัดถวายแลว ไดตรสั แกเขาเหลา น้ันวา “ฟง กอนภกิ ษทุ งั้ หลาย! เราไดพบ หนทางแหง อมฤตธรรมแลว เราจะบอกทา น เราจะแนะใหท าน ถาทา นท้ังหลายฟงและศึกษาและปฏบิ ตั ติ ามที่เราบอก ไมนานเลย ทา นทั้งหลาย จกั รูไ ดด ว ยตนเอง โดยไมตอ งรอถงึ ชาตหิ นา แตจ ักรูไ ดท ีน่ ี่ ในบดั น้ี ในชีวิตน้ีวาถอยคาํ ทเ่ี รากลา วน้ันมีความจรงิ เพยี งใด และทานท้งั หลายจกั เขาถึงสงิ่ ซึ่งอยูเหนอื ความเกิดและความตายได ดวยตนเอง เปนธรรมดาอยูเอง ทนี่ ักบวชทงั้ หานี้จะตอ งมีความฉงนเปนอนั มากในการทีไ่ ดฟ งพระองคต รัสเชนน้ี เขาเหลา น้นั ไดเ หน็ พระองคบ าํ เพ็ญ ตบะอดอาหารและทรมานกาย แลวมาเลิกเสียเพอ่ื ใหบรรลุธรรม และบัดนย้ี งั มาบอกแกเขาวา พระองคไดบรรลธุ รรมนน้ั แลวดว ย นกั บวช เหลา น้ันไมยอมเชอ่ื อยา งงา ยๆ และไดกลาวโตพ ระองคน านาประการ เขาไดก ลาวแกพ ระองควา “เพ่อื โคตมะ! ทําไมเลา เมอ่ื พวกเราอยูกบั ทา น ทา นปฏิบตั ิอยางเครง ครัดในการบําเพญ็ ตบะทรมานกายทกุ ชนดิ ดงั เชน นักบวชทงั้ หลายประพฤติกันอยทู ว่ั ชมพูทวปี พวกเราจงึ ไดนบั ถือทานเปนอาจารยผ ูส่ังสอน ทานบาํ เพ็ญตบะอยางเครง ครดั เชน นั้นแลว ก็ ยังไมบรรลธุ รรมที่ทานตอ งการ มาบัดนท้ี านจะบรรลธุ รรมนน้ั ไดอ ยางไร ในเมอ่ื ทา นกลบั มาเปน คนอยูอยางมักมาก ละทงิ้ ความเพยี รเสียแลว หมุนไปหาความสะดวกสบายตามพอใจเชน นี้ ” พระพทุ ธองคไดตรัสตอบวา “ทา นทง้ั หลาย ! พวกทา นเขาใจผิด เราไมไ ดละความเพยี รแตอยางใดเลย เราไมไ ดเ ปนอยูอยางหลงใหลตามใจ ตวั เอง เอาแตสนุก จงฟงเรากอ น เราไดบ รรลุวิชชาและญาณอันสงู สดุ แลวจรงิ ๆ เราสามารถสอนทานทัง้ หลายใหทานบรรลุธรรมนั้นได โดยตัว ทา นเองดวย” นักบวชท้งั หาเหลา น้ันไมสามารถจะปลงใจเชอ่ื ในถอ ยคําของพระองค มนั ปรากฏแกเ ขาในทาํ นองทเ่ี ปนไปไมได แมพ ระองคจ ะไดทรง ขอรองใหค นเหลา นน้ั ฟง และเช่อื อกี ครง้ั หนงึ่ เขากย็ ังไมอ าจจะเช่ือ เม่อื พระองคทรงเห็นวา คนเหลา นน้ั ไมยอมเชอื่ วา พระองคบรรลธุ รรมทอี่ ยู เหนอื ความตายจรงิ ๆ แลว พระองคไดท รงมองท่ีใบหนาของคนเหลานน้ั อยา งเพงจองและเอาจรงิ เอาจังพรอ มท้ังตรัสวา “ทานทัง้ หลาย ! จงฟง กอ น จงนกึ ดใู หด ๆี วา ตลอดเวลาท่ีทานทั้งหลายอยูกบั เรา ในครั้งกระโนน เราไดเคยพดู เชนนก้ี บั ทานทัง้ หลายบา งหรอื เปลา เราไดเคยบอกทาน ทั้งหลายวาเราไดบ รรลวุ ิชชาและญาณอนั สงู สดุ อันทาํ อยเู หนอื ความเกดิ และความตายเชน นหี้ รอื เปลา จงคดิ ดู !” นกั บวชทั้งหาน้นั ตอ งตอบแกพระองคว า เปนความจรงิ ทีพ่ ระองคไ มเ คยตรัสคําเชน นีแ้ กพวกเขามากอนเลย พระองคไ ดตรัสตอไปวา “บัดน้ี จงฟงเรากอ น ในเมอ่ื เราไดย นื ยันวาเราไดถงึ หนทางแหง อมตธรรมแลวจรงิ ๆ กจ็ งฟง ใหร ูวา เราไดพบอะไรและอยา งไรเสียกอ นจะดีกวา ” พระองคไดตรสั ถอ ยคําเหลา นอี้ ยางองอาจ และตรงึ ใจ ขณะเมอื่ ตรสั พระองคไ ดท รงเพงจอ งมองดว ยลกั ษณะของบคุ คลผูมีเมตตา และซอื่ ตรง อยา งบรสิ ทุ ธ์ิ จนนกั บวชเหลา น้ันหมดความสงสัย ไมปฏเิ สธในการท่จี ะตง้ั ใจฟง พระองคอยา งแทจ รงิ นักบวชท้ังหา ไดข อรองใหพระองคท รง ยับยง้ั อยเู พอ่ื สอนเขาเหลา นั้น ดว ยสงิ่ ซง่ึ พระองคทรงคนพบ คําสอนเร่อื งแรกท่ีพระองคไดส อนเขานน้ั เรยี กวา ปฐมเทศนา หรอื ธมั มจกั กัปปวัต ตนสตู ร วา ดว ยอรยิ สัจ 4 อยาง และมรรคมีองค 8 ประการ พระองคไ ดทรงสอนนกั บวชท้งั หา ซึ่งเคยเปนศิษยเ กา ของพระองคเหลาน้ัน ดว ยธรรมที่พระองคเพิ่งตรสั รใู หมๆ ทุกวันๆ จนครบถวน เปน เวลา สองสามเดอื น ประทบั อยกู บั นกั บวชเหลาน้ัน โดยทรงสอนนักบวชสามคน เมอื่ นกั บวชอกี สองคนไปบิณฑบาตเพอ่ื นาํ อาหารมาเลยี้ งกัน และ ทรงสอนนักบวชอกี สองคน ในเมื่อนกั บวชสามคนน้ันไดไ ปบิณฑบาต ผลดั เปลี่ยนกันโดยทาํ นองนีต้ ลอดเวลาอยางผาสุก เพราะเหตุทไ่ี ดอ าจารยอันประเสรฐิ สุดในโลก นกั บวชท้งั หา นัน้ กไ็ ดลุถึงธรรม ดังเชนทีพ่ ระองคไ ดท รงบรรลุ เขาไดป ระสพผลแหง การ ปฏิบัตขิ ้ันสงู สุด คอื นพิ พานได ในภาพทนั ตาเหน็ น้ีเอง ในบรรดานักบวชหา คนนน้ั ผูทีเ่ ขาใจอยา งแจมแจง ในคําสอนของพระองคเ ปน คนแรก มี

นามวา โกณฑัญญะ อกี สี่คนนอกนน้ั มนี ามวา ภทั ทยิ ะ อสั สชิ วัปปะ และมหานามะ นกั บวชทงั้ หา น้ี ไดเปน พระอรหันตจํานวนหาองคแรกใน โลก คํา “อรหันต” น้ี เปนท่ชี อื่ ทใี่ ชส าํ หรบั บุคคลผบู รรลุนพิ พานไดดว ยตนเอง ในชีวติ ทันตาเหน็ นับวาพระอรหันตทง้ั หาองคน เ้ี ปน ชดุ แรกของ หมูสงฆสาวกประเภทที่มีพระพทุ ธองคเปนผทู รงสัง่ สอนและแนะนาํ ดว ยพระองคเ องโดยตรง คาํ สอนทีท่ ําใหท า นเหลา นั้นไดเ ปน พระอรหนั ต พรอมกันทง้ั หาองคนน้ั เรยี กวา อนัตตลกั ขณสตู ร เม่อื พระองคย ังประทับอยทู ปี่ าอสิ ปิ ตนะนัน้ มชี ายหนมุ ลกู เศรษฐแี หงเมืองพาราณสคี นหนง่ึ ช่อื ยสะ ไดมาพบพระองคเขาโดยบงั เอิญใน โอกาสวนั หนึง่ เมอ่ื เขาไดฟง ธรรมะของพระองค และทราบถึงผลของการปฏบิ ัตธิ รรมะนั้นแลว ก็มีความพอใจจนถงึ กบั ขอบวช และอยอู าศยั กับ พระองคเพอื่ ศึกษาและปฏบิ ัติใหยิง่ ขนึ้ ไปอกี ในเย็นวันนน้ั เอง ไดมีชายสูงอายคุ นหน่งึ มาเฝา พระองคแ ละทลู วาลกู ชายไดหายมาจากบา น ต้ังแตเมอ่ื เชาน้ี เขาใจวามาทางน้ี มารดาของเขา กาํ ลังรอ งไหคร่ําครวญโดยคิดวา เขาอาจจะถกู คนรา ยฆา เสยี ในถนิ่ นแี้ ลว พระผูม ีพระภาคเจาตรสั บอกใหเ ศรษฐีผนู นั้ ทราบวาลูกของเขา ปลอดภัย ไมตอ งเปน หวง และพระองคไ ดต รัสธรรมะอันเหมาะสมใหเ ศรษฐผี ูน้ันฟง เพื่อใหเ ศรษฐีผนู ้ันทราบวา ธรรมะน้ันเปน อยางไร จงึ ได เปน ที่พอใจแกล กู ชายของเขาจนถงึ กบั ขอบวช ในทส่ี ดุ แหง การตรสั เศรษฐผี ูนก้ี ไ็ ดพ อใจและเลอ่ื มใสในธรรม ประกาศตนเปน อุบาสก รับถอื ธรรมของพระองคเปนสรณะจนตลอดชวี ติ สืบไป เขาไดทลู นิมนตพ ระผูม ีพระภาคเจา ทั้งพระยสะดวย ไปฉันอาหารบณิ ฑบาตทเ่ี รือนของตนใน วันพรงุ นี้ ตอจากนนั้ มา เพื่อสนทิ ของพระยสะเศรษฐบี ตุ รอกี ส่ีคนไดอ อกบวชตามพระยสะ เปนภกิ ษุในพระพทุ ธศาสนา และไดม ีคนหนมุ อีกจาํ นวนมากพากนั บวชตามโดยทาํ นองนีท้ ่ปี า อิสปิ ตนะน้ัน จนกระท่งั รวมดว ยกนั ท้งั หมดประมาณ 60 รปู ผบู วชใหมเ หลา น้ที กุ คน ลว นแตม ี เช้ือชาติสกลุ ดี มีความพากเพยี รพยายามในการศึกษาและการปฏิบัตอิ ยางเครง ครัด ภายใตการควบคุมส่ังสอนของพระผูมีพระภาคเจาเอง ในเวลา ไมน านเลย ทุกคนไดรแู ละไดลุถึงวชิ ชาและญาณอันสงู สดุ ดว ยตนเอง และเปน พระอรหันตดวยกันทุกคน พระผูม พี ระภาคเจา ไมท รงยอมใหพ ระสาวกเหลา น้ันอยูอ าศัยในที่แหงเดยี วกนั นน้ั เพราะวาบดั น้ีทุกๆ รูปไดเ รียนรูและปฏบิ ตั ิไดผลครบถวน ตามทพ่ี ระองคท รงสอนแลว พระองคร ับสั่งแกพ ระสาวกเหลา นน้ั วา ทานเหลาน้ันตอ งออกเดินทางไปเพ่อื ทาํ การสง่ั สอนคนเหลา อ่นื เพ่ือวา คนที่ พรอมทีจ่ ะรบั คาํ ส่ังสอนเหลานน้ั จะไดม ีโอกาสไดย ินๆ ไดฟงคําสอน คร้นั ไดศกึ ษาและปฏิบัติแลว เขาจกั เปนผูพน จากทุกขท้งั ปวงได เชนเดยี วกนั พระองคไ ดตรสั แกพระสาวกท้งั หลายเหลา นน้ั วา “ดกู อนภิกษุทั้งหลาย เธอทง้ั หลายจงเท่ียวจาริกไป จงแสดงธรรมซ่งึ มีความงามในเบอื้ งตน มีความงามในทา มกลาง และมีความงามในเบื้องปลาย จงประกาศแบบแหง การครองชวี ติ อนั สมบูรณอ นั ประเสริฐ และบรสิ ทุ ธ์ิ ในโลกนี้ยงั มีคน บางพวกซึ่งมีธุลี คอื กเิ ลสแลตัณหาแตเพียงเบาบาง หากไมไดฟง ธรรมแลว จักเสียประโยชนอ นั ใหญห ลวง คนพวกนแ้ี หละจกั ฟงธรรมและเขา ใจ อยา งแจมแจง” พระพทุ ธองคไดท รงสงพระสาวกชุดแรกจาํ นวน 60 รปู ออกไปประกาศพระศาสนา ทรงระบุไมไ ดไ ปเปน คูหรือเปนหมู แตใ หไ ปเพียงสาย ละรูปๆ โดยทิศทางตา งๆ กัน เพอ่ื ใหธรรมน้ีแพรหลายไกลออกไปโดยเรว็ ทส่ี ุดเทา ทจี่ ะทาํ ได พระสาวกเหลานไ้ี ดสนองพระพทุ ธบญั ชา ตามพระ พุทธประสงคและออกไปเผยแพรพระธรรมวินัยของพระองคท กุ ทศิ ทุกทางทัง้ ทางเหนอื และทางใต ทางตะวันออกและทางตะวันตก พระสาวกเหลานเี้ ปน บคุ คลพวกแรกทส่ี ุดในโลก ท่ีไดอ อกทําการเผยแพรคาํ สอนทางศาสนาของตนๆ ตามถ่นิ ตางๆ วาโดยที่แทแลว ทาน เหลา นเ้ี ปน คณะเผยแพรศ าสนา ท่ไี ดรับการแตง ตั้งอยางฉับพลนั ทนั ทีทตี่ นไดบ รรลุธรรม นับเปน พวกแรกที่สุดท่ีโลกไดเ คยเห็น ทกุ องคมคี วาม กลาหาญ ทําการเผยแพรพ ระพุทธศาสนาเปนพวกแรกที่สดุ ในโลก โดยลักษณะดงั กลาวนี้

พุทธประวตั ิ ฉบับสําหรบั ยุวชน พุทธทาสภกิ ขุ แปลและเรียบเรยี งจาก ฉบับภาษาองั กฤษ ของ ภิกษุสีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 11 สิงคาลมาณพ หลงั จากทีพ่ ระผมู พี ระภาคเจา ไดท รงสง พระอรหนั ตสาวก 60 รูป ออกไปเพ่อื เผยแพรพระศาสนาตามทิศทางตางๆ แลว พระองคเองก็ได เสด็จออกจากปา อสิ ปิ ตนะ ตรงไปทางทิศตะวนั ออกเฉียงใตสปู ระเทศมคธ และในที่สุดก็ไดเสดจ็ มาถึงตําบลอรุ เุ วลา ณ ท่นี ัน้ พระองคไ ดเ สดจ็ ไป พํานักอยูก บั พวกชฎลิ จาํ นวนหนึง่ ประมาณพนั รูป ซงึ่ มีชฎลิ ช่อื วา กัสสปะสามคนพ่นี องเปนหวั หนา พระองคไดทรงทําลายทฏิ ฐมิ านะของชฎลิ เหลาน้ันสิน้ เชงิ แลว ทรงอธบิ ายหลกั ธรรม ท่ที รงคนพบไดใหมใ หหัวหนาชฎลิ เหลาน้ันฟง จนมีความพอใจรบั เอาคาํ สอนของพระองค และขอ บวชเปนภกิ ษใุ นศาสนาของพระองค และไดบรรลุธรรมเปน พระอรหนั ตใ นเวลาตอ มาดวยกันทกุ รูป ทั้งหัวหนาและบริวาร พระพุทธองคไดเ สดจ็ จากอุรุเวลาไปสูนครราชคฤหตามที่เคยไดสัญญาไวก บั พระเจาพิมพสิ ารวา เม่ือพระองคบรรลธุ รรมแลว จกั เสด็จ กลบั มาส่ังสอนพระราชาและประชาชนแหงนครนนั้ ใหรูตามดว ย พระเจา พมิ พิสารและชาวนครราชคฤหไดทาํ การตอนรับพระองค ดว ยความ ยนิ ดอี ยางสูงสดุ ในขอ ที่วา พระองคไดต รสั รูธรรมเปน พระสัมมาสัมพุทธเจา แลว เสดจ็ มาโปรดเขาเหลานน้ั ณ ทีส่ วนตาลหนุมแหงหน่ึง พระองคไดทรงสั่งสอนชแี้ จงดว ยพระหฤทยั อันเตม็ ไปดวยพระกรณุ า โดยวิธตี า งๆ จนกระทง่ั พระราชาและ ประชาชนเหลา นน้ั มีความเขา ใจในธรรม ประกาศตนเปนพระสาวกของพระองค พระเจา พิมพิสารไดท รงแสดงความเคารพนับถอื ในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ ใหปรากฏออกมาโดยการทรงถวายอุทยานเวฬวุ นั ใหเปน ทอี่ ยอู าศัยของพระภกิ ษุสงฆ มพี ระพทุ ธเจา เปนประมุข เชาวันหน่ึง พระองคเ สดจ็ ออกจากอทุ ยานเวฬุวัน เพอ่ื ไปบิณฑบาตในนครราชคฤห ในระหวางทางพระองคไ ดท รงพบชายหนุม คนหนึง่ เน้ือ ตัวเปย กชุมไปหมด ราวกะวาเพ่งิ ข้ึนมาจากนาํ้ ยนื อยกู ลางถนน ทําอาการโคง ตัวนบไหวทศิ ท้ังส่ี คือ ทิศตะวันออก ทิศใต ทศิ ตะวนั ตก ทิศเหนือ แลว ไหวแหงนขึน้ ไปบนฟา และไหวลงไปทางพนื้ ดินแทบเทาของตนในท่ีสดุ และไดโ ปรยเมลด็ ขาวไปทุกทิศ ในขณะทีต่ นกาํ ลงั ทาํ การนบไหว พระองคไดท รงทอดพระเนตรดชู ายหนุมคนนน้ั ซงึ่ กระทําพธิ อี นั แปลกประหลาดอยูบ นทางสาธารณะจนเสร็จแลว ไดต รัสถามเขาวา ทาํ ไม เขาจงึ ทาํ อยา งน้ัน ชายหนุมคนนนั้ ไดทลู ตอบวา เขาทําเชน นัน้ ตามคาํ สั่งของบดิ าซึง่ ไดส ่ังใหเขากระทําทุกๆ เวลาเชา เพอ่ื เปนการปองกนั สง่ิ ช่ัว รายทุกประการมิใหมาสตู ัวเขา จากทิศทั้งสี่ และจากเทวดาในเบ้ืองบนและจากปศาจในเบือ้ งตา่ํ บิดาของเขาไดข อรอ งเขาเปนครั้งสดุ ทา ยเม่อื

กําลงั จะสิ้นชีพใหเขาทาํ เชนนน้ั ดงั นั้น เขาจงึ ไมอาจฝาฝน ความประสงคข องบดิ า นบั ต้งั แตว นั ทบ่ี ดิ าของเขาสน้ิ ชพี เปนตน มา เขาไดป ฏิบตั ติ าม คําสัง่ นี้อยา งเครง ครัด โดยไมม ขี าดสักวนั เดียว พระพุทธองคไดทรงฟง คาํ ตอบของเขาดงั น้ันแลว ไดตรัสวา “เปน การถูกตองอยา งย่งิ สาํ หรบั ทาน ที่รักษาคํามั่นสญั ญาอนั ไดใหไวก ะบดิ าขณะท่จี ะส้นิ ชพี อยางซอ่ื สตั ย แตว า สงิ่ ท่ีทานกระทาํ นน้ั ยังไมต รงตามที่บิดาของทา นมุงหมาย” “ขอ ท่บี ดิ าของทานส่ังใหท านทําการนบไหวและโปรยอาหารไปทางทศิ ตะวันออกนั้น บดิ าของทานหมายความวาทา นจะตองแสดงความ เคารพสกั การะตอบคุ คล ซง่ึ ใหก ําเนิดชีวติ แกทา นโดยเฉพาะ ก็คือมารดาบิดาน่นั เอง การนบไหวาทางทิศใตน ัน้ บดิ าของทา นหมายถงึ การเคารพ สกั การะครบู าอาจารย ซึ่งสง่ั สอนวชิ าความรใู หทา น การนบไหวทางทศิ ตะวนั ตกน้ัน หมายถงึ การทนถุ นอมเลยี้ งดูบตุ รและภรรยา การนบไหว ทางทศิ เหนอื หมายถึงการเคารพนับถือสงเคราะหว งศญาตแิ ละมิตรสหาย การนบไหวทางทิศเบ้อื งบน หมายถึงการสกั การบชู าบุคคลผมู ีความดี ความงาม ความประเสริฐ เชน สมณะและพราหมณ เปนตน สาํ หรบั การไหวลงทศิ เบื้องตํา่ ทางพ้นื ดินน้ัน หมายถึงการยอมรบั นบั ถอื สิทธใิ นการ แสวงสุข และการมชี วี ติ ของสัตวตางๆ ทกุ ประเภท แมแตส ตั วท ีถ่ อื กันวาเลก็ และเลวทส่ี ดุ ซึ่งอาศัยอยใู นแผนดนิ บิดาของทานมุงหมายอยา งน้ี จึง ไดส ่ังใหน บไหวเชนนนั้ และเปน การปองกนั อนั ตรายทกุ อยางอนั จะมาถึงทา นจากทุกทิศทกุ ทางไดจ ริง” พระองคไดท รงอธิบายใหชายหนุมคนนี้ ซ่งึ มนี ามวา สงิ คาละ เขาใจโดยละเอียด ในสิ่งทเี่ ขาจะตองประพฤติตอตนเองและตอ บุคคลอืน่ เพ่ือใหท กุ คนมคี วามสุขความเจริญ ท้งั ในปจจบุ ันและอนาคต พระองคไ ดทรงแนะใหสิงคาละเวน จากการฆา เวนจากการลักขโมย จากการ ลว งเกนิ คนรักของบุคคลอ่ืน จากการพูดเทจ็ และการดืม่ นาํ้ เมาทุกชนดิ พระองคท รงแนะนาํ ใหเ ขาทาํ งานดวยความขยันหมัน่ เพยี ร เพ่ือการสะสม ทรพั ยและในการรักษาทรัพยซ ่ึงหามาไดแ ลว แตกอ็ ยาไดห ลงละโมภหรอื บริโภคใชส อยทรพั ยน นั้ เพอ่ื ประโยชนแ กต นแตผเู ดียว และไมใชท รพั ย ไปในทางสุรยุ สุรายอยา งโงเขลา ทรงแนะใหใ ชท รัพยจาํ นวนหน่งึ ในส่เี พ่อื การเล้ียงดูตนเองและครอบครัว หนึ่งในส่ใี นการขยายการงานอาชพี ของตนใหกวา งขวางออกไป หนึ่งในสี่ในการชวยเหลอื คนที่กาํ ลังตองการความชว ยเหลอื และอกี หนึง่ ในสเี่ กบ็ ไวเปนทุนสํารอง เมอื่ คราวภัย พบิ ัตเิ กิดขน้ึ จกั ไดใชสอยทันทวงที สงิ คาละไดต ง้ั ใจฟง คําแนะนําของพระองคดวยความเคารพ และไดกราบทูลแกพระองควา เมอื่ บดิ าของเขายงั มชี วี ิตอยูนั้น เขาเองไดก ลา วกะ บิดาของเขาอยบู อยๆ ถึงขา วเลาลอื อนั เก่ียวกับพระองคว าทรงเปนศาสดาเอก และไดพ ยายามขอรอ งใหบ ิดาของเขาไปเฝา พระพทุ ธเจา เพอ่ื รับคาํ ส่ังสอน แตบ ดิ าของเขาไดป ฏิเสธเสยี ทุกคราวไป โดยพดู วา ลําบากเกินไปบา ง เหนอื่ ยเปลาบา ง ไมมีเวลาบา ง ไมม เี งินที่จะใชจ า ยในการเดินทาง บาง กลาวดังนแ้ี ลว ชายหนุมชอื่ สิงคาละนั้น ไดท ลู ขอรอ งใหพ ระพุทธองคทรงยกโทษใหแกบดิ าของเขา และตัวเขาเอง ขอสมคั รเปน สาวกของ พระองคย ืนยันในการทีจ่ ะทําการไหวท ิศทั้งหก ตามวิธที พี่ ระองคแนะนาํ โดยครบถวนจนตลอดชีวิต ขอความทพ่ี ระพทุ ธองคไดต รสั แกสิงคาล มานพอยา งไรโดยละเอยี ดนั้น อาจจะอา นดไู ดจากสคิ าโลวาทสูตร ในคัมภรี ฑ ีฆนกิ าย

พทุ ธประวัติ ฉบบั สาํ หรับยวุ ชน พทุ ธทาสภกิ ขุ แปลและเรียบเรยี งจาก ฉบบั ภาษาอังกฤษ ของ ภกิ ษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนที่ 12 สารีบตุ รและโมคคลั ลานะ ในระยะเวลาทพี่ ระพุทธองคประทบั อยูใ กลน ครราชคฤหน้ี มีเจา ลทั ธิผูหนึ่งชื่อ “สญชัย” ต้ังสํานกั อยูใกลๆ นครราชคฤห มีสาวกประมาณ 200 คนเศษ ในบรรดาสาวกเหลา นัน้ มสี าวกสองคน ชือ่ อปุ ติสสะ และโกลิตะ มีสติปญ ญามาก ทง้ั สองคนไมพ อใจในคําสัง่ สอน ทา ทอ่ี าจารย ของตนไดส อนให แตมคี วามประสงคจ ะรสู ่ิงท่ดี ีและลกึ ซง้ึ ไปกวานนั้ อันเรยี กกันวา “อมฤตธรรม” คนทงั้ สองนร้ี ักกนั มาก คนหนึง่ จะตองมีสว น ไดในสง่ิ ทอ่ี กี คนหนึง่ ไดเ สมอไป จึงไดท ํากตกิ าตอ กันอยา งเงียบๆ วา ตา งคนตา งพยายามศกึ ษาและคิดคน ใหสุดกําลังสติปญญาของตนๆ เพ่ือให พบอมฤตธรรม ถาคนใดไดพบกอน กจ็ ักบอกใหอีกคนหน่ึงไดร ดู วย วนั หนึง่ ในเวลาเชา เมอ่ื อปุ ตสิ สะเดนิ ไปตามถนนในนครราชคฤห เขาไดเ หน็ บรรพชติ รปู หนึง่ กําลงั เที่ยวบณิ ฑบาตอยู มีอาการแปลก ประหลาด จบั ตาจับใจของเขาเปน อันมาก บรรพชิตรปู นั้นมีลกั ษณะอาการทีส่ ภุ าพเรยี บรอย สงบเสงย่ี มงดงามท้ังในการเดินและการยืนตลอดจน การรับบณิ ฑบาตชนดิ ท่ีเขาไมเ คยพบเห็นมาแตก อ น ย่ิงเดนิ เขา ไปใกลกย็ ิง่ มีความฉงน และเต็มไปดว ยความเคารพยงิ่ ข้ึน เพราะวาใบหนา ของ บรรพชติ รูปนั้นเปนใบหนา ชนิดท่ีเขาไมเคยเหน็ นกั บวชรปู ใดมีใบหนา ซง่ึ ประกอบดวยลกั ษณะเชนนนั้ เลย คอื เปน ใบหนา ที่แสดงความสุขอยาง เตม็ เปย ม และแสดงถึงความสงบไมมคี วามหวัน่ ไหว เปรยี บประดุจดงั ผวิ นา้ํ ในเวลาที่เงียบสงัด ปราศจากลมรบกวน ในเวลากลางคนื อุปติสสะ ไดรําถงึ อยใู นใจวา บรรพชิตรูปนี้ เปน อยา งไรหนอ บรรพชิตรปู นีต้ อ งเปน บคุ คลทไ่ี ดบ รรลถุ ึงธรรมทเี่ รากําลงั แสวงหาแลว อยา งแนนอน หรือ อยางนอ ยทีส่ ุดก็ตอ งเปนสาวกของผทู ไี่ ดบ รรลธุ รรมนนั้ แลว เราอยากรเู หลือเกนิ วา ใครเปน อาจารยข องทานผนู ี้ คําสอนของอาจารยทา นผูน ี้ จกั เปน อยางไรหนอ เราจักตองติดตามเอาความจริงใหได อยางไรก็ตาม อุปติสสะรูส ึกวา ยงั ไมเ หมาะทจ่ี ะเขาไปไตถามบรรพชติ รปู น้ัน ในขณะท่ที านกําลงั บิณฑบาตอยู จงึ ไดเดนิ ตามไปหา งๆ จนกระทงั่ บรรพชิตรูปน้ัน ไดอาหารบิณฑบาตเพียงพอแลว กําลงั เดนิ ออกประตเู มอื งไป อปุ ติสสะไดเ ขา ไปทาํ ความเคารพทักทายปราศรยั พอให เกดิ ความคนุ เคย แลว ไตถ ามในขอ ทวี่ า ทานผูใ ดเปน ครบู าอาจารยทบ่ี รรพชติ รปู นี้มีความเคารพ และรบั ปฏบิ ตั ติ ามโอวาท อุปตสิ สะไดก ลา ววา “ทา นผูเจริญ อากัปกิรยิ าของทา นสงบเสงย่ี มย่ิงนกั ใบหนาของทา นเปลงปลั่ง สกุ ใสดีย่ิงนัก ขาพเจาใครจ ะทราบอยา งแทจ รงิ วา ผูใ ดเปนครู

อาจารยของทา น คาํ สอนของใคร ท่ที านสละเหยา เรอื นและญาติมิตรมาอยูป ระพฤติพรหมจรรยน้ี อาจารยของทานชือ่ อะไร และคําสอนของทาน เปนอยา งไร ” บรรพชิตรปู น้ันไดต อบอยา งยิม้ แยม วา “ทานผูเจรญิ ขา พเจาอาจจะบอกทานไดเ ด๋ียวนี้ มพี ระมหาสมณะแหง วงศศากยะผูหน่ึง ซงึ่ ไดสละ ฆราวาสวสิ ยั ออกมาบวชประพฤตพิ รหมจรรย ขาพเจาสละเหยาเรือนบวชเพอื่ ประพฤติตามพระมหาสมณะนนั้ พระผูมีพระภาคเจา องคน ้นั เอง เปน ครขู องขา พเจา ขาพเจาประพฤตปิ ฏบิ ตั ิตามคําสงั่ สอนของทา นผนู นั้ ” อปุ ตสิ สะไดค ดิ วา บางทเี ขาอาจจะไดท ราบจากบรรพชติ ผนู ้ี ถึงเรอื่ ง “อมฤตธรรม” ซ่ึงเขาและโกลิตะเพ่อื นของเขาไดเ สาะแสวงหามาเปน เวลานานแลว จงึ ไดถ ามข้นึ อยางรบี รอ นวา “ขา แตทานที่เคารพ คาํ สงั่ สอนทที่ า นกลาวถึงนน้ั เปน อยางไร ครูของทา นไดสอนอะไร ขา พเจา อยากทราบในขอ นนั้ เปนอยา งยง่ิ ” บรรพชิตผูนน้ั ไดตอบอยา งสุภาพวา “ขาพเจาเปน แตค นเพงิ่ มาบวชแรกศึกษา ยงั เปนเวลานอ ยมาก นบั แตขา พเจา เริ่มศกึ ษาตอ พระผูม พี ระ ภาคเจา และประพฤติพรหมจรรยในธรรมวินัยของพระองค ดังนัน้ ขา พเจา จงึ ไมทราบอะไรในคาํ สอนของพระองคม ากนัก ขาพเจาไมส ามารถ อธิบายแกทา นไดโดยละเอยี ด ถาทา นตอ งการทราบแตโดยยอแลว ขาพเจา กอ็ าจจะบอกใหทา นทราบไดบ า งสักสองสามคํา” อปุ ติสสะไดก ลา วขึ้นโดยเรว็ วา “ทา นผูเจรญิ นั่นแหละที่ขา พเจา ตอ งการทราบ จงบอกแตใ จความใหแ กขา พเจา เถดิ ใจความนน่ั แหละ สาํ คญั ไมจ าํ เปนท่ีจะตองกลา วดวยถอยคํายืดยาวดอก” บรรพชิตผนู นั้ ไดก ลาววา “ถาอยางนนั้ กด็ แี ลว ทา นจงฟงเถิด สิ่งใด มเี หตุเปนเครือ่ งบันดาลให เกดิ ขึ้น พระตถาคตไดตรัสบอกถงึ เหตุแหง สง่ิ ทัง้ หลายเหลาน้ัน พรอ มทง้ั ความดับสนทิ ของสง่ิ เหลาน้นั พระมหาสมณะองคน ้นั มีปรกตกิ ลา วดวย อาการอยา งน”้ี นกั บวชไดก ลา วเพียงเทา นี้ แตข ณะท่ีอุปตสิ สะไดย ืนฟงขอความนอ้ี ยูท ปี่ ระตูเมืองน่ันเอง ความแจม แจงไดโ พลงขึ้นในใจของเขาอยา ง รุงโรจน ในธรรมที่พระพุทธเจาทกุ ๆ พระองคไ ดท รงสอน เปนธรรมทแี่ สดงใหทราบวาทกุ ส่งิ ทกุ อยาง ที่ไดเ กดิ ขน้ึ แลว หรือกําลงั จะเกดิ ข้ึนก็ ตาม จกั ตอ งดับลงไป อกี อยางไมม ีทางยกเวน อยางไมม ที างทจ่ี ะหลกี เลย่ี งได อยางไมเคยผดิ พลาดเลย อุปตสิ สะไดเ หน็ อยางแจมแจง ในขณะ น้นั เองวา “สิ่งท่ีไมม กี ารเกดิ ” เทานั้นเองท่จี ะเปน อิสระเหนอื กฎทวี่ า “มนั จะตอ งดบั ” หรอื “ตองตาย” และสิง่ น้นั แหละคืออมฤตธรรม” อุปติสสะไดก ลา วแกบรรพชติ รปู นน้ั วา “ถา ความขอ นี้เปน สิ่งที่ทานไดเ รยี นรมู าจากอาจารยข องทา นแลว ก็เปน ทแี่ นนอนวา ทา นไดลุถึงส่ิงท่ี ไมมีทกุ ข อยเู หนือความตาย ซ่ึงไมเคยปรากฏแกม นุษยเ รามาเปนยุคๆ” เมื่ออปุ ติสสะกลาวดังนแี้ ลว กไ็ ดกลา วขอบคณุ แกบรรพชิตรปู นัน้ และได ไตถามถึงท่ีท่พี ระผมู ีพระภาคเจา ประทบั อยู แลว ลาจากไปเพ่อื ไปบอกกลา วแกโ กลิตะเพอื่ นของตน ใหท ราบถึงขา วดีท่ีวา บัดนี้ ตนไดพบอมฤต ธรรมนน้ั แลว ! บดั นอี้ ุปติสสะมใี บหนา แจม ใสอิ่มเอิบสงบเสงยี่ มเชน เดียวกบั ใบหนา ของบรรพชิตผทู ีไ่ ดบอกกลาวอมฤตธรรมแกเขา เม่อื โกลิตะไดเ ห็นอปุ ตสิ สะ มีใบหนาเชน น้ันกาํ ลงั เดนิ ใกลเขา มา กท็ ราบไดว า ความเปล่ยี นแปลงอันใหญหลวง ไดเ กิดขึ้นแกสหายของเขาแลว จงึ ไดถ ามวา “เพือ่ เอย ทาํ ไมหนาตาของทานจึงดูแจมใส รุงเรืองย่งิ นัก ทา นไดพ บอมฤตธรรม ซึ่งเราท้ังสองไดแสวงกนั มาเปนเวลานานนกั แลว อยางนั้นหรือ ” อุปติสสะไดตอบดว ยความรา เริงวา “อยางนนั้ อยางน้นั เพือ่ เอย เราไดพ บอมฤตธรรมน้นั แลว ” โกลิตะไดถามอยางรีบรอ นวา “เปน อยา งไร กันเพ่ือน เปนอยา งไรกนั ” อปุ ติสสะไดบอกแกโกลติ ะเพอ่ื รว มใจของเขาดว ยเร่ืองบรรพชติ แปลกหนา ท่เี ขาไดพบเทยี่ วบณิ ฑบาตอยูตามถนน ในเวลาเชา นุงหม จวี รสีเหลอื ง มที า ทางสงบและสํารวม ชนดิ ท่เี ขาไมเ คยเห็นนกั บวชรูปใดเปนอยา งนน้ั มากอนเลย และบอกใหทราบถึงการที่เขา ไดติดตามไปจนถึงประตูเมอื ง และไตถ ามถึงมูลเหตทุ ี่ทาํ ใหทานมีผวิ พรรณผอ งใส สงบเสง่ียมเชนน้ัน ในทส่ี ุดอปุ ติสสะไดกลาวคาถามีจาํ นวนสี่ บาท ซ่ึงบรรพชิตรูปนั้นไดก ลาวแลวใหโ กลิตะฟง และในขณะน้นั เอง โกลติ ะกไ็ ดเ หน็ ธรรม รูแจง วาอมฤตธรรมนนั้ มไิ ดเ กิดอยใู นโลกนี้ ใน ลกั ษณะที่เปน รูป เสยี ง กลน่ิ รส โผฏฐัพพะและความคดิ นกึ ตา งๆ และเพราะเหตทุ ่อี มฤตธรรมนัน้ มิไดเ ปน สิง่ ทมี่ คี วามเกดิ ขนึ้ เชน นน้ั เอง จึงเปน สิง่ ท่ไี มดบั คือไมตาย ในทสี่ ดุ สหายคูนน้ั ไดต รงไปสูส าํ นักของพระผมู ีพระภาคเจา และถอื เอาพระพทุ ธองคเ ปนครู แทนครูสญชัยสืบไป พระองคท รงรบั เขาทั้ง สองเขาเปนภกิ ษุ และตอ มาไดเปนพระอคั รสาวกของพระองค เนอ่ื งจากมคี วามรูสตปิ ญ ญาและความสามารถมาก และมนี ามซ่ึงรจู กั กนั ในโลกน้ี วา “พระสารบี ุตร” และ “พระโมคคลั ลาน” บรรพชิตผูไดบ อกอมฤตธรรมแกทา นท้งั สองโดยคาถาเพียงสี่บาทนนั้ มนี ามวา “อัสสชิ” เพราะฉะนัน้ คาถานัน้ จึงไดนามวา “คาถาของพระอัสสช”ิ สบื มา มิใชเพียงแตอปุ ติสสะกับโกลิตะเทานัน้ ทเี่ ขา มาบวชเปน ภกิ ษกุ ับพระพทุ ธองค ขณะทีป่ ระทับอยูใกลน ครราชคฤหใ นคราวน้ี แตย งั มคี น หนุมตระกลู สูงเปนจาํ นวนมาก ไดส ละบา นเรอื น มารดาบิดา ญาตใิ หญนอ ย แลว มาบวชเปนภกิ ษสุ าวกของพระองค ผมู ีนามทเ่ี รียกกันอกี อยาง หน่ึงวา “พระศากยมหามนุ ”ี ทัง้ น้เี พราะเหตุทีพ่ ระองคท รงเปน ศาสดาแตกตางจากศาสดาอืน่ ๆ ในประเทศนั้น ในขอ ที่ทรงมพี ระชาตกิ าํ เนดิ อนั สูง ศักดแิ์ ละประเสริฐ และทรงมีการบรรลุธรรมอนั สงู สดุ ซง่ึ เมือ่ ใครปฏิบตั ติ ามคําสั่งสอนของพระองคจนถึงที่สดุ แลว จักไดพนจากความทุกขท ้ัง ปวง โดยสน้ิ เชงิ ความจรงิ มีวา ในครงั้ น้ัน คนหนุมๆ ไดพากนั ออกบวชเปน จาํ นวนมาก จนถึงกับประชาชนแหงเมืองนนั้ พากนั รูสกึ ตกใจ ไมส บายใจ และ

บางพวกถึงกับโกรธแคน คนบางพวกไดไปรองทกุ ขกบั พระองควา ถา ยงั ออกบวชกันเปนจาํ นวนมากอยเู ชน น้ี ในไมชา กจ็ กั ไมมีคนหนมุ ท่ีจะ ประกอบกิจการงานตามบานเรอื นอกี ตอไป เขาพากันกลา ววา ในไมช า จกั ไมมคี รอบครัวเพิ่มขน้ึ จักไมมีเด็กเกิดมา บานเมืองก็จะรกรา งวางเปลา เพราะออกบวชเปนภิกษุกันเสยี หมด

พุทธประวัติ ฉบบั สาํ หรบั ยุวชน พทุ ธทาสภกิ ขุ แปลและเรยี บเรยี งจาก ฉบบั ภาษาองั กฤษ ของ ภิกษสุ ลี าจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 13 เสด็จกบลิ พัสดุ เมอ่ื พระเจาสุทโธทนะซ่งึ เปน พระพทุ ธบดิ า ไดท รงทราบขาววา บดั น้ีพระโอรสของพระองคไดต รัสรูเ ปนพระสัมมาสมั พุทธเจา แลว และ กําลังประทับอยูท ่ีนครราชคฤห จึงไดท รงสง ผเู ดนิ ขา วไปกราบทลู เพือ่ ใหพระพุทธองคทรงทราบวา บัดน้ีพระพทุ ธบดิ าทรงชรามากแลว และได ทรงขอรองใหพ ระองคเสด็จไปเพ่อื จะไดม โี อกาสเหน็ พระองคสกั ครัง้ หนง่ึ กอ นแตจะสิน้ พระชนม แตบงั เอิญคนเดินขาวซงึ่ พระเจาสทุ โธทนะ ทรงสง ไปนัน้ ไดไปถงึ นครราชคฤหในขณะท่พี ระพุทธองคกาํ ลงั ทรงแสดงธรรมแกป ระชาชนอยู เขาจึงไดนง่ั ฟง ธรรมไปจนจบโดยยงั ไมไ ดทูล แจง ขาวทต่ี นรับเอามา แตพระธรรมท่ีพระพทุ ธองคแ สดงนัน้ ปรากฏแกเขาวา มคี วามไพเราะ และมีความจริงแทอ ยา งนาอัศจรรย จนเมอื่ การ แสดงธรรมจบลงแลว เขามคี วามพอใจและปลาบปลื้มในธรรมน้นั จนลืมเรือ่ งราวท่เี ขารบั รบั ส่ังมากระท่ังถงึ ลืมวา ตนเองเปนคนเดินขา ว ดังน้ัน แทนทจี่ ะทลู แจง ขาว เขาก็ไดข อบวชเปนภิกษุและอยูอาศยั ฟง ธรรมของพระองคส บื ไป พระเจา สุทโธทนะไดท รงคอยอยเู ปน เวลานาน มิไดเ ห็นคนเดินขาวของพระองคกลบั มา จึงไดท รงสงผเู ดนิ ขาวพวกอืน่ อีก ใหไ ปทูลแจงขาว แกพระพทุ ธองค และเพ่อื ตดิ ตามขา วอนั เกี่ยวกับคนเดนิ ขา วชดุ แรกดวย แตค นเดนิ ขาวพวกทส่ี องนีก้ อ็ ยา งเดยี วกัน ไดไปถงึ ในตอนเยน็ ในขณะท่ี ไดม ีการแสดงพระธรรมเทศนา เขาไดฟ ง ไดพ อใจ จนลืมการสง ขา ว และไดบวชเปนภิกษเุ สียโดยทํานองเดยี วกนั อีก พระเจาสทุ โธทนะไดท รง สง ไปใหมเ ปน คร้ังที่สามทส่ี ี่จนถึงครั้งทเี่ กา เหตกุ ารณก เ็ ปนไปโดยทาํ นองเดยี วกันทง้ั สิ้น คือคนเหลา น้นั ไดหลงใหลในพระธรรมเทศนา จนลืม ตวั เอง ลมื การแจง ขาว และไดบ วชเปนภกิ ษุเพื่ออยูฟ งพระธรรมเทศนาตอไป ดวยความกระหาย พระเจา สุทโธทนะทรงประหลาดพระทยั เปนอยางยิง่ ในการทคี่ นเดนิ ขาวมิไดกลับมาเลยแมแตค นเดียว และเมอ่ื ทรงหมดความสามารถใน การที่จะไดร ับขา วแตอยางใดแลว จงึ ไดทรงขอรองตอ พระนางยโสธรา ซ่งึ เปน พระสนุ สิ า (ลกู สะใภ) ของพระองค ใหทรงสงขาวเปน ของพระ นางเอง ไปดบู า ง ผลก็เปนอยางเดยี วกนั สง ไปก่คี นๆ ก็มิไดรับขา วอยางใดกลับมา จนกระทั่งพระนางยโสธรา ก็ทรงหมดความสามารถ เชนเดียวกันอกี พระเจาสุทโธทนะทรงระลึกขึ้นไดว า มคี นหนมุ ในราชสาํ นักอยูคนหนงึ่ ชื่อวา “อุทายิ” เคยเปน เพ่อื นเลน คนโปรดของเจา ชายสิทธตั ถะต้ังแต

สมัยยงั เปน เด็กอยดู ว ยกัน พระองคท รงดาํ ริวา ถาหากสง อุทายนิ ไ้ี ปแลว บางทจี ะทําใหพ ระพุทธองคเสด็จมาสูนครกบิลพสั ดไุ ด ดงั นนั้ พระองคจงึ ทรงสง อทุ ายิไปทลู อาราธนาใหพ ระพทุ ธองคเสดจ็ มาสนู ครกบิลพัสดุ เพ่ือเปน โอกาสใหทุกๆ คนในทีน่ ้ัน ไดเ ห็นพระพักตรของพระองคส กั ครัง้ หน่ึง โดยทคี่ นเหลานน้ั ก็คือพระบิดาของพระองค พระชายาของพระองค พระโอรสของพระองค และประชาชนพลเมืองซึ่งจะตอ งเปน ของ พระองค ถา หากวามิไดทรงสละราชสมบัติออกไปผนวชเสีย นน่ั เอง เมื่ออุทายิไดมาถึงนครราชคฤหแ ลว เขากไ็ ดทราบถงึ สาเหตทุ ี่วาทาํ ไมคนเดนิ ขา วเหลานนั้ จงึ ไมกลับไปสูนครกบลิ พัสดุเลยสักคนเดยี ว ในขณะท่เี ขาเขาไป พอสกั วา ไดยินเสยี งที่พระพุทธองคท รงแสดงธรรมเทศนาเทา น้ัน เขาไดพยายามที่จะไมฟ ง พระธรรมเทศนาน้นั ตอไปอกี โดย ท่ีกลัววา เขาจะตองกลายเปน อยา งเดยี วกับนกั เดินขา วคนกอ นๆ เมื่อจบการแสดงพระธรรมเทศนา เขาไดเ ขา ไปเฝาพระพุทธองค ถวายความ เคารพอยา งสูงสดุ แลวไดกราบทูลพระองคว า พระบดิ าและพระชายา พระโอรส พรอ มทง้ั ชาวกบิลพสั ดทุ ้งั ปวง มีความกระหายถึงกับมีความรอน ใจในการทจ่ี ะไดเห็นพระองคแ ละหวังในความกรณุ าของพระองควา จะโปรดเสดจ็ ไปเยยี่ มเขาโดยดว น พระพทุ ธองคไ ดต รสั ตอบดว ยความ เมตตาเปนอยา งยิง่ วา พระองคไ มป ฏเิ สธในความประสงคข องคนเหลานน้ั และจะเสด็จไปสูนครกบลิ พสั ดเุ พอ่ื เยย่ี มเยียนเขาโดยเร็ว ดังนน้ั อทุ ายิ จึงไดร บี กลับไปกราบทลู พระเจาสุทโธทนะใหทรงทราบวา พระสทิ ธัตถะในกาลกอ นนนั้ บัดนี้ไดเปนพระสมั มาสัมพทุ ธเจา ของชาวโลกแลว จกั เสด็จมาสนู ครกบิลพสั ดุเพอ่ื กระทาํ หนาท่ีทบี่ ตุ รจกั ตองทําตอบแทนแกบ ดิ า ในไมชาทุกคนในนครกบลิ พสั ดุ นบั ตงั้ แตพ ระราชาลงไป มีความ ยินดอี ยางย่งิ ทไี่ ดท ราบวา พระราชกุมาร ซ่งึ ไดละทง้ิ พวกเขาเปนเวลา 6 ปมาแลว ไปบวชเปนนกั บวช อาศัยอาหารของผอู น่ื เลี้ยงชวี ติ เพอื่ การ บรรลุธรรมอนั สูงสุดนนั้ บดั น้ีไดป ระสพความสาํ เรจ็ ตามความประสงค ไดเปนพระสมั มาสัมพทุ ธเจา เปนศาสดาของคนทง้ั หลาย ไมเพียงแต ของมนุษยเทา น้ัน แตยังเปน ศาสดาของเทวดาท้งั หลายดวย ทั้งจะเสดจ็ มาเยยี่ มเยยี นพวกเขาและบอกธรรมะทไ่ี ดต รัสรูนน้ั ใหแกเ ขา ประชาชนเหลานัน้ ไดพากนั ทําความสะอาดถนนหนทางทุกแหง ในนครกบลิ พสั ดุ และประดับประดาบา นเรอื นดวยดอกไม ดวยธง ดวย แถบผาสตี า งๆ กนั เตรยี มรับพระราชกุมารของตนๆ ในฐานะทเ่ี ปน ท้ังพระโอรสแหง พระราชาของตน และเปน ทั้งพระสมั มาสัมพุทธเจาดว ย พระผูมพี ระภาคเจาไดเ สด็จถงึ นครกบลิ พัสดุในเวลาเยน็ วนั หน่ึง ไดประทบั อยูในอุทยานนอกนครตามธรรมเนยี มของนักบวชทงั้ หลาย ในวนั รุง เชา ไดเสด็จเขา ไปบิณฑบาตตามถนนตางๆ ภายในเมือง ตามทีพ่ ระองคเ คยทรงกระทาํ เปนปรกติ ผูทไี่ ดเ หน็ พระองคเ สดจ็ ดาํ เนินบณิ ฑบาตแลว บางคนไดเ ขาไปกราบทูลพระเจา สุทโธทนะใหทรงทราบ พระเจา สทุ โธทนะทรงสลดพระทยั พรอ มทั้งทรงพิโรธ ในการที่ไดทรงสดบั ขา ว เชนน้ัน พระองครบั สั่งใหรีบขบั รถพาพระองคต รงไปยังถนนซ่ึงมีผูแ จงขา ววาพระพทุ ธองค กําลงั ทรงเท่ียวขออาหารอยอู ยา งคนขอทาน เมื่อพระเจาสุทโธทนะไดเ สด็จมาถงึ ถนนสายนน้ั ก็ไดทรงทอดพระเนตรเหน็ พระพุทธองคก าํ ลังทรงดาํ เนนิ อยบู นทองถนน มบี าตรอยใู น พระหัตถ อนั เตม็ ไปดวยอาหาร กําลงั บายพระพักตรมาตามทางที่ตรงไปสูพ ระราชวัง มีประชาชนหอ มลอ มถวายความเคารพอยูโดยรอบ แต ความนอ ยพระทยั และความพโิ รธของพระเจาสุทโธทนะในขอ ทีพ่ ระโอรสของพระองคทรงกระทําภกิ ขาจารในถ่นิ แควนทีอ่ ะไรๆ ก็เปน ของ พระองค ซึ่งพระองคจ ะถอื เอาได โดยไมต องมกี ารอนญุ าตเชนน้ี ยังคงกลัดกลมุ อยูในพระหฤทยั ของพระองคอ ยา งใหญหลวง พระองคไ ดเ สดจ็ ตรงไปยงั พระผมู พี ระภาคเจา ไดตรัสตัดพอ ดว ยพระสําเนยี งอนั แสดงความขดั แคน เขือเจอื ดวยความนอ ยพระทยั “ลูกเอย นี่หรอื ท่ีเปน ขาวดที พ่ี อไดร ับ เพ่อื ทําอยา งนี้เทา นน้ั แหละหรือ ท่ีลกู ท้ิงบา นเมอื งของพอไป แลวเพ่ือกลบั มาเปน คนขอทาน เลยี้ งชวี ิต วันหนึ่งๆ อยา งคนขอทานท่ัวไปในประเทศของพอ ลูก, เปน ลูกของพระราชา เปน รชั ทายาทของราชบัลลังกแนแลว หรอื โอ ! ลกู เอย, ในวันนี้ ลกู ไดท ําความเสื่อมเสยี แกพ อ และแกร าชวงศของเจา อยา งทีส่ ุดแลว เคยมคี รงั้ ไหนบาง ทีว่ งศตระกูลของเจาเคยทําอยางนี้ เคยมคี รัง้ ไหนบาง ท่ี พวกเราเคยเท่ียวขออาหารอยางคนขอทานเชนนี้ ” พระพุทธองคไ ดต รัสตอบแกพ ระบดิ า ซึง่ ทรงกร้ิว เพราะความเขา พระทยั ผดิ อยางเรยี บๆ วา “ดูกอ นมหาราช, นแี่ ลเปนการกระทําท่วี งศ ตระกูลของอาตมาไดเ คยปฏิบตั กิ นั มาแลว อยา งแทจ รงิ ” พระเจาสุทโธทนะไดท รงตวาดขนึ้ วา “เทาที่มนษุ ยเ ขาจาํ กันไดน ั้น วงศตระกลู ของเจา เปน เจาแผนดินกันทุกคน ไมม ีใครสักคนเดียวเคยทาํ สง่ิ ทน่ี าอดสงู เชนน”ี้ พระองคไ ดตรสั ตอบอยา งเรียบๆ สบื ไปวา “ดกู อนมหาราช, ขอ น้ันก็เปน ความจริงเหมือนกนั แตในที่นี้อาตมาไมไ ดห มายถึงการสบื ตระกูล อยางชาวโลกเชนน้ี บัดน้ี อาตมาเปน ผูถูกนับเนอื่ งเขาในตระกลู ของพระสมั มาสมั พุทธเจาท้ังหลาย ที่ลวงมาแลว อาตมาหมายถงึ พระพทุ ธเจา เหลาน้ันเอง เม่ือกลาววา อาตมาไดท าํ ตรงตามท่วี งศต ระกูลของอาตมาไดเ คยทาํ มาแลว พระพุทธเจา ทง้ั หลายในกาลกอน ไดทรงกระทาํ ดง่ั น้ีมา ดว ยกนั ท้ังน้ัน และการทาํ อยา งนีเ้ ทานน้ั ท่ีถูกตอ งและเหมาะสมแกพระพทุ ธเจา ท้ังหลาย อาตมาจงึ ไดก ระทาํ อยางเดยี วกนั ” เม่ือพระพุทธองคท รงดาํ เนนิ ไปตามทอ งถนนพรอมกบั พระพุทธบดิ าตรงไปยงั พระราชวังนนั้ พระองคไ ดตรัสแกพ ระบดิ าวา พระองคมิได เสด็จกลับมาสบู านเกดิ ของพระองคอ ยา งคนสิน้ เน้ือประดาตัวที่กลบั มามอื เปลา พระองคไ ดต รัสยืนยันวา พระองคไดน ําเพชรพลอยอนั มคี า สงู เกนิ กวา ท่ีจะตีคา ไดต ดิ ตัวมาดวยเปน อนั มาก เปน เพชรพลอยที่มคี า สูงสุดในโลก เปน เพชรพลอยแหง สจั จธรรมท่สี ามารถนําคนไปสคู วามสขุ อนั ไมเ ปลี่ยนแปลงของพระนฤพาน เมื่อพระองคไ ดเ สดจ็ มาถึงพระราชวังแลว พระองคไดทรงแสดงธรรมอันเปนทางแหงความดับทกุ ขโดยสิน้ เชงิ ทีพ่ ระองคท รงคน พบ แก พระพุทธบิดาและคนอน่ื ๆ อยางละเอยี ดลออชัดเจนแจม แจง จนเปน ทเี่ ขา ใจแกคนทั้งหลายในท่ีน้นั และพากนั ยอมรบั ธรรมะนนั้ ไปประพฤติ

ปฏิบัติ ในฐานที่เปน สาวกของพระองคสบื ไป และในเวลาภายหลังตอ มา พระโอรสของพระพทุ ธองคซ งึ่ มีนามวา ราหุล น้นั ก็ไดอ อกบวชดวย เหมอื นกัน

พุทธประวัติ ฉบบั สําหรับยวุ ชน พทุ ธทาสภกิ ขุ แปลและเรยี บเรียงจาก ฉบบั ภาษาองั กฤษ ของ ภกิ ษุสีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 14 พุทธกิจประจําวัน พระองคไ ดทรงทําการเทศนาสัง่ สอนมหาชน รวมท้ังสิ้นเปน เวลา 45 ป ตลอดเวลาเหลานี้ พระองคไ ดเ สดจ็ ทอ งเท่ยี วไปในดนิ แดนแหง ประเทศอนิ เดยี ภาคเหนอื ซ่ึงบดั นเี้ ปน มณฑลอธู และเบ็งกอลเหนอื เปน สว นใหญ นอกจากในฤดูฝนแลว พระองคไ มค อ ยทรงพักคางคนื ทใี่ ดเกิน กวา 2-3 คืน ในฤดูฝนอนั เปน เวลาจาํ พรรษา สวนมาพระองคประทับอยทู ส่ี วนเวฬวุ ัน ซงึ่ พระเจา พิมพิสารนอ มถวาย ใกลน ครราชคฤห หรือทีเ่ ช ตวนั ซ่ึงอนาถบิณฑกิ เศรษฐสี รางถวาย ใกลนครสาวัตถี ตลอดเวลาเหลาน้ี พระองคท รงบาํ เพญ็ พทุ ธกจิ ประจําวันดงั่ นี้ คอื พระองคท รงตนื่ จาก บรรทมกอนเวลารงุ สาง ทรงชําระพระสรีรกายแลว ทรงกระทาํ สมาธิสอดสองอปุ นสิ ยั สตั วท งั้ หลายวา ผูใ ดมอี ุปนิสัยแกกลาสมควรไดร ับธรรม เทศนาในวนั นี้ กจ็ ักเสดจ็ ไปโปรดเขาในวันนัน้ ครน้ั เวลารุง สวางแลว พระองคทรงจีวรถอื บาตรในพระหัตถ เสด็จไปบณิ ฑบาตตามหมบู า น ซึง่ อยใู กลทีท่ ี่พระองคป ระทับ ทอดพระเนตร จับอยทู ่พี ้นื ดิน จากบานโนนสูบานนี้ ทรงรบั อาหารตามแตผูม ีใจบุญจะถวายสิ่งใด โดยใสลงในบาตรของพระองค บางคราวเสดจ็ ไปแตพระองค เดียว บางคราวเสดจ็ ไปพรอ มกบั ภกิ ษุสงฆ เดนิ เปน แถวเดียวเรียงองคไมลกั ลั่น ทกุ องคถือบาตรอยูใ นมอื มีกริ ิยาอาการสงบเสงยี่ ม และแชมชืน่ เหมือนกนั หมด ในบางคราวมีคนบางคนอาราธนาพระองคใหฉันอาหารบิณฑบาตตามบา นเรอื นเขา ในกรณเี ชนนท้ี ่ีเปนการสมควรไดท รงรบั อาราธนา ประทบั นง่ั เหนอื อาสนะที่เขาจดั ถวาย ทรงฉันอาหารจากบาตรทเี่ ขารับไปจากพระองค เพ่อื บรรจุอาหารที่ดที ี่สุดแลว นํากลบั มาถวายแก พระองค เม่ือเสรจ็ ขากการฉันและลา งพระหตั ถแ ลว พระองคจกั ตรสั สนทนากบั บุคคลทอ่ี ยูในทีน่ ้ัน โดยทรงแนะนําช้ีแจงใหเขารจู ักส่ิงทดี่ แี ละ ช่วั ทเ่ี ปน ไปเพอื่ สุขและทุกข ทง้ั ในโลกนแี้ ละโลกอื่น ทรงช้ีชวนใหบ คุ คลเหลาน้ันมคี วามกลา หาญในการทจี่ ะปฏิบัติ หลังจากนนั้ พระองคจกั เสด็จกลบั ไปสูทีป่ ระทบั ที่พระอาราม ณ ที่นนั้ พระองคจะประทบั น่งั เงยี บๆ อยูในเรือนพกั ตามโคนตน ไมใ นบริเวณใกลเคียง ทรงรอคอยจนกระท่งั ภิกษทุ ้งั หลายซงึ่ อยอู าศยั กับ พระองคเ สรจ็ จากการฉันอาหารบณิ ฑบาตดว ยกนั ทกุ องค และพระองคจ กั เสดจ็ ไปทรงพกั ผอ นในท่ีประทับสว นพระองค ทรงลา งพระบาทแลว เขาไปสหู อ งท่ีประทบั ชวั่ ขณะหน่ึง เมอ่ื ภิกษุประชมุ พรอมกนั ในโรงท่ีประชมุ เพอ่ื การสนทนาแลว พระองคจักเสดจ็ ไปตรัสขอความเรอ่ื งใดเรือ่ ง

หนึง่ ซ่งึ เหมาะสมแกท ี่ประชมุ นัน้ หรอื ท่ีภกิ ษเุ หลา นน้ั กําลังพูดคางอยู พระองคจ ักทรงเรา ใจใหภ ิกษุเหลา น้ันมคี วามพากเพยี รในการศกึ ษา และ การปฏิบัตพิ ระธรรมวินัย ดว ยความมุงหมายทจ่ี ะใหล ุถึงจุดหมายปลายทาง คอื นิพานเสียแตในชาตอิ ันเปนปจจุบันนท้ี ุกคราวไป เมอื่ พระองคต รสั ขอ ความเหลา นนั้ จบลงแลว มกั จะมีภิกษบุ างรูปทลู ขอใหพ ระองคท รงบอกขอธรรมสาํ หรบั การบําเพ็ญภาวนาของตน โดยเฉพาะในขอใดขอหนงึ่ ซงึ่ เหมาะแกอ ปุ นสิ ัยของตน พระองคก ็จะทรงพนิ จิ พจิ ารณาและประทานบทธรรมท่เี หมาะสมท่ีสดุ สาํ หรับภกิ ษุรูป นนั้ จะเปน บทท่ยี ากหรืองา ยยอมแลว แตพระองคจะเห็นสมควรวา ภกิ ษุรูปน้ันเปนผมู ีความสามารถเพียงใด และไดบาํ เพญ็ มาแลวอยา งไร ภกิ ษุ ทงั้ หลายจกั เลิกประชุมเมอ่ื ถงึ เวลาสมควร ตางรปู ตา งจกั ไปสทู ่ีสงดั มโี คนไมหรือปา ไมหรอื เรือนรางเปนตน เพือ่ บาํ เพ็ญภาวนาตามบทธรรมที่ได รับมาจากพระพทุ ธองค สว นพระพุทธองคก็เสด็จกลบั ไปสทู ่ปี ระทบั ท่เี ปน สว นพระองค หากเปน ฤดูรอน พระองคจ ักทรงพกั ผอนอยู ณ ทีใ่ ดทหี่ นึ่ง จนกระทัง่ เพียงพอแกพ ระอธั ยาศัย ในขณะนเ้ี ปน โอกาสท่ีประชาชนตามหมูบา น หรอื จังหวดั ใกลเคียงจกั มาเฝา พระองคใ นตอนเย็น บางพวกกน็ ําสิง่ ของมาถวาย บางพวกก็มาเพอ่ื ฟง ธรรม พระองคจะแสดงธรรมดวยพระกริ ยิ า วาจาท่ีนา เลือ่ มใส โดยวธิ ที ี่จะใหค นทุกคนในทน่ี ้นั ไดความรูค วามเขา ใจ ไมว า จะเปน คนยากจน หรอื คนมัง่ มี คนเรียนมากหรือคนเรยี นนอย ทุก คนในท่นี ้นั จะรูสึกราวกะวา พระองคไดต รสั ตอบขอ ความเหลา น้ัน เพอ่ื เขาเองโดยเฉพาะจนตลอดเวลา ไมมคี วามรสู ึกวา มเี รือ่ งอน่ื ที่ตรัสสําหรบั บุคคลอน่ื แมแ ตห นอ ยเดียว เมอ่ื จบพระธรรมเทศนาแลว ทุกคนมคี วามพอใจ และปลาบปลมื้ สรรเสริญพระธรรมเทศนา ประกาศตนเปนผูร ับนบั ถอื พระธรรมและปฏิบตั ิตามอยางเครง ครัด จนตลอดชวี ติ ตอ พระพักตรข องพระองค ทุกคนกลับไปบา นดวยใจที่เตม็ เปย มไปดว ยธรรมะทตี่ นได ยนิ ไดฟ งทัง้ หมดในวนั น้ัน เม่อื คนเหลานนั้ กลบั ไปแลว พระองคจ ักเสด็จไปสูทส่ี รงนํ้าแหงใดแหงหนงึ่ ในพระอาราม ถา มีสระหรือบึงที่เหมาะสมแกก ารสรงในบรเิ วณ ใกลเคยี งพระองคจกั เสดจ็ ไปสรง ณ ทนี่ ้นั เปนการชําระภายในเวลาเยน็ หลงั จากนน้ั แลว จักทรงพักผอ นระงบั พระทยั ดวยสมาธิอยา งใดอยางหนึ่ง เปนเวลาพอสมควร ตอนนี้เปน เวลาเย็นมากแลว เปน โอกาสของภิกษุบางพวกซ่งึ ไมไดอ ยูอ าศยั กบั พระองค ไดเดนิ ทางมาจากที่อ่ืนเพ่อื เฝา พระองคเ พอ่ื การเยีย่ ม เยียน หรอื เพอ่ื ขอรบั พระพุทธโอวาทอยา งใดอยา งหน่ึง ตามความปรารถนา พระองคท รงตอ นรบั ปราศรยั แกภ กิ ษุเหลา น้นั และประทานคาํ สั่ง สอนชี้แจงตลอดจนถึงทรงอธบิ ายธรรมะที่ยากๆ ใหเปน ทเ่ี ขา ใจแกภ ิกษเุ หลานนั้ จนกระทัง่ ทูลลาพระองคก ลับไปดว ยความพอใจและราเรงิ พระองคไดท รงพยายามกระทํากิจเหลาน้ี ดว ยความกรณุ าและความอดกลนั้ อดทน และเต็มพระทัยอยา งยิง่ ตลอดเวลา 45 ป ทพี่ ระองคทรง ปฏบิ ัตติ อ ภิกษทุ ั้งหลายเปน ประจําวันทุกๆ วนั มิไดข าด ในการตอบปญ หาและอธบิ ายขอยุงยากตา งๆ ไมเ คยมสี ักครงั้ เดียว ท่ีพระองคไดทรงขดั พระทัยในการถามของผถู าม หรอื ทรงราํ คาญขดั เคอื งแกผหู นึง่ ผใู ดทไี่ ดท ูลถาม ไมวาเขาจะมาถามอยางมติ รหรืออยางศตั รู และไมมีปญ หาใดๆ ท่ี มผี ถู ามแลวพระองคจ ะทรงตอบไมไ ด พระองคทรงพรอ มอยูเสมอ ทจ่ี ะตรสั แกบุคคลนานาชนิดที่มาเฝาพระองค ดว ยถอยคาํ อนั เหมาะสม ไมว าเขาจะมาถามเพราะอยากรูอยาก เขา ใจหรือวาจะมาลอ ถามใหพ ระองคทรงติดกบั จนมุมในถอ ยคาํ ของพระองคเ อง สาํ หรบั ผูทม่ี าถามดวยความอยากรใู นขอ ธรรมทลี่ ึกซึ้งตางๆ นั้น พระองคไ ดป ระทานคาํ ตอบท่ีสําเร็จประโยชนแกคนเหลานั้น และเปน ทพี่ อใจอยางย่ิง สาํ หรบั บางคนทม่ี าเพอ่ื ทาทายหรือลองดกี ับพระองคนัน้ ก็ มอี ยูบอยๆ ทีไ่ ดพายแพแกพระปรีชาของพระองค จนถงึ กบั ยอมรบั นบั ถือถอยคาํ ของพระองค หรือยอมบวชเปนสาวกผูจ งรักภกั ดตี อ พระองคจน ตลอดชวี ิต ในตอนพลบ เมอื่ ทรงเหน็ดเหน่ือยดวยการน่ังตลอดวัน พระองคจ ักทรงดาํ เนนิ ไปมาในที่ใดทห่ี น่งึ ในพระอารามนั้น เพือ่ เปน การบาํ บดั ความเม่อื ยขดั ทเ่ี กิดข้นึ แกร า งกายของพระองค จนกระทัง่ มีความสดช่นื และคลอ งแคลวดังเดมิ เมอื่ ไดท รงจงกรมดงั กลาวน้ี จนพอแกพ ระอัธยาศยั แลว พระองคก็พรอมที่จะทรงสนทนากบั ภกิ ษสุ งฆอีกระยะหน่ึง ในตอนคํา่ ทกุ ๆ คืน ในเวลาจวนดึก เปน โอกาสท่ีบคุ คลชนั้ สูงมีพระราชาแหง นครนัน้ ๆ เปน ตน จะไดพากนั ไปเฝาเพือ่ ทรงสนทนา และไตถ ามปญ หาบาง ประการตามท่อี ยากจะทราบ พระองคจ ะตรัสตอบแกไขปญ หาของอิสรชนเหลา นั้นจนเปนท่พี อใจและพากนั กลบั ไป ในเวลาอนั สมควร หลังจาก นั้นแลว พระองคจ กั ทรงพักผอ นบรรทมหลบั ดว ยอาการท่เี รยี กกนั วา ประทับสีหเสยยา คือการนอนตะแคงทางเบอื้ งขวา มีเทาซอ นเหล่อื มกัน มี พระหัตถวางพาดไป ตามยาวแหง ลาํ ตัว พระหตั ถขา งหน่ึงงอพบั เขา มาวางแนบอยูขางพระเศียร ดงั ทจ่ี ะเห็นไดจ ากแบบพระพทุ ธรูปบรรทมท่ัวๆ ไป ทรงกาํ หนดสติในการลุกเมื่อถึงเวลาจะตองลุก แลว กบ็ รรทม พระองคท รงตื่นบรรทมในเวลาประมาณ 2 ชั่วนาฬกิ ากอนเวลายาํ่ รงุ แลว ทรง บําเพ็ญพทุ ธกิจดวยการเขา สมาธภิ าวนา ตรวจสอ งอุปนสิ ัยของสตั วผ ูควรรบั ธรรมเทศนาในวนั รุง ข้นึ สบื ไปอีก ตลอดเวลา 45 พรรษา แหงการเทศนาสั่งสอนของพระองคนั้น พระองคไ ดทรงบาํ เพ็ญพุทธกิจอยางครบถวน ดงั กลาวน้ีทกุ ๆ วัน เวน แตคราว เดนิ ทาง พระองคไ ดท รงใชเวลาของพระองคใหห มดไปในการส่ังสอน มิใชเพยี งแตทางธรรมะในพระศาสนาเทา นน้ั แตย ังไดท รงตอบปญ หา และช้แี จงขอความอันเก่ียวกับการครองชวี ติ อยางชาวโลก แกผ ทู ่ปี ระสงคจ ะทราบพรอ มกนั ไปดวยในหมปู ระชาชน ซ่งึ พระองคไดเ สดจ็ ผานไป อยางเหมาะสมแกเหตุการณแ ละบุคคลในทนี่ ้ันๆ ดวยพระปญญาอันรอบรแู ละเฉยี บแหลมของพระองค ตวั อยา งในเรอ่ื งนี้ คอื คร้งั หน่ึงเม่อื พระองคประทับอยทู ี่พระอารามเชตวนั ใกลเ มืองสาวตั ถี ประชาชนชาวนครกบลิ พัสดุและชาวนครโกลยิ ะ

กําลงั วิวาทกนั ดวยเรือ่ งการทดนํ้าเพื่อทํานา เวลาน้นั เปน คราวทฝ่ี นแลงไมต กเปนเวลานานเกนิ ไป ลาํ ธารท่ีมีอยใู นระหวา งเนอื้ นาของชนชาว นครกบลิ พัสดุและชาวโกลิยะ ไดแ หงขอด จนมีน้ําเหลืออยเู พยี งเลก็ นอย คนเหลาน้นั ตางฝายตา งตองการจะไดนาํ้ ท้ังหมดนนั้ มาเปน ของตวั โดย ไมแ บง ใหอ ีกฝายหน่ึงเลยจงึ เกิดทะเลาะวิวาทกนั เตรียมพรอ มทีจ่ ะรบกันและฆา กนั เพื่อใหไ ดน ้าํ ตามความตอ งการของตน ชาวเมอื งกบลิ พัสดุ ลว นแตเปน พระญาตวิ งศ และเปนบุคคลในประเทศของพระองคโดยตรง เมือ่ พระองคทรงทราบวาคนเหลา น้ี จะทําการ รบพุงลางผลาญพวกโกลยิ ะ กท็ รงสงั เวชพระทยั ในการทีพ่ ระญาตวิ งศข องพระองคเองจักทาํ การลา งผลาญผอู ื่น หรือถงึ กบั ลา งผลาญตวั เองดวย เพื่อประโยชนแ ตนา้ํ หนอยเดยี ว ดังน้ันพระองคจ ึงไดเ สดจ็ ไปสูสถานท่ี ซึ่งคนทัง้ สองฝายกําลงั เตรยี มอาวธุ พรอ มจะประหตั ประหารกันอยแู ลว เมอ่ื พระองคไ ดเสดจ็ ไปถึงท่นี นั่ ไดตรัสแกคนเหลา น้ันและทรงโตต อบกัน ดังตอไปน้ี “ดกู อ นเจาศากยะ และนกั รบทั้งหลาย ทานทง้ั หลายจงฟงเราพดู กอ น ทานทง้ั หลายจงตอบเราตามทเี่ ปน จรงิ ทานทัง้ หลายเตรยี มพรอ มท่จี ะ ฆาฟน กนั และกนั ดวยเร่อื งอะไร ” “เราจะรบกันเพื่อน้าํ ในลาํ ธารนี้ ซ่งึ เราแตละฝายตองการจะไดนาํ้ ไปหลอเล้ยี งนาอนั แหงแลงของเรา” เสียงตอบมาจากทงั้ สองฝงของลาํ ธาร “ถูกแลว แตจ งบอกเราตามท่ีเปนจรงิ กอ นวา ส่งิ ไหนเปนส่ิงทม่ี ีคามากกวา กัน ในระหวางสิง่ ทงั้ สอง คือน้าํ นิดหนึ่งในลาํ ธารน้ี กบั โลหติ ใน เสนเลอื ดของคนจํานวนมาก โดยเฉพาะกค็ อื โลหิตในการของบรรดาเจาชายและนักรบผูกลาหาญทัง้ หลายเหลาน้ี ” “เลือดในกายของบรรดาเจาชายและนักรบทัง้ หลายเปนส่งิ ทีม่ คี ามากกวา น้ําในลาํ ธารน้ีมากนกั ” “เม่อื เปนดังนน้ั แลว เปนการถูกตองและสมควรหรือ ในการท่ีจะนาํ เอาโลหิตอันมีคา มากน้ันมาพราเสยี เพ่อื ประโยชนแ กนา้ํ อนั มคี า เพยี งนดิ เดียว ” “ขา แตพระองค เปนการไมสมควรจริงๆ มนั เปน การไมถูกตอ ง ไมสมควรในการทจี่ ะเอาของมคี า มาพรา เสียเพื่อของมคี า นิดหนอ ยเชนน”ี้ “ถาเปน เชน นนั้ จริง ทานท้งั หลายจงรบความโกรธของทานทั้งหลายใหช นะเถิด จงวางอาวุธสําหรบั ฆา ฟนกนั น้นั เสยี แลว มาทาํ ความตกลง กนั ดว ยความสงบ ในระหวางพวกทานผูฆา ความโกรธไดแลว ดวยกันทุกคน” พวกกบิลพัสดุแ ละพวกโกสยิ ะทงั้ สองฝาย ไดรสู ึกละอายในความโงเ ขลาขาดความรสู ึกผดิ ชอบชว่ั ดขี องตนเอง ดงั ที่พระพุทธองคไดท รง ชี้ใหเ ห็น จึงไดพากันทําตามคาํ แนะนําของพระองค ทําความตกลงแบง ปนนา้ํ ใหแ กก ันและกันโดยเสมอภาค และอยูกันอยางเปน สขุ สบื มา

พทุ ธประวัติ ฉบับสําหรับยุวชน พทุ ธทาสภกิ ขุ แปลและเรยี บเรยี งจาก ฉบบั ภาษาองั กฤษ ของ ภกิ ษสุ ีลาจาระ (J.F. Mc kechnie) ตอนท่ี 15 พระนางมหาปชาบดี คร้ังหน่ึง พระเจา สทุ โธทนะพระพทุ ธบิดาไดป ระชวรหนกั พระพทุ ธองคไดท รงพาพระนันทะนองตางมารดาของพระองค และพระอานนท ลกู เรยี งพี่เรยี งนองของพระองค ซ่ึงบดั น้ีไดผ นวชเปนภกิ ษแุ ลว พรอมทั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเสดจ็ ไปสูนครกบิลพัสดุ เพือ่ การ เยี่ยมเยียน ในตอนแรก ดว ยการไดเ ห็นพระพุทธองคซ่ึงเปน โอรสสุดท่รี กั อีกครัง้ หนึง่ พระเจา สุทโธทนะไดคอ ยทรงทเุ ลาข้นึ และทกุ ๆ คนคิดวา พระองคจะตอ งทรงหายประชวร แตอ าการทุเลานไ้ี ดเปน ไปช่ัวขณะหนงึ่ เทานัน้ พระองคท รงมคี วามชรามากเกินไปกวาทีจ่ ะมกี าํ ลงั ตา นทาน ความเจ็บไข ในสองสามวันตอ มาไดกลับประชวรหนักยง่ิ ขน้ึ ไปอีก และไดสิน้ พระชนมลงในทา มกลางความโศกเศรา ของคนทั้งหลาย เม่ือพระราชสวามสี น้ิ พระชนมลงดัง่ น้ี พระนางมหาปชาบดี ผเู ปน พระมารดาเล้ียงของพระพทุ ธองค ซึ่งไดเ ลย้ี งพระองคมหาราวกะวา เปน โอรสของพระนางเองนั้น ไมทรงประสงคทจี่ ะอยเู ปนฆราวาสอกี ตอ ไป พระนางทรงมคี วามโศกเศราในการสิ้นพระชนมของพระสวามี ประกอบกับความพอพระทยั ในการประพฤตพิ รหมจรรย จึงมพี ระประสงคจะออกผนวชเปน บรรพชติ ในสํานกั ของพระองค เพือ่ รับคาํ แนะนําสงั่ สอนโดยใกลชิด พระนางไดทรงพาสภุ าพสตรอี กี จํานวนหนง่ึ ซ่ึงไมย อมอยโู ดยปราศจากพระนางโดยจะติดตามไปในทท่ี กุ หนทุกแหงดวยกนั ไปเฝาพระผูม ีพระภาคเจาและทูลขอรอ งใหท รงเมตตากรุณายนิ ยอมรับสตรบี วชเปนบรรพชิต อยูภายใตก ารแนะนําสง่ั สอนของพระองคโ ดย ใกลชดิ เชนเดยี วกบั ภิกษทุ ้ังหลาย แตแมพ ระนางจะไดทรงวิงวอนถงึ 3 คร้งั 3 หน ใหพระองคท รงรบั พระนางและสภุ าพสตรเี หลานน้ั เขา บวช เปนนักบวชสตรอี ยกู บั พระองค พระองคก็ไดท รงปฏเิ สธโดยทรงขอรอ งอยา ใหพ ระนางทลู ขออนุญาตเชน นน้ั กับพระองคเ ลย พระนางมหาปชา บดีทรงโศกเศราเปน อนั มากในการทพ่ี ระพทุ ธองคท รงปฏเิ สธ พระนางและสภุ าพสตรเี หลา น้นั ไดพ ากันรองไหเ พราะเหตุน้ัน เมอ่ื ทรงปลงพระศพพระเจา สทุ โธทนะสิ้นสดุ ลงแลว พระพทุ ธองคไ ดเ สดจ็ จากนครกบิลพสั ดุ ทรงจาริกไปตามสถานท่ีตา งๆ จนกระทง่ั สมัย หนึ่งไดเสดจ็ ถงึ เมืองเวสาลี และประทบั อยู ณ ปา มหาวนั พระนางมหาปชาบดีไดต ดั พระเกศาของพระนางออก ทรงครองผาอยางนักบวช พรอ ม ดว ยสภุ าพสตรีจาํ นวนหนึ่งดังทก่ี ลา วแลว ไดเสด็จไปตามหนทางที่จะไปสูเมอื งเวสาลี ทรงดําเนนิ ดวยพระบาททลี ะเลก็ ละนอย ลว งเวลาเปนอนั มาก จนกระท่ังถึงปา มหาวัน อันเปน ทซี่ ่ึงพระพทุ ธองคกําลงั ประทับอยู

เม่อื เสดจ็ ถึงทน่ี ้นั แลว มีฝาพระบาทบวมพอง เพราะการเดินทางไกล มีฝุนจบั ทวั่ ทั้งองค ซบู เศรา และออ นเพลยี พระนางไดป ระทบั ยนื กัน แสดงอยูขา งนอกพระวหิ าร พระอานนทไ ดมาพบพระนางซึ่งกาํ ลงั ยนื อยใู นพระอาการทน่ี า สมเพชอยา งยิ่งเชน นน้ั ไดทลู ถามถงึ ตน เหตเุ พอ่ื ทราบ วา ทําไมจงึ เปน เชน นนั้ และพระนางกันแสงเพราะเหตุใด พระนางไดตรสั ตอบวา “ทานอานนท พระผมู ีพระภาคเจาไมท รงอนญุ าตใหสตรลี ะจากเรือนบวชเปน บรรพชิต อยูป ระพฤติธรรมวินยั กบั พระองค อิฉนั ไมป รารถนาจะเปนอยางอ่นื ปรารถนาจะบวชแตอ ยา งเดยี วจงึ ตองรอ งไห” พระอานนทไ ดต อบวา “พระบตุ รแี หง ราชวงศโคตมะจงรอกอน ถาเรอื่ งเปนดังน้ี อาตมาจักวงิ วอนขอรองใหพระผูมพี ระภาคเจาโปรด ประทานพระอนญุ าตใหส ตรีไดบ วชประพฤตธิ รรมวนิ ัยในสาํ นกั ของพระองค เชนเดยี วกบั ภกิ ษทุ ง้ั หลาย” พระอานนทไดพ ยายามกระทําตามท่ี ไดใหส ัญญาแกพระนางมหาปชาบดี เม่ือไดไปถึงทป่ี ระทบั ของพระพุทธองคแลว ไดทาํ การวงิ วอนดวยความเคารพนอบนอมอยางสงู สดุ เพื่อให ทรงเมตตาแกส ตรีท้งั หลายโดยโปรดประทานอนญุ าตใหบ วชได โดยทํานองเดยี วกับบรุ ษุ พระดาํ รัสตอบของพระพุทธองคต อพระอานนทใ นขณะนัน้ มีวา “อยาเลย ! อานนท, อยา เลย ! อยา ขอส่ิงเชน นก้ี บั เราเลย” พระอานนทกม็ ิได หมดความพยายามหรือทอ ถอย ไดท ูลวงิ วอนแลววงิ วอนอีก เปน คร้งั ทสี่ องและทีส่ าม ดว ยคําวิงวอนอยางเดยี วกัน และทุกครั้งพระองคไดทรง ปฏเิ สธดวยคาํ ปฏิเสธอยางเดยี วกนั พระอานนทไ ดท รงราํ ถึงอยใู นใจวา “พระพุทธองคไ มป ระทานพระอนุญาต เม่อื ถูกทลู ขอตรงๆ แตบ างทีพระองคอ าจจักทรงอนุญาต ถาเรา จักใชวธิ อี ืน่ ” ดังนนั้ ทานจงึ ไดกราบทูลถามพระผูมพี ระภาคเจาวา “ขาแตพระผูม ีพระภาคเจา ถาหากวาสตรีไดสละเหยาเรอื นแลว ออกบวช ประพฤตพิ รหมจรรยในธรรมวนิ ยั ของพระตถาคตอยางเครงครัดแลว เธอเหลาน้นั จะสามารถบรรลุธรรมวิเศษท้ังสช่ี ้ัน ตามลําดับแหงอฏั ซงั คิก มรรคเพ่อื ลถุ ึงนิพพานไดหรือไม พระเจา ขา ” พระพุทธองคไดตรสั ตอบวา “อานนท ถาสตรสี ละเหยาเรอื น ออกบวชในธรรมวนิ ัยนี้ ก็อาจเปนพระอรหนั ต ลถุ ึงนิพพานไดใ นชาติอันเปน ปจจบุ นั น้เี หมือนกัน” พระอานนทไดก ราบทลู วา “ถาเชนน้นั แลว ขอพระผมู พี ระภาคเจา ไดโปรดพจิ ารณาดูเถดิ พระนางมหาปชาบดีแหงราชวงศโ คตมะ ไดเปนผู มพี ระคณุ ตอ พระผมู ีพระภาคเจาอยา งสูงสดุ พระนางเปน พระกนิษฐภคนิ ีแหง พระมารดาของพระผมู ีพระภาคเจาเอง และทรงเปนพระมารดาบุญ ธรรมเปน ผูฟ มู ฟก ทะนถุ นอม และถวายนมแทนพระมารดาแกพ ระผูม ีพระภาคเจา พระนางไดท รงเล้ยี งดู และไดทรงอบรมสง่ั สอนพระผมู ีพระ ภาคเจา มาตงั้ แตพระมารดาสิ้นพระชนม ขา แตพ ระผูม พี ระภาคเจา ขอพระองคไดโ ปรดประทานพระอนุญาตเพอ่ื เหน็ แกพระนาง ใหส ตรที งั้ หลาย ท่ีสละเหยา เรือนไดบ วชเปนบรรพชติ ประพฤตพิ รหมจรรย ในธรรมวนิ ยั ของพระผมู พี ระภาคเจา อยา งเดยี วกบั บุรษุ เพอื่ บรรลถุ งึ ธรรมอัน ประเสริฐ ทพ่ี ระองคมไี วโ ปรดประทานแกช าวโลกในชนั้ สงู สุดน้ันเถดิ พระเจาขา” พระผมู พี ระภาคเจา ไดต รสั วา “เอาละ อานนท ถาพระนางมหาปชาบดีแหงราชตระกลู โคตมะเต็มพระทยั จะถือกฎอนั เฉยี บขาด 8 ประการ ตอไปนอ้ี ยางเครง ครัดแลว ก็ใหถอื วา น่ันแหละ เปนการบรรพชาอปุ สมบทของพระนางเถิด” ตอจากน้ันพระผูมพี ระภาคเจา ไดตรัสแกพ ระ อานนทถึงกฎ 8 ประการนน้ั วา • สตรีผูบวชแลว แมนานเทา ใดกต็ อ งทาํ ความเคารพแกภ กิ ษผุ ูบวชแลว แมวันเดยี ว • ตอ งไมอยอู าศัยในถ่ินที่ซ่ึงไมม ภี กิ ษุอยดู ว ย • ตองรับคาํ สง่ั สอนจากภกิ ษซุ ่ึงสงฆไ ดมอบหมายหนาที่ ใหเปนผสู ง่ั สอนทุกๆ ก่ึงเดือน • ตอ งปวารณาเปดโอกาสใหส งฆทั้งฝายภิกษุและภกิ ษุณี วากลา วตกั เตอื นช้ีโทษได ในวันปวารณา • ถามอี าบตั โิ ทษอนั ชวั่ หยาบ จักตอ งไดร บั การพิจารณาโทษและออกจากอาบตั ิในสงฆท ั้งสองฝา ยคอื ทัง้ ฝา ยภกิ ษแุ ละภกิ ษณุ ี • กอนบวชเปนภกิ ษณุ ี ตองอยูป ระพฤตวิ ตั ร เปน สกิ ขมานา เพอื่ การทอดลองเปนเวลาไมนอยกวา 2 ป แลวจึงบวชไดในสาํ นักแหง สงฆทงั้ สองฝา ย • ตองไมพูดคาํ หยาบอยางใดอยา งหน่ึงแกภกิ ษแุ ละ • ตองไมทําตนเปนผูวากลา วตักเตอื นภกิ ษุ แตจ กั ตองเปน ผูรับคําวากลา วตักเตอื นจากภกิ ษุ อานนท, ถา หากวาพระนางมหาปชาบดีแหงราชวงศโคตมะทรงเต็มพระทัยทีจ่ ะรับถือกฎอนั เฉยี บขาด 8 ประการนี้ อยางเครงครัด จน ตลอดพระชนมายแุ ลว กใ็ หถือวา พระนางเปนภิกษุณีแลว โดยสมบรู ณเ ถิด” พระผมู ีพระภาคเจา ไดท รงยนื ยนั ในท่ีสดุ พระอานนทไ ดรับเอาพระพทุ ธานญุ าตน้ันแลว กลับออกมาทูลแกพระนางมหาปชาบดี ตามทพี่ ระผูมพี ระภาคเจา ไดต รัสทุกประการ พระนาง มหาปชาบดีทรงรูส ึกปลาบปลื้มและดพี ระทัย ตรัสแกพระอานนทวา “ทา นอานนท, เปรียบเหมอื นคนหนุมคนสาวรกั การแตงตวั อาบนํา้ ชําระ กายและศรี ษะของตนแลว ยกพวงมาลยั อันประกอบดวยดอกไมส สี วยสดและกลิ่นหอม ขน้ึ ดวยมือท้งั สอง แลววางลงบนศรี ษะของตนอนั เปน